Transcript

คำนำ

พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖ หมวด ๘ การประเมินผลการปฏิบัติราชการ กำหนดให้ส่วนราชการดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ คุณภาพการให้บริการ ความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการความคุ้มค่าในภารกิจ และอาจจัดให้มีการประเมินผลภาพรวมของผู้บังคับบัญชาแต่ละระดับ หรือหน่วยงานในส่วนราชการ โดยส่วนราชการที่ให้บริการมีคุณภาพเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด สามารถเพิ่มผลงาน โดยไม่เป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายหรือสามารถดำเนินการตามแผนลดค่าใช้จ่ายต่อหน่วยได้ ส่วนราชการจะได้รับจัดสรรเงินรางวัลเพื่อนำไปจัดสรรในส่วนราชการ

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้กำหนดให้หน่วยงานในระดับกองบัญชาการ หรือเทียบเท่า และ หน่วยงานระดับกองบังคับการในสังกัดสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ จัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการและประเมินผลการปฏิบัติราชการ ทั้งนี้ สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ ได้จัดทำคู่มือการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามแผนปฏิบัติราชการของหน่วย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕7 เพื่อให้ทุกหน่วยงานในสังกัดใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ซึ่งจะช่วยให้ทุกหน่วยงานมีความเข้าใจเกี่ยวกับกรอบและแนวทางการประเมินผลการปฏิบัติราชการมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้การประเมินผลการปฏิบัติราชการตามแผนปฏิบัติราชการของหน่วย เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ตามเป้าหมายที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กำหนดต่อไป

ทั้งนี้ หากเกณฑ์การให้คะแนนหรือตัวชี้วัด หรือข้อความอื่นใดที่ปรากฏในคู่มือการประเมินผลฯ นี้ ขัดแย้งกับหนังสือเวียนที่สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ ได้แจ้งไว้ก่อนหน้านี้ ขอให้ใช้ข้อความตามคู่มือการประเมินผล ฯ แทน

สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

สารบัญ

หน้า

บทที่ ๑ กรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามแผนปฏิบัติราชการของหน่วย

๑.๑ หลักการและที่มา 1

๑.๒ กรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการ 2

บทที่ ๒ แนวทางการจัดทำคำรับรองและการติดตามประเมินผลการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2557

2.1 กลไกและวิธีการในการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการ 9

2.2 การจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการ 10

2.3 แนวทางในการติดตามประเมินผลการปฏิบัติราชการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ 12

บทที่ 3 การติดตามและประเมินผลการปฏิบัติราชการ

3.๑ วัตถุประสงค์ในการติดตามความก้าวหน้าและประเมินผลการปฏิบัติราชการ 13

3.๒ องค์ประกอบและบทบาทของคณะกรรมการประเมินผล 13

3.๓ องค์ประกอบและบทบาทของคณะกรรมการประเมินผล 14

3.4 วิธีการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติราชการ 15

3.5 หลักเกณฑ์การขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดตัวชี้วัด น้ำหนัก และเกณฑ์การให้คะแนนตาม 16 คำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕7

๓.๖ การคำนวณผลการประเมิน 17

บทที่ 4 วิธีการและแนวทางการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการของหน่วย

4.1 กรอบการประเมินผล น้ำหนักและประเด็นการประเมินผลการปฏิบัติราชการ 27

4.2 รายละเอียดตัวชี้วัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2557 28

· ตัวชี้วัดมิติภายนอก

ตัวชี้วัดที่ ๑ : ตัวชี้วัดภารกิจหลักของกระทรวงตามยุทธศาสตร์ของประเทศ/แผนยุทธศาสตร์กระทรวง

ตัวชี้วัดที่ 1.1 : ร้อยละของความหวาดกลัวภัยอาชญากรรมของประชาชน 29ตัวชี้วัดที่ 1.2 : ความผิดต่าง ๆ ต่อจำนวนประชากรแสนคน 35

ตัวชี้วัดที่ 1.2.๑ : คดีความผิดเกี่ยวกับชีวิต ร่างกาย และเพศต่อจำนวนประชากรแสนคน 35

ตัวชี้วัดที่ 1.2.2 : คดีความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ต่อจำนวนประชากรแสนคน 42

ตัวชี้วัดที่ 1.3 : ร้อยละการจับกุมผู้กระทำผิดในคดีแต่ละกลุ่มที่เกิดขึ้น 49

ตัวชี้วัดที่ 1.3.1 : คดีความผิดเกี่ยวกับชีวิต ร่างกาย และเพศ 49

ตัวชี้วัดที่ 1.3.2 : คดีความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ 55

ตัวชี้วัดที่ 1.4 : ร้อยละของความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการปฏิบัติงานของตำรวจ 61

· ตัวชี้วัดตามแผนปฏิบัติราชการระดับหน่วยงาน

๑. สยศ.ตร.

ตัวชี้วัดที่ ๑.๑ : ระดับความสำเร็จในการบริหารจัดการในภาพรวมของสำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ 65

ตัวชี้วัดที่ ๑.๑.๑ : ระดับความสำเร็จการดำเนินงานบรรลุเป้าหมายตามแผนปฏิบัติราชการของ ตร. 68

ตัวชี้วัดที่ ๑.๑.๒ : ระดับความสำเร็จของการดำเนินงานตามแนวทางการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม 76

หน้า

ตัวชี้วัดที่ 1.1.3 : ระดับความสำเร็จของการดำเนินการด้านการจราจรเพื่อป้องกันและลดการเกิดอุบัติเหตุจราจร 83

ตัวชี้วัดที่ 1.1.4 : ระดับความสำเร็จของการดำเนินวิจัยและประเมินผล ตามแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม 90 ที่ได้รับมอบหมาย จากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๗

๒. สกบ.

ตัวชี้วัดที่ 1.1 : ระดับความสำเร็จของการดำเนินโครงการจัดซื้อรถจักรยานยนต์ (ทดแทน) เพื่อใช้ใน 95ภารกิจงานป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม (สายตรวจ) จำนวน 14,442 คัน

ตัวชี้วัดที่ 1.2 : ร้อยละของระดับความพึงพอใจของการให้บริการด้านการส่งกำลังบำรุง 98

ตัวชี้วัดที่ 2.1 : ระดับความสำเร็จของกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างเครื่องตรวจค้นหาทุ่นระเบิด 99

ตัวชี้วัดที่ 2.2 : ระดับความสำเร็จของการพัฒนาระบบฐานข้อมูลพัสดุของสำนักงานส่งกำลังบำรุง 102

๓. สกพ.

