รอบสำรวจที่ 2 ฤดูนาปรัง ปี 2563...

18
1 รอบสำรวจที่ 2 ฤดูนาปรัง ปี 2563 : วันท่ 3 - 4 กุมภาพันธ์ 2563 ภาพรวมของจังหวัดเชียงราย การผลิตข้าวฤดูนาปรัง ปี 2563 ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย สภาพพื้นที่การเพาะปลูกอยู่ใน เขตชลประทาน และอ่างเก็บน้ำ พันธุ์ข้าวที่นิยมปลูก ได้แก่ ข้าวเหนียว พันธุ์สันป่าตอง 1 และพันธุ์ กข-แม่โจ้ 2 ข้าวเจ้า ได้แก่ พันธุ์หอมปทุม (ปทุมธานี 1) และพันธุ์พิษณุโลก 2 บางพื้นที่ปลูกข้าวจาปอนิกา (ข้าวญี่ปุ่น) พันธุ์ ก.วก.2 เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้วิธีการหว่านน้ำตม โยนกล้า และปักดำโดยเครื่องปักดำ ผลการสำรวจแปลงสำรวจ จำนวน 9 จุด ได้แก่ อำเภอพาน แม่จัน เชียงของ เทิง เวียงป่าเป้า แม่ลาว เวียงชัย เวียงเชียงรุ้ง และอำเภอเมือง พบว่า ต้นข้าวอยู่ในระยะกล้าและระยะแตกกอ การตรวจนับด้วย ตาเปล่าบริเวณกอข้าว จำนวน 20 จุด พบแมลงศัตรูข้าว ได้แก่ เพลี้ยกระโดดหลังขาว เพลี้ยจักจั่นสีเขียว เพลี้ยจักจั่นปีกลายหยัก เพล้ยจักจั่นขาวใหญ่ และผีเสื้อหนอนกอสีครีม พบแมลงศัตรูธรรมชาติ ได้แก่ มวนเขียวดูดไข่ ด้วงเต่า ด้วงก้นกระดก และแมงมุมขาสั้น สำหรับการใช้สวิงโฉบแมลงในแปลงสำรวจ พบ แมลงศัตรูข้าว ได้แก่ เพลี้ยกระโดดหลังขาว เพลี้ยจักจั่นสีเขียว เพลี้ยจักจั่นปีกลายหยัก เพล้ยจักจั่นขาวใหญและเพลี้ยจักจั่นหัวสีส้ม พบแมลงศัตรูธรรมชาติ ได้แก่ ด้วงเต่า ด้วงก้นกระดก แมลงปอบ้าน แมลงปอเข็ม และแมงมุมขายาว แม้ว่ายังไม่พบการระบาดของโรคและแมลงศัตรูข้าวในพื้นที่แปลงสำรวจ แต่เนื่องจากความแปรปรวนของสภาพอากาศ มีอากาศเย็นในช่วงเช้าและกลางคืน แต่อากาศร้อนอบอ้าว ในตอนกลางวัน อาจทำให้เกิดการระบาดของเพลี้ยไฟ ซึ่งส่วนใหญ่จะระบาดในระยะกล้า และค่า Blast Unit of Severity (BUS) ค่าดัชนีที่บอกถึงความเหมาะสม หรือ ความเสี่ยงในการเกิดโรคไหม้ของข้าว ซึ่งพบว่าค่า BUS ณ ศูนย์วิจัยข้าวเชียงราย ในช่วงเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2563 สูงกว่าค่าวิกฤต 2.25 จำนวน 11 วัน ในเดือนมกราคม พบวันที4, 5, 6, 7, 8, 9, 10, 11, 21, 22 และ เดือนกุมภาพันธ์ พบวันที่ 2 โดยมีค่า BUS สูงสุด เท่ากับ 3.70 ทั้งนี้ได้แจ้งกับเกษตรกรให้มีการสำรวจแปลงนาของตนเองอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันการ ระบาดของโรคและแมลงศัตรูข้าวต่อไป 2

Upload: others

Post on 23-Jul-2020

4 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: รอบสำรวจที่ 2 ฤดูนาปรัง ปี 2563 ...cri-rrc.ricethailand.go.th/images/sampledata/farmernews/...แปลงสำรวจม พ นท

1

รอบสำรวจที่ 2 ฤดูนาปรัง ปี 2563 : วันที่ 3 - 4 กุมภาพันธ์ 2563

ภาพรวมของจังหวัดเชียงราย การผลิตข้าวฤดูนาปรัง ปี 2563 ใน พ้ืนที่จังหวัดเชียงราย สภาพพ้ืนที่การเพาะปลูกอยู่ ใน เขตชลประทาน และอ่างเก็บน้ำ พันธุ์ข้าวที่นิยมปลูก ได้แก่ ข้าวเหนียว พันธุ์สันป่าตอง 1 และพันธุ์ กข-แม่โจ้ 2 ข้าวเจ้า ได้แก่ พันธุ์หอมปทุม (ปทุมธานี 1) และพันธุ์พิษณุโลก 2 บางพ้ืนที่ปลูกข้าวจาปอนิกา (ข้าวญี่ปุ่น) พันธุ์ ก.วก.2 เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้วิธีการหว่านน้ำตม โยนกล้า และปักดำโดยเครื่องปักดำ ผลการสำรวจแปลงสำรวจ จำนวน 9 จุด ได้แก่ อำเภอพาน แม่จัน เชียงของ เทิง เวียงป่าเป้า แม่ลาว เวียงชัย เวียงเชียงรุ้ง และอำเภอเมือง พบว่า ต้นข้าวอยู่ในระยะกล้าและระยะแตกกอ การตรวจนับด้วย ตาเปล่าบริเวณกอข้าว จำนวน 20 จุด พบแมลงศัตรูข้าว ได้แก่ เพลี้ยกระโดดหลังขาว เพลี้ยจักจั่นสีเขียว เพลี้ยจักจั่นปีกลายหยัก เพลี้ยจักจั่นขาวใหญ่ และผีเสื้อหนอนกอสีครีม พบแมลงศัตรูธรรมชาติ ได้แก่ มวนเขียวดูดไข่ ด้วงเต่า ด้วงก้นกระดก และแมงมุมขาสั้น สำหรับการใช้สวิงโฉบแมลงในแปลงสำรวจ พบแมลงศัตรูข้าว ได้แก่ เพลี้ยกระโดดหลังขาว เพลี้ยจักจั่นสีเขียว เพลี้ยจักจั่นปีกลายหยัก เพลี้ยจักจั่นขาวใหญ่ และเพลี้ยจักจั่นหัวสีส้ม พบแมลงศัตรูธรรมชาติ ได้แก่ ด้วงเต่า ด้วงก้นกระดก แมลงปอบ้าน แมลงปอเข็ม และแมงมุ มขายาว แม้ ว่ ายั งไม่พบ การระบาดของโรคและแมลงศั ตรูข้ าวใน พ้ืนที่ แปลงสำรวจ แต่เนื่องจากความแปรปรวนของสภาพอากาศ มีอากาศเย็นในช่วงเช้าและกลางคืน แต่อากาศร้อนอบอ้าว ในตอนกลางวัน อาจทำให้เกิดการระบาดของเพลี้ยไฟ ซึ่งส่วนใหญ่จะระบาดในระยะกล้า และค่า Blast Unit of Severity (BUS) ค่าดัชนีที่บอกถึงความเหมาะสม หรือ ความเสี่ยงในการเกิดโรคไหม้ของข้าว ซึ่งพบว่าค่า BUS ณ ศูนย์วิจัยข้าวเชียงราย ในช่วงเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2563 สูงกว่าค่าวิกฤต 2.25 จำนวน 11 วัน ในเดือนมกราคม พบวันที่ 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10, 11, 21, 22 และ เดือนกุมภาพันธ์ พบวันที่ 2 โดยมีค่า BUS สูงสุด เท่ากับ 3.70 ทั้งนี้ได้แจ้งกับเกษตรกรให้มีการสำรวจแปลงนาของตนเองอย่างสม่ำเสมอเพ่ือป้องกันการระบาดของโรคและแมลงศัตรูข้าวต่อไป

