new เทคโนโลยีพัฒนากล้วยไข่ ... · 2020. 1. 3. ·...

8
ฉบับที่ 12 /ธันวาคม 2562 ปีท่ 22 เทคโนโลยีพัฒนากล้วยไข่ จังหวัดก�าแพงเพชร

Upload: others

Post on 20-Sep-2020

0 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: New เทคโนโลยีพัฒนากล้วยไข่ ... · 2020. 1. 3. · เทคโนโลยีพัฒนากล้วยไข่จังหวัดก

ฉบับที่ 12 /ธันวาคม 2562 ปีที่ 22

เทคโนโลยีพัฒนากล้วยไข่จังหวัดก�าแพงเพชร

Page 2: New เทคโนโลยีพัฒนากล้วยไข่ ... · 2020. 1. 3. · เทคโนโลยีพัฒนากล้วยไข่จังหวัดก

คำ�ถามฉบบันี้… : วว. และ กรมทางหลวงชนบท จะร่วมกนัดำ�เนินงานในโครงการใดำเป็นโครงการแรก

จจดหมายข่าว วว. ฉบับส่งท้ายปลายปี 2562 น�าเสนอผลงานของศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ ที่

ลงพื้นที่ทั้งในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ น�าวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) ช่วยยก

ระดับเกษตรกร โดยในภาคเหนือ (จังหวัดก�าแพงเพชร) วว. ประสบผลส�าเร็จในการน�า วทน. ลดความสูงของต้น

กล้วยไข่ แต่สามารถเพิ่มผลผลิตกล้วยไข่ให้สูงขึ้น ส่วนที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (จังหวัดเลย) วว. เข้าไปส่งเสริมให้ปลูก

ไม้ดอกไม้ประดับสายพันธุ์ใหม่ เช่น เบญจมาศ ลิเซียนทัส เยอรบิร่า เป็นอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรอีกทางหนึ่ง

สามารถอ่านรายละเอียดทั้ง 2 สกู๊ปพิเศษ ได้ในฉบับ ผลงานดังกล่าว นับเป็นอีกหนึ่งความภาคภูมิใจของ วว. ที่นัก

วิจัยต่างทุ่มเทแรงกาย แรงใจ ในการสร้างสรรค์ผลงาน เพื่อประโยชน์ของประชาชนในพื้นที่ห่างไกลอย่างแท้จริง

สุดท้ายนี้ ...เนื่องในศุภวารดิถีขึ้นปีใหม่ 2563 กองบรรณาธิการจดหมายข่าว วว. ขออารธนาคุณพระศรีรัตนตรัย

อ�านวยพรให้ท่านผู้อ่านประสบความสุข มีสุขภาพพลานามัยแข็งแรง และคิดหวังสิ่งใดสมดังปรารถนาทุกประการ ...

สวัสดีปีใหม่ค่ะ ^_^

กองประชาสัมพันธ์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย เลขที่ 35 หมู่ 3 ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120 E-mail : [email protected] โปรดวงเล็บมุมซองว่า “ตอบปัญหาชิงรางวัล”

ที่ปรึกษา

ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต

นายสายันต์ ตันพานิช

ดร.อาภารัตน์ มหาขันธ์

นายวิรัช จันทรา

ดร.จิตรา ชัยวิมล

ดร.อาภากร สุปัญญา

นางสุวรรณา ดอกไม้คลี่

บทบรรณาธิการ

สารบัญ

สกู๊ปพิเศษ ตามไปดู..พรรณไม้ที่ วว. ส่งเสริมปลูกเลี้ยง

ณ จังหวัดเลย

34568

11

1312

โชว์รูมเทคโนโลยีผงโรยข้าวผสมซินไบโอติก

เรื่องเด่นประจ�าฉบับ เทคโนโลยีพัฒนากล้วยไข่จังหวัดก�าแพงเพชร

ข่าวสาร วว.-Thailand Rubber Expo 2019

-วว. ลงนามกรมทางหลวงชนบท

- สรุปผลงานพัฒนาผลิตภัณฑ์ท่องเที่ยว

พาณิชย์เชิงบูรณาการ

- ประชุมรับฟังความคิดเห็นโครงการการผลิต

ก๊าซชีวภาพ

รอบรู้รอบโลก‘แอสโตรแลนด์’ … ประสบการณ์จริง

เสมือนไปดาวอังคาร

ภาพกิจกรรม

สาระวิทยาศาสตร์เทโลเมียร์... ความลับของอายุ

ที่ยืนยาวบรรณาธิการ

น.ส.ยุพิน พุ่มไม้

กองบรรณาธิการ

น.ส.ปัทมา ลิ่วเลิศมงคล

น.ส.วรรณรัตน์ วุฒิสาร

น.ส.กัลยา จงรัตนชูชัย

น.ส.สิริลักษณ์ กองจันทร์

นางจันทนา เนียมวงษ์

นางปิยะภรณ์ รื่นเริง

ฝ่ายภาพ

นายณรงค์เดช วงษ์สะอาด

น.ส.ขวัญใจ มีนิสสัย

ฝ่ายศิลป์

นายเรวัต วิบูลย์ศิริชัย

นายปุณณภพ โผผิน

น.ส.ศศิกานต์ แต่งเสร็จ

สำ�นกังาน

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

แห่งประเทศไทย (วว.)

เทคโนธานี 35 หมู่ 3 ต.คลองห้า

อ.คลองหลวงจ.ปทุมธานี 12120

โทร.0 2577 9000, 0 2577 9360-61

โทรสาร 0 2577 9009,

0 2577 9362

Call center : 0 2577 9300 E-mail : [email protected]

http//: www.tistr.or.th www.facebook.com/tistr.or.th Line@tistr

วัตถุประสำงคำ์

เพื่อเผยแพร่ กิจกรรมผลงานวิจัย และบทความ วว. ที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน

สามารถส่งค�ตอบมาได้ที่ กองประชาสัมพันธ์ ตามช่องทางการติดต่อของ วว. ทั้งทางจดหมาย และ E-mail โดย 5 ท่านแรกที่ส่งค�ตอบจะได้รับของที่ระลึกจาก วว.

บรรณาธิการ

3วิสัยทัศน์ : เป็นองค์กรชั้นน�าในการบูรณาการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อสร้างสังคมนวัตกรรมอย่างยั่งยืน

Page 3: New เทคโนโลยีพัฒนากล้วยไข่ ... · 2020. 1. 3. · เทคโนโลยีพัฒนากล้วยไข่จังหวัดก

54

สกูป๊พเิศษโชว์รมูเทคโนโลยี

จุลินทรีย์กลุ่มโพรไบโอติก เป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์สามารถ

ช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งล�าไส้ โดยสร้างสารที่มีชื่อว่า Glycopeptides ที่

มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเนื้องอก ในขณะที่สารพรีไบโอติก เป็นสาร

อาหารที่ไม่ถูกย่อยในระบบทางเดิน อาหารส่วนบนของร่างกายท�าให้

จุลินทรีย์ในกลุ่ม โพรไบโอติสามารถใช้สารพรีไบโอติกเป็นแหล่งอาหาร

ในการเจริญและเพิ่มจ�านวน ดังนั้นจึงได้มีการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ผง

โรยข้าวที่มีส่วนผสมของซินไบโอติกซึ่งเป็นโพรไบโอติกที่มีการเสริมฤทธิ์

ด้วยสารพรีไบโอติก

ผลิตภัณฑ์ผงโรยข้าวผสมซินไบโอติก เป็นผลงานการพัฒนา

ของศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมอาหารสุขภาพ วว. โดยมีวิธีการเตรียม

