special กับการพัฒนาพลังงานสีเขียว เพื่อ...

5
>>> Technology 2010 Special Talk 010 February-March 2010, Vol.36 No.209 Technology Promotion Mag.. กองบรรณาธิการ สถานการณ์การขาดแคลนพลังงาน เป็นอีกหนึ่ง ปัญหาที่ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญ และเริ่มหาแหล่ง พลังงานทางเลือกอื่นทดแทน ในขณะที่ประเทศไทยเองก็ มิได้นิ่งนอนใจ โดยในแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง ระยะที่ 2 (stimulus package 2) ได้วางกรอบในการดำเนินงานระยะ 3 ปี (พ.ศ.2553-2555) ในเรื่องที่ว่าด้วยการสร้างความ มั่นคงในด้านอาหารและพลังงาน โดยเฉพาะการแสวงหา อุตสาหกรรม กฟผ. กับการพัฒนาพลังงานสีเขียว เพื่อ พลังงานไฟฟ้าที่ภาคอุตสาหกรรมต้องการ ประกอบด้วย ปัจจัยที่สำคัญ 3 ประการ คือ ต้องมีความมั่นคง ราคาทีเหมาะสม และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ดังนั้นภารกิจของ กฟผ. คือ การมุ่งมั่นผลิตพลังงานไฟฟ้าที่มีความมั่นคง ในราคาที่ไม่แพง และโรงไฟฟ้าที่ผลิตจะต้องเป็นโรงไฟฟ้าทีสะอาด เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม คุณสมบูรณ์ อารยะสกุล รองผู้ว่าการพัฒนา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

Upload: others

Post on 03-Nov-2019

5 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: Special กับการพัฒนาพลังงานสีเขียว เพื่อ อุตสาหกรรม · โรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ขนาด

>>>

Technology

2010

Specia

l Talk

February-March 2010, Vol.36 No.209 ● 011010 ● February-March 2010, Vol.36 No.209 Technology Promotion Mag.. Technology Promotion Mag.. February-March 2010, Vol.36 No.209 ● 011010 ● February-March 2010, Vol.36 No.209 Technology Promotion Mag.. Technology Promotion Mag..

กองบรรณาธิการ

สถานการณ์การขาดแคลนพลังงาน เป็นอีกหนึ่ง

ปัญหาที่ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญ และเริ่มหาแหล่ง

พลังงานทางเลือกอื่นทดแทน ในขณะที่ประเทศไทยเองก็

มิได้นิ่งนอนใจ โดยในแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง ระยะที่ 2

(stimulus package 2) ได้วางกรอบในการดำเนินงานระยะ

3 ปี (พ.ศ.2553-2555) ในเรื่องที่ว่าด้วยการสร้างความ

มั่นคงในด้านอาหารและพลังงาน โดยเฉพาะการแสวงหา

อุตสาหกรรม

กฟผ. กับการพัฒนาพลังงานสีเขียว

เพื่อ

พลังงานไฟฟ้าที่ภาคอุตสาหกรรมต้องการ ประกอบด้วย

ปัจจัยที่สำคัญ 3 ประการ คือ ต้องมีความมั่นคง ราคาที่

เหมาะสม และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ดังนั้นภารกิจของ

กฟผ. คือ การมุ่งมั่นผลิตพลังงานไฟฟ้าที่มีความมั่นคง

ในราคาที่ ไม่แพง และโรงไฟฟ้าที่ผลิตจะต้องเป็นโรงไฟฟ้าที่

สะอาด เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

คุณสมบูรณ์ อารยะสกุล

รองผู้ว่าการพัฒนา

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

Page 2: Special กับการพัฒนาพลังงานสีเขียว เพื่อ อุตสาหกรรม · โรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ขนาด

February-March 2010, Vol.36 No.209 ● 011010 ● February-March 2010, Vol.36 No.209 Technology Promotion Mag.. Technology Promotion Mag..

