เอกสารประกอบการศึกษาวิชากฎหมายลักษณะนิติกรรมสัญญา...

26
เอกสารประกอบการศึกษาวิชากฎหมายลักษณะนิติกรรมสัญญา (. ๑๐๑) ผศ. ดร. กิตติศักดิปรกติ สวนที. หลักทั่วไป . ขอความเบื้องตน อุทาหรณ ) . สงจดหมายไปยัง . มีขอความวา ตามที่ทานไดมาชมรถยนตของขาพเจาและแสดง ความสนใจที่จะซื้อรถยนตคันดังกลาวนั้น ขาพเจาขอเสนอขายรถยนตคันนั้นแกทานในราคา ๕๐๐,๐๐๐ บาทตอมา . ไดตอบจดหมายไปยัง . วา ขอบคุณสําหรับจดหมายของทาน และ ขาพเจาตกลงซื้อรถยนตคันที่เสนอขายในราคา ๕๐๐,๐๐๐ บาททานจงอธิบายวา จากขอเท็จจริง เพียงเทานี. จะมีสิทธิเรียกให . ชําระเงิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท แลวหรือยัง เพราะเหตุใด? ) กรณีจะเปนอยางไร หากปรากฏวา . ตอบจดหมายของ . วา ตกลงซื้อรถยนตคันทีทานเสนอขาย แตขอตอรองเหลือ ๔๕๐,๐๐๐ บาท) กรณีจะเปนอยางไรหากปรากฏวา หลังจากที. ไดสงจดหมายมายัง . นั้น ระหวางทีจดหมายของ . ยังไมถึง . ปรากฏวา . ไดเขียนจดหมายไปยัง . โดยไมรูวา . ก็จดหมายมาถึง ตน โดย . เขียนวา ตามที่ขาพเจาไดไปชมรถยนตของทานนั้น ขาพเจาประสงคจะขอซื้อรถยนต ดังกลาวในราคา ๕๐๐,๐๐๐ บาทดังนี้สัญญาระหวาง . กับ . จะเกิดขึ้นแลวหรือไม เพราะเหตุ ใด? ) บริษัท . เปนผูจัดจําหนายสินคาทางไปรษณีย ไดจัดทํารายการสินคาพรอมราคา แจกจายไปยัง . และบุคคลอื่น ซึ่งเปนลูกคาใชบัตรเครดิตของธนาคาร . ตอมาบริษัท . ได จัดสงนาฬิกา เรือนไปยัง . พรอมจดหมายขอความวา ทานมีโอกาสเปนเจาของนาฬิการเรือนนีในราคาเพียง ,๐๐๐ บาท หากทานไมประสงคจะซื้อนาฬิกาเรือนนีโปรดสงคืนบริษัทภายใน ๑๔ วันนับแตไดรับนาฬิกาเรือนนีมิฉะนั้นบริษัทจะถือวาทานตกลงซื้อในราคาที่เสนอปรากฏวา . มิไดสงนาฬิกากลับคืนใหบริษัท บริษัท . จึงเรียกเก็บเงินจาก . ดังนี. จะตองชําระราคาซื้อแก . หรือไม เพราะเหตุใด?

Upload: nawapat

Post on 27-Jul-2015

400 views

Category:

Documents


3 download

TRANSCRIPT

Page 1: เอกสารประกอบการศึกษาวิชากฎหมายลักษณะนิติกรรมสัญญา (น. ๑๐๑)

เอกสารประกอบการศึกษาวิชากฎหมายลักษณะนิติกรรมสัญญา (น. ๑๐๑)

ผศ. ดร. กิตติศักดิ์ ปรกติ

สวนท่ี ๑. หลักท่ัวไป

๑. ขอความเบื้องตน

อุทาหรณ

ก) ก. สงจดหมายไปยัง ข. มีขอความวา “ตามท่ีทานไดมาชมรถยนตของขาพเจาและแสดงความสนใจที่จะซ้ือรถยนตคันดังกลาวนั้น ขาพเจาขอเสนอขายรถยนตคันนั้นแกทานในราคา ๕๐๐,๐๐๐ บาท” ตอมา ข. ไดตอบจดหมายไปยัง ก. วา “ขอบคุณสําหรับจดหมายของทาน และขาพเจาตกลงซ้ือรถยนตคันท่ีเสนอขายในราคา ๕๐๐,๐๐๐ บาท” ทานจงอธิบายวา จากขอเท็จจริงเพียงเทานี้ ก. จะมีสิทธิเรียกให ข. ชําระเงิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท แลวหรือยัง เพราะเหตุใด?

ข) กรณีจะเปนอยางไร หากปรากฏวา ข. ตอบจดหมายของ ก. วา “ตกลงซ้ือรถยนตคันท่ีทานเสนอขาย แตขอตอรองเหลือ ๔๕๐,๐๐๐ บาท”

ค) กรณีจะเปนอยางไรหากปรากฏวา หลังจากท่ี ก. ไดสงจดหมายมายัง ข. นั้น ระหวางท่ีจดหมายของ ก. ยังไมถึง ข. ปรากฏวา ข. ไดเขียนจดหมายไปยัง ก. โดยไมรูวา ก. ก็จดหมายมาถึงตน โดย ข. เขียนวา “ตามที่ขาพเจาไดไปชมรถยนตของทานนั้น ขาพเจาประสงคจะขอซ้ือรถยนตดังกลาวในราคา ๕๐๐,๐๐๐ บาท” ดังนี้สัญญาระหวาง ก. กับ ข. จะเกิดข้ึนแลวหรือไม เพราะเหตุใด?

ง) บริษัท ข. เปนผูจัดจําหนายสินคาทางไปรษณีย ไดจัดทํารายการสินคาพรอมราคาแจกจายไปยัง ก. และบุคคลอ่ืน ๆ ซ่ึงเปนลูกคาใชบัตรเครดิตของธนาคาร ค. ตอมาบริษัท ข. ไดจัดสงนาฬิกา ๑ เรือนไปยัง ก. พรอมจดหมายขอความวา “ทานมีโอกาสเปนเจาของนาฬิการเรือนนี้ในราคาเพียง ๑,๐๐๐ บาท หากทานไมประสงคจะซ้ือนาฬิกาเรือนนี้ โปรดสงคืนบริษัทภายใน ๑๔ วันนับแตไดรับนาฬิกาเรือนนี้ มิฉะนั้นบริษัทจะถือวาทานตกลงซ้ือในราคาท่ีเสนอ” ปรากฏวา ก. มิไดสงนาฬิกากลับคืนใหบริษัท บริษัท ข. จึงเรียกเก็บเงินจาก ก. ดังนี้ ก. จะตองชําระราคาซ้ือแก ข. หรือไม เพราะเหตุใด?

Page 2: เอกสารประกอบการศึกษาวิชากฎหมายลักษณะนิติกรรมสัญญา (น. ๑๐๑)

แผนภาพแสดงความสัมพันธระหวางนิติกรรมกับนิติสัมพันธแบบตาง ๆ

ผศ. ดร. กิตติศักดิ์ ปรกติ

เหตุการณหรือขอเท็จจริงตาง ๆ

ขอเท็จจริงท่ีมีผลทางกฎหมาย ขอเท็จจริงท่ีไมมีผลทางกฎหมาย

ท่ีเปนผลจากการกระทํา ขอเท็จจริงอ่ืน ๆ เชนการเกิด การตาย การส้ินสุดระยะเวลา การส้ินสภาพแหงทรัพย เหตสดวิสัย เชนแผนดินไหว น้ําทวม

การกระทําท่ีไมมีนัยสําคัญทางกฎหมาย เชนการเดินเลน เชิญรวมงานเล้ียงโดยอัธยาศรัยไมตรี

การกระทําท่ีมีนัยสําคัญทางกฎหมาย (เอกชน)

การกระทําท่ีชอบดวยกฎหมาย การกระทําท่ีมิชอบดวยกฎหมาย เชนละเมิด และการกระทําท่ีไมชอบดวยกฎหมายอยางอ่ืน

การแสดงเจตนา (การกระทําท่ีมุงตอผลทางกฎหมาย)

การกระทําอ่ืนท่ีเกิดผลตามกฎหมายแมผูกระทํามิไดมุงตอผลทางกฎหมาย เชนการครอบครอง การถือเอาทรัพยไมมีเจาของ การจัดการงานนอกส่ัง ฯลฯ

การแสดงเจตนา หรือการแสดงเจตนาประกอบกับขอเท็จจริงอันเปนองคประกอบอยางอ่ืนท่ี

กฎหมายรับรองใหมีผล => นิติกรรม

Page 3: เอกสารประกอบการศึกษาวิชากฎหมายลักษณะนิติกรรมสัญญา (น. ๑๐๑)

สวนท่ี ๑. หลักท่ัวไป

๑. ขอความเบ้ืองตน

๑.๑ หลักเบ้ืองตนวาดวยสัญญา

ก) ความสําคัญของสัญญา

ระบบการแบงงานหรือจัดสรรทรัพยากรอาจแบงออกเปนแบบใหญ ๆ ได ๓ แบบ คือ แบบจัดการรวมศูนยโดยรัฐแตผูเดียว แบบมือใครยาวสาวไดสาวเอา และแบบแลกเปล่ียนกันอยางเทาเทียมกันตามความสมัครใจ ภายใตระบบกฎหมายท่ีถือวาเอกชนมีเสรีภาพและมีความรับผิดชอบในการดําเนินชีวิตดวยตนเองนั้น รูปแบบการจัดสรรทรัพยากรบนพ้ืนฐานของการแลกเปล่ียนผลประโยชนตางตอบแทนกัน อยางเสมอภาค ตามความสมัครใจเปนรูปแบบที่มีประสิทธิภาพมากท่ีสุด สัญญาเปนกลไกรากฐานในการแบงสรรปนสวนทรัพยากร และการแบงงานหนาท่ีในสังคมชนิดนี้ ท้ังนี้เปนไปตามหลักวาดวยเสรีภาพในการทําสัญญา ดังนั้นเม่ือบุคคลหนึ่งตองการอาหาร หรือทรัพยสินอยางอ่ืน เขาอาจทําการผลิตเอง หรือมิฉะนั้นก็ใชวิธีแลกเปล่ียนกับผูอ่ืนหรือซ้ือจากผูผลิต หรือจากผูจําหนายอาหารหรือทรัพยสินนั้น ๆ เม่ือมีใครตองการท่ีพักอาศัยก็อาจใชวิธีเชาท่ีอยูอาศัยจากผูใหเชา ในการนี้เขายอมตองการเงิน และตองทําการเพื่อใหไดเงินมาสําหรับซ้ืออาหารหรือทรัพยสิน หรือเชาบาน โดยการออกทํางานหาเงิน ไมวาจะดวยการรับจางใชแรงงาน หรือรับทําของ หรือขายของ หรือนําทรัพยสินของเขาออกใหเชา ดังนี้เปนตน

