การเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในการเข้าสู่ตลาดประชาคมเศ...

10
การเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในการเข้าสู่ตลาด ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กรณีศึกษา : ประเทศไทย เวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย SMEs Entrepreneurs’ Preparation to Enter ASEAN Economic Community Markets A Case Study: Thailand, Vietnam Malaysia and Indonesia Country ปุญญภณ เทพประสิทธิ1 Punyapon Tepprasit บทคัดย่อ วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมใน การเข้าสู่ตลาดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กรณีศึกษา ประเทศไทย เวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย โดยศึกษา ผลของรูปแบบการเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการ ที่มีต่อศักยภาพของธุรกิจ ด้านความสามารถในการแก้ไข ปัญหาทางธุรกิจ ด้านความสามารถในการเข้าสู่ตลาด AEC และด้านการดาเนินงานอย่างมีจริยธรรม โดยได้ ทาการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม ของ 4 ประเทศ ได้แก่ ไทย เวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย จานวน 80 ตัวอย่าง และใช้สถิติการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ในการทดสอบสมมติฐาน ผลการศึกษาพบว่า การเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในการเข้าสูตลาดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ทั้ง 6 ด้าน ประกอบด้วย 1 ) การหาที่ปรึกษาที่ดี 2) การสร้างเครือข่าย 3) การ เรียนรู้เกี่ยวกับความเป็นผู้ประกอบการ 4 ) การวิเคราะห์ตนเองกับธุรกิจ 5 ) การมีทักษะในการจัดการหรือแก้ไข วิกฤต และ 6) การศึกษาอุตสาหกรรม มีอิทธิพลต่อการเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมในการเข้าสู่ตลาดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่ระดับนัยสาคัญ 0.01 คาสาคัญ: การเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน Abstract This research aims to study SMEs entrepreneurs’ preparation to enter ASEAN economic community markets a case study: Thailand, Vietnam Malaysia and Indonesia country by studying the entrepreneurs’ readiness preparation model that was attributable to business’s ability in competency to solve the problem, competency to enter AEC’s market, and business ethics. The study was conducted on 80 samples of medium-sized and small-sized enterprises from 4 countries such as Thailand, Vietnam, Malaysia, and Indonesia. The statistics employed for data analysis was multiple regression in order to test the hypothesis. The results indicated that 6 aspects of the entrepreneurs’ readiness preparation as follows; 1) find good mentor, 2) build a network, 3) learn about the entrepreneurship, 4) analyze personality and business preferences, 5) improve or acquire critical skills in crisis management or resolution, and 6) study an industry. All of these aspects influenced the business’s ability in 1 กรรมการบริหาร บริษัท เอ็มวีพี คอนซัลท์แทนท์ จากัด, อาจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

Upload: punyapon-tepprasit

Post on 19-Jun-2015

1.527 views

Category:

Education


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: การเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในการเข้าสู่ตลาดประชาคมเศ

การเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในการเข้าสู่ตลาดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กรณีศึกษา : ประเทศไทย เวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย

SMEs Entrepreneurs’ Preparation to Enter ASEAN Economic Community Markets A Case Study: Thailand, Vietnam Malaysia and Indonesia Country

ปุญญภณ เทพประสิทธิ์1 Punyapon Tepprasit

บทคัดย่อ วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในการเข้าสู่ตลาดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กรณีศึกษา ประเทศไทย เวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย โดยศึกษาผลของรูปแบบการเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการ ที่มีต่อศักยภาพของธุรกิจ ด้านความสามารถในการแก้ไขปัญหาทางธุรกิจ ด้านความสามารถในการเข้าสู่ตลาด AEC และด้านการด าเนินงานอย่างมีจริยธรรม โดยได้ท าการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม ของ 4 ประเทศ ได้แก่ ไทย เวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย จ านวน 80 ตัวอย่าง และใช้สถิติการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ในการทดสอบสมมติฐาน ผลการศึกษาพบว่า การเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในการเข้าสู่ตลาดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ทั้ง 6 ด้าน ประกอบด้วย 1) การหาที่ปรึกษาที่ดี 2) การสร้างเครือข่าย 3) การเรียนรู้เกี่ยวกับความเป็นผู้ประกอบการ 4) การวิเคราะห์ตนเองกับธุรกิจ 5) การมีทักษะในการจัดการหรือแก้ไขวิกฤต และ 6) การศึกษาอุตสาหกรรม มีอิทธิพลต่อการเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในการเข้าสู่ตลาดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่ระดับนัยส าคัญ 0.01 ค าส าคัญ: การเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

Abstract This research aims to study SMEs entrepreneurs’ preparation to enter ASEAN economic community markets a case study: Thailand, Vietnam Malaysia and Indonesia country by studying the entrepreneurs’ readiness preparation model that was attributable to business’s ability in competency to solve the problem, competency to enter AEC’s market, and business ethics. The study was conducted on 80 samples of medium-sized and small-sized enterprises from 4 countries such as Thailand, Vietnam, Malaysia, and Indonesia. The statistics employed for data analysis was multiple regression in order to test the hypothesis. The results indicated that 6 aspects of the entrepreneurs’ readiness preparation as follows; 1) find good mentor, 2) build a network, 3) learn about the entrepreneurship, 4) analyze personality and business preferences, 5) improve or acquire critical skills in crisis management or resolution, and 6) study an industry. All of these aspects influenced the business’s ability in

