โลหะอะลูมิเนียมผสม (aluminum alloys)

Post on 29-Jul-2015

6.550 Views

Category:

Documents

1 Downloads

Preview:

Click to see full reader

DESCRIPTION

โลหะอะลูมิเนียมผสมAluminum Alloysนายณรงค์ฤทธิ์ โสสะเรียบเรียงโลหะอะลูมิเนียมผสม (Aluminum Alloy)1บทที่ 1 บทนาสิ่งที่สาคัญอย่างหนึ่งในการเลือกใช้วัสดุให้เหมาะสมกับงานที่ดาเนินการอยู่ ที่ขาดไม่ได้นั้น ผู้ใช้งาน วัสดุชนิดต่างๆ ต้องเข้าใจถึงคุณสมบัติ ลักษณะการใช้งาน และข้อจากัดของวัสดุชนิดนั้นๆ อีกด้วย ดังนั้นการ เลือกใช้วัสดุต่างๆ อาจพิจารณาได้จาก ความสามารถในการขึ้นรูป การผลิตสาหรับประกอบเป็นชิ้นงาน ที่ สาคัญไปกว่านั้ น ผู้ใช้งานควรทราบว่า คุณสมบัติของโลหะผสม (alloy) นั้นสามารถเปลี่ ยน

TRANSCRIPT

โลหะอะลูมิเนียมผสม Aluminum Alloys

นายณรงค์ฤทธิ์ โสสะ เรียบเรียง

โลหะอะลูมิเนียมผสม (Aluminum Alloy) 1

นายณรงคฤ์ทธิ์ โสสะ ผู้เรียบเรียง

บทที่ 1

บทน า

สิ่งที่ส าคัญอย่างหนึ่งในการเลือกใช้วัสดุให้เหมาะสมกับงานที่ด าเนินการอยู่ที่ขาดไม่ได้นั้น ผู้ใช้งานวัสดุชนิดต่างๆ ต้องเข้าใจถึงคุณสมบัติ ลักษณะการใช้งาน และข้อจ ากัดของวัสดุชนิดนั้นๆ อีกด้วย ดังนั้นการเลือกใช้วัสดุต่างๆ อาจพิจารณาได้จาก ความสามารถในการขึ้นรูป การผลิตส าหรับประกอบเป็นชิ้นงาน ที่ส าคัญไปกว่านั้นผู้ใช้งานควรทราบว่า คุณสมบัติของโลหะผสม (alloy) นั้นสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามกระบวนการขึ้นรูป รวมไปถึงกระบวนการทางความร้อนที่ใช้ในกระบวนการผลิตที่เหมาะสมอีกด้วย ในรายงานฉบับนี้จะกล่าวถึงกระบวนการผลิตและการใช้งานของโลหะอะลูมิเนียมผสม (aluminum alloy) ซึ่งในรายละเอียดต่างๆ จะได้กล่าวถึงในบทถัดไป

ในส่วนนี้จะกล่าวถึงประเภทของโลหะผสม ซึ่งในบางต าราเรียกว่า โลหะเจือ เมื่อแบ่งประเภทของโลหะผสมนี้ตามองค์ประกอบทางเคมีสามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ โลหะกลุ่มเหล็ก (ferrous metals and alloy) และโลหะนอกกลุ่มเหล็ก (nonferrous metals and alloy)

โลหะกลุ่มเหล็ก คือ กลุ่มโลหะที่มีเหล็กเป็นองค์ประกอบหลัก ซึ่งมีการผลิตใช้ ในปริมาณมากเมื่อเทียบกับโลหะชนิดอ่ืน ส่วนใหญ่มักใช้ในงานก่อสร้างทางวิศวกรรมเป็นส่วนใหญ่ สาเหตุหลักที่มีการใช้งานมากมีอยู่ 3 ประการ คือ ประการแรก มีสารประกอบของเหล็กอยู่เป็นจ านวนมากบนเปลือกโลก ประการที่สอง เหล็กและเหล็กกล้าสามารถผลิตได้ด้วยกระบวนการที่มีต้นทุนการผลิตต่ า อาทิเช่น การถลุง การท าให้บริสุทธิ์ การท าเป็นโลหะผสม และการขึ้นรูป เป็นต้น และประการสุดท้าย โลหะกลุ่มนี้สามารถน าไปใช้ประโยชน์ได้อย่างแพร่หลาย เนื่องจากสามารถปรับปรุงสมบัติเชิงกลและทางกายภาพได้อย่างหลากหลาย ตัวอย่างของโลหะกลุ่มนี้ เช่น เหล็กกล้า (steels) เหล็กกล้าคาร์บอนปริมาณต่ า (low carbon steel) เหล็กกล้าคาร์บอนปานกลาง เหล็กกล้าคาร์บอนสูง เหล็กกล้าไร้สนิม เหล็กหล่อ เหล็กหล่อเทา เหล็กหล่อเหนียวหรือแกรไฟต์กลม เหล็กหล่อขาวและเหล็กหล่ออบเหนียว เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามโลหะกลุ่มนี้ก็มีข้อจ ากัดอยู่บางประการ อาทิ มีความหนาแน่นคอนข้างสูงไม่เหมาะส าหรับการใช้งานในอุตสาหกรรมบางประเภท มีค่าความน าไฟฟ้าที่ต่ าและสามารถถูกกัดกร่อนได้ง่ายในบางสภาวะแวดล้อม ดังนั้นในหลายๆ อุตสาหกรรมการผลิตโลหะผสมจึงมุ่งเน้นในการผลิตโลหะผสมนอกกลุ่มเหล็กเพ่ือตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งาน

โลหะนอกกลุ่มเหล็ก คือ โลหะที่ไม่เหล็กเป็นองค์ประกอบหลัก อาทิ อะลูมิเนียม ทองแดง สังกะสี ดีบุก แมกนีเซียม เป็นต้น ปริมาณการใช้งานของโลหะกลุ่มนี้ในทางวิศวกรรมและอุตสาหกรรมมักจะน้อยกว่าโลหะในกลุ่มเหล็ก ส่วนใหญ่จะน าไปใช้ทดแทนเหล็กในกรณีที่ต้องการคุณสมบัติการใช้งานที่สูงกว่า เพราะ

โลหะอะลูมิเนียมผสม (Aluminum Alloy) 2

นายณรงคฤ์ทธิ์ โสสะ ผู้เรียบเรียง

ส่วนใหญ่แล้วโลหะกลุ่มนี้จะมีราคาที่สูงกว่ากลุ่มเหล็ก เกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติที่บ่งบอกว่าดีกว่ าโลหะกลุ่มเหล็กสามารถพิจารณาได้ดังนี้

1. คุณสมบัติที่มีจุดหลอมเหลวต่ า ความอ่อนตัวสูงและความสามารถในการไหลในแบบหล่อสูง จึงง่ายต่อการขึ้นรูปด้วยวิธีการต่างๆ เหมาะแก่การน าไปผลิตชิ้นส่วนต่างๆ ของอุตสาหกรรมโลหะ อาทิเช่น การรีด การตีขึ้นรูป การเชื่อม การตัด รวมไปถึงการหล่อหลอม กลึงและเจาะเป็นต้น และใช้เทคนิคการขึ้นรูปได้ทั้งแบบร้อนและแบบเย็นอีกด้วย

2. คุณสมบัติต้านทานต่อการกัดกร่อน สามารต้านทานและทนต่อการกัดกร่อนได้ดีกว่าโลหะกลุ่มเหล็กท้ังในสภาวะที่มีความชื้นสูงและสภาวะที่ประกอบไปด้วยกรดและเบส

3. สภาพการน าไฟฟ้าและความร้อน ในกลุ่มนี้จะประกอบไปด้วยสภาพการน าหลากหลายชนิดทั้งมีคุณสมบัติในการน าไฟฟ้าหรือความร้อนที่ดีและไม่ดี เช่น ทองแดงมีความสามารถในการน าไฟฟ้าที่ดีจึงเหมาะแก่การน าไปท าสายไฟ ในขณะที่โลหะนิกเกิลผสมมีสภาพการน าไฟฟ้าที่ต่ า จึงใช้เป็นขดลวดต้านทานไฟฟ้า

4. ความหนาแน่นที่ต่ า เนื่องจากการที่โลหะในกลุ่มนี้มีน้ าหนักที่เบากว่าเหล็กจึงเหมาะแก่การน าไปใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนของโลหะในชิ้นงานที่ต้องการน้ าหนักเบา อาทิเช่น อุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ อุตสาหกรรมการบิน เป็นต้น

5. การมีสีสันสวยงาม เป็นอีกปัจจัยที่ส าคัญของโลหะกลุ่มนี้ จึงเหมาะแก่การน าไปตกแต่งชิ้นงานสถาปัตยกรรมเนื่องจากการมีสีสันและผิวที่มันเงา

ในบทถัดไปจะได้กล่าวถึงที่มาและความส าคัญ กระบวนการผลิตอะลูมิเนียมและโลหะอะลูมิเนียมผสม ซึ่งเป็นหนึ่งในโลหะกลุ่มนอกเหล็กที่ส าคัญในปัจจุบันอีกชนิดหนึ่ง โดยใช้กรรมวิธีการขึ้นรูปที่แตกต่างกัน รวมไปถึงการน าไปใช้ประโยชน์ในกลุ่มงานที่หลากหลาย

โลหะอะลูมิเนียมผสม (Aluminum Alloy) 3

นายณรงคฤ์ทธิ์ โสสะ ผู้เรียบเรียง

บทที่ 2

โลหะอะลูมิเนียมและกระบวนการถลุงแร่

อะลูมิเนียมเป็นโลหะที่มีระบบผลึกแบบลูกบาศก์กลางหน้า (face-centered cubic, FCC) เป็นธาตุที่พบมากเป็นอันดับต้นๆ บนผิวโลกประมาณร้อยละ 8 ของธาตุทั้งหมด ส่วนใหญ่มักพบอยู่ในรูปของอะลูมิเนียมออกไซด์หรืออะลูมินา (alumina, Al2O3) ซึ่งอยู่ปะปนกับซิลิกอนไดออกไดออกไซด์หรือซิลิกา (silica, SiO2) และเหล็ก โดยทั่วไปแร่ที่มีอะลูมิเนียมเป็นองค์ประกอบหลักที่น าไปใช้ในอุตสาหกรรมการถลุงแร่นั้น มักมีปริมาณออกไซด์ของซิลิกอนต่ า ได้แก่ แร่เคโอลิไนต์ (Kaolinite) แร่บอกไซต์ (Bauxite) ซึ่งองค์ประกอบของแร่ชนิดนี้แสดงได้ในตารางที่ 1 ส่วนแร่ที่มีปริมาณของอะลูมิเนียมต่ าที่ยังสามารถน าไปในในการผลิตอะลูมิเนียมในเชิงการค้า ได้แก่ เนพีลีน (Nepheline) และ อะลูไนต์ (Alunite)

ตารางท่ี 1 การจ าแนกแร่ชนิดต่างที่พบปนอยู่ในแร่บอกไซต์ (G. E. Totten และคณะ, 2003)

ชนิดแร่ที่พบ องค์ประกอบทางเคมี Gibbsite (hydragilite) -Al2O3.3H2O Bàehmite -Al2O3.H2O Diaspore -Al2O3.H2O Hematite -Fe2O3 Goethite -FeOOH Magnetite Fe3O4 Siderite FeCO3 Ilmentite FeTiO3 Anatase TiO2 Rutile TiO2 Brookite Al2O3.2SiO2.3H2O Kaolinite Al2O3.2SiO2.2H2O Quartz SiO2

แร่บอกไซต์ ประกอบไปด้วย อะลูมินา 30-50% ซิลิกา 3-13% ไทเทเนียม(II)ออกไซด์ 10-18% และน้ า ซึ่งแร่ชนิดนี้มีปริมาณของซิลิกาที่ต่ าเหมาะแก่การน าไปถลุงในอุตสาหกรรมการผลิตโลหะอะลูมิเนียม

ดินเกาลิน หรือ แร่เกาลิไนต์ (kaolinite) ประกอบไปด้วย อะลูมินาประมาณ 30-32% และซิลิกากับน้ าในส่วนที่เหลือ

โลหะอะลูมิเนียมผสม (Aluminum Alloy) 4

นายณรงคฤ์ทธิ์ โสสะ ผู้เรียบเรียง

แร่เนพิไลน์ (nepheline) เป็นแร่ที่ประกอบไปด้วย อะลูมินาประมาณ 30% ซิลิกาประมาณ 40% และอัลคาไลน์ออกไซด์ เช่น Na2O และ K2O รวมกันประมาณ 20%

แร่ทุกชนิดต้องผ่านกระบวนการบดเพ่ือให้ได้แร่ที่มีความละเอียด ก่อนที่จะเข้าสู่ขั้นตอนการถลุง เพ่ือแยกอะลูมิเนียมออกไซด์ที่บริสุทธิ์ออกมา กรรมวิธีในการแยกมีหลายวิธีการขึ้นอยู่กับชนิดของแร่ที่มีปริมาณอะลูมินาที่แตกต่างกัน

กระบวนการถลุงแร่ที่มีอะลูมิเนียมเป็นองค์ประกอบ

กระบวนการเบเยอร์ (Bayer process) เป็นวิธีการที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตโลหะอะลูมิเนียม ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดจากการค้นพบของ คาร์ล โยเซฟ เบเยอร์ (Karl Josef Bayer) ชาวออสเตรีย (รูปที่ 1) ที่ประสบผลส าเร็จครั้งแรกในการแยกอะลูมิเนียมบริสุทธิ์ออกจากแร่บอกไซต์ ซึ่งกระบวนการเบเยอร์ ประกอบไปด้วยขั้นตอนต่างๆ ดังนี้ (รูปที่ 2)

