บทที่4 การจําลองการทํางาน - siam university...32 0 2 4...

7
บทที4 การจําลองการทํางาน ในบทนี้จะทําการจําลองการทํางานของระบบไฟฟ้ากําลังในประเทศไทย โดยได้สร้างบบจําลองด้วยโปรแกรม Simulink ดังในบทที3 ได้แบ่งการจําลองการทํางานเป็น 2 ลักษณะคือ กรณีที่ระบบไม่มีตัวควบคุมและกรณีที่ระบบมีตัวควบคุม ดังรายละเอียดที่จะกล่าวต่อไป 4.1 การจําลองแบบด้วยคอมพิวเตอร์ ในการจําลองแบบระบบผลิตในประเทศไทยเป็นโรงไฟฟ้าแบบเขตเดียว ได้ทําการสร้างแบบจําลองทางคณิตศาสตร์ด้วยใช้การจําลองแบบด้วยคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรม Simulink ของ MATLAB ซึ่งระบบที่จําลองขึ้นนี้ประกอบด้วยเครื่องกําเนิดไฟฟ้าทั้งหมด 66 เครื่อง ที่อยู่ในโรงไฟฟ้าชนิดต่างๆ ได้แก่โรงไฟฟ้าพลังนํา (Hydro power plants) มีเครื่องกําเนิดไฟฟ้า 23 เครื่อง โรงไฟฟ้าพลังความร้อน (Thermal power plants) มีเครื่องกําเนิดไฟฟ้า 19 เครื่อง โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม (Combined cycle power plants) มีเครื่องกําเนิดไฟฟ้า 11 เครื่อง และโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมเอกชนมีเครื่องกําเนิดไฟฟ้า 13 เครื่อง ส่วนโหลดที่ป้อนเข้าในระบบนั้นเนื่องจากการกระจายโหลดในแต่ละวันมีลักษณะคล้ายคลึงกัน คือค่าของโหลดจะมีค่าสูงในบางช่วงเวลาของวันนั้นๆ โดยมากแล้วจะมีลักษณะคล้ายเส้นโค้งปกติ แต่ถ้าพิจารณาในช่วงเวลาขณะหนึ่งจะมีลักษณะของโหลดที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาเนื่องจากความต้ องการใช้พลังงานไฟฟ้าที่ไม่ตรงกันนั่นเอง ในการจําลองนี้เลือกใช้ลักษณะของโหลดเป็น 2 แบบคือ การเปลี่ยนแปลงของโหลดแบบทันทีทันใด (Step load) และการเปลี่ยนแปลงของโหลดแบบลาดเอียง (Ramp load) 4.2. ผลการจําลองการทํางาน ในการทดสอบการตอบสนองความถี่ของระบบที่นําเสนอเมื่อโหลดมีการเปลี่ยนแปลง ได้ทําการจําลองการทํางานของเครื่องกําเนิดไฟฟ้าเป็น 3 กรณี คือ (1) กรณีระบบประกอบด้วยเครื่องกําเนิดไฟฟ้าทุกเครื่องที่นําเสนอทั้งหมด 66 เครื่อง (2) กรณีระบบประกอบด้วยเครื่องกําเนิดไฟฟ้าเฉพาะกัลเวอร์นอร์ทํางานทั้งหมด 51 เครื่อง และ (3) กรณีระบบประกอบด้วยเครื่องกําเนิดไฟฟ้าเฉพาะกัลเวอร์นอร์ทํางานและไม่พิจารณาเครื่องกําเนิดไ ฟฟ้าในโรงไฟฟ้าพลังนําทั้งหมด 28 เครื่อง จากนั้นทําการเพิ่มโหลดเข้าไปในระบบได้ผลการทดลองเป็ นดังนี4.2.1 การจําลองการทํางานระบบที่ไม่มีตัวควบคุมความถี่อัตโนมัติ การจําลองการทํางานจะพิจารณาจากภาพที4.1 ซึ่งเป็นกรณีระบบไม่มีตัวควบคุมความถี่อัตโนมัติ โดยกําหนดให้อินพุตโหลดเพิ่มเป็น 200 MW

