สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ...

48
161 พระอารามหลวง เล่ม ๑ สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ยกฐานสูง แนวเสาอยู่ด้านนอก หลังคาลด ๒ ชั้น มุงกระเบื้อง ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ หน้าบันมีลายปูนป้นรูปมหามงกุฎล้อมด้วยลาย ดอกไม้ มหามงกุฎเป็นตราประจำพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จิตรกรรมฝาผนังฝีมือ ของขรัวอินโข่ง จิตรกรเอกสมัยพระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผนังภายในเป็นภาพวาดคล้ายกับภาพวาดในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร มีรายละเอียดแตกต่างกันบ้าง คือ ภาพวาดระหว่างช่องหน้าต่างเป็นภาพชีวิตความเป็นอยู่แบบไทย เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา และการทำบุญของชาวบ้าน เช่น การบวชนาค การลอยกระทง การทอดกฐิน การทำบุญเนื่องในวันมาฆบูชาและวิสาขบูชา เป็นต้น ส่วนภาพเหนือช่องหน้าต่างเป็นภาพปริศนาธรรม เกี่ยวกับคุณพระรัตนตรัย คือ เป็นภาพชาวฝรั่งทั้งชายและหญิงทั้งหมด ด้านหน้าพระประธาน เป็นภาพเมือง ๆ หนึ่ง ที่ตกอยู่ในความมืดคือ โลภะ โทสะ โมหะ พระประธาน ในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หล่อสมัยกรุงสุโขทัย ซึ่งได้อัญเชิญมา จากเมืองพิษณุโลก มีพระนามว่า พระทศพลญาณ พระเจดีย์ สร้างสมัยรัชกาลทีอยู่หลัง พระอุโบสถ ลักษณะเป็นทรงกลมแบบสมัยอยุธยา มีประตู เข้าออกตรงกับพระอุโบสถ บานประตูด้านนอกลงรัก ประดับมุก เป็นรูปราชกุธภัณฑ์ มีฉัตรเก้าชั้นและห้าชั้น พระมหาพิชัยมงกุฎอุณหิสวาลวิชนี ฉลองพระบาท หีบพระอุโบสถลายเถาดอกไม้ อกเลามีรูปพระนารายณ์ พระอินทร์ และรูปกษัตริย์ ๔ พระองค์ ศาลาการเปรียญ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ลักษณะทรงไทย ยกพื้นสูง หน้ามุขมีช่อฟ้า ใบระกา และลงรัก ปิดทอง ประดับกระจก ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้น ลงรักปิดทอง พระนามว่า พระพิชิตมารมัธยมพุทธกาล พระนิรันตราย เป็นพระพุทธรูปหล่อด้วย ทองสำริด กะไหล่ทอง ปางสมาธิเพชร เบื้องหลังมีเรือนแก้ว พุ่มมหาโพธิ์ มีอักษรจารึกไว้ในวงกลีบบัว ยอดเรือนแก้ว มีรูปมหามงกุฎ รองฐานพระเป็นที่สำหรับน้ำสรง ปัจจุบัน พระเทพวรคุณ(ประศาสน์ ปญฺ าธโร) เป็นเจ้าอาวาส

Upload: others

Post on 21-Feb-2020

10 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ ......พระมหาพ ช ยมงก ฎอ ณห สวาลว ชน ฉลองพระบาท

161 พระอารามหลวง เล่ม ๑

สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนยกฐานสูง แนวเสาอยู่ด้านนอก หลังคาลด ๒ ชั้นมุงกระเบื้อง ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์หน้าบันมีลายปูนปั้นรูปมหามงกุฎล้อมด้วยลายดอกไม้ มหามงกุฎเป็นตราประจำพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จิตรกรรมฝาผนังฝีมือของขรัวอินโข่ง จิตรกรเอกสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผนังภายในเป็นภาพวาดคล้ายกับภาพวาดในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหารมีรายละเอียดแตกต่างกันบ้าง คือ ภาพวาดระหว่างช่องหน้าต่างเป็นภาพชีวิตความเป็นอยู่แบบไทยเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา และการทำบุญของชาวบ้าน เช่น การบวชนาค การลอยกระทง การทอดกฐินการทำบุญเนื่องในวันมาฆบูชาและวิสาขบูชา เป็นต้น ส่วนภาพเหนือช่องหน้าต่างเป็นภาพปริศนาธรรมเกี่ยวกับคุณพระรัตนตรัย คือ เป็นภาพชาวฝรั่งทั้งชายและหญิงทั้งหมด ด้านหน้าพระประธานเป็นภาพเมืองๆหนึ่งที่ตกอยู่ในความมืดคือโลภะโทสะโมหะ พระประธาน ในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หล่อสมัยกรุงสุโขทัย ซึ่งได้อัญเชิญมาจากเมืองพิษณุโลกมีพระนามว่าพระทศพลญาณ พระเจดีย์ สร้างสมัยรัชกาลที่ ๔ อยู่หลังพระอุโบสถ ลักษณะเป็นทรงกลมแบบสมัยอยุธยา มีประตูเข้าออกตรงกับพระอุโบสถ บานประตูด้านนอกลงรักประดับมุก เป็นรูปราชกุธภัณฑ์ มีฉัตรเก้าชั้นและห้าชั้นพระมหาพิชัยมงกุฎอุณหิสวาลวิชนี ฉลองพระบาทหีบพระอุโบสถลายเถาดอกไม้ อกเลามีรูปพระนารายณ์พระอินทร์และรูปกษัตริย์๔พระองค์ ศาลาการเปรียญ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนลักษณะทรงไทยยกพื้นสูงหน้ามุขมีช่อฟ้าใบระกาและลงรักปิดทอง ประดับกระจก ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทองพระนามว่าพระพิชิตมารมัธยมพุทธกาล พระนิรันตราย เป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยทองสำริด กะไหล่ทอง ปางสมาธิเพชร เบื้องหลังมีเรือนแก้วพุ่มมหาโพธิ์ มีอักษรจารึกไว้ ในวงกลีบบัว ยอดเรือนแก้วมีรูปมหามงกุฎรองฐานพระเป็นที่สำหรับน้ำสรง ปัจจุบันพระเทพวรคุณ (ประศาสน์ปญฺ าธโร)เป็นเจ้าอาวาส

Page 2: สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ ......พระมหาพ ช ยมงก ฎอ ณห สวาลว ชน ฉลองพระบาท

162 พระอารามหลวง เล่ม ๑

ประวัติความเป็นมา วัดปทุมวนาราม พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างด้านฝั่งตะวันตกของสวนนอก สวนสระปทุม เพื่อพระราชทานแก่สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี แล้วพระราชทานชื่อว่า วัดปทุมวนาราม ทรงนิมนต์พระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิกายจากวัดบวรนิเวศวิหารมาครองวัด และได้อัญเชิญ พระเสริม พระแสนและพระไส จากเมืองเวียงจันทน์ มาประดิษฐานไว้ ณ พระอุโบสถและพระวิหาร ปีพุทธศักราช ๒๔๖๙ สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวีพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ได้ทรงสร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรมขึ้นเพื่อเป็นที่ศึกษาพระธรรมวินัยของพระภิกษุสามเณร ต่อมาได้บรรจุพระบรมสรีรังคารของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรมพระบรมราชชนกที่มุขของโรงเรียนพระปริยัติธรรมสถานะและที่ตั้ง วัดปทุมวนาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ ๙๖๙ แขวงปทุมวันเขตปทุมวันกรุงเทพมหานครมีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่๑๘ไร่๙ตารางวา

วัดปทุมวนาราม

Page 3: สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ ......พระมหาพ ช ยมงก ฎอ ณห สวาลว ชน ฉลองพระบาท

163 พระอารามหลวง เล่ม ๑

สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนหลังคาลด ๒ ชั้น มุงกระเบื้อง ประดับช่อฟ้าใบระกา หน้าบันเป็นรูปพระราชลัญจกรในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระมหาพิชัยมงกุฎประดิษฐานบนพานแว่นฟ้ามีฉัตร๒ข้างอยู่ภายในกลีบดอกบัว ประดับด้วยลายเปลวและกอบัว มีใบและดอกข้างล่าง ซุ้มประตูหน้าต่างเป็นปูนปั้นรูปมงกุฎ บานประตูหน้าต่างประดับลายรูปปั้น เป็นรูปชีวิตชาวนา ด้านในประตูหน้าต่างเขียนรูปเครื่องบูชาแบบจีนผนังภายในเขียนภาพแบ่งเป็น๒ชั้นชั้นบนเป็นภาพการเสด็จประพาสสระบัว ชั้นล่างเป็นภาพแสดงกิจวัตรที่พระภิกษุต้องปฏิบัติและอานิสงส์ของการปฏิบัติ ผนังด้านหลังพระประธานเขียนภาพดอกบัวสวรรค์ขนาดใหญ่แต่ละดอกมีนางฟ้าฟ้อนรำอยู่๗นาง พระประธาน ในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หล่อด้วยทองเหลืองพระนามว่าพระไสหรือพระสายน์

พระวิหาร เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนหลังคาลด๒ชั้นหน้าบันเป็นรูปพระราชลัญจกรในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระมหาพิชัยมงกุฎประดิษฐานบนพานแว่นฟ้ามีฉัตร๒ข้างและประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย ในซุ้มปิดกระจก ด้านนอกเป็นรูปเทพชุมนุม หน้าบันของพระระเบียงเป็นรูปพระมหาพิชัยมงกุฎบนพาน ล้อมด้วยฉัตรห้าชั้นมีลายเทพพนม กรอบซุ้มประตูหน้าต่างเป็นรูปยอดมงกุฎลายดอกบัวสีทอง บานประตูด้านนอกเป็นลายเทพพนมในดอกบัว ด้านในเป็นรูปมนุษย์โผล่มาจากสระบัว หน้าต่างด้านนอกเป็นลายรดน้ำรูปดอกบัวด้านในเป็นรูปยักษ์ขึ้นจากสระบัว ภายในพระวิหารเสาเขียนเป็นรูปดอกบัวผนังตอนบนเป็นรูปกระบวนเรือเสด็จทางชลมารค ตอนล่างเขียนภาพเล่าเรื่องศรีธนญชัย ประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย พระนามว่าพระแสนและพระเสริม พระเจดีย์ ลักษณะทรงกลม ๒ ชั้น ชั้นล่างเป็นสี่เหลี่ยมที่มุมทั้ง ๔ ด้าน มีพุ่มปั้นรูปดอกบัวซ้อน ๔ ชั้น ฐานข้างในโปร่งตรงกลางประดิษฐานพระพุทธบาทจำลองหินอ่อน ชั้นบนมีบันไดขึ้นลงทรงกลม ข้างในโปร่ง ตรงกลางประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์หินอ่อนพระพุทธรูปปางต่างๆและรูปอดีตเจ้าอาวาส ปัจจุบันพระธรรมธัชมุนี (อมร าโณทโย)เป็นเจ้าอาวาส

Page 4: สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ ......พระมหาพ ช ยมงก ฎอ ณห สวาลว ชน ฉลองพระบาท

164 พระอารามหลวง เล่ม ๑

ประวัติและความเป็นมา วัดมหาพฤฒาราม เป็นวัดโบราณ สร้างสมัยกรุงรัตนโกสินทร์เดิมชื่อว่าวัดท่าเกวียน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูมินทรภักดีเป็นแม่กองบูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งพระอาราม และได้เปลี่ยนชื่อวัดเป็นวัดตะเคียน ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าจุฬามกุฎราชกุมาร (รัชกาลที่ ๕)มีพระราชศรัทธาสร้างร่วมกัน โปรดให้สถาปนาวัดขึ้นใหม่ บานประตูหน้าต่างเป็นลายปูนปั้นหน้าบันพระอุโบสถเป็นพระราชลัญจกรรัชกาลที่ ๔หน้าบันพระวิหารเป็นพระราชลัญจกรรัชกาลที่ ๕ เมื่อทรงสถาปนาเป็นพระอารามหลวงแล้วได้เปลี่ยนชื่อวัดว่าวัดมหาพฤฒาราม สถานะและที่ตั้ง วัดมหาพฤฒาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ เลขที่ ๕๑๗แขวงมหาพฤฒารามเขตบางรักกรุงเทพมหานครมีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่๑๔ไร่

