Transcript
Page 1: บ ทความ - MTEC a member of NSTDA · 2012-08-17 · มกราคม-มีนาคม 2553 M T E C 41 ภาพที่ 4 ตัวอย่าง postercast 4. Slidecast

อรวรรณ สัมฤทธิ์เดชขจร

ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาต ิ

บ ทความ บ

เนื้อหาในบทความนี้เป็นข้อมูลที่ได้จากการอ่านเพิ่มเติมเพื่อต่อยอดกับประสบการณ์ที่ได้รับจากการไปอบรมเชิงปฏิบัติการในหลักสูตรการเข้าถึงและการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ในยุคดิจิทัล(Scientific Information in theDigital Age: Access andDissemination) ที่ The Abdus SalamInternationalCentreforTheoreticalPhysics(ICTP)เมืองTriesteประเทศอิตาลีโปรแกรมนี้จัดโดยฝ่ายเผยแพร่วิทยาศาสตร์(ScienceDisseminationUnit,SDU)ของICTPซึ่งทางทีมผู้จัดได้เชิญผู้มีความรู้และประสบการณ์ตรงมาบรรยายให้ฟัง หัวข้อที่บรรยายมีหลายเรื่องด้วยกัน แต่ผู้เขียนขอหยิบยกมาเล่าพอสังเขปเพียงบางเรื่องที่เป็นเรื่องทั่วๆไปและสามารถนำมาประยุกต์ใช้งานได้ดังนี้ •การเข้าถึงแบบเสรี(OpenAccess,OA) •รูปแบบการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในยุคดิจิทัล •ระบบการบันทึกอัตโนมัติ(OpenEyA) การเข้าถึงแบบเสรี(OpenAccess) ในช่วงเวลาที่ผ่านมาอัตราค่าสมัครเป็นสมาชิกวารสารวิชาการได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากแต่งบประมาณที่สถาบันการศึกษาได้รับกลับไม่สอดรับกับราคาที่สูงขึ้น ทำให้หลายสถาบันไม่สามารถหาเงินมาสนับสนุนค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นมาได้ จึงจำเป็นต้องยกเลิกการเป็นสมาชิกวารสารบางฉบับไปแม้ว่ายังคงเป็นที่ต้องการอยู่ก็ตามและถึงแม้ว่ารูปแบบของวารสารจะเปลี่ยนจากรูปเล่มมาอยู่ในรูปดิจิทัล แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าจะสามารถเข้าไปดาวน์โหลดบทความนั้นๆ ออกมาได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สภาพการณ์เช่นนี้จึงส่งผลกระทบอย่างมากต่อประเทศกำลังพัฒนาเพราะทำให้ไม่สามารถติดตามผลงานวิชาการที่ทันสมัยได้ อย่างไรก็ดี ยังมีบทความวิชาการอีกประเภทหนึ่งที่มีความถูกต้องเช่นเดียวกับบทความวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารที่เป็นรูปเล่มและวารสารแบบดิจิทัลที่ต้องสมัครเป็นสมาชิก แต่ต่างกันที่บทความเหล่านี้อยู่ในรูปไฟล์ดิจิทัลที่สามารถเข้าถึงได้ด้วยอินเทอร์เน็ตไม่มีค่าใช้จ่ายและไม่กีดกันเรื่องลิขสิทธิ์ผู้อ่านสามารถอ่านดาวน์โหลดสำเนาเผยแพร่พิมพ์ค้นหาทำลิงก์มายังบทความและนำไปใช้ภายใต้กฎหมายโดยไม่มีค่าใช้จ่ายแต่จะต้องมีการอ้างถึงหรือใส่กิตติกรรมประกาศไว้อย่างเหมาะสม

การเข้าถึงและการเผยแพร่ ข้อมูลข่าวสารทางวิทยาศาสตร์

ในยุคดิจิทัล

Page 2: บ ทความ - MTEC a member of NSTDA · 2012-08-17 · มกราคม-มีนาคม 2553 M T E C 41 ภาพที่ 4 ตัวอย่าง postercast 4. Slidecast