น าแร่บอกไซต์มาบดให้ละเอียด แล้วท าการอบที่อุณหภูมิประมาณ 170-180 °C จากนั้นน าไปย่อยด้วยสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ ภายใต้ความดัน 5-7 บรรยากาศ (atm) ในถังปฏิกรณ์ชนิดหม้อนึ่งอัดไอ (autoclave) ที่มีไอน้ าร้อนผ่านให้ความร้อนภายนอก (steam jacket) ที่อุณหภูมิประมาณ 150 °C ซึ่งอะลูมินาจะท าปฏิกิริยากับโซเดียมไฮดรอกไซด์ เกิดผลิตภัณฑ์เป็นโซเดียมอะลูมิเนต (sodium aluminate, NaAlO2) ซึ่งมีความสามารถในการละลายน้ าได้ดี ดังสมการข้างล่างนี้

(1)

รูปที่ 1 คาร์ล โยเซฟ เบเยอร์ (1871-1908) ผู้คิดค้นจากแยกอะลูมิเนียมจากแร่บอกไซต์ (G. E. Totten and D. S. Mackenzie, 2003)

โลหะอะลูมิเนียมผสม (Aluminum Alloy) 5

นายณรงคฤ์ทธิ์ โสสะ ผู้เรียบเรียง

ส่วนสารที่เจือปน อาทิ เหล็กและไทเทเนียม( II)ออกออกไซด์ ซึ่งสารเหล่านี้จะไม่ละลายน้ าและจะตกตะกอนอยู่ด้านล่างของถังปฏิกรณ์ ที่มีลักษณะเป็นตะกอนสีแดง (red mud หรือ red slime) หลังจากที่ท าการกรองเอาตะกอนสีแดงท่ีเหลือแล้วจะได้สารละลายโซเดียมอะลูมิเนต จากนั้นน าสารละลายนี้ไปเจือจางโดยเติมน้ าลงไปในถังปฏิกรณ์และรักษาอุณหภูมิไว้ที่ประมาณ 40 °C แล้วท าให้เกิดกระบวนการตกตะกอนของอะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ (aluminium hydroxide, Al(OH)3) โดยวิธีการเติมผงอะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ลงไป ซึ่งจะท าหน้าที่เป็นตัวเร่งการตกผลึก (catalyzer) หรือ ตัวล่อผลึก (seeding agent) โดยจะเหนี่ยวน าให้อะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ที่อยู่ในรูปของสารละลายมาจับกับตัวล่อผลึก แล้วเกิดการก่อตัวเป็นผลึกน าไปสู่การตกตะกอนอย่างรวดเร็ว หากปราศจากขั้นตอนการล่อผลึกจะท าให้ต้องใช้เวลาในการตกตะกอนที่นานมาก ปฏิกิริยาการตกตะกอนของอะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์แสดงได้ดังสมการ (2)

(2)

เมื่อกรองเอาอะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์เสร็จสิ้นแล้ว น าไปล้างด้วยน้ าเปล่าจนสะอาด จากนั้นน าไปอบแล้วแคลไซน์ (calcined) ที่อุณหภูมิสูงประมาณ 1,100 °C โดยการใช้ระบบเตาเผาแบบหมุน (rotary kiln) จะได้ผงอะลูมินา ซึ่งมีลักษณะเป็นผงสีขาว ดังสมการ (3)

(3)

ส่วนสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ที่เหลือจากกระบวนการต่างๆ ข้างต้นจะถูกน ากลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง โดยการเพ่ิมความเข้มข้นของสารละลายด้วยวิธีการระเหยไล่ตัวท าละลายหรือไล่น้ าออกนั่นเอง ในกรณีที่แร่บอกไซต์มีซิลิกาปนอยู่ด้วย จะท าให้อะลูมินาบางส่วนเกิดการสูญเสียไปในระหว่างขั้นตอนการย่อยแร่ด้วยสารละลายเบส เนื่องจากซิลิกาละลายได้ดีในสารละลายเบสแล้วเกิดเป็นสารละลายโซเดียมซิลิเกต (sodium silicate, Na2SiO3) ดังสมการ (4) จะนั้นจะเกิดการท าปฏิกิริยาต่อกับโซเดียมอะลูมิเนตที่อยู่ในรูปของสารละลาย กลายเป็นสารประกอบโซเดียมอะลูมิโนซิลิเกต (sodium aluminosilicate) ดังสมการ (5) ซึ่ง

รูปที่ 2 กระบวนการเบเยอร์ (Ulrich Müller, 2011)

โลหะอะลูมิเนียมผสม (Aluminum Alloy) 6

นายณรงคฤ์ทธิ์ โสสะ ผู้เรียบเรียง

สารประกอบดังกล่าวไม่ละลายน้ า จึงเกิดการตกตะกอนรวมกับสารเจือปนอ่ืนๆ ที่ปะปนอยู่ในตะกอนสีแดง แล้วถูกก าจัดออกไปจากระบบ

(4)

(5)

จากการเกิดปฏิกิริยาข้างต้นท าให้เราทราบว่า ถ้าหากในแร่มีซิลิการปะปนอยู่ในปริมาณที่สูง ยิ่งจะส่งผลเสียต่ออุตสาหกรรมการผลิตอะลูมิเนียม เนื่องจากการสูญเสียอะลูมิเนียมไปในปริมาณที่มาก ดังนั้น เราจึงสามารถสรุปได้ว่า กระบวนการเบเยอร์นี้เหมาะแก่การถลุงแร่บอกไซต์ที่มีซิลิกาในปริมาณที่ต่ า หรืออาจปรับปรุงแก้ไขในขั้นตอนการผลิตในส่วนของการบดแร่ โดยการเติมหินปูน (lime หรือ lime stone) ลงไป จากนั้นจึงน าไปย่อยแร่โดยการต้มกับสารละลายเบส โดยกระบวนการดังกล่าวแสดงได้ ดังรูปที่ 3 ซึ่งหินปูนหรือแคลเซียมออกไซด์ (calcium oxide, CaO) ที่เติมลงไปนั่นจะไปจับกับซิลิกาเกิดเป็นสารประกอบแคลเซียมซิลิเกต (calcium silicate, Ca2SiO4) ซึ่งจะตกตะกอนรวมกับตะกอนอ่ืนๆ ซึ่งกรรมวิธีที่ผ่านการปรับปรุงนี้ สามารถน าไปใช้ได้กับแร่บอกไซต์ที่มีซิลิกาปนอยู่ในปริมาณสูงได้ ส่วนขั้นตอน อ่ืนๆ นั้นยังเหมือนเดิม

รูปที่ 3 กระบวนการเบเยอร์ที่ได้รับการปรับปรุงส าหรับก าจัดวัตถุปนเปื้อน

(Andrew R. Hind และคณะ, 1999)

โลหะอะลูมิเนียมผสม (Aluminum Alloy) 7

นายณรงคฤ์ทธิ์ โสสะ ผู้เรียบเรียง

กระบวนการหลอม (fusion process) หรือ กระบวนการแห้ง (dry process) ซึ่งกระบวนการนี้ต่างจากกระบวนการเบเยอร์ที่ใช้โซเดียมคาร์บอเนต (sodium carbonate, Na2CO3) แทนโซเดียมไฮดรอกไซด์ โดยน ามาเผารวมกันกับแร่บอกไซต์ที่บดละเอียดในเตาเผาที่อุณหภูมิตั้งแต่ 800 -1,200 °C ซึ่งอะลูมินาจะท าปฏิกิริยากับโซเดียมคาร์บอเนตแล้วเกิดเป็นสารประกอบโซเดียมอะลูมิเนียมและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ดังสมการ (6) และหากมีซิลิกาปนเปื้อนอยู่ด้วย จ าเป็นที่จะต้องผสมแคลเซียมออกไซด์ลงไปเพ่ือท าหน้าที่ในการดึงเอาซิลิกาออกจากแร่ จากนั้นจึงน าสารประกอบโซเดียมอะลูมิเนียม ซึ่งอาจมีสารอ่ืนปนอยู่ด้วยมาบดให้ละเอียดแล้วจึงน าไปละลายน้ าที่ อุณหภูมิ 90 -95 °C จนกลายเป็นสารละลายจากนั้นจึงผ่านแก๊สคาร์บอนไดออกไซดล์งไปยังสารละลายดังกล่าว เพ่ือแยกอะลูมิเนียมออกจากสารประกอบโซเดียมอะลูมิเนียมให้อยู่ในรูปของอะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์กับโซเดียมคาร์บอเนต ดังสมการ (7) เรียกกระบวนการนี้ว่า คาร์บอไนเซชัน (carbonization) ส่วนสารอ่ืนที่เจือปนอยู่นั้นจะไม่ท าปฏิกิริยาหรือไม่ละลายน้ า ซึ่งสารเหล่านี้จะตกตะกอนกลายเป็นตะกอนสีแดงเช่นเดียวกับกระบวนการเบเยอร์ จากนั้นจึงท าการตกตะกอนอะลูมิเนียมไฮดรอกไซดโ์ดยใช้ตัวล่อผลึก แล้วกรองจากนั้นจึงน าไปอบไล่น้ าจะได้ผงอะลูมินา

(6)

(7)

การแยกโลหะอะลูมิเนียม

การแยกโลหะอะลูมิเนียมจากอะลูมินาโดยตรง แต่การรีดิวส์เอาออกซิเจนออกโดยใช้คาร์บอนเป็นธาตุที่จะไปดึงเอาออกซิเจนออกมาจะเป็นไปได้ยาก เพราะอะลูมินามีเสถียรภาพสูงมาก อีกทั้งแรงดึงดูดสัมพันธ์ (affinity) กับออกซิเจนมีค่ามากกว่าค่าระหว่างอะตอมของออกซิเจนกับอะตอมของคาร์บอน ถึงแม้ว่าจะใช้แก๊สไฮโดรเจนหรือคาร์บอนมอนอกไซด์ก็ตาม บางงานวิจัยพบว่า การรีดิวส์อะลูมินาด้วยคาร์บอนที่อุณหภูมิสูงถึง 2,500 °C จะได้โลหะอะลูมิเนียมผสมกับอะลูมิเนียมคาร์ไบด์ ดังสมการ (8) และ (9) ซึ่งปฏิกิริยาเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้ที่อุณหภูมิค่อนข้างสูง ท าให้การน าไปใช้งานจริงเป็นไปได้ยากมาก นอกจากนี้อะลูมิเนียมบางส่วนยังเกิดการสูญเสียจากการกลายเป็นไอของอะลูมินา ซึ่งมีจุดหลอมเหลวอยู่ที่ประมาณ 2,050 °C และจุดเดือดเป็นไอที่ 2,980 °C

(8)

(9)

โลหะอะลูมิเนียมผสม (Aluminum Alloy) 8

นายณรงคฤ์ทธิ์ โสสะ ผู้เรียบเรียง

การแยกโลหะอะลูมิเนียมโดยวิธีเคมี วิธีการนี้เกิดจากการคิดค้นของ แฮนส์ คริสเตียน เออร์สเตด (Hans Christian Oersted) (ดังรูปที่ 4) ในปี 1825 โดยการเปลี่ยนอะลูมินาให้มาอยู่ในรูปของของอะลูมิเนียมคลอไรด์ (aluminium chloride, AlCl3) จากนั้นจึงท าการแยกแก๊สคลอรีนออกมาโดยใช้โพแทสเซียม ซึ่งวิธีการนี้ให้ผลดีในระดับหนึ่งเท่านั้น ถึงแม้ว่าจะมีการพัฒนาปรับปรุงวิธีการให้ดีขึ้น โดยในปี 1854 Henri Sainte-Claire Deville (ดังรูปที่ 5) ในประเทศฝรั่งเศส ได้ใช้โลหะโซเดียมในการท าปฏิกิริยารีดักชันของอะลูมิเนียมคลอไรด์ ในการการแยกอะลูมิเนียม แต่ข้อเสีย คือ สารเคมีที่ใช้มีราคาแพงส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูง และมีปริมาณการผลิตต่อปีที่ต่ า ประมาณ 1 ตันต่อปี จึงท าให้วิธีการนี้ไม่เป็นที่นิยม

การแยกโลหะอะลูมิเนียมโดยกระแสไฟฟ้า ค้นพบในปี 1886 โดย Paul Héroult (รูปที่ 6) จากฝรั่งเศส และ Charles Martin Hall (รูปที่ 7) จากอเมริกา ได้เสนอแนะกระบวนการแยกอะลูมิเนียมจากอะลูมินาด้วยกระแสไฟฟ้า หรือเรียกว่า อิเล็กโทรไลซิส (electrolysis) โดยการใช้สารละลายไครโอไลต์ (Na3AlF6) เป็นสารอิเล็กโทรไลต์ ซึ่งกระบวนการประสบความส าเร็จเป็นอย่างสูงในการน าไปใช้ในอุตสาหกรรมจนกระทั่งยุคปัจจุบัน ในกระบวนการแยกด้วยการใช้กระแสไฟฟ้านี้ อุปกรณ์ที่ใช้ในการแยกเรียกว่า อะลูมิเนียมรีดักชันเซลล์ (aluminium reduction cell) (ดังรูปที่ 8) จากกระบวนการแยกอะลูมิเนียมด้วยกระแสไฟฟ้าด้วยวิธีการดังกล่าว จ าเป็นต้องใช้กระแสไฟฟ้าประมาณ 16,600-18,000 Kwh ใช้อะลูมินา 1.98 ตัน โครโอไลต์ 0.1 ตัน และแท่งคาร์บอนแอโนด 0.6 ตันต่อจ านวนโลหะอะลูมิเนียมที่ผลิตได้ 1 ตัน จะเห็นว่าปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ใช้จะค่อนข้างสูง ท าให้บางประเทศไม่สามารถใช้วิธีการนี้ได้

