phra bot closts painting in ban aum

34
งานจิตรกรรมผ้าพระบฏ คุณค่างานฝีมือช่างท้องถิ่น วัดบ้านเอื้อม ลำาปาง พนิดา ศิริพันธุ

Upload: -

Post on 12-Mar-2016

221 views

Category:

Documents


1 download

DESCRIPTION

Phra Bot Closts Painting in Ban Aum

TRANSCRIPT

Page 1: Phra Bot Closts Painting in Ban Aum

งานจิตรกรรมผ้าพระบฏคุณค่างานฝีมือช่างท้องถิ่น วัดบ้านเอื้อม ลำาปาง

พนิดา ศิริพันธุ์

Page 2: Phra Bot Closts Painting in Ban Aum

PHAR BOTCLOSTS PAINTING

Page 3: Phra Bot Closts Painting in Ban Aum

จิตรกรรมผ้าพระบฏ

วัดบ้านเอื้อม คุณค่างานฝีมือ ช่างท้องถิ่นลำาปาง

พนิดา ศิริพันธุ์

Page 4: Phra Bot Closts Painting in Ban Aum

2 งานจิตรกรรมผ้าพระบฏ

Page 5: Phra Bot Closts Painting in Ban Aum

จิตรกรรมไทยประเพณีรู ้จักมากผ่านงานจิตรกรรมฝาผนังของวัด

น้อยคนนักที่รู ้ว ่างานจิตรกรรมไทยประเพณีไม่ได้มีเพียงฝาผนังวัด

ยังพบลักษณะของงานจิตรกรรมไทยประเพณีในผืนผ้าพระบฏและ

สมุดข่อยโบราณถูกจัดอยู ่ในงานจิตรกรรมไทยประเพณีประเภท

เคลือ่นทีไ่ด้ แต่ด้วยอายขุองวสัดทุีไ่ม่คงทนทำาให้งานประเภทนีห้ลงเหลอื

อยู่จำานวนน้อยแต่มีคุณค่าต่อการศึกษาเช่นเดียวกับงานจิตรกรรมบน

ฝาผนัง

พระบฏ มีรูปคำาเดิมมาแต่ภาษาบาลี คือ ปฏ อ่านว่า ปะ-ฏะ หมายถึง

แผ่นผ้าหรอืผืนผ้า ดงันัน้พระบฏจงึมคีวามหมายได้ว่ารปูของพระพทุธเจ้า

หรือเรื่องของพระพุทธเจ ้า ท่ีได ้ เขียนเป ็นภาพลงบนผืนผ ้าหรือ

แผ่นผ้า (จารุณี อันเฉิดฉาย, และขวัญจิต เลิศสิริ, หน้า 6) พระบฏ

ในล้านนา เรียกว่า ตุงค่าวธรรม หมายถึง ธงตะขาบหรือเครื่องใช้

ในการประกอบพิธีกรรม เพ่ืออธิบายเนื้อหาร่วมกับการคร่าวธรรมใน

ล้านนา

จิ ต ร ก ร ร ม ผ้ า พ ร ะ บ ฏวัดบ้านเอื้อมคุณค่างานฝีมือช่างท้องถิ่นลำาปาง

พระเวสสันดรชาดก กัณฑ์ที่ 9 มัทรี ใบที่ 1

Page 6: Phra Bot Closts Painting in Ban Aum
Page 7: Phra Bot Closts Painting in Ban Aum

งานจิตรกรรมผ้าพระบฏ 5

จุดมุ่งหมายเดิมถูกสร้างขึ้นเป็นพุทธบูชาอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับ

เพื่อการประดับตกแต่งศาสนสถาน ใช้บูชากราบไหว้แทนองค์พระปฏิมา

(ยกตัวอย่างเช่น ใช้เป็นตัวแทนพุทธองค์ในพิธีไหว้ผีดง ปู่แสะย่าแสะ

ในจังหวัดเชียงใหม่) ระยะหลังนั้น เป็นการสร้างขึ้นเป็นอานิสงส์ให้

แก่ผู้สร้างเองและบุคคลในครอบครัว ใช้ประกอบในพิธีตั้งธรรมหลวง

หรือเทศน์มหาชาติ ปัจจุบันผ้าพระบฏไม่เป็นที่รู้จักอีกต่อไป ไม่มีการ

สร้างพระบฏ ไม่มีพิธีกรรมเทศน์มหาชาติที่ใช้งานจิตรกรรมผ้าพระบฏ

ประกอบการเทศน์หลงเหลือเพียงผ้าพระบฏของอดีตกาล การพบ

ผ้าพระบฏของวัดดอกเงิน ในกรุฮอต เกิดการศึกษาหาความเป็นมา

ของผืนผ้ารูปพระพุทธเจ้า กระตุ้นการค้นหาพระบฏที่ยังหลงเหลือ เพื่อ

ทำาการอนุรักษ์และศึกษา ผืนผ้าพระบฏไม่เพียงเป็นภาพจิตรกรรมที่

วาดขึน้ภายใต้การรบัใช้ศาสนาเท่านัน้ ภาพวาดในผ้าพระบฏยงัประกอบ

ไปด้วย วิถีชีวิต วัฒนธรรมประเพณี เล่าเรื่องราวชีวิตของคนในอดีต

เป็นการเชื่อมโยงอดีตสู่ปัจจุบัน เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาทางด้าน-

ประวัติศาสตร์ มีคุณค่าทางความงาม และความเป็นเอกลักษณ์ของงาน

จิตรกรรมแบบท้องถิ่น อีกทั้งยกย่องเชิดชูและธำารงไว้ด้วยเรื่องราวและ

คำาสอนในพุทธศาสนา

พระเวสสันดรชาดก กัณฑ์ที่ 4 วนประเวศน์ ใบที่ 1

Page 8: Phra Bot Closts Painting in Ban Aum
Page 9: Phra Bot Closts Painting in Ban Aum

งานจิตรกรรมผ้าพระบฏ 7

อ่านผ้าพระบฏผ้าพระบฏทีพ่บในวดับ้านเอือ้ม อำาเภอเมอืง จงัหวดัลำาปาง มจีำานวน 35 ผนื

ซึง่เขยีนภาพเป็นเรือ่งของพระมาลยัและพระเวสสนัดรชาดก ส่วนมากพบ

จารึกอักษรธรรมโบราณบรรยายภาพไว้ มักจารึกบรรยายเรื่องราว หรือ

จารึกไว้ให้รู้ว่าสิ่งไหนเป็นอะไร หรือบุคคลในภาพเป็นใคร และบางผืน

จารกึชือ่กณัฑ์ไว้ด้วย จารกึทีม่คีวามสำาคญัเป็นตวัช่วยในการหาอายเุวลา

ของผ้าพระบฏ อยูใ่นพระบฏ เวสสนัดร กณัฑ์นครกณัฑ์ ใบที ่3 อ่านจารึก

ได้ดังนี้

จากปีจุลศักราชที่ระบุไว้ โดยประมาณ จุลศักราชที่ 1200 เป็นต้นไป

จะมีอายุอยู่ในช่วง พ.ศ. 2381 เป็นต้นมา ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จ-

พระปกนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ปกครอง อายุของงานจิตรกรรม

