ร่างมาตรฐานผลิตภัณฑ์...

46
ร่าง มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม บริภัณฑ์สำหรับพิมพ์แบบดิจิทัล - เฉพาะด้านสมรรถนะ เล่ม 3 : ความเร็วในการพิมพ์ DIGITAL PRINTING EQUIPMENT – PERFORMANCE PART 3 : PRINTING PRODUCTIVITY สำหรับเวียนเพื่อขอข้อคิดเห็นจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ถนนพระรามที่ 6 กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ 0-2202-3464 สมอ./ศอ./CDV กันยายน 2553 ห้ามใช้หรือยึดถือร่างนี้เป็นมาตรฐาน มาตรฐานฉบับสมบูรณ์จะมีประกาศในราชกิจจานุเบกษา

Upload: others

Post on 10-Jun-2020

1 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

  • ร่างมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

    บริภัณฑ์สำหรับพิมพ์แบบดิจิทัล - เฉพาะด้านสมรรถนะเล่ม 3 : ความเร็วในการพิมพ์

    DIGITAL PRINTING EQUIPMENT – PERFORMANCEPART 3 : PRINTING PRODUCTIVITY

    สำหรับเวียนเพื่อขอข้อคิดเห็นจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

    สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกระทรวงอุตสาหกรรม ถนนพระรามที่ 6 กรุงเทพฯ 10400

    โทรศัพท์ 0-2202-3464

    สมอ./ศอ./CDVกันยายน 2553

    ห้ามใช้หรือยึดถือร่างน้ีเป็นมาตรฐานมาตรฐานฉบับสมบูรณ์จะมีประกาศในราชกิจจานุเบกษา

  • คณะผู้จัดทำร่างมาตรฐานมาตรฐานบริภัณฑ์สำหรับพิมพ์แบบดิจิทัล - เฉพาะด้านสมรรถนะ

    เล่ม 3 : ความเร็วในการพิมพ์

    ประธานนายปกรณ์ วัฒนจตุรพร คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า

    เจ้าคุณทหารลาดกระบัง

    กรรมการนายสุเมธ อักษรกิตติ์ บริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน)นายไกรสร อัญชลีวรพันธ์ ศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

    นายเรืองฤทธิ์ หนิแหนะนายวิรยุทธ รังหอม

    นายอาทิตย์ วัสนมงคล สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์นางอัจฉรา เจริญสุข สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาตินายวุฒิพงศ์ สุพนธนา สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

    นายสมชาย เอื้อเกษมสินนายภานุวัฒน์ ขันธโมลีกุล สมาคมสมาพันธ์เทคโนโลยีสารสนเทศแห่งประเทศไทยนายสุรยุทธ บุญมาทัต สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

    นายอานนท์ โชตินีรนาทนายวศิน พิสุทธิพัทยา

    กรรมการและเลขานุการนายกมล เอื้อชินกุล ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

  • คณะทำงาน

    ท่ีปรึกษานายพันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาตินายกว้าน สีตะธนี ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

    คณะทำงาน ด้านเทคนิคนายสมเดช แสงสุรศักดิ์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาตินายพิจักษ์ เพิ่มประเสริฐ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาตินายสุรพงษ์ แซ่เจียม ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาตินางสาวเขมณัฏฐ์ เจริญจิตวัฒธน ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาตินายถิรเจต พันพาไพร ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาตินางสาวธัญลักษณ์ ยิ้มย่อง ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาตินางสาวปัญญดา ฤกษ์มังกร ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาตินางสาวอรธินี พยัคฆะญาติ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

  • สารบัญหน้า

    บทนำ ..................................................................................................................................................................... i1. ขอบข่าย ............................................................................................................................................................ 12. บทนิยาม ........................................................................................................................................................... 23. เอกสารอ้างอิง ................................................................................................................................................... 44. แนวทางการทดสอบ .......................................................................................................................................... 45. ภาวะทั่วไปสำหรับการทดสอบ .......................................................................................................................... 46. เครื่องวัด ............................................................................................................................................................ 47. การเตรียมการทดสอบและการจัดวางตัวอย่างทดสอบ ...................................................................................... 58. วิธีทดสอบ ......................................................................................................................................................... 89. การคำนวณและการจัดการผลการทดสอบ ...................................................................................................... 2110. ผลการทดสอบ .............................................................................................................................................. 24 ภาคผนวก ก. ...................................................................................................................................................... 29 ภาคผนวก ข ....................................................................................................................................................... 31 ภาคผนวก ค ....................................................................................................................................................... 35

  • บทนำ

    ปัจจุบัน เครื่องพิมพ์ นับเป็นบริภัณฑ์พื้นฐานที่มีใช้งานกันอย่างแพร่หลายในสำนักงานและมีแนวโน้มการใช้งานเพิ่มข้ึนในที่อยู่อาศัย ในการจัดหาบริภัณฑ์สำหรับพิมพ์แบบดิจิทัลสำหรับใช้งาน จำเป็นต้องคำนึงถึงสมรรถนะด้านต่างๆ ของบริภัณฑ์สำหรับพิมพ์แบบดิจิทัล แต่หลักเกณฑ์การพิจารณาน้ันยังไม่มีการกำหนดให้อยู่ในรูปแบบที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ผู้ทำแต่ละรายมีวิธีการทดสอบสมรรถนะที่แตกต่างกัน ทำให้ผู้ใช้ไม่สามารถเปรียบเทียบระดับของสมรรถนะด้านต่างๆ ของบริภัณฑ์สำหรับพิมพ์แบบดิจิทัลได้ ด้วยเหตุน้ีจึงได้กำหนดชุดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมน้ีข้ึน สำหรับวัดสมรรถนะด้านต่างๆ ของบริภัณฑ์สำหรับพิมพ์แบบดิจิทัลให้อยู่ในรูปแบบมาตรฐานเดียวกัน เพื่อใช้อ้างอิงต่อไปมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมน้ี จัดทำข้ึนตามความร่วมมือด้านการมาตรฐานระหว่าง สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กับ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ซ่ึงตั้งอยู่ที่ เลขที่ 112 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหน่ึง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120 โทรศัพท์ 0 2564 6900

    -i-

  • มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมบริภัณฑ์สำหรับพิมพ์แบบดิจิทัล - เฉพาะด้านสมรรถนะ

    เล่ม 3 : ความเร็วในการพิมพ์1. ขอบข่าย

    1.1 บริภัณฑ์ที่ครอบคลุมโดยมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมน้ี

    มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมน้ีครอบคลุมเฉพาะการทดสอบสมรรถนะด้านความเร็วในการพิมพข์องบริภัณฑ์สำหรับพิมพ์แบบดิจิทัลซ่ึงประสงค์ให้ใช้งานทั่วไปในสำนักงานและที่อยู่อาศัย ที่ใช้กำลังไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายไฟฟ้าประธานกระแสสลับที่ระบุไม่เกิน 250 โวลต์ และความถ่ี 50 เฮิรตซ์

    มาตรฐานน้ีมีจุดประสงค์เพื่อกำหนดวิธีการทดสอบให้เป็นไปในลักษณะเดียวกัน อธิบายข้ันตอนการทดสอบ กำหนดภาวะการทดสอบ แนะนำภาระงานมาตรฐานสำหรับทดสอบ และการประเมินผลการทดสอบให้เป็นในแนวทางเดียวกัน

    วิธีดำเนินการต่างๆ กำหนดไว้สำหรับการทดสอบสมรรถนะด้านความเร็วในการพิมพข์องบริภัณฑ์สำหรับพิมพ์แบบดิจิทัล ได้แก่ ความเร็วในการพิมพ์หน้าแรก ความเร็วเฉลี่ยในการพิมพ์

    1.2 ข้อกำหนดเพิ่มเติม

    อาจมีข้อกำหนดเพิ่มเติมที่จำเป็นสำหรับ− งานพิมพ์ที่ต้องการคุณภาพงานหรือความละเอียดสูงเป็นพิเศษ− สื่อสำหรับใช้พิมพ์ที่มีลักษณะพิเศษ หรือแตกต่างไปจากภาระงานที่มาตรฐานน้ีกำหนดไว้− บริภัณฑ์สำหรับพิมพ์แบบดิจิทัลที่จำเป็นต้องมีการติดตั้งพิเศษเฉพาะ− การทดสอบสมรรถนะบางด้าน ที่กำหนดไว้ในมาตรฐานอื่นในชุดอนุกรมน้ี− การทดสอบสมรรถนะการใช้พลังงานในภาวะทำงาน ขณะบริภัณฑ์ทำงานในโหมดอื่นนอกเหนือ