รูปที่ 4 แฮนส์ คริสเตียน เออร์สเตด (1871-1908) ผู้คิดค้นการแยกอะลูมิเนียมจากอะลูมิเนียมคลอไรด์ โดยการท าปฏิกิริยารีดักชันกับโพแทสเซียม(http://en.wikipedia.org/wiki/File:Hans_Christian%C3%98rsted_daguerreotype.jpg)

รูปที่ 5 Henri Sainte-Claire Deville (1818-1881) ผู้คิดค้นการแยกอะลูมิเนียมจากอะลูมิเนียมคลอไรด์ โดยการท าปฏิกิริยารีดักชันกับโลหะโซเดียม (G. E. Totten and D. S. Mackenzie, 2003)

โลหะอะลูมิเนียมผสม (Aluminum Alloy) 9

นายณรงคฤ์ทธิ์ โสสะ ผู้เรียบเรียง

โลหะอะลูมิเนียมที่ผลิตได้ในขั้นแรกนี้ ยังจะมีสารมลทินเจือปนอยู่บ้าง เช่น ผงถ่าน ผงอิเล็กโทรไลต์ และมีแก๊สไฮโดรเจนเจือปนอยู่ ดังนั้นจึงใช้วิธีการเป่าแก๊สคลอรีนเข้าไป โดยผ่านท่อแกรไฟต์ ซึ่งจะเข้าไปท าปฏิกิริยากับอะลูมิเนียมเกิดเป็นไอของอะลูมิเนียมคลอไรด์ ที่จะพาสารเจือปนออกไปเหลือไว้เฉพาะอะลูมิเนียมหลอมเหลว ท าให้ได้โลหะที่มีความสะอาด ในกรณีที่ต้องการโลหะอะลูมิเนียมที่มีความบริสุทธิ์สูง เพ่ือใช้ในงานที่ต้องการคุณภาพเป็นตัวน าไฟฟ้าสูงหรือคุณภาพผิวเรียบมันเพ่ือสะท้อนแสงที่ดี จะต้องน าเอาโลหะอะลูมิเนียมที่ผ่านการแยกด้วยกระแสไฟฟ้าในขั้นแรก มาท าการแยกด้วยกระแสไฟฟ้าอีกครั้งหนึ่งโดยท าการเปลี่ยนขั้วแอโนดเป็นแท่งอะลูมิเนียมที่ได้มาจากครั้งแรกและเปลี่ยนสารอิเล็กโทรไลต์ (60% BaCl2, 17%

รูปที่ 6 Paul Héroult (1863-1914) ผู้คิดค้นการแยกโลหะอะลูมิ เนียมโดยกระแสไฟฟ้า (G. E. Totten and D. S. Mackenzie, 2003)

รูปที่ 7 Charles Martin Hall (1863-1914) ผู้คิดค้นการแยกโลหะอะลูมิเนียมโดยกระแสไฟฟ้า (G. E. Totten and D. S. Mackenzie, 2003)

รูปที่ 8 อะลูมิเนียมรีดักชันเซลล์ (G. E. Totten and D. S. Mackenzie, 2003)

โลหะอะลูมิเนียมผสม (Aluminum Alloy) 10

นายณรงคฤ์ทธิ์ โสสะ ผู้เรียบเรียง

NaF, 23% AlF3 และ 5% NaCl) ซึ่งจะให้โลหะอะลูมิเนียมที่มีความบริสุทธิ์ถึง 760-800 °C และโลหะที่ได้มีความบริสุทธิ์ถึง 99.99%

อุตสาหกรรมอะลูมิเนียมในประเทศไทย

เนื่องจากประเทศไทยไมมีวัตถุดิบแรบอกไซด์ และมีค่าไฟฟ้าที่แพงท าให้ไมสามารถตั้งโรงงานถลุงอะลูมิเนียมจากแรได (การผลิตแบบปฐมภูมิ) ดังนั้นจึงมีเพียงโรงงานผลิตอะลูมิเนียมที่ใช้เศษโลหะอะลูมิเนียมเป็นวัตถุดบิ (การผลิตแบบทุติยภูมิ) เท่านั้น ปัจจุบันกลุ่มโรงงานผลิตอะลูมิเนียมทุติยภูมิของไทยสามารถผลิตโลหะอะลูมิเนียมอัลลอยชนิดต่างๆ เพ่ือเป็นวัตถุดิบให้กับอุตสาหกรรมต่อเนื่องไดประมาณปีละ 50,000-100,000 ตัน ซึ่งหากคิดตามก าลังการผลิตจะสามารถแบงออกเป็น 3 กลุ่มย่อยไดดังนี้

โรงงานขนาดใหญ่ ไดแก โรงงานที่มีก าลังการผลิตตั้งแต่ 600 ตันต่อเดือนขึ้นไป โรงงานประเภทนี้เป็นโรงงานผลิตอะลูมิเนียมผสมที่มีคุณภาพดี เนื่องจากมีอุปกรณ์และระบบควบคุมคุณภาพที่ดี นอกจากนี้ยังมีระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยด้วย ปัจจุบันโรงงานผลิตโลหะอะลูมิเนียมจากเศษโลหะขนาดใหญ่มีอยู่ 3 ราย ไดแก บริษัท แอลแคนนิคเคไทย จ ากัด บริษัท เอ็ม.ซี. อะลูมินั่ม (ประเทศไทย) จ ากัด และบริษัท มิยูกิ อินดัสทรี่ จ ากัด

โรงงานขนาดกลาง ไดแก่ โรงงานที่มีก าลังการผลิต 200-600 ตันต่อเดือน โรงงานประเภทนี้ท าการผลิตอะลูมิเนียมผสมคุณภาพค่อนขา้งดี แตใ่ช้เทคโนโลยีที่ไมทันสมัยนัก และระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมก็อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง โดยอาจมีแคอุปกรณ์ก าจัดฝุ่นควันที่ผลิตในประเทศเท่านั้น ท าให้มีต้นทุนการผลิตที่ต่ าและมีความน่าเชื่อถือของคุณภาพน้อยกว่าโรงงานขนาดใหญ่ ปัจจุบันมีโรงงานขนาดกลางประมาณ 10 ราย ซ่ึงส่วนใหญ่เป็นบริษัทของคนไทย และบางแห่งเป็นโรงงานในเครือของกลุ่มผู้ค้าเศษโลหะเอง

โรงงานขนาดเล็ก ไดแก โรงงานที่มีก าลังการไมเกิน 200 ตันต่อเดือน โรงงานประเภทนี้มีอยู่กระจัดกระจายทั่วไป โดยเป็นโรงงานรับจ้างหลอมเศษโลหะที่ไมมีการควบคุมคุณภาพมากนักและไมมีระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ดังนั้นจึงสามารถขายโลหะอะลูมิเนียมผสมไดในราคาถูก โดยจะขายในตลาดล่างที่ค านึงถึงคุณภาพของวัตถุดิบ หรืออาจขายให้กับโรงงานหลอมเศษโลหะขนาดกลางหรือขนาดใหญ่ เพ่ือน าไปเป็นวัตถุดิบร่วมกับเศษโลหะและใช้ปรบัส่วนผสมทางเคมีตอ่ไป

อะลูมิเนียมเป็นโลหะที่มีการใช้ในประเทศไทยมากที่สุดเป็นอันดับสอง รองจากเหล็ก โดยในปี 2550 ความต้องการใช้โลหะอะลูมิเนียมมีปริมาณถึง 443,200 ตัน โดยมีสัดส่วนการใช้ในอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์มากที่สุด รองลงมาไดแกอุตสาหกรรมก่อสร้าง อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ และอุตสาหกรรมยานยนต์ ตามล าดับ ซึ่งแนวโน้มการใช้โลหะอะลูมิเนียมยังคงมีปริมาณเพ่ิมขึ้นเรื่อยๆ ตามสภาพการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมยานยนต์ที่มีบริษัทขนาดใหญ่จากต่างประเทศหลายแห่งมา

โลหะอะลูมิเนียมผสม (Aluminum Alloy) 11

นายณรงคฤ์ทธิ์ โสสะ ผู้เรียบเรียง

ตั้งฐานการผลิตในประเทศ แต่เนื่องจากผู้ผลิตอะลูมิเนียมในประเทศยังมีจ านวนไมมากนัก ท าให้ประเทศไทยต้องพ่ึงพาการน าเข้าโลหะอะลูมิเนียมจากต่างประเทศเป็นหลัก โดยในปี 2550 มีปริมาณการน าเขทั้งสิ้น 498,920 ตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 108,128 ล้านบาท ซึ่งประเทศคู่ค้าที่ส าคัญ ไดแก ออสเตรเลีย ญี่ปุน สหรัฐอเมริกา สหรัฐอาหรับเอมิเลสต บราซิล และฮ่องกง เป็นต้นและมีปริมาณการสงออกผลิตภัณฑ์อะลูมิเนียมทั้งสิ้น 103,809 ตัน คิดเป็นมูลค่าา 10,430 ล้านบาท

การผลิตโลหะอะลูมิเนียมจากเศษโลหะ

การถลุงโลหะอะลูมิเนียมทุติยภูมิหรือการหมุนเวียนอะลูมิเนียม เป็นกรรมวิธีการผลิตอะลูมิเนียมที่ไดรับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบัน เนื่องจากใช้พลังงานไฟฟ้าเพียงร้อยละ 5 ของการผลิตโลหะอะลูมิเนียมปฐมภูมิ อีกทั้งยังเป็นกรรมวิธีที่ช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมโดยใช้การหมุนเวียนอะลูมิเนียมจากกระบวนการผลิตและโลหะท่ีผ่านการใช้งานแลวกลับมาใช้ใหม่ เราสามารถแบ่งการผลิตโลหะอะลูมิเนียมทุติยภูมิไดเป็น 2 ประเภท คือ การหมุนเวียนอะลูมิเนียมจากเศษโลหะ (scrap) และการหมุนเวียนอะลูมิเนียมจากกาก (dross) ซึ่งรายละเอียดการผลิตมีดังนี้

กรรมวิธีการหมุนเวียนเศษโลหะอะลูมิเนียม เศษโลหะอะลูมิเนียมสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

1) เศษโลหะอะลูมิเนียมจากโรงงานอุตสาหกรรมหรือเศษโลหะใหม่ (new scrap) ไดแก เศษโลหะที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตและขึ้นรูปโลหะอะลูมิเนียม ในระหว่างการหลอมและหล อโลหะ เช่น โลหะอะลูมิเนียมในส่วนที่เป็นทางวิ่งโลหะหลอมเหลวในงานหล่อซึ่งเป็นเศษโลหะที่มีคุณภาพดีและโรงงานบางแห่งสามารถน ากลับมาหลอมใช้ใหม่ไดทันที

2) เศษโลหะอะลูมิเนียมที่ผ่านการใช้งานแล้วหรือเศษโลหะเกา (old scrap) ไดแก เศษโลหะที่เกิดจากผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการใช้แล้วหรือหมดอายุการใช้งานแลว เช่น กระป๋องเครื่องดื่ม สายเคเบิล อุปกรณ์การก่อสร้าง เป็นต้น โดยขั้นตอนการหมุนเวียนอะลูมิเนียมจากเศษโลหะเก่าจะซับซ้อนกว่าการหมุนเวียนเศษโลหะอะลูมิเนียมใหม ่

การผลิตอะลูมิเนียมจากเศษโลหะอะลูมิเนียม จะมีรายละเอียดแตกต่างกันออกไป แล้วแต่ชนิดของเศษโลหะแตจ่ะมีกระบวนการหลักท่ีคล้ายกัน ดังนี้

การรวบรวมและจัดเก็บเศษโลหะ

เศษโลหะอะลูมิเนียมใหม่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ จะถูกรวบรวมโดยผู้ ผลิตหรือโรงงานจนมีปริมาณมากพอสมควร แล้วจึงน าไปจ าหน่ายให้ผู้ค้าเศษโลหะต่อไป ส าหรับเศษโลหะอะลูมิเนียมเก่าจะถูกรวบรวมจากร้านรับซื้อของเกาหรือผู้ รับซื้อเศษโลหะ โดยผู้ค้าเศษโลหะจะน าเศษ

โลหะอะลูมิเนียมผสม (Aluminum Alloy) 12

นายณรงคฤ์ทธิ์ โสสะ ผู้เรียบเรียง

โลหะเหล่านี้มาแยกประเภท และบรรจุหีบห่อเพ่ือน าไปจ าหน่ายให้กับโรงงานหลอมโลหะอะลูมิเนียม การจัดเก็บและบรรจุห่อของเศษโลหะอะลูมิเนียมมีหลายวิธีขึ้นกับชนิดของเศษโลหะ เช่น เศษโลหะขนาดใหญ่หรือเศษโลหะแผ่นอาจน ามาตัดลดขนาดแล้วมัดหรืออัดเป็นก้อน เศษโลหะจ าพวกสายไฟหรือลวดอาจน าไปมัดเป็นกลุ่ม สวนเศษโลหะประเภทกระป๋องหรือภาชนะต่าง ๆ จะถูกอัดเป็นก้อน โดยวิธีทั้งหมดนี้มีวัตถุประสงค์ เพ่ือใหไ้ดขนาดที่เหมาะสมและสะดวกในการเคลื่อนย้าย

