1.1 ความนํา 1.pdf · 2010-06-01 · 2 1.2...

15
บทที1 บทนํา 1.1 ความนํา ประชากรสวนใหญของประเทศไทย ประกอบอาชีพการเกษตร เชน การเพาะปลูก การเลี้ยงสัตว การ ประมง เปนตน การทําการเกษตรมีมาตั้งแตโบราณ โดยอาศัยการถายทอดความรูเกี่ยวกับการทําการเกษตรสู ลูกหลาน ซึ่งการทําการเกษตรจะใชแรงงานคนเปนหลัก และปจจุบันมีการพัฒนาเครื่องทุนแรงมาชวยใน การทํางาน ดังนั้นเกษตรกรจึงควรมีความรูเกี่ยวกับงานชาง เชน ชางไม ชางปูน ชางโลหะ ชางไฟฟา เปนตน เพื่อที่เกษตรกรจะไดนําความรูทางดานงานชางมาใชสรางที่พักอาศัย สรางและซอมแซมเครื่องมือ เครื่องทุแรงและอุปกรณตาง ที่ชวยในการทําการเกษตร จากที่กลาวมาขางตนจึงมีคําศัพทคําหนึ่งที่ใชเรียกกันวา ชางเกษตรซึ่งหมายถึง ผูที่มีความรูความสามารถทางดานงานไม งานคอนกรีต งานโลหะ งานไฟฟา หรือ ทุกสาขาอาชีพของชางที่จําเปน เพื่อการสราง การซอมแซม เครื่องมือและอุปกรณทางการเกษตร ในประเทศไทยสถาบันการศึกษาตาง เชน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคล มหาวิทยาลัยราชภัฏ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี เปนตน ไดใหความสําคัญทางการศึกษาใน สาขาวิชาที่เกี่ยวของกับงานชางเกษตรโดยจัดวิชาชางเกษตรไวในหลักสูตรการศึกษา เพื่อใหนักศึกษาที่เรียน ทางสายเกษตรศาสตรมีความรูทางสาขาวิชาชาง และไดเปดหลักสูตรเฉพาะดาน เชน ชางเกษตร ชางกล เกษตร เครื่องมือทุนแรงการเกษตร เกษตรกลวิธาน และวิศวกรรมเกษตร เปนตน โดยแตละสาขาวิชามี จุดมุงหมายที่แตกตางกัน สาขาวิชาชางเกษตรและสาขาวิชาชางกลเกษตร มีจุดมุงหมายเพื่อผลิตบุคลากรทีสามารถซอมแซมเครื่องมือและอุปกรณทางการเกษตร สาขาวิชาเกษตรกลวิธาน มีจุดมุงหมายเพื่อผลิต บุคลากรใหมีความสามารถใชงาน ควบคุม เครื่องจักรกล เครื่องมือทุนแรงสําหรับการเกษตร และสาขาวิชา วิศวกรรมเกษตร มุงใหผูเรียนสามารถออกแบบและผลิตเครื่องจักรกลเกษตร การแปรรูปผลิตผลทางการ เกษตร สวนหนวยงานของรัฐที่เกี่ยวของกับเครื่องมือทางการเกษตร เชน กองเกษตรวิศวกรรม กรมวิชาการ เกษตร กองสงเสริมวิศวกรรมเกษตร กรมสงเสริมการเกษตร กระทรงเกษตรและสหกรณ ไดทําหนาที่ใน การวิจัยและพัฒนาเครื่องจักรกลเกษตรของประเทศ จัดฝกอบรมใหความรูแกเกษตรกรเกี่ยวกับการจัดการ การจัดซื้อและซอมแซมบํารุงรักษาเครื่องมือและอุปกรณทางการเกษตรที่ถูกตอง

Upload: others

Post on 19-Jul-2020

2 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: 1.1 ความนํา 1.pdf · 2010-06-01 · 2 1.2 ความสํัาคญของเครื่ืองมอการเกษตร เครื่ือทางการเกษตรองม

บทที่ 1 บทนํา

1.1 ความนํา

ประชากรสวนใหญของประเทศไทย ประกอบอาชีพการเกษตร เชน การเพาะปลูก การเลี้ยงสัตว การ

ประมง เปนตน การทําการเกษตรมีมาตั้งแตโบราณ โดยอาศัยการถายทอดความรูเกีย่วกับการทําการเกษตรสู

ลูกหลาน ซ่ึงการทําการเกษตรจะใชแรงงานคนเปนหลัก และปจจุบันมีการพัฒนาเครื่องทุนแรงมาชวยใน

การทํางาน ดังนั้นเกษตรกรจงึควรมีความรูเกี่ยวกับงานชาง เชน ชางไม ชางปูน ชางโลหะ ชางไฟฟา เปนตน

เพื่อที่เกษตรกรจะไดนําความรูทางดานงานชางมาใชสรางที่พักอาศัย สรางและซอมแซมเครื่องมือ เครื่องทุน

แรงและอุปกรณตาง ๆ ที่ชวยในการทําการเกษตร จากที่กลาวมาขางตนจึงมีคําศัพทคําหนึ่งที่ใชเรียกกันวา

“ชางเกษตร” ซ่ึงหมายถึง ผูที่มีความรูความสามารถทางดานงานไม งานคอนกรีต งานโลหะ งานไฟฟา หรือ

ทุกสาขาอาชีพของชางที่จําเปน เพื่อการสราง การซอมแซม เครื่องมือและอุปกรณทางการเกษตร

ในประเทศไทยสถาบันการศกึษาตาง ๆ เชน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี

ราชมงคล มหาวิทยาลัยราชภัฏ วิทยาลยัเกษตรและเทคโนโลยี เปนตน ไดใหความสําคัญทางการศึกษาใน

สาขาวิชาที่เกี่ยวของกับงานชางเกษตรโดยจดัวิชาชางเกษตรไวในหลักสูตรการศึกษา เพื่อใหนักศึกษาที่เรียน

ทางสายเกษตรศาสตรมีความรูทางสาขาวิชาชาง และไดเปดหลักสูตรเฉพาะดาน เชน ชางเกษตร ชางกล

เกษตร เครื่องมือทุนแรงการเกษตร เกษตรกลวิธาน และวิศวกรรมเกษตร เปนตน โดยแตละสาขาวิชามี

จุดมุงหมายที่แตกตางกัน สาขาวิชาชางเกษตรและสาขาวิชาชางกลเกษตร มีจุดมุงหมายเพื่อผลิตบุคลากรที่

สามารถซอมแซมเครื่องมือและอุปกรณทางการเกษตร สาขาวิชาเกษตรกลวิธาน มีจุดมุงหมายเพื่อผลิต

บุคลากรใหมคีวามสามารถใชงาน ควบคมุ เครื่องจักรกล เครื่องมือทุนแรงสําหรับการเกษตร และสาขาวิชา

วิศวกรรมเกษตร มุงใหผูเรียนสามารถออกแบบและผลิตเครื่องจักรกลเกษตร การแปรรูปผลิตผลทางการ

