อวัยวะรับความรู้สึก

8

Click here to load reader

Upload: thitaree-samphao

Post on 14-Apr-2017

172 views

Category:

Education


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: อวัยวะรับความรู้สึก

-1- อวัยวะรับความรูส้กึ จัดท าโดย นางสาวฐิตารยี์ ส าเภา

เป็นอวัยวะรับรู้ ที่เปลี่ยนแปลงพลังงานในรูปต่างๆ ให้เป็นกระแสประสาท แล้วส่งต่อไปยังสมองหรือ

ไขสันหลัง เพ่ือแปลเป็นความรู้สึกและการรับรู้ต่างๆ หน่วยรับความรู้สึก (Sensory Receptor) เป็นตัวสร้างกระแสประสาท (Nerve Impulse) แบ่งได้ดังนี้ 1. แบ่งตามการรับรู้สิ่งเร้า : แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ 1.1 รับสิ่งเร้าจากภายนอก (Exteroreceptor) : รับสิ่งเร้าจากภายนอกร่างกาย เช่น แสง ความร้อน สารเคมี เป็นต้น 1.2 รับสิ่งเร้าจากภายใน (Interoreceptor) : รับสิ่งเร้าจากภายในร่างกาย เช่น ความดันเลือด Body Position ที่หู 2. แบ่งตามชนิดของสิ่งเร้า : แบ่งออกเป็น 7 ประเภท ดังนี้ 2.1 แสง (Photoreceptor) : ตอบสนองต่อพลังงานแสง 2.2 เคมี (Chemoreceptor) : ตอบสนองต่อสารที่มีองค์ประกอบทางเคมี 2.3 แรงกล (Mechanoreceptor) : ตอบสนองต่อความกดดัน ความสูง และการเคลื่อนไหว 2.4 การเคลื่อนไหว (Proprioceptor) : ตอบสนองต่อต าแหน่งและการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย 2.5 อุณหภูมิ (Thermoreceptor) : ตอบสนองต่อความร้อนและความเย็น 2.6 ความเจ็บปวด (Pain Receptor) : ตอบสนองต่อความเจ็บปวด 2.7 สิ่งเร้าอ่ืนๆ เช่น ตอบสนองต่อแรงดัน มีตัวรับคือ Baroreceptor เป็นต้น ประเภทของอวัยวะรับสัมผัส แบ่งตามชนิดของพลังงานที่มากระตุ้นได้ 2 ประเภท ดังนี้

1. อวัยวะรับความรู้สึกแบบง่าย (somatic Senses) : รับความรู้สึกทั่วๆ คือ ผิวหนัง 2. อวัยวะรับความรู้สึกเฉพาะ (Special Sense) : รับความรู้สึกเฉพาะ คือ จมูกรับกลิ่น ลิ้นรับรส

ตารับภาพ หูรับการได้ยิน

ใบความรู้เร่ือง อวัยวะรับความรู้สึก (Sense Organ)

Page 2: อวัยวะรับความรู้สึก

-2- อวัยวะรับความรูส้กึ จัดท าโดย นางสาวฐิตารยี์ ส าเภา

3. ตารางแสดงอวัยวะรับสัมผัสกับชนิดและตัวรับสิ่งเร้า

อวัยวะ สิ่งเร้า ชนิดของสิ่งเร้า ตัวรับ เส้นประสาทน ากระแสประสาทเข้า ตา อนุภาคแสง Photoreceptor Rod cell และ Cone cell CN คู่ที่ 2 หู คลื่นกล Mechanoreceptor Hair Cell CN คู่ที่ 8

จมูก โมเลกุลกลิ่น Chemoreceptor Olfactory (Smell) Receptor CN คู่ที่ 1 ลิ้น โมเลกุลรส Chemoreceptor Gustatory (taste) Receptor CN คู่ที่ 7 และ 9