ตัวชี้วัดที่ ๑.๑ : ระดับความสำเร็จในการพัฒนาหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติราชการ 104

ตัวชี้วัดที่ 1.๒ : ระดับความสำเร็จของการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากร 106

4. สงป.

ตัวชี้วัดที่ ๑.๑ : ระดับความสำเร็จของการดำเนินการตามขั้นตอนการจัดทำคำของบประมาณภาพรวม ตร. 108

ตัวชี้วัดที่ 1.2 : ร้อยละความสามารถดำเนินการในการยืมเงินทดรองราชการให้กับผู้รับบริการ (สำนักงาน- 110 ผู้บังคับบัญชาระดับ ตร.) ภายในระยะเวลาที่กำหนด (24 ชม.) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 95

ตัวชี้วัดที่ 1.3 : ระดับความสำเร็จของการจัดทำรายงานการเงินภาพรวม ตร. 112

5. กมค.

ตัวชี้วัดที่ ๑.๑ : ระดับความสำเร็จของการบริหารจัดการตามแผนปฏิบัติราชการ กมค. ประจำปีงบประมาณ 114 พ.ศ.๒๕๕๗

ตัวชี้วัดที่ 1.๒ : การเผยแพร่แลกเปลี่ยนความรู้ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน 117

ตัวชี้วัดที่ ๑.๒.๑ : การแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านกฎหมายผ่านทางสังคมออนไลน์ (Facebook) 117

ตัวชี้วัดที่ ๑.๒.๒ : ระดับความสำเร็จของการอบรม แลกเปลี่ยนความรู้ เพื่อพัฒนานิติกร 121และบุคลากรของกองคดีอาญา

ตัวชี้วัดที่ ๑.๒.๓ : ระดับความสำเร็จของการจัดทำโครงการพี่สอนน้องของกองคดีปกครอง 123

และคดีแพ่ง

ตัวชี้วัดที่ ๑.๒.๔ : จำนวนคะแนนรวมเฉลี่ยของหลักสูตรผู้เข้าอบรมผ่านการทดสอบความรู้ด้าน 125

กฎหมายเกี่ยวกับงาน สอบสวนของ สบส.

ตัวชี้วัดที่ ๑.๒.๕ : โครงการเผยแพร่และให้ความรู้ในด้านผลชี้ขาดของศาลที่พนักงานอัยการ 130 มีความเห็นไม่อุทธรณ์-ฎีกา

6. สง.ก.ตร.

ตัวชี้วัดที่ ๑ : ระดับความสำเร็จของการบริหารจัดการในภาพรวมของ สง.ก.ตร. 132

ตัวชี้วัดที่ ๑.๑ : ร้อยละของจำนวนเรื่องอุทธรณ์ที่พิจารณาดำเนินการแล้วเสร็จ 134

ตัวชี้วัดที่ 1.2 : ร้อยละของจำนวนเรื่องร้องทุกข์ที่พิจารณาแล้วเสร็จ 138

ตัวชี้วัดที่ ๑.๓ : ร้อยละของจำนวนเรื่องวินัยที่นิติกรพิจารณาดำเนินการแล้วเสร็จ 141

หน้า

ตัวชี้วัดที่ ๑.4 : ระดับความสำเร็จของการนำเสนอเรื่องเข้าที่ประชุมพิจารณาให้แล้วเสร็จ 144คิดเป็นร้อยละ 80

7. จต.

ตัวชี้วัดที่ ๑.๑ : ระดับความสำเร็จของการตรวจราชการตามแผนการตรวจราชการประจำปี 151งบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๗

ตัวชี้วัดที่ ๑.๒ : ระดับความสำเร็จของการตรวจราชการตามแบบและวิธีการตรวจราชการผ่าน 153ระบบสื่อสารด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ในระบบ e – Inspector

ตัวชี้วัดที่ 1.3 : ระดับความสำเร็จของการดำเนินการแก้ไขปัญหาทุจริตที่ประชาชนร้องทุกข์ 155

8. สตส.

ตัวชี้วัดที่ ๑.๑ : ระดับความสำเร็จของการจัดทำแผนการตรวจสอบประจำปี 158

ตัวชี้วัดที่ ๑.๒ : ร้อยละความสำเร็จของการตรวจสอบตามแผนการตรวจสอบประจำปี 160

ตัวชี้วัดที่ 1.3 : ร้อยละความพึงพอใจของหน่วยรับตรวจที่มีต่อการปฏิบัติงานตรวจสอบภายใน 161

9. บช.ก.

ตัวชี้วัดที่ ๑.๑ : ด้านการป้องกันปราบปรามความผิดเกี่ยวกับ ชีวิต ร่างกาย ทรัพย์ 163

ตัวชี้วัดที่ 1.2 : การจับกุมการกระทำความผิดเกี่ยวรถบรรทุกน้ำหนักเกินพิกัดอัตราที่กฎหมาย 164 กำหนด (เชิงปริมาณ)

ตัวชี้วัดที่ ๑.๓ : การป้องกันอาชญากรรมเฉพาะทางความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 166

ตัวชี้วัดที่ ๑.๔ : คดีความผิดเกี่ยวกับ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค, พ.ร.บ.มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม, 168พ.ร.บ.อาหารและยา และพ.ร.บ.อื่น ๆ

ตัวชี้วัดที่ ๑.๕ : คดีเฉพาะทางเกี่ยวกับภาษี การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา และการเงินการธนาคาร 170

ตัวชี้วัดที่ ๑.๖ : ความผิดเกี่ยวกับคดีอาชญากรรมเฉพาะทางเทคโนโลยี 172

ตัวชี้วัดที่ ๑.๗ : คดีความผิดเกี่ยวกับการสืบสวนและสอบสวนคดีที่สามารถทำสำนวนส่ง ป.ป.ช.หรือ 174ป.ป.ท. ให้ดำเนินการตามกฎหมายตามที่ ตร. กำหนดให้ ๕๐ คดี

ตัวชี้วัดที่ 1.8 : จำนวนข้อร้องเรียนของนักท่องเที่ยวต่อนักท่องเที่ยวหนึ่งแสนคน 175

ตัวชี้วัดที่ 1.9 : คดีความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์และความผิดที่เกี่ยวเนื่องตาม พ.ร.บ.ป้องกันปราบปราม 177 การค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 จำนวน 110 คดี

ตัวชี้วัดที่ 1.10 : คดีความผิดเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม และการดูแลรักษา 180ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน 70,900 ครั้ง/ปี

ตัวชี้วัดที่ ๑.๑๑ : การออกตรวจและรักษาความปลอดภัยอำนวยความสะดวกบนขบวนรถไฟ 184

๖๓,๔๐๐ ครั้ง/ปี

ตัวชี้วัดที่ ๑.๑๒ : ระดับความสำเร็จของการติดตามผลการปฏิบัติตามเป้าหมายการปฏิบัติราชการ 185ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๗ (บก.อก.บช.ก.)