ผืนผ้าพระบฏ สันนิษฐานว่าอยู่ในช่วง พ.ศ. 2381-2481 พุทธศตวรรษ-

ที่ 23 ครึ่งหลัง และ พุทธศตวรรษที่ 24 เป็นสมัยที่ล้านนาตกอยู่ภายใต้

อำานาจการปกครองของพม่าและกรุงเทพฯสลับกัน งานจิตรกรรมผืนผ้า

พระบฏจึงน่าจะมีอายุราว 74 -174 ปี

พระเวสสันดรชาดก กัณฑ์ที่ 13 นครกัณฑ์ ใบที่ 3

“...จุฬสักกะ...ได้ 12...ปลีกัด...บ้านเอื้อมที่นี้ เปนเคล้ากับด้วยลูกสิด

เจ้าชุตนชุอง...โจชะกะกิว้นาย... ...เวสสนัตระเจ้าไว้คำา้ชสูาสนา...5000

ภะวะสา...แรม 11 คำ่า พรำ่าว่าได้วัน...ประยาปัญญาอาดรู้ชำาพระเจ้า

8 หมื่น 4 พันขัน ชุภะวะชาติตราบต่าเท้าเข้าสู่เวียงแก้วยอดเนรพาน

แท้ดีหลีเทอะ”

Page 10: Phra Bot Closts Painting in Ban Aum

8 งานจิตรกรรมผ้าพระบฏ

พระเวสสันดรชาดก กัณฑ์ที่ 2 กัณฑ์หิมพานต์ ใบที่ 1

สถาปัตยกรรมประเภทปราสาทพระเวสสันดรชาดก

กัณฑ์ที่ 11 มหาราช ใบที่ 3

สถาปัตยกรรมประเภทปราสาท

Page 11: Phra Bot Closts Painting in Ban Aum

งานจิตรกรรมผ้าพระบฏ 9

อ่านภาพจากพระบฏ

ภาพวาดสองมิติยั งคงโลดแล ่นพร ้อมเล ่า เรื่องตามบทบาทบน

ผืนผ้า วิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณี ความเป็นอยู่ทั้งหมดทิ้งร่องรอย

บนตัวภาพทั้ง 35 ผืน อย่างชัดเจน พระบฏแต่ละผืนได้เล่าถึงลักษณะ

ทางสถาปัตยกรรม การแต่งกายในภาพ สีและเทคนิคที่ใช้ในงานเขียน

การจัดองค์ประกอบทางศิลปะ และลักษณะของลายประดับตกแต่ง

ที่ล ้วนแต่แสดงความเป็นเอกลักษณ์ของงานสกุลช่างล้านนาและ

การผสมผสานเอกลกัษณ์ของสกลุอืน่ในงานด้วย สถาปัตยกรรมทีถ่กูเขยีน

บนงานจิตรกรรมผ้าพระบฏ จำาแนกได้เป็น

สถาปัตยกรรมประเภทปราสาทและราชวัง เป็นที่อยู่อาศัยของเทวดา

และ เหล่ากษัตริย์ มักมีความสอดคล้องกับสถาปัตยกรรมไทยภาคกลาง

มีความหรูหรา ปิดทอง หลังคานิยมทำาการซ้อนช้ันเป็นยอดปราสาท

หลายๆช้ัน มีความวิจิตรด้วยการใส่ตัวเหงา ช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์

เพื่อแสดงสถานะความยิ่งใหญ่ของชนชั้นซ่ึงชนชั้นสามัญไม่สามารถที่จะ

สร้างได้ นิยมเขียนกำาแพงล้อมรอบไว้

Page 12: Phra Bot Closts Painting in Ban Aum

10 งานจิตรกรรมผ้าพระบฏ

พระเวสสันดรชาดก กัณฑ์ที่ 8 กุมารบรรพ ใบที่ 2lสถาปัตยกรรมประเภทอาศรมสถาปัตยกรรมประเภทที่อยู่อาศัย

