มิติทางวัฒนธรรมจากคัมภีร...

13
มิติทางวัฒนธรรมจากคัมภีรใบลานภาคอีสาน ศึกษากรณีจังหวัดมหาสารคาม The Cultural Dimensions drawn from the Palm – leaf Manuscripts in the Northeast Thailand : Case study in Mahasarakham Province. สมัย วรรณอุดร 1 Smai Wannaudorn บทคัดยอ คัมภีรใบลานเปนเอกสารโบราณที่ใชบันทึกความรู ความคิดของบุคคลในสังคมไทยสมัยกอน การวิจัย นี้เปนการศึกษาคัมภีรใบลานจังหวัดมหาสารคาม ในพื้นที่ 11 อําเภอ 2 กิ่งอําเภอจากวัด 36 วัด เพื่อศึกษามิติ ทางวัฒนธรรมดานรูปแบบ องคประกอบ ตัวอักษร เนื้อหา คานิยม ความเชื่อและเจตจํานงในการสรางคัมภีร ผลการวิจัยพบวา คัมภีรใบลานมีรูปแบบเอกลักษณของทองถิ่น ซึ่งประกอบดวย หนาปก ใบรองปก ชื่อเรื่อง เลขหนา ไมนิยมบอกชื่อผูแตง แตบอกชื่อผูคัดลอก บอกปคัดลอกเปนจุลศักราชสวนใหญ องคประกอบของ เนื้อหาสวนใหญเปนเรื่องทางศาสนา รองลงมาเปนประเพณี พิธีกรรม วรรณคดี ตํารายา และอื่นๆ โดยมีการใช ตัวอักษร 7 ชนิดคือ อักษรธรรมอีสาน อักษรไทยนอย อักษรขอม อักษรกาบ อักษรสรอยหรืออักษรหางหนู อักษรไทยสมัยรัตนโกสินทรและอักษรไทยปจจุบัน การนําเสนอเนื้อหานอกจากใชตัวอักษรยังใชรูปภาพลายเสน รูปดอกไม คน สัตว ตนไม วัตถุ ผังภูมิ ตารางและรูปทรงเรขาคณิตประกอบเพื่อสรางความเขาใจ อัน สะทอนภูมิปญญาทองถิ่นดานการเสนอขอมูล สวนคานิยม ความเชื่อและเจตจํานงในการสรางคัมภีรเพื่อเปน พุทธบูชา สืบทอดพระพุทธศาสนา อุทิศสวนกุศลใหบุพการีผูลวงลับและเพื่อบุญกุศลของผูสรางตามลําดับ สวนคัมภีรใบลานในปจจุบันไดเปลี่ยนแปลงจากการจารเปนการพิมพตัวอักษรธรรม และอักษรไทยลงบนใบลาน แทนเนื่องจากระบบการพิมพเจริญขึ้น ทําใหวัฒนธรรมการจารลดลงและเลือนหายไปจากสังคมปจจุบัน คําสําคัญ : มิติทางวัฒนธรรม, คัมภีรใบลาน Abstract The manuscripts were used as records of knowledge and thoughts of human beings in the old time. This research investigated the manuscripts kept in temples in Mahasarakham province areas including 11 districts and 2 sub-districts. The purpose of this study was to examine cultural dimensions emphasizing types, components, scripts, contents, values, beliefs, and purposes of making manuscripts. The findings indicated that the palm-leaf manuscript was illustrated local identities. The components of the manuscript included covers, a title page, a half-title page, a title, and pagination. Authors were not appeared in most manuscripts, however, a transcriber and dates could be found. 1 พนักงานวิชาการ โครงการอนุรักษใบลานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม Created with Print2PDF. To remove this line, buy a license at: http://www.software602.com/

Upload: others

Post on 17-Jan-2020

2 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: มิติทางวัฒนธรรมจากคัมภีร ใบลานภาคอีสาน ศึกษากรณีจังหวัด ...bl.msu.ac.th/bailan/job_bl/01.pdf ·

มิติทางวัฒนธรรมจากคัมภีรใบลานภาคอีสาน ศึกษากรณีจังหวัดมหาสารคาม The Cultural Dimensions drawn from the Palm – leaf Manuscripts in the Northeast Thailand : Case study in Mahasarakham Province.

สมัย วรรณอุดร1

Smai Wannaudorn

บทคัดยอ คัมภีรใบลานเปนเอกสารโบราณที่ใชบันทึกความรู ความคิดของบุคคลในสังคมไทยสมัยกอน การวิจัยนี้เปนการศึกษาคัมภีรใบลานจังหวัดมหาสารคาม ในพื้นที่ 11 อําเภอ 2 ก่ิงอําเภอจากวัด 36 วัด เพื่อศึกษามิติทางวัฒนธรรมดานรูปแบบ องคประกอบ ตัวอักษร เนื้อหา คานิยม ความเชื่อและเจตจํานงในการสรางคัมภีร ผลการวิจัยพบวา คัมภีรใบลานมีรูปแบบเอกลักษณของทองถิ่น ซึ่งประกอบดวย หนาปก ใบรองปก ชื่อเรื่อง เลขหนา ไมนิยมบอกชื่อผูแตง แตบอกชื่อผูคัดลอก บอกปคัดลอกเปนจุลศักราชสวนใหญ องคประกอบของเนื้อหาสวนใหญเปนเรื่องทางศาสนา รองลงมาเปนประเพณี พิธีกรรม วรรณคดี ตํารายา และอื่นๆ โดยมีการใชตัวอักษร 7 ชนิดคือ อักษรธรรมอีสาน อักษรไทยนอย อักษรขอม อกัษรกาบ อักษรสรอยหรืออักษรหางหนู อักษรไทยสมัยรัตนโกสินทรและอักษรไทยปจจุบัน การนําเสนอเนื้อหานอกจากใชตัวอักษรยังใชรูปภาพลายเสนรูปดอกไม คน สัตว ตนไม วัตถุ ผงัภูมิ ตารางและรูปทรงเรขาคณิตประกอบเพื่อสรางความเขาใจ อันสะทอนภูมิปญญาทองถิ่นดานการเสนอขอมูล สวนคานิยม ความเชื่อและเจตจํานงในการสรางคัมภีรเพื่อเปนพุทธบูชา สืบทอดพระพุทธศาสนา อุทิศสวนกุศลใหบุพการีผูลวงลับและเพื่อบุญกุศลของผูสรางตามลําดับ สวนคัมภีรใบลานในปจจุบันไดเปลี่ยนแปลงจากการจารเปนการพิมพตัวอักษรธรรม และอักษรไทยลงบนใบลานแทนเนื่องจากระบบการพิมพเจริญขึ้น ทําใหวัฒนธรรมการจารลดลงและเลือนหายไปจากสังคมปจจุบัน

คําสําคัญ : มิติทางวัฒนธรรม, คัมภีรใบลาน

Abstract

The manuscripts were used as records of knowledge and thoughts of human beings in the old time. This research investigated the manuscripts kept in temples in Mahasarakham province areas including 11 districts and 2 sub-districts. The purpose of this study was to examine cultural dimensions emphasizing types, components, scripts, contents, values, beliefs, and purposes of making manuscripts.