Upload: others

Post on 25-Oct-2020

0 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: บทที่4 การจําลองการทํางาน - Siam University...32 0 2 4 6 8 10 12 14 16 18 20 49.88 49.9 49.92 49.94 49.96 49.98 50 50.02 50.04 Time(s)

บทที่ 4

การจําลองการทํางาน

ในบทนี้จะทําการจําลองการทํางานของระบบไฟฟ้ากําลังในประเทศไทย

โดยได้สร้างแบบจําลองด้วยโปรแกรม Simulink ดังในบทที่ 3 ได้แบ่งการจําลองการทํางานเป็น 2

ลักษณะคือ กรณีที่ระบบไม่มีตัวควบคุมและกรณีที่ระบบมีตัวควบคุม ดังรายละเอียดที่จะกล่าวต่อไป

4.1 การจําลองแบบด้วยคอมพิวเตอร์

ในการจําลองแบบระบบผลิตในประเทศไทยเป็นโรงไฟฟ้าแบบเขตเดียว

ได้ทําการสร้างแบบจําลองทางคณิตศาสตร์ด้วยใช้การจําลองแบบด้วยคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรม

Simulink ของ MATLAB ซึ่งระบบที่จําลองขึ้นนี้ประกอบด้วยเครื่องกําเนิดไฟฟ้าทั้งหมด 66 เครื่อง

ที่อยู่ในโรงไฟฟ้าชนิดต่างๆ ได้แก่โรงไฟฟ้าพลังน้ํา (Hydro power plants) มีเครื่องกําเนิดไฟฟ้า 23

เครื่อง โรงไฟฟ้าพลังความร้อน (Thermal power plants) มีเครื่องกําเนิดไฟฟ้า 19 เครื่อง

โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม (Combined cycle power plants) มีเครื่องกําเนิดไฟฟ้า 11 เครื่อง

และโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมเอกชนมีเครื่องกําเนิดไฟฟ้า 13 เครื่อง

ส่วนโหลดที่ป้อนเข้าในระบบนั้นเนื่องจากการกระจายโหลดในแต่ละวันมีลักษณะคล้ายคลึงกัน

คือค่าของโหลดจะมีค่าสูงในบางช่วงเวลาของวันนั้นๆ โดยมากแล้วจะมีลักษณะคล้ายเส้นโค้งปกติ

แต่ถ้าพิจารณาในช่วงเวลาขณะหนึ่งจะมีลักษณะของโหลดที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาเนื่องจากความต้

องการใช้พลังงานไฟฟ้าที่ไม่ตรงกันนั่นเอง ในการจําลองนี้เลือกใช้ลักษณะของโหลดเป็น 2 แบบคือ

การเปลี่ยนแปลงของโหลดแบบทันทีทันใด (Step load)

และการเปลี่ยนแปลงของโหลดแบบลาดเอียง (Ramp load)

4.2. ผลการจําลองการทํางาน

ในการทดสอบการตอบสนองความถี่ของระบบที่นําเสนอเมื่อโหลดมีการเปลี่ยนแปลง

ได้ทําการจําลองการทํางานของเครื่องกําเนิดไฟฟ้าเป็น 3 กรณี คือ (1)

กรณีระบบประกอบด้วยเครื่องกําเนิดไฟฟ้าทุกเครื่องที่นําเสนอทั้งหมด 66 เครื่อง (2)

กรณีระบบประกอบด้วยเครื่องกําเนิดไฟฟ้าเฉพาะกัลเวอร์นอร์ทํางานทั้งหมด 51 เครื่อง และ (3)

กรณีระบบประกอบด้วยเครื่องกําเนิดไฟฟ้าเฉพาะกัลเวอร์นอร์ทํางานและไม่พิจารณาเครื่องกําเนิดไ

ฟฟ้าในโรงไฟฟ้าพลังน้ําทั้งหมด 28 เครื่อง

จากนั้นทําการเพิ่มโหลดเข้าไปในระบบได้ผลการทดลองเปน็ดังนี้

4.2.1 การจําลองการทํางานระบบที่ไม่มีตัวควบคุมความถี่อัตโนมัติ

การจําลองการทํางานจะพิจารณาจากภาพที่ 4.1

ซึ่งเป็นกรณีระบบไม่มีตัวควบคุมความถี่อัตโนมัติ โดยกําหนดให้อินพุตโหลดเพิ่มเป็น 200 MW

Page 2: บทที่4 การจําลองการทํางาน - Siam University...32 0 2 4 6 8 10 12 14 16 18 20 49.88 49.9 49.92 49.94 49.96 49.98 50 50.02 50.04 Time(s)

28

แบบทันทีทันใด ในการเพิ่มโหลดที่มีขนาด 200 MW เป็นการจําลองเสมือนการเกิดทริป (Trip)

ของเครื่องกําเนิดไฟฟ้าขนาดกลางที่เกิดขึ้นได้ ได้ความถี่เอาท์พุทเทียบกับเวลาแสดงดังภาพที่ 4.1

ภาพที่4.2 และ ภาพที่ 4.3 ตามลําดับ โดยความถี่ปกติคือ 50 Hz

0 5 10 15 20 25 30 35 40 45 5049.88

49.9

49.92

49.94

49.96

49.98

50

Freq

uenc

y ou

tput

(Hz)

Time(s)

ภาพที่ 4.1 ความถี่เอาท์พุทระบบประกอบด้วยเครื่องกําเนิดไฟฟ้าทุกเครื่องทั้งหมด 66 เครื่อง

0 5 10 15 20 25 30 35 40 45 5049.85

49.9

49.95

50

Freq

uenc

y ou

tput

(Hz)

Time(s)

ภาพที่ 4.2 ความถี่เอาท์พุทระบบประกอบด้วยเครื่องกําเนิดไฟฟ้าทุกเครื่องทั้งหมด 51 เครื่อง

Page 3: บทที่4 การจําลองการทํางาน - Siam University...32 0 2 4 6 8 10 12 14 16 18 20 49.88 49.9 49.92 49.94 49.96 49.98 50 50.02 50.04 Time(s)

29

0 5 10 15 20 25 30 35 40 45 5049.75

49.8

49.85

49.9

49.95

50

Time(s)

Freq

uenc

y ou

tput

(Hz)

ภาพที่ 4.3 ความถี่เอาท์พุทระบบประกอบด้วยเครื่องกําเนิดไฟฟ้าทุกเครื่องทั้งหมด 28 เครื่อง

จากภาพที่ 4.1 เมื่อโหลดเพิ่มขึ้นทันทีทันใดเป็น 200 MW

พบว่ากรณีระบบประกอบด้วยเครื่องกําเนิดไฟฟ้าทุกเครื่องได้ความถี่ที่สภาวะคงตัวตกลงจาก 50 Hz

เป็นความถี่ 49.9 Hz โดยที่ความถี่ลดลงจากความถี่พิกัดเป็น 0.1 Hz ส่วนภาพที่ 4.2

เป็นกรณีระบบประกอบด้วยเครื่องกําเนิดไฟฟ้าเฉพาะกัลเวอร์นอร์ทํางาน และภาพที่ 4.3

เป็นกรณีระบบประกอบด้วยเครื่องกําเนิดไฟฟ้าเฉพาะกัลเวอร์นอร์ทํางานและไม่พิจารณาเครื่องกําเ

นิดไฟฟ้าในโรงไฟฟ้าพลังน้ํา ความถี่ที่สภาวะคงตัวจะลดลงจากความถี่ปกติมากขึ้นตามลําดับ

4.2.2 การจําลองการทํางานระบบที่มีตัวควบคุมความถี่อัตโนมัติ

ได้ทําการจําลองการทํางานโดยเพิ่มตัวควบคุมแบบอินทิกรัลเข้าไปในระบบ กําหนดให้

ค่าอัตราการขยายของการควบคุมแบบอินทิกรัลมีค่าเป็น 40ik =

ส่วนค่าพารามิเตอร์อื่นเลือกค่าเช่นเดียวกับกรณีที่ระบบไม่มีการควบคุมอัตโนมัต ิ

Page 4: บทที่4 การจําลองการทํางาน - Siam University...32 0 2 4 6 8 10 12 14 16 18 20 49.88 49.9 49.92 49.94 49.96 49.98 50 50.02 50.04 Time(s)

30

0 5 10 15 20 25 30 35 40 45 5049.9

49.92

49.94

49.96

49.98

50

50.02

Time(s)

Frqu

ency

out

put(H

z)

ภาพที่ 4.4 ความถี่เอาท์พุทเมื่อโหลดเพิ่มขึ้นทันทีทันใดเป็น 200 MW

กรณีเครื่องกําเนิดไฟฟ้า 66 เครื่อง

0 5 10 15 20 25 30 35 40 45 5049.9

49.92

49.94

49.96

49.98

50

50.02

Time(s)

Freq

uenc

y ou

tput

(Hz)

ภาพที่ 4.5 ความถี่เอาท์พุทเมื่อโหลดเพิ่มขึ้นทันทีทันใดเป็น 200 MW

กรณีเครื่องกําเนิดไฟฟ้า 51 เครื่อง

Page 5: บทที่4 การจําลองการทํางาน - Siam University...32 0 2 4 6 8 10 12 14 16 18 20 49.88 49.9 49.92 49.94 49.96 49.98 50 50.02 50.04 Time(s)

31

0 5 10 15 20 25 30 35 40 45 5049.9

49.95

50

50.05

Time(s)

Freq

uenc

y ou

tput

(Hz)

ภาพที่ 4.6 ความถี่เอาท์พุทเมื่อโหลดเพิ่มขึ้นทันทีทันใดเป็น 200 MW

กรณีเครื่องกําเนิดไฟฟ้า 28 เครื่อง

4.2.3 การจําลองการทํางานแบบแบ่งกลุ่ม

จากการจําลองการทํางานข้างต้นมีความซับซ้อนมากและการปรับแต่งพารามิเตอร์ที่ยุ่ง

ยากเนื่องจากมีเครื่องกําเนิดไฟฟ้าจํานวนมาก จึงได้ทําการแบ่งกลุ่มของเครื่องกําเนิดไฟฟ้าเป็น 4

กลุ่มหลัก คือ กลุ่มโรงไฟฟ้าพลังน้ํา กลุ่มโรงไฟฟ้าพลังความร้อน กลุ่มโรงไฟฟ้าพลังงานร้อนร่วม

และกลุ่มโรงไฟฟ้าพลังงานร่วมเอกชน เพื่อการจําลองที่ง่ายขึ้น

ในการทดสอบนี้เลือกกรณีที่ระบบประกอบด้วยเครื่องกําเนิดไฟฟ้าทุกเครื่องที่นําเสนอ

โดยได้ทําการเพิ่มโหลดแบบทันทีทันใดเป็น 200 MW

ทั้งกรณีที่ระบบมีและไม่มีตัวควบคุมความถี่อัตโนมัติแบบอินทิกรัล

ได้ผลตอบสนองความถี่แสดงดังภาพที่ 4.7

Page 6: บทที่4 การจําลองการทํางาน - Siam University...32 0 2 4 6 8 10 12 14 16 18 20 49.88 49.9 49.92 49.94 49.96 49.98 50 50.02 50.04 Time(s)

32

0 2 4 6 8 10 12 14 16 18 2049.88

49.9

49.92

49.94

49.96

49.98

50

50.02

50.04

Time(s)

Freq

uenc

y ou

tput

(Hz)

Group of all plants with I controllerGroup of all plants without I controller

ภาพที่ 4.7 กราฟความสัมพันธ์ของกลุ่มเครื่องกําเนิดไฟฟ้ากรณีมีและไม่มีตัวควบคุมความถี ่

อัตโนมัติแบบอินทิกรัล

จากกราฟภาพที่ 4.7 เมื่อโหลดเพิ่มขึ้นทันทีทันใดเปน็ 200 MW

ในกรณีที่ระบบมีตัวควบคุมแบบอินทิกรัลแสดงในกราฟเส้นบน

จะทําให้ค่าความถี่ตกลงไปจากความถี่พิกัดช่วงเวลาหนึ่งแล้วกลับไปยังความถี่พิกัด

ส่วนในกรณีที่ระบบไม่มีตัวควบคุม (กราฟเส้นล่าง)

กราฟที่ได้จะมีลักษณะใกล้เคียงกับกรณีที่จําลองแบบในภาพที่ 4 .1

แต่การจําลองจะง่ายและสะดวกกว่า

4.2.4 การจําลองระบบกรณีมีการเปลี่ยนแปลงโหลดที่เกิดขึ้นในโรงไฟฟ้าต่างๆ

กรณีของปั๊มที่เขื่อนศรีนครินทร์ถูกใช้งานทําให้โหลดเพิ่มขึ้นแบบลาดเอียง 200 MW

เป็นเวลา 30 วินาท ี

หรือกรณีการเชื่อมต่อไฟฟ้าแรงดันสูงกระแสตรงระหว่างประเทศไทยและประเทศมาเลเซีย [5]

ซึ่งตั้งอยู่ที่ ต.คลองแงะ อ.สะเดา จ.สงขลา ที่มีกําลังผลิต 300 MW โหลดเพิ่มขึ้นแบบลาดเอียง 300

MW เป็นเวลา 30 วินาทีและกรณีเครื่องกําเนิดไฟฟ้าที่มีขนาดกําลังผลิตติดตั้งสูงสุด 700 MW

เกิดการทริป แบบทันทีทันใด

ในการทดสอบนี้เลือกกรณีที่ระบบประกอบด้วยเครื่องกําเนิดไฟฟ้าทุกเครื่องที่นําเสนอ

ได้ผลตอบสนองความถี่แสดงดังภาพที่ 4.8

Page 7: บทที่4 การจําลองการทํางาน - Siam University...32 0 2 4 6 8 10 12 14 16 18 20 49.88 49.9 49.92 49.94 49.96 49.98 50 50.02 50.04 Time(s)

33

0 5 10 15 20 25 30 35 40 45 5049.6

49.65

49.7

49.75

49.8

49.85

49.9

49.95

50

Freq

uenc

y ou

tput

(Hz)

Time(s)

Load taking of a pump storageLoad taking of HVDC InterconnectionLoad taking of largest generator

ภาพที่ 4.8 กราฟการเปลี่ยนแปลงความถี่เมื่อเกิดการเพิ่มโหลด

จากกราฟในภาพที่ 4.8 พบว่าเมื่อโหลดเพิ่มขึ้นในระบบ

สําหรับกรณีปั๊มที่เขื่อนศรีนครินทร์ถูกใช้งานทําให้ความถี่ตกลงจากความถี่ปกติประมาณ 0.1 Hz

ที่สภาวะคงตัว (กราฟเส้นบน)

ส่วนการจําลองการเชื่อมต่อไฟฟ้าแรงดันสูงกระแสตรงระหว่างประเทศไทยและประเทศมาเลเซีย

(กราฟเส้นกลาง)

และการจําลองของเครื่องกําเนิดไฟฟ้าที่มีขนาดกําลังผลิตติดตั้งสูงสุดเกิดการทริปที่โรงไฟฟ้าราชบุร ี

(กราฟเส้นล่าง)

นั้นความถี่จะตกลงมามากกว่ากรณีของปั๊มที่เขื่อนศรีนครินทร์เนื่องจากมีขนาดของโหลดมากกว่าตา

มลําดับ