1 กรรมการบริหาร บริษัท เอ็มวีพี คอนซัลท์แทนท์ จ ากัด, อาจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

Page 2: การเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในการเข้าสู่ตลาดประชาคมเศ

terms of competency to solve the problem, competency to enter AEC’s market, and business ethics at the level of statistical significance of 0.01. Key words: SMEs entrepreneurs’ preparation, ASEAN Economic Community (AEC)

บทน า ปัจจุบันประเทศไทยก าลังเข้าสู่การเป็นประเทศในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) โดยจะเปิดเสรีอย่างเต็มตัวในปี 2015 ซึ่งรัฐบาลเช่ือมั่นว่าจะสร้างคุณประโยชน์ทางเศรษฐกิจต่อประเทศสมาชิก และยกระดับคุณภาพการด าเนินชีวิตของประชาชนชาวไทย ทั้งนี้รัฐบาลไทยได้สนับสนุนให้เกิดรูปแบบการท าธุรกิจแบบวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises) เพื่อเป็นก าลังส าคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในการแข่งขันกับคู่แข่งในตลาดโลกและตลาด AEC เนื่องจากเป็นรูปแบบทางธุรกิจที่มีความส าคัญในการยกระดับรายได้ในระดับรากหญ้าหรือพื้นฐานของประเทศ ซึ่งช่วยในการกระจายรายได้ และความมั่งคั่งไปยังประชาชนทั่วประเทศอย่างทั่วถึง และเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนชาวไทย (สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม, 2554) ในปัจจุบันรัฐบาลไทยได้ยกระดับการด าเนินธุรกิจในรูปแบบ SMEs โดยมุ่งเน้นการสร้างหรือเพิ่มรายได้ของผู้ประกอบจากการส่งออกสินค้าไปยังตลาดต่างๆ ท่ัว AEC แต่ทั้งนี้เกิดค าถามมากมายถึงผลลบท่ีอาจได้รับจากการเข้าสู่ AEC นั่นคือ ผู้ประกอบการ SMEs ของไทย มีความพร้อมเพียงใด เพราะทุกวันนี้จะพบว่า ข่าวสารได้น าเสนอภาพลักษณ์เชิงบวกของ AEC แต่ไม่มีการกล่าวถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น เช่น การเข้ามาของคู่แข่งขันรายใหม่ที่มีศักยภาพด้านภาษา เงินทุน และวิทยาการบริหารจัดการ เพราะตลาดประเทศสิงคโปร์เปิดเสรีให้ธุรกิจและนักลงทุนจากทั่วโลกเข้าไปจดทะเบียนทางธุรกิจซึ่งจะท าให้กลายเป็นบริษัทสัญชาติสิงคโปร์และได้รับสิทธิในการค้าภายใต้ AEC เสมือนเป็นประเทศสมาชิก ซึ่งนั่นหมายความว่าผู้ประกอบการไทยจะต้องแข่งขันกับคู่แข่งขันจากทั่วโลกภายใต้ AEC การศึกษาครั้งนี้จึงต้องการประเมินความพร้อมของผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตอิเล็กทรอนิกส์และช้ินส่วนประกอบซึ่งถือเป็นอุตสาหกรรมอันดับ 1-2 ในการสร้างรายได้เข้าสู่ประเทศไม่แพ้อุตสาหกรรมยานยนต์ ทั้งนี้เพื่อให้ผลการศึกษาสามารถน าไปประยุกต์ใช้ได้จริง จึงได้ท าการเปรียบเทียบกับผู้ประกอบการ SMEs ของประเทศสมาชิกที่มีศักยภาพด้านการผลิตและเปน็ฐานการผลิตของอุตสาหกรรมผลติอิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วนประกอบ ได้แก่ ประเทศเวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย วัตถุประสงค ์ 1. การเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในการเข้าสู่ตลาดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กรณีศึกษา ประเทศไทย เวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย 2. เพื่อศึกษาอิทธิพลของการเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในการเข้าสู่ตลาดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่มีต่อศักยภาพของธุรกิจ ด้านความสามารถในการแก้ไขปัญหาทางธุรกิจ ด้านความสามารถในการเข้าสู่ตลาด AEC และด้านการด าเนินงานอย่างมีจริยธรรม

Page 3: การเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในการเข้าสู่ตลาดประชาคมเศ

การทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้องกับผลงาน การจะท าธุรกิจในตลาดต่างประเทศ สิ่งที่จ าเป็นและส าคัญไม่แพ้ปัจจัยอื่นคือ ความเป็นผู้บริหารหรือผู้ประกอบการ (Entrepreneur) ของเจ้าของธุรกิจ Allen (2010) กล่าวว่าการเตรียมความพร้อมเป็นผู้ประกอบการจะต้องด าเนินการตาม 6 ขั้นตอน ดังนี้ 1. การหาที่ปรึกษาที่ดี (Find mentor) คือการค้นหาบุคคลที่มีความเป็น Entrepreneur ซึ่งเป็นคนที่มีวิสัยทัศน์ เป็นนักลงทุน และผู้ประกอบการมืออาชีพ 2. การสร้างเครือข่าย (Building a network) การสร้างเครือข่ายคือ การสร้างพันธมิตรเพื่อท าการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร องค์ความรู้ 3. การเรียนรู้เกี่ยวกับความเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneur) หนึ่งในหนทางการเตรียมตัวเป็นผู้ประกอบการที่มีศักยภาพ คือ การเรียนรู้ความเป็นผู้ประกอบการและสั่งสมให้มากที่สุด การเรียนรู้สามารถท าได้ง่ายโดย การอ่านนิตยสาร บทความ หนังสือ และหนังสือพิมพ์ โดยเรียนรู้เรื่องราวของผู้ประกอบการที่ประสบความส าเร็จ 4. การวิเคราะห์ตนเองกับธุรกิจ (Analyze personality and business preferences) วิเคราะห์ว่าตนเองมีความพร้อม และความกล้าที่จะเป็นผู้ประกอบการหรือไม่ เพราะการเป็นผู้ประกอบการต้องใช้เวลา และทรัพยากรจ านวนมากในการด าเนินธุรกิจ 5. การมีทักษะในการจัดการหรือแก้ไขวิกฤต (Improve or acquire critical skills) เป็นการจัดการกับความไม่แน่นอนท่ีเกิดขึ้น โดยทักษะในการจัดการวิกฤต เกิดจากการพัฒนา ฝึกซ้อม การสังเกตถึงวิธีการที่ผู้ประกอบการอื่นใช้ในการพัฒนาทักษะในการน าไปใช้แก้ไขสถานการณ์ที่เป็นปัญหา Allen (2010) ได้น าเสนอเพิ่มเติมว่า การเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการเป็นการเพิ่มศักยภาพ และประสิทธิภาพในการบริหารจัดการองค์กรภายใต้สภาวะแวดล้อมต่างๆ ซึ่งจะน าพาองค์กรให้ประสบความส าเร็จตามเป้าหมายที่คาดหวังไว ้ การศึกษาของ Wu, Park, Chinta & Cunningham (2009) ได้น าเสนอว่าการจัดการซัพพลายเชนเพื่อสร้างความร่วมมือกับคู่ค้าในตลาดประเทศ สามารถสร้างความส าเร็จ และศักยภาพให้กับผู้ประกอบการอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสอดคล้องกับ Allen (2010) ที่ได้น าเสนอการสร้างเครือข่ายให้เป็นหนึ่งในประเด็นส าคัญของการเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการ ขณะเดียวกัน Zheng, Hu & Wang (2009) ได้ศึกษาและค้นพบว่าทักษะ และความรู้ของผู้ประกอบการมีความส าคัญต่อการสร้างนวัตกรรมที่น าไปสู่ความส าเร็จในการประกอบธุรกิจในเขต Yangtze River Delta ในประเทศจีน และ Fatt (2001) ได้น าเสนอเกี่ยวกับปัจจัยที่ส าคัญในการสร้างความส าเร็จให้กับธุรกิจคือ การเข้าใจในวิธีการด าเนินธุรกิจ ซึ่งสอดคล้องกับประเด็นการเรียนรู้เกี่ยวกับความเป็นผู้ประกอบการ และการวิเคราะห์ตนเองกับธุรกิจ และ Fatt (2001) ยังน าเสนอเกี่ยวกับการจัดการความเสี่ยงว่ามีส่วนส าคัญในการสร้างความส าเร็จไม่แพ้ประเด็นอื่นๆ ซึ่งสอดคล้องกับ Allen (2010) ในประเด็นการมีทักษะในการจัดการหรือแก้ไขวิกฤต ผู้วิจัยได้ท าการศึกษาเกี่ยวกับตัวแปรด้านความส าเร็จจะพบว่า Kotler (2000) ได้น าเสนอตัวช้ีวัดของความส าเร็จขององค์กร โดยสามารถท่ีจะท าการตรวจสอบได้จาก ต้นทุนการด าเนินงานท่ีลดต่ าลง ยอดขาย ส่วนแบ่งทางการตลาด เป็นต้น ซึ่งแต่ละองค์กรจะวางเป้าหมายไว้ตามที่บอร์ดบริหารก าหนดไว้ หากองค์กรสามารถด าเนินการได้ตามเป้าหมายจะถือว่ามีความส าเร็จในการบริหารจัดการ และด าเนินการ

Page 4: การเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในการเข้าสู่ตลาดประชาคมเศ

วิธีการวิจัย ประชากร กลุ่มตัวอย่าง และการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้ประกอบการของบริษัทสัญชาติไทย เวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ที่เป็นผู้ผลิตอุปกรณ์และชิ้นส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ การก าหนดกลุ่มตัวอย่าง เนื่องจากข้อจ ากัดในข้อมูล ณ ประเทศเวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย การก าหนดกลุ่มตัวอย่างจึงใช้ตัวแทนผู้ประกอบการไทย เวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย อย่างละ 20 ตัวอย่าง รวมเป็น 80 ตัวอย่าง การสุ่มกลุ่มตัวอย่าง ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็น (Non - Probability sampling) ด้วยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างเป็น ผู้ประกอบการไทย เวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ในอุตสาหกรรมผู้ผลิตอุปกรณ์และช้ินส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ และมีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เคร่ืองมือท่ีใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ส าหรับการศึกษาครั้งน้ีผู้วิจัยได้ใช้แบบสอบถาม ประกอบไปด้วย ส่วนท่ี 1 แบบประเมินการเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการ ทั้ง 6 ด้าน ประกอบด้วย 1) การหาที่ปรึกษาที่ด ี2) การสร้างเครือข่าย 3) การเรียนรู้เกี่ยวกับความเป็นผู้ประกอบการ 4) การวิเคราะห์ตนเองกับธุรกิจ 5) การมีทักษะในการจัดการหรือแก้ไขวิกฤต และ 6) การศึกษาอุตสาหกรรม โดยผู้วิจัยและคณะท างานจะเข้าไปประเมินการเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการในแต่ละด้านและประเมินค่าเป็นคะแนน

