Transcript
Page 1: ชุมชนการเรียนรู้ทาง ...apps.qlf.or.th/member/UploadedFiles/prefix-01042559-110512-Cd8115.pdf · ภายหลังคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

ภายหลังคำสั ่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

ท่ี 10/2559 เร่ือง การขับเคล่ือนการปฏิรปูการศึกษาของกระทรวง

ศึกษาธิการในภูมิภาค และคำสั่งที่ 11/2559 เรื่องการบริหาร

ราชการของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค ที่ประกาศออกมา

ในช่วงค่ำของวันที่ 21 มีนาคม 2559 ดูจะทำให้เกิดบรรยากาศ

“ฝุ่นตลบ” และการตั้งคำถามเกี่ยวกับโครงสร้างและบทบาท

ของการจัดการศึกษาของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ

พอสมควร อย่างไรก็ตามคำสั่งดังกล่าวดูจะสนับสนุนทิศทาง

การจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ที ่หลายจังหวัดรวมถึงอำนาจเจริญ

กำลังดำเนินการอยู่

มหกรรมเพิ ่มพูนปัญญา ส่งเสริมชุมชนการเรียนรู ้ทาง

วิชาชีพ สู่การปฏิรูปการเรียนรู ้เชิงพื ้นที ่จังหวัดอำนาจเจริญ

“ร่วมคิด ร่วมทำ หนุนนำ พัฒนาการศึกษาการเรียนรู ้ของ

คนอำนาจเจริญ” จัดขึ้นในวันอังคารที่ 22 มีนาคม 2559 ณ

โดมเฉลิมพระเกียรติ โรงเรียนอนุบาลอำนาจเจริญ จังหวัด

อำนาจเจริญ ด้วยการลงแรงแข็งขันของสภาการศึกษาจังหวัด

อำนาจเจริญ นำโดยนายนรงฤทธิ์ จันทรเนตร ประธาน

สภาการศึกษาอำนาจเจริญและนางสุภาพ บุญหลงที่ปรึกษา

นายก อบจ.อำนาจเจริญ มีปลัดจังหวัดอำนาจเจริญมาเป็น

ประธานในพิธีเปิด วัตถุประสงค์การประชุมเพื่อกระตุ้นให้เกิด

ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โจทย์ขับเคลื่อนการศึกษาเชิงพื้นที่อำนาจเจริญ พัฒนะพงษ์ สุขมะดัน

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และขยายผลการพัฒนาชุมชนแห่งการ

เรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียน (Professional Learning Community-

PLC)เป็นการพัฒนา“ครู”บนฐานความคิดที่ว่าครูดีครูเก่งมีอยู่

ในพื้นที่ ให้ครูได้เรียนรู้จากประสบการณ์ซึ่งกันและกัน ไม่ดึงครู

ออกจากห้องเรียน

การสร้างชุมชนการเรียนรูห้รือการพัฒนาครขูองอำนาจเจริญ

เป็นงานส่วนหนึ่งของการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่มีวัตถุประสงค์

เพื ่อให้เกิดการคิดและการทำงานร่วมกันว่าคนอำนาจเจริญ

อยากได้ครูในแบบใดและจะร่วมกันสร้างครูในรูปแบบนั้นได้

อย่างไร เป็นความพยายามที่จะสร้างกลไกพัฒนาครูของตนเอง

พร้อมๆ กับการสร้างฐานข้อมูลบุคลากรทางการศึกษาในพื้นที่

งานพัฒนาครใูนอำนาจเจริญเร่ิมต้นจากการทำงานผ่านเครือข่าย

ครูจากโรงเรียน8แห่งในระยะแรกประกอบด้วยโรงเรียนหัวดง

หนองคลอง โรงเรียนเจริญวิทยา โรงเรียนบ้านดงมะยางหนอง

นกหอ โรงเรียนบ้านคำเดือย โรงเรียนบ้านสมสะอาดเนินกุง

โรงเรียนโคกสวาสดิ์หนองสองห้องดอนแดง โรงเรียนเทศบาล 1

วัดเทพมงคล และโรงเรียนบ้านดอนแดงนาโนน ในงานมหกรรม

เพิ่มพูนปัญญาฯ ครูและผู้บริหารจากโรงเรียนทั้ง 8 แห่ง ได้มา

ร่วมกันแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการสร้างชุมชนการเรียนรู้

