วารสารยางพาราฉบับที่ 1-2556 ปีที่ 34

52
ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 12 ปีท่ 34 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2556

Upload: -

Post on 29-May-2015

6.388 views

Category:

Documents


6 download

TRANSCRIPT

Page 1: วารสารยางพาราฉบับที่ 1-2556  ปีที่ 34

ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 12ปีที่ 34 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2556

Page 2: วารสารยางพาราฉบับที่ 1-2556  ปีที่ 34

สารบัญ

บทความ

ประจำฉบับ

ข่าวสถาบันวิจัยยาง

เตือนภัยสวนยาง

แนวโน้มสถานการณ์ราคายาง ปี 2556

อนาคตยางพารากับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

พืชผลิตยางธรรมชาติรายใหม่ : วายยูเล่

บรรจุแต่งตั้งผู้สอบแข่งขันได้...

ตลาดกลางยางพาราไทย ก้าวไกลสู่ตลาดโลก

สรุปสถานการณ์ราคายางพาราในไตรมาสที่ 4 ของปี พ.ศ. 2555 และแนวโน้มในไตรมาสที่ 1 ของปี พ.ศ. 2556

วิถีตลาดยางปี 2555

ปีที่ 34 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2556 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 12

2

7

38

47

26

33

17

ภาพปก (บนสุด) : โมเดลอาคารสำนักงานตลาดข้อตกลงส่งมอบจริงประเทศไทย ตั้งอยู่ที่สำนักงานตลาดกลางยางพารานครศรีธรรมราช ต.จันดี อ.ฉวาง จ.นครศรีธรรมราช กำหนดเปิดทำการเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2556

Page 3: วารสารยางพาราฉบับที่ 1-2556  ปีที่ 34

บทบรรณาธิการ

การผลิตยางธรรมชาติของไทยปี 2555 มีปริมาณทั้งสิ้น 3,776,957 ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2554 จำนวน 207,924 ตัน หรือ ร้อยละ 8.73 ในจำนวนนี้ส่งออกยางมาตรฐาน 2,556,103 ตัน ลดลงจากปี 2554 จำนวน 56,336 ตัน หรือร้อยละ 2.16 ส่วนยางผสมสารเคมี 565,218 ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2554 จำนวน 225,276 ตัน หรือร้อยละ 66.27 จากอุปทานเพิ่มมากขึ้นและความต้องการใช้ยางของประเทศผู้ใช้รายใหญ่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย เป็นปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้ราคายางของไทยปรับตัวสูงขึ้นในช่วงต้นปี (เดือนมกราคมจนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์) ส่วนการใช้ยางในประเทศมีจำนวนประมาณ 504,000 ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2554 จำนวน 17,255 ตัน หรือร้อยละ 3.54 สัดส่วนการใช้ยางในประเทศคิดเป็นร้อยละ 13.34 ของปริมาณยางทั้งหมดที่ผลิตได้หรือร้อยละ 12.17 ของบัญชีสมดุลยางพาราของไทย ในปี 2555 มูลค่าส่งออกทั้งหมดของยางพารา ได้แก่วัตถุดิบพร้อมทำผลิตภัณฑ์ยาง มูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์ยาง ไม้ยางพาราและผลิตภัณฑ์จากไม้ยางพาราด้วยแล้ว อุตสาหกรรมยางทั้งระบบมีมูลค่าการส่งออกรวมกัน 647,906 ล้านบาท ลดลงจากปี 2554 จำนวน 39,367 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 5.73 อย่างไรก็ตาม ก็ยังสูงกว่าปี 2553 จำนวน 157,777 ล้านบาท หรือร้อยละ 24.35 จะเห็นว่า มูลค่ายางแปรรูปมาตรฐานในปี 2555 มีมูลค่าลดลงจากปี 2554 ถึง 113,614 ล้านบาท หรือร้อยละ 16.53 แต่ก็ได้รับการชดเชยรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากภาคยางผสมสารเคมีและภาคผลิตภัณฑ์ยางที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นถึง 10,453 และ 64,140 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.52 และ 8.37 ตามลำดับ แต่จากค่าพยากรณ์ราคายางในปี พ.ศ. 2556 คาดว่า ราคายางแผ่นดิบตลาดกลางยางพาราเฉลี่ยเคลื่อนไหวอยู่ระหว่างกิโลกรัมละ 72.80 – 97.43 บาท โดยมีราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 86.41 บาท ราคาปรับตัวลดลงจากราคาเฉลี่ยปี 2555 (เฉลี่ย 93.91 บาท/กก.) ร้อยละ 7.87 ดังนั้น เมื่อเปรียบเทียบกับราคาพื้นฐานที่ควรได้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 101.90 บาท คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจที่ควรได้ของประเทศสูญเสียไปจำนวน 54,740 ล้านบาท ด้วยความสำคัญนี้ สถาบันวิจัยยางจึงได้จัดตั้ ง “ศูนย์วิ เคราะห์ เศรษฐกิจและสถานการณ์ยางพารา” เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์การผลิตและการใช้ยางธรรมชาติ โดยการวิจัยและพัฒนาแบบจำลองอุปทานยางธรรมชาติของไทย และศึกษากลไกในการวิเคราะห์สถานการณ์ยางพาราและช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลเร่งด่วน บริการข้อมูลให้แก่หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และเกษตรกรชาวสวนยางที่มีความสนใจได้ร่วมกันใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพ อัน

เจ้าของ สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร บรรณาธิการบริหาร สุจินต์ แม้นเหมือน ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยาง

บรรณาธิการ นายสุจินต์ แม้นเหมือน ผู้ช่วยบรรณาธิการ พิเชฏฐ์ พร้อมมูล กองบรรณาธิการ เอนก กุณาละสิริ,

พรรษา อดุลยธรรม, ดร.นภาวรรณ เลขะวิพัฒณ์, ดร.พเยาว์ ร่มรื่นสุขารมย์, ดร.กฤษดา สังข์สิงห์ ผู้จัดการสื่อสิ่งพิมพ์

ไพรัตน์ ทรงพานิช ผู้จัดการสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สมจิตต์ ศิขรินมาศ ผู้ช่วยผู้จัดการสื่ออิเล็กทรอนิกส์ จักรพงศ์

อมรทรัพย์ ผู้จัดการระบบฐานข้อมูล พิเชฏฐ์ พร้อมมูล ผู้จัดการสนทนาภาษายาง วราวุธ ชูธรรมธัช

เป็นสิ่งจำเป็นต่อการวางแผนพัฒนายางพาราทั้งระบบ เพื่อสร้างความพร้อมภาคธุรกิจการตลาดและเศรษฐกิจ ซึ่งขณะนี้ได้เริ่มเผยแพร่แล้วทางสื่ออีเลคโทรนิค www.rubberthai.com เพื่อร่วมบริหารความเสี่ยงของภาคเกษตรกรและเพื่อสร้างความเข้มแข็งภาคการตลาดของประเทศไทยในระดับสากล นอกจากนี้ สถาบันวิจัยยางยังตั้งหวังจะให้ประเทศไทยเป็นฐานของตลาดยางพาราของประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยนในอนาคต สถาบันวิจัยยางจึงวางแผนผลักดันตลาด ข้อตกลงส่งมอบจริงของสำนักงานตลาดกลางยางพารานครศรีธรรมราช ให้มีการซื้อขายในระดับต่างประเทศ ซึ่งเป็นตลาดที่เปิดโอกาสให้เกษตรกรและผู้ประกอบการภายในประเทศทำข้อตกลงกับผู้ซื้อที่เป็นสมาชิกทั้งในและต่างประเทศได้โดยตรง และส่งมอบสินค้าทั้งหมดตามข้อตกลงภายใน 10 วันทำการหลังทำสัญญาผ่านระบบ “ตลาดข้อตกลงส่งมอบจริงของประเทศไทย” การผลักดันตลาดกลางยางพารานครศรีธรรมราช ให้มีกิจกรรมการซื้อการขายให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล โดยผู้ผลิต ผู้ขายและผู้ซื้อทั้งในและต่างประเทศเป็นผู้ผลิตและใช้ยางจริง นับเป็นก้าวใหม่ของตลาดกลางยางพาราไทย ซึ่งปัจจุบันสถาบันวิจัยยางมีตลาดกลางยางพาราเพื่อการวิจัยอยู่จำนวน 6 ตลาด กระจายอยู่ใน 6 จังหวัด กล่าวคือ ตลาดกลางยางพาราหาดใหญ่(สงขลา) นครศรีธรรมราช สุราษฏร์ธานี บุรีรัมย์ หนองคาย และยะลา นับว่าเป็นการพัฒนา ทั้งระบบตลาดกลางของประเทศไทยให้เข้มแข็งสู่ระดับสากล โดยเป้าหมายว่า ในปี 2558 ซึ่งประเทศไทยจะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน (AEC) ภาคยางพาราซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของหลายประเทศในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยนก็จะมีบทบาทร่วมเช่นเดียวกับพืชอื่น และเป็นพืชเศรษฐกิจหลักที่ ได้รับความร่วมมือเป็นหนึ่งเดียวในภูมิภาค โดยเฉพาะภาคการตลาด สุดท้าย การจัดตั้ง “ตลาดข้อตกลงส่งมอบจริงของประเทศไทย” สถาบันวิจัยยางยังหวังว่าจะเป็น “การพัฒนาศักยภาพเกษตรไทยให้สามารถทำการผลิตและนำผลผลิตสู่ตลาดโลกด้วยตนเอง อันเป็นการเพิ่มรายได้ เพิ่มอำนาจการต่อรอง ส่งผลให้ราคายางของประเทศมีเสถียรภาพ และสร้างมูลค่าเพิ่มจากการเพิ่มกระบวนการค้าภาคเกษตรกรไม่น้อยกว่า 3 พันล้านบาทต่อปี”

นายสุจินต์ แม้นเหมือนบรรณาธิการ

การเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจยางต้องเน้นการตลาด

Page 4: วารสารยางพาราฉบับที่ 1-2556  ปีที่ 34

2 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 12 มกราคม-มีนาคม 2556

สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร

แนวโน้มสถานการณ์ราคายาง ปี 25561

ราคายางแผ่นดิบในปี 2555 เฉลี่ย 93.91 บาท/

ก.ก. สืบเนื่องจากความผันผวนภาวะเศรษฐกิจโลก เช่น

กรณีวิกฤตสินเชื่อด้อยคุณภาพของสหรัฐอเมริกา วิกฤติ

หนี้สาธารณะของสหภาพยุโรป รวมทั้งการที่เศรษฐกิจ

ของจีนเริ่มชะลอตัวลงจากที่ เคยอยู่ในระดับตัวเลข

2 หลักมาโดยตลอด เหลือร้อยละ 9.1 ในปี พ.ศ. 2554

และคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 7.9 ในปีพ.ศ. 2555 ทั้งนี้

จากสาเหตุดังกล่าว ส่งผลให้ความต้องการใช้ยางลดลง

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าในระยะยาวราคายาง

ธรรมชาติจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่ในระยะสั้นราคายาง

อาจมีความผันผวนหรือปรับตัวลดลงตามภาวะเศรษฐกิจ

โดยในทางเศรษฐศาสตร์ราคายางจะเคลื่อนไหวตาม

วัฏจักรเศรษฐกิจซึ่งมีอยู่ 4 ระยะ ได้แก่ ระยะรุ่งเรือง

ถดถอย ตกต่ำ และฟื้นตัว โดยเฉพาะหากเกิดวิกฤติ

เศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่มีผลกระทบในวงกว้าง จะส่งผล

ให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจของโลกลดลงอย่างมาก

เช่น กรณีวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ของสหรัฐอเมริกา ในปี

พ.ศ. 2551 หรือวิกฤติหนี้สาธารณะของสหภาพยุโรป

ในปี พ.ศ. 2555 ซึ่งจะเป็นแรงผลักดันราคายางให้

ลดลงด้วย นอกจากนี้ ราคายางยังอาจได้รับผลกระทบ

จากนโยบายของแต่ละประเทศ โดยเฉพาะประเทศ

ผู้ผลิตหรือผู้ใช้ยางรายใหญ่ เช่น ประเทศจีน ได้ควบคุม

การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยปรับลดการขยายตัว

ทางเศรษฐกิจตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่ง

ชาติ ฉบับที่ 12 (ปี พ.ศ. 2554 - 2558) เหลือเพียงร้อยละ

7.0

สถานการณ์ราคายางแผ่นดิบ ปี 2537 – 2555

สถานการณ์ราคายางแผ่นดิบ (USS: Unsmoked

Sheet Rubber) เฉลี่ย 3 แห่ง ณ ตลาดกลางยางพารา

ของประเทศไทย ได้แก่ สำนักงานตลาดกลางยางพารา

สงขลา สำนักงานตลาดกลางยางพาราสุราษฎร์ธานี

และสำนักงานตลาดกลางยางพารานครศรีธรรมราช

ระหว่างปี พ.ศ. 2537 – 2555 ซึ่งเป็นตัวแทนราคายาง

ธรรมชาติในประเทศมีพื้นฐานความเคลื่อนไหวของ

ราคายางที่ผ่านมามีทิศทางเพิ่มขึ้นเป็นเส้นตรง (y =

0.4141x+4.9834 ; ภาพที่ 1) ตามการเคลื่อนไหวของ

ราคายางในอดีต ซึ่งถือเป็นเส้นราคาพื้นฐานที่ควรได้

(basic remunerative price line) และเป็นการสะท้อน

มูลค่าเพิ่มของปัจจัยทางเศรษฐกิจของประเทศและของ

โลกจากภาคการผลิตยางธรรมชาติ เมื่อพิจารณาเส้น

ราคาพื้นฐานที่ควรได้ดังกล่าว พบว่า ราคายางแผ่นดิบ

ของตลาดกลางยางพาราในประเทศไทยมีแนวโน้มที่

เพิ่มขึ้นตามสมการเส้นราคาพื้นฐานที่ควรได้ แต่จาก

การเคลื่อนไหวของราคายางของประเทศไทยเบี่ยงเบน

ไปจากราคาพื้นฐานที่ควรได้ (remunerative price)

ที่ระดับกิโลกรัมละ 96.94 บาท ในปี พ.ศ. 2555 ขณะ

ที่ราคายางที่ซื้อขายจริงเฉลี่ยอยู่ที่กิโลกรัมละ 93.80

บาท ซึ่งต่ำกว่าราคาพื้นฐานที่ควรได้ กิโลกรัมละ 3.14

บาท คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจที่ควรได้ของประเทศ

สูญเสียไปจำนวน 28,111 ล้านบาท (ภาพที่ 2)

1 รายงานของคณะทำงานวิเคราะห์สถานการณ์ยาง สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร, ธันวาคม 2555

Page 5: วารสารยางพาราฉบับที่ 1-2556  ปีที่ 34

3 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 12 มกราคม-มีนาคม 2556

ภาพที่ 1 กราฟแสดงราคายางแผ่นดิบเฉลี่ย 3 ตลาด และเส้นราคาพื้นฐานที่ควรได้ ตั้งแต่ปี 2537 ถึง 2555

ภาพที่ 2 กราฟแสดงราคายางแผ่นดิบของไทย แนวโน้มราคายางแผ่นดิบไทย มูลค่าที่สูญเสีย และค่าการพยากรณ์ราคายางแผ่นดิบ

1 3 2537 2555

2

- 20

40

60

80

100

120

140

160

180

200

( )

. .

y = 0.4141x+4.9834

-

20

40

60

80

100

120

140

160

180

200

Forecast USS USS 3 CRM

( )

. .

28,111

1 3 2537 2555

2

- 20

40

60

80

100

120

140

160

180

200

( )

. .

y = 0.4141x+4.9834

-

20

40

60

80

100

120

140

160

180

200

Forecast USS USS 3 CRM

( )

. .

28,111

Page 6: วารสารยางพาราฉบับที่ 1-2556  ปีที่ 34

4 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 12 มกราคม-มีนาคม 2556

แนวโน้มราคายางปี พ.ศ. 2556 สถาบันวิจัยยาง ได้พยากรณ์ราคายางแผ่นดิบ

ตลาดกลางยางพาราเฉลี่ยปี 2556 โดยเปรียบเทียบการ

พยากรณ์ 3 วิธี ได้แก่ วิธี ARIMA (Autoregressive

Integrated Moving Average Model) วิธี Hybrid

Forecasting ซึ่งเป็นการพยากรณ์ด้วยวิธี ARIMA

ร่วมกับวิธีโครงข่ายประสาทเทียม (Neuron Network)

และวิธี Exponential Smoothing ผลการพยากรณ์

พบว่า วิธี Hybrid Forecasting เป็นวิธีที่มีความ

น่าเชื่อถือมากที่สุด เพราะมีค่าความคลาดเคลื่อน

น้อยที่สุด โดยมีค่าความคลาดเคลื่อนเฉลี่ยกำลังสอง

(Root Mean Square Error : RMSE) เท่ากับ

1.512 จึงนำมาใช้ในการพยากรณ์ราคายางปรากฏ

ผลตามตารางที่ 1 และภาพที่ 3 ภายใต้เงื่อนไขของ

สถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมโลกไม่เปลี่ยน

แปลงมากนักจากภาวะปัจจุบัน ซึ่ งจากภาพที่ 3

คาดการณ์ว่ า ราคายางแผ่นดิบตลาดกลางยาง

พาราในปี พ.ศ. 2556 เคลื่อนไหวอยู่ระหว่างกิโลกรัม

ละ 72.80 – 97.43 บาท โดยมีราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ

86.41 บาท ราคาปรับตัวลดลงจากราคาเฉลี่ยปี 2555

(เฉลี่ย 93.91 บาท/กก) ร้อยละ 7.87 ดังนั้น เมื่อเปรียบ

เทียบกับราคาพื้นฐานที่ควรได้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 101.90

บาท คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจที่ควรได้ของประเทศ

สูญเสียไปจำนวน 54,740 ล้านบาท (ภาพที่ 4)

จากค่าพยากรณ์ราคายางในปีพ.ศ. 2556 ต่ำกว่า

ระดับราคาพื้นฐานที่ควรได้ เนื่องจากคาดการณ์ว่า จะมี

อุปทานส่วนเกินของยางธรรมชาติทั้ ง โลกจำนวน

ประมาณ 496,000 ตัน และปัญหาหน้าผาทางการคลัง

ของสหรัฐ วิกฤติเศรษฐกิจของยุโรป ภาวะอุปทานยาง

ในประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติ การปรับลดการขยาย

ตัวทางเศรษฐกิจของผู้ใช้ยางรายใหญ่ ได้แก่ จีน สหรัฐ

ญี่ปุ่น รวมทั้ง ผลการดำเนินการตามมาตรการรักษา

เสถียรภาพราคายางของไทยและ สภาความร่วมมือ

ด้านยางระหว่างประเทศ (ITRC)

ดังนั้น ในปี 2556 รัฐต้องเร่งผลักนโยบายหรือ

มาตรการอย่างจริงจังให้มากขึ้นเพื่อยกระดับราคายาง

ให้สูงขึ้น โดยการแสวงหาความร่วมมือลดผลผลิตยาง

ทั้งภูมิภาค (โค่นปลูกแทน ชะลอการกรีด ประชาสัมพันธ์

ให้ผลิตจำนวนที่พอเพียง) เพิ่มการใช้ยางธรรมชาติใน

ภาครัฐของประเทศ (ถนน ฝาย หมอนรองรางรถไฟ

ส่งเสริมการใช้ยางรองตีนตะขาบรถแทรคเตอร์ทางการ

เกษตร การใช้ถุงมือยางทางการแพทย์ ส่งเสริมการใช้

ยางผลิตลู่วิ่งและออกกำลังกายในสถานศึกษา และ

อื่นๆ) ประชาสัมพันธ์และขยายผลการใช้ยางพารา โดย

มุ่ ง เป้าหมายไปยังประเทศที่มีสัดส่วนการใช้ยาง

สังเคราะห์ลดลง รวมทั้งการผลักดันตลาดกลางยาง

พาราให้มีตลาดข้อตกลงส่งมอบจริงในระดับสากล

เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อผลักดันเส้นราคายางจริงให้ใกล้เคียง

ปี 2556 ราคาเฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ตารางที่ 1 แสดงการพยากรณ์ราคายาง

แผ่นดิบตลาดกลางยางพาราปี 2556

โดยวิธี Hybrid forecasting

มกราคม 93.47

กุมภาพันธ์ 89.51

มีนาคม 76.46

เมษายน 84.26

พฤษภาคม 84.06

มิถุนายน 72.80

กรกฎาคม 90.30

สิงหาคม 80.10

กันยายน 94.76

ตุลาคม 92.65

พฤศจิกายน 81.15

ธันวาคม 97.43

เฉลี่ย 86.41

สูงสุด 97.43

ต่ำสุด 72.80

ที่มา : เอกสารต้นฉบับ, สถาบันวิจัยยาง

กรมวิชาการเกษตร, 2556.

Page 7: วารสารยางพาราฉบับที่ 1-2556  ปีที่ 34

5 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 12 มกราคม-มีนาคม 2556

ภาพที่ 3 กราฟแสดงแนวโน้ม และการพยากรณ์ราคายางแผ่นดิบในปี พ.ศ. 2556

ภาพที่ 4 กราฟแสดงราคายางแผ่นดิบของไทย แนวโน้มราคายางแผ่นดิบไทย การพยากรณ์ราคายางแผ่นดิบในปี พ.ศ. 2556 และมูลค่าการสูญเสีย/

ผลได้ส่วนต่าง

3 . . 2556

4 . . 2556 /

60 70 80 90

100 110 120 130 140 150 160 170 180 190

Trend USS Prices Actual USS Predict USS 56

( )

- 20

40

60

80

100

120

140

160

180

200

USS 3 CRM USS 3 CRM

( )

. .

102 227

242,330364

1,917

705

479

500

1,140

27,989

14,609

3,379

5,125

32,349

86,092

195,012

2,088

28,111

15,191

54,740

3 . . 2556

4 . . 2556 /

60 70 80 90

100 110 120 130 140 150 160 170 180 190

Trend USS Prices Actual USS Predict USS 56

( )

- 20

40

60

80

100

120

140

160

180

200

USS 3 CRM USS 3 CRM

( )

. .

102 227

242,330364

1,917

705

479

500

1,140

27,989

14,609

3,379

5,125

32,349

86,092

195,012

2,088

28,111

15,191

54,740

102,227 ล้านบาท

ปี พ.ศ.

Page 8: วารสารยางพาราฉบับที่ 1-2556  ปีที่ 34

6 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 12 มกราคม-มีนาคม 2556

เส้นราคาพื้นฐานที่ควรได้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 101.90 บาท

เพื่อลดการเสียโอกาสทางเศรษฐกิจที่คาดว่า มูลค่าทาง

เศรษฐกิจที่ควรได้ของประเทศจะสูญเสียไปรวม 82,851

ล้านบาท โดยจำแนกเป็นมูลค่าทางตัวเงินที่ควรได้ในปี

2555 และ 2556 จำนวน 28,111 ล้านบาท และ

54,740 ล้านบาท ตามลำดับ

Page 9: วารสารยางพาราฉบับที่ 1-2556  ปีที่ 34

7 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 12 มกราคม-มีนาคม 2556

สุจินต์ แม้นเหมือน1 สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร

อนาคตยางพารากับประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน

ยางพารา (Hevea brasiliensis Muell.) เป็นพืช

อุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศไทยและภูมิภาค

อาเซียน ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกยาง 18.76 ล้านไร่ เป็น

ผู้ผลิตและส่งออกยางมากที่สุดของโลก มีปริมาณการ

ผลิต 3.57 ล้านตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 33 ของ

ปริมาณการผลิตยางธรรมชาติของโลก ส่งออก 2.95

ล้านตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 36 ของปริมาณการ

ส่งออกยางธรรมชาติของโลก ในปี 2554 ประเทศไทย

เป็นผู้ใช้ยางอันดับ 5 ของโลก ด้วยปริมาณ 486,745 ตัน

หรือร้อยละ 13.6 ของปริมาณการผลิตยางในประเทศ

การส่งออกยางธรรมชาติของไทย ส่งออกในรูปของ

วัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ยาง ไม้ยางพาราแปรรูปและผลิต

ภัณฑ์ไม้ ทำรายได้ให้แก่ประเทศ คิดเป็นมูลค่า 678,942

ล้านบาท ผลผลิตเฉลี่ย 276 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี

ในปี 2558 ซึ่งประเทศไทยจะเข้าสู่ประชาคม

เศรษฐกิจอาเชี่ยน (AEC) ภาคยางพาราซึ่งเป็นพืช

เศรษฐกิจหลักของหลายประเทศในกลุ่มประชาคม

เศรษฐกิจอาเชี่ยนก็จะมีบทบาทร่วมเช่นเดียวกับพืชอื่น

แต่ยางพาราเป็นพืชที่ดูแลต่างกระทรวงกันในแต่ละ

ประเทศ ทำให้การหารือภาคยางทั้งระบบไม่ได้นำมา

ถกกันอย่างจริงจังระหว่างประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติ

ของอาเชี่ยน จำเป็นที่รัฐบาลจะต้องเร่งดำเนินการยก

ประเด็นยางพาราให้มีการหารือเป็นกลุ่มเฉพาะนอก

เหนือการหารือในกลุ่มกระทรวงของประเทศสมาชิกใน

โอกาสต่อไป เพื่อให้สินค้ายางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจ

หลักที่ ได้รับความร่วมมือเป็นหนึ่งเดียวในภูมิภาค

สถาบันวิจัยยาง จึงได้วิเคราะห์บทบาท สถานการณ์

และผลกระทบ เพื่อการเตรียมการดังนี้

นโยบาย ยุทธศาสตร์ และการดำเนินการของสถาบันวิจัยยางในการเข้าสู่ประชาคม

เศรษฐกิจอาเชี่ยน ปัจจุบันสถาบันวิจัยยางได้ดำเนินการตามกรอบ

ยุทธศาสตร์ยางพารา พัฒนายางพารา พ.ศ. 2552-2556

ซึ่งการนี้ได้มีการผลักดันความร่วมมือระหว่างประเทศ

ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่ 5 ในยุทธศาสตร์พัฒนายางพารา พ.ศ.