เราจะเห็นไดวาการแลกเปล่ียนผลประโยชนระหวางบุคคลหลายฝายจํานวนมาก ๆ ยอมทําใหสินคาและบริการไหลเวียนอยูในระบบสังคมนั้น ๆ อยางเพียงพอ กิจการท้ังหลายเหลานี้ไมไดข้ึนอยูกับอิทธิพลหรือความตองการของบุคคลหน่ึงบุคคลใด แตต้ังอยูบนฐานแหงความสมัครใจของผูเกี่ยวของท่ีผลักดันใหการหมุนเวียนแลกเปล่ียนสินคาและบริการเปนไปไดอยางมีประสิทธิภาพ

ตามปกติการซ้ือขายแลกเปล่ียนสินคาอยางอิสระ จะนํามาซ่ึงผลลัพธท่ีดีสําหรับสังคม โดยเฉพาะในสวนท่ีเกี่ยวกับการแบงสรรปนสวนทรัพยากรอยางมีประสิทธิภาพ สมเหตุสมผลและท่ัวถึง ท้ังนี้เพราะในกระบวนการทําสัญญานั้น ตางฝายตางพยายามใหฝายตนไดประโยชนสูงสุด และภายใตระบบท่ีมีการแขงขัน การตอรองและการตกลงระหวางกันยอมเปนไป

Page 4: เอกสารประกอบการศึกษาวิชากฎหมายลักษณะนิติกรรมสัญญา (น. ๑๐๑)

ในลักษณะท่ีแตละฝายตางพอใจในผลที่ไดรับ โดยไมมีฝายใดฝายหนึ่งไดเปรียบหรือเสียเปรียบแกกันเกินสมควร

อยางไรก็ดี ผลดีจากระบบการตอรองและตกลงทําสัญญากันจะดํารงอยูไดจะตองปรากฏวาคูกรณีท้ังสองฝายมีอํานาจตอรอง หรือขอมูลเกี่ยวกับสินคาและบริการที่ตกลงกันอยางเพียงพอ มิฉะนั้น หลักเสรีภาพในการทําสัญญาอาจกลายเปนเครื่องมือในการเอารัดเอาเปรียบกัน เชนตกลงกดราคากัน หรือกอใหเกิดความไมเปนธรรมไดโดยงาย เพราะฝายหนึ่งมีอํานาจผูกขาด หรือครอบงําตลาดสินคาชนิดนั้นทําใหอีกฝายหนึ่งไมมีโอกาสตอรองหรือ ตองจํานนเพราะไมมีโอกาสเลือกทางอ่ืน

สัญญานั้นนอกจากจะมีความสําคัญในการกําหนดสิทธิหนาท่ีระหวางคูกรณีสองฝายในการแลกเปล่ียนตอบแทนกันแลว ยังมีบทบาทหนาท่ีในนิติสัมพันธท่ีเปนการกําหนดหนาท่ีฝายเดียวโดยไมมีการแลกเปล่ียนตอบแทนกันในบางกรณีดวย เชนการใหนั้น จะเกิดข้ึนไดก็ตอเม่ือเม่ือคูกรณีตกลงใหและรับใหกันแลว คือทําสัญญาใหระหวางกันสําเร็จลง ดังจะเห็นไดจากมาตรา ๕๒๑ ปพพ. ซ่ึงกําหนดวาสัญญาใหนั้นคือสัญญาซ่ึงฝายผูใหโอนทรัพยสินของตนใหโดยเสนหาแกอีกฝายหนึ่งเรียกวาผูรับ และผูรับยอมรับเอาทรัพยสินนั้น เหตุผลสําคัญของการท่ีกฎหมายกําหนดวาการใหจะสําเร็จข้ึนไดตองทําเปนสัญญาระหวางกันนี้ก็เพื่อใหเปนไปตามความสมัครใจของคูกรณี ไมใชใหการใหมีข้ึนไดโดยฝาฝนความสมัครใจนั่นเอง

ดวยเหตุนี้หาก ก. แสดงเจตนาใหสุนัขเปนของขวัญแก ข. ในโอกาสวันเกิดของ ข. และปรากฏวา ข. กลาวขอบคุณแตปฏิเสธท่ีจะรับการใหนั้น ดังนี้การใหยอมไมสําเร็จลงได เพราะขาดความสมัครใจของบุคคลท้ังสองฝาย โดยไมตองคํานึงถึงวา การที่ ข. ปฏิเสธไมรับใหนั้นเปนเพราะไมชอบสุนัข หรือเปนเพราะไมอยากรับของจาก ก. โดยเสนหาก็ตาม

นอกจากสัญญาจะมีความสําคัญในการกอนิติสัมพันธแลกเปล่ียนตอบแทนกันระหวางคูกรณีสองฝายเชนซ้ือขาย หรือในนิติสัมพันธแบบกอหนาท่ีฝายเดียวเชนสัญญาใหแลว สัญญายังมีบทบาทในนิติสัมพันธเกี่ยวกับสถานะของบุคคล เชนในเร่ืองครอบครัว การหม้ัน การสมรส การทําสัญญากอนสมรส ดวย โดยนัยนี้ การหม้ันหรือการสมรสตองเกิดจากความสมัครใจเขาตกลงกันของคูกรณีท้ังสองฝาย ไมใชเปนความสัมพันธท่ีบุคคลใดจะกําหนดใหมีข้ึนเพียงฝายเดียวได

Page 5: เอกสารประกอบการศึกษาวิชากฎหมายลักษณะนิติกรรมสัญญา (น. ๑๐๑)

ข) หลักเสรีภาพในการทําสัญญา

เสรีภาพในการทําสัญญาหมายถึงเสรีภาพของเอกชนในอันท่ีจะใชสัญญาเปนเคร่ืองกําหนดนิติสัมพันธในชีวิตประจําวันของตน เสรีภาพในการทําสัญญานี้นับเปนสวนหนึ่งของเสรีภาพทางทรัพยสินและเสรีภาพท่ัวไปของบุคคล หรือเรียกอีกอยางหนึ่งไดวาเปนอํานาจอิสระของเอกชน (private autonomy) หลักเสรีภาพในการทําสัญญาหรืออํานาจอิสระของเอกชนน้ีเปนเคร่ืองรับรองเสรีภาพในการกระทําการของเอกชนท้ังหลาย แตก็ไมใชเปนเสรีภาพท่ีปราศจากขอบเขต เพราะเสรีภาพของบุคคลเอกชนแตละคนยอมถูกจํากัดโดยเสรีภาพของบุคคลอ่ืนนั่นเอง เชนในการกําหนดนิติสัมพันธระหวางบุคคลสองฝาย เชนในการตกลงซ้ือขาย หรือตกลงจางทําของระหวางกัน นิติสัมพันธท่ีเกิดข้ึนไมอาจเกิดข้ึนจากการกําหนดข้ึนตามอําเภอใจของคูกรณีฝายหนึ่งฝายใดเพียงฝายเดียว แตตองเกิดจากความสมัครใจของคูกรณีท้ังสองฝาย

เม่ือ ก. กับ ข. ตกลงซ้ือขายรถยนตกันท่ีราคา ๕ แสนบาท ก. ยอมมีสิทธิเรียกให ข. สงมอบรถ และข. มีสิทธิเรียกให ก. ชําระเงินคารถ ท้ังนี้ไมใชเปนเพราะฝายใดฝายหนึ่งกําหนดหรือประสงคใหเปนเชนนั้นเพียงฝายเดียว แตเปนเพราะท้ังสองฝายตกลงกัน การที่ ข. ตองยอมรับหนาที่สงมอบรถแก ก. ก็ไมใชเพราะ ก. ประสงคจะไดรถตามท่ีตกลงกันแตฝายเดียว แตเปนเพราะ ข. ไดตกลงใหเปนเชนนั้นดวยความสมัครใจ และการท่ี ก. จะตองชําระเงินแก ก. ๕ แสนบาทนั้น แมวาแทจริงแลว ก. อยากจะชําระราคาเพียง ๔แสน ๕หม่ืนบาท ก.ก็มีหนาท่ีชําระเงินแก ข. เปนเงิน ๕ แสนบาทเต็มจํานวน เพราะ ก. ตกลงท่ีจะชําระเงินจํานวนนี้ดวยความสมัครใจ

พึงสังเกตวา สาระสําคัญของเสรีภาพในการทําสัญญามีอยางนอย ๒ ประการคือ คูกรณีตองมีเสรีภาพในการตกลงทําสัญญา และเสรีภาพในการกําหนดเนื้อหาแหงสัญญา หากคูกรณีฝายหนึ่งฝายใดถูกบังคับหรือตกอยูในภาวะจํายอมตองเขาทําสัญญาเพราะไมมีทางเลือกอยางอ่ืน ดังนี้คูกรณีฝายนั้นยอมเปนฝายท่ีขาดเสรีภาพในการตกลงทําสัญญา และหากคูกรณีฝายใดฝายหนึ่งมีสิทธิเลือกท่ีจะตกลงเขาทําสัญญาหรือไมก็ได แตไมมีอํานาจตอรองท่ีจะรวมกําหนดเนื้อหาแหงสัญญา เพราะสัญญานั้นเปนสัญญาสําเร็จรูปท่ีไมอาจเจรจาเปล่ียนแปลงแกไขได ไดแตเลือกท่ีจะเขาทําสัญญาหรือไมเขาทําสัญญาเทานั้น (take it or leave it) ดังนี้ก็เปนกรณีท่ีฝายท่ีไมสิทธิรวมกําหนดเนื้อหาแหงสัญญาขาดเสรีภาพในการทําสัญญาเชนกัน