ผิวหนัง อุณหภูม ิ Thermoreceptor

มีจ านวนมากกระจายทั่วรา่งกาย มากกว่า 10 ชนิด

เส้นประสาทไขสันหลัง (SN) แรงกล Mechanoreceptor ความเจ็บปวด Pain Receptor

1. โครงสร้างของตา แบ่งออกเป็น 3 ชั้น จากด้านนอกเข้าไปด้านใน ดังนี้ 1.1 Out fibrous layer : เป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน Fibrous Coat เป็นชั้นที่เหนียวไม่ยืดหยุ่น แบ่งออกเป็น 2 ส่วน - ตาขาว (Sclera) : หนา มีสีขาวทึบ แสงผ่านไม่ได้ ส่วนใหญ่ของตาขาวอยู่ภายในเบ้าตา - กระจกตา (Cornea) : ส่วนที่ท าให้แสงผ่านเข้าไปในลูกตาได้ เป็นเยื่อคลุมลักษณะใส ไม่มีหลอดเลือด 1.2 Middle vascular layer : เป็นชั้นที่มีเลือดมาหล่อเลี้ยงมีสารสีแผ่กระจายเพื่อป้องกันไมให้แสงสว่างทะลุผ่านไปได้ประกอบด้วย 3 ส่วน - โครอยด์ (Choroid) : อยู่กึ่งกลางระหว่างตาขาวกับจอรับภาพ มีเซลล์เม็ดสี (Pigment cells) และเซลล์อ่ืนๆ ประกอบเป็นร่างแห ท าให้มีสีเข็ม ทึบแสง จึงช่วยในการป้องกันการสะท้อนของแสง - Ciliary body : อยู่ต่อจากส่วนโครอยด์มาทางด้านหน้า ประกอบด้วย Ciliary Muscle และCiliary Process โดยส่วนปลายจะมี Suspensory Ligament ที่ยึดอยู่กับเลนส์ เมื่อ Ciliary Muscle หดตัวดึงเลนส์ จะส่งผลให้เลนส์ตามีการปรับความหนา ท าให้ช่วยในการปรับแสงผ่านไปตกที่เรตินาได้พอดี - ม่านตา (Iris) : อยู่หน้าเลนส์แต่อยู่หลังกระจกตา โดยจะก้ันบางส่วนของเลนส์ตาไว้ และมี รูม่านตา (Pupil) เป็นช่องให้แสงผ่านเข้าสู่เรตินา ม่านตาถูกยึดด้วยกล้ามเนื้อที่ควบคุมโดยระบบประสาทพาราซิมพาเธติก 1.3 Inner retinal layer : ประกอบด้วย จอตา/เรตินา (Retina) ซึ่งเป็นเซลล์ที่ท าหน้าที่ในการรับภาพ มี 2 ชนิด คือ 1.3.1 เซลล์รูปแท่ง (Rod cell) : ท างานในท่ีแสงน้อยและรับได้เฉพาะภาพขาวด า

ตา : มีสิง่เร้า คือ อนุภาคแสง (Photoreceptor) ท าหน้าที่ในการมองเห็น

เพิ่มเติม : สีของตาขึ้นอยู่กับจ านวนเม็ดสี (Pigment) ในมา่นตา ถ้ามีเม็ดสีอยู่มาก ตาจะมีเป็นสีเทา สีน้ าตาล หรือสีด า แต่ถ้ามีเม็ดสีน้อยจะมีตาสีฟ้า