2552 – 2556 กรมวิชาการเกษตร จะผลักดันการ

ทำงานร่วมระหว่างสภายางระหว่างสามประเทศ

(International Tripartite Rubber Council – ITRC)

ซึ่งเป็นความร่วมมือไตรภาคียางพารา 3 ประเทศ (ไทย

มาเลเซีย อินโดนีเซีย) รวมทั้งการผลักดันเพื่อจัดตั้ง

กองทุนรักษาเสถียรภาพและพยุงราคาในช่วงราคายาง

ตกต่ำให้มีความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ โดยการ

ประสานงานการรักษาเสถียรภาพราคายางร่วมกับบริษัท

ร่วมทุนยางระหว่างประเทศ (International Rubber

Consortium Limited- IRCo ) ให้ขยายกรอบความ

ร่วมมือเป็นระดับอาเชี่ยนกับ เวียดนาม ลาว กัมพูชา

และเมียนม่า เพื่อจัดตั้ งสภายางอาเชี่ยน (Asian

Rubber Council – ARC) ในระยะต่อไป เพื่อประสาน

และสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มประเทศผู้ผลิตยางใน

ภูมิภาค ถ้าการนี้บรรลุผล กลุ่มสภายางอาเชี่ยนก็จะ

มีกำลังการผลิตมากกว่าร้อยละ 85 ของผลผลิตยาง

1 ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยาง: สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร เขตจตุจักร กรุงเทพ 11000 โทร 02-579-3667 ต่อ 604

E-mail : [email protected]

Page 10: วารสารยางพาราฉบับที่ 1-2556  ปีที่ 34

8 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 12 มกราคม-มีนาคม 2556

ผลิต 9.690 12.415 10.410 14.207 10.695 14.622

ใช้ 9.329 12.162 10.788 14.067 10.858 14.504

สมดุล 0.361 0.253 -0.377 0.140 0.087 0.118

สต็อก 1.880 3.309 1.503 3.449 1.395 na

ตารางที่ 1 ปริมาณการผลิต การใช้ยางของโลก ปี 2552-2554

รายการ2552

ยางธรรมชาติ ยางสังเคราะห์

2553

ยางธรรมชาติ ยางสังเคราะห์

2554

ยางธรรมชาติ ยางสังเคราะห์

หน่วย : ล้านตัน

ที่มา : รายงานประจำปี 2554 สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร (กุมภาพันธ์, 2555)

ธรรมชาติในโลก และประเทศจีนก็เป็นผู้บริโภครายใหญ่

ของโลก (รายละเอียดปรากฏในตารางที่ 1 และ 2)

นอกจากนี้ ยังสามารถขยายความร่วมมือในการสร้าง

ความเข้มแข็งในการกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์ยาง

ธรรมชาติร่วมกัน ซึ่งในขณะนี้ได้ดำเนินการร่วมกับ

มาเลเชียและอินโดนีเซียอยู่แล้ว

แนวโน้ม จุดแข็ง จุดอ่อน และความเสี่ยงรวมถึงปัญหาและอุปสรรคของอุตสาหกรรมยางพารา ในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจ

อาเชี่ยนจุดแข็ง

(1) ยางพาราเป็นพืชที่มีศักยภาพ มีโอกาสในการ

พัฒนาและสร้างมูลค่าเพิ่มให้เป็นผลิตภัณฑ์ยางได้

หลากหลาย

(2) เป็นพืชที่ช่วยลดภาวะโลกร้อน โดยช่วยดูดซับ

ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ เป็นพืชที่มีศักยภาพ

นำไปจัดทำเป็นโครงการ Clean Development

Mechanism (CDM) หรือสามารถขายคาร์บอนเครดิต

ภายใต้ตลาดแบบสมัครใจ (Voluntary market)

(3) การปลูกสร้างสวนยางได้ผลผลิตไม้ยางพารา

สามารถใช้ทดแทนไม้จากป่าธรรมชาติ เสริมสร้างความ

มั่นคงให้กับอุตสาหกรรมไม้แปรรูปและเฟอร์นิเจอร์ไม้

(4) ประเทศไทยมีสภาพพื้นที่และภูมิอากาศที่

เหมาะสมต่อการปลูกยางพาราจำนวนมาก มีเทคโนโลยี

การผลิตยางพาราที่ก้าวหน้า สามารถเพิ่มผลผลิตได้ทั้ง

โดยเพิ่มพื้นที่ปลูกและเพิ่มผลผลิตต่อหน่วยพื้นที่

(5) เกษตรกรชาวสวนยางส่วนใหญ่ในภาคใต้และ

ภาคตะวันออกมีภูมิปัญญาและประสบการณ์ในการทำ

สวนยางมายาวนาน

(6) มีความหลากหลายของการแปรรูปยางดิบที่ใช้

เป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์ยาง

(7) มีกฎหมายและหน่วยงานที่รับผิดชอบในการ

ส่งเสริมการปลูก การวิจัยและพัฒนายางโดยเฉพาะ

และมีเงินทุนสนับสนุนในการปลูกและการวิจัยยาง

อย่างต่อเนื่อง

จุดอ่อน

(1) ยางพาราเป็นวัตถุดิบในการอุตสาหกรรม มี

ความต้องการใช้ยางพาราเป็นความต้องการต่อเนื่อง

ต้องพึ่งพาตลาดต่างประเทศและเศรษฐกิจโลก

(2) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อย

การผลิตจึงเป็นการผลิตแบบครอบครัว ใช้ระบบกรีดถี่

มีจำนวนวันกรีดมาก ทำให้ผลผลิตต่อครั้งกรีดน้อยกว่า

ระบบกรีดห่างของสวนยางขนาดใหญ่ ส่งผลให้ต้นทุนต่อ

กิโลกรัมจะสูงขึ้น กำไรที่เกษตรกรควรจะได้รับจากผล

ผลิตจึงลดลงด้วย

(3) ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง

Page 11: วารสารยางพาราฉบับที่ 1-2556  ปีที่ 34

9 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 12 มกราคม-มีนาคม 2556

อุปทาน – SUPPLY (S)

สต็อกต้นปี 0.227 0.081 0.142 0.067 0.001 0.144

ผลผลิตในปี 3.569 3.029 0.996 0.812 0.051 0.727

นำเข้า 0.004 0.016 0.667 0.155 0.000 2.848

รวม 3.800 3.126 1.805 1.034 0.052 3.719

อุปสงค์ - DEMAND (D)

ส่งออก 2.952 2.571 1.257 0.731 0.045 0.009

ใช้ภายใน 0.488 0.471 0.419 0.120 0.000 3.602

สต็อกปลายปี 0.361 0.143 0.143 0.122 0.007 0.095

รวม 3.800 3.185 1.819 0.974 0.052 3.706

รวมสมดุล (S-D) 0 -0.059 -0.014 0.006 0 0.013

ตารางที่ 2 อุปสงค์และอุปทานยางพาราของประเทศกลุ่มประชาคมอาเชี่ยนสำคัญ

บางประเทศและจีน ปี 2554

รายการ

ปริมาณ ในปี พ.ศ. 2554

ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย1 เวียดนาม กัมพูชา จีน2

หน่วย : ล้านตัน

1 อุปสงค์ของมาเลเซียรวมส่วนที่แปรรูปเป็นยางผสม 0.311 ล้านตัน ในปีเดียวกัน 2 อุปทานของจีนรวมส่วนที่นำเข้ายางผสมอีก 0.854 ล้านตันในปีเดียวกัน

ที่มา : ANRPC, Natural Rubber Trends & Statistics. Vol 4, No 12 , December 2012.

ของไทยเป็นกิจการขนาดกลางและขนาดเล็ก ยังมีข้อ

จำกัดด้านเงินทุนและเทคโนโลยีการผลิต

(4) การพัฒนายางพาราทั้งระบบยังมีอุปสรรค

เนื่องจากยางพารามีผู้ที่เกี่ยวข้องหลายภาคส่วน ทั้งภาค

เกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม และภาคแรงงาน ทำให้

การเชื่อมโยงการพัฒนาทั้งระบบไม่คล่องตัว

(5) ยางธรรมชาติที่ส่งออกเป็นยางที่อยู่ในรูป

วัตถุดิบหรือยางแปรรูปเป็นส่วนใหญ่ จึงต้องพึ่งพา

ตลาดต่างประเทศเป็นหลัก ทำให้มีความเสี่ยงในด้าน

ราคาและเสียโอกาสในการสร้างมูลค่าเพิ่ม

(6) บุคลากรที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับยางพารายังมี

ไม่เพียงพอ โดยเฉพาะนักวิจัยด้านอุตสาหกรรมยาง

โอกาส

(1) การขยายตัวของประชากรโลกเพิ่มขึ้นทำให้

ความต้องการใช้ยางธรรมชาติเพิ่มขึ้นด้วย และความ

ต้องการใช้ยางธรรมชาติของโลกยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง

ในระยะยาว แม้ว่าในช่วงที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ความ

ต้องการใช้ยางก็ยังมีอยู่

(2) ยางธรรมชาติมีสมบัติที่ยางสังเคราะห์ไม่

สามารถทดแทนได้ จำเป็นจะต้องใช้ยางธรรมชาติใน

การผลิตล้อยานพาหนะ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมสำคัญที่ใช้

ยางสูงกว่าผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ

(3) การรวมตัวของประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติ

รายใหญ่ของโลก สร้างอำนาจต่อรอง และความเป็น

Page 12: วารสารยางพาราฉบับที่ 1-2556  ปีที่ 34

10 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 12 มกราคม-มีนาคม 2556

ธรรมในด้านเสถียรภาพราคายาง ทำให้เกษตรกรมีความ

มั่นคงทางด้านรายได้

(4) นอกจากยางพาราจะนำไปผลิตเป็นยางล้อ

เป็นหลักแล้ว แต่ยางพารายังมีโอกาสสร้างอุปสงค์ได้

อีกหลากหลายสาขา ทั้งการใช้งานในกิจกรรมการขนส่ง

สุขอนามัย การบริการสาธารณะ และการใช้งานเฉพาะ

ส่วนบุคคล

ข้อจำกัด

(1) ความผันผวนของราคายางธรรมชาติในตลาด

โลกมีผลกระทบอุตสาหกรรมยางทั้งระบบ หากยาง

ธรรมชาติมีราคาสูงมาก ประเทศอุตสาหกรรมต่างๆ

จะเพิ่มความพยายามในการพัฒนาวัตถุดิบอื่นเพื่อใช้

ทดแทนยางธรรมชาติ ในขณะเดียวกันเมื่อราคายาง

ธรรมชาติสูงมากนั้น เป็นสิ่งจูงใจให้เกษตรกรในประเทศ

ต่างๆ ขยายพื้นที่ปลูกยางมากขึ้น จนอาจส่งผลให้

ปริมาณเกินความต้องการเมื่อพื้นที่ปลูกให้ผลผลิต เกิด

ปัญหายางล้นตลาดและราคาตกต่ำ มีรายได้น้อยกว่า

ค่าใช้จ่ายที่จำเป็น ทำให้รัฐบาลต้องช่วยเหลือด้านรายได้

เป็นวงจรที่ท้าทายให้รัฐบาลของประเทศผู้ปลูกยางที่

พยายามทำให้เกิดเสถียรภาพทั้งด้านราคาและปริมาณ

(2) การขยายพื้นที่ปลูกยางของประเทศต่างๆ ที่

เพิ่มขึ้น จะทำให้ผลผลิตล้นตลาด ราคายางตกต่ำ มีผล

กระทบต่อเกษตรกรชาวสวนยางและเศรษฐกิจโดยรวม

ของไทย

(3) ต้นทุนการผลิตยางแปรรูปของไทยสูงกว่าเมื่อ

เทียบกับประเทศผู้ผลิตยางอื่น เนื่องจากค่าแรงงานและ

ต้นทุนพลังงานของไทยสูงกว่าประเทศอื่นในภูมิภาค

ยกเว้นมาเลเซียซึ่งมีค่าแรงสูงกว่าไทยแต่ต้นทุนพลังงาน

ถูกกว่า

(4) การขยายการผลิตยางล้อในประเทศเป็นไปได้

ในปริมาณที่น้อยมาก เนื่องจากเมื่อผลิตเป็นยางล้อแล้ว

จะมีปริมาตรใหญ่ขึ้นมาก ทำให้เสียค่าขนส่งไปยังตลาด

ปลายทางสูง ผู้ผลิตจึงมักมีและขยายฐานการผลิต

ยางล้อที่ในประเทศผู้ใช้ยางล้อเป็นหลัก หรือเป็นประเทศ

ที่มีค่าแรงงานและการสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมสูงกว่า

ไทย ในขณะที่ปัจจัยข้อได้เปรียบการอยู่ใกล้แหล่ง

วัตถุดิบคือยางดิบนั้นเป็นประเด็นรอง

ผลกระทบต่อโครงสร้างของอุตสาหกรรมยางพาราในประเทศ

ผลกระทบต่อการผลิตของเกษตรกร

ผลผลิตที่ได้จากการกรีดต้นยางพารา ได้แก่

น้ำยางสด (Field Latex) และเศษยางหรือยางก้นถ้วย

(Cup Lump) เกษตรกรจะนำผลผลิตน้ำยางสดที่ได้

ส่วนใหญ่มาทำเป็นยางแผ่นดิบเพื่อจำหน่ายต่อให้กับ

โรงงาน สินค้าวัตถุดิบที่เกษตรกรจำหน่ายให้กับโรงงาน

จึงมี 3 ประเภท คือ ยางแผ่นดิบ น้ำยางสด รวมทั้งยาง

ก้อนและเศษยาง โดยมีสัดส่วนของปริมาณผลิตเท่ากับ

80% 15% และ 5% ตามลำดับ กรณีที่กลุ่มเกษตรกร

หรือสหกรณ์ชาวสวนยางรวมตัวกันดี ก็จะผลิตยาง

แผ่นรมควันไม่อัดเบล และยางแผ่นผึ่งแห้ง จำหน่ายใน

ตลาดกลางหรือโครงการรักษาเสถียรภาพราคายาง

ด้วย แต่ปริมาณผลิตจากการรวมกลุ่มดังกล่าวยังมี

จำนวนไม่มากนัก สถาบันวิจัยยางเห็นว่าการผลิตของ

ภาคเกษตรกร ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำของภาคยาง

จะไม่มีผลกระทบ

การแปรรูปและการผลิตยางดิบ

ภาคอุตสาหกรรมซึ่งหมายถึงการแปรรูปและ

การผลิตยางดิบของผู้ประกอบการต่อเนื่องจากภาค

การผลิตของเกษตรกร ดังนั้น สินค้ายางสำเร็จของ

เกษตรกรจึงเป็นวัตถุดิบตั้งต้น (Raw materials) ของ

โรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปยางตามมาตรฐานสากล

ที่ยอมรับเป็นมาตรฐานกันทั่วโลก รอยต่อระหว่าง

ภาคการผลิตและภาคอุตสาหกรรมจึงเป็นรอยต่อที่

สำคัญยิ่งของคุณภาพและต้นทุน ซึ่งส่งผลต่อการตลาด

และเศรษฐกิจมหภาคของประเทศโดยภาพรวม ผล

ผลิตยางแผ่นรมควันของไทยยังคงสูงรองจากยางแท่ง

อื่น เนื่ องจากเกษตรกรชาวสวนยางนิยมแปรรูป

น้ำยางสดเป็นยางแผ่นดิบ เนื่องจากยางแผ่นเก็บรักษา

ได้นานกว่าน้ำยางสด ผลผลิตยางแท่งประเทศไทย

ผลิตร้อยละ 41.17 ของยางแปรรูปมาตรฐานสากลที่

ส่งออกทั้งหมด รองลงมา คือ ยางแผ่นรมควัน และ

น้ำยางข้น ซึ่งในปี 2554 มีสัดส่วนการผลิตร้อยละ

30.08 และ 25.08 ตามลำดับ ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงขึ้น

จากปี 2537 มาพอสมควร เนื่องจากในช่วง ปี 2537 –

Page 13: วารสารยางพาราฉบับที่ 1-2556  ปีที่ 34

11 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 12 มกราคม-มีนาคม 2556

2543 ไทยได้เพิ่มการผลิตยางแท่งและน้ำยางข้นอย่าง

รวดเร็ว เพื่อสนองตอบความต้องการในต่างประเทศ

โดยมีอัตราเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 16 และ 10 ต่อปี ใช้เวลา

ถึง 10 ปีในการพัฒนา จึงล้ำหน้ายางแผ่นรมควันใน

ปี 2547

ผลกระทบภาคเศรษฐกิจมหภาคของประเทศ

เกิดจากมูลค่าที่ได้จากยางแปรรูปมาตรฐานเป็นราย

ใหญ่ ซึ่งมีมูลค่าถึงร้อยละ 56.46 ของรายได้ทั้งหมด

และมูลค่าส่วนนี้ก็ขึ้นกับราคายางในตลาดโลกเป็นหลัก

ราคาเฉลี่ยในตลาดโลกปี 2554 สูงกว่าปี 2553 เฉลี่ย

ราคายางแผ่นรมควันราคา 148.27 บาท และ 115.54

บาทตามลำดับ หรือเพิ่มร้อยละ 28.33 ในยางแผ่น

รมควัน ร้อยละ 29.21 ในยางแท่ง STR 5L ร้อยละ

29.71 21 ในยางแท่ง STR 20 และร้อยละ 25.11 ใน

น้ำยางข้น เป็นต้น

ในภาพรวมเกษตรกรแปรรูปผลผลิตในสวน

ตนเองเบื้องต้น แล้วส่งจำหน่ายให้กับโรงงานเพื่อแปรรูป

เป็นยางมาตรฐานสากล จึงมี 3 ประเภท คือ ยางแผ่นดิบ

น้ำยางสด และเศษยาง ผลผลิตยางขั้นต้นหรือยางดิบ

ได้จากการนำวัตถุดิบจากเกษตรกรไปผ่านการแปรรูป

ให้อยู่ ในลักษณะตรงกับความต้องการของผู้ซื้อ มี

คุณภาพดีและสะดวกต่อการนำไปใช้ของผู้ประกอบการ

ผลิตภัณฑ์ยางชนิดต่างๆ ปัจจุบันมีการแปรรูปน้ำยาง

สด เศษยาง และยางแผ่นดิบ เป็นผลิตภัณฑ์ยางขั้นต้น

2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ ยางแห้ง (Dried Rubber) ได้แก่

ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง ยางเครพ ยางแผ่นอบแห้ง

ยางสกิม และยางชนิดพิเศษต่างๆ เป็นต้น และอีก

ประเภท คือ น้ำยางซึ่งรวมถึง น้ำยางข้น (Concentrate

latex)และน้ำยางสด เมื่อโรงงานแปรรูปได้วัตถุดิบ

แล้วก็จะผลิตสินค้ายางพาราแปรรูปมาตรฐานส่งออก

จำหน่ายต่างประเทศ และใช้ในโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์

ยางในประเทศ จะเห็นว่าเมื่อประเทศไทยเข้าร่วมใน

ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน โครงสร้างการผลิตและ

แปรรูปยางดิบยังไม่ เปลี่ยนแปลง ไทยยังคงรักษา

ความเป็นหนึ่งในการผลิตยางแผ่นรมควันออกสู่ตลาด

โลก ยังคงส่งน้ำยางข้นให้ประเทศผู้บริ โภค เช่น

มาเลเชียอยู่เช่นเดิม ส่วนการแปรรูปและส่งออกยาง

ผสมสารเคมีซึ่งเป็นยางกึ่งสำเร็จรูปมีแนวโน้มมากขึ้น

ปี 2554

ดังนั้น แม้ประเทศไทยจะเข้าร่วมการเป็นสมาชิก

เศรษฐกิจอาเชี่ยนซึ่งมีประเทศผู้ผลิตยางพาราที่เป็น

คู่แข่งอยู่ถึงสามประเทศ (อินโดนีเชีย มาเลเซีย และ

เวียดนาม) ก็ไม่น่าจะกระทบต่ออุตสาหกรรมภาคนี้

เนื่องจากประเทศไทยก็มีจุดเด่น ทั้งในเรื่องชนิดยาง

ดิบมาตรฐานส่งออกที่เป็นที่ยอมรับกว้างขวางในตลาด

โลก ทั้งในเรื่องคุณภาพและปริมาณการผลิต เช่น ยาง

แท่งมาตรฐานประเทศไทย (Standard Thai Rubber:

STR) ยางแผ่นรมควัน (Rib Smoked Sheet : RSS)

ยางผสมสารเคมี (Compound Rubber) และน้ำยางข้น

(Concentrate Latex)

การแปรรูปและการผลิตภาคผลิตภัณฑ์ยาง

ยางธรรมชาติเมื่อนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ยาง

แล้ว สามารถจำหน่ายได้ราคาสูง สร้างมูลค่าเพิ่มได้

มาก ดังนั้น หากสามารถพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์

ยางของไทยให้มีประสิทธิภาพ สามารถผลิตผลิตภัณฑ์

ที่มีคุณภาพและมาตรฐานสูงกว่าที่เป็นอยู่ปัจจุบันก็จะ

สามารถเพิ่มตลาดผลิตภัณฑ์ยางทั้งที่ใช้เองในประเทศ

และขยายตลาดส่งออกต่างประเทศได้ อีกทั้งเป็นการ

ลดการส่งออกวัตถุดิบ (ยางดิบ) อีกด้วย

ผลิตภัณฑ์ยางที่ผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่มใน

ประเทศปี 2554 ใช้ยางในประเทศจำนวน 486,745

ตัน หรือร้อยละ 12.81 ของอุปสงค์ยางพาราทั้งระบบ

(ซึ่งรวมสต็อกปลายปี 361,557 ตัน อยู่ด้วย) หรือร้อยละ

13.64 ของผลผลิตในปี (ผลผลิตในปี 2554 จำนวน

3,569,003 ตัน) เพิ่มขึ้นจากปี 2553 ซึ่งใช้ยางในประเทศ

458,637 ตัน หรือเพิ่มขึ้น 23,522 ตัน หรือร้อยละ 5.13

การเข้าร่วมการเป็นสมาชิกเศรษฐกิจอาเชี่ยน

ซึ่งมีประเทศแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางที่เป็นคู่แข่งอยู่ถึง

สามประเทศ (อินโดนีเชีย มาเลเซียและเวียดนาม)

แต่ประเทศไทยก็มีจุดเด่น ทั้ งในเรื่องชนิดยางดิบ

มาตรฐานที่ประเทศไทยผลิตที่เป็นที่ยอมรับกว้างขวาง

ในตลาดโลกรวมทั้งผู้ใช้ยางในประเทศ ทั้งในเรื่อง

คุณภาพและปริมาณการผลิต และอุตสาหกรรมยางใน

ประเทศ อาจจะมีปัญหาในเรื่องราคาโดยผลผลิตจาก

ประเทศเวียดนามอาจจะแข่งขันกับยางในประเทศได้

Page 14: วารสารยางพาราฉบับที่ 1-2556  ปีที่ 34

12 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 12 มกราคม-มีนาคม 2556

เนื่องจากมีการขนส่งทางบกได้ง่ายและใช้เวลาสั้นกว่า

ในการบริโภคเพื่อการผลิตผลิตภัณฑ์ยางขนาดเล็กและ

ขนาดกลาง แต่ประเทศไทยก็มีกฏหมายและระบบ

เงิน Cess ที่สามารถบริหารจัดการให้ผู้บริโภคใน

ประเทศใช้ยางพาราในประเทศในราคาต่ำกว่าตลาด

โลกและคู่แข่งจากต่างประเทศได้ โดยการบริหาร

จัดการระบบตลาดข้อตกลงส่งมอบจริงประเทศไทย

ให้มีประสิทธิภาพ เนื่องจากการใช้ยางในประเทศไม่

ต้องจ่ายเงิน Cess จากการจัดหาวัตถุดิบคุณภาพจาก

ตลาดในประเทศ (จ่ายต่อเมื่อส่งออกยางธรรมชาติออก

นอกประเทศเท่านั้น) ดังนั้น ผลกระทบเรื่องนี้คงไม่มาก

นักแต่ต้องอาศัยนโยบายภาครัฐสนับสนุนในโอกาส

ต่อไป

การผลิตและแปรรูปไม้ยางพารา

ในปัจจุบันผู้ เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมไม้ยาง

เริ่มจากเกษตรกรที่โค่นยาง เพื่อขอทุนปลูกแทน การ

โค่นไม้ยางในสวน การเลื่อยไม้ยางจากสวนเป็นไม้

ท่อน การขนส่ง การชักลากไม้จากสวน ในปี 2550

จำนวนโรงงานแปรรูป 521 โรงงานผลิตไม้แปรรูปได้

3.07 ล้านลูกบาศก์เมตร ในอุตสาหกรรมขั้นกลาง

เริ่มจากการใช้ไม้ยางพาราท่อน (ไม้บ้อง) มาแปรรูป

เป็นไม้แผ่น นำไม้ขนาดเล็ก ปีกไม้ ขี้ เลื่อยให้เป็น

ไม้แผ่นปาร์ติเกิล และไม้อัดความหนาแน่นปานกลาง

มีจำนวนโรงอบไม้ 300 โรง และอุตสาหกรรมขั้นปลาย

คือกลุ่ม เฟอร์นิ เจอร์และชิ้นส่วน ที่ ใช้ ไม้ยางจาก

อุตสาหกรรมขั้นกลาง นำไม้ยางพาราแปรรูปมาทำ

เครื่องเรือน ของเด็กเล่น พื้นไม้ปาร์เก้ ไม้พาเลท และทำ

เป็นชิ้นส่วนเฟอร์นิเจอร์อื่นๆ รวมทั้งหมด 2,458 โรงงาน

ลักษณะของโรงงานบางส่วนเป็นการรวมกลุ่มแบบ

คลัสเตอร์ๆ ละ 10-20 โรงงาน สภาพการผลิตไม้ยาง

แปรรูปของโรงงานของไทยในช่วงที่ผ่านมาไม่เต็ม

ศักยภาพ การผลิตไม้ยางพาราแปรรูปโดยเฉพาะกลุ่ม

ที่อยู่นอกคลัสเตอร์ หยุดดำเนินการเนื่องจากขาด

วัตถุดิบ ไม้ยางแพงขึ้น ในปี 2554 ความต้องการไม้ยาง

ของโรงงานแปรรูปไม้ยางพาราและอบแห้งของโรงงาน

ใช้ ไม้ยางสู งกว่าปริมาณไม้ที่ ผลิตได้ 1 .27 ล้ าน

ลูกบาศก์เมตร การโค่นยาง 5 แสนไร่ จะได้ไม้แปรรูป

4 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งใกล้เคียงกับความต้องการ

ใช้ไม้ยางพาราในปัจจุบัน ส่วนมูลค่าการส่งออก

เฟอร์นิเจอร์ไม้ขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยในปี 2554 การ