วัดมหาพฤฒาราม

Page 5: สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ ......พระมหาพ ช ยมงก ฎอ ณห สวาลว ชน ฉลองพระบาท

165 พระอารามหลวง เล่ม ๑

สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนอยู่ระหว่างพระวิหารและวิหารพระพุทธไสยาสน์หลังคามุงกระเบื้องประดับช่อฟ้าใบระกาหางหงส์หน้าบันทั้งสองด้านเป็นลายปูนปั้นลงรักปิดทองประดับกระจก เป็นภาพพระมหามงกุฎ ประดิษฐานเหนือพานแว่นฟ้าภายในบุษบก ซึ่งอยู่ เหนือหลังช้างไอยราพต๓เศียรสองข้างประดับด้วยฉัตร๗ชั้นแวดล้อมด้วยลายกระหนกเปลว จำลองจากพระราชลัญจกร ประจำพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งโปรดให้ปฏิสังขรณ์วัดนี้ผนังภายในมีภาพจิตรกรรมสมัยรัชกาลที่๔แบ่งเป็น๒ ตอน ตอนบนเหนือหน้าต่างขึ้นไปมีภาพประวัติสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ตอนล่างระหว่างช่องประตูกับหน้าต่างมีภาพพระธุดงค์ จิตรกรรมฝาผนังเหล่านี้มีจารึกแผ่นหินอ่อนอธิบายติดไว้ด้านล่าง

พระประธานในพระอุโบสถเป็นพระพุทธรูปปูนปั้น ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๑.๗๕ เมตรสูง๒.๓๗เมตรมีพระอัครสาวกซ้ายขวา พระวิหาร เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนลักษณะคล้ายกับพระอุโบสถ หน้าบันมีลายปูนปั้นลายกระหนกเปลว ปลายกระหนกเป็นศีรษะสัตว์หิมพานต์ ตรงกลางเป็นรูปบุษบกตรีมุข ภายในมีจุลมงกุฎประดิษฐานอยู่เหนือพานแว่นฟ้า สองข้างพานประดับด้วยฉัตร ๕ ชั้น ลายจุลมงกุฎ จำลองจากพระราชลัญจกรในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซุ้มประตูหน้าต่างเป็นซุ้มแบบเรือนแก้ว บานประตูหน้าต่างเขียนลายรดน้ำรูปเทพพนม ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยสมัยกรุงสุโขทัยหน้าตักกว้าง๓เมตรสูง๔.๑๐เมตรมีพระอัครสาวกซ้ายขวา

Page 6: สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ ......พระมหาพ ช ยมงก ฎอ ณห สวาลว ชน ฉลองพระบาท

166 พระอารามหลวง เล่ม ๑

พระวิหารพระพุทธไสยาสน์ หรือพระวิหาร พระนอน อยู่ทิศใต้ของพระอุโบสถ มีกำแพงแก้วคั่นกลางประดิษฐาน พระพุทธไสยาสน์ พระปรางค์ ๔ องค์ อยู่ระหว่างพระอุโบสถและพระวิหาร พระเจดีย์ ๓ องค์ ลักษณะก่ออิฐถือปูนสร้างสมัยรัชกาลที่๔ ปัจจุบันพระเทพวิสุทธิเวที (วิจิตรอาสโภ)เป็นเจ้าอาวาส

Page 7: สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ ......พระมหาพ ช ยมงก ฎอ ณห สวาลว ชน ฉลองพระบาท

167 พระอารามหลวง เล่ม ๑

ประวัติความเป็นมา วัดหัวลำโพง สร้างสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เดิมชื่อวัดหัวลำพอง ในปีพุทธศักราช ๒๓๑๐กรุงศรีอยุธยาถูกพม่าเผาผลาญบ้านเมือง วัดวาอาราม จนในที่สุดได้เสียกรุงทำให้ประชาชนเสียขวัญและได้รับความเดือดร้อน บางพวกไม่สามารถที่จะอาศัยอยู่ถิ่นเดิมต่อไปได้ จึงพากันอพยพครอบครัวลงมาทางใต้ตั้งถิ่นฐานที่บริเวณหมู่บ้านทุ่งวัวลำพองต่อมาได้ร่วมกันสร้างวัดขึ้นชื่อว่าวัดวัวลำพอง ปีพุทธศักราช ๒๔๓๓ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นยุคทองของการพัฒนาประเทศในระบบใหม่ พระองค์ทรงสร้างทางรถไฟขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย คือ จากสถานีกรุงเทพฯขึ้นไปบริเวณนอกเมืองใกล้กับคูเมืองชั้นนอกคือคลองผดุงกรุงเกษมพระราชทานนามว่าสถานีหัวลำโพง ซึ่งอยู่ห่างจากวัดวัวลำพองประมาณ๒กิโลเมตรครั้นถึงฤดูทอดพระกฐินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระกฐินวันเดียวกันถึง ๓ วัด ตามลำดับ ดังนี้ คือ วัดสามจีน (วัดไตรมิตรวิทยาราม)วัดตะเคียน(วัดมหาพฤฒาราม)และวัดวัวลำพอง(วัดหัวลำโพง) ในการเสด็จพระราชดำเนินทอดผ้าพระกฐิน โปรดพระราชทานนามใหม่ว่า วัดหัวลำโพง และโปรดพระราชทานแต่งตั้งสมณศักดิ์เจ้าอาวาสคือ พระอาจารย์สิงห์ ซึ่งเป็นพระวิปัสสนาธุระที่มีชื่อเสียงเป็นพระครูสัญญาบัตรที่พระครูญาณมุนี นับแต่นั้นมาด้วยเดชานุภาพแห่งพระมหากษัตริย์ ไทยอันมีพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระองค์ทรงวางรากฐานความเป็นมิ่งมงคล และทรงประกอบคุณงามความดีตามหลักพรหมวิหารให้เป็นที่ประจักษ์แก่คณะสงฆ์และอุบาสกอุบาสิกา จึงได้ร่วมกันทำนุบำรุงพระบวรพระพุทธศาสนา สร้างถาวรวัตถุให้เจริญยิ่งขึ้นเพื่อเป็นการสนองพระมหากรุณาธิคุณพระองค์ท่านวัดหัวลำโพงอันเป็นพระนามพระราชทานเป็นนามมิ่งมงคลก็ประสบความเจริญรุ่งเรืองมาโดยตลอด ได้รับการยกฐานะเป็นพระอารามหลวง เมื่อปีพุทธศักราช๒๕๔๕

วัดหัวลำโพง

Page 8: สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ ......พระมหาพ ช ยมงก ฎอ ณห สวาลว ชน ฉลองพระบาท

168 พระอารามหลวง เล่ม ๑

สถานะและที่ตั้ง วัดหัวลำโพง เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งอยู่เลขที่ ๗๓๘ ถนนพระราม ๔แขวงสี่พระยาเขตบางรักกรุงเทพมหานครมีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่๒๒ไร่๒งาน๔ตารางวา สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กลักษณะทรงไทยจตุรมุข ๓ ชั้น หลังคามุงด้วยกระเบื้องเคลือบสี ตรงกลางมียอดมณฑป ประกอบด้วยฉัตรฐานมณฑปมีครุฑทรงสุบรรณทั้ง ๔ ด้าน ประดับช่อฟ้า ใบระกาเป็นพญานาคสามเศียร หน้าบันมีลายประดิษฐานตราสัญลักษณ์งานฉลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี เหนือครุฑทั้ง๔ด้านประตูและหน้าต่างมีซุ้มยอดมณฑปครึ่งซีกติดลายปูนปั้นลงรักปิดทองประดับกระจกสีบานประตูและหน้าต่างด้านในและด้านนอกประดับมุกลวดลาย มีจิตรกรรมฝาผนัง

๔ด้านรอบพระอุโบสถด้านนอก มี เชิงชายหลังคาประดับลวดลายมีทวยเทพพนม และหัวเสาปูนลงรักปิดทอง ประดับกระจกสี ระเบียงด้านนอกพระอุโบสถมีทางเดินปูด้วยหินอ่อนและหินแกรนิต พระประธาน ในพระอุโบสถเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ พระนามว่า พระพุทธมงคล ลงรักปิดทองเหนือพระเกศ ประกอบด้วยฉัตรโคมไฟ ๗ ชั้น ประทับอยู่บนฐานชุกชี ๒ ชั้น ชั้นแรกเป็นฐานหินอ่อน ชั้นบนเป็นฐานปูนปั้นลงรักปิดทอง ประดับกระจกสีบนฐานชั้นแรกเป็นที่ประดิษฐานพระอัครสาวกสององค์บนฐานหินอ่อนแกะบัวหงาย เบื้องซ้ายพระโมคคัลลานะ เบื้องขวาพระสารีบุตร ใต้ฐานชุกชีบรรจุพระพุทธรูปปางต่าง ๆ พระผงพุทธคุณ เหรียญพระคณาจารย์ต่างๆ

Page 9: สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ ......พระมหาพ ช ยมงก ฎอ ณห สวาลว ชน ฉลองพระบาท

169 พระอารามหลวง เล่ม ๑

พระวิหาร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ลักษณะทรงไทยสูง ๒๑ ชั้น พื้นและฝาผนังปูด้วยหินอ่อนและหินแกรนิต ชั้นบนเป็นตัวพระวิหารชั้นล่างเป็นอาคารอเนกประสงค์

พระเจดีย์ ลักษณะทรงกลม สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์อยู่หลังพระอุโบสถ มีบันไดขึ้นชั้นทำประทักษิณ ได้บูรณปฏิสังขรณ์ด้ วยการสร้ างครอบองค์ เดิมส ร้ า ง เ ป็ น ห้ อ ง โ ถ ง สี่ เ ห ลี่ ย มพื้ นและฝาผนังปูด้ วยหินอ่อนและหินแกรนิต มีพระเจดีย์ทรงกลม ประดิษฐานบนห้องโถงสี่ เหลี่ยมทอง มีแนวระเบียงเดียวกันกับพระอุโบสถ

หลวงพ่อดำ ปางประทับยืน ยกพระหัตถ์ทั้งสองข้างเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่อง สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เนื้อสัมฤทธิ์ลงรักปิดทอง

ระเบียงแก้ว เป็นกำแพงหินอ่อนโปร่ง ประดับหัวเสาเป็นหัวเม็ดทรงมณฑปหินอ่อนตั้ ง เป็นแนวระเบียงรอบพระอุโบสถ มีซุ้มทรงไทย ๓ ซุ้มแขวนระฆังไว้จำนวน๑๐๘รูป ปัจจุบัน พระเทพวิริยาภรณ์ (นรินทร์ นรินฺ โท) เป็นเจ้าอาวาส

Page 10: สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ ......พระมหาพ ช ยมงก ฎอ ณห สวาลว ชน ฉลองพระบาท

170 พระอารามหลวง เล่ม ๑

ประวัติความเป็นมา วัดยานนาวา เป็นวัดโบราณ สร้างตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเดิมนามว่า วัดคอกควาย ไม่ปรากฏนามผู้สร้าง ในสมัยกรุงธนบุรีเป็นพระอารามหลวงเรียกในทางราชการว่าวัดคอกกระบือ สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสร้างพระอุโบสถ ต่อมาได้รับการปฏิสังขรณ์ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้ทรงสร้างสำเภาแทนพระสถูปเจดีย์ทั่วๆไปเป็นสำเภาจีนมีพระเจดีย์๒องค์อยู่บนเรือเมื่อสร้างสำเภาพระเจดีย์แล้ว จึงโปรดพระราชทานนามพระอารามใหม่ว่า วัดยานนาวา พระเจดีย์ทั้ง ๒ องค์ ที่อยู่บนพระสำเภามีความงามและเป็นเอกลักษณ์ยิ่ง เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาเห็นรูปแบบเรือสำเภาสถานะและที่ตั้ง วัดยานนาวา เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งอยู่เลขที่ ๑๖๔๘ ถนนเจริญกรุงแขวงยานนาวาเขตสาทรกรุงเทพมหานครมีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่๒๓ไร่๒ตารางวา