Page 3: อวัยวะรับความรู้สึก

-3- อวัยวะรับความรูส้กึ จัดท าโดย นางสาวฐิตารยี์ ส าเภา

- ภายในมีรงควัตถุ Rhodopsin เป็นสารโปรตีนที่มีสีม่วงแดง ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของ Opsin + Retinene โดยถา้ถูกแสง สีจะจางลง เพราะเกิดการแยกตัวจากกันของ Opsin และ Retinene และท าให้มี กระแสประสาทส่งออกมา และถ้ามีแสง Opsin และ Retinene ก็จะรวมตัวกันได้อีก - การรับแสงของเซลล์รูปแท่งขึ้นอยู่กับปริมาณของ Rhodopsin ที่จะแตกตัวเป็น Opsin และ Retinene - Vitamin A (Retinol) เป็นองค์ประกอบที่ส าคัญในการสร้าง Retinene ถ้าขาดวิตามิน A จะส่งผลให้มี Retinene น้อย ท าให้ Rhodopsin น้อยตาม รับแสงจ้าได้ไม่ดี เป็นโรคตาฟาง หรือ ตาบอดกลางคืน 1.3.2 เซลล์รูปกรวย (Cone cell) : ท างานในที่แสงสว่างเพียงพอ มี 3 ชนิด คือ ชนิดที่รับภาพสีแดง เขียว น้ าเงิน - ภายในบรรจุรงควัตถุ iodopsin มีความไวต่อแสงสีแดงมาก ประกอบด้วย Photopsin และ Retinene ซึ่งจะท างานได้ดีก็ต่อเมื่อมีแสงมาก - เซลล์รูปกรวยแบ่งเป็น 3 ชนิด ตามชนิดรงควัตถุที่รับสี คือ สีแดง น้ าเงิน เขียว ดังนั้นตาคนเราจะรับสีหลักได้ 3 สีเท่านั้น การที่เรามองเห็นสีต่างๆ มากมาย เกิดจากการกระตุ้นเซลล์รูปกรวยแต่ละสีพร้อมๆ กันในความเข้มที่แตกต่างกัน จึงเกิดการผสมสีต่างๆ ขึ้น - ถ้าหากเซลล์รูปกรวยสีใดสีหนึ่งเกิดพิการหรือเสียไป จะท าให้เกิดตาบอดสี (Color blindness) และเปน็ลักษณะทางพันธุกรรม ถ้าเซลล์รูปกรวยสีเขียวเสียไป ถ้ามีแสงสีเขียวเข้าตา จะท าให้เห็นเป็นสีอ่ืนไม่ใช่สีเขียว เรียกว่า ตาบอดสี โดยปกติเรตินาจะมีเซลล์รูปแท่งมากกว่าเซลล์รูปกรวย แต่มีจุดที่ส าคัญ 2 จุด คือ -จุดโฟเวีย (Fovea Spot) : เป็นจุดที่มองเห็นภาพชัดที่สุด อยู่บริเวณตรงกลางเรตินา โดยมีเซลล์รูปกรวยมากกว่าเซลล์รูปแท่ง เรียก จุดสีเหลือง (Yellow Spot) ถ้าอยู่บริเวณหลังสุดของเรตินาโดยเมื่อแสงสะท้อนจากวัตถุมาตกลงบนจุดนี้จะท าให้มองเห็นภาพได้ชัดเจนที่สุด ส่วนบริเวณจะสีเหลืองจะมีสารสีเหลือง Xanthophyll ช่วยป้องกันจอตาส่วนนี้จากแสงแดด -จุดบอด (Blind Spot) : เป็นจุดที่มองไม่เห็นภาพ คือ เป็นขั้วประสาทตา ถ้าแสงสะท้อนจากวัตถุมาตกลงตรงจุดนี้เราจะมองไม่เห็นภาพ 2. การหักเหแสง : โดยก่อนที่แสงจะถึงเรตินา จะต้องเดินทางผ่านองค์ประกอบที่ส าคัญ ดังต่อไปนี้

Page 4: อวัยวะรับความรู้สึก

-4- อวัยวะรับความรูส้กึ จัดท าโดย นางสาวฐิตารยี์ ส าเภา

2.1 Aqueous Body : เป็นของเหลวในลูกตา มีลักษณะเป็นน้ าใสๆ ถูกสร้างขึ้นตลอดเวลาโดย Ciliary body จะบรรจุอยู่ในส่วนของ Anterior chamber ที่อยู่ระหว่างกระจกตา และม่านตา และอยู่ในช่อง Posterior chamber ซึ่งอยู่หลังม่านตาแต่อยู่หน้าเลนส์ Suspensory Ligament และ Ciliarybody 2.2 แก้วตา/เลนส์ตา (Lens) : ช่วยให้แสงหักเหและรวมเป็นจุดเดียวกัน และท าให้เห็นภาพชัดเจนบน เรตินา (Retina) ลักษณะแก้วตา คือ มีผนังโค้งนูนทั้งสองด้าน เป็นก้อนใส อยู่ด้านหลังของลูกตาด า โดยมี Elastic Capsule หุ้มอยู่และที่ขอบของแก้วตามี Suspensory Ligament ยึดอยู่ และอีกด้านยึดติดกับ Ciliary body โดยลักษณะการท างานของกล้ามเนื้อจะแตกต่างกันเมื่อมองวัตถุระยะที่แตกต่างกัน ดังภาพ 2.3 Vitreous Body : เป็นของเหลวในลูกตา มีลักษณะเป็นเมือกใส อยู่ภายในช่องส่วนหลังของลูกตา ทางด้านหลังเลนส์ มีหน้าที่ช่วยท าให้ลูกตาเป็นรูปกลมอยู่ได้ 3. การมองเห็น : เมื่อแสงผ่านเข้าในลูกตาและตกกระทบที่เรตินา เซลล์รูปกรวยและแท่งจะท าหน้าที่ส่งกระแสประสาทผ่านเซลล์ประสาทชั้นต่างๆ ที่อยู่ในเรตินาไปยัง Optic Nerve (CN คู่ท่ี 2) ซึ่งทอดทะลุไปสู่สมองด้าน Cerebral Cortex เพ่ือแปลสัญญาณให้เราได้เห็นเป็นภาพ 4. ความผิดปกติของสายตา :