2

Page 2: รอบสำรวจที่ 2 ฤดูนาปรัง ปี 2563 ...cri-rrc.ricethailand.go.th/images/sampledata/farmernews/...แปลงสำรวจม พ นท

2

จุดที่ 1 ตำบลดอยลาน อำเภอเมือง

ข้อมูลและสภาพทั่วไป

แปลงสำรวจมี พ้ื นที่ ปลู กข้ าว 20 ไร่ ปลู กข้าว พันธุ์ สั นป่ าตอง 1 ใช้ วิ ธีการหว่ านน้ ำตม เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2563 สภาพพ้ืนที่นาเป็นที่ราบ พิกัดแปลง lat 19.649792 long 99.930016 สำรวจวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 08.00 น. ท้องฟ้าแจ่มใส มีแดดอ่อน อากาศเย็น มีหมอกควันเล็กน้อย ข้าวอยู่ในระยะกล้า แปลงสำรวจมีน้ำเพียงพอต่อการเจริญเติบโต ต้นข้าวเจริญเติบโตสมบูรณ์ดี

การเจริญเติบโตของข้าว

จากการสำรวจจำนวนต้นข้าวในพ้ืนที่ 30 x 50 เซนติเมตร มีจำนวนต้นข้าวเฉลี่ย 27.50 ต้น

ความสูงของต้นข้าวเฉลี่ย 14.35 เซนติเมตร วัดค่าสีใบข้าวจากแผ่นเทียบสี (Leaf Color Chart : LCC) เฉลี่ย

ระดับ 2.50 ระดับน้ำในแปลงสำรวจ เฉลี่ย 6.20 เซนติเมตร

โรค แมลง - สัตว์ศัตรูข้าว และศัตรูธรรมชาติ

การสุ่มนับจำนวนแมลงศัตรูข้าวและศัตรูธรรมชาติบริเวณกอข้าวด้วยตาเปล่า จำนวน 20 จุด

ไม่พบแมลงศัตรูข้าวและศัตรูธรรมชาติ สำหรับการใช้สวิงโฉบแมลงในนาข้าว ไม่พบแมลงศัตรูข้าวและศัตรู

ธรรมชาติ

ภาพที่ 1 สภาพแปลงนาและการเจริญเติบโตของต้นข้าว ในแปลงสำรวจ ตำบลดอนลาน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย

Page 3: รอบสำรวจที่ 2 ฤดูนาปรัง ปี 2563 ...cri-rrc.ricethailand.go.th/images/sampledata/farmernews/...แปลงสำรวจม พ นท

3

จุดที่ 2 ตำบลสันทรายมูล อำเภอเทิง จังหวดัเชียงราย

ข้อมูลและสภาพทั่วไป

แปลงสำรวจมี พ้ืนที่ ปลู กข้ าว 10 ไร่ ปลูกข้ าวพันธุ์ สันป่ าตอง 1 ใช้ วิธีการหว่านน้ ำตม เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2562 สภาพพ้ืนที่นาเป็นที่ ราบ พิกัดแปลง lat 19.700549 long 100.175187 สำรวจวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 09.40 น. ท้องฟ้าแจ่มใส อากาศปลอดโปร่ง มีแดดเป็นส่วนใหญ่ ลมพัดโชย ข้าวอยู่ในระยะกล้า แปลงสำรวจมีน้ำเพียงพอต่อการเจริญเติบโต ต้นข้าวเจริญเติบโตสมบูรณ์ดี

การเจริญเติบโตของข้าว

จากการสำรวจจำนวนต้นข้าวในพ้ืนที่ 30 x 50 เซนติเมตร มีจำนวนต้นข้าวเฉลี่ย 38.75 ต้น

ความสูงของต้นข้าวเฉลี่ย 39.70 เซนติเมตร วัดค่าสีใบข้าวจากแผ่นเทียบสี (Leaf Color Chart : LCC) เฉลี่ย

ระดับ 2.50 ระดับน้ำในแปลงสำรวจ เฉลี่ย 11.20 เซนติเมตร

โรค แมลง - สัตว์ศัตรูข้าว และศัตรูธรรมชาติ

การสุ่มนับจำนวนแมลงศัตรูข้าวและศัตรูธรรมชาติบริเวณกอข้าวด้วยตาเปล่า จำนวน 20 จุด

พบแมลงศัตรูข้าว ได้แก่ เพลี้ยกระโดดหลังขาว 1 ตัว เพลี้ยจักจั่นสีเขียว 2 ตัว เพลี้ยจักจั่นปีกลายหยัก 1 ตัว และ

เพลี้ยจักจั่นหัวสีส้ม 3 ตัว พบแมลงศัตรูธรรมชาติ ได้แก่ แมงมุมขาสั้น 1 ตัว สำหรับการใช้สวิงโฉบแมลงในนาข้าว