เสรีภาพในการตกลงทําสัญญาหมายถึงเสรีภาพในการท่ีจะเขาหรือไมเขาทําสัญญา และเสรีภาพในการเลือกวาจะทําสัญญากับใคร

เชนกรณีท่ี ก. กับ ข. ตกลงซ้ือขายรถยนตกันนั้น ตามหลักเสรีภาพในการทําสัญญา ก. ยอมมีเสรีภาพในการทําสัญญาหาก ก. มีสิทธิท่ีจะเลือกวาจะตกลงซ้ือรถยนตคันนั้น

Page 6: เอกสารประกอบการศึกษาวิชากฎหมายลักษณะนิติกรรมสัญญา (น. ๑๐๑)

หรือไม หรือจะเลือกซ้ือรถยนตจากผูอ่ืน กรณีท่ีมีการจํากัดเสรีภาพในการทําสัญญาไดแกกรณีท่ีคูกรณีไมมีสิทธิเลือกวาจะเขาทําสัญญาหรือไม หรือไมมีสิทธิเลือกวาจะเขาทําสัญญากับบุคคลอ่ืนหรือไม เชนในกรณีท่ี ก. ตองตกลงทําสัญญาใชบริการรถไฟ บริการไปรษณีย หรือบริการไฟฟา น้ําประปาจากผูใหบริการซ่ึงมีอยูเพียงรายเดียว ดังนี้เปนกรณีท่ี ก. ไมมีเสรีภาพในการทําสัญญา ซ่ึงเปนกรณีท่ีเปนขอยกเวน และกฎหมายจะตองกําหนดมาตรการคุมครอง ก. จากการถูกเอารัดเอาเปรียบ หรือไดรับความไมเปนธรรมจนเกินสมควร

สวนเสรีภาพในการกําหนดเนื้อหาของสัญญา หมายถึงเสรีภาพของคูสัญญา ในการกําหนดเนื้อหาหรือเง่ือนไขของสัญญาวาคูกรณีจะมีนิติสัมพันธหรือความผูกพันเกี่ยวกับสิทธิหนาท่ีระหวางกันอยางไร

เสรีภาพในการกําหนดเนื้อหาของสัญญานี้โดยท่ัวไปใชกับเร่ืองสัญญาทางหนี้เปนหลัก เพราะเปนเร่ืองท่ีกฎหมายยอมใหคูกรณีกําหนดรายเนื้อหาและเง่ือนไขความสัมพันธระหวางกันไดโดยอิสระ (jus positivum) ตามหลักท่ีวาเอกชนยอมมีเสรีภาพในการกระทําการท้ังปวงท่ีไมมีกฎหมายหามไวโดยเฉพาะ (มาตรา ๑๕๐, ๑๕๒ ปพพ.) หลักเสรีภาพในการกําหนดเนื้อหาของสัญญานี้มีขอจํากัด คือไมใชกับเร่ืองท่ีมีกฎหมายวางบทบังคับไวโดยเฉพาะ (jus cogens) เชนในเร่ืองทรัพย ครอบครัว และมรดก เพราะเร่ืองเหลานี้เปนเร่ืองท่ีกฎหมายกําหนดเนื้อหาไวในลักษณะท่ีเปนบทกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบรอยและศีลธรรมอันดีซ่ึงคูกรณีจะตกลงกันเปนอยางอ่ืนตางจากท่ีกฎหมายกําหนดไวไมได หากตกลงกันโดยฝาฝนความสงบเรียบรอยและศีลธรรมอันดีสัญญาดังกลาวนั้นยอมไมมีผลเพราะตกเปนโมฆะ

เชน ก. กับ ข. ตกลงซ้ือขายรถยนตกัน ก. กับ ข. อาจตกลงกันให ก. ชําระราคาคารถเปนงวด ๆ หรือตกลงกันวา ข. ไมตองรับผิดเพื่อความชํารุดบกพรองในรถท่ีซ้ือขายกัน หรืออาจตกลงกันวา หาก ก. ไมพอใจรถยนตท่ีซ้ือขายกันก็มีสิทธิท่ีจะคืนรถและเลิกสัญญาภายใน ๑๔ วันหลังจากวันรับมอบก็ได แตถาเปนเร่ืองครอบครัว เชนในการสมรส คูสมรสไมอาจตกลงยกเวนสิทธิหนาท่ีท่ีกฎหมายกําหนดได เชนไมอาจตกลงใหคูสมรสฝายใดฝายหนึ่งมีสิทธิหยาขาดจากการสมรสนอกเหนือจากท่ีกฎหมายกําหนดไวได ดังนี้เปนตน

ค) ขอความคิดวาดวยสัญญา

สัญญาคือความตกลงเสนอสนองตองตรงกันระหวางบุคคลสองฝายข้ึนไป หรือหากจะกลาวใหชัดยิ่งข้ึนสัญญาคือนิติกรรมท่ีเกิดจากการแสดงเจตนาของบุคคลอยางนอยสองฝายในลักษณะท่ีมุงผูกพันตอกันและกันตามกฎหมายตามคําเสนอสนองท่ีตองตรงกัน ลักษณะดังกลาวนี้เปนลักษณะท่ัวไปที่ไดจากการสกัดหลักการจากสัญญาเฉพาะเร่ือง หรือท่ีเรียกกันวาเอกเทศสัญญา

Page 7: เอกสารประกอบการศึกษาวิชากฎหมายลักษณะนิติกรรมสัญญา (น. ๑๐๑)

แบบตาง ๆ อันไดแก ซ้ือขาย เชา จางทําของ เปนตน ท้ังนี้ก็เพื่อใหเรามองเห็นหลักเกณฑท่ัวไปอันเปนนามธรรมของสัญญาท้ังปวงในประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย

องคประกอบของสัญญาจึงมีดังตอไปนี้

๑) สัญญาตองประกอบดวยการแสดงเจตนาของบุคคลอยางนอยตั้งแตสองคนขึ้นไป การแสดงเจตนาของฝายหนึ่งเรียกวา คําเสนอ และการแสดงเจตนาของอีกฝายหนึ่งเรียกวาคําสนอง

จากอุทาหรณในขอ ก) ขางตน เราจะเห็นไดวา ก. ยอมมีสิทธิเรียกให ข. ชําระราคารถยนตเปนเงิน ๕ แสนบาทได หากเกิดสัญญาซ้ือขายระหวาง ก. กับ ข. ข้ึน สัญญาซ้ือขายรายน้ียอมเกิดข้ึนเพราะจดหมายท่ี ก. มีไปถึง ข. นั้นเปนคําเสนอ และ จดหมายของ ข. ท่ีมีมาถึง ก. ก็เปนคําสนองตามคําเสนอของ ก. นอกจากนี้ถาเปนกรณีท่ี ก. ตกลงให ข. และ ค. ซ่ึงเปนคูสมรสเชาบาน โดย ก. ลงนามในสัญญาเชา แลวสงให ข. กับ ค. ลงนาม ดังนี้เม่ือทุกฝายลงนามในสัญญาแลว สัญญายอมเกิดข้ึนระหวาง ก. ในฐานะผูใหเชา กับ ข. และ ค. ในฐานะผูเชา กรณีนี้แสดงใหเห็นวาสัญญาอาจเกิดข้ึนระหวางบุคคลหลายคนก็ได

๒) เจตนาท่ีคูกรณีท้ังสองฝายแสดงออกมานั้นจะตองมีเนื้อหาตองตรงกัน ท้ังนี้ไมไดหมายความวาเนื้อหาของเจตนาของท้ังสองฝายตองเหมือนกันทุกถอยคํา แตหมายความวาเจตนาของท้ังสองฝายตองมุงตอผลทางกฎหมายโดยมีเนื้อหาอยางเดียวกัน เชนซ้ือขายรถยนตคันไหน ราคาเทาไร แตถาเจตนาในคําเสนอ กับเจตนาในคําสนองแตกตางกัน ยอมไมมีทางเกิดสัญญาข้ึนได

ดวยเหตุนี้ในอุทาหรณขอ ข) ก. ผูขายยอมไมมีสิทธิเรียกให ข. ชําระราคา ท้ังนี้เพราะสัญญาระหวาง ก. กับ ข. ยังไมเกิดข้ึน ท้ังนี้เพราะเพียงแต ก. มีเจตนาขาย และ ข. มีเจตนาซ้ือ ยังเรียกไมไดวามีเจตนาเสนอสนองตองตรงกัน ในกรณี่ท่ี ข. ขอตอรองราคา เรายอมเห็นไดวาคําเสนอสนอง - โดยเฉพาะในสวนของราคา - ยังไมตองตรงกัน

๓) เจตนาท่ีแสดงออกยังจะตองแสดงออกโดยมุงใหเจตนาน้ันตองตรงกับคูกรณีอีกฝายหนึ่งและเกิดผลทางกฎหมายขึ้น หมายความวาเม่ือฝายหนึ่งแสดงเจตนาทําคําเสนอ ก็ตองมีการแสดงเจตนาสนองรับคําเสนอนั้น ดังนั้นแมคูกรณีจะแสดงเจตนาท่ีมีเนื้อหาเหมือนกัน และตางสงเจตนาถึงกันโดยมิไดมุงจะใหตองตรงกับเจตนาของคูกรณีอีกฝายหนึ่ง เชนตางฝายตางทําคําเสนอโดยมีเนื้อหาเหมือนกัน ดังนี้เม่ือยังไมมีคําสนองตอบคําเสนอนั้นจากอีกฝายหนึ่ง สัญญายังไมเกิดข้ึน

Page 8: เอกสารประกอบการศึกษาวิชากฎหมายลักษณะนิติกรรมสัญญา (น. ๑๐๑)