    จากการพิมพ์หมายเหตุ ในบริภัณฑ์หลายหน้าท่ี การใช้พลังงานในภาวะทำงานสำหรับการพิมพ์อาจใช้พลังงานน้อยกว่าการ

    ทำงานในโหมดอ่ืน

    1.3 ข้อยกเว้น

    มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมน้ีไม่ครอบคลุมถึง− อะไหล่สำหรับใช้ซ่อมแซมบริภัณฑ์สำหรับพิมพ์แบบดิจิทัล

    -1-

  • − บริภัณฑ์สำหรับพิมพ์แบบดิจิทัลที่ไม่ประสงค์จะจำหน่ายให้ผู้ใช้โดยทั่วไปหรือประสงค์ให้ใช้งานเฉพาะด้านอย่างใดอย่างหน่ึง

    − บริภัณฑ์สำหรับพิมพ์แบบดิจิทัลซ่ึงประสงค์ให้ใช้ในอุตสาหกรรมการพิมพ์

    2. บทนิยาม

    ความหมายของคำที่ใช้ในมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมน้ี มีดังต่อไปน้ี

    2.1 บริภัณฑ์สำหรับพิมพ์แบบดิจิทัล หมายถึง บริภัณฑ์ที่ใช้ในการพิมพ์ที่สามารถต่อเชื่อม และสั่งพิมพ์จากคอมพิวเตอร์ได้

    2.2 ตัวอย่างทดสอบ หมายถึง บริภัณฑ์สำหรับพิมพ์แบบดิจิทัลที่ใช้ทดสอบ

    2.3 ส่วนประกอบพ้ืนฐานสำหรับการทดสอบ หมายถึง ชุดฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับทดสอบหรือร่วมทดสอบบริภัณฑ์สำหรับพิมพ์แบบดิจิทัล ตัวอย่างเช่น คอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการ ซอฟต์แวร ์อุปกรณ์จับเวลา เป็นต้น

    2.4 ผู้ทำ หมายถึง ผู้ผลิต หรือผู้ประกอบบริภัณฑ์สำหรับพิมพ์แบบดิจิทัล

    2.5 ภาวะว่างงาน หมายถึง ภาวะของบริภัณฑ์ที่ไม่ได้พิมพ์งานใดๆ แต่พร้อมทำงานพิมพ์ทันทีเมื่อได้รับคำสั่ง

    2.6 ประเภทการทดสอบ (Category test) หมายถึง การจัดประเภทการทดสอบเพื่อหาความเร็วการพิมพ ์แยกตามลักษณะการใช้งาน แบ่งได้เป็น การทดสอบประเภทสำนักงาน การทดสอบประเภทกราฟิค การทดสอบประเภทอื่นๆ ไม่ถือว่าเป็นประเภทการทดสอบน้ี

    2.7 แบบเรียงชุด (Collation) หมายถึง ความสามารถประเภทหน่ึงของบริภัณฑ์สำหรับพิมพ์แบบดิจิทัล โดยใช้กำหนดในการพิมพ์งานหลายชุดและให้ได้ลำดับงานของแต่ละชุดเหมือนต้นฉบับ เช่น 1234 1234 1234 เป็นต้น

    2.8 การพิมพ์หน่ึงด้าน (simplex printing) หมายถึง การพิมพ์งานบนด้านหน่ึงด้านใดของกระดาษ

    2.9 การพิมพ์สองด้าน (duplex printing) หมายถึง การพิมพ์งานบนทั้งสองด้านของกระดาษโดยอัตโนมัติ

    2.10 หน้าพิมพ์ต่อนาที (image per minute;ipm) หมายถึง หน่วยของความเร็วการพิมพ์ นับเป็นจำนวนหน้างานพิมพท์ี่พิมพ์ไดต้่อเวลา 1 นาที โดยต่อไปจะใช้คำว่า ipm

    2.11 ความเร็วงานพิมพ์รวม (effective throughput ; EFTP) หมายถึง ความเร็วเฉลี่ยของการพิมพ์นับจากเริ่มสั่งพิมพ์งานจนถึงพิมพ์งานหน้าสุดท้ายของชุดสุดท้ายเสร็จ ความเร็วงานพิมพ์รวม ของการทดสอบจะมีสัญลักษณ์ดังต่อไปน้ี− EFTP1set หมายถึง ความเร็วงานพิมพ์รวม ของการทดสอบ 1 ชุดงาน

    -2-

  • − EFTP30sec หมายถึง ความเร็วงานพิมพ์รวม ของการทดสอบ 1 ชุดงานบวก 30 วินาที− EFTP4min หมายถึง ความเร็วงานพิมพ์รวม ของการทดสอบ 1 ชุดงานบวก 4 นาที

    2.12 ความเร็วงานพิมพ์ประมาณการ (estimated saturated throughput ; ESAT) หมายถึง ความเร็วเฉลี่ยของการพิมพ์นับจากพิมพ์งานแผ่นสุดท้ายของชุดแรกเสร็จจนถึงพิมพ์งานหน้าสุดท้ายของชุดสุดท้ายเสร็จ ความเร็วงานพิมพ์ประมาณการ ของการทดสอบจะมีสัญลักษณ์เครื่องพิมพ์ดังต่อไปน้ี− ESAT30sec หมายถึง ความเร็วงานพิมพ์ประมาณการ ของการทดสอบ 1 ชุดงานบวก 30 วินาที

    2.13 เวลาพิมพ์ชุดแรก (frst set out time ; FSOT) หมายถึง เวลานับจากเริ่มสั่งพิมพ์งานจนพิมพ์งานหน้าสุดท้ายของชุดแรกเสร็จ มีหน่วยเป็นวินาที เวลาพิมพ์ชุดแรก ของการทดสอบจะมีสัญลักษณ์ดังต่อไปน้ี− FSOT30sec หมายถึง เวลาพิมพ์ชุดแรก ของการทดสอบ 1 ชุดงานบวก 30 วินาที

    2.14 เวลาพิมพ์ชุดสุดท้าย (last set out time ; LSOT) หมายถึง เวลานับจากเริ่มสั่งพิมพ์จนพิมพ์งานหน้าสุดท้ายของชุดสุดท้ายเสร็จ มีหน่วยเป็นวินาที เวลาพิมพ์ชุดสุดท้าย ของการทดสอบจะมีสัญลักษณ์ดังต่อไปน้ี− LSOT1set หมายถึง เวลาพิมพ์ชุดสุดท้าย ของการทดสอบ 1 ชุดงาน− LSOT30sec หมายถึง เวลาพิมพ์ชุดสุดท้าย ของการทดสอบ 1 ชุดงานบวก 30 วินาที− LSOT4min หมายถึง เวลาพิมพ์ชุดสุดท้าย ของการทดสอบ 1 ชุดงานและ 4 นาที

    2.15 โปรแกรมขับปริยาย (Default driver) หมายถึง โปรแกรมขับบริภัณฑ์สำหรับพิมพ์แบบดิจิทัลที่ถูกตั้งโดยปริยายเมื่อทำการติดตั้งตามวิธีที่ในคู่มือผู้ใช้

    2.16 ช่องต่ออนุกรมอเนกประสงค์ (Universal serial bus ; USB) หมายถึง ช่องทางต่อเชื่อมอนุกรมเพื่อการสื่อสารแบบอเนกประสงค์ สามารถใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นๆ ได้อย่างกว้างขวาง โดยต่อไปน้ีจะใช้คำว่า USB

    -3-

  • 3. เอกสารอ้างอิง

    3.1 ISO/IEC 24734:2009 Information technology – Offce equipment – Method formeasuring digital printing productivity

    3.2 ศอ. 2011.3 บริภัณฑ์สำหรับพิมพแ์บบดิจิทัล - เฉพาะด้านสมรรถนะ - เล่ม 3 ความเร็วในการพิมพ์

    4. แนวทางการทดสอบ

    การทดสอบด้านสมรรถนะความเร็วในการพิมพ์ของบริภัณฑ์สำหรับพิมพ์แบบดิจิทัล มีหลักการคือ การทำให้ตัวอย่างทดสอบอยู่ในภาวะว่างงานก่อนการทดสอบ เพื่อลดปัจจัยที่จะมีผลต่อการทดสอบ เช่น เวลาการวอร์มเครื่อง เป็นต้น การวัดความเร็วในการพิมพ์งานจะเริ่มนับจากจุดต่างๆ ตามประเภทการทดสอบ เช่น เมื่อเริ่มสั่งพิมพ์งาน เมื่อพิมพ์ชุดงานที่หน่ึงเสร็จ เป็นต้น และหยุดนับเวลาเมื่องานพิมพ์หน้าสุดท้ายเลื่อนออกจากเครื่องพิมพ์ โดยใช้ภาระงานมาตรฐานตามรูปแบบการทำงานที่กำหนดไว้