ด้วยเทคนิคการท�าแห้งแบบพ่นฝอยโดยใช้ สารพรีไบโอติกได้จากเชื้อ

pediococcus Acidi-lActici เป็นสารห่อหุ้มซึ่งสามารถช่วยปกป้อง เซลล์

โพรไบโอติก จากความร้อนในกระบวนการ ท�าแห้ง ท�าให้มีอัตราการ

รอดตายมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ มีการท�างานร่วมกันของทั้งโพรไบโอติก

และพรีไบโอติก ท�าให้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการลดความเสี่ยงต่อการ

เป็นโรคมะเร็งล�าไส้ ผลิตภัณฑ์อยู่ในรูปแบบผงแห้งท�าให้ง่ายและสะดวก

ต่อการเก็บรักษาและน�าไปใช้งาน

สอบถามข้อมูล cAll center : 0 2577 9300

e-mAil : [email protected]

ผงโรยข้าวผสำมซินไบโอตกิ

ตามไปดู..พรรณไม้ท่ี วว. พฒันา/ส่ำงเสำริมปลูกเล้ียง @ จงัหวดัเลย

ดอกเยอรบีร่า พรรณไม้เยอบีร่า

สายพันธุ์ใหม่ที่ได้จากงานวิจัย และ เป็น

ผลิตภัณฑ์ต้นแบบชนิดใหม่ เพื่อผลิตเชิงการ

ค้า ให้กับกลุ่มผู้ปลูกเลี้ยงไม้ดอก โดยเน้นการ

ลดต้นทุนจาก ต้นแม่พันธุ์ และการเพิ่มมูลค่า

จากดอกสีสันใหม่ๆ

เยอรบีร่า ถือเป็นตัวแทนของความ

รักที่มั่นคง ซื่อตรงและภักดี ซึ่งก็เปรียบได้

เหมือนกับลักษณะของตัวดอก ที่สีสวย สดใส

คงทนและอยู่ได้นาน นอกจากนี้ เยอรบีร่า

ยังเป็นไม้ดอกที่นิยมน�ามาประดับในอาคาร

เพราะนอกจาก ดอกเยอรบีร่า จะมีความสวย

และทนทานแล้ว ดอกเยอรบีร่ายังมีคุณสมบัติ

ในการดูดสารพิษได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

ก่อนลมหนาวมาเยือน ช่วงต้น

เดือนธันวาคมที่ผ่านมา กองบรรณาธิการ

จดหมายข่าว วว. เดินทางร่วมกับคณะ

ของ ดร.อนันต์ พิริยะภัทรกิจ นักวิจัยศูนย์

เชี่ ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร ้างสรรค ์

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

แห่งประเทศไทย (วว.) ไปเยือนอ�าเภอภูเรือ

ดอกเบญจมาศ ส่งเสริมการเพาะ

เลี้ยงเน้ือเยื่อเบญจมาศสายพันธุ์ที่ได้รับการ

พัฒนาจากโครงการวิจัยของ วว. มากกว่า

44 สายพันธุ์ เพื่อพัฒนาเป็นไม้ตัดดอก และ

ไม้ดอกในกระถาง

เบญจมาศ (Chrysanthemum

morifolium) เป็นไม้ตัดดอกที่มีมูลค่าการผลิต

สูง โดยมียอดการซื้อขายทั่วโลกปีละหลายพัน

ล้านบาท ส�าหรับประเทศไทยสามารถปลูก

เบญจมาศได้ในหลายพื้นที่ แต่พื้นที่ปลูกก็มี

แนวโน้มลดลง เนื่องจากสายพันธุ์เบญจมาศ

ที่ใช ้เป ็นต้นพันธุ ์ดั้งเดิมมีการปลูกเลี้ยงมา

ยาวนาน และใช้พื้นที่ปลูกเดิมแบบซ�้า ๆ กันมา

หลายปี ดังนั้น วว. จึงได้น�าสายพันธุ์เบญจมาศ

ที่ได้จากการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ โดย

สร้างสายพันธุ ์ใหม่ให้มีความหลากหลายทั้ง

สีดอก รูปทรงดอกที่แปลกใหม่ และสายพันธุ์

ที่มีศักยภาพในการต้านทานโรค ตลอดจน

สายพันธุ์ที่มีความเหมาะสมกับภูมิอากาศและ

ภูมิประเทศของจังหวัดเลย มาส่งเสริมให้กับ

เกษตรกรปลูกเลี้ยงต่อไป

ดอกลิเซียนทัส ส่งเสริมและทดลอง

ปลูกเลี้ยงต้นลิเซียนทัส ในรูปแบบไม้กระถาง

เพื่อเพิ่มมูลค่าจากดอกไม้สีสันใหม่ๆ และ

เป็นพันธุ ์ ไม ้ชนิดใหม่ที่จะเริ่มมีการปลูก

เลี้ยงในพื้นที่อ�าเภอภูเรือ จังหวัดเลย ตั้งแต่

กระบวนการเพาะเมล็ด การดูแลรักษา และ

เทคนิคการจัดการระบบการปลูกเลี้ยง จน

กระทั่งสามารถออกดอกได้

ลิเซียนทัส เป็นไม้ดอกขนาดเล็ก

คล้ายดอกกุหลาบ แต่ออกดอกจะเป็นช่อ มี

กลีบบางอ่อน ดูนุ่มนวล อ่อนช้อย มีหลาย

สี เช่น สีขาว พีช ขาวขอบชมพู ขาวขอบ

ม่วง ชมพู ม่วง และลาเวนเดอร์ เมื่อใช้จัด

ร่วมกับดอกไม้ชนิดอื่นๆ แล้ว จะช่วยให้การ

จัดดอกไม้ชิ้นงานนั้นๆ ดูอ่อนหวานขึ้น จึงมัก

ถูกใช้ประดับในช่อดอกไม้ในงานแต่งงานดอก

ลิเซียนทัส ให้ความหมายว่า การใส่ใจเอาใจใส่

ต่อคนคนนั้น หรือมิตรภาพที่ยั่งยืนและความ

ทรงจ�าที่ดี

จังหวัดเลย

“ภูเรือ” เป็นเมืองท่องเที่ยว ที่

เหมาะแก่การพักผ่อน มีความโดดเด่น ทาง

ภูมิศาสตร์ อากาศดี มีดอกไม้ ไม้ประดับ

ที่สวยงามตลอดปี ที่ผ่านมา วว. ได้น�า

วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ไป

ส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยีการปลูกไม้

ดอกไม้ประดับ ภายใต้โครงการการพัฒนา

เกษตรกรด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและ

นวัตกรรม (InnoAgri) เพื่อสร้างสินค้า

เกษตรชนิดใหม่ตามศักยภาพในพ้ืนท่ีภาค

ตะวันออกเฉียงเหนือ โดยพรรณไม้ที่ วว.