ดวยเหตุนี้ในอุทาหรณขอ ค) เราจึงสรุปไดวาสัญญายังไมเกิดขค้ึน เพราะเปนกรณีท่ีตางฝายตางทําคําเสนอ ยังไมปรากฏวา มีการทําคําสนองตองตรงกันกับคําเสนอ อยางไรก็ดีหากปรากฏวา ก. ไดนํารถไปสงมอบแก ข. ดังนี้การนํารถไปสงให ข. ถือไดวาเปนการแสดงเจตนาสนองรับคําเสนอของ ข. โดยปริยาย ดังนี้สัญญายอมเกิดข้ึนเพราะมีคําเสนอสนองตองตรงกันแลว

๔) การทําสัญญานั้น โดยทั่วไปไมมีแบบ กฎหมายมิไดกําหนดใหตองทําตามแบบเสมอไป เพราะกฎหมายมุงใหบุคคลที่เปนคูสัญญาไดรับความสะดวกในการกอนิติสัมพันธระหวางกัน ตามปกติกฎหมายจะกําหนดแบบแหงนิติกรรมไวเฉพาะในกรณีท่ีถือวาเปนนิติกรรมท่ีสําคัญจริง ๆ ดังนั้นหากไมมีกฎหมายกําหนดไววาตองทําตามแบบ เชนทําเปนหนังสือ หรือทําเปนหนังสือและจดทะเบียนตอพนักงานเจาหนาท่ี ดังนี้เอกชนยอมมีเสรีภาพในการทําสัญญาไดโดยอิสระ ดังจะเห็นไดจากมาตรา ๑๕๑ ปพพ. ซ่ึงอนุญาตใหบุคคลทําการท้ังหลายไดแมการนั้นจะแตกตางจากบทกฎหมาย เวนแตบทกฎหมายน้ันจะเปนบทกฎหมายท่ีเกี่ยวกับความสงบเรียบรอยและศีลธรรมอันดีของประชาชน และมาตรา ๑๕๒ ซ่ึงบัญญัติวาการใดมิไดทําใหถูกตองตามแบบท่ีกฎหมายกําหนดไว การนั้นตกเปนโมฆะ หมายความวาตราบใดท่ีกฎหมายไมไดกําหนดแบบไว เอกชนยอมทําสัญญากันไดโดยอิสระหรือโดยไมมีแบบนั่นเอง

๑.๒ การแสดงเจตนา

ก) ขอความคิดวาดวยการแสดงเจตนา

การแสดงเจตนาหมายถึงการแสดงออกซึ่งความตองการของเอกชนผูแสดงเจตนาท่ีประสงคจะใหเกิดผลทางกฎหมายอยางใดอยางหนึ่ง

พึงสังเกตวา การแสดงเจตนาท่ีอยูในความสนใจทางกฎหมายแพงในท่ีนี้มุงหมายถึงการแสดงเจตนาของเอกชนเปนสําคัญ โดยเหตุนี้การแสดงเจตนาในขอบเขตของกฎหมายมหาชนจึงไมใชส่ิงท่ีเราจะใหความสนใจในเวลานี้ ดังนั้นการแสดงเจตนาของเจาพนักงานซ่ึงอาจแสดงออกในรูปคําส่ังทางปกครอง หรือการแสดงเจตนาของผูลงคะแนนเสียงเลือกต้ัง แมจะเปนการแสดงเจตนาของเอกชน แตก็ไมใชการแสดงเจตนาในกิจการของเอกชน เพราะการแสดงเจตนาในกรณีนี้เปนการแสดงเจตนาของผูมีอํานาจหนาท่ีในกิจการสาธารณะหรือกิจการมหาชน ดังนั้นยอมตกอยูภายใตบังคับของหลักเกณฑในกฎหมายมหาชนซ่ึงอาจแตกตางจากกฎหมายแพงซ่ึงเปนกฎหมายเอกชนได

Page 9: เอกสารประกอบการศึกษาวิชากฎหมายลักษณะนิติกรรมสัญญา (น. ๑๐๑)

(๑) การแสดงเจตนาในท่ีนี้หมายถึงการแสดงเจตนาทํานิติกรรม ซ่ึงก็คือการแสดงเจตนาท่ีประสงคตอผลทางกฎหมายอยางใดอยางหนึ่ง

(๒) องคประกอบของการแสดงเจตนามีอยางนอยสองสวน ไดแกเจตนาภายใน และเจตนาท่ีแสดงออก

เจตนาภายในประกอบดวยสวนสําคัญอยางนอย ๓ สวนคือ

เจตนากระทําการ หมายถึงผูแสดงเจตนารูตัวขณะแสดงเจตนา คือรูตัววาตนกําลังกระทําการอยางใดอยางหน่ึงโดยประสงคตอผลคือใหรางกายเคล่ือนไหวหรือแสดงออกอยางใดอยางหนึ่งตามความตองการของตน

เจตนาแสดงออกทางกฎหมาย หมายถึงรูตัววากําลังกระทําการอยางหนึ่งซ่ึงมีผลทางกฎหมาย เชนหากกําลังลงลายมือช่ือ ก็ตองลงลายมือช่ือโดยรูวาตนกําลังลงลายมือช่ือในเอกสารทางกฎหมายไมใชเพียงแตซอมลงลายมือช่ือ หรือทดสอบปากกาท่ีใช ดังนี้เปนตน การแสดงออกของบุคคลบางคร้ังแสดงออกโดยไมรูตัววากําลังแสดงออกซ่ึงเจตนาอันมีผลตามกฎหมาย เชนยกมือทักทายเพื่อนโดยไมรูวาขณะนั้นตนกําลังอยูในท่ีประมูล และการแสดงเจตนานั้นยอมเปนท่ีเขาใจกันวาเปนการสูราคา หรือการแสดงออกทางสังคมโดยไมไดประสงคความผูกพันเชนการชวนเพื่อนไปรับประทานอาหารหรือไปดูหนัง ดังนี้ไมอาจนับเปนการแสดงออกทางกฎหมาย

เจตนาทํานิติกรรม หมายถึงผูแสดงเจตนาประสงคตอผลทางกฎหมายอยางใดอยางหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจง เชนผูขายบอกราคาสินคาผิด ดังนี้การบอกราคาดังกลาวเปนการกระทําโดยมีเจตนา และการแสดงเจตนานั้นเปนการแสดงออกทางกฎหมาย แตเนื่องจากบอกราคาผิดไป แมวาจะประสงคทําคําเสนอแตก็ถือไดวาขาดเจตนาทํานิติกรรมตามท่ีแสดงออก กรณีเปนเร่ืองสําคัญผิดในการแสดงเจตนา หรือการยกมือชูข้ึนใหคนท่ีประสงคจะซ้ือนาฬิกาไดดูนาฬิกาท่ีจะซ้ือในหองประมูลสินคา ดังนี้เปนการแสดงออกทางกฎหมาย แตไมมีเจตนาทํานิติกรรมซ้ือสินคาท่ีกําลังประมูลกัน

ตัวอยางเชน ก. ถูก ข. สะกดจิตใหลงลายมือช่ือในสัญญา ดังนี้ผูลงลายมือช่ือไมรูตัววากําลังทําอะไร เปนกรณีขาดเจตนากระทําการ หรือ ถา ก. ยกมือทักเพื่อนในท่ีประชุมประมูลของ ดังนี้เขามีเจตนากระทําการ แตเปนกรณีขาดเจตนาแสดงออกทางกฎหมาย แตถาเปนกรณีท่ี ก. บอกราคาสินคาแกผูซ้ือผิดไป ดังนี้เปนการกระทําโดยเจตนากระทําการ รูวาเปนการแสดงออกทางกฎหมาย แตขาดเจตนาทํานิติกรรมตามท่ีไดแสดงออก

Page 10: เอกสารประกอบการศึกษาวิชากฎหมายลักษณะนิติกรรมสัญญา (น. ๑๐๑)

๑๐

สวนปญหาวาการแสดงเจตนาเหลานี้จะมีผลทางกฎหมายหรือไม ข้ึนอยูกับวาจะพิจารณาในแงท่ีมุงจะคุมครองผูใด ระหวางฝายท่ีแสดงเจตนา กับฝายท่ีรับการแสดงเจตนา หรือบางกรณีมีบุคคลภายนอกมามีสวนเกี่ยวของดวย สําหรับเร่ืองนี้ระบบกฎหมายทุกระบบพยายามจะวางหลักเกณฑใหเกิดดุลยภาพในการคุมครองประโยชนไดเสียของแตละฝายอยางเปนธรรม เร่ืองนี้เราจะไดศึกษากันในรายละเอียดเม่ือเรากลาวถึงเร่ืองความบกพรองเส่ือมเสียในการแสดงเจตนาในเวลาขางหนา

แตในกรณี บอกเชิญชวนเพ่ือนไปรับประทานอาหารเย็น เราเห็นไดวาผูออกปากเชิญแมจะแสดงความจริงจังเพียงใด การแสดงเจตนาดังกลาวก็ไมใชเจตนาแสดงออกทางกฎหมาย เพราะมุงตอการแสดงออกซ่ึงอัธยาศัยไมตรีอันดีในสังคม จึงไมจัดเปนการแสดงเจตนาทํานิติกรรม

(๓) เจตนาทํานิติกรรมของบุคคลแตละคนเปนเคร่ืองช้ีขาดในการพิจารณาวาบุคคลดังกลาวประสงคจะกอนิติสัมพันธข้ึนหรือไม และยอมปรากฏใหเห็นไดในเจตนาหรือพฤติกรรมท่ีเขาแสดงออก