วัดยานนาวา

Page 11: สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ ......พระมหาพ ช ยมงก ฎอ ณห สวาลว ชน ฉลองพระบาท

171 พระอารามหลวง เล่ม ๑

สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ลักษณะก่ออิฐถือปูน เครื่องบนเป็นไม้ ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้เขียนภาพจิตรกรรมรูปกระทงใหญ่ตามแบบซึ่งทำในพระราชพิธีลอยพระประทีปที่หลังบานประตูพระอุโบสถ และเขียนรูปโถยาคูตามแบบอย่างซึ่งทำเลี้ยงพระในพระราชพิธีสารท ในรัชสมัยของพระองค์ ภายในมีพระพุทธรูปปูนปั้น๔องค์เป็นพระประธาน๑องค์ปางสมาธิ๑องค์และปางมารวิชัย๑องค์ พระประธาน ในพระอุโบสถเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิหน้าตักกว้าง๓ศอก๘นิ้วสูง๔ศอก๑๐นิ้ว

สำเภาเจดีย์ สร้างในรัชกาลที่ ๓มูลเหตุการสร้าง เพราะทรงพยากรณ์ว่าเรือสำเภาจะสูญไป จึงโปรดเกล้าให้สร้างขึ้นโดยสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก มีพระเจดีย์ ๒ องค์ แทนที่เสากระโดงเรือ องค์ใหญ่ย่อมุมไม้ ๒๕ ส่วนองค์เล็กมีฐานย่อมุมไม้ ๑๖ ลักษณะคล้ายพระเจดีย์วัดพระเชตุพน และมีรูปพระเวสสันดรกับรูปกัณหาชาลีหล่อประดิษฐานไว้ที่ห้องบาหลี มีศิลาจารึกภาษาไทย

๑แผ่นภาษาจีน๑แผ่นและมีพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวอยู่บริเวณด้านหน้า อาคารมหาเจษฎาบดินทร์ เป็นอาคารอเนกประสงค์ วางรูปแบบเป็นอาคารที่ ใช้สอยประโยชน์ร่วมในตัวอาคาร เช่น ใช้เป็นเมรุ ศาลาบำเพ็ญกุศล ศาลาการเปรียญและหอประชุม โดยมีสัณฐานเป็นอาคารทรงไทยประดับยอดปราสาท๕ยอดหลังคามุงด้วยกระเบื้องกามู๓สี

หอพระไตรปิฎก เป็นอาคาร ๓ ชั้น มีสัณฐานเป็นอาคารทรงไทยประดับยอดปราสาท๓ยอดใช้เก็บรวบรวมตู้พระไตรปิฎก ปัจจุบัน พระพรหมวชิรญาณ (ประสิทธิ์ เขมงฺกโร) เป็นเจ้าอาวาส

Page 12: สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ ......พระมหาพ ช ยมงก ฎอ ณห สวาลว ชน ฉลองพระบาท

172 พระอารามหลวง เล่ม ๑

ประวัติความเป็นมา วัดราชสิงขร เป็นวัดโบราณ สร้างสมัยกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ(พุทธศักราช๒๒๗๕–๒๓๐๑) ในสมัยรัชกาลที่ ๑ สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทโปรดให้ช่างหลวงวังหน้าสร้างพระอุโบสถ มีหลักฐานที่ปรากฏคือใบเสมาหินชนวนที่ฝังไว้กับผนังด้านนอกพระอุโบสถ ซึ่งมีลักษณะเดียวกันกับวัดชนะสงครามและวัดมหาธาตุ อันเป็นพระอารามที่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่า สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาททรงเป็นผู้ปฏิสังขรณ์ ลักษณะของการใช้ ใบเสมานั้นฝังติดกับผนังพระอุโบสถทั้ง ๘ ทิศ เป็นพุทธศิลปะที่สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาททรงโปรดปรานเป็นการเฉพาะ นอกจากนั้นปรากฏหลักฐาน พระวิหารสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทโปรดให้สร้างไปพร้อม ๆ กันกับการสร้างพระอุโบสถเพื่อประดิษฐานหลวงพ่อแดงสถานะและที่ตั้ง วัดราชสิงขร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งอยู่เลขที่ ๒๑๑๔ ถนนเจริญกรุง ๗๔แขวงวัดพระยาไกรเขตบางคอแหลมกรุงเทพมหานครมีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่๑๑ไร่๑งาน๙๘ตารางวา

วัดราชสิงขร

Page 13: สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ ......พระมหาพ ช ยมงก ฎอ ณห สวาลว ชน ฉลองพระบาท

173 พระอารามหลวง เล่ม ๑

สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถและพระวิหาร จากการบันทึกเล่าของวัดว่า เมื่อปีพุทธศักราช ๒๓๗๔ พระองค์เจ้าหญิงพิกุลทอง และพระองค์เจ้าหญิงเกสรพระธิดาในสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทได้ทรงทำนุบำรุงและบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ โดยได้รับการสนับสนุนจากขุนนางข้าราชการ ตลอดจนพ่อค้า ประชาชน ตามหลักฐานศิลาจารึกที่พบอยู่บนหน้าพระอุโบสถและพระวิหาร

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว(พ.ศ. ๒๓๖๗-๒๓๙๔) โปรดทำเป็นแบบศิลปะราชนิยม ในสมัยซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ และได้นิยมสร้างกันในช่วงยุครัชกาลที่ ๓ เท่านั้นกล่าวคือมีการเปลี่ยนแปลงเครื่องบนของพระอุโบสถและพระวิหาร เช่น ส่วนหลังคาได้ถอดเครื่องประดับที่จะเกิดความเสียหายได้ง่ายออกไป และหันมาใช้

วัสดุที่คงทนยิ่งขึ้น เช่น ลดช่อฟ้า ใบระกาลง เปลี่ยนเป็นการก่ออิฐถือปูน หน้าบันประดับด้วยตุ๊กตาสิงห์จาน ชาม และกระเบื้องเคลือบลายจีน ลายทับทิม ซุ้มประตูและหน้าต่างลายปูนปั้นลงรักปิดทอง รูปลายดอกไม้อย่างจีนซึ่งได้นำเข้าจากประเทศจีน ปัจจุบันยังมีพอเหลืออยู่บ้าง บางส่วนได้เก็บรักษาไว้เป็นตัวอย่างให้ผู้สนใจได้ศึกษาต่อไป ในส่วนของพระอุโบสถ ถึงแม้ว่าจะได้บูรณปฏิสังขรณ์ให้เห็นเป็นแบบศิลปะราชนิยม ในสมัยรัชกาลที่๓แล้วก็ตามแต่ก็ยังคงฝังใบเสมาติดกับผนังด้านนอกของตัวพระอุโบสถอยู่เช่นเดิมจนถึงปัจจุบันนี้ก็ ไม่ปรากฏให้เห็นได้ เพราะในการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งหลังสุดนี้ ได้ โบกฉาบปูนทับไว้ ให้เหมือนเดิมทุกประการ แต่ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ถ้าหากไม่พูดถึงคงไม่มีใครทราบได้ว่า ใบเสมาพระอุโบสถวัดราชสิงขรอยู่ ณ ที่ใด หลังไหนเป็นพระอุโบสถหรือพระวิหาร เพราะขนาดและรูปลักษณะของทรวดทรงสูงต่ำเท่ากันและตั้งอยู่ในตำแหน่งคู่ขนานที่ใกล้เคียงกัน ห่างกันแค่ประมาณ ๑๖ เมตร อีกด้วย ดังนั้น จึงไม่ปรากฎให้เห็นใบเสมาตั้งรายรอบพระอุโบสถเหมือนอย่างวัดอื่นๆที่มีพระอุโบสถศิลปะแบบเดียวกันนี้

Page 14: สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ ......พระมหาพ ช ยมงก ฎอ ณห สวาลว ชน ฉลองพระบาท

174 พระอารามหลวง เล่ม ๑

พระประธาน ในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยศิลปะสมัยอู่ทอง พระวิหาร สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทโปรดให้สร้างพระวิหารไปพร้อมกันกับการสร้างพระอุโบสถ สร้างขึ้นเป็นแบบดั้งเดิม เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคามุงกระเบื้องประดับช่อฟ้า ใบระกา หน้าบันเป็นไม้ ภายในประดิษฐานหลวงพ่อแดง และต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๔๖๔ ในสมัยรัชกาลที่ ๖ได้มีการบูรณะในส่วนหลังคาพระวิหารแต่ไม่ปรากฏชื่อของผู้บูรณะ ในปีพุทธศักราช ๒๔๗๐ สมัยรัชกาลที่ ๗ ได้มีการบูรณะส่วนล่างของพระวิหาร มีหลักฐานเป็นแผ่นศิลาจารึกรายชื่อและปีที่บูรณปฏิสังขรณ์ ฝังติดอยู่ที่ผนังด้านนอกระหว่างประตูทั้งสองด้านของพระวิหาร สถูปพระเจดีย์ พระองค์เจ้าหญิงพิกุลทอง และพระองค์เจ้าหญิงเกสร ได้สร้างสถูปพระเจดีย์๒องค์ประดิษฐานอยู่ทางมุมขวาและซ้ายด้านหลังพระอุโบสถและพระวิหาร

หลวงพ่อแดง เป็นพระพุทธรูปเนื้อสำริด ปางมารวิชัยศิลปะแบบอยุธยาที่มีอิทธิพลของศิลปะสุโขทัย ได้อัญเชิญมาจากกรุงศรีอยุธยา ทางแม่น้ำเจ้าพระยา ในระยะเวลาก่อนที่จะเสียกรุงขณะที่ล่องมาใกล้จะถึงวัดราชสิงขรด้วยกระแสน้ำไหลเชี่ยวเพราะเป็นฤดูน้ำหลาก จึงทำให้การควบคุมแพเป็นไปอย่างยากลำบาก แพได้เสียหลักและแตกหักพัง ทำให้หลวงพ่อแดงจมลงในน้ำ ณ ที่ฝั่งตรงกันข้าม กับวัดราชสิงขรพอดีณ ครั้งนั้นผู้คนชาวฝั่งธนบุรีได้ลือและแตกตื่น แม้จะได้ประกอบพิธีอัญเชิญหลวงพ่อแดงโดยประการใด ๆ ก็ตามไม่สามารถนำหลวงพ่อแดง ขึ้นจากน้ำได้ ต่อมาจะด้วยสิ่งดลใจหรือปาฏิหาริย์ผู้คนฝั่งวัดราชสิงขร (กรุงเทพ) ทราบข่าวเหตุการณ์จึงได้ ไปขอเจรจาขออัญเชิญหลวงพ่อแดง มาประดิษฐานไว้ ณ วัดราชสิงขรเป็นที่สำเร็จตามคำขออัญเชิญในฤดูน้ำลด

เหตุขนานนามว่า หลวงพ่อแดง เนื่องจากได้อัญเชิญขึ้นฝั่งวัดราชสิงขรเป็นผลสำเร็จแล้วได้ประดิษฐานอยู่กลางแจ้งและได้ทำความสะอาดชำระคราบโคลนตมและตะไคร่น้ำออกแล้ว ปรากฏว่าเกิดเป็นสีสนิมแดงจับทั่วทั้งองค์พระอย่างเห็นได้ชัด ชาวบ้านฝั่งวัดราชสิงขรจึงได้พากันนิยมขนานนามว่าหลวงพ่อแดงสืบต่อกันมาตราบทุกวันนี้ ปัจจุบันพระปริยัติธรรมสุนทร(ชวลิตสีลเตโช)เป็นเจ้าอาวาส

Page 15: สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ ......พระมหาพ ช ยมงก ฎอ ณห สวาลว ชน ฉลองพระบาท