มกราคม - มนีาคม 2553 M T E C 38

การเข้าถึงแบบเสรีประกอบด้วย2แนวทางคือ • Golden road คือ การนำบทความวิชาการไปตีพิมพ์ในวารสารที่เข้าถึงได้เสรี (Open AccessJournal) ซึ่งบทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะต้องผ่านการพิจารณาตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญของแต่ละสาขาก่อน(peerreview)ส่วนค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์ที่เกิดขึ้นจะเก็บกับทางผู้เขียนหรือหน่วยงานของผู้เขียนแทนการเก็บจากผู้อ่านหรือหน่วยงานของผู้อ่าน โดยมากงบที่ใช้เป็นค่าใช้จ่ายนี้จะมาจากทุนวิจัยมากกว่ามาจากงบประมาณของทางห้องสมุด รายชื่อวารสารประเภทนี้สามารถเข้าไปดูได้จาก Directory of Open Access Journals(DOAJ)ที่เว็บไซต์http://www.doaj.org/ •Greenroadคือผู้เขียนนำผลงานของตนเองทั้งที่ผ่านการพิจารณาตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญของแต่ละสาขาแล้ว อาทิ บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร (peer-reviewed journal publication)บทความการประชุมวิชาการ(peer-reviewedconferenceproceedingspaper)ตำราวิชาการเฉพาะเรื่อง(monograph) และที่ยังไม่ผ่านการพิจารณาตรวจสอบ (grey literature) อาทิ บทความวิชาการฉบับร่าง(preprint)วิทยานิพนธ์(thesis)ปริญญานิพนธ์(dissertation)รายงานสถิติต่างๆ(statisticalreport)ไปเก็บไว้ในคลังข้อมูล ซึ่งอาจเป็นคลังข้อมูลของทางหน่วยงาน (institutional repository) หรือคลังข้อมูลกลาง(centralrepository)ก็ได้ทั้งนี้เพื่อให้ผู้อ่านเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ได้มากขึ้น ผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปดูรายชื่อคลังข้อมูลได้จาก Directory of Open Access Repositories(DOAR) ที่เว็บไซต์ http://www.opendoar.org/ หรือ Registry of Open Access Repositories ที่เว็บไซต์http://roar.eprints.org/ สำหรับในประเทศไทยจากการเข้าไปสืบค้นที่เว็บไซต์http://www.opendoar.org/พบว่ามีคลังข้อมูล2 แห่งคือ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย(AsianInstituteofTechnology,AIT)โดยใช้ชื่อคลังข้อมูลว่า“NSTDAKnowledgeRepository”และ“ห้องสมุดดิจิทัลคิดดี”(KIDS-D,Knowledge,Imaginary,Discovery,Sharing)ตามลำดับ ประโยชน์ของการเข้าถึงแบบเสรีต่อกลุ่มคนต่างๆ ผู้เขียน : การตีพิมพ์ผลงานในวารสาร OA จะสามารถเพิ่มปริมาณผู้อ่านได้สูงกว่าการตีพิมพ์ลงในวารสารที่ต้องมีการสมัครเป็นสมาชิกอีกทั้งเป็นการเพิ่มจำนวนครั้งการอ้างอิงผลงานดังกล่าวด้วย ผู้อ่าน : ผู้อ่านสามารถเข้าถึงบทความในสาขางานวิจัยที่สนใจได้สะดวกรวดเร็วขึ้นโดยไม่มีค่าใช้จ่ายทำให้สามารถผลิตผลงานวิจัยได้เร็วและมากขึ้น ห้องสมุด : OA สามารถช่วยแก้ปัญหาเรื่องงบประมาณที่ห้องสมุดจะต้องใช้ในการสมัครเป็นสมาชิกวารสารวิชาการที่ราคาสูงขึ้นทุกๆปีได้ มหาวิทยาลัย หรือสถาบันการศึกษา :OA เป็นช่องทางหนึ่งที่ใช้ในการเผยแพร่ผลงานและความรู้สู่สาธารณะ วารสารและสำนักพิมพ์:OAช่วยให้ผู้อ่านบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารนั้นๆสืบค้นและเข้าถึงได้ง่ายขึ้น ทำให้จำนวนครั้งในการถูกอ้างอิงสูงขึ้น จึงเหมือนเป็นสิ่งดึงดูดให้นักเขียนนำบทความมาตีพิมพ์กันมากขึ้นส่วนบริษัทก็ต้องการซื้อพื้นที่ลงโฆษณากันมากขึ้น แหล่งทุนวิจัย:OAจะช่วยให้งานวิจัยที่รับเงินทุนไปเข้าถึงผู้อ่านได้มากและเกิดประโยชน์ในวงกว้าง ประชาชนทั่วไป:OAช่วยให้ประชาชนผู้เสียภาษีเหล่านี้สามารถเข้าถึงบทความวิชาการที่มีการตรวจสอบความถูกต้องได้สะดวกขึ้น อีกทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสในการนำผลงานวิจัยใหม่ๆ ที่ศึกษาโดยนักวิจัยแพทย์หรือนักเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์อีกด้วย หากนักวิจัยหรือผู้ที่ต้องการตีพิมพ์ผลงานวิชาการต้องการให้ผลงานของตนเองเกิดการเข้าถึงอย่างเสรีก็สามารถนำผลงานไปเสนอต่อวารสารชนิดแบบเข้าถึงได้เสรีเพื่อให้พิจารณาตีพิมพ์ ซึ่งสามารถตรวจสอบรายชื่อวารสารที่ตรงกับงานได้จากเว็บไซต์ DOAJ แต่หากยังไม่มีวารสารที่เหมาะสม เช่น ความมีชื่อเสียงในสาขาของงานหรืออิมแพกต์แฟกเตอร์ (impact factor) น้อยไป ผู้เขียนก็มีอีกทางเลือกที่จะทำให้บทความของตนเข้าถึงได้เสรีโดยเก็บไว้ในคลังข้อมูลแทน ภายหลังจากได้รับการตีพิมพ์ในวารสารชนิดที่ไม่สามารถเข้าถึงได้เสรี