10. บช.ปส.

ตัวชี้วัดที่ 1.1 : ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด 188กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด พ.ศ.๒๕๕๗ (4 กลุ่ม) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50

ตัวชี้วัดที่ 1.2 : ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของข้าราชการตำรวจ กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด 191 ที่ผ่านการฝึกอบรมตามแผนการฝึกอบรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕7

หน้า

ตัวชี้วัดที่ 1.3 : ระดับความสำเร็จของการสร้างครูตำรวจ D.A.R.E. จำนวน 1,400 คน 193

ตัวชี้วัดที่ 1.4 : ระดับความสำเร็จในการขับเคลื่อนตัวชี้วัดตามภารกิจหลักสำคัญของกองบัญชาการตำรวจ 195ปราบปรามยาเสพติด ให้บรรลุผลสำเร็จ

ตัวชี้วัดที่ 1.5 : ปริมาณการจับกุมยาเสพติดที่จับกุมได้เพิ่มขึ้น 198

11. บช.ส.

ตัวชี้วัดที่ 1.1 : ระดับความสำเร็จของการสืบสวนหาข่าว 200

ตัวชี้วัดที่ 1.2 : ระดับความสำเร็จถัวเฉลี่ยร้อยละความเชื่อมั่นและความพึงพอใจด้านการข่าว 204

12. สตม.

ตัวชี้วัดที่ ๑.๑ : ระดับความสำเร็จของการเตรียมความพร้อมขององค์กรเพื่อรองรับการเข้าสู่ 207ประชาคมอาเซียน

ตัวชี้วัดที่ ๑.๒ : ระดับความสำเร็จในการพัฒนาระบบฐานข้อมูล สตม. (PIBICS) ระยะ ๓ 213

13. ตชด.

ตัวชี้วัดที่ ๑.๑ : ระดับความสำเร็จของผลการปฏิบัติภารกิจเฝ้าตรวจและป้องกันชายแดน 217

ตัวชี้วัดที่ ๑.๒ : ระดับความสำเร็จของการเตรียมความพร้อมปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้าย 223

ตัวชี้วัดที่ ๑.๓ : ระดับความสำเร็จของการปรับปรุงกายภาพหน่วยฝึกอบรม บช.ตชด. 229

ตัวชี้วัดที่ ๑.๔ : ระดับความสำเร็จในการจัดหาสิ่งอุปกรณ์พิเศษที่จำเป็น ทันสมัยและเหมาะสมกับ 234 การปฏิบัติภารกิจป้องกันชายแดนและการรักษาความสงบเรียบร้อยที่ดำเนินการจัดหาได้

ตามแผนในปี ๒๕๕๗

ตัวชี้วัดที่ ๑.๕ : ร้อยละความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อภาพลักษณ์ของตำรวจตระเวนชายแดน 237

ตัวชี้วัดที่ ๑.๖ : ระดับความสำเร็จของการขยายผลการดำเนินโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย 239 อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

14. สพฐ.ตร.

ตัวชี้วัดที่ 1.1 : ร้อยละของการออกรายงานการตรวจพิสูจน์หลักฐานได้รวดเร็วกว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้ 242

ตัวชี้วัดที่ 1.2 : ร้อยละของการเข้าถึงสถานที่เกิดเหตุภายในกำหนดเวลา 247

ตัวชี้วัดที่ 1.3 : ร้อยละความเชื่อมั่นและความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการปฏิบัติงานของตำรวจใน 252 ด้านการตรวจพิสูจน์หลักฐานและวิทยาการตำรวจ

ตัวชี้วัดที่ 1.4 : ระดับความสำเร็จของความเชื่อมโยงข้อมูลลายนิ้วมือให้สามารถสนับสนุน 257

การปฏิบัติงานของพนักงานสอบสวน

15. สทส.

ตัวชี้วัดที่ 1.1 : ระดับความสำเร็จของการบริหารจัดการตามแผนปฏิบัติราชการ สทส. 260ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๗ (บก.อก.สทส.)

ตัวชี้วัดที่ 1.2 : ระดับความสำเร็จของการพัฒนาระบบรับแจ้งเหตุฉุกเฉินและให้ข้อมูลประชาชนให้ครบทุก ภ.จว. 263

ตัวชี้วัดที่ 1.3 : ระดับความสำเร็จของการดำเนินการตรวจพิสูจน์วัตถุพยานเพื่อหาข้อมูลประกอบการ 265สืบสวนเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการดำเนินคดีให้กับหน่วยงานระดับสถานีตำรวจ

หน้า

ตัวชี้วัดที่ 1.4 : ระดับความสำเร็จของโครงการพัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูลหน่วยภายนอก ๓ หน่วย 267ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๗ (หน่วยงานภายนอก ตร. ได้แก่ กรมราชทัณฑ์กรมการกงศุล

และกรมทรัพย์สินทางปัญญา)

16. บช.ศ.

ตัวชี้วัดที่ ๑.๑ : จำนวนผู้ผ่านการสอบแข่งขันและคัดเลือกได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๙๐ ของอัตราที่ ตร. อนุมัติ 269

ให้หน่วย บช.ศ. เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ

ตัวชี้วัดที่ ๑.๒ : จำนวนข้าราชการตำรวจที่ผ่านการฝึกอบรมแต่ละหลักสูตรมีผลคะแนน 276

ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘0 แยกเป็นตัวชี้วัดย่อย ดังนี้

๑.๒.๑ จำนวนข้าราชการตำรวจที่ผ่านการฝึกอบรมแต่ละหลักสูตร บตส.มีผลคะแนน 278

ไม่น้อยกว่า ร้อยละ ๘๐

๑.๒.๒ จำนวนข้าราชการตำรวจที่ผ่านการฝึกอบรมแต่ละหลักสูตร ผกก. มีผลคะแนน 280

ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐

๑.๒.๓ จำนวนข้าราชการตำรวจที่ผ่านการฝึกอบรมแต่ละหลักสูตร สว. มีผลคะแนน 282

ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐

ตัวชี้วัดที่ ๑.๓ : ระดับความสำเร็จของการดำเนินการตามบันทึกข้อตกลงกับสถาบันการศึกษา 284

ให้บรรลุผลสำเร็จ

ตัวชี้วัดที่ ๑.๔ : จำนวนผู้ผ่านการอบรมพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษสำหรับบุคลากรภาครัฐ 287

(ข้าราชการตำรวจ) ในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๒๕

17. รร.นรต.