พัฒนาและส่งเสริมปลูกเลี้ยง ดังนี้

นอก เห นือจากการ เยื อนแปลง

พรรณไม้ต่างๆ แล้ว คณะของเรายังได้ไปร่วม

งาน “เทศกาลคริสต์มาส ครั้งที่ 8” ประจ�าปี

2562 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างเดือนธันวาคม 2562-

มกราคม 2563 เพื่อประชาสัมพันธ์การท่อง

เที่ยว อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ส่งเสริมอาชีพสร้าง

รายได้ในการปลูกไม้ดอกไม้ประดับ โอกาส

นี้ ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ วว. นาย

สายันต์ ตันพานิช รองผู้ว่าการกลุ่มวิจัยและ

พัฒนาด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ ร่วมเป็น

เกียรติในพิธีเปิดงานเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน

2562 ณ ลานคริสต์มาส อ.ภูเรือ จ.เลย

นอกจากนี้ วว. ร่วมจัดแสดงนิทรรศการผลงาน

ความส�าเร็จในน�าวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและ

นวัตกรรม (วทน.) เข้ามาช่วยส่งเสริมพัฒนาไม้

ดอกไม้ประดับในพื้นที่ จ.เลย อาทิ การเพาะ

เลี้ยงเนื้อเยื่อ การแปรรูปผลผลิต ภาชนะปลูก

จากวัสดุในท้องถิ่น การผลิตปุ๋ยอินทรีย์เคมีใน

ครัวเรือน เป็นต้น

การลงพื้นที่ในจังหวัดเลยครั้งนี้ ถือ

เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ท�าให้ได้เห็นถึงความ

ส�าเร็จของการใช้ประโยชน์จาก วทน. ในการ

สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับเกษตรกร ได้

เห็นรอยยิ้มและความหวัง นับเป็นแรงใจ

ให้ วว. พัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรมที่เป็น

ประโยชน์ ส่งไปยังพี่น้องประชาชนในพื้นที่ห่าง

ไกลให้สามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน

Page 4: New เทคโนโลยีพัฒนากล้วยไข่ ... · 2020. 1. 3. · เทคโนโลยีพัฒนากล้วยไข่จังหวัดก

76

วว.วจิยัพฒันาเทคำโนโลยีการผลิตกล้วยไข่จงัหวดัก�แพงเพชร “พนัธุเ์ตีย้ ล�ต้นแขง็แรง ปลูกชดิได้มากขึน้ ให้ผลผลิตเร็ว”

ดร.กุศล เอี่ยมทรัพย์

นักวิจัยอาวุโส

ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ วว.