ส่งออกเฟอร์นิเจอร์ไม้เพิ่มขึ้นร้อยละ 72.61 เทียบกับ

ปี 2553 มูลค่าการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้เพิ่ม

ขึ้นร้อยละ 35.56 ชะลอตัวเล็กน้อย ส่วนในปี 2555

ช่วง 2 เดือนแรก มูลค่าการส่งออกเฟอร์นิเจอร์ไม้

ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 141.53 จากช่วงเดียวกันของปี

2554 และการขยายตัวของมูลค่าไม้แปรรูปส่งออกเพิ่ม

ขึ้นร้อยละ 61.4 จากปีก่อน

ปัญหาการส่งออกไม้ยางพาราส่วนใหญ่เป็น

ปัญหาจากการกีดกันทางการค้า โดยอาศัยปัจจัยทาง

การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและป่าไม้ของประเทศในกลุ่ม

ยุโรปและอเมริกา ดังนั้น การรวมตัวเป็นกลุ่มประชาคม

เศรษฐกิจอาเชี่ยนจะเป็นแนวทางหนึ่งในการร่วมกัน

ต่อรองกับกลุ่มประเทศที่มีมาตรการกีดกันทางการค้า

ในอนาคต

มาตรการทางการค้ามาตรการทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (Non – Tariff

Barriers : NTB) ในการส่งออกสินค้ายางพาราไปยัง

ประเทศสมาชิกสมาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน

ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตและคุณภาพยาง

พาราเป็นที่เชื่อถือในระดับสากล จึงยังไม่พบมาตรการ

ที่กีดกันผลผลิตจากประเทศไทยโดยตรงในการส่งออก

สินค้ายางพาราไปยังประเทศสมาชิกสมาคมเศรษฐกิจ

อาเชี่ยน

มาตรการทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (Non – Tariff

Barriers : NTB) เพื่อควบคุมการนำเข้าสินค้ายาง

พารามาจากประเทศสมาชิกสมาคมเศรษฐกิจ

อาเชี่ยน

ประเทศไทยมีกฎหมายเพื่อการนี้อยู่แล้ว คือ

พระราชบัญญัติควบคุมยาง พ.ศ. 2542 นอกจากนี้

พระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2535 ก็ยังเอื้อต่อการ

ควบคุมกำกับการนำเข้ายางพาราที่ไม่มีมาตรฐาน เช่น

ยางก้อน เศษยาง และยางไม่มีมาตรฐานที่อาจเป็น

แหล่งหรือพาหะนำโรคและแมลงเข้าสู่ประเทศใน

Page 15: วารสารยางพาราฉบับที่ 1-2556  ปีที่ 34

13 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 12 มกราคม-มีนาคม 2556

ลักษณะสิ่งต้องห้ามและสิ่งกำจัดอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็น

ต้องเร่งดำเนินการกำหนดมาตรการเพิ่มเติมอีก

แนวทางการปรับตัวและเตรียมความพร้อมของผู้มีส่วนได้เสีย ในอุตสาหกรรมยางพาราภาคการผลิตยาง

เพิ่มศักยภาพการผลิตต่อพื้นที่ การเพิ่มศักยภาพ

การผลิตต่อพื้นที่เป็นแนวทางหนึ่งในการสร้างมูลค่าเพิ่ม

ทางการผลิต ผลผลิตยางของไทย มีผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่

สู งกว่าประเทศผู้ผลิตอื่นในภูมิภาคอาเซียน เช่น

อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม และจีน ทั้งนี้ ส่วน

หนึ่งมาจากผลงานวิจัยและพัฒนายางของสถาบันวิจัย

ยางนานกว่า 40 ปี อย่างไรก็ดี หากเปรียบเทียบกับ

ผลงานวิจัยและพัฒนายางที่ได้แล้ว ไทยยังสามารถ

เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของเกษตรกร และเพิ่มผล

ผลิตของประเทศได้อีกหลายแนวทาง อาทิ

(1) ด้วยการพัฒนาศักยภาพการผลิตยางให้

เปิดกรีดได้เร็ว และให้ผลผลิตสูง โดยการเลือกใช้พันธุ์

ยาง และเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับพื้นที่ การจัดการ

สวนยาง รวมถึงการเขตกรรม การจัดการโรคและ

ศัตรูยาง การจัดการธาตุอาหารพืช และการจัดการ

ระบบกรีดที่ทำให้สามารถเพิ่มผลผลิตต่อหน่วยพื้นที่

และลดต้นทุนการผลิต

(2) จูงใจให้เกษตรกรเร่งรัดการโค่นปลูกแทนยาง

ที่มีผลผลิตต่ำ หน้ากรีดเสียหาย หรือมีอายุกรีดมากกว่า

25 ปี โดยสถาบันวิจัยยาง ประสานภาคเอกชนและ

ส่วนราชการ ผลิตพันธุ์ยาง สวย 251 และ พันธุ์เฉลิม

พระเกียรติ 984 (สวย 408) สนับสนุนโครงการใน

การปลูกแทน และเป็นแกนในการกระตุ้นการสร้าง

มูลค่าเพิ่มจากไม้ยางพารา รวมถึงการจัดการระบบ

ประมูลโดยระบบตลาดกลางไม้ยางพาราจากผู้เกี่ยวข้อง

ทั้งระบบ ส่งผลให้ปริมาณการผลิตและการใช้ยางเข้า

สู่สมดุลได้อีกครั้ง

(3) เปลี่ยนพันธุ์ยางดั้งเดิมที่ให้ผลผลิตเฉลี่ย

ประมาณ 274 กิโลกรัม/ไร่/ปี มาเป็นยางพันธุ์ดี เช่น

พันธุ์ สวย 251 ที่มีผลผลิตเฉลี่ย 462 กิโลกรัม/ไร่/ปี

ได้เร็วขึ้น ทำให้มีรายได้เพิ่มเท่ากับ 11,280 ล้านบาท/

ปี ผลสัมฤทธิ์ที่เกิดขึ้น เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการ

ผลิตต่อหน่วยพื้นที่ที่สูงขึ้น โดยการปลูกแทนด้วยยาง

พันธุ์ใหม่ที่ให้ผลผลิตสูง (เช่น RRIT 251 และ RRIT

408) รวมถึงการลดความเสี่ยงจากการระบาดของโรค

ในยางพันธุ์เดิม คือ RRIM 600 นอกจากนี้ ยังเป็น

การจัดการอุปสงค์และอุปทานยาง จะทำให้ผู้ใช้ยาง

และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องมีความมั่นใจในอุปทานที่

จะมีอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ราคายางมีเสถียรภาพมากขึ้น

รัฐต้องสร้างความเข้มแข็งเกษตรกรไทยสู่ตลาดโลก

(1) การสร้างความเข้มแข็งกลุ่มเกษตรกรจะต้อง

พัฒนาระบบมาตรฐานพื้นฐานให้เกษตรกรนำไปปฏิบัติ

เพื่อสร้างความเข้มแข็งกลุ่มเกษตรกร ด้วยความสำคัญ

นี้ สถาบันวิจัยยางจึงได้จัดทำระบบควบคุมคุณภาพ

การผลิตยางแผ่นรมควันอัดก้อนของสถาบันเกษตรกร

ให้มีมาตรฐานที่สามารถให้การขอรับรองกระบวนการ

ผลิตตามระบบคุณภาพโรงงานที่มีมาตรฐานและเป็น

ที่ยอมรับตามมาตรฐาน GMP ของสถาบันวิจัยยางเป็น

การเบื้องต้น และพัฒนาเป็นมาตรฐานระบบคุณภาพ

ตามมาตรฐานสากลต่อไป ทั้งนี้ เพื่อแสดงให้โลกรับรู้

ว่า เกษตรกรไทยก็สามารถพัฒนาตนเองเข้าสู่ระบบ

มาตรฐานสากลได้อย่างไม่ยากเย็น และเชื่อถือในระบบ

คุณภาพที่เกษตรกรปฏิบัติอย่างกว้างขวาง ปัจจุบัน

สถาบันวิจัยยางได้รับรองกระบวนผลิตยางแผ่นรมควัน

อัดก้อนมาตรฐาน GMP; Good Manufactura l

Practice. ของสหกรณ์กองทุนสวนยางจันดี และ

ชุมนุมสหกรณ์จังหวัดตรัง ซึ่งเป็นโรงงานของเกษตรกร

ว่ามีกระบวนการผลิตที่น่าเชื่อถือ สามารถตรวจสอบได้

จึงน่าจะส่งเสริมให้สินค้ายางของสหกรณ์เป็นที่ เผย

แพร่อย่างกว้างขวางในระดับสากล ทั้งนี้ เพื่อเป็นที่

แสดงศักยภาพของเกษตรกรไทย ทั้งเปิดโอกาสให้

มาตรฐานยางแผ่นรมควันของไทยเป็นที่ เชื่อถือใน

ตลาดโลกอยู่ต่อไป นอกจากสร้างความเข้มแข็งภาค

เกษตรกรแล้ว สุดท้ายยังเป็นการรักษาเสถียรภาพ

ราคายางของประเทศโดยภาพรวมอีกด้วย

(2) ยางก้อนถ้วยคุณภาพดี เป็นยางดิบประเภท

หนึ่งที่มีศักยภาพ ในปัจจุบันเกษตรกรส่วนใหญ่ใน

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือผลิตอย่างกว้างขวาง แต่

เกษตรกรมักเสียเปรียบในเรื่องการขายวัตถุดิบคุณภาพ

ดี โดยเฉพาะการคิดปริมาณเนื้อยางแห้ง ซึ่งเกษตรกร

Page 16: วารสารยางพาราฉบับที่ 1-2556  ปีที่ 34

14 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 12 มกราคม-มีนาคม 2556

จะขายยางก้อนถ้วยได้ต่ำกว่าความเป็นจริง ดังนั้น การ

ผลิตยางเครพจากยางก้อนถ้วยคุณภาพดี จึงเป็นแนว

ทางหนึ่งในการแก้ปัญหาดังกล่าว และยังเป็นการ

แปรรูปเพิ่มมูลค่ายางพาราให้เกษตรกรอีกแนวทางหนึ่ง

สถาบันวิจัยยาง จึงได้จัดทำคำแนะนำการผลิตยางเครพ

จากยางก้อนถ้วยเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มโดยการนำมาใช้

แปรรูปเป็นวัตถุดิบเริ่มต้นในการผลิตผลิตภัณฑ์ยาง

พาราโดยตรง หรือนำมาใช้ผสมกับยางดิบชนิดอื่นเพื่อ

ลดต้นทุนการผลิตผลิตภัณฑ์ยางพารา ที่สำคัญยัง

สามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบเริ่มต้นในการผลิตยาง

แท่งมาตรฐานอีกด้วย ถ้าการผลิตยางเครพจากยาง

ก้อนถ้วยคุณภาพดีสามารถจำแนกชั้นมาตรฐานตาม

คุ ณ ภ า พ ย า ง ก้ อ น ถ้ ว ย ที่ ใ ช้ ใ น ก า ร ผ ลิ ต แ ล ะ ผู้ ใ ช้

ประโยชน์ทั่วไปยอมรับ ก็สามารถนำเข้าสู่ระบบซื้อขาย

ผ่านตลาดกลางยางพารา โดยเฉพาะตลาดกลางยาง

พาราของสถาบันวิจัยยาง ซึ่งตั้งอยู่ที่จังหวัดหนองคาย

และบุรีรัมย์ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการซื้อขายในแหล่งผลิต

ยางก้อนถ้วยคุณภาพดีของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ต่อไป

สร้างความมั่นคงในด้านการลงทุนอุตสาหกรรม

ไม้ยางภาคเกษตรกร ภาคการผลิตของเกษตรกร

สุดท้ายไปสิ้นสุดที่ไม้ยาง ไม้ยางในอนาคตมิใช่เป็นผล

พลอยได้จากสวนยางอีกต่อไป แต่เป็นส่วนหนึ่งของภาค

การผลิตหลักของชาวสวนที่จะต้องมุ่งเก็บเกี่ยวผลผลิต

ไม้ยางพาราจากสวนเป็นผลผลิตสุดท้ายหลังจากเก็บ

เกี่ยวผลผลิตในรูปน้ำยางมาระยะเวลาหนึ่ง อนาคต

เกษตรกรจะต้องเรียนรู้ว่าการเก็บเกี่ยวผลผลิตน้ำยาง

โดยให้ผลตอบแทนสุดท้ายในรูปไม้ยางให้สูงสุดได้

อย่างไร ดังนั้น เกษตรกรและผู้ที่เกี่ยวข้อง จะต้องมี

แรงจูงใจในการลงทุน การวิจัยและพัฒนานวัตกรรม

ใหม่ ๆ ด้านไม้ยางตั้งแต่ระดับต้นน้ำ กลางน้ำและปลาย

น้ำ เพิ่มความมั่นคงในอาชีพของชาวสวนยางประมาณ

5 ล้านครัวเรือน การนี้ ในระยะเวลาอันใกล้ หากรัฐ

เร่งรัดโค่นปลูกแทน เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตต่อพื้นที่

และเกษตรกรได้รับการดูแลและสนับสนุนของภาครัฐ

แบบครบวงจร คาดว่ าจะสร้ างมูลค่ า เพิ่ ม ให้กับ

อุตสาหกรรมยางพาราได้อีก 30,000 ล้านบาท ภายใน

ระยะเวลา 5 ปี โดยเฉพาะจากส่วนของอุตสาหกรรมไม้

ภาคเศรษฐกิจและการตลาดยาง

สร้างความเข้มแข็งระบบตลาดกลางสู่สากล เพื่อ

ความเข้มแข็งภาคการตลาดของประเทศไทยในระดับ

สากลและเป็นฐานของตลาดยางพาราของประชาคม

เศรษฐกิจอาเชี่ยน สถาบันวิจัยยางจึงวางแผนผลักดัน

ตลาดข้อตกลงส่งมอบจริงของสำนักงานตลาดกลาง

ยางพารานครศรีธรรมราช ให้มีการซื้อขายในระดับสากล

ซึ่งเป็นตลาดที่เปิดโอกาสให้เกษตรกรและผู้ประกอบ

การภายในประเทศทำข้อตกลงกับผู้ซื้อในระดับสากล

ที่เสนอราคา แต่สามารถยืดการส่งมอบสินค้าทั้งหมด

ตามข้อตกลงภายใน 10 วันทำการหลังทำสัญญาผ่าน

ระบบ “ตลาดข้อตกลงส่งมอบจริงของประเทศไทย “

แต่เดิม สินค้ายางพาราที่เกษตรกรและผู้ซื้อทำ

สัญญาภายใต้ตลาดข้อตกลงส่งมอบจริงเป็นยางแผ่น

รมควันชั้น 3 ไม่อัดก้อนที่ได้รับการตรวจสอบคุณภาพ

จากสำนักงานตลาดกลางยางพารานครศรีธรรมราช

จะต้องส่งมอบภายใน 7 วันทำการภายใต้เงื่อนไขที่

สำนักงานตลาดกลางยางพารานครศรีธรรมราช

กำหนดเพื่อการวิจัยและพัฒนาตลาดกลางยางพารา

การนี้สำนักงานตลาดกลางยางพาราได้ทดสอบและ

วิจัยเงื่อนไขต่างๆ และได้ปรับปรุงจนเป็นที่ยอมรับจาก

สมาชิกทั้งผู้ซื้อและผู้ขายมากกว่า 200 ราย และเปิด

ทำการทุกวันระหว่างวันจันทร์ถึงวันศุกร์ จากการสำเร็จ

ดังกล่าว สถาบันวิจัยยางจึงวางแผนผลักดันงานวิจัย

ชิ้นนี้ให้ขยายขอบเขตของตลาดข้อตกลงส่งมอบจริง

สู่ระดับสากล โดยเพิ่มการบริการระดับอินเตอร์ เปิด

โอกาสให้ผู้ค้าและสถาบันเกษตรกรภายในประเทศ

สามารถเสนอสินค้ายางพาราสู่ตลาดโลกโดยตรง

ให้ผู้ซื้อและผู้ขายสามารถเสนอคำสั่งซื้อและคำสั่งขาย

ผ่านระบบตลาดข้อตกลงส่งมอบจริงภายใต้ชื่อ “ตลาด

ข้อตกลงส่ งมอบจริ งประเทศไทย (Rubber tha i

Physical Forward Central Market : Rubberthai

PFCM)” โดยสินค้าที่สามารถซื้อขายผ่านตลาดนี้เป็น

ยางแท่งมาตรฐานประเทศไทย ชั้น 20 (Standard

Thai Rubber : STR 20) และยางแผ่นรมควันชั้น 3

(Rib Smoked Sheet :RSS 3) อัดก้อนมาตรฐาน

(bale) ที่ผ่านการรับรองกระบวนการผลิตจากสถาบัน

วิจัยยาง หรือบริษัทที่เป็นสมาชิกสมาคมยางพาราไทย

Page 17: วารสารยางพาราฉบับที่ 1-2556  ปีที่ 34

15 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 12 มกราคม-มีนาคม 2556

ทั้งนี้เพื่อประกันคุณภาพและความน่าเชื่อถือของสมาชิก

ผู้ผลิต สำหรับผู้ซื้อถาบันวิจัยยางจะเปิดให้ผู้ส่งออก

ทั้งในและต่างประเทศ ที่สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนด

และได้รับการรับรองความน่าเชื่อถือจากสถาบันการเงิน

ทั้งนี้ ผู้ซื้อและผู้ขายจะต้องส่งและรับมอบยางจริง

ภายใน 10 วัน หลังจากที่ทำสัญญาซื้อขายผ่านระบบ

ของ “ตลาดข้อตกลงส่งมอบจริงประเทศไทย”

การผลักดันตลาดกลางยางพารานครศรีธรรมราช

ให้มีกิจกรรมการซื้อการขายให้เป็นที่ยอมรับในระดับ

สากล โดยผู้ผลิต ผู้ขาย และผู้ซื้อทั้งในและต่างประเทศ

เป็นผู้ผลิตและใช้ยางจริง นับเป็นก้าวใหม่ของตลาด

กลางยางพาราไทย ซึ่ งปัจจุบันสถาบันวิจัยยางมี

ตลาดกลางยางพาราเพื่อการวิจัยอยู่จำนวน 6 ตลาด

กระจายอยู่ใน 6 จังหวัด กล่าวคือ ตลาดกลางยางพารา

หาดใหญ่ นครศรีธรรมราช สุราษฏร์ธานี บุรีรัมย์

หนองคาย และยะลา นับว่าเป็นการพัฒนาทั้งระบบ

ตลาดกลางของประเทศไทยให้เข้มแข็งสู่ระดับสากล

นอกจากนี้ ยังเป็นการพัฒนาศักยภาพเกษตรไทยให้

สามารถทำการผลิตและนำผลผลิตสู่ตลาดโลกด้วย

ตนเองอันเป็นการเพิ่มรายได้ เพิ่มอำนาจการต่อรอง

ส่งผลให้ราคายางของประเทศมีเสถียรภาพและสร้าง

มูลค่าเพิ่มจากการเพิ่มกระบวนการค้าภาคเกษตรกร

ไม่น้อยกว่า 3 พันล้านบาทต่อปี และตลาดนี้ถ้ า

สามารถพัฒนาผ่านความร่วมมือของประเทศกลุ่ม

ประเทศเศรษฐกิจอาเซียน ( AEC ; Asian Economic

Community) ด้วยแล้ว ผลประโยชน์และอำนาจการ

ต่อรองราคาในระดับโลกก็จะสะท้อนปริมาณการ

ผลิตและความต้องการใช้ยางพาราจริงของโลกมากขึ้น

สร้างระบบฐานข้อมูลเศรษฐกิจยางให้ เป็น

เอกภาพ สถาบันวิจัยยางได้จัดตั้ง “ศูนย์วิ เคราะห์

เศรษฐกิจและสถานการณ์ยางพารา” เพื่อวิเคราะห์

สถานการณ์การผลิตและการใช้ยางธรรมชาติ วิจัยและ

พัฒนาแบบจำลองอุปทานยางธรรมชาติของไทย และ

ศึกษากลไกในการวิเคราะห์สถานการณ์ยางพาราและ

ช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลเร่งด่วนบริการข้อมูลให้แก่

หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และเกษตรกรชาว

สวนยางที่มีความสนใจได้ร่วมกันใช้ประโยชน์อย่างมี

ประสิทธิภาพ อันเป็นสิ่งจำเป็นต่อการวางแผนพัฒนา

ยางพาราทั้งระบบ เพื่อสร้างความพร้อมภาคธุรกิจการ

ตลาดและและเศรษฐกิจก่อนเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจ

อาเชี่ยนต่อไป

ภาคอุตสาหกรรมยาง

พัฒนาระบบมาตรฐานให้สอดคล้องกับความ

ต้องการในตลาดโลก มาตรฐานยาง คือความสำคัญ

ทางอุตสาหกรรมยาง นอกจากนี้ มาตรฐานก็เป็น

ปัจจัยหลักที่ระบบตลาดใช้เป็นที่ตัดสินว่าคุณภาพ

สินค้าเป็นที่เชื่อถือและราคาที่ใช้ในการซื้อขายมีความ

ยุติธรรม โปร่งใสกับทุกฝ่ายหรือไม่ มาตรฐานจึงเป็น

สิ่งที่สถาบันวิจัยยางเห็นความสำคัญและผลักดันให้ผู้

เกี่ยวข้องทั้งระบบให้ความสำคัญโดยเฉพาะผู้ผลิต

วัตถุดิบเริ่มต้นทางการอุตสาหกรรมยาง เฉกเช่น

เกษตรกรจะต้องสร้างความน่าเชื่อถือและรักษาคุณภาพ

ตามมาตรฐานที่ผู้ใช้ให้การยอมรับ ไม่ใช้สารเคมีหรือ

ผลิตผลอื่นใดที่กระทบต่อกระบวนการผลิต การณ์นี้

มาตรฐานก็จะเป็นแกนกลางให้ผู้ เกี่ยวข้องร่วมมือ

กันได้ทั้งระบบภายใต้ความเชื่อถือ ความยุติธรรม

ความโปร่ งใสกับทุกฝ่าย ทั้ งนี้ เพื่ อความเข้มแข็ง

แข่งขันได้และชี้นำอุตสาหกรรมยางธรรมชาติของ

ประเทศ และเป็นแนวทางหลักในการปรับตัวของภาค

อุตสาหกรรมสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน

เร่งรัดผลักดันงานวิจัยพัฒนาทางอุตสาหกรรม

เพิ่มอุปสงค์ยางพาราสาขาใหม่ๆ

(1) การใช้ยางธรรมชาติในงานทางโดยการผสม

ยางพารากับยางมะตอยเพื่อใช้ในการราดถนน เป็น

แนวทางหนึ่งสามารถใช้ปรับปรุงสมบัติของยางมะตอย

ให้ดีขึ้นโดยอาศัยสมบัติบางประการที่เป็นข้อดีของยาง

ธรรมชาติ เช่น ความคงตัวสูง (Stablity) ความยืดหยุ่น

ดี (Elasticity) และทนความล้าดี (Fatigue resistance)

มาเป็นตัวเสริมสมบัติของยางมะตอย ทำให้สามารถ

ยืดอายุการใช้งานของถนนซึ่งเป็นการช่วยประหยัดงบ

ประมาณในการซ่อมบำรุงถนนด้วย อีกทั้งถ้าใช้ยางพารา

ผสมยางมะตอยราดถนนจะเป็นการเพิ่มปริมาณการ

ใช้ยางพาราภายในประเทศอีกทางหนึ่งด้วย

ในปี 2543 สถาบันวิจัยยาง ได้ดำเนินการทดลอง

ผสมยางพารากับยางมะตอยชนิด AC 60/70 ในอัตรา

Page 18: วารสารยางพาราฉบับที่ 1-2556  ปีที่ 34

16 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 12 มกราคม-มีนาคม 2556

ต่างๆ กัน และเก็บข้อมูลสมบัติของยางมะตอยผสมยาง

พารา พบว่า การใช้งานยางแผ่นรมควันผสมยางมะตอย

อัตรา 6% ทำให้สมบัติของจุดอ่อนตัว (Softening point)