ตัวชี้วัดที่ ๑.๑ : ระดับคะแนนเฉลี่ยของนักเรียนนายร้อยตำรวจผู้สำเร็จการศึกษาในการสอบ 289ใบประกอบวิชาชีพพนักงานสอบสวนได้ภายในปีการศึกษา ๒๕๕๖ ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๕

ตัวชี้วัดที่ ๑.๒ : ระดับคะแนนเฉลี่ยของผู้สำเร็จการศึกษา ตามหลักสูตรนักเรียนนายร้อยตำรวจ 292 ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๗8

ตัวชี้วัดที่ ๑.๓ : ระดับความสำเร็จของการประเมินผลการฝึกงานสอบสวนของนักเรียนนายร้อยตำรวจ 294 ชั้นปีที่ ๓ และชั้นปีที่ ๔ จากสถานีตำรวจ ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐

ตัวชี้วัดที่ ๑.๔ : ระดับความสำเร็จของการดำเนินการตามหลักประกันคุณภาพการศึกษาภายใน 296ระดับสถาบัน ปีการศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๖ ไม่ต่ำกว่า ๔.๒๐ คะแนน

18. รพ.ตร.

ตัวชี้วัดที่ 1.1 : ร้อยละของข้าราชการตำรวจที่เข้าโครงการรักษ์สุขภาพ 298

ตัวชี้วัดที่ ๑.๒ : จำนวนการตรวจพิสูจน์ด้านนิติเวชและวิเคราะห์ทางนิติวิทยาศาสตร์ ๗๕,๐๐๐ ราย 300

ตัวชี้วัดที่ 1.๓ : ร้อยละของผู้สำเร็จการศึกษาที่สามารถสอบใบประกอบวิชาชีพผ่านภายใน ๒ ครั้ง 302

ตัวชี้วัดที่ ๑.๔ : ระดับความสำเร็จในการดำเนินการตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ 304 พ.ศ. ๒๕๕๗

ตัวชี้วัดที่ 1.๕ : อัตราความพึงพอใจของข้าราชการตำรวจที่เข้าโครงการรักษ์สุขภาพ 306

หน้า

19. สง.นรป.

ตัวชี้วัดที่ 1.1 : ระดับความสำเร็จในการถวายความปลอดภัยองค์พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ 308 เมื่อเสด็จพระราชดำเนินออกนอกเขตพระราชฐานหรือที่ประทับ

20. สลก.ตร.

ตัวชี้วัดที่ 1.1 : ระดับความสำเร็จในการจัดทำคู่มือ การปฏิบัติงานด้านพิธีการของ 311สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

ตัวชี้วัดที่ 1.2 : ระดับความสำเร็จในการจัดระบบสืบค้น กฎหมาย กฎ ระเบียบข้อบังคับ 314 และหนังสือหารือต่างๆ ที่เกี่ยวกับงานสารบรรณ

21. ตท.

ตัวชี้วัดที่ 1.1 : ร้อยละความสำเร็จของสถิติการรายงานข้อมูลเข้าระบบบริหารจัดการคดีและข่าวกรอง 317 (CMIS)

ตัวชี้วัดที่ 1.2 : ระดับความสำเร็จของการดำเนินการสนับสนุนกำลังตำรวจเพื่อเข้าร่วมปฏิบัติภารกิจรักษา 318สันติภาพของ สหประชาชาติ แบบรายบุคคล

22. สท.

ตัวชี้วัดที่ ๑.๑ : จำนวนครั้งในการผลิตสื่อและการเผยแพร่สื่อเชิงรุกของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ 320

ตัวชี้วัดที่ ๑.๒ : ร้อยละความพึงพอใจของการเผยแพร่สื่อต่อการสร้างภาพลักษณ์ของ 321สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

๒๓. สง.ก.ต.ช.

ตัวชี้วัดที่ 1.1: ระดับความสำเร็จในการร่วมสังเกตการณ์และเป็นวิทยากรด้านบทบาทอำนาจหน้าที่ 322กต.ตร.สน./สภ. ในแต่ละ บช.( บช.น., ภ.1 – ภ.9 และ ศชต) ในห้วงปีงบประมาณ พ.ศ.2557

๒๔. บ.ตร.

ตัวชี้วัดที่ ๑.๑ : ร้อยละของความสำเร็จในการบริหารจัดการสนับสนุนอากาศยาน 323

ตัวชี้วัดที่ ๑.๒ : ร้อยละของความสำเร็จความพร้อมของบุคลากรการบินเตรียมพร้อมสนับสนุน 325 ทุกภารกิจที่สั่งการหรือร้องขอ

ตัวชี้วัดที่ ๑.๓ : ร้อยละความพึงพอใจของผู้ใช้บริการอากาศยาน กองบินตำรวจ 326

25. วน.

ตัวชี้วัดที่ 1.1 : ร้อยละของจำนวนเรื่องการดำเนินการทางวินัยที่ได้รับและดำเนินการเสร็จ 328

ตัวชี้วัดที่ 1.๒ : ระดับความสำเร็จของการพัฒนาประสิทธิภาพงานด้านวินัย 330

· ตัวชี้วัดระหว่างกระทรวงที่มีเป้าหมายร่วมกัน (Joint KPIs)

ตัวชี้วัดที่ 1.5 :ระดับความสำเร็จของการดำเนินการเร่งแก้ไขปัญหาความไม่สงบและนำสันติสุขกลับสู่ 333จังหวัดชายแดนใต้ (Output JKPI: การเร่งแก้ไขปัญหาความไม่สงบและนำสันติสุขกลับ สู่จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยเร็ว)

ตัวชี้วัดที่ 1.5.1 : ร้อยละการเก็บกู้ทำลายวัตถุระเบิดก่อนเกิดเหตุการณ์เทียบกับจำนวนครั้งที่ออก 333 เก็บกู้ทำลายวัตถุระเบิด

หน้า

ตัวชี้วัดที่ 1.5.2 : ร้อยละของจำนวนหมายจับที่จับกุมได้ต่อจำนวนการออกหมายจับ ป.วิ.อาญา 335

ในคดีความมั่นคง

ตัวชี้วัดที่ 1.5.3 : ร้อยละของจำนวนหมายจับที่จับกุมได้ต่อจำนวนการออกหมายจับตาม พ.ร.ก. 337

ในคดีความมั่นคง

ตัวชี้วัดที่ 1.6 : ร้อยละของข้อร้องเรียนของนักท่องเที่ยวที่สามารถดำเนินการได้แล้วเสร็จ 340