ไมพ่บแมลงศัตรูข้าว พบแมลงศัตรูธรรมชาติ ได้แก่ แมลงปอบ้าน 1 ตัว

ภาพที่ 2 สภาพแปลงนาและการเจริญเติบโตของต้นข้าว ในแปลงสำรวจ ตำบลสันทรายมูล อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย

Page 4: รอบสำรวจที่ 2 ฤดูนาปรัง ปี 2563 ...cri-rrc.ricethailand.go.th/images/sampledata/farmernews/...แปลงสำรวจม พ นท

4

จุดที่ 3 ตำบลห้วยซ้อ อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย

ข้อมูลและสภาพทั่วไป

แปลงสำรวจมีพ้ืนที่ปลูกข้าว 4 ไร่ 2 งาน ปลูกข้าวพันธุ์ สันป่าตอง 1 ใช้วิธีการหว่านน้ำตม เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2563 สภาพพ้ืนที่นาเป็นที่ ราบ พิกัดแปลง lat 20.064874 long 100.338305 สำรวจวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 11.00 น. ท้องฟ้าแจ่มใส ปลอดโปร่ง มีแดดจัด ข้าวอยู่ในระยะกล้า แปลงสำรวจมีน้ำเพียงพอต่อการเจริญเติบโต ต้นข้าวเจริญเติบโตสมบูรณ์ดี

การเจริญเติบโตของข้าว

จากการสํารวจจํานวนตนขาวในพ้ืนที่ 30 x 50 เซนติเมตร มีจำนวนต้นข้าวเฉลี่ย 35.25 ต้น ความสูง

ของต้นข้าวเฉลี่ย 28.70 เซนติเมตร วัดค่าสีใบข้าวจากแผ่นเทียบสี (Leaf Color Chart : LCC) เฉลี่ยระดับ

2.50 ระดับนำ้ในแปลงสำรวจ เฉลี่ย 5.80 เซนติเมตร

โรค แมลง - สัตว์ศัตรูข้าว และศัตรูธรรมชาติ

การสุ่มนับจำนวนแมลงศัตรูข้าวและศัตรูธรรมชาติบริเวณกอข้าวด้วยตาเปล่า จำนวน 20 จุด

พบแมลงศัตรูข้าว ได้แก่ เพลี้ยจักจั่นปีกลายหยัก 2 ตัว เพลี้ยจักจั่นขาวใหญ่ 1 ตัว ผีเสื้อหนอนกอสีครีม 1 ตัว

และ พบแมลงศัตรูธรรมชาติ ได้แก่ มวนเขียวดูดไข่ 1 ตัว ด้วงก้นกระดก 1 ตัว และแมงมุมขาสั้น 1 ตัว

สำหรับการใช้สวิงโฉบแมลงในนาข้าว พบแมลงศัตรูข้าว ได้แก่ เพลี้ยกระโดดหลังขาว 1 ตัว เพลี้ยจักจั่นสีเขียว

1 ตัว เพลี้ยจักจั่นปีกลายหยัก 1 ตัว เพลี้ยจักจั่นขาวใหญ่ 4 ตัว และเพลี้ยจักจั่นหัวสีส้ม 4 ตัว พบแมลงศัตรู

ธรรมชาติ ได้แก่ ด้วงเต่า 2 ตัว

ภาพที่ 3 สภาพแปลงนาและการเจริญเติบโตของต้นข้าว ในแปลงสำรวจ ตำบลห้วยซ้อ

อำเภอเชียงของ จงัหวัดเชียงราย

Page 5: รอบสำรวจที่ 2 ฤดูนาปรัง ปี 2563 ...cri-rrc.ricethailand.go.th/images/sampledata/farmernews/...แปลงสำรวจม พ นท

5

จุดที่ 4 ตำบลทุ่งก่อ อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวดัเชียงราย

ข้อมูลและสภาพทั่วไป

แปลงสำรวจมีพ้ืนที่ปลูกข้าว 2 ไร่ ปลูกข้าวพันธุ์ สันป่าตอง 1 ใช้วิธีการปักดำด้วยเครื่องปักดำ เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2563 สภาพพ้ืนที่นาเป็นที่ราบ พิกัดแปลง lat 19.979789 long 100.008484 สำรวจวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 15.20 น. ท้องฟ้าแจ่มใส ปลอดโปร่ง มีแดดจัด ข้าวอยู่ในระยะกล้า แปลงสำรวจมีน้ำเพียงพอต่อการเจริญเติบโต ต้นข้าวเจริญเติบโตสมบูรณ์ดี

การเจริญเติบโตของข้าว

จากการสำรวจต้นข้าวในนา 20 จุด มีจำนวนต้นข้าวเฉลี่ย 8.65 ต้นต่อกอ ความสูงของต้นข้าวเฉลี่ย

16.70 เซนติเมตร วัดค่าสีใบข้าวจากแผ่นเทียบสี (Leaf Color Chart : LCC) เฉลี่ยระดับ 2.00 ระดับน้ำใน

แปลงสำรวจ เฉลี่ย 4.00 เซนติเมตร

โรค แมลง - สัตว์ศัตรูข้าว และศัตรูธรรมชาติ

การสุ่มนับจำนวนแมลงศัตรูข้าวและศัตรูธรรมชาติบริเวณกอข้าวด้วยตาเปล่า จำนวน 20 จุด

ไม่พบแมลงศัตรูข้าวและศัตรูธรรมชาติ สำหรับการใช้สวิงโฉบแมลงในนาข้าว ไม่พบศัตรูข้าวและศัตรูธรรมชาติ

ภาพที่ 4 สภาพแปลงนาและการเจริญเติบโตของต้นข้าว ในแปลงสำรวจ ตำบลทุ่งก่อ อำเภอเวียง

เชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย

Page 6: รอบสำรวจที่ 2 ฤดูนาปรัง ปี 2563 ...cri-rrc.ricethailand.go.th/images/sampledata/farmernews/...แปลงสำรวจม พ นท

6

จุดที่ 5 ตำบลเวียง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย

ข้อมูลและสภาพทั่วไป

แปลงสำรวจมีพ้ืนที่ปลูกข้าว 8 ไร่ ปลูกข้าวพันธุ์ สันป่าตอง 1 ใช้วิธีการปักดำด้วยแรงงานคน เมื่อวันที่ 8 เดือนมกราคม 2563 สภาพพ้ืนที่นาเป็นที่ราบ พิกัดแปลง lat 19.335407 long 99.513229 สำรวจวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 10.30 น. ท้องฟ้าแจ่มใส อากาศปลอดโปร่ง ลมพัดเย็นสบาย ข้าวอยู่ในระยะแตกกอ แปลงสำรวจมีน้ำเพียงพอต่อการเจริญเติบโต ต้นข้าวเจริญเติบโตสมบูรณ์ดี