ของยางมะตอยสูงขึ้น ค่าเพนิเทรชัน (Penetration) ต่ำลง

คือ ยางมะตอยมีความแข็งขึ้น และค่าการคืนตัวกลับ

(Torsional Recovery) สูงกว่ายางมะตอยปกติ ซึ่งน่า

เป็นเหตุผลที่ทำให้ถนนที่ราดด้วยยางมะตอยผสมยาง

พาราผสมร้อน (Hot Mix) มีความทดทานมากขึ้น แต่

เมื่อทำการผสมจริงก่อนนำไปราดถนนแบบผสมร้อน

พบว่า มีปัญหาอุปสรรคในการผสมยางพารา เนื่องจาก

ถ้าใช้ยางพาราที่เป็นยางแผ่นรมควันหรือเป็นประเภท

ยางแห้ง จะต้องใช้เครื่องผสมที่มีแรงเฉียนสูง เพราะยาง

พาราที่เป็นยางแห้งละลายในยางมะตอยยาง หรือถ้าใช้

อุณหภูมิมีการผสมสูงเกินไปทำให้ยางมะตอยเสื่อม

สภาพหรือสมบัติบางส่วนเสียไป แต่ถ้าใช้ยางพารา

ประเภทน้ำยาง ซึ่งได้แก่ย้ำยางข้นหรือน้ำยางสดก็จะ

เกิดปัญหาเรื่องฟองและแรงดันเกิดขึ้นในขณะผสม

อย่างไรก็ตาม ในปี 2544 และ 2545 ได้ทดลองผสม

น้ำยางข้นอัตราร้อยละ 5 กับยางมะตอยชนิด AC

60/70 ในโรงงานผสมและนำไปราดถนนแบบผสมร้อน

การนำยางพาราไปเป็นวัตถุดิบผสมร่วมกับ

แอลฟัลต์ในการก่อสร้างถนนเป็นแนวทางหนึ่งในการ

เพิ่มอุปสงค์ยางพาราในประเทศและสร้างมูลค่าเพิ่ม

ซึ่งส่งผลในราคายางมีเสถียรภาพมากขึ้น และเกษตรกร

ได้ประโยชน์ในการผลิตและการตลาดจากยางพารา

การนี้ สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตรจึงได้

ดำเนินโครงการวิจัย การใช้ยางธรรมชาติผสมยาง

มะตอย (Asphalt)ในการสร้างถนนทั้งจากน้ำยางข้น

และยางแห้ง ในพื้นที่ของส่วนราชการ กรมวิชาการ

เกษตร และถนนสาธารณะ ระยะทางประมาณ 3

กิโลเมตรมาตั้งแต่ ปี 2545 ต่อมาในปี 2554-2555

ได้ ร่ วมมือกับองค์การบริหารส่วนตำบลร่อนทอง

อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ ทดสอบราดยางในถนนส่วน

ท้องถิ่นอีก 3 กิโลเมตรและองค์การบริหารส่วนตำบล

เขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา อีก

2.5 กิโลเมตร เพิ่มอุปสงค์ยางพาราในประเทศและสร้าง

มูลค่าเพิ่ม ซึ่งส่งผลในราคายางมีเสถียรภาพมากขึ้น

และเกษตรกรได้ประโยชน์ในการผลิตและการตลาด

จากยางพารา นอกจากนี้ สถาบันวิจัยยาง กรมวิชา

การเกษตรจึงได้ ร่ วมมือกับหน่วยงานที่ เกี่ ยวข้อง

ทดสอบเพื่อยืนยันการใช้ถนนสาธารณะในระยะทาง

ประมาณ 20 กิโลเมตรเพื่อประโยชน์ของเกษตรกร

ชาวสวนยางและประชาชนที่ เ กี่ ย วข้ องให้ ได้ รั บ

ประโยชน์อย่างกว้างขวาง ทั้งในประเทศและประเทศ

กลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยนในโอกาสต่อไป

(2) สถาบันวิจัยยางจึงได้เร่งรัดและผลักดันงาน

วิจัยแล้วแปรรูปเป็นคำแนะนำที่คาดว่าเป็นประโยชน์

ต่อเกษตรกรและผู้ประกอบการเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม

และลดต้นทุนการผลิต อาทิเช่น ยางรองตีนตะขาบ

รถแทรคเตอร์ ถาดปลูกข้าว เขื่อนยาง ยางปูพื้นสนาม

กีฬาและลู่วิ่ง ยางปูพื้นสนามเด็กเล่น และอื่นๆ

สรุป การที่ประเทศไทยจะเข้าร่วมการเป็นสมาชิก

ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยนในปี 2558 สถาบันวิจัยยาง

เห็นว่าประเทศไทยจะได้ประโยชน์จากภาคยางมากขึ้น

โดยเฉพาะภาคการตลาดและภาคอุตสาหกรรม โดย

ไม่กระทบต่อโครงสร้างอุตสาหกรรมการผลิตภาคยาง

ทั้งระบบ เนื่องจากความเข้มแข็งในอุตสาหกรรมยาง

พาราไทยค่อนข้างครบวงจร ซึ่งรวมทั้งการผลิตของ

เกษตรกรในภาคต้นน้ำ ความเข้มแข็งด้านคุณภาพ

ยางจากพื้นฐานการผลิตยางแผ่นดิบ ยางแผ่นรมควัน

และยางแท่งมาตรฐานออกสู่ตลาดโลกในภาคกลาง

น้ำ นอกจากนี้ ประเทศไทยยังมีโอกาสเร่งรัดแนวทาง

การเพิ่มอุปสงค์ของยางพาราในประเทศกลุ่มประชาคม

เศรษฐกิจอาเชี่ยน โดยเฉพาะการใช้ยางธรรมชาติใน

งานทางโดยใช้ยางพารากับยางมะตอยราดถนนเพื่อ

ปรับปรุงสมบัติของยางมะตอยให้ดีขึ้นโดยอาศัยสมบัติ

บางประการที่เป็นข้อดีของยางธรรมชาติก็เป็นโอกาส

ที่ไทยจะเป็นผู้นำประเทศในกลุ่มนี้หันมาบริโภคยาง

ของกลุ่มฯมากขึ้นของภาคปลายน้ำในโอกาสต่อไป

Page 19: วารสารยางพาราฉบับที่ 1-2556  ปีที่ 34

17 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 12 มกราคม-มีนาคม 2556

เอนก กุณาละสิริ, มณิสร อนันต๊ะ และ ทินกร เพชรสูงเนินกลุ่มวิจัยเศรษฐกิจยาง สถาบันวิจัยยาง

วิถีตลาดยางพารา ปี 2555

สถานการณ์ยางของโลก ปี 2555 เศรษฐกิจโลกยังเผชิญกับความไม่

แน่นอนในการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ทั้งอัตราการว่างงาน

ของสหรัฐที่ยังอยู่ในระดับสูง ปัญหาหนี้สาธารณะของ

ประเทศกลุ่มสหภาพยุโรปที่ยังคงยืดเยื้อ และมีแนวโน้ม

ขยายตัวออกไปยังหลายประเทศ เช่น สเปน อิตาลี

ลักเซมเบิร์ก ประกอบกับช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2555

(เมษายน-มิถุนายน) ตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

ของประเทศผู้ใช้ยางรายใหญ่ ได้แก่ จีน สหรัฐ อินเดีย

ชะลอตัวลง ส่งผลให้ความต้องการใช้ยางลดลงด้วย

อย่างไรก็ดี การขยายตัวทางเศรษฐกิจของตลาดเกิด

ใหม่ ทั้งในภูมิภาคเอเชีย แอฟริกา และอเมริกาใต้ ยัง

เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจของ

โลกไม่ลดลงมากนัก โดยเฉพาะความต้องการใช้ยาง

ของจีนและอินเดียยังมีอยู่อย่างต่อเนื่องตามการ

ขยายตัวของปริมาณการผลิตรถยนต์ โดยจีนเป็น

ประเทศผู้ผลิตรถยนต์มากที่สุดในโลกติดต่อกันนับ

ตั้งแต่ปี 2552 ขณะที่อินเดียซึ่งเป็นผู้ผลิตยางอันดับสี่

ของโลกประสบปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบในอุตสาหกรรม

ยานยนต์ต้องนำเข้ายางเกือบสองแสนตัน เป็นผลให้มี

คำสั่งซื้อยางธรรมชาติเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบเพิ่มขึ้นด้วย

อย่างไรก็ดี สถานการณ์การผลิตยางของผู้ผลิตยาง

ธรรมชาติในปีนี้ ปริมาณการผลิตรวมของโลกเพิ่มขึ้น

จากปี 2554 ร้อยละ 2.39 ในขณะที่ปริมาณการใช้ของ

กลุ่มประเทศผู้ใช้ลดลงจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 2.28

อย่างไรก็ตาม ในกลุ่มประเทศผู้ผลิตมีฤดูกาลทาง

ธรรมชาติผันผวน ได้แก่ ฝนตกต้นฤดูการผลิต ทำให้

ผลผลิตเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่กลุ่มประเทศผู้ปลูกยาง

รายใหม่ กลับมีผลผลิตมากขึ้น เช่น เวียดนาม ลาว

เป็นต้น

สถานการณ์การผลิตและการใช้ยางของโลก

ปี 2555 รายงานข่าวจากวารสารยางพารา

Rubber Bu l le t in (LMC In ternat iona l L td . ,

December, 2012) ได้คาดการณ์ปริมาณการผลิตยาง

ทั้งหมดของโลกว่ามีจำนวน 26.60 ล้านตันเพิ่มขึ้น

จากปี 2554 ซึ่งมีจำนวน 25.32 ล้านตัน ร้อยละ 5.06

ส่วนปริมาณการใช้ยางทั้ งหมดของโลกมีจำนวน

24.98 ล้านตัน ลดลงจากปี 2554 ซึ่งมีปริมาณการ

ใช้ 25.36 ล้านตัน ร้อยละ 1.50 โดยมีอุปทานส่วนเกิน

จากการผลิตยางสังเคราะห์คิดเป็นปริมาณ 0.081

ล้านตัน เมื่อแยกพิจารณายางแต่ละประเภทพบว่า

ปริมาณการผลิตยางธรรมชาติของโลกมีจำนวน 10.95

ล้านตัน (ตารางที่ 1) เพิ่มขึ้นจากปี 2554 ร้อยละ

2.39 สาเหตุจากราคาในช่วงที่ผ่านมาอยู่ในเกณฑ์สูง

จูงใจให้เกษตรกรผลิต หรือยืดอายุการโค่นยาง โดย

ประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติ ส่วนใหญ่มีการผลิตยาง

เพิ่มขึ้น ประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติมากที่สุดของ

โลก 5 อันดับแรกได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย อินเดีย

มาเลเซีย และเวียดนาม (ตารางที่ 2) ในจำนวนนี้

ปริมาณการผลิตยางของ 3 ประเทศ ได้แก่ ไทย

อินโดนีเซีย และมาเลเซีย มีสัดส่วนถึงร้อยละ 66

ของการผลิตยางทั้งหมดของโลก

การใช้ยางธรรมชาติของโลกปี 2555 มีจำนวน

10.61 ล้านตัน ลดลงจากปี 2554 ร้อยละ 2.28

ประเทศผู้ใช้ยางธรรมชาติมากที่สุดของโลก 5 อันดับ

แรกได้แก่ จีน อินเดีย สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และไทย

(ตารางที่ 3) สัดส่วนการใช้ยางธรรมชาติคิดเป็น

ร้อยละ 65.85 ของการใช้ยางทั้งหมดของโลก

สถานการณ์ราคายางในตลาดโลก

ราคายางในตลาดโลกปี 2555 โดยภาพรวม

Page 20: วารสารยางพาราฉบับที่ 1-2556  ปีที่ 34

18 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 12 มกราคม-มีนาคม 2556

ผลิต 10,401 14,207 24,608 10,695 14,622 25,317 10,951 14,452 25,403

ใช้ 10,778 14,067 24,845 10,858 14,504 25,362 10,610 14,371 24,981

สมดุล -377 140 -237 -163 118 -45 341 81 422

สต็อก 1,503 3,449 4,952 1,395 na na 1,830 na na

ไทย 3,252 3,569 3,778 9.75 5.86

อินโดนีเซีย 2,736 2,886 2,746 5.48 -4.85

มาเลเซีย 939 1,024 910 9.05 -11.13

อินเดีย 851 885 928 4.00 4.86

เวียดนาม 755 776 873 2.78 12.50

จีน 665 685 747 3.01 9.05

โกตดิวัวร์ 227 227 249 0.00 9.69

ศรีลังกา 153 160 159 4.58 -0.63

ลิเบีย 74 76 77 2.70 1.32

อื่นๆ 749 407 484 -45.66 18.92

รวม 10,401 10,695 10,951 2.83 2.39

ตารางที่ 1 ปริมาณการผลิต การใช้ และสต็อกยางของโลกปี 2553-2555

ตารางที่ 2 ปริมาณการผลิตยางธรรมชาติของประเทศต่างๆ ปี 2553-2555

รายการ

ประเทศ

ปี 2553

ปี 2553

ปี 2554

ปี 2554 ปี 2555

ปี 2555

% เพิ่ม/ลด

ยางธรรมชาติ

ยางธรรมชาติ

ยางธรรมชาติ

ปี 2554

ยางสังเคราะห์

ยางสังเคราะห์

ยางสังเคราะห์

ปี 2555

รวม รวม รวม

หน่วย : พันตัน

หน่วย : พันตัน

ที่มา : Rubber Bulletin (LMC International) December 2012

ที่มา : 1. Rubber Bulletin (LMC International) December 2012

2. สถิติยางประเทศไทย สถาบันวิจัยยาง , 2555

ปรับตัวลดลงจากปี 2554 ค่อนข้างมาก ถึงแม้ว่าการ

ฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและการขยายตัวของยอดขาย

รถยนต์ในหลายประเทศทั้งสหรัฐ จีน ญี่ปุ่น ยุโรป

แต่อุปทานยางมีจำกัดไม่ เพิ่มขึ้นตามสัดส่วนของ

Page 21: วารสารยางพาราฉบับที่ 1-2556  ปีที่ 34

19 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 12 มกราคม-มีนาคม 2556

ปริมาณการผลิต และจากประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติ

โดยเฉพาะไทยและมาเลเซียเกิดฝนตกชุกและแหล่ง

ผลิตยางบางส่วนได้รับผลกระทบจากอุทกภัยที่เกิดขึ้น

หลายครั้ง อย่างไรก็ดี ราคาน้ำมันดิบเคลื่อนไหวปรับตัว

ลดลงเล็กน้อยโดยราคาน้ำมัน Nymex ปี 2555 เฉลี่ย

94.15 เหรียญสหรัฐต่อบาเรลล์ ต่ำกว่าปี 2554 ซึ่ง

มีราคาเฉลี่ย 95.17 เหรียญสหรัฐต่อบาเรลล์ ร้อยละ

1.07 นอกจากนี้ ปัญหาหนี้สาธารณะของบางประเทศ

ในสหภาพยุโรป ได้แก่ กรีซ สเปน โปรตุเกส ฮังการี

และไอร์แลนด์ ทำให้นักลงทุนยังคงวิตกถึงการฟื้นตัว

ทางเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่ชัดเจน ส่งผลต่อการลดลง

ของราคายางในบางช่วงเวลา โดยราคายางแผ่นรมควัน

ชั้น 3 ตลาดโตเกียวเฉลี่ยปี 2555 กิโลกรัมละ 265.16

เยน ลดลงจากปี 2554 ร้อยละ 30.48 ส่วนราคายาง

แผ่นรมควันชั้น 3 ตลาดสิงคโปร์เฉลี่ยปี 2555 กิโลกรัม

ละ 338.11 เซนต์สหรัฐ ลดลงจากปี 2554 ร้อยละ

29.93 และราคายางแท่งชั้น 20 ตลาดสิงคโปร์เฉลี่ย

กิโลกรัมละ 315.98 เซนต์สหรัฐ ลดลงจากปี 2554

ร้อยละ 30.02 (ตารางที่ 4)

สถานการณ์ยางในประเทศสถานการณ์การผลิต การใช้ และการส่งออกยาง

ของไทย

การผลิตยางธรรมชาติของไทยปี 2555 มี

ปริมาณทั้งสิ้น 3,776,957 ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2554

ร้อยละ 8 .73 ในจำนวนนี้ ส่ งออกยางมาตรฐาน

2,556,103 ตัน ลดลงจากปี 2554 ร้อยละ 2.16

ส่วนยางผสมสารเคมี 565,218 ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2554

จีน 3,646 3,610 3,833 -0.99 6.18

สหรัฐอเมริกา 926 991 934 7.02 -5.75

อินเดีย 944 962 985 1.91 2.39

ญี่ปุ่น 750 783 731 4.40 -6.64

ไทย 459 488 504 6. 32 3.28

อินโดนีเซีย 421 428 502 1.66 17.29

มาเลเซีย 458 423 452 -7.64 6.86

เกาหลีใต้ 384 405 408 5.47 0.74

บราซิล 374 369 333 -1.34 -9.76

เยอรมัน 291 307 271 5.50 -11.73

อื่นๆ 2,125 2,092 1,657 -15.52 -20.79

รวม 10,778 10,858 10,610 0.74 -2.28

ตารางที่ 3 ปริมาณการใช้ยางธรรมชาติของประเทศต่างๆ ปี 2553-2555

ประเทศ ปี 2553 ปี 2554 ปี 2555% เพิ่ม/ลด

ปี 2554 ปี 2555

หน่วย : พันตัน

ที่มา : 1. Rubber Bulletin (LMC International) December 2012

2. สถิติยางประเทศไทย สถาบันวิจัยยาง , 2555

Page 22: วารสารยางพาราฉบับที่ 1-2556  ปีที่ 34

20 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 12 มกราคม-มีนาคม 2556

ร้อยละ 66.27 จากอุปทานเพิ่มมากขึ้นและความ

ต้องการใช้ยางของประเทศผู้ใช้รายใหญ่เพิ่มขึ้นเล็ก

น้อย เป็นปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้ราคายางของไทย

ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงต้นปี (เดือนมกราคมจนถึงกลาง

เดือนกุมภาพันธ์) ส่วนการใช้ยางในประเทศมีจำนวน

ประมาณ 504,000 ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2554 ร้อยละ

3.54 สัดส่วนการใช้ยางในประเทศคิดเป็นร้อยละ 13.34

ของปริมาณยางทั้งหมดที่ผลิตได้หรือร้อยละ 12.17 ของ

บัญชีสมดุลยางพาราของไทย ในปี 2555 (ตารางที่ 5)

มูลค่าส่งออกยางแปรรูปมาตรฐานของไทยลดลง

เหลือ 269,704 ล้านบาท โดยลดลงจากปี 2554 ร้อยละ

29.64 ของมูลค่ายางปี 2554 (ปี 2554 มูลค่าส่งออก

ยางแปรรูปมาตรฐาน 383,318 ล้านบาท) ส่วนยางผสม

สารเคมีเพิ่มขึ้นจากปี 2554 จำนวน 10,453 ล้านบาท

และผลิตภัณฑ์ยางมีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น 109,017

ล้านบาท ส่งผลให้ยางพารายังเป็นสินค้าเกษตรที่ทำ

รายได้เป็นอันดับหนึ่งของมูลค่าส่งออกสินค้าเกษตร

ทั้งหมด และเป็นอันดับที่ 5 ของมูลค่าสินค้าส่งออก

ทั้งหมดของประเทศรองจาก รถยนต์ (อุปกรณ์และ

ส่วนประกอบ) เครื่องคอมพิวเตอร์ (อุปกรณ์และส่วน

ประกอบ) อัญมณีและเครื่องประดับ และน้ำมัน

สำเร็จรูป

ดังนั้น หากรวมมูลค่าส่งออกทั้งหมดของยางพารา

ได้แก่ วัตถุดิบพร้อมทำผลิตภัณฑ์ยาง มูลค่าส่งออก

มกราคม 279.20 366.75 354.65

กุมภาพันธ์ 310.63 400.24 377.79

มีนาคม 317.42 393.04 378.16

เมษายน 300.87 384.75 366.75

พฤษภาคม 277.45 374.21 338.35

มิถุนายน 246.42 319.58 286.49

กรกฎาคม 234.15 307.84 289.30

สิงหาคม 213.78 279.32 259.34

กันยายน 241.44 303.85 276.30

ตุลาคม 254.28 320.10 295.23

พฤศจิกายน 241.45 297.21 279.85

ธันวาคม 264.84 310.47 289.60

เฉลี่ยปี 2555 265.16 338.11 315.98

เฉลี่ยปี 2554 381.42 482.54 451.55

% เพิ่ม/ลด -30.48 -29.93 -30.02

ตารางที่ 4 ราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 (RSS 3) และยางแท่งชั้น 20 (TSR 20)

ตลาดล่วงหน้าโตเกียวและสิงคโปร์ ปี 2555

เดือน โตเกียว (เยน/กิโลกรัม) สิงคโปร์ (เซนต์สหรัฐ/กิโลกรัม)

RSS 3RSS 3 TSR 20

ที่มา : เอกสารต้นฉบับ กลุ่มเศรษฐกิจยาง สถาบันวิจัยยาง , 2555

Page 23: วารสารยางพาราฉบับที่ 1-2556  ปีที่ 34

21 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 12 มกราคม-มีนาคม 2556

อุปทาน

- สต็อกต้นปี 251,721 293,659 227,252 361,557 5.98 8.73

- ผลผลิตในปี 3,164,379 3,252,135 3,569,033 3,776,957 93.91 91.19

- นำเข้า 3,167 6,542 4,398 3,491 0.12 0.08

รวมอุปทาน 3,419,267 3,552,336 3,800,683 4,142,005 100.00 100.00

อุปสงค์

- ส่งออกยางมาตรฐาน 2,308,694 2,438,786 2,612,439 2,556,103 68.74 61.71

- ส่งออกยางผสมสารเคมี 417,499 427,661 339,942 565,218 8.94 13.65

- ผลิตภัณฑ์ในประเทศ 399,415 458,637 486,745 504,000 12.81 12.17

รวม 3,125,608 3,325,084 3,439,126 3,625,321 90.49 87.53

- สต็อกปลายปี 293,659 227,252 361,557 516,684 9.51 12.47

รวมอุปสงค์ 3,419,267 3,552,336 3,800,683 4,142,005 100.00 100.00

ตารางที่ 5 บัญชีสมดุลยางพาราของไทย ช่วงปี พ.ศ. 2552 - 2555

รายการปริมาณ สัดส่วน (%)

ปี 2554ปี 2552 ปี 2553 ปี 2554 ปี 2555 ปี 2555

ที่มา : สถิติยางประเทศไทย สถาบันวิจัยยาง , 2555

ผลิตภัณฑ์ยาง ไม้ยางพาราและผลิตภัณฑ์จากไม้ยาง

พาราด้วยแล้ว อุตสาหกรรมยางทั้งระบบมีมูลค่าการ

ส่งออกรวมกัน 647,906 ล้านบาท ลดลงจากปี 2554

จำนวน 39,367 ล้านบาท หรือลดลง ร้อยละ 5.73

อย่างไรก็ตาม ก็ยังสูงกว่า ปี 2553 จำนวน 157,777

ล้านบาท หรือร้อยละ 24.35 (ตารางที่ 6) จากตาราง

จะเห็นว่า มูลค่ายางแปรรูปมาตรฐานในปี 2555 มี

มูลค่าลดลงจากปี 2554 ถึง 113,614 ล้านบาท หรือ

ร้อยละ 16.53 แต่ก็ได้รับการชดเชยรายได้ที่เพิ่มขึ้น

จากภาคยางผสมสารเคมีและภาคผลิตภัณฑ์ยางที่มี

มูลค่าเพิ่มขึ้นถึง 10,453 และ 64,140 ล้านบาท หรือ

ร้อยละ 1.52 และ 8.37 ตามลำดับ ส่วนประเทศ

ผู้นำเข้าที่สำคัญ 5 ลำดับแรกได้แก่ จีน มาเลเซีย ญี่ปุ่น

เกาหลีใต้ และสหรัฐอเมริกา (ตารางที่ 7) มีสัดส่วน

การส่งออก ประมาณร้อยละ 52.21 , 11.33 , 8.63 , 5.81

และร้อยละ 5.53 ของปริมาณการส่งออกทั้งหมดตาม

ลำดับ ปริมาณการส่งออกไป 5 ประเทศคิดเป็นร้อยละ

83.51 ที่ เหลือร้อยละ 16.49 ส่งออกไปยุโรปและ

ประเทศอื่นๆ

สถานการณ์ราคายางของไทย

ปี 2555 ราคายางของไทยเคลื่อนไหวในทิศทาง

เดียวกับราคายางต่างประเทศ โดยราคายาง F.O.B.

กรุงเทพฯ ล่วงหน้า 1 เดือน ราคายางแผ่นรมควันชั้น 3

เฉลี่ยกิโลกรัมละ 106.37 บาท ราคายางแท่งชั้น 5L เฉลี่ย

กิโลกรัมละ 103.11 บาท ราคายางแท่งชั้น 20 เฉลี่ย

กิโลกรัมละ 100.11 บาทและราคาน้ำยางข้นเฉลี่ย

กิโลกรัมละ 68.92 บาท (ตารางที่ 8 และภาพที่ 1)

ช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2555 (มกราคม-มีนาคม)

ราคายางโดยรวมยังคงปรับตัวสูงขึ้นจากช่วงไตรมาส

หน่วย : เมตริกตัน

Page 24: วารสารยางพาราฉบับที่ 1-2556  ปีที่ 34

22 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 12 มกราคม-มีนาคม 2556

ที่ 4 ของปี 2554 (ตุลาคม-ธันวาคม) และทำสถิติสูงขึ้น

เป็นประวัติการณ์ โดยมีสาเหตุมาจากความต้องการ

ใช้ยางจากผู้ซื้อรายใหญ่ได้แก่ จีน สหรัฐ ญี่ปุ่น ยังมี

อยู่อย่างต่อเนื่องตามการขยายตัวของอุตสาหกรรม

ยานยนต์ทั่วโลก และได้รับปัจจัยบวกจากราคาน้ำมัน

ที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเหนือระดับเฉลี่ย 103.03 เหรียญ

สหรัฐต่อบาเรลล์ ขณะที่อุปทานยางยังมีจำกัด เนื่อง

จากประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติส่วนใหญ่เริ่มเข้าสู่ฤดู

ยางผลัดใบ ประกอบกับภาคใต้ของไทยและมาเลเซีย

มีฝนตกเป็นระยะ โดยราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 F.O.B.

กรุงเทพฯเฉลี่ย มกราคม-มีนาคม 2555 กิโลกรัมละ

121.05 บาท ปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ปี 2554

ซึ่งมีราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 113.46 บาท ร้อยละ 6.70

เช่นเดียวกับราคายางแท่งชั้น 20 ที่มีราคาเฉลี่ยกิโลกรัม

ละ 115.64 บาท ปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาส 4 ปี 2554

ซึ่งมีราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 112.71 บาท ร้อยละ 2.60

ด้านราคายางแผ่นดิบคุณภาพ 3 ตลาดกลางยางพารา

สงขลา เฉลี่ยกิโลกรัมละ 103.92 บาท สูงขึ้นจากไตรมาส

1. ยางแปรรูปมาตรฐาน

- ยางแผ่นรมควัน 42,996 67,701 115,400 70,409 16.79 10.87

- ยางแท่ง 50,146 97,737 171,762 129,912 24.99 20.05

- น้ำยางข้น 40,638 35,144 76,633 61,507 11.15 9.49

- อื่น ๆ 12,483 48,681 19,523 7,876 2.84 1.22

รวม 146,263 249,263 383,318 269,704 55.77 41.63

2. ยางผสมสารเคมี 50,122 28,796 47,118 57,571 6.86 8.89

3. ผลิตภัณฑ์ยาง

- ยางยานพาหนะ 64,280 84,766 114,301 107,696 16.63 16.62

- ยางยืด 1,892 9,746 11,056 10,733 1.61 1.66

- ถุงมือยาง 22,272 30,446 34,382 36,284 5.00 5.60

- ยางวัลคาไนท์ na na na 11,881 na 1.83

- อื่น ๆ 60,823 31,353 35,674 93,229 5.19 14.39

รวม 149,267 156,311 159,413 259,832 28.43 40.10

รวมภาคยาง 345,652 434,370 625,849 587,107 91.06 90.62

4. ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ 41,015 55,751 61,424 60,799 8.94 9.38

รวมทั้งหมด 386,667 490,120 687,273 647,906 100.00 100.00

ตารางที่ 6 บัญชีสมดุลมูลค่ายางพาราของไทย ช่วงปี พ.ศ. 2552 - 2555

รายการมูลค่า สัดส่วน (%)

ปี 2554ปี 2552 ปี 2553 ปี 2554 ปี 2555 ปี 2555

ที่มา : สถิติยางประเทศไทย สถาบันวิจัยยาง , 2555

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ (30 ม.ค.2556)

หน่วย : ล้านบาท

Page 25: วารสารยางพาราฉบับที่ 1-2556  ปีที่ 34

23 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 12 มกราคม-มีนาคม 2556

จีน 1,128,553 1,274,188 1,629,792

มาเลเซีย 443,000 344,589 353,500

ญี่ปุ่น 346,302 333,669 269,274

สหรัฐอเมริกา 117,859 205,410 172,578

เกาหลีใต้ 171,530 186,635 181,403

อื่นๆ 659,203 607,890 514,785

รวม 2,866,447 2,952,381 3,121,332

มกราคม 115.10 114.81 111.81 71.78

กุมภาพันธ์ 125.38 121.36 118.36 80.74

มีนาคม 122.67 119.74 116.74 80.10

เมษายน 119.95 118.53 115.53 78.51

พฤษภาคม 117.63 113.40 110.40 74.72

มิถุนายน 107.63 100.04 97.04 70.20

กรกฎาคม 99.54 96.07 93.07 66.85

สิงหาคม 89.13 87.50 84.45 60.88

กันยายน 93.63 89.67 86.67 61.41

ตุลาคม 98.57 94.92 91.92 64.13

พฤศจิกายน 91.99 89.58 86.58 58.20

ธันวาคม 95.17 91.76 88.76 59.57

เฉลี่ยปี 2555 106.37 103.11 100.11 68.92

เฉลี่ยปี 2554 148.27 144.55 141.22 93.76

% เพิ่ม/ลด -28.26 -26.99 -29.11 -26.49

ตารางที่ 7 ปริมาณการส่งออกยางของไทยไปประเทศต่างๆ 5 อันดับแรก ปี 2553-2555

ตารางที่ 8 ราคา F.O.B. กรุงเทพฯ ล่วงหน้า 1 เดือนของยางประเภทต่างๆ ปี 2555

ประเทศ

เดือน

ปี 2553

RSS 3

ปี 2554

STR 5 L

ปี 2555

STR 20 น้ำยางข้น

หน่วย : ตัน

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สถิติยางประเทศไทย สถาบันวิจัยยาง , 2555

ที่มา : เอกสารต้นฉบับ กลุ่มเศรษฐกิจยาง สถาบันวิจัยยาง , 2555

Page 26: วารสารยางพาราฉบับที่ 1-2556  ปีที่ 34

24 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 12 มกราคม-มีนาคม 2556

ที่ 4 ปี 2554 ซึ่งมีราคาเฉลี่ย 93.94 บาทร้อยละ 10.62

อย่างไรก็ตาม ราคายางยังมีความผันผวนตามการ

เก็งกำไรของนักลงทุนในตลาดซื้อขายล่วงหน้า อัน

เนื่องมาจากความกังวลกับปัญหาหน้าผาทางการคลัง

(Fiscall Cliff) ของสหรัฐ ซึ่งทำให้มีการเทขายสัญญา

ในตลาดล่วงหน้าเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากการ

ถดถอยทางเศรษฐกิจเป็นระยะ

ช่ วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2555 ( เมษายน-

มิถุนายน) ราคายางโดยรวมปรับตัวลดลงจากช่วง

ไตรมาสที่ 1 ของปี 2555 โดยราคายางแผ่นรมควัน

ชั้น 3 F.O.B.กรุงเทพฯ เฉลี่ยเมษายน-มิถุนายน 2555

กิโลกรัมละ 115.07 บาท ปรับตัวลดลงจากไตรมาส

ที่ 1 ปี 2555 ร้อยละ 4.94 เช่นเดียวกับราคายางแท่ง

ชั้น 20 ที่มีราคาเฉลี่ย กิโลกรัมละ 107.65 บาท ปรับตัว

ลดลงจากไตรมาส 1 ปี 2555 ร้อยละ 7.42 ด้านราคา

ยางแผ่นดิบคุณภาพ 3 ตลาดกลางยางพาราสงขลา

เฉลี่ยกิโลกรัมละ 98.30 บาท ลดลงจากราคาเฉลี่ย

ไตรมาสที่ 1 ปี 2555 ร้อยละ 5.41 เนื่องจากความ

ต้องการใช้ยางจากผู้ซื้อรายใหญ่ โดยเฉพาะญี่ปุ่น

ชะลอตั วลงจากผลกระทบภัยธรรมชาติที่ ส่ งผล

ต่อเนื่องไปยังกระบวนการผลิตรถยนต์ที่ขาดแคลน

ชิ้นส่วน จนผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ อาทิ โตโยต้า ฮอนด้า

นิสสัน ต้องประกาศลดกำลังการผลิตทั้งโรงงานใน

ญี่ปุ่นและโรงงานที่ตั้งอยู่นอกญี่ปุ่น เช่น อเมริกาใต้

ซึ่งภาวะขาดแคลนชิ้นส่วนส่งผลอย่างชัดเจนต่อยอด

จำหน่ายรถยนต์ ทั้ งในญี่ปุ่นและจีนช่วงเมษายน-

พฤษภาคม 2554 ประกอบกับนักลงทุนยังกังวลเกี่ยว

กับเศรษฐกิจสหรัฐที่ยังเปราะบาง ตัวเลขหนี้สินและ

การว่างงานของสหรัฐยังอยู่ในอัตราสูง รวมทั้งปัญหา

หนี้สาธารณะของกรีซที่ยังไม่คลี่คลาย กระทบต่อความ

เชื่อมั่นของนักลงทุน นอกจากนี้ ยังได้รับปัจจัยลบจาก

ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง

จนอยู่ในระดับต่ำกว่า 100 เหรียญสหรัฐต่อบาเรลล์

โดยราคาเฉลี่ยไตรมาสที่สอง อยู่ที่ 93.35 เหรียญ

สหรัฐต่อบาเรลล์

ช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2555 (กรกฎาคม-

กันยายน) ราคายางโดยรวมยังคงปรับตัวลดลงจาก

ช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2555 เนื่องจากนักลงทุนยัง

กังวลต่อภาวะเศรษฐกิจโลก หลังจากตัวเลขการ

ว่างงานของสหรัฐยั งอยู่ ในระดับสู ง สะท้อนการ

ภาพที่ 1 ราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 (RSS3) F.O.B. กรุงเทพฯ ราคายางแผ่นดิบ (USS) ตลาดกลางยางพาราสงขลาและตลาดท้องถิ่น ปี 2554-2555

ปี/เดือน

Page 27: วารสารยางพาราฉบับที่ 1-2556  ปีที่ 34

25 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 12 มกราคม-มีนาคม 2556

จ้างงานที่ ไม่ เพิ่มขึ้นมากนัก ประกอบกับการผลิต

รถยนต์ของญี่ปุ่นยังคงไม่เต็มที่หลังจากได้รับผลกระทบ

จากภัยธรรมชาติ รวมทั้งบริษัทจัดอันดับความน่า

เชื่อถือทางการเงินสแตนดาร์ดแอนด์พัวร์ได้ปรับลด

อันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐ นอกจากนี้ นักวิเคราะห์

จากโกลด์แมนแซคส์และเจพีมอร์แกนด์ ซึ่ ง เป็น

ธนาคารรายใหญ่ของสหรัฐได้ปรับลดคาดการณ์การ

เจริญเติบโตของเศรษฐกิจโลกด้วย อย่างไรก็ตาม

ผู้ ใช้ยางจากจีนยังคงมีคำสั่ งซื้อยางอย่างต่อเนื่อง

ประกอบกับมาตรการรักษาเสถียรภาพราคายางของ

ไทยและสามประเทศยังเป็นปัจจัยทางจิตวิทยาที่

ส่งผลในเชิงบวกต่อราคายาง ช่วยพยุงราคายางไม่

ให้ลดลงมากนัก โดยราคายางแผ่นรมควันชั้น 3

F.O.B.กรุงเทพฯ เฉลี่ยกรกฎาคม-กันยายน 2555

กิโลกรัมละ 94.10 บาท ปรับตัวลดลงจากไตรมาส

ที่ 2 ปี 2555 ร้อยละ 18.22 เช่นเดียวกับราคายาง

แท่งชั้น 20 ที่มีราคาเฉลี่ย กิโลกรัมละ 88.06 บาท

ปรับตัวลดลงจากไตรมาส 2 ปี 2555 ร้อยละ 18.20

ด้านราคายางแผ่นดิบคุณภาพ 3 ตลาดกลางยาง

พาราสงขลา เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.35 บาท ลดลง

จากราคาเฉลี่ยไตรมาสที่ 2 ปี 2555 ร้อยละ 8.09

ไตรมาสที่ 4 ของปี 2555 (ตุลาคม-ธันวาคม)

แม้ว่าช่วงไตรมาสนี้อุปทานยางมีจำกัด เนื่องจาก

สภาพอากาศไม่เอื้ออำนวยต่อการผลิต โดยภาคใต้ของ

ไทยและมาเลเซียเกิดฝนตกเป็นระยะๆ แต่ราคายาง

ยังคงปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 3

เนื่องจากจีนซึ่งเป็นผู้ใช้ยางรายใหญ่ที่สุดของโลกชะลอ

การซื้อ เพื่อรอให้ราคายางลดลง โดยคาดว่าอุปทานยาง

จะออกสู่ตลาดมากประกอบกับมีรายงานว่าจีนยังมี

สต็อกยางเพียงพอต่อการใช้ รวมทั้งนักลงทุนมีความ

กั ง ว ล ต่ อ ปั ญ ห า ห นี้ ส า ธ า ร ณ ะ ข อ ง ป ร ะ เ ท ศ ก ลุ่ ม

สหภาพยุโรปที่ยังไม่คลี่คลาย โดยราคายางแผ่นรม

ควันชั้น 3 เฉลี่ยกิโลกรัมละ 95.25 บาท เพิ่มขึ้นจาก

ไตรมาสที่ 3 ร้อยละ 1.22 เช่นเดียวกับราคายางแท่ง

ชั้น 20 ที่ เคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกับยางแผ่น

รมควันชั้น 3 โดยมีราคาไตรมาส 4 เฉลี่ยกิโลกรัมละ

89.09 บาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 3 ร้อยละ 1.17 ด้าน

ราคายางแผ่นดิบคุณภาพ 3 ตลาดกลางยางพารา

สงขลา เฉลี่ยกิโลกรัมละ 79.79 บาท ลดลงจากราคา

เฉลี่ยไตรมาสที่ 3 ถึงร้อยละ 11.69

Page 28: วารสารยางพาราฉบับที่ 1-2556  ปีที่ 34

26 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 12 มกราคม-มีนาคม 2556

สถาบันวิจัยยางได้วิจัยและพัฒนาระบบตลาด

กลางยางพารามาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2534 โดยได้

จัดตั้งตลาดกลางยางพาราครั้งแรกที่อำเภอหาดใหญ่

จังหวัดสงขลา จนถึงปัจจุบันมีตลาดอยู่ภายใต้ความ

ดูแลของสถาบันวิจัยยาง 6 แห่ง คือ ตลาดกลางยาง

พาราสงขลา สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช บุรีรัมย์

หนองคาย และยะลา ครอบคลุมพื้นที่ปลูกยางส่วนใหญ่

ของประเทศ และได้พัฒนารูปแบบการซื้อขายจากเดิม

ที่มีเพียงการซื้อขายวันต่อวัน โดยขยายการให้บริการไป

สู่ตลาดซื้อขายยางแบบข้อตกลงส่งมอบจริง (Physical

Forward Market) ซึ่งเป็นการตกลงซื้อขายแล้วส่งมอบ

ภายใน 7 วัน และในอนาคตอันใกล้สถาบันวิจัยยางจะ

ยกระดับตลาดซื้อขายยางแบบข้อตกลงส่งมอบจริงเข้า

สู่มาตรฐานสากล โดยพัฒนาทั้งรูปแบบการซื้อขายที่ให้

ผู้ซื้อผู้ขายกำหนดได้ทั้งราคาและปริมาณที่ต้องการ

ซื้อขายผ่านระบบอินเตอร์เน็ต เพิ่มชนิดสินค้ายางเป็น

ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ไม่อัดก้อน ยางแผ่นรมควันชั้น 3

อัดก้อน และยางแท่ง STR 20 และขยายการให้บริการให้

ครอบคลุมผู้ซื้อผู้ขายทั้งภายในและต่างประเทศ ภายใต้

ชื่อ “ตลาดข้อตกลงส่งมอบจริงประเทศไทย (Rubber-

thai Physical Forward Central Market : Rubberthai

PFCM )”

ก้าวแรกของการพัฒนาระบบตลาดกลางยางพาราไทย

ในปี 2553 สถาบันวิจัยยางได้มอบหมายให้

สำนักงานตลาดกลางยางพารานครศรีธรรมราช

อธิวีณ์ แดงกนิษฐ์ อัญญาณี มั่นคง และ สุวิทย์ รัตนพงศ์ สำนักงานตลาดกลางยางพารานครศรีธรรมราช1

ตลาดกลางยางพาราไทย ก้าวไกลสู่ตลาดโลก

ดำเนินงานวิจัยทางการตลาดโดยเปิดให้บริการตลาด

ซื้อขายยางแบบข้อตกลงส่งมอบจริง (Forward Market)

ตั้งแต่เดือนมกราคม 2553 มีเป้าหมายเพื่อเป็นช่องทาง

ให้เกษตรกร สถาบันเกษตรกร ใช้ในการป้องกันความ

เสี่ยงที่เกิดจากความผันผวนของราคา และให้เกษตรกร

รู้จักการวางแผนทางการตลาด รูปแบบการซื้อขายเป็น

ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ไม่อัดก้อน รอบการซื้อขาย 60 ตัน

ต่อรอบ และระยะเวลาส่งมอบภายใน 7 วัน โดยให้ผู้ซื้อ

เสนอราคาที่ต้องการซื้อในลักษณะของการประมูล

ตั้งแต่เวลา 13.00 – 14.00 น. แล้วผู้ขายจึงเสนอปริมาณ

ที่ต้องการขายตั้งแต่เวลา 14.00-16.00 น. ซึ่งการเสนอ

ขายจะอยู่บนพื้นฐานของการทราบต้นทุนการผลิตแล้ว

เนื่องจากในกระบวนการผลิตยางแผ่นรมควันตั้งแต่การ

รับน้ำยางจนถึงการ Cutting ใช้เวลาประมาณ 5-6 วัน

ผลจากการเปิดให้บริการถึงปัจจุบันมีเกษตรกร

และสถาบันเกษตรกรเข้ามาใช้บริการตลาดข้อตกลง

ส่งมอบจริงเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว จากปีแรกที่มี

สมาชิกผู้ขายเพียง 38 ราย ปัจจุบันมีสมาชิกผู้ขาย

84 ราย โดยเฉพาะเกษตรกรที่มีโรงรมส่วนตัวที่เพิ่มขึ้น

จากปีแรกที่เปิดดำเนินการมี 21 ราย เป็น 55 ราย

ในปีปัจจุบัน (ตารางที่ 1) และผลการซื้อขายยางใน

ตลาดข้อตกลงส่งมอบจริงมีมูลค่าถึง 706,636,195 บาท

ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (ตารางที่ 2) โดยพฤติกรรมการ

ขายยางของเกษตรกรในแต่ละรอบการซื้อขาย หาก

ราคามีแนวโน้มลดลงหรือ เป็นช่ วงราคาผันผวน

ปริมาณการเสนอขายจะเต็มจำนวนในแต่ละรอบ

แต่หากในช่วงที่ราคามีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น ปริมาณ

1 ม.2 ต.จันดี อ.ฉวาง จ.นครศรีธรรมราช 80250 โทร. 075-486-309 www.ruberthaiauction.com และ E-mail: [email protected]

Page 29: วารสารยางพาราฉบับที่ 1-2556  ปีที่ 34

27 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 12 มกราคม-มีนาคม 2556

การเสนอขายจะน้อยไม่ครบ 60 ตัน เนื่องจากใน

ช่ วงที่ ร าคาลดลงหรื อผันผวน เกษตรกรจะแบ่ ง

สัดส่วนในการขายในตลาดข้อตกลงส่งมอบจริงมาก

กว่าขายในตลาดปัจจุบันเพื่อประกันความเสี่ยงและ

ป้องกันการขาดทุน แต่ในช่วงที่ราคาสูงขึ้นเกษตรกรจะ

แบ่งสัดส่วนในการขายในตลาดปัจจุบันมากกว่าเพื่อ

สร้างโอกาสในการหากำไร จึงแสดงให้เห็นว่าเกษตรกร

ตัดสินใจเสนอขายภายใต้การวิเคราะห์ต้นทุน มีการ

บริหารความเสี่ยงที่เกิดจากความผันผวนของราคา และ

การขายยางผ่านตลาดข้อตกลงส่งมอบจริงเป็นช่องทาง

ที่ทำให้เกษตรกรมีความเข้มแข็ง จนปัจจุบันจังหวัด

นครศรีธรรมราชเป็นจังหวัดที่มี เกษตรกรที่มีโรงรม

ส่วนตัวมากที่สุดในประเทศไทย ดังนั้น เพื่อเป็นการ

พัฒนาต่อยอด สถาบันวิจัยยางจึงพัฒนาตลาดซื้อขาย

ยางแบบข้อตกลงส่งมอบจริง ตลาดกลางยางพารา

นครศรีธรรมราชไปเป็น “ตลาดข้อตกลงส่งมอบจริง

ประเทศไทย” โดยพัฒนารูปแบบการซื้อขายให้เป็น

สากลเป็นการซื้อขายผ่านระบบ Internet ให้ผู้ซื้อและ

ผู้ขายเสนอทั้งราคาและปริมาณที่ต้องการซื้อขาย เพิ่ม

ชนิดสินค้าเป็น ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ชนิดไม่อัดก้อน

ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ชนิดอัดก้อน และยางแท่ง STR 20

2553 4 21 17 38

2554 6 46 30 76

2555 7 55 29 84

2553 50 315 103.28 1,368,512 142,996,816

2554 500 672 140.77 2,407,003 334,772,378

2555 700 693 103.11 2,316,835 228,867,001

รวม 1,250 1,680 115.72 6,092,350 706,636,195

ตารางที่ 1 จำนวนสมาชิกตลาดข้อตกลงส่งมอบจริง

ตารางที่ 2 ผลการซื้อขายยางตลาดข้อตกลงส่งมอบจริง

ระยะเวลา

(ปีงบประมาณ)

ระยะเวลา(ปีงบประมาณ)

ราคายางเฉลี่ย

(บาท/กก.)

ปริมาณยางตกลงซื้อ-ขาย

(กก.)

มูลค่ายาง(บาท)

จำนวนสมาชิกผู้ประมูลจำนวนสมาชิกผู้ขาย

การดำเนินงาน

เกษตรกร

เป้าหมาย(สัญญา)

จำนวนซื้อ-ขาย (สัญญา)

สถาบันเกษตรกร รวม

ที่มา : รายงานผลการดำเนินงานตลาดข้อตกลงส่งมอบจริง สำนักงานตลาดกลางยางพารานครศรีธรรมราช (กุมภาพันธ์, 2556)

ที่มา : รายงานผลการดำเนินงานตลาดข้อตกลงส่งมอบจริง สำนักงานตลาดกลางยางพารานครศรีธรรมราช (กุมภาพันธ์, 2556)

Page 30: วารสารยางพาราฉบับที่ 1-2556  ปีที่ 34

28 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 12 มกราคม-มีนาคม 2556

ตลาดข้อตกลงส่งมอบจริงประเทศไทย ก้าวที่สำคัญสู่ตลาดโลก

“ตลาดข้อตกลงส่งมอบจริงประเทศไทย (Rubber-

thai Physical Forward Central Market : Rubber-

thai PFCM )” กลไกสำคัญที่จะทำให้ราคายางของ

ประเทศไทยมีบทบาทและและใช้ในการกำหนดราคา

ในตลาดโลก เพราะถึงแม้ปัจจุบันประเทศไทยเป็น

ประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ของโลก แต่ในการกำหนด

ราคาซื้อขายในแต่ละวันยังคงต้องอ้างอิงราคาจาก

ตลาดล่วงหน้าทั้งตลาด Singapore Exchange :

SGX หรือ SICOM ในอดีต ตลาด TOCOM และ

ตลาดเซี่ยงไฮ้ ซึ่งผู้ที่ เข้าไปซื้อขายในตลาดล่วงหน้า

มีทั้งผู้ประกันความเสี่ยงและนักเก็งกำไร ทำให้ราคา

ที่เกิดขึ้นบางครั้งเกิดจากการเข้าไปซื้อขายเพื่อทำกำไร

ในระยะสั้น ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของ real demand,

real supply หรือต้นทุนการผลิตที่แท้จริง ดังนั้น

ตลาดข้อตกลงส่งมอบจริงประเทศไทย จึงกำหนด

ให้ทุกสัญญาที่เกิดขึ้นต้องส่งมอบและรับมอบสินค้าจริง

และต้องถือสัญญาตั้งแต่วันทำสัญญาจนถึงวันรับมอบ

และส่งมอบสินค้าไม่สามารถเปลี่ยนมือได้ ชนิดยาง

ที่เข้ามาซื้อขายในข้อตกลงส่งมอบจริง ได้แก่ ยางแผ่น

รมควันชั้น 3 ชนิดไม่อัดก้อน ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ชนิด

อัดก้อน และยางแท่ง STR 20 โดยยางแผ่นรมควันชั้น 3

ชนิดไม่อัดก้อน ผู้ขายเป็นสถาบันเกษตรกรหรือเกษตรกร

ที่มีโรงรม ผู้ซื้อเป็นผู้ประกอบการค้ายาง โรงงานยาง

หรือสถาบันเกษตรกรที่มีโรงอัดก้อนเป็นของตนเอง

ระยะเวลาการส่งมอบ 7 วัน ยางแผ่นรมควันอัดก้อน

และยางแท่ง STR 20 ผู้ขายเป็นโรงงานยาง ผู้ส่งออก

ยาง หรือเป็นเกษตรกร สถาบันเกษตรกร ที่มี ใบ

รับรองมาตรฐาน GMP จากสถาบันวิจัยยาง ผู้ซื้อ เป็น

บริษัทผู้ผลิตภัณฑ์ยางทั้งในและต่างประเทศ โรงงาน

ยาง ผู้ส่งออกยาง และสถาบันเกษตรกร รอบการ

ซื้อขาย 10 วันทำการ ดังนั้น เพื่อสามารถให้งาน

วิจัยชิ้ นนี้ เป็นประโยชน์ต่อระบบตลาดกลางยาง

พาราของประเทศ สถาบันวิจัยยางกรมวิชาการ

เกษตรจึงกำหนดแนวทางปฏิบัติเพื่อการวิจัยในระยะ

ต่อไป ดังนี้

รูปแบบการซื้อขาย

จะเป็นการซื้อขายผ่านระบบซื้อขายยางอิเล็ก-

ทรอนิกส์ โดยผู้ซื้อผู้ขายเป็นเจ้าของ username และ

password เปิดการเสนอซื้อขายในเวลา 13.00 –

15.00 น. ของทุกวันทำการ การรับมอบส่งมอบ ณ

โกดังของตลาดข้อตกลงส่งมอบจริงประเทศไทย

ซึ่งอยู่ ณ สำนักงานตลาดกลางยางพาราในพื้นที่หรือ

สถานที่ที่คณะกรรมการตลาดกลางข้อตกลงส่งมอบจริง

ประเทศไทยกำหนด โดยผู้ขายได้รับเงินค่ายางเมื่อ

ส่งมอบยางครบตามกำหนดในสัญญา ผู้ซื้อจ่ายเงินค่า

ยางเมื่อได้รับยางครบตามกำหนดในสัญญา และถือเป็น

การสิ้นสุดสัญญา

ข้อกำหนดในการซื้อขายยางแผ่นรมควันชั้น 3 ชนิด

ไม่อัดก้อน

1. การซื้อขายทั้งระบบต้องได้รับความเห็นชอบ

จากคณะกรรมการตลาดข้อตกลงส่งมอบจริงประเทศ

ไทย

2. ผู้ขาย/ผู้ซื้อ ต้องสมัครเป็นสมาชิกซื้อขายยาง

ตลาดข้อตกลงส่งมอบจริงโดยมีสัญญากำกับแยกเป็น

สำนักงานตลาดกลางยางพาราในพื้นที่ของสถาบันวิจัย

ยาง กรมวิชาการเกษตร โดยทุกรายต้องผ่านการประเมิน

ศักยภาพด้านการผลิตและคุณภาพยางจากคณะ

กรรมการตลาดข้อตกลงส่งมอบจริงประเทศไทย

3. การลงทะเบียนสมาชิก

3.1 เอกสารและคุณสมบัติของผู้ขาย

(1 ) ต้ อง เป็นสถาบัน เกษตรกร หรื อ

เกษตรกรที่มีโรงรม โดยต้องเป็นสมาชิกผู้ขายยางแผ่น

รมควันของสำนักงานตลาดกลางยางพาราในพื้นที่ไม่ต่ำ

กว่า 6 เดือน

(2) เอกสารประกอบการยื่นลงทะเบียน

- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน

- กรณีสถาบันเกษตรกรเป็นนิติบุคคล

ให้ทำหนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรประจำตัว

ประชาชนของผู้สมัครและผู้รับมอบอำนาจ

- สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร

กรุงไทย จำกัด (มหาชน) สาขาที่สำนักงานตลาดกลาง

ยางพารานั้นๆ กำหนด

Page 31: วารสารยางพาราฉบับที่ 1-2556  ปีที่ 34

29 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 12 มกราคม-มีนาคม 2556

3.2 เอกสารและคุณสมบัติของผู้ซื้อ

(1) เป็นผู้ประกอบการค้ายาง โรงงานยาง

ซึ่งต้องมีคุณสมบัติเป็นสมาชิกของสมาคมยางพาราไทย

หรือสถาบันเกษตรกรที่มีโรงงานอัดก้อนเป็นของตนเอง

โดยต้องเป็นสมาชิกของสำนักงานตลาดกลางยางพารา

(2) กรณีสมาชิกนอกเหนือจากข้อ 3.2 (1)