    5. ภาวะทั่วไปสำหรับการทดสอบ

    5.1 สภาวะแวดล้อมสำหรับการทดสอบ

    − อุณหภูมิโดยรอบ 26 องศาเซลเซียส ถึง 33 องศาเซลเซียส− ความชื้นสัมพัทธ์ร้อยละ 40 ถึงร้อยละ 80

    5.2 แรงดันไฟฟ้าแหล่งจ่ายสำหรับการทดสอบ

    − แรงดันไฟกระแสสลับ 230 โวลต์ ± ร้อยละ 5 และความถ่ี 50 เฮิรตซ์ ± ร้อยละ 1

    6. เคร่ืองวัด

    6.1 เครื่องวัดเวลา

    ในการทดสอบน้ี ต้องใช้เครื่องวัดเวลาที่มีความละเอียดอย่างต่ำ 0.01 วินาที

    -4-

  • 7. การเตรียมการทดสอบและการจัดวางตัวอย่างทดสอบ

    7.1 ส่วนประกอบพ้ืนฐานสำหรับการทดสอบ

    มาตรฐานน้ีไม่ได้มีการกำหนดส่วนประกอบพ้ืนฐานสำหรับการทดสอบที่ตายตัว เน่ืองจากส่วนประกอบพ้ืนฐานสำหรับการทดสอบทั้งด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว โดยในการทดสอบผู้ทดสอบสามารถเลือกส่วนประกอบพื้นฐานที่เหมาะสมได้เองและให้บันทึกส่วนประกอบพื้นฐานที่มีผลต่อผลการทดสอบทุกครั้ง

    7.2 การตั้งค่าส่วนประกอบพ้ืนฐานสำหรับการทดสอบ

    7.2.1 การตั้งค่าเบ้ืองต้นส่วนประกอบพ้ืนฐานสำหรับการทดสอบติดตั้งส่วนประกอบพ้ืนฐานสำหรับการทดสอบด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ตามวิธีการที่ระบุไว้ในคู่มือการใช้ และบันทึกรายละเอียดวิธีการและการตั้งค่าในรายงานการทดสอบด้วย กรณีที่มีการดำเนินการเพิ่มเติมที่แตกต่างจากค่าปริยายตามวิธีการที่ระบุไว้ในคู่มือการใช้ ให้บันทึกรายละเอียดการดำเนินการเพิ่มเติมน้ันลงในรายงานด้วย− ควรเลือกการเชื่อมต่อแบบปริยายหรือการเชื่อมต่อแบบต่อตรงเข้ากับบริภัณฑ์สำหรับพิมพ์

    แบบดิจิทัล รูปแบบการเชื่อมต่อต้องถูกบันทึกไว้− ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าส่วนประกอบพ้ืนฐานสำหรับการทดสอบ ได้ถูกปรับตั้งในลักษณะที่

    ส่วนประกอบพ้ืนฐานสำหรับการทดสอบจะให้ประสิทธิภาพสูงสุด รายละเอียดการปรับตั้งค่าต้องถูกบันทึกไว้

    − รายละเอียดการตั้งค่าส่วนประกอบพ้ืนฐานสำหรับการทดสอบเบ้ืองต้นทั้งหมดต้องถูกบันทึกไว้เป็นสถานะปริยายสำหรับการทดสอบ

    7.2.2 การใช้ดิสก์อิมเมจ (Disk Image) เพื่อสร้างส่วนประกอบพ้ืนฐานสำหรับการทดสอบยอมให้ใช้ดิสก์อิมเมจเพื่อสร้างส่วนประกอบพ้ืนฐานสำหรับการทดสอบได้ โดยที่ดิสก์อิมเมจน้ันสร้างข้ึนจากส่วนประกอบพ้ืนฐานสำหรับการทดสอบที่มีการตั้งค่าแล้วแต่ยังไม่ได้ติดตั้งโปรแกรมขับของบริภัณฑ์สำหรับพิมพ์แบบดิจิทัล และต้องบันทึกซอฟต์แวร์ที่ใช้จัดการดิสก์อิมเมจและการตั้งค่าเพิ่มเติมจากค่าปริยายของซอฟต์แวร์น้ันลงในรายงานผลการทดสอบด้วย

    7.2.3 สถานะปริยายสำหรับการทดสอบต้องจัดให้ส่วนประกอบพ้ืนฐานสำหรับการทดสอบกลับไปอยู่สถานะปริยายก่อนการทดสอบบริภัณฑ์สำหรับพิมพ์แบบดิจิทัลเครื่องใหม่ทุกครั้ง บริภัณฑ์สำหรับพิมพ์แบบดิจิทัลที่ปรับเปลี่ยนการตั้งค่าของฮาร์ดแวร์หรือปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ประกอบที่เกี่ยวข้องให้ถือว่าเป็นบริภัณฑ์สำหรับพิมพ์แบบดิจิทัลเครื่องใหม่

    7.3 การตั้งค่าบริภัณฑ์สำหรับพิมพ์แบบดิจิทัล

    -5-

  • ติดตั้งบริภัณฑ์สำหรับพิมพ์แบบดิจิทัลตามวิธีการจากคู่มือผู้ใช้ ติดตั้งโปรแกรมขับบริภัณฑ์สำหรับพิมพ์แบบดิจิทัลตามคำแนะนำจากคู่มือผู้ใช้ โดยใช้โปรแกรมขับรุ่นล่าสุด บันทึกชื่อและรุ่นโปรแกรมขับในรายงานผลการทดสอบ

    กรณีติดตั้งโปรแกรมขับตามวีธีการจากคู่มือผู้ใช้แล้วไม่สามารถติดตั้งโปรแกรมขับได้โดยอัตโนมัติ ให้ปรึกษาผู้ทำ

    การตั้งค่าโปรแกรมขับ ให้ใช้ค่าปริยายของโปรแกรมขับ กรณีที่การตั้งค่าที่โปรแกรมขับและทีบ่ริภัณฑ์สำหรับพิมพ์แบบดิจิทัลไม่ตรงกัน ให้ใช้ค่าจากโปรแกรมขับแทน ไม่อนุญาตให้ยกเลิกฟังก์ชันการทำงานที่ตั้งมาจากผู้ทำ เช่น การทำความสะอาดหัวพิมพ์โดยอัตโนมัติ การสอบเทียบบริภัณฑ์สำหรับพิมพ์แบบดิจิทัล การประหยัดพลังงาน ยกเว้นเฉพาะฟังก์ชัน การเลือกกระดาษโดยอัตโนมัติ (Automatic media detect)

    การตั้งค่าขนาดกระดาษต้องให้ตรงกับไฟล์ที่ใช้ เช่น ภาระงานทดสอบขนาด A4 ให้ตั้งค่าทีบ่ริภัณฑ์สำหรับพิมพ์แบบดิจิทัลเป็นขนาดกระดาษ A4 และใช้กระดาษขนาด A4 ในการทดสอบ ตรวจสอบการตั้งค่าขอบหน้ากระดาษให้ไม่เกิน 12.7 มิลลิเมตร ฟังก์ชันการปรับตำแหน่งหน้ากระดาษ เช่น การปรับงานพิมพ์ให้อยู่กึ่งกลางหน้า (page centering) การปรับองศางานพิมพ์ (auto-rotation) สามารถถูกเปิดใช้ได้เพื่อให้งานพิมพ์ออกมาถูกต้อง โดยทุกการตั้งค่าที่ปรับแต่งเพิ่มเติมจากค่าปริยายให้บันทึกในรายงานผลการทดสอบด้วย

    หมายเหตุ การปิดการทำงานบางฟังก์ชันเพื่อให้ผลการพิมพ์ออกมาถูกต้องสามารถทำได้ เช่น การปิดฟังก์ชันการปรับขนาดสัดส่วนหน้ากระดาษ (page scaling)

    ต้องเปิดการทำงานของฟังก์ชันการพิมพแ์บบเรียงชุด กรณีที่ค่าปริยายโปรแกรมขับไม่ได้เปิดทำงานฟังก์ชันน้ี ให้ผู้ทดสอบดำเนินการตามคู่มือบริภัณฑ์สำหรับพิมพ์แบบดิจิทัลเพื่อเปิดการทำงานฟังก์ชันการพิมพแ์บบเรียงชุด

