psychiatric disorders and personality problems in medical ... ·...

12
J Psychiatr Assoc Thailand Vol. 57 No. 4 October - December 2012 427 วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2555; 57(4): 427-438 * ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โรคทางจิตเวชและปัญหาบุคลิกภาพที่พบใน นักศึกษาแพทย์ศิริราช : ศึกษาย้อนหลัง 26 ปี พนม เกตุมาน พบ.*, นันทวัช สิทธิรักษ์ พบ.*, กอบหทัย สิทธิรณฤทธิ์ พบ.*, กนกวรรณ ลิ้มศรีเจริญ พบ.*, ปเนต ผู้กฤตยาคามี พบ.*, กมลพร วรรณฤทธิ์ พบ.* บทคัดย่อ วัตถุประสงค์ ศึกษาอุบัติการณ์ของโรคทางจิตเวชและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ในนักศึกษาแพทย์ศิริราช ตั้งแต่ปีการศึกษา 2525-2550 วิธีการศึกษา ศึกษาข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่ปีการศึกษา 2525-2550 จากบันทึกการให้บริการให้ ค�าปรึกษา ของนักศึกษาแพทย์ที่มารับบริการให้ค�าปรึกษา หน่วยบริการให้ค�าปรึกษา น�าข้อมูล ทั้งหมดไปวิเคราะห์เพื่อหาอัตราการเกิดโรคทางจิตเวชในนักศึกษาแพทย์ศิริราช และปัจจัย ที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษา นักศึกษาแพทย์มาปรึกษาด้วยปัญหาทางจิตเวช 307 คน อายุ 17-32 ปี ส่วนใหญ่ เป็นเพศชาย เริ่มต้นพบปัญหาในช้นปีท่ 2 ภูมิล�าเนาอยู ่ในกรุงเทพมหานครหรือปริมณฑล ฐานะทางเศรษฐกิจระดับปานกลาง อุบัติการณ์การป่วยเป็นโรคทางจิตเวช 8.4 คนต่อพัน คนต่อปี เป็นปัญหาบุคลิกภาพ 6.1 คนต่อพันคนต่อปี โรคทางจิตเวชท่พบมาก คือ โรคทาง จิตเวชเนื่องจากการปรับตัว (adjustment disorders) และโรคซึมเศร้า (depressive episode) มีอุบัติการณ์การเกิดโรค 3.4 และ 2.2 คนต่อพันคนต่อปี ตามล�าดับ ปัญหาบุคลิกภาพที่พบมาก คือ other specific personality trait and disorders และ anxious (avoidant) personality trait and disorder มีอุบัติการณ์การเกิด 2.8 และ1 คนต่อพันคนต่อปี ตามล�าดับ นักศึกษาแพทย์ท่มี โรคทางจิตเวชและปัญหาบุคลิกภาพ ส�าเร็จการศึกษาร้อยละ 89.6 สรุป โรคทางจิตเวชและปัญหาบุคลิกภาพ พบได้บ่อยในนักศึกษาแพทย์ที่รับบริการให้ค�าปรึกษา ควรให้ความส�าคัญและมีแนวทางป้องกัน เสริมสร้างสุขภาพจิต คัดกรองค้นหาผู้ที่มีปัญหาและ ช่วยเหลือฟ้นฟูอย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งติดตามอย่างต่อเนื่องจนส�าเร็จการศึกษา ค�าส�าคัญ โรคทางจิตเวช ปัญหาบุคลิกภาพ นักศึกษาแพทย์ การให้ค�าปรึกษา

Upload: others

Post on 17-May-2020

1 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: Psychiatric Disorders and Personality Problems in Medical ... · องค์การอนามัยโลก (icd-10)10 ได้รับการรักษาทาง จิตเวช

Psychiatric Disorders and Personality Problems in Medical Students at Faculty of Medicine, Siriraj Hospital, Years 1982-2007

Panom Ketumarn et al.

J Psychiatr Assoc ThailandVol. 57 No. 4 October - December 2012 427

วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2555; 57(4): 427-438

* ภาควิชาจิตเวชศาสตร์คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล

โรคทางจิตเวชและปัญหาบุคลิกภาพที่พบใน

นกัศกึษาแพทย์ศริริาช : ศกึษาย้อนหลงั 26 ปี

พนม เกตุมาน พบ.*, นันทวัช สิทธิรักษ์ พบ.*,

กอบหทัย สิทธิรณฤทธิ์ พบ.*, กนกวรรณ ลิ้มศรีเจริญ พบ.*,

ปเนต ผู้กฤตยาคามี พบ.*, กมลพร วรรณฤทธิ์ พบ.*

บทคัดย่อ

วตัถปุระสงค์ ศกึษาอบุตักิารณ์ของโรคทางจติเวชและปัจจยัทีเ่กีย่วข้องในนกัศกึษาแพทย์ศริริาช

ตั้งแต่ปีการศึกษา2525-2550

วิธีการศึกษา ศึกษาข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่ปีการศึกษา2525-2550จากบันทึกการให้บริการให้

ค�าปรึกษาของนักศึกษาแพทย์ที่มารับบริการให้ค�าปรึกษาหน่วยบริการให้ค�าปรึกษาน�าข้อมูล

ทั้งหมดไปวิเคราะห์เพื่อหาอัตราการเกิดโรคทางจิตเวชในนักศึกษาแพทย์ศิริราช และปัจจัย

ที่เกี่ยวข้อง

ผลการศกึษา นกัศกึษาแพทย์มาปรกึษาด้วยปัญหาทางจติเวช307คนอายุ17-32ปีส่วนใหญ่

เป็นเพศชาย เริ่มต้นพบปัญหาในชั้นปีที่ 2 ภูมิล�าเนาอยู่ในกรุงเทพมหานครหรือปริมณฑล

ฐานะทางเศรษฐกิจระดับปานกลาง อุบัติการณ์การป่วยเป็นโรคทางจิตเวช 8.4 คนต่อพัน

คนต่อปี เป็นปัญหาบุคลิกภาพ 6.1 คนต่อพันคนต่อปี โรคทางจิตเวชที่พบมากคือ โรคทาง

จิตเวชเนื่องจากการปรับตัว(adjustmentdisorders)และโรคซึมเศร้า(depressiveepisode)

มีอุบัติการณ์การเกิดโรค3.4และ2.2คนต่อพันคนต่อปีตามล�าดับปัญหาบุคลิกภาพที่พบมาก

คือotherspecificpersonalitytraitanddisordersและanxious(avoidant)personalitytrait

anddisorderมีอุบัติการณ์การเกิด2.8และ1คนต่อพันคนต่อปีตามล�าดับนักศึกษาแพทย์ที่มี

โรคทางจิตเวชและปัญหาบุคลิกภาพส�าเร็จการศึกษาร้อยละ89.6

สรปุโรคทางจติเวชและปัญหาบคุลกิภาพพบได้บ่อยในนกัศกึษาแพทย์ทีร่บับรกิารให้ค�าปรกึษา

ควรให้ความส�าคัญและมีแนวทางป้องกันเสริมสร้างสุขภาพจิตคัดกรองค้นหาผู้ที่มีปัญหาและ

ช่วยเหลือฟื้นฟูอย่างรวดเร็วพร้อมทั้งติดตามอย่างต่อเนื่องจนส�าเร็จการศึกษา

ค�าส�าคัญ โรคทางจิตเวชปัญหาบุคลิกภาพนักศึกษาแพทย์การให้ค�าปรึกษา

Page 2: Psychiatric Disorders and Personality Problems in Medical ... · องค์การอนามัยโลก (icd-10)10 ได้รับการรักษาทาง จิตเวช

โรคทางจิตเวชและปัญหาบุคลิกภาพที่พบในนักศึกษาแพทย์ศิริราช : ศึกษาย้อนหลัง 26 ปี

พนม เกตุมาน และคณะ

วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทยปีท่ี 57 ฉบับท่ี 4 ตุลาคม - ธันวาคม 2555428