การเจริญเติบโตของข้าว

จากการสำรวจต้นข้าวในนา 20 จุด มีจำนวนต้นข้าวเฉลี่ย 10.75 ต้นต่อกอ ความสูงของต้นข้าวเฉลี่ย

16.25 เซนติเมตร วัดค่าสีใบข้าวจากแผ่นเทียบสี (Leaf Color Chart : LCC) เฉลี่ยระดับ 2.50 ระดับน้ำใน

แปลงสำรวจ เฉลี่ย 5.40 เซนติเมตร

โรค แมลง - สัตว์ศัตรูข้าว และศัตรูธรรมชาติ

การสุ่มนับจำนวนแมลงศัตรูข้าวและศัตรูธรรมชาติบริเวณกอข้าวด้วยตาเปล่า จำนวน 20 จุด

ไม่พบแมลงศัตรูข้าว พบแมลงศัตรูธรรมชาติ ได้แก่ ด้วงเต่า 1 ตัว สำหรับการใช้สวิงโฉบแมลงในนาข้าว

พบแมลงศัตรูข้าว ได้แก่ ด้วงกินใบ 3 ตัว พบแมลงศัตรูธรรมชาติ ได้แก่ ด้วงเต่า 1 ตัว

ภาพที่ 5 สภาพแปลงนาและการเจริญเติบโตของต้นข้าว ในแปลงสำรวจ ตำบลเวียง อำเภอเวียงป่าเป้า

จังหวัดเชียงราย

Page 7: รอบสำรวจที่ 2 ฤดูนาปรัง ปี 2563 ...cri-rrc.ricethailand.go.th/images/sampledata/farmernews/...แปลงสำรวจม พ นท

7

จุดที่ 6 ตำบลจอมหมอกแก้ว อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย

ข้อมูลและสภาพทั่วไป

แปลงสำรวจมีพ้ืนที่ปลูกข้าว 10 ไร่ ปลูกข้าวพันธุ์ สันป่าตอง 1 โดยวิธีการโยนกล้า เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2563 สภาพพ้ืนที่นาเป็นที่ราบกว้าง พิกัดแปลง lat 19.765256 long 99.728231 สำรวจวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 11.40 น. ท้องฟ้าแจ่มใส มีแดดจัด อากาศร้อน ข้าวอยู่ในระยะแตกกอ แปลงสำรวจมีน้ำเพียงพอต่อการเจริญเติบโต ต้นข้าวเจริญเติบโตสมบูรณ์ดี

การเจริญเติบโตของข้าว

จากการสำรวจต้นข้าวในนา 20 จุด มีจำนวนต้นข้าวเฉลี่ย 7.75 ต้นต่อกอ ความสูงของต้นข้าวเฉลี่ย

28.00 เซนติเมตร วัดค่าสีใบข้าวจากแผ่นเทียบสี (Leaf Color Chart : LCC) เฉลี่ยระดับ 2.50 ระดับน้ำใน

แปลงสำรวจ เฉลี่ย 5.60 เซนติเมตร

โรค แมลง – สัตว์ศัตรูข้าว และศัตรูธรรมชาติ

การสุ่มนับจำนวนแมลงศัตรูข้าวและศัตรูธรรมชาติบริเวณกอข้าวด้วยตาเปล่า จำนวน 20 จุด

พบแมลงศัตรูข้าว ได้แก่ เพลี้ยกระโดดหลังขาว 2 ตัว ไม่พบแมลงศัตรูธรรมชาติ สำหรับการใช้สวิงโฉบแมลงใน

นาข้าว ไม่พบศัตรูข้าวและศัตรูธรรมชาติ

ภาพที่ 6 สภาพแปลงนาและการเจริญเติบโตของต้นข้าว ในแปลงสำรวจ ตำบลจอมหมอกแก้ว อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย

Page 8: รอบสำรวจที่ 2 ฤดูนาปรัง ปี 2563 ...cri-rrc.ricethailand.go.th/images/sampledata/farmernews/...แปลงสำรวจม พ นท

8

จุดที่ 7 ตำบลเวียงชัย อำเภอเวียงชัย จังหวดัเชียงราย

ข้อมูลและสภาพทั่วไป

แปลงสำรวจมีพ้ืนที่ปลูกข้าว 1 ไร่ ปลูกข้าวพันธุ์ สันป่าตอง 1 โดยวิธีการหว่านน้ำตม เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2562 สภาพพ้ืนที่นาเป็นที่ราบกว้าง พิกัดแปลง lat 19.883817 long 99.905876 สำรวจวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 15.05 น . ท้ องฟ้ าแจ่มใส มีแดดจัด อากาศร้อน ข้ าวอยู่ ในระยะกล้ า แปลงสำรวจไม่มีน้ำในแปลงนา ต้นข้าวเจริญเติบโตสมบูรณ์ดี

การเจริญเติบโตของข้าว

จากการสำรวจจำนวนต้นข้าวในพ้ืนที่ 30 x 50 เซนติเมตร มีจำนวนต้นข้าวเฉลี่ย 33.50 ต้น ความสูง

ของต้นข้าวเฉลี่ย 28.25 เซนติเมตร วัดค่าสีใบข้าวจากแผ่นเทียบสี (Leaf Color Chart : LCC) เฉลี่ยระดับ

2.00 และไม่มีน้ำในแปลงนา

โรค แมลง - สัตว์ศัตรูข้าว และศัตรูธรรมชาติ

การสุ่มนับจำนวนแมลงศัตรูข้าวและศัตรูธรรมชาติบริเวณกอข้าวด้วยตาเปล่า จำนวน 20 จุด ไม่พบแมลงศัตรูข้าว พบแมลงศัตรูธรรมชาติ ได้แก่ ด้วงเต่า 15 ตัว สำหรับการใช้สวิงโฉบแมลงในนาข้าว พบแมลงศัตรูข้าว ได้แก่ เพลี้ยกระโดดหลังขาว 1 ตัว พบศัตรูธรรมชาติ ได้แก่ ด้วงเต่า 2 ตัว แมงมุมขายาว 1 ตัว และแมลงปอเข็ม 1 ตัว

ภาพที่ 7 สภาพแปลงนาและการเจริญเติบโตของต้นข้าว ในแปลงสำรวจ ตำบลเวียงชัย อำเภอเวียงชัย

