การจัดการเรียนรู้ทางออร์โธปิดิกส์สำหรับนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่...

33
การจัดการเรียนรู้ทางออร์โธปิดิกส์ สำหรับนักศึกษาแพทย์ชั้นปีท6 นพ.ณัฐกุล แย้มประเสริฐ ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาคลินิก โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

Upload: nattakul-yamprasert

Post on 14-Apr-2017

110 views

Category:

Education


0 download

TRANSCRIPT

การจัดการเรียนรู้ทางออร์โธปิดิกส์

สำหรับนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 6

นพ.ณัฐกุล แย้มประเสริฐ

ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาคลินิก

โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

Background

• ผู้ป่วยที่มาตรวจ ณ ห้องตรวจผู้ป่วยนอกออร์โธปิดิกส์ วันละ 350 - 500 คน

• ผู้ป่วยจำนวนหนึ่งเป็นโรคที่ซับซ้อน (ตามบทบาทของโรงเรียนแพทย์)

• ห้องตรวจ 7 ห้อง (อาจารย์แพทย์ 5 + แพทย์ประจำบ้าน 2) ไม่มีห้องตรวจสำหรับนักศึกษาแพทย์

จำนวนผู้ป่วยมาก...

จำนวนห้องตรวจมีน้อย...

เวลาจำกัด...

ปัญหา

• นักศึกษานั่งกับอาจารย์ ไม่ได้ตรวจผู้ป่วย OPD ด้วยตัวเอง

• นักศึกษาขาดโอกาสฝึกทักษะด้านการซักประวัติ การตรวจ

ร่างกาย การนำข้อมูลทางคลินิกมาแก้ปัญหาให้แก่ผู้ป่วย

• อาจารย์ขาดโอกาสในการประเมินและ feedback ทักษะ

ดังกล่าวแก่นักศึกษา

แนวคิดในการแก้ปัญหา

• สถานที่ที่มีผู้ป่วยให้นักศึกษาฝึกทักษะต่าง ๆ ได้

เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนจบออกไปทำงาน

• มี supervision และ feedback

• จัดกิจกรรมสม่ำเสมอ

ประสบการณ์การเรียนรู้• Extern Case Conference

• ตรวจผู้ป่วยนอกสถานที่ (โรงพยาบาลมหาราช

นครราชสีมา)

• PCU

• โรงพยาบาลหัวทะเล

Case Conference

• Traumatic cases

• Self-directed

• Discussion

• Primary management for general practitioner

ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเล็ก...

หรือกลุ่มใหญ่...

เราทำได้!

PCU (วัดป่าสาลวัน)• ศูนย์แพทย์ชุมชนที่อยู่ในเขตเทศบาล

• อาจารย์ Fam Med นัดผู้ป่วยที่มีปัญหาทาง

musculoskeletal system มาพบ ortho ตามวันที่กำหนดไว้

ล่วงหน้า

• อาจารย์แพทย์ ortho 1-2 คน : นักศึกษา 2-4 คน

• ผู้ป่วย 5-10 รายต่อครั้ง

การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ PCU

โรงพยาบาลหัวทะเล

โรงพยาบาลหัวทะเล• โรงพยาบาลเครือข่ายโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

•บริบทคล้ายโรงพยาบาลชุมชน

•แพทย์ออร์โธปิดิกส์ ออกตรวจ 3 ครั้ง /สัปดาห์ (จันทร์-

พุธ-ศุกร์)

•อาจารย์แพทย์ 1 คน : นักศึกษา 2-3 คน /ครั้ง

จุดแข็ง• ได้เรียนรู้จากผู้ป่วยที่มีปัญหาไม่ซับซ้อนคล้ายกับผู้

ป่วยส่วนใหญ่ที่จะได้เจอในชีวิตจริงต่อไป

• นักศึกษามีเวลาในการซักประวัติ ตรวจร่างกาย

และอภิปรายกับอาจารย์มากขึ้น

• อาจารย์ได้สังเกตและประเมินนักศึกษาอย่างใกล้ชิด

อุปสรรคที่พบ• อาจารย์แต่ละท่านมีประสบการณ์และทักษะในการสอน /

การเป็น supervisor /การ feedback ที่แตกต่างกัน

• อาจารย์แพทย์บางท่านยังมีมุมมองในการสอนแบบ

specialist มากกว่า general practitioner

• จำนวนครั้งที่นักศึกษาแต่ละคนได้ไปร่วมกิจกรรมน้อย

(คนละ 1 ครั้ง)

แนวทางพัฒนา• จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทักษะการสอน การ

เป็น supervisor และการ feedback ของ

อาจารย์แพทย์

• เพิ่มความถี่ในการออกไปตรวจผู้ป่วยนอกสถาน

ที่ (อย่างน้อยคนละ 2 ครั้ง)

ความฝัน• บรรยากาศในการเรียนรู้แบบ

interactive

• Moderated by student

• Teacher as a facilitator

“เสียงสะท้อนจากนักศึกษา”

“ขอบคุณที่ทำให้ได้สัมผัสกับความเป็น ortho มากขึ้น สนุกกับการเรียน ortho มากขึ้น”

“ขอบคุณมาก ๆ ค่ะ ^^*

อาจารย์ใจดีพี่เด้นใจดี ได้ความรู้ได้ฝึกปฎิบัติ

รู้สึกมีคุณค่าที่ได้เป็น ext

orthokorat ค่ะ ^^*”

“คิดว่าจุดเด่นคือการที่ได้เห็นคนไข้ต่อเนื่องตั้งแต่ที่มาที่ ER

admit ขึ้นมาบนวอร์ด มาราวน์ตอนเช้าอาจารย์ก็จะสอนความรู้ที่เกี่ยวกับเคสนั้นๆ จากนั้นไป OPD ก็จะได้เจอคนไข้ F/U

คิดว่าเป็นจุดที่ชอบค่ะ”

“ชอบกิจกรรม Ext.conference กับ lecture สรุปของอาจารย์แต่ละท่าน คิดว่าได้ความรู้และ point ที่สำคัญต่างๆ”

“ขอบคุณ #OrthoKorat ที่ทำให้ได้เรียนรู้มากขึ้นได้เจอเคสหลากหลาย ทำให้มั่นใจในการออกรพช.,การใช้ทุนมากขึ้น”

“ภาควิชา ortho เป็นภาควิชาที่ใช้ social network อย่างจริงจังมากครับ”

“ดีใจมากที่ได้มาวน จากที่เคยเกลียดออโถมากตอนนี้เห็นประเด็นที่มีประโยชน์ ทำให้ความรู้ที่เคยเรียนจับต้องได้จริง”

Learning with HAPPINESS