ส่วนที่ 2 ศักยภาพของธุรกิจ ประกอบไปด้วย 1) ด้านความสามารถในการแก้ไขปัญหาทางธุรกิจ 2) ด้านความสามารถในการเข้าสู่ตลาด AEC และ 3) ด้านการด าเนินงานอย่างมีจริยธรรม โดยผู้วิจัยและคณะท างานจะเข้าไปประเมินผู้ประกอบการในแต่ละด้านและประเมินค่าเป็นคะแนน

การทดสอบเคร่ืองมือท่ีใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล 1. ผู้วิจัยทาการรวบรวมแนวความคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และทาการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมเพื่อนามาใช้ในการสร้างโครงสร้างของแบบสอบถาม 2. น าแบบสอบถามซึ่งเป็นเครื่องมือในการวิจัยส่งมอบให้ผู้เช่ียวชาญ จ านวน 5 ท่าน ตรวจสอบเพื่อพิจารณาความเหมาะสมตรงตามเนื้อหา (Content Validity) โดยหาดัชนีความสอดคล้องของข้อค าถาม (Index of Item Objective Congruence: IOC) โดยเลือกข้อคาถามที่มีค่าตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไป (Saunders, Thornhill & Lewis, 2009) การการเก็บรวบรวมข้อมูล 1. การเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) ผู้วิจัยได้ท าการศึกษาค้นว้าแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการ การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และอื่นๆ จากหนังสือ บทความวิชาการ และงานวิจัยในอดีตเพื่อท่ีจะสรุปประเด็นในการสร้างเครื่องมือการวิจัยและสนับสนุนการศึกษา 2. การเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ (Secondary Data) ผู้วิจัยได้ประสานความร่วมมือไปยังหอการค้าในประเทศต่างๆ รวมทั้งเครือข่ายทางธุรกิจในการเข้าไปด าเนินการวิจัยเพื่อเป็นประโยชน์ต่อองค์กรและอุตสาหกรรมโดยผู้วิจัยได้จัดท าแบบประเมินเพื่อใช้ในการศึกษาและรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 80 ตัวอย่างจาก 4 ประเทศ ได้แก่ ไทย เวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย

Page 5: การเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในการเข้าสู่ตลาดประชาคมเศ

การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยได้ใช้สถิติเชิงพรรณนานา ได้แก่ ร้อยละ โดยผู้วิจัยได้ใช้เพื่อบรรยายข้อมูลแบบสอบถาม และใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ สถิติการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regressions) โดยผู้วิจัยได้ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน สรุปและอภิปรายผล ผลการศึกษาส่วนท่ี 1 แบบประเมินการเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการ พบว่า ประเทศมาเลเซีย มีระดับการเตรียมความพร้อมโดยรวมเฉลีย่มาเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาคือประเทศไทย เวียดนาม และอินโดนีเซียตามล าดบั ดังตาราง 1 ตาราง 1 ระดับการเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการ

การเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการ ไทย เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย การหาที่ปรึกษาท่ีด ี 70.00% 52.00% 87.00% 38.00% การสร้างเครือข่าย 65.00% 55.05% 85.00% 42.50% การเรยีนรู้เกี่ยวกับความเป็นผู้ประกอบการ 80.50% 85.00% 90.00% 55.50% การวิเคราะห์ตนเองกับธุรกิจ 78.50% 75.00% 95.00% 67.50% การมีทักษะในการจดัการหรือแก้ไขวิกฤต 75.00% 70.00% 78.00% 65.00% การศึกษาอุตสาหกรรม 63.00% 58.00% 87.50% 60.00% ภาพรวม 72.00% 65.83% 87.08% 54.75% จากตาราง 1 จะพบว่าประเทศมาเลเซีย มีการเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้ดีกว่าประเทศไทย เวียดนาม และอินโดนีเซียในทุกๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านการวิเคราะห์ตนเองกับธุรกิจ ผู้ประกอบการชาวมาเลเซียจะมีความกล้าอย่างชาญฉลาดที่จะเผชิญความเสี่ยงในการด าเนินธุรกิจของตนเอง และมีการค้นหากลยุทธ์และวิธีการบริหารที่เหมาะสมต่อตนเอง ขณะที่ผู้ประกอบการชาติอื่นๆ มีคะแนนส่วนนี้ต่ ากว่าเพราะ ยังไม่กล้าที่จะท้าทายหรือเผชิญความเสี่ยงทางธุรกิจ และยังไม่เข้าใจ ถึงองค์ประกอบของธุรกิจของตนอย่างชัดเจน ด้านการเรียนรู้เกี่ยวกับความเป็นผู้ประกอบการ ผู้ประกอบการชาวมาเลเซีย จะมีการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมอย่างสม่ าเสมอ ทั้งการเข้าเรียนในระดับปริญญาที่สูงข้ึนหรือหลกัสูตรพิเศษเฉพาะ ขณะที่ผู้ประกอบการชาติอื่นๆ จะไม่นิยมท าการศึกษาต่อ และละเลยการเรียนรู้ความส าเร็จของผู้ประกอบการที่ได้รับการยอมรับ ด้านการศึกษาอุตสาหกรรม ผู้วิจัยได้มุ่งเน้นถึงการเข้าใจในอุตสาหกรรมของตนเอง และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องจะพบว่าผู้ประกอบการชาวมาเลเซียส่วนใหญ่จะรู้ว่าอุตสาหกรรมของตนเองจัดอยู่ในอุตสาหกรรมใด มีผู้ใดเกี่ยวข้องและสามารถเขียนภาพซักพลายเชนของธุรกิจตนเองได้ ขณะที่ผู้ประกอบการอื่นๆ ยังบกพร่องในสิ่งนี้ ด้านการหาที่ปรึกษาที่ดี พบว่าผู้ประกอบการมาเลเซียได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐในการช่วยส่งเสริมการเตรียมความพร้อม เช่น การจัดให้มีการเสวนาหรือสัมมนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ผู้ประกอบการได้พบปะแลกเปลี่ยนความรู้อย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ผู้ประกอบการมาเลเซียส่วนใหญ่ได้มีการจัดจ้างบริษัทที่ปรึกษาเข้ามาสนับสนุนในการเตรียมความพร้อมของตนเอง ขณะที่ผู้ประกอบการชาติอื่นๆ ยังไม่มีการจัดตั้งที่ปรึกษา หรือขอรับค าปรึกษาจากหน่วยงานภาครัฐเพื่อการเตรียมความพร้อมเท่าท่ีควร ด้านการสร้างเครือข่าย พบว่าผู้ประกอบการมาเลเซียได้มีการรวมกลุ่มสร้างเครือข่ายพันธมิตรเพื่อให้พร้อมต่อการแข่งขันและต่อรองทางการค้าในรูปแบบกลุ่มเครือข่ายของตน และมีการแลกเปลี่ยนนวัตกรรม ความรู้ทางการบริหารจัดการระหว่างกันเป็นการเตรียมความพร้อมในการยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันแบบกลุ่ม

Page 6: การเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในการเข้าสู่ตลาดประชาคมเศ

อุตสาหกรรม ขณะที่ผู้ประกอบการประเทศอื่นๆ ยังมุ่งมั่นการแข่งขันในประเทศโดยมุ่งท าลายคู่แข่งในตลาดในประเทศ การสร้างเครือข่ายจึงยังไม่พบเห็นเท่าท่ีควร ด้านการมีทักษะในการจัดการหรือแก้ไขวิกฤต พบว่าผู้ประกอบการมาเลเซีย มีทักษะและความสามารถในการปรับตัวต่อการแข่งขันในสภาพแวดล้อมที่ไม่แน่นอน สามารถมองปัญหาทีเกิดขึ้นได้เข้าใจอย่างรวดเร็ว และลงมือแก้ปัญหาด้วยการวางกลยุทธ์ที่ทันต่อเหตุการณ์ จากการประเมินความพร้อมของผู้ประกอบการต่อการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะพบว่าประเทศไทย ที่มีศักยภาพด้านการผลิตและถูกยกว่ามีศักยภาพเหนือกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค กลับพบว่าผู้ประกอบการในระดับ SMEs ซึ่งถือเป็นรากฐานของการพัฒนาเศรษฐกิจประเทศมีความพร้อมต่อการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่ด้อยกว่าประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซีย ซึ่งอาจส่งผลให้เมื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างเต็มตัว SMEs ของไทยอาจต้องสูญหายจากตลาดที่มีการแข่งขันสูง และยากท่ีจะฟื้นคืน นอกจากน้ีผู้วิจัยได้ประเมินศักยภาพของธุรกจิของผู้ประกอบการไทย เวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ผลการศึกษาพบรายละเอียดดังตาราง 2 ตาราง 2 ศักยภาพของธุรกิจ