เกษตร สวนหนวยงานของรัฐที่เกี่ยวของกับเครื่องมือทางการเกษตร เชน กองเกษตรวิศวกรรม กรมวิชาการ

เกษตร กองสงเสริมวิศวกรรมเกษตร กรมสงเสริมการเกษตร กระทรงเกษตรและสหกรณ ไดทาํหนาที่ใน

การวิจยัและพฒันาเครื่องจักรกลเกษตรของประเทศ จดัฝกอบรมใหความรูแกเกษตรกรเกี่ยวกับการจัดการ

การจัดซื้อและซอมแซมบํารุงรักษาเครื่องมอืและอุปกรณทางการเกษตรที่ถูกตอง

Page 2: 1.1 ความนํา 1.pdf · 2010-06-01 · 2 1.2 ความสํัาคญของเครื่ืองมอการเกษตร เครื่ือทางการเกษตรองม

2

1.2 ความสําคัญของเครื่องมือการเกษตร เครื่องมือทางการเกษตร เปนเครื่องมืออุปกรณที่ใชสําหรับการทําการเกษตร โดยมีอุปกรณตนกาํลังที่

สําคัญ คือ รถแทรกเตอร (Tractor) เพื่อใชในการฉุดลากเครื่องมือประกอบตาง ๆ เชน ไถเตรียมดนิ เครื่องมือปลูก เครื่องมือควบคุมและกําจดัวัชพืช และเครื่องมือเก็บเกี่ยว เปนตน เครือ่งมือและอุปกรณที่ใชในการเกษตรมีจุดประสงคหลักในการทํางานเพื่อลดความเมื่อยลา ลดความนาเบื่อหนาย และลดเวลาในการทํางาน สามารถเพิ่มปริมาณและคุณภาพผลผลิตได เชน การเพิ่มผลผลิตขาวนอกจากจะทําโดยการขยายพื้นที่การเพาะปลูกหรือเพิ่มจํานวนครั้งของการเพาะปลกูตอปใหมากขึ้นแลว การนําเทคโนโลยกีารผลิตมาใชในกระบวนการตาง ๆ ของการผลิตขาวเปนสิ่งที่จําเปน เชน การใชเมล็ดขาวพันธุดีที่ใหผลผลิตสูง ตานทานโรคและแมลง การใชปุยและสารเคมีปราบศัตรูพืช การจัดการน้ําถูกวิธี และการใชเครื่องจักรกลเกษตรที่เหมาะสม เปนตน ส่ิงตาง ๆ เหลานี้นับเปนปจจัยสําคัญทีจ่ะชวยใหไดผลผลิตของขาวสูงยิ่งขึ้น กระบวนการเพาะปลูกขาวอาจแบงออกได 5 ขั้นตอนใหญ ๆ คือ การเตรียมดิน การปลูก การดูแลรักษา การเก็บเกีย่ว และการนวด จะเห็นไดวาในแตละกระบวนการนั้น หากมีการนําเครื่องมืออุปกรณมาใชก็จะชวยใหเกษตรกรผูผลิตขาวสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไดมากขึ้น ซ่ึงชวยลดระยะเวลาและความเมื่อยลาในการทํางานลง ทํางานไดทันตอฤดูกาล ลดคาใชจายดานแรงงาน ตลอดจนลดการสูญเสียในขั้นตอนการเก็บเกีย่วและการนวดลงได ซ่ึงการนําเครื่องจักรกลเกษตรมาชวยในการทํางานจะสามารถอํานวยประโยชนทางการเกษตรไดดังนี ้

• ชวยทุนแรง ลดความเหนื่อยยากของเกษตรกร และทดแทนแรงงานจากปญหาการขาดแคลน

แรงงานในภาคการเกษตร

• ลดตนทุนการผลิต เนื่องจากเครื่องจักรกลเกษตรสามารถทํางานไดมากกวาในระยะเวลาที่เทากัน

และชวยลดความเสียหายของผลผลิตเมื่อเกิดภัยธรรมชาต ิ

• ประหยดัเวลา สามารถทํากิจกรรมทางการเกษตรไดทนัเวลา ทันฤดกูาล แมในพื้นที่เพาะปลูก

ขนาดใหญ

• ชวยเพิ่มปริมาณการผลิต เนือ่งจากใชเวลาทํากิจกรรมทางการเกษตรนอยลง ทําใหสามารถผลิต

หรือเพาะปลูก และเก็บเกี่ยวผลผลิตไดเร็วขึ้น จึงทําใหสามารถผลิตไดหลายครั้งตอปในพื้นทีเ่ทาเดมิ

• ชวยปรับปรุงและรักษาคุณภาพของผลผลิต สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตไดทันตามชวงเวลาที่

เหมาะสม ลดการสูญเสียและรักษาคณุภาพของผลผลิต การขนสง และการเก็บรักษาทําไดรวดเร็วทําใหคง

คุณภาพอยูไดนาน

Page 3: 1.1 ความนํา 1.pdf · 2010-06-01 · 2 1.2 ความสํัาคญของเครื่ืองมอการเกษตร เครื่ือทางการเกษตรองม

3

1.3 ประวัติความเปนมาของเครื่องมือการเกษตร เครื่องมือการเกษตรจะรวมความถึงเครื่องจกัรกลหรือเครื่องทุนแรงฟารม ซ่ึงหมายถึงเครื่องจักรใด ๆ

ที่ใชในการเกษตรไมวาจะมขีนาดเล็กหรือขนาดใหญ ใชตนกําลังไดทั้งแรงงานคน แรงงานสัตว เครื่องยนต

หรือรถแทรกเตอร ซ่ึงเครื่องมือการเกษตรนี้จะเรยีกกนัวา “เครื่องจักรกลเกษตร” (Agriculture Machinery)

สวนมากจะใชรถแทรกเตอรที่ใชเปนตนกําลัง รถแทรกเตอรถือเปนเครื่องจักรกลตนกําลังสําหรับเครื่องจักร

กลเกษตรที่มีความสําคัญอยางยิ่ง เนื่องจากรถแทรกเตอรจะมีประสิทธภิาพการทํางานสูง ประหยดัคาใชจาย

ความปลอดภยัสะดวกสบายตอการปฏิบัติงาน ตั้งแตอดีตจนถึงปจจุบันรถแทรกเตอรยังมีความสําคัญตอ

การเกษตรอยางมาก

ป ค.ศ. 1769 เจมส วัตต (James Watt) ไดประดิษฐเครื่องจักรไอน้ําเปนผลสําเร็จ หลังจากนั้น 100 ป

ตอมาเกิดสงครามในอเมริกา จึงมีความตองการเครื่องจักรกลเกษตรเพื่อมาใชในการทําการเกษตร ไดนํา

เครื่องจักรไอน้ําผลิตกําลัง โดยใชสายพานขับเครื่องนวด เครื่องจักรไอน้ําดังกลาวไมสามารถเคลื่อนที่ดวย

ตนเองไดตองใชมาหรือลาในการลากจูงไปยังที่ตาง ๆ ในป ค.ศ. 1870 นักประดิษฐไดคิดคนระบบคลัช เกียร