>>>

Technology

2010

Specia

l Talk

February-March 2010, Vol.36 No.209 ● 011010 ● February-March 2010, Vol.36 No.209 Technology Promotion Mag.. Technology Promotion Mag..

แหล่งพลังงานทางเลือก และพลังงานทดแทน เข้ามาผสม

ผสานกับพลังงานหลักที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน หนึ่งในพลังงาน

ทางเลือกที่มีการกล่าวถึงกันอย่างกว้างขวาง คือ พลังงาน

ลม และพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นพลังงานสะอาด แต่จะ

มีความมั่นคง และราคาถูกหรือไม่ นั่นคือปัญหา...?

เพื่อให้ได้รับทราบข้อมูลในเชิงลึก กองบรรณาธิการ

ได้รับเกียรติจาก คุณสมบูรณ์ อารยะสกุล รองผู้ว่าการพัฒนา

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ในการให้ข้อมูล

เกี่ยวกับสถานการณ์ความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าของ

ประเทศไทย รวมถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต หากยัง

ไม่มีแผนที่ชัดเจนในการพัฒนาพลังงานไฟฟ้าของประเทศ

สถานการณ์ความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้า

จากสถิติความต้องการใช้พลังงานในสาขาต่าง ๆ นับ

ตั้งแต่ปี พ.ศ.2548 เป็นต้นมา ส่วนใหญ่จะใช้ในภาค

อุตสาหกรรม ประมาณ 44 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาเป็นภาค

ธุรกิจ ประมาณ 24 เปอร์เซ็นต์ บ้านและที่อยู่อาศัย

ประมาณ 21 เปอร์เซ็นต์ ที่เหลือเป็นความต้องการของสาขา

อื่น ๆ และเกษตรกรรม

หากพิจารณาจากสถิติจะพบว่า ความต้องการพลังงาน

ไฟฟ้าขึ้นอยู่กับการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจของประเทศไทย

โดยในปี พ.ศ.2552 อัตราการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย

เป็นผลมาจากภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ สำหรับในปี พ.ศ.

2553 หากเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวตามที่คาดการณ์ ภาคอุต-

สาหกรรมจะมีความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น

เนื่องจากพลังงานไฟฟ้าที่ภาคอุตสาหกรรมต้องการ

ประกอบด้วยปัจจัยที่สำคัญ 3 ประการ คือ ต้องมีความ

มั่นคง ราคาที่เหมาะสม และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ดังนั้น

ภารกิจของ กฟผ. คือ การมุ่งมั่นผลิตพลังงานไฟฟ้าที่มีความ

มั่นคง ในราคาที่ไม่แพง และโรงไฟฟ้าที่ผลิตจะต้องเป็น

โรงไฟฟ้าที่สะอาด เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แต่ ณ ปัจจุบันนี้

ประเทศไทยยังคงใช้ก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้าสูงถึง

70 เปอร์เซ็นต์ของกำลังผลิตทั้งหมด รองลงมา คือ ถ่านหิน

จากภายในประเทศ 12 เปอร์เซ็นต์ และนำเข้าอีก 8 เปอร์เซ็นต์

ส่วนกระแสไฟฟ้าที่ได้จากพลังงานน้ำจากเขื่อนต่าง ๆ มีไม่

ถึง 5 เปอร์เซ็นต์ ที่เหลือเป็นการซื้อพลังงานไฟฟ้าจากประเทศ

เพื่อนบ้าน แม้ปัจจุบันจะมีปริมาณไม่มาก แต่ในอนาคตมี

แนวโน้มว่าจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ หากประเทศไทยยังไม่

สามารถพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานทางเลือกอื่น ๆ ได้เพียงพอ