กล้วย เป็นพรรณไม้ล้มลุกในสกุล

MusA มีหลายชนิดในสกุล บางชนิดก็ออกหน่อ

แต่ว่าบางชนิดก็ไม่ออกหน่อ ใบแบนยาวใหญ่

ก้านใบตอนล่างเป็นกาบยาวหุ้มห่อซ้อนกันเป็น

ล�าต้น ออกดอกที่ปลายล�าต้นเป็น ปลี และมัก

ยาวเป็นงวง มีลูกเป็นหวี ๆ รวมเรียกว่า เครือ

จังหวัดก�ำแพงเพชรถูกขนำนนำมว่ำ

เป็นเมืองกล้วยไข่ เนื่องจากมีกล้วยไข่เป็นผล

ไม้ที่เป็นเอกลักษณ์ประจ�าจังหวัด เป็นกล้วยไข่

ที่อร่อยขึ้นชื่อที่สุดจนเป็นที่รู้จักโดยทั่วไป แต่

ปัจจุบันพื้นที่ปลูกลดลงอย่างมาก ซึ่งมาจาก

หลายสาเหตุ แต่ก็ยังมีผู้ที่อนุรักษ์สืบสานปลูก

กล้วยไข่ต่อไปอีก โดยเฉพาะกล้วยไข่พันธ์แท้

ของ จังหวัดก�าแพงเพชร โดยกระจายไปตาม

อ�าเภอต่างๆ

เดิมจังหวัดก�าแพงเพชรมีเกษตรกรปลูก

กล้วยไข่มากถึง 40,000 ไร่ มีรายได้เข้าจังหวัด

ประมาณ 200 ล้านบาท แต่ปัจจุบันลดลงมา

เหลือน้อยกว่า 4,000 ไร่ โดยกระจายอยู่ในเขต

อ.เมือง คลองขลุง โกสัมพี และคลองลาน แต่

ยังสามารถท�าเงินให้เกษตรกรได้ไม่ต�่ากว่า 60

ล้านบาท

ส่วนสาเหตุที่พื้นที่เพาะปลูกน้อยลง

จากพายุฤดูร้อนหรือพายุฟ้าคะนอง ซึ่งจะ

เกิดขึ้นในฤดูร้อน ช่วงเดือนเมษายนหรือใน

ช่วงก่อนเริ่มต้นฤดูฝน ขณะที่อุณหภูมิในภาค

ต่างๆเริ่มสูงขึ้น เนื่องจากแกนของโลกเริ่มเอียง

เข้าหาดวงอาทิตย์ และดวงอาทิตย์จะเคลื่อน

มาอยู่ที่บริเวณเส้นศูนย์สูตร ท�าให้อากาศร้อน

อบอ้าวและชื้นในภาคเหนือ ภาคตะวันออก

เฉียงเหนือและตอนบนของภาคกลาง อากาศ

ที่อยู่ใกล้ผิวพื้นจะมีอุณหภูมิสูง ประกอบกับ

ลมที่พัดเข้าสู ่ประเทศไทยเป็นลมใต้และลม

ตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดมาจากอ่าวไทยและ

กล้วยไข่ก�ำแพงเพชร เป็นพันธุ์กล้วย

ที่มีคุณภาพดี รสหวาน เนื้อแน่น ผิวบาง เนื้อ

ผลสีเหลือง เป็นพืชอัตลักษณ์ของจังหวัด

ก�าแพงเพชร เกษตรกรพยายามอนุรักษ์และ

สืบสานให้อยู่ต่อและคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์เปลือก

เทคโนโลยีการลดความสู งของ

กล้วยไข่เพื่อลดความเสียหายจากลมพายุ เป็น

เทคโนโลยีที่มีต้นทุน 1 บาทต่อต้น แต่ลดความ

เสียหายได้ดี นอกจากนี้กล้วยลักษณะดังกล่าว

ยังสามารถท�าการปลูกชิดได้มากขึ้นท�าให้

เกษตรมีรายได้มากขึ้นจากกล้วยที่ไม่เสียหาย

และจ�านวนต้นต่อพื้นที่มากขึ้น

นอกจากการลดความสูงของกล้วยไข่

แล้ว สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

แห่งประเทศไทย หรือ วว. ยังได้ท�าการวิจัย

เพื่อเพิ่มขนาดและน�้าหนักของผลกล้วยไข่ โดย

ใช้สารกลุ่มจิบเบอเรลลินฉีดพ่นโดยตรงที่ผล

อ่อนจ�านวนสองครั้งห่างกันหนึ่งสัปดาห์ ที่

ความเข้มข้นห้าสิบส่วนในล้านส่วน ซึ่งมีต้นทุน

ประมาณสี่บาทต่อเครือ จากการทดลองพบว่า

สามารถเพิ่มขนาดและน�้าหนักของผลกล้วยไข่

ได้เพิ่มขึ้น 50-70 เปอร์เซ็นต์ และจากขนาด

และน�้าหนักผลที่เพิ่มขึ้นท�าให้เกษตรกรมีราย

ได้มากขึ้นจากทั้งน�้าหนักและราคาของเกรด

ผลกล้วยต่อหน่วยที่เพิ่มขึ้นด้วย

ทะเลจีนใต้ ในระยะนี้ถ้ามีลมเหนือ (อากาศ

เย็น) พัดลงมาจากประเทศจีนจะท�าให้อากาศ

สองกระแสกระทบกัน ท�าให้การหมุนเวียน

ของอากาศแปรปรวนขึ้นอย่างรวดเร็วและฉับ

พลัน เป็นเหตุให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองอย่าง

แรงและรวดเร็ว มีฟ้าแลบ (liGhtninG) ฟ้าร้อง

(thunder) และฟ้าผ่ารวมอยู่ด้วย นอกจากนี้มัก

จะมีลมกระโชกแรงและฝนตกหนักเกิดขึ้น บาง

ครั้งยังมีลูกเห็บตกลงมาด้วย พายุฟ้าคะนองนี้

เป็นพายุที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาอันสั้นและพายุ

ดังกล่าวเป็นพายุที่พัดมาไม่มีทิศทางยากจะ

ป้องกัน โดยจะมีพายุสองช่วงคือช่วงเดือนต้น

ฤดูฝนช่วงมีนาคมและช่วงปลายฤดูฝนในเดือน

ตุลาคม จึงท�าให้ลมพัดต้นกล้วยไข่หักเสียหาย

ประกอบกับกล้วยไข่ให้ผลผลิตปีละครั้ง ถ้า

เสียหายก็ขาดทุนหมด เกษตรกรจึงหันไปปลูก

พืชอื่นทดแทนพื้นที่ปลูกกล้วยไข่ของจังหวัด

ก�าแพงเพชรจึงลดลงอย่างมาก

บางผิวตกกระ เนื้อแน่นเหนียว รสชาติหวาน

ผลไม่เล็กไม่ใหญ่ ต้นกล้วยไข่พันธุ์พื้นเมือง

ก�าแพงเพชร ต้นจะเล็ก สูงประมาณ 2 เมตร

ถึง 3 เมตร ผลไม่ใหญ่ไม่เล็ก ผิวเมื่อสุกแล้ว

สีเหลืองสดใส แก่จัดผิวจะตกกระเป็นจุดสี

น�้าตาลด�า รสชาติหวานวัดได้ประมาณ 24

องศาบริกซ์ ไม่มีรสเปรี้ยว เนื้อแน่นเหนียว

ตลอดทั้งลูก เปลือกบางจึงไม่เหมาะกับการ

ส่งออก แต่เหมาะส�าหรับบริโภคสด ผิดกับ

พันธุ์อื่นๆ ซึ่งลูกใหญ่ที่ปลูกในจังหวัด

อื่นๆ เพื่อส่งออก แต่รสชาติต่างกันมาก กล้วย

ก�าแพงเพชรจึงเหมาะสมกับการอนุรักษ ์

และสืบสานต่อกล้วยไข่ให้อยู ่คู ่กับจังหวัด

ก�าแพงเพชรต่อไป

สถำบันวิจั ยวิทยำศำสตร ์และ

เทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวง

กำรอุดมศึกษำ วิทยำศำสตร์ วิจัยและ

นวัตกรรม (อว.) ได้รับงบประมำณในกำร

ด�ำเนินกำร โครงกำรกำรพัฒนำเกษตรกร

ด้วยวิทยำศำสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม

(InnoAgrI) เพื่อเพิ่มมูลค่ำของผลิตผล

ทำงกำรเกษตรภำคเหนือ (กล้วยไข่) และได้

รับทรำบถึงปัญหำกำรเสียหำยจำกลมพำยุ

และมุ ่งหวังที่จะท�ำกำรเพิ่มคุณภำพและ

ผลผลิตกล้วยไข่ก�ำแพงเพช โดยได้ท�ำกำร

ทดลองเพื่อลดควำมสูงของกล้วยไข่โดยใช้

สำรควบคุมกำรเจริญเติบโตของพืชรำดผสม

น�้ำรำดที่โคนกล้วยไข่อำยุ 4 เดือนอัตรำห้ำ

กรัมต่อต้น ซึ่งสำรดังกล่ำวสำมำรถลดควำม

สูงของกล้วยไข่ลงได้ประมำณหนึ่งเมตร

ลักษณะล�ำต้นแข็งแรงและเมื่อมีลมพำยุพัด

เข้ำมำพบว่ำ สำมำรถต้ำนทำนกำรหักล้มได้

ดีกว่ำกล้วยไข่ที่ปกติและให้ผลเร็วกว่ำกล้วย

ไข่ปกติประมำณสิบวัน

กล้วยปกติ กล้วยเตี้ยล�าต้นส่วนบนจะมีขนาดใหญ่แข็งแรง

ต้านลมพายุได้ดี

แปลงกล้วยราดสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชเพื่อลดความสูงส�าหรับลดความเสียหายจากพายุ

กล้วยไข่ก�าแพงเพชรเดิม(บนซ้าย)กับกล้วยไข่ที่ฉีดพ่น

สารจิบเบอเรลลินเพื่อเพิ่มขนาดและน�้าหนักผล

การสุกของผลกล้วยไข่ปกติและกล้วยไข่ที่เพิ่มขนาดและ

น�้าหนักผลที่ยังคงลักษณะเปลือกบางเนื้อแน่นและหวาน

เปรียบเทียบลักษณะกล้วยไข่ก�าแพงเพชรปกติ (บนซ้าย)

และกล้วยที่เพิ่มขนาดผลด้วยจิบเบอเรลลิน

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมหรือขอรับค�าปรึกษาเกี่ยวกับ “เทคโนโลยีการผลิตกล้วยไข่ก�าแพงเพชร” ผลงานวิจัยและพัฒนาของ วว. ได้ที่

ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ (ดร.กุศล เอี่ยมทรัพย์) โทร. 0 2577 9000 www.tistr.or.th line @tistr

เรือ่งเด่นประจ�าฉบบั

Page 5: New เทคโนโลยีพัฒนากล้วยไข่ ... · 2020. 1. 3. · เทคโนโลยีพัฒนากล้วยไข่จังหวัดก

98

ข่าวสาร วว.

วว. ลงนามคำวามร่วมมือ กรมทางหลวงชนบท พฒันา/ทดสำอบอุปกรณ์ทางด้านการจราจรและคำวามปลอดภยัทางถนน

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี

ว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานเปิดงาน “Thailand Rubber

Expo” โดยมี นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร

และสหกรณ์ นายขจรจักษณ์ นวลพรหมสกุล รักษาการผู้ว่าการยางแห่ง

ประเทศไทย ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์

และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์

วิจัยและนวัตกรรม ร่วมต้อนรับ เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2562 ณ อิม

แพ็ค เอ็กซิบิชั่น ฮอลล์ 5 ศูนย์การแสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค

เมืองทองธานี

โอกาสนี้ ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมวัสดุ (ศนว.) วว. น�าโดย

ดร.ศิริพร ลาภเกียรติถาวร ผอ.ศนว.และทีมนักวิจัย ร่วมน�าผลงาน

วิจัยเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ยางพาราด้วย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและ

นวัตกรรม สร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจเชิงบวกให้กับประเทศไทย เพิ่ม

มูลค่ายางพาราด้วยการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ แก้ปัญหาราคายางตกต�่า

อีกทั้งยังลดการน�าเข้าของผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศ

วว.ร่วมโชว์ศกัยภาพงานวิจยัด้านยางพารา @Thailand Rubber Expo 2019

ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์

และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) และ นายปฐม เฉลยวาเรศ อธิบดี

กรมทางหลวงชนบท (ทช.) ลงนามร่วมพัฒนาและทดสอบอุปกรณ์ทาง

ด้านการจราจรและความปลอดภัยทางถนนเพื่อน�าไปใช้ประโยชน์ใน

หน่วยงานภาครัฐ เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2562 ณ ห้องประชุม กวท. ชั้น 8