และโซ สําหรับขับเคลื่อนลอหลังใหเคล่ือนที่ มีอุปกรณบังคับเลี้ยว โดยในป ค.ศ. 1880 เกษตรกรไดซ้ือรถ

แทรกเตอรเครือ่งจักรไอน้ําเพื่อใชในการนวด และการไถเตรียมดิน

ภาพที่ 1.1 การเคลื่อนยายเครื่องจักรไอน้ําโดยใชมาลาก ท่ีมา : Engine & Tractor Power

Page 4: 1.1 ความนํา 1.pdf · 2010-06-01 · 2 1.2 ความสํัาคญของเครื่ืองมอการเกษตร เครื่ือทางการเกษตรองม

4

การพัฒนาเครือ่งยนตสันดาปภายในที่สําคญัเกิดขึ้นเมื่อ บิว เดอ โรชาส ( Beau de Rochas) วิศวกร

ชาวฝร่ังเศส ไดคิดหลักการสําคัญ 4 ประการ ที่จะทําใหเครื่องยนตทาํงานไดอยางมีประสิทธิภาพ มีหลักการ

ดังนี ้

• หองเผาไหมจะตองมีอัตราสวนพืน้ที่ผิวตอปริมาตรนอยที่สุดเทาที่จะเปนไปได

• ขบวนการขยายตัวจะตองเกดิขึ้นอยางรวดเร็ว

• แรงอัดที่จุดเริ่มตนของการขยายตวัจะตองสูง

• จังหวะการขยายตัวจะตองยาวนาน

หลักการสองขอแรก เปนการทําใหเกดิการถายเทความรอนจากหองเผาไหมนอยที่สุด ในขณะที่

สองขอหลังเปนการผลิตงานจากจังหวะการขยายตัวใหมากที่สุด

ภาพที่ 1.2 รถแทรกเตอรที่มเีครื่องจักรไอน้ําเปนเครื่องตนกําลัง ท่ีมา : Engine & Tractor Power

นักประดษิฐหลายคนไดใชหลักการของโรชาส ทําการสรางเครื่องยนต แตเปนผลสําเร็จครั้งแรก

โดยนักประดษิฐชาวเยอรมนั ช่ือ นิโคลัส ออตโต (Nicolaus Otto) ในป ค.ศ. 1876 ไดนําเสนอแบบจําลอง

ในสองปตอมา เครื่องยนตที่ใชเรียกวา “เครื่องยนต 4 จังหวะ” ( Four stroke cycle engine) ประกอบดวย

จังหวะดดู จังหวะอัด จังหวะงาน และจังหวะคาย ซ่ึงเปนตนแบบทีไ่ดใชกนัมาทกุวันนี ้

Page 5: 1.1 ความนํา 1.pdf · 2010-06-01 · 2 1.2 ความสํัาคญของเครื่ืองมอการเกษตร เครื่ือทางการเกษตรองม

5

เครื่องยนตของออตโต จะมจีังหวะงาน 1 คร้ัง เมื่อเพลาขอเหวีย่งหมุน 2 รอบ ซ่ึงถือวาประสิทธิภาพ

การไดงานนอย จึงไดทําการทดลองสรางเครื่องยนต 2 จงัหวะ (Two stroke cycle engine) โดยไมมกีารอัดตัว

ในสามปตอมาหลังจากออตโตสรางเครื่องยนตส่ีจังหวะ เซอร ดูกอลด เคลิรก (sir Dugald Clerk) ทําการ

สรางเครื่องยนตสองจังหวะโดยไมมกีารอัดตัวแตไมประสบผลสําเร็จเนื่องจากมีกลไกที่ยุงยาก ตอมา โจเซฟ

เดย (Joseph Day) ไดออกแบบสรางเครื่องยนตสองจังหวะขึ้นใหมในป ค.ศ. 1891 โดยใชการอัดตัวของแกส

ในเพลาขอเหวี่ยง เพื่อปมเขาในกระบอกสูบ เครื่องยนตดังกลาวจะมชีองไอดีและไอเสียที่ผนังกระบอกสูบ

เครื่องยนตสองจังหวะจึงมจีงัหวะการทํางานคือ จังหวะที่ 1 เปนจังหวะดูดกับจังหวะอัด และจงัหวะที่ 2

เปนจังหวะงานและจังหวะคาย เครื่องยนตดังกลาวไดมีใชกันอยางแพรหลายเรื่อยมา ปจจุบันไดมีการยกเลิก

การผลิตเครื่องยนตสองจังหวะไปแลวเนื่องจากประสิทธภิาพการเผาไหมต่ํา ทําใหปลอยกาซเสยีออกมาสู

บรรยากาศจึงเปนมลพิษตอส่ิงแวดลอม

ในป ค.ศ. 1906 บริษัท คัชฮแมน (Cushman) จํากัด ไดผลิตเครื่องยนตสองจังหวะ 2 สูบ จุดระเบดิ

ดวยประกายไฟใชกับรถแทรกเตอร

ในป ค.ศ. 1982 ดร. รูดลอฟท ดีเซล (Dr. Rudolph Diesel) วิศวกรเครือ่งกลชาวเยอรมัน ไดประดิษฐ

เครื่องยนตที่ทาํการออกแบบใหจดุระเบดิดวยน้าํมันเชื้อเพลิง โดยการทําใหเกิดความรอนจากการอัดตัวที่สูง

เครื่องยนตตนกําเนิดของดีเซลจะใชผงถานหิน แตสามารถเปลี่ยนไปใชเชื้อเพลิงเหลวไดโดยงาย อะดลอฟท

บุช (Adolph Busch) เปนบุคคลแรกที่ประดิษฐเครื่องยนตดีเซลในเมอืงเซนตหลุยส มิซซูรี สหรัฐอมริกาใน

ป ค.ศ. 1986 แตยังไมไดนํามาใชกับรถแทรกเตอรเพื่อการเกษตร

ในป ค.ศ. 1980 โรงงานผลิตรถแทรกเตอร เร่ิมทําการผลิตโดยใชเครื่องยนตสันดาปภายใน บิตเตอร

( ฺBitter) ไดทําการเปรียบเทยีบการพัฒนาเครื่องยนตแกสกับเครื่องจักรไอน้ําที่ใชกับรถแทรกเตอร วินนเิพก

แทรกเตอร (Winnipeg Tracter) ไดออกวารสารรายงานประจําป ตั้งแต ค.ศ. 1908 ถึง ค.ศ. 1912 รายงาน

เกี่ยวกับความเหมาะสมในการใชเครื่องยนตแกสกับเครื่องจักรไอน้ําในการทํางานในสนาม เครื่องยนตแกส

ตองการคนควบคุมการทํางานเพียงคนเดยีว ในขณะที่เครื่องจักรไอน้ําตองการคนทีม่ีพละกําลังมากที่จะตอง

เติมเชื้อเพลิงและน้ําลงหมอตม บริษัท อินเตอรเนชั่นแนลฮาเวทเตอร (International Harvester) จํากัด ได