โดยแต่ละแห่งก็มีรูปแบบและวิธีการที่แตกต่างกันไปตามบริบท

จั ง ห วั ด ป ฏิ รู ป ก า ร เ รี ย น รู้

เด่นในฉบับ.. • ชุมชนแห่งการเรียนรู้ครูบนดอย

• ระบบฐานข้อมูลสารสนเทศเพื่อสนับสนุนกิจกรรม

ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้

• ติดตามความเคลื่อนไหวของจังหวัดปฏิรูปการเรียนรู้ที ่

ABENetwork’sCorner

ฉบับที่

อ่านต่อหน้า4

วันที่ 1 เมษายน 2559 19

Page 2: ชุมชนการเรียนรู้ทาง ...apps.qlf.or.th/member/UploadedFiles/prefix-01042559-110512-Cd8115.pdf · ภายหลังคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

2

“บ้านแม่ลิด” โรงเรียนที่อยู่ในหุบเขาสูงของอำเภอแม่สะเรียง

จังหวัดแม่ฮ่องสอน แม้เส้นทางคมนาคมคดเคี้ยวยากลำบากอีกทั้ง

ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ใดๆ เข้าถึง แต่นั่นไม่ใช่อุปสรรคแต่อย่างใด

โรงเรียนแห่งนี ้จัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับอนุบาล ถึง ม.3

มุ่งเน้น 3 ทักษะหลักคือ ทักษะวิชาการ ทักษะวิชาชีพ และทักษะ

ชีวิต มีผู้บริหารและคุณครูรวม 18 คน นักเรียนทั้งหมด 326 คน

นักเรียนทั้งหมดเป็นชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงขาว(สกอร์)อีกทั้งที่นี่ยังเป็น

ที ่พำนักพักนอนสำหรับนักเรียนกว่า 50 คน ที ่บ้านอยู ่ไกล ไม่

สามารถเดินทางไปกลับในแต่ละวันได้ นักเรียนบางคนต้องเดินจาก

บ้านมาโรงเรียนไกล 20-30 กิโลเมตร การย้ายเข้าออกของคุณครู

เฉลี่ยปีละ 1-2 คน ยังคงเป็นปัญหาจากความทุรกันดารยากลำบาก

ดังกล่าว

ผู ้เขียนได้มีโอกาสเดินทางไปร่วมเรียนรู ้กระบวนการพัฒนา

ชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพเพื่อพัฒนาผู้เรียน (Professional Learning

Community-PLC) ร ่วมกับผู ้บริหารและคุณครูที ่โรงเร ียนแห่งนี ้

ในวันเสาร์ที่ 5 มีนาคม 2559 ทันทีที่เดินทางมาถึงโรงเรียนก็สัมผัส

ได้ถึงบรรยากาศของความสุขความอบอุ่น คุณครูที ่นี ่อยู ่ร ่วมกัน

แบบพี่น้องครอบครัว มีผู ้บริหารที ่พร้อมจะหนุนเสริมช่วยเหลือ

กิจกรรมในวันนี้เกิดขึ้นด้วยความสนใจของ ผอ.สายัญ โพธิ์สุวรรณ

ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านแม่ลิด ที่มุ่งมั่นตั้งใจจัดให้มี “ชุมชนการ

เรียนรู้ ชุมชนแห่งความรัก และชุมชนแห่งความสุข” ขึ้นที่นี ่

โดยมุ่งเน้นที่จะร่วมกันจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาให้นักเรียนมี

คุณลักษณะสำคัญคือ ความมีจิตสาธารณะ ด้วยตระหนักว่า

คุณสมบัติน ี ้จะทำให้เด็กๆ ที ่น ี ่ม ีค ุณค่าและเป็นประโยชน์ต่อ

ส่วนรวมมากกว่าการเรียนรู้เพียงเพื่อให้ตนเองอยู่รอด เปลี่ยนแนวคิด

การจัดการศึกษาที ่เน้นการแข่งขันไปสู ่กระบวนการเรียนรู ้เพื ่อ

ช่วยเหลือแบ่งป ันส ิ ่งด ีๆ สมัครสมานสามัคคีและมีจ ิตอาสา

นี่จึงเป็นจุดร่วมในการกำหนดเป้าหมายPLCของโรงเรียนแห่งนี้

กระบวนการ PLC เริ่มขึ้นด้วยการเปิดใจของทั้งผู้บริหารและ

ครู แต่ละคนได้มีโอกาสพูดคุยกับคนที่ตนเองคิดว่าสนิทน้อยที่สุด

เพื ่อทำความรู ้จักและสร้างความสัมพันธ์อันดีในการใช้ชีวิตและ

ทำงานร่วมกันมากขึ้น นอกจากแนะนำตนเองแล้วการดึงจุดเด่นที่

ตนเองคิดว่าเป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอนเพื่อนำมาเล่า

ให้เพื่อนๆ ได้รับรู้ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่จะนำไปสู่การช่วยเหลือเกื้อกูล

ถ้อยทีถ้อยอาศัยซึ่งกันและกันจากจุดแข็งที่แต่ละคนมี

ผู้บริหารและคุณครูได้เรียนรู้ตัวอย่าง PLC จากโรงเรียนจำลอง

“ดงละครรำ” ร่วมกันวิเคราะห์ข้อเด่น ข้อด้อยจากตัวอย่างดังกล่าว

รวมถึงสิ่งที่คิดว่าจะสามารถนำมาปรับใช้ในการพัฒนาชุมชนแห่งการ

เรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนที่โรงเรียนบ้านแม่ลิดได้ กิจกรรมนี้ทำให้เห็น

ภาพร่วมกันว่า PLC จะเกิดขึ้นได้เมื่อผู้บริหารและคุณครูทุกคนใน

โรงเรียนเห็นเป้าหมายร่วมกันตระหนักว่าอะไรคือปัญหาของผู้เรียนที่

จะต้องร่วมกันแก้ไข มีการทำงานร่วมกันเป็นทีมเพ่ือแก้ปัญหาดังกล่าว

คุณครูช่วยกันออกแบบกระบวนการจัดการเรียนการสอนแลกเปลี่ยน

เรียนรู้ร่วมกันอย่างต่อเนื่องตลอดการทำงาน โดยมีผู้บริหารเป็นผู้นำ

กระบวนการคอยหนุนเสริมช่วยเหลือ

จากตัวอย่างดังกล่าว คุณครูแต่ละช่วงชั้นได้มีการวิเคราะห์

ร่วมกันเพ่ือกำหนดจุดร่วมในการพัฒนาผูเ้รียน โดยเบ้ืองต้นครอูนุบาล

และช่วงชั้นที่ 1 (ป.1-ป.3) ตั้งเป้าหมายร่วมกันที่จะพัฒนาผู้เรียนให้

อ่านออกเขียนได้ 100%คุณครูช่วงชั้นที่ 2 (ป.4-ป.6) ตั้งเป้าหมายที่

จะพัฒนาให้นักเรียนกล้าพูดแสดงความคิดเห็น กล้าแสดงออก

คุณครูช่วงชั้นที่ 3 (ม.1-ม.3) ตั้งเป้าหมายที่จะพัฒนาผู้เรียนให้มีจิต

สาธารณะ การตั้งเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนดังกล่าวนับเป็น

จุดเริ่มต้นและก้าวย่างที่สำคัญของการทำงานร่วมกันในกลุ่มครูและ

ผู้บริหารผ่านชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพจากนี้ต่อไป

หลังจากทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันด้วยความสุขทั้งวัน คุณครูได้

สะท้อนความคิดความรู้สึกว่า ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ น่าจะ

สร้างสัมพันธ์ที ่แนบแน่นมากขึ้น เด็กๆ ได้รับความใส่ใจมากขึ้น

ผลการเรียนจึงต้องดีขึ้นอย่างแน่นอน และไม่น่าเชื่อว่า ชุมชนการ

เรียนรู้ทางวิชาชีพเป็นเส้นทางที่ไม่ได้ยากเท่าที่เคยกลัว และน่าจะ

สร้างสิ่งดีดีอีกมากมาย สำหรับ ผอ.สายัญ ก็ได้ย้ำในช่วงท้ายก่อน

เสร็จสิ้นกิจกรรมว่าชุมชนแห่งการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนนี้ จะเป็น

เครื ่องมือ/วิธีการที่ทำให้แต่ละคนได้สะท้อนและแสดงพลังความ

สามารถของตนเองออกมา ด้วยตระหนักว่าเพื่อนทุกคนมีคุณค่า

มีความสามารถ มีความหมาย กระบวนการนี้จะช่วยดึงพลังของ

พวกเราให้มาทำงานร่วมกัน เกิดวัฒนธรรมทำงานกันแบบพี่น้องที่

พร้อมเรียนรู้ แก้ไข ปรับปรุงพัฒนาไปพร้อมๆ กัน เพื่อเป้าหมาย

สำคัญคือ“คุณภาพผู้เรียนที่ดี”

บ้านแม่ลิด เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นว่า ความยาก

ลำบากมิได้เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาผู้เรียนแต่อย่างใด และ

ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาผู้เรียนสามารถเกิด

ขึ้นได้ไม่ว่าอยู่ที่ใด ขอเพียงผู้บริหาร คุณครูและบุคลากรทุกคนใน

โรงเรียนมีความมุ่งมั่นตั้งใจเอาจริงเอาจัง

พัฒนาคน... พัฒนางาน

ดร.ประพาฬรัตน์ คชเสนา

ชุมชนแห่งการเรียนรู้ ครูบนดอย

Page 3: ชุมชนการเรียนรู้ทาง ...apps.qlf.or.th/member/UploadedFiles/prefix-01042559-110512-Cd8115.pdf · ภายหลังคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

จากนโยบายการปรับเวลาเรียนของรัฐมนตรีว่าการกระทรวง

ศึกษาธิการ ให้ลดชั่วโมงเรียนของเด็กลง โดยเรียนภาควิชาการใน

สาระหลักเพียงแค่เวลา 14.30 น. จากนั้นให้เด็กนักเรียนทำกิจกรรม

นอกห้องเรียน เพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในทุกด้าน ในรูปแบบ

ของกิจกรรมเสริมหลักสูตร และการเรียนรู้แบบบูรณาการ นั่นก็คือ

นโยบาย ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ อันหมายถึง การลดเวลาเรียนภาค

วิชาการและการลดเวลาของการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็น

ผูรั้บความรู้เช่นการบรรยายการสาธิตการศึกษาใบความรู้ให้น้อยลง

และเพิ่มเวลาและโอกาสให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง มีประสบการณ์

ตรง คิดวิเคราะห์ ทำงานเป็นทีม และเรียนรูด้้วยตนเองอย่างมีความสุข

จากกิจกรรมสร้างสรรค์ที่หลากหลายมากขึ้น ซึ่งเป็นกรอบวิสัยทัศน์

ด้านการศึกษา เพื่อเตรียมนักเรียนให้พร้อมเข้าสู่การเรียนรู้ในศตวรรษ

ที่ 21ของไทยนั้นสอดคล้องกับของหลายประเทศที่เป็นผู้นำด้านการ

ศึกษาของโลก ซึ ่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั ้นพื ้นฐาน

กระทรวงศึกษาธิการ ได้กำหนดแนวทางการบริหารจัดการลดเวลา

เรียนเพิ่มเวลารู้ดังรูปด้านล่างนี้

ดังนั ้น สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู ้และคุณภาพ

เยาวชน (สสค.) และทีมวิจัยระบบฐานข้อมูลสารสนเทศ คณะ

วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จึงได้ร่วมพัฒนาระบบฐาน

ข้อมูลสารสนเทศสำหรับกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ขึ้นมา เพื่อให้

สอดคล้องต่อนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ และเพื่อรองรับต่อ

การใช้งานของสถานศึกษา เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนเป็นไป

อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในการบันทึกกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้

ระบบข้อมูลสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ ดร.วรลักษณ์ คงเด่นฟ้า