อาคาร RD1 เทคโนธานี

ส�าหรับความร่วมมือระหว่าง วว. และ กรมทางหลวงชนบท ใน

ครั้งนี้ มีระยะเวลาความร่วมมือ 5 ปี ระหว่างปี 2562-2567 เพื่อร่วมกัน

พัฒนาผลิตภัณฑ์ยางซึ่งใช้งานในด้านการจราจรและความปลอดภัยทาง

ถนน ด้วยกระบวนการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม

และมุ่งสู่การน�าไปใช้ประโยชน์ในหน่วยงานภาครัฐถือเป็นจุดเริ่มต้นของ

การพัฒนานวัตกรรมใหม่ด้านการจราจรและความปลอดภัยทางถนน

และน�าองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี มาเพิ่มมูลค่าและส่ง

เสริมนโยบายของรัฐบาลในการน�ายางพารามาใช้ประโยชน์ในประเทศ

มากยิ่งขึ้น

ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ วว. กล่าวว่า โครงการ

แรกที่ทั้งสองหน่วยงานจะด�าเนินการร่วมกัน คือ การพัฒนาและทดสอบ

barrier หุ้มด้วยแผ่นยางพาราหนาไม่เกิน 2 นิ้ว กว้างประมาณ 50

เซนติเมตร ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้น และจะท�าการทดสอบยืนยัน

สมรรถนะความปลอดภัยโดย ศูนย์ทดสอบมาตรฐานระบบขนส่งทางราง หรือ ศทร. วว. ตามมาตรฐาน NCHRP 350 โดย ศทร-วว. จะเริ่มทดสอบ

คุณสมบัติแผ่นยางพาราด้านความแข็งแรง อายุการใช้งาน ความคงทนต่อสภาวะแวดล้อม พร้อมการทดสอบการลดแรงกระแทก ในห้องปฎิบัติการ

ของ วว. และจะท�าการทดสอบสมรรถนะความปลอดภัย (safety performance) แท่ง barrier หุ้มแผ่นยางพาราตามมาตรฐาน NCHRP 350 ให้ได้

สูงกว่าระดับ TL3 (ความเร็วมากกว่า 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) โดยทดสอบการชน (crash test) ด้วยจักรยานยนต์น�้าหนัก 120 กิโลกรัม และรถยนต์

น�้าหนัก 2,000 กิโลกรัม บนถนนทดสอบของ วว. ณ สถานีวิจัยล�าตะคอง จังหวัดนครราชสีมา เพื่อประเมินประสิทธิภาพการลดแรงกระแทกของ

ผู้ขับขี่จากอุบัติเหตุบนทางหลวงซึ่งจะท�าให้บาดเจ็บน้อยลงได้ ซึ่งคาดว่านวัตกรรมแท่ง barrier หุ้มแผ่นยางพาราดังกล่าวจะสามารถลดแรงกระแทก

ได้ไม่น้อยกว่า 30% และลดอัตราความรุนแรงของการบาดเจ็บลงได้ ส�าหรับความร่วมมืออื่นๆ สองหน่วยงานจะได้ร่วมกันถ่ายทอดองค์ความรู้และ

งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์จากยางพาราเพื่อใช้งานทางด้านการจราจรและความปลอดภัยทางถนน ตลอดจนพัฒนาศักยภาพบุคลากรร่วมกัน

อีกด้วย

อนึ่ง ศูนย์ทดสอบมาตรฐานระบบขนส่งทางราง (ศทร.) เป็นหน่วยงานภายใต้สังกัดกลุ่มบริการอุตสาหกรรม วว. ด�าเนินงานด้านการทดสอบ

รับรองคุณภาพวัสดุและผลิตภัณฑ์ที่มีความพร้อมทางห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐาน ให้บริการทดสอบรับรองคุณภาพวัสดุและผลิตภัณฑ์ระบบราง

ยานยนต์ขนส่ง รวมทั้งด้านการจราจรและความปลอดภัยทางถนน และยังเป็นศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านการจราจรและความ

ปลอดภัยทางถนนจากยางพาราโดยผ่านกระบวนการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม และการมุ่งสู่การน�าไปใช้ประโยชน์ในหน่วย

งานภาครัฐ

นายสายันต์ ตันพานิช รองผู้ว่าการกลุ่มวิจัยและพัฒนาด้าน

อุตสาหกรรมชีวภาพ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่ง

ประเทศไทย (วว.) เป็นประธานเปิดประชุมสรุปผลการด�าเนินงาน

(Tentative) ภายใต้โครงการการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยว

พาณิชย์เชิงบูรณาการจังหวัดตราด ร่วมกับองค์การบริหารการพัฒนา

พื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน จังหวัดตราด (อพท.3) เมื่อวันที่

25 พฤศจิกายน 2562 ณ ห้องเพิ่มสุข โรงแรมตราดซิตี้ จังหวัดตราด

งานดังกล่าวฯ จัดขึ้นเพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ส่ง

เสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อให้เกิดการสร้างมูลค่าเชิงพาณิชย์ให้

แก่สินค้าท่องเที่ยวจังหวัดตราด รวมทั้งการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะ

สมเพื่อให้เป็นกลยุทธ์ส�าคัญในการสร้างความโดดเด่น ความแตกต่าง

และสร้างความสามารถในการแข่งขันพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการท่อง

เที่ยวพาณิชย์เชิงบูรณาการจังหวัดตราดให้กับผู้ประกอบการในพื้นที่

เศรษฐกิจพิเศษ ผ่านการคัดเลือกผู้ประกอบการจ�านวน 4 ราย ได้แก่

1. วิสาหกิจชุมชนต�าบลคลองใหญ่ วิจัยและพัฒนา จ�านวน

2 โครงการ ได้แก่ โครงการการพัฒนาน�้าพริกเกลือ และโครงการการ

พัฒนาบรรจุภัณฑ์น�้าพริกเกลือ

2. วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านไม้รูด วิจัยและ

พัฒนาจ�านวน 2 โครงการ ได้แก่ โครงการปรับปรุงระบบอบแห้งพลังงาน

แสงอาทิตย์แบบพาราโบล่าโดม และโครการการพัฒนาบรรจุภัณฑ์กะปิ

3. วิสาหกิจชุมชนเกษตรผสมผสานเกาะหมาก วิจัยและ

พัฒนาจ�านวน 2 โครงการ ได้แก่ โครงการปรับปรุงศูนย์การเรียนรู้และ

กระบวนการผลิตน�้ามันมะพร้าวสกัดเย็น และโครงการการพัฒนาบรรจุ

ภัณฑ์น�้ามันมะพร้าวและผลิตภัณฑ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว เกาะหมาก

วว. /อพท.ตราด สำรุปผลงาน...พัฒนาผลิตภณัฑ์การท่องเที่ยวพาณิชย์เชิงบูรณาการ

4. วิสาหกิจชุมชนเช็คอินตราดฟาร์มเอาท์เล็ต วิจัยและพัฒนา

จ�านวน 2 โครงการ ได้แก่ โครงการการพัฒนาสูตรและกระบวนการผลิต

สับปะรดตราดสีทองเพื่อการผลิตเชิงพาณิชย์ และโครงการพัฒนาบรรจุ-

ภัณฑ์น�้าสับปะรด UHT เพื่อจัดจ�าหน่ายเชิงพาณิชย์

จากการด�าเนินงานดังกล่าว ก่อให้เกิดผลกระทบต่อ

อุตสาหกรรมท่องเที่ยว คือ เกิดสินค้าท่องเที่ยวคุณภาพให้กับจังหวัด

ตราดและพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยการผสมผสานภูมิปัญญา

ท้องถิ่นร่วมกับงานการยกระดับผลิตภัณฑ์ และส่งผลกระทบทางสังคม

คือ ก่อให้เกิดการจ้างงาน การบริการร่วม (Shared service) และยก

ระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ในท้องถิ่นให้ดีขึ้น โดยเฉพาะสินค้า

เกษตร รวมทั้งส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจ คือ ก่อให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้น

จากการพัฒนาจ�านวน 2-3 เท่าในปี 2563-2568 โดยเฉพาะสินค้า GI

(สินค้าที่ได้จดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ Geographical Indica-

tions : GI)

Page 6: New เทคโนโลยีพัฒนากล้วยไข่ ... · 2020. 1. 3. · เทคโนโลยีพัฒนากล้วยไข่จังหวัดก

10 11

ดร.อาภารัตน์ มหาขันธ์ รองผู้ว่าการ

กลุ ่มวิจัยและพัฒนาด้านพัฒนาอย่างยั่งยืน

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่ง

ประเทศไทย (วว.) เป็นประธานเปิดการประชุม

รับฟังความคิดเห็น โครงการ “การผลิตก๊าซ

ชวีภาพโดยใช้ชวีมวลประเภท Lignocellulosic

จากกากมันส�าปะหลังจากกระบวนการผลิต

เอทานอลและข้าวฟ่างหวาน” ซึ่ง วว. ได้รับ

ทุนสนับสนุนจากส�านักงานคณะกรรมการส่ง

เสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

และบริษัทซัพพลาย เอนเนอร์จี เมเนจเม้นท์

จ�ากัด โดยมี ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ นัก

วิชาการ ผู้ประกอบการ ผู้เกี่ยวข้องและผู้

สนใจใช้ประโยชน์จากงานวิจัยนี้ จ�านวน 50

คน รวมทั้งมีการจัดเสวนาเรื่อง “ทิศทาง

และความเป็นไปได้ในการผลิตก๊าซชีวภาพ

จากชีวมวลในภาคอุตสาหกรรม” โดยได้รับ

เกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ ดร.พร

พรรณ พาณิชย์น�าสิน จากหน่วยปฏิบัติการ

วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมชีวเคมีและโรงงาน

ต้นแบบ นายพรอรัญ สุวรรณพลาย อุปนายก

สมาคมการค้าก๊าซชีวภาพ นายสิทธิคุณ เทียม

ประเสริฐ กรรมการบริหาร บริษัท อุบลไบโอ

พาวเวอร์ จ�ากัด ผศ.ดร.พีรกานติ์ บรรเจิดกิจ

ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัย

เกษตรศาสตร์ และ ดร.รุจิรา จิตรหวัง นัก

วิจัย วว. เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ ถนนวิภาวดีรังสิต

กรุงเทพมหานคร

อนึ่ง วว. มีพื้นฐานเทคโนโลยีด้าน

ก๊าซชีวภาพและเป็นหน่วยงานของรัฐที่อยู่ใน

บัญชีรายชื่อบริษัทที่ปรึกษาด้านก๊าซชีวภาพ

ของส�านักงานนโยบายและแผนพลังงาน

วว.จัดประชุมรบัฟังคำวามคำิดเห็นโคำรงการการผลิตก๊าซชีวภาพโดยใช้ชีวมวลประเภท Lignocellulosicจากกากมนัสำ�ปะหลงักระบวนการผลิตเอทานอล ข้าวฟ่างหวาน

(สนพ.) กระทรวงพลังงาน ซึ่งมีแผนด�าเนินการ

วิจัยเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพส�าหรับ

ของเสียทางการเกษตรและพืชพลังงาน รวมถึง

ศึกษาวัตถุดิบชีวมวลชนิดใหม่ที่มีศักยภาพเชิง

พาณิชย์ และพัฒนาเทคโนโลยีในกลุ่ม Anaer-

obic Phased Solids (APS) ซึ่งเป็นเทคโนโลยี

ต้นแบบการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากขยะและชีว

มวล ด�าเนินงานโดย ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรม

พลังงานสะอาดและสิ่งแวดล้อม วว. ตั้งอยู่

ที่สถานีวิจัยล�าตะคอง จังหวัดนครราชสีมา

ปัจจุบันมีถังปฏิกิริยาแบบกึ่งเชิงพาณิชย์ขนาด

1,600 ลูกบาศก์เมตร ที่สามารถใช้เชื้อเพลิง

ชีวภาพผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ไม่เกิน 300 kW

ผลจากงานวิจัยดังกล่าว นอกจากจะช่วย

พัฒนาองค์ความรู้ในการผลิตก๊าซชีวภาพจาก

ชีวมวลประเภท Lignocellulosic จากกาก

มันส�าปะหลังจากกระบวนการผลิตเอทานอล

และข้าวฟ่างหวานแล้ว ยังสามารถน�าของ

เหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมโรงงานผลิตเอทา

นอลมาผลิตเป็นพลังงาน นอกจากนี้ยังจะช่วย

แก้ไขปัญหาการขาดแคลนพื้นท่ีการฝังกลบ

ส�าหรับผู้ประกอบการที่รับก�าจัดกากของเสีย

จากอุตสาหกรรมที่มีของแข็งปนเปื้อนสูง เช่น

กากมันส�าปะหลัง ขยะ น�้าเสีย และตะกอน

จุลินทรีย์ เป็นต้น

สอบถามรายละเอียดเพ่ิมเติมเกี่ยว

กับผลงานวิจัยด้านการผลิตก๊าซชีวภาพ

ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมพลังงานสะอาดและ

สิ่งแวดล้อม วว. ได้ที่ โทร. 0 2577 9000

E-mail : [email protected] Line@Tistr

www.tistr.or.th

สาระวิทย์

วัชรี กัลยำลัง

ศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ วว.

ผิวหนังหย่อนคล้อย

ริ้วรอยเหี่ยวย่นบนใบหน้า ผม

หงอกขาว เป็นสัญญาณเตือน

การเข ้าสู ่ วัยชราที่คนทั่ ว ไป

สามารถสังเกตเห็นได้ แต่หาก

เป็นความเสี่อมของเซลล์ สิ่ง

เดียวที่สามารถตรวจสอบได้

คือ การวัดความยาวของเท

โลเมียร์ภายในเซลล์ร่างกาย ยิ่ง

เทโลเมียร์มีความยาวเท่าไรก็ยิ่งมีอายุยืนมาก

ขึ้นเท่านั้น เทโลเมียร์ที่กล่าวถึงนี้คือ ส่วน

ประกอบหนึ่งของโครโมโซม มีลักษณะเป็น

ล�าดับเบส 5’-ttAGGG-3’ เรียงตัวซ�้าๆ กัน

หลายชุด อยู่บริเวณส่วนปลายของโครโมโซม

เช่น เทโลเมียร์ของมนุษย์จะอยู่ที่ประมาณ

1,000-2,000 ซ�้า ท�าหน้าที่ป้องกันไม่ให้ส่วน

ปลายของโครโมโซมเกิดการรวมตัวกันซึ่งเป็น

กุญแจส�าคัญที่ช่วยไขความลับในเรื่องอายุขัย

และความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรังบางชนิด

อันเป็นสาเหตุหนึ่งที่ท�าให้สิ่งมีชีวิตเกิดการก

ลายพันธุ์หรือมิวเทชั่น อย่างไรก็ตามทุกครั้งที่

มีการแบ่งเซลล์จะท�าให้เทโลเมียร์สั้นลงเรื่อยๆ

เพราะฉะนัน้จงึเป็นเรือ่งปกตทิีเ่ดก็จะมเีทโลเมยีร์

เหลืออยู่บนโครโมโซมหรือเหลืออยู่น้อยมาก

เซลล์นั้นๆ ก็จะไม่สามารถแบ่งเซลล์ได้อีก

พร้อมทั้งเข้าสู่กระบวนการท�าลายตัวเองหรือ

กระบวนการ Apoptosis ท�าให้เซลล์ตาย รวมทั้ง

ยังมีการปล่อยสารอนุมูลอิสระออกมาท�าลาย

เซลล์ที่อยู่บริเวณข้างเคียงก่อให้เกิดการอักเสบ

การเสื่อมของเนื้อเยื่อน�าไปสู่ความแก่ชรา และ

การเกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ

การแบ่งเซลล์ตามธรรมชาติของ

ร่างกายไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่ท�าให้เทโลเมียร์สั้น