มกราคม - มนีาคม 2553 M T E C 38

Page 3: บ ทความ - MTEC a member of NSTDA · 2012-08-17 · มกราคม-มีนาคม 2553 M T E C 41 ภาพที่ 4 ตัวอย่าง postercast 4. Slidecast

มกราคม - มนีาคม 2553 M T E C 39

(non-OA Journal) ซึ่งจากสถิติพบว่าร้อยละ 70 ของวารสารชนิดที่ไม่สามารถเข้าถึงได้เสรียินยอมให้นำบทความหลังการจัดพิมพ์ (postprint) จัดเก็บในคลังข้อมูลได้ ทั้งนี้อาจจะต้องศึกษาถึงนโยบายของวารสารแต่ละฉบับก่อน รูปแบบการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในยุคดิจิทัล ยุคปัจจุบันเป็นยุคที่อินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมาก ทั้งในด้านการสื่อสาร การติดต่อค้าขาย และการเรียนรู้ เด็กในยุคปัจจุบันจะมีรูปแบบการเรียนรู้ที่แตกต่างจากเด็กในยุคก่อนตรงที่สมองจะจดจำภาพมากกว่าตัวหนังสือที่ดูไม่น่าสนใจ อีกทั้งยังใช้เวลาอ่านค่อนข้างมากอีกด้วย ดังนั้น เด็กในยุคปัจจุบันจึงใช้เวลาส่วนใหญ่ท่องโลกอินเทอร์เน็ตเพื่อดูวิดีโอฟังเพลงหรือหาข้อมูลที่สนใจมากกว่า