ABSTRACT

Objective: TostudytheincidenceofpsychiatricdisordersandpersonalityproblemsinSirirajHospitalmedicalstudentsbetweenacademicyears1982-2007.Method: A retrospective descriptive studywas doneby analyzing themedical recordsfromcounselingservicesforallmedicalstudentswhoutilizedcounselingunitofFacultyofMedicineSirirajHospitalbetweenacademicyears1982-2007 toobtain the rateofmentalhealthproblemsandassociateddemographicdata.Result: Mentalhealthproblemswerefoundin307from338medicalstudentswhoutilizedthecounseling services (90.8%). Sixty-ninepercentwasmale. The second yearwas themostcommonyearforthestudentstostartutilizingtheservice.Bangkokandareaaroundwerefound65%astheiraccommodations.Middlelevelofsocioeconomicstatuswasfound54%.Selfreferralandstaffreferralwerefound50.3%and45%,respectively.Thecumulativeincidenceofpsychiatricdisorders(axisIdiagnosis)andpersonalityproblems(axisIIdiagnosis)werefound8.4and6.1per1000personsperyearrespectively.Themostcommonpsychiatricdisorderswereadjustmentdisorders,anddepressiveepisode,respectively,withcumulativeincidence3.4and2.2per1000personsperyear.Themostcommontypesofpersonalityproblemswere other specific personality trait and disorders, and anxious (avoidant)personality traitanddisorder, respectively,withcumulative incidence2.8and1per1000personsperyear.89.6%ofmedicalstudentswhohadpsychiatricdisorderandpersonalityproblemsfinallyfinishedtheirmedicaleducationandobtainedmedicaldegree.Conclusion: Psychiatricdisordersandpersonalityproblemswerecommonamongmedicalstudentswhoutilizedcounselingservices.

Keywords: psychiatricdisorder,personalityproblem,medicalstudents,counseling

Psychiatric Disorders and Personality

Problems in Medical Students at Faculty of

Medicine, Siriraj Hospital, Years 1982-2007

Panom Ketumarn M.D.*, Nantawat Sitdhiraksa M.D.*,

Gobhathai Sittironnarit M.D.*, Kanokwan Limsricharoen M.D.*,

Panate Pukrittayakamee M.D.*, Kamonporn Wannarit M.D.*

Journal of the Psychiatric Association of Thailand 2012; 57(4): 427-438

* DepartmentofPsychiatry,FacultyofMedicineSirirajHospital,MahidolUniversity,Bangkok

Page 3: Psychiatric Disorders and Personality Problems in Medical ... · องค์การอนามัยโลก (icd-10)10 ได้รับการรักษาทาง จิตเวช

Psychiatric Disorders and Personality Problems in Medical Students at Faculty of Medicine, Siriraj Hospital, Years 1982-2007

Panom Ketumarn et al.

J Psychiatr Assoc ThailandVol. 57 No. 4 October - December 2012 429

บทน�า ปัญหาสุขภาพจิตพบได้บ่อยในนักศึกษาแพทย์การศกึษาในนกัศกึษาแพทย์ชัน้ปีที่3คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลปีการศึกษา 25421 พบว่านักศึกษามีความเครียดมากร้อยละ 7.25 ความเครียดมีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการส�ารวจสุขภาพจิตของนิสิตแพทย์ป ีที่ 1 ถึงป ีที่ 6 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปีการศึกษา 2539-402 พบว่านิสิตแพทย์มีปัญหาสุขภาพจิตเฉลี่ยร้อยละ 24.63โดยชั้นปีที่ 2 มีป ัญหาสุขภาพจิตสูงสุดถึงร ้อยละ45.1 การศึกษาการป่วยทางจิตในนักศึกษาแพทย์มหาวิทยาลัยขอนแก่น รายงานในพ.ศ. 25323,4พบนักศึกษาแพทย์มีอัตราการป่วยทางจิตเวช 17.9ต่อพันต่อปี การศึกษานักศึกษาแพทย์ที่มารับบริการให ้ ค� าปรึ กษาของหน ่ วยบริ ก า ร ให ้ ค� าปรึ กษาคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลปีการศึกษา25335พบว่ามีนักศึกษาแพทย์ป่วยทางจิตเวช1.08ต่อพันคนต่อปีรายงานหน่วยบรกิารให้ค�าปรกึษาคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลปี 25446พบว่านักศึกษาแพทย์ที่มารับบริการให้ค�าปรึกษาที่หน่วยบริการให้ค�าปรึกษาคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลตั้งแต่ปีการศึกษา2516-2542 มีอัตราป่วยโรคทางจิตเวชเฉลี่ย 2.9ต่อพันคนต่อปีและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นการศึกษาปัญหาสุขภาพจิตในนักศึกษาแพทย์ในต่างประเทศพบว่ามีปัญหาไม่น้อยเช่นกัน7,8 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลได้จัดหน่วยบรกิารให้ค�าปรกึษาเพือ่ดแูลช่วยเหลอืนกัศกึษาแพทย์ที่มปัีญหาพฤตกิรรมปัญหาสขุภาพจติหรอืโรคทางจติเวชและวางแผนดูแลช่วยเหลือตั้งแต่ชั้นปีที่1-6นักศึกษาสามารถเข้ารับบริการที่หน่วยบริการให้ค�าปรึกษานี้ได้หลายทางเช่นมารบับรกิารด้วยตนเองเพือ่นแนะน�ามาอาจารย์ที่ปรึกษาเป็นผู ้แนะน�าให้มา หรืออาจารย์ที่ปรึกษาส่งตัวมาขอปรึกษาด้วยปัญหาพฤติกรรมหรือปัญหาการเรียนนักศึกษาแพทย์จะได้รับประเมิน

และให้การวนิจิฉยัโรคทางจติเวชตามเกณฑ์การวนิจิฉยัโรคของสมาคมจิตแพทย์อเมริกัน (DSM-IV)9และองค์การอนามัยโลก (ICD-10)10 ได้รับการรักษาทางจิตเวช และติดตามช่วยเหลือจนส�าเร็จการศึกษาในแต่ละปีพบว่ามีนักศึกษาแพทย์เข้ามารับบริการให้ค�าปรึกษาใหม่ประมาณ20-30คนส่วนใหญ่เป็นโรคทางจิตเวชซึ่งคณะผู้วิจัยเห็นว่ามีผลต่อการเรียนและการปรบัตวัของนกัศกึษาแพทย์อย่างมากจงึท�าการศกึษาเรื่องนี้ในนักศึกษาแพทย์ศิริราชโดยใช้วิธีการศึกษาเชงิพรรณนาย้อนหลงั(retrospectivedescriptivestudy)ตั้งแต่ปีการศึกษา2525-2550เพื่อหาอัตราการเกิดโรคทางจติเวชปัญหาบคุลกิภาพและปัจจยัทีม่คีวามสมัพนัธ์เพื่อวางแผนแก้ไขป้องกัน และพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักศึกษาแพทย์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

วิธีการศึกษา รูปแบบการวิจัย เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาย้อนหลงัณจดุใดจดุหนึง่(retrospectivedescriptive,study) เพื่อศึกษาอุบัติการณ์การเกิดโรคทางจิตเวชปัญหาบุคลิกภาพและวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง โดยใช้ข้อมูลที่รวบรวมจากบันทึกการให้ค�าปรึกษาแก่นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่1ถึงชั้นปีที่6รวม6ชั้นปีตั้งแต่ปีการศกึษา2525ถงึปีการศกึษา2550จ�านวน338คนทีม่ารบับรกิารให้ค�าปรกึษาส�านกังานรองคณบดฝ่ีายกจิการนักศึกษาคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลและได้รับการประเมินและวินิจฉัยโรคทางจิตเวชโดยจิตแพทย์ ใช้เกณฑ์การวินิจฉัยโรคทางจิตเวชขององค์การอนามยัโลก(ICD-10)10เป็นaxisIdiagnosisและ/หรอืปัญหาบุคลิกภาพ ใช้สถิติร้อยละส�าหรับอัตราการเกิดปัญหาสุขภาพจิต และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสขุภาพจติและใช้โปรแกรมสถติิSPSS10.011โครงการได้ผ่านการรับรองให้ท�าการวิจัย จากคณะกรรมการจรยิธรรมการวจิยัในคนคณะแพทยศาสตร์ศริริาชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดลแล้ว

Page 4: Psychiatric Disorders and Personality Problems in Medical ... · องค์การอนามัยโลก (icd-10)10 ได้รับการรักษาทาง จิตเวช

โรคทางจิตเวชและปัญหาบุคลิกภาพที่พบในนักศึกษาแพทย์ศิริราช : ศึกษาย้อนหลัง 26 ปี

พนม เกตุมาน และคณะ

วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทยปีท่ี 57 ฉบับท่ี 4 ตุลาคม - ธันวาคม 2555430