การแสดงเจตนาอาจแสดงออกไดหลายทาง เชน

การแสดงเจตนาออกมาโดยตรง หรือโดยแจงชัด เชนการแสดงเจตนาท่ีไดกระทําเปนหนังสือ หรือบอกกลาวดวยขอความที่ชัดเจน การแสดงเจตนาเชนนี้ ปกติยอมไมเปนท่ีสงสัยแกบุคคลท่ัวไปผูรับรูการแสดงเจตนานั้น ๆ ท้ังนี้โดยไมตองคํานึงถึงวาผูแสดงเจตนานั้น ๆ ไดใชถอยคําภาษากฎหมายหรือไม สําคัญอยูแตเพียงวา การแสดงอาการ หรือพฤติกรรมอยางใดอยางหนึ่งนั้นสามารถเปนท่ีรับรูแกผูท่ีเปนคูกรณีหรือผูเกี่ยวของหรือไมวาผูแสดงเจตนาประสงคตอผลทางกฎหมายอยางไร ตัวอยางเชนผูเชาบอกกลาวแกผูใหเชาวาประสงคจะยายออกจากบานเชาในวันส้ินเดือน ดังนี้ยอมเปนท่ีเขาใจไดวาผูเชาแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาเชาบานแลว

สวนการแสดงเจตนาโดยปริยาย ไดแกการแสดงเจตนาท่ีมิไดปรากฏใหเห็นโดยตรงหรือโดยแจงชัด แตแสดงใหปรากฏโดยพฤติกรรมอยางใดอยางหนึ่ง หรือโดยการกระทําในลักษณะท่ีทําใหผูอ่ืนควรคาดหมายหรือเขาใจไดวาผูแแสดงเจตนาประสงคจะทํานิติกรรมอยางหนึ่งอยางใด ตัวอยางเชน การข้ึนนั่งบนเกาอ้ีคนโดยสารในชิงชาสวรรคในงานวัด และน่ังไปจนหยุดหมุน ดังนี้ยอมเปนการแสดงเจตนาเขาทําสัญญาน่ังชิงชาสวรรค การกาวข้ึนรถเมล หรือกาวลงเรือขามฟาก การเขาจอดรถในท่ีจอดรถท่ีจัดไวสําหรับผูเสียคาธรรมเนียมจอดในบริเวณสนามบิน ก็เปนการแสดงเจตนาโดยปริยายเขาทําสัญญาขนสง หรือฝากรถ หรือเชาท่ีจอดรถโดยตกลงเสียคาธรรมเนียมตามอัตราปกติ หรือการรองขอใหนายจางออกใบรับรองการทํางานเพ่ือใชในการทํางานในท่ีแหงใหมยอมเปนการแสดงเจตนาลาออกจากงานโดยปริยาย หรือกรณีท่ีหญิง

Page 11: เอกสารประกอบการศึกษาวิชากฎหมายลักษณะนิติกรรมสัญญา (น. ๑๐๑)

๑๑

คูหม้ันคืนแหวนหม้ันใหแกชายคูหม้ันยอมทําใหชายคูหม้ันเขาใจไดวาหญิงขอเลิกสัญญาหม้ันโดยปริยาย เปนตน

แตการนิ่งปกติไมจัดเปนการแสดงเจตนา เร่ืองนี้เราอาจสรุปไดจากการพิจารณามาตรา ๓๖๑ วรรคสอง ปพพ. ดังท่ีกฎหมายกําหนดไววา ในกรณีท่ีผูเสนอไดแสดงเจตนาไววาไมตองทําคําสนองสัญญาก็เกิดข้ึนได หรือกรณีท่ีมีปกติประเพณีอยูวาสัญญาอาจเกิดข้ึนไดโดยไมตองบอกกลาวคําสนอง กฎหมายก็มิไดรับรองใหสัญญาเกิดข้ึนโดยการนิ่ง แตกําหนดใหสัญญาเกิดข้ึนเม่ือมีการอันใดอันหนึ่งข้ึนซ่ึงจะพึงสันนิษฐานไดวา เปนการแสดงเจตนาสนองรับ การอันใดอันหนึ่งท่ีวานี้ ปกติไดแกการแสดงออกโดยพฤติกรรมอยางใดอยางหนึ่ง ในลักษณะท่ีสอนัยวาไดมีการสนองรับคําเสนอแลว

ตัวอยางเชนในธุรกิจโรงแรม เม่ือมีผูขอจองหองพัก ปกติเจาสํานักโรงแรมหรือเจาหนาท่ีของโรงแรมยอมแสดงออกดวยการบันทึกช่ือแขกผูจองหองพักไวในสมุดบันทึกการจองหอง ดังนี้แมโรงแรมมิไดบอกกลาวสนองก็ถือไดวาสัญญาเขาพักในโรงแรมเกิดข้ึนแลว หรือกรณีส่ังซ้ือสินคาจากบริการรับส่ังสินคาทางโทรศัพท การบันทึก หรือการบรรจุสินคาลงหีบหอยอมเปนการแสดงเจตนาสนองรับในตัว

แตถาฝายท่ีรับคําเสนอนิ่ง ไมทําการใด ๆ การนิ่งอาจเปนการสนองรับไดถามีปกติประเพณีท่ีถือวาการนิ่งเปนการสนองรับ เชนในรานคา พอคาซ่ึงทําการคาหรือใหบริการโดยไมตองตอบคําส่ังลูกคา แตจัดสินคาหรือบริการใหตามปกติ การนิ่งก็เปนการสนองรับได เชนการส่ังอาหารในรานอาหาร การส่ังซ้ือเนื้อในรานขายเนื้อ ถาผูขายไมโตแยงเลย การนิ่งยอมเปนพฤติ-การณสนองรับไดในตัวเอง นอกจากน้ีในการประกอบธุรกิจการคาบางประเภท โดยเฉพาะในวงการคาระหวางประเทศ มักปรากฏมีปกติประเพณีทางการคาท่ีถือวาการนิ่งไมโตแยงคําส่ังสินคา หรือโตแยงหนังสือบอกกลาวเรียกใหชําระหนี้ นับวาเปนการสนองรับคําส่ังซ้ือ หรือคําเสนอขายแลวได

สวนในกรณีบุคคลท่ัวไป การนิ่งยังถือไมไดวาทําการสนองรับคําเสนอแลว เชนมีผูสงสินคามาใหทางไปรษณียโดยกําหนดวาหากประสงคจะซ้ือก็ไมตองสงคืน ดังนี้หากผูรับนิ่งเสียไมสงคืนจะถือวาเปนการสนองรับไมได เวนเสียแตเปนประเพณีปฏิบัติระหวางคูคาวาหากไมสงคือในกําหนดถือวารับซ้ือ ดวยเหตุนี้การนิ่งจึงไมอาจนับเปนการแสดงเจตนาได อยางไรก็ดี ถาผูรับสินคานิ่งเสียไมตอบ แตกลับใชสินคานั้น ดังนี้ยอมนับเปนพฤติการณท่ีแสดงวาผูรับสนองรับการเสนอขายรายน้ีแลว กรณีตามอุทาหรณ ง) การท่ี ก. ไดรับนาฬิกาท่ีสงมาทางไปรษณียไวแลวไมไดสงคืน แมจะเขาเง่ือนไขที่ ข. ต้ังไวก็ไมอาจถือไดวาสัญญาซ้ือขายเกิดข้ึนแลว เพราะการนิ่ง

Page 12: เอกสารประกอบการศึกษาวิชากฎหมายลักษณะนิติกรรมสัญญา (น. ๑๐๑)

๑๒

ไมอาจถือเปนพฤติการณสนองรับได แตถา ก. นํานาฬิกานั้นมาใชงานก็เปนพฤติการณท่ีแสดงวา ก. สนองรับคําเสนอของ ข. ได

ข) ชนิดของการแสดงเจตนา

การแสดงเจตนามีไดหลายชนิดแตท่ีสําคัญในเบ้ืองตนคือการทําความเขาใจวา การแสดงเจตนาบางอยางมีผลตอเม่ือมีผูรับการแสดงเจตนา สวนการแสดงเจตนาบางอยางมีผลโดยการแสดงเจตนานั้นเองไมจําเปนตองมีผูรับการแสดงเจตนานั้น

การแสดงเจตนาท่ีตองมีผูรับการแสดงเจตนาไดแกการแสดงเจตนาท่ัว ๆ ไปซ่ึงประสงคใหเกิดผลทางกฎหมายคือกอนิติสัมพันธข้ึนระหวางบุคคลสองฝาย การแสดงเจตนาเหลานี้ตองมีผูรับ เชนการทําคําเสนอจะมีผลไดก็ตอเม่ือไดแสดงตอผูรับเจตนา การทําคําสนองก็เปนการแสดงเจตนาท่ีตองมีผูรับเชนกัน การแสดงเจตนาลอย ๆ โดยปราศจากผูรับไมอาจนับเปนการทําคําเสนอได เชนการกลาวแสดงเจตนาลอย ๆ ในอากาศ หรือในสถานท่ีท่ีไมมีผูใดอยูเลย เวนแตการแสดงเจตนานั้นจะมีวัตถุประสงคเจาะจงท่ีจะทําคําเสนอแกบุคคลใด ๆ ก็ไดโดยไมเลือกหนา ก็อาจเปนการทําคําเสนอตอสาธารณชนได แตกรณีเชนนี้ก็ตองมีสาธารณชนเปนผูรับการแสดงเจตนาอยูดี เพียงแตเปนผูรับการแสดงเจตนาท่ีมิไดเจาะจงตัวเทานั้น การแสดงเจตนาท่ีตองมีผูรับนั้นจะมีผลก็ตอเม่ือไดแสดงเจตนาใหผูรับไดรับรูเจตนาน้ันตอหนาหรือถามิไดอยูเฉพาะหนากันก็ตองสงเจตนานั้นไปถึงผูรับเสียกอน

ตัวอยางท่ีสําคัญท่ีแสดงใหเห็นถึงการแสดงเจตนาท่ีตองมีผูรับการแสดงเจตนาไดแก การบอกลางโมฆียกรรม (มาตรา ๑๗๘ ปพพ.) การบอกเลิกสัญญา (มาตรา ๓๘๖-๓๘๘ ปพพ.) นับเปนการแสดงเจตนาฝายเดียว แตก็เปนการแสดงเจตนาท่ีตองมีผูรับอยางหนึ่ง ถาการแสดงเจตนาเลิกสัญญาไปไมถึงผูรับ การเลิกสัญญาก็ไมเกิดข้ึน นอกจากน้ียังมีการแสดงเจตนาหักกลบลบหนี้ (มาตรา ๓๔๒ ปพพ.) ก็เปนการแสดงเจตนาฝายเดียวท่ีตองมีผูรับการแสดงเจตนา หากแสดงเจตนาลอย ๆ โดยไมไดแสดงตอผูรับการแสดงเจตนา การหักกลบลบหนี้ก็ไมเกิดข้ึนเชนกัน