3

รณรงค์สื่อสาร จังหวัดปฏิรูปการเรียนรู้

ครูสามารถเข้าไปจัดการข้อมูลได้ตามที่วางแผนงานไว้ โดย

สามารถเพิ่มกิจกรรมหรือแก้ไขกิจกรรมได้หลังจากนั้นสามารถ

เพิ ่มเด็กเข้าสู ่กิจกรรมได้โดยสามารถระบุได้ว่าจะเพิ ่มเด็ก

นักเรียนเป็นห้องหรือคละห้อง

และในกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ครูผู้สอนสามารถ

เข้าไปประเมินผลการเข้าร่วมกิจกรรมของเด็กนักเรียนได้ โดย

การประเมินผลจะประเมินในแต่ละจุดประสงค์ว่า ผ่านการ

ประเมินหรือไม่ผ่านการประเมิน

สุดท้ายนี ้ สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู ้และ

คุณภาพเยาวชน (สสค.) และทีมวิจัยระบบฐานข้อมลูสารสนเทศ

คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวรหวังว่า ระบบฐาน

ข้อมูลสารสนเทศสำหรับกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้นี้ จะ

สามารถเป็นเครื่องมือในการจัดการกิจกรรมการเรียนการสอนได้

เป็นอย่างดี และหวังว่าจะช่วยลดภาระการทำงานของครูผู้ดูแล

กิจกรรมลงได้ และเพื่อสนับสนุนและเสริมสร้างการเรียนรู้ของ

นักเรียนให้มีประสิทธิภาพและเป็นไปตามนโยบายของกระทรวง

ศึกษาธิการ ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทยและเตรียม

นักเรียนให้พร้อมเข้าสู่ การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ได้อย่าง

มั่นคง

รูปแสดงหน้าประเมินผลกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้

รูปแสดงหน้าบันทึกกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้

Page 4: ชุมชนการเรียนรู้ทาง ...apps.qlf.or.th/member/UploadedFiles/prefix-01042559-110512-Cd8115.pdf · ภายหลังคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

อำนาจเจริญ : 22 มีนาคม 2559 สภาการศึกษาจังหวัดอำนาจเจริญจัดงานมหกรรม

เพิ่มพูนปัญญา ส่งเสริมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สู่การปฏิรูปการเรียนรู้เชิงพื้นที่

จังหวัดอำนาจเจริญ งานนี้ 2 พ่อใหญ่ของการปฏิรูปการเรียนรู้ฯ ทั้งอดีตประธานคณะ

ทำงานฯนายสมนึก มีทอง และประธานฯ คนปัจจุบันนายนรงฤทธิ์ จันทรเนตร

ทั้งยังมีนพ.ชัยพรทองประเสริฐกำลังสำคัญอีกคนมากันพร้อมหน้า

สุราษฎร์ธานี : เสร็จสิ ้นเป็นที ่เรียบร้อยแล้วสำหรับการจัดทำ “คู ่มือครูหลักสูตร

พุทธทาสศึกษา” เริ่มจัดทำตั้งแต่ 29 กุมภาพันธ์ 2559 มาแล้วเสร็จเอา 21 มีนาคม

2559หัวขบวนทั้ง3ท่าน นายธีรวัฒน์ รัตนกุล นายชัยวัฒน์ แก้วบัวทองและนาย

สุชาติ เหล่ากอ ลงแรงแข็งขันหวังเป็นอย่างยิ่งว่าคู่มือนี้จะง่ายต่อการนำไปใช้กับ

โรงเรียนนำร่องทั้ง12แห่ง

ตราด : 23 มีนาคม 2559 ชาวตราดจัดงาน “ตราดรำลึก” เพื่อน้อมรำลึกถึงพระ

มหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวหรือ “เสด็จพ่อ ร.5” ที่

ได้นำตราดกลับคืนมาเป็นดินแดนของสยามประเทศจากการล่าอาณานิคมของตะวันตกใน

สมัยนั้น ในโอกาสครอบรอบ 110 ปี คณะทำงานจัดการศึกษาเชิงพื้นที่โดยนายธันยา

หาญพลได้นำวาระทางการศึกษาผนวกไว้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมตราดรำลึกด้วย

สมัครสมาชิก สสค. ดาวน์โหลดไฟล์จดหมายข่าว “สานปัญญา” ได้ที่ www.QLF.or.th

ติดตามข่าวสาร สสค. ที่ Quality Learning Foundation QLFThailand

แจ้งเปลี่ยนที่อยู่สมาชิก/สอบถาม โทร. 02-6191811

ต่อจาก หน้า 1

ABE Network’s Corner

ของตนเองแต่ล้วนมีเป้าหมายที่การพัฒนาผู้เรียนเป็นสำคัญ

เช่น การแก้ปัญหาอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ การฝึกคิดวิเคราะห์