จังหวัดเชียงราย

Page 9: รอบสำรวจที่ 2 ฤดูนาปรัง ปี 2563 ...cri-rrc.ricethailand.go.th/images/sampledata/farmernews/...แปลงสำรวจม พ นท

9

จุดที่ 8 ตำบลศรีค้ำ อำเภอแม่จัน จงัหวัดเชียงราย

ข้อมูลและสภาพทั่วไป

แปลงสำรวจมี พ้ืนที่ ปลูกข้าว 7 ไร่ ปลูกข้าวพันธุ์ กวก.2 ใช้วิธีการปักดำด้วยเครื่องปักดำ เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2562 สภาพพ้ืนที่นาเป็นที่ราบ พิกัดแปลง lat 20.205711 long 99.873777 สำรวจวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 09.20 น. ท้องฟ้าแจ่มใส มีแดดจัด อากาศร้อน ข้าวอยู่ในระยะแตกกอ แปลงสำรวจมีน้ำเพียงพอต่อการเจริญเติบโต ต้นข้าวเจริญเติบโตสมบูรณ์ดี

การเจริญเติบโตของข้าว

จากการสำรวจต้นข้าวในนา 20 จุด มีจำนวนต้นข้าวเฉลี่ย 28.05 ต้นต่อกอ ความสูงของต้นข้าวเฉลี่ย

31.00 เซนติเมตร วัดค่าสีใบข้าวจากแผ่นเทียบสี (Leaf Color Chart : LCC) เฉลี่ยระดับ 2.50 ระดับน้ำใน

แปลงสำรวจ เฉลี่ย 5.60 เซนติเมตร

โรค แมลง - สัตว์ศัตรูข้าว และศัตรูธรรมชาติ

การสุ่มนับจำนวนแมลงศัตรูข้าวและศัตรูธรรมชาติบริเวณกอข้าวด้วยตาเปล่า จำนวน 20 จุด

พบแมลงศัตรูข้าว ได้แก่ เพลี้ยกระโดดหลังขาว 3 ตัว พบศัตรูธรรมชาติ ได้แก่ ด้วงเต่า 1 ตัว ด้วงก้นกระดก 1 ตัว

และแมงมุมขาสั้น 1 ตัว สำหรับการใช้สวิงโฉบแมลงในนาข้าว ไม่พบศัตรูข้าวและพบศัตรูธรรมชาติ

ภาพที่ 8 สภาพแปลงนาและการเจริญเติบโตของต้นข้าว ในแปลงสำรวจ ตำบลศรีค้ำ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย

Page 10: รอบสำรวจที่ 2 ฤดูนาปรัง ปี 2563 ...cri-rrc.ricethailand.go.th/images/sampledata/farmernews/...แปลงสำรวจม พ นท

10

จุดที่ 9 ตำบลธารทอง อำเภอพาน

ข้อมูลและสภาพทั่วไป

แปลงสำรวจมี พ้ื นที่ ป ลู กข้ าว 5 ไร่ ปลู กข้ าว พัน ธุ์ สั นป่ าตอง 1 ใช้ วิ ธีก ารห ว่ านน้ ำตม เมื่ อวันที่ 7 มกราคม 2563 สภาพพ้ืนที่นาเป็นที่ ราบ พิกัดแปลง lat 19.697311 long 99.682718 สำรวจวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 08.30 น.ท้องฟ้าแจ่มใส อากาศเย็นสบาย มีลมพัดโชย ข้าวอยู่ในระยะกล้า แปลงสำรวจมีน้ำเพียงพอต่อการเจริญเติบโต ต้นข้าวเจริญเติบโตสมบูรณ์ดี

การเจริญเติบโตของข้าว

จากการสำรวจจำนวนต้นข้าวในพ้ืนที่ 30 x 50 เซนติเมตร มีจำนวนต้นข้าวเฉลี่ย 39.75 ต้น ความสูง

ของต้นข้าวเฉลี่ย 24.75 เซนติเมตร วัดค่าสีใบข้าวจากแผ่นเทียบสี (Leaf Color Chart : LCC) เฉลี่ยระดับ

2.50 ระดบัน้ำในแปลงสำรวจ เฉลี่ย 4.40 เซนติเมตร

โรค แมลง - สัตว์ศัตรูข้าว และศัตรูธรรมชาติ

การสุ่มนับจำนวนแมลงศัตรูข้าวและศัตรูธรรมชาติบริเวณกอข้าวด้วยตาเปล่า จำนวน 20 จุด ไม่พบ

แมลงศัตรูข้าวและศัตรูธรรมชาติ สำหรับการใช้สวิงโฉบแมลงในนาข้าวไม่พบแมลงศัตรูข้าว พบแมลงศัตรู

ธรรมชาติ ได้แก่ ด้วงก้นกระดก 2 ตัว

ภาพที่ 9 สภาพแปลงนาและการเจริญเติบโตของต้นข้าว ในแปลงสำรวจ ตำบลธารทอง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย

Page 11: รอบสำรวจที่ 2 ฤดูนาปรัง ปี 2563 ...cri-rrc.ricethailand.go.th/images/sampledata/farmernews/...แปลงสำรวจม พ นท

11

กับดักแสงไฟ : การตรวจนับแมลงศัตรูข้าวและศัตรูธรรมชาติจากกับดักแสงไฟ (Light trap) ที่ศูนย์วิจัยข้าวเชียงราย เปิดหลอดไฟเวลา 18.00 - 22.00 น. ทุกวัน โดยในช่วงวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2563 – 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 พบแมลงศัตรูข้าว ได้แก่ เพลี้ยจักจั่นปีกลายหยักมากที่สุดเมื่อเทียบกับแมลงศัตรูข้าวชนิดอ่ืน ๆ รองลงมา คือ เพลี้ยกระโดดแถบขาวเล็ก และเพลี้ยจักจั่นหัวสีส้ม (ภาพที่ 10) แมลงศัตรูธรรมชาติที่พบเป็นจำนวนมาก ได้แก่ ด้วงก้นกระดก รองลงมา คือ มวนกรรเชียง และมวนเขียวดูดไข่ (ภาพท่ี 11)

ภาพที่ 10 แผนภาพแสดงจำนวนแมลงศัตรูข้าวจากกับดักแสงไฟ ณ ศูนย์วิจัยข้าวเชียงราย ระหว่างวันที่

22 มกราคม พ.ศ. 2563 – 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ณ ศูนย์วิจัยข้าวเชียงราย