ผู้สมัครเป็นสมาชิกผู้ซื้อต้องได้รับการรับรองจากสมาชิก

ผู้ซื้อรายเดิมอย่างน้อย 1 ราย

(3) เอกสารประกอบการยื่นลงทะเบียน

- สำเนาใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วน พร้อมหนังสือรับรองการจด

ทะเบียนเป็นนิติบุคคล

- สำเนาใบอนุญาตค้ายาง

- หนังสือมอบอำนาจพร้อมติดอากร

แสตมป์ 30 บาท

- สำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตร

ประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบ

อำนาจ

- หนังสือรับรองการประกอบธุรกิจยาง

จากสมาคมยางพาราไทย หรือจากสมาชิกผู้ซื้อใน

สำนักงานตลาดกลางยางพารานั้นๆ

- ใบรับรองฐานะทางการ เงินของ

ธนาคารพาณิชย์ย้อนหลัง 6 เดือน

- ก ร ณี ที่ ไ ม่ มี ห นั ง สื อ รั บ ร อ ง ก า ร

ประกอบธุรกิจยางจากสมาคมยางพาราไทย หรือ

จากสมาชิกผู้ซื้อในสำนักงานตลาดกลางยางพารา

นั้นๆ ต้องมีหนังสือรับรองค้ำประกันจากธนาคาร

วงเงินไม่น้อยกว่า 2 ล้านบาท และหนังสือรับรอง

ค้ำประกันจากธนาคารใช้เฉพาะสำนักงานตลาดกลาง

ยางพาราที่สมัครเป็นสมาชิกเท่านั้น

4. สินค้ายางที่จะทำการซื้อขาย

(1) ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ชนิดไม่อัดก้อนซึ่งได้

รับการตรวจสอบคุณภาพจากเจ้าหน้าที่คัดคุณภาพของ

สำนักงานตลาดกลางยางพาราในพื้นที่

(2) การคัดคุณภาพใช้มาตรฐานที่สถาบันวิจัย

ยาง กรมวิชาการเกษตร กำหนด

(3) เจ้าหน้าที่สำนักงานตลาดกลางยางพารา

เป็นผู้คัดคุณภาพยาง กรณีตรวจพบสิ่งปลอมปนใน

แผ่นยาง จะห้ามมิให้นำยางเข้ามาขายสำนักงานตลาด

กลางยางพารา หรือแล้วแต่กรณีขึ้นอยู่กับเจตนาและ

ความถี่ที่ตรวจพบสิ่งปลอมปน ทั้งนี้สำนักงานตลาด

กลางยางพาราจะพิจารณาสถานภาพการเป็นสมาชิก

ซึ่งให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการตลาดข้อตกลงส่งมอบ

จริงแห่งประเทศไทยกำหนด

(4) ปริมาณการซื้อขาย เป็นหน่วยการซื้อขาย

หน่วยละ 1 ตัน

(5) การนำยางเข้าตลาด ต้องนำเข้าเป็นจำนวน

หน่วยการซื้อขาย และปริมาณรวม บวก/ลบ ไม่เกิน 100

กิโลกรัม

(6) ปริมาณการเสนอขายรวมไม่เกิน 80% ของ

กำลังการผลิตรวมของผู้ขายในรอบ 7 วัน

(7) กรณีที่มีปัญหาหรือข้อพิพาทเรื่องคุณภาพ

ยางให้ถือการตัดสินของผู้อำนวยการสำนักงานตลาด

กลางยางพาราเป็นที่สิ้นสุด

5. การซื้อขาย

(1) ทำการซื้อขายผ่านระบบซื้อขายยางอิเล็ก

ทรอนิกส์โดยผู้ซื้อและผู้ขายเป็นเจ้าของชื่อผู้ใช้ (user-

name) และรหัสผ่าน (password) ต้องรับผิดชอบใน

กรณีที่มีความผิดพลาดเกิดขึ้นแต่เพียงผู้เดียว ไม่ว่ากรณี

ใดหากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาจะต้องชดใช้ค่า

เสียหายตามกฎหมายต่อไป

(2) การซื้อขายจะต้องทำสัญญาซื้อขายตามที่

คณะกรรมการตลาดข้อตกลงส่งมอบจริงประเทศไทย

กำหนด

(3) รอบการซื้อขาย 7 วัน

(4) การเสนอซื้อเสนอขาย เริ่มในเวลา 13.00 –

15.00 น.

(5) ใช้ราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 ตลาดปัจจุบัน

(Spot Market) ณ วันที่ทำการซื้อขาย เป็นราคากลาง

ในการเสนอซื้อ/เสนอขาย และทำการหยุดตลาด 30

นาที หากราคาเสนอซื้อ/เสนอขายบวกหรือลบต่างจาก

ราคากลาง 3 บาท

6. การจ่ายเงินค่ายาง

(1) ผู้ขายได้รับเงินค่ายางเมื่อส่งมอบยางครบ

ตามสัญญา โดยโอนเข้าบัญชีผู้ขายผ่านธนาคารที่

สำนักงานตลาดกลางยางพาราในพื้นที่กำหนด

Page 32: วารสารยางพาราฉบับที่ 1-2556  ปีที่ 34

30 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 12 มกราคม-มีนาคม 2556

(2) ผู้ซื้อจ่ายเงินค่ายางให้สำนักงานตลาดกลาง

ยางพารา เมื่อรับมอบยางครบตามสัญญาเข้าบัญชี

สำนักงานตลาดกลางยางพาราในพื้นที่กำหนด

7. การรับมอบ/ส่งมอบ

(1) ผู้ขายและผู้ซื้อ ส่งมอบและรับมอบสินค้า ณ

โกดังที่ทำการของสำนักงานตลาดกลางยางพาราในพื้นที่

หรือสถานที่ที่คณะกรรมการตลาดข้อตกลงส่งมอบจริง

ประเทศไทยกำหนด

(2) ผู้ซื้อต้องรับมอบสินค้าทันทีเมื่อได้รับมอบ

สินค้าครบตามสัญญา

8. การสิ้นสุดสัญญา

(1) ผู้ขาย สิ้นสุดสัญญาเมื่อส่งมอบยางให้แก่

สำนักงานตลาดกลางยางพาราในพื้นที่ครบตามจำนวน

ในสัญญา

(2) ผู้ซื้อ สิ้นสุดสัญญาเมื่อได้รับมอบยางครบ

และจ่ายเงินค่ายางครบตามจำนวนในสัญญา

ข้อกำหนดในการซื้อขายยางแผ่นรมควันชั้น 3

อัดก้อน และยางแท่ง STR 20

1. การซื้อขายทั้งระบบต้องได้รับความเห็นชอบ

จากคณะกรรมการตลาดข้อตกลงส่งมอบจริงประเทศ

ไทย

2. ผู้ขาย/ผู้ซื้อ ต้องสมัครเป็นสมาชิกซื้อขายยาง

ตลาดข้อตกลงส่งมอบจริง โดยมีสัญญากำกับแยกเป็น

สำนักงานตลาดกลางยางพาราในพื้นที่ของสถาบันวิจัย

ยาง กรมวิชาการเกษตร โดยทุกรายต้องผ่านการประเมิน

ศักยภาพด้านการผลิตและคุณภาพยางจากคณะ

กรรมการตลาดข้อตกลงส่งมอบจริงประเทศไทย

3. การลงทะเบียนสมาชิก

3.1 เอกสารและคุณสมบัติของผู้ขาย

(1) เป็นโรงงานยาง ผู้ส่งออกยาง และต้อง

เป็นสมาชิกของสมาคมยางพาราไทย

(2 ) กรณี เป็นสถาบันเกษตรกร หรือ

เกษตรกรที่มีโรงอัดก้อน และโรงงานยาง มีใบรับรอง

มาตรฐาน GMP ของสถาบันวิจัยยาง

(3) เอกสารประกอบการยื่นลงทะเบียน

- หนังสือรับรองความเป็นสมาชิก

สมาคมยางพาราไทยอายุไม่มากกว่า 3 เดือน หรือ

สำเนาหนังสือรับรองมาตรฐาน GMP จากสถาบันวิจัย

ยาง

- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของ

ผู้รับมอบอำนาจ และผู้มอบอำนาจ

- กรณีสถาบันเกษตรกรเป็นนิติบุคคล

ให้ทำหนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรประจำตัว

ประชาชนของผู้สมัครและผู้รับมอบอำนาจ

- สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร

กรุงไทยจำกัด (มหาชน) สาขาที่สำนักงานตลาดกลาง

ยางพารานั้นๆ กำหนด

3.2 เอกสารและคุณสมบัติของผู้ซื้อ

(1) เป็นโรงงานยาง ผู้ส่งออกยาง และต้อง

เป็นสมาชิกของสมาคมยางพาราไทย

(2) เป็นบริษัทผลิตภัณฑ์ยาง โรงงานยาง

ผู้ส่งออก ที่ไม่เป็นสมาชิกสมาคมยางพาราไทย หรือ

สถาบันเกษตรกร หรือ เกษตรกรที่มีโรงอัดก้อนที่มี

หนังสือรับรองค้ำประกันจากธนาคาร วงเงินไม่น้อยกว่า

2 ล้านบาท และหนังสือรับรองค้ำประกันจากธนาคารใช้

เฉพาะสำนักงานตลาดกลางยางพาราที่สมัครเป็น

สมาชิกเท่านั้น

(3) โรงงานยาง ผู้ส่งออกยางที่ไม่ได้เป็น

สมาชิกสมาคมยางพาราไทย หรือสถาบันเกษตรกร ต้อง

ได้รับการรับรองจากสมาชิกผู้ซื้อรายเดิมอย่างน้อย

2 ราย

(4) เป็นบริษัทผลิตภัณฑ์ยางต่างประเทศ

ที่มีความเชื่อถือและมีประวัติที่สามารถตรวจสอบได้

ต้องมีหนังสือรับรองค้ำประกันจากธนาคารในประเทศ

ไทย หรือธนาคารต่างประเทศที่มีสาขาในประเทศไทย

วงเงินไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท และหนังสือรับรองจาก

บริษัทที่เป็นคู่ค้าในประเทศไทยที่มีอายุไม่เกิน 6 เดือน

อย่างน้อย 2 บริษัท หรือหนังสือรับรองการทำธุรกรรม

ทางยางพาราจากสมาคมยางพาราไทย หนังสือรับรอง

ค้ำประกันจากธนาคารและเอกสารอื่นให้ใช้เฉพาะสำนัก

งานตลาดกลางยางพาราที่สมัครเป็นสมาชิกเท่านั้น

(5) เอกสารประกอบการยื่นลงทะเบียน

- หนังสือรับรองความเป็นสมาชิก

สมาคมยางพาราไทยอายุไม่มากกว่า 3 เดือนหรือ

หนังสือรับรองค้ำประกันจากธนาคาร วงเงินไม่น้อยกว่า

Page 33: วารสารยางพาราฉบับที่ 1-2556  ปีที่ 34

31 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 12 มกราคม-มีนาคม 2556

2 ล้านบาท

- สำเนาใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วน พร้อมหนังสือรับรองการจด

ทะเบียนเป็นนิติบุคคล

- สำเนาใบอนุญาตค้ายาง หรือใบ

ประกอบธุรกิจยาง

- สำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตร

ประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ

- หนังสือมอบอำนาจพร้อมติดอากร

แสตมป์ 30 บาท

- ใบรับรองฐานะทางการเงินของ

ธนาคารพาณิชย์ย้อนหลัง 6 เดือน

- เอกสารอื่นที่ตลาดกลางยางพารา

นั้นๆ พิจารณาเห็นว่าจำเป็นและต้องเรียกหาเพิ่มเติม

เพื่อยืนยันความมั่นคงและความน่าเชื่อถือของผู้ซื้อ

4. สินค้าที่ทำการซื้อขาย

(1) ประเภทของสินค้า

- ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ชนิดอัดก้อน

น้ำหนัก 111.11 กิโลกรัม/ก้อน พร้อม Marking คุณภาพ

และแหล่งผลิต ตามมาตรฐาน GMP หรือยางของโรงงาน

ที่เป็นสมาชิกสมาคมยางพาราไทย

- ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ชนิดอัดก้อน

น้ำหนัก 35 กิโลกรัม/ก้อน พร้อม Marking คุณภาพและ

แหล่งผลิตตามมาตรฐาน GMP หรือยางของโรงงานที่

เป็นสมาชิกสมาคมยางพาราไทย

- ยางแท่ง STR 20 พร้อมใบรับรอง

คุณภาพ

(2) ปริมาณการซื้อขาย เป็นหน่วยการซื้อขาย

หน่วยละ 5 ตัน

(3) ปริมาณการเสนอขายรวมไม่เกิน 80% ของ

กำลังการผลิตรวมของผู้ขายในรอบ 15 วัน

(4) สินค้ายางที่มีปัญหาคุณภาพหรือสิ่งปลอม

ปน เป็นความรับผิดชอบของผู้ขาย

(5) กรณีที่มีปัญหาหรือข้อพิพาทเรื่องคุณภาพ

ยางให้ถือการตัดสินของคณะกรรมการตลาดข้อตกลง

ส่งมอบจริงประเทศไทย

5. การซื้อขาย

(1) ทำการซื้อขายผ่านระบบซื้อขายยางอิเล็ก-

ทรอนิกส์โดยผู้ซื้อและผู้ขายเป็นเจ้าของชื่อผู้ใช้ (user-

name) และรหัสผ่าน (password) ต้องรับผิดชอบใน

กรณีที่มีความผิดพลาดเกิดขึ้นแต่เพียงผู้เดียวไม่ว่ากรณี

ใด หากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาจะต้องชดใช้ค่า

เสียหายตามกฎหมายต่อไป

(2) การซื้อขายจะต้องทำสัญญาซื้อขายตามที่

คณะกรรมการตลาดข้อตกลงส่งมอบจริงประเทศไทย

กำหนด

(3) รอบการซื้อขาย 10 วันทำการ

(4) การเสนอราคาซื้อขาย เริ่มในเวลา 13.00 –

15.00 น. ของวันทำการที่สำนักงานตลาดกลางยาง

พารากำหนด

(5) ราคากลางในการเสนอซื้อ/เสนอขาย และ

ทำการหยุดตลาด 30 นาที หากราคาเสนอซื้อ/เสนอขาย

บวกหรือลบต่างจากราคากลางที่คณะกรรมการกำหนด

(6) ผู้ซื้อ/ผู้ขายต้องมีการวางหลักประกัน

สัญญา 10% โดย

- ผู้ซื้อวางเงินมัดจำ 10% ของมูลค่ายาง

และให้ถือว่าเป็นการจ่ายค่าสินค้ายางเพื่อการรับมอบ

ยางเบื้องต้น ในกรณีที่ไม่สามารถรับมอบยางได้ ผู้ซื้อ

ยินดีให้เป็นค่าทำขวัญแก่ผู้ขายเต็มจำนวนที่วางเงิน

มัดจำ

- ผู้ขาย วางเงินมัดจำหรือยางแผ่นรมควัน

ชั้น 3 ชนิดอัดก้อน 10% ของมูลค่ายาง กรณีหลักประกัน

สัญญาเป็นยางแผ่นรมควันชั้น 3 ชนิดอัดก้อน หลัก

ประกันจะถูกนำไปรวมกับปริมาณยางที่ต้องส่งมอบให้

ครบตามสัญญาและให้ถือว่าเป็นการขายสินค้ายางที่ได้

ส่งมอบสินค้าเบื้องต้น ในกรณีที่ไม่สามารถส่งมอบยางได้

ผู้ขายยินดีให้เป็นค่าทำขวัญแก่ผู้ซื้อเต็มจำนวนที่วาง

สินค้ายางหรือเงินมัดจำเต็มจำนวน

(7) กรณีผู้ซื้อและผู้ขายไม่สามารถวางเงิน

มัดจำเป็นเงินไทย ผู้ทำธุรกรรมต้องวางเงินมัดจำและ

จ่ายเงินเป็นเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ อัตราแลกเปลี่ยนคิด

ณ วันตกลงซื้อขาย

6. การจ่ายเงินค่ายาง

(1) สมาชิกผู้ขายยางได้รับเงินค่ายางเมื่อส่ง

มอบยางครบตามสัญญา โดยโอนเข้าบัญชีผู้ขายผ่าน

ธนาคารที่สำนักงานตลาดกลางยางพาราในพื้นที่กำหนด

Page 34: วารสารยางพาราฉบับที่ 1-2556  ปีที่ 34

32 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 12 มกราคม-มีนาคม 2556

(2) ผู้ซื้อจ่ายเงินค่ายางให้สำนักงานตลาด

กลางยางพาราเมื่อรับมอบยางครบตามสัญญา เข้าบัญชี

สำนักงานตลาดกลางยางพาราในพื้นที่กำหนด

(3) การจ่ายเงินมัดจำ สมาชิกผู้ซื้อและขายยาง

ต้องโอนเงินเข้าบัญชีสำนักงานตลาดกลางยางพาราใน

พื้นที่กำหนด

7. การรับมอบ/ส่งมอบ

(1) ผู้ขายและผู้ซื้อ ส่งมอบและรับมอบสินค้า

ณ โกดังที่ทำการของสำนักงานตลาดกลางยางพาราใน

พื้นที่ หรือสถานที่ที่คณะกรรมการตลาดข้อตกลงส่งมอบ

จริงแห่งประเทศไทยกำหนด

(2) ผู้ซื้อในประเทศจะต้องแต่งตั้งตัวแทนรับ

มอบจากผู้มีอำนาจลงนามของบริษัท และต้องรับมอบ

สินค้าทันทีเมื่อครบกำหนดตามสัญญา

(3) ผู้ซื้อต่างประเทศจะต้องมอบหมายบริษัทที่

จดทะเบียนในประเทศไทยหรือเอกชนที่ได้รับมอบ

อำนาจ ที่มีสถานที่ที่ตั้งหรือที่อยู่ในประเทศไทย ผู้รับ

มอบ ณ ที่ทำการที่สำนักงานตลาดกลางยางพารา

กำหนด โดยทำเป็นเอกสารยืนยันประกอบการทำสัญญา

ทุกครั้ง และให้ถือว่าเอกสารยืนยันเป็นส่วนหนึ่งของ

สัญญา

8. สิ้นสุดสัญญา

(1) ผู้ขาย สิ้นสุดสัญญาเมื่อส่งมอบยางให้แก่

สำนักงานตลาดกลางยางพาราในพื้นที่ครบตามจำนวน

ในสัญญา

(2) ผู้ซื้อ สิ้นสุดสัญญาเมื่อได้รับมอบยางครบ

และจ่ายเงินค่ายางครบตามจำนวนในสัญญา

สรุป จากรูปแบบตลาดข้อตกลงส่งมอบจริงประเทศ

ไทยที่พัฒนาขึ้น จะทำให้สามารถขยายการให้บริการ

ตลาดได้กว้างขึ้น ผู้ซื้อผู้ขายมีความหลากหลายตั้งแต่

เกษตรกร โรงงาน ผู้ส่งออก จนถึงผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ยาง

ทั้งในและต่างประเทศ ผู้ซื้อผู้ขายสามารถส่งมอบและ

รับมอบสินค้าได้ครอบคลุมพื้นที่ทั้งประเทศ ช่วยลดขั้น

ตอนและต้นทุนทางการตลาด สร้างโอกาสให้เกษตรกร

มีการพัฒนาจากการผลิตยางแผ่นดิบเป็นยางแผ่นรม

ควันหรือรวมกลุ่มเป็นผู้ผลิตยางแผ่นรมควันอัดก้อน

สร้างโอกาสในการขยายตลาดไปสู่ต่างประเทศ และมี

ราคาที่มีเสถียรภาพซึ่งเกิดจากความต้องการที่แท้จริง

เพื่อใช้อ้างอิงในการซื้อขายยางทั้งในระดับประเทศและ

ระดับโลก

Page 35: วารสารยางพาราฉบับที่ 1-2556  ปีที่ 34

33 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 12 มกราคม-มีนาคม 2556

สรุปสถานการณ์ราคายางพาราในไตรมาสที่ 4 ของปี พ.ศ. 2555 และแนวโน้มในไตรมาสที่ 1 ของปี พ.ศ. 2556เยี่ยม ถาวโรฤทธิ์บริษัท ร่วมทุนยางพาราระหว่างประเทศ จำกัด

1. สถานการณ์เศรษฐกิจโลกโดยรวมไตรมาสที่ 4

และแนวโน้มในไตรมาสที่ 1 ของปี พ.ศ. 2556 จากรายงานล่าสุดเมื่ อวันที่ 23 มกราคมนี้

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้พยากรณ์ว่า

อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปีนี้จะสูงกว่า

ในปีที่ผ่านมา เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจของโลกโดย

รวมจะลดลงจากปีที่ผ่านมา โดยอัตราการขยายตัว

ของเศรษฐกิจโลกจะเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3.2 ต่อปี ในปี

พ.ศ. 2555 เป็นร้อยละ 3.5 ต่อปี ในปี พ.ศ. 2556 และ

จะขยายตัวเป็นร้อยละ 4.1 ต่อปี ในปี พ.ศ. 2557

สำหรับอัตราการขยายตัวของประเทศกลุ่ม

เศรษฐกิจพัฒนาแล้ว โดยเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกา

อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจจะลดลงจากร้อยละ

2.3 ต่อปี ในปี พ.ศ. 2555 เป็นร้อยละ 2.0 ต่อปี ในปี

พ.ศ. 2556 เนื่องจากนโยบายการปรับลดค่าใช้จ่าย

และเพิ่มภาษีของรัฐบาลกลาง อัตราการว่างงานยัง

อยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 7.9 ในเดือนมกราคม) และ

ปัญหาการขาดดุลการค้าที่ยังไม่มีแนวโน้มที่จะลดลง

ประเทศจีนมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

ชะลอตัวลงจากร้อยละ 9.3 ต่อปี ในปี พ.ศ. 2554

มาอยู่ที่ร้อยละ 7.8 ต่อปี ในปี พ.ศ. 2555 เนื่องจากการ

ส่งออกและการบริโภคภายในประเทศที่ลดลงจากผล

กระทบของเศรษฐกิจโลกที่ถดถอย และคาดว่า ในปี พ.ศ.

