functional food

24
Functional FooD 10 8 เมนูอาหารเพื่อสุขภาพ ดื่มน้ำตามธาตุ อันตรายจากอาหารที่ต้องระวัง าหารและสารอาหารทีเหมาะสมกับทุกเพศและวัย วิธีการกินอาหาร เพื่อสุขภาพที่ดี อาหารที่ผู้หญิง ไม่ควรมองข้าม

Upload: mullika-saengphet

Post on 08-Mar-2016

217 views

Category:

Documents


1 download

DESCRIPTION

functional food

TRANSCRIPT

Page 1: functional food

Functional FooD

10

8

เมนูอาหารเพื่อสุขภาพดื่มน้ำตามธาตุ

อันตรายจากอาหารที่ต้องระวัง

อาหารและสารอาหารที่เหมาะสมกับทุกเพศและวัย

วิธีการกินอาหาร

เพื่อสุขภาพที่ดี

อาหารที่ผู้หญิง

ไม่ควรมองข้าม

Page 2: functional food
Page 3: functional food
Page 4: functional food

6 อาหารและสารอาหารที่เหมาะสม

กับเพศและวัย

8 10 วิธีการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี

10 8 อาหารที่ผู้หญิงไม่ควรมองข้าม

12 เมนูอาหารเพื่อสุขภาพ

CONTENT S

20 ดื่มน้ำ____ ตามธาตุ

22 อันตรายจากอาหารที่ต้องระวัง

Page 5: functional food

20 ดื่มน้ำ____ ตามธาตุ

22 อันตรายจากอาหารที่ต้องระวัง

Page 6: functional food

อาหารในแต ่ละม ื ้ อควรม ีสารอาหารครบท ั ้ ง 5 ประ เภทมน ุษย ์ท ุกคนต ้องการอาหารและสารอาหารในแต ่ละว ัยแตกต ่ างก ันไป เราจ ึ งค

วรบร ิ โภคอาหารให ้ เหมาะสมก ับว ัย

อาหารและสารอาหาร ที่เหมาะกับเพศและวัย

Page 7: functional food

4. เด็กวัยรุ่น (13 - 19 ปี) วัยรุ่นควรได้รับสารอาหารครบทุกประเภท คือ กินข้าว เนื้อสัตว์ ถั่ว ไข่ น้ำนม ไขมัน ผักและผลไม้ทุกวัน เนื่องจากเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากทั้งด้านรูปร่าง หน้าตา จิตใจ อารมณ์ และการร่วมสังคมกับคนอื่นๆ

5. วัยผู้ใหญ่ (20-40 ปี) เป็นวัยที่ร่างกายเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว แต่ร่างกายก็ยังต้องการสารอาหาร เพื่ อ น ำ ไปใช้ ใ นการทำง านของร่ า งกาย และซ่อมแซมส่วนที่ชำรุดทรุดโทรม ผู้ใหญ่ควรกินอาหารให้ครบได้สัดส่วนตามความต้องการของร่างกาย ความต้องการวิตามินยังคงเท่ากับวัยรุ่น สำหรับธาตุเหล็กร่างกายยังต้องการมาก ควรลดปริมาณการกินของหวาน น้ำตาล ไขมันโดยเฉพาะไขมันจากสัตว์เพิ่ม ปริมาณการกินผักและผลไม้มากขึ้น

6. วัยชรา ไม่ต้องการแคลอรีมากเพราะมีการเคลื่อนไหวน้อย จึงต้องการอาหารประเภทไขมัน และคาร์โบไฮเดรตน้อยแต่ต้องการเหล็กและแคลเซี่ยมมากเพื่อความแข็งแรงของกระดูก ควบคุมการทำงานของประสาท กล้ามเนื้อ และการแข็งตัวของโลหิต

1. วัยทารก (แรกเกิด- 1 ปี) อาหารหลักคือ น้ำนม นมแม่เป็นอาหารทีดีและเหมาะที่สุดสำหรับทารกนอกจากนมแม่แล้ว ทารกยังจำเป็นต้องได้รับอาหารเสริม