ภาพที่ 11 แผนภาพแสดงจำนวนแมลงศัตรูธรรมชาติจากกับดักแสงไฟ ณ ศูนย์วิจัยข้าวเชียงราย ระหว่างวันที่

22 มกราคม พ.ศ. 2563 – 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

Page 12: รอบสำรวจที่ 2 ฤดูนาปรัง ปี 2563 ...cri-rrc.ricethailand.go.th/images/sampledata/farmernews/...แปลงสำรวจม พ นท

12

Blast Unit of Severity (BUS) : ค่าดัชนีที่บอกถึงความเหมาะสม หรือ ความเสี่ยงในการเกิดโรคไหม้ของข้าว ซึ่งได้จากการวิเคราะห์ค่าอุณหภูมิความชื้นสัมพัทธ์ และช่วงเวลาน้ำค้างของแต่ละวัน ข้อมูลค่า BUS ณ ศูนย์วิจัยข้าวเชียงราย สูงกว่าค่าวิกฤต 2.25 ระหว่างวันที่ 22 มกราคม – 4 กุมภาพันธ์ 2563 จำนวน 1 วัน คือ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2563 มีค่า BUS สูงสุด เท่ากับ 2.50

ภาพที่ 12 ค่าความเสี่ยงของอากาศต่อการเกิดโรคไหม้ (BUS) ที่วิเคราะห์ได้ระหว่างวันที่ 22 มกราคม –

4 กุมภาพันธ์ 2563 ณ ศูนย์วิจัยข้าวเชียงราย สภาพดินฟ้าอากาศ : พยากรณ์อากาศเพ่ือการเกษตร (ฉบับที่ 16/63 กลุ่มอุตุนิยมวิทยาการเกษตร สำนัก

พัฒนาอุตุนิยมวิทยา กรมอุตุนิยมวิทยา) ภาคเหนือ ในช่วงวันที่ 5-8 ก.พ.63 อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกใน

ตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 12-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศ

หนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 5-15 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 9-11 ก.พ.63 อากาศเย็นถึงหนาว

อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งส่วนมากทางตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด

11-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด

อุณหภูมิต่ำสุด 3-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 5 -10 กม./ ชม. ความชื้นสัมพัทธ์

60-70 % อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เนื่องจากสภาพ

อากาศที่เปลี่ยนแปลง รวมทั้งเพ่ิมความระมัดระวังในการใช้รถใช้ถนนในขณะสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกหนา

ไว้ด้วย จากสภาวะอากาศที่มีหมอกและน้ำค้างในตอนเช้า ซึ่งเป็นปัจจัยที่เอ้ือต่อการระบาดของโรคพืชที่ เกิด

จากเชื้อราในพืชผัก เช่นโรคราน้ำค้าง โรคใบไหม้ เป็นต้น เกษตรกรควรหมั่นสำรวจหากพบการระบาดควรรีบ

ป้องกัน โดยเก็บใบหรือส่วนที่เป็นโรคไปเผาทิ้งหรือทำลาย

ระดับวิกฤต 2.25

Page 13: รอบสำรวจที่ 2 ฤดูนาปรัง ปี 2563 ...cri-rrc.ricethailand.go.th/images/sampledata/farmernews/...แปลงสำรวจม พ นท

ศูนย์วิจัยข้าวเชียงราย กองวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ ์

474 ถนนพหลโยธิน ตำบลเมืองพาน อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย 57120 Tel . 053 - 721578 Fax. 053 - 721916

ข่าวเตือนภัย... โรคไหม้ เพลี้ยกระโดดหลังขาว ในนาข้าว

ระวัง ! โรคไหม้ เพลี้ยกระโดดหลังขาว ในนาข้าว

ศูนย์วิจัยข้าวเชียงรายขอแจ้งเตือนเกษตรกรผู้ทำนา ฤดูนาปรัง 2563 เนื่องจากระหว่างเดือนมกราคม -

กุมภาพันธ์ 2563 ค่า Blast Unit of Severity (BUS) ซึ่งเป็นค่าดัชนีที่บอกถึงความเหมาะสม หรือ ความเสี่ยงในการเกิดโรคไหม้ของข้าว ณ ศูนย์วิจัยข้าวเชียงราย สูงกว่าค่าวิกฤต (ค่าวิกฤต = 2.25) จำนวน 11 วัน ในเดือนมกราคม พบว่าค่า BUS สูงกว่าค่าวิกฤต ในวันที่ 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10, 11, 21, 22 และเดือนกุมภาพันธ์ ในวันที่ 2 โดยมีค่า BUS สูงสุด เท่ากับ 3.70 ดังนั้นจึงขอให้เกษตรกรเฝ้าระวังการระบาดของโรคไหม้ในแปลงนาของท่านด้วย

โดยเฉพาะเกษตรกรผู้ที่ปลูกข้าวพันธุ์ พิษณุโลก 2 และข้าวจาปอนิกา (ข้าวญี่ปุ่น) พันธุ์ ก.วก.2 ซึ่งเป็น พันธุ์ข้าวที่ไม่ต้านทานโรคไหม้ รวมทั้งเกษตรกรผู้ที่ ใส่ปุ๋ยยูเรียมากเกินไปให้เฝ้าระวังเป็นพิเศษ เพราะจะทำให้ ต้นข้าวอวบ ฉ่ำน้ำ ต้นข้าวเปราะหักล้มง่าย และอ่อนแอง่ายต่อการเข้าทำลายของเชื้อสาเหตุได้ โดยให้เกษตรกรหมั่นตรวจแปลงนา หากพบว่าต้นข้าวของท่านมีอาการดังนี้ คือ ระยะกล้า ใบมีแผลจุดสีน้ำตาลคล้ายรูปตา มีสีเทาอยู่ตรงกลางแผล ความกว้างของแผลประมาณ 2-5 มิลลิเมตร และความยาวประมาณ 10-15 มิลลิเมตร แผลสามารถขยายลุกลามและกระจายทั่วบริเวณใบ ถ้าโรครุนแรงกล้าข้าวจะแห้งฟุบตาย อาการคล้ายถูกไฟไหม้ ระยะแตกกอ อาการพบได้ที่ใบ ข้อต่อของใบ และข้อต่อของลำต้น ขนาดแผลจะใหญ่กว่าที่พบในระยะกล้า แผลลุกลามติดต่อกันได้ที่บริเวณข้อต่อ ใบจะมีลักษณะแผลช้ำสีน้ำตาลดำ และมักหลุดจากกาบใบเสมอ ต้องทำการป้องกันกำจัดโดยด่วน