The findings indicated that the palm-leaf manuscript was illustrated local identities. The components of the manuscript included covers, a title page, a half-title page, a title, and pagination. Authors were not appeared in most manuscripts, however, a transcriber and dates could be found.

1 พนักงานวิชาการ โครงการอนุรักษใบลานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Created with Print2PDF. To remove this line, buy a license at: http://www.software602.com/

Page 2: มิติทางวัฒนธรรมจากคัมภีร ใบลานภาคอีสาน ศึกษากรณีจังหวัด ...bl.msu.ac.th/bailan/job_bl/01.pdf ·

2

As for the contents, most manuscripts were about religion, cultures, rituals, literatures, and medicines. There were seven types of scripts used such as Isan Dhamma scripts, Thai Noi scripts, Khmer scripts, Karb scripts, Soi or Hang nu scripts, Ratanakosin era scripts, and current Thai scripts. In presenting contents, besides the scripts, drawing and pictures of flowers, human beings, animals, trees, objects, charts, tables, and geometric shapes were used. There means reflected local wisdom in presenting data. The values, beliefs, and purposes of making a manuscripts were to pay respect to the Lord Buddha, to preserve Buddhism, to make merit to ancestors and for the makers’ future life.

The scripts on palm-leaf manuscripts in the present time changed from hand writing to printing due to the rise of printing manufacturers. This innovation also decreased the culture of writing the manuscripts and made it disappear nowadays.

Key words: Cultural dimensions, palm-leaf manuscripts

บทนําคัมภีรใบลาน เปนวัฒนธรรมทางภาษาที่ชาวอีสานสรรสรางขึ้นมาเพื่อใชในสังคมที่มีการสืบทอดกันมา

เปนเวลาอันยาวนานจากบรรพชนรุนหนึ่งสูอนุชนรุนหลังสืบๆ กันมา (สมชาย นิลอาธิ.2544 : 1) เปนวัฒนธรรมอยางหนึ่งที่เปนเสมือนกระจกสองใหอนุชนรุนหลังไดรูจักกําพืดหรือภูมิหลัง หรือพัฒนาการทางประวัติศาสตรของตนไดเปนอยางดี เพราะเปนหลักฐานชั้นตนที่สําคัญตอวงวิชาการที่บันทึกเหตุการณและเรื่องราวตางๆ ทั้งคดีโลกและคดีธรรม เชน หลักธรรมคําสอนทางพระพุทธศาสนา ประวัติศาสตร โหราศาสตร วรรณกรรม พงศาวดาร กฎหมายโบราณ ตํารายา คาถาอาคม เปนตน ทุกเรื่องราวที่บันทึกไวในคัมภีรใบลานลวนเกี่ยวของกับวิถีชีวิตมนุษยตั้งแตเกิดจนตายโดยเฉพาะที่เกี่ยวกับโหราศาสตร ประเพณีพิธีกรรม เชน ตําราหัวเคียงหมอน ผยาเกี้ยว ตําราเกี่ยวกับการปลูกบานเรือน ดูลักษณะที่ดินที่จะอยูอาศัยหรือทํามาหากิน ตลอดถึงวรรณกรรมนิทานตางๆ และธรรมเทศนาในวาระโอกาสตางๆ และชาวอีสานในอดีตมีความเชื่อวา หากจารอักษรเพื่อบันทึกหลักธรรมคําสอนของพระพุทธเจา 1 ตัวอักษรจะไดอานิสงสหรือผลบุญเทากับสรางพระพุทธรูป 1 องค การจารหรือการคัดลอกคัมภีร ใบลานเปนการสืบทอดพระพุทธศาสนา อีกทั้งผูจารหรือเจาของลานผูถวายคัมภีรก็จะไดอานิสงส ไดผลบุญมีสติปญญาเฉลียวฉลาดเพื่อจะไดบรรลุและเขาถึงนิพพานในชาติตอๆ ไป ชาวอีสานจึงนิยมสรางคัมภีรถวายวัดเปนพุทธบูชา หรือเพื่ออุทิศสวนกุศลใหแกบุพการีหรือผูที่ตายไปแลว นอกจากนั้นยังไดจารเรื่องเกี่ยวกับคดีโลกเก็บไวในบานตนอีกดวย สิ่งเหลานี้สะทอนใหเห็นถึงภูมิปญญา วิถีชีวิต ความศรัทธาและความเชื่อของคนในทองถิ่นที่สืบทอดกันมายาวนาน (สถาบันคาควาวรรณคดีแหงชาติ.1998: คํานํา) หนังสือ ใบลานและหนังสือเกาแกประเภทตางๆ ฯลฯ ลวนแตเปนของมีคาอยางมหาศาลเปนมรดกทางวรรณกรรม วิทยาศาสตร อักษรศาสตร ภาษาศาสตร ศิลปะและประวัติศาสตร ซึ่งปูยาตายายของพวกเราไดสืบทอดและถายทอดกันมาจนถึงรุนเราอันควรแกการขุดคน ปกปกรักษาคนควาและสืบทอดกันไปอยางจริงจัง และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในแตละยุคสมัย จากอดีตจนถึงปจจุบันใบลานยังคงเปนเอกสารที่มีความสําคัญในฐานะที่เปนเอกสารบันทึกเรื่องราวและเหตุการณของยุคสมัย เพราะยุคสมัยที่มีการจารใบลานเรื่องนั้นๆ ยอมสะทอนใหเห็นสิ ่งตางๆ ตามที ่กลาวมา เอกสารใบลานมีการเปลี ่ยนแปลงไปตามกาลเวลาทั ้งในดานรูปแบบและองคประกอบ เนื้อหา ถอยคําภาษา ขนบการจารตลอดถึงความเชื่อเกี่ยวกับใบลาน พัฒนาการที่เกิดขึ้นมีความสําคัญตอมิติทางประวัติศาสตร วัฒนธรรมและสังคม สะทอนใหเห็นความเปลี่ยนแปลงวิถีทางสังคมแตละยุคสมัย ดังน้ันการศึกษามิติทางวัฒนธรรมของคัมภีรใบลานจึงเปนสิ่งที่มีความสําคัญยิ่งที่จะสะทอนภาพความ

Created with Print2PDF. To remove this line, buy a license at: http://www.software602.com/

Page 3: มิติทางวัฒนธรรมจากคัมภีร ใบลานภาคอีสาน ศึกษากรณีจังหวัด ...bl.msu.ac.th/bailan/job_bl/01.pdf ·

3

เปลี่ยนของยุคสมัย วิถีชีวิตของผูคน สภาพสังคมและวัฒนธรรม อันทําใหอนุชนรุนหลังไดเกิดความคิดทบทวนและตระหนักเพื่อจะเปนแนวทางในการพัฒนาสังคมและประเทศชาติใหยั่งยืนตอไปในอนาคต

วัตถุประสงคเพื่อศึกษามิติทางวัฒนธรรมของคัมภีรใบลานในจังหวัดมหาสารคาม ดานรูปแบบและองคประกอบ

ตัวอักษรที่ใชบันทึก เนื้อหา คานิยมความเชื่อและเจตจํานงในการสรางคัมภีรใบลาน

วิธกีารศึกษาการวิจัยครั้งนี้เปนการวิจัยภาคสนาม โดยมีพื้นที่ในเขตจังหวัดมหาสารคาม ซึ่งประกอบดวย 11

อําเภอและ 2 กิ่งอําเภอดังนี้ อําเภอเมือง อําเภอวาปปทุม อําเภอบรบือ อําเภอพยัคฆภูมิพิสัย อําเภอกันทรวิชัย อําเภอโกสุมพิสัย อําเภอเชียงยืน อําเภอนาเชือก อําเภอนาดูน อําเภอแกดํา อําเภอยางสีสุราช กิ่งอําเภอชื่นชม กิ่งอําเภอกุดรัง

การเก็บขอมูล1. สํารวจเก็บขอมูลวัดที่ มีเอกสารใบลานตามบัญชีที่ วิทยาลัยครูมหาสารคาม (ปจจุ บันเปน

มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม) ไดสํารวจไวเมื่อ พ.ศ. 2527 - 2531 ทุกอําเภอในจังหวัดมหาสารคาม และสํารวจเพิ่มเติมบางวัดที่เปนทางผานที่ออกสํารวจและวัดที่มีผูแนะนําซึ่งนอกเหนือจากบัญชีที่กําหนด

2. คัดเลือกวัดท่ีมีเอกสารใบลานมากท่ีสุดในแตละอําเภอๆ ละ 3 วัด (ยกเวนอําเภอกันทรวิชัย เลือก 4 วัดเพราะทั้ง 4 วัดมีเอกสารใบลานมาก) กิ่งอําเภอ จะเลือกเพียง 2 วัดเพราะมีพื้นที่นอย เฉพาะอําเภอเมืองจะเลือกเฉพาะวัดมหาชัย เพราะมีคัมภีรใบลานที่มากและรวบรวมมาจากวัดตางๆ ทั่วภาคอีสาน ไดวัดจํานวน 36 วัด

3. รวบรวมขอมูลและจัดหมวดหมูคัมภีรใบลานในวัดท่ีเลือก และเก็บขอมูลเก่ียวกับคัมภีรใบลานตามวัตถุประสงคท่ีต้ังไวอยางละเอียด

4. วิเคราะหขอมูล โดยนําขอมูลที่ไดมาจากการเก็บขอมูลอยางละเอียดมาวิเคราะหตามวัตถุประสงคที่ตั้งไว

5.เสนอผลการศึกษาแบบพรรณนาวิเคราะหประกอบภาพ

ผลการศึกษาคัมภีรใบลานนั้นเปนเอกสารโบราณที่สามารถแสดงใหเห็นถึงวัฒนธรรมดานตางๆ ที่วิถีชุมชนในยุค

นั้นๆ ไดสรรคสรางและบันทึกไวผานทางเอกสารใบลาน เพราะสิ่งที่บันทึกในเอกสารใบลานหรือคัมภีรใบลานนั้นสามารถแสดงใหเห็นถึงคานิยม ความเชื่อ วิถีการดําเนินชีวิต สภาพความเปนอยูของชุมชนในยุคนั้นๆ ได เชน คัมภีรใบลานหรือเอกสารใบลานปรากฏมากในยุคใดสมัยใด ในยุคนั้นสมัยนั้นวาเหตุการณบานเมืองสงบสุข และการที่เอกสารใบลานหรือคัมภีรใบลานปรากฏมากยังสะทอนใหเห็นถึง คติความเชื่อหรือคานิยมเกี่ยวกับการจารคัมภีรใบลานถวายวัดไดดวย ซึ่งสิ่งเหลานี้เปนมิติทางวัฒนธรรมที่แสดงออกใหเห็นผานคัมภีรใบลานในยุคสมัยนั้นๆ ในที่นี้ขอสรุปดานตางๆ ตามวัตถุประสงคของการศึกษาดังนี้

Created with Print2PDF. To remove this line, buy a license at: http://www.software602.com/

Page 4: มิติทางวัฒนธรรมจากคัมภีร ใบลานภาคอีสาน ศึกษากรณีจังหวัด ...bl.msu.ac.th/bailan/job_bl/01.pdf ·

4

มิติทางวัฒนธรรมดานรูปแบบและองคประกอบผูแตงคัมภีรใบลานที่พบในจังหวัดมหาสารคามจึงไมปรากฏชื่อผูแตง พบแตชื่อผูจารหรือผูลิจจนา

เทานั้นผูจาร หรือผูเขียน สวนมากในคัมภีรใบลานภาคอีสานจะเรียกวา ผูลิจจนา โดยทั่วไปคัมภีรใบลาน

เกือบทุกฉบับจะบอกชื่อผูเขียนหรือผูจารไว โดยสวนมากจะเปนนักบวชหรือผูที่เคยผานการบวชมาแลว ดังตัวอยางคัมภีรใบลานเรื่องมูลนิพพาน ฉบับวัดบานตําแย ต.นาสีนวน อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม วา

...พระสวนเขียนมูลนิพพานใหแมชื่อวาเถาบุดี ขอใหหายพยาธิที่เจ็บหัวอยูทุกวันนี้ ขอใหไดบุญมากๆ...

หรือดังตัวอยางปรากฏในคัมภีรใบลานเรื่องลําปญญาบารมี ฉบับวัดสระศิลา บานหนองหิน ต.ดงบัง อ.นาดูน จ.มหาสารคาม วา

เจาขนันนนคัมภีรปญญาเปนผูริจจนาหนังสือลําปญญาบารมีธรรมเจาไวใหเปนขีนแข็งไวกับศาสนาพระโคดมเจาตราบตอเทาเถิงพระเจาอริยะเมตไตยะเจา ตราบตอเทาเถิงเมืองแกวยอดนีรพาน…

สมัยที่จาร สวนมากผูจารจะไมนิยมบอกรายละเอียดอะไรมาก แตจะบอกเวลาที่จารเสร็จ หรือวัน เดือน ขางขึ้นหรือขางแรมเทานั้น บางฉบับอาจบอกปดวย และถาบอกปศักราชที่จาร ก็มักจะบอกเปนปจุลศักราชเปนสวนมาก ซ่ึงแสดงใหเห็นถึงความนิยมในการใชปจุลศักราชมากกวาพุทธศักราช แตบางครั้งถึงแมจะบอกวาเปนปจุลศักราช แตความจริงเปนปพุทธศักราชก็มี บางฉบับบอกละเอียดทั้งเวลา วัน เดือน ป ศักราช ดังตัวอยางตอไปนี้

การบอกเฉพาะเวลาที่จารเสร็จ ดังปรากฏในคัมภีรใบลานเรื่องเสียวสวาด ฉบับวัดพรหมประสิทธิ์ บานหนองอุม ต.นาสีนวน อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม วา

ลิจจนาแลวยามตุดซาย หัวคําสิน บานหนองอุมเขียนหลังสือเสียวสวาดผูกตน...

หรือดังปรากฏในคัมภีรใบลานเรื่องอภิธรรม ฉบับวัดศรีสมพร บานแบก ต.นาทอง อ.เชียงยืน จ.มหาสารคาม วา

ลิจจนาแลวยามงาย พอกินงายแลเจาเฮย ขนันเหงาเปนเจาลาน ขนันเต็มเปนผูเขียน...

การบอกเฉพาะวันเวลาที่จารเสร็จ ดังปรากฏในคัมภีรใบลานเรื่องมหาวิภังค ฉบับวัดมหาชัย อ.เมือง จ.มหาสารคาม วา

ลิจจานาแลวยามกองแลงใกลคํ่าแลเจาเฮย แลวเดือนเจียงออกใหมคํ่า ๑ วัน ๗ แลเจาเฮย

หรือดังปรากฏในคัมภีรใบลานเรื ่องสังกาส ฉบับวัดสุขะธัมมาราม บานเหลา ต.เม็กดํา อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม วา

เขียนแลวเดือน 6 แฮม 2 คํ่า วัน 1 คูบาบุญมีเปนเจาลานแล พระหนูเปนผูเขียนแล แลวยามตีกองแลงแล

Created with Print2PDF. To remove this line, buy a license at: http://www.software602.com/

Page 5: มิติทางวัฒนธรรมจากคัมภีร ใบลานภาคอีสาน ศึกษากรณีจังหวัด ...bl.msu.ac.th/bailan/job_bl/01.pdf ·

5

การบอกปจุลศักราชที่จารเสร็จ ดังปรากฏในคัมภีรใบลานเรื่องพระกุสลาด ฉบับวัดปอพาน บานปอพาน ต.ปอพาน อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม วา

จุลสังกาสได ฮอย 69 ตัว ปละกา(ระกา) (พ.ศ.2350) เดือน 8 แฮม 1 คํ่า...

การบอกปพุทธศักราชที่จารเสร็จ ดังปรากฏในคัมภีรใบลานเรื่อง พระอภิธรรมเจ็ดคัมภีร อักษรขอม ฉบับวัดโพธิ์ชัย บานหนองหญามา ต.หนองเหล็ก อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม วา

4พระพุทธศักราชลวงไปแลว 2462 ปมะแม เอกศก วัน 6 ฯ 10 ค่ํา..

การบอกปจุลศักราช แตเปนปพุทธศักราชดังปรากฏในคัมภีรใบลานเรื่องคดีโลกคดีธรรม ฉบับวัดศรสมพร บานแบก ต.นาทอง อ.เชียงยืน จ.มหาสารคาม วา

...จุนละสังกลาดลวงไป 2000 3 ฮอย 804 พะวะสา ปซะหลู(ฉลู) เดือน 4 ขึ้น 10 ค่ํา วันอังคาร ฯ ลิดจานาแลวยามกองแลง...

การบอกละเอียดทั้งเวลา วัน เดือน ป ศักราช ดังปรากฏในคัมภีรใบลานเรื่องเสียวสวาดฉบับวัดพรหมประสิทธิ์ บานหนองอุม ต.นาสีนวน อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม วา

จุลลสังกาสไดพัน 2 ฮอย 54 พะวัสสา ปมะโรง เดือน 11 ขึ้น 11 ค่ํา วัน 1 ลิดจนาแลวยามตุดซาย ...

หรือดังปรากฏในคัมภีรใบลานเรื่องสุพรหมโมกขาฉบับวัดศรีสมพร บานแบก ต.นาทอง อ.เชียงยืน จ.มหาสารคาม วา

จุลลสังกราสลวงไปได 2 พัน 3 ฮอย 9 พะวะสาปถอ(เถาะ) ลิจจนาแลวเดือน 10 ออกใหม 8 ค่ํา วัน 4 ลิจจนาแลวยามกองแลงแลเจาเฮย

กลวิธีการนําเสนอ มีวิธีการนําเสนอที่คลายกันกับการพิมพหนังสือเลมหนึ่งๆ ในสมัยปจจุบัน ซึ่งในการพิมพหนังสือปจจุบันประกอบดวยสวนสําคัญตางๆ เชน ปกหนาหรือที่เรียกวาใบหลบหนา หรือใบกั้งหนาสําหรับบอกชื่อเรื่อง ปกรอง สารบัญ เลขหนา ใบรองปกหลัง และปกหลัง คัมภีรใบลานก็ประกอบดวย ปกหนา ใบรองปกหนา ชื่อเรื่องกอนเริ่มเรื่อง อังกาบอกหนา ใบรองปกหลัง และใบปกหลัง เหมือนกัน

ปกหนา หรือใบหลบหนา เปนใบที่บอกชื่อเรื่อง บอกผูกของคัมภีรใบลานดานหนาผูก ดังตัวอยางการบอกชื่อเรื่องในใบปกหนา หรือใบหลบหนาเรื่องสุชะวัณณจักรกุมาร ฉบับวัดดาวดึงส บานแกดํา อ.แกดํา จังหวัดมหาสารคาม

คําอาน : ใบหลบหนาสุชะวัณณจักรกุมมาน ผูกตนแล๚

Created with Print2PDF. To remove this line, buy a license at: http://www.software602.com/

Page 6: มิติทางวัฒนธรรมจากคัมภีร ใบลานภาคอีสาน ศึกษากรณีจังหวัด ...bl.msu.ac.th/bailan/job_bl/01.pdf ·

6

ปกหลัง หรือใบหลบหลัง เปนใบที่บอกชื่อเรื่อง บอกผูกของคัมภีรใบลานดานหลังผูกตัวอยางการบอกชื่อเรื่องในใบปกหนา หรือใบหลบหนาเรื่องสุชะวัณณจักรกุมมาร ฉบับวัดดาวดึงส บานแกดํา อ.แกดํา จังหวัดมหาสารคาม

คําอาน : ใบหลบหลังสุชะวัณณจักรกุมมาน ผูกตนแล ๚

ใบรองปกหนาและใบรองปกหลัง คือใบลานเปลาที่อยูถัดจากปกหนาและกอนปกหลังซึ่งอาจมีมากกวา ๑ ลาน เปนการเสริมใหคัมภีรใบลานแข็งแรงและชวยปองกันไมใหลานที่จารเนื้อเรื่องชํารุดเสียหายเร็ว

การบอกช่ือเรื่อง นิยมเขียนไวที่ ดานซายมือของหนาลานที่ 1 ของใบลานที่ 1 ที่เริ่มเนื้อเรื่อง ดังตัวอยางเชน

คําอาน : เตปทุมมา ผูก 2 แลเจาเฮย คําอาน : สอง(ฉลอง)ดูกผีแล

การบอกอังกา คือบอกลําดับหนาลาน หรือการบอกจํานวนใบลาน จะอยูริมดานซายมือ หนาที่ 2 หรือหนาหลังของใบลานนั้นๆ ซึ่งจะมีการใชทั้งพยัญชนะประสมกับสระและใชตัวเลขตัวเลข แลวแตผูจารจะใช โดยตัวเลขก็จะใชตั้งแต ๑ เปนตนไปจนหมดผูก สวนอังกาที่ใชพยัญชนะนั้น โดยทั่วๆ ไปจะใชพยัญชนะผสมกับสระ ๑๒ ตัว ดังนี้ อะ (ไมปรากฏรูป) อา อี อี อุ อู เอ ไอ โอ เอา อํ อะ เชน ก กา กิ กี กุ กู เก ไก โก เกา กํ กะ แลวขึ้นตนดวยพยัญชนะตัวตอไป เปน ข ขา ขิ ขี ฯลฯ