ต่อความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น

นโยบายและแผนในการพัฒนาพลังงานไฟฟ้าจาก

แหล่งอื่น ๆ

กระทรวงพลังงานได้จัดทำแผนพัฒนาพลังงาน

ทดแทน 15 ปี (พ.ศ.2551-2565) ขึ้น เพื่อใช้เป็นกรอบใน

การพัฒนาพลังงานทดแทนของประเทศ โดยตั้งเป้าไว้ว่า จะ

ใช้พลังงานทดแทนในทุก ๆ ด้าน ทั้งการผลิตไฟฟ้า ผลิต

ความร้อน เชื้อเพลิงชีวมวล และ NGV ที่ 20.3 เปอร์เซ็นต์

Page 3: Special กับการพัฒนาพลังงานสีเขียว เพื่อ อุตสาหกรรม · โรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ขนาด

>>>

Technology

2010

Specia

l Talk

February-March 2010, Vol.36 No.209 ● 013012 ● February-March 2010, Vol.36 No.209 Technology Promotion Mag.. Technology Promotion Mag.. February-March 2010, Vol.36 No.209 ● 013012 ● February-March 2010, Vol.36 No.209 Technology Promotion Mag.. Technology Promotion Mag..

ประเภทพลังงาน ศักยภาพ Existing พ.ศ.2551-2554 พ.ศ.2555-2559 พ.ศ.2560-2565

แหล่งพลังงาน เมกะวัตต์ เมกะวัตต์ เมกะวัตต์ ktoe เมกะวัตต์ ktoe เมกะวัตต์ ktoe

แสงอาทิตย์ 50,000 32 55 6 95 11 500 56

พลังงานลม 1,600 1 115 13 375 42 800 89

พลังน้ำ 700 56 165 43 281 73 324 85

ชีวมวล 4,400 1,610 2,800 1,463 3,220 1,682 3,700 1,933

ก๊าซชีวภาพ 190 46 60 27 90 40 120 54

พลังงานขยะ 400 5 78 35 130 58 160 72

ไฮโดรเจน 0 0 0 0 3.5 1

รวม 1,750 3,273 1,587 4,191 1,907 5,608 2,290

ในส่วนของการผลิตไฟฟ้า คิดเป็น 2.4 เปอร์เซ็นต์

ของทั้งแผน หรือประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ ของการผลิต

กระแสไฟฟ้าทั้งหมด ทั้งนี้ในปี พ.ศ.2565 จะมีพลังงาน

ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนประมาณ 5,608 เมกะวัตต์

รวมกับที่มีอยู่เดิมแล้ว 1,750 เมกะวัตต์ หรือเท่ากับต้องติด-

ตั้งเพิ่มเติมในช่วง 15 ปีข้างหน้า อีกจำนวน 3,858 เมกะวัตต์

ที่มา: กระทรวงพลังงาน

อย่างไรก็ตามหากพิจารณาจากตัวเลข แม้ศักยภาพ

ในการผลิตกระแสไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ จะมีมากถึง 5,000