    กรณบีริภัณฑ์สำหรับพิมพ์แบบดิจิทัลประเภทสี ให้ตั้งค่างานพิมพ์เป็นแบบสี และหากประสงค์จะทดสอบงานพิมพ์ขาวดำเพิ่มเติม (ไม่บังคับ) ให้ตั้งค่างานพิมพ์เป็นแบบขาวดำ โดยให้ใช้คุณภาพและความละเอียดงานพิมพ์เช่นเดิมและให้ใช้เฉพาะหมึกดำในการพิมพ์งานเท่าน้ัน

    ให้ตรวจสอบและจัดเตรียมวัสดุสิ้นเปลือง เช่น หมึกพิมพ์ กระดาษ ให้เพียงพอสำหรับการทดสอบ

    หมายเหตุ การตั้งค่าสีงานพิมพ์ขาวดำสามารถกระทำได้ในโปรแกรมขับบริภัณฑ์สำหรับพิมพ์แบบดิจิทัลและท่ีบริภัณฑ์สำหรับพิมพ์แบบดิจิทัล โดยอาจใช้คำว่า “print in B&W” “Print in grayscale” “Print in black only” เป็นต้น

    7.4 ให้วางตัวอย่างทดสอบบนที่ติดตั้งหรือฐานรองที่มั่นคง กรณีที่ทดสอบหลายตัวอย่างทดสอบพร้อมกัน ต้องจัดตําแหน่งของแต่ละตัวอย่างทดสอบให้ห่างกัน และห่างจากผนังโดยรอบ ไม่น้อยกว่า 15 เซนติเมตร

    -6-

  • 7.5 การเชื่อมต่อบริภัณฑ์สำหรับพิมพ์แบบดิจิทัล

    รูปแบบการเชื่อมต่อบริภัณฑ์สำหรับพิมพ์แบบดิจิทัลควรจะสอดคล้องกับรูปแบบการใช้งานของบริภัณฑ์สำหรับพิมพ์แบบดิจิทัล เช่น บริภัณฑ์สำหรับพิมพ์แบบดิจิทัลสำหรับสำนักงานควรเชื่อมต่อในรูปแบบเครือข่าย บริภัณฑ์สำหรับพิมพ์แบบดิจิทัลสำหรับส่วนบุคคลควรเชื่อมต่อโดยตรงกับเครื่องคอมพิวเตอร ์(เช่น USB) กรณีที่การเชื่อมต่อบริภัณฑ์สำหรับพิมพ์แบบดิจิทัลไม่สอดคล้องกับรูปแบบการใช้งาน ให้ผู้ทดสอบบันทึกรายละเอียดในรายงานผลการทดสอบด้วย

    7.6 รายละเอียดอื่นๆ ของบริภัณฑ์สำหรับพิมพ์แบบดิจิทัล

    สิ่งที่ใช้ร่วมทดสอบจะต้องเป็นไปตามข้อกำหนด คำแนะนำจากผู้ทำ เช่นประเภทกระดาษและวัสดุสิ้นเปลืองที่ใช้ร่วมกับบริภัณฑ์สำหรับพิมพ์แบบดิจิทัล เป็นต้น

    7.7 ขนาดไฟล์ของภาระงานทดสอบ

    ผู้ทดสอบต้องทำการตรวจสอบขนาดไฟล์ของภาระงานทดสอบและพิมพ์ภาระงานทดสอบอย่างน้อยสองครั้งเพื่อตรวจสอบความซ้ำของผลงานพิมพ์

    7.8 กระดาษ

    น้ำหนัก ประเภทและชนิดกระดาษที่ใช้ในการทดสอบจะต้องเป็นไปตามคำแนะนำจากผู้ทำ กระดาษต้องเป็นแบบแผ่น ขนาด A4 เท่าน้ัน กรณีการทดสอบพิเศษ อนุญาตให้ใช้กระดาษขนาดอื่นที่เหมาะสมกับการทดสอบได้

    ข้อมูลกระดาษ ผู้ผลิต น้ำหนัก ขนาด ประเภทและชนิดกระดาษต้องระบุในรายงานผลการทดสอบ

    7.9 การบำรุงรักษา

    หากจำเป็นต้องทำการบำรุงรักษาตัวอย่างทดสอบระหว่างการทดสอบ เช่น การเปลี่ยนวัสดุสิ้นเปลือง การทำความสะอาดชุดลูกกลิ้ง การแก้ไขปัญหากระดาษติด เป็นต้น ให้ทำตามคำแนะนำของผู้ทำ

    7.10 ภาระงานทดสอบและโปรแกรมประยุกต์สำหรับทดสอบ

    ตัวอย่างภาระงานทดสอบให้ไว้ในภาคผนวก ข ส่วนตัวอย่างโปรแกรมประยุกต์สำหรับทดสอบไม่ได้ให้ไว้ ผู้ทดสอบเป็นผู้เลือกและต้องบันทึกชื่อและรุ่นในรายงานผลการทดสอบ

    การทดสอบงานประเภทสำนักงาน เป็นการทดสอบบังคับ การทดสอบอื่นๆ เป็นการทดสอบไม่บังคับ เช่น การทดสอบงานประเภทภาพกราฟิค เป็นต้น

    -7-

  • 8. วิธีทดสอบ

    การทดสอบความเร็วการพิมพ์เฉลี่ยของบริภัณฑ์สำหรับพิมพ์แบบดิจิทัล เป็นการหาความเร็วเฉลี่ยของการพิมพ์งาน โดยมีหน่วยเป็นหน้าพิมพ์ต่อนาที หรือ ipm ในการทดสอบความเร็วการพิมพ์เฉลี่ย ประกอบด้วยการทดสอบย่อย 3 หัวข้อดังน้ี− 1 ชุดงาน (1 Set Test) เพื่อหาค่า FSOT1set และ EFTP1set− 1 ชุดงานบวก 30 วินาที (1 Set + 30 Test) เป็นการทดสอบโดยพิมพ์งานจำนวนหลายชุด

    โดยจำนวนชุดที่กำหนดพิมพ์แทนด้วยตัวแปร N30sec และเวลาที่ใช้พิมพ์งาน N30sec ชุดจะต้องสอดคล้องกับสมการ LSOT30sec - FSOT30sec >= 30 วินาที ผลลัพท์จากการทดสอบน้ีจะใช้คำนวณหาค่า EFTP30sec และ ESAT30secหมายเหตุ N30sec จำนวนชุดที่กำหนดให้พิมพ์ มีค่าข้ันต่ำเท่ากับ 2

    FSOT30sec คือเวลาที่ใช้ในการพิมพ์ชุดแรก จากการพิมพ์ N30sec ชุด โดยนับจากเริ่มสั่งพิมพ์ จนพิมพ์หน้าสุดท้ายของชุดที่หน่ึงเสร็จ

    LSOT30sec คือเวลาที่ใช้ในการพิมพ์ N30sec ชุด นับจากเริ่มสั่งพิมพ์จนพิมพ์หน้าสุดท้ายของชุดที่ N30sec เสร็จ

    − 1 ชุดงานบวก 4 นาที (1 Set + 4 Minutes Test) เป็นการทดสอบโดยพิมพ์งานจำนวนหลายชุด โดยจำนวนชุดจะต้องสอดคล้องกับสมการ LSOT4min-FSOT4min >= 4 นาที

    การทดสอบความเร็วการพิมพ์หน้าแรกของบริภัณฑ์สำหรับพิมพ์แบบดิจิทัล เพื่อหาความเร็วเฉลี่ยของการพิมพ์งานหน้าแรก โดยมีหน่วยเป็นวินาที

    8.1 ข้ันตอนการทดสอบ

    8.1.1 การตั้งค่าก่อนการทดสอบ

    (1) ติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ทดสอบ โดยจะต้องดำเนินการติดตั้งใหม่ทุกการทดสอบ