การแสดงเจตนาชนิดท่ีไมตองมีผูรับการแสดงเจตนานั้นหมายถึงการแสดงเจตนาท่ีกฎหมายรับรองใหมีผลเม่ือไดแสดงเจตนาสําเร็จลงแลวแมไมมีผูรับ การแสดงเจตนาชนิตนี้มีผลตามกฎหมายโดยไมตองคํานึงถึงวาจะมีผูรับการแสดงเจตนานั้นหรือไม หรือการแสดงเจตนาดังกลาวนั้นจะลวงรูถึงผูท่ีมีสวนเกี่ยวของหรือมีสวนไดเสียโดยตรงตอผลของการแสดงเจตนานั้นหรือไม ตัวอยางเชน การทําพินัยกรรมเปนการแสดงเจตนาฝายเดียวท่ีไมตองการผูรับการแสดง

Page 13: เอกสารประกอบการศึกษาวิชากฎหมายลักษณะนิติกรรมสัญญา (น. ๑๐๑)

๑๓

เจตนา เม่ือทําพินัยกรรมสําเร็จแลวพินัยกรรมนั้นยอมสมบูรณโดยไมตองคํานึงถึงวาผูรับพินัย-กรรมหรือทายาทโดยธรรมจะไดรับหรือรูถึงพินัยกรรมนั้นหรือไม การแสดงเจตนาชนิดไมตองมีผูรับนั้นยังมีไดในนิติกรรมอยางอ่ืนอีก เชน การสละกรรมสิทธ์ิ (มาตรา ๑๓๑๘ ป.พ.พ.) เปนตน

ค) ความแตกตางจากการกระทําอ่ืน ๆ ท่ีมีผลทางกฎหมาย

การแสดงเจตนาแตกตางจากการกระทําทางขอเท็จจริงอ่ืน ตรงท่ีการแสดงเจตนาเปนการกระทําท่ีมุงตอผลทางกฎหมาย และยอมมีผลเฉพาะในกรณีท่ีผูแสดงเจตนาประสงคตอผลทางกฎหมายเทานั้น หากผูแสดงเจตนามิไดประสงคตอผลทางกฎหมาย เชนแสดงเจตนาไปโดยไมประสงคจะผูกพัน หรือเปนแตการกระทําตามมรรยาทสังคม เชนการเช้ือเชิญใหรวมรับประทานอาหาร การแสดงเจตนานั้นยอมไมกอใหเกิดผลทางกฎหมาย แตการกระทําทางขอเท็จจริงอ่ืน ๆ ท่ีมีผลทางกฎหมายน้ัน อาจมีผลทางกฎหมายไดแมผูกระทํามิไดประสงคตอผลทางกฎหมายเลย เชนการครอบครองทรัพยยอมมีผลใหผูครอบครองไดรับความคุมครองตามกฎหมาย (มาตรา ๑๓๖๗ ป.พ.พ.) ไมวาผูครอบครองจะประสงคใหเกิดผลทางกฎหมายอยางใดหรือไม หรือการทําทรัพยข้ึนใหม หากคาแรงงานเกินกวาสัมภาระมาก ผูทําทรัพยนั้นยอมไดกรรมสิทธ์ิ (มาตรา ๑๓๑๗ ป.พ.พ.)โดยไมตองคํานึงถึงวาผูกระทําไดทําไปโดยประสงคจะไดกรรมสิทธ์ิหรือไม

๑.๓ นิติกรรม

ก) ขอความคิดวาดวยนิติกรรม

นิติกรรมหรือ (Juristic Act) เปนขอความคิดทางกฎหมายสมัยใหมท่ีเปนผลงานทางวิชาการของนักนิติศาสตรเยอรมันในศตวรรษที่ ๑๙ ซ่ึงพยายามอธิบายแยกแยะองคประกอบของนิติสัมพันธชนิดตาง ๆ ท่ีเกิดจากการกระทําของบุคคลลออกเปนนิติสัมพันธท่ีเกิดจากการกระทําท่ีชอบดวยกฎหมาย และท่ีไมชอบดวยกฎหมาย ในบรรดานิติสัมพันธหรือความสัมพันธทางกฎหมายท่ีเกิดจากการกระทําท่ีชอบดวยกฎหมายน้ัน อาจแบงออกเปนนิติกรรมอยางหน่ึง กับการกระทําทางขอเท็จจริงอีกอยางหน่ึง พอจะสรุปไดวานิติสัมพันธท่ีเปนผลจากการกระทําอันชอบดวยกฎหมายดวยความสมัครใจท่ีจะกอใหเกิดนิติสัมพันธนั้นข้ึน และครบองคประกอบหรือเง่ือนไขท่ีกฎหมายรับรองใหมีผลตามท่ีมุงหมายนั้น นิติสัมพันธเชนนั้นเรียกวานิติกรรม ซ่ึงตามประมวลกฎหมายแพงและพาณิชยของไทยนิยามไวตามมาตรา ๑๔๙ ปพพ. ดังนี้

Page 14: เอกสารประกอบการศึกษาวิชากฎหมายลักษณะนิติกรรมสัญญา (น. ๑๐๑)

๑๔

มาตรา ๑๔๙ นิติกรรมหมายความวา การใด ๆ อันทําลงโดยชอบดวยกฎหมายและดวยใจสมัคร มุงโดยตรงตอการผูกนิติสัมพันธขึ้นระหวางบุคคล เพ่ือจะกอ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซ่ึงสิทธิ

ในตํารากฎหมายไทยไดมีการแยกองคประกอบของนิติกรรมไววาอยางนอยจะตองประกอบดวยองค ๔ คือ

๑. ตองเปนการแสดงเจตนา

๒. การแสดงเจตนานั้นตองกระทําโดยใจสมัคร

๓. ตองเปนการกระทําท่ีชอบดวยกฎหมาย และ

๔. ตองมุงโดยตรงท่ีจะใหเกิดผลในกฎหมาย

แตผูเขียนเห็นวาการอธิบายขางตนยังไมชัดเจนเพียงพอ เพราะไมอาจแยกนิติกรรมออกจากการแสดงเจตนา เพราะการแสดงเจตนาท่ีประสงคตอผลทางกฎหมายก็ตองมีองคประกอบอยางเดียวกัน จึงใครเสนอแงมุมใหพิจารณาเสียใหมวา นิติกรรมเปนการกระทําอันมีผลในทางกอนิติสัมพันธตามกฎหมาย ตามเจตนาท่ีมุงตอผลโดยชอบดวยกฎหมายอยางใดอยางหนึ่ง ซ่ึงกฎหมายอาจรับรองใหมีผลไดโดยอาศัยการแสดงเจตนาท่ีประสงคตอผลทางกฎหมายลวน ๆ หรือโดยประกอบกันเขากับขอเท็จจริงอยางอ่ืนจนครบองคประกอบตามท่ีกฎหมายกําหนดเพื่อใหเกิดผลตามกฎหมายก็ได แลวแตกรณี

๑) นิติกรรมยอมเกิดจากการแสดงเจตนาอยางนอยต้ังแตหนึ่งฝายข้ึนไป ดังนั้นการแสดงเจตนาจึงเปนสวนสาระสําคัญของนิติกรรม แตการแสดงเจตนาก็มิใชนิติกรรม เพราะแมการแสดงเจตนาบางอยางเปนนิติกรรมในตัวเอง เชนการแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญา แตโดยท่ัวไปการแสดงเจตนาเปนเพียงองคประกอบสําคัญอยางหน่ึงของนิติกรรม นิติกรรมมักจะเกิดข้ึนโดยอาศัยขอเท็จจริงอันเปนองคประกอบอยางอ่ืนดวย ตัวอยางเชนคําเสนอ คําสนองเปนเพียงการแสดงเจตนา ไมใชนิติกรรม ตอเม่ือคําเสนอสนองตองตรงกันและไปถึงผูรับแลวจึงจะเกิดสัญญาหรือนิติกรรมข้ึน

๒) ความมีผลทางกฎหมายของนิติกรรมไมจําเปนตองเกิดจากการแสดงเจตนาฝายเดียวหรือหลายฝายเทานั้น บางคร้ังกฎหมายอาจกําหนดใหตองมีเหตุการณหรือขอเท็จจริงอยางใดอยางหนึ่งประกอบกันกับการแสดงเจตนาดวย แตโดยที่กฎหมายมุงรับรองผลใหเปนไปตามเจตนาท่ีประสงคตอผลทางกฎหมายเปนสําคัญเราจึงถือวาเปนนิติกรรม เชนการให ตองมีผูให และผูรับให โดยมุงตอผลทางกฎหมายใหกรรมสิทธ์ิในทรัพยสินท่ีใหโอนเปล่ียนมือจากผูใหไปยังผูรับ และตองมีการสงมอบทรัพยสินท่ีใหเสียกอน นิติกรรมการใหจึงจะเกิดและมีผล

Page 15: เอกสารประกอบการศึกษาวิชากฎหมายลักษณะนิติกรรมสัญญา (น. ๑๐๑)

๑๕

สมบูรณตามกฎหมาย (มาตรา ๕๒๓ ปพพ.) หรือเชน การหม้ันตองมีการสงมอบหรือโอนกรรมสิทธ์ิในของหม้ันแกหญิงเปนหลักฐานวาจะสมรสกับหญิงนั้น (มาตรา ๑๔๓๗ ป.พ.พ.) การสมรส ตองมีเจตนาเสนอสนองตองตรงกันท่ีจะสมรส ประกอบเขากับขอเท็จจริงอีกประการหนึ่งคือตองแสดงความสมัครใจสมรสใหปรากฏตอหนานายทะเบียน (มาตรา ๑๔๕๘ ปพพ.) และมีการจดทะเบียนสมรส (มาตรา ๑๔๕๗ ปพพ.) ดวย

๓) ผลในทางกฎหมายของนิติกรรมนั้นมิไดเกิดจากการแสดงเจตนาลวน ๆ แตมักเปนกรณีท่ีตองมีกฎหมายยอมรับผลแหงการแสดงเจตนาน้ัน ๆ ดวย ถากฎหมายไมยอมรับใหมีผล หรือมุงหามผลของการแสดงเจตนาเชนนั้น เชนกรณีท่ีการเชนนั้นเปนการอันขัดตอขอหามในกฎหมาย นิติกรรมนั้นก็อาจตองเส่ือมเสียไป เชนสัญญาซ้ือขายภาพลามกท่ีขัดตอศีลธรรมอันดี กฎหมายจึงปฏิเสธผลแหงนิติกรรมไมยอมใหนิติกรรมน้ันมีผล คือตกเปนโมฆะได หรือกฎหมายจะรับรองผลใหก็เฉพาะเม่ือไดทําตามแบบ เชน นิติกรรมซ้ือขายอสังหาริมทรัพยตองทําเปนหนังสือและจดทะเบียนตอพนักงานเจาหนาท่ี มิฉะนั้นจะตกเปนโมฆะ (มาตรา ๔๕๖ ป.พ.พ.)