2. เด็กวัยก่อนเรียน (2 - 5 ปี) เด็กวัยนี้ต้องการอาหารเช่นเดียวกับทารกในระยะ 1 ปีแรก แต่ต้องการปริมาณมากขึ้น เพราะมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโต

3. เด็กวัยเรียน (6 - 13 ปี) เป็นวัยที่ร่างกายกำลังเจริญเติบโตช้า ๆ แต่สม่ำเสมอ การที่จะเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ได้เด็กต้องได้อาหารถูกต้อง ตามหลักโภชนาการในปริมาณที่เหมาะสม และเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ปัญหาโภชนาการของเด็กวัยนี้คือได้รับอาหารโปรตีนและแคลอรี่ไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ทำให้มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานกลายเป็นโรคขาดสารอาหาร หรือได้รับมากเกินไปทำให้ภาวะโภชนาการเกินหรือเป็นโรคอ้วน ซึ่งอาจเกิดโรคแทรกซ้อน ได้แก่ โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน ความดันโลหิตสูง ไขข้ออักเสบ

การบริโภคอาหารอย่างมีสัดส่วน อาหารในแต่ละมื้อควรมีสารอาหารครบทั้ง 5 ประเภทเพื่อการกินดีมีสุข คือประกอบด้วยสารอาหารดังต่อไปนี้ อาหารที่มีสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตและไขมัน จะให้พลังงานและความอบอุ่น อาหารที่มีสารอาหารประเภทโปรตีนจะช่วยสร้างเสริมและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ อาหารที่มีสารอาหารประเภทเกลือแร่ และวิตามิน จะช่วยควบคุมการทำงานของร่างกายให้เป็นปกติ

Page 8: functional food

10วิธีการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี

“ ใ น แ ต ่ ล ะ ว ั น เ ร า จ ำ เ ป ็ น ต ้ อ ง ร ั บ ป ร ะ ท า น อ า ห า ร ม า ก ม า ย ม ี ค ำ แ น ะ น ำ จ า ก ห ล า ย ส ำ น ั ก ใ ห ้ ก ิ น น ั ่ น ห ้ า ม ก ิ น น ี ่ จ น ไ ม ่ ร ู ้ จ ะ เ ช ื ่ อ ใ ค ร ด ี

ห ล า ย ส ำ น ั ก ใ ห ้ ก ิ น น ั ่ น ห ้ า ม ก ิ น น ี ่ จ น ไ ม ่ ร ู ้ จ ะ เ ช ื ่ อ ใ ค ร ด ี ว ั น น ี ้ เ ร า จ ึ ง ม ี เ ค ล ็ ด ล ั บ ง ่ า ย ๆ ข อ ง ก า ร ก ิ น ใ ห ้ ไ ด ้ ป ร ะ โ ย ช น ์ ส ู ง ส ุ ด ต ่ อ ส ุ ข ภ า พ อ ย ่

า ง เ ต ็ ม ท ี ่ ม า ฝ า ก ”

Page 9: functional food

1. กินอาหารเช้า

เป็นพฤติกรรมพื้นฐานที่ส่งผลต่อจิตใจ และพลังชีวิตของคุณไปตลอดทั้งวัน และช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด ลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ ช่วยเผาผลาญพลังงานให้ดีขึ้น ทำให้คุณกินอาหารในมื้ออื่นๆ น้อยลง

2. เปลี่ยนน้ำมันที่ใช้ปรุงอาหาร

ยอมจ่ายแพงสักนิดใช้น้ำมันมะกอก หรือน้ำมันดอกทานตะวัน ปรุงอาหารแทนน้ำมันแบบเดิมที่เคยใช้ เพราะเป็นไขมันที่ไม่เป็นโทษต่อร่างกาย และมีกรดไขมันอิ่มตัวที่เป็นประโยชน์ ช่วยลดไขมันในเส้นเลือดได้เป็นอย่างดี

3. ดื่มน้ำให้มากขึ้น

คนเราควรดื่มน้ำวันละ 2 ลิตรเป็นอย่างน้อย (ยกเว้นในรายที่ไตทำงานผิดปกติ) เพื่อหล่อเลี้ยงเซลล์ในร่างกาย ฟื้นฟูระบบขับถ่าย รักษาระดับความเข้มข้นของเลือด จะทำให้สดชื่นตลอดวันเลยทีเดียว

4. เสริมสร้างแคลเซียมให้กับกระดูก ด้วยการดื่มนม กินปลาตัวเล็กทั้งตัวทั้งก้าง เต้าหู้ ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง ผักใบเขียว เพราะแคลเซียมเป็นสิ่งจำเป็นที่จะเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อและกระดูก ทำให้ระบบประสาททำงานได้เต็มประสิทธิภาพ

5. บอกลาขนมและของกินจุบจิบ

ตัดของโปรดประเภทโดนัท คุกกี้ เค้กหน้าครีมหนานุ่ม ออกจากชีวิตบ้าง แล้วหันมากินผลไม้เป็นของว่างแทน วิตามิน และกากใยในผลไม้ มีประโยชน์กว่าไขมัน และน้ำตาลจากขนมหวานเป็นไหน

6. สร้างความคุ้นเคยกับการกินธัญพืชและข้าวกล้อง

เมล็ดทานตะวัน ข้าวฟ่างและลูกเดือย รวมทั้งข้าวกล้องที่เคยคิดว่าเป็นอาหารนก ได้มีการศึกษาและค้นคว้าแล้ว พบว่า ช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจถึง 1 ใน 3 เลยทีเดียว เพราะอุดมไปด้วยไฟเบอร์ ที่ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล และควบคุมน้ำตาลในเลือดให้สมดุล

7. จัดน้ำชาให้ตัวเอง

ทั้งชาดำ ชาเขียว ชาอู่ล่ง หรือเอิร์ลเกรย์ ล้วนแล้วแต่มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ การดื่มชาวันละ 1 ถึง 3 แก้ว ช่วยลดอัตราเสี่ยงมะเร็งกระเพาะอาหารถึง 30%

8. กินให้ครบทุกสิ่งที่ธรรมชาติมี

คุณต้องพยายามรับประทานผักผลไม้ต่างๆ ให้หลากสี เป็นต้นว่า สีแดงมะเขือเทศ สีม่วงองุ่น สีเขียวบล็อกเคอรี สีส้มแครอท อย่ายึดติดอยู่กับการกินอะไรเพียงอย่างเดียว เพราะพืชต่างสีกัน มีสารอาหารต่างชนิดกัน แถมยังเป็นการเพิ่มสีสันการกินให้กับคุณด้วย

9. เปลี่ยนตัวเองให้เป็นคนรักปลา

การกินปลาอย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง ได้ทั้งความฉลาดและแข็งแรง เพราะปลามีกรดไขมันโอเมก้า 3 และโปรตีน ที่ช่วยควบคุมการเต้นของหัวใจให้เป็นปกติ และบำรุงเซลล์สมอง ทั้งยังมีไขมันน้อย อร่อย ย่อยง่าย เหมาะสำหรับคนที่ต้องการหุ่นเพรียวลมเป็นที่สุด

10. กินถั่วให้เป็นนิสัย

ทำให้ถั่วเป็นส่วนหนึ่งของอาหารที่คุณต้องกินทุกวัน วันละสัก 2 ช้อน ไม่ว่าจะเป็นของหวานของคาว หรือว่าของว่างก็ทั้งโปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุสำคัญๆ หลายชนิด ต่างพากันไปชุมนุมอยู่ในถั่วเหล่านี้ ควรกินถั่วอย่างสม่ำเสมอ

Page 10: functional food

อยากชวนค ุณผ ู ้ หญ ิ งท ั ้ ง หลายให ้ ห ั น ม าด ู แ ลต ั ว เ อ ง ให ้ แ ข ็ ง แรงส ุ ขภาพด ี ด ้ ว ยการ เ ล ื อกก ิ นอาหารด ี ม ี ปร ะ โยชน ์ คร ั ้ ง น ี ้ ค ั ด สรรมา แบบ

เฉพา ะ เ จ า ะจง เ พ ื ่ อ ค ุณผ ู ้ หญ ิ งท ุ กคน

“8อาหารที่ผู้หญิงไม่ควรมองข้าม”

บร็อกโคลี

นอกจากจะอร่อยแล้ว บล็อกโคลียังเป็นผักที่ให้วิตามินซี แคลเซียม เหล็ก ซึ่งล้วนมีประโยชน์กับร่างกายทั้งสิ้น นอกจากนั้นยังมีกากใยช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานดี แต่สิ่งที่สำคัญคือต้องไม่ปรุงให้สุกมากเกินไปเพราะความร้อนจะทำให้คุณค่าวิตามินต่างๆ หายไปหมด

นม

นมเป็นแหล่งโปรตีนที่อุดมแคลเซียมซึ่งถือเป็นคุณสมบัติโดดเด่นของอาหารชนิดนี้ เพราะร่างกายของผู้หญิงเราต้องการแคลเซียมไปใช้มากกว่าผู้ชายในการดูแลกระดูกให้แข็งแรง (โดยเฉพาะช่วงตั้งครรภ์ ช่วงให้นมแม่ และวัยหมดประจำเดือน) และเพื่อไม่เกิดปัญหากระดูกพรุนในภายหลัง

โยเกิร์ต

นอกจากเป็นอาหารในกลุ่มผลิตภัณฑ์จากนมที่ให้แคลเซียมแล้ว ในโยเกิร์ตยังมีจุลินทรีย์ที่ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของเราทำงานอย่างสมบูรณ์ขึ้นด้วย แต่ที่สำคัญคือจะต้องเป็นโยเกิร์ตรสธรรมชาติที่ไม่เติมผลไม้เชื่อมหรือน้ำตาลลงไปนะคะ

Page 11: functional food

เต้าหู้

เป็นแหล่งโปรตีนสำคัญจากพืช จึงมีไขมันต่ำแถมแคลเซียมสูง ราคาก็ไม่แพง กินแล้วดีกับระบบย่อยอาหาร สบายท้อง นอกจากนั้นในเต้าหู้ยังมีสารที่ช่วยปรับระดับของฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายให้สมดุลอีกด้วย

มะเขือเทศ

เป็นแหล่งเบต้าแคโรทีน วิตามินซี และสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) ช่วยให้ระบบต่างๆ ในร่างกายทำงานได้ดีโดยเฉพาะระบบย่อย ที่สำคัญมีการวิจัยพบว่าการกินมะเขือเทศ (สดๆ ทั้งเปลือก) ช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเป็นมะเร็งเต้านมและมะเร็งปอดได้ ใครที่เคยเมินมะเขือเทศรีบเปลี่ยนความคิดด่วน

เมล็ดทานตะวัน

เป็นธัญพืชที่อุดมด้วยวิตามินอี และสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) ที่ช่วยต่อต้านริ้วรอย ชะลออายุของเซลล์ผิว จึงช่วยให้ผิวสดใส ดูยังเป็นสาวอ่อนวัย นอกจากนั้นวิตามินอียังจะช่วยลบเลือนรอยแผลเป็นให้จางลงไปได้ด้วย เพราะฉะนั้นจะกินเมล็ดทานตะวันเป็นของงว่างหรือโรยหน้าสลัดจานโปรดก็ดีทั้งนั้น

น้ำมันมะกอก

เป็นไขมันชนิดที่ไม่อิ่มตัว ซึ่งดีและเป็นประโยชน์กับสุขภาพ เพราะไปช่วยลดระดับคลอเลสเตอรอล LDL ซึ่งเป็นไขมันในหลอดเลือดตัวอันตรายหรือไตรกรีเซอไรด์ รวมถึงช่วยลดความเสี่ยงในเรื่องของความดันโลหิตสูงได้อีกด้วย นอกจากนั้นในน้ำมันมะกอกยังมีวิตามิน E สารต้านอนุมูนอิสระ (antioxidant) ที่ช่วยบำรุงผิวให้สดใสเป็นของแถมอีกด้วย

น้ำสะอาด

60 % ของร่างกายมีน้ำเป็นส่วนประกอบ น้ำจึงมีส่วนสำคัญเกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย และด้วยความที่สำคัญอย่างนี้คุณๆ จึงควรดื่มน้ำให้ได้อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว โดยขอย้ำว่าเป็นน้ำสะอาด ไม่ใช่น้ำหวาน น้ำอัดลม แบบนั้นกินแล้วได้แคลอรีพุ่งพรวดเป็นของแถม

Page 12: functional food

เมนูอาหารเพื่อสุขภาพ

Page 13: functional food

เมนูไข่ต้มที่ใครชอบทานไม่ว่าจะนำไข่ตัมไปทำในรูปแบบใดก็ตาม ไข่ต้มก็ยังเป็นเมนูที่คนในครอบครัวชอบทานกันมากที่สุดอีกหนึ่งเมนู เราเลยมีไอเดียการทำไข่ต้ม แสนธรรมดา ให้เป็นเมนูพิเศษค่ะ

เมนูอาหารสุขภาพไข่ต้มไส้หมูสับ

Page 14: functional food

เมนูอาหารสำหรับคนรักไข่เจียว แถมเป็นเมนูง่ายๆ และอร่อย เอาใจคนรักไข่เจียวด้วยเมนูไข่ สูตรพิเศษ ซึ่งมีวิธีการทำที่ง่ายมาก แถมได้ไข่เจียวที่สวยแปลกตา และยังเป็นเมนูที่เด็กๆ ชอบอีกด้วย

เมนูอาหารเพื่อสุขภาพไข่เจียวสูตรพิเศษ

Page 15: functional food

เมนูอาหารเพื่อสุขภาพ กะหล่ำปลีม้วนยัดไส้สำหรับเมนูสุขภาพวันนี้ เป็นเมนูที่ใช้กะหล่ำปลีเป็นส่วนประกอบหลัก ซึ่งเป็นผักที่หาได้ง่ายตามท้องตลาด โดยที่คุณสามารถเพิ่มไอเดียการทำอาหารเข้าไปก็จะช่วยให้คุณไม่เบื่อกับการทานผักแบบเดิมๆ

เมนูอาหารเพื่อสุขภาพกะหล่ำปลีม้วนยัดไส้

Page 16: functional food

ยำสาหร่ายปูอัด เป็นเมนูที่เราอยากน้ำเสนอสุดๆสำหรับ คุณผู้หญิงที่กำลังดูแลสุขภาพ รักษาหุ่น หรือต้องการลดน้ำหนัก เพราะมีแคลอรี่ที่น้อย มำง่ายไม่ยุ่งยาก แถมมีไขมันที่น้อยมาก เพราะไม่ผ่านการทอดๆผัดๆ เีพียงแต่ยำแซ่บๆ ให้ได้อร่อย จัดจ้าน สไตล์ญี่ปุ่น ที่เพิ่มความอร่อยด้วยสาหร่าย ที่ไม่มีไขมัน ได้โปรตีนประโยชน์เพื่อสุขภาพ

เมนูอาหารสุขภาพยำสาหร่ายปูอัด

Page 17: functional food

เมนูอาหารสุขภาพฟรุตสลัด

เมนูอาหารหวานที่เอาใจคนรักสุขภาพ คงหนีไม่พ้นผักและผลไม้ใช่ไหมล่ะค่ะ งั้นลองเปลี่ยนผัก ผลไม้ ที่ทานอยู่เป็นประจำเป็นอาหารจานพิเศษที่มีหลายๆ อย่างรวมกัน ก็น่าจะดีใช่ไหมล่ะค่ะ งั้นเราไปลองทำฟรุทสลัด เมนูอาหารเพื่อสุขภาพกันดีกว่าค่ะ นอกจากจะได้ประโยชน์แล้ว ยังได้

Page 18: functional food

เมนูอาหารวันนี้เอาใจคนรักสุขภาพ หรือผู้ที่ชอบทานเต้าหู้ทอด เขาว่าทานเต้าหู้นอกจากทำให้สุขภาพที่ดีแล้ว ยังทำให้ผิวพรรณของคนที่ทานนั้นดีตามไปด้วย ไม่เพียงเท่านั้นเต้าหู้ยังสามารถช่วยควบคุมน้ำหนักตัวของคุณได้ดีทีเดียว

เมนูอาหารสุขภาพเต้าหู้ทอดเหลืองทอง

Page 19: functional food

เมนูอาหารสุขภาพผัดผักรวมกุ้งสด

เมนูอาหารสำหรับคนรักสุขภาพวันนี้เอาใจคนที่ชอบทานกุ้งกัน ด้วยเมนูอาหารผัดผักรวมกุ้งสด โดยใช้ผักง่ายๆ ที่หาได้โดยทั่วไปแล้วนำมาผัดกับกุ้ง เพื่อเพิ่มสีสันให้กับเมนูอาหารของเรากัน

Page 20: functional food

ธาตุไฟ คือคนที่เกิดในเดือนมกราคม กุมภาพันธ์ และมีนาคมธาตุลม คือคนที่เกิดในเดือนเมษายน พฤษภาคม และมิถุนายนธาตุน้ำ คือคนที่เกิดในเดือนกรกฎาคม สิงหาคม และกันยายนธาตุดิน คือคนที่เิกิดในเดือนตุลาคม พฤศจิกายน และธันวาคม

น้ำนี้ดีมีประโยชน์ เพราะนอกจากจะดื่มแล้วแก้กระหาย สร้างความกระชุ่มกระชวยมีชีวิตชีวาให้กับร่างกาย

และลดสารพิษในร่างกายแล้ว รู้มั๊ยว่าหากเราเลือกดื่มน้ำตามธาตุของตัวเอง มันจะส่งผลดีต่อสุขภาพ

ทีนี้ตัวเราเองธาตุอะไรล่ะ ผู้มีภูมิปัญญาชาวไทยแบ่งไว้นานแล้ว ก่อนที่จะมีการวิจัยถอดรหัสจีโนม หรือทำแบบแผนพันธุกรรมมนุษย์ เพื่อให้หมอจ่ายยา(ฝรั่ง)ให้ถูกกับคนไข้แต่ละรายเสียอีก

แต่ก่อนจะมาดูว่าเราต้องกินน้ำอะไรให้เหมาะกับธาตุของตัวเอง ก็มาตรวจดูธาตุตามราศีเกิด หรือตามลัคนากันซะก่อน แล้วค่อยจัดแจงปรุงน้ำดื่มตามธาตุ เพื่อความมีสุขภาพดี

----------------------------------------

มาดูกันเลยว่า คุณเป็นคนธาตุใด

ดื่มน้ำ____ตามธาตุ

Page 21: functional food

พอรู้ธาตุตามราศีเกิดกันแล้ว ทีนี้มาดูกันต่อว่าธาตุไหนเหมาะกับน้ำอะไร

.......ธาตุดิน

คนธาตุดินมักชอบดื่มน้ำผักและผลไม้ที่มีรสฝาด หวาน มัน เค็ม เช่น น้ำฝรั่ง น้ำมะตูม น้ำกระท้อน น้ำมะกอก น้ำมะขามป้อม น้ำลูกหว้า น้ำแตงโม น้ำมะละกอ น้ำกล้วยหอม น้ำขนุน น้ำเงาะ น้ำน้อยหน่า น้ำละมุด ฝรั่ง น้ำลำไย น้ำอ้อย น้ำกระจับ น้ำข้าวโพด น้ำฟักทอง น้ำแห้ว และน้ำที่ออกรสเค็ม

........ธาตุน้ำ

ชอบน้ำผักและผลไม้รสเปรี้ยว รสขม เช่น น้ำมะขาม น้ำมะนาว น้ำกระเจี๊ยบแดง น้ำมะยม น้ำส้มโอ น้ำมังคุด น้ำมะเขือเทศ น้ำสับปะรด น้ำส้มเขียวหวาน น้ำลังสาด น้ำลิ้นจี่ น้ำเชอรี่ น้ำองุ่น น้ำชมพู่ น้ำทับทิมน้ำพุทรา น้ำสตรอเบอรี่ น้ำมะขวิด น้ำมะปราง น้ำมะเฟือง น้ำมะไฟ น้ำมะม่วงน้ำมะระขี้นก น้ำเห็ดหลินจือ น้ำใบบัวบก