เมกะวัตต์ แต่นั่นเป็นตัวเลขที่ได้จากการประมวลผลทาง

คอมพิวเตอร์ในภาพรวมของประเทศ โดยยังไม่ได้พิจารณา

ถึงความเป็นไปได้ในการติดตั้งจริงในราย-

ละเอียด ซึ่งในส่วนของพลังงานหมุนเวียน

นั้น กฟผ.ได้สนองนโยบายรัฐบาลทั้งในการ

รับซื้อไฟฟ้าที่ผลิตจากเอกชน และที่ดำเนิน-

การผลิตเอง เช่น กังหันลม ที่อ่างเก็บน้ำ

ตอนบนของเขื่อนลำตะคอง ขนาด 2.5

เมกะวัตต์ ที่ทดลองเดินเครื่องแล้ว และ

โรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ขนาด 1 เมกะ-

วัตต์ ที่เขื่อนสิรินธร ซึ่งเปิดใช้งานอย่างเป็น

ทางการเมื่อ 30 พฤศจิกายน พ.ศ.2552

นอกจากนี้ยังมีโรงไฟฟ้าพลังแสง-

อาทิตย์ขนาด 500 กิโลวัตต์ที่จังหวัด

แม่ฮ่องสอน ส่วนโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำท้าย-

เขื่อนชลประทานนั้น กฟผ. กำลังดำเนินการติดตั้งกังหันเพื่อ

ผลิตไฟฟ้าสำหรับ 6 เขื่อน คือ เขื่อนเจ้าพระยา เขื่อนนเรศวร

เขื่อนแม่กลอง เขื่อนขุนด่านปราการชล เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

และเขื่อนแควน้อย กำลังผลิตรวม 78.7เมกะวัตต์ คาดว่าจะ

เปิดใช้งานในระหว่างปี พ.ศ.2553-2555

นอกจากนี้ กฟผ. กำลังดำเนินการระยะที่ 2 เพื่อติด

ตั้งกังหันลมที่อ่างเก็บน้ำตอนบนเขื่อนลำตะคอง โดยจะติด

ตั้งกังหันลมจำนวน 12 เครื่อง กำลังผลิต

รวม 18 เมกะวัตต์ ปัจจุบันอยู่ในระหว่าง

การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม นอกจาก

นี้ กฟผ. กำลังจัดทำแผนพัฒนาพลังงาน

หมุนเวียน โดยร่วมมือกับนักวิชาการใน

มหาวิทยาลัยโดยใช้ระยะเวลาในการศึกษา

ประมาณ 9 เดือน ปัจจุบันอยู่ระหว่างการ

ดำเนินการ และคาดว่าจะมีผลบังคับใช้

ประมาณ กลางปี พ.ศ.2553

ลม แสงอาทิตย์ แหล่งพลังงาน

สะอาด แต่...

การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานต่างชนิด

กัน มีข้อดี - ข้อด้อย แตกต่างกัน เช่น การใช้พลังงานลมและ

แสงอาทิตย์ จะมีข้อจำกัดในเรื่องของการใช้พื้นที่จำนวน

มากต่อการติดตั้งกำลังผลิตไฟฟ้าเท่ากัน เช่น โรงไฟฟ้า

Page 4: Special กับการพัฒนาพลังงานสีเขียว เพื่อ อุตสาหกรรม · โรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ขนาด

February-March 2010, Vol.36 No.209 ● 013012 ● February-March 2010, Vol.36 No.209 Technology Promotion Mag.. Technology Promotion Mag..

>>>

Technology

2010

Specia

l Talk

February-March 2010, Vol.36 No.209 ● 013012 ● February-March 2010, Vol.36 No.209 Technology Promotion Mag.. Technology Promotion Mag..

พลังงานความร้อนใช้พื้นที่ประมาณ 1 ไร่ ต่อ 1 เมกะวัตต์

กังหันลม 52 ไร่ต่อ 1 เมกะวัตต์ แสงอาทิตย์ 25 ไร่ต่อ 1

เมกะวัตต์ นอกจากนี้พื้นที่ที่ติดตั้งกังหันลมได้ ส่วนใหญ่อยู่

บนเขาซึ่งเป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำ มีข้อจำกัดในด้านการขอใช้พื้นที่

ทำให้มีต้นทุนการผลิตสูง เช่น ลมมีต้นทุนประมาณ 5-6

บาทต่อหน่วย แสงอาทิตย์มีต้นทุนประมาณ 15-20 บาทต่อ

หน่วย จึงทำให้รัฐบาลนำเงินจากผู้ใช้ไฟทุกคนมาอุดหนุน

เทคโนโลยีเหล่านี้ ในขณะที่ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน และ

นิวเคลียร์ มีต้นทุนไม่เกิน 3 บาทต่อหน่วย ทั้งนี้กังหันลมยัง

มีข้อจำกัดคือ จะหมุนหรือไม่ขึ้นอยู่กับลม หากไม่มีลมก็

ผลิตไฟฟ้าไม่ได้ แสงอาทิตย์ก็เช่นกัน ใน 1 วัน จะผลิต

ไฟฟ้าได้เฉพาะช่วงเวลากลางวัน วันละประมาณ 5 ชั่วโมง

เท่านั้น ในขณะที่ความต้องการใช้ไฟฟ้ามีตลอด 24 ชั่วโมง

นิวเคลียร์ ถ่านหิน

พลังงานทางเลือก : อยากใช้ แต่ ไม่อยากมี

การพึ่งพาพลังงานชนิดใดชนิดหนึ่งมากเกินไป ล้วน

แล้วแต่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงด้านพลังงาน ดังจะเห็น

ได้จากปัจจุบัน ประเทศไทยผลิตไฟฟ้าโดยใช้ก๊าซธรรมชาติ

ถึง 70 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งหากก๊าซธรรมชาติหายไปจากระบบจะ

เกิดผลกระทบอย่างมาก โดยจากประสบการณ์การขาดแคลน

ก๊าซธรรมชาติครั้งล่าสุด เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ทำให้

ต้องเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าเต็มที่ในโรงไฟฟ้าสำรองทุกแห่ง

รวมถึงเขื่อนต่าง ๆ เพื่อผลิตไฟฟ้า ซึ่งอาจก่อให้เกิดผล

กระทบกับประชาชนได้ เช่นในกรณีที่เขื่อนศรีนครินทร์

เพราะไม่สามารถหาเชื้อเพลิงอื่นมาทดแทนในเวลาที่จำกัด

ทำให้มีการมองหาพลังงานทดแทนอื่น ๆ มาทดแทนการใช้

ก๊าซธรรมชาติ เช่น พลังงานลม แสงอาทิตย์ ชีวมวล ถ่านหิน

และพลังงานนิวเคลียร์ ซึ่งพลังงานถ่านหิน และพลังงาน

นิวเคลียร์ ณ วันนี้ มีความจำเป็นที่ต้องมีแล้ว เพื่อลดความ

เสี่ยงจากการพึ่งพาก๊าซธรรมชาติมากเกินไป โดยในแผน

พัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศ ฉบับล่าสุด (PDP

2550 revision 2) จะมีโรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งใหม่เกิดขึ้น

จำนวน 4 โรง ขนาดกำลังผลิตโรงละ 700 เมกะวัตต์ จะเข้า

ใช้งานในปี พ.ศ.2559-2560 ส่วนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์นั้นจะ

นำเข้าใช้งานในปี พ.ศ.2563 และ พ.ศ.2564 ปีละ 1 โรง

ขนาดกำลังการผลิตโรงละ 1,000 เมกะวัตต์

อย่างไรก็ตามพลังงานทดแทนทั้ง 2 ชนิดนี้ ประชาชน

ยังมีข้อกังวล เช่น โรงไฟฟ้าถ่านหินมีข้อกังวลในเรื่องความ

สะอาด ซึ่งสามารถป้องกันได้ โดยการเลือกใช้เทคโนโลยีที่มี

ประสิทธิภาพในการทำงานสูง โดยเทคโนโลยีในปัจจุบันนี้

สามารถบำบัด และดักจับก๊าซมลพิษต่าง ๆ ให้อยู่ในมาตร-

ฐานสิ่งแวดล้อมได้แล้ว อีกทั้งการเลือกใช้ถ่านหินคุณภาพดี

มีค่าความร้อนสูง เถ้าน้อย ซัลเฟอร์ต่ำ ยังจะช่วยลดการ

ปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้

ส่วนโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์นั้น ประชาชนยังมี

ความกังวลเรื่อง ความปลอดภัย การรั่วไหลของสารกัมมัน-

ตภาพรังสี ซึ่งทุกสิ่งทุกอย่างมีทั้งคุณและโทษขึ้นอยู่กับการ

เลือกใช้ หากนำมาใช้ในทางสันติ เช่น ผลิตไฟฟ้าก็มีประโยชน์

อีกทั้งปัจจุบันมีเทคโนโลยีสมัยใหม่ในการกำจัดกากนิวเคลียร์

หรือ เชื้อเพลิงที่ใช้แล้ว โดยสามารถเก็บไว้ในบริเวณโรงไฟฟ้า

ได้ตลอดอายุโรงไฟฟ้า ซึ่งไม่ว่าประเทศใดก็ตามที่จะสร้าง

โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์จะต้องปฏิบัติตามกฎข้อบังคับ

ระดับสากล เพราะหากไม่ทำตามนั้น ก็ไม่สามารถเดินเครื่อง

โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ได้ นอกจากนี้ยังมีองค์กรปรมาณู

ระหว่างประเทศคอยตรวจสอบอยู่เป็นระยะ ๆ

“...หากพูดถึงนิวเคลียร์ จะนึกถึงระเบิด เราตั้งคำถาม

กับสังคมเช่นกันนะว่า ประเทศญี่ปุ่นโดนระเบิดนิวเคลียร์

คนตายมากมายในสงครามโลก แต่ทำไมเขาถึงยอมรับให้

สร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์มากถึงเกือบ 60 โรง

นอกจากนี้ประชาชนหารู้ไม่ว่า รังสีได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์

มากมาย อาทิ ในวงการแพทย์ ได้นำรังสีมาใช้ในการตรวจ

วินิจฉัยโรค โดยเฉพาะเครื่องเอ็กซเรย์ตามโรงพยาบาล ที่ใช้

รังสีชนิดเดียวกันกับที่ใช้ในโรงไฟฟ้า ส่วนวงการอาหารได้มี

การนำรังสีมาช่วยในการป้องกันการแพร่กระจายของแมลง

ใช้รังสีในการฆ่าเชื้อโรค พยาธิในอาหาร และการถนอมอา-

หาร นอกจากนี้สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (สทน.) ได้

วิจัยฮอร์โมนจากผงไหม โดยใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์ ฮอร์โมนนี้

เมื่อนำไปฉีดในนาข้าวแล้วจะทำให้ได้ผลผลิตเพิ่มมากขึ้น

และที่สำคัญคือ สทน. มีเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ขนาด 2

เมกะวัตต์ ที่บางเขน เปิดใช้งานมาแล้วเกือบ 50 ปี และยัง

ไม่มีเหตุการณ์อันตรายใด ๆ เกิดขึ้น สิ่งเหลา่นี ้คอื ประโยชน์

ทีเ่กดิจากนวิเคลยีร.์..”

Page 5: Special กับการพัฒนาพลังงานสีเขียว เพื่อ อุตสาหกรรม · โรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ขนาด

>>>

Technology

2010

Specia

l Talk

February-March 2010, Vol.36 No.209 ● 0PB014 ● February-March 2010, Vol.36 No.209 Technology Promotion Mag.. Technology Promotion Mag..

ยุทธศาสตร์ขับเคลื่อน

โรงไฟฟ้าพลังงานทางเลือก

ยุทธศาสตร์ของ กฟผ. ในการผลิต

ไฟฟ้าจากพลังงานลมและแสงอาทิตย์ จะทำ

เพื่อเป็นต้นแบบสาธิตเชิงเทคโนโลยี ถ่ายทอด

ให้แก่เอกชนที่สนใจรับไปดำเนินการ สำหรับ

พลังงานชีวมวล ปัจจุบันมีบริษัทเอกชนสามารถ

ดำเนินการเองได้ กฟผ. จึงไม่มีนโยบายในการ

สร้างโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวลแข่งกับเอกชน แต่กังหันลม

และแสงอาทิตย์ เป็นนวัตกรรมใหม่ กฟผ. จึงเป็นผู้นำมาใช้

เป็นรายแรก ส่วนพลังงานนิวเคลียร์ ที่สามารถตอบโจทย์ได้

ทั้ง 3 ประการ คือ ราคาถูก สะอาด และมั่นคงพึ่งพาได้

สามารถเดินเครื่องได้ตลอดทั้งปีนั้น จึงเป็นอีกแนวทางหนึ่ง

ที่จะนำมาเสริมความมั่นคงของระบบไฟฟ้าได้

สำหรับยุทธศาสตร์ในการพัฒนา กระทรวงพลังงาน

ได้จัดตั้งสำนักงานพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์ขึ้น เพื่อดำเนิน-

การดังกล่าว และแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมา 5 คณะ

เพื่อดำเนินการในโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ที่ กฟผ. เกี่ยวข้อง

หลัก ๆ คือ คณะที่ 4 คณะอนุกรรมการด้านการสื่อสารและ

การยอมรับของสาธารณะ และคณะที่ 5 คณะอนุกรรมการ-

วางแผนการดำเนินการโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์

โดยจะใช้วิธีสร้างความเข้าใจกับประชาชนให้เห็นทั้งข้อดี -

ข้อด้อยของพลังงานทางเลือกแต่ละชนิด ในช่วงปี พ.ศ.

2551-2553 และสำรวจหาสถานที่ที่เหมาะสมทางเทคนิคคู่

ขนานกันไป หลังจากนั้นจะสรุปผลเสนอรัฐบาล เพื่อตัดสิน

ใจว่าจะเดินหน้าหรือไม่ อย่างไร ในปลายปี พ.ศ.2553 หาก

รัฐบาลให้เดินหน้าต่อก็จะใช้กระบวนการมี

ส่วนร่วมตามรัฐธรรมนูญมาตรา 67 ในขั้น

ตอนต่าง ๆ อย่างเต็มรูปแบบ

“...หากจะถามว่า นับจากวันนี้ไป

อีก 10 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะมีความ

มั่นคงด้านพลังงานอยู่หรือไม่ ผมตอบได้

ว่า ประเทศไทยยังไม่ค่อยชัดเจนในเรื่อง

ของแผนพลังงาน อดีตที่ผ่านมา แผนฯ

ดังกล่าวจะได้รับการต่อต้านเสมอ เนื่องจากรัฐบาล

ถือฉบับหนึ่ง ภาคองค์กรถืออีกฉบับหนึ่ง รัฐบาลจึงตั้งคณะ-

อนุกรรมการขึ้นมาคณะหนึ่ง มีรองปลัดกระทรวงพลังงาน

ดร.ณอคุณ สิทธิพงศ์ เป็นประธาน เพื่อจัดทำแผนพัฒนา

กำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP) โดยมีตัวแทนทุกภาค

ส่วนเข้ามามีส่วนร่วม ทั้งจากหน่วยงานของรัฐ นักวิชาการ

องค์กรเอกชน สิ่งที่ กฟผ. อยากเห็น คือ ทั้ง 2 ฝ่ายหันหน้ามา

คุยกัน แลกเปลี่ยนความคิดเห็น วางแนวทางในการพัฒนา

พลังงานร่วมกันว่าน่าจะไปในทิศทางไหน หากเราไม่เริ่มต้น

ทำอะไรสักอย่างในวันนี้ วันข้างหน้าผมเกรงว่า เมืองไทยจะ

มีปัญหาเรื่อง การขาดแคลนพลังงาน หากเรายังไม่มีทิศทาง

ที่ชัดเจนในการพัฒนาพลังงานเพื่อตอบสนองความต้องการ

ของคนภายในประเทศ…” รองผู้ว่าการพัฒนา การไฟฟ้าฝ่าย

ผลิตแห่งประเทศไทย กล่าวทิ้งท้ายให้คิด