ศักยภาพของธุรกิจ ไทย เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย ด้านความสามารถในการแก้ไขปญัหาทางธุรกิจ 86.75% 72.50% 85.00% 70.00% ด้านความสามารถในการเข้าสู่ตลาด AEC 85.00% 70.00% 88.50% 65.00% ด้านการด าเนินงานอย่างมีจริยธรรม 80.00% 58.50% 95.00% 46.00% ภาพรวม 83.92% 67.00% 89.50% 60.33% จากตาราง 2 พบว่า ภาพรวม ผู้ประกอบการมาเลเซีย มีศักยภาพของธุรกิจเหนือกว่าผู้ประกอบการจากประเทศไทย เวียดนาม และอินโดนีเซีย ตามล าดับ เมื่อพิจารณารายด้านจะพบว่า ผู้ประกอบจากประเทศไทยมีศักยภาพของธุรกิจในด้านความสามารถในการแก้ไขปัญหาทางธุรกิจสูงที่สุด เนื่องจากมีประสบการณ์ผ่านวิกฤตการณ์ทางเงินในปี พ.ศ. 2541 และสามารถรับมือวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่ก าลังเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพเหนือกว่า เมื่อพิจารณาด้านการด าเนินงานอย่างมีจริยธรรม พบว่า อินโดนีเซียไม่ผ่านเกณฑ์ 50% ในด้านนี้เนื่องจากมีการคอรัปช่ันในทุกๆ ส่วนของการด าเนินงานที่เกี่ยวข้องกับองค์กรต่างๆ หรือภายในองค์กร ขณะที่ผู้ประกอบการมาเลเซียมีค่าคะแนนที่สูงกว่าผู้ประกอบการอื่นๆ เนื่องจาก นโยบายการป้องกันการทุจริตคอรัปช่ันของภาครัฐและหน่วยงานธุรกิจมีความชัดเจน และผู้ประกอบการพร้อมที่จะปฏิบัติตามอย่างเต็มใจ ขณะที่ผู้ประกอบการไทยมีค่าคะแนน 80% ซึ่งเป็นอันดับสอง และด้านความสามารถในการเข้าสู่ตลาด AEC พบว่าผู้ประกอบการประเทศไทยมีความพร้อมในการสู่ตลาด AEC เป็นรองผู้ประกอบการมาเลเซีย เนื่องจากเมื่อพิจารณาการด าเนินงานของธุรกิจพบว่า SMEs ของมาเลเซียมีศักยภาพในด้านต่างๆ เช่น ทักษะทางภาษา การเข้าใจวิธีการท าธุรกิจภายใต้ AEC เป็นต้น ท่ีสูงกว่าผู้ประกอบการชาติอื่นๆ

Page 7: การเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในการเข้าสู่ตลาดประชาคมเศ

ผู้วิจัยได้ท าการวิเคราะห์อิทธิพลของการเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการในการเข้าสู่ตลาดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ที่มีต่อศักยภาพของธุรกิจ โดยพบผลการศึกษาดังต่อไปนี้ สมมติฐานที่ 1 การเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการในการเข้าสูต่ลาดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มีอิทธิพลต่อศักยภาพของธุรกิจ ด้านความสามารถในการแกไ้ขปัญหาทางธุรกิจ ตาราง 3 การทดสอบการถดถอยพหุคูณ ระหว่างตัวแปรอิสระการเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการในการเข้าสู่ตลาดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กับตัวแปรตามศักยภาพของธุรกิจ ด้านความสามารถในการแก้ไขปัญหาทางธุรกิจ

Model B t Sig. ค่าคงท่ี 7.831 15.633 .000 การหาที่ปรึกษาท่ีด ี .550 9.068 001** การสร้างเครือข่าย .632 10.942 000** การเรยีนรู้เกี่ยวกับความเป็นผู้ประกอบการ .603 10.530 000** การวิเคราะห์ตนเองกับธุรกิจ .585 9.477 001** การมีทักษะในการจดัการหรือแก้ไขวิกฤต .798 11.332 000** การศึกษาอุตสาหกรรม .449 8.897 001** **ระดับนัยส าคัญ 0.01 R = 0.859, R Square = 0.455, Adjusted R Square = 0.483 Std. Error of the Estimate = 0.16698, ANOVA Sig. = 0.000** จากตารางที่ 3 พบว่า ตัวแปรอิสระได้แก่ การเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการในการเข้าสู่ตลาดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ทั้ง 6 ด้าน มีค่า Sig. น้อยกว่าระดับนัยส าคัญ 0.01 สรุปได้ว่า การเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการในการเข้าสู่ตลาดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ทั้ง 6 ด้าน มีอิทธิพลต่อศักยภาพของธุรกิจ ด้านความสามารถในการแก้ไขปัญหาทางธุรกิจที่ระดับนัยส าคัญ 0.01 สมมติฐานที่ 2 การเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการในการเข้าสู่ตลาดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มีอิทธิพลต่อศักยภาพของธุรกิจ ด้านความสามารถในการเข้าสู่ตลาด AEC ตาราง 4 การทดสอบการถดถอยพหุคูณ ระหว่างตัวแปรอสิระการเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการในการเข้าสู่ตลาดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กับตัวแปรตามศักยภาพของธุรกจิ ด้านความสามารถในการเข้าสู่ตลาด AEC

Model B t Sig. ค่าคงท่ี 8.027 12.933 .000 การหาที่ปรึกษาท่ีด ี .751 9.154 000** การสร้างเครือข่าย .747 8.649 000** การเรยีนรู้เกี่ยวกับความเป็นผู้ประกอบการ .687 8.086 000** การวิเคราะห์ตนเองกับธุรกิจ .787 9.973 000**

Page 8: การเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในการเข้าสู่ตลาดประชาคมเศ

(ต่อ) ตาราง 4 การทดสอบการถดถอยพหุคูณ ระหว่างตัวแปรอิสระการเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการในการเข้าสู่ตลาดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กับตัวแปรตามศักยภาพของธุรกิจ ด้านความสามารถในการเขา้สู่ตลาด AEC