พัฒนาเครื่องจกัรไอน้ําติดรถแทรกเตอรที่มกีารทํางานจังหวะปด ในปลายป ค.ศ. 1924 แตไมไดผลิตเพื่อ

จําหนาย

Page 6: 1.1 ความนํา 1.pdf · 2010-06-01 · 2 1.2 ความสํัาคญของเครื่ืองมอการเกษตร เครื่ือทางการเกษตรองม

6

ภาพที่ 1.3 รถแทรกเตอรที่มเีครื่องยนตเผาไหมภายในเปนตนกําลัง ท่ีมา : Engine & Tractor Power

ในป ค.ศ. 1910 ถึง ป ค.ศ. 1920 โรงงานผลิตไดเร่ิมตนผลิตรถแทรกเตอรที่มีขนาดเล็กและน้ําหนกั

นอยแทนรถแทรกเตอรเดิมที่มีขนาดใหญ และในชวงเวลานี้ไดมกีารพัฒนาระบบถายทอดกําลัง ระบบจุด

ระเบิด คารบเูรเตอร และกรองอากาศ บางโรงงานไดผลิตและจําหนายรถแทรกเตอรที่มีการบังคับเลี้ยวที่

ลอหลัง และขับเคลื่อนลอหนา รถแทรกเตอรบางคันมีเพียง 2 ลอ

ในป ค.ศ. 1920 รถแทรกเตอรไดผลิตออกมาจําหนาย มีหลายคันไมสามารถใชงานไดดี อี. เอฟ

โครซิเออร (E.F Crozier) เกษตรกรชาวเนบลาสกา (Nebraska) เปนผูหนึ่งที่ประสบปญหาดังกลาว ไดรอง

เรียนไปยังวารสารเนบลาสกา (Nebraska Journal) ทางวารสารจึงไดสงเรื่องที่รองเรียนตอไปยังหนวยงานที่

ทําหนาที่ทดสอบรถแทรกเตอรของรัฐเนบลาสกา (Nebraska Tractor Test Law) ในป ค.ศ. 1919 ตองการให

ทางมหาวิทยาลัยเนบลาสกาทําการทดสอบรถแทรกเตอรที่ผลิตจากโรงงานกอนที่จะจําหนาย ซ่ึงทางหนวย

เนบลาสกาไดยอมรับความคดิดังกลาว และไดทํามาตรฐานในการเปรียบเทียบรถแทรกเตอร เปนผลทําใหมี

การปรับปรุงการออกแบบรถแทรกเตอรมากยิ่งขึ้น

Page 7: 1.1 ความนํา 1.pdf · 2010-06-01 · 2 1.2 ความสํัาคญของเครื่ืองมอการเกษตร เครื่ือทางการเกษตรองม

7

การพัฒนาที่สําคัญของรถแทรกเตอรมีในชวงปลายป ค.ศ. 1920 ไดมีการผลิตรถแทรกเตอรอเนก

ประสงค เพื่อใชสําหรับการไถเตรียมดิน และการปลกูพืช สามารถฉุดลากไถขนาดใหญที่มีน้าํหนักมาก

สรางอุปกรณตอเพลาอํานวยกําลัง (Power Take Off หรือ PTO) เพื่อใชขับอุปกรณภายนอกรถแทรกเตอร

สมาคมวิศวกรรมเกษตรสหรฐัอเมริกา America Society of Agricultural Engineering (ASAE) ไดกําหนด

มาตรฐานเพลาอํานวยกําลังในป ค.ศ. 1925

ในป ค.ศ. 1930 ไดมีการผลิตลอยางสําหรับรถแทรกเตอรทดแทนลอเหล็กที่ใชกับรถแทรกเตอร

สามารถเพิ่มความเร็วของรถแทรกเตอรในสนามหรือบนถนนหลวงและมีการแนะนําการตอพวงอุปกรณกับ

รถแทรกเตอร 3 จุด

ในป ค.ศ. 1940 ถึง ป ค.ศ. 1950 มีระบบไฮดรอลิค ระบบสตารทเครื่องยนต พัฒนาเบาะนั่ง และส่ิง

อ่ืน ๆ ในรถแทรกเตอร ทําใหการใชงานรถแทรกเตอรสะดวกสบายมากขึ้น มีการใชเครื่องยนตดีเซลใน

ป ค.ศ. 1960 และปจจุบนัรถแทรกเตอรสวนใหญจะใชเครื่องยนตดีเซล และในป ค.ศ. 1970 รถแทรกเตอร

ขับเคลื่อนส่ีลอ (Four Wheel Drive) มีใชจาํนวนมากขึ้น

ภาพที่ 1.4 รถแทรกเตอรขับเคลื่อนส่ีลอ (John deere. Series 9030.)

ท่ีมา : Deere & Company , 2009 [ออนไลน].

Page 8: 1.1 ความนํา 1.pdf · 2010-06-01 · 2 1.2 ความสํัาคญของเครื่ืองมอการเกษตร เครื่ือทางการเกษตรองม

8

1.4 การพัฒนาเครื่องมือการเกษตร เครื่องจักรกลเกษตรไดถูกประดิษฐและพฒันามาตั้งแตมนุษยรูจกัการทําการเกษตร เร่ิมจากเครือ่งทุน

แรงงาย ๆ สําหรับใชแรงงานของตนเอง จากนัน้ก็พฒันาใหใชกับแรงงานของสัตวจนกระทั่งมาถึงยุคที่ใช

เครื่องตนกําลัง ในปจจุบันประเทศที่เจรญิทางดานการเกษตรไดใชเครื่องจักรกลเกษตรที่ทันสมัย ซ่ึงมีขนาด

ใหญและเทคโนโลยีสูง เพื่อใหบรรลุวัตถุประสงคของการใชเครื่องจักรกลเกษตร แตบางครั้งเครื่องจักรกล

เกษตรที่พัฒนาขึ้นก็ไมสามารถที่จะใชไดกบัทุกภูมิประเทศ อยางเชนประเทศไทยเครื่องจักรกลเกษตรขนาด

ใหญและมีประสิทธิภาพสูงไมสามารถนํามาใชไดเพราะขอจํากัดเรื่องสภาพพื้นที ่ เนื่องจากเกษตรกรไทย

สวนใหญจะมพีื้นที่ถือครองไมมากพอที่จะไดคาตอบแทนคุมคากับการลงทุนใชเครื่องจักรกลเกษตร กอรป

กับวิธีการเพาะปลูก การจดัการแปลง และการเตรียมดนิที่ไมดีพอ ซ่ึงจะทําใหเครื่องจักรกลเกษตรที่นํามาใช

งานไมไดประสิทธิภาพเทาทีค่วร

การพัฒนาเครือ่งจักรกลเกษตรไดกาวหนาไปมาก นอกจากจะมกีารประดิษฐใหสะดวกเหมาะสม

กับการใชงานมากขึ้นแลว ยงัมีการนําเทคโนโลยีมาประยุกตใชในระบบควบคุมตาง ๆ การใชคอมพิวเตอร

และอุปกรณอิเล็คทรอนิคสมาใชในงานเกษตร เชน การใชอุปกรณเซ็นเซอร (Senser) การใชระบบควบคุม