    (2) ติดตั้งบริภัณฑ์สำหรับพิมพ์แบบดิจิทัล โปรแกรมขับ โปรแกรมทดสอบ

    (3) ตั้งค่าโปรแกรมขับ เช่น น้ำหนักกระดาษ ขนาดกระดาษ ทิศทางการดึงกระดาษ คุณภาพงานพิมพ์ เลือกชนิดกระดาษ plain paper เปิดฟังก์ชัน คอลเลชัน ปิดฟังก์ชันค้นหาขนาดกระดาษอัตโนมัติ (automatic media detect) ปิดฟังก์ชันปรับขนาดหน้างานพิมพ์ (page scaling) กรณีทดสอบพิมพ์งานสองหน้า (duplex) ให้เปิดฟังก์ชัน duplex กรณีทดสอบงานพิมพ์สีหรือขาวดำให้ตั้งค่าสีงานพิมพ์ตามชนิดการทดสอบ บันทึกการตั้งค่า วิธีการตั้งค่า ยี่ห้อ รุ่นบริภัณฑ์สำหรับพิมพ์แบบดิจิทัลหมายเหตุ ในบางบริภัณฑ์สำหรับพิมพ์แบบดิจิทัลอาจมีฟังก์ชันพิมพ์งานสองหน้าอัตโนมัติหลายแบบ เช่น ขอบหน้าแบบยาว (long edge) ขอบหน้าแบบสั้น (short edge) โดยอาจเลือกฟังก์ชันที่เป็นค่าปริยาย และบันทึกรายละเอียดในรายงานผลการทดสอบด้วย

    -8-

  • หมายเหตุ วิธีการตั้งค่าบางอย่างสามารถทำได้หลายวิธี ซ่ึงอาจมีผลต่อผลการทดสอบ ให้ทำการอ้างอิงวิธีการตั้งค่าที่แนะนำจากคู่มือผู้ใช้

    (4) ติดตั้งภาระงานทดสอบบนเครื่องคอมพิวเตอร์

    (5) อ้างอิงถึงข้อ 9.3 เพื่อศึกษาหัวข้อที่ต้องทดสอบ อ้างอิงภาคผนวก ค เพื่อดูตัวอย่างบันทึกผลการทดสอบ

    8.1.2 การทดสอบ 1 ชุดงาน (1 Set Test) เพื่อหาค่า FSOT1set และ EFTP1set

    (1) เปิดโปรแกรมทดสอบและภาระงานทดสอบ

    (2) สั่งพิมพ์งาน 1 หน้าแล้วปิดไฟล์ เพื่อให้บริภัณฑ์สำหรับพิมพ์แบบดิจิทัลอยู่ในภาวะพร้อมทำงาน

    (3) เลือกพิมพ์งานจากโปรแกรมทดสอบ โดยเลือกพิมพ์ 1 ชุด

    (4) สั่งพิมพ์งาน พร้อมเริ่มต้นจับเวลา

    (5) หยุดจับเวลาเมื่อพิมพ์หน้าสุดท้ายของชุดแรกเสร็จ โดยบันทึกเวลาในหน่วยวินาทีพร้อมเลขจุดทศนิยมอย่างน้อย 2 หลัก

    (6) ปิดภาระงานทดสอบและโปรแกรมทดสอบ

    (7) ทดสอบข้อที่ 1 ถึง 5 อีกครั้ง แล้วคำนวณหาค่า FSOT1set และ EFTP1set ของแต่ละการทดสอบหมายเหตุ วิธีการคำนวณหาค่า EFTP1set ตามข้อ 9.1

    (8) คำนวณหาค่าความเข้ากัน (consistent) หากไม่อยู่ในช่วง +-5% ให้ทำการทดสอบข้อที่ 1 ถึง 5 เพิ่มเติมอีกครั้งหมายเหตุ วิธีการคำนวณหาค่าความเข้ากัน (consistent) ตามข้อ 8.2.3

    (9) คำนวณหาค่าเฉลี่ยของ FSOT1set และ EFTP1setหมายเหตุ ค่าเฉลี่ย FSOT1set เป็นค่าที่ใช้รายงานในส่วนสรุปของรายงานผลการทดสอบ

    8.1.3 การทดสอบ 1 ชุดงานบวก 30 วินาที (1 Set + 30 Seconds Test) เพื่อหาค่า ESAT30sec และ EFTP30sec

    (1) เปิดโปรแกรมทดสอบและภาระงานทดสอบ

    (2) สั่งพิมพ์งาน 1 หน้าแล้วปิดไฟล์ เพื่อให้บริภัณฑ์สำหรับพิมพ์แบบดิจิทัลอยู่ในภาวะพร้อม

    -9-

  • ทำงาน

    (3) เลือกพิมพ์งานจากโปรแกรมทดสอบ เลือกพิมพ์ N ชุด โดยเวลาที่ใช้พิมพ์งาน N ชุดจะต้องสอดคล้องกับสมการ LSOT30sec-FSOT30sec >= 30 วินาที การพิมพ์ครั้งที่ 2 และ 3 จะใช้จำนวนชุดเท่ากับครั้งแรกหมายเหตุ FSOT30sec เป็นคนละตัวกับ FSOT1set โดย FSOT30sec เป็นเวลาพิมพ์งานชุดแรกที่ได้จากการพิมพ์งาน N ชุด

    (4) สั่งพิมพ์งาน พร้อมเริ่มต้นจับเวลา

    (5) บันทึกเวลาในการพิมพ์ชุดแรก (FSOT30sec) ในหน่วยวินาทีพร้อมเลขจุดทศนิยมอย่างน้อย 2 หลัก โดยนับจากเริ่มสั่งพิมพ์งานจนถึงพิมพ์งานหน้าสุดท้ายของชุดแรกเสร็จ

    (6) หยุดจับเวลาเมื่อพิมพ์หน้าสุดท้ายของชุดสุดท้ายเสร็จ โดยบันทึกเวลาในหน่วยวินาทีพร้อมเลขจุดทศนิยมอย่างน้อย 2 หลัก ในข้ันตอนน้ีจะได้ค่า LSOT30sec

    (7) ปิดภาระงานทดสอบและโปรแกรมทดสอบ

    (8) ทดสอบข้อที่ 1 ถึง 6 อีกครั้ง แล้วคำนวณหาค่า ESAT30sec และ EFTP30sec ของแต่ละการทดสอบหมายเหตุ วิธีการคำนวณหาค่า ESAT30sec และ EFTP30sec ตามข้อ 9.2 คำนวณหาค่าความเข้ากัน (consistent) หากไม่อยู่ในช่วง ±5% ให้ทำการทดสอบข้อที่ 1 ถึง 6 เพิ่มเติมอีกครั้งหมายเหต ุ วิธีการคำนวณหาค่าความเข้ากัน (consistent) ตามข้อ 8.2.3

    (9) คำนวณหาค่าเลี่ยของ ESAT30sec และ EFTP30sec หมายเหตุ ค่าเฉลี่ย ESAT30sec เป็นค่าที่ใช้รายงานในส่วนสรุปของรายงานผลการทดสอบ

    8.1.4 การทดสอบ 1 ชุดงานบวก 4 นาที (1 Set + 4 minutes Test) เพื่อหาค่า EFTP4min

    (1) เปิดโปรแกรมทดสอบและภาระงานทดสอบ

    (2) สั่งพิมพ์งาน 1 หน้าแล้วปิดไฟล์ เพื่อให้บริภัณฑ์สำหรับพิมพ์แบบดิจิทัลอยู่ในภาวะพร้อมทำงาน

    (3) เลือกพิมพ์งานจากโปรแกรมทดสอบ เลือกพิมพ์ N ชุด โดยเวลาที่ใช้พิมพ์งาน N ชุดจะต้องสอดคล้องกับสมการ LSOT4min-FSOT4min >= 4 นาที การพิมพ์ครั้งที่ 2 และ 3 จะใช้จำนวนชุดเท่ากับครั้งแรกหมายเหต ุ FSOT4min เป็นคนละตัวกับ FSOT1set โดย FSOT4min เป็นเวลาพิมพ์งานชุดแรกที่

    -10-

  • ได้จากการพิมพ์งาน N ชุด

    (4) สั่งพิมพ์งาน พร้อมเริ่มต้นจับเวลา

    (5) บันทึกเวลาในการพิมพ์ชุดแรก (FSOT4min) ในหน่วยวินาทีพร้อมเลขจุดทศนิยมอย่างน้อย 2 หลัก โดยนับจากเริ่มสั่งพิมพ์งานจนถึงพิมพ์งานหน้าสุดท้ายของชุดแรกเสร็จ

    (6) หยุดจับเวลาเมื่อพิมพ์หน้าสุดท้ายของชุดสุดท้ายเสร็จ โดยบันทึกเวลาในหน่วยวินาทีพร้อมเลขจุดทศนิยมอย่างน้อย 2 หลัก ในข้ันตอนน้ีจะได้ค่า LSOT4min