๔) แตถากฎหมายรับรองผลทางกฎหมายของการกระทําอยางหน่ึงอยางใดตามขอเท็จจริง หรือเม่ือครบองคประกอบตามท่ีกฎหมายกําหนด โดยมิไดถือวาเจตนาท่ีแสดงออกโดยมุงตอผลทางกฎหมายเปสาระสําคัญ ดังนี้การกระทํานั้นยอมไมนับวาเปนนิติกรรม เชนการเอาทรัพยมารวมเขากัน หรือการทําทรัพยข้ึนใหมตามมาตรา ๑๓๑๖, ๑๓๑๗ การถือเอาทรัพยไมมีเจาของตามมมาตรา ๑๓๑๘ การเก็บไดซ่ึงทรัพยสินหายตามมาตรา ๑๓๒๓, ๑๓๒๔, ๑๓๒๕ หรือการครอบครองปรปกษ ตามมมาตรา ๑๓๘๒ เปนตน

ข) ชนิดของนิติกรรม

นิติกรรมฝายเดียว กับ นิติกรรมหลายฝาย

นิติกรรมฝายเดียว ไดแกนิติกรรมซ่ึงผูทํานิติกรรมแสดงเจตนาเพียงฝายเดียวก็มีผล โดยไมตองคํานึงถึงวาคูกรณีอีกฝายหนึ่งแสดงเจตนาสนองรับหรือเห็นชอบดวยหรือไม เชน การบอกเลิกสัญญา (มาตรา ๓๘๗) การบอกลางนิติกรรม (มาตรา ๑๗๘) การทําพินัยกรรม (มาตรา ๑๖๔๖) การบอกเลิกสัญญาหม้ัน (มาตรา ๑๔๔๒, ๑๔๔๓)

นิติกรรมหลายฝาย ไดแกนิติกรรมท่ีเปนผลไดเม่ือประกอบดวยการแสดงเจตนาของบุคคลต้ังแตสองคนข้ึนไป ท่ีสําคัญไดแก

(๑) สัญญาเปนนิติกรรมสองฝาย เกิดจากเจตนาของบุคคลอยางนอยต้ังแตสองคนข้ึนไปแสดงเจตนาเสนอสนองตองตรงกัน และตางตกลงผูกพันซ่ึงกันและกันตามสัญญา

Page 16: เอกสารประกอบการศึกษาวิชากฎหมายลักษณะนิติกรรมสัญญา (น. ๑๐๑)

๑๖

(๒) การตกลงเขากันเพื่อทําการอยางหน่ึงอยางใดรวมกัน เชนการเขาเปนลูกหนี้รวม หรือเจาหนี้รวม การเขาเปนหุนสวน การตกลงถือกรรมสิทธ์ิรวมกัน หรือการรวมกันแสดงเจตนา การตกลงเขากันเปนลูกหนี้รวม หรือถือกรรมสิทธิรวมกันนั้นตางจากการทําสัญญาตรงท่ีสัญญาจะเกิดข้ึนไดตองมีการเสนอสนองตองตรงกัน แตการเขารวมกันทําการอยางหนึ่งอยางใดนี้ เพียงแตมีเจตนาทําการรวมกันก็เพียงพอแลว ไมจําเปนตองถึงกับเปนคําเสนอสนอง ตัวอยางเชน ก. กับ ข. ตกลงรวมกันซ้ือจักรยานคันหนึ่งสําหรับผลัดกันข่ี ดังนี้การแสดงเจตนาซ้ือรถจักรยานรวมกันเปนแตการแสดงเจตนารวมกันท่ีมีผลทําให ก. และ ข. ไดเปนเจาของรวมในจักรยานคันนี้ หรือเชน คูสมรสประสงคจะบอกเลิกสัญญาเชาซ่ึงตนเปนคูสัญญารวมกัน ดังนี้คูสมรสคูนี้จึงตองลงนามในหนังสือบอกเลิกสัญญารวมกัน จะเห็นไดวากรณีนี้เปนการแสดงเจตนารวมกันเทานั้น ไมใชสัญญา

(๓) การลงมติ เปนการแสดงเจตนาไปทางเดียวกัน โดยแสดงเจตนาตอผูมีหนาท่ีรับผิดชอบ การลงมติเปนการแสดงเจตนาท่ีมีความมุงหมายจะจัดความสัมพันธทางกฎหมายของกลุมคนท่ีตกลงเขากัน การลงมติมีลักษณะแตกตางจากสัญญาตรงท่ีผูเกี่ยวของท้ังหมดไมตองเห็นพองตองกันเหมือนสัญญา การลงมติดวยเสียงสวนใหญยอมมีผลผูกพันสมาชิกใหตองปฏิบัติตาม แมวาสมาชิกบางสวนจะไดลงมติคัดคานเสียงสวนใหญก็ตองผูกพันคือยอมรับวามติดังกลาวเปนมติท่ีตนมีสวนรวมรับผิดชอบอยูดวย เชนการลงมติของผูแทนนิติบุคคลที่มีหลายคน (มาตรา ๗๑ ปพพ.) หรือกรรมการสมาคม หรือเจาของรวมในการจัดการทรัพยสิน (มาตรา ๑๓๕๘ ปพพ.) เปนตน

Page 17: เอกสารประกอบการศึกษาวิชากฎหมายลักษณะนิติกรรมสัญญา (น. ๑๐๑)

๑๗

นิติกรรมกอความผูกพันทางหน้ี กับนิติกรรมเปลี่ยนแปลงสิทธิ

อุทาหรณ

๑. ก. ตกลงขายภาพเขียน ๑๐ ภาพจากบรรดาภาพเขียนของตนซ่ึงมีอยูท้ังหมด ๓๐ ภาพแก ข. เม่ือวันท่ี ๑ เมษายน โดยตกลงกันเปนหนังสือไววา ข. จะมาเลือกภาพเขียนท่ีหองแสดงภาพของ ก. ดวยตนเองในวันท่ี ๑๕ เมษายน ในการนี้ ท้ังสองฝายตกลงราคาซ้ือขายกันเปนเงินท้ังส้ิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท ดังนี้ ข. จะมีสิทธิเหนือภาพเขียนท่ีตนซ้ือต้ังแตเม่ือใด

๒. ถากอนท่ี ข. จะมาเลือกภาพเขียนเหลานี้ ปรากฏวา ก. ไดตกลงขายภาพเขียนท้ังหมด ๓๐ ภาพ แก ค. ในราคา ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท และ ค. ไดชําระเงินและรับมอบภาพเขียนเหลานั้นไปหมดแลว โดยไมรูวา ก. ไดตกลงขายภาพแก ข. ไวกอน ดังนี้ระหวาง ข. กับ ค. ใครจะมีสิทธิในภาพเขียนเหลานั้นดีกวากัน

๓. กรณีในขอ ๑. ผลจะเปนอยางไร ถาปรากฏวา ในวันท่ี ๕ เมษายน ศาลไดมีคําส่ังให ก. เปนคนไรความสามารถ โดยให ค. เปนผูอนุบาล และตอมาเม่ือถึงวันท่ี ๑๕ เมษายน ข. ไดมาเลือกภาพเขียนจํานวน ๑๐ ภาพตามท่ีตกลงกัน โดย ค. มิไดรูเห็นยินยอมดวย

๔. กรณีในขอ ๑. ถาปรากฏวาเม่ือถึงกําหนดนัด หลังจาก ข. ไดคัดเลือกรูปภาพเปนท่ีพอใจแลว ขณะกําลังจะชําระเงิน ๒๐๐,๐๐๐ บาทนั้น ก. พบวาตนตกลงราคาผิดไปจากท่ีตองการ และแจงแก ข. วาตนบอกราคาภาพเขียนของตนผิดไป ท่ีจริงตนประสงคจะขายภาพดังกลาวในราคา ๔๐๐,๐๐๐ บาท แตแจงราคาผิดไปเปน ๒๐๐,๐๐๐ บาท จึงขอเรียกภาพท้ังหมดคืน ดังนี้ ทานจงวินิจฉัยวาหาก ก. สําคัญผิดไปจริง กรรมสิทธ์ิในภาพท่ี ข. เลือกแลวเหลานี้ไดโอนไปยัง ข. แลวหรือยัง หรือวาในเวลานั้น ก. ยังคงเปนเจาของภาพเขียนท้ังหมดอยู เพราะเหตุใด

Page 18: เอกสารประกอบการศึกษาวิชากฎหมายลักษณะนิติกรรมสัญญา (น. ๑๐๑)

๑๘

นิติกรรมกอความผูกพันทางหน้ี กับนิติกรรมเปลี่ยนแปลงสิทธิ๑

๑. นิติกรรมกอความผูกพันทางหนี้

นิติกรรมกอความผูกพันทางหนี้หมายถึงนิติกรรมซ่ึงกอใหเกิดความผูกพันระหวางบุคคลหรือกอหนาท่ีใหบุคคลตองกระทําการ งดเวนกระทําการ หรือสงมอบทรัพย นิติกรรมกอความผูกพันทางหนี้โดยท่ัวไปมักเปนการกอความผูกพันตามกฎหมายลักษณะหนี้ คือกอใหเกิดหนาท่ีข้ึนระหวางคูกรณี ในลักษณะท่ีฝายท่ีมีหนาท่ีมีความผูกพันท่ีจะกระทําการ ละเวนกระทําการบางอยาง เพื่อประโยชนโดยชอบแกอีกฝายหนึ่ง เชน สัญญาจะซ้ือจะขาย ยืม เชา เชาซ้ือ จางทําของ เหลานี้ลวนเปนนิติกรรมกอหนี้ระหวางคูสัญญาข้ึนท้ังส้ิน

ตัวอยางเชน ในสัญญาซ้ือขายนั้น ผูซ้ือและผูขายตกลงกันวาผูขายตกลงโอนกรรมสิทธ์ิ และผูซ้ือตกลงชําระราคา (มาตรา ๔๕๓ ปพพ.) หรือในสัญญาจะซ้ือจะขาย (มาตรา ๔๕๖ วรรคสอง ปพพ.) ผูจะขายยอมผูกพันตนท่ีจะสงมอบทรัพยและโอนกรรมสิทธ์ิในทรัพยท่ีจะซ้ือขายกัน โดยจะทําสัญญาซ้ือขายกันใหตลอดไปในภายหนา โดยนัยนี้ท้ังสองฝายตางมีหนี้ท่ีจะตองกระทําการตามสัญญา และมีสิทธิท่ีจะเรียกรองใหอีกฝายหนึ่งชําระหนี้ตามสัญญา

ในสัญญาซ้ือขายนั้น ตามปกติหากเปนสัญญาซ้ือขายกันตอหนา ผูขายมักโอนกรรมสิทธ์ิแกผูซ้ือและผูซ้ือมักชําระราคาแกผูขายทันที ดังจะเห็นไดจากบทสันนิษฐานเจตนาของคูกรณีในสัญญาซ้ือขายในมาตรา ๔๕๘ ป.พ.พ. ดังนี้หนี้โอนกรรมสิทธ์ิและชําระราคาระหวางคูกรณียอมระงับไป แตตราบใดท่ีผูขายยังไมโอนกรรมสิทธ์ิในทรัพยสินนั้นแกผูซ้ือ ไมวาจะเปนเพราะไดตกลงหนวงกรรมสิทธ์ิกันไว (มาตรา ๔๕๙ ป.พ.พ.) เพราะเปนสัญญาซ้ือขายโดยผอนชําระราคาเปนงวด ๆ หรือเพราะผูขายยังตองทําการอยางอ่ืนเชนคัดเลือก หรือช่ังตวงวัดใหรูราคาเสียกอน (มาตรา ๔๖๐ ป.พ.พ.) หรือแมในกรณีท่ีผูขายบายเบ่ียงไมยอมโอนทรัพยสิน กรรมสิทธ์ิในทรัพยสินนั้นก็ยอมไมโอนไป และยังคงอยูในมือของฝายผูขาย ในกรณีเหลานี้ ตราบท่ียังไมมีการโอนกรรมสิทธ์ิผูซ้ือยอมมีเพียงสิทธิเรียกรองใหผูขายโอนกรรมสิทธ์ิในทรัพยสินท่ีซ้ือขายกันแกตน หรือเรียกให

๑ โปรดดู สายหยุด แสงอุทัย, "การไดทรัพยสิทธิในสังหาริมทรัพย", นิติสาสนแผนกสามัญ ฉบับท่ี ๑๐

ปท่ี ๑๕, ตุลาคม ๒๔๘๕, หนา ๒๑-๓๑; ปรีดี เกษมทรัพย, "สัญญาทางหน้ีและสัญญาทางทรัพยในกฎหมายเยอรมัน", ดุลพาห เลม ๑ ปท่ี ๑๕ (มค.-กพ. ๒๕๑๑), หนา ๕๓-๕๙; พิชัยศักดิ์ หรยางกูร, "�การโอนกรรมสิทธิ์โดยผลของสัญญา", บทบัณฑิตย เลม ๒๗ ตอน ๒, พ.ศ. ๒๕๑๓ หนา ๔๔๑-๔๔๖; กิตติศักดิ์ ปรกติ, การโอนกรรมสิทธิ์ในสังหาริมทรัพย, กรุงเทพฯ, วิญูชน, ๒๕๔๖

Page 19: เอกสารประกอบการศึกษาวิชากฎหมายลักษณะนิติกรรมสัญญา (น. ๑๐๑)

๑๙

ผูขายปฏิบัติหนาท่ีตามความผูกพันในสัญญาไดเทานั้น ยังไมสามารถอางไดวาทรัพยสินท่ีซ้ือขายกันนั้นเปนกรรมสิทธ์ิของตน

จะเห็นไดวาสัญญาซ้ือขายนั้นเพียงแตกอความผูกพันทางหน้ีหรือกอหนาท่ีระหวางกันเทานั้น ถาคูกรณีเพียงแตตกลงผูกพันกันโดยยังมิไดตกลงโอนกรรมสิทธ์ิกัน สัญญาซ้ือขายนั้นยอมไมมีผลทําใหสิทธิของคูกรณีอันมีอยูเหนือทรัพยสินของตนเปล่ียนแปลงไปเลย ตราบใดท่ียังมิไดมีการโอนกรรมสิทธ์ิแกกัน ผูขายก็ยังคงเปนเจาของกรรมสิทธ์ิในทรัพยสินนั้น และผูซ้ือก็ยังเปนเจาของเงินท่ีเตรียมไวชําระราคา สัญญากอความผูกพันทางหน้ีจึงไมทําใหทรัพยสินของผูขายลดลง (เพียงแตทําใหสินทรัพยเปล่ียนแปลงไป คือมีหนี้สินหรือหนาท่ีโอนทรัพยสิน และมีสิทธิท่ีจะไดรับชําระราคา)

จากอุทาหรณในขอ ๑. เราจะเห็นไดวา หากในวันท่ี ๒ เมษายนปรากฏวาภาพเขียนท่ีตกลงซ้ือขายกันถูกลักไปท้ังหมด ดังนี้เม่ือยังไมไดมีการกําหนดตัวทรัพยและโอนกรรมสิทธ์ิกัน ทรัพยสินยังเปนของผูขาย คือ ก. จึงมีแต ก. เทานั้นท่ีมีสิทธิติดตามทรัพยสินคืนในฐานะเจาของกรรมสิทธ์ิ ฝาย ข. ผูซ้ือแมจะมีสิทธิเรียกรองให ก. สงมอบภาพเขียนแกตนเมื่อถึงกําหนดตามสัญญา แต ข. ยังไมไดกรรมสิทธ์ิในภาพจนกวาจะไดคัดเลือกและตกลงโอนแกกันแลว หรือเชนในกรณีท่ี ก. กูเงินจาก ข. และถึงกําหนดชําระเงินแลว ตราบใดก็ตามท่ี ก. ยังไมชําระเงินท่ีเปนหนี้แก ข. ตามสัญญา แม ข. จะมีสิทธิเรียกใหชําระหนี้ หรือฟองศาลใหบังคับชําระหนี้ ตราบท่ียังไมมีการชําระเงินหรือบังคับชําระหนี้กันแลว เงินนั้นยังเปนของ ก. อยูนั่นเอง

๒. นิติกรรมเปล่ียนแปลงสิทธิ

ก) ความหมายของนิติกรรมเปล่ียนแปลงสิทธิ

นิติกรรมเปล่ียนแปลงสิทธิหมายถึงนิติกรรมซ่ึงมีผลใหเกิดการเคล่ือนไหวเปล่ียนแปลงสิทธิโดยตรงในลักษณะท่ีเกิดการโอนสิทธิ เปล่ียนแปลงสิทธิ กอภาระแกสิทธิ หรือยกเลิกเพิกถอนสิทธิ นิติกรรมเปล่ียนแปลงสิทธิจึงเปนนิติกรรมท่ีกระทบในทางท่ีกอใหเกิดความเปล่ียนแปลงตอสาระสําคัญแหงสิทธิโดยตรง

เชนตามอุทาหรณ ๑. ถา ก. ไดโอนกรรมสิทธ์ิในภาพเขียน แก ข. แลวในวันท่ี ๒ เมษายน ดังนี้ ข. ยอมไดกรรมสิทธ์ิ จะเห็นไดวาการโอนกรรมสิทธ์ิยอมทําใหกรรมสิทธิเปล่ียนมือไปยังผูรับโอนกรรมสิทธ์ิ การโอนกรรมสิทธ์ิจึงเปนนิติกรรมเปล่ียนแปลงสิทธิอยางหน่ึงซ่ึงทําใหเกิดการเปล่ียนแปลงสิทธิเหนือทรัพยท่ีโอนกันข้ึน สัญญาซ้ือขายท่ีมีการโอนกรรมสิทธ์ิกันทันทีท่ี

Page 20: เอกสารประกอบการศึกษาวิชากฎหมายลักษณะนิติกรรมสัญญา (น. ๑๐๑)

๒๐

สัญญาสําเร็จลงเปนสัญญาท่ีท้ังกอความผูกพันทางหนี้และเปล่ียนแปลงสิทธิพรอมกันไปในสัญญาเดียวกัน

ถาตอมา ข. นําภาพเขียนท่ีไดกรรมสิทธ์ิมานั้น หรือทรัพยอยางอ่ืนของตนไปจํานําตอ ค. ดังนี้เปนกรณีท่ี ข. ซ่ึงเปนผูจํานํานําเอาทรัพยสินไปสงมอบแก ค. ซ่ึงเปนผูรับจํานําเพื่อเปนประกันการชําระหนี้จํานํา แมