สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ไทยกับผลกระทบ...

18
สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ไทยกับผลกระทบ จากปัจจัยภายนอกประเทศ ผู้เขียน ดร.ษิฌา ทับทิมพรรณ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Upload: others

Post on 03-Aug-2020

0 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ไทยกับผลกระทบ จากปัจจัยภายนอกประเทศCove… · สหรัฐอเมริกาและยุโรปมีผลให้ซัพพลายสินเชื่อในประเทศเม็กซิโกเพิ่มสูงขึ้น

สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ไทยกับผลกระทบ จากปัจจัยภายนอกประเทศ

ผู้เขียน ดร.ษิฌา ทับทิมพรรณ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร ์

Page 2: สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ไทยกับผลกระทบ จากปัจจัยภายนอกประเทศCove… · สหรัฐอเมริกาและยุโรปมีผลให้ซัพพลายสินเชื่อในประเทศเม็กซิโกเพิ่มสูงขึ้น

1

สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ไทยกับผลกระทบ จากปัจจัยภายนอกประเทศ1

ดร.ษิฌา ทับทิมพรรณ์

คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

บทคัดย่อ

เมื่อเกิดความผันผวนจากปัจจัยภายนอกประเทศ ธนาคารพาณิชย์จ าเป็นที่จะต้องปรับตัว ส่งให้เกิดแรงกระทบต่อภาคเศรษฐกิจ จากการค านวณโดยใช้ Structural Vector Autoregressive Model บทความนี้พบว่า การปรับตัวของสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ก่อให้เกิดแรงกระทบต่อเศรษฐกิจไทยลดน้อยลง เมื่อเปรียบเทียบกับงานศึกษาในอดีต ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการพัฒนาตลาดการเงินในประเทศไทยในช่วงหลังปี 1997 บทบาทของสินเชื่อธนาคารลดลงโดยเปรียบเทียบกับตลาดทุนอ่ืน ตลาดหลักทรัพย์มีบทบาทมากยิ่งข้ึนจนใกล้เคียงกันกับสินเชื่อธนาคาร การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างตลาดการเงินนี้ สอดคล้องกับแนวทางที่งานศึกษาในต่างประเทศแนะน าให้ประเทศก าลังพัฒนา ด าเนินนโยบายส่งเสริมตลาดการเงินอ่ืน เพ่ือลดความเสี่ยงจากการพึ่งพิงสินเชื่อธนาคารแต่เพียงแหล่งเดียว

1 ความเห็นในร่างบทความนี้เป็นของผู้เขียน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไม่จ าเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป การอ้างอิงควรได้รับอนุญาตจากผู้เขียนบทความ [email protected]

Page 3: สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ไทยกับผลกระทบ จากปัจจัยภายนอกประเทศCove… · สหรัฐอเมริกาและยุโรปมีผลให้ซัพพลายสินเชื่อในประเทศเม็กซิโกเพิ่มสูงขึ้น

2

1. ที่มาและความส าคัญของปัญหา การเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงและฉับพลัน (Shocks) จากภายนอกประเทศ เป็นตัวแปรส าคัญตัวหนึ่งที่

ขับเคลื่อนวัฏจักรเศรษฐกิจ การไหลของกระแสเงินทุนระหว่างประเทศที่มีความผันผวนตลอดในช่วงระยะเวลาตั้งแต่ปี 1990 เป็นต้นมา มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงและฉับพลัน การลดลงของกระแสเงินทุนในตั้งแต่ช่วงวิกฤติการเงินช่วงต้นปี 2001 และลดลงอีกครั้งในช่วงวิกฤติการเงินโลก (Global Financial Crisis) ปี 2008-2009 จากนั้นกลับมาเพ่ิมสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในปี 2010 การเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงและฉับพลันของการเคลื่อนไหวเงินทุนระหว่างเป็นตัวแปรส าคัญตัวแปรหนึ่งที่ขับเคลื่อนและขยายความผันผวนของตัวแปรต่างๆในระบบเศรษฐกิจและระบบการเงินของทุกประเทศในโลก โดยเฉพาะระบบเศรษฐกิจของประเทศก าลังพัฒนาที่มีขนาดเล็ก อ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงไหลเข้าออกของเงินทุนมากกว่าประเทศท่ีพัฒนาแล้ว

การไหลเข้าของกระแสเงินทุนระหว่างประเทศ ท าให้เงินทุนที่พร้อมส าหรับการให้กู้ยืมในภาคการ

ธนาคาร และความต้องการสินเชื่อของภาคเศรษฐกิจจริงเพ่ิมขึ้นด้วย ตัวเลขการปล่อยสินเชื่อในประเทศเพ่ิมสูงขึ้น งานศึกษาในต่างประเทศหลายงานพบว่าการเปลี่ยนแปลงปัจจัยภายนอกประเทศมีผลต่อปริมาณสินเชื่อในประเทศ อาทิ Morais, Peydro and Ruiz (2015) พบว่ามาตรการนโยบายการเงินผ่อนคลายในสหรัฐอเมริกาและยุโรปมีผลให้ซัพพลายสินเชื่อในประเทศเม็กซิโกเพ่ิมสูงขึ้น Ongena, Schindele and Vonnak (2015) พบว่า มาตรการนโยบายการเงินผ่อนคลาย ในสหรัฐอเมริกาและยุโรป ส่งผลทางบวกกับซัพพลายสินเชื่อสกุลเงินต่างประเทศของธนาคารในประเทศตุรกี โดยเฉพาะธนาคารที่มีเงินทุนต่ า ผลกระทบดังกล่าวจะยิ่งชัดเจนขึ้น Baskaya, Yusuf Soner, et al. (2016) กล่าวว่าช่องทางสินเชื่อธนาคารเป็นช่องทางส าคัญในการส่งผ่านกระแสเงินทุนระหว่างประเทศ ไปสู่ระบบเศรษฐกิจของประเทศตุรกีและประเทศก าลังพัฒนา

ในทางกลับกัน ผลกระทบจากปัจจัยภายนอกในเชิงลบและการไหลออกของกระแสเงินทุนระหว่างประเทศ จะส่งผลทางลบต่อสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ ทั้งทางด้านซัพพลาย จากการที่เงินทุนในตลาดการเงินลดลง และทางด้านดีมานด์ ความต้องการสินเชื่อลดลงจากการที่เศรษฐกิจจริงได้รับผลกระทบจากเงินทุนไหลออก ซึ่งหากเงินทุนไหลออกมีขนาดใหญ่และเกิดขึ้นอย่างรุนแรงและฉับพลัน อาจจะท าให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจได้ งานศึกษาในอดีตพบว่าการท่ีธนาคารลดสินเชื่อลง หลังจากกที่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกประเทศ ท าให้วิกฤติมีขนาดใหญ่ และแพร่กระจายออกไปในวงกว้างมากขึ้น Ivashina, and David Scharfstein (2010) พบว่าธนาคารมีการให้สินเชื่อแก่ธุรกิจขนาดใหญ่ลดลงในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ 2008 การช่วยเหลือให้เงินทุนแก่ธุรกิจขนาดกลางและเล็ก ท าให้คุณภาพสินเชื่อในกลุ่มสินทรัพย์ลงทุนของธนาคารลดลง ซึ่งไปจ ากัดการให้สินเชื่อโดยรวมของธนาคาร Van Rijckeghem et. al. (2001) พบว่าการที่ธนาคารประเทศหนึ่งประสบภาวะวิกฤต ท าให้ต้องเพ่ิมเงินทุน และลดการให้สินเชื่อทั้งในประเทศและต่างประเทศลง เป็นสาเหตุหนึ่งที่ท าให้เกิดการแพร่ขยายของวิกฤติเศรษฐกิจ Kaminsky et. al. (2001) ศึกษาวิกฤติเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศอาเซียน และพบว่าช่องทางสินเชื่อธนาคารเป็นช่องทางส าคัญที่ขยายผลความรุนแรงของวิกฤติการเงิน ปี 1997 และพบว่าช่องทางสินเชื่ออธิบายการแพร่กระจายของวิกฤติได้ดีกว่าช่องทางการค้าระหว่างประเทศ

จากงานศึกษาในอดีตที่ผ่านมา ช่องทางสินเชื่อธนาคารจึงสามารถมีบทบาทต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นจากความผันผวนจากภายนอกประเทศ โดยที่ บทบาท ขนาด ความส าคัญ ของช่องทางสินเชื่อาจจะแตกต่างกันไปในรายประเทศ Carrière-Swallow and Céspedes (2013) พบว่า พบว่าประเทศก าลังพัฒนา จะได้รับ

Page 4: สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ไทยกับผลกระทบ จากปัจจัยภายนอกประเทศCove… · สหรัฐอเมริกาและยุโรปมีผลให้ซัพพลายสินเชื่อในประเทศเม็กซิโกเพิ่มสูงขึ้น

3

ผลกระทบจากความผันผวนของตัวรบกวนภายนอกประเทศ (exogenous uncertainty shocks) 2 ที่รุนแรงกว่า และใช้เวลาในการฟ้ืนตัวนานกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว นอกจากนี้ ยังพบว่าในประเทศที่ตลาดการเงินยังไม่พัฒนา ครึ่งหนึ่งของผลกระทบของตัวรบกวนจากเศรษฐกิจภายนอกประเทศต่อการลงทุน สามารถอธิบายได้ด้วยช่องทางสินเชื่อ โดยขนาดของช่องทางนั้น ส าหรับประเทศก าลังพัฒนาจะขึ้นอยู่กับระดับการพัฒนาตลาดการเงินและระดับการพ่ึงพิงสินเชื่อเงินทุนจากธนาคาร

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์ท่ีจะศึกษาบทบาทของช่องทางสินเชื่อธนาคารต่อผลกระทบจากความผันผวนจากภายนอกประเทศ ในกรณีของประเทศไทย และวัดขนาดของช่องทางสินเชื่อว่ามีผลมากน้อยเพียงใดต่อผลกระทบจากความผันผวนจากภายนอกประเทศ โดยความผันผวนจากภายนอกประเทศจะถูกวัดโดยดัชนี VIX (Chicago Board Exchange Option Volatility Index) ซึ่งเป็น ดัชนีวัดความเสี่ยงในตลาดการเงิน และนิยมใช้ในการวัดเงินทุนที่พร้อมส าหรับการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง และมีงานวิจัยยืนยันว่ามีความสัมพันธ์กันกับการไหลของเงินทุน3 ผลการศึกษาพบว่า ช่องทางสินเชื่อธนาคารพาณิชย์มีบทบาทต่อผลกระทบจากความผันผวนจากภายนอกประเทศที่มีต่อผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้นที่แท้จริง โดยหากสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ไม่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยต่างๆในระบบเศรษฐกิจ ขนาดความรุนแรงของผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้นที่แท้จริง การลงทุนที่แท้จริง และการบริโภคที่แท้จริง จะลดลงรัอยละ 14.67 , 9.46 และ 9.54 ตามล าดับ ระบบเศรษฐกิจจะฟ้ืนตัวได้เร็วขึ้น ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคนั้น ช่องทางสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ มิได้มีบทบาทในการกระตุ้นหรือลดทอนผลกระทบจากความผันผวนจากภายนอกประเทศต่อดัชนีราคาผู้บริโภคมากนัก การน าเสนอในส่วนต่อไป จะเริ่มด้วยการอธิบายถึงข้อมูลและแบบจ าลองเศรษฐมิติที่ใช้ จากนั้นจะเป็นการน าเสนอผลการศึกษา และส่วนสุดท้ายเป็นการสรุป 2. ข้อมูลและแบบจ าลองเศรษฐมิติ

2.1 แบบจ าลอง

2.1.1 กรณีปกติ (Baseline)

ในการศึกษาบทบาทของช่องทางสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ต่อผลกระทบจากความผันผวนของปัจจัยภายนอกประเทศ จ าเป็นต้องศึกษาพลวัตรของตัวแปรในประเทศ ไปพร้อมๆกันกับพลวัตรของตัวแปรนอกประเทศ เนื่องจากประเทศไทยเป็นระบบเศรษฐกิจแบบเปิดที่มีขนาดเล็ก (Small Open Economy) พลวัตรของตวัแปรภายในประเทศ จึงไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อพลวัตรของตัวแปรที่สะท้อนความผันผวนของภายนอกประเทศ แบบจ าลองที่เหมาะสมในการศึกษาจึงเป็น Structural Vector Autoregressive (SVAR) ที่พัฒนาโดย Sim (1980) ที่สามารถให้การประมาณการบนพ้ืนฐานดังกล่าว และอนุญาตให้ตัวแปรในแบบจ าลองมี contemporaneous effect ต่อกัน ส าหรับโครงสร้างการวิเคราะห์ผลกระทบปัจจัยภายนอกประเทศผ่านช่องทางสินเชื่อ จะศึกษาโดยปรับใช้ วิธีการที่เสนอในบทความของ Carrière-Swallow and Céspedes (2013)

2 Carrière-Swallow and Céspedes (2013) วัดตัวรบกวนจากภายนอกประเทศ ด้วย VXO index ซึ่งวัดความผันผวนของ Synthetic 30-day Option ในดัชน ีS&P100 3 Forbes and Warnock (2012)

Page 5: สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ไทยกับผลกระทบ จากปัจจัยภายนอกประเทศCove… · สหรัฐอเมริกาและยุโรปมีผลให้ซัพพลายสินเชื่อในประเทศเม็กซิโกเพิ่มสูงขึ้น

4

บทความจะค านวณแบบจ าลอง SVAR ในกรณีปกติ 2 แบบจ าลอง แบบจ าลองแรก เพ่ือวิเคราะห์ผลกระทบที่มีต่อผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้น และแบบจ าลองที่สอง เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบที่มีต่อการลงทุนและการบริโภค4

รูปแบบของสมการ reduced form VAR ที่ใช้ในการประมาณค่าในแต่ละแบบ เป็นดังนี้

2.1.1.1 SVAR เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบที่มีต่อผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้น ( )

(1)

( ) ( ) (2)

( ) ( ) (3)

( ) ( ) (4)

โดยที่ คือ lag operator ซึ่งปกติจะต้องมีก าหนดค่า order ของ lag ด้วยวิธีการทางสถิติ สมการที่ (2) ถึง (5) เขียนโดยใช้ข้อสมมุติให้ จ านวน lag เท่ากับ 2 5 คือ ดัชนี VIX ณ เวลา t คือ ผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้นที่แท้จริง ณ เวลา t คือ สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ที่แท้จริง ณ เวลา t คือ เวคเตอร์ของตัวแปรภายในประเทศที่ต้องการศึกษา ได้แก่ ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้นที่แท้จริง(RGDP) และสินเชื่อที่แท้จริง (CBloans) โดย จากสมการที่ (1) - (4) จะเห็นได้ว่าดัชนี VIX จะไม่ถูกกระทบจากการเปลี่ยนแปลงตัวแปรภายในประเทศเลย ในขณะที่ตัวแปรในประเทศจะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของดัชนี VIX สอดคล้องกับลักษณะเศรษฐกิจประเทศไทยที่เป็นระบบเศรษฐกิจแบบเปิดและมีขนาดเล็ก เทคนิค VAR นั้น การเรียงของตัวแปรในเวคเตอร์ จะมีผลกับจัดการเรียงตัวแปร ในที่นี้การจัดเรียงตัวแปรมีข้อสมมุติให้ภาคเศรษฐกิจจริงปรับตัวช้ากว่าภาคการธนาคาร โดยผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้นในประเทศมีการปรับตัวช้าที่สุด รองลงมาเป็นดัชนีราคาผู้บริโภค และสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ตามล าดับ

2.1.1.2 SVAR เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบที่มีต่อการลงทุนและการบริโภค

4 จากนิยามของ real GDP ท าให้ไม่สามารถที่จะค านวณผลกระทบต่อ real GDP พร้อมๆไปกับ Investment และ Consumption ได้ ท าให้ต้องแยกออกเป็น 2 แบบจ าลอง 5 ในส่วนท่ี 3 ผลการศึกษา พบว่าการทดสอบทางสถิติให้ค่าจ านวน lag ที่เหมาะสมคือ 1 หรือ 2 ข้ึนอยู่กับวิธีการที่ใช้

Page 6: สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ไทยกับผลกระทบ จากปัจจัยภายนอกประเทศCove… · สหรัฐอเมริกาและยุโรปมีผลให้ซัพพลายสินเชื่อในประเทศเม็กซิโกเพิ่มสูงขึ้น

5

แบบจ าลองที่ใช้ในการวิเคราะห์ผลต่อการลงทุนและการบริโภค จะเหมือนกันกับแบบจ าลองที่ใช้ในการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้น เปลี่ยนสมการที่ (2) ที่เป็นพลวัตรของผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้นออก และน าสมการพลวัตรของการลงทุน และการบริโภคเข้าไปแทนที่ ซึ่งสามารถที่จะเขียนสมการได้ดังนี้ ( )

(5) ( ) ( )

(6) ( ) ( )

(7) ( ) ( )

(8) ( ) ( )

(9) โดยที่ คือ การลงทุนที่แท้จริง ณ เวลา t คือ การบริโภคท่ีแท้จริง ณ เวลา t คือ เวคเตอร์ของตัวแปรภายในประเทศที่ต้องการศึกษา ได้แก่ ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้นที่แท้จริง(RGDP) และสินเชื่อที่แท้จริง (CBloans) โดย การเรียงของตัวแปรในเวคเตอร์ มีข้อสมมุติให้ภาคเศรษฐกิจจริงปรับตัวช้ากว่าภาคการธนาคารเช่นเดียวกันกับแบบจ าลองที่ใช้วิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้น

การประมาณการแบบจ าลอง ทั้งในข้อ 2.1.1 และ 2.1.2 จะใช้ใช้วิธี Maximum Likelihood จากนั้น บทความจะท าการค านวณเมทริกซ์ impulse response และ orthogonalize counterpart ด้วยวิธี Cholesky Decomposition โดยใช้ล าดับตัวแปรตามล าดับสมการ เพ่ือวิเคราะห์ผลของ structural shocks ในตัวแปรต่างๆว่ามีผลอย่างไรต่อกัน โดยเฉพาะผลกระทบจากความผันผวนจากปัจจัยภายนอกประเทศที่มีต่อปัจจัยภายในประเทศต่างๆ 2.1.2 กรณีควบคุมพลวัตรการเคลื่อนไหวสินเชื่อธนาคารพาณิชย์

การประมาณค่าในกรณีปกติ (Baseline) นั้น พลวัตรของสินเชื่อธนาคารพาณิชย์เคลื่อนไหวอย่างเป็น

อิสระ สามารถได้รับกระทบจาก shocks จากตัวแปรทั้งในประเทศและต่างประเทศ การประมาณผลกระทบของ structural shocks ของตัวแปรหนึ่งในแบบจ าลอง จึงเป็นการประมาณผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการที่ตัวแปรทุกตัวปรับตัวจาก structural shocks และกระทบถึงกันและกันทั้งหมด ซึ่งเป็นผลกระทบที่รวมบทบาทการเปลี่ยนแปลงพลวัตรของสินเชื่อธนาคารพาณิชย์เข้าไว้ด้วยกันกับบทบาทการเปลี่ยนแปลงพลวัตรของตัวแปรอ่ืนๆ

เพ่ือแยกให้เห็นว่า สินเชื่อธนาคารพาณิชย์มีบทบาทอย่างไร มากน้อยแค่ไหน ในการขยายผลกระทบจาก shocks ในปัจจัยจากภายนอกประเทศต่อระบบเศรษฐกิจในประเทศ บทความนี้จะท าการประมาณค่า

Page 7: สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ไทยกับผลกระทบ จากปัจจัยภายนอกประเทศCove… · สหรัฐอเมริกาและยุโรปมีผลให้ซัพพลายสินเชื่อในประเทศเม็กซิโกเพิ่มสูงขึ้น

6

แบบจ าลองอีกกรณีหนึ่ง คือ กรณีที่สินเชื่อธนาคารพาณิชย์จะถูกควบคุม ให้ไม่ได้รับผลกระทบจาก structural shocks ของตวัแปรต่างๆในแบบจ าลอง

ซ่ึงเมื่อน ากรณีควบคุมพลวัตรของสินเชื่อธนาคารพาณิชย์มาเปรียบเทียบกันกับกรณีปกติ (baseline) จะท าให้เห็นว่า การที่พลวัตรของสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ไม่เปลี่ยนแปลงนั้น ท าให้ผลกระทบของความผันผวนจากปัจจัยภายนอกต่อตัวแปรเศรษฐกิจแตกต่างไปอย่างไรและมากน้อยเพียงใด ซึ่งสะท้อนถึงบทบาทและขนาดของช่องทางสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ต่อระบบเศรษฐกิจ ในแง่ของการรับผลกระทบจากความผันผวนจากปัจจัยภายนอก

การควบคุมพลวัตรสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ ในบทความนี้ จะใช้วิธีการที่เสนอโดย Carrière-Swallow and Céspedes (2013) คือ การประมาณแบบจ าลองในสมการ (1) – (4) และ (5) - (9) อีกครั้ง โดยสร้างสถานการณ์จ าลองที่สินเชื่อธนาคารพาณิชย์มิได้มีการตอบสนองต่อตัวรบกวน (shocks) ของตัวแปรต่างๆในแบบจ าลอง ก าหนดให้ สัมประสิทธิ์ contemporaneous effect ของตัวแปรสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ทุกตัวมีค่าเป็นศูนย์ และก าหนดข้อจ ากัดให้ปัจจัยทั้งภายในและภายนอกประเทศไม่ส่งผลกระทบต่อสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ในแบบทิ้งช่วง โดยการก าหนดให้ และ ในสมการที่ (4) และก าหนดให้ และ ในสมการที ่(9) มีค่าเป็นศูนย์ ในการประมาณการ impulse response matrix 2.2 ช้อมูลและแหล่งที่มาของข้อมูล

การศึกษานี้ ใช้ข้อมูลรายไตรมาส ตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ปี 2000 ไปจนถึงไตรมาสที่ 2 ปี 2016 ตัวแทน

ของปัจจัยจากภายนอกประเทศ จะใช้ดัชนี VIX (Chicago Board Exchange Option Volatility Index) ซึ่งเป็น ดัชนีวัดความเสี่ยงในตลาดการเงิน และใช้ในการวัดเงินทุนที่พร้อมส าหรับการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง ที่นิยมใช้แพร่หลาย Forbes and Warnock (2012) พบว่า การไหลของเงินทุนในตลาดโลกมีความสัมพันธ์กันกับดัชนี ข้อมูลดัชนี VIX ได้มาจาก website ของ Federal Reserve Bank of St.Luis

ตัวแทนของกิจกรรมเศรษฐกิจในประเทศ ใช้ผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้นที่แท้จริง (Real GDP) การลงทุนที่แท้จริง (Investment) การบริโภคที่แท้จริง (Consumption) และดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) จะได้มาจากฐานข้อมูล CEIC

ส่วนสินเชื่อธนาคารพณิชย์ ใช้เงินให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบ6 ได้มาจาก website ของธนาคารแห่งประเทศไทย

ข้อมูลตัวแปรทั้งสี่ จะถูกน ามาปรับค่าให้เหมาะสม (data transformation) ก่อนที่จะน าไปประมาณค่าทางเศรษฐมิติ ข้อมูลสินเชื่อจะถูกปรับให้อยู่ในรูปมูลค่าที่แท้จริงโดยใช้ CPI ข้อมูลทุกตัว จะถูกน ามากรอง ด้วยเทคนิค Hodrick-Prescott Filter (HP) เพ่ือน าส่วนที่เป็นแนวโน้มออกไป ใช้เฉพาะส่วนที่เป็น cyclical component

6 เงินให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบ ไม่รวมส่วนปรับมูลค่าจากการป้องกนัความเส่ียง ดอกเบีย้ค้างรับ ไม่หักค่าเผ่ือหนี้สงสัยจะสูญ ไม่หกัค่าเผือการปรับมูลค่าจากการปรับโครงสร้างหนี้

Page 8: สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ไทยกับผลกระทบ จากปัจจัยภายนอกประเทศCove… · สหรัฐอเมริกาและยุโรปมีผลให้ซัพพลายสินเชื่อในประเทศเม็กซิโกเพิ่มสูงขึ้น

7

3 ผลการศึกษา

3.1 ผลการประมาณแบบจ าลองกรณีปกติ (Baseline Model) การศึกษาได้ประมาณค่าแบบจ าลองในสมการที่ (1) - (4) ส าหรับการวิเคราะห์ผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์

ประชาชาติเบื้องต้น และท าการการทดสอบสถิติเพ่ือหา order ของ lag ที่เหมาะสม ซึ่งพบว่า order ของ lag ที่เหมาะสมตามวิธี LR และ AIC เท่ากับ 2 lag (ไตรมาส) และจ านวน lag ที่เหมาะสมตามวิธี HQIC และ SBIC เท่ากับ 1 lag (ไตรมาส)

ในที่นี้ ผู้วิจัยเลือกน าเสนอการประมาณค่าแบบจ าลองโดยใช้จ านวน lag เท่ากับ 1 ไตรมาส เนื่องจากจ านวนข้อมูลที่จ ากัด เพียง 66 ข้อมูล การใช้จ านวน lag ที่น้อยกว่า จะช่วยบรรเทาปัญหาอันเนื่องมาจากการขาด degree of freedom ที่ท าให้ standard deviation สูงขึ้น อย่างไรก็ด ีผลการประมาณค่าแบบจ าลองโดยใช้จ านวน lag เท่ากับ 2 ไตรมาสนั้น มิได้แตกต่างกันในเชิงวิเคราะห์

ส่วนการประมาณค่าแบบจ าลองในสมการท่ี (5) – (9) นั้น มีตัวแปรทั้งหมด 5 ตัว มากกว่าการประมาณการสมการที ่(1) – (4) ผู้วิจัยจึงเลือกใช้ order 1 เนื่องจากจ านวนข้อมูลที่มีเพียง 65 ข้อมูล เพ่ือบรรเทาปัญหาที่เกิดจากการที ่degree of freedom ลดต่ าลง

รูปที่ 1 แสดง Orthogonalize Impulse Response Function การตอบสนองของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศที่แท้จริง การลงทุน และการบริโภคต่อความผันผวนจากภายนอกประเทศ ตามแบบจ าลองในข้อ 2.1.1 และ 2.1.2 จะพบว่าหลังจากการเกิด shocks ในดัชนี VIX หรือการที่ดัชนี VIX สูงขึ้น พลวัตรของตัวแปรทั้งสามมีลักษณะลดลงและค่อยๆฟ้ืนตัวขึ้น และใช้เวลายาวนานเกินกว่า 15 ไตรมาสในการฟ้ืนตัว ลักษณะการเปลี่ยนแปลงนี้ ตรงกับลักษณะของการปรับตัวของการลงทุนและการบริโภคของประเทศก าลังพัฒนาที่เป็นตลาดเกิดใหม่ (emerging countries) ต่อความผันผวนจากงานศึกษาของ Carrière-Swallow and Céspedes (2013) เปรียบเทียบกับ ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ใช้เวลาในการฟื้นตัวประมาณ 4 ไตรมาสเท่านั้น

ในท านองเดียวกัน การเพ่ิมขึ้นของดัชนี VIX ท าให้สภาพคล่องลดลง แนวโน้มการตอบสนองของดัชนีราคาผู้บริโภค ต่อ การเพิ่มขึ้นของดัชนี VIX จึงมีค่าเป็นลบและผลกระทบค่อยๆลดลงจนหมดไปในระยะยาว ซึ่งผลของทั้งสองแบบจ าลอง 2.1.1.1 แบบจ าลอง SVAR เพ่ือวิเคราะห์ผลต่อผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้น และ 2.1.1.2 แบบจ าลองเพ่ือวิเคราะห์ผลต่อการลงทุนและการบริโภค ได้รูปแบบพลวัตรการตอบสนองของดัชนีราคาผู้บริโภคต่อการเพ่ิมข้ึนในดัชนี VIX ที่ไม่แตกต่างกันในการวิเคราะห์ ดังแสดงในรูปที่ 2

ส่วนการตอบสนองของสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ต่อความผันผวนจากปัจจัยภายนอกประเทศ ทั้งสองแบบจ าลองที่ระบุในข้อ 2.1.1.1 แบบจ าลอง SVAR เพ่ือวิเคราะห์ผลต่อผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้น และ 2.1.1.2 แบบจ าลองเพ่ือวิเคราะห์ผลต่อการลงทุนและการบริโภค แสดงในรูปที่ 3 จะเห็นว่าพลวัตรของการเปลี่ยนแปลงสินเชื่อธนาคารพาณิย์ที่ตอบสนองต่อ shocks ในดัชนี VIX ส าหรับทั้งสองแบบจ าลอง มีลักษณะที่เหมือนกันคือค่อยๆลดลง ถึงจุดต่ าสุดใช้เวลายาวนานกว่า โดยเปรียบเทียบกันกับผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้น งานศึกษาในอดีตพบว่าการลดลงของดัชนี VIX มีความสัมพันธ์กับการไหลเข้าของเงินทุนไปลงทุนในตลาดเงินของประเทศก าลังพัฒนา ดังนั้นการเพ่ิมขึ้นของดัชนี VIX หมายถึงเงินลงทุนในตลาดเงินที่ไหลออกไป หรืออาจหมายถึงสภาพคล่องในตลาดโลกที่ลดลง จึงน่าจะส่งผลทางตรงและทางอ้อมต่อสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ในเชิงลบ

รูปที่ 4 Shocks ที่เกิดขึ้นกับสินเชื่อธนาคารพาณิชย์นั้น ย่อมมีผลกับตัวแปรเศรษฐกิจในแบบจ าลอง ได้แก่ผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้น การลงทุน และการบริโภค ซึ่งพบว่า shocks ของสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ส่งผลกับ shocks ของ ผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้น การลงทุน ในทิศทางบวก ตรงตามทฤษฎี กล่าวคือสินเชื่อ

Page 9: สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ไทยกับผลกระทบ จากปัจจัยภายนอกประเทศCove… · สหรัฐอเมริกาและยุโรปมีผลให้ซัพพลายสินเชื่อในประเทศเม็กซิโกเพิ่มสูงขึ้น

8

ที่เพ่ิมขึ้น มีผลท าให้ผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้นและการลงทุนเพ่ิมขึ้น ส่วนผลของ shocks ของสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ต่อ shocks ของการบริโภค การเพ่ิมข้ึนของสินเชื่อจะท าให้การบริโภคลดลงในช่วงไตรมาสแรกเท่านั้น แต่หลังจากไตรมาสที่ 2 เป็นต้นไป การบริโภคจะปรับตัวสูงขึ้น สอดคล้องกับทฤษฎี

รูปที ่1. การตอบสนองของผลิตภัณฑ์ประชาชาติที่แท้จริงต่อความผันผวนจากภายนอกประเทศ

รูปที ่2. การตอบสนองของดัชนีราคาผู้บริโภคต่อความผันผวนจากภายนอกประเทศ

Page 10: สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ไทยกับผลกระทบ จากปัจจัยภายนอกประเทศCove… · สหรัฐอเมริกาและยุโรปมีผลให้ซัพพลายสินเชื่อในประเทศเม็กซิโกเพิ่มสูงขึ้น

9

รูปที ่3. การตอบสนองของสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ต่อความผันผวนจากภายนอกประเทศ

รูปที่ 4. การตอบสนองของผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้น การลงทุน และการบริโภค ต่อสินเชื่อธนาคารพาณิชย์

รูปที่ 4.1 การตอบสนองของผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้นต่อสินเชื่อธนาคารพาณิชย์

รูปที่ 4.2 การตอบสนองของการลงทุนต่อสินเช่ือธนาคารพาณิชย ์

รูปที่ 4.3 การตอบสนองของการบริโภคต่อสินเช่ือธนาคารพาณิชย ์

รูปที่ 4.4 การตอบสนองของดัชนีราคาผู้บริโภคต่อสินเช่ือธนาคารพาณิชย์

Page 11: สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ไทยกับผลกระทบ จากปัจจัยภายนอกประเทศCove… · สหรัฐอเมริกาและยุโรปมีผลให้ซัพพลายสินเชื่อในประเทศเม็กซิโกเพิ่มสูงขึ้น

10

3.2 วิเคราะห์บทบาทของช่องทางสินเชื่อธนาคาร (Bank Lending Channel) เปรียบเทียบกรณีปกติ (baseline) กับ กรณีควบคุมพลวัตรการเคลื่อนไหวสินเชื่อธนาคารพาณิชย์

การวิเคราะห์กรณีปกติ ในส่วนที่ 3.1 ให้ภาพผลกระทบจาก shocks ในปัจจัยภายนอกที่มีตัวแปร

เศรษฐกิจในประเทศ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ดัชนีราคาผู้บริโภค และสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ ซึ่งพบว่าลักษณะพลวัตรการเปลี่ยนแปลงมีความสมเหตุสมผลตามทฤษฎี

แบบจ าลอง SVAR ในบทความนี้ อนุญาตให้ตัวแปรภายในประเทศสามารถส่งผลกระทบทั้งในแบบทันทีและทิ้งช่วง(lag) ต่อกันและกัน ดังนั้น การวิเคราะห์ในส่วนที่ 3.1 จะท าให้เห็นภาพรวมผลกระทบจากปัจจัยภายนอกประเทศที่มีต่อตัวแปรต่างๆ ที่เกิดจากบทบาทของพลวัตรการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรในประเทศท้ังหมดที่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอก และส่งผลถึงกันและกัน

เพ่ือให้เห็นถึงเฉพาะบทบาทของสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ ในส่วนนี้ แบบจ าลองที่ 2.1.1 ในสมการที่ (1) – (4) จะถูกประมาณค่าอีกครั้ง โดยก าหนดให้ สินเชื่อธนาคารไม่ตอบสนองต่อตัวแปรทุกตัวในแบบจ าลอง การน าเสนอการประมาณค่า SVAR จะน าเสนอ SVAR ที่ order 1 และ แบบจ าลองที่ 2.1.1.2 ในสมการที่ (5) – (9) จะถูกประมาณค่าอีกครั้ง โดยก าหนดให้ สินเชื่อธนาคารไม่ตอบสนองต่อตัวแปรทุกตัวในแบบจ าลอง รายละเอียดผู้อ่านสามารถดูได้ในส่วนที่ 2.1.1.2 การน าเสนอการประมาณค่า SVAR จะน าเสนอ SVAR ที ่order 1 ทั้งสองแบบจ าลอง เพ่ือให้สอดคล้องกันกับส่วนการค านวณในส่วนที่ 3.1

เมื่อเปรียบเทียบผลการประมาณการของทั้งแบบจ าลองกรณีปกติกับกรณีควบคุมพลวัตรการเปลี่ยนแปลงสินเชื่อธนาคารพาณิชย์แล้ว จะพบว่าหากสินเชื่อธนาคารไม่หวั่นไหวต่อปัจจัยต่างๆที่ก าหนดในแบบจ าลองทั้งภายในและภายนอกประเทศแล้ว

ความผันผวนของผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้นที่แท้จริงลดลง ดังแสดงในรูปที่ 5(1) ซึ่งจะเห็นว่า หลังจากได้รับผลกระทบจาก external shocks หากสามารถควบคุมสินเชื่อได้ ผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้นฟ้ืนตัวจะภายในไตรมาสที่ 9 เร็วขึ้นจากกรณีทีปกติ (baseline) ที่มิได้ควบคุมพลวัตรของการเปลี่ยนแปลงสินเชื่อ ที่ใช้เวลายาวนานเกินกว่า 20 ไตรมาส

นอกจากนี้ หากวัดขนาดของค่า impulse response function เฉพาะที่จุดต่ าสุด จะพบว่า ค่า impulse response ที่ต่ าที่สุดกรณีปกติ (baseline) และกรณีควบคุมพลวัตรสินเชื่อมีค่าเท่ากับ - 0.011437 และ -0.009759 ตามล าดับ ซึ่งหมายความว่าหากสามารถควบคุมสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ได้ จะลดทอนผลกระทบจากปัจจัยภายนอกประเทศที่มีต่อผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้นที่แท้จริงลงไปได้ ประมาณร้อยละ 14.67

(2) รูปที่ 6 ซึ่งมีลักษณะรูปแบบการเคลื่อนไหวความผันผวนของการลงทุนที่แท้จริงลดลง ดังแสดงในของ impulse response function ใกล้เคียงกันกับงานศึกษาของ Carrière-Swallow and Céspedes (2013) ส าหรับประเทศก าลังพัฒนา และจะเห็นว่า หลังจากได้รับผลกระทบจาก external shocks หากสามารถควบคุมสินเชื่อได้ การลงทุนฟ้ืนตัวจะภายในไตรมาสที่ 10 เร็วขึ้นจากกรณีที่ปกติ (baseline) ที่มิได้ควบคุมพลวัตรของการเปลี่ยนแปลงสินเชื่อ ที่ใช้เวลายาวนานเกินกว่า 20 ไตรมาส

นอกจากนี้ หากวัดขนาดของค่า impulse response function เฉพาะที่จุดต่ าสุด จะพบว่า ค่า impulse response ที่ต่ าที่สุดกรณีปกติ (baseline) และกรณีควบคุมพลวัตรสินเชื่อมีค่าเท่ากับ -0.01111 และ -0.01063 ตามล าดับ ซึ่งหมายความว่าหากสามารถควบคุมสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ได้ จะลดทอนผลกระทบจากปัจจัยภายนอกประเทศท่ีมีต่อการลงทุนที่แท้จริงลงไปได้ ประมาณร้อยละ 4.32

Page 12: สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ไทยกับผลกระทบ จากปัจจัยภายนอกประเทศCove… · สหรัฐอเมริกาและยุโรปมีผลให้ซัพพลายสินเชื่อในประเทศเม็กซิโกเพิ่มสูงขึ้น

11

(3) รูปที่ 7 ซึ่งมีลักษณะรูปแบบการเคลื่อนไหวของ ความผันผวนของการบริโภคลดลง ดังแสดงในimpulse response function ใกล้เคียงกันกับงานศึกาของ Carrière-Swallow and Céspedes (2013) ส าหรับกรณีประเทศก าลังพัฒนา และจะเห็นว่า หลังจากได้รับผลกระทบจาก external shocks หากสามารถควบคุมสินเชื่อได้ การฟ้ืนตัวบริโภคจะภายในไตรมาสที่ 10 เร็วขึ้นจากกรณีทีปกติ (baseline) ที่มิได้ควบคุมพลวัตรของการเปลี่ยนแปลงสินเชื่อ ที่ใช้เวลายาวนานเกินกว่า 20 ไตรมาส

นอกจากนี้ หากวัดขนาดของค่า impulse response function เฉพาะที่จุดต่ าสุด จะพบว่า ค่า impulse response ที่ต่ าที่สุดกรณีปกติ (baseline) และกรณีควบคุมพลวัตรสินเชื่อมีค่าเท่ากับ -0.00357 และ -0.00342 ตามล าดับ ซึ่งหมายความว่าหากสามารถควบคุมสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ได้ จะลดทอนผลกระทบจากปัจจัยภายนอกประเทศท่ีมีต่อผลิตภัณฑ์การบริโภคที่แท้จริงลงไปได้ ประมาณร้อยละ 4.202

จากผลการศึกษาข้อ (1) ข้อ (2) และข้อ (3) เมื่อเปรียบเทียบกับงานของ Carrière-Swallow and Céspedes (2013) ที่พบว่า ส าหรับประเทศตลาดเกิดใหม่ (Emerging Countries) หากสามารถควบคุมสินเชื่อได้ จะสามารถลดความผันผวนของการลงทุน7 ที่เกิดจาก external shocks ได้ถึงครึ่งหนึ่ง ซึ่ง Carrière-Swallow and Céspedes (2013) ได้วิเคราะห์ว่าการที่การปรับตัวของสินเชื่อมีผลต่อเศรษฐกิจสูงในประเทศก าลังพัฒนาโดยเฉลี่ยนั้น อาจจะมาจากการที่ตลาดหลักทรัพย์ของประเทศเหล่านั้นยังไม่พัฒนามากนัก ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสี่ยง จากการพ่ึงพิงแหล่งเงินทุนจากธนาคารเพียงแหล่งเดียว ความเสี่ยงกระจุกตัวอยู่ที่ภาคธนาคารพาณิชย์ การปรับตัวของธนาคารอาจจะมีผลที่สูงเกินไปต่อระบบเศรษฐกิจ ซึ่งมีนัยทางนโยบาย คือ การพัฒนาตลาดเงินตลาดทุน ให้มีการกระจายตัวของการพ่ึงพิงแหล่งเงินทุนจากตลาดการเงินอ่ืนๆนอกเหนือไปจากสินเชื่อธนาคารพาณิชย์มากยิ่งข้ึน

ส าหรับประเทศไทย การที่การปรับตัวสินเชื่อธนาคารพาณิชย์มีผลต่อเศรษฐกิจน้อย อาจจะมาจากการที่หลังจากวิกฤตเศรษฐกิจปี 1997 ตลาดการเงินผ่านการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง นโยบายของรัฐที่เน้นการพัฒนาตลาดเงินตลาดทุนอื่น นอกเหนือจากธนาคาร ท าให้ระดับการพ่ึงพิงแหล่งเงินทุนจากธนาคารพาณิชย์ที่ลดลงโดยเปรียบเทียบกับตลาดการเงินอ่ืน โดยเฉพาะตลาดหลักทรัพย์ (ดูรูปที่ 9) ซึ่งสอดคล้องกับของ Carrière-Swallow and Céspedes (2013) ที่พบว่าประเทศที่ตลาดการเงินมีการพัฒนา การพ่ึงพิงสินเชื่อจากธนาคารลดลง ตลาดทุนมีการพัฒนามากขึ้น บทบาทของช่องทางสินเชื่อต่อผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้น และการลงทุน ผลกระทบจากปัจจัยภายนอกประเทศก็จะลดลง

นัยทางนโยบายที่จะควบคุมผลกระทบจากปัจจัยภายนอก ผ่านช่องทางภาคการเงิน จึงควรให้ความส าคัญทั้งภาคธนาคารและตลาดการเงินอื่น โดยเฉพาะตลาดหลักทรัพย์ ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น จนใกล้เคียงกับสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ในระยะหลังปี 2003 เป็นต้นมา บทบาทของช่องทางตลาดหลักทรัพย์ต่อผลกระทบจากปัจจัยภายนอกประเทศ จึงอาจะเป็นหัวข้อส าคัญที่น่าจะศึกษาต่อไป

ส่วนการปรับตัวของดัชนีราคาผู้บริโภคนั้น ตามแบบจ าลองที่ใช้วิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ประชาชาติ(4)เบื้องต้น จะพบว่า กรณีควบคุมสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ได้ ผลกระทบจากปัจจัยภายนอกประเทศจะลดลง การฟ้ืนตัวใช้เวลาไม่แตกต่างกันมากนัก โดยหากวัดขนาดของค่า impulse response function เฉพาะที่จุดต่ าสุด จะพบว่า ค่า impulse response ที่ต่ าท่ีสุดกรณปีกติ (baseline) และกรณีควบคุมพลวัตรสินเชื่อมีค่าเท่ากับ

รูปที่ 8- 0.0509921 และ – 0.050987 ตามล าดับ ( ) ซึ่งหมายความว่าหากสามารถควบคุมสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ได้ จะลดทอนผลกระทบจากปัจจัยภายนอกประเทศที่มีต่อดัชนีราคาผู้บริโภคลงไปได้เพียงร้อยละ

7 Carrière-Swallow and Céspedes (2013) อภิปรายและแสดงผลการวิเคราะห์เฉพาะในส่วนของการลงทุน มิได้ท าการวิเคราะหต์ัวแปรอื่น

Page 13: สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ไทยกับผลกระทบ จากปัจจัยภายนอกประเทศCove… · สหรัฐอเมริกาและยุโรปมีผลให้ซัพพลายสินเชื่อในประเทศเม็กซิโกเพิ่มสูงขึ้น

12

0.01 แบบจ าลองที่ใช้วิเคราะห์การลงทุนและการบริโภคให้ผลการศึกษาท่ีมิได้ต่างกันอย่างมีนัยส าคัญในแง่ของการวิเคราะห ์ รูปที่ 5. การตอบสนองของผลิตภัณฑ์ประชาชาติที่แท้จริงต่อความผันผวนจากภายนอกประเทศ : เปรียบเทียบแบบจ าลองปกติ (baseline)กับแบบจ าลองที่ควบคุมพลวัตรการเปลี่ยนแปลงของสินเชื่อธนาคารพาณิชย์

รูปที่ 6. การตอบสนองของการลงทุนที่แท้จริงต่อความผันผวนจากภายนอกประเทศ : เปรียบเทียบแบบจ าลองปกติ (baseline) กับแบบจ าลองที่ควบคุมพลวัตรการเปลี่ยนแปลงของสินเชื่อธนาคารพาณิชย์

Page 14: สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ไทยกับผลกระทบ จากปัจจัยภายนอกประเทศCove… · สหรัฐอเมริกาและยุโรปมีผลให้ซัพพลายสินเชื่อในประเทศเม็กซิโกเพิ่มสูงขึ้น

13

รูปที่ 7. การตอบสนองของการบริโภคต่อความผันผวนจากภายนอกประเทศ : เปรียบเทียบแบบจ าลองปกต ิ(baseline) กับแบบจ าลองที่ควบคุมพลวัตรการเปลี่ยนแปลงของสินเชื่อธนาคารพาณิชย์

รูปที่ 8 การตอบสนองของดัชนีราคาผู้บริโภคต่อความผันผวนจากภายนอกประเทศ : เปรียบเทียบแบบจ าลองปกติ (baseline)กับแบบจ าลองที่ควบคุมพลวัตรการเปลี่ยนแปลงของสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ (ใช้รูปของการประมาณค่าแบบจ าลอง 2.1.1.1 แบบจ าลองในการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้น)

Page 15: สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ไทยกับผลกระทบ จากปัจจัยภายนอกประเทศCove… · สหรัฐอเมริกาและยุโรปมีผลให้ซัพพลายสินเชื่อในประเทศเม็กซิโกเพิ่มสูงขึ้น

14

รูปที ่9. โครงสร้างตลาดการเงินไทย ปี 1997 – 2014 เท่าของ GDP

ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย หมายเหตุ : Gross loans คือ เงินให้สินเช่ือก่อนหักค่าเผื่อหน้ีสงสัยสูญของธนาคารพาณิชย์ท้ังระบบ SET+ MAI คือ มูลค่าหุ้นท้ังหมดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และตลาดหลักทรัพย์ใหม่ วัดด้วยราคาตลาด Bond คือ มูลค่าตราสารหนี้วัดด้วยราคาพาร์

4. บทสรุป ความผันผวนของเศรษฐกิจภายนอกประเทศ การไหลเข้าออกของเงินทุนมีส่วนส าคัญในการ

ขับเคลื่อนวัฏจักรเศรษฐกิจในประเทศ ตัวแปรทางเศรษฐกิจต่างๆได้รับผลกระทบจากความผันผวนจากภายนอกประเทศ ทั้งโดยตรง และโดยอ้อมผ่านความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศ สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ เป็นตัวแปรที่ส าคัญ ตัวแปรหนึ่งที่ขับเคลื่อนผลกระทบจากความผันผวนภายนอกประเทศ และหากปัจจัยภายนอกประเทศท าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและฉับพลันของการไหลเข้าออกของเงินทุนระหว่างประเทศ อาจน ามาซึ่งวิกฤตเศรษฐกิจได้

บทความนี้ ได้ท าการส ารวจบทบาทช่องทางสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ต่อผลกระทบของความผันผวนภายนอกประเทศต่อเศรษฐกิจไทย ด้วยการใช้แบบจ าลอง Structural Vector Autoregressive Model และใช้วิธีการสกัดการขยายผลกระทบจากภายนอกประเทศของธนาคารพาณิชย์ ตามงานศึกษาของ Carrière-Swallow and Céspedes (2013)

ผลการศึกษาพบว่า แบบจ าลองสามารถอธิบายการเคลื่อนไหวของตัวแปรต่างๆ เมื่อเกิด ความผันผวนที่เกิดจากภายนอกประเทศ (external shocks) ได้ โดยมีทิศทางท่ีเป็นไปตามทฤษฎี และรูปแบบการเคลื่อนไหวที่สอดคล้องกับผลการศึกษาส าหรับประเทศในตลาดเกิดใหม่ในงานศึกษาก่อนหน้า

การศึกษาบทบาทและขนาดของช่องทางสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ต่อผลกระทบของความผันผวนภาย นอกประเทศ พบว่าหากสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ไม่ตอบสนองต่อ shocks จากตัวแปรต่างๆในระบบเศรษฐกิจแล้ว ระยะเวลาที่ผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้นใช้ในการฟ้ืนตัวลดลงจากมากกว่า 20 ไตรมาสเหลือ 9 ไตรมาส ความรุนแรงของผลกระทบจากความผันผวนที่เกิดจากภายนอกประเทศ (external shocks) ต่อผลิตภัณฑ์

Page 16: สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ไทยกับผลกระทบ จากปัจจัยภายนอกประเทศCove… · สหรัฐอเมริกาและยุโรปมีผลให้ซัพพลายสินเชื่อในประเทศเม็กซิโกเพิ่มสูงขึ้น

15

ประชาชาติเบื้องต้นที่แท้จริง การลงทุนที่แท้จริง และการบริโภคที่แท้จริง จะลดลงรัอยละ 14.67 , 4.32 และ 4.20 ตามล าดับ ซึ่งต่ ากว่าประเทศในตลาดเกิดใหม่ในงานศึกษาของ Carrière-Swallow and Céspedes (2013) ที่ช่องทางสินเชื่อจะมีบทบาทถึงร้อยละ 50

อาจเป็นไปได้ว่า การที่บทบาทของสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยลดลง ในขณะที่บทบาทของตลาดหลักทรัพย์เพ่ิมสูงขึ้นจนใกล้เคียงกับธนาคารพาณิชย์ ตั้งแต่ปี 2003 เป็นต้นมา ได้ท าให้บทบาทของช่องทางสินเชื่อต่อผลกระทบความผันผวนจากภายนอกประเทศลดน้อยลง นัยทางนโยบายในเรื่องของการป้องกันและจัดการผลกระทบจากความผันผวนจากภายนอก จึงน่าจะให้ความส าคัญทั้งธนาคารพาณิชย์และตลาดหลักทรัพย์

ส่วนผลกระทบต่อดัชนีราคาผู้บริโภค พบว่าช่องทางสินเชื่อแทบจะไม่มีบทบาทในการลดความรุนแรงจากผลกระทบจากความผันผวน ที่เกิดจากภายนอกประเทศ (external shocks) ที่มีต่อดัชนีราคาผู้บริโภค

การวิเคราะห์ความส าคัญของการปรับตัวของสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ โดยใช้ Structural Vector Autoregressive Model และท าการเปรียบเทียบกรณีปกติกับกรณีที่สินเชื่อไม่มีการตอบสนองต่อ shocks ในระบบเศรษฐกิจนั้น อาจจะมีข้อถกเถียง ในแง่ของความแม่นย าในการวัด ผลการศึกษาในที่นี้ จึงเป็นเพียงผลเบื้องต้นที่แสดงให้เห็นถึงบทบาทของสินเชื่อธนาคารต่อภาคเศรษฐกิจจริง บนความไม่แน่นอนของปัจจัยภายนอกประเทศ นอกจากนี้ ข้อมูลที่ใช้ในการประมาณการในบทความยังมีค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับงานศึกษาในต่างประเทศ การใช้แบบจ าลอง Vector Autoregressive Model โดยปกติ จะต้องอาศัยข้อมูลจ านวนมาก เพ่ือผลการประมาณค่าที่แม่นย า ในอนาคต หากมีข้อมูลที่มากขึ้น จะท าให้สามารถประมาณค่าทางสถิติได้ดียิ่งขึ้น

Page 17: สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ไทยกับผลกระทบ จากปัจจัยภายนอกประเทศCove… · สหรัฐอเมริกาและยุโรปมีผลให้ซัพพลายสินเชื่อในประเทศเม็กซิโกเพิ่มสูงขึ้น

16

เอกสารอ้างอิง Baskaya, Yusuf Soner, et al. (2016) "Capital Flows and the International Credit Channel." NBER International Seminar on Macroeconomics 2016. Journal of International Economics (Elsevier). Carrière-Swallow, Yan & Céspedes, Luis Felipe, 2013. "The impact of uncertainty shocks in emerging economies," Journal of International Economics, Elsevier, vol. 90(2), pages 316-325.

Forbes, K. J., & Warnock, F. E. (2012). Capital flow waves: Surges, stops, flight, and retrenchment. Journal of International Economics, 88(2), 235-251. Fratzscher, M., Duca, M., and Straub, R. (2013), On the international spillovers of US quantitative easing, Working Paper Series 1557, European Central Bank. Ivashina, Victoria, and David Scharfstein. "Bank lending during the financial crisis of 2008." Journal of Financial economics 97.3 (2010): 319-338. Kaminsky, Graciela L., and Carmen M. Reinhart. (2001) "Bank lending and contagion: evidence from the Asian crisis." Regional and Global Capital Flows: Macroeconomic Causes and Consequences, NBER-EASE Volume 10. University of Chicago Press: 73-99. Lane, Philip R., and Peter McQuade. (2014) "Domestic credit growth and international capital flows." The Scandinavian Journal of Economics 116.1 (2014): 218-252. Matsumoto A., 2011. Global liquidity: availability of funds for safe and risky assets. IMF working Paper 11/136. Morais, B., Peydro, J-L, and Ruiz C. (2015). The International Bank Lending Channel of Monetary Policy Rates and QE: Credit Supply, Reach-for-Yield, and Real Effects. International Finance Discussion Papers 1137. Ongena, Schindele and Vonnak (2015). The Effect of US Unconventional Monetary Policies on Bank Lending in Emerging Markets: Evidence from Turkey

Paasche, Bernhard.(2001) "Credit constraints and international financial crises." Journal of Monetary Economics 48.3: 623-650

Page 18: สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ไทยกับผลกระทบ จากปัจจัยภายนอกประเทศCove… · สหรัฐอเมริกาและยุโรปมีผลให้ซัพพลายสินเชื่อในประเทศเม็กซิโกเพิ่มสูงขึ้น

17

Sims, C. (1980),Macroeconomics and reality, Econometrica, 48, 1-48. Van Rijckeghem, Caroline, and Beatrice Weder.(2001) "Sources of contagion: is it finance or trade?." Journal of international Economics 54.2 : 293-308