ด้วยเหตุนี้ จึงเกิดแนวความคิดที่จะใช้อินเทอร์เน็ตมาเป็นช่องทางเพื่อเผยแพร่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์เช่นริชาร์ดมัลเลอร์(RichardMuller)นักฟิสิกส์แห่งUniversityofCalifornia,Berkeleyได้นำการบรรยายเรื่อง “atoms and heat” นำเสนอผ่านเว็บไซต์ YouTube ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่ก่อตั้งในปีค.ศ. 2005 และมีชื่อเสียงโด่งดังมากในเรื่องการนำวิดีโอของตัวเองมาเผยแพร่ และผลสำรวจออกมาว่ายอดการเข้าชมวิดีโอการบรรยายเรื่องนี้สูงมาก ส่งผลให้ทางมหาวิทยาลัยเริ่มนำการบรรยายวิชาทั้งหมดนำเสนอบนเว็บไซต์YouTubeและที่ParmaUniversityก็จัดให้มีวิดีโอเซอร์เวอร์ (videoserver)สำหรับให้อาจารย์และนักศึกษานำวิดีโอมาเผยแพร่ นอกจากนี้ยังมีเว็บไซต์SciVeeซึ่งก่อตั้งในปีค.ศ.2007โดยฟิลเบอร์น(PhilBourne)และลีโอชาลูปา(LeoChalupa)ซึ่งเป็นอีกเว็บไซต์หนึ่งที่อนุญาตให้นักวิทยาศาสตร์สามารถดาวน์โหลดชมและแบ่งปันวิดีโอคลิปอีกทั้งยังนำมาเชื่อมต่อกับผลงานวิทยาศาสตร์โปสเตอร์และสไลด์ เว็บไซต์SciVeeมาจากการรวมคำ2คำคือ“Science”และ“Video”เป็นเว็บไซต์ที่เกิดจากความร่วมมือของ3กลุ่มคือPublicLibraryofScience(PLoS)ซึ่งเป็นวารสารแบบOAทำหน้าที่นำเนื้อหามาเผยแพร่บนเว็บไซต์NationalScienceFoundation(NSF)เป็นแหล่งเงินทุนในการเริ่มทำเว็บไซต์และSan Diego Supercomputer Center (SDSC) ให้เครื่องเซอร์เวอร์ (server) สำหรับจัดเก็บข้อมูลบนเว็บไซต์ เว็บไซต์นี้เปรียบได้กับเป็นที่ที่เหล่านักวิจัยสามารถนำผลงานของตนเองมาเผยแพร่สู่สังคมวิทยาศาสตร์ซึ่งรูปแบบการนำเสนอบทความวิชาการบนเว็บไซต์นี้ไม่จำเป็นต้องเป็นตัวหนังสือเช่นการเสนอผลงานแบบเดิมๆ แต่สามารถเป็นได้ทั้งวิดีโอและรูปภาพ เพราะการนำเสนอด้วยตัวหนังสือเพียงอย่างเดียวจะทำให้งานที่น่าสนใจกลับกลายเป็นงานที่น่าเบื่อได้ อีกทั้งใช้เวลาในการอ่านเพื่อจับประเด็นสำคัญค่อนข้างมาก ในขณะที่

Page 4: บ ทความ - MTEC a member of NSTDA · 2012-08-17 · มกราคม-มีนาคม 2553 M T E C 41 ภาพที่ 4 ตัวอย่าง postercast 4. Slidecast

มกราคม - มนีาคม 2553 M T E C 40

การใช้วิดีโอนำเสนอนอกจากจะช่วยทำให้งานน่าสนใจขึ้นแล้วยังสามารถช่วยให้จับประเด็นสำคัญได้เร็วขึ้นส่วนการใช้ภาพอธิบายเพียงภาพเดียวอาจจะดีกว่าคำอธิบายเป็นพันๆคำก็ได้

รูปแบบการนำเสนอในเว็บไซต์นี้ได้แก่ 1. Pubcast คือ การนำเสนอบทความวิชาการที่ผ่านการพิจารณาตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญแล้วให้ผู้สนใจฟังในรูปแบบวิดีโอที่มีภาพประกอบไปพร้อมๆ กับเนื้อหา โดยจะพูดเนื้อหาตรงจุดที่สำคัญของงาน หรือนำเสนอภาพประกอบที่ช่วยให้เข้าใจในงานได้ดีภายในเวลาสั้นๆ

ภาพที่ 1 สองในสามผู้ก่อตั้ง YouTube (ซ้าย) ชัด เฮอร์เลย์ (Chad Hurley) และ (ขวา) สตีฟ เชน (Steve Chen)

ภาพที่ 2 ฟิล เบอร์นหนึ่งในผู้ก่อตั้ง SciVee

ภาพที่ 3 ตัวอย่าง pubcast

2.Papercastจะคล้ายกับpubcastแต่ต่างกันที่ papercast เป็นการนำเสนอบทความวิชาการที่ยังไม่ผ่านการพิจารณาตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ 3. Postercast คือ การนำเสนอผลงานที่เป็นโปสเตอร์ในรูปแบบวิดีโอที่ผู้ชมสามารถมองเห็นผู้บรรยายอธิบายถึงจุดสำคัญของงานโดยมีภาพประกอบไปพร้อมๆกับเนื้อหาที่กำลังบรรยาย

Page 5: บ ทความ - MTEC a member of NSTDA · 2012-08-17 · มกราคม-มีนาคม 2553 M T E C 41 ภาพที่ 4 ตัวอย่าง postercast 4. Slidecast