การเตรียมเศษโลหะอะลูมิเนียม

เศษโลหะอะลูมิเนียมที่ไดจากผู้ค้าเศษโลหะไมว่าจะมีลักษณะเป็นก้อนหรือมัด ก่อนน าเข้าเตาหลอมจะต้องถูกย่อยให้มีขนาดเล็กลง โดยขั้นแรกจะมีการบดหยาบเพ่ือให้สามารถคัดแยกสิ่งเจือปนต่างๆ ที่สังเกตเห็นออกไดด้วยมือ หลังจากนั้นจะถูกบดละเอียดอีกครั้งแล้วน าไปแยกสิ่งเจือปนออกด้วยเครื่อง Fluidized-bed Separator ซ่ึงใช้หลักการคือ เป่าลมไปยังเศษโลหะแต่ละส่วนพรอมทั้งเขย่าเพ่ือให้ส่วนที่เป็นโลหะร่วงผ่านตะแกรงลงมา เศษโลหะอะลูมิเนียมที่ผ่านการคิดคัดแยกแลวจะถูกน าเข้าสู่เตาอบแห้งเพ่ือไล่ความชื้น น้ ามัน สิ่งสกปรก และสารอินทรีย์อ่ืนๆ ออก เศษโลหะท่ีมีเหล็กปนอยู่สูงไมสามารถน าเข้าเตาหลอมไดทันที เพราะเป็นสารมลทินส าคัญที่ส่งผลต่อคุณสมบัติเชิงกลของโลหะอะลูมิเนียม ดังนั้นจึงต้องดึงโลหะเหล็กออกมาก่อน ซึ่งวิธีที่ง่ายที่สุด ไดแก การใช้แม่เหล็ก (Magnetic separator) หรืออาจใช้ความแตกต่างของจุดหลอมเหลว โดยหลอมเศษโลหะที่อุณหภูมิสูงกว่าจุดหลอมเหลวของอะลูมิเนียมเล็นย (ประมาณ 750 °C) ที่อุณหภูมินี้โลหะอะลูมิเนียมจะหลอมละลายและค่อย ๆ ไหลซึมออกมาก่อน ในขณะที่เหล็กยังคงไมหลอมเหลวท าให้สามารถแยกเหล็กออกจากโลหะอะลูมิเนียมได

ส าหรับกระป๋องอะลูมิเนียม จะมีวิธีการเตรียมที่งออกไปโดยจะต้องก าจัดแลกเกอร ที่เคลือบกระป๋องออกก่อน (delaquering) ด้วยวิธีการอบที่อุณหภูมิ 520 °C หรือ 615 °C เมื่อไดรับความร้อนแลกเกอรจะระเหยออกมาเป็นแก๊สที่ติดไฟไดและสามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงของเตาอบได ในกระป๋องหนึ่งใบจะประกอบด้วยโลหะอะลูมิเนียม 2 ชนิดไดแก สวนตัวกระป๋องที่เป็นโลหะผสมอะลูมิเนียมแมงกานีส และส่วนฝาที่เป็นโลหะผสมอะลูมิเนียมแมกนีเซียม การแยกโลหะผสมทั้ง 2 ชนิดนี้ จะใช้อุณหภูมิเฉพาะค่าหนึ่งซึ่งท าให้โลหะผสมอะลูมิเนียมแมกนีเซียมที่มีจุดหลอมเหลวต่ ากว่าอ่อนตัวลง แล้วใช้เครื่องบดอัดให้ขาดเป็นชิ้นเล็กๆ แยกออกมาจากโลหะผสมอะลูมิเนียมแมงกานีส จากนั้นจึงน าไปร่อนออกดว้ยตะแกรงต่อไป

การหลอมเศษโลหะอะลูมิเนียม

การเลือกเศษโลหะอะลูมิเนียมที่จะมาหลอมเป็นสิ่งส าคัญที่สุด โดยปัจจัยที่ควรต้องค านึงถึงไดแกคุณภาพของเศษโลหะ ปริมาณธาตุผสม สิ่งเจือปน และขนาดของเศษโลหะที่จะบรรจุเข้าเตาหลอม นอกจากนี้ยังต้องเลือกใช้เตาหลอมให้เหมาะสมกับปริมาณของโลหะที่จะหลอม รวมทั้งเชื้อเพลิงและต้นทุนด้านอ่ืนๆ โดยเตาหลอมที่ใช้ทั่วไปมีหลายประเภท เช่น เตาน้ ามัน เตาหมุน เตานอน และเตาไฟฟ้า ส าหรับกระบวนการหลอมมีขั้นตอนดังนี้

โลหะอะลูมิเนียมผสม (Aluminum Alloy) 13

นายณรงคฤ์ทธิ์ โสสะ ผู้เรียบเรียง

การบรรจุเศษโลหะลงในเตา มีวิธีการบรรจุแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิดของเตา ซึ่งโดยทั่วไปจะบรรจุเศษโลหะอะลูมิเนียมแผ่นและเศษที่ไดจากการหล่อก่อน โดยอุณหภูมิที่ใช้ในการหลอมคือประมาณ 560 °C จากนั้นจะบรรจุเศษโลหะอะลูมิเนียมขนาดใหญ่ ตามด้วยเศษโลหะขนาดเล็กเมื่อโลหะหลอมละลายเกือบเต็มความจุของเตา หลังจากบรรจุเศษโลหะเต็มแลวจะตรวจสอบและปรับปรุงส่วนผสมทางเคมีให้ไดตามที่ต้องการโดยการเติมหรือลดธาตุผสมต่างๆ เช่น ซิลิกอน แมกนีเซียม ทองแดง เป็นต้น

การท าความสะอาดโลหะอะลูมิเนียมหลอมเหลว เพ่ือก าจัดสิ่งเจือปนต่าง ๆ และอะลูมิเนียมออกไซด์ที่ปะปนกับโลหะหลอมเหลวออก โดยใช้วิธีเติมสารเคมี (Flux) ลงไปท าปฏิกิริยากับสิ่งเจือปนและจับตัวลอยขึ้นสูผิวหนาของโลหะอะลูมิเนียมหลอมเหลว

การก าจัดแก๊สไฮโดรเจนที่ละลายอยู ในอะลูมิเนียม เนื่องจากแก๊สไฮโดรเจน สามารถละลายในอะลูมิเนียมหลอมเหลวไดดีและก่อให้เกิดจุดบกพรองที่ส าคัญในชิ้นงานหลอ ไดแก่ รูพรุน วิธีการก าจัดแก๊สไฮโดรเจนจะใช้แก๊สคลอรีนหรือไนโตรเจนเป่าผ่านท่อลงไปในเตาหลอม โดยฟองของแก๊สคลอรีนหรือไนโตรเจนจะท าหนา้ที่เป็นพาหนะน าเอาแก๊สไฮโดรเจนออกมาด้วย ก่อนการเทลงแบบหลอ เช่น การเติมสารที่ช่วยลดขนาดของเกรน (สารประกอบไทเทเนียม โบรอน หรือเซอรโคเนียม) หลังจากนั้นก็จะน าโลหะเหลวเทลงแบบหล่อเพ่ือส่งไปจ าหน่ายให้แกลูกค้าต่อไป โดยกรรมวิธีการเทโลหะหลอมเหลวและอุณหภูมิที่ใช้จะขึ้นอยู่กับชนิดของโลหะอะลูมิเนียมผสมและเทคนิคเฉพาะของผู้ผลิตซึ่งโดยปกติจะใช้อุณหภูมิอยู่ที่ประมาณ 730 °C

กรรมวิธีการหมุนเวียนกากโลหะอะลูมิเนียม

กากอะลูมิเนียมที่ไดจากการผลิตโลหะอะลูมิเนียมจากแรและกากจากการหลอมเศษโลหะอะลูมิเนียมทีย่ังมีปริมาณโลหะอะลูมิเนียมติดอยู่ สามารถน ากลับมาหลอมใหม่ได โดยกากที่มีปริมาณโลหะอะลูมิเนียมสูง เช่น กากที่ไดจากการหลอมอะลูมิเนียมบริสุทธิ์สามารถน าเข้าเตาหลอมไดทันที แต่ในกากที่มีปริมาณโลหะอะลูมิเนียมต่ า เช่น กากจากการหลอมเศษโลหะซึ่งมีปริมาณโลหะอยู่ต่ ากว่าร้อยละ 30 โดยน้ าหนัก จะต้องน ามาผ่านขั้นตอนการบดและร่อนด้วยตะแกรงเพ่ือคัดเอาส่วนผสมพวกเกลือและออกไซด์ออกก่อนเพ่ือท าให้ปริมาณโลหะอะลูมิเนียมเพ่ิมขึ้น โดยอาจท าให้เพ่ิมขึ้นไดถึงร้อยละ 70 โดยน้ าหนัก เตาหลอมที่นิยมใช้ในการหลอมกากอะลูมิเนียม ไดแก เตาหมุน (rotary furnace) เนื่องจากปฏิกิริยาการหมุนจะเหมือนเป็นการกวนให้โลหะหลอมเหลวที่อยู่ในกากรวมตัวกันและแยกตัวออกมาจากกาก

โลหะอะลูมิเนียมผสม (Aluminum Alloy) 14

นายณรงคฤ์ทธิ์ โสสะ ผู้เรียบเรียง

บทที่ 3

โลหะอะลูมิเนียมผสม

จากในบทที่แล้วได้กล่าวถึงโลหะอะลูมิเนียมและกระบวนการถลุงแร่ ส าหรับอะลูมิเนียมและอะลูมิเนียมผสม ( Aluminium and Aluminium Alloys) อะลูมิเนียมเป็นโลหะที่รู้จักกันแพร่หลาย เพราะมีน้ าหนักเบา มีความหนาแน่นประมาณ 1/3 ของเหล็กกล้าหรือทองแดงผสม แต่อะลูมิเนียมผสมจะมีอัตราส่วนของความแข็งแรงต่อน้ าหนักดีกว่าเหล็กกล้าชนิดความแข็งแรงสูง ( High Strength Steels) เหตุนี้เองจึงนิยมใช้ท าเครื่องบินและเครื่องจักรต่างๆ

คุณสมบัติที่ส าคัญของอะลูมิเนียมและอะลูมิเนียมผสมมีหลายประการคือ มีความหนาแน่นน้อย น้ าหนักเบาแต่มีความแข็งแรงสูง มีความเหนียวสูง สามารถน าไปขึ้นรูปด้วยกรรมวิธีต่างๆ ได้ง่าย มีอุณหภูมิหลอมเหลวละลายต่ าท าให้ง่ายต่อการหล่อ การน าไฟฟ้าคิดเป็นเพียง 62% ของทองแดง แต่เนื่องจากมีน้ าหนักเบาจึงเหมาะที่จะน าไปใช้ท าสายส่งไฟฟ้าแรงสูง มีคุณสมบัติการน าความร้อนสูง และไม่มีพิษต่อร่างกายมนุษย์ จึงนิยมน าไปใช้ท าภาชนะหุงต้มอาหาร และมีความต้านทานการกัดกร่อนในบรรยากาศที่ใช้งานโดยทั่วไปได้ดีมาก

การจ าแนกประเภทของโลหะอะลูมิเนียมผสม

โลหะอะลูมิเนียมสามารถผสมกับโลหะอ่ืนๆ ได้หลายชนิด เช่น ทองแดง ซิลิกอน แมกนีเซียม สังกะสี ซึ่งโลหะผสมแต่ละประเภทจะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป สามารถเลือกใช้งานได้อย่างกว้างขวาง โลหะอะลูมิเนียมผสมสามารถจ าแนกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้

โลหะผสมประเภทขึ้นรูปเย็น (wrought) เป็นโลหะผสมที่ผ่านการขึ้นรูปด้วยการรีด การอัดขึ้นรูปออกมาแบบแผ่น หรือเป็นแท่ง ซึ่งจะมีทั้งที่สามารถอบชุบแข็งตัวด้วยความร้อนได้ (heat treatable) และที่อบชุบไม่ได้ ส่วนใหญ่โลหะที่น ามาผสมด้วยจะประกอบไปด้วย ทองแดง ซิลิกอน และแมกนีเซียม

โลหะผสมประเภทหล่อ (castable) เป็นโลหะที่มีคุณสมบัติพิเศษ มีความสามารถในการไหลที่ดี ช่วยในการหล่อขึ้นรูปได้ง่าย ส่วนใหญ่โลหะชนิดนี้สามารถอบชุบแข็งตัวด้วยความร้อนได้ โลหะผสมที่ส าคัญได้แก่ ซิลิกอน

ก่อนที่จะได้กล่าวถึงส่วนอ่ืนๆ ของโลหะอะลูมิเนียมผสม จะขอกล่าวถึงกระบวนการเพ่ิมความแข็งแรงของโลหะผสม (precipitation-strengthening หรือ hardening) โดยทั่วๆ ไปเสียก่อน ซึ่งเป็นหลักการที่ส าคัญในกระบวนการผลิตโลหะผสมหลายๆ ชนิด ซึ่งกระบวนการนี้จะประกอบไปด้วย 3 ขั้นตอน คือ Solid solution heat treatment, Precipitation hardening และ Annealing

โลหะอะลูมิเนียมผสม (Aluminum Alloy) 15

นายณรงคฤ์ทธิ์ โสสะ ผู้เรียบเรียง

1. Solid solution heat treatment

วิธีนี้เรียกสั้น ๆ ได้ว่า อบละลาย ซึ่งใช้หลักที่ว่า ความสามารถในการละลายเข้าเป็นเนื้อเดียวกับอะลูมิเนียมของธาตุผสมที่ส าคัญ อย่างเช่น ทองแดงนั้นเป็นฟังก์ชันของอุณหภูมิ ที่อุณหภูมิสูง ธาตุผสมละลายได้มากกว่าที่อุณหภูมิต่ า เพราะฉะนั้นถ้าเผาอะลูมิเนียมที่ผสมทองแดงให้ร้อนขึ้นไปจนถึง 540 °C เป็นเวลานานพอให้ทองแดงที่ผสมอยู่ซึ่งไม่เกินจุดอ่ิมตัวละลายเข้าในเนื้อของอะลูมิเนียมให้หมด จากนั้นก็ท าให้อะลูมิเนียมเย็นตัวอย่างรวดเร็วโดยการชุบลงในน้ า เนื่องจากการเย็นตัวเกิดขึ้นรวดเร็วมาก ทองแดงที่เกินจุดอ่ิมตัวที่อุณหภูมิห้องจึงถูกกักอยู่ในเนื้ออะลูมิเนียมและไม่มีโอกาสเคลื่อนที่แยกตัวออกจากเนื้ออะลูมิเนียมเป็นเฟสใหม่