ลง แต่พฤติกรรมการใช้ชีวิตยังเป็นปัจจัยส�าคัญ

ที่เร่งให้เทโลเมียร์สั้นลงเร็วกว่าเดิม เช่น การ

ท�างานหนัก ความเครียด การนอนพักผ่อนไม่

เพียงพอ การรับประทานอาหารที่มันจัดและ

รสจัด ขาดการออกก�าลังกายหรือออกก�าลัง

กายมากจนเกินไป มีรูปร่างอ้วน ดื่มเครื่องดื่ม

ที่มีแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ มีการอักเสบภายใน

ร่างกาย เป็นต้น การที่เทโลเมียร์สั้นลงเร็วขึ้น

จะส่งผลให้อายุเซลล์มากกว่าอายุจริง ท�าให้

ร่างกายเสี่ยงต่อการเป็นโรคร้ายแรงต่างๆ มาก

ขึ้นกว่าคนที่มีความยาวเทโลเมียร์ในเกณฑ์

ปกติ ไม่ว่าจะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ โรค

หลอดเลือดในสมอง โรคสมองเสื่อม โรคอัลไซ

เมอร์ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรค

มะเร็ง โรคพาร์กินสัน โรคกระดูดพรุน โรคข้อ

เข่าเสื่อม แม้ว่าอายุจริงยังน้อยอยู่ก็ตาม

จากความสัมพันธ ์ระหว ่างความ

ยาวเทโลเมียร์กับอายุของเซลล์ร่างกาย การ

แพทย์ในปัจจุบันจึงได้น�าความยาวของเท

โลเมียร์มาใช้ประเมินสุขภาพ โดยวิธีการเจาะ

เลือดไปตรวจหาความยาวของเทโลเมียร์ด้วย

วิธี Fluorescent in situ hybridizAtion (Fish)

หรือ QuAntitAtive polymerAse chAin reAction

(Qpcr) โดยน�าผลการตรวจมาวิเคราะห์หา

อายุจริงของเซลล์ว่าน้อยกว่าหรือมากกว่า

อายุจริง และอยู่ในเกณฑ์ใดเมื่อเปรียบเทียบ

กับคนที่มีความยาวเทโลเมียร์ปกติในช่วงอายุ

เดียวกัน โดยเกณฑ์ที่ใช้วัดมีทั้งสิ้น 5 ระดับ

ได้แก่ ระดับสูงมาก ระดับสูง ระดับปกติ ระดับ

ต�่า และระดับต�่ามาก ส�าหรับข้อมูลความยาว

เทโลเมียร์... คำวามลบัของอายุที่ยืนยาว

เทโลเมียร์นั้นนอกจากจะน�ามาใช้ประเมินอายุ

ของเซลล์แล้ว ยังเป็นข้อมูลส�าคัญที่สามารถน�า

ไปใช้ในการพยากรณ์ความเสี่ยงในการเกิดโรค

ร้ายในอนาคต แต่หากตรวจสอบแล้วความยาว

เทโลเมียร์อยู่ในระดับต�่าและต�่ามาก แสดงว่า

เซลล์อยู่ในภาวะเสี่ยม แก่เร็วกว่าอายุจริง และ

มีแนวโน้มเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายมากกว่าปกติ

จึงจ�าเป็นต้องเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อชะลอการ

หดสั้นของเทโลเมียร์อย่างเร่งด่วนและเข้ารับ

การตรวจเช็คสุขภาพร่างกายโดยละเอียดจาก

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

อย่างไรก็ตาม นอกจากพยายามหลีก

เลีย่งพฤตกิรรมเสีย่งต่างๆ ทีส่่งผลให้เทโลเมยีร์

สั้นลงแล้ว การเพิ่มความยาวของเทโลเมียร์

ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ท�าให้สุขภาพดีขึ้น ซึ่งท�าได้

โดยการเลือกรับประทานอาหารที่มีสารต้าน

อนุมูลอิสระ ได้แก่ ผักใบเขียว ผลไม้จ�าพวก

ส้ม แอปเปิ้ล ผลไม้ในตระกูลเบอร์รี่ ธัญพืชไม่

ขัดสี ชาเขียว น�้ามันมะกอก อาหารที่มีโอเมก้า-

3 เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า เมล็ดแฟลกซ์

แต่ที่ส�าคัญต้องหลีกเลี่ยงหรือจ�ากัดปริมาณ

เนื้อแดง อาหารแปรรูป เครื่องดื่มที่มีน�้าตาลสูง

น�้าอัดลม นอกจากนั้นควรหมั่นออกก�าลังกาย

อย่างสม�่าเสมอ เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายเร่งสร้าง

สารต้านอนุมูลอิสระมากขึ้น แต่ไม่ต้องหักโหม

มากจนเกินไป เพราะอาจท�าให้ร่างกายเกิดการ

อักเสบได้ โดยอาจเลือกเป็นการเต้นแอโรบิก

ครั้งละ 45 นาที สัปดาห์ละ 3 ครั้ง ซึ่งหากท�า

อย่างต่อเนื่องจะช่วยเพิ่มเอนไซม์เทโลเมอเรส

เอนไซม์ที่ท�าหน้าที่เติมความยาวและซ่อมแซม

เทโลเมียร์ได้มากถึง 2 เท่า เพราะฉะนั้นหาก

อยากให้ความยาวเทโลเมียร์อยู่เกณฑ์ปกติหรือ

ยาวกว่า ต้องใส่ใจเรื่องอาหารการกิน เลือก

ทานแต่อาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียง

พอ ท�าจิตใจให้สดใสไม่เครียด และออกก�าลัง

กายอย่างสม�่าเสมอ เพียงเท่านี้ก็ท�าให้อายุ

ยืนยาวห่างไกลจากโรคร้าย

เทโลเมียร์

Page 7: New เทคโนโลยีพัฒนากล้วยไข่ ... · 2020. 1. 3. · เทคโนโลยีพัฒนากล้วยไข่จังหวัดก

ภาพกจิกรรม

กจิกรรมผูบ้รหิาร

14 พฤศจิกายน 2562 / ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ

ดร.ศิริพร ลาภเกียรติถาวร ผู้อ�านวยการศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมวัสดุ เป็นผู้แทน วว. น�าคณะนักวิจัย ร่วมถวายราชสักการะ น้อมร�าลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุยเดช บรมนาถบพิตร เนื่องในวันพระบิดาแห่งฝนหลวง ประจ�าปี 2562