    (7) ปิดภาระงานทดสอบและโปรแกรมทดสอบ

    (8) ทดสอบข้อที่ 1 ถึง 6 อีกครั้ง แล้วคำนวณหาค่า EFTP4min ของแต่ละการทดสอบหมายเหต ุวิธีการคำนวณหาค่า EFTP4min ตามข้อ 9.3

    (9) คำนวณหาค่าความเข้ากัน (consistent) หากไม่อยู่ในช่วง +-5% ให้ทำการทดสอบข้อที่ 1 ถึง 6 เพิ่มเติมอีกครั้งหมายเหต ุวิธีการคำนวณหาค่าความเข้ากัน (consistent) ตามข้อ 8.2.3

    (10)คำนวณหาค่าเฉลี่ยของ EFTP4min

    8.1.5 การทดสอบความเร็วการพิมพ์หน้าแรก

    (1) บรรจุกระดาษลงในถาดพิมพ์หลัก ของตัวอย่างทดสอบ

    (2) เปิดโปรแกรมทดสอบและภาระงานทดสอบ

    (3) สั่งพิมพ์งาน 1 หน้าแล้วปิดไฟล์ เพื่อให้บริภัณฑ์สำหรับพิมพ์แบบดิจิทัลอยู่ในภาวะพร้อมทำงาน สั่งพิมพ์งาน 1 หน้าและใช้นาฬิกาจับเวลาการพิมพ์โดยเริ่มจับเวลาจาก “กดแป้น Enter สั่งพิมพ์ ในภาวะบริภัณฑ์สำหรับพิมพ์แบบดิจิทัลพร้อมทำงาน” และหยุดจับเวลาเมื่อ “พิมพ์งานหน้าแรกเสร็จ” (เมื่อกระดาษพิมพ์ทั้งหน้าเลื่อนออกจากบริภัณฑ์สำหรับพิมพ์แบบดิจิทัล) บันทึกผล

    (4) ปิดภาระงานทดสอบ

    (5) ทดสอบตามข้ันตอนที่ 2 ถึง 5 อีก 2 ครั้ง บันทึกผล และคำนวณค่าเฉลี่ยความเร็ว

    -11-

  • 8.2 กระบวนการทดสอบ

    8.2.1 แผนภาพข้ันตอนการทดสอบ

    (1) การทดสอบความเร็วการพิมพ์หน้าแรก ให้ปฏิบัติตามข้ันตอน รูปที่ 1

    รูปที่ 1 ข้ันตอนการทดสอบความเร็วการพิมพ์หน้าแรก

    -12-

    ต้ังค่าจำนวนชุดพิมพ์เท่ากับ 1

    ทำการทดสอบรอบท่ี 1 2 และ 3

    คำนวณค่าเฉล่ีย

  • (2) การทดสอบความเร็วการพิมพ์เฉลี่ย ปฏิบัติตามแผนภาพ รูปที่ 2

    รูปที่ 2 ข้ันตอนการทดสอบความเร็วการพิมพ์เฉลี่ย

    -13-

    ต้ังค่าจำนวนชุดพิมพ์เท่ากับ 1

    ทำการทดสอบรอบท่ี 1 และ 2

    คำนวณค่า FSOT และ EFTP

    ทำการทดสอบรอบท่ี 3

    ค่าต่างกันไม่เกินร้อยละ5

    คำนวณค่า FSOT และ EFTP

    คำนวณค่าเฉล่ีย FSOT และ EFTP

    บันทึกผลการทดสอบ “1 ชุด”

    คำนวณหาจำนวนชุดพิมพ์ของการทดสอบ “1ชุดบวก30วินาที”

    ทำการทดสอบรอบท่ี 1 และ 2

    คำนวณค่า ESAT และ EFTP

    ทำการทดสอบรอบท่ี 3

    ค่าต่างกันไม่เกินร้อยละ5

    คำนวณค่า ESAT และ EFTP

    คำนวณค่าเฉล่ีย ESAT และ EFTP

    บัน ทึกผลการทดสอบ “1ชุ ดบวก30วินาที”

    ใช่

    สามารถประมาณจำนวนชุดพิมพ์ของการทดสอบ

    “1ชุดบวก30วินาที”ต้ังค่าจำนวนชุดพิมพ์เท่ากับ 2

    ทำการทดสอบพิมพ์

    ใช่

    ไม่ใช่

    ไม่ใช่

    ใช่ ไม่ใช่

    คำนวณหาจำนวนชุดพิมพ์ของการทดสอบ “1ชุดบวก4นาที”

    ทำการทดสอบรอบท่ี 1 และ 2

    คำนวณค่า EFTP

    ทำการทดสอบรอบท่ี 3

    ค่าต่างกันไม่เกินร้อยละ5

    คำนวณค่า EFTP

    คำนวณค่าเฉล่ีย EFTP

    บันทึกผลการทดสอบ “1ชุดบวก4นาที”

    ใช่ ไม่ใช่

  • 8.2.2 การคำนวณหาค่าจำนวนชุด

    8.2.2.1 1 ชุดงานบวก 30 วินาทีข้ันแรกให้ทำการเลือกค่า Ninitial ข้ึนมาหน่ึงค่า โดยอาจเลือกค่าเริ่มต้นที่ 2 จากน้ันทดสอบพิมพ์งาน ถ้าผลการพิมพ์สอดคล้องกับสมการ LSOTinitial-FSOTinitial >= 30 วินาที แสดงว่าค่า Ninitial ที่เลือกเป็นจำนวนชุดที่ถูกต้องที่ใช้ทดสอบ 1 ชุดงานบวก 30 วินาที กรณีผลการทดสอบพิมพ์ที่ได้ไม่สอดคล้อง ให้คำนวณหาค่าจำนวนชุดที่จะใช้ด้วยสูตรต่อไปน้ี

    เมื่อ Estimate N30sec คือ ค่าประมาณจำนวนชุดสำหรับการทดสอบ 1 ชุดงานบวก30 วินาที

    Ninitial คือ ค่าจำนวนชุดที่ประมาณเพื่อทดสอบพิมพ์LSOTinitial คือ ค่า เวลาพิมพ์ชุดสุดท้าย ของการทดสอบพิมพ์งาน Ninitial ชุด FSOTinitial คือ ค่า เวลาพิมพ์ชุดแรก ของการทดสอบพิมพ์งาน Ninitial ชุด

    จำนวนชุดที่ใช้ทดสอบ 1 ชุดงานบวก 30 วินาที (N30sec) จะต้องเป็นจำนวนชุดที่น้อยที่สุดที่สอดคล้องกับสมการ LSOT30sec-FSOT30sec >= 30 วินาที

    8.2.2.2 1 ชุดงานบวก 4 นาทีทำโดยการแทนค่าที่วัดได้จากข้อ 8.2.2.1 ในสูตรดังน้ี

    เมื่อ Estimate N4min คือ ค่าประมาณจำนวนชุดสำหรับการทดสอบ 1 ชุดงานบวก 4 นาที

    N30sec คือ ค่าจำนวนชุดที่ใช้ทดสอบ 1 ชุดงานบวก 30 วินาทีLSOT30sec คือ ค่า เวลาพิมพ์ชุดสุดท้าย ของการทดสอบ 1 ชุดงาน

    บวก 30 วินาที FSOT30sec คือ ค่า เวลาพิมพ์ชุดแรก ของการทดสอบ 1 ชุดงานบวก 30 วินาที

    จำนวนชุดที่ใช้ทดสอบ 1 ชุดงานบวก 4 นาที (N4min) จะต้องเป็นจำนวนชุดที่น้อยที่สุดที่สอดคล้องกับสมการ LSOT4min-FSOT4min >= 4 นาที

    -14-

    Estimate N30sec = RoundUp ( 30 x (Ninitial - 1) + 1 ) LSOTinitial - FSOTinitial

    Estimate N4min = RoundUp ( 240 x (N30sec - 1) + 1 ) LSOT30sec - FSOT30sec

  • 8.2.3 การคำนวณความสอดคล้อง (Consistency)มาตรฐานน้ียอมรับค่าความสอดคล้องของผลการทดสอบ 2 ครั้ง ที่ไม่เกิน ± ร้อยละ 5 โดยมีสูตรการคำนวณดังน้ี

    เมื่อ Consistent คือ ค่าความสอดคล้องหน่วยเป็นร้อยละV1 คือ ค่าสำหรับเปรียบเทียบค่าที่หน่ึงV2 คือ ค่าสำหรับเปรียบเทียบค่าที่สอง

    ตัวอย่าง

    8.3 ประเภทการทดสอบ

    ประเภทการทดสอบแบ่งได้เป็น ประเภทสำนักงานและประเภทงานกราฟิค โดยการทดสอบประเภทสำนักงานเป็นภาคบังคับ ใช้ทดสอบบริภัณฑ์สำหรับพิมพ์แบบดิจิทัลสำหรับงานเอกสาร pdf เอกสารข้อความ และเอกสารตารางคำนวณ เพื่อหาค่า เวลาพิมพ์ชุดแรก ความเร็วงานพิมพ์ประมาณการ ความเร็วงานพิมพ์รวม และความเร็วการพิมพ์หน้าแรก

    การทดสอบประเภทงานกราฟิคเป็นภาคสมัครใจ เลือกทดสอบได้โดยไม่ได้บังคับ ใช้ทดสอบบริภัณฑ์สำหรับพิมพ์แบบดิจิทัลสำหรับงานเอกสาร pdf เอกสารนำเสนอที่เน้นข้อมูลประเภทกราฟิค รูปภาพ เป็นต้น เพื่อหาค่า เวลาพิมพ์ชุดแรก ความเร็วงานพิมพ์ประมาณการ ความเร็วงานพิมพ์รวม และค่าความเร็วการพิมพ์หน้าแรก

    8.3.1 การทดสอบประเภทสำนักงาน

    -15-

    Consistent = 2 x V1 - 1 V1 + V2

    Consistent FSOT = 2 x FSOT1 - 1 FSOT1 + FSOT2

    Consistent ESAT = 2 x ESAT1 - 1 ESAT1 + ESAT2

    Consistent EFTP = 2 x EFTP1 - 1 EFTP1 +EFTP2

  • ภาระงานทดสอบที่ให้ไว้ในภาคผนวก ข ประกอบด้วยภาระงานทดสอบอักษรสารและภาระงานทดสอบเอกเทศ ฉบับภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ การทดสอบประเภทสำนักงานสำหรับภาษาไทยเป็นการทดสอบภาคบังคับ สำหรับภาษาต่างประเทศเป็นการทดสอบเพิ่มเติม การคำนวณหาความเร็วให้แยกคำนวณระหว่างการทดสอบภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ตารางที่ 1 และตารางที2่ ให้ตัวอย่างรูปแบบการทดสอบที่เป็นไปได้ วิธีการทดสอบให้ทำตามหัวข้อ 8.1 การคำนวณให้ทำตามหัวข้อ 8.2 และ 9ตามปกตบิริภัณฑ์สำหรับพิมพ์แบบดิจิทัลงานพิมพ์ขาวดำจะมีค่าปริยายที่สีงานพิมพ์ขาวดำ บริภัณฑ์สำหรับพิมพ์แบบดิจิทัลงานพิมพ์สีจะมีค่าปริยายที่สีงานพิมพ์สี กรณบีริภัณฑ์สำหรับพิมพ์แบบดิจิทัลงานพิมพ์สีมีค่าปริยายที่สีงานพิมพ์ขาวดำ ให้การทดสอบส่วนงานพิมพ์สีเป็นภาคบังคับด้วย

    ตารางที่ 1 รูปแบบการทดสอบความเร็วการพิมพ์เฉลี่ยสำหรับงานประเภทสำนักงาน ภาษาไทยวิธีทดสอบ รูปแบบการพิมพ์ ภาระงานทดสอบ

    อักษรสารคำหวาน 1

    อักษรสารแสนคำนึง

    อักษรสารเติบโต

    1 ชุดงาน พิมพ์หน่ึงด้าน การตั้งค่าปริยาย 2

    บริภัณฑ์สำหรับพิมพ์แบบดิจิทัลประเภทสี พิมพ์หน่ึงด้าน งานพิมพ์ขาวดำ

    พิมพ์สองด้าน การตั้งค่าปริยาย

    บริภัณฑ์สำหรับพิมพ์แบบดิจิทัลประเภทสี พิมพ์สองด้าน งานพิมพ์ขาวดำ

    บ 3

    ล 4

    2 ชุดงาน (การทดสอบน้ีไม่บังคับ โดยใช้เพื่อประมาณจำนวนชุดเพื่อทำการทดสอบ 1 ชุดงานบวก 30 วินาท)ี

    พิมพ์หน่ึงด้าน การตั้งค่าปริยาย

    บริภัณฑ์สำหรับพิมพ์แบบดิจิทัลประเภทสี พิมพ์หน่ึงด้าน งานพิมพ์ขาวดำ

    พิมพ์สองด้าน การตั้งค่าปริยาย

    บริภัณฑ์สำหรับพิมพ์แบบดิจิทัล

    -16-

  • วิธีทดสอบ รูปแบบการพิมพ์ ภาระงานทดสอบอักษรสารคำหวาน 1

    อักษรสารแสนคำนึง

    อักษรสารเติบโต

    ประเภทสี พิมพ์สองด้าน งานพิมพ์ขาวดำ

    1 ชุดงานบวก 30 วินาที

    พิมพ์หน่ึงด้าน การตั้งค่าปริยาย 2

    บริภัณฑ์สำหรับพิมพ์แบบดิจิทัลประเภทสี พิมพ์หน่ึงด้าน งานพิมพ์ขาวดำ

    พิมพ์สองด้าน การตั้งค่าปริยาย

    บริภัณฑ์สำหรับพิมพ์แบบดิจิทัลประเภทสี พิมพ์สองด้าน งานพิมพ์ขาวดำ

    บ 3

    ล 4

    1 ชุดงานบวก 4 นาที พิมพ์หน่ึงด้าน การตั้งค่าปริยาย 2

    บริภัณฑ์สำหรับพิมพ์แบบดิจิทัลประเภทสี พิมพ์หน่ึงด้าน งานพิมพ์ขาวดำ

    พิมพ์สองด้าน การตั้งค่าเริ่มต้น

    บริภัณฑ์สำหรับพิมพ์แบบดิจิทัลประเภทสี พิมพ์สองด้าน งานพิมพ์ขาวดำ

    หมายเหตุ 1 สำหรับการทดสอบภาษาต่างประเทศให้แทนด้วยภาระงานต่างประเทศตามภาคผนวก ข2 การตั้งค่าปริยาย หมายถึง ให้ตั้งค่าโหมดสีงานพิมพต์ามท่ีผู้ทำตั้งไว้3 บ หมายถึง บังคับทดสอบ4 ล หมายถึง เลือกทดสอบ

    -17-

  • ตารางที่ 2 รูปแบบการทดสอบความเร็วการพิมพ์หน้าแรกสำหรับงานประเภทสำนักงานวิธีทดสอบ รูปแบบการพิมพ์ ช่ือภาระงานทดสอบ

    พิมพ์ 1 ชุด จำนวน 3 รอบ พิมพ์หน่ึงด้าน การตั้งค่าปริยาย 1 เอกเทศ 2

    หมายเหตุ 1 การตั้งค่าปริยาย หมายถึง ให้ตั้งค่าโหมดสีงานพิมพต์ามท่ีผู้ทำตั้งไว้2 สำหรับการทดสอบภาษาต่างประเทศให้แทนด้วยภาระงานต่างประเทศตามภาคผนวก ข

    8.3.2 การทดสอบงานประเภทกราฟิค การทดสอบงานด้านกราฟิคเป็นการทดสอบเพิ่มเติม ไม่บังคับ ใช้เพื่อทดสอบประสิทธิภาพที่ละเอียดข้ึนของบริภัณฑ์สำหรับพิมพ์แบบดิจิทัล โดยใช้ภาระงานทดสอบที่มีรายละเอียดมากข้ึน เช่น รูปภาพ เป็นต้น ใช้ภาระงานทดสอบวิจิตรศิลป์และเอกเทศตามภาคผนวก ข โดยเลือกชุดงานภาษาไทยหรือชุดงานภาษาต่างประเทศหรือทั้งสองอย่าง รูปแบบการทดสอบตามตารางที่ 3 และ 4 วิธีการทดสอบตามหัวข้อ 8.1 การคำนวณตามหัวข้อ 8.2 และ 9ตามปกตบิริภัณฑ์สำหรับพิมพ์แบบดิจิทัลงานพิมพ์ขาวดำจะมีค่าปริยายที่สีงานพิมพ์ขาวดำ บริภัณฑ์สำหรับพิมพ์แบบดิจิทัลงานพิมพ์สีจะมีค่าปริยายที่สีงานพิมพ์สี กรณบีริภัณฑ์สำหรับพิมพ์แบบดิจิทัลงานพิมพ์สีมีค่าปริยายที่สีงานพิมพ์ขาวดำ ให้การทดสอบส่วนงานพิมพ์สีเป็นภาคบังคับด้วย