175 พระอารามหลวง เล่ม ๑

ประวัติความเป็นมา วัดวชิรธรรมสาธิต เดิมชื่อว่า วัดทุ่งสาธิต สร้างโดยนายวันดี คฤหบดี เชื้อชาติลาว อยู่กลางทุ่งระหว่างคลองเคล็ดกับคลองบ้านหลาย ชาวบ้านเรียกว่า วัดทุ่ง หรือวัดกลางทุ่ง เป็นศูนย์กลางของชุมชนและเจริญรุ่งเรืองอยู่ราว ๕๐ ปีก็เสื่อมลงเพราะขาดการอุปถัมภ์ และกลายเป็นวัดร้างวัดทุ่งเป็นวัดร้างอยู่นานถึง ๖๐ ปีเศษ ได้รับการยกวัดร้างขึ้นเป็นวัดที่มีพระสงฆ์ เมื่อวันที่ ๒ ธันวาคมพุทธศักราช๒๕๐๖ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินยกช่อฟ้าพระอุโบสถและยอดฉัตรพระเจดีย์จุฬามณีศรีลานนา และทั้งสองพระองค์เสด็จพระราชดำเนินผูกพัทธสีมาพระอุโบสถ เมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช๒๕๐๘พระราชทานนามว่า วัดวชิรธรรมสาธิตโปรดให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ รับวัดไว้ในพระอุปถัมภ์ เมื่อวันที่ ๙ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๐๘ต่อมาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ได้เสด็จไปทรงวางศิลาฤกษ์โรงเรียนพระปริยัติธรรม และทรงยกยอดฉัตรสังเวคเจดีย์และทรงวางศิลาฤกษ์พุทธวิหารสถานะและที่ตั้ง วัดวชิรธรรมสาธิต เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ ๑๑๙๙ แขวงบางจากเขตพระโขนงกรุงเทพมหานครมีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่๓๐ไร่

วัดวชิรธรรมสาธิต

Page 16: สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ ......พระมหาพ ช ยมงก ฎอ ณห สวาลว ชน ฉลองพระบาท

176 พระอารามหลวง เล่ม ๑

สิ่งสำคัญในพระอารามหลวง พระอุโบสถ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ลักษณะทรงไทย สถาปัตยกรรมล้านนา หลังคาลด ๓ ชั้น ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ พื้นปูด้วยไม้สัก มุขหน้าและมุขหลังพื้นปูด้วยหินอ่อนประตูหน้าต่างทำด้วยไม้สักแกะสลัก ฝาผนังมีรูปมหาเวสสันดรชาดก และภาพพระพุทธเจ้าแสดงพระยมกปาฏิหาริย์ภายในมีแท่นพระปรางค์๓องค์ พระประธานในพระอุโบสถเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยสมัยสุโขทัย พระวิหาร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กลักษณะทรงไทย สถาปัตยกรรมล้านนา หลังคามุงกระเบื้องประดับช่อฟ้าใบระกาหางหงส์หน้าบันประดับลายปูนปั้น พื้นปูด้วยไม้สัก ประตูหน้าต่างทำด้วยไม้สักแกะสลัก ผนังภายในประดับด้วยลายดอกปูน ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยศิลปะสมัยสุโขทัย พระนามว่า พระพุทธมหามุนี ศรีหริภุญชัย พร ะมห า เ จ ดี ย์ จุ ฬ า มณี ศ รี ล้ า น น าจำลองแบบมาจากพระเจดีย์วัดพระธาตุหริภุญชัยจังหวัดลำพูนกว้าง๒๕ศอกสูง๔๙ศอกภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ๒๕องค์

สังเวคเจดีย์ จำลองมาจากพระเจดีย์พุทธคยาประเทศอินเดียกว้าง๗.๕เมตรสูง๔๙เมตรชั้นบนบรรจุดินสังเวชนียสถาน ๔ ตำบล พร้อมรัตนปราการและพระบรม สารีริกธาตุ ชั้นล่างประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลอง ปัจจุบัน พระราชวชิรโสภณ (ข่าย อาคโม) เป็นเจ้าอาวาส

Page 17: สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ ......พระมหาพ ช ยมงก ฎอ ณห สวาลว ชน ฉลองพระบาท

177 พระอารามหลวง เล่ม ๑

ประวัติความเป็นมา วัดบางนาใน เดิมเรียกว่า วัดสว่างอารมณ์ อยู่ตำบลบางนา อำเภอพระโขนง จังหวัดนครเขื่อนขันธ์หรือจังหวัดสมุทรปราการในปัจจุบันนี้ หลังปีรัตนโกสินทร์ศก ๑๒๐-๑๒๒ ทางการได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการบริหารส่วนท้องถิ่นใหม่วัดสว่างอารมณ์ได้มาขึ้นกับอำเภอพระโขนง จังหวัดพระนคร และชื่อวัดได้ถูกเปลี่ยนจากวัดสว่างอารมณ์เป็นวัดบางนาใน ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาเพื่อให้เหมาะสมกับท้องถิ่นตำบลบางนา จากคำบอกเล่าว่าในตำบลบางนามีวัดอยู่ ๒ วัด คือ วัดปากคลองบางนาและวัดสว่างอารมณ์ ชาวบ้านมักจะเรียกกันจนติดปากและเพื่อความเหมะสมกับท้องถิ่นดังกล่าว จึงเรียกวัดปากคลองบางนา ว่า วัดบางนานอกและเรียก วัดสว่างอารมณ์ ซึ่งอยู่ในคลองบางนาและอยู่กลางท้องนาว่า วัดบางนาใน ได้รับยกฐานะเป็นพระอารามหลวงเมื่อปีพุทธศักราช๒๕๓๙สถานะและที่ตั้ง วัดบางนาใน เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งอยู่เลขที่ ๓๓๒๒ ถนนสรรพาวุธแขวงบางนาเขตพระโขนงกรุงเทพมหานครมีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่๘ไร่๔๐ตารางวา

วัดบางนาใน

Page 18: สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ ......พระมหาพ ช ยมงก ฎอ ณห สวาลว ชน ฉลองพระบาท

178 พระอารามหลวง เล่ม ๑

สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคาทรงไทย มุงกระเบื้องเคลือบ ประดับช่อฟ้าใบระกา หางหงส์ หน้าบันปูนปั้นปิดทองร่องกระจกสี มีเสาหารโดยรอบ ภายในมีจิตรกรรมฝาผนัง พื้นปูหินอ่อน ซุ้มประตูหน้าต่างปูนปั้น ลงรักปิดทองร่องกระจก บานประตู-หน้าต่างจำหลักลวดลายพุ่มข้าวบิณฑ์และเปลวไฟลงรักปิดทองเพดานมีดาวปิดทองร่องกระจก พระประธานในพระอุโบสถเป็นพระพุทธชินราชจำลองขนาดหน้าตักกว้าง๘๐นิ้ว พระวิหาร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ลักษณะทรงจตุรมุข หลังคาทรงไทย มุงกระเบื้องดินเผาเคลือบประดับช่อฟ้าใบระกาพื้นปูหินอ่อนภายในประดิษฐานพระพุทธรูปโสธรจำลอง

พระเจดีย์ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กพื้นปูด้วยหินแกรนิตทั้งองค์ ผนังภายนอกประดับด้วยโมเสดสีทอง ผนังภายในมีจิตรกรรม ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดหน้าตักกว้าง๘๐นิ้ว

พระมณฑป เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กลักษณะทรงจตุรมุข หลังคามุงกระเบื้องเคลือบแบบเกล็ดปลา หอระฆัง เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก

๒ชั้นลักษณะทรงจตุรมุขหลังคาทรงไทย๔มุขมุงกระเบื้องเคลือบ ศาลาการเปรียญ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ๒ ชั้น หลังคาทรงไทย มุงกระเบื้องเคลือบประดับช่อฟ้า ใบระกา ชั้นล่างหินขัด ใช้เป็นศาลาบำเพ็ญกุศล พื้นชั้นบนปูไม้เนื้อแข็ง ใช้ประกอบพิธีทางศาสนา ปัจจุบันพระพิพัฒน์ปริยัติวิมล (ช้วนชวนปญฺโ )เป็นเจ้าอาวาส

Page 19: สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ ......พระมหาพ ช ยมงก ฎอ ณห สวาลว ชน ฉลองพระบาท

179 พระอารามหลวง เล่ม ๑

ประวัติความเป็นมา วัดเทพลีลา เดิมชื่อวัดตึก เป็นวัดเล็ก ๆ อยู่ริมคลองแสนแสบ เจ้าพระยาบดินทรเดชา(สิงห์สิงหเสนี)หลังจากเสร็จศึกสงครามแล้วได้กลับมาสร้างวัดนี้ขึ้น ในปีพุทธศักราช ๒๓๗๖ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา(สิงห์สิงหเสนี)เป็นแม่ทัพไปปราบญวนและเขมรเมื่อเดินทัพมาจากกรุงเทพฯและได้พักอยู่ที่ริมคลองแสนแสบ(ที่ตั้งวัดเทพลีลา)แม่ทัพนายกองและพลทหารได้ลงอาบน้ำในลำคลองมีทหารนายหนึ่งพบพระพุทธรูปยืนปางลีลาศิลปะสมัยสุโขทัยสูง๑.๒๐เมตรจึงได้นำไปมอบให้ท่านเจ้าพระยาบดินทรเดชาท่านได้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้ที่ริมฝั่งคลองแสนแสบใต้ต้นไม้ เนื่องจากในวันรุ่งขึ้นจะต้องเคลื่อนทัพต่อไป ภายหลังสร้างวัดแล้วได้อัญเชิญพระพุทธรูปปางลีลาที่ประดิษฐานที่ริมคลองแสนแสบองค์นั้นมาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถและตั้งชื่อวัดว่าวัดเทพลีลาสถานะและที่ตั้ง วัดเทพลีลา เป็นพระอารามชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งอยู่เลขที่ ๔๗ ถนนรามคำแหง ซอยรามคำแหง ๓๙แขวงหัวหมากเขตบางกะปิกรุงเทพมหานครมีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่๔๕ไร่๘๐ตารางวา

วัดเทพลีลา

Page 20: สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ ......พระมหาพ ช ยมงก ฎอ ณห สวาลว ชน ฉลองพระบาท

180 พระอารามหลวง เล่ม ๑

สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กลักษณะทรงไทย ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์หน้าบันปูนปั้นรูปเทพพนม แวดล้อมด้วยลายกระหนกซุ้มประตูหน้าต่างลายปูนปั้น พระประธาน ในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัย

พระวิหารหลวงพ่อโสธร และหลวงพ่อวัดปากน้ำ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ลักษณะทรงไทย ประดับช่อฟ้า ใบระกาหางหงส์หน้าบันลายปูนปั้นพระนารายณ์ทรงครุฑ

หอสมุดกาญจนา ภิเษก เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ๒ ชั้น ลักษณะทรงไทย ประดับช่อฟ้าใบระกาหางหงส์

หอระฆัง เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ๒ ชั้น ชั้นบนแขวนระฆังชั้นล่างแขวนกลอง ปัจจุบัน พระพิพัฒนปริยัติสุนทร (ประสาร เตชสีโล)เป็นเจ้าอาวาส

Page 21: สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ ......พระมหาพ ช ยมงก ฎอ ณห สวาลว ชน ฉลองพระบาท