พระมาลัยต้น ใบที่ 1

Page 13: Phra Bot Closts Painting in Ban Aum

งานจิตรกรรมผ้าพระบฏ 11

สถาปัตยกรรมประเภทอาศรม เป็นที่พำานักของฤาษีรูปแบบอาคาร

คล้ายวิหารปิดทึบมีการประดับตัวเหงา ช่อฟ้า ใบระกา ปิดทอง มีความ

เรียบง่ายกว่าพระราชวังด้วยรูปทรงที่มีชั้นเดียว ไม่มีหลังคาซ้อนชั้น และ

อาคารเป็นรปูสีเ่หลีย่มผนืผ้า มกีำาแพงล้อมรอบ และอาคารตดิอยูก่บัภเูขา

หรือหินผา

สถาปัตยกรรมเรือนท่ีอยู่อาศัย เรือนที่อยู่อาศัยในงานจิตรกรรมชุดนี้มี

หลายลักษณะ ทั้งเรือนเครื่องผูกและเรือนเครื่องไม้ ซึ่งรูปแบบเป็นเรือน

ยกพ้ืนสูงแบบโบราณประกอบไปด้วย เกิ๋น (บันไดทางขึ้น) ชาน เติ๋น

ห้องนอน เป็นเรือนกาแลของคนล้านนา

Page 14: Phra Bot Closts Painting in Ban Aum

12 งานจิตรกรรมผ้าพระบฏ

พระมาลัยปลาย ใบที่ 2การแต่งกายของเทวดาและนางอัปสร การแต่งกายของกษัตริย์

พระเวสสันดรชาดก กัณฑ์ที่ 13 นครกัณฑ์ ใบที่ 1

Page 15: Phra Bot Closts Painting in Ban Aum

งานจิตรกรรมผ้าพระบฏ 13

ไม่เพียงสถาปัตยกรรมเท่านั้น เอกลักษณ์การแต่งกายของคนล้านนาเดิม

ถูกเล่าไว้ในภาพด้วยเช่นกัน จำาแนกการแต่งกายที่พบในผืนผ้าพระบฏ

การแต่งกายของชนชั้นกษัตริย์และเทวดาท้ังชายและหญิงมีลักษณะ

คล้ายการแต่งกายแบบกษัตริย์ในงานจิตรกรรมไทยประเพณีของ

ภาคกลาง การสวมชฏา เครื่องประดับทอง แพรพรรณที่งดงามและ

มีความพิเศษกว่าคนท่ัวไปท้ังหมดเพ่ือบ่งบอกฐานะที่ เหนือกว ่า

คนทั่วไป ในชนชั้นกษัตริย์รวมถึงเทวดายังปรากฏรูปแบบการแต่งกาย

ที่แตกต่างกันแต่เพียงเล็กน้อย อาทิ การสวมเสื้อ หรือไม่สวมเสื้อ บ้างก็

เป็นลักษณะของการพาดผ้าสไบหรือผ้าตุ้มผ้าห่ม พระบฏวัดบ้านเอื้อม

มีรูปแบบการแต่งกายของชนชั้นสูงที่ต่างกันถึง 5 รูปแบบ

Page 16: Phra Bot Closts Painting in Ban Aum

14 งานจิตรกรรมผ้าพระบฏ

การแต่งกายที่ปรากฏบนผืนผ้ายังมีการแต่งกายของเหล่าผู ้ถือศีล

ประกอบด้วยพระสงฆ์ ฤาษี พราหมณ์ และชีพราหมณ์ การแต่งกายของ

พระสงฆ์และฤาษี มีลักษณะที่คล้ายกัน จะนุ่งผ้าสองชิ้นทับกันเป็นจีวร

และสบง ต่างกันเพียงฤาษีจะเกล้าผมลักษณะคล้ายชฏา แต่พระสงฆ์

โกนผม

การแต่งกายของพระสงฆ์พระเวสสันดรชาดก กัณฑ์ที่ 7 มหาพลพระมาลัยต้น ใบที่ 2

การแต่งกายของฤาษี

Page 17: Phra Bot Closts Painting in Ban Aum

งานจิตรกรรมผ้าพระบฏ 15

พระเวสสันดรชาดก กัณฑ์ที่ 10 สักบรรณ

พระเวสสันดรชาดก กันฑ์ที่ 2 กัณฑ์หิมพานต์ ใบที่ 4

ส ่วนพรามณ์นุ ่งโจงกระเบนและสวมเสื้อแขนยาวลักษณะคล้าย

การแต่งกายของคนไทยภาคกลาง และชีพราพมณ์ นุ่งผ้าซิ่นและห่มสไบ

เช่นหญิงล้านนาเพียงแต่เป็นสีขาวเท่านั้น

การแต่งกายของพรามณ์ การแต่งกายของชีพรามณ์

Page 18: Phra Bot Closts Painting in Ban Aum

16 งานจิตรกรรมผ้าพระบฏ

การแต่งกายของขุนนาง ทหารและนางในการแต่งกายของชาวบ้านพระเวสสันดรชาดก กัณฑ์ที่ 5 ชูชก ใบที่ 2 พระเวสสันดร กัณฑ์ที่ 13 นครกัณฑ์ ใบที่ 2