มกราคม - มนีาคม 2553 M T E C 41

ภาพที่ 4 ตัวอย่าง postercast

4. Slidecast คือ การนำเสนอในรูปแบบวิดีโอที่ผู้ชมสามารถมองเห็นได้ทั้งผู้บรรยายและสไลด์ประกอบไปพร้อมๆกัน 5.CVcastคือการนำเสนอประวัติย่อและผลงานในรูปแบบวิดีโอ

ภาพที่ 5 ตัวอย่าง CVcast

6. Video & podcast คือ การนำเสนอไฟล์มัลติมีเดียทั่วไป ซึ่งรายละเอียดจะน้อยกว่า pubcastและpostercast การนำเสนอในรูปแบบใหม่นี้ถือได้ว่าเป็นการปฏิวัติการสื่อสารวิทยาศาสตร์เลยก็ว่าได้ เพราะก่อนหน้านี้นักวิจัยจะต้องใช้เวลาอ่านบทความวิชาการที่เกี่ยวข้องกับงานของตนเป็นจำนวนมาก (literature review)แต่ปัจจุบันมีทางเลือกใหม่ในรูปแบบวิดีโอที่สรุปรวบรัดใจความสำคัญเพื่อจะช่วยให้นักวิจัยทำงานได้สะดวก มีประสิทธิภาพ และสนุกกับการทำงานมากขึ้น ส่วนการนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์หรือแบบปากเปล่าในงานประชุมวิชาการโดยปกติก็จะมีเฉพาะบุคคลที่ไปร่วมงานเท่านั้นที่สามารถรับฟังการเสนอผลงานนั้นได้ แต่หากมี

Page 6: บ ทความ - MTEC a member of NSTDA · 2012-08-17 · มกราคม-มีนาคม 2553 M T E C 41 ภาพที่ 4 ตัวอย่าง postercast 4. Slidecast

มกราคม - มนีาคม 2553 M T E C 42

การบันทึกเป็นวิดีโอและเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ตจะทำให้เปิดช่องทางการเผยแพร่ให้กว้างขวางขึ้นไปอีก เพราะบุคคลที่สนใจแต่ไม่สามารถไปร่วมงานได้ก็สามารถติดตามได้ นอกจากจะมีประโยชน์ในกลุ่มวิจัยแล้ว งานทรัพยากรบุคคลก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้เช่นกัน โดยให้ผู้ที่ต้องการสมัครงานนำเสนอประวัติย่อของตนเองในรูปแบบวิดีโอและส่งมาให้พิจารณาก่อน จึงค่อยเรียกเฉพาะผู้ที่เหมาะสมและตรงกับงานที่ต้องการมาสัมภาษณ์จริงก็ได้ OpenEyAระบบการบันทึกอัตโนมัติ หัวข้อนี้เป็นงานวิจัยที่ฝ่ายเผยแพร่วิทยาศาสตร์หรือSDUได้แรงจูงใจจากการที่ICTPซึ่งเป็นหน่วยงานที่สนับสนุนทุนการศึกษาและการวิจัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งให้กับประเทศกำลังพัฒนามีทุนที่จำกัด ทำให้มีนักเรียนที่ได้รับเลือกมาศึกษาและทำวิจัย ณ สถานที่แห่งนี้มีจำนวนน้อย และเพื่อที่จะกระจายความรู้ออกไปให้กว้างขวางจึงเริ่มแนวคิดที่จะสร้างคลังข้อมูลวิดีโอทางเว็บไซต์ในปีค.ศ.2004แต่ต้องประสบปัญหาในเรื่องเวลาการทำงานของเจ้าหน้าที่และค่าใช้จ่ายที่ต้องจัดจ้างคนภายนอกมาบันทึกวิดีโอที่สูงถึง7,500-10,500บาทต่อชั่วโมง อีกทั้งภาพที่บันทึกมักปรากฏเฉพาะผู้บรรยายเท่านั้น ไม่มีข้อมูลเรื่องที่กำลังบรรยายทำให้ผู้ฟังไม่ได้รับประโยชน์เท่าที่ควร ทางทีมวิจัยของเอนริคคาเนสซา(EnriqueCanessa)คาร์โลฟอนดา(CarloFonda)และมาร์โคเซนนาโร (Marco Zennaro) (ภาพที่ 6) จึงได้พัฒนาระบบการบันทึกอัตโนมัติ (automated recordingsystem) ที่มีชื่อว่า “Enhance your Audience, EyA” ขึ้นมาโดยใช้กล้องวิดีโอและกล้องถ่ายภาพดิจิทัลซึ่งปกติใช้เป็นอุปกรณ์หนึ่งในการบันทึกเรื่องราวและถ่ายภาพความประทับใจต่างๆ อยู่แล้วมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนแบบออนไลน์หรือการประชุมวิชาการต่างๆซึ่งวิธีนี้เป็นตัวช่วยให้นักเรียนสามารถเข้ามาทบทวนบทเรียนได้ตลอดเวลาโดยไม่จำกัดเวลาและจำนวนครั้ง ส่วนผู้เข้าร่วมประชุมวิชาการอาจมีหลายหัวข้อที่สนใจแต่เวลาการบรรยายตรงกัน หรือติดภารกิจอื่นทำให้ไม่สามารถเข้าฟังก็สามารถเก็บตกในเรื่องราวที่ตนพลาดได้หรือแม้แต่ผู้ที่สนใจแต่ไม่สามารถมาร่วมงานนั้นๆ ได้ก็สามารถเข้ามาดูเนื้อหาทางเว็บไซต์ที่มีการนำไฟล์ขึ้นเผยแพร่ได้ ระบบการบันทึกอัตโนมัติที่ได้พัฒนาขึ้นมีทั้งแบบที่เคลื่อนที่ได้หรือติดตั้งประจำห้อง แต่อุปกรณ์โดยหลักๆของทั้ง2แบบนี้ประกอบไปด้วย3ส่วนคือ • ฮาร์ดแวร์ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีระบบปฏิบัติการเป็น Ubuntu Linux, กล้องดิจิทัล, ACPowerAdapter,กล้องเว็บแคม(webcam),ไมโครโฟนและขาตั้งกล้องแบบ3ขา(tripod)ดังภาพที่7