2556 จะขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 8.2 ต่อปี เนื่อง

จากรัฐบาลกลางมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ

และคาดว่าเศรษฐกิจของโลกจะฟื้นตัวขึ้นโดยเฉพาะ

ในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้ว ทำให้ความ

ต้องการสินค้าและบริการจากประเทศจีนเพิ่มขึ้น

ในส่วนของกลุ่มยูโร (17 ประเทศ) มีแนวโน้มว่า

เศรษฐกิจจะฟื้นตัวขึ้นในปี พ.ศ. 2556 เพราะความ

ร่วมมือของประเทศในกลุ่มที่จะระดมเงินช่วยเหลือ

ประเทศสมาชิกที่ประสบปัญหาหนี้สาธารณะที่อยู่ใน

ระดับสูง เช่น กรีซ สเปน โปรตุเกส และอิตาลี เป็นต้น

โดยอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจจะหดตัวลดลง

จากร้อยละ 0.4 ต่อปี ในปี พ.ศ. 2555 เป็นหดตัวร้อยละ

0.2 ต่อปี ในปี พ.ศ. 2556 อย่างไรก็ตาม ปัญหาอัตรา

การว่างงานที่ยังสูงอยู่ของประเทศในกลุ่มยูโรยังเป็น

อุปสรรคที่สำคัญต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ

สำหรับประเทศญี่ปุ่นซึ่งประสบภาวะเงินฝืดและ

ปัญหาค่าเงินเยนที่แข็งค่า จนเป็นอุปสรรคต่อการส่ง

ออกของประเทศในปีที่ผ่านมา แต่อัตราการขยายตัว

ทางเศรษฐกิจยังขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.0 ต่อปี ในปี

พ.ศ. 2555 ส่วนในปี พ.ศ. 2556 IMF พยากรณ์ว่าอัตรา

การขยายตัวทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นจะขยายตัวลดลง

เหลือร้อยละ 1.2 ต่อปี อย่างไรก็ตาม ปรากฏว่าค่า

เงินเยนได้อ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่กลางเดือน

พฤศจิกายนปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน หากค่าเงินเยน

ยังอ่อนตัวในปี พ.ศ. 2556 อัตราการขยายตัวทาง

เศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่นอาจจะสูงกว่าที่ IMF

พยากรณ์ไว้

สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ได้รายงานว่า ประเทศไทยมีอัตราการขยายตัวทาง

Page 36: วารสารยางพาราฉบับที่ 1-2556  ปีที่ 34

34 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 12 มกราคม-มีนาคม 2556

เศรษฐกิจร้อยละ 6.4 ต่อปี ในปี พ.ศ. 2555 เนื่องจาก

รัฐบาลใช้นโยบายกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ

เช่น โครงการคืนภาษีรถคันแรก โครงการลดภาษี

บ้านหลังแรก โครงการจำนำข้าว และโครงการ

ประกันราคายางพารา เป็นต้น ในขณะที่การส่งออก

ยังได้ดุลการค้า ส่วนในปี พ.ศ. 2556 คาดว่า อัตราการ

ขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศไทยจะอยู่ที่ร้อยละ

4.5 – 5.5 ต่อปี ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับรายได้จากการส่ง

ออกสินค้าและบริการโดยรวมของประเทศ หากการ

ส่งออกไม่เพิ่มขึ้นจะส่งผลกระทบต่อการจัดเก็บภาษี

ของรัฐบาล การจ้างงาน และหนี้ภาคครัวเรือนที่จะ

นำไปสู่ปัญหาทางด้านสังคมได้

ดังนั้น จึงคาดว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโดย

รวมของโลกในปีพ.ศ. 2556 จะเป็นผลดีต่ออุตสาหกรรม

ยานยนต์และราคายางพาราด้วย

2. สถานการณ์ราคายางพาราในไตรมาสที่ 4 ของ

ปี พ.ศ. 2555 ราคายางพาราเฉลี่ยภายในประเทศไตรมาส

ที่ 4 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 3 (รายละเอียดตามตาราง

ที่ 1) โดยราคายางพาราภายในประเทศเริ่มปรับตัว

ลดลงตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนกันยายน เนื่องจาก

เศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง และนักลงทุนมีความกังวล

เกี่ยวกับปัญหาหนี้สาธารณะของกลุ่มประเทศยูโรที่

ยืดเยื้อทำให้สภาไตรภาคียางพารา (International

Tripartite Rubber Council: ITRC) ตกลงกำหนด

เป้าหมายลดการส่งออกยางพาราปริมาณ 300,000

ตัน ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2555 ถึงเดือนมีนาคม

พ.ศ. 2556 เนื่องจากราคายางพาราในตลาดโลก

ปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงเหลือเพียง 2.54 เหรียญ

สหรัฐ/กก. (ประมาณ 76.20 บาท/กก.) ในเดือน

สิงหาคม พ.ศ. 2555

จากการดำเนินมาตรการลดการส่งออกข้างต้น

ส่งผลให้ราคายางพาราในเดือนกันยายนถึงตุลาคม

ปรับตัวสูงขึ้นก่อนที่จะปรับตัวลดลงในเดือนพฤศจิกายน

เนื่องจากรายงานตัวเลขอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

ของจีนลดลงในไตรมาสที่ 3 จากไตรมาสที่ 2 ข่าว

ความขัดแย้งระหว่างประเทศจีนกับญี่ปุ่นในเรื่องข้อ

พิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในหมู่เกาะเซ็งกะกุในประเทศ

ญี่ปุ่น หรือหมู่เกาะเตียวหยูในประเทศจีน และความ

กังวลเกี่ยวกับปัญหาหนี้สาธารณะของประเทศอิตาลี

สเปน และกรีซ

ภาพที่ 1 ราคายางพาราไทยปี พ.ศ.2554-2556

ที่มา: บริษัท ร่วมทุนยางพาราระหว่างประเทศ จำกัด

Page 37: วารสารยางพาราฉบับที่ 1-2556  ปีที่ 34

35 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 12 มกราคม-มีนาคม 2556

มกราคม

กุมภาพันธ์

มีนาคม

ค่าเฉลี่ยไตรมาส 1

เมษายน

พฤษภาคม

มิถุนายน

ค่าเฉลี่ยไตรมาส 2

กรกฎาคม

สิงหาคม

กันยายน

ค่าเฉลี่ยไตรมาส 3

ตุลาคม

พฤศจิกายน

ธันวาคม

ค่าเฉลี่ยไตรมาส 4

ค่าเฉลี่ย

153.82

168.01

144.75

155.53

159.96

143.38

137.52

146.95

129.50

127.62

126.08

127.73

111.55

90.87

89.72

97.38

131.90

167.76

190.62

167.67

175.35

177.99

157.23

153.44

162.88

144.22

140.98

139.75

141.65

126.86

107.31

106.38

113.52

148.35

-13

-24

-13

-24

-12.55

-26.74

-14.86

-29.63

99.92

110.96

108.82

106.56

107.73

105.32

91.91

101.65

89.28

81.80

83.06

84.71

86.48

78.93

82.54

82.65

93.90

114.67

125.38

122.65

120.90

119.95

117.63

107.66

115.08

99.54

88.97

93.63

94.04

98.57

91.99

95.37

95.31

106.33

87.37

84.22

99.81

95.76

ตารางที่ 1 ราคายางพาราไทยปี พ.ศ. 2554 - 2556

เดือนยางแผ่นดิบคุณภาพ 3 (USS3) ยางแผ่นรมควันชั้น 3 (RSS3)

2554 25542555 25552556 2556+/- +/-% %

ที่มา : บริษัท ร่วมทุนยางพาราระหว่างประเทศ จำกัด

หน่วย : บาท/กก.

Page 38: วารสารยางพาราฉบับที่ 1-2556  ปีที่ 34

36 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 12 มกราคม-มีนาคม 2556

มกราคม

กุมภาพันธ์

มีนาคม

ค่าเฉลี่ยไตรมาส 1

เมษายน

พฤษภาคม

มิถุนายน

ค่าเฉลี่ยไตรมาส 2

กรกฎาคม

สิงหาคม

กันยายน

ค่าเฉลี่ยไตรมาส 3

ตุลาคม

พฤศจิกายน

ธันวาคม

ค่าเฉลี่ยไตรมาส 4

ค่าเฉลี่ย

ตารางที่ 1 ราคายางพาราไทยปี พ.ศ. 2554 - 2556

เดือน

ที่มา : บริษัท ร่วมทุนยางพาราระหว่างประเทศ จำกัด

163.09

176.23

152.82

164.05

165.60

145.08

141.95

150.88

139.07

138.85

138.92

138.95

126.45

106.86

104.95

112.76

141.66

136.05

155.23

134.54

141.94

153.74

138.32

133.50

141.85

126.33

121.89

118.36

122.20

108.17

87.91

88.48

94.85

125.21

-17

-23

-15

-26

-19.24

-27.62

-14.46

-28.63

111.48

118.36

116.74

115.53

115.53

110.40

96.99

107.64

93.07

84.37

86.69

88.04

91.92

86.58

88.92

89.14

100.09

96.20

108.25

110.57

105.01

105.31

99.50

87.26

97.36

86.36

78.04

79.55

81.32

82.30

74.91

78.05

78.42

90.53

92.24

90.74

81.74

79.63

ยางแท่งเอสทีอาร์ 20 (STR20) น้ำยางสด (Field Latex)

2554 25542555 25552556 2556+/- +/-% %

หน่วย : บาท/กก.

Page 39: วารสารยางพาราฉบับที่ 1-2556  ปีที่ 34

37 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 12 มกราคม-มีนาคม 2556

ราคายางพาราได้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

จากกลางเดือนพฤศจิกายน จนถึงเดือนธันวาคม พ.ศ.

2555 เนื่องจากการอ่อนค่าของเงินเยน นายบาราค

โอบามา ได้ เป็นประธานาธิบดีสมัยที่สอง ทำให้

นโยบายแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจมีความต่อเนื่อง การ

แต่ งตั้ ง เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์คนใหม่ของ

ประเทศจีนเป็นไปอย่างเรียบร้อย และปัจจัยพื้นฐาน

ของยางพาราอยู่ในภาวะที่ปกติ

3. สถานการณ์ราคายางพาราในไตรมาสที่ 1 ของปี

พ.ศ. 2556 ราคายางพาราได้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก

กลางเดือนธันวาคม พ.ศ. 2555 จนถึงเดือนมกราคม

พ.ศ. 2556 เนื่องจากเงินเยนยังอ่อนค่าลงอย่าง

ต่อเนื่อง แต่ราคายางพารากลับปรับตัวลดลงอีกครั้ง

ในเดือนกุมภาพันธ์ เนื่องจากข่าวสต็อกยางพารา

และยางสังเคราะห์ที่เมืองชิงเต่า ประเทศจีน เพิ่มขึ้น

จากระดับ 281,000 ตันเป็น 330,600 ตัน วันหยุด

ยาวเทศกาลตรุษจีนระหว่าง 11 – 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.

2556 ข่าวตัวเลขอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

ในไตรมาสที่ 4 ปี พ.ศ. 2555 ของประเทศสหรัฐอเมริกา

กลุ่มประเทศยูโร ญี่ปุ่นหดตัวลง และข่าวธนาคาร

กลางประเทศสหรัฐอเมริกาอาจจะยุติมาตรการอัดฉีด

เงินเข้าสู่ระบบก่อนครบกำหนด

ราคายางพาราในเดือนมีนาคมยังคงปรับตัวลง

อย่างต่อเนื่องจากเดือนกุมภาพันธ์ แม้ว่าเงินเยนญี่ปุ่น

ยังมีแนวโน้มที่จะอ่อนตัวลงและมีเสถียรภาพ เนื่อง

จากนักลงทุนยังกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจ

โลกที่สะท้อนผ่านความผันผวนของตลาดหุ้นทั่วโลก

ในขณะเดียวกัน นักเก็งกำไรในตลาดซื้อขายสินค้า

โภคภัณฑ์ล่วงหน้ารวมทั้งยางพารามีการเทขายสัญญา

อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมีความเชื่อมั่นว่าราคาจะปรับ

ตัวลงไปอีก แม้ว่าปริมาณผลผลิตยางพาราลดลงเพราะ

ต้นยางผลัดใบอย่างเต็มที่และยอดจำหน่ายรถยนต์

ในตลาดที่สำคัญของโลก ได้แก่ ประเทศจีน สหรัฐ-

อเมริกา ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องยกเว้นกลุ่ม

ประเทศยุโรป และญี่ปุ่น

ดังนั้น คาดว่าราคายางพาราเฉลี่ยในไตรมาส

ที่ 1 ปี พ.ศ. 2556 จะใกล้เคียงกับราคายางพารา

เฉลี่ยในไตรมาสที่ 4 ของปี พ.ศ. 2555

Page 40: วารสารยางพาราฉบับที่ 1-2556  ปีที่ 34

38 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 12 มกราคม-มีนาคม 2556

พืชมากกว่า 1,200 ชนิด ที่สามารถให้น้ำยางได้

แต่ชนิดที่ปลูกเป็นการค้าทั่วโลก มีกำลังผลิต 10 ล้านตัน

ต่อปี คือ ต้นยางพารา (Hevea brasiliensis) เป็น

ไม้ยืนต้น เขตร้อนชื้นอายุยืนนับร้อยปี อยู่ ในวงศ์

Euphorbiaceae พันธุ์ปลูกเป็นการค้า มีความสูง 25 –

32 เมตร ผลผลิตน้ำยางได้จากต้นไม้ชนิดนี้ถือว่าเป็น

กุญแจสำคัญในการผลิตพลาสติกยางธรรมชาติ

(Natural rubber plastic) ที่ใช้เป็นวัตถุดิบผลิตยางล้อ

รองเท้า กาว ถุงมือผ่าตัด และถุงยางอนามัย ปัจจุบัน

ทั่วโลกต้องนำเข้ายางธรรมชาติ จากประเทศผู้ปลูก

ยางรายใหญ่ระดับโลก คือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย

และเวียดนาม เนื่องจากยางธรรมชาติมีปริมาณใช้

มากขึ้นตามกำลังผลิตอุตสาหกรรมยานยนต์ ดังนั้น

เพื่อลดการผูกขาดยางธรรมชาติจากผู้ผลิตรายใหญ่

ของโลกในเอเชีย ผู้ใช้ยางกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว

จึงพยายามผลิตยางธรรมชาติจากพืชชนิดใหม่หรือโดย

วิธีอื่นๆ ให้เป็นการค้าเพื่อลดความเสี่ยงขาดแคลนยาง

ดังข่าวสารยางโลก ที่ลงใน GlobalTireNews.com วันที่

16 สิงหาคม 2555 กล่าวว่า สามประเทศผู้ผลิตยาง

มากที่สุดได้ร่วมกันตัดลดการส่งออกยาง สี่แสนห้าหมื่น

ตัน เพื่อยกระดับราคายางธรรมชาติ พืชชนิดใหม่ ที่

กำลังวิจัยและพัฒนาอย่างเข้มข้น มีแนวโน้มมากชนิด

แรก คือ วายยูเล่ (Guayule, Parthenium argentatum)

และรัสเซีย แดนดิไลออน (Russian Dandelion,

Taraxacum kok-saghyz) พืชทั้งสองชนิดนี้ จัดอยู่ใน

วงศ์พวกดอกทานตะวัน (Asteraceae) มีน้ำยาง สูตร

โครงสร้างเคมีคล้ายน้ำยางจากต้นยางพารา จัดเป็น

cis isoprene เหมือนกัน แต่องค์ประกอบในน้ำยาง

เตือนภัยสวนยาง

อารักษ์ จันทุมา กลุ่มวิชาการ สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร

พืชผลิตยางธรรมชาติรายใหม่ : วายยูเล่

แตกต่างไปบ้าง สามารถทำผลิตภัณฑ์ยางได้ทุกชนิด

เหมือนน้ำยางจากต้นยางพารา และยังไม่มีรายงานสาร

ก่อเกิดอาการแพ้ รวมทั้งปรับปรุงพื้นที่ทะเลทรายให้

เป็นพื้นที่ปลูกพืช ซึ่งถือเป็นข้อได้เปรียบการค้าที่ไม่ใช่

ภาษีในแง่การเก็บเกี่ยวก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse

Gas Reduction, Carbon Sequestration)

ความเป็นไปได้ ในการพัฒนาผลิตพืชให้น้ำยางชนิดใหม่

ต้นยางวายยูเล่ เป็นพืชพื้นเมืองแถบทะเลทราย

ตอนเหนือของประเทศเม็กซิโกและตอนใต้ของรัฐเท็กซัส

สหรัฐเมริกา เป็นพืชเขตกึ่งแห้งแล้ง (semi-arid) ปริมาณ

น้ำฝน 230-400 มิลลิเมตรต่อปี เป็นไม้พุ่มสูงประมาณ

60 เซนติเมตร ระบบรากลึก 6 เมตร มีอายุ 30-40 ปี

พืชอีกชนิดหนึ่งที่มีพัฒนาการสามารถปลูกได้ดีในกลุ่ม

ประเทศยุโรปเหนือ และยุโรปตะวันออก คือ รัสเซีย

แดนดิไลออน มีถิ่นกำเนิดในหุบเขาเทียนซาน รัสเซีย

ตอนใต้ประเทศคาซัสถาน ติดต่อกับธิเบต เขตปกครอง

ประเทศจีน พื้นที่มีความเป็นไปได้ในการพัฒนาพืช

ยางธรรมชาติชนิดใหม่ในเขตกึ่งแห้งแล้งทะเลทราย

ทั้งหมดของโลก เช่น โมรอกโค เขตทะเลทรายซาฮาลา

อัฟริกาเหนือ เอเซียตะวันออกกลาง เขตเมดิเตอร์

เรเนียน ตอนใต้ประเทศฝรั่งเศสและสเปน เขตทะเลทราย

ในสหรั ฐอ เมริ กาและเม็กซิ โก ตอนใต้ประ เทศ

ออสเตรเลีย ยุโปตะวันออก ตอนใต้ประเทศรัสเซีย

ประเทศคาซัสถาน พืชเหล่านี้ทนอุณหภูมิสูง และทน

อุณหภูมิต่ำได้ถึง -8.1 องศาเซลเซียส สามารถทน

อุณหภูมิต่ำกว่าศูนย์องศาเซลเซียสในฤดูหนาวได้ถึง 53

Page 41: วารสารยางพาราฉบับที่ 1-2556  ปีที่ 34

39 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 12 มกราคม-มีนาคม 2556

วัน พื้นที่เหล่านี้ มีปริมาณน้ำฝน 250-600 มิลลิเมตร/ปี

ลักษณะพฤกษศาสตร์ ความแตกต่าง ต้นยางวายยูเล่ และต้นยางพารา

ต้นยางวายยูเล่ (Guayule)ไม่มีท่อน้ำยาง แต่น้ำ

ยางจะอยู่ในผนังส่วนนอกของเซลล์แต่ละเซลล์ มีมาก

ในส่วนที่ เกิดใหม่ ส่วนที่ เป็นเซลล์เก่า มักทำหน้าที่

ลำเลียงน้ำ ผลผลิตน้ำยาง 2 ใน 3 ได้จากส่วนของลำต้น

และแขนง ส่วนที่เหลืออยู่ในราก แต่ในใบและดอกไม่มี

น้ำยาง (ภาพที่ 1) กระบวนการผลิตจะนำส่วนต้นและ

แขนงมาตัดแล้วบด แล้วสกัดแยกน้ำยางออกจากกาก

ส่วนต้นยางพารา (Hevea) (ภาพที่ 2) น้ำยางจะอยู่ใน

ท่อน้ำยาง ผลผลิตน้ำยางได้จากการกรีดตัดท่อน้ำยาง

ในเปลือกยาง ทำให้น้ำยางที่มีอยู่ในท่อน้ำยาง ไหล

ทะลักออกมาชั่วระยะหนึ่งแล้วหยุด

การขยายพันธุ์ ปลูก เก็บเกี่ยว และสกัดน้ำยางวายยูเล่

การขยายพันธุ์และการปลูก

ใช้เมล็ด ซึ่งเป็นเมล็ดพืชน้ำมันขนาดเล็กมาก

ขยายพันธุ์ปลูก 2 แบบคือ เพาะเมล็ดในเรือนเพาะชำ

แล้วย้ายต้นกล้าอายุ 2-3 เดือนปลูกลงแปลง อีกวิธีคือ

ปลูกเมล็ดลงแปลงโดยตรง ทั้งสองวิธี ต้องให้น้ำหลัง

ปลูก แต่ไม่ให้มีน้ำขัง เพื่อให้มีต้นปลูกรอดตายสำเร็จ

สูงสุด

การเก็บเกี่ยว

มี 2 วิธี คือ เก็บทั้งรากและลำต้นส่งโรงงานโดย

เร็ว อีกวิธีคือ ตัดลำต้นเหนือพื้นดิน 5 เซนติเมตร เหลือ

ตอไว้ ให้แตกขึ้นมาใหม่เก็บเกี่ยวรอบต่อไป อายุเก็บ

เกี่ยวโดยทั่วไป 4 ปี (ภาพที่ 3, A-K และภาพที่ 4, A-L)

การเก็บเกี่ยวต้องส่งเข้าโรงงานให้เร็วที่สุด อย่างช้า

ไม่เกิน 10 วัน ยังไม่มีผลเสียต่อน้ำยางในต้นสด โรงงาน

ควรมีกำลังรับการนำเข้าวัตถุดิบ 17,000 กิโลกรัมมวล

ชีวภาพต้นแห้งต่อวัน เป็นเวลา 4 เดือนต่อปี และต้อง

มีระบบบำบัดน้ำเสีย ต้องมีพื้นที่ปลูกเพื่อการนำเข้า

วัตถุดิบให้เพียงพอ ต้องมีแรงงานและระบบขนส่ง ยังไม่

รวมถึงอาคารสิ่งก่อสร้าง วัตถุอุปกรณ์ ต้นทุนคงที่อื่นๆ

การสกัดให้ได้น้ำยางวายยูเล่

มี 2 ขั้นตอน ขั้นแรก (ภาพที่ 5) นำมวลชีวภาพสด

มาตัดบดละเอียดผสมเป็นเนื้อเดียวกัน แล้วแยกออก

ภาพที่ 1 ลักษณะเซลล์ต้นยางวายยูเล่ (ดัดแปลงจาก Sfeir, N., 2012 ภาพจาก Pour la Science,2010)

Page 42: วารสารยางพาราฉบับที่ 1-2556  ปีที่ 34

40 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 12 มกราคม-มีนาคม 2556

เป็นสองส่วน คือ ส่วนผสมบดละเอียดที่มีน้ำยาง และ

กากที่ยังมีน้ำยางกับสารเรซินติดอยู่ นำส่วนผสมที่บด

ละเอียดเป็นเนื้อเดียวกันปั่นแยก ได้น้ำยางสด และสาร

อื่นๆ ขั้นที่สอง (ภาพที่ 6) นำกากที่ยังมีน้ำยางกับสาร

เรซินติดอยู่ ผสมกับตัวทำละลายสกัดอีก จะได้ยางดิบ

สารเรซิน สารอื่นๆ และกากสุดท้าย

การเขตกรรมปลูก ต้นทุนผลิตมวลชีวภาพ

ต้นยางวายยูเล่ ผลงานวิจัย 10 ปี สายพันธุ์ต้นยางวายยูเล่ การ

ปลูกผลิตแถบเมดิเตอเรเนียน ตอนใต้ประเทศฝรั่งเศส ที่

มองเปอริเย เฉลี่ยอุณหภูมิฤดูหนาว 5-7 องศาเซลเซียส

ฤดูร้อน 21 -24 องศาเซลเซียส น้ำฝน 776 มิลลิเมตร/ปี

ช่วงแล้ง 3 เดือน และที่คาเทจินา ตอนใต้ประเทศสเปน

เฉลี่ยอุณหภูมิฤดูหนาว 10-12 องศาเซลเซียส ฤดูร้อน

22-28 องศาเซลเซียส น้ำฝน 300 มิลลิเมตร/ปี ช่วงแล้ง

7 เดือน เฉลี่ยทุกสายพันธุ์ ได้เนื้อยางร้อยละ 7.4 ของ

น้ำหนักมวลชีวภาพแห้งทั้งหมด เฉลี่ยได้สารเรซินร้อยละ

7.9 ของน้ำหนักมวลชีวภาพแห้งทั้งหมด ปีที่ได้ผลผลิต

ดีที่สุด 4,000 กิโลกรัม (มวลชีวภาพแห้งทั้งหมด)/ไร่/ปี

มีต้นตายน้อยกว่าร้อยละ 1 ได้ เนื้อยางแห้ง 296

กิโลกรัม/ไร่/ปี ในปีที่ผลผลิตไม่ดีได้ 1,280 กิโลกรัม

(น้ำหนักแห้ง)/ไร่/ปี ได้เนื้อยางแห้ง 48 กิโลกรัม/ไร่/ปี

ผลงานวิจัย ต้นยางวายยูเล่ ไม่ตอบสนองต่อการให้ปุ๋ย

เคมี การให้น้ำมีผลต่อความสำเร็จต้นรอดตายหลังปลูก

การเขตกรรม จากการปลูกให้น้ำให้ปุ๋ย ผลผลิต

สายพันธุ์คัดเลือก ต้นยางวายยูเล่สามารถสกัดเนื้อยาง

แห้งได้ร้อยละ 9 ของน้ำหนักมวลชีวภาพต้นแห้ง

สามารถปลูกในภาคใต้ของยุโรป ตารางที่ 1 ผลผลิต

น้ำหนักมวลชีวภาพต้นแห้งเฉลี่ย 1,680 กิโลกรัม/ไร่/ปี

หรือมีศักยภาพให้ผลผลิตเนื้อยางวายยูเล่แห้ง 268

กิโลกรัม/ไร่/ปี อัตราปลูกต้นกล้าวายยูเล่ 8,000 ต้น/ไร่

ต้นทุนผลิตมวลชีวภาพต้นแห้ง 9,600-12,800 บาท/ไร่/

ปี หรือคำนวณเป็นต้นทุนผลิตมวลชีวภาพแห้ง ต้นยาง

วายยูเล่ 6-8 บาท/กิโลกรัม ดังนั้น ถ้าจะให้มีกำไรหนึ่ง

ร้อยเปอร์เซ็นต์ ต้องขาย 12-16 บาท/กิโลกรัม มวล

ชีวภาพต้นแห้ง (ค่าเงิน1ยูโร = 40 บาทไทย)

ภาพที่ 2 ลักษณะเซลล์ต้นยางพารา (ภาพดัดแปลงจาก สถาบันวิจัยยาง)

Page 43: วารสารยางพาราฉบับที่ 1-2556  ปีที่ 34

41 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 12 มกราคม-มีนาคม 2556

ภาพที่ 3 วายยูเล่ (Parrthenium argentatum) พืชให้น้ำยางชนิดใหม่ (A-B : เมล็ดและต้นกล้า, C-D : ลักษณะลำต้นและราก, E-G : ให้น้ำแปลงปลูก,

H-I : เก็บเกี่ยวโดยใช้รถเก็บเกี่ยว, J : น้ำยางจากต้น, K : ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากน้ำยางของต้นวายยูเล่)

A C DB

E

H

F

I

G

J K

ต้นทุน การผลิต สกัดน้ำยางวายยูเล่ แปรรูปยางดิบ

การคำนวณต้นทุนสกัดน้ำยางวายยูเล่ เริ่มจาก

ขนส่งนำเข้า ซื้อวัตถุดิบ ต้นพืชวายยูเล่จากแปลง คิดใน

ราคา 12 บาท/กิโลกรัมน้ำหนักแห้ง ตารางที่ 2 ต่อจาก

นั้นเป็นกระบวนการ สกัด บด ปั่นแยก ขั้นตอนที่ 1 และ

Page 44: วารสารยางพาราฉบับที่ 1-2556  ปีที่ 34

42 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 12 มกราคม-มีนาคม 2556

ภาพที่ 4 รัสเซีย แดนดิไลออน (Taraxacum kok-saghyz) (A : เมล็ด, B : ลักษณะต้น, C : ลักษณะราก, D-F : แปลงปลูก, G-I : ลักษณะน้ำยาง

ภายในราก, J : การเก็บเกี่ยว, K : การสกัดเอาน้ำยาง, L : ผลิตภัณฑ์จากต้นแดนดิไลออน)