เมื่อมองในระดับจุลโครงสร้าง อะตอมของทองแดงถือเป็นสิ่งแปลกปนเมื่ออยู่ในเนื้อของอะลูมิเนียมท าให้การเรียงตัวของอะตอมของอะลูมิเนียมบิดเบี้ยวไปจากที่ควรจะเป็น ก่อให้เกิดความเครียด (strain) ขึ้น และมีผลให้โลหะสร้างแรงต้านทานต่อแรงทางกลภายนอกที่มากระท าได้มากขึ้น คือโลหะมีความแข็งแรงมากขึ้นอันเป็นผลจากการที่มีทองแดงละลายผสมอยู่ในเนื้อ (solid solution hardening)

ตารางที่ 2 แสดงสมบัติทางกลของ Al-4.5% Cu ที่ผ่านการอบให้ทองแดงละลายเป็นเนื้อเดียวกับอะลูมิเนียม

สภาพของโลหะ Tensile- strength

(ksi) Yield- strength

(ksi) Elongation in 2

inches (%) Hardness

(BHN) เพ่ิงได้จากการหล่อใหม่ ๆ 20.1 8.8 7.5 45 อบละลายที่ 540 °C 1 ชม. แล้วชุบน้ า

32.2 22.6 5.5 76

อบละลายที่ 540 °C 8 ชม.แล้วชุบน้ า

40.2 22.4 14.6 74

อบละลายที่ 540 °C 40 ชม. ชุบน้ าแล้วทิ้งไว้ 2 วัน

42.3 24 19.0 83

อบละลายที่ 540 °C 40 ชม. ชุบน้ าแล้วทดสอบทันที

35.8 17.4 20.7 62

2. Precipitation hardening

วิธีนี้ท าต่อเนื่องจากการท าให้ธาตุผสมละลายเข้าเป็นเนื้อเดียวกับอะลูมิเนียม ตัวอย่างเช่น ทองแดงที่มีปริมาณเกินจุดอ่ิมตัว แต่ละลายอยู่เป็นเนื้อเดียวกับอะลูมิเนียมนั้นไม่มีเสถียรภาพ มันพยายามก่อตัวเป็นเฟสใหม่แยกตัวออกจากเนื้ออะลูมิเนียม การก่อตัวนี้ต้องอาศัยการเคลื่อนที่ของทั้งอะตอมอะลูมิเนียมและของทองแดง แต่การเคลื่อนตัวของอะตอมในเนื้อโลหะในสภาพของแข็งท าได้ล าบากมากในทางปฏิบัติถือได้ว่าไม่เกิดข้ึน จึงต้องมีการเผาให้อะลูมิเนียมร้อนขึ้นเพ่ือช่วยให้อะตอมของธาตุในเนื้อโลหะสามารถเคลื่อนตัวได้ง่ายขึ้น อุณหภูมิทีใ่ช้เผาอยู่ช่วง 150-180 °C

เนื่องจากเฟสใหม่ที่จะเกิดจากทองแดงที่เกินจุดอ่ิมตัวกับอะลูมิเนียมบางส่วนนั้นมีระบบผลึกแตกต่างจากระบบผลึกของเนื้ออะลูมิเนียมที่มีอยู่เดิม ดังนั้น ในช่วงของการเกิดของเฟสใหม่นี้ อะตอมทั้งของธาตุ

โลหะอะลูมิเนียมผสม (Aluminum Alloy) 16

นายณรงคฤ์ทธิ์ โสสะ ผู้เรียบเรียง

ทองแดงและอะลูมิเนียมต้องขยับตัวไปอยู่ในต าแหน่งที่สมดุลของเฟสใหม่ ความเริ่มไม่สอดคล้องในเรื่องขนาดและรูปทรงของผลึกของเฟสใหม่และเฟสเก่าก่อให้เกิดความเครียดขึ้นในเนื้อของอะลูมิเนียม ท าให้โลหะสามารถต้านทานต่อแรงกระท าได้สูงขึ้นคือแข็งแรงมากขึ้น

การท ากรรมวิธีทางความร้อนแบบนี้จึงเป็นการให้พลังงานที่เหมาะสมเพ่ือให้เกิดภาวะของการเริ่มเกิดเป็นเฟสใหม่พอดี บางครั้งก็เรียกวิธีการนี้ว่า การบ่ม (aging)

อนึ่ง ความแข็งแรงของโลหะจะมีมากเฉพาะในช่วงที่อยู่ระหว่างกระบวนการเกิดของเฟสใหม่เท่านั้นถ้าผ่านพ้นช่วงนี้ไปถึงขั้นที่เกิดเฟสใหม่เป็นรูปเป็นร่างที่แน่ชัดจากเนื้ออะลูมิเนียมเดิมแล้ว อะตอมของธาตุในเฟสใหม่จะไม่เหนี่ยว (coherent bond) กับอะตอมของธาตุในเฟสเก่า หมายความว่าไม่เกิดความเครียด และความแข็งแรงของอะลูมิเนียมจะลดลงกว่าเดิม ปรากฏการณน์ี้เรียกว่า การบ่มมากเกินไป (overaging)

3. Annealing

วิธีนี้ท าเพ่ือให้โลหะคลายความเครียดและความเค้น (stress) ตกค้างต่าง ๆ ที่สะสมอยู่ในเนื้อโลหะภายหลังผ่านการขึ้นรูปทางกลมา ผลก็คือ ท าให้โลหะมีความแข็งแรงลดลง แต่ความเหนียวเพ่ิมขึ้นมาก ท าให้สามารถรับการแปรรูปทางกลเพิ่มข้ึนได้อีกโดยไม่เสี่ยงต่อการแตกหักและยังใช้แรงทางกลน้อยลง กรรมวิธีนี้จึงนิยมใช้แทรกอยู่ระหว่างกรรมวิธีการรีดแผ่นอะลูมิเนียม ซึ่งเริ่มจากท่อนอะลูมิเนียมหนาหลายนิ้ว เพ่ือรีดให้เป็นแผ่นอะลูมิเนียมห่ออาหาร หรือห่อบุหรี่ เนื่องจากปริมาณการแปรรูปจากวัตถุดิบเริ่มแรกจนเป็นผลิตภัณฑ์ส าเร็จรูปนั้นมีมาก ถ้ารีดไปเรื่อย ๆ โดยไม่อบอ่อน ความเครียดและความเค้นตกค้างในเนื้อโลหะจะมากเกิดไปจนท าให้แผ่นอะลูมิเนียมขาดได้ ดังนั้นจึงต้องใช้วิธีอบอ่อนแทรกเข้าระหว่างกระบวนการเหล่านั้น เพ่ือเพ่ิมความเหนียวให้อะลูมิเนียมก่อนที่จะเริ่มรีดต่อไป

การก าหนดสัญลักษณ์ส าหรับอะลูมิเนียมผสม (Aluminium Alloys Designation System)

สมาคมอะลูมิเนียมแห่งอเมริกา ( The Aluminium Association of America ) ได้ก าหนดสัญลักษณ์ส าหรับอะลูมิเนียมผสมขึ้น โดยสามารถแยกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได ้2 ประเภทคือ

1. การก าหนดสัญลักษณ์ส าหรับอะลูมิเนียมผสมขึ้นรูป (Designation for Wrought Aluminium Alloys) ส าหรับการก าหนดสัญลักษณ์ เพ่ือจัดกลุ่มของอะลูมิเนียมผสมขึ้นรูป หรืออะลูมิเนียมผสมรีด โดยใช้ระบบตัวเลข 4 หลัก ก ากับซึ่งมีความหมายดังนี้

เลขหลักท่ีหนึ่ง แสดงกลุ่มของโลหะอะลูมิเนียมซึ่งมีอยู่ 8 กลุ่ม

เลขหลักที่สอง แสดงส่วนผสมอ่ืนที่เพ่ิมเติมเข้าไปโดยใช้ตัวเลข 1-9 แต่ถ้าเป็นเลขศูนย์ (0) แสดงว่าเป็นโลหะเดิม เช่น 2024 (4.5 Cu,1.5 Mg, 0.5 Si, 0.1 Cr )เทียบกับ 2218 ( 4.0 Cu, 2.0 Ni, 1.5 Mg, .0.2 Si ) จะเห็นว่าโลหะ 2218 มีนกิเกิลผสมเพ่ิมเติมเข้าไป

โลหะอะลูมิเนียมผสม (Aluminum Alloy) 17

นายณรงคฤ์ทธิ์ โสสะ ผู้เรียบเรียง

เลขหลักที่สามและหลักที่สี่ แสดงถึงส่วนผสมที่แตกต่างกันของโลหะผสมชนิดย่อยๆ ที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน เช่น อะลูมิเนียม ในกลุ่ม 1xxx นั้นตัวเลขหลักที่สามและหลักที่สี่ จะแสดงปริมาณของอะลูมิเนียมที่จุดทศนิยม 2 ต าแหน่ง หลังเลขที่บอกความบริสุทธิ์ของอะลูมิเนียม 99% เช่น 1060 และ 1080 หมายถึงอะลูมิเนียมขึ้นรูป ที่มีอะลูมิเนียมผสมอยู่ 99.60 % และ 99.80 ตามล าดับ

2. การก าหนดสัญลักษณ์ส าหรับอะลูมิเนียมผสมหล่อ (Designation for Cast Aluminium Alloys ) บริษัทอะลูมิเนียมแห่งอเมริกา (Alcoa : Auluminium Co. of America) ซึ่งเป็นบริษัทผลิตอะลูมิเนียมที่ใหญ่ของอเมริกาและมีอิทธิพลในวงการค้ามากได้ก าหนดสัญลักษณ์อะลูมิเนียมผสมหล่อ โดยใช้ระบบตัวเลข 2 หลักหรือ 3 หลัก ก ากับซึ่งมีความหมายดังนี้

ตัวเลข 2 หลัก ใช้แทนโลหะอะลูมิเนียมผสมที่มีซิลิคอนผสมเป็นธาตุหลัก

ตัวเลข 3 หลัก ตัวเลขหลักแรกใช้แทนกลุ่มที่มีธาตุๆ หนึ่งเป็นธาตุผสมหลักซึ่งมีสัญลักษณ์แทนที่ นอกจากนี้อาจจะมีตัวอักษรภาษาอังกฤษน าหน้าตัวเลข ซึ่งเขียนเป็นสัญลักษณ์เพ่ือแสดงถึงส่วนผสมที่เปลี่ยนแปลงไป และบอกถึงกรรมวิธีการหล่อ เช่น 214( 3.8 Mg) เหมาะส าหรับหล่อลงไปในแบบทราย และส าหรับลัญลักษณ์และส่วนประกอบของอะลูมิเนียมผสมหล่อนั้น

การก ากับภาวะประสงค์ส าหรับโลหะอะลูมิเนียมและอะลูมิเนียมผสม (Temper Designation for Aluminium and Aluminium alloys)

ในปี ค.ศ. 1948 สมาคมอะลูมิเนียมแห่งอเมริกา ได้ตั้งระบบการให้สัญลักษณ์ตามสภาพของโลหะที่ผ่านกรรมวิธีการผลิตต่างๆ จนแสดงคุณสมบัติทางกายภาพของทางกลตามความต้องการของผู้ใช้ โดยใช้สัญลักษณ์เป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษได้แก่ F, O, H, W และ T เขียนตามหลังสัญลักษณ์ของโลหะผสมโดยมีขีดน าหน้า แล้วอาจจะมีตัวเลข 1 หรือ 2 ตัว ตามหลังด้วย เช่น A 132-T 65 เป็นต้น ส าหรับความหมายของสัญลักษณ์ต่างๆ มีรายละเอียดดังนี้คือ

F คือ สภาพเดิม (Fabricated) หมายถึงสภาพของโลหะที่ได้จากการผลิตธรรมดาโดยไม่มีกรรมวิธีทางกล หรือกรรมวิธีทางความร้อนเข้ามาช่วยเป็นชิ้นงานสภาพเดิม

O คือสภาพอบอ่อน (Annealed) หมายถึง สภาพของโลหะที่ผ่านกรรมวิธีการอบอ่อน เพ่ือท าให้โลหะมีความอ่อนและเหนียวเพ่ิมข้ึน

H คือสภาพแข็งโดยการท างาน (Work-Hardened) หมายถึง สภาพของโลหะที่ผ่านกระบวนการท างานทางกล เพ่ือให้มีความแข็งแรงสูงเพิ่มขึ้น อาจจะเป็นกรรมวิธีการท างานแบบร้อนหรือแบบเย็นก็ได้

โลหะอะลูมิเนียมผสม (Aluminum Alloy) 18

นายณรงคฤ์ทธิ์ โสสะ ผู้เรียบเรียง

H1 คือ ท าให้แข็งโดยความเครียดอย่างเดียว ( Strain-Hardenend Only ) หมายถึงสภาพของโลหะที่ผ่านการท าให้แข็งด้วยความเครียดอย่างเดียว และจะมีตัวเลขหลักที่สองก ากับอยู่ด้วยเพ่ือแสดงปริมาณการถูกท าให้แข็ง เช่น

H12 หมายถึง Quarter hard โลหะจะถูกแปรรูป 20%

H14 หมายถึง Half hard โลหะจะถูกแปรรูป 40 %

H18 หมายถึง Full hard โลหะจะถูกแปรรูป 80%

H19 หมายถึง Extra hard โลหะจะถูกแปรรูป 90%

H2 คือ ท าให้แข็งและอบอ่อนบางส่วน (Strain – Hardened and Partial Annealed) หมายถึง สภาพของโลหะที่ถูกท าให้แข็งด้วยความเครียด แล้วน้ าไปอบอ่อนบางส่วน เพ่ือให้โลหะเหนียวขึ้นแต่ความแข็งแรงยังเหมือนกับโลหะท่ีใช้สัญลักษณ์ H1

H3 คือ ท าให้แข็งและคงรูป (Strain-Hardened and Then Stabilizing) หมายถึงสภาพของโลหะที่ถูกท าให้แข็งและมีความแข็งแรงเพ่ิมข้ึน โดยผ่านกระบวนการแปรรูปเย็นและก็คงคุณสมบัติไว้ แล้วน าโลหะไปท ากรรมวิธีทางความร้อนที่อุณหภูมิต่ าๆ ซึ่งความร้อนนี้ยังไม่สูงพอที่จะท าให้ความเครียดแข็งหมดไป สภาพของโลหะแบบนี้ส่วนมากใช้กับโลหะพวก อะลูมิเนียมผสมแมกนีเซียม

W คือ การอบละลาย (Solution-Heat Treatment) หมายถึง สภาพของโลหะที่ผ่านกรรมวิธีทางความร้อน เพ่ือให้เกิดการละลายของธาตุผสมจนเป็นเนื้อเดียวกันจากนั้นท าให้เย็นอย่างรวดเร็วโดยอาจปล่อยให้เย็นตัวในอากาศ โลหะก็จะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดการแยกตัวแข็งโดยอายุ (Natural Aging) ดังนั้นการก ากับสัญลักษณ์ก็จะต้องบอกถึงระยะเวลาที่ทิ้งไว้ด้วย จะเห็นว่าสภาพดังกล่าวนั้น จะเป็นคุณสมบัติเฉพาะของโลหะผสมที่สามารถเกิดการแยกตัวแข็ง (Precipitation Hardening)ได้เองและไม่เกิดขึ้นกับโลหะทั่วๆไป เช่น โลหะอะลูมิเนียมผสมทองแดงที่มีสัญลักษณ์ 2024-W (1/2 hr) หมายความว่า โลหะนี้ได้ผ่านกรรมวิธีทางความร้อน จนท าให้ทองแดงละลายเข้าไปในอะลูมิเนียมจนหมด แล้วปล่อยให้เย็นอย่างรวดเร็วในอากาศ เป็นเวลานานครึ่งชั่วโมง

T คือ อบด้วยความร้อน (Thermally treated) หมายถึงสภาพของโลหะที่ผ่านกรรมวิธีทางความร้อน ซึ่งอาจจะท าร่วมกับกระบวนการท างานทางกลหรือไม่ร่วมก็ได้และตามหลังอักษร T จะมีตัวเลข 2 ถึง 10 ก ากับไว้เพื่อบอกความแตกต่างดังต่อไปนี้

T2 คือ อบอ่อน (Annealed) หมายถึง สภาพอบอ่อนซึ่งใช้เฉพาะส าหรับงานหล่อเท่านั้น

T3 คือ อบละลายและกรรมวิธีการท างานแบบเย็น (Solution Heat Treated and Then Cold Worked) หมายถึงสภาพของโลหะท่ีผ่านการอบละลายแล้วน าไปแปรรูปเย็นเพ่ือเพ่ิมความแข็งแรง

โลหะอะลูมิเนียมผสม (Aluminum Alloy) 19

นายณรงคฤ์ทธิ์ โสสะ ผู้เรียบเรียง

T4 คือ การอบละลายแล้วแยกตัวแข็งโดยอายุ (Solution Treated and Naturally Aged) หมายถึงสภาพของโลหะที่ผ่านการอบละลายแล้วปล่อยให้เกิดการแยกตัวแข็งโดยธรรมชาติและมีระยะเวลา หรืออายุด้วย

T6 คือ การอบละลายแล้วแยกตัวแข็ง (Solution Treated and Aged at Slightly Temperature) หมายถึง สภาพของโลหะที่ผ่านการอบละลาย แล้วไปอบทางความร้อนต่อเพ่ือให้เกิดการแยกตัวแข็ง

T7 คือ อบละลายแล้วท าให้คงสภาพ หมายถึง สภาพของโลหะที่ผ่านการอบละลายโดยการควบคุมทั้งอุณหภูมิและเวลาเพ่ือควบคุมการเติมโตของเกรนหรือเพ่ือควบคุมความเค้นที่ตกค้างภายในโลหะ หรือเพ่ือควบคุมท้ังสองอย่าง

T8 คือ อบละลายแล้วแปรรูปแบบเย็น แล้วอบแยกตัวแข็งหมายถึงสภาพของโลหะที่ผ่านการอบละลาย แล้วน าไปแปรรูปแบบเย็นเพื่อเพ่ิมความแข็งแรงต่อจากนั้นจึงน าไปอบแยกตัวแข็ง

T9 คือ อบละลายแล้วอบแยกตัวแข็งและแปรรูปแบบเย็น หมายถึงสภาพของโลหะที่ผ่านการอบละลาย แล้วอบแยกตัวแข็ง หลังจากนั้นจึงน าไปแปรรูปเย็น เพ่ือเพ่ิมความแข็งแรง

T10 คือ อบแยกแข็งแล้วแปรรูปเย็น หมายถึง สภาพของโลหะที่ผ่านกรรมวิธีทางความร้อนเพ่ือให้เกิดการแยกตัวแข็ง จากนั้นน าไปแปรรูปเย็นอีกเพ่ือเพ่ิมความแข็งแรง

ชนิดของโลหะอะลูมิเนียมผสม

1. Commercially pose aluminium

บริสุทธิ์กว่า 99.0% โดยน้ าหนัก ใช้ท าภาชนะเครื่องครัว ภาชนะใส่อาหาร Aluminium foil ที่บริสุทธิ์มาก เกรด EC (Electrical conductivity grade) ใช้ท าสายไฟฟ้าเปลือย (สายไฟแรงสูง) และ bus bar ชิ้นงานขึ้นรูปของโลหะนี้จัดอยู่ในกลุ่ม 1XXX

2. โลหะอะลูมิเนียมผสมทองแดง (Aluminium–Copper Alloys) (กลุ่ม 2XXX)

ส าหรับโลหะอะลูมิเนียมผสมทองแดง ที่มีปริมาณทองแดงผสมตั้งแต่ 2.5 – 5.5 % จะเป็นโลหะผสมที่สามารถท าให้แข็งขึ้นได้โดยกรรมวีที่เรียกว่า “การท าให้แข็งโดยอายุหรือการแยกแข็งตัว (Age Hardening or Precipitation Hardening)

โลหะอะลูมิเนียมผสม (Aluminum Alloy) 20

นายณรงคฤ์ทธิ์ โสสะ ผู้เรียบเรียง

การท าให้แข็งตัวโดยอายุหรือการแยกตัวแข็งท าได้โดยน าโลหะผสมไปอบละลายที่อุณหภูมิสูง เพ่ือให้เกิดเป็นโลหะเฟสเดียว พิจารณาจากรูปคือ เฟสแอลฟา ( phase) จากนั้นก็ท าให้เย็นตัวลงอย่างรวดเร็วแล้วปล่อยไว้ที่อุณหภูมิห้อง โลหะผสมจะค่อย ๆ แข็งตัวขึ้นเนื่องจากการแยกตัวของสารโครงสร้างเล็กๆ ซึ่งมีผลท าให้โลหะมีความแข็งแรงมีความต้านทานแรงดึงสูงด้วย ส าหรับลักษณะการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของโลหะท่ีเกิด ณ อุณหภูมิห้อง เรียกว่า การท าให้แข็งโดยอายุหรือการแยกแข็งตัว

ส าหรับโลหะผสมบางชนิดถึงแม้ว่าจะทิ้งระยะเวลาที่อุณหภูมิห้องก็ตามจะไม่สามารถเพ่ิมความแข็ง และความแข็งแรงขึ้นอีกได้ แต่ถ้าน าไปอบให้ได้รับความร้อนสูงขึ้นเล็กน้อยแล้วทิ้งไว้ภายในระยะเวลาไม่นาน ก็จะท าให้โลหะผสมนั้น สามารถมีความแข็งและความแข็งแรงเพ่ิมขึ้นได้ลักษณะการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของโลหะที่เกิดขึ้น เรียกว่า “การแยกตัวแข็งโดยกรรมวิธีทางความร้อน” (Artifieial Aging) เช่นการแข็งตัวของโลหะอะลูมิเนียมผสมทองแดงท่ีถูกน าไปอบที่อุณหภูมิประมาณ 300 °F

โลหะอะลูมิเนียมผสมทองแดงมีธาตุอ่ืนผสมเข้าไปอีกบ้าง เพ่ือเป็นการเพ่ิมคุณสมบัติทางกลให้สูงขึ้น ได้แก่ แมกนีเซียม แมงกานีส โครเมียม สังกะสี และนิกเกิล ส าหรับโลหะอะลูมิเนียมผสมทองแดงขึ้นรูปใน อุตสาหกรรมมอยู่ด้วยกัน 3 ชนิดคือ โลหะผสม 2014, 2017, และ 2024

ดูราลูมิน (Duralumin, 2017) เป็นโลหะที่นิยมใช้กันมากที่สุด ซึ่งมีทองแดงผสมอยู่ประมาณ 4% และนิยมใช้กันมากในการท า หมุดย้ าส าหรับเครื่องบิน

โลหะผสม 2014 เป็นโลหะอะลูมิเนียมผสม ทองแดงและแมงกานีส ซึ่งมีปริมาณผสมอยู่มากกว่า ดูราลูมิน (โลหะผสม 2017) จึงท าให้โลหะผสมชนิดนี้มีความต้านทานแรงดึ งสูง มีความแข็งแรงสูง แต่ความเหนียวต่ า นิยมน าไปใช้ท ากระทะล้อรถถัง

โลหะผสม 2024 เป็นโลหะอะลูมิเนียมผสมทองแดง 4.5% และแมกนีเซียม 1.5 % จะมีผลท าให้ความแข็งแรงมากที่สุด ในบรรดาอะลูมิเนียมผสมทองแดงทุกชนิด และโลหะผสมชนิดนี้นิยมใช้ท า โครงสร้างเครื่องบิน หมุดย้ า

นอกจากนี้ยังมีโลหะอะลูมิเนียมผสมทองแดง ที่มีนิกเกิลผสม 2% คือ โลหะผสม 2218 เป็นโลหะผสมที่นิยมน าไปใช้งานที่อุณหภูมิสูง

ส าหรับโลหะอะลูมิเนียมผสมทองแดงท่ีนิยมใช้โดยทั่วไป จะมีทองแดงผสมประมาณ 8% โลหะผสมนี้ได้แก่ 112 113 และ 212 และอาจมีธาตุอ่ืนผสมอยู่บ้าง เช่น ซิลิกอน ซึ่งให้ผลดีพอ ๆ กับการผสมเหล็กและสังกะสี การเพ่ิมซิลิกอนนั้นจะช่วยเพ่ิมให้คุณสมบัติการไหลตัวขณะหล่อดีขึ้น ดังนั้นโลหะผสม 113 และ 212 จึงเหมาะส าหรับชิ้นงานหล่อที่มีขนาดบาง ๆ ได้

โลหะอะลูมิเนียมผสม (Aluminum Alloy) 21

นายณรงคฤ์ทธิ์ โสสะ ผู้เรียบเรียง

นอกจากนี้โลหะผสม อะลูมิเนียม-ทองแดง-ซิลิคอน เช่น 85 108 319 และ380 เป็นโลหะผสมที่มีทองแดงผสมน้อยกว่า 5% และซิลิคอนผสมระหว่าง 3-8% การผสมทองแดงนี้จะช่วยเพ่ิมความแข็งแรงให้สูงขึ้นและเพ่ิมความสามารถในการน าไปตกแต่งด้วยเครื่องจักรดีกว่าโลหะอะลูมิเนียมผสมซิลิกอน

ส าหรับโลหะอะลูมิเนียมผสมทองแดง จากท่ีทราบแล้วว่าถ้าผสมทองแดงในปริมาณที่พอเหมาะจะท าให้เกิดการแยกตัวแข็งดี แต่ถ้าผสมในปริมาณมากก็จะท าให้ความต้านทานการกัดกร่อนลดลงไป เช่น โลหะผสม 2014 2025 7075 การป้องกันการกัดกร่อนของโลหะเหล่านี้ ท าได้โดยใช้อะลูมิ เนียมบริสุทธิ์ประกบเคลือบบนผิว แล้วรีดโดยกระบวนการทางความร้อนให้ติดกับเนื้อโลหะ กรรมวิธีดังกล่าวนี้เรียกว่า “เคลดดิ่ง” และโลหะพวกนี้มีชื่อเรียกพิเศษเรียกว่า แอลเคลด (Alclad) ซึ่งเป็นโลหะที่มีความต้านทานการกัดกร่อนที่ผิวดี ส่วนแกนกลางจะเป็นโลหะที่มีความแข็งแรงสูง

บริษัทอะลูมิเนียมแห่งอเมริกา เป็นผู้ผลิตโลหะแอลเคลต นี้ขึ้นมาใช้หลายชนิดด้วยกัน เช่น Alclad 2024 เป็นโลหะแผ่นที่ใช้อะลูมิเนียมบริสุทธิ์ประกบเคลือบผิว และส าหรับ Alclad 2014 กับ Alclad 7075 ซึ่งเป็นโลหะแผ่นเหมือนกัน แต่ประกบเคลือบผิวด้วยโลหะผสม 6053 (0.1 Cu, 0.6 Si, 0.35 Fe, 1.2 Mg, 0.1 Zn, 0.25 Cr)