ภาพที่ 6 ทีม SDU (ICTP) เอนริค คาเนสซา (ยืน) คาร์โร ฟอนดา (หน้าสุด) และมาร์โค เซนนาโร

ภาพที่ 7 อุปกรณ์ที่ใช้ในการติดตั้งระบบ EyA แบบเคลื่อนที่ได้

Page 7: บ ทความ - MTEC a member of NSTDA · 2012-08-17 · มกราคม-มีนาคม 2553 M T E C 41 ภาพที่ 4 ตัวอย่าง postercast 4. Slidecast

มกราคม - มนีาคม 2553 M T E C 43

•ซอฟต์แวร์ได้แก่ซอร์ฟแวร์ที่พัฒนาขึ้นที่ICTPหรือที่มากับฮาร์ดแวร์ •ระบบเชื่อมต่อทั้งหมดและเน็ตเวิร์ค ระบบนี้สามารถติดตั้งประจำภายในห้องเรียนได้ (ภาพที่ 8) อีกทั้งสามารถตั้งเวลาการบันทึกล่วงหน้าให้สอดคล้องกับชั่วโมงเรียนได้อีกด้วย

การทำงานของระบบบันทึกอัตโนมัตินี้เริ่มจากกล้องเว็บแคมจะทำหน้าที่บันทึกวิดีโอ ไมโครโฟนจะทำหน้าที่บันทึกเสียงและกล้องดิจิทัลจะทำหน้าที่ถ่ายภาพทุกๆช่วงเวลาที่มีการตั้งไว้จากนั้นไฟล์ทั้งหมดที่บันทึกได้จะโอนย้ายไปยังเครื่องเซอร์เวอร์ ภายหลังจากจบการบรรยายจะสามารถดูบันทึกการบรรยายได้ทางเว็บไซต์ซึ่งรายละเอียดของข้อมูลทั้งจากสไลด์บนกระดานดำหรืออื่นๆจะถูกบันทึกไว้ด้วยภาพและจะแสดงไปพร้อมกับการบรรยายที่ได้จากกล้องวิดีโอทำให้ผู้ที่สนใจสามารถติดตามการบรรยายได้เสมือนกับว่าเข้าไปร่วมในชั้นเรียนเลยทีเดียวภาพการบันทึกจะแบ่งเป็น3ส่วนคือ •ส่วนแรกอยู่ด้านบนซ้ายเป็นภาพเคลื่อนไหวพร้อมเสียงที่ได้จากกล้องเว็บแคมและไมโครโฟนทำการบันทึกเหตุการณ์ในห้องโดยรวม • ส่วนที่ 2 อยู่ด้านล่างซ้าย เป็นภาพนิ่งที่ได้จากกล้องดิจิทัล หากสังเกตจะเห็นกรอบที่สามารถใช้เมาส์เปลี่ยนตำแหน่งเพื่อดูภาพขยายตามตำแหน่งที่กรอบนั้นอยู่ได้ •ส่วนที่3อยู่ด้านขวาเป็นภาพขยายของบริเวณกรอบที่เลือก(ภาพที่9)