ตัวชี้วัดที่ 1.7 : ระดับความสำเร็จของการดำเนินการคุ้มครองทางสังคม (OSCC) 347 (Output JKPI: การคุ้มครองทางสังคม (OSCC)

ตัวชี้วัดที่ 1.7.๑ ร้อยละของเรื่องที่ยุติได้เทียบกับเรื่องที่รับแจ้งในปีงบประมาณ พ.ศ.2557 347

ตัวชี้วัดที่ ๒ ระดับความสำเร็จของการจัดทำข้อตกลงระดับการให้บริการ (Service Level Agreement) 350

· ตัวชี้วัดมิติภายใน

ตัวชี้วัดที่ ๓ : การเบิกจ่ายเงินงบประมาณ 364

ตัวชี้วัดที่ 3.1 : การเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุน 364

ตัวชี้วัดที่ 3.2 : การเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายภาพรวม 365

ตัวชี้วัดที่ 4 : ระดับความสำเร็จของการดำเนินการตามมาตรการประหยัดพลังงาน 367

ของส่วนราชการ

ตัวชี้วัดที่ 5 : ตัวชี้วัดการพัฒนาประสิทธิภาพระบบสารสนเทศภาครัฐ 372

ตัวชี้วัดย่อยที่ 1 (ประเด็นที่ ๑ บทบาทของผุ้บริหารสารสนเทศระดับสูง : CIO) 372

ตัวชี้วัดย่อยที่ 2 (ประเด็นที่ ๒ โครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Infrastructure) 374

ตัวชี้วัดย่อยที่ ๓ ระบบเว็บไซด์กลางบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ ( Electronic Government Services) 379

ตัวชี้วัดย่อยข้อที่ 3.1 ข้อมูลระบบเว็บไซต์ของหน่วยงานและการพัฒนาเว็บไซต์ของหน่วยงาน 380

ตัวชี้วัดย่อยข้อที่ 3.2 การพิสูจน์ตัวบุคคลในการเข้าใช้งานระบบบริการ e-Service ของหน่วยงาน 384

(e-Authentication)

ตัวชี้วัดย่อยข้อที่ ๔ ระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์กลางเพื่อการสื่อสารภาครัฐ (MailGoThai) 382

กรณีหน่วยงานไม่มีการใช้งานระบบ MailGoThai

ตัวชี้วัดย่อยข้อที่ 5 รายงานสถานการณ์จัดทำข้อมูลของศูนย์ปฏิบัติการระดับกรม 384(Department Operation Center : DOC)

ตัวชี้วัดที่ 6 : ระดับความสำเร็จของการพัฒนาสมรรถนะองค์การ(ด้านทุนมนุษย์ 386

ทุนสารสนเทศ และทุนองค์การ)

ตัวชี้วัดที่ 6.1 : ระดับความสำเร็จของการจัดทำรายงานลักษณะสำคัญของหน่วยงาน 389

ตัวชี้วัดที่ 6.2 : ระดับความสำเร็จของการพัฒนาองค์การ (GES Survey Online) 391

ตัวชี้วัดที่ 6.2.1ผลการสำรวจการพัฒนาองค์การผ่านระบบออนไลน์ 391

ตัวชี้วัดที่ 6.2.2 ระดับความสำเร็จของการพัฒนาบุคลากรของหน่วยงาน 393

ตัวชี้วัดที่ 6.2.3 ระดับความสำเร็จของการพัฒนาปรับปรุงทุนสารสนเทศของหน่วยงาน 398

ตัวชี้วัดที่ 6.2.4 ระดับความสำเร็จของการพัฒนาปรับปรุงทุนองค์การของหน่วยงาน 403

หน้า

ตัวชี้วัดที่ 7 : การสร้างความโปร่งใสในการปฏิบัติราชการ 404

ตัวชี้วัดที่ 7.1 : ผลสำรวจความโปร่งใสในการปฏิบัติราชการ 404

ภาคผนวก

ภาคผนวก ก

- แบบฟอร์มที่ 1 : แบบฟอร์มตารางสรุปผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ 408

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕7

- แบบฟอร์มที่ 2 : แบบฟอร์มรายงานผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ 410 (รายตัวชี้วัด) สำหรับตัวชี้วัดที่เป็นเชิงปริมาณ

- แบบฟอร์มที่ 3 : แบบฟอร์มรายงานผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ 412 (รายตัวชี้วัด) สำหรับตัวชี้วัดที่เป็นเชิงคุณภาพ

- แบบฟอร์มที่ 4 : แบบฟอร์มรายงานผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ 414(รายตัวชี้วัด) สำหรับตัวชี้วัดที่เป็นขั้นตอนดำเนินงาน

- แบบฟอร์มที่ 5 : แบบฟอร์มรายงานการปฏิบัติราชการ ตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ 416(รายตัวชี้วัด) สำหรับตัวชี้วัดที่เป็นแบบผสม (Hybrid)

- แบบฟอร์มที่ 6 : แบบฟอร์มรายงานผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ 419(รายตัวชี้วัด) สำหรับตัวชี้วัดผลสำเร็จ/ไม่สำเร็จ (Pass/Fail)

ภาคผนวก ข

- บันทึกข้อความอนุมัติ ตร. 423

ภาคผนวก ค

- หน่วยงานรับผิดชอบหลักตัวชี้วัดระดับหน่วยงาน 430

ภาคผนวก ง

- การกำหนดน้ำหนักตัวชี้วัดแต่ละมิติตามคำรับรองการปฏิบัติราชการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ 435

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕7

บทที่ ๑

กรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการ

ตามแผนปฏิบัติราชการของหน่วย

คู่มือการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการระดับหน่วยงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕7 ประกอบด้วย หลักการและที่มา วัตถุประสงค์ กรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการ องค์ประกอบ และบทบาทของคณะกรรมการประเมินผลการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการระดับหน่วยงานและแนวทางการจัดทำคำรับรองและติดตามผลการปฏิบัติราชการระดับหน่วยงาน โดยมีรายละเอียด ดังนี้

๑.๑ หลักการและที่มา

๑.๑.๑ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๓/๑ บัญญัติว่า “การบริหารราชการต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนเกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ความมีประสิทธิภาพ ความคุ้มค่าในเชิงภารกิจแห่งรัฐ การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน การลดภารกิจและยุบเลิกหน่วยงานที่ไม่จำเป็น การกระจายภารกิจและทรัพยากรให้แก่ท้องถิ่น การกระจายอำนาจตัดสินใจ การอำนวยความสะดวก และการตอบสนองความต้องการของประชาชน โดยมีผู้รับผิดชอบต่อผลของงาน การปรับปรุงคุณภาพการให้บริการ จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งเพื่อให้การบริหารราชการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถตอบสนองความต้องการของประชาชน ในการปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการต้องใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้คำนึงถึงความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติราชการ การมีส่วนร่วมของประชาชน การเปิดเผยข้อมูล การติดตามตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติราชการ ทั้งนี้ ตามความเหมาะสมของแต่ละภารกิจ

๑.๑.๒ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖ มาตรา ๑๒ กำหนดว่าเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ ก.พ.ร. อาจเสนอต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อกำหนดมาตรการกำกับการปฏิบัติราชการ โดยวิธีการจัดทำความตกลงเป็นลายลักษณ์อักษร หรือโดยวิธีการอื่นใดเพื่อแสดงความรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ และมาตรา ๔๕ กำหนดให้ส่วนราชการจัดให้มีคณะผู้ประเมินอิสระดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ คุณภาพการให้บริการ ความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการ ความคุ้มค่าในภารกิจ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและระยะเวลาที่ ก.พ.ร. กำหนด

1.1.3 แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย พ.ศ. 2556 -พ.ศ. 2561 เป็นกรอบแนวทางในการผลักดันการพัฒนาระบบราชการไทยในการมุ่งสู่การเป็นองค์การที่มีขีดสมรรถนะสูง และทันสมัย บุคลากรมีความเป็นมืออาชีพ มีระบบการทำงานที่คล่องตัว รวดเร็ว ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการทำงาน เน้นการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ปรับปรุงกลไกและระบบการประเมินผลการปฏิบัติราชการให้เหมาะสม สอดรับกับพันธกิจและลักษณะงานของหน่วยงานของรัฐให้สามารถวัดผลได้ รวมทั้งวางระบบการบริหารงานแบบบูรณาการในยุทธศาสตร์ที่สำคัญของรัฐบาลของกระทรวงที่มีเป้าหมายร่วมกัน หรือที่เรียกว่า Joint KPIs ตามห่วงโซ่คุณค่า (Value Chains)

ครอบคลุมกระบวนการตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ จนกระทั่งปลายน้ำ มีการกำหนดบทบาทภารกิจที่ชัดเจนว่าหน่วยงานใดมีความรับผิดชอบในเรื่องหรือกิจกรรรมใดบ้าง

๑.๑.๔ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖ มีมติเห็นชอบในหลักการและรายละเอียดของแนวทางและวิธีการในการสร้างแรงจูงใจเพื่อเสริมสร้างการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ โดยกำหนดให้ทุกส่วนราชการจะต้องทำการพัฒนาการปฏิบัติราชการและทำข้อตกลงผลงานกับผู้บังคับบัญชาและคณะกรรมการเจรจาข้อตกลงและประเมินผล และจะได้รับสิ่งจูงใจตามระดับของผลงานตามที่ตกลง

สำหรับในคู่มือการประเมินผลนี้ จะนำเสนอเกี่ยวกับวิธีการและแนวทางการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการระดับหน่วยงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕7

๑.2 กรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการ

สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ดำเนินให้หน่วยงานในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จัดทำแผนปฏิบัติราชการ ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา โดยขั้นตอนการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการนั้น เริ่มจากส่วนราชการกำหนดตัวชี้วัดจากนโยบายรัฐบาล ประเด็นยุทธศาสตร์ และเป้าประสงค์ของแต่ละส่วนราชการ นำไปสู่การเจรจาความเหมาะสมของตัวชี้วัดและการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการ

กรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕7 นี้เป็นไปตามระบบการประเมินผลภาคราชการแบบบูรณาการ ที่คณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๕๔ มีมติเห็นควรให้มีการบูรณาการระบบการติดตามและประเมินผลภาครัฐให้มีความเป็นเอกภาพ ลดความซ้ำซ้อนและภาระงานเอกสาร เพื่อให้ส่วนราชการมุ่งเน้นเฉพาะตัวชี้วัดหลักที่มีความจำเป็น ทั้งนี้ให้เริ่มดำเนินการในการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการของส่วนราชการตามระบบการประเมินผล ภาคราชการแบบบูรณาการได้เต็มรูปแบบ ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๕ เป็นต้นไป และเมื่อดำเนินงานตามระบบประเมินผลดังกล่าวในส่วนราชการแล้ว ให้สำนักงาน ก.พ.ร. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาปรับใช้ในการประเมินผลของจังหวัดและองค์การมหาชนต่อไป นอกจากนั้น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ยังกำหนดให้ดำเนินการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการระดับหน่วยงาน การติดตามและประเมินผลการปฏิบัติราชการ

1) การจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2557

โดยในปีงบประมาณ พ.ศ.2557 ยังคงใช้ระบบการบูรณาการติดตามและประเมินผลภาครัฐตามมติของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2554 ซึ่งได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ.2555 เป็นกรอบในการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ ดังแผนภาพที่ 1-1 โดยแบ่งออกเป็น 2 มิติ ได้แก่ มิติภายนอกและมิติภายใน

1.) มิติภายนอก (น้ำหนักร้อยละ 70)

· ตัวชี้วัดการประเมินด้านการประเมินผล พิจารณาจากแผนยุทธศาสตร์ของกระทรวงและยุทธศาสตร์ประเทศ รวมทั้งตัวชี้วัดระหว่างกระทรวงที่มีเป้าหมายร่วมกัน (Joint KPIs)

· ตัวชี้วัดการประเมินคุณภาพ พิจารณาจากการจัดทำข้อตกลงระดับการให้บริการ (Service Level Agreement : SLA) ซึ่งกำหนดประเมินสำหรับกรมที่มีภารกิจให้บริการกับประชาชน

2.) มิติภายใน (น้ำหนักร้อยละ 30)

· กำหนดเป็นตัวชี้วัดบังคับ มีหน่วยงานเจ้าภาพเป็นผู้กำหนดแนวทาง การดำเนินการหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผล ตลอดจนติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด ดังนี้

ตัวชี้วัด

เจ้าภาพตัวชี้วัด

การเบิกจ่ายเงินงบประมาณ

กรมบัญชีกลาง

การประหยัดพลังงาน

สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน

การพัฒนาสมรรถนะองค์การ

สำนักงาน ก.พ.ร.

การสร้างความโปร่งใสในการปฏิบัติราชการ

สำนักงาน ก.พ.ร.

การพัฒนาประสิทธิภาพระบบสารสนเทศภาครัฐ

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารร่วมกับสำนักงาน ก.พ.ร.