3. โลหะอะลูมิเนียมผสมแมงกานีส (Aluminium-Manganese Alloys) (กลุ่ม 3XXX)

โลหะอะลูมิเนียมผสมแมงกานีสขึ้นรูปจะจัดอยู่ในกลุ่ม 3xxx แมงกานีสที่ผสมนี้จะไม่ถือว่าเป็นธาตุผสมหลัก และไม่นิยมน าไปท าการหล่อ แต่อาจจะมีใช้บ้างในงานขึ้นรูป เช่น โลหะผสม 3003 คือโลหะอะลูมิเนียมผสมแมงกานีสขึ้นภาพที่นิยมใช้มาก ซึ่งเป็นโลหะที่มีคุณสมบัติในการขึ้นรูปได้ดี มีความต้านทานการกัดกร่อนสูง และสามารถเชื่อมได้ง่าย จึงเป็นโลหะที่นิยมใช้ท าภาชนะหุงต้ม อุปกรณ์เก็บอาหารและสารเคมี เป็นต้น

4. โลหะอะลูมิเนียมผสมซิลิกอน (Aluminium-Silicon Alloys) (กลุ่ม 4XXX)

โลหะอะลูมิเนียมผสมซิลิกอนขึ้นรูปจะจัดอยู่ในกลุ่มของ 4XXX และซิลิกอนสามารถละลายได้ในอะลูมิเนียมสูงสุด 1.65% ที่อุณหภูมิ 577 องศาเซลเซียส และจะสามารถละลายได้น้อยลงเมื่ออุณหภูมิลดต่ าลง โดยทั่วไป ซิลิกอนที่ผสมในอะลูมิเนียมจะช่วยท าให้ โลหะผสมนี้มีน้ าหนักเบาขึ้นเพ่ิมคุณสมบัติการไหลตัวขณะหล่อดี ซึ่งเหมาะที่จะหล่อชิ้นงานที่มีรูปร่างซับซ้อน การหดตัวของโลหะภายหลังแข็งตัวเกิดขึ้นน้อย

นอกจากนี้ยังจะท าให้ความแข็งแรงของโลหะเพ่ิมสูงขึ้นด้วยโลหะผสมเหล่านี้ โดยทั่วไปไม่สามารถน าไปท า การอบชุบ หรือน าไปผ่านกรรมวิธีทางความร้อนได้ และโลหะอะลูมิเนียมผสมซิลิกอนแบ่งเป็น 2 ชนิดคือ

โลหะอะลูมิเนียมผสม (Aluminum Alloy) 22

นายณรงคฤ์ทธิ์ โสสะ ผู้เรียบเรียง

โลหะผสม 4032 เป็นโลหะอะลูมิเนียมผสมซิลิกอนชนิดขึ้นรูป ที่มีซิลิกอนผสม 12.5% มีคุณสมบัติในการน าไปตีขึ้นรูปได้ดี และมีสัมประสิทธิ์ของการขยายตัวต่ า

โลหะผสม 13 เป็นโลหะอะลูมิเนียมผสมซิลิกอนชนิดหล่อที่มีซิลิกอนผสม 12% มีคุณสมบัติในการไหลตัวขณะหล่อดี และมีความต้านทานการสึกหรอดี จึงนิยมน าไปหล่อชิ้นงานที่มีรูปร่างซับซ้อนได้ดี

สรุปว่าโลหะอะลูมิเนียมผสมซิลิกอน ทั้งสองชนิดที่กล่าวมาแล้วนี้ถ้าเป็นโลหะอะลูมิเนียมผสมกับ ซิลิกอนเพียงอย่างเดียว ส่วยมากแล้วจะมีซิลิกอนผสมอยู่อย่างสูงประมาณ 12%

5. โลหะอะลูมิเนียมผสมแมกนีเซียม (Aluminium–Magnesium Alloys) (กลุ่ม 5XXX)

โลหะอะลูมิเนียมผสมแมกนีเซียมขึ้นรูป จะจัดอยู่ในกลุ่ม 5XXX แมกนีเซียมสามารถละลายได้ในอะลูมิเนียมสูงสุด 14.9% ที่อุณหภูมิ 452 °C และจะสามารถละลายได้น้อยลงเมื่ออุณหภูมิลดต่ าลง โลหะอะลูมิเนียมผสมแมกนีเซียมนี้มีน้ าหนักเบา มีความแข็งแรงสูงปานกลาง และทนต่อการกัดกร่อนภายใต้บรรยากาศทั่วไปได้ดีมาก โดยเฉพาะมีความสามารถในการเชื่อมได้ดี ความต้านทานการสึกหรอดีและมีความแข็งแรงสูง เช่น

โลหะผสม 5005 (0.8%Mg) ใช้ส าหรับท าผลิตภัณฑ์ทางสถาปนิกที่ใช้ตกแต่งภายในอาคาร

โลหะผสม 5050 (2.5%Mg) ใช้ส าหรับท าท่อแก๊สและน้ ามันของรถยนต์

โลหะผสม 5052 (2.5% Mg) ใช้ส าหรับท าท่อเชื้อเพลิงและน้ ามันเครื่องบิน

โลหะผสม 5083 (4.5% Mg) ใช้ส าหรับท าเรือด าน้ าและโครงสร้างที่ต้องผ่านการเชื่อม

โลหะผสม 5056 (5.2%Mg) ใช้ส าหรับท าตะแกรงดักแมลง โลหะหุ้มสายเคเบิลและหมุดย้ าที่ใช้ย้ าโลหะแมกนีเซียม

ส าหรับโลหะอะลูมิเนียมผสมแมกนีเซียมหล่อ จะมีอยู่หลายชนิดด้วยกันดังนี้คือ โลหะผสม 214 (3.8%Mg) โลหะผสม 218 (8%Mg) และโลหะผสม 220 (10%Mg) โลหะผสมสองชนิดแรกใช้ส าหรับท าอุปกรณ์ขนส่งอาหาร ข้อต่อที่ใช้ส าหรับสารเคมีและระบบน้ าทิ้ง และก้านเบรคส าหรับเครื่องบิน ส าหรับโลหะผสม 220 ซึ่งเป็นโลหะที่มีปริมาณ แมกนีเซียม 10% นับว่าเป็นปริมาณที่ค่อนข้างมากจะมีผลท าให้เ พ่ิมความแข็งและความแข็งแรงให้กับโลหะผสมนี้ ได้ เนื่องจากเกิดการแยกตัวแข็ง (Precipitation Hardening) ดังนั้นโลหะผสม 220 จึงนับว่าเป็นโลหะอะลูมิเนียมผสมแมกนีเซียมหล่อชนิดดีที่สุด แต่คุณสมบัติการหล่อของโลหะผสมในกลุ่มนี้ค่อนข้างต่ า ดังนั้นจึงต้องใช้ความระมัดระวังมากในขณะปฏิบัติการหล่อ และธาตุอื่นอาจผสมเพิ่มเข้าไปในโลหะอะลูมิเนียมผสมแมกนีเซียมหล่อได้ เช่น สังกะสี และซิลิกอน เพ่ือ

โลหะอะลูมิเนียมผสม (Aluminum Alloy) 23

นายณรงคฤ์ทธิ์ โสสะ ผู้เรียบเรียง

เพ่ิมคุณสมบัติการหล่อให้ง่ายยิ่งขึ้น เช่น โลหะ A214 (4%Mg, 2.8%Zn) และโลหะ B214 (4%Mg, 1.8%Si)

6. โลหะอะลูมิเนียมผสมแมกนีเซียมและซิลิกอน (Aluminium – Silicon - Magnesium Alloys) (กลุ่ม 6XXX)

โลหะผสมชนิดนี้เป็นโลหะผสมขึ้นรูปจะจัดอยู่ในกลุ่ม 6XXX และการรวมตัวของโลหะผสมชนิดนี้จะเกิดขึ้นโดย แมกนีเซียมและซิลิกอนรวมกันเป็นสารประกอบที่เรียกว่า แมกนีเซียมซิลิไซด์ (Mg2Si) แล้วมารวมตัวกับอะลูมิเนียมเป็นแบบยูเต็คติค ที่อุณหภูมิต่ ากว่า 600 °C โลหะผสมชนิดนี้จะสามารถท าการแยกตัวแข็งโดยกรรมวิธีทางความร้อน (Artificial Aging) ได้ โดยแมกนีเซียมซิลิไซด์จะแยกตัวออกมา ซึ่งมีผลท าให้โลหะนี้มีความแข็งแรงเพ่ิมขึ้น นอกจากนี้แล้วยังมีความต้านทานกัดกร่อนดีอีกด้วย เหมาะแก่การน าไปใช้ ท าเฟอร์นิ เจอร์ เรือแคนู และใช้ในงานสถาปัตยกรรม เป็นต้น และส าหรับโลหะผสม อะลูมิเนียม–แมกนีเซียม– ซิลิกอนชนิดรีดจะมีอยู่ด้วยกันหลายชนิดคือ

โลหะผสม 6053, 6061, และ 6.63 การผสมซิลิกอนด้วยจ านวนพอเหมาะนี้จะสามารถลดปริมาณแมกนีเซียมลงได้ เช่น โลหะผสม 6061(0.6 Si, l Mg) เป็นต้น

โลหะผสมอะลูมิเนียมผสมแมกนีเซียมและซิลิกอนชนิดหล่อ ก็จะมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด เช่น โลหะผสม 355, 356 และ 360 ซึ่งเป็นโลหะผสมที่มีคุณสมบัติการหล่อดีมีความแข็งแรงสูง และมีความต้านทานการสึกหรอดี ในกรณีที่น าโลหะผสมนี้ไปท าการอบชุบ หรือผ่านกรรมวิธีทางความร้อน จะช่วยปรับปรุงคุณสมบัติทางกลให้ดีได้ใกล้เคียง กับโลหะอะลูมิเนียมผสมทองแดง เหมาะแก่การน าไปใช้ท าชิ้นส่วนเครื่องจักรกลและเครื่องบิน

อะลูมิเนียมผสมส าหรับงานหล่อ

โลหะอะลูมิเนียมผสมส าหรับงานหล่อพัฒนามาจากระบบยูเทกติกของระบบ 2 ธาตุ เช่น อะลูมิเนียมผสมซิลิคอน (Al-Si), อะลูมิเนียม-ทองแดง (Al-Cu) และอะลูมิเนียมผสมแมกเนีเซียม (Al-Mg) อย่างไรก็ตาม โลหะที่ใช้งานส่วนใหญ่มักจะพัฒนามาจากระบบอะลูมิเนียม-ซิลิคอน โดยการเติมธาตุแมกนีเซียม (Mg) และหรือทองแดง (Cu) ท าให้โลหะผสมเหล่านี้สามารถชุบแข็งได้ด้วยกระบวนการตกตะกอนเพ่ือเพ่ิมความแข็งแรง การเพ่ิมธาตุผสมบางอย่าง เช่น Ni, Cr และ Mn ยังช่วยท าให้โลหะผสมแข็งเพ่ิมขึ้นโดยกลไกการเพ่ิมความแข็งด้วยการท าให้เป็นสารละลายของแข็งและยังช่วยปรับปรุงความแข็งแรงในการใช้งานที่อุณหภูมิสูง (hot strength) ได้ด้วย

ชนิดของโลหะอะลูมิเนียมผสมส าหรับงานหล่อ (alloy type) ที่ใช้ทั่วไปมี 3 แบบหลัก ๆ ได้แก่

1. โลหะผสมไฮโปยูเทกติก (hypo-eutectic alloys) เช่น LM4, LM25

โลหะอะลูมิเนียมผสม (Aluminum Alloy) 24

นายณรงคฤ์ทธิ์ โสสะ ผู้เรียบเรียง

2. โลหะผสมใกล้ยูเทกติก (near-eutectic alloys) เช่น LM, LM2

3. โลหะผสมไฮเปอร์ยูเทกติก (hyper-eutectic alloys) เช่น LM28

เกรดที่นิยมมากที่สุดได้แก่

1. LM4, LM6, LM25, LM27 ใช้ส าหรับการหล่อในแบบหล่อทราย (sand casting) การหล่อในแบบหล่อชนิดแม่พิมพ์เหล็ก (gravity diecasting) และการหล่อชนิดใช้แรงดันต่ า (low pressure diecasting)

2. LM2, LM6, LM20, LM24 ส าหรับการหล่อแบบใช้แรงดัน

เนื่องจากกรรมวิธีการหล่อแบบอัดด้วยความดันเข้าสู่แบบนั้น สามารถใช้อะลูมิเนียมผสมที่มีปริมาณธาตุผสมของเหล็ก (Fe) และสังกะสี (Zn) สูงได้มากกว่าวิธีอ่ืน ๆ ดังนั้นจึงสามารถใช้ได้กับโลหะผสมเกรด LM2 (ADC12) และ LM24 (ADC10Z)

1. อะลูมิเนียมผสมไฮโปยูเทกติก

โลหะไฮโปยูเทกติก 2 ธาตุของโลหะอะลูมิเนียมผสมซิลิกอน ไม่เป็นที่นิยมใช้กันมากนักเนื่องจากข้อจ ากัดด้านสมบัติทางกล ดังนั้นอะลูมิเนียมไฮโปยูเทกติกมักได้รับการผสมทองแดง และ/หรือ แมกนีเซียม (เช่น LM4, 16, 25, 27) เพ่ือให้สามารถเพ่ิมความแข็งแรงได้ด้วยวิธีการตกตะกอนเพ่ิมความแข็ง (precipitation hardening) โครงสร้างจุลภาคของอะลูมิเนียมผสมชนิด Al-5%Si จะประกอบด้วยเดนไดรต์ของอะลูมิเนียมและยูเทกติกซิลิคอนที่แยกตัวออกมาอยู่ระหว่างเดนไดรต์ (interdendritic “divorced” eutectic Si) และจะเห็นโพรงหดตัว (shrinkage pore) กระจายอยู่บ้าง เนื่องจากโลหะผสมไฮโปยูเทกติกมีช่วงการแข็งตัวกว้าง (wide freezing range)