อัตโมัติ (RFID) การใชระบบขอมูลสารสนเทศทางภูมศิาสตร (GPS) การใชเครือ่งควบคุมความสูงการ

ทํางาน การควบคุมทิศทางของระบบการใหน้ําแกพืชแบบสปริงเกลอร (Sprinkler) อุปกรณอัตโนมตัิควบคมุ

ระดับของเมล็ดในเครื่องเก็บเกี่ยวขนาดใหญ และอุปกรณอัตโนมัติควบคุมปริมาณการฉีดพนสารเคมีกําจัด

วัชพืช และโปรแกรมคอมพวิเตอรเพื่อการจัดการเครื่องจกัรกลเกษตรสาํหรับการเก็บเกี่ยวขาว เปนตน การ

วิจัยและพฒันาสิ่งตาง ๆ เหลานี้ กเ็พื่อใหเครื่องจกัรกลเกษตรทีป่ระดิษฐใหมาทํางานไดอยางรวดเร็วมี

ประสิทธิภาพสูง และลดการใชแรงงานดานการเกษตรทีป่ระสบปญหาขาดแคลนเรื่อย ๆ จากเทคโนโลยีการ

ผลิตจนถึงเทคโนโลยกีารเกบ็เกี่ยวไดมีบทบาทมากยิ่งขึ้นอยางกาวกระโดดในสองทศวรรษที่ผานมา ดังนัน้

งานดานวิศวกรรมเกษตร จึงมีความสําคญัมากขึ้นที่จะชวยพัฒนาประเทศที่มีอาชีพทางการเกษตรเปนหลัก

การนําเครื่องมือทุนแรงหรือเครื่องจักรกลเกษตรมาใชในกิจกรรมทางการเกษตรนั้นไดเปนที่ตระหนัก และ

ใชกันอยางแพรหลายในประเทศทางยุโรปและทวีปอเมริกามาเปนเวลาชานาน เนื่องจากแถบนี้มพีืน้ที่ขนาด

ใหญ สามารถทํางานไดอยางเต็มพื้นที่และใหผลผลิตสูง และกลุมประเทศทางเอเชียตะวันออกเฉียงใตซ่ึง

เปนกลุมประเทศที่มีการทําเกษตรกรรมมาก และเปนประเทศที่กําลังพฒันา การนําเครื่องจักรทุนแรงมาใช

Page 9: 1.1 ความนํา 1.pdf · 2010-06-01 · 2 1.2 ความสํัาคญของเครื่ืองมอการเกษตร เครื่ือทางการเกษตรองม

9

งานในการเกษตร สามารถเพิ่มผลผลิต และยกระดับฐานะความเปนอยูของเกษตรกรอยางเห็นไดชัด ดังนัน้

การผลิตบุคลากรที่สามารถรองรับงานดานเกษตรกรรมทีเ่กี่ยวของกับขอจํากัดของเวลา สภาพภูมิอากาศ

รวมถึงการจัดการเรื่องการใชเครื่องจักรกลเกษตร และเครื่องมือทุนแรงในการที่จะทํางานใหเสร็จทันเวลา

กอนที่ผลผลิตจะไดรับความเสียหายจากภยัธรรมชาติจะเปนการลดความเสียหาย ทั้งยังเพิ่มประสิทธิภาพ

และคุณภาพในการผลิตทางการเกษตรอีกดวย ชวยแบงเบาภาระในการขาดแคลนแรงงานและแกปญหาการ

จัดการแรงงานในชวงเวลาที่ตองการใชแรงงานมาก

การนําเครื่องจักรกลเกษตรขนาดใหญมาใชงานเกษตรกรรม ในประเทศทางเอเชียตะวนัออกเฉียงใต

ยังมีจํานวนไมมากนักเนื่องจากมีราคาแพงและเทคโนโลยีคอนขางสูง และพื้นทีก่ารเกษตรยังไมอยูในสภาพ

ที่เหมาะสม อยางไรก็ตามการพัฒนาและววิัฒนาการทางเทคโนโลยีของเครื่องจักรกลเกษตรขนาดใหญ ได

มีการถายทอดเทคโนโลยีจากประเทศที่พฒันาแลวมาสูประเทศในแถบนี้ ทําใหเกิดการพัฒนาและสราง

เครื่องจักรกลขนาดกลางและขนาดเล็กขึน้ ดังจะเห็นไดจากความเจรญิ และการเกดิอุตสาหกรรมขนาดยอม

อยางรวดเรว็ของประเทศในแถบภูมิภาคนี้ เชน โรงงานผลิตรถแทรกเตอรขนาดเล็ก รถไถเดินตามกําลังไม

เกิน 25 แรงมา โรงงานผลิตเครื่องมือเตรียมดิน โรงงานผลิตเครื่องมือปลูกพืช และโรงงานผลิตเครื่องมือ

แปรสภาพผลผลิต ทั้งที่ใชกับเครื่องยนตขนาดเล็กและใชกับแรงสัตว ประเทศที่เจริญอยางรวดเรว็กวา

ประเทศอื่นจนกลายเปนประเทศอุตสาหกรรมอยางเชนประเทศญี่ปุนจดัวาเปนประเทศที่ใหการสงเสริม

และพัฒนาเครื่องมือทางการเกษตรอยางจริงจัง โดยมกีารจัดตั้งสถาบันเครื่องจักรกลทางเกษตรนานาชาต ิ

ในภูมภิาคแถบเอเชียตะวนัออกเฉียงใต นอกจากนี้ประเทศอินเดียมกีารวิจยั และพัฒนาเครื่องจกัรกลเกษตร

ขนาดเล็ก ใชสัตวลากใหมปีระสิทธิภาพดีขึ้น ที่สถาบันวิจยั ICRISAT (International Crop Research

Institute for the Semi-Arid Tropics) ตอมาประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทยและประเทศอื่น ๆ สงเสริม

และพัฒนาการนําเครื่องจักรกลเขามาใชในงานทางเกษตรกรรมมากยิ่งขึ้น และงานดานเกษตรกลวิธานมี

ความจําเปนตอการใชงานและพัฒนาเครื่องจักรกลเกษตรในประเทศไทยอยางมาก

ในชวงป พ.ศ. 2452 ถึง ป พ.ศ. 2454 กระทรวงเกษตราธิการ ไดนํารถแทรกเตอรจากตางประเทศ

เขามาใชสาธิตเผยแพรในงานแสดงนิทรรศการเกษตรและพาณิชย ซ่ึงจัดขึ้นเปนครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อ

พ.ศ. 2453 มีการทดลองใชในพื้นที่นาแถบรังสิต ปรากฏวาไมสามารถใชงานในสภาพดินนาประเทศไทยได

อีกทั้งยังมีราคาแพงจึงไมมกีารนําเขาจากตางประเทศอีก จนกระทั่ง หมอมเจา สิทธิพร กฤษดากร ไดนํารถ

Page 10: 1.1 ความนํา 1.pdf · 2010-06-01 · 2 1.2 ความสํัาคญของเครื่ืองมอการเกษตร เครื่ือทางการเกษตรองม