Page 19: Phra Bot Closts Painting in Ban Aum

งานจิตรกรรมผ้าพระบฏ 17

ยังพบการแต่งกายของขุนนางและทหาร รวมไปถึงนางกำานัลฝ่ายใน

ขุนนางและทหาร นิยมแต่งกายในรูปแบบคล้ายพราหมณ์ นุ ่งโจง

กระเบนและสวมเสื้อแขนยาว มีการสวมหมวกเพื่อบอกสถานะ รูปแบบ

ของหมวกก็ต่างกันออกไป ทหารชั้นเล็กการแต่งกายจะอยู่ในรูปแบบ

การสวมเสื้อและนุ่งผ้าเต่ว มีรอยสักบริเวณขาด้วย มักพบอาวุธอยู่ในมือ

ส่วนนางกำานัลฝ่ายใน จะนุ่งผ้าซ่ินและมีผ้าห่ม หรือผ้าสไบ ไม่สวมเสื้อ

อาจมีทองหรือเงินประดับมวยผม และข้อมือ เพื่อบอกฐานะที่ต่างจาก

ชาวบ้านทั่วไป

และชาวบ้านทั่วไป ผู ้ชายจะนิยมเปลือยอก สักขาและนุ ่งผ้าเต่ว

ผืนเดียว หญิงจะเปลือยอกมีผ้าห่มหรือผ้าสไบคล้องไว้ นุ ่งผ้าซิ่น

ไม ่สวมเครื่องประดับ ซ่ึงรูปแบบการแต่งกายที่พบในพระบฏมี

ความหลากหลายตามชนชั้นและการแลกเปล่ียนทางวัฒนธรรม หากยัง

คงความเป็นล้านนาไว้ด้วยอย่างเด่นชัด นับเป็นเสน่ห์ที่น่าหลงใหลและ

ควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้

Page 20: Phra Bot Closts Painting in Ban Aum

18 งานจิตรกรรมผ้าพระบฏ

Page 21: Phra Bot Closts Painting in Ban Aum

งานจิตรกรรมผ้าพระบฏ 19

งานพระบฏของวัดบ้านเอื้อมช ่างเขียนได ้ใช ้สีฝุ ่นและใช ้เทคนิค

การเขียนสีฝุ่นแบบเดียวกับเขียนผนังเพียงแต่วัสดุต่างกันเท่านั้น สีที่ใช้

ประกอบด้วย สีแดง เป็นสีที่ใช้มากที่สุด มักใช้เป็นฉาก ในเครื่องแต่งกาย

ของตัวละครและงานสถาปัตยกรรมด้วย และใช้ในการตัดเส้นตัวละคร

สีเหลือง ใช ้แทนสีทองหรือทอง นิยมในงานสถาปัตยกรรมและ

เครื่องประดับของตัวละคร สี เขียว พบมาในต ้นไม ้ ธรรมชาติ