2. อะลูมิเนียมผสมยูเทกติก

โลหะผสมยูเทกติกอะลูมิเนียมผสมซิลิกอน สามารถใช้ได้โดยตรงในลักษณะของโลหะผสมที่อบชุบเพ่ือเพ่ิมความแข้งแรงไม่ได้ (non-heat-treatable alloys) เช่น LM6 และ LM20 หรือสามารถผสมธาตุทองแดง และ/หรือ แมกนีเซียม หรืออ่ืน ๆ เพ่ือท าให้สามารถเกิดการตกตะกอนเพ่ือเพ่ิมความแข็ง เช่น LM9 และ LM13 อะลูมิเนียมผสมพวกนี้จะไหลตัวในสภาพเหลวได้ดีมาก ใช้งานได้หลากหลายและสามารถผลิตได้มากแบบ ทั้งหล่อในแบบหล่อทรายและหล่อโดยใช้แม่พิมพ์โลหะ ส่วน LM6 และ LM20 จะใช้ในการผลิตแบบใช้แม่พิมพ์โลหะ (diecasting alloy) มากกว่า LM2 และ LM24 เมื่อต้องการความทนต่อการกัดกร่อน โลหะซึ่งมธีาตุผสมทองแดงต่ า เช่นอะลูมิเนียมเกรด LM6 และ LM20 จะทนต่อการกัดกร่อนได้ดีกว่า ท าให้สามารถใช้เป็นชิ้นงานหล่อส าหรับเรือเดินทะเล ข้อต่อของยานพาหนะ ปลอกกันน้ า (water jacket) ตัวถัง (cases) และโคมไฟตามถนน เป็นต้น

เฟสยูเทกติกซิลิคอน (eutectic Si) ในอะลูมิเนียมผสมกลุ่มนี้สามารถท าให้ละเอียดได้โดยการดัดแปลงโครงสร้าง (modification) เมื่อหล่อด้วยแบบหล่อทรายหรือแบบหล่อถาวร (permanent mold)

โลหะอะลูมิเนียมผสม (Aluminum Alloy) 25

นายณรงคฤ์ทธิ์ โสสะ ผู้เรียบเรียง

โดยการเติมธาตุโซเดียมหรือสตรอนเซียม (Sr) ในน้ าโลหะซึ่งผ่านการลดแก๊สมาแล้วก่อนการเทลงแบบหล่อ ในปริมาณเพียง 0.01-0.015% Na เป็นต้น การท าเช่นนี้เป็นการท าให้จุดยูเทกติกย้ายจาก 11.7% Si ไปเป็น 13% Si เพ่ือหลีกเลี่ยงการเกิดซิลิคอนปฐมภูมิ (primary Si) และท าให้เฟสยูเทกติกของซิลิคอนละเอียด แต่อะลูมิเนียมผสมที่ผลิตด้วยวิธีการอัดด้วยความดัน (pressure diecasting) ไม่จ าเป็นต้องดัดแปลงโครงสร้างในระหว่างการหล่อ เนื่องจากการหล่อแบบนี้อะลูมิเนียมจะเย็นตัวได้เร็ว ท าให้เกรนมีความละเอียดเสมือนการถูกดัดแปลงโครงสร้าง ความละเอียดของเฟสซิลิคอนที่เกิดจากการเย็นตัวเร็วหรือการถูกดัดแปลง จะช่วยให้ความแข็งแรงของอะลูมิเนียมผสมสูงขึ้น ตัวอย่างเช่น

หล่อในแบบทราย หล่อแบบเย็นตัวเร็ว

UTS (MPa) 170 [100] 200 [140]

Elongation (%) 8 [3] 4 [2]

*ค่าใน [ ] คือค่าก่อนการดัดแปลง

3. อะลูมิเนียมผสมไฮเปอร์ยูเทกติก

อะลูมิเนียมผสมชนิดไฮเปอร์ยูเทกติก (hyper-eutectic alloys) จะใช้งานในสภาวะที่ต้องการการขยายตัวจากความร้อนต่ าและในขณะเดียวกันทนการเสียดสีได้ดี เช่น ลูกสูบ (piston) ในเครื่องยนต์สันดาปภายใน (internal combustion engine; IC) ได้แก่กลุ่ม LM28 และ LM29 และเสื้อสูบเครื่องยนต์รถที่ผลิตด้วยการหล่อในแม่พิมพ์เหล็ก (diecast car engine) ซึ่งใช้ได้โดยไม่ต้องมีปลอกสูบเหล็ก (iron cylinder liners) ได้แก่ LM30 อะลูมิเนียมผสมไฮเปอร์ยูเทกติกเหล่านี้ต้องเติมฟอสฟอรัส (p) เพ่ือท าให้เฟสซิลิคอนปฐมภูมิ (primary Si) มีขนาดเล็กละเอียด

การเติมธาตุผสมเพื่อปรับปรุงสมบัติทางกลด้วยกรรมวิธีทางความร้อน

โลหะอะลูมิเนียมผสมซิลิคอนชนิดไฮโปยูเทกติก (hupo-eutectic Al-Si alloy) ทุกชนิดจะมีส่วนผสมของทองแดง และ/หรือแมกนีเซียม การผสมธาตุเหล่านี้กระท าเพ่ือเพ่ิมเฟสยูเทกติกอ่ืน ๆ เช่น CuAl2 และ Mg2Si ชิ้นงานหล่อจึงสามารถใช้กรรมวิธีทางความร้อนเพ่ือเพ่ิมความแข็งแรงด้วยวิธีการตกตะกอนเพ่ือเพ่ิมความแข็ง (precipitation hardening) ในงานหล่อที่ผลิตในแบบหล่อทราย (sand mold) และ แบบหล่อพิมพ์เหล็ก (gravity diecasting) การท าการอบคืนโครงสร้างให้เป็นสารละลายที่อุณหภูมิในช่วง 500-520 °C เพ่ือละลายเฟส CuAl2 และ Mg2Si เมื่อชุบด้วยน้ า (water quenching) จะท าให้ธาตุ Cu, Mg และ Si ตกค้างในโครงสร้างของสารละลายของแข็ง ซึ่งภายหลังสามารถท าการบ่มแข็ง (aging) ได้ที่อุณหภูมิ 160-200 °C กระบวนการนี้จะท าให้เกิดการตกตะกอนของเฟสอินเตอร์เมทัลลิก ซึ่งมีความละเอียดมากและช่วยเพ่ิมความแข็งได้ เช่น อะลูมิเนียมผสมเกรด LM4 จากแบบหล่อทรายในสภาพหล่อเสร็จ (as-cast) ให้ความ

โลหะอะลูมิเนียมผสม (Aluminum Alloy) 26

นายณรงคฤ์ทธิ์ โสสะ ผู้เรียบเรียง

ต้านทานแรงดึงสูงสุด (UTS) คือ 140-170 MPa และจะเพ่ิมสูงถึง 230-300 MPa ได้ หากผ่านการอบให้เป็นสารละลายของแข็ง แล้วท าการบ่มแข็ง

ดังที่ได้กล่าวถึงในข้างต้น สมบัติทางกลของอะลูมิเนียมผสมชนิดไฮโปยูเทกติกได้รับอิทธิพลจากขนาดช่วงห่างระหว่างเดนไดรต์ทุติยภูมิ (secondary dendrite arm spacing; das) ซึ่งขึ้นกับอัตราการเย็นตัวระหว่างการแข็งตัวในภาคตัดที่บางและ/หรือการหล่อในแบบหล่อที่น าความร้อนได้ดี (เช่น ในแบบหล่อที่มีการใช้ทุ่นเย็น; metal chill) การเย็นตัวเร็วจะท าให้เดนไดรต์ปฐมภูมิโตอย่างรวดเร็วและท าให้การเกิดแขนเดนไดรต์ตามด้านข้างเกิดถี่ขึ้น ผลก็คือเกิดช่องระหว่างเดนไดรต์ทุติยภูมิ ขนาดเล็ก การที่ das มีขนาดเล็กลงจะมีผลให้เฟสยูเทกติกที่แยกตัวออกมา (divorced eutectic constituents) ซึ่งแข็งตัวภายในช่องว่างระหว่างแขนเดนไดรต์มีความละเอียดขึ้น เช่นเดียวกันการกระจายตัวของโพรงหดตัวระหว่างเดนไดรต์ (interdendritic shrinkage) ก็จะมีขนาดเล็กลงด้วย

ตามที่กล่าวไปแล้ว การที่อะลูมิเนียมมีเกรนละเอียดจะช่วยท าให้มีสมบัติทางกลของชิ้นงานดีขึ้น แต่ประโยชน์ประการส าคัญของการท าให้เกิดเกรนละเอียดคือ การช่วยต้านทานการเกิดรอยแยกในระหว่างการเย็นตัว (hot tearing)* และลดการเกิดพร้อมกับเปลี่ยนแปลงการกระจายของรอยต าหนิจ าพวกโพรงหดตัว (shrinkage porosity) ป้องกันการเสียหายส าหรับชิ้นงานที่มีแรงดันอยู่ภายใน (pressure tightness)๑ การปรับปรุงคุณภาพในการท าให้เกรนละเอียดสามารถท าได้ด้วยการผสมไททาเนียม (Ti) และโบรอน (B) ที่อยู่ในรูปของชิ้นแท็บเบล็ทส าหรับใส่เพ่ือการปรับปรุง (treatment tablet) หรือผสมอยู่ในฟลักซ์ (flux) ก็ได้ ซึ่งสามารถใช้เป็นส่วนผสมในอะลูมิเนียมได้มาถึง 0.15%

โดยทั่วไปอะลูมิเนียมชนิดไฮโปยูเทกติก (hypo-eutectic Si) ไม่ต้องการการดัดแปลงโครงสร้าง แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าโลหะผสมมีปริมาณทองแดงต่ า ก็ต้องท าการดัดแปลงเพ่ิมในบางกรณีเพ่ือท าให้ซิลิคอนที่อยู่ระหว่างแขนเดนไดรต์มีขนาดละเอียดขึ้น ซึ่งจะท าให้ความสามารถยืดตัว (ductility) เพ่ิมขึ้น สิ่งส าคัญมากส าหรับอะลูมิเนียมชนิดนี้คือต้องควบคุมปริมาณเหล็ก (Fe) และ แมงกานีส (Mn) เพ่ือหลีกเหลี่ยงความเปราะที่เกิดจากเฟส Al-Fe-Si ซึ่งมีโครงสร้างเป็นรูปเข็มที่หยาบ (coarse needles) ปริมาณเหล็ก (Fe) ควรมีให้ต่ าที่สุดเท่าที่ท าได้ คือไม่เกิน 0.8% ในขณะที่แมงกานีส (Mn) ควรมีอยู่ในช่วง 0.5 ถึง 0.65% เพ่ือรักษาเหล็กให้ยังคงอยู่ในรูปของเฟส Al-Mn-Fe-Si ซึ่งมีลักษณะเหมือน “ตัวอักษรจีน (Chinesescript)” เฟส Al-Mn-Fe-Si นี้มีผลกระทบในทางลบต่อสมบัติของชิ้นงานน้อยกว่าเฟสรูปเข็มของ Al-Fe-Si จะเห็นได้ชัดเจนว่า ส าหรับอะลูมิเนียมหล่อ กระบวนการหล่อที่ดีควรหลีกเลี่ยงการปนเปื้อน (contamination) ของเหล็ก หรือธาตุและสารเจือปน (impurity) อ่ืน ๆ ที่จะกลายเป็นสารมลทินและท าให้เกิดผลเสียหายตามมาได ้

โลหะอะลูมิเนียมผสม (Aluminum Alloy) 27

นายณรงคฤ์ทธิ์ โสสะ ผู้เรียบเรียง

เอกสารอ้างอิง

มนัส สถิรจินดา. 2536. โลหะนอกกลุ่มเหล็ก. กรุงเทพฯ: ส านักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กิตติพันธุ บางยี่ขัน. เอกสารเผยแพร่ โลหะกับการพัฒนาประเทศ บทที่ 12 อะลูมิเนียม. ส านักอุตสาหกรรมพ้ืนฐาน, กรมอุตสาหกรรมพ้ืนฐานและการเหมืองแร.

วิลเลียม ดี. คาลิสเตอร์, เจอาร์. 2548. วัสดุศาสตร์และวิศวกรรมวัสดุพื้นฐาน (Materials Science and Engineering An Introduction). แปลโดย สุวันชัย พงษ์สุกิจวัฒน์และคณะ. กรุงเทพฯ : ท้อป.

William F. Smith และ Javad Hashemi. 2551. วัสดุวิศวกรรม (Foundations of MATERIALS SCIENCE AND ENGINEERING 4/e). แปลโดย แม้น อมรสิทธิ์ และคณะ. กรุงเทพฯ : ส านักพิมพ์แมคกรอฮิลล์.

George E. Totten and D. Scott MacKenzie. 2003. Handbook of Aluminum: Volume 2: Alloy production and Materials Manufacturing). New York: Marcel Dekker, Inc.

Ulrich Müller. 2011. Introduction to Structural Aluminium Design. Florida: CRC Press.

Hind, A. R.; Bhargava, S. K.; Grocott, S. C., The surface chemistry of Bayer process solids: a review. Colloids Surf., A. 1999, 146, 359-374.

Han, N.M.; Zhang, X.M.; Liu, S.D.; He, D.G.; Zhang, R., Effect of solution treatment on the strength and fracture toughness of aluminum alloy 7050. J. Alloys Compd. 2011, 509, 4138-4145.

top related