บุคคล สาเหตุ การแก้ไข

สวมแว่นสายตา กระบอกตา ลักษณะเลนส์ตา ภาพ สายตาสั้น ยาวเกินไป โค้งนูนมากเกินไป ตกก่อนที่จะถึงเรตินา เลนส์เว้า สายตายาว สั้นเกินไป โค้งนูนน้อยเกินไป ตกเลยเรตินาไป เลนส์นูน สายตาเอียง เลนส์ตา/ผิวกระจกตาขรุขระ ตกไม่เป็นระนาบเดียวกัน เลนส์กาบกล้วย

ข้อควรจ า : โครงสร้างของตาที่ช่วยในการหักเหแสง ไดแ้ก่ กระจกตา (Cornea), เลนส์ตา (Lens), และของเหลวในลูกตา (Aqueous, Vitreous Body)

Page 5: อวัยวะรับความรู้สึก

-5- อวัยวะรับความรูส้กึ จัดท าโดย นางสาวฐิตารยี์ ส าเภา

5. โรคเกี่ยวกับสายตา : 5.1 โรคต่อกระจก : เกิดจากเลนส์แล้วตาเสื่อม ท าให้เลนส์แก้วตาขุ่นมัว ส่งผลให้ก าลังหักเหของแสงผิดไป ตลอดจนขัดขวางไม่ให้แสงเข้าตา โรคนี้พบมากในผู้สูงอายุ ท าให้มองเห็นไม่ชัด 5.2 โรคต้อหิน : เป็นต้อท่ีอันตรายที่สุด เพราะท าให้ตาบอดได้ เกิดจากความผิดปกติของการไหลเวียนของน้ าหล่อเลี้ยงภายในช่องลูกตา จึงท าให้ความดันของลูกตาสูงถึง ~30-70 mmHg ท าให้ปวดลูกตามาก ประสาทตาอาจถูกความดันของน้ า ดันจนฝ่อสลายไป โดยคนปกติมีความดันลูกตา ~15-20 mmHg 5.3 โรคต้อเนื้อ : เกิดจากการมีเนื้อเยื่อมาสะสมบนกระจกตา ต้องรอให้เป็นมาก แพทย์จึงจะท าการผ่าตัดออกให้ 1. โครงสร้างของหู : แบ่งออกเป็น 3 ชั้นดังนี ้ 1.1 หูช้ันนอก : ประกอบด้วย ใบหู (Pinna) แผ่นกระดูกอ่อน ท าหน้าที่ดักคลื่นเสียงและส่งเข้ารูหู (Ear canal) หรือเรียกได้ว่า เป็นช่องรับเสียงจากภายนอกอันเป็นทางเดินของเสียงเข้าสู่หู มีลักษณะเป็นท่อขดรูปตัว S 1.2 หูช้ันกลาง : เป็นโพรงติดต่อกับโพรงจมูก มีองค์ประกอบที่ส าคัญดังนี้ - เยื่อแก้วหู (Tympanic membrane) : จะแปลงเสียงเป็นแรงสั่นสะเทือนไปยัง กระดูกหู - กระดูกหู 3 ชิ้น คือ รูปค้อน (Malleus) : ทั่ง (lncus) โกลน (Stapes) ส่งการสั่นสะเทือนเสียงต่อไปที่หูชั้นใน - ท่อยูสเตเชียน (Eustachian tube) : อยู่ต่อกับคอหอย มีหน้าที่ปรับความดันระหว่างหูชั้นนอกกับชั้นกลาง 1.3 หูช้ันใน : มีองค์ประกอบที่ส าคัญ 2 ส่วน ที่สร้างกระแสประสาทส่งเข้า CN คู่ท่ี 8 ดังนี้ - คอเคลีย (Cochlea) : ท าหน้าที่รับสัญญาณเสียงและส่งกระแสประสาทไปแปลผลที่สมอง - เซมิเซอร์คิวลาร์แคแนล (Semicircular canal) : ควบคุมการทรงตัวของร่างกาย