181 พระอารามหลวง เล่ม ๑

ประวัติความเป็นมา วัดหลักสี่ สร้างโดยชาวรามัญที่อพยพมาจากเมืองหงสาวดี มีพระอาจารย์เริ่มเป็นผู้นำในการก่อสร้างพระอุโบสถ พระเจดีย์ ตั้งชื่อว่า วัดราษฎร์ศรัทธาธรรม ต่อมาพระขาว เขมาราโม เป็นเจ้าอาวาสได้สร้างศาลาการเปรียญ มณฑปสถูปเจดีย์ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลอง และได้มีการขุดคลองเปรมประชาตัดผ่านเนื้อที่วัด จึงยกที่ดินส่วนหนึ่งให้เป็นพื้นที่คลอง คณะกรรมการเมืองได้สร้างศาลาท่าน้ำให้๓หลังทำทางและสร้างเสาหงส์รอบบริเวณสนามวัด รัชกาลที่ ๕ ได้เสด็จเป็นประธานเปิดคลองเปรมประชาทางชลมารคและเสด็จนมัสการพระขาวเขมาราโมเจ้าอาวาสต่อมาทางราชการได้ตัดทางรถไฟตัดผ่านทางทิศตะวันออกของวัดชื่อของวัดจึงต่อท้ายว่าสถานีรถไฟหลักสี่ สมัยรัชกาลที่ ๗ ราชการได้ตั้งอำเภอบางเขน และเปลี่ยนแนวเขตจังหวัดใหม่ ทำให้วัดขึ้นอยู่กับกรุงเทพมหานคร ราษฎรนิยมเรียกว่า วัดหลักสี่ ตามชื่อสถานีรถไฟหลักสี่ ต่อมาได้เกิดการกบฎและเกิดสงครามมหาบูรพา วัดได้รับความเสียหายมาก เมื่อเสร็จสงคราม ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์ใหม่และได้รับยกฐานะเป็นพระอารามหลวงเมื่อปีพุทธศักราช๒๕๓๙สถานะและที่ตั้ง วัดหลักสี่ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งอยู่ เลขที่ ๑๐๐ ถนนวิภาวดีรังสิตแขวงตลาดบางเขนเขตหลักสี่กรุงเทพมหานครมีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่๑๖ไร่๒งาน๕๐ตารางวา

วัดหลักสี ่

Page 22: สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ ......พระมหาพ ช ยมงก ฎอ ณห สวาลว ชน ฉลองพระบาท

182 พระอารามหลวง เล่ม ๑

สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กหลังคาลด๓ชั้นมุงกระเบื้องประดับช่อฟ้าใบระกาหางหงส์หน้าบัน ซุ้มประตูและหน้าต่างปูนปั้นลายไทย บานประตูและหน้าต่างไม้สักแกะสลักลงรักปิดทองประดับกระจกผนังภายในมีภาพจิตรกรรมทั้ง๔ด้านสร้างเมื่อปีพุทธศักราช๒๕๒๑

พระประธาน ในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยศิลปะสมัยเชียงแสนขนาดหน้าตักกว้าง๖๙นิ้วประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชี พระวิหารหลวงปู่ขาว เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ทรงจตุรมุขหลังคามุงกระเบื้องประดับช่อฟ้า ใบระกาหางหงส์หน้าบันประดับลายปูนปั้นสร้างปีพุทธศักราช ๒๕๒๗ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางนาคปรกหลวงปู่ทวดพระสังกัจจายน์และรูปเหมือนหลวงปู่ขาวเขมาราโม พระเจดีย์ องค์ประธานลักษณะก่ออิฐถือปูน ทรงมอญ สร้างครอบพระเจดีย์องค์เล็กภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ พระอรหันตธาตุและวัตถุมงคลมีเจดีย์ทิศและเจดีย์รายล้อมรอบ

หอระฆัง เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคามุงกระเบื้องเคลือบสร้างเมื่อปีพุทธศักราช๒๕๑๓ พระพุทธรูปปางลีลา สร้างด้วยทองเหลือง ลงรักปิดทอง ประทับยืนบนฐานชุกชี ลายบัวคว่ำบัวหงาย ขนาดสูง ๑๙๙ เซนติเมตร ประดิษฐานหน้าพระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ๓ ชั้น หลังคามุงกระเบื้องเคลือบลักษณะทรงไทยหน้าบันปูนปั้นลายดอกพุดตาลสร้างเมื่อปีพุทธศักราช๒๕๓๙ ปัจจุบันพระครูปลัดจำนงค์ (อุคฺคจิตฺโต)รักษาการเจ้าอาวาส

Page 23: สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ ......พระมหาพ ช ยมงก ฎอ ณห สวาลว ชน ฉลองพระบาท

183 พระอารามหลวง เล่ม ๑

ประวัติความเป็นมา วัดดอนเมือง สร้างขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๓๘ โดยมีเศรษฐีผู้หนึ่งมีบรรดาศักดิ์ เป็นหมื่นอาจหาญหรือเสมียนภู่ ได้อุทิศที่ดินให้เป็นที่สร้างวัดต่อมาชาวบ้านได้เกิดความเลื่อมใสในปฏิปทาของพระอาจารย์จ๊ะ(อาจารย์อ่อน)ซึ่งเป็นชาวมอญจึงได้นิมนต์ให้อยู่ประจำและดำเนินการสร้างวัดขึ้น ต่อมาความเจริญของบ้านเมืองได้ขยายตัวมากขึ้นทำให้วัดเจริญรุ่งเรืองและได้พัฒนามาตามลำดับ วัดดอนเมืองได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๕๘ เป็นวัดที่ประกอบพิธีทางศาสนาของข้าราชการในกองทัพอากาศ และสร้างมาพร้อมกับกองทัพอากาศดอนเมืองได้รับยกฐานะเป็นพระอารามหลวงเมื่อปีพุทธศักราช๒๕๓๒สถานะและที่ตั้ง วัดดอนเมืองเป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญตั้งอยู่เลขที่๑ถนนวิภาวดีรังสิตแขวงสีกันเขตดอนเมืองกรุงเทพมหานครมีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่๓๓ไร่๓งาน๕๒ตารางวา

วัดดอนเมือง

Page 24: สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ ......พระมหาพ ช ยมงก ฎอ ณห สวาลว ชน ฉลองพระบาท

184 พระอารามหลวง เล่ม ๑

สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กลักษณะทรงไทยแบบจตุรมุข หลังคามุงกระเบื้องเคลือบ หน้าบัน ประตู และหน้าต่างประดับลายปูนปั้น บานประตูและหน้าต่างเป็นไม้แกะสลักลายกนกเปลวเพลิง ปิดทอง ผนังภายในมีจิตรกรรมภาพเล่าเรื่องพระพุทธประวัติสร้างเมื่อปีพุทธศักราช๒๕๓๒

พระประธาน ในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธสิหิงค์จำลอง พระเจ้าลูกเธอเ จ้ า ฟ้ า จุ ฬ าภ รณ์ ว ลั ย ลั ก ษณ์เสด็จเป็นประธานเททองหล่อเมื่อปีพุทธศักราช๒๕๓๖ พระวิหาร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ลักษณะทรงไทย หลังคามุงกระเบื้องเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธชินราชจำลองและพระพุทธรูปหลายองค์

สร้างเมื่อปีพุทธศักราช๒๕๒๗ พระเจดีย์ ลักษณะทรงระฆังคว่ำแปดเหลี่ยม ขนาดสูง๒๙ เมตร เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ สร้างเมื่อปีพุทธศักราช๒๕๔๑

หอพระไตรปิฎก เป็นอาคารไม้ ๒ ชั้น ลักษณะทรงไทย๓มุขหลังคามุงกระเบื้องเคลือบสี พระพุทธรูปปางมารวิชัยจีนเนี้ยวจางวาง ถวายเมื่อปีพุทธศักราช๒๔๖๙ พระพุทธรูปหล่อจำลอง รัชกาลที่ ๘ ได้พระราชทานเมื่อพุทธศักราช๒๔๗๘ หอระฆัง เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ลักษณะทรงไทยหลังคามุงกระเบื้องสร้างเมื่อปีพุทธศักราช๒๕๑๔ ปัจจุบันพระราชวิสุทธิมงคล(แคล้วสุธมฺโม)เป็นเจ้าอาวาส

Page 25: สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ ......พระมหาพ ช ยมงก ฎอ ณห สวาลว ชน ฉลองพระบาท

185 พระอารามหลวง เล่ม ๑

ประวัติความเป็นมา วัดพระศรีมหาธาตุ สร้างปีพุทธศักราช ๒๔๘๓ เพื่อเป็นที่ระลึกแห่งการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยพันเอกหลวงเสรีเริงฤทธิ์ (พลโทจรูญ รัตนกุลเสรีเริงฤทธิ์ ) กับหลวงวิจิตรวาทการ เป็นผู้อำนวยการก่อสร้างหลวงวิจิตรวาทการและพระพรหมพิจิตร เป็นผู้ออกแบบ นายช่างกรมศิลปากรและกรมรถไฟเป็นนายช่างก่อสร้าง คณะรัฐมนตรีตั้งชื่อว่า วัดประชาธิปไตย ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น วัดพระศรีมหาธาตุ เพื่อความเป็นสิริมงคล เพราะมีพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ขุดค้นพบณ มหาสถูปธรรมราชิกะ กิ่งพระศรีมหาโพธิ์จากต้นที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ ณ พุทธคยา และดินจากสังเวชนียสถาน ๔ แห่งซึ่งได้อัญเชิญจากประเทศสาธารณรัฐอินเดียมาประดิษฐาน ณ วัดนี้ได้รับยกฐานะเป็นพระอารามหลวงเมื่อปีพุทธศักราช๒๔๘๔สถานะและที่ตั้ง วัดพระศรีมหาธาตุ เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ เลขที่ ๑ ถนนพหลโยธิน แขวงอนุสาวรีย์เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร มีที่ดินตั้งวัด เนื้อที่ ๘๓ ไร่ ๑ งาน๖๐ตารางวา

วัดพระศรีมหาธาตุ

Page 26: สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ ......พระมหาพ ช ยมงก ฎอ ณห สวาลว ชน ฉลองพระบาท

186 พระอารามหลวง เล่ม ๑

สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กทรงจตุรมุข มุขด้านทิศตะวันออกเป็นทางเข้ามุขด้านทิศตะวันตกเป็นที่ประดิษฐานพระประธานมุขด้านใต้เป็นที่ตั้งอาสนสงฆ์ มุขด้านเหนือเป็นที่นั่งสำหรับสาธุชนต่อจากมุขด้านเหนือและใต้เป็นวิหารคดล้อมตัวพระอุโบสถอยู่อีกชั้นหนึ่ง พระประธาน ในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยศิลปะสุโขทัยหน้าตักกว้าง๔๒นิ้วพระนามว่าพระศรีสัมพุทธมุนี พระเจดีย์ศรีมหาธาตุ ลักษณะทรงกลมขนาดใหญ่ สูง๓๘เมตรอยู่หน้าพระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ หอระฆัง เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สร้างเมื่อปีพุทธศักราช๒๔๘๔ ปัจจุบันพระธรรมเจติยาจารย์ (บุญเรืองปุญฺ โชโต)เป็นเจ้าอาวาส

Page 27: สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ ......พระมหาพ ช ยมงก ฎอ ณห สวาลว ชน ฉลองพระบาท

187 พระอารามหลวง เล่ม ๑

ประวัติความเป็นมา วัดบุปผาราม เป็นวัดโบราณ สร้างสมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อ วัดดอกไม้ ได้ปฏิสังขรณ์ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่ ง เกล้าเจ้าอยู่หัวโดยท่านผู้หญิงจันทร์ ภรรยาเอกของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค)เนื่องจากเป็นวัดใกล้บ้าน สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์และเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค)ได้ปฏิสังขรณ์มาอย่างต่อเนื่อง ต่อมาเจ้าพระยาภานุวงศ์ (ท้วม บุนนาค) ได้ปฏิสังขรณ์และกราบทูลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งยังทรงผนวชขอคณะสงฆ์ธรรมยุตไปครองวัด แล้วถวายเป็นพระอารามหลวงพระราชทานนามว่าวัดบุปผารามสถานะและที่ตั้ง วัดบุปผาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ ๒๙๓ แขวงวัดกัลยาณ์เขตธนบุรีกรุงเทพมหานครมีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่๙ไร่

วัดบุปผาราม

Page 28: สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ ......พระมหาพ ช ยมงก ฎอ ณห สวาลว ชน ฉลองพระบาท

188 พระอารามหลวง เล่ม ๑

สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนลักษณะสถาปัตยกรรมทรงไทย หลังคาลด ๒ ชั้นมุงกระเบื้อง ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์มีเสาพาไลล้อมรอบ หน้าบันปูนปั้นเป็นรูปตราสุริยมณฑลคือ ตราราชสีห์เทียมรถ อันเป็นตราประจำตัวสมเด็จพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ถัดลงมาเป็นรูปพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ ซุ้มประตูหน้าต่างเป็นซุ้มทรงมหามงกุฎ บานประตูหน้าต่างด้านนอกเขียนลวดลายเป็นรูปเทวดาด้านในทาสีแดง