นอกจากนั้นการสำรวจแปลงนา จำนวน 9 จุด ในพื้นที่อำเภอพาน แม่จัน เชียงของ เทิง เวียงป่าเป้า แม่ลาว เวียงชัย เวียงเชียงรุ้ง และอำเภอเมือง พบตัวอ่อนและตัวเต็มวัยเพลี้ยกระโดดหลังขาวในอำเภอแม่จัน และอำเภอเวียงป่าเป้า เฉลี่ย 0.05 – 0.15 ตัวต่อต้น ถึงแม้ว่าจำนวนเพลี้ยกระโดดหลังขาวในพ้ืนที่สำรวจมีจำนวนต่ำกว่าระดับเศรษฐกิจ แต่ด้วยสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ประกอบกับการปลูกข้าวพันธุ์อ่อนแอ จึงมีโอกาสในการเพ่ิมประชากรของเพลี้ยกระโดดหลังขาวในแปลงนา ดังนั้นเกษตรกรแต่ละพ้ืนที่ควรหมั่นสำรวจแปลงนา เพ่ือป้องกันการระบาดของเพลี้ยกระโดดหลังขาว หากพบเพลี้ยกระโดดหลังขาว สูงกว่าระดับเศรษฐกิจ จำนวน 10 ตัวต่อกอ ในนาปักดำ หรือ 1 ตัวต่อต้น ในนาหว่าน ให้ดำเนินการป้องกันกำจัดตามคำแนะนำของกรมการข้าว ทั้งนี้จึงขอให้เกษตรกรเฝ้าระวังการระบาดของโรค เพลี้ยกระโดด และศัตรูข้าวอ่ืน ๆ ในแปลงนาของท่านด้วย

Page 14: รอบสำรวจที่ 2 ฤดูนาปรัง ปี 2563 ...cri-rrc.ricethailand.go.th/images/sampledata/farmernews/...แปลงสำรวจม พ นท

ภาพที่ 1 ลักษณะของโรคใบไหม้ในข้าว

ภาพที่ 2 เพลี้ยกระโดดหลังขาว

เพลี้ยกระโดดหลังขาวระยะตัวอ่อน เพลี้ยกระโดดหลังขาวระยะตัวเต็มวัย

เพศเมีย เพศผู้

Page 15: รอบสำรวจที่ 2 ฤดูนาปรัง ปี 2563 ...cri-rrc.ricethailand.go.th/images/sampledata/farmernews/...แปลงสำรวจม พ นท

การป้องกันกำจัดโรคไหม ้- ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา ฉีดพ่นป้องกันโรคไหม้

- เมื่อพบแผลโรคไหม้ทั่วไป 5 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ใบ ควรฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น ไตรไซคลาโซล

ไอโซโพรไทโอเลน คาซูกาไมซิน อีดิเฟนฟอส คาร์เบนดาซิม ผสมสารจับใบตามอัตราที่ระบุ

- ใช้พันธุ์ต้านทานโรค ภาคกลาง เช่น สุพรรณบุรี 1 สุพรรณบุรี 2 สุพรรณบุรี 60 สุพรรณบุรี 90 ปราจีนบุรี 1

พลายงาม คลองหลวง 1 ข้าวเจ้าหอมพิษณุโลก 1 กข31 กข57 และ กข43 (ยกเว้น อ่อนแอต่อโรคไหม้

ที่พิษณุโลก) ภาคเหนือ และตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น สุรินทร์ 1 เหนียวอุบล 2 เหนียวแพร่ สันปาตอง 1

หางยี 71 กู้เมืองหลวง ขาวโปร่งไคร้ น้ำรู ภาคใต้ เช่น ดอกพะยอม

- หว่านเมล็ดพันธุ์ในอัตราที่เหมาะสม คือ 15 - 20 กิโลกรัม/ไร่ ควรแบ่งแปลงให้มีการระบายถ่ายเทอากาศดี

และไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนสูงเกินไป ถ้าสูงถึง 50 กิโลกรัม/ไร่ โรคไหม้จะพัฒนาอย่างรวดเร็ว

- คลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น คาซูกาไมซิน ไตรไซคลาโซล คาร์เบนดาซิม โพรคลอราซ

ตามอัตราที่ ระบุ ในแหล่งที่ เคยมี โรคระบาดและพบแผลโรคไหม้ทั่ วไป 5 เปอร์เซ็นต์ของพ้ืนที่ ใบ

ควรฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น คาซูกาไมซิน อีดิเฟนฟอส ไตรไซคลาโซล ไอโซโพรไทโอเลน

คาร์เบนดาซิม ตามอัตราที่ระบ ุ

ข้อควรระวัง : ข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี 1 สุพรรณบุรี 60 และชัยนาท 1 ที่ปลูกในภาคเหนือตอนล่าง พบว่า แสดงอาการรุนแรงในบางพ้ืนที่ และบางปี โดยเฉพาะเมื่อสภาพแวดล้อมเอ้ืออำนวย เช่น ฝนพรำ หรือหมอก น้ำค้างจัด อากาศเย็น ใส่ปุ๋ยมากเกินความจำเป็น หรือเป็นดินหลังน้ำท่วม

Page 16: รอบสำรวจที่ 2 ฤดูนาปรัง ปี 2563 ...cri-rrc.ricethailand.go.th/images/sampledata/farmernews/...แปลงสำรวจม พ นท

การควบคุมการระบาดของเพลี้ยกระโดดหลังขาว

การป้องกันไม่ให้เกิดการระบาด 1. ควรสังเกตเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลที่มาเล่นไฟตามบ้านหรือไฟข้างถนน หากพบจำนวนมากควรเลื่อนการปลูกข้าวออกไป 2. เลือกใช้ พันธุ์ต้ านทาน เช่น กข29 กข31 กข41 กข47 กข49 พิษณุ โลก 2 สุพรรณบุรี 1 สุพรรณบุรี 2 สุพรรณบุรี 90 และควรเปลี่ยนพันธุ์ข้าวทุก 6 - 8 ฤดูปลูก 3. ใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ 15 - 20 กิโลกรัมต่อไร่ หรือปักดำ หรือ โยนกล้า 4. ไม่ปลูกข้าวต่อเนื่อง ควรพักนา อย่างน้อย 1 เดือน 5. ไม่ควรขังน้ำในนาตลอดเวลา 6. ควรแบ่งใส่ปุ๋ย 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 ไม่เกิน 30 - 35 กิโลกรัมต่อไร่ ครั้งที่ 2 ไม่เกิน 10 กิโลกรัมต่อไร่ 7. ไม่ใช้สารฆ่าแมลงในช่วง 40 วันหลังหว่าน 8. แปลงนาที่พบตัวอ่อนเพลี้ยกระโดด น้อยกว่า 1 ตัวต่อต้น (ในนาหว่าน) หรือจำนวน 10 ตัวต่อกอ (ในนาปักดำ) ให้ระบายน้ำออกจากแปลงนาให้ดินพอเปียก ทิ้งไว้ 7 - 10 วัน