Model B t Sig. การมีทักษะในการจดัการหรือแก้ไขวิกฤต .648 7.055 000** การศึกษาอุตสาหกรรม .658 7.251 000** **ระดับนัยส าคัญ 0.01 R = 0.779, R Square = 0.392, Adjusted R Square = 0.327 Std. Error of the Estimate = 0.17349, ANOVA Sig. = 0.000** จากตารางที่ 4 พบว่า ตัวแปรอิสระได้แก่ การเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการในการเข้าสู่ตลาดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ทั้ง 6 ด้าน มีค่า Sig. น้อยกว่าระดับนัยส าคัญ 0.01 สรุปได้ว่า การเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการในการเข้าสู่ตลาดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ทั้ง 6 ด้าน มีอิทธิพลต่อศักยภาพของธุรกิจ ด้านความสามารถในการเข้าสู่ตลาด AEC ที่ระดับนัยส าคัญ 0.01 สมมติฐานที่ 3 การเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการในการเข้าสู่ตลาดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มีอิทธิพลต่อศักยภาพของธุรกิจ ด้านการด าเนินงานอย่างมีจริยธรรม ตาราง 5 การทดสอบการถดถอยพหุคูณ ระหว่างตัวแปรอสิระการเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการในการเข้าสู่ตลาดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กับตัวแปรตามศักยภาพของธุรกจิ ด้านการด าเนินงานอย่างมีจริยธรรม

Model B t Sig. ค่าคงท่ี 4.118 9.003 .000* การหาที่ปรึกษาท่ีด ี .455 4.122 000* การสร้างเครือข่าย .325 2.334 001* การเรยีนรู้เกี่ยวกับความเป็นผู้ประกอบการ .550 4.220 000* การวิเคราะห์ตนเองกับธุรกิจ .488 4.367 000* การมีทักษะในการจดัการหรือแก้ไขวิกฤต .382 3.219 000* การศึกษาอุตสาหกรรม .227 1.487 001* **ระดับนัยส าคัญ 0.01 R = 0.713, R Square = 0.185, Adjusted R Square = 0.144 Std. Error of the Estimate = 0.19542, ANOVA Sig. = 0.000** จากตารางที่ 5 พบว่า ตัวแปรอิสระได้แก่ การเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการในการเข้าสู่ตลาดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ทั้ง 6 ด้าน มีค่า Sig. น้อยกว่าระดับนัยส าคัญ 0.01 สรุปได้ว่า การเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการในการเข้าสู่ตลาดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ทั้ง 6 ด้าน มีอิทธิพลต่อศักยภาพของธุรกิจ ด้านการด าเนินงานอย่างมีจริยธรรม ที่ระดับนัยส าคัญ 0.01

Page 9: การเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในการเข้าสู่ตลาดประชาคมเศ