ในสงครามโลกครั้งที่ ๒ วัดบุปผารามถูกระเบิดทำลาย ทำให้พระอุโบสถชำรุด ยากแก่การซ่อมแซม ทางวัดจึงดำเนินการก่อสร้างพระอุโบสถใหม่ยังคงรักษารูปแบบของพระอุโบสถหลังเดิมไว้ พระประธาน ในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง๑.๑๕เมตรสูง๑.๗๕เมตร พระวิหาร เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนลักษณะสถาปัตยกรรมประยุกต์ไทยจีน หลังคาลด ๒ ชั้น มุงกระเบื้องมีรูปทรงแบบจีน ประดับช่อฟ้า ใบระกาหางหงส์ หัวนาค มีเสาพาไลล้อมรอบ หน้าบันเป็นปูนปั้นลายเครือดอกพุดตาน มีตรามหาสุ ริ ยมณฑลแบบไทย

(ราชสีห์ เทียมรถ) อยู่ตรงกลาง ซุ้มประตูหน้าต่างเป็นลายปูนปั้นปิดทองประดับกระจก รูปตราสุริยมณฑล แบบไทยเทิดมหามงกุฎ บานประตูหน้าต่างด้านนอกเป็นไม้สลักลาย ตรงกลางเป็น ตราสุริยมณฑลแบบฝรั่ง(ตรารูปพระอาทิตย์) บานประตูหน้าต่างด้านในเป็นภาพเขียนเครื่องโต๊ะบูชาหลายแบบ ช่องประตูหน้าต่างเขียนลายรดน้ำ มีโครงสุภาษิตโลกนิติ ผนังด้านบนเขียนภาพจิตรกรรมเล่าเรื่องทศชาติ ด้านนอกมีระเบียงล้อมรอบภายในประดิษฐานพระพุทธชินราชจำลอง และพระพุทธรูปขนาดต่างๆอีกหลายองค์

Page 29: สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ ......พระมหาพ ช ยมงก ฎอ ณห สวาลว ชน ฉลองพระบาท

189 พระอารามหลวง เล่ม ๑

พระเจดีย์ มี ๔ องค์ ลักษณะก่ออิฐถือปูนแบบทรงลังกา รูประฆังคว่ำ ๒ องค์ และแบบทรงสี่ เหลี่ยมย่อมุม ๒ องค์ ภายในประดิษฐานพระสารีริกธาตุและพระพุทธรูป ศาลาการเปรียญ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ลักษณะสถาปัตยกรรมทรงไทย หลังคามุงกระเบื้องประดับช่อฟ้าใบระกาหางหงส์ ศาลาสมเด็ จ เ จ้ าพระยาบรมมหาศรี สุริยวงศ์ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ๓ ชั้นภ าย ใ นประดิ ษ ฐ านพระพุ ท ธชิ น ร า ช จ ำลองปางมารวิชัยหน้าตักกว้าง๑เมตรสูง๑.๓๒เมตร ปัจจุบัน พระอุดมศีลคุณ (บรรจบ ตาที)เป็นเจ้าอาวาส

Page 30: สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ ......พระมหาพ ช ยมงก ฎอ ณห สวาลว ชน ฉลองพระบาท

190 พระอารามหลวง เล่ม ๑

ประวัติความเป็นมา วัดกัลยาณมิตร สร้างเมื่อปีพุทธศักราช ๒๓๖๘ ในสมัยรัชกาลที่ ๓ โดยเจ้าพระยานิกรบดินทร์(โต กัลยาณมิตร) ได้อุทิศบ้านและที่ดินบริเวณใกล้เคียง ซึ่งเดิมเรียกว่า หมู่บ้านกุฎีจีน สร้างถวายเป็นพระอารามหลวงได้รับพระราชทานนามว่าวัดกัลยาณมิตร รัชกาลที่ ๓ โปรดให้สร้างพระวิหารหลวง พร้อมกับเสด็จพระราชดำเนินก่อฤกษ์พระโต เมื่อวันที่๑๘พฤษภาคมพุทธศักราช๒๓๘๐พระราชทานเป็นพระประธานในพระวิหารหลวง รัชกาลที่ ๔ โปรดให้สร้างหอพระธรรมมณเฑียรเถลิงพระเกียรติ เพื่อเฉลิมพระเกียรติยศในพระบรมราชมาตามหัยยิกา กรมพระศรีสุดารักษ์ และพระบรมราชมาตามหัยยิกาธิบดี พระภัสดาในกรมพระศรีสุดารักษ์ ผู้ซึ่งเคยประทับณวัดกัลยาณมิตรมาก่อนและพระราชทานนามพระพุทธรูปประดิษฐานในพระวิหารหลวงเดิมเรียกพระโตว่าพระพุทธไตรรัตนนายก รัชกาลที่ ๕ โปรดให้กรมโยธาธิการจัดการซ่อมแซมหอพระธรรมมณเฑียรเถลิงพระเกียรติ และเมื่อพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นปราจิณกิติบดี ทรงเป็นมรรคนายกวัดนี้ ได้ดูแลซ่อมแซมมาตลอดได้รับยกฐานะเป็นพระอารามหลวงเมื่อปีพุทธศักราช๒๓๖๘สถานะและที่ตั้ง วัดกัลยาณมิตร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรมหาวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ ๓๗๑ ริมแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณปากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งใต้ แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่๓๓ไร่๑งาน

วัดกัลยาณมิตร

Page 31: สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ ......พระมหาพ ช ยมงก ฎอ ณห สวาลว ชน ฉลองพระบาท

191 พระอารามหลวง เล่ม ๑

สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ อยู่ทางด้านทิศตะวันออกสร้างขึ้นบริเวณที่เคยเป็นที่ตั้งบ้านของเจ้าพระยานิกรบดินทร์ (โต) เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ลักษณะสถาปัตยกรรมแบบจีน หน้าบันปั้นลายดอกไม้ประดับกระเบื้องเคลือบสลับสีลายจีน ซุ้มประตูหน้าต่างปั้นลายดอกไม้ประดับกระจก ผนังภายในมีภาพจิตรกรรมเกี่ยวกับพระพุทธประวัติ และรูปเครื่องบูชาม้าหมู่แบบไทยปนจีน เขียนตามแบบภาพฝาผนังพระอุโบสถวัดราชโอรสารามเสาเขียนลายพุ่มข้าวบิณฑ์สวยงาม พระประธานในพระอุโบสถเป็นพระพุทธรูปหล่อปางปาลิไลยก์ พระวิหารหลวง เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ลักษณะสถาปัตยกรรมไทยหลังคามุงกระเบื้องเคลือบ ประดับช่อฟ้า ใบระกา หน้าบันจำหลักลายดอกไม้ประดับกระจก ซุ้มประตูหน้าต่างเป็นลายดอกไม้ปั้นปิดทองประดับกระจก

ผนังด้านในและเสาเป็นลายดอกไม้ ผนังด้านหน้ามี ซุ้ ม ป ร ะ ตู หิ น แ ล ะตุ๊กตาหิน ศิลปะจีนตั้งเรียงรายภายในประดิษฐานพระพุทธไตรรัตนนายกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้สร้างเมื่อปีพุทธศักราช๒๓๘๐ชาวจีนเรียกว่า ซำปอฮุดกงหรือซำปอกง พระวิหารน้อย อยู่ทางทิศเหนือของ

พระวิหารหลวง เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคามุงกระเบื้องเคลือบ ผนังภายในมีภาพพระพุทธประวัติฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่๓เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางต่างๆ

Page 32: สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ ......พระมหาพ ช ยมงก ฎอ ณห สวาลว ชน ฉลองพระบาท

192 พระอารามหลวง เล่ม ๑

หอระฆัง เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก๒ ชั้น ขนาดกว้าง๙เมตรสูง๓๐เมตรสร้างเมื่อปีพุทธศักราช๒๔๗๖ ศาลาการเปรียญ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน หลังคามุงกระเบื้องเคลือบสร้างเมื่อปีพุทธศักราช๒๔๐๗ หอพระธรรมมณเฑียรเถลิงพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้สร้างในปีพุทธศักราช ๒๔๐๘เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ๒ ชั้น หลังคามุงกระเบื้อง ประดับช่อฟ้าใบระกา หางหงส์ มีระเบียงล้อมรอบ หน้าบันจำหลักลายเปลวปิดทองประดับกระจกตรงกลางเป็นรูปเครื่องราชกกุธภัณฑ์ซุ้มประตูหน้าต่างปั้นลายดอกไม้ ตรงกลางเป็นรูปพระมหามงกุฎประดิษฐานเหนือพานแว่นฟ้า บานประตูหน้าต่างจำหลักลายดอกไม้ปิดทองประดับกระจกเป็นที่เก็บพระไตรปิฎกและพระคัมภีร์ต่างๆ ปัจจุบัน พระธรรมเจดีย์ (ประกอบ ธมฺมเสฏฺโ )เป็นเจ้าอาวาส

Page 33: สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ ......พระมหาพ ช ยมงก ฎอ ณห สวาลว ชน ฉลองพระบาท

193 พระอารามหลวง เล่ม ๑

ประวัติความเป็นมา วัดหิรัญรูจี เดิมชื่อ วัดน้อย สร้างในสมัยกรุงธนบุรี ประมาณปีพุทธศักราช ๒๓๒๑ โดย เจ้าขรัวเงินพระชนกของกรมสมเด็จพระศรีสุรเยนทรามาตย์ พระมเหสีในรัชกาลที่๒ สมัยรัชกาลที่ ๔ พระยาอนุชิตได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์ แล้วถวายเป็นพระอารามหลวง เมื่อปีพุทธศักราช ๒๓๙๗ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามว่า วัดหิรัญรูจี และโปรดให้หล่อพระพุทธรูปด้วยเงินทั้งองค์ ปางมารวิชัย ประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถเพื่อเป็นพระพุทธรูปประจำวัด สถานะและที่ตั้ง วัดหิรัญรูจี เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ ๑๒๒ ถนนอินทรพิทักษ์แขวงหิรัญรูจีเขตธนบุรีกรุงเทพมหานครมีที่ดินที่ตั้งวัดเนื้อที่๑๓ไร่๒งาน๔๐ตารางวา

วัดหิรัญรูจี

Page 34: สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ ......พระมหาพ ช ยมงก ฎอ ณห สวาลว ชน ฉลองพระบาท

194 พระอารามหลวง เล่ม ๑

สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนลักษณะศิลปะไทยผสมจีน หลังคามุงกระเบื้องเคลือบ หน้าบันปูนปั้นลายรูปดอกไม้และนก มีมุขขวางด้านหน้าแบบเก๋งจีน มีพัทธสีมาติดผนังพระอุโบสถด้านนอก ได้รับการปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในรัชกาลที่๔ พระประธานในพระอุโบสถเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปิดทอง ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๒ ศอก๒๒นิ้วมีพระอัครสาวกซ้ายขวา

พระวิหาร เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ลักษณะทรงไทยหลังคาลด๒ชั้นประดับช่อฟ้าใบระกาหางหงส์ พระเจดีย์ ลักษณะทรงกลม อยู่หลังพระอุโบสถสร้างปีพุทธศักราช๒๔๖๐และพระเจดีย์๖องค์เป็นพระเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองอยู่มุมกำแพงแก้ว หลวงพ่อดำ เป็นพระพุทธรูปหล่อปางมารวิชัยขนาดหน้าตักกว้าง ๒ ศอก๑๕ นิ้ว ประดิษฐานในศาลาหลังพระอุโบสถ สร้างเมื่อปีพุทธศักราช๒๕๑๕ หอระฆัง เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ลักษณะทรงปราสาทจตุรมุข ปัจจุบัน พระปริยัติ โสภณ (เจริญ ปญฺ าที โป)เป็นเจ้าอาวาส

Page 35: สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ ......พระมหาพ ช ยมงก ฎอ ณห สวาลว ชน ฉลองพระบาท