ตัวอยางอังกาที่ใชตัวเลข

เลข 2 ในวงกลม หมายถึง ลานท่ี 2 หนาที ่2 เลข 3 ในวงกลม หมายถึง ลานท่ี 3 หนาที่ 2

Created with Print2PDF. To remove this line, buy a license at: http://www.software602.com/

Page 7: มิติทางวัฒนธรรมจากคัมภีร ใบลานภาคอีสาน ศึกษากรณีจังหวัด ...bl.msu.ac.th/bailan/job_bl/01.pdf ·

7

ตัวอยาง อังกาที่ใชพยัญชนะ

การใชสัญลักษณ มีการใชสัญลักษณหลายอยางซ่ึงมีลักษณะแตกตางกันแลวแตผูจารจะสรรสรางข้ึนแทนความหมายอะไร เชน สรรคสรางข้ึนเพ่ือเปนการค่ันขอความ การส้ินสุดขอความและเร่ิมขอความใหมเปนตน

สัญลักษณน้ีผูจารสรรคสรางข้ึนเพ่ือเปนการแบง สวนที่บอกชื่อเร่ืองกับสวนเน้ือเร่ือง

สัญลักษณการสิ้นสุดขอความและเริ่มขอความใหม

สัญลักษณแทนการเร่ิมขอความ สัญลักษณทําขึ้นเพื่อไมใหเนื้อที่วาง ในพื้นที่ที่ไมสามารถจาร

ตัวหนังสือได

การใชรูปภาพ มีการใชรูปภาพประกอบเนื้อหาเพื่อใหผูรับสารมองเห็นเปนรูปธรรมมากขึ้น และงายตอการเขาใจ ตังอยางคัมภีรใบลานส้ันเร่ืองคองวัตรคองสงฆ วัดมงคลเทพประสิทธ์ิ บานโนนสัง ต.หนองบอน อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม เชน

ภาพบรรยายพ้ืนท่ีท่ีเหมาะแกการเจริญภาวนา จากคัมภีรใบลาน เร่ืองคองวัตรคองสงฆ วัดมงคลเทพประสิทธ์ิ บานโนนสัง ต.หนองบอน อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม

คําวา ก ในวงกลม หมายถึง ลานท่ี 2 หนาที่ 2 คําวา กา ในวงกลม หมายถึง ลานท่ี 3 หนาที่ 2

Created with Print2PDF. To remove this line, buy a license at: http://www.software602.com/

Page 8: มิติทางวัฒนธรรมจากคัมภีร ใบลานภาคอีสาน ศึกษากรณีจังหวัด ...bl.msu.ac.th/bailan/job_bl/01.pdf ·

8

ภาพบรรยายการทํานายโชคชะตาจากรูปปลา จากคัมภีรใบลานเรื่องโหราศาสตร วัดราชพฤกษสิงขร บานคําแกนคูน ต.วังแสง อ.แกดํา จ.มหาสารคาม

ภาพอธิบายลักษณะจีวรของพระสงฆ จากคัมภีรใบลาน เร่ืองคองวัตรคองสงฆ วัดมงคลเทพประสิทธ์ิ บานโนนสัง ต.หนองบอน อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม

ภาพบรรยายที่ดินที่เหมาะสมและไมเหมาะสม จากคัมภีรใบลานเร่ืองการปลูกเรือน วัดมงคลเทพประสิทธ์ิ บานโนนสัง ต.หนองบอน อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม

ภาพบรรยายการปลูกพืชในวันขางข้ึน จากคัมภีรใบลานเรื่องฤกษยาม วัดมงคลเทพประสิทธิ์ บานโนนสัง ต.หนองบอน อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม

การใชถอยคําภาษา มีการใชถอยคําภาษาใหคลองจองกัน ขอความบางเร่ืองถึงแมจะไมไดแตงเปนรอยกรองก็ตาม แตก็มักใชคําซอนกันหรือใหสัมผัสกันเพ่ือใหเกิดความไพเราะ และสละสลวยของถอยคําและขอความน้ันๆ ดังตัวอยางเจตจํานงหรือความปรารถนาของผูจารเร่ืองมารวิภังค วัดศรีสมพร บานแบก ต.นาทอง อ.เชียงยืน จ.มหาสารคาม วา

...อัน 1 ขอใหไดเถิงสุข ขอใหไดมมจากทุกขในวัฏฏสงสาร ขอใหไดเถิงนีรพานเปนที่แลว ขออยาไดคลาดแคลวภายลุมอวีจี ขอใหมีไมตรีตอนิพพานเปนที่แลว ขออยาไดคลาดแคลวฝูงหมูศัตรู ฝูงอยูฮูแมนกบแมนเขียด เจาอยาเคียดทางนีรพาน ใหมีใจหวานตอ นีรพานจริงแท บไดแพฝูงหมูเผตแลผี ใหใจดีซูสัตวจริงแท ...

Created with Print2PDF. To remove this line, buy a license at: http://www.software602.com/

Page 9: มิติทางวัฒนธรรมจากคัมภีร ใบลานภาคอีสาน ศึกษากรณีจังหวัด ...bl.msu.ac.th/bailan/job_bl/01.pdf ·

9

มิติทางวัฒนธรรมดานตัวอักษรท่ีใชบันทึก คัมภีรใบลานในจังหวัดมหาสารคามมีการใชตัวอักษรท่ีใชบันทึกเร่ืองราวตางๆ 7 ชนิดดวยกันดังน้ี

อักษรธรรมอีสาน ตัวอักษรไทยนอย อักษรขอม อักษรกาบ อักษรสรอยหรืออักษรหางหนู ตัวอักษรไทยสมัยรัตนโกสินทร และตัวอักษรไทยปจจุบัน ซึ่งอักษรที่พบการใชมากที่สุดคืออักษรธรรมอีสาน อักษรไทยนอย อักษรขอม และอักษรไทยปจจุบันอันเนื่องมาจากการพิมพ สวนอักษรกาบและอักษรหางหนูเปนอักษรที่เขียนแทรกอยูในตัวอักษรธรรมอีสานและอักษรไทยนอยตอนทายผูกซึ่งพบนอยมาก

มิติทางวัฒนธรรมดานเน้ือหา เน้ือหาสาระในใบลานในจังหวัดมหาสารคามน้ันมีมากมาย เน้ือหาท่ีพบสามารถแบงเปนหมวดใหญ ๆ

ไดแก หมวดศาสนา หมวดตํานานประวัติศาสตร หมวดประเพณี พิธีกรรม หมวดวรรณคดี วรรณกรรมและอื่นๆ และหมวดตํารายา เนื้อหาหรือเรื่องในคัมภีรใบลานที่พบมากที่สุดไดแกหมวดศาสนา โดยเฉพาะอภิธรรม สวนหมวดที่มีมากที่สุดรองลงมาคือหมวดประเพณีพิธีกรรมซึ่งสวนมากเปนหนังสือกอม ที่มีมากที่สุดไดแก พิธีกรรมตางๆ