หู : มีสิง่เร้า คือ เครื่องกล (Mechanoreceptor) ท าหน้าที่ในการรับเสียงและการทรงตัว

Page 6: อวัยวะรับความรู้สึก

-6- อวัยวะรับความรูส้กึ จัดท าโดย นางสาวฐิตารยี์ ส าเภา

2. การได้ยิน : ภายในหูมีเซลล์ขน (Hair Cell) เป็น Cilia ที่รับการสั่นไหว คือ เมื่อเกิดการสั่นสะเทือนของ อนุภาค หูจะรับเสียงโดยผ่านการขยายสัญญาณเสียงของหูชั้นนอก ที่ส่งแรงสั่นมาถึงเยื่อแก้วหู และกระดูกหูทั้ง 3 ชิ้น ที่สามารถขยายสัญญาณเสียงได้ ≈ 17-22 เท่า และส่งต่อมาที่คอเคลีย ซึ่งมีลักษณะเป็นท่อม้วนตัวคล้ายก้นหอย โดยภายในคอเคลียมีของเหลวบรรจุอยู่ เมื่อคลื่นเสียงผ่านเข้ามาจนถึงคอเคลีย ของเหลวในคอเคลียจะไปสั่นเซลล์ขนในคอเคลียเซลล์ขนจะแปรความสั่นสะเทือนเป็นกระแสไฟฟ้า และส่งไปยังเส้นประสาท กระแสไฟฟ้าจะเดินทางผ่านเส้นประสาท CN คู่ท่ี 8 และส่งต่อไปที่สมอง 3. การทรงตัว : ใช้ Semicircular canal ซึ่งมีลักษณะเป็นท่อรูปครึ่งวงกลม 3 หลอดที่วางตั้งฉากกัน โดยภายในหลอดมีของเหลวบรรจุอยู่ และบริเวณโคนหลอดจะโป่งพองออกมา เรียกว่า แอมพูลลา (Ampulla) ซ่ึงมีเซลล์ขน (Hair cell) อยู่ภายใน ที่ไวต่อการไหลของของเหลวภายในหลอดที่เปลี่ยนแปลงไปตามการเคลื่อนไหว ตามต าแหน่งของศีรษะการเอียงตัว หมุนตัวของร่างกาย ท าให้ของเหลวไหลไปกระทบกับ Hair Cell เกิดกระแสประสาทส่งไปตามเส้นประสาทที่ออกจาก Semicircular canal รวมกับเส้นประสาท Cochlea และออกไปรวมกับเส้นประสาทรับเสียง เพื่อเข้า CN คู่ท่ี 8 ต่อไป และไปที่สมอง 4. ช่วงความถี่ของคลื่นเสียงที่ได้ยิน : โดยสิ่งมีชีวิตต่างๆ จะมีความสามารถในการรับฟังเสียงที่มีความถี่ต่างกัน ท าให้สัตว์ต่างๆ สามารถได้ยินเสียงที่มนุษย์ไม่สามารถได้ยิน ดังนี้ มนุษย์ : ตั้งแต่ 20-20,000 Hz สุนัข : ตั้งแต่ 15-50,000 Hz แมว : ตั้งแต่ 60-65,000 Hz ค้างคาว : ตั้งแต่ 10,000-120,000 Hz 5. การสูญเสียการได้ยิน : การน าเสียงบกพร่อง (Conduction Hearin Loss) : เกิดจากเสียงไม่สามารถผ่านหูชั้นนอกเข้าสู่หูชั้นในได้ ซึ่งมักเป็นผลมาจากช่องหูถูกกีดขวางด้วยขี้หู หรือของเหลวอันเกิดจากการติดเชื้อ เช่น เลือดและหนอง นอกจากนี้ อาจเกิดจากแก้วหูทะลุ รวมไปถึงความผิดปกติของกระดูกหูด้วย เช่น คนหูหนวก (Deafness) เกิดจากการติดเชื้อท าให้กระดูกหู 3 ชิ้น (Ossicle) ละลาย