ผลการศึกษา ตั้งแต่ป ีการศึกษา 2525 ถึง 2550 พบว่านักศึกษาแพทย์ที่มารับการปรึกษาที่เป็นโรคทางจิตเวชและมีปัญหาบุคลิกภาพจ�านวน307คนอายุ17-32ปีส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 69) ภูมิล�าเนาอยู่ในกรุงเทพมหานครหรือปริมณฑล(ร้อยละ65)และฐานะทางเศรษฐกิจระดับปานกลาง(ร้อยละ54)ชั้นปีที่เริ่มมีปัญหามากที่สุดคือชั้นปีที่2(ร้อยละ32.8)อายุที่เริ่มมีปัญหามากทีส่ดุ20-21ปีนกัศกึษามาขอรบับรกิารด้วยตนเองร้อยละ50.3อาจารย์ส่งมาเพื่อรับบริการร้อยละ45ดังแสดงในตารางที่1

ตารางที่ 1

ข้อมูลพื้นฐาน จ�านวน ร้อยละเพศ

ชายหญิง

21196

6931

ภูมิล�าเนากรุงเทพฯและปริมณฑลต่างจังหวัด

15984

6535

ฐานะทางเศรษฐกิจสูงปานกลางต�่า

6212343

275419

ชั้นปีที่เริ่มมีปัญหาปีที่1ปีที่2ปีที่3ปีที่4ปีที่5ปีที่6

1210065593831

3.932.821.319.312.510.2

การเข้ารับบริการให้ค�าปรึกษามาด้วยตัวเองอาจารย์ส่งมาตรวจเพื่อนพามาตรวจญาติพามาตรวจอื่นๆ

152136842

50.345.02.61.30.7

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาแพทย์ที่มีปัญหาทางจิตเวช นกัศกึษาแพทย์ทีม่ปัีญหาทางจติเวชจ�านวน307คนสามารถส�าเรจ็การศกึษาตามหลกัสตูรได้ถงึ275คน

(ร้อยละ 89.6 ของนักศึกษาแพทย์ที่มีปัญหาจิตเวช)ในจ�านวนนี้ส่วนใหญ่ถึงร้อยละ69.2ส�าเร็จการศึกษาภายใน6ปีส่วนนกัศกึษาแพทย์ทีไ่ม่ส�าเรจ็การศกึษานัน้ส่วนใหญ่ลาออกหรือพ้นสภาพนักศึกษาเนื่องจากผลการเรยีนและการปฏบิตังิานไม่ผ่านเกณฑ์การประเมนิตามหลักสูตรซึ่งเกิดจากอาการของโรคหรือบุคลิกภาพท�าให้ไม่สามารถเรียนและปฏิบัติงานได้

ปัญหาทางจิตเวช (โรคทางจิตเวชและปัญหาบุคลิกภาพ) นักศึกษาแพทย์ที่มีปัญหาทางจิตเวชจ�านวน307คนพบว่าป่วยเป็นโรคทางจิตเวชจ�านวน258คนมีปัญหาบุคลิกภาพจ�านวน186คนนักศึกษาแพทย์ที่ป่วยโรคทางจิตเวช258คนนั้นพบว่าจ�านวน121คนมโีรคทางจติเวชอย่างเดยีวอกี137คนมโีรคทางจติเวชร่วมกับปัญหาบุคลิกภาพดังตารางที่2

ตารางที่ 2โรคทางจิตเวชและปัญหาบุคลิกภาพที่พบ ร่วมกัน

ปัญหาทางจิตเวชเพศ

รวม

(ร้อยละ)ชาย

(ร้อยละ)

หญิง

(ร้อยละ)โรคทางจิตเวชอย่างเดียว 71(23.1) 50(16.3) 121(39.4)

ปัญหาบุคลิกภาพอย่างเดียว 39(12.7) 10(3.3) 49(16.0)

โรคทางจิตเวชร่วมกับปัญหา

บุคลิกภาพ

101(32.9) 36(11.7) 137(44.6)

รวม 211 (68.7) 96 (31.3) 307 (100.0)

อบุตักิารณ์การเกดิปัญหาทางจติเวช โรคทางจติเวช และปัญหาบุคลิกภาพ ผลการศึกษาพบอัตราการเกิดปัญหาทางจิตเวชโรคทางจติเวชและปัญหาบคุลกิภาพเท่ากบั10และ8.4และ6.1คนต่อ1000คนต่อปีตามล�าดับเพศชายมีอตัราการเกดิสงูกว่าเพศหญงิทัง้หมดแสดงดงัตารางที่3

Page 5: Psychiatric Disorders and Personality Problems in Medical ... · องค์การอนามัยโลก (icd-10)10 ได้รับการรักษาทาง จิตเวช

Psychiatric Disorders and Personality Problems in Medical Students at Faculty of Medicine, Siriraj Hospital, Years 1982-2007

Panom Ketumarn et al.

J Psychiatr Assoc ThailandVol. 57 No. 4 October - December 2012 431

ตารางที่ 3 อุบัติการณ์การเกิดปัญหาทางจิตเวช โรคทางจิตเวชและปัญหาบุคลิกภาพ

อัตราการเกิด ต่อ 1000 คน ต่อปี

ชาย หญิง รวม

ปัญหาทางจิตเวช 12.7 6.8 10

·โรคทางจิตเวช 10.4 6.1 8.4

·ปัญหาบุคลิกภาพ 8.5 3.2 6.1

ความแตกต่างระหว่างเพศชายและหญิง เพศชายมอีตัราการเกดิปัญหาทางจติเวชโรคทางจิตเวชและปัญหาบุคลิกภาพสูงกว่าเพศหญิง อย่างมีนัยส�าคัญทางสถิติค่าrelativerisk1.9,1.7,และ2.6ตามล�าดับแสดงในตารางที่4

ตารางที่ 4 อุบัติการณ์ปัญหาจิตเวช/และบุคลิกภาพระหว่างเพศชายและเพศหญิง

ชาย หญิงRelative

risk(95% CI)

Chi square

P-Value

มีปัญหาจิตเวช 211 961.88

(1.49-2.38)29.04 0.000

ไม่มีปัญหาจิตเวช 2,549 2,268

มีโรคจิตเวช 172 861.71

(1.33-2.21) 17.92 0.000ไม่มีโรคจิตเวช 2,588 2,278มีปัญหาบุคลิกภาพ

140 462.61

(1.88-3.62) 35.58 0.000ไม่มีปัญหาบุคลิกภาพ

2,620 2,318

การวินิจฉัยโรคทางจิตเวช (axis I diagnosis) จากตารางที่ 3 พบอุบัติการณ์การเกิดโรคทางจิตเวช(axisIdiagnosis)8.4คนต่อพันคนต่อปีโรคที่พบบ่อยที่สุด คือ adjustment disordersพบจ�านวน107คนหรือร้อยละ 41.5 ของโรคทางจิตเวชทั้งหมดคิดเป็นอุบัติการณ์การเกิด3.4คนต่อพันคนต่อปีโรคนี้เกิดจากปรับตัวต่อสิ่งเร้าหรือการเปลี่ยนแปลงในชีวิตพบได้บ่อยในชัน้ปีที่2โรคนีม้คีวามรนุแรงน้อยโรคจติเวช