22 พฤศจิกายน 2562 / โรงไฟฟ้าแม่เมาะ จังหวัดล�าปาง

ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ วว. ร่วมพิธีเปิดอาคาร The Blocks อาคารบล๊อกประสาน ซึ่งเกิดขึ้นจากงานวิจัยเรื่องการพัฒนาโรงงานต้นแบบการผลิตบล๊อกประสานจากวัตถุพลอยได้ของโรงไฟฟ้าแม่เมาะ

25 พฤศจิกายน 2562/ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดแพร่

วว. ลงพื้นที่จังหวัดแพร่ จัดเสวนาเห็ดป่าไมคอร์ไรซา ฟื้นฟูป่า สร้างแหล่งอาหาร/รายได้ชุมชน

28 พฤศจิกายน 2562/ วว.เทคโนธานี

นายเพิ่มสุข สัจจาภิวัฒน์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (หน.ผตร.อว.) เป็นประธานเปิดโครงการ “วว. จิตอาสา เราท�าความ “ดี” ด้วยหัวใจ”

1312

รอบรูร้อบโลก

โครงการแอสโตรแลนด์ (AstrolAnd)

จ�าลองสภาพแวดล้อมแบบดาวอังคาร ณ ถ�้า

แห่งหนึ่งทางเหนือของประเทศสเปน โดยเปิด

ให้นักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลกมาลองสัมผัส

ประสบการณ์นี้โดยตรง เรียกว่า Ares stAtion

ซึ่งเกิดจากความร่วมมือของนักวิทยาศาสตร์

สถาปนิก และนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์หลาย

คน ในการเปลี่ยนด้านในของถ�้าขนาดใหญ่

แห่งหนึ่งในเทือกเขาแคนตาเบรีย ทางเหนือ

ของสเปน ให้เป็นสถานที่พิเศษที่อนุญาตให้นัก

ท่องเที่ยวมาลองใช้ชีวิตภายใต้สภาพแวดล้อม

เหมือนดาวอังคาร

สภาพไร้บรรยากาศ อุณหภูมิติดลบ

สุดขั้ว และรังสีคอสมิกที่ล่องลอยอยู่ทั่วไป คือ

ส่วนหนึ่งของสภาพแวดล้อมของ "ดาวแดง"

หรือ "red plAnet" ท�าให้มนุษย์ไม่สามารถ

อาศัยอยู่บนพื้นผิวของดาวอังคารได้ ท�าให้ต้อง

สร้างอาณานิคมขึ้นใต้ดิน

นักผจญภัยที่เข้าร่วมโครงการนี้ ต้อง

เข้าคอร์สฝึกฝนออนไลน์เป็นเวลา 26 วัน และ

ฝึกจริงแบบเข้มข้นที่จ�าลองสถานการณ์ต่างๆ

อีก 3 วัน ก่อนที่จะกลายเป็น "AstrolAnder"

ที่พร้อมจะเข้าไปใช้ชีวิตบนดาวอังคารจ�าลอง

จริงๆ ในถ�้าดังกล่าวเป็นเวลา 3 คืน 4 วัน

สำมัผัสำประสำบการณ์เหมือนจริงของดาวอังคำารกบั ‘แอสำโตรแลนด์’ ในสำเปน

หนึ่งในผู้เข้าร่วมโครงการนี้ บอกว่า

สิ่งส�าคัญที่ประสบพบเจอตลอดเวลาระหว่าง

การอยู่ใน Ares stAtion คือการคิดแก้ปัญหา

เฉพาะหน้า และลองผิดลองถูก ซึ่งถือเป็น

ประสบการณ์ที่พิเศษจริงๆ

ภายนอกของโดมที่ถูกสร้างขึ้นใน

ถ�้า ผู้เข้าร่วมต้องเผชิญกับสภาพไร้น�้าหนัก ต้อง

เรียนรู้วิธีเดินในอวกาศ และวิธีปลูกพืชในห้อง

แล็ปที่ถูกออกแบบมาเป็นพิเศษ

ผู้เข้าร่วมโครงการอีกผู้หนึ่ง บอก

ว่า ประสบการณ์ใช้ชีวิตบนดาวอังคารจ�าลอง

เป็นเวลา 4 วันนี้พิเศษมากๆ โดยเฉพาะการที่

ได้ลองใช้ยานพาหนะพิเศษที่เรียกว่า evA ซึ่ง

วิ่งบนพื้นผิวที่จ�าลองจากดาวอังคาร เช่น บน

ลาวาที่แข็งตัว

ผู้ที่มีโอกาสไปที่ Ares stAtion ของ

แอสโตรแลนด์ ต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า

เป็นประสบการณ์ที่ไม่สามารถหาได้ที่ไหนบน

โลกนี้ ท�าให้ได้เรียนรู้การปรับตัว ทั้งทางกาย

และจิตใจ เพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าใหม่ๆ ตลอด

เวลาเหมือนอยู่ในอีกโลกหนึ่ง

แอสโตรแลนด์ ระบุว่า ถ�้าจ�าลอง

ดาวอังคารที่สเปนแห่งนี้สามารถรับนักผจญ

ภัยได้คราวละไม่เกิน 10 คน โดยมีค่าใช้จ่าย

ราว 6,600 ดอลลาร์ หรือประมาณ 200,000

บาทต่อคน ซึ่งภารกิจชุดแรกผ่านไปแล้วด้วย

ดี และตอนนี้ก�าลังเปิดรับผู้ที่ชอบผจญภัยหรือ

หาความท้าทายใหม่ๆ ไปใช้ชีวิตที่นั่นเป็นชุดที่

สอง

ที่มา : www.voAthAi.coM/A/spAin-Astro-

lAnd/5068449.htMl

Page 8: New เทคโนโลยีพัฒนากล้วยไข่ ... · 2020. 1. 3. · เทคโนโลยีพัฒนากล้วยไข่จังหวัดก

14

29 พฤศจิกายน 2562 / ห้องแมนดาริน A โรงแรมเมนดาริน

ดร.อาภารัตน์ มหาขันธ์ รองผู้ว่าการกลุ่มวิจัยและพัฒนาด้านพัฒนาอย่างยั่งยืน วว.เป็นประธานงานสัมมนาเผยแพร่ผลงานวิจัยการผลิตเชื้อเพลิงอากาศยานชีวภาพ และการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์และผลพลอยได้จากอุตสาหกรรมเอทานอล

29 พฤศจิกายน 2562 / วว. เทคโนธานี

ดร.อาภากร สุปัญญา รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์และจัดการนวัตกรรม วว. เป็นประธานเปิดการสัมมนาและรับฟังความคิดเห็นจากผู้ประกอบการ เรื่อง “Value Plus With NQI ร่วมผลักดันผู้ประกอบการไทยให้ได้มาตรฐานรับรอง อย่างถูกต้อง และรวดเร็ว”

16 ธันวาคม 2562 / อิมแพค เมืองทองธานี

ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ วว. ร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดงาน “OTOP City 2019” ซึ่ง กระทรวงมหาดไทย โดยกรมการพัฒนาชุมชน จัดขึ้นเพื่อส่งความสุขปีใหม่ด้วยกระเช้าของขวัญจากสินค้าชุมชนกว่า 2 หมื่นรายการ สร้างรายได้และเกิดการหมุนเวียนในระดับรากหญ้า

2 ธันวาคม 2562 / ณ โรงแรมเอเซีย กรุงเทพ

วว. ร่วมงานประชุมวิชาการนานาชาติ The First Interna-tional Symposium on Botanical Gardens & Landscapes (BGL 2019)