Auditory nerve (CN คู่ท่ี 8) Pons Midbrain Thalamus Cerebrum

Page 7: อวัยวะรับความรู้สึก

-7- อวัยวะรับความรูส้กึ จัดท าโดย นางสาวฐิตารยี์ ส าเภา

การรับเสียงบกพร่อง Sensory Hearing Loss : เกิดจากท างานผิดปกติของคอเคลีย ผู้ป่วยอาจจะได้ยินเสียงบางส่วนได้ยินเสียงบางส่วน หรือไม่ได้ยินเสียงเลย ขึ้นอยู่กับเซลล์ขน Cilia ว่าถูกท าลายไปเพียงใด เส้นประสาทบกพร่อง (Neural Haring Loss) : เส้นประสาทที่ต่อเชื่อมจากคอเคลียไปสมองถูกท าลาย -ภายในจมูกจะมเีซลล์รับกลิ่น (Olfactory cell) ที่สามารถเปลี่ยนสารที่ท าให้เกิดกลิ่นเป็นกระแสประสาท และส่งไปตามเส้นประสาทรับกลิ่นไปยังสมองส่วน Olfactory Bulb และจะส่งข้อมูลไปแปลผลที่สมองส่วน Cerebrum โดยไม่ผ่าน Thalamus - สัตว์บางชนิดที่ไวต่อการรับกลิ่นมาก เช่น สุนัข จะมีเซลล์รับกลิ่นนี้ในจมูกอยู่หนาแน่นมาก เนื่องจากบนลิ้นจะมีปุ่มลิ้น เรียกว่า แพพิลลี (Papillae) โดยมีต่อมรับรส (Taste Buds) ที่ต่อกับเส้นใยประสาท เพ่ือส่งกระแสประสาทไปยังสมอง ซึ่งต่อมรับรสนี้มีทั้งหมด 4 ชนิด กระจายอยู่ทั่วไปในลิ้น ดังนี้ - ชนิดรับรสหวาน (Sweet), เค็ม (Salty), และเปรี้ยว (Sour) ผ่านเส้นประสาท CN คู่ท่ี 7 - ชนิดรับรสขม (Bitter) ผ่านเส้นประสาท CN คู่ท่ี 9

จมูก : มีสิ่งเร้า คือ โมเลกุลกลิ่น (Chemoreceptor) ท าหน้าที่ในการรับกลิ่น

Olfactory nerve (CN คู่ท่ี 1) Olfactory Bulb Olfactory Tract Cerebrum

ล้ิน : มีสิ่งเร้า คือ โมเลกุลรส (Chemoreceptor) ท าหน้าที่รับรสชาติหรือรสสัมผัสต่างๆ

Page 8: อวัยวะรับความรู้สึก

-8- อวัยวะรับความรูส้กึ จัดท าโดย นางสาวฐิตารยี์ ส าเภา

โดยในผิวหนังจะมีหน่วยรับความรู้สึก (Receptor) ที่ไวต่อการกระตุ้นเฉพาะอย่าง ดังนี้

1. หน่วยรับความรู้สึกเมื่อได้รับแรงกด (Pressure Receptors) : Pacinian Corpuscles

2. หน่วยรับความรู้สึกสัมผัสเบา (Touch Receptors) : Meissner Corpuscles and Merkel Disks

3. หน่วยรับความรู้สึกเจ็บปวด (Pain Receptor) : ปลายประสารทอิสระ (Free Nerve/Endings)

4. หน่วยรับความรู้สึกเมื่อสัมผัสความร้อน (Heat Receptors) : Ruffini Corpuscle End-Organ 5. หน่วยรับความรู้สึกเมื่อสัมผัสความเย็น (Cold Receptors) : Krause’s Corpuscle

เอกสารอ้างอิง สุพรรฌทิพย์ อติโพธิ. (2557). สรุปชีววิทยา มัธยมปลาย Ultra Bilogy. กรุงเทพฯ :

กรีนไลฬ์ พริ้นท์ติ้งเฮ้าท์.

เพิ่มเติม : เผ็ด ไม่ใช่รสชาติ เนื่องจากลิ้นไม่มีต่อมรับรสเผ็ด แต่รสเผ็ดเกิดจากสารแคปไซซิน (Capsaicin) ในพริก ท าให้ร่างกายระคายเคือง รู้สึกแสบร้อน จนเรียกกันว่า รสชาติเผ็ด

ผิวหนัง : ท าหน้าที่รับความรู้สึกและการสัมผัสต่างๆ จากภายนอกร่างกาย