ภาพที่ 8 อุปกรณ์ที่ใช้ในการติดตั้งระบบ EyA แบบติดประจำที่ในห้องเรียน

ภาพที่ 9 ตัวอย่างการแสดงผลจากการบันทึกด้วย EyA

Page 8: บ ทความ - MTEC a member of NSTDA · 2012-08-17 · มกราคม-มีนาคม 2553 M T E C 41 ภาพที่ 4 ตัวอย่าง postercast 4. Slidecast

มกราคม - มนีาคม 2553 M T E C 44

แหล่งความรู้อ้างอิง Open Access • สไลด์การบรรยายเรื่อง “Introduction to Open Access” และ “Open Repositories” โดย Iryna Kuchma จาก electronic Information For Library (eIFL) • http://74.125.153.132/search?q=cache:HFt-yOWNmJ0J:redo.me.uk/1/www.earlham.edu/~peters • http://www.sherpa.ac.uk/guidance/authors.html#whatoa • http://www.eprints.org/openaccess/ รูปแบบการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในยุคดิจิทัล • สไลด์การบรรยายเรื่อง “scivee.tv: Science Community Site” โดย Philip E. Bourne จาก University of California San Diego • สไลด์การบรรยายเรื่อง “YOUnipor a 2.0 video server” โดย Sara Valla จาก Parma University • http://www.scivee.tv/ • http://en.wikipedia.org/wiki/SciVee OpenEyA ระบบการบันทึกอัตโนมัติ ท่านใดสนใจก็สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในเว็บไซต์ต่างๆ ดังนี้ • http://www.openeya.org/ • http://www.ictp.tv/eya/ หรือหากสนใจการบรรยายและการสาธิตอุปกรณ์สามารถเข้าดูได้ที่ • http://www.ictp.tv/eya/openaccess09.php?day=15 (เวลาประมาณ 14.00-15.00 น.) • http://www.ictp.tv/eya/openaccess09.php?day=16 (เวลาประมาณ 11.30-12.30 น.) บทความวิชาการ • Canessa, E., Fonda, C., and Zennaro, M. (2009). One year of ICTP diploma courses on-line using the automated EyA recording system. Computers & Education, 53, 183-188. รูปภาพประกอบ • http://www.klickfile.com/img/digital-age-paper.png • http://news.xinhuanet.com/english/2008-01/25/xinsrc_3020105250916984211336.jpg • http://www.scivee.tv/assets/videothumb/9264 • http://www.scivee.tv/node/7757 • http://pio.ictp.it/words/newsletter/backissues/News_112/NL112_images/SDU.jpg • http://www.openeya.org/wp-content/uploads/openeya-full-setup3.jpg • สไลด์การบรรยายเรื่อง “Open Academic Webcasting with Linux: openEyA” โดย Carlo Fonda และทีม SDU (ICTP)

ประโยชน์ที่ได้รับจากงานวิจัยนี้ ได้แก่ ช่วยทบทวนในบางช่วงบางตอนที่ตามไม่ทันในชั้นเรียน ช่วยให้เข้าใจได้มากขึ้นสามารถติดตามการเรียนการสอนในวันที่ไม่มาเข้าชั้นเรียนได้ช่วยให้เข้าใจประเด็นที่ผู้บรรยายสอนเร็ว ช่วยในการเตรียมตัวสอบ ช่วยในการปรับตัวให้อยู่ในสภาพแวดล้อมของภาษาอังกฤษ คลายกังวลเรื่องการจดและหันมาใส่ใจในเนื้อหามากขึ้นหากหน่วยงานใดที่สนใจก็สามารถนำระบบนี้ไปประยุกต์ใช้ได้โดยศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลอ้างอิง


Top Related