มิติทางวัฒนธรรมดานคานิยมความเชื่อและเจตจํานงในการสรางคัมภีรใบลาน คานิยมและความเช่ือเก่ียวกับคัมภีรใบลาน จากขอมูลในการศึกษาวิจัย พบวาชาวมหาสารคาม ชาวอีสาน

หรือมีคานิยมเก่ียวกับการสรางคัมภีรใบลานไวเพ่ือถวายเปนพุทธบูชา คานิยมในการจางหรือใหคนอ่ืนจารคัมภีรให คานิยมเก่ียวกับการสรางคัมภีรถวายวัดเพ่ืออุทิศใหบุพการีผูลวงลับไป คานิยมถอมตัวไมโออวด และความใจกวางของผูจารในการนอมรับความผิดพลาดและพรอมท่ีจะใหผูอ่ืนเพ่ิมเติมขอความท่ีผิดพลาดไดเสมอ

ความเช่ือเก่ียวกับคัมภีรใบลานมีความเช่ือวาคัมภีรใบลานเปนของสูง ความเช่ือวาครอบครัวและผูมีพระคุณท่ียังมีชีวิตอยูและลวงลับไปแลวจะไดรับกุศลผลบุญรวมกับตนท่ีสรางคัมภีรถวายวัด ความเช่ือวาการสรางคัมภีรใบลานถวายไวในพระศาสนา เปนการสืบทอดพระศาสนาแลวชาติภายภาคหนาจะไดพบศาสนาพระศรีอาริย

เจตจํานงในการสรางคัมภีรใบลาน โดยมีเจตจํานงหรือวัตถุประสงคของการสรางคัมภีรใบลานเพื่อเปนพุทธบูชา อยากใหตนและญาติมิตรไดบุญกุศล ประสบสุขสมบัติ และเขาถึงนิพพานไมตองมาเวียนวายตายเกิดในวัฏฏสงสาร เพื่อใหไดตามที่ตนปรารถนา เพื่อใหปราศจากโรคภัยไขเจ็บตางๆ เพื่อจะเปนพระพุทธเจา เพื่อเกิดชาติหนาใหอยูดีมีสุข เพื่อลบลางบาปที่เคยกระทําแลว

การกลายของวัฒนธรรมการจารสูการพิมพและ การเปลี่ยนแปลงจากคัมภีรใบลานสูคัมภีรกระดาษและหนังสือ

การกลายของวัฒนธรรมการจารสูการพิมพและ การเปล่ียนแปลงจากคัมภีรใบลานสูคัมภีรกระดาษและหนังสือน้ันเร่ิมมีการเปล่ียนแปลงเพราะไดรับอิทธิพลจากสวนกลางเร่ิมต้ังแตสมัยรัชกาลท่ี 5 ไดขยายการศึกษาระบบโรงเรียนและใหเรียนหนังสือไทยมาสูภูมิภาค และประกาศใชพระราชบัญญัติประถมศึกษาศึกษา พ.ศ.2464 ในสมัยรัชกาลท่ี 6 ตลอดถึงระบบการพิมพเจริญข้ึน โรงพิมพเพ่ิมข้ึนเร่ือยๆ ทําใหความสําคัญของการจารลดนอยลงและเร่ิมจะสูญหายไปจนแทบจะไมเหลือใหเห็นในทุกวันน้ี

Created with Print2PDF. To remove this line, buy a license at: http://www.software602.com/

Page 10: มิติทางวัฒนธรรมจากคัมภีร ใบลานภาคอีสาน ศึกษากรณีจังหวัด ...bl.msu.ac.th/bailan/job_bl/01.pdf ·

10

ตัวอยางคัมภีรใบลานที่พิมพดวยตัวอักษรไทย จากวัดมหาชัย อ. เมือง จ. มหาสารคาม

ตัวอยางคัมภีรกระดาษท่ีพิมพดวยตัวอักษรไทย จากวัดมหาชัย อ. เมือง จ. มหาสารคาม

คัมภีรใบลานกับสังคมปจจุบัน เน่ืองสภาพสังคมปจจุบันท่ีเจริญอยางรวดเร็วดวยเทคโนโลยีอันลํ้ายุคท่ีไรพรหมแดน คนในสังคมเสพ

ส่ิงแปลกใหม คัมภีรใบลานก็เลยกลายเปนของโบราณท่ีไรคา เพราะคนในสังคมมองขาม เห็นเปนเพียงส่ิงศักด์ิสิทธ์ิท่ีถูกเก็บปดตายหามใครแตะตอง คัมภีรใบลานในความรูสึกของบุคคลสามารถแบงออกไดเปน 4 กลุมดวยกัน คือ กลุมท่ี 1 กลุมท่ีถือวาเปนของสูง ไมสามารถแตะตองได กลุมท่ี 2 กลุมท่ีถือวาเปนส่ิงศักด์ิสิทธ์ิ กลุมท่ี 3 คือกลุมท่ีเห็นเปนของไมมีประโยชน กลุมท่ี 4 คือกลุมท่ีมองเห็นประโยชน พยายามเก็บรักษา ดูแลอยางดี

บทสรุปมิติทางวัฒนธรรมที่ปรากฏในคัมภีรใบลานในเขตพื้นที่จังหวัดมหาสารคามสามารถแสดงใหเห็นถึง

วัฒนธรรมดานตางๆ ที่วิถีชุมชนในยุคนั้นๆ ไดบันทึกไวผานทางเอกสารใบลาน สรุปไดดังนี้

มิติทางวัฒนธรรมดานรูปแบบและองคประกอบผูแตง คัมภีรใบลานที่พบในจังหวัดมหาสารคามไมปรากฏชื่อผูแตง พบแตชื่อผูจารหรือผู

ลิจจนาเทานั้น

Created with Print2PDF. To remove this line, buy a license at: http://www.software602.com/

Page 11: มิติทางวัฒนธรรมจากคัมภีร ใบลานภาคอีสาน ศึกษากรณีจังหวัด ...bl.msu.ac.th/bailan/job_bl/01.pdf ·

11

ผูจาร หรือผูเขียน สวนมากจะเรียกวา ผูลิจจนา คัมภีรใบลานเกือบทุกฉบับจะบอกชื่อผูเขียนหรือผูจารไว และมักจะเปนนักบวชหรือผูที่เคยผานการบวชมาแลว

สมัยที่จาร สวนมากจะไมนิยมบอกรายละเอียด มักจะบอกเวลาที่จารเสร็จ หรือวัน เดือน ขางข้ึนหรือขางแรมเทาน้ัน บางฉบับอาจบอกปศักราชดวยและมักเปนปจุลศักราช บางครั้งถึงแมจะบอกวาเปนปจุลศักราช แตความจริงเปนปพุทธศักราชก็มี