· การพัฒนาประสิทธิภาพระบบสารสนเทศภาครัฐซึ่งทุกส่วนราชการต้องดำเนินการตามแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของรัฐบาล

(กรอบการประเมินผลของส่วนราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2557)

(การประเมินคุณภาพ (ร้อยละ 10)คุณภาพการให้บริการประชาชน (Service Level Agreement: SLA)) (การประเมินประสิทธิผล (ร้อยละ 60)ตัวชี้วัดภารกิจหลักของกระทรวงตามยุทธศาสตร์ของประเทศ/ แผนยุทธศาสตร์กระทรวง/ ตัวชี้วัดระหว่างกระทรวงที่มีเป้าหมายร่วมกัน (Joint KPIs)) (มิติภายนอกก)

(มิติภายนอก(ร้อยละ 70)มิติภายใน(ร้อยละ 30))

(การประเมินประสิทธิภาพ (ร้อยละ 20)การเบิกจ่ายเงินงบประมาณมาตรการประหยัดพลังงานการพัฒนาประสิทธิภาพระบบสารสนเทศภาครัฐ) ( การพัฒนาองค์การ(ร้อยละ 10)การพัฒนาสมรรถนะองค์การ (ทุนมนุษย์ สารสนเทศ และวัฒนธรรมองค์การ)ความโปร่งใสในการปฏิบัติราชการ) (มิติภายใน)

แผนภาพที่ 1-1 กรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ

(กรอบการประเมินผลระดับหน่วยงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕7)

( การประเมินประสิทธิผล (ร้อยละ ๖๐)ตัวชี้วัดภารกิจหลักของกระทรวงตามยุทธศาสตร์ของประเทศ/ แผนยุทธศาสตร์กระทรวง/ ตัวชี้วัดระหว่างกระทรวงที่มีเป้าหมายร่วมกัน (Joint KPIs)ตัวชี้วัดตามแผนปฏิบัติราชการของหน่วยงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2557ร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของตัวชี้วัดของกระทรวงที่มีเป้าหมายร่วมกัน(Output Joint KPIs)) (มิติภายนอก) ( การประเมินคุณภาพ (ร้อยละ ๑๐)คุณภาพการให้บริการประชาชน (Service Level Agreement: SLA) )

(มิติภายนอก(ร้อยละ ๗๐))

(มิติภายใน(ร้อยละ ๓๐)) ( การประเมินประสิทธิภาพ (ร้อยละ 20)การเบิกจ่ายเงินงบประมาณ ระดับความสำเร็จของการดำเนินการตามมาตรการประหยัดพลังงานของส่วนราชการการพัฒนาประสิทธิภาพระบบสารสนเทศภาครัฐ) ( การพัฒนาองค์การ (ร้อยละ 10)ขีดสมรรถนะของการบริหารจัดการการพัฒนาสมรรถนะองค์การ (ทุนมนุษย์ สารสนเทศ และวัฒนธรรมองค์การ)การสร้างความโปร่งใสในการปฏิบัติราชการ)

(มิติภายใน)

แผนภาพที่ ๑-2 กรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการระดับหน่วยงาน

สำนักงานตำรวจแห่งชาติจะจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการและได้รับการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ เพื่อรับการจัดสรรสิ่งจูงใจภายใต้กรอบการประเมิน ทั้ง ๒ มิตินี้ โดยมิติภายนอก ด้านการประเมินประสิทธิผลในการบรรลุเป้าหมายตามภารกิจหลักของกระทรวงตามยุทธศาสตร์ของประเทศ แผนยุทธศาสตร์กระทรวงและตัวชี้วัดระหว่างกระทรวงที่มีเป้าหมายร่วมกัน (Joint KPIs) และด้านการประเมินคุณภาพ ได้แก่ การวัดระดับคุณภาพการให้บริการประชาชน (Service Level Agreement: SLA) ส่วนมิติภายใน ด้านการประเมินประสิทธิภาพ ได้แก่ การเบิกจ่ายงบประมาณ การประหยัดพลังงาน และระบบสารสนเทศภาครัฐ และด้านการพัฒนาองค์การ ได้แก่ การพัฒนาสมรรถนะองค์การ (ทุนมนุษย์ สารสนเทศ และวัฒนธรรมองค์การ) และการสร้างความโปร่งใสในการปฏิบัติราชการ

1.1) หลักการในการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2557

(1.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการระดับหน่วยงาน จำนวน 36 หน่วย แบ่งออกเป็น 6 ส่วนปกครอง ได้แก่

1. ส่วนบังคับบัญชา

1.1 กองบัญชาการ ในสังกัดสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

· สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ

· สำนักงานส่งกำลังบำรุง

· สำนักงานกำลังพล

· สำนักงานงบประมาณและการเงิน

· สำนักงานกฎหมายและคดี

· สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ

· สำนักงานจเรตำรวจ

· สำนักงานตรวจภายใน

1.2 กองบังคับการ ในสังกัดสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

· สำนักงานเลขานุการตำรวจแห่งชาติ

· กองการต่างประเทศ

· กองสารนิเทศ

· สำนักงานคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ

· กองบินตำรวจ

· กองวินัย

2. ส่วนปฏิบัติการเฉพาะทาง

· สำนักงานนายตำรวจราชสำนักประจำ

3. ส่วนป้องกันและปรามปราบอาชญากรรม

· กองบัญชาการตำรวจนครบาล

· ตำรวจภูธร ภาค 1-9

4. ส่วนสนับสนุนการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม

· กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง

· กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด

· กองบัญชาการตำรวจสันติบาล

· สำนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมือง

· กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน

· สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ

· สำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

5. ส่วนการศึกษา

· กองบัญชาการศึกษา

· โรงเรียนนายร้อยตำรวจ

6. ส่วนบริการ

· โรงพยาบาลตำรวจ

(2.) หน่วยรับผิดชอบหลัก ตัวชี้วัดระดับ ตร. เป็นเจ้าภาพการจัดทำรายละเอียดตัวชี้วัดกับคำรับรองการปฏิบัติราชการ กรม ตามหลักการที่สำนักงาน ก.พ.ร. กำหนด

(3.) การกำหนดตัวชี้วัดของ ตร. และหน่วยในสังกัด ตร. ต้องสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ประเทศและยุทธศาสตร์ ตร.