........ธาตุลม

มักจะชอบดื่มน้ำผักผลไม้ที่มีรสเผ็ดร้อน เช่น น้ำกะเพราแดง น้ำขิง น้ำข่า น้ำตะไคร้

........ธาตุไฟ

ชอบรสหอมเย็น รสจืด เช่น น้ำลูกเดือย น้ำเม็ดแมงลัก น้ำอาร์ซี น้ำแตงไทย น้ำมะพร้าว น้ำรากบัว น้ำลูกจาก น้ำลูกตาลอ่อน น้ำผักคะน้า น้ำผักตำลึง น้ำแตงกวา น้ำขึ้นฉ่าย น้ำดอกคำฝอย น้ำว่านหางจระเข้ น้ำกระหล่ำปลี น้ำกวางตุ้ง

Page 22: functional food

.. อันตรายจากอาหาร ที่ต้องระวังอาหารนั้นมีดีและไม่ดีมีทั้งโทษและมีทั้งคุณประโยชน์มากมาย

ฉะนั้นเราควรจะเลือกรับประทานอาหาร แต่ละอย่างให้ถูกต้องและถูกวิธี แต่อย่างไรก็ตามอันตรายจากอาหารที่อาจจะเกิดกับคุณได้ทุกเมื่อและเมื่อไหร่ก็ไม่รู้ได้

..

อันตรายจากอาหารที่ต้องระวัง

Page 23: functional food

อันตรายจากอาหาร

มันฝรั่งทอดและคุกกี้ รวมทั้งขนมเค้ก มีกรด Trans FaT สูง ซึ่งมันจะเพิ่มคอเลสเตอรอลชนิดเลว (LDL) ในเลือด ลดไขมันชนิดดี (HDL) และมันจะไปสะสมในผนังหลอดเลือด ซึ่งจะทำให้หลอดเลือดอุดตันและเพิ่มความเสี่ยงกับโรคหัวใจและหลอดเลือด

กาแฟ การดื่มกาแฟมากเกินไปอาจทำให้ใจสั่น ว้าวุ่น อาเจียน หัวใจเต้นผิดปกติ และมีปัญหาเกิดขึ้นกับกระเพาะอาหาร หากใครดื่มกาแฟมากเกินไปเป็นประจำแล้วเลิกดื่มทันทีอาจทำให้ปวดศีรษะ นอกจากนี้ในชาและโกโก้ก็มีสารชนิดเดียวกับกาแฟ

ธัญพืช หากใครที่มีปัญหากับการย่อยโปรตีน Gluten ก็จะมีปัญหากับการย่อยธัญพืชซึ่งมีโปรตีนที่ว่านี้ คือ ร่างกายจะทำปฏิริยากับโปรตีน Gluten จนทำให้ท้องเสีย และหากไม่หลีกเลี่ยงการกินโปรตีนที่ว่านี้ก็อาจก่อให้เกิดโรคกระดูกพรุน ต่อมธัยรอยด์อักเสบ เบาหวาน และโรคซึมเศร้า

ถั่วดิบ อาจมีพิษซึ่งจะทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุลำไส้ได้ หากกินถั่วดิบมากเกินไปอาจทำให้เซลล์ตายได้ แต่ถ้าถั่วผ่านการหุงต้มให้สุกก็จะทำลายสารพิษที่ว่านี้ได้

น้ำผึ้ง ไม่ควรให้ทารกกินน้ำผึ้งเพราะในการคั้นน้ำผึ้งอาจมีแบคทีเรียติดค้างซึ่งจะเป็นอันตรายต่อทารก ทำให้ลำไส้อุดตันและอาจเข้าไปในระบบเลือดส่งผลให้กล้ามเนื้อไม่ทำงาน

ลูกอมแก้ไอ ยาอมแก้ไอมีน้ำมันหอมระเหยหากกินในปริมาณมากอาจทำให้รู้สึกคลื่นเหียน อาเจียน และมีปัญหากับไต หรือหากมีเมนธอลมากเกินไปจะมีผลกับกล้ามเนื้อหัวใจทำให้หัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะ

มันฝรั่งกรุบกรอบ การผลิตมันฝรั่งกรุบกรอบทำให้เกิดสาร Acrylamide ทั้งนี้ ยังมีการทดลองกันยังไม่เพียงพอที่จะสรุปได้ว่ามันมีผลกับพันธุกรรมมากแค่ไหน แต่จากการทดลองกับสัตว์พบว่ามันกระตุ้นให้เกิดมะเร็งโดยเฉพาะเมื่อกินในปริมาณมาก

Page 24: functional food