กลวิธีการนําเสนอ มีวิธีการนําเสนอท่ีคลายกันกับการพิมพหนังสือในสมัยปจจุบัน มีการใชสัญลักษณ ตางๆ มีการใชรูปภาพประกอบเนื้อหาและมีการใชถอยคําภาษาที่สละสลวย

มิติทางวัฒนธรรมดานตัวอักษรท่ีใชบันทึก คัมภีรใบลานในจังหวัดมหาสารคามมีการใชตัวอักษรท่ีใชบันทึกเร่ืองราวตางๆ 7 ชนิด

ดวยกันดังนี้ อักษรธรรมอีสาน ตัวอักษรไทยนอย อักษรขอม อักษรกาบ อักษรสรอยหรืออักษรหางหนู ตัวอักษรไทยสมัยรัตนโกสินทร และตัวอักษรไทยปจจุบัน

มิติทางวัฒนธรรมดานเนื้อหา เนื้อหาสาระในใบลานในจังหวัดมหาสารคามนั้นมีมากมาย เนื้อหาหรือเรื่องในคัมภีรใบลาน

ในจังหวัดมหาสารคามที่มีมากที่สุดไดแกหมวดศาสนา โดยเฉพาะอภิธรรม สวนหมวดที่มีมากที่สุดรองลงมาคือหมวดประเพณีพิธีกรรม

มิติทางวัฒนธรรมดานคานิยมความเชื่อและเจตจํานงในการสรางคัมภีรใบลาน ชาวอีสานหรือชาวมหาสารคาม มีคานิยมเก่ียวกับการสรางคัมภีรใบลานไวเพ่ือถวายเปนพุทธ

บูชา คานิยมจางหรือใหคนอ่ืนชวยจารให คานิยมเก่ียวกับการสรางคัมภีรถวายวัดเพ่ืออุทิศใหบุพการีผูลวงลับไป คานิยมถอมตัว ไมโออวดและความใจกวางของผูจาร

เช่ือวาคัมภีรใบลานเปนของสูง เชื่อวาครอบครัวและผูมีพระคุณที่ยังมีชีวิตอยูและที่ลวงลับไปแลวจะไดรับกุศลผลบุญรวมกับตนที่สรางคัมภีรถวายวัด เชื่อวาการสรางคัมภีรใบลานถวายไวในพระศาสนา เปนการสืบทอดพระศาสนาแลวชาติภายภาคหนาจะไดพบศาสนาพระศรีอาริย

เจตจํานงหรือวัตถุประสงคของการสรางคัมภีรใบลานเพื่อเปนพุทธบูชา อยากใหตนและญาติมิตรไดบุญกุศล ประสบสุขสมบัติ และเขาถึงนิพพานไมตองมาเวียนวายตายเกิดในวัฏฏสงสาร เพื่อใหไดตามที่ตนปรารถนา เพื่อใหปราศจากโรคภัยไขเจ็บตางๆ เพื่อจะเปนพระพุทธเจา เพื่อเกิดชาติหนาใหอยูดีมีสุข เพื่อลบลางบาปที่เคยกระทําแลว

การกลายของวัฒนธรรมการจารสูการพิมพและ การเปลี่ยนแปลงจากคัมภีรใบลานสูคัมภีรกระดาษและหนังสือ

เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงเพราะไดรับอิทธิพลจากสวนกลางทั้งจากระบบโรงเรียนที่ใหเรียนภาษาไทย พระราชบัญญัติประถมศึกษาตลอดถึงความเจริญดานระบบการพิมพทําใหความสําคัญของการจารลดนอยลงและเริ่มจะสูญหายไปจนแทบจะไมเหลือใหเห็นในทุกวันนี้

Created with Print2PDF. To remove this line, buy a license at: http://www.software602.com/

Page 12: มิติทางวัฒนธรรมจากคัมภีร ใบลานภาคอีสาน ศึกษากรณีจังหวัด ...bl.msu.ac.th/bailan/job_bl/01.pdf ·

12

คัมภีรใบลานกับสังคมปจจุบัน คัมภีรใบลานในความรูสึกของชาวจังหวัดมหาสารคามหรือชาวอีสานแบงออกไดเปน 4 กลุม

ดวยกัน คือ กลุมที่ 1 กลุมที่ถือวาเปนของสูง ไมสามารถแตะตองได กลุมที่ 2 กลุมที่ถือวาเปนสิ่งศักดิ์สิทธิ กลุมที่ 3 คือกลุมที่เห็นเปนของไมมีประโยชน กลุมที่ 4 คือกลุมที่มองเห็นประโยชน พยายามเก็บรักษา ดูแลอยางดี

อภิปรายผลการศึกษาครั้งนี้ ทําใหเห็นวาคัมภีรใบลานซึ่งอดีตเคยมีความสําคัญ เพราะเปนแหลงที่ผูคนไดศึกษาหา

ความรู แตปจจุบันความเจริญดานเทคโนโลยีสมัยใหมเขามาครอบงําจนคัมภีรใบลานเปนเพียงเอกสารหรือวัสดุเกาๆ ซึ่งในอดีตชาวอีสานมักจะเก็บคัมภีรใบลานไวในที่เฉพาะเพื่อเคารพเนื่องจากมีความเช่ือเกี่ยวกับความขลังและความศักด์ิสิทธ์ิ คนบางกลุมไมกลาแตะตองคัมภีรใบลานเพราะกลัวบาป แตปจจุบันมีการนําไปบดเปนมวลสารเพื่อทําวัตถุมงคลบาง นําไปเก็บไวบนเจดียซึ่งมีความชื้นทําใหคัมภีรใบลานขึ้นราบาง และคนบางกลุมใหความสําคัญแตขาดการดูแลเอาใจใส เก็บรักษาไมถูกวิธี เลยปลอยปละละเลยใหเสื่อมสลายไปตามกาลเวลา บางกลุมไมเห็นความสําคัญเพราะไมมีประโยชนตอตนเอง เก็บไวก็ไรคา นําไปทิ้งหรือเผาไฟบาง แตก็ยังมีคนบางกลุมยังเห็นความสําคัญพยามยามดูแล เก็บรักษาอยางดี ที่ชํารุดก็พยายามซอมแซมใหมีสภาพที่สามารถอยูไดนานเทาที่จะนานได

ดานการเก็บรักษาคัมภีรใบลานสั้นหรือหนังสือกอม และใบลานยาวหรือหนังสือผูกนั้น สมชาย นิลอาธิ (2544:3-4)ผูที่เคยศึกษามากอนนั้นกลาววาใบลานสั้นหรือหนังสือกอมซึ่งสวนใหญเปนตําราพิธีกรรมตางๆ ที่เกี่ยวของกับวิถีชีวิตชุมชนนั้นสวนใหญจะเปนสมบัติสวนตัวหรือสมบัติตระกูลมักจะเก็บไวที่บานเรือนของเจาของ(แตก็มีหนังสือผูกที่เปนนิทานบางเรื่องเก็บไวที่บาน) สวนหนังสือผูกซึ่งเปนเรื่องราวทางพุทธศาสนาและตํานานนิทานชาดกตางๆ มักจะเก็บไวที่วัด แตจากที่ศึกษาปจจุบันพบวาทั้งหนังสือผูกและหนังสือกอมตางก็เก็บไวที่วัดเปนสวนมากและพบเกือบทุกวัด เปนเพราะเจาของหนังสือกอมเสียชีวิตไมมีผูสืบทอดลูกหลานจึงนํามาถวายวัด และมีบางสวนที่เปนเรื่องราวเกี่ยวกับวัตรปฏิบัติของพระสงฆที่พระสงฆจารไวแตเดิม ปจจุบันจะมีหนังสือกอมเก็บไวที่บานมีจํานวนนอยมาก