10

แทรกเตอรมาใชงานสวนตัวท่ีบางเบิด จังหวัดประจวบคิรีขันธ ปรากฏวาสามารถใชงานไดด ีจึงเริ่มมีการสั่ง

เขามาใชงานบางแตคอนขางนอย เนื่องจากมีราคาแพง ประมาณ ปพ.ศ. 2453 ถึงป พ.ศ. 2492 ซ่ึงอาจกลาว

ไดวาเปนชวงการบุกเบิกของการใชเครื่องจักรกลเกษตรในการทําการเกษตรแบบใหมของประเทศ มีการ

กอตั้งโรงเรียนทางการเกษตร และนําเครื่องจักรกลเกษตรจากตางประเทศ เชน รถแทรกเตอร เครื่องมือ

อุปกรณเตรียมดินชนิดตาง ๆ ไดแก ไถหวัหมู ไถจาน ไถสิ่ว ไถดินดาน ไถยกรอง พรวนจาน พรวนซี ่

พรวนหมนุโรตารี่ พรวนผสม คราด และลูกกลิ้ง เปนตน เครื่องมอือุปกรณในการปลูกพืชตาง ๆ ไดแก

เครื่องดํานา เครื่องหวานเครื่องปลูกพืชเปนระยะ เครื่องหยอดเมล็ด เปนตน เครื่องมืออุปกรณในการ

บํารุงรักษาพืช ไดแก เครื่องใหปุยชนิดแหง เครื่องหวานปุยเม็ด เครื่องโรยปุยเม็ด เครื่องใหปุยน้ํา เครื่องให

ปุยแบบกาซ เครื่องพรวนกําจัดวัชพืช เครื่องพนสารเคมี เครื่องสูบน้ํา และระบบการใหน้ําแกพืช เปนตน

เครื่องมือเก็บเกี่ยวตาง ๆ ไดแก เครื่องเกีย่ววางราย เครื่องเกี่ยวนวดขาว เครื่องตดัออย เครื่องเกี่ยวหญา

อาหารสัตว และเครื่องขุดมันสําปะหลัง เปนตน มาทาํการสอน ทาํใหมีการเผยแพรความรูวิชาการเกษตร

ทางดานเกษตรกลวิธานในประเทศไทยใหกวางขวางยิ่งขึน้ อยางไรกต็ามการใชเครือ่งจักรกลเกษตรในการ

ทําเกษตรแบบใหมในชวงนีก้็ไมประสบผลสําเร็จเทาที่ควร เพราะเกษตรกรไมนยิมใชกันเลยเนือ่งจากราคา

เครื่องจักรกลเกษตรยังมีราคาแพง แตก็เปนจุดเริ่มตนทีสํ่าคัญในการนําไปสูการพฒันาในระยะตอมา

ในป พ.ศ. 2493 ถึง พ.ศ. 2512 กอนสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลไดเร่ิมมกีารสงเสริมใหเกษตรกรปลูกพืชชนิดใหม ๆ เชน แตงโม ขาวโพด ฝาย พืชผักและผลไมตาง ๆ เปนตน หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงเริ่มมีการใชรถแทรกเตอรขนาดใหญ และเครื่องมืออุปกรณตาง ๆ เพื่อชวยในการบุกเบิกพืน้ที่ และเตรียมดินเพื่อปลูกพืชใหม ๆ ในชวงนีท้ําใหเกษตรกรไทยรูจักการใชเครื่องจักรกลเกษตรสมัยใหมมากขึ้น และมกีารสั่งรถแทรกเตอร และเครื่องมือทางเกษตรพรอมอุปกรณตาง ๆ เขามาใชมากขึ้น แตก็มีเกษตรกรเพียงจํานวนนอยเทานัน้ทีส่ามารถจัดซื้อรถแทรกเตอรไวใชงานเองได หนวยงานของรัฐไดเร่ิมมีความสนใจการสั่งเครื่องนวดและเครือ่งเก็บเกีย่วนวดเขามา เพื่อศึกษาการใชงานและพัฒนาการเกษตรของประเทศมากขึ้น ในป พ.ศ. 2497 ทางรัฐบาลไดกอตั้งกรมการขาวขึ้น โดยมีกองวิศวกรรมเปนหนวย งานหนึ่งมหีนาที่รับผิดชอบในการวิจัย พฒันา และเผยแพรใหมกีารใชเครื่องจักรกลเกษตรสมัยใหมสําหรับการทํานา การจัดตัง้กองวิศวกรรมนี้ทําใหมกีารวิจัยและพฒันาเครื่องจักรกลเกษตรสมัยใหม ซ่ึงก็มีเครื่องจักรกลเกษตรที่วจิัยและพัฒนาประสบความสําเร็จแลว เชน รถแทรกเตอรควายเหล็ก เครื่องสูบน้ําเทพฤทธิ์ เครื่องสีขาว และเครื่องเก็บเกีย่วพืช เปนตน ซ่ึงมีโรงงานเอกชนไดนาํแบบไปผลิตจําหนายแกเกษตรกรในราคาที่ถูกกวาเครื่องจักรกลเกษตรที่นําเขาจากตางประเทศ

Page 11: 1.1 ความนํา 1.pdf · 2010-06-01 · 2 1.2 ความสํัาคญของเครื่ืองมอการเกษตร เครื่ือทางการเกษตรองม

11

อยางไรก็ตาม เครื่องจักรกลเกษตรและอุปกรณที่ส่ังเขาจากตางประเทศยังมีราคาแพงมาก เมื่อเทยีบ

กับรายไดของเกษตรกร แตเนื่องจากมีการขยายพืน้ที่เพาะปลูกมาก ทาํใหเครื่องจักรกลเกษตรขนาดใหญมี

ความจําเปนอยางมากสําหรบังานบุกเบิกพืน้ที่ใหม จึงมีการนําเขารถแทรกเตอรขนาดใหญและขนาดกลาง

ซ่ึงสวนใหญมาจากประเทศอังกฤษ ในอตัราที่เพิ่มสูงขึ้นอยางรวดเร็ว จากสถิติของกรมศุลกากร ปรากฏวา

ในป พ.ศ. 2500 มีการนําเขารถแทรกเตอรขนาดใหญ 267 คัน และ เพิ่มขึ้นเปน 2,610 คัน ในป พ.ศ. 2513

โดยรถแทรกเตอรเหลานี้ สวนใหญจะเปนของนายทุน ซ่ึงซ้ือไวรับจางเปดพืน้ที่เพาะปลูกใหม และเตรียม

ดินใหกับเกษตรกร แมวาการขยายตวัของการใชเครื่องจักรกลเกษตรสมัยใหมจะอยูในวงแคบ แตเนื่องจาก

ขั้นตอนของการเพาะปลูกพชืชนิดใหม ๆ จําเปนตองใชเครื่องจักรกลเกษตรสมัยใหม ทั้งภาครัฐและเอกชน

จึงไดดําเนินการเพื่อพัฒนาและเรงรัดใหมกีารใชเครื่องจกัรกลเกษตรเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะทางภาครัฐได

ตระหนกัถึงความจําเปนของเครื่องจักรกลเกษตรสมัยใหม จึงไดจัดตัง้งบประมาณดําเนินการโครงการและ

กิจกรรมหลายอยางที่จะเผยแพรและสงเสริมใหมีการใชเครื่องจักรกลเกษตรอยางกวางขวาง เชน จัดตั้ง

หนวยบริการเครื่องจักกลเกษตรแกเกษตรกร การจัดตั้งศูนยฝกอบรมการใชและการซอมแซมบํารุงรักษา

เครื่องจักรกลเกษตร การจัดสินเชื่อจากทางราชการสําหรับจัดซื้อรถแทรกเตอร และการวิจัยพัฒนา

เครื่องจักรกลเกษตร เปนตน จากการที่ไดจัดตั้งกองวศิวกรรมขึ้นภายในกรมการขาวในป พ.ศ. 2498 เพื่อ

รับผิดชอบงานดานวิจยัพัฒนาเครื่องจักรกลเกษตรของประเทศนั้น ทาํใหเร่ิมมีตนแบบเครื่องจักรกลเกษตรที่

เหมาะสมกับสภาพการเกษตรกรรมของประเทศมากขึ้น และดวยความพยายามของกองวิศวกรรมและ

โรงงานเอกชน ทําใหเกษตรกรสามารถจัดซื้อเครื่องจักรกลเกษตรที่มปีระสิทธิภาพในราคาที่เหมาะสมไวใช

งานเองได งานวิจยัของทางราชการในชวงระยะนั้น เนนเฉพาะเครื่องจักรกลเกษตรสําหรับที่ลุม และพื้นที่

ชลประทานเทานั้น โดยเนนดานเครื่องมือเตรียมดิน และชลประทาน ทําใหยังมีแบบและชนิดเครื่องจักรกล

เกษตรที่ใหเกษตรกรเลือกใชงานอยูนอย อยางไรก็ตามงานวิจยัและพัฒนาในชวงระยะเวลานัน้ก็เหมาะสม

กับสภาพการเกษตรกรรมของประเทศ ซ่ึงเพาะปลูกขาวในที่ลุมเปนหลัก

จากความพยายามของภาครฐัและเอกชนในการวจิัยและพัฒนาในชวงดังกลาว และถึงแมจะมีการ

สาธิตและเผยแพรเครื่องจักรกลเกษตรอื่น ๆ อีกหลายชนิดก็ตาม แตการใชเครื่องจักรกลเกษตรสมัยใหมที่

นิยมใชกันอยางแพรหลายก็มเีพียงรถแทรกเตอรและเครื่องสูบน้ําเทานั้น จึงอาจกลาวไดวา การพฒันาใน

ระยะนี้เปนไปอยางเชื่องชาและไมประสบผลสําเร็จเทาที่ควร

Page 12: 1.1 ความนํา 1.pdf · 2010-06-01 · 2 1.2 ความสํัาคญของเครื่ืองมอการเกษตร เครื่ือทางการเกษตรองม

12

นับตั้งแตป พ.ศ. 2513 เปนตนมา เปนชวงของการขยายตัวในการใชเครื่องจักรกลเกษตร ซ่ึงเปนผล

มาจากการที่กรมการขาวประสบความสําเร็จในการผลิตขาวพันธุ กข. ที่ใหผลผลิตสูง และเกษตรกรนิยม

ปลูกขาวพันธุนี้กันอยางแพรหลาย โดยเฉพาะเกษตรกรในเขตชลประทานสามารถปลูกขาวไดปละมากกวา

1 คร้ัง และพื้นที่ที่ทําการเพาะปลูกขาวปละ 2 คร้ังก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามการขยายเขตของโครงการ

ชลประทาน แตความนยิมการปลูกขาวปละ 2 คร้ังนี้กต็องเผชิญกับปญหาเรื่องชวงเวลาของฤดูกาลตอเนื่อง

ระหวางการปลูกพืชคร้ังแรก และการปลกูพืชคร้ังที่สอง ซ่ึงมีชวงเวลาสั้นและปญหาเรื่องแรงงานไมเพยีง

พอที่จะดําเนินงานใหแลวเสร็จทันฤดูกาล โดยเฉพาะในชวงระยะเตรียมดิน และการเก็บเกีย่วที่ตอเนื่องกัน

การเตรียมดนิโดยใชแรงงานสัตวนั้นชาไมทันตอเวลา ดังนั้นการขยายตวัของการใชเครื่องจักรกลเกษตรจึง

เร่ิมจากเครื่องมือและอุปกรณสําหรับเตรียมดิน ซ่ึงมีลักษณะการใชอยู 2 ลักษณะ คือการใชรถแทรกเตอร

ขนาดใหญที่ส่ังเขามาจากตางประเทศหรือประกอบภายในประเทศ สวนใหญใชเครื่องยนตระหวาง 70 – 80

แรงมา สวนมากจะใชในลักษณะบริการรับจาง อุปกรณที่ใชจะเปนไถจาน ซ่ึงใชเตรียมดินสําหรับพืชไร

หรือการทํานาหวานในทีแ่หง ในระยะแรกรถแทรกเตอรรับจางนี้จะตระเวนรับจางไปตามจังหวัดตาง ๆ ถา

มีชวงเวลาเตรยีมดินที่ตอเนือ่งกันจะตองใชคนขับผลัดเปลี่ยนวนัละ 3 คน และทํางานวันละ 18 ช่ัวโมง ซ่ึง

ทํารายไดใหแกเจาของและคนขับเปนอยางมาก แตเครือ่งก็ชํารุดเสียหายในเวลาสั้น จากการที่เกษตรกรมี

ความตองการใชรถแทรกเตอรรับจางกันมาก ยอมแสดงใหเห็นวาเกษตรกรสวนใหญเห็นความสําคัญและ

ประโยชนของเครื่องจักรกลเกษตรสมัยใหมแลว การใชรถแทรกเตอรขนาดเล็กที่มีกาํลังเครื่องยนตระหวาง

6 – 25 แรงมา ทั้งแบบ 4 ลอ และ 2 ลอ หรือที่เรียกกนัวา “รถไถเดินตาม” รถแทรกเตอรขนาดนี้สวนใหญใช

ในนาที่ลุมและเหมาะสําหรบัพื้นที่ประมาณ 25 – 30 ไร เปนรถแทรกเตอรที่มีทั้งที่ส่ังเขาจากตางประเทศ

และผลิตขึ้นเองภายในประเทศ แตสวนมากจะนิยมใชรถแทรกเตอรที่ผลิตขึ้นภายในประเทศ เกษตรกรสวน

ใหญที่เพาะปลูกปละ 2 คร้ัง จะใชในการเตรียมดินแทนแรงงานสัตว และใชเครื่องยนตสําหรับหมุนเครื่อง

สูบน้ําดวย

ตั้งแตที่เกษตรกรสามารถทํานาและเพาะปลูกพืชอ่ืนไดปละมากกวา 1 คร้ัง การใชเครื่องจักรกล

เกษตรกเ็พิ่มขึน้อยางรวดเร็ว ตามรายงานของสํานักงานเศรษฐกิจการเกษตรจํานวนการใชรถไถเดนิตามใน

ป พ.ศ. 2518 มีประมาณ 90,000 คัน ไดเพิ่มขึ้นเปนประมาณ 400,000 คัน ในป พ.ศ. 2528 และ ป พ.ศ.

2533 มีประมาณ 660,685 คัน นอกจากนี้กม็ีการแนะนําเผยแพรและผลิตเครื่องจักรกลเกษตรใหม ๆ เพิ่มขึ้น

Page 13: 1.1 ความนํา 1.pdf · 2010-06-01 · 2 1.2 ความสํัาคญของเครื่ืองมอการเกษตร เครื่ือทางการเกษตรองม

13

อีกหลายชนดิ เชน เครื่องนวดขาว เครื่องสีขาว เครื่องกะเทาะขาวโพด เครื่องปลูก เครื่องเกี่ยวขาว และรถ

แทรกเตอร 4 ลอเล็ก เปนตน จนปจจุบนักลาวไดวาในแถบภูมภิาคนี้ ประเทศไทยมีการใชเครื่องจักรกล

เกษตรอยูในระดับสูงมาก รองจากประเทศญี่ปุน เกาหลี และไตหวัน เทานั้น นอกจากนีก้ารพัฒนา

เครื่องจักรกลเกษตรของประเทศไทยไดพฒันากระบวนการผลิตเปนระบบอุตสาหกรรม การนําเทคโนโลยี

จากตางประเทศมาใชในการออกแบบและพัฒนาเครื่องจกัรกลเกษตรในประเทศ การวิจัยและพัฒนาเพื่อการ

แกไขปญหาการใชเครื่องจักรกลเกษตรจากหนวยงานภาครัฐและเอกชน จึงทําใหเครื่องจักรกลเกษตรของ

ประเทศไทยมกีารพัฒนาอยางตอเนื่องจนทีเ่ปนที่ยอมรับของเกษตรกรในปจจุบนั

1.5 แนวโนมเครื่องจักรกลเกษตรในอนาคต จากความเจรญิกาวหนาดานเทคโนโลยีในยุคปจจุบนั ไดมีการนําเทคโนโลยีตาง ๆ มาใชประกอบการ

ดํารงชีวิตมากขึ้น และไดมีนาํมาใชงานในดานตาง ๆ การติดตอส่ือสาร และระบบอินเตอรเน็ต (Internet) ที่

ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วโลก กอรปกับแรงงานในภาคการเกษตรลดลงจึงมีการพัฒนาเครื่องจักรกล เครื่องมือ

ทุนแรง และอปุกรณทางการเกษตรใหมีความสามารถในการทํางานมากขึ้น โดยมีการติดตั้งเครื่องมือส่ือสาร

ระบบวิทยุกับเครื่องมือการเกษตร เพื่อตรวจสอบถึงการทํางาน การซอมแซม และบํารุงรักษา รถแทรกเตอร

ก็มีความเรว็สูงขึ้นสามารถวิ่งบนถนนหลวงและใชงานไดดี มีจอภาพแสดงผล (Monitor) ติดตั้งเครื่องมือวัด

ตรวจสอบสภาพการทํางาน และหองคนขบัติดตั้งเครื่องปรับอากาศ จึงมีความสะดวกสบายยิ่งขึ้น

ภาพที่ 1.5 หองคนขับที่มีจอภาพแสดงผล และอุปกรณอํานวยความสะดวกในการทาํงาน

Page 14: 1.1 ความนํา 1.pdf · 2010-06-01 · 2 1.2 ความสํัาคญของเครื่ืองมอการเกษตร เครื่ือทางการเกษตรองม

14

ภาพที่ 1.6 แสดงเครื่องจักรกลเกษตรที่มีความสามารถในการทํางานสูงในยุคปจจุบัน ท่ีมา :Deere & Company , 2009 [ออนไลน].

แนวโนมในอนาคต เครื่องมือทางการเกษตร รถแทรกเตอรตนกําลัง อาจจะใชพลังงานอื่นทดแทน

พลังงานเชื้อเพลิง เชน พลังงานแสงอาทิตย เชื้อเพลิงไบโอดีเซล เชื้อเพลิงไฮโดรเจน เชื้อเพลิงจากชีวมวล

เปนตน การพัฒนาเครื่องยนตที่สามารถใชแหลงพลังงานไดสองชนิดที่เรียกวาเครื่องยนตลูกผสม (Hybrid)

คือ สามารถใชไดทั้งน้ํามันเชื้อเพลิงและไฟฟา สามารถใชงานไดหลายประเภท เชน การใชงานภาคสนาม

บรรทุก ขนสง และการโดยสารได

1.6 สรุป

ชางเกษตรเปนสาขาหนึ่งของอาชีพเกษตร ทําหนาที่ในการซอมแซม และดูแลบํารุงรักษาเครื่องมือทาง

การเกษตร ซ่ึงจะตองศึกษาเรียนรูในสาขาวิชาชางตาง ๆ เชน สาขาชางโลหะเพื่อใหสามารถใชเครื่องมือ

เกี่ยวกับโลหะในการตัด เจาะ จับยดึ เชื่อม สาขาชางไม เพื่อใหใชเครื่องมือเกี่ยวกับงานไม การตัดไม การตอ

ไม การเขาไม สาขาชางปูน เพื่อใหมีความรูและสามารถใชงานทางดานการผสมคอนกรีต การเทคอนกรีต

Page 15: 1.1 ความนํา 1.pdf · 2010-06-01 · 2 1.2 ความสํัาคญของเครื่ืองมอการเกษตร เครื่ือทางการเกษตรองม

15

การกอผนังอิฐ สาขาชางไฟฟา เพื่อใหมีความรูและสามารถติดตั้งและซอมแซมอุปกรณไฟฟาเบื้องตนได และจะตองใชงานทางชางอยางปลอดภยั สามารถปองกันอันตรายจากการใชเครื่องมอืทางชางได ในอนาคต

เครื่องมือทางการเกษตรสามารถใชงานไดอยางเอนกประสงค มีความสามารถสูง ประหยัดพลังงานและ

เวลา ดังนั้นผูที่ทํางานเกีย่วของทางดานการเกษตร ทั้งเกษตรกรและนักศึกษาจะตองติดตามศึกษา และรับรูเทคโนโลยีที่ใชกับการเกษตร เพื่อการใชงานการดูแลรักษา และการซอมบํารุง และปจจุบันโลกไดพัฒนา

ระบบเทคโนโลยีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถติดตอส่ือสารไดอยางรวดเร็วดวยเทคโนโลยี 3G

(3rd Generation) ระบบคอมพิวเตอรสามารถทํางานไดรวดเร็ว ซ่ึงไดนํามาใชกับเครื่องจักรกลเกษตรทําให

การทํางานของเครื่องจักรกลเกษตรมีประสิทธิภาพสูง ดังนั้นจึงจําเปนตองมีการศึกษาเรียนรูใหทนัสมัยอยู

เสมอ