(4.) ตัวชี้วัดที่กำหนดต้องสามารถวัดผลได้ในปีงบประมาณ พ.ศ.2557 หากตัวชี้วัดใดไม่สามารถวัดผลได้ภายในปีงบประมาณ พ.ศ.2557 จะต้องถูกกำหนดเป็นตัวชี้วัดmonitor

(5.) ตัวชี้วัดระหว่างกระทรวงที่มีเป้าหมายร่วมกัน (Joint KPIs) กำหนดเป็นตัวชี้วัดในคำรับรองการปฏิบัติราชการ โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นผู้กำหนดตัวชี้วัด Joint KPIs ในระดับ Impact JKPI

(6.) ตัวชี้วัดคุณภาพการให้บริการประชาชน (Service Level Agreement : SLA) วัดผลในกรม ที่ให้บริการประชาชนและภาคธุรกิจเป็นจำนวนมาก

(7.) เพิ่มตัวชี้วัดการพัฒนาประสิทธิภาพระบบสารสนเทศภาครัฐ ในมิติด้านประสิทธิภาพ ซึ่งเน้นการพัฒนาระบบสารสนเทศ ตามแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศ

(8.) สำนักงาน ก.พ.ร. จะดำเนินการจัดสรรเงินรางวัลให้แก่ส่วนราชการ โดยหัวหน้าส่วนราชการเป็นผู้รับผิดชอบการจัดสรรเงินรางวัลให้กับส่วนราชการระดับกรมในสังกัด ตามที่ ก.พ.ร. กำหนด

1.2) หลักการการกำหนดตัวชี้วัดระหว่างกระทรวงที่มีเป้าหมายร่วมกัน (Joint KPIs)

ตัวชี้วัดระหว่างกระทรวงที่มีเป้าหมายร่วมกัน (Joint KPIs) ที่ต้องดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 มีจำนวน 3 เรื่อง จากประเด็นยุทธศาสตร์ 3 ประเด็นในยุทธศาสตร์ประเทศ ดังนี้

ลำดับที่

เรื่อง

หน่วยเจ้าภาพ

1

การสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

2

การคุ้มครองทางสังคม (OSSC)

กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคง

ของมนุษย์

3

การแก้ไขปัญหาความไม่สงบและนำสันติสุขกลับสู่จังหวัดชายแดนภาคใต้

สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ

1) การวัดผลสำหรับตัวชี้วัด Joint KPIs ในคำรับรองการปฏิบัติราชการฯ แบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่

· ระดับ Impact Joint KPIs ถูกกำหนดเป็นตัวชี้วัด Joint KPIs ในคำรับรองฯ ระดับกระทรวง และวัดเฉพาะกระทรวงที่เป็นเจ้าภาพหลักเท่านั้น โดยกำหนดมีน้ำหนักใน แต่ละเรื่อง เท่ากับ 10

· ระดับ Outcome Joint KPIs ถูกกำหนดเป็นตัวชี้วัด Joint KPIs ในคำรับรองฯ ระดับกรม และวัดเฉพาะกรมที่เป็นเจ้าภาพหลักในแต่ละ Chain มีน้ำหนักรวมกันในแต่ละเรื่องไม่เกิน 10

· ระดับ Output Joint KPIs จะถูกกำหนดเป็นตัวชี้วัด Joint KPIs ในคำรับรองฯ ระดับกรม วัดเฉพาะกรมที่มีส่วนสำคัญในการผลักดัน Joint KPIs ให้บรรลุผลเป้าหมาย ดังแผนภาพที่ 1-3

ภาพที่ 1-3 การกำหนด Joint KPIs

1.3) การเชื่อมโยงกรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการ

1.3.1 กรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการของกระทรวง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557

ประเด็นการประเมินผลการปฏิบัติราชการ

กรอบการประเมินผล 2557

น้ำหนัก

(%)

มิติภายนอก

70

การประเมินประสิทธิผล

(60)

1. ตัวชี้วัดภารกิจหลักของกระทรวงตามยุทธศาสตร์ของประเทศ/ แผนยุทธศาสตร์กระทรวงตัวชี้วัดระหว่างกระทรวง และตัวชี้วัดระหว่างกระทรวงที่มีเป้าหมายร่วมกัน (Joint KPIs )

(60)

การประเมินคุณภาพ

(10)

2. คุณภาพการให้บริการประชาชน

(Service Level Agreement: SLA)

หมายเหตุ หากกระทรวงไม่มีตัวชี้วัดนี้ให้นำน้ำหนักไปไว้ที่ตัวชี้วัดที่ 1

(10)

มิติภายใน

30

การประเมินประสิทธิภาพ (20)

3. ตัวชี้วัดการเบิกจ่ายงบประมาณ

(5)

4. ตัวชี้วัดการประหยัดพลังงาน

(5)

5. ตัวชี้วัดการพัฒนาประสิทธิภาพระบบสารสนเทศภาครัฐ

(10)

การพัฒนาองค์การ (10)

6. ตัวชี้วัดการพัฒนาสมรรถนะองค์การ

(5)

7. ตัวชี้วัดการสร้างความโปร่งใสในการปฏิบัติราชการ

(5)

รวม

100

แนวทางการกำหนดกรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการของกรม

1) กรมเลือกตัวชี้วัดของกระทรวงเฉพาะที่เป็นภารกิจหลักของกรมหรือมีส่วนที่เกี่ยวข้อง และต้องกำหนดน้ำหนักของตัวชี้วัดไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ในคำรับรองการปฏิบัติราชการของกระทรวง

2) กรมใดไม่มี SLA ให้นำน้ำหนักไปรวมไว้ที่ตัวชี้วัดระดับกรมเป็นน้ำหนักร้อยละ 70

3) กรณีสำนักงานปลัดกระทรวงในฐานะที่เป็นหน่วยยุทธศาสตร์กำกับและขับเคลื่อนการทำงานของส่วนราชการในสังกัดของกระทรวง จึงกำหนดให้วัดผลตัวชี้วัดของกระทรวงทุกตัว โดยได้กำหนดเป็นตัวชี้วัดระดับความสำเร็จในการบูรณาการเพื่อขับเคลื่อนการปฏิบัติราชการโดยรวมของกระทรวง วัดผลโดยการถ่วงน้ำหนักผลคะแนนตัวชี้วัดกระทรวงทุกตัว และกำหนดน้ำหนักเท่ากับร้อยละ 30

4) การกำหนดน้ำหนักของตัวชี้วัดกระทรวงที่ถ่ายทอดไปยังสำนักงานปลัดกระทรวงพิจารณากำหนดน้ำหนักตามลักษณะสำคัญของตัวชี้วัด ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการเจรจาฯ กับคณะกรรมการเจรจาข้อตกลงระดับกระทรวง

1.3.2 การเชื่อมโยงกรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการระหว่างระดับตร. /หน่วย โดยให้มีการถ่ายทอดตัวชี้วัดของกระทรวงไปยังกรมที่เกี่ยวข้อง ให้�


Top Related