สวนตัวอักษรที่ใชบันทึกสมชาย นิลอาธิ (2544:3)กลาววาการจารตัวอักษรบนใบลานที่มักพบอยูตามวัดและตามบานเรือนทั่วไปนั้นสวนใหญนิยมจารดวยตัวอักษรธรรม อักษรไทยนอย และมีตัวอักษรขอมรวมอยูดวย และยังมีการใชอักษรสรอยอักษรกาบแทรกอยูนั้นเมื่อศึกษาโดยละเอียดแลวปรากฏวามีอักษรไทยโบราณและอักษรไทยปจจุบันเพิ่มขึ้นดวย ซึ่งเปนเพราะเหตุผลดังกลาวมา

ในการศึกษาครั้งนี้คณะผูศึกษาไดอาศัยบัญชีคัมภีรใบลานที่มหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคอีสานซึ่งขณะนั้นยังเปนวิทยาลัยครู ไดทําการสํารวจขึ้นบัญชีไวตามวัดตางๆ ทั่วภาคอีสานและจังหวัดมหาสารคามเปนจังหวัดหนึ่งที่มีคัมภีรใบลานจํานวนมากแตเมื่อไปตามวัดที่เราคัดเลือกแลว คัมภีรใบลานที่เคยมีบางวัดก็หายหมด เพราะพระสงฆเอาไปเผาไฟบาง เอาไปทําวัตถุมงคลบาง ไฟไหมกุฏิทําใหไหมใบลานไปดวยบาง หรือไมก็ถูกเก็บอยูในหีบหรือตูพระธรรมโดยที่ไมมีการดูแลรักษา ทําความสะอาด ทําใหคัมภีรใบลานถูกสัตวกัดแทะบาง เสื่อมสภาพเพราะธรรมชาติบาง เปนที่นาเสียดายเปนอยางยิ่ง

ถึงเวลาแลวหรือยังที่ทุกหนวยงานทั้งภาครัฐและเอกชน สถานศึกษาตางๆ จะหันมาใหความสําคัญมรดกทางภูมิปญญาอันล้ําคาของทองถิ่น รวมกันอนุรักษ สืบสาน กระตุนชุมชนในทองถิ่นใหเกิดความตระหนัก หวงแหน เห็นคุณคาของคัมภีรใบลาน ชวยกันอนุรักษสืบสานใหคงอยูตราบนานเทานานชั่วลูกชั่วหลานสืบไป

Created with Print2PDF. To remove this line, buy a license at: http://www.software602.com/

Page 13: มิติทางวัฒนธรรมจากคัมภีร ใบลานภาคอีสาน ศึกษากรณีจังหวัด ...bl.msu.ac.th/bailan/job_bl/01.pdf ·

13

ขอเสนอแนะ1. ควรมีการศึกษาเปรียบเทียบมิติทางวัฒนธรรมจากคัมภีรใบลานในภาคตางๆ ของประเทศไทยและ

ประเทศเพ่ือนบาน2. ควรมีการศึกษาวิจัยภูมิปญญาที่บันทึกไวในเอกสารใบลานใหครบทุกแขนง3. ควรมีการจัดทําเครือขายในการอนุรักษเอกสารใบลานอยางกวางขวางเพื่อใหเกิดความเขมแข็งใน

ดานการอนุรักษและสืบสานภูมิปญญาทองถิ่นและประเทศชาติใหคงอยู4. ควรมีการจัดทําหลักสูตรทองถิ่นในการจัดการเรียนการสอนทางดานอักษรโบราณเพื่อเปน

กุญแจไขภูมิปญญาที่บันทึกในเอกสารใบลาน

เอกสารอางอิงกองแกว วีระประจักษ. (2545). สารนิเทศจากคัมภีรใบลาน สมัยอยุธยา. กรุงเทพฯ : หอสมุดแหงชาติ กรม

ศิลปากร.กองแกว วีระประจักษ และวิรัตน อุนนาทรวรางกูร. (2527) .คัมภีรใบลานฉบับหลวงในสมัยรัตนโกสินทร.

กรุงเทพฯ : กองหอสมุดแหงชาติ กรมศิลปากร.คงเดช ประพัฒนทอง.(2520). การวิจัยเอกสารโบราณเบื้องตน. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.ธวัช ปุณโณทก. (2540) .อักษรโบราณอีสาน:อักขรวิทยาอักษรตัวธรรมและไทยนอย. กรุงเทพฯ : สยาม

เพรสแมเนจเมนท.(ที่ระลึกเกษียณอายุราชการศาสตราจารยธวัช ปุณโณทก 20 กันยายน 2540).วิทยาลัยครูมหาสารคาม. (2527).บัญชีสํารวจเอกสารโบราณ กลุมวิทยาลัยครูภาคตะวันออกเฉียงเหนือและ

มหาวิทยาลัยขอนแกน เลม 1, 2. มหาสารคาม : วิทยาลัยครูมหาสารคาม.วิทยาลัยครูมหาสารคาม. (2529) .บัญชีสํารวจเอกสารโบราณ กลุมวิทยาลัยครูภาคตะวันออกเฉียงเหนือและ

มหาวิทยาลัยขอนแกน เลม 7,9. มหาสารคาม : วิทยาลัยครูมหาสารคาม.วิทยาลัยครูมหาสารคาม. (2530).บัญชีสํารวจเอกสารโบราณ กลุมวิทยาลัยครูภาคตะวันออกเฉียงเหนือและ

มหาวิทยาลัยขอนแกน เลม 10. มหาสารคาม : วิทยาลัยครูมหาสารคาม.สถาบันคนควาวรรณคดีแหงชาติ. (1998). สัมมนาใบลานทั่วประเทศครั้งที่ 1. เวียงจันทน : โรงพิมพแหงรัฐ.สมชาย นิลอาธิ. (2544) .โลกทัศนจากคัมภีรใบลาน : คติชนและวิถีชีวิต. เอกสารประกอบการประชุมทาง

วิชาการเร่ือง “การสํารวจสถานภาพองคความรูจากคัมภีรใบลานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย.” มหาสารคาม, (อัดสําเนา).

สมัย วรรณอุดร. “การศึกษาเปรียบเทียบวรรณกรรมอีสานและลาวเรื่อง ลําบุษบา” วิทยานิพนธปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาจารึกภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545.

สินีนาฏ สมบูรณเอนก. (2541 เมษายน – มิถุนายน). “คัมภีรใบลาน: มรดกทางวัฒนธรรมของชาวลานนา,” วารสารหองสมุด 42(2) : 25-36.

Created with Print2PDF. To remove this line, buy a license at: http://www.software602.com/