ที่พบส่วนใหญ่จะดีขึ้นจนเป็นปกติ สามารถส�าเร็จการศึกษาได้ โรคที่พบบ ่อยอันดับสอง คือ โรคซึมเศร ้า(depressiveepisode)มจี�านวน69คนคดิเป็นร้อยละ26.4 ของโรคทางจิตเวชทั้งหมด คิดเป็นอุบัติการณ์การเกิด 2.2 คนต่อพันคนต่อปี ส่วนใหญ่เริ่มมีอาการในชั้นปีที่2หรือปีที่3มีความเครียดจากการเรียนและการสอบเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดโรคนี้ โรคจิตเวชที่พบบ่อยอันดับสามคือ โรคซึมเศร้าเรือ้รงั(dysthymia)พบจ�านวน10คนคดิเป็นร้อยละ3.9ของโรคทางจิตเวชทั้งหมดอัตราการเกิด0.3คนต่อพันคนต่อปี โรคนี้จะมีอาการซึมเศร้าแบบไม่รุนแรงมากแต่ท�าให้เกิดปัญหาในการเรียน การปรับตัว และสัมพันธภาพกับเพื่อน มักจะเป็นเรื้อรัง และมีปัญหาบุคลิกภาพผิดปกติร ่วมด้วยท�าให้การรักษามักจะไม่ค่อยได้ผลดี โรคจิตเภท(schizophrenia)ส่วนใหญ่เป็นชนิดหวาดระแวงโรคย�้าคิดย�้าท�า(obsessive-compulsivedisorder)และโรคอารมณ์สองขั้ว (bipolardisorder)เป็นโรคที่พบบ่อยรองลงมาเป็นอันดับสี่ คือ จ�านวน9คนเท่ากนัคดิเป็นร้อยละ3.5ของโรคทางจติเวชทัง้หมดอัตราการเกิด0.3คนต่อพันคนต่อปี โรคจิตเวชอื่นที่พบอันดับห้าคือ โรคกายเหตุจิต(psychologicalandbehavioralfactorsassociatedwith disorder or disease classified elsewhere)คิดเป็นร้อยละ 2.7 ของโรคทางจิตเวชทั้งหมด อัตราการเกิด 0.2คนต่อพันคนต่อปี เป็นโรคที่มีอาการทางร่างกายโดยมีสาเหตุจากความเครียดกระตุ้นให้ระบบประสาทอัตโนมัติ หรือระบบการท�างานอื่นในร่างกายท�างานบกพร่อง เช่น ระบบทางเดินอาหารท�าให้เกิดโรคแผลในกระเพาะอาหาร ระบบไหลเวียนของโลหิตท�าให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง ระบบภูมิต้านทานโรคท�าให้เกดิโรคตดิเชือ้ได้ง่ายโรคนีไ้ม่ได้รบกวนผลสมัฤทธิ์ทางการศึกษามากนักศึกษาที่ป่วยโรคนี้สามารถส�าเร็จการศึกษาได้ทุกคน

Page 6: Psychiatric Disorders and Personality Problems in Medical ... · องค์การอนามัยโลก (icd-10)10 ได้รับการรักษาทาง จิตเวช

โรคทางจิตเวชและปัญหาบุคลิกภาพที่พบในนักศึกษาแพทย์ศิริราช : ศึกษาย้อนหลัง 26 ปี

พนม เกตุมาน และคณะ

วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทยปีท่ี 57 ฉบับท่ี 4 ตุลาคม - ธันวาคม 2555432

ตารางที่ 5อัตราการเกิดโรคทางจิตเวช (axis I diagnosis)

โรคทางจิตเวช (axis I diagnosis)

จ�านวน อุบัติการณ์ต่อพันคนต่อปี

1. Adjustmentdisorders 107 3.42. Depressiveepisode 69 2.23. Dysthymia 10 0.34. Schizophrenia 9 0.35. Bipolaraffectivedisorder 9 0.36. Obsessive-compulsive

disorder 9 0.37. Psychologicaland

behavioralfactorsassociatedwithdisorderordiseaseclassifiedelsewhere

7 0.2

8. Unspecifiednonorganicpsychosis 5 0.16

9. Generalizedanxietydisorder 5 0.16

10. Others 28 0.9รวม 258 8.4

การวินิจฉัยปัญหาบุคลิกภาพ จากตารางที่ 5 พบนักศึกษาแพทย์ที่มีปัญหาบุคลิกภาพทั้งหมดจ�านวน186คนคิดเป็นอุบัติการณ์เกิดปัญหาบุคลิกภาพ6.1คนต่อพันคนต่อปีลักษณะทั่วไปของผู้ที่มีปัญหาบุคลิกภาพคือมีความสามารถในการปรับตัวในชีวิตได้น้อย เมื่อเผชิญสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงมักจะเกิดความเครียดได้ง่าย และใช้วิธีการแก้ไขปัญหาไม่เหมาะสมเช่นการหลบเลี่ยงละเมิดกฎเกณฑ์และอาจเกดิอาการทางร่างกายจากความเครยีดหรือเกิดโรคทางจิตเวชจากการปรับตัว (adjustmentdisorders)และอารมณ์ซึมเศร้าได้ง่าย ในการศึกษานี้พบว่ามีผู้ที่มีปัญหาบุคลิกภาพแบบpersonality traitจ�านวนมาก ซึ่งมีพฤติกรรมที่แสดงออกไม่เหมาะสมแต่ไม่รุนแรงถึงขั้นท�าให้เกิดปัญหาในการปรับตัวและยังไม่เสียต่อหน้าที่และการเรียนเหมือน personalitydisorder แต่อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคทางจิตเวช หรือ ท�าให้การรักษาไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร

พบอัตราส่วนระหว่างจ�านวน personality disorderและ personality trait ทุกชนิดประมาณ 1 ต่อ 2ปัญหาบุคลิกภาพที่พบบ่อยที่สุด คือ other specificpersonalitytraitanddisordersพบร้อยละ46.8ของปัญหาบุคลิกภาพทั้งหมด อุบัติการณ์การเกิดปัญหาบุคลิกภาพนี้2.8คนต่อพันคนต่อปีบุคลิกภาพแบบนี้มีลักษณะที่ไม่เข้ากับบุคลิกภาพใดโดยเฉพาะมีลักษณะพฤติกรรมเป็นเด็กกว่าวัย ไม่รับผิดชอบ หลบเลี่ยงกฎเกณฑ์ มักจะเกิดความเครียดและซึมเศร้าได้ง่ายเมื่อต้องรับผิดชอบการเรียนและการปฏิบัติงานปัญหาบุคลิกภาพที่พบรองลงมา คือ anxious avoidant)personality trait and disorder (บุคลิกภาพแบบวิตกกังวลและหลบเลี่ยงปัญหา) พบร้อยละ 17.2ของปัญหาบุคลิกภาพทั้งหมดอัตราการเกิดปัญหาบุคลิกภาพนี้ 1 คนต่อพันคนต่อปี บุคลิกภาพแบบนี้จะเครียดได้ง่ายและใช้วิธีหลบเลี่ยงปัญหาขาดความรับผิดชอบขาดเรียนขาดการปฏิบัติงาน ปัญหาบุคลิกภาพแบบอื่นๆ พบอัตราการเกิดระหว่าง 0.1-0.8คนต่อพันคนต่อปี ได้แก่ บุคลิกภาพแบบพึง่พาผูอ้ืน่(dependentpersonality)มพีฤตกิรรมพึ่งพาผู ้อื่นมาก ขาดความมั่นใจตนเอง ไม่กล้าคิดกล้าตัดสินใจด้วยตัวเองบุคลิกภาพแบบหวาดระแวง(paranoidpersonality) มีพฤติกรรมไม่ไว้วางใจผู้อื่นมองคนอื่นด้านลบหวาดระแวงท�าให้เครียดปรับตัวกับผู ้อื่นไม่ได้ และอาจแสดงความก้าวร้าวต่อผู ้อื่นได้บุคลิกภาพแบบอันธพาล (dissocial personality)มีพฤติกรรมละเมิดกฎเกณฑ์หรือข้อบังคับต่างๆ เพื่อให้ตนเองได้รับประโยชน์ เช่น ขโมย โกหกหลอกลวงบคุลกิภาพแบบผสม(mixedandotherpersonalities)มลีกัษณะบคุลกิภาพหลายประเภทรวมกนัและบคุลกิภาพแบบย�้าคิดย�้าท�า (anankasticpersonality trait anddisorder) มีพฤติกรรมย�้าคิดย�้าท�า ความคาดหวังสูงพยายามท�างานให้ได้ผลสมบูรณ์แบบ ท�าให้มีความกังวลได้ง่าย

Page 7: Psychiatric Disorders and Personality Problems in Medical ... · องค์การอนามัยโลก (icd-10)10 ได้รับการรักษาทาง จิตเวช

Psychiatric Disorders and Personality Problems in Medical Students at Faculty of Medicine, Siriraj Hospital, Years 1982-2007

Panom Ketumarn et al.

J Psychiatr Assoc ThailandVol. 57 No. 4 October - December 2012 433

ตารางที่ 6อัตราการเกิดปัญหาบุคลิกภาพ(axisIIdiagnosis)

ประเภทของปัญหาบุคลิกภาพ Personality trait

Personality disorder

รวม (ร้อยละ)

อัตราการเกิดต่อพันคนต่อปี

1. Otherspecificpersonality 69 18 87(46.8) 2.82. Anxious(avoidant)personality 16 16 32(17.2) 13. Anankasticpersonality 18 8 26(14) 0.84. Mixedandotherpersonalities - 13 13(7) 0.45. Dissocialpersonality 10 3 13(7) 0.46. Paranoidpersonality 2 2 4(2.2) 0.17. Dependentpersonality 3 - 3(1.6) 0.18. Others 4 4 8(4.3) 0.3

รวม 122 64 186 (100) 6.1

วิจารณ์ การศกึษาครัง้นีพ้บว่านกัศกึษาแพทย์ชายมอีตัราการเกิดปัญหาทางจิตเวช โรคทางจิตเวชและปัญหาบุคลิกภาพสูงกว่าเพศหญิงอย่างมีนัยส�าคัญทางสถิติเพศชายมโีอกาสเกดิโรคทางจติเวชสงูกว่าเพศหญงิถงึ1.7 เท่า และโอกาสเกิดปัญหาบุคลิกภาพสูงกว่าเพศหญงิถงึ2.6เท่าการทีน่กัศกึษาแพทย์ชายมปัีญหามากกว่านักศึกษาแพทย์หญิงอาจเกิดจากนักศึกษาแพทย์ชายมีปัญหาบุคลิกภาพ ท�าให้ความสามารถในการปรับตัวน้อยกว่านักศึกษาแพทย์หญิง จึงเกิดความเครียดและโรคทางจิตเวชได้บ่อยกว่าสอดคล้องกับการศกึษาอืน่ๆพบเช่นเดยีวกนัว่านกัศกึษาแพทย์เพศชายมีปัญหาทางจิตเวชมากกว่าเพศหญิง3-6,12 นักศึกษาแพทย์ส่วนใหญ่เริ่มต้นมีปัญหาจิตเวชขณะก�าลังศึกษาอยู่ระหว่างชั้นปีที่2อายุ20-21ปีสาเหตุอาจเกิดจากการนักศึกษาแพทย์ต้องปรับตัวหลายด้านในชั้นปีนี้เนือ่งจากเนือ้หาวชิาการและเวลาเรยีนมากกว่าชัน้ปีที่1อย่างมากทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ และการสอบบ่อย ท�าให้ขาดการพักผ่อน กิจกรรมผ่อนคลายและการออกก�าลังกาย นอกจากนี้ยังต้องปรับตัวในเรื่องสถานที่เรียนและที่อยู่อาศัยในชั้นปีที่3แม้จะมีเนื้อหาการเรียนมากเช่นกัน แต่นักศึกษาแพทย์ส่วนใหญ่เริ่มปรับตัวได้แล้ว ความเครียดจะเพิ่มขึ้นอีกครั้งใน

ชั้นปีที่ 4 เนื่องจากต้องปรับตัวต่อการเรียนชั้นคลินิกต ้องปฏิบัติงานกับผู ้อื่นในหอผู ้ป ่วย เช ่น ผู ้ป ่วยญาตผิูป่้วยอาจารย์แพทย์รุน่พี่พยาบาลและบคุลากรทางการแพทย์อื่นๆ จ�าเป็นต้องใช้ทักษะสังคมในการตดัสนิใจควบคมุตนเองและปฏบิตัติามระเบยีบรวมทัง้การฝึกทกัษะทางคลนิกิการสมัภาษณ์และตรวจร่างกายผู้ป่วย การตรวจทางห้องปฏิบัติการและเขียนรายงานผู ้ป่วย กิจกรรมต่างๆ เหล่านี้ท�าให้นักศึกษาแพทย์หลายคนเกิดความเครียด หรือกระตุ ้นให้ป่วยเป็นโรคซมึเศร้าการศกึษาอืน่ๆ2-4,13-15ได้ผลสอดคล้องกนัว่านกัศกึษาแพทย์ชัน้ปีที่2และปีที่4มโีอกาสเกดิปัญหาทางจิตเวชได้สูงกว่าชั้นปีอื่นๆ การป้องกันปัญหาทางจติเวชจงึควรเริม่ต้นตัง้แต่ชัน้ปีที่2และมรีะบบคดักรองปัญหาจิตเวชในชั้นปีที่2-4เพื่อค้นหาผู้ป่วยทางจิตเวชได้อย่างรวดเร็ว การศึกษานี้พบว่านักศึกษาแพทย์ร้อยละ 45ที่มีป ัญหาทางจิตเวชถูกส่งมาพบหน่วยบริการให้ค�าปรึกษาโดยอาจารย์ที่ปรึกษาการที่นักศึกษาแพทย์จ�านวนมากไม่มารับบริการด้วยตนเอง อาจเกิดจากนักศึกษาไม่ได้รู้สึกว่าเป็นปัญหา โดยเฉพาะถ้าปัญหานั้นเกิดจากบุคลิกภาพของตนเอง หรือไม่มั่นใจว่าการมาพบจติแพทย์อาจเกดิผลเสยีต่อตนเองเช่นเดยีวกบัการศึกษาของวินิทรา นวลละออง16 ที่พบว่าเกือบ

Page 8: Psychiatric Disorders and Personality Problems in Medical ... · องค์การอนามัยโลก (icd-10)10 ได้รับการรักษาทาง จิตเวช

โรคทางจิตเวชและปัญหาบุคลิกภาพที่พบในนักศึกษาแพทย์ศิริราช : ศึกษาย้อนหลัง 26 ปี

พนม เกตุมาน และคณะ

วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทยปีท่ี 57 ฉบับท่ี 4 ตุลาคม - ธันวาคม 2555434

ครึง่หนึง่ของนกัศกึษาแพทย์ทีม่ปัีญหาจติเวชจะไม่กล้าปรึกษาอาจารย์ สาเหตุเกิดจากความไม่มั่นใจว่ามีการบนัทกึประวตัแิละอาจมผีลเสยีต่อการท�างานในอนาคตระบบการให้ค�าปรกึษาจงึควรให้ความมัน่ใจแก่นกัศกึษาแพทย์ว่ามกีารเกบ็รกัษาความลบัอย่างดีและจะไม่เกดิผลเสียต่อตนเองในอนาคต เพื่อให้นักศึกษาแพทย์มารับบริการมากขึ้น อัตราการเกิดโรคทางจิตเวชในการศึกษานี้พบ8.4คนต่อพนัคนต่อปีสงูกว่าการศกึษาในนกัศกึษาแพทย์ที่มารับบริการให้ค�าปรึกษาของหน่วยบริการให้ค�าปรึกษา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลปีการศึกษา 2533 ที่พบว่ามีนักศึกษาแพทย์ป่วยทางจิตเวชเพียง 1.08 ต่อพันคนต่อปี5 และรายงานหน่วยบริการให้ค�าปรึกษา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลปี2544ทีพ่บว่านกัศกึษาแพทย์ทีม่ารบับรกิารให้ค�าปรึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2516-2542มีอัตราป่วยโรคทางจิตเวชเฉลี่ย 2.9ต่อพันคนต่อปี6 แต่อัตราการเกิดโรคครั้งนี้ยังต�่ากว่าการศึกษาที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่พบนักศึกษาแพทย์ป ่วยเป ็นโรคทางจิตเวช 17.9 คนต่อพันต่อปี3,4 ที่เป็นเช่นนี้อาจเกิดจากความแตกต่างกันของเกณฑ์การวินิจฉัยโรคหรือนักศึกษาแพทย์ศิริราชที่ป่วยทางจิตเวชจ�านวนมากหลบเลีย่งไม่ได้มารบับรกิารหรอืไปรบับรกิารทีอ่ืน่ท�าให้ได้อัตราการพบโรคต�่ากว่าความเป็นจริง โรคทางจติเวช(axisIdiagnosis)ทีพ่บบ่อยทีส่ดุคือ adjustmentdisordersพบจ�านวน107คนหรือร้อยละ41.5ของโรคทางจติเวชทัง้หมดอตัราการเกดิโรค3.4คนต่อพนัคนต่อปีโรคนีเ้กดิจากปรบัตวัต่อสิง่เร้าหรอืการเปลี่ยนแปลงในชีวิตพบได้บ่อยในชั้นปีที่2ซึ่งเป็นปีแรกของการเรยีนทีค่ณะแพทยศาสตร์ศริริาชพยาบาลเวลาเรียนและเนื้อหาการเรียนจะมากขึ้นกว่าปีที่ 1ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ การสอบบ่อยขึ้น ท�าให้มีเวลาพักผ่อนน้อย ความเครียดในนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 2 และปีที่ 3 จึงสูงกว่าชั้นปีอื่น และท�าให้เกิดโรคนี้ได้ง่ายมีอาการเครียดกังวล ซึมเศร้า เบื่อหน่าย

หมดก�าลังใจ สมาธิและความจ�าเสียไปหงุดหงิดง่ายหรือแสดงออกเป็นพฤติกรรมอื่นๆอาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นไม่นานหลังจากเผชิญกับความเครียดแต่จะค่อยๆหายจนเป็นปกติเหมือนเดิมภายในเวลาประมาณ6-12เดือน การหายเร็วหรือช้า ขึ้นอยู่กับความสามารถในการปรับตัว หรือพื้นฐานบุคลิกภาพเดิม โรคนี้มีความรุนแรงน้อยส่วนใหญ่จะดีขึ้นจนเป็นปกติสามารถเรียนได้จนส�าเรจ็การศกึษาแต่การรกัษาอย่างรวดเรว็จะช่วยให้อาการดีขึ้นเร็วกว่า ลดความสูญเสียในหน้าที่และมคีวามสขุต่อการเรยีนและการด�าเนนิชวีติดงันัน้จงึควรมกีารป้องกันคดักรองและช่วยเหลอืในนักศกึษาแพทย์ที่เริ่มมีอาการเหล่านี้อย่างรวดเร็ว โรคทางจิตเวชที่พบเป็นอันดับสองในการศึกษาครัง้นีค้อืdepressiveepisodeพบว่ามนีกัศกึษาแพทย์ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าจ�านวน69คนคิดเป็นร้อยละ26.4ของโรคทางจิตเวชทั้งหมดหรืออัตราการเกิดโรค 2.2คนต่อพันคนต่อปีสอดคล้องกับการศึกษาของShaw17ที่พบปัญหาซึมเศร้าบ่อยในนักศึกษาแพทย์ และการศึกษาของDyrbye18เรื่องความเครียดและซึมเศร้าในนกัศกึษาแพทย์ในประเทศสหรฐัอเมรกิาและประเทศคานาดาพบว่านักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่สูงขึ้นจะมีความชุกของความเครียดและซึมเศร้ามากขึ้น จนท�าให้เกิดความทุกข์ทางจิตใจสูงกว่าคนทั่วไปวัยเดียวกัน โดยพบในเพศหญงิมากกว่าเพศชายนอกจากนีม้กีารศกึษาที่แสดงว่า ความเครียดจากการเผชิญประสบการณ์ที่ขมขื่นจากอาจารย์หรือผู้ร่วมงานเป็นเหตุกระตุ้นให้เครียดและซึมเศร้าได้19 โรคซึมเศร้าที่พบในการศึกษาครั้งนี้ส่วนใหญ่เริ่มมีอาการในชั้นปีที่ 2 หรือปีที่ 3 ซึ่งมีการเรียนและการสอบเป็นตัวกระตุ ้นให้นักศึกษาแพทย์มคีวามเครยีดอาการของโรคมกัมผีลต่อการเรยีนเกดิความผดิพลาดในการปฏบิตังิานหรอืเบือ่หน่ายชวีติรู้สึกไร้ค่าจนคิดฆ่าตัวตายในการศึกษานี้พบนักศึกษาแพทย์หนึ่งคนที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าแบบรุนแรง และไม่ร่วมมอืในการรกัษาจนอาการมากขึน้และฆ่าตวัตายส�าเร็จขณะก�าลังศึกษาในชั้นป ีที่ 3 การป ้องกัน

Page 9: Psychiatric Disorders and Personality Problems in Medical ... · องค์การอนามัยโลก (icd-10)10 ได้รับการรักษาทาง จิตเวช

Psychiatric Disorders and Personality Problems in Medical Students at Faculty of Medicine, Siriraj Hospital, Years 1982-2007

Panom Ketumarn et al.

J Psychiatr Assoc ThailandVol. 57 No. 4 October - December 2012 435

การฆ่าตัวตายเป็นเรื่องที่ส�าคัญและควรเฝ้าระวังอย่างมากในการช่วยเหลือนักศึกษาแพทย์ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า การรักษาโรคซึมเศร้าในนักศึกษาแพทย์พบว่ามีอุปสรรคหลายประการ เช่น นักศึกษาแพทย์จะมีความเครียดอย่างต่อเนื่องจากการเรียนและการสอบ ขาดเวลาผ่อนคลาย ไม่ได้พักผ่อนเพียงพอและการรักษาที่ไม่ต่อเนื่องท�าให้การพยากรณ์โรคไม่ดีเหมือนวัยผู้ใหญ่ การศึกษาครั้งนี้พบว่าโรคทางจิตเวชอื่นๆ เช่นโรคประสาทวติกกงัวล(generalizedanxietydisorder)มีอัตราการเกิด 0.16 คนต่อพันคนต่อปี น้อยกว่าการศกึษาอืน่เช่นนกัศกึษาแพทย์มหาวทิยาลยัขอนแก่น3ที่พบอัตราการเกิดโรคถึง 11.9ต่อพันต่อปี โรคจิตเภทพบว่าอัตราการเกิด 0.3 คนต่อพันคนต่อปี ต�่ากว่ารายงานที่นายแพทย์ สุชาติ พหลภาคย์ ศึกษาในนักศึกษาแพทย์มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่พบอัตราการเกิดโรคถึง1.6ต่อพันต่อปี3โรคนี้แม้จะพบน้อยกว่าโรคอื่นๆ แต่มีผลต่อการเรียนอย่างมาก เป็นสาเหตุทีท่�าให้ไม่ส�าเรจ็การศกึษาสงูทีส่ดุตลอด26ปีทีผ่่านมานักศึกษาแพทย์ที่ป่วยเป็นโรคนี้9คนส�าเร็จการศึกษาได้เพียง 3 คน (ร้อยละ 33.3) เท่านั้น แตกต่างจากadjustment disorders และ depressive episodeที่พบอัตราการส�าเร็จการศึกษาสูงถึงร้อยละ98.1และ89.4ตามล�าดับ การศึกษาครั้งนี้พบว่าในจ�านวนผู้ป่วยเป็นโรคทางจติเวชในแกนที่1(axisIdiagnosis)จ�านวน258คนนัน้มปัีญหาบคุลกิภาพร่วมด้วยถงึ137คนคดิเป็นร้อยละ53.1แสดงว่าปัญหาบคุลกิภาพน่าจะมคีวามสมัพนัธ์กบัการป่วยโรคทางจติเวชอย่างมากโดยอาจเป็นปัจจยัเสี่ยงที่ท�าให้นักศึกษาแพทย์ป่วยทางจิตเวช เนื่องจากปัญหาบุคลิกภาพมักท�าให้เกิดปัญหาในการปรับตัวเกิดความกังวลและอารมณ์ซึมเศร้าได้ง่ายเมื่อเผชิญกบัชวีติการเรยีนแพทย์ทีม่คีวามเครยีดสงูมพีฤตกิรรมที่ไม่เหมาะสมเช่นขาดเรยีนขาดความรบัผดิชอบท�างานผิดพลาดมีปัญหาการเรียนและการปฏิบัติงาน และ

ท�าให้เกิดโรคทางจิตเวชได้ง่าย การศึกษาอื่นพบว่านกัศกึษาแพทย์ทีป่่วยทางจติเวชมกัมปัีญหาบคุลกิภาพแบบพึ่ งพาคนอื่น 4 ป ัญหาบุคลิกภาพที่พบบ ่อยในนักศึกษาแพทย์ ได้แก่ย�้าคิดย�้าท�า7 เคร่งเครียดกับสิ่งที่รับผิดชอบ ไม่พอใจในสิ่งที่ตนเองมีอยู่20มีปัญหารูปแบบการคิดที่ไม่เหมาะสม21 เก็บกดและมีความวิตกกังวลสูง22ท�าให้ขาดการด�าเนินชีวิตที่ผ่อนคลายเกดิความเครยีดและปัญหาการเรยีนปัญหาบคุลกิภาพเหล ่านี้น ่าจะเกิดในนักศึกษาแพทย์ก ่อนเริ่มต ้นการศึกษาและเป็นปัจจัยเสี่ยงประการหนึ่งที่ท�าให้เกิดโรคทางจิตเวชการศึกษาครั้งนี้พบอัตราการเกิดปัญหาบุคลิกภาพทั้งหมด 6.1 คนต่อพันคนต่อปี ส่วนใหญ่จะมีพฤติกรรมหลบเลี่ยงปัญหา ไม่รับผิดชอบ เป็นเดก็กว่าวยัละเมดิกฎเกณฑ์ขาดเรยีนขาดการปฏบิตังิานและมักจะแก้ไขได้ยาก เนื่องจากตนเองไม่เห็นเป็นปัญหา ไม่ได้อยากแก้ไข บุคลิกภาพเหล่านี้จึงมักจะติดตัวต่อไปตลอดชีวิต การช่วยเหลืออาจท�าได้ในรายทีม่ปัีญหาบคุลกิภาพไม่มากเช่นผูเ้ป็นpersonalitytraitที่ยอมรับและอยากพัฒนาตนเอง การฝึกทักษะสังคมในระหว่างการศึกษาอาจช่วยแก้ไขปัญหาพฤติกรรมเหล่านี้ได้ ข้อจ�ากัด การศึกษาครั้งนี้มีข้อจ�ากัดหลายอย่าง ได้แก่รูปแบบการศึกษาย้อนหลังในช่วงระยะเวลานานระยะหนึ่ง ซึ่งในการค้นหาไม่สามารถรวบรวมข้อมูลจากบนัทกึประวตัไิด้ครบถ้วนและไม่สามารถตดิตามข้อมลูได้ทกุรายเนือ่งจากขาดระบบการบนัทกึข้อมลูทีต่่อเนือ่งข้อมูลส�าคัญบางส่วนไม่ได้มีการบันทึกไว้ตามหัวข้อในแบบฟอร์มการเก็บข้อมูลหรือมีการสูญหายของบันทึกข้อมูลบางส่วน ดังนั้นระบบการช่วยเหลือควรมีการบันทึกข้อมูลอย่างเป็นระบบ เพื่อให้สามารถศึกษาวิจัยย้อนหลังได้อย่างมีประสิทธิภาพนอกจากนี้การวินิจฉัยโรคหรือปัญหาบุคลิกภาพมีหลายระบบซึ่งอาจมีความแตกต่างกันในการลงบันทึกวินิจฉัย และการเก็บข้อมูล

Page 10: Psychiatric Disorders and Personality Problems in Medical ... · องค์การอนามัยโลก (icd-10)10 ได้รับการรักษาทาง จิตเวช

โรคทางจิตเวชและปัญหาบุคลิกภาพที่พบในนักศึกษาแพทย์ศิริราช : ศึกษาย้อนหลัง 26 ปี

พนม เกตุมาน และคณะ

วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทยปีท่ี 57 ฉบับท่ี 4 ตุลาคม - ธันวาคม 2555436

นักศึกษาแพทย์ที่มีปัญหาสุขภาพจิตจะได้เฉพาะจากนักศึกษาแพทย์ที่เข้ามารับบริการที่หน่วยให้ค�าปรึกษาเท่านั้นอาจมีนักศึกษาแพทย์บางคนที่มีปัญหาสุขภาพจิตแต่ไม่ได้เข้ารับบริการ

ข้อเสนอแนะ 1. การส่งเสรมิระบบการช่วยเหลอืนกัศกึษาแพทย์ที่มีปัญหาทางจิตเวช นักศึกษาแพทย์ที่มีป ัญหาทางจิตเวชเพียงครึ่งหนึ่งมาพบปรึกษาด้วยตนเอง แสดงว่านักศึกษาแพทย์จ�านวนมากยงัมทีศันคตไิม่ดต่ีอการให้ค�าปรกึษาเช่นไม่มั่นใจในการเก็บรักษาความลับ16ไม่ต้องการให้มีการบันทึกประวัติและข้อมูลหรือไม่ต้องการให้คนอื่นรู ้ว่ามาปรึกษาปัญหาทางจิตใจ ระบบการช่วยเหลือนักศึกษาแพทย์ที่มีป ัญหาสุขภาพจิตจึงควรเน ้นการประชาสมัพนัธ์หน่วยบรกิารให้ค�าปรกึษาแนะน�าแก่นักศึกษาแพทย์ครอบครัว ให้ความรู้ ให้ความมั่นใจในการเก็บรักษาความลับ และมีทัศนคติที่ดี ยอมรับการช่วยเหลือทางจิตเวช ให้ความรู้แก่เพื่อช่วยตรวจคัดกรอง ประเมินปัญหาสุขภาพจิตตั้งแต่ชั้นปีที่ 2เนือ่งจากเป็นชัน้ปีทีเ่ริม่ต้นมปัีญหามากทีส่ดุการส่งพบจติแพทย์ควรให้เกดิความเชือ่มัน่ในระบบการช่วยเหลอืและส่งต่ออย่างรวดเรว็นกัศกึษาแพทย์ร้อยละ45มารบับริการโดยอาจารย์ที่ปรึกษาแนะน�าแสดงว่าอาจารย์ที่ปรึกษาจ�านวนมากสามารถค้นพบผู้ที่เริ่มมีปัญหาและส่งต่อเข้าสู่ระบบการช่วยเหลือได้อย่างรวดเร็ว โรคทางจติเวชทีพ่บส่วนใหญ่มกัมปัีญหาการเรยีนเป็นตวักระตุน้หรือสาเหตุ และอาการของโรคทางจิตเวชก็ท�าให้เกิดความเครียดซึมเศร้า ขาดสมาธิ ความจ�าความตั้งใจเรียนลดลงท�าให้มีปัญหาการเรียนดังนั้นผลการเรียนที่ไม่ดีจึงเป็นสัญญาณเตือนให้อาจารย์เฝ้าระวังปัญหาทางจิตเวช รีบประเมินสุขภาพจิตหรือส่งต่อมาพบหน่วยบริการให้ค�าปรึกษาเพื่อประเมินปัญหา และช่วยเหลืออย่างรวดเร็วอาจารย์ที่ปรึกษาจึงควรมีความใกล้ชิดนักศึกษาแพทย์ เมื่อเห็นผลการเรียนที่ต�่าลง

ควรพูดคุยเพื่อหาสาเหตุ ถ้าพบว่ามีอาการเครียดหรือซึมเศร้า ควรแนะน�าให้มารับการปรึกษาโดยเร็วเนื่องจากปัญหาสุขภาพจิตที่ไม่ได้รับการแก้ไขมักรบกวนการเรียนและการด�าเนินชีวิตอย่างมาก และอาจกลายเป็นโรคทางจิตเวชเรื้อรัง ซึ่งรักษาได้ยากในภายหลงันอกจากนีค้วรเฝ้าระวงันกัศกึษาแพทย์เพศชายซึง่พบอตัราการเกดิโรคทางจติเวชและปัญหาบคุลกิภาพสูงกว่าเพศหญิง 2. การป้องกันโรคซึมเศร้า ควรมีระบบคัดกรองโรคซึมเศร้าตั้งแต่ชั้นปีที่ 2หรือ 3 เพื่อค ้นหานักศึกษาแพทย์ที่ป ่วยและให้การรักษาอย่างรวดเร็ว โรคนี้พบบ่อย การรักษามักมีอุปสรรคเนื่องจากนักศึกษาแพทย์มีความเครียดอย่างต่อเนือ่งจากการเรยีนและการสอบขาดเวลาผ่อนคลายและไม่ได้พักผ่อนเพียงพอ อาการของโรคอาจรุนแรงจนถึงขั้นท�าร้ายตนเอง หรือฆ่าตัวตาย อย่างไรก็ตามโรคนีม้กีารพยากรณ์ดีสามารถรกัษาหายได้เหมอืนเดมิความเครยีดทีเ่ป็นตวักระตุน้ให้เกดิและรบกวนการรกัษาโรคนี้สามารถป้องกนัได้โดยการปรบัหลกัสตูรการเรยีนในชั้นปีที่ 2- 3 กระจายเนื้อหาวิชาการหรือลดเนื้อหาบางวิชาในชั้นปีที่ 2 เพิ่มเวลาว่างเพื่อให้นักศึกษาได้พักผ่อนมีกิจกรรมผ่อนคลายสร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน เสริมสร้างทักษะในการจัดการและแก้ไขปัญหาความเครยีดมกีจิกรรมเพือ่จดัการกบัความเครยีด23และพัฒนาบุคลิกภาพตนเอง

สรุป ผู ้ วิ จัยได ้ศึกษาย ้อนหลังนักศึกษาแพทย์คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ที่มารับบริการการให้ค�าปรึกษา ตั้งแต่ปีการศึกษา 2525 ถึงปีการศกึษา2550พบว่าจ�านวนนกัศกึษาแพทย์ทีไ่ด้รบับรกิารให้ค�าปรึกษาทั้งหมด 338 คน มีปัญหาทางจิตเวช307 คน (ร ้อยละ 90.8) ส ่วนใหญ่เป ็นเพศชาย(ร้อยละ69)เริม่ต้นพบปัญหาในชัน้ปีที่2(ร้อยละ32.8)ภูมิล�าเนาอยู ่ ในกรุงเทพมหานครหรือปริมณฑล

Page 11: Psychiatric Disorders and Personality Problems in Medical ... · องค์การอนามัยโลก (icd-10)10 ได้รับการรักษาทาง จิตเวช

Psychiatric Disorders and Personality Problems in Medical Students at Faculty of Medicine, Siriraj Hospital, Years 1982-2007

Panom Ketumarn et al.

J Psychiatr Assoc ThailandVol. 57 No. 4 October - December 2012 437

(ร ้อยละ 65) ฐานะทางเศรษฐกิจระดับปานกลาง(ร้อยละ54)และมาขอรบับรกิารด้วยตนเอง(ร้อยละ50.3)พบอัตราการป่วยโรคทางจิตเวช8.4คนต่อพันคนต่อปีอัตราการเกิดปัญหาบุคลิกภาพ6.1คนต่อพันคนต่อปีโรคทางจิตเวชที่พบบ่อย คือ โรคทางจิตเวชเนื่องจากการปรับตัว (adjustmentdisorders)และโรคซึมเศร้า(depressiveepisode)มอีตัราการเกดิโรค3.4และ2.2คนต่อพันคนต่อปี ตามล�าดับปัญหาบุคลิกภาพที่พบบ่อยที่สุด คือ other specific personality trait anddisordersและanxious(avoidant)personalitytraitanddisorderมีอัตราการเกิด2.8และ1คนต่อพันคนต่อปีตามล�าดับนักศึกษาแพทย์ที่มีโรคทางจิตเวชและปัญหาบคุลกิภาพร้อยละ89.6ส�าเรจ็การศกึษาโรคทางจิตเวชและปัญหาบุคลิกภาพพบได้บ่อยในนักศึกษาแพทย์ที่มารับบริการให้ค�าปรึกษาควรให้ความส�าคัญและมีแนวทางป้องกัน เสริมสร้างสุขภาพจิตคัดกรองค้นหาผู้ที่มีปัญหา ช่วยเหลือฟื้นฟูอย่างรวดเร็ว และติดตามอย่างต่อเนื่องจนกว่าจะส�าเร็จการศึกษา

กิตติกรรมประกาศ คณะผูว้จิยัขอขอบพระคณุศ.คลนิกินพ.ธรีวฒัน์กุลทนันทน์ ศ.คลินิก นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาธรอดตีคณบดคีณะแพทยศาสตร์ศริริาชพยาบาลศ.คลนิกินพ.อุดม คชินทร คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลที่อนุญาตให้ท�าการวิจัยและเผยแพร่ผลงานวิจัยครั้งนี้ ขอบพระคุณ รศ.นพ.ปรีชา สุนทรนันทน์ผศ.ดร.พญ.สุนันทา ฉันทกาญจน์ อดีตรองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาที่อนุญาตให้ศึกษาบันทึกข้อมูลและรายงานของส�านักงานรองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา อาจารย์จิตแพทย์และนักจิตวิทยาทุกท่านที่ช่วยให้ค�าปรึกษาแนะน�าแก่นักศึกษาแพทย์ และนางสาวนราทิพย์ สงวนพานิชนักสถิติที่ช่วยวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ

เอกสารอ้างอิง1. Ngamthipwattana T, Phattharayuttawat S,

ChalermchainukuM. Stress and problemsolving styles of the third-year medicalstudentsatFacultyofMedicineSirirajHospital.Journal of the Psychiatric Association ofThailand2000;45:59-69.

2. Thurakitvannakarn V. Mental health ofSrinakharinwirotUniversitymedicalstudents.Journal of the Psychiatric Association ofThailand1997;42:88-100.

3. Paholpak S, Rangsipramkul S. PsychiatricillnessesamongKhonKaenUniversitymedicalstudents.SirirajMedJ1987;39:75-9.

4. SuparatpinyoS.PsychiatricproblemsamongKhonKaenUniversity students. Journal ofthePsychiatricAssociationofThailand1984;34:91-101.

5. Chantaruj ikapong S, Loysangarun R,RatanapraphaphunC.Medicalstudentswhoutilized services of SirirajMedical Faculty’scounselingunitduringacademicyear1990.Journal of the Psychiatric Association ofThailand1991;36:145-55.

6. Ketumarn P, Kulthanun T, Thongtang O.Medical students who utilized counselingservicesatFacultyofMedicineSirirajHospital1973-1999.Reportofcounselingservicesunit,FacultyofMedicineSirirajHospital2001.

7. LloydC,GartrellNK.Psychiatric symptomsinmedicalstudents.CompPsychiatry1984;25:552-65.

Page 12: Psychiatric Disorders and Personality Problems in Medical ... · องค์การอนามัยโลก (icd-10)10 ได้รับการรักษาทาง จิตเวช

โรคทางจิตเวชและปัญหาบุคลิกภาพที่พบในนักศึกษาแพทย์ศิริราช : ศึกษาย้อนหลัง 26 ปี

พนม เกตุมาน และคณะ

วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทยปีท่ี 57 ฉบับท่ี 4 ตุลาคม - ธันวาคม 2555438

8. BjorkstenO,SutherlandS,MillerC,StewartT.Identificationofmedicalstudentproblemsandcomparisonwiththoseofotherstudents.JMedEduc1983;58:759-67.

9. AmericanPsychiatricAssociation.Diagnosticandstatisticalmanualofmentaldisorders,4thed.Washington,D.C.:AmericanPsychiatricAssociation;1994.

10. World Health Organization. The ICD-10classification of mental and behaviouraldisorder:Clinicaldescriptionsanddiagnosticguidelines.Geneva:WorldHealthOrganization;1992.

11. SPSS2003.Availableathttp://www.spss.com.AccessedOct20,2007.

12. KrisK.Distressprecipitatedbypsychiatrictraining among medical students. Am JPsychiatry1986;143:1432-5.

13. Ausavarungnirun R,WangwivatjaroenW.StressofSrinakharinvirotUniversityMedicalStudents.Vajiramedicaljournal1993;37:113-8.

14. RakkhajeekulS,KrisanaprakornkitT.MentalHealthSurveyinMedicalStudentsinKhonKaenUniversity.JournalofthePsychiatricAssociationofThailand2008;53:31-40.

15. SakunpongN.Mentalhealthandadjustmentproblems ofmedical students inNaresuanUniversity.JournalofthePsychiatricAssociationofThailand2008;53:369-76.

16. NuallaongW.Stress inmedical students ofThammasatUniversity. ThammasatMedicalJournal2010;10:95-102.

17. ShawDL,WeddingD, ZeldowPB. Suicideamongmedical students and physicians,special problems ofmedical students. In:WeddingD,ed.BehaviorandMedicine.3rded.Cambridge:HogrefeandHuber;2001:78-9.

18. Dyrbye LN, Thomas MR, Shanafelt TD.Systematic review of depression, anxiety,andotherindicatorsofpsychologicaldistressamongU.S.andCanadianmedicalstudents.AcadMed2006;81:354-73.

19. FrankE,CarreraJS,StrattonT,BickelJ,NoraLM.ExperiencesofbelittlementandharassmentandtheircorrelatesamongmedicalstudentsintheUnitedStates:longitudinalsurvey.BMJ2006;333:682-4.

20. Sukhatunga K, Phat tharayut tawat S,ChannarongP,LukumM,KriengtantiwongsS,SrivannaboonY, et al. 5 years study on 5thyearmedicalstudents’personality.JournalofthePsychiatricAssociationofThailand1989;34:181-92.

21. KienholzA,HritzukJ.Comparingstudentsinarchitectureandmedicine:Findingsfromtwonewmeasuresofcognitivestyle.PsychologicalReports1986;58:823-30.

22. OkashaA,KamelM,LotaifF,KhalilAH,BishryZ.Academic difficulty amongmale Egyptianuniversity students II. Associations withdemographicandpsychologicalfactors.BrJPsychiatry1985;146:144-50.

23. MichieS,SandhuS.Stressmanagementforclinicalmedical students.MedEduc 1994;28:528-33.