งานสถาปัตยกรรมและเครือ่งแต่งกาย สคีราม มกัพบในสขีองฉาก ท้องฟ้า

ผืนนำา้ และเครื่องแต่งกาย สีเทา ใช้กับฉาก และชั้นดิน หิน และสัตว์

สีดำา พบมากในงานตัดเส้น มีทั้งเส้นหนา และเส้นบาง สีนำา้ตาล นิยมใช้

กับพื้นดิน งานสถาปัตยกรรม สัตว์ และต้นไม้ สีขาวเป็นที่ที่พบไม่มาก

หากพบจะเป็นส่วนตกแต่งของรายละเอียดต่างๆ

พระเวสสันดร กัณฑ์ที่ 8 กุมารบรรพ ใบที่ 1

Page 22: Phra Bot Closts Painting in Ban Aum

20 งานจิตรกรรมผ้าพระบฏ

Page 23: Phra Bot Closts Painting in Ban Aum

งานจิตรกรรมผ้าพระบฏ 21

งานจิตรกรรมล้านนาเอง ช่างเขียนมีความนิยมไม่ปล่อยพ้ืนที่ให้ว่างบน

ผนังหรือบนผืนผ้าก็ตาม จึงวาดภาพทิวทัศน์หรือสภาพแวดล้อมต่างๆ

ลงไปให้เต็มพื้นที่ หรือนิยมลงสีเต็มที่ว่าง ช่างโบราณมีเทคนิคในการจัด

วางภาพได้อย่างน่าทึง่ ผ้าผนืหนึง่สามารถเล่าเรือ่งทีมี่ความยาวได้จบและ

ใช้ตวัภาพท่ีเป็นกญุแจในการสือ่ให้เข้าใจตรงกนั อาท ิพระมาลยัจะมบีาตร

และตาลปัตรอยูเ่สมอ หรอืการลำาดบัเรือ่ง การใช้สสีือ่ การลำาดบัเรือ่งราว

ของช่างเขียนงานจิตรกรรมผืนผ้าพระบฏวัดบ้านเอ้ือม ไม่เป็นแบบแผน

ที่แน่นอนหรือตายตัว มีความหลากในการใช้ลูกเล่นเล่าเรื่อง พบทั้งหมด

3 แบบ

การลำาดับเรื่องแบบแนวเส้นขนาน บอกระยะไกลใกล้ ลำาดับก่อนหลัง

มีทั้งแบบที่ลำาดับเรื่องจากล่างขึ้นบนหรือบนลงล่าง

การลำาดับเรื่องแบบแนวเส้นขนานพระเวสสันดร กัณฑ์ที่ 5 ชูชก ใบที่ 1

Page 24: Phra Bot Closts Painting in Ban Aum

22 งานจิตรกรรมผ้าพระบฏ

การลำาดับเรื่องแบบก้นหอย การลำาดับเรื่องแบบฟันปลาพระเวสสันดร กัณฑ์ที่ 8 กุมารบรรพ ใบที่ 3พระเวสสันดร กัณฑ์ที่ 9 มัทรี ใบที่ 3