195 พระอารามหลวง เล่ม ๑

ประวัติความเป็นมา วัดเวฬุราชินเจ้าพระยาพลเทพ(เอี่ยมชูโต)เป็นผู้สร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนปลายรัชกาลที่๓โดยนำเงินค่าภาษีไม้ไผ่สีสุกที่ท่านเป็นเจ้าภาษีรับสัมปทานผูกขาดการเก็บอยู่มาใช้เป็นค่าสร้างวัดเมื่อแรกสร้างเรียกชื่อวัดตามสภาพภูมิศาสตร์ที่ตั้งวัดที่เป็นคุ้งน้ำใหญ่ในคลองบางกอกใหญ่ว่า วัดใหม่ท้องคุ้ง สร้างเสร็จบริบูรณ์ในต้นรัชกาลที่ ๔ เจ้าพระยาพลเทพจึงน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระอารามหลวง ได้รับพระราชทานนามว่าวัดเวฬุราชินตามปฐมเหตุของการสร้างวัดแปลความหมายได้ว่าวัดซึ่งเกิดจากหนี้ภาษีไม้ไผ่ของพระราชา ต่อมาสมัยรัชกาลที่ ๕ พระยาพิศาลศุภผล (ชื่น พิศาลบุตร) และขุนตาลวโนชากร (นิ่ม แสนวัต)ได้ร่วมกันปฏิสังขรณ์วัดใหม่ทั้งหมดเป็นการปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่เท่ากับเป็นการสร้างวัดใหม่ ต่อมาพระไพโรจน์ธรรมาภรณ์เป็นเจ้าอาวาสได้บูรณะวัดให้อยู่ในสภาพที่งดงามเป็นที่ชื่นชอบของประชาชนทั่วไปสถานะและที่ตั้ง วัดเวฬุราชิน เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งอยู่เลขที่๑๔๒แขวงบางยี่เรือเขตธนบุรีกรุงเทพมหานครมีที่ดินที่ตั้งวัดเนื้อที่๑๕ไร่

วัดเวฬุราชิน

Page 36: สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ ......พระมหาพ ช ยมงก ฎอ ณห สวาลว ชน ฉลองพระบาท

196 พระอารามหลวง เล่ม ๑

สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ลักษณะ

สถาปัตยกรรมทรงไทย หลังคาลด๒ชั้นมุงกระเบื้องประดับช่อฟ้าใบระกา หางหงส์ ซุ้มประตูหน้าต่างเป็นลายปูนปั้นงดงาม ภายในพระอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเล่าเรื่องชาดก ภาพฝาผนังเหนือหน้าต่างเป็นภาพเทพพนม พัดแฉกคนธรรพ์ และเทพบันเทิง ฝาผนังหลังพระประธาน เป็นภาพพระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาโปรดพระพุทธมารดา พระประธาน ในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย พระวิหารทิศ ๔ หลัง

มุมกำแพงแก้ว ประดับช่อฟ้า ใบระกาลงรักปิดทองมีมุขลดหน้าบันจำหลักไม้เป็นรูปพระพุทธเจ้าแสดงพระธรรมเทศนาแก่เหล่าเทวดา พระพุทธสีหไสยาสน์ ประดิษฐานในพระวิหาร

พระ เ จ ดี ย์ ท ร ง ลั ง ก าอยู่หลังพระอุโบสถ ตั้งอยู่บนฐานทักษิณสี่เหลี่ยมลบมุม สร้างในรัชกาลที่๔ ปัจจุบัน พระเทพสิทธิ เมธี (เฉลิม พนฺธุรํสี ) รักษาการเจ้าอาวาส

Page 37: สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ ......พระมหาพ ช ยมงก ฎอ ณห สวาลว ชน ฉลองพระบาท

197 พระอารามหลวง เล่ม ๑

ประวัติความเป็นมา วัดโพธินิมิตรสถิตมหาสีมาราม สร้างสมัยรัชกาลที่ ๕สมเด็จพระวันรัต (แดง) วัดสุทัศนเทพวราราม ได้อุทิศที่ดินสวนอันเป็นมรดกถวาย ได้รับยกฐานะเป็นพระอารามชื่อว่าวัดโพมิ ตามนามโยมบิดามารดา แล้วถวายเป็นพระอารามหลวงได้รับพระราชทานนามว่า วัดโพธินิมิตร เป็นวัดที่มีเขตกำหนดสังฆกรรมเป็นมหาสีมา สมเด็จพระวันรัต (แดง) ได้สร้างปูชนียวัตถุและถาวรวัตถุหลายอย่าง เช่น พระอุโบสถ พระประธานในพระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ เป็นต้นและได้มีการปฏิสังขรณ์ในสมัยเจ้าอาวาสของวัดแต่ละยุคเรื่อยมาถึงปัจจุบันสถานะและที่ตั้ง วัดโพธินิมิตรสถิตมหาสีมาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งอยู่เลขที่ ๘๖แขวงบางยี่เรือเขตธนบุรีกรุงเทพมหานครมีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่๔ไร่๒งาน๓๒ตารางวา

วัดโพธินิมิตรสถิตมหาสีมาราม

Page 38: สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ ......พระมหาพ ช ยมงก ฎอ ณห สวาลว ชน ฉลองพระบาท

198 พระอารามหลวง เล่ม ๑

สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนลักษณะทรงไทย หลังคามุขลด มุงกระเบื้องประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ รอบนอกมีเสาพาไลรับใบสีมาติดกับพระอุโบสถ ผนังภายในมีจิตรกรรมเป็นภาพพระสงฆ์กำลังทำสังคายนาพระธรรมวินัยภาพพระเจ้าอโศกมหาราชทรงตอนกิ่งพระศรีมหาโพธิ์ พระราชทานแก่พระเจ้ากรุงอนุราธปุระภาพพระอารามหลวงในกรุงเทพฯ และหัวเมืองซึ่งผูกพัทธสีมาโดยใช้สิ่งต่าง ๆ เช่น ภูเขา ลำน้ำเป็นนิมิต ภาพการประกอบกุศลตามประเพณี เช่นการบวชนาคการทำบุญเข้าพรรษาการก่อพระเจดีย์ทรายและลอยกระทง เป็นต้น ซึ่งเป็นฝีมือพระอาจารย์แดง

พระประธานในพระอุโบสถเป็นพระพุทธรูปหล่อ ลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย มีพระสาวก๔องค์

พระวิหาร เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ลักษณะตรีมุขทรงไทยหลังคามุงกระเบื้อง เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปและ รูปหล่อสมเด็จพระวันรัต (แดง) พระมหาเจดีย์ ลักษณะทรงลังกา ฐานสี่เหลี่ยม มีบันได๔ ทิศ ประตู ๔ ด้าน มีกำแพงแก้วล้อมรอบ มีพระเจดีย์เล็ก ๔ มุมมีศาลา๔ทิศสร้างเป็นพุทธบูชาและบรรจุอัฐิสมเด็จพระวันรัต(แดง)

Page 39: สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ ......พระมหาพ ช ยมงก ฎอ ณห สวาลว ชน ฉลองพระบาท

199 พระอารามหลวง เล่ม ๑

ศาลาการเปรียญ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ลักษณะทรงไทย ๒ ชั้นชั้นล่างก่ออิฐถือปูน ชั้นบนเป็นเครื่องไม้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นผู้สร้าง ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๔๕๘ ถูกไฟไหม้พระโพธิสังวรเถร (ฑูรย์ อตฺตที โป)ได้บูรณปฏิสังขรณ์

พลับพลารับเสด็จรัชกาลที่ ๕เป็นอาคารไม้ลักษณะทรงไทยชั้นเดียว หลังคามุงกระเบื้องสร้างเป็นอนุสรณ์เมื่อครั้งที่รัชกาลที่ ๕ เสด็จทอดพระกฐิน ปัจจุบัน พระราชสุธี (บุญส่ง านงฺกโร)เป็นเจ้าอาวาส

Page 40: สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ ......พระมหาพ ช ยมงก ฎอ ณห สวาลว ชน ฉลองพระบาท

200 พระอารามหลวง เล่ม ๑

ประวัติความเป็นมา วัดอินทาราม เป็นวัดโบราณ ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเดิมเรียกว่า วัดบางยี่เรือนอก หรือวัดสวนพลู หรือวัดบางยี่เรือไทยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดให้ปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งพระอาราม เป็นต้นว่าขยายที่ดินเป็นธรณีสงฆ์ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ขุดคูวัด บูรณะพระอุโบสถพระวิหาร พระเจดีย์ และสร้างเสนาสนะ และโปรดเสด็จมาทรงศีลบำเพ็ญกรรมฐานประทับแรมณ วัดอินทารามนี้ ครั้นเมื่อเสด็จสวรรคตในพุทธศักราช ๒๓๒๕ ได้ประดิษฐานพระบรมศพ ถวายพระเพลิงและบรรจุพระบรมอัฐิณวัดนี้ด้วย สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระยาศรีสหเทพ (เพ็ง) ต้นตระกูลศรี ได้ทำการปฏิสังขรณ์และสร้างถาวรวัตถุ เสนาสนะต่าง ๆ ขึ้นใหม่ ตั้งแต่พระอุโบสถพระวิหาร ศาลาการเปรียญ พระเจดีย์ พระปรางค์ หอพระไตรปิฎกหอระฆังเป็นต้นและพระราชทานนามว่าวัดอินทาราม สถานะและที่ตั้ง วัดอินทาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ เลขที่ ๔๓๒ ถนนเทิดไทแขวงบางยี่เรือเขตธนบุรีกรุงเทพมหานครมีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่๒๕ไร่

วัดอินทาราม

Page 41: สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ ......พระมหาพ ช ยมงก ฎอ ณห สวาลว ชน ฉลองพระบาท

201 พระอารามหลวง เล่ม ๑

สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถหลังเก่า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงสร้าง มีลักษณะเป็นแบบแผนโดยตรงของสถาปัตยกรรมสมัยกรุงธนบุรี มีการเจาะหน้าต่างใหญ่ตรงหน้าบัน และลายปูนปั้นที่พระวิหารมีลักษณะงดงามมาก เดิมไม่มีหน้าต่าง แต่พระทักษิณคณิสร (สาย) อดีตเจ้าอาวาสวัดได้เจาะเปิดผนังทำหน้าต่าง ปัจจุบันเป็นพระวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปฉลองพระองค์ของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางตรัสรู้ ใต้องค์พระบรรจุพระบรมราชสรีรังคารของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี นอกจากนั้นยังเป็นที่เก็บพระพุทธรูปซึ่งอดีตเจ้าอาวาสรวบรวมมาจากที่ต่าง ๆ และใต้แท่นพระเป็นที่บรรจุอัฐิคนในตระกูลอินทรโยธินและพิชเยนทรโยธินด้วยด้านหน้าพระอุโบสถเก่ามีพระบรมรูปทรงม้าของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีประดิษฐานอยู่ พระอุโบสถหลังใหม่ เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคาลด ๓ ชั้น มุงกระเบื้อง ประดับช่อฟ้าใบระกา หางหงส์พระยาศรีสหเทพ (เพ็ง) สร้างขึ้นในบริเวณที่ประดิษฐานพระบรมศพของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พระประธานในพระอุโบสถเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยสมัยกรุงสุโขทัยพระนามว่าพระพุทธชินวร พระวิหารน้อยหรือพระวิหารพระเจ้ากรุงธนบุรี เป็นที่ประดิษฐานพระแท่นบรรทมและพระบรมรูปจำลอง แบบทรงพระกรรมฐานของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พระแท่นนี้พระองค์เคยทรงใช้เป็นที่ประทับแรมทรงธรรมและทรงกรรมฐาน พระเจดีย์กู้ชาติ เป็นพระเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมยอดบัวกลุ่ม บรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ตั้งอยู่หน้าพระอุโบสถเก่าคู่กับพระเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมปล้องไฉนซึ่งบรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระอัครมเหสี พระปรางค์ คู่ซ้ายขวาอยู่ด้านหลังพระอุโบสถ เป็นปรางค์เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง ตั้งอยู่บนฐานสูงประดับเครื่องลายครามซึ่งพระตรีสหเทพสร้างไว้คู่กับพระอุโบสถหลังใหม่ ศาลาการเปรียญเก่า ตั้งอยู่ด้านซ้ายของพระอุโบสถใหม่พระยาศรสีหเทพสร้างผนังทำเป็นช่องสีมารองทั้ง๔ทิศเป็นที่ ไว้พระพุทธรูปรวม๑๔๘ช่อง พระวิหารเดิม ตั้งอยู่ข้างหน้าด้านขวาของพระอุโบสถ พระยาศรีสหเทพสร้างขึ้น ลักษณะเดิมตามที่ปรากฏหลักฐาน คือมีกำแพง ๒ ชั้น ชั้นนอกมีประตูและหน้าต่างเป็นเหมือนวิหารธรรมดา ส่วนวิหารชั้นในนั้นประตูเขียนลายรดน้ำเป็นรูปนารีผลด้านในพระวิหารก่อแทนไว้ตู้พระไตรปิฎก๒ด้านประดิษฐานพระประธาน ด้านซ้ายเป็นพระปางห้ามญาติและพระปางห้ามสมุทร ตามฝาผนัง มีช่องสีมาไว้พระพุทธรูป๒๒๑ช่อง ปัจจุบันพระครูสุวิมลธรรมโสภิต(กมลกมลจิตฺโต)รักษาการเจ้าอาวาส