หรือการเรียนที่เน้นการฝึกปฏิบัติ เป็นต้น ความสำเร็จสู่ผู้เรียน

จากโรงเรียนที่ร่วมโครงการในระยะแรกนี้กำลังจะขยายไปสู่

โรงเรียนอีก11แห่งในระยะต่อไป

การสร้างชุมชนการเรียนรู้เป็นหนึ่งในโจทย์ขับเคลื่อนการ

จัดการศึกษาเชิงพื้นที่ของจังหวัดอำนาจเจริญ ซึ่งก่อนหน้านี้

ประมาณ 3 เดือน จังหวัดอำนาจเจริญได้มีการก่อตั้งสภา-

การศึกษาจังหวัดขึ้นเป็นที่รวมของความร่วมมือ นักคิดและ

คนทำงานไม่เฉพาะเพียงนักการศึกษาแต่ขยายวงไปสู่องค์กร

ปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ประกอบการ องค์กรชุมชน สื่อมวลชน

หน่วยงานสาธารณสุข ยุติธรรม เป็นต้น สภาการศึกษาจังหวัด

อำนาจเจริญจึงเป็นกลไกความร่วมมือที ่เกิดขึ ้นเพื ่อมุ ่งหวัง

ยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ของเด็กเยาวชนในพื้นที่ การสร้าง

ชุมชนแห่งการเรียนรู้ของสภาการศึกษาจังหวัดอำนาจเจริญแม้

จะเป็นเสมือนการ “ซ้อมมือ” การทำงานร่วมกันของสภาการ

ศึกษาจังหวัดกับโรงเรียนในพื้นที่แล้ว ในขณะเดียวกันก็เป็นการ

พิสูจน์ให้เห็นคุณค่าการคงอยู ่ของกลไกความร่วมมือนี ้ด้วย

พร้อมๆกับการขยายผลโรงเรียนในเครือข่ายชุมชนแห่งการเรียนรู ้

สภาการศึกษาจังหวัดอำนาจเจริญกำลังรวบรวมข้อมูลและ

ความเห็นจัดทำเป็นร่างแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดเสนอต่อ

ผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อบรรจุเข้าไว้ในแผนยุทธศาสตร์จังหวัด

เพื่อให้การขับเคลื่อนการศึกษาของจังหวัดของทุกหน่วยงานใน

พื้นที่สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน โดยคาดว่าจะสามารถ

ดำเนินงานได้ทันการตั้งงบประมาณของจังหวัดในปีงบประมาณ

2560นี้

ในช่วงท้ายของมหกรรมเพิ ่มพูนปัญญาฯ นายนรงฤทธิ ์

จันทรเนตร ประธานสภาการศึกษาจังหวัดอำนาจเจริญ ได้

ขอบคุณครูและผู้บริหารสถานศึกษาในเครือข่ายทุกแห่งที่เข้า

ร่วมโครงการ สมาชิกสภาการศึกษาจังหวัดอำนาจเจริญและ

หน่วยงานสนับสนุนโดยเฉพาะองค์การบริหารส่วนจังหวัด

อำนาจเจริญท่ีร่วมกันเป็นเจ้าภาพทำให้การทำงานลุล่วงไปด้วยดี

รวมถึง รศ.ดร.บังอร เสรีรัตน์ และคณะ และนางสาว

ประพาฬรัตน์ คชเสนา นักวิชาการจาก สสค. ที่ได้ร่วมเป็น

พี่เลี้ยงให้คำแนะนำการดำเนินงาน พร้อมทั้งได้กล่าวถึงบทบาท

ของสภาการศึกษาจังหวัดอำนาจเจริญว่า “สภาการศึกษา

จังหวัดอำนาจเจริญได้คิดและทำงานการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่

มาระยะหนึ่งแล้ว หลังจากนี้จะทำงานเป็นเพื่อนคู่คิดไปพร้อมๆ

กับคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด หรือ “กศจ.” ที่รัฐบาลเพิ่ง

มีคำสั่งแต่งตั้งขึ้น เพื่อให้การดูแลเด็กเยาวชนคนอำนาจเจริญ

เป็นเรื่องของคนอำนาจเจริญอย่างแท้จริง”


Top Related