การลำาดับเร่ืองแบบก้นหอย ใช้กับฉากในป่าหิมพานต์และเขาวงกต

ลักษณะเริ่มต้นที่มุมบนวนลงล่างและกลับมาตรงกลาง หากเริ่มที่มุมล่าง

จะวนขึ้นบนและกลับมายังตรงกลาง

การลำาดับเรื่องแบบฟันปลา นิยมใช้ในตอนที่เกิดเหตุการณ์ก่อนหลังใน

เวลาใกล้เคียงกัน มีทั้งจากบนลงมาล่างและล่างขึ้นบน

Page 25: Phra Bot Closts Painting in Ban Aum

งานจิตรกรรมผ้าพระบฏ 23

ส่วนภาพที่มีฉากเดียวมักใช้การลำาดับจากซ้ายไปขวา และ ขวาไปซ้าย

ข้อสังเกต ช่างจะเขียนการเดินทางออกนอกเมืองให้หันไปทางซ้าย และ

การเข้าเมืองหันไปทางด้านขวา การเล่าเรื่องตอนเดียวในฉากเดียวจะ

วางภาพไว้ตรงกลางโดยแบ่งภาพออกเป็นสองส่วนคือ พื้นดินส่วนที่ใช้

ดำาเนินเรื่องและท้องฟ้า การเล่าเรื่องตอนเดียวในสองฉากและสามฉาก

จะมีแบ่งฉากด้วย ดิน กำาแพง รั้ว เนินผา แม่นำ้า และหิน

ภาพฉากเดียวใช้การลำาดับจากซ้ายไปขวาพระเวสสันดรชาดก

กัณฑ์ที่ 3 กัณฑ์ทานกัณฑ์ ใบที่ 1

Page 26: Phra Bot Closts Painting in Ban Aum

24 งานจิตรกรรมผ้าพระบฏ

พระมาลัยต้น ใบที่ 1 พระมาลัยต้น ใบที่ 2 ลายแบบที่ 1 ลายแบบที่ 2

Page 27: Phra Bot Closts Painting in Ban Aum

งานจิตรกรรมผ้าพระบฏ 25

เอกลักษณ์ของพระบฏวัดบ้านเอื้อมที่มีไม่เหมือนใคร คือลายประดับ

หางพระบฏ เป็นส่วนล่างของภาพเล่าเรื่องนิยมเขียนหน้าแถบกระดาน

คั้นก่อนต่อลายกรวยเชิงให้คล้ายหางตุง เช่นเดียวกับตีนผ้าซิ่นทั่วไป

ของชาวล้านนา ลายประดับตีนพระบฏแต่ละผืนจะมีความแตกต่างกัน

บางผืนแตกต่างกันท่ีลวดลายและบางผืนต่างกันที่การไล่สี ซึ่งการเขียน

ลายประดับมีต่างกันถึง 14 แบบ แต่ละแบบจะมีการใช้เฉดสีที่ต่างกัน

ออกไปและสลับลายหน้ากระดานไปด้วย ลายของพระบฏ เป็นการเขียน

ลายกรวยเชิงแบบท้องถิ่น ไม่ซับซ้อน ไม่อ่อนช้อย

• แบบท่ี 1 ที่พบมีการถามพื้นดำา ใช้สีอ่อนตรงตัวลายที่เป็นกรวยเชิง

ลักษณะคล้ายกระจัง สามเหลี่ยมขอบหยักควำ่า

• แบบที่ 2 ใช้สีที่ต่างกันในการแต่งแต้มลายคล้ายแบบแรก ไม่ถมพื้น

Page 28: Phra Bot Closts Painting in Ban Aum

26 งานจิตรกรรมผ้าพระบฏ

ลายแบบที่ 3 ลายแบบที่ 4 ลายแบบที่ 5

ลายแบบที่ 6 ลายแบบที่ 7 ลายแบบที่ 8

พระมาลัยปลาย ใบที่ 1

พระมาลัยปลาย ใบที่ 2

พระเวสสันดรกัณฑ์ที่ 1 กัณฑ์ทศพร

พระเวสสันดร กันฑ์ที่ 2 กัณฑ์หิมพานต์ ใบที่ 4

พระเวสสันดรกัณฑ์ที่ 2 กัณฑ์หิมพานต์ ใบที่ 3

พระเวสสันดรกัณฑ์ที่ 3 ทานกัณฑ์ ใบที่ 2

Page 29: Phra Bot Closts Painting in Ban Aum

งานจิตรกรรมผ้าพระบฏ 27

• แบบที่ 3 เป็นกรวยเชิงสามเหลี่ยมควำ่าไล่สีที่ต่างกันในตัวลาย

• แบบที่ 4 กรวยเชิงเป็นสามเหลี่ยมควำ่าคล้ายกระจังฟันปลา

ตัวลายใหญ่ และมีการเขียนลายสามเหล่ียมเล็กในตัวลายใหญ่ด้วย

คล้ายเป็นกลีบซ้อน

• แบบที ่5 ลายกรวยเชงิคล้ายกระจงัขอบหยกัควำา่สบัหว่างกันสองแถว

และไล่สีต่างกันในตัวลาย แถวหนึ่งและแถวสองสีต่างกันด้วย

• แบบที่ 6 กรวยเชิงสามเหลี่ยมควำ่าสับหว่างกันสองแถว

• แบบที่ 7 กรวยเชิงลายรูปตัว W ซ้อนกันสองแถว ไล่สีในตัวลาย

• แบบที่ 8 กรวยเชิงรูปสี่เหลี่ยมปลายตัด ตัวลายแถวเล็กเรียงกัน

สามช้ันคั้นกับตัวลายใหญ่เป็นสี่เหลี่ยมปลายตัดขอบหยัก สีต่างกัน

ทัง้ตวัลายใหญ่และตวัลายเลก็ สบัหว่างกนัสองแถวไล่เฉดสีในตวัลาย

Page 30: Phra Bot Closts Painting in Ban Aum

28 งานจิตรกรรมผ้าพระบฏ

ลายแบบที่ 9 ลายแบบที่ 10 ลายแบบที่ 11

ลายแบบที่ 12 ลายแบบที่ 13 ลายแบบที่ 14

พระเวสสันดร กัณฑ์ที่ 5 ชูชก ใบที่ 2

พระเวสสันดร กัณฑ์ที่ 8 กุมารบรรพ ใบที่ 1

พระเวสสันดร กัณฑ์ที่ 10 สักบรรณ

พระเวสสันดร กัณฑ์ที่ 13 นครกัณฑ์ ใบที่ 1

พระเวสสันดร กัณฑ์ที่ 11 มหาราช ใบที่ 5

พระเวสสันดร กัณฑ์ที่ 12 ฉกษัตริย์

Page 31: Phra Bot Closts Painting in Ban Aum

งานจิตรกรรมผ้าพระบฏ 29

• แบบที่ 9 กรวยเชิงบัวควำ่าหางยาวสับหว่างกันสองแถว ไล่สีต่างกัน

ในตัวลาย

• แบบที่ 10 กรวยเชิงบัวควำ่าหางยาว ข้างในเป็นดอกไม้สามกลีบ

สองชั้นสับหว่างไล่สีต่างกัน

• แบบที่ 11 กรวยเชิงคล้ายกระจังตาอ้อยกลับหัวสับหว่างกันสองชั้น

มีหางยาง

• แบบที่ 12 กรวยเชิงคล้ายรูปตัว w มีเปลวเล็กและต่อหางยาว

• แบบที่ 13 กรวยเชิงสี่เหลี่ยมต่อหางด้วยสามเหลี่ยม ไล่สีในตัวลาย

• แบบที่ 14 กรวยเชิงสี่เหลี่ยมปลายตัดต่อหาง

Page 32: Phra Bot Closts Painting in Ban Aum
Page 33: Phra Bot Closts Painting in Ban Aum
Page 34: Phra Bot Closts Painting in Ban Aum

ปกหน้า : ภาพพระเวสสันดรชาดก กัณฑ์ที่ 13 นครกัณฑ์ ใบที่ 3 ตอน ฝนห่าแก้ว

งานจิตรกรรมผ้าพระบฏ วัดบ้านเอื้อม จังหวัดลำาปาง

ปกหลัง : ภาพพระเวสสันดรชาดก กัณฑ์ที่ 4 วนประเวศน์ ใบที่ 1 ตอน พระเวสสันดร

และนางมัทรี อุ้มพระกัณหาชาลี เดินชมป่าหิมพานต์ งานจิตรกรรมผ้าพระบฏ

วัดบ้านเอื้อม จังหวัดลำาปาง