อภิปรายผล ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า การเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ทั้ง 6 ด้าน ประกอบด้วย 1 ) การหาที่ปรึกษาที่ดี 2) การสร้างเครือข่าย 3) การเรียนรู้เกี่ยวกับความเป็นผู้ประกอบการ 4) การวิเคราะห์ตนเองกับธุรกิจ 5) การมีทักษะในการจัดการหรือแก้ไขวิกฤต และ 6) การศึกษาอุตสาหกรรม มีอิทธิพลต่อศักยภาพของธุรกิจ ด้านความสามารถในการแก้ไขปัญหาทางธุรกิจ ด้านความสามารถในการเข้าสู่ตลาด AEC และด้านการด าเนินงานอย่างมีจริยธรรม ซึ่งพบว่าสอดลคล้องกับการศึกษาวิจัยของ Wu, Park, Chinta & Cunningham (2009), Zheng, Hu & Wang (2009) และ Fatt (2001) ที่พบว่าประเด็นต่างของการเตรียมความพร้อม สามารถที่จะสร้างความศักยภาพในการด าเนินงานทางธุรกิจ หรือสนับสนุนการด าเนินงานให้กับผู้ประกอบการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังสอดคล้องกับทฤษฎีการเตรียมการเป็นผู้ประกอบการของ Allen (2001) ทีไ่ด้กล่าวว่า การเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการเป็นการเพิ่มศักยภาพ และประสิทธิภาพในการบริหารจัดการองค์กรภายใต้สภาวะแวดล้อมต่างๆ ซึ่งจะน าพาองค์กรให้ประสบความส าเร็จตามเป้าหมายที่คาดหวังไว้ ดังนั้นหากผู้ประกอการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีการเตรียมความพร้อมอย่างเต็มประสิทธิภาพ และเหมาะสมจะสามารถ จะท าให้องค์กรมีความพร้อมที่จะด าเนินธุรกิจภายใต้ AEC ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เมื่อพิจารณาการเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการในการเข้าสู่ตลาดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ทั้ง 6 ด้าน มีอิทธิพลต่อศักยภาพของธุรกิจ ด้านความสามารถในการแก้ไขปัญหาทางธุรกิจ ด้านความสามารถในการเข้าสู่ตลาด AEC ด้านการด าเนินงานอย่างมีจริยธรรมสามารถอธิบายได้ว่า การที่ผู้ประกอบการมีการเตรียมทีมที่ปรึกษาที่ดี เช่น ด้านกฎหมาย ด้านการบัญชีและการเงิน จะท าให้ผู้ประกอบการมองเห็นปัญหาทางการด าเนินงานที่เกี่ยวกับปัญหาทางกฎหมายธุรกิจ หรือปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสภาพความมั่นคงทางการเงินขององค์กร และสามารถวางแผนแก้ไขได้ทันต่อเหตุการณ์ และรู้สถานะทางการเงินขององค์กรตลอดจนสามารถเข้าสู่ตลาดต่างประเทศได้อย่างเหมาะสมเพราะจะรับรู้และเข้าใจข้อจ ากัดด้านกฎหมายของแต่ละประเทศ หรือข้อตกลงใน AEC จากท่ีปรึกษาท าให้มีความพร้อมที่จะด าเนินงานภายใต้ AEC ส าหรับการสร้างเครือข่ายจะท าให้เกิดการรวมกลุ่มพันธมิตรในอุตสาหกรรม ท าให้มีการสนับสนุนและแลกเปลี่ยนความรู้ในการด าเนินงานเพื่อน ามาใช้ปรับปรุงกระบวนการท างานและลดปัญหาทีเกิดขึ้นเพราะได้รับข้อมูลและตัวอย่างจากสมาชิกในเครือข่ายมาใช้ในการวางแผนการพัฒนาและปรับปรุงแก้ไขปัญหาทีเกิดขึ้น ตลอดจนสนับสนุนให้สามารถเข้าสู่ตลาด AEC ในพันธมิตรทางธุรกิจ และยังช่วยผลักดันให้ด าเนินธุรกิจอย่างโปร่งใสเพราะมิเช่นนั้นอาจได้รับการปฏิเสธการรวมกลุ่มจากองค์กรอื่นๆ ในพันธมิตรทางธุรกิจ ส าหรับการเรียนรู้เกี่ยวกับความเป็นผู้ประกอบการ จะสนับสนุนให้ผู้ประกอบการได้เรียนรู้วิธีการด าเนินงานทางธุรกิจ การแก้ไขปัญหาและการเผชิญปัญหาท าให้สามารถมองเห็นปัญหาและจัดการได้ก่อนท่ีจะส่งผลกระทบต่อองค์กรอย่างมีนัย การเรียนรู้การเป็นผู้ประกอบการยังสนับสนุนให้ผู้ประกอบการมีการเตรียมการอย่างดีในการปรับปรุงและพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพที่จะเข้าไปสู่การเป็นประชากรและเป็นผู้ประกอบการในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และยังท าให้เกิดการเรียนรู้ในแนวทางการด าเนินงานท่ีถูกหลักจริยธรรม เพราะผู้ประกอบการที่มีการเรียนรู้ตลอดเวลาจะเข้าใจความส าคัญของจริยธรรมในการด าเนินธุรกิจและรู้ถึงผลเสียหากคิดที่จะด าเนินธุรกิจอย่างไม่ถูกต้อง การวิเคราะห์ตนเองกับธุรกิจ จะสนับสนุนให้ผู้ประกอบการเข้าใจวิธีการบริหารจัดการของตนเอง และรู้รูปแบบของธุรกิจของตนจนเข้าใจถึงกระบวนการทางธุรกิจที่จะเป็นปัญหา หรือสร้างผลกระทบท าให้สามารถจัดการปัญหาและเตรียมการรับมือวิกฤตการณ์ที่อาจเกิดขึ้นไดท้ันต่อเหตกุารณ ์การวิเคราะห์ตนเองกับธุรกิจยังท าให้ผู้ประกอบการรู้ว่าตนเองมีความพร้อมในการเข้าสู่ตลาด AEC แล้วหรือยัง มีความรู้หรือทักษะใดที่ยังขาดตกบกพร่องและต้องการการพัฒนา และจะท าให้ผู้ประกอบการเข้าใจว่าธุรกิจของตนเองจะเข้าสู่การด าเนินงานภายใต้ AEC ที่มีประสิทธิภาพได้อย่างไร ส าหรับการมีทักษะในการจัดการหรือแก้ไขวิกฤต และการศึกษาอุตสาหกรรม มีความส าคัญอย่างมากที่จะท าให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าใจถึงปัญหาที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน ตลอดจนปัญหาที่จะเกิดขึ้นเมื่อเข้ามาอยู่ในอุตสาหกรรมของตนเอง ท าให้มีศักยภาพต่อการแก้ไขปัญหาทางธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Page 10: การเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในการเข้าสู่ตลาดประชาคมเศ

และประสิทธิผล และยังสนับสนุนให้ผู้ประกอบสามารถจัดการกับปัญหาหรือวางแผนให้มีความพร้อมและศักยภาพท่ีจะเข้าสู่ตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะตลาด AEC ได้อย่างเหมาะสม เอกสารอ้างอิง สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. 2554. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน http://www.ismed.or.th/SME มกราคม 15 Allen, K. R. 2010. New Venture Creation. Kansas: South-Western College. Wu, Lifang., Park, Daewoo., Chinta, Ravi., & Cunningham, Margaret. 2009. “Global entrepreneurship and supply chain management: a Chinese exemplar”. Journal of Chinese Entrepreneurship .2(1): 36-52. Zheng, J., Hu, Z., Wang, J. 2009. “Entrepreneurship and innovation: the case of yangtze river delta in china”. Journal of Chinese Entrepreneurship. 1(2): 85-102. Fatt, James Poon Teng. 2001. “Encouraging fashion entrepreneurship in Singapore". Asia Pacific Journal of Marketing and Logistics. 13(1): 72 – 83. Kotler, P. 2000. Kotler on Marketing. New York: Free Press. . Saunders, M. K., Thornhill, A., & Lewis, P. 2009. Research Methods for Business Students. New Jersey: Prentice Hall.