Page 42: สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ ......พระมหาพ ช ยมงก ฎอ ณห สวาลว ชน ฉลองพระบาท

202 พระอารามหลวง เล่ม ๑

ประวัติความเป็นมา วัดประยุรวงศาวาส สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์(ดิศ บุนนาค) สร้างเมื่อปีพุทธศักราช ๒๓๗๑ และถวายเป็นพระอารามหลวง ในสมัยรัชกาลที่ ๓ พระราชทานนามว่า วัดประยุรวงศาวาส แต่ชาวบ้านเรียกว่า วัดรั้วเหล็ก เพราะมีรั้วเหล็กรูปหอกดาบ ขวาน เป็นกำแพงวัด ต่อมาสมเด็จพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์เจ้าพระยาสุรวงศ์ ไวยวัฒน์ เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ และเจ้าพระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์ได้ปฏิสังขรณ์สถานะและที่ตั้ง วัดประยุรวงศาวาส เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ ใกล้กับเชิงสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ (สะพานพระพุทธยอดฟ้า) ฝั่งธนบุรี เลขที่ ๒๔ ถนนประชาธิปก แขวงวัดกัลยาณ์เขตธนบุรีกรุงเทพมหานครมีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่๒๖ไร่

วัดประยุรวงศาวาส

Page 43: สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ ......พระมหาพ ช ยมงก ฎอ ณห สวาลว ชน ฉลองพระบาท

203 พระอารามหลวง เล่ม ๑

สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ลักษณะสถาปัตยกรรมทรงไทย หลังคาลด ๒ ชั้นมุงกระเบื้อง ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ หน้าบันเป็นลายดอกบุนนาค มีหน้าต่างแปดเหลี่ยมอยู่ตรงกลางระหว่างประตูทั้ง๒ข้างด้านหลังพระประธานมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเล่าเรื่องพระพุทธประวัติ พระประธาน ในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานนามว่า สมเด็จพระพุทธธรรม วิเชฎฐศาสดา พระวิหาร เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ลักษณะสถาปัตยกรรมทรงไทย หลังคามุงกระเบื้อง หน้าบันเป็นลายดอกไม้บานประตูประดับมุกผนังภายในทาสีขาวประดิษฐานพระพุทธรูปหล่อปางมารวิชัย พระนามว่าพระพุทธนาคน้อย หรือ หลวงพ่อนาค ชาวจีนเรียกว่าลักน้อยหมายถึงกลีบบัว๖ชั้น

พระเจดีย์ ใหญ่ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์สร้างพร้อมกับการสร้างวัดแต่ ไม่แล้วเสร็จ ต่อมาสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ สร้างต่อจนเสร็จสมบูรณ์ เป็นพระเจดีย์ทรงระฆังชั้นล่างเป็นซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปรายรอบพระเจดีย์ ๕๕ ช่องถัดขึ้นไปเป็นพระเจดีย์รายรอบพระเจดีย์ใหญ่ ๑๘ องค์ ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและบรรจุอัฐิของตระกูลบุนนาค พระเจดีย์ท่านขรัวแก้ว พระยาภานุวงศ์มหาโกษาธิบดีสร้างไว้ โดยบรรจุรูปหล่อเหมือนท่านขรัวแก้วไว้ภายในพระเจดีย์ เขามอตั้งอยู่ด้านหน้าวัดเป็นภูเขาหินจำลองอยู่กลางน้ำซึ่ ง เ ป็ น ส ร ะมี ถ้ ำ ป ร ะดิ ษ ฐ าน

พระนอนอยู่เชิงเขา ยอดเขาประดิษฐานโบสถ์และเจดีย์ขนาดเล็กอยู่บนสุด ในบริเวณเขามอประดับด้วยต้นไม้และตุ๊กตาจีน และเป็นสุสานบรรจุอัฐิชนทั่วไป สุสานต่าง ๆ มีลักษณะสถาปัตยกรรมทั้งแบบไทยจีนและฝรั่ง ปัจจุบันพระธรรมโกศาจารย์ (ประยูรธมฺมจิตฺโต)เป็นเจ้าอาวาส

Page 44: สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ ......พระมหาพ ช ยมงก ฎอ ณห สวาลว ชน ฉลองพระบาท

204 พระอารามหลวง เล่ม ๑

ประวัติความเป็นมา วัดจันทาราม เป็นวัดโบราณ สร้างสมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมมีชื่อว่า วัดบางยี่เรือกลาง หรือวัดกลางเพราะอยู่กลางระหว่างวัด๒วัดคือวัดบางยี่เรือเหนือ(วัดราชคฤห์ปัจจุบัน)กับวัดบางยี่เรือใต้(วัดอินทารามปัจจุบัน)พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้พระยาสุรเสนา (ขุนเณร)บูรณะใหม่แล้วพระราชทานนามว่าวัดจันทาราม สถานะและที่ตั้ง วัดจันทาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ ๔๔๘ ติดคลองบางยี่เรือถนนเทิดไทแขวงบางยี่เรือเขตธนบุรีกรุงเทพมหานครมีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่๑๖ไร่๓งาน๓๒ตารางวา

วัดจันทาราม

Page 45: สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ ......พระมหาพ ช ยมงก ฎอ ณห สวาลว ชน ฉลองพระบาท

205 พระอารามหลวง เล่ม ๑

สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนลักษณะสถาปัตยกรรมแบบจีน หน้าบันประดับกระเบื้องเคลือบและถ้วยชาม ผนังภายในมีภาพจิตรกรรมลายดอกไม้ ระหว่างช่องหน้าต่างมีภาพโต๊ะหมู่บูชาแบบจีน ผนังภายในด้านหน้าประดิษฐานพระพุทธรูปไม้บุลวดลายที่เป็นโลหะปางห้ามญาติ ทรงเครื่องและเทริดสูง ๔.๓๐ เมตรฐานสูง๑.๒๐เมตร

พระประธานในพระอุโบสถเป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยทองเหลืองลงรักปิดทอง ปางมารวิชัยหน้าตักกว้าง ๑.๘๓ เมตร สูง ๑.๖๐ เมตรมีพระอัครสาวกซ้ายขวา พระวิหาร อยู่ด้านหลังพระอุโบสถ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ลักษณะสถาปัตยกรรมแบบจีนเช่นเดียวกับพระอุโบสถ ผนังด้านในมีซุ้มคูหาประดิษฐานพระพุทธรูปปางห้ามสมุทร จำนวน๘องค์

หอระฆังเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก๒ชั้นสร้างเมื่อปีพุทธศักราช๒๕๑๗ ปัจจุบันพระเทพสิทธิเมธี (เฉลิมพนฺธุรํสี)เป็นเจ้าอาวาส

Page 46: สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ ......พระมหาพ ช ยมงก ฎอ ณห สวาลว ชน ฉลองพระบาท

206 พระอารามหลวง เล่ม ๑

ประวัติความเป็นมา วัดราชคฤห์ เป็นวัดโบราณ สร้างสมัยอยุธยาตอนปลายโดยพวกนายกองมอญที่อพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร และตั้งบ้านเรือนอยู่ ในแขวงบางยี่ เรือเป็นผู้สร้างขึ้น เดิมเรียกว่าวัดบางยี่เรือมอญ หรือวัดมอญ เนื่องจากเดิมมีพระมอญจำพรรษาอยู่สันนิษฐานว่า มีการบูรณะซ่อมแซมสมัยกรุงธนบุรี เพราะเชื่อกันว่าพระยาพิชัยดาบหักเป็นผู้สร้างพระอุโบสถ ซึ่งปัจจุบันคือพระวิหารใหญ่และพระปรางค์ตั้งอยู่ทางด้านหน้า สมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงโปรดให้ยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวง พระราชทานนามว่า วัดราชคฤห์ และเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เสนาบดีกรมท่าได้สร้างเขามอ (ภูเขาจำลอง) ประดิษฐานพระมณฑปพระพุทธบาทจำลองบนยอดเขา สมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร พระโอรสซึ่งประสูติจากเจ้าจอมมารดานิ่ม ผู้ซึ่งเป็นธิดาของเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์ ต่อมาทรงสร้างพระอุโบสถใหม่แทนพระอุโบสถเดิมที่ใช้เป็นพระวิหารในปัจจุบัน

วัดราชคฤห์

Page 47: สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ ......พระมหาพ ช ยมงก ฎอ ณห สวาลว ชน ฉลองพระบาท

207 พระอารามหลวง เล่ม ๑

สถานะและที่ตั้ง วัดราชคฤห์เป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดวรวิหารตั้งอยู่เลขที่๔๓๔แขวงบางยี่เรือเขตธนบุรีกรุงเทพมหานครมีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่๑๗ไร่สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนหลังคาลด ๒ ชั้น มุงกระเบื้อง สร้างตามแบบศิลปะจีน หน้าบันมีลวดลายปูนปั้นประดับเครื่องกระเบื้องถ้วยจาน มีพาไลหน้าหลังและทวยรองรับชายคาปีกนกด้านข้างพระอุโบสถซุ้มประตูหน้าต่างเป็นซุ้มเรือนแก้วปูนปั้น บริ เวณกำแพงแก้วมีพระเจดีย์พระพุทธเจ้า ๒๘ องค์ และพระเจดีย์ทรงกลม๒องค์อยู่ทางด้านหลังพระอุโบสถ

พระวิหารใหญ่ เป็นอาคารทรงไทยก่ออิฐถือปูน ทรงสูงหลังคามุงกระเบื้อง หน้าบันเป็นไม้แกะสลัก ประดับช่อฟ้า ใบระกาหางหงส์ มีสาหร่าย รวงผึ้ง เสาเหลี่ยมมีบัวหัวเสา ซุ้มประตูหน้าต่างเป็นทรงมณฑปปูนปั้น ผนังภายในเขียนเป็นลายดอกไม้ร่วง ซุ้มคูหาประดิษฐานพระพุทธรูปโดยรอบซุ้มเสมาเดิมของพระวิหารเป็นซุ้มยอด วิหารเล็ก อยู่ทางซ้ายของพระวิหารใหญ่ ภายในประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์

Page 48: สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ ......พระมหาพ ช ยมงก ฎอ ณห สวาลว ชน ฉลองพระบาท

208 พระอารามหลวง เล่ม ๑

พระเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมไม้ยี่สิบตั้งอยู่ด้านหน้าพระวิหารใหญ่ มีกำแพงแก้วล้อมรอบ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ

พระปรางค์ย่อมุมไม้ยี่สิบ ตั้งคู่กับพระเจดีย์ กล่าวกันว่าเป็นพระปรางค์ที่พระยาพิชัยดาบหักสร้างขึ้น ปัจจุบันพระราชวรเวที (เฉลาเตชวนฺโต)เป็นเจ้าอาวาส