A B C

D E F

G H I

J K L

สกัดโดยใช้สารละลาย ในขั้นตอนที่ 2 หลังจากได้ผล

ผลิตเบื้องต้นมาแล้ว เป็นกระบวนการแปรรูป ที่ทำให้

สะอาดบริสุทธิ์ขึ้น

จากนั้นแยกสารทั้งหลายออกจากกันให้หมด จน

ได้ผลผลิตสุดท้ายเป็นของเหลือใช้ และกากซากต้นพืช

ซึ่งจะต้องบำบัดหรือนำไปใช้ประโยชน์ เช่น ปรับปรุงดิน

ทำแผ่นเยื่อไม้อัด วัสดุก่อสร้าง เป็นต้น ซึ่งต้นทุนแปรรูป

ออกมาได้ผลผลิตแต่ละอย่างสุดท้าย รวม 27.64 บาท/

กิโลกรัมมวลชีวภาพแห้ง จะเห็นว่า การผลิตยางวายยูเล่

เริ่มต้นจากนำเข้าวัตถุดิบขั้นตอนที่ 1 และ 2 เพื่อสกัด

ยาง ต้นทุนนำเข้า 22.00 บาท หลังจากนั้น แปรรูปแยก

ยางออกมาในผลผลิต ขั้นตอนที่ 1 และขั้นตอนที่ 2 เป็น

ค่าใช้สอย 5.40 และ 8.44 บาท รวมเป็นต้นทุนเฉพาะ

การผลิตยาง เท่ากับ 35.84 บาท โดยได้ผลผลิตยางแห้ง

ร้อยละ 9 ของมวลชีวภาพหนึ่งกิโลกรัม (90 กรัม ยาง

แห้งต่อกิโลกรัมมวลชีวภาพ) หรือผลิตยางวายยูเล่แห้ง

Page 45: วารสารยางพาราฉบับที่ 1-2556  ปีที่ 34

43 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 12 มกราคม-มีนาคม 2556

ภาพที่ 6 กรรมวิธีสกัดน้ำยาง ขั้นที่ 2 : สกัดด้วยสารละลาย

น้ำยางสด

ตัด/บด

ไปขั้นที่ 2

ปั่นหมุนเหวี่ยง

ได้ 1 ใน 4 ของยางแห้ง

2-3 ครั้ง

ตัวทำละลาย สารอินทรีย์

บดละเอียด รวมเนื้อเดียวกันกากยังมีน้ำยาง

สารเรซินติดอยู่

สารเรซิน ใช้เคลือบผิว

สารกาวติดแน่น ผสมสี

สารเภสัชกรรม

ยางดิบ คล้ายยางดิบ

จากต้นยางพารา

กากสุดท้าย

ใช้ทำแผ่นเยื่อไม้อัด

วัสดุปรับปรุงดิน

วัสดุก่อสร้าง

สารละลายที่เหลือ

นำไปหมุนเวียน

ภาพที่ 5 กรรมวิธีสกัดน้ำยาง ขั้นที่ 1 : สกัดน้ำยางแล้วปั่นแยก

ต้นวายยูเล่สด

กากยังมีน้ำยาง สารเรซินติดอยู่

ตัวทำละลาย

ใช้แล้วหมุนเวียน

Page 46: วารสารยางพาราฉบับที่ 1-2556  ปีที่ 34

44 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 12 มกราคม-มีนาคม 2556

1) 100 % 38.4 5.88 7.76

2) 100 % 19.2 5.68 7.52

ผลผลิตเฉลี่ย มวลชีวภาพแห้ง 10 ปี (กิโลกรัม/ไร่/ปี) 1,920 1,440

1) วัตถุดิบ (มวลชีวภาพแห้ง) 12.00

2) การสกัดขั้นตอนที่ 1 6.84

3) การสกัดขั้นตอนที่ 2 3.16

รวม 22.00

1) เนื้อยางแห้งทั้งหมดร้อยละ 9 ของมวลชีวภาพแห้ง

- ขั้นตอนที่ 1 ได้น้ำยาง 1 ใน 4 ของยางแห้งทั้งหมด 5.40

- ขั้นตอนที่ 2 ได้ยางดิบ 2 ใน 3 ของยางแห้งทั้งหมด 8.44

2) สารเรซิน ร้อยละ 9 ของมวลชีวภาพแห้ง 10.80

3) กากพืช 3 ใน 4 ของมวลชีวภาพแห้ง 3.00

รวม 27.64

ตารางที่ 1 สรุปผลวิจัย 10 ปี การผลิตและเก็บเกี่ยว ต้นทุน ต้นยางวายยูเล่ แถบเมดิเตอเรเนียน

ภาคใต้ยุโรป

ตารางที่ 2 ต้นทุนนำวัตถุดิบเข้ามาทำการสกัดแยกน้ำยางออกจากมวลชีวภาพ

(บาท/กิโลกรัมมวลชีวภาพแห้ง) ต้นทุนแปรรูปสกัดแยกได้ ผลผลิต ยางดิบ สารเรซิน กากสุดท้าย

(บาท/กิโลกรัมมวลชีวภาพแห้ง)

การผลิต ต้นทุนคงที่และผันแปร

รายการนำเข้าวัตถุดิบ

รายการแปรรูป ได้ผลผลิตออกมา

บาท/กิโลกรัม มวลชีวภาพแห้ง

ต้นทุน/มวลชีวภาพแห้งบาท/กิโลกรัม

ต้นทุน/ มวลชีวภาพแห้งบาท /กิโลกรัม

ให้น้ำ 256 ลูกบาศก์เมตร/ไร่/ปี ปุ๋ย NPK กิโลกรัม/ไร่/ปี เก็บเกี่ยวทุก 1 ปี เก็บเกี่ยวทุก 2 ปี

ที่มา : ดัดแปลงจาก Snoeck, D. (2012)

ที่มา : ดัดแปลงจาก Sfeir, N. (2012)

Page 47: วารสารยางพาราฉบับที่ 1-2556  ปีที่ 34

45 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 12 มกราคม-มีนาคม 2556

หนึ่งกิโลกรัม ใช้เงินทุน 398.22 บาท รวมต้นทุนคงที่

โรงงาน เครื่องมือ บำบัดน้ำเสีย สาธารณูปโภค เก็บเกี่ยว

ขนส่ง ยังไม่รวมต้นทุนการผลิต สารผลพลอยได้สารเรซิน

และกากของเหลือจากการผลิต

ทางเลือกในการผลิตพลาสติกยางธรรมชาติจากพืชชนิดอื่น

จะเห็นว่า การผลิตพลาสติกยางธรรมชาติจาก

วายยูเล่ ต้นทุนการผลิตยังสูงอยู่มาก ถึงแม้ว่าจะได้ยาง

ที่มีคุณภาพดีมาก ก็ใช้ได้เฉพาะกับผลิตภัณฑ์บางอย่าง

โดยเฉพาะเท่านั้น ถ้าผลิตมวลชีวภาพเพื่อผลิตเอา

น้ำยางอย่างเดียว จะมีการสูญเสียมาก จะต้องมีการสกัด

โดยสารละลายอินทรีย์ ต้องหาทางใช้ผลพลอยได้สาร

และกากเศษซากที่เหลือ รวมทั้งต้นทุนทางสิ่งแวดล้อมที่

ต้องบำบัดมลภาวะ

สำหรับพืช รัสเซีย แดนดิไลออน เป็นวัชพืชอายุยืน

หลายปี สูง 0.3 เมตร ออกดอกในช่วง เดือนพฤษภาคม-

เดือนมิถุนายน และเมล็ดสุก มิถุนายน-กรกฎาคม เป็น

ดอกสมบูรณ์เพศ มีทั้งสองเพศในต้นเดียวกัน สามารถ

เจริญเติบโตได้ในสภาพดินที่มีความเป็นด่างมาก pH

ระหว่าง 55 – 8.5 ชอบดินที่มีความชื้น และร่ม การเจริญ

เติบโตระยะต้นกล้า แตกยอดช้ามาก จนกระทั่งรากมี

การพัฒนาก็จะเจริญเติบโตเป็นปกติ คล้ายกับพืชหัว

ไชเท้า ผักกาดหอม หรือต้นโสม รากของแดนดิไลออน

ให้น้ำยางคุณภาพสูง มีน้ำหนักยางแห้งร้อยละ 20

ผลผลิตมวลชีวภาพ 24-80 กิโลกรัม/ไร่/ปี เก็บเกี่ยว

รากในฤดูใบไม้ร่วงก่อนน้ำค้างแข็งจะลง ซึ่งทำลาย

คุณภาพน้ำยางเก็บเกี่ยวโดยถอนราก สกัดได้น้ำยาง

และสารแป้งน้ำตาลเชิงซ้อนกลุ่มอินนูลิน (inulin) ใช้เป็น

อาหาร และสารเภสัชกรรม เป็นสารเริ่มต้นในการผลิต

เอทานอล แปลงเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และใช้เป็น

เชื้อเพลิง ในอดีตสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง เคยผลิต

สารเหล่านี้เป็นยุทธปัจจัย แต่ปัจจุบันยังไม่ค้นพบว่า มี

การผลิตเป็นยางธรรมชาติเชิงการค้า นอกจากเป็น

อาหารเสริมสุขภาพ สมุนไพร พวกใบชา ใบสลัด

ยาชูกำลังตับ และขับปัสสาวะ เป็นต้น

เมื่อเปรียบเทียบงานวิจัยยางพาราในเขตร้อนชื้น

ผลผลิตยาง กิโลกรัม/ไร่/ปี ปี พ.ศ.2534 พันธุ์ยาง

มาเลเซีย 320 ต้นยางวายยูเล่ 160 ปี พ.ศ.2555

พันธุ์ยางไทย 480 พันธุ์ยางวายยูเล่ บริษัทแพนเอริดัส

(Fraley, M. 2012) รายงานได้ผลผลิตยางแห้ง 320

กิโลกรัม/ไร่/ปี และเสนอว่าจะนำต้นยางวายยูเล่ สาย

พันธุ์คัดได้แล้วมากมาย เช่น AZ 2,3,5, R1100, N575

และอื่นๆ พัฒนาเป็นการค้า ตามสภาพแวดล้อมต่อไป

สรุปและวิจารณ์ ถึงแม้ว่า งานวิจัยยางวายยูเล่ ด้านการผลิตมี

พัฒนาการมาก สามารถผลิตยางธรรมชาติ ในสภาพ

พื้นที่แห้งแล้งของทะเลทรายได้ และผลผลิตเริ่มมี

แนวทางที่จะอาจขึ้นมาแข่งขันหรือเป็นกระบวนการ

สำรองประกันความเสี่ยง แต่ต้นทุนสกัดน้ำยางยังราคา

สูงมาก แต่ประเทศผู้ใช้เหล่านั้น เขาก็ยังเป็นผู้เลือกว่า

จะใช้วัตถุดิบในการผลิตสินค้า มีฉลากการค้าที่เป็น

ที่นิยมของผู้บริโภค และเทคโนโลยีการผลิตก็เปลี่ยนไป

จากผลิตแบบเดิม (เจริญ, 2523) เคยรายงานไว้ ซึ่ง

ทางเราคงทราบได้ยากว่าเขาพัฒนาเทคนิคการสกัดไป

ก้าวหน้าขนาดไหน สำหรับราคามวลชีวภาพต้นวายยูเล่

ในประเทศพัฒนาแล้ว มีราคาสูงถึง 12 บาทต่อกิโลกรัม

เพราะเขตกึ่งทะเลทราย หามวลชีวภาพได้ยาก ปกติ

ต้นทุนแรงงานค่าครองชีพในประเทศเหล่านั้น สูงกว่า

ในประเทศเรา หกถึงแปดเท่า เมื่อเทียบกับราคาไม้ฟืนใน

ประเทศ เช่น ไม้ฟืนทั่วไป ไม้ยางพารา ไม้ยูคาลิปตัส

ก็มีราคาไม้อยู่ประมาณ หนึ่งถึงสองบาทต่อกิโลกรัม

ในประเทศไทยไม่มีการปลูกพืชเหล่านี้ และยังไม่มี

นโยบายทดลองปลูก

คำนิยม

ผู้ เรียบเรียง ขอขอบคุณ นางพิศมัย จันทุมา,

นางสาวสุรีรัตน์ แก้วงาม, นางสาวสุทธินี นาคสูตร ที่ช่วย

เตรียมข้อมูล และเจ้าหน้าที่ในกลุ่มวิชาการ สถาบัน

วิจัยยาง ขอบคุณเจ้าของภาพและข้อมูลจาก เว็บไซต์

บรรณานุกรมเจริญ ศิริอุดมภาส. 2523 วายยูเล่ : พืชให้น้ำยางในแถบ

แห้งแล้ง. ว.ยางพารา 4(2) : 69-78.

Beilin, J.V., 2006. Alternate source of natural

Page 48: วารสารยางพาราฉบับที่ 1-2556  ปีที่ 34

46 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 12 มกราคม-มีนาคม 2556

rubber. Department of biology university of

York, www.epobio.net

Casey, T. 2011. Have you driven a Dandelion

lately. http://cleantechnica.com/2011/05/12

Cornish, K. 2010. Faculty spotlight, the Institute

for Materials Research. http:// imr.osu.

edu/2010/12

Fraley, M. 2012. Seeding Rubber‘s Future.

International rubber conference 28-31

Oct. 2012, Kovalam, Kerala, India, Pan

Aridus. P.O.Box. 5134Carefree. AZ.85377.

US, [email protected]

Sfeir, N., Snoeck, D., Loo, R.V., Chapuse, T.,

Garcia, T.G. and Lancon, F.2012. Feasibility

o f g u a y u l e c o m m o d i t y c h a i n i n

Mediterranean. The 2012 congress: “Bio

Rubber for Europe in global perspective”,

the EU-PEARLS consortium to mark end

the FP7 EU-PEARLS research project,

Wageningen, Netherlands, Sep 24, 2012.

Snoeck, D., Loo,R.V., Chapuset, T., Visser, P.,

Metral, R., Cellja, M., Lucas, C., Tardan, E.

and Palu, R. 2012 . Progress of guayule trials

in Europe. EU-Pearls FP7.

Texas A&M University, 2008. Growing hypoaller-

genic rubber plants in Texas. http//www.

sciencedaily.com

Page 49: วารสารยางพาราฉบับที่ 1-2556  ปีที่ 34

47 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 12 มกราคม-มีนาคม 2556

ข่าวสถาบันวิจัยยาง

บรรจุแต่งตั้งผู้สอบแข่งขันได้ นางสาวณัฐพร ใหญ่สง่า ได้รับบรรจุแต่งตั้งเข้า

รับราชการ ตำแหน่งนักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ ฝ่าย

บริการตลาดยางดิบ สำนักงานตลาดกลางยางพารา

สุราษฎร์ธานี สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร

ตามคำสั่งกรมวิชาการ ที่ 56/2556 ลงวันที่ 14 มกราคม

2556

นางสาวศิรักษ์ แก้วประดับ ได้รับบรรจุแต่งตั้ง

เข้ารับราชการ ตำแหน่งนักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ

กลุ่มวิจัยเสถียรภาพราคายาง สำนักงานตลาดกลาง

ยางพารานครศรีธรรมราช สถาบันวิจัยยาง กรม

วิชาการเกษตร ตามคำสั่งกรมวิชาการเกษตร ที่ 301/

2556 ลงวันที่ 7 มกราคม 2556

รับโอนย้ายข้าราชการพลเรือน สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร ได้รับโอน

ย้ายข้าราชการ นางลัดดาวัลย์ ทองราช เจ้าพนักงาน

การเงินและบัญชีปฏิบัติงาน จากกลุ่มพัฒนาระบบการ

คุ้มครองแรงงาน สำนักคุ้มครองแรงงาน กรมสวัสดิการ

และคุ้มครองแรงงาน มาประจำปฏิบัติงาน ฝ่ายบริหาร

ทั่วไป ศูนย์วิจัยยางสงขลา สถาบันวิจัยยาง กรม

วิชาการเกษตร ตามคำสั่งกรมวิชาการเกษตร ที่ 137/

2556 ลงวันที่ 30 มกราคม 2556

ย้ายข้าราชการ นายอารักษ์ จันทุมา นักวิชาการเกษตรชำนาญ

การพิเศษ กลุ่มวิจัยเศรษฐกิจ ย้ายมาดำรงตำแหน่ง

ผู้อำนวยการกลุ่มวิชาการ สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการ

เกษตร ตามคำสั่งกรมวิชาการเกษตร ที่ 108/2556

ลงวันที่ 25 มกราคม 2556

นายพิเชฏฐ์ พร้อมมูล นักวิชาการเกษตรชำนาญ

การพิเศษ กลุ่มวิชาการ มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ

กลุ่มวิจัยเศรษฐกิจ สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร

ตามคำสั่งกรมวิชาการเกษตร ที่ 108/2556 ลงวันที่

25 มกราคม 2556

นางสาวปฏิมาภรณ์ สังข์น้อย นักวิทยาศาสตร์

ชำนาญการ กลุ่มงานวิจัยสารพิษตกค้าง กลุ่มวิจัยวัตถุ

มีพิษการเกษตร สำนักวิจัยและพัฒนาปัจจัยการผลิต

ทางการเกษตร มาประจำปฏิบัติงานกลุ่มวิจัยการ

แปรรูปและทดสอบยาง ศูนย์วิจัยยางสงขลา สถาบัน

วิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร ตามคำสั่งกรมวิชาการ

เกษตร ที่ 213/2556 ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2556

ให้ข้าราชการช่วยปฏิบัติราชการ นายสมมาตร แสงประดับ เศรษฐกรชำนาญการ

พิเศษ กลุ่มวิจัยเสถียรภาพราคายาง สำนักงานตลาด

กลางยางพาราสงขลา ช่วยปฏิบัติราชการที่สำนักงาน

ตลาดกลางยางพาราสุราษฎร์ธานี สถาบันวิจัยยาง

กรมวิชาการเกษตร ตามคำสั่งกรมวิชาการเกษตร

ที่ 16/2556 ลงวันที่ 4 มกราคม 2556

ให้ยืมตัวข้าราชการ ตามหนังสือสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงเกษตร

และสหกรณ์ ที่ กษ 0100/984 ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์

2556 ขอยืมตัวข้าราชการ นายจุมพฏ สุขเกื้อ เศรษฐกร

ชำนาญการพิเศษ สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร

ช่วยปฏิบัติราชการในส่วนของที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วย

ว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายอำนวย

ปะติเส) ลงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2556

Page 50: วารสารยางพาราฉบับที่ 1-2556  ปีที่ 34

48 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 12 มกราคม-มีนาคม 2556

ประชุม IRRDB นายสุจินต์ แม้นเหมือน ผู้อำนวยการสถาบัน

วิจัยยาง หัวหน้าคณะผู้แทนประเทศไทย และคณะ รวม

50 คน เข้าร่วมสัมมนาด้านการแลกเปลี่ยนพันธุ์ยาง

ของสภาวิจัยและพัฒนายางระหว่างประเทศ (IRRDB)

ระหว่างวันที่ 4 – 6 กุมภาพันธ์ 2556 ณ จังหวัด

หนองคาย

ประชุมของบริษัท ร่วมทุนยางพาราระหว่างประเทศ จำกัด (IRCo) การประชุมนัดพิ เศษคณะกรรมการประสาน

กลยุทธ์การดำเนินงานด้านการตลาด (Committee on

Strategic Market Operation - CSMO) เพื่อประเมิน

ผลการดำเนินมาตรการลดการส่งออกของประเทศไทย

อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ครั้งที่ 1 วันที่ 8 มกราคม

พ.ศ. 2556 ณ โรงแรมอิมพีเรียล ควีน ปาร์ค กรุงเทพฯ

ประเทศไทย [8 January 2013 - the 1st Special

Committee on Strategic Market Operation (CSMO)

Meeting to Evaluate AETS Implementations at the

Imperial Queen’s Park Hotel, Bangkok, Thailand]

การประชุมคณะกรรมการประสานกลยุทธ์การ

ดำเนินงานด้านการตลาด ครั้งที่ 53 ระหว่างวันที่

9 – 10 มกราคม พ.ศ. 2556 ณ โรงแรมอิมพีเรียล ควีน

ปาร์ค กรุงเทพฯ ประเทศไทย [9 – 10 January

2013 - the 53rd Meeting of Committee on Strategic

Market Operat ion (CSMO) at the Imperia l

Queen’s Park Hotel, Bangkok, Thailand]

การประชุมคณะกรรมการบริหารของบริษัท

ร่วมทุนยางพาราระหว่างประเทศ จำกัด ครั้งที่ 39

วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 ณ โรงแรมอิมพีเรียล

ควีน ปาร์ค กรุงเทพฯ ประเทศไทย [7 February 2013 –

the 39th Meeting of IRCo’s Board of Directors

(BoDs) at the Imperial Queen’s Park Hotel,

Bangkok, Thailand]

การประชุมคณะกรรมการติดตามและตรวจสอบ

การดำเนินมาตรการลดการส่งออกของประเทศไทย

อินโดนี เซีย และมาเลเซีย ครั้ งที่ 2 ระหว่างวันที่

27 – 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 ณ โรงแรมโบโรบูดัวร์

จาการ์ต้า ประเทศอินโดนีเซีย [27 – 28 February

2013 - the 2nd Meet ing of Moni tor ing and

Surveil lance Committee (MSC) at the Hotel

Borobudur Jakarta, Jakarta, Indonesia]

การประชุมคณะกรรมการประสานกลยุทธ์การ

ดำเนินงานด้านการตลาด ครั้งที่ 54 ระหว่างวันที่

11 – 13 มีนาคม พ.ศ. 2556 ณ โรงแรมอิมพีเรียล

ควีน ปาร์ค กรุงเทพฯ ประเทศไทย [11 – 13 March

2013 - the 54th Meeting of Committee on Strategic

Market Operat ion (CSMO) at the Imperia l

Queen’s Park Hotel, Bangkok, Thailand]

จัดประชุมวิชาการ สถาบันวิจัยยางจัดประชุมวิชาการสถาบันวิจัย

ยาง ครั้งที่ 1 เพื่อให้นักวิจัยได้รายงานผลการดำเนิน

งานตามยุทธศาสตร์การบริหารงานของสถาบันวิจัยยาง

ประจำปี 2555 ให้ผู้ เ ข้ า ร่ วมประชุมได้ทราบถึ ง

ยุทธศาสตร์การบริหารงานของสถาบันวิจัยยาง ประจำ

ปี 2556 ให้เข้าร่วมประชุมได้ทราบถึง “ยุทธศาสตร์

แห่งการวิจัยและพัฒนายางพาราไทย” ภายใต้พระราช-

Page 51: วารสารยางพาราฉบับที่ 1-2556  ปีที่ 34

49 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 12 มกราคม-มีนาคม 2556

บัญญัติการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) และให้ผู้เข้า

ร่ วมประชุมได้แลก เปลี่ ยนความรู้ ป ระสบการณ์

ตลอดจนความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนางานวิจัย

ระหว่างวันที่ 17 – 22 กุมภาพันธ์ 2556 ณ โรงแรมดุสิต

ไอส์แลนด์ รีสอร์ท เชียงราย อำเภอเมือง จังหวัด

เชียงราย มีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด จำนวน 200 คน

จัดฝึกอบรม สถาบันวิจัยยาง จัดฝึกอบรมหลักสูตร การ

แปรรูปยาง รุ่นที่ 1 ให้แก่พนักงานกองทุนสงเคราะห์

การทำสวนยาง เพื่อให้ผู้ เข้าอบรมมีความรู้เกี่ยวกับ

ขั้นตอนการผลิตยางแผ่นดิบคุณภาพดี และการผลิต

ยางก้อนถ้วยตามมาตรฐานที่สถาบันวิจัยยางกำหนด

ระหว่างวันที่ 15 – 18 มกราคม 2556 ณ โรงแรมรอยัล

แม่โขง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย มีผู้ เข้าร่วม

อบรมทั้งหมด จำนวน 40 คน

สถาบันวิจัยยาง จัดฝึกอบรมหลักสูตร “การ

ปลูกพืชคลุม พืชร่วม และพืชแซมยาง” ให้แก่พนักงาน

กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง เพื่อให้พนักงาน

กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางมีความรู้ความเข้าใจ

เกี่ยวกับพืชคลุม พืชร่วมยาง และพืชแซมยาง และ

นำไปขยายผลให้เกษตรกร เพื่อให้พนักงานกองทุน

สงเคราะห์การทำสวนยางมีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับ

การปลูกและผลิตเมล็ดพันธุ์ซี รู เลียมสำหรับใช้ใน

สวนยางและผลิตในเชิงการค้า ระหว่างวันที่ 26 – 28

กุมภาพันธ์ 2556 ณ โรงแรมลายทอง อำเภอเมือง

จังหวัดอุบลราชธานี มีผู้เข้าร่วมอบรมทั้งหมด 40 คน

สถาบันวิจัยยาง จัดฝึกอบรมหลักสูตร การ

แปรรูปยางพารารุ่ นที่ 2 ให้แก่พนักงานกองทุน

สงเคราะห์การทำสวนยาง เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้

ความเข้าใจเกี่ยวกับการผลิตยางแผ่นดิบคุณภาพดี

และการผลิตยางก้อนถ้วยตามมาตรฐานที่สถาบัน

วิจัยยางกำหนด ระหว่างวันที่ 28 – 31 มกราคม 2556

ณ โรงแรม บี. พี. แกรนด์ ทาวเวอร์ อำเภอหาดใหญ่

จังหวัดสงขลา มีผู้เข้าร่วมฝึกอบรมทั้งหมด 40 คน

สถาบันวิจัยยาง จัดฝึกอบรมหลักสูตร การปลูก

พืชคลุม พืชร่วม และพืชแซมยาง ให้แก่เจ้าหน้าที่ของ

สถาบันวิจัยยาง และเจ้าหน้าที่ของกรมวิชาการเกษตร

ที่เกี่ยวข้องกับยางพารา เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ

เกี่ยวกับพืชคลุม พืชร่วม และพืชแซมยาง มีความรู้ที่

ถูกต้องเกี่ยวกับการปลูก และการผลิตเมล็ดพันธุ์ซีรูเลียม

และนำไปขยายผลให้แก่เกษตรกรผลิตใช้ในสวนยาง

และผลิตใช้ในเชิงการค้า ระหว่างวันที่ 4 – 6 มีนาคม

2556 ณ โรงแรมลายทอง อำเภอเมือง จังหวัด

อุบลราชธานี

Page 52: วารสารยางพาราฉบับที่ 1-2556  ปีที่ 34