การควบคุมไม่ให้ขยายพ้ืนที่การแพร่ระบาด

1. แปลงนาที่พบตัวอ่อนเพลี้ยกระโดด มากกว่า 1 ตัวต่อต้น (ในนาหว่าน) หรือจำนวน 10 ตัวต่อกอ (ในนาปักดำ) ให้ใช้สารเคมีตามคำแนะนำของกรมการข้าว ข้าวอายุ 40 - 60 วันหลังหว่าน ใช้ บูโพรเฟซิน หรือ บูโพรเฟซิน+ไอโซโพรคาร์บ ข้าวอายุ 60 วันหลังหว่านถึงเก็บเกี่ยว ใช้ ไดโนทีฟูแรน หรือ ไพรมีโทรซีน หรือ อีโทเฟนพร็อกซ์ 2. ฉีดพ่นเชื้อราบิวเวอเรีย หรือ สารสกัดสะเดา เพ่ือป้องกันกำจัด 3. ถ้าพบอาการไหม้เกิน 70 เปอร์เซ็นต์ ควรไถกลบและปลูกใหม่ (พักแปลงนาประมาณ 1 เดือน) 4. ห้ามใช้สารฆ่าแมลงที่ทำให้เพลี้ยระบาดเพ่ิมข้ึน (37 ชนิด รายชื่อแสดงในตาราง)

สารฆ่าแมลง ประเภทของสาร

กลุ่มไพรีทรอยด์สังเคราะห์ 1. แอลฟาไซเพอร์เมทริน 10% อีซี ชนิดพ่นน้ำ

2. ไซแฮโลทริน แอล 5% อีซี ชนิดพ่นน้ำ

3. ไซเพอร์เมทริน 15% อีซ,ี 25% อีซี ชนิดพ่นน้ำ

4. เดคาเมทริน 3%, 31% อีซี ชนิดพ่นน้ำ

6. เฟนแวลอเรต 38% อีซี ชนิดพ่นน้ำ

7. เพอร์เมทริน 50% อีซี ชนิดพ่นน้ำ

8. แลมป์ดาไซแฮโลทริน

ชนิดพ่นน้ำ

กลุ่มสารผสมไพรีทรอยด์สังเคราะห์ 1. บีพีเอ็มซ/ีแอลฟาไซเพอร์เมทริน 40%/1% อีซี ชนิดพ่นน้ำ

Page 17: รอบสำรวจที่ 2 ฤดูนาปรัง ปี 2563 ...cri-rrc.ricethailand.go.th/images/sampledata/farmernews/...แปลงสำรวจม พ นท

2. บูโฟรเฟซิน/ไซแฮโลทริน 2.5%/1.25% อีซี ชนิดพ่นน้ำ

3. บูโฟรเฟซิน/เดคาเมทริน 5%/0.625% อีซี ชนิดพ่นน้ำ

4. บูโฟรเฟซิน/เดคาเมทริน 10%/0.625% อีซี ชนิดพ่นน้ำ

5. คาร์โบซัลแฟน/ไซเพอร์เมทริน 15%/5% อีซี ชนิดพ่นน้ำ

6. เฟนิโตรไทออน/เฟนแวลอเรต 25%/5% อีซี ชนิดพ่นน้ำ

กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต

1. ไซยาโนเฟนฟอส 40% อีซี ชนิดพ่นน้ำ

2. เมทิล พาราไทออน 50% อีซี ชนิดพ่นน้ำ

3. ไอโซซาไทออน 50% อีซี ชนิดพ่นน้ำ

4. ฟอสซาโลน 35% อีซี ชนิดพ่นน้ำ

5. ไพริดาเฟนไทออน 75% ดับบลิวพี ชนิดพ่นน้ำ

6. ควินาลฟอส 25% อีซี ชนิดพ่นน้ำ

7. เตตระคลอร์วินฟอส 75% ดับบลิวพี ชนิดพ่นน้ำ

8. ไตรอะโซฟอส 40% อีซี ชนิดพ่นน้ำ

9. เฟนิโตรไทออน/บีพีเอ็มซี 40%/15% อีซี ชนิดพ่นน้ำ

10. คลอร์ไพรีฟอส 2% จี ชนิดเม็ด 11. ไอซาโซฟอส 2.5%, 3% จ ี ชนิดเม็ด 12. ไดอะซินอน 5%, 10% จ,ี 20% อีซี ชนิดเม็ดและชนิดน้ำ

13. อิทริมฟอส 5% จี ชนิดเม็ด 14. ควินาลฟอส 3% จี ชนิดเม็ด 15. ซาลิไทออน 5% จี ชนิดเม็ด 16. เทอร์บูฟอส 3% จี ชนิดเม็ด 17. โฟโนฟอส 5% จี ชนิดเม็ด กลุ่มคาร์บาเมต 1. เบนฟูราคาร์บ 20% อีซี 2. เมโทมิล 19.8% อีซี 3. เฟนโทเอต 50% อีซี 4. คาร์โบฟูแรน 3%

ชนิดพ่นน้ำ ชนิดพ่นน้ำ ชนิดพ่นน้ำ ชนิดเม็ด

กลุ่มอะเวอร์เม็กติน 1. อะบาเม็กติน ชนิดพ่นน้ำ

Page 18: รอบสำรวจที่ 2 ฤดูนาปรัง ปี 2563 ...cri-rrc.ricethailand.go.th/images/sampledata/farmernews/...แปลงสำรวจม พ นท

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: ศูนย์วิจัยข้าวเชียงราย อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย โทรศัพท์ ๐ - ๕๓๗๒ – ๑๕๗๘

และโทรสาร ๐ – ๕๓๗๒ - ๑๙๑๖ ไปรษณีย์อีเล็กทรอนิกส์: [email protected]

“ข้อควรระวังการใช้สารเคม ีต้องปฏิบัตติามคำแนะนำการใช้สารเคมีที่ถูกต้องและเหมาะสมอย่างเคร่งคัด”

ติดตอ่สอบถามเพิ่มเตมิได้ที่ ศูนย์วิจัยข้าวเชียงราย โทร 053-721578