    ตารางที่ 3 รูปแบบการทดสอบประเภทกราฟิควิธีทดสอบ รูปแบบการพิมพ์ ภาระงานทดสอบ

    วิจิตรศิลป์กินรี1

    วิจิตรศิลป์นารีผล

    1 ชุดงาน พิมพ์หน่ึงด้าน การตั้งค่าปริยาย 2

    บริภัณฑ์สำหรับพิมพ์แบบดิจิทัลประเภทสี พิมพ์หน่ึงด้าน งานพิมพ์ขาวดำ

    พิมพ์สองด้าน การตั้งค่าปริยาย

    บริภัณฑ์สำหรับพิมพ์แบบดิจิทัลประเภทสี พิมพ์สองด้าน งานพิมพ์ขาวดำ

    บ 3

    ล 4

    -18-

  • วิธีทดสอบ รูปแบบการพิมพ์ ภาระงานทดสอบวิจิตรศิลป์

    กินรี1วิจิตรศิลป์นารีผล

    2 ชุดงาน(การทดสอบน้ีไม่บังคับ โดยใช้เพื่อประมาณจำนวนชุดเพื่อทำการทดสอบ 1 ชุดงานบวก 30 วินาท)ี

    พิมพ์หน่ึงด้าน การตั้งค่าปริยาย 2

    บริภัณฑ์สำหรับพิมพ์แบบดิจิทัลประเภทสี พิมพ์หน่ึงด้าน งานพิมพ์ขาวดำ

    พิมพ์สองด้าน การตั้งค่าปริยาย

    บริภัณฑ์สำหรับพิมพ์แบบดิจิทัลประเภทสี พิมพ์สองด้าน งานพิมพ์ขาวดำ

    ล 4

    1 ชุดงานบวก 30 วินาที

    พิมพ์หน่ึงด้าน การตั้งค่าปริยาย

    บริภัณฑ์สำหรับพิมพ์แบบดิจิทัลประเภทสี พิมพ์หน่ึงด้าน งานพิมพ์ขาวดำ

    พิมพ์สองด้าน การตั้งค่าปริยาย

    บริภัณฑ์สำหรับพิมพ์แบบดิจิทัลประเภทสี พิมพ์สองด้าน งานพิมพ์ขาวดำ

    บ 3

    1 ชุดงานบวก 4 นาที พิมพ์หน่ึงด้าน การตั้งค่าปริยาย

    บริภัณฑ์สำหรับพิมพ์แบบดิจิทัลประเภทสี พิมพ์หน่ึงด้าน งานพิมพ์ขาวดำ

    พิมพ์สองด้าน การตั้งค่าปริยาย

    -19-

  • วิธีทดสอบ รูปแบบการพิมพ์ ภาระงานทดสอบวิจิตรศิลป์

    กินรี1วิจิตรศิลป์นารีผล

    บริภัณฑ์สำหรับพิมพ์แบบดิจิทัลประเภทสี พิมพ์สองด้าน งานพิมพ์ขาวดำ

    หมายเหตุ 1 สำหรับการทดสอบภาษาต่างประเทศให้แทนด้วยภาระงานต่างประเทศตามภาคผนวก ข2 การตั้งค่าปริยาย หมายถึง ให้ตั้งค่าโหมดสีงานพิมพต์ามท่ีผู้ทำตั้งไว้3 บ หมายถึง บังคับทดสอบ4 ล หมายถึง เลือกทดสอบ

    ตารางที่ 4 รูปแบบการทดสอบประเภทกราฟิคส่วนความเร็วหน้าแรกวิธีทดสอบ รูปแบบการพิมพ์ ภาระงานทดสอบ

    พิมพ์ 1 ชุด 3 รอบ พิมพ์หน่ึงด้าน การตั้งค่าปริยาย 1 เอกเทศ 2 หมายเหตุ 1 การตั้งค่าปริยาย หมายถึง ให้ตั้งค่าโหมดสีงานพิมพต์ามท่ีผู้ทำตั้งไว้

    2 สำหรับการทดสอบภาษาต่างประเทศให้แทนด้วยภาระงานต่างประเทศตามภาคผนวก ข

    8.3.3 การทดสอบประเภทพิเศษกรณีต้องการทดสอบประเภทอื่นๆ นอกเหนือจากที่ระบุไว้ในข้อ 8.3.1 และข้อ 8.3.2 หรือต้องการทดสอบรูปแบบการทำงานพิเศษอื่น เช่น การทดสอบที่ต้องการระดับคุณภาพงานพิมพ์สูงเป็นพิเศษ การทดสอบโดยใช้โปรแกรมขับอื่นนอกเหนือจากที่ผู้ทำแนะนำไว้ เป็นต้น ยอมให้ใช้ภาระงานทดสอบตามภาคผนวก ข ได้ทั้ง ประเภทสำนักงานหรือภาระงานทดสอบประเภทประเภทกราฟิคหรือทั้งสองอย่าง หากเหมาะสม

    -20-

  • 9. การคำนวณและการจัดการผลการทดสอบ

    9.1 การทดสอบ 1 ชุดงาน

    การทดสอบ 1 ชุด เพื่อหาค่า FSOT1set และ EFTP1set การทดสอบโดยพิมพ์เอกสารทดสอบ 1 ชุด จำนวน 4 หน้า อธิบายด้วยรูปที่ 3

    รูปที่ 3 แผนภาพการทดสอบ 1 ชุด

    การคำนวณหาค่า EFTP1set

    เมื่อ EFTP1set คือ ค่าความเร็วงานพิมพ์รวม ของการทดสอบ 1 ชุดงานLSOT1set คือ ค่าเวลาพิมพ์ชุดสุดท้าย ของการทดสอบ 1 ชุดงาน (t1)

    9.2 ทดสอบ 1 ชุดงานบวก 30 วินาที

    การทดสอบ 1 ชุดงานบวก 30 วินาที เพื่อหาค่า ESAT30sec และ EFTP30sec การทดสอบโดยพิมพ์ภาระงานทดสอบจำนวน N30sec ชุด อธิบายด้วยรูปที่ 4

    -21-

    EFTP1set = 240 (ipm)

    LSOT1set

    t0 t1

    t0 t1 tn

  • รูปที่ 4 แผนภาพทดสอบ 1 ชุดงานบวก 30 วินาที

    การคำนวณหาค่า ESAT30sec

    เมื่อ ESAT30sec คือ ค่าความเร็วงานพิมพ์ประมาณการ ของการทดสอบ 1 ชุดงานบวก 30 วินาที

    240 คือ การคำนวนจาก 4 หน้า คูณด้วย 60 วินาทีN30sec คือ จำนวนชุดงานพิมพข์องการทดสอบ 1 ชุดงานบวก 30 วินาทีLSOT30sec คือ ค่าเวลาพิมพ์ชุดสุดท้าย ของการทดสอบ 1 ชุดงาน

    บวก 30 วินาที (tn)FSOT30sec คือ ค่าเวลาพิมพ์ชุดแรก ของการทดสอบ 1 ชุดงานบวก 30 วินาท ี

    (t1)

    การคำนวณหาค่า EFTP30sec

    เมื่อ EFTP30sec คือ ค่าความเร็วงานพิมพ์รวม ของการทดสอบ 1 ชุดงานบวก 30 วินาที

    240 คือ การคำนวนจาก 4 หน้า คูณด้วย 60 วินาทีN30sec คือ จำนวนชุดงานพิมพข์องการทดสอบ 1 ชุดงานบวก 30 วินาทีLSOT30sec คือ ค่าเวลาพิมพ์ชุดสุดท้าย ของการทดสอบ 1 ชุดงาน

    บวก 30 วินาที (tn)

    9.3 ทดสอบ 1 ชุดงานบวก 4 นาที

    การทดสอบ 1 ชุดงานบวก 4 นาที เพื่อหาค่า EFTP4min การทดสอบโดยพิมพ์เอกสารทดสอบจำนวน N4min ชุด อธิบายด้วยรูปที่ 5

    -22-

    EFTP30sec = 240 x N30sec (ipm) LSOT30sec

    ESAT30sec = 240 x (N30sec - 1) (ipm) LSOT30sec - FSOT30sec

  • รูปที่ 5 แผนภาพการทดสอบ 1 ชุดงานบวก 4 นาที

    การคำนวณหาค่า EFTP4min

    สูตร 10.1.3 การคำนวณหาค่า EFTP4minเมื่อ EFTP4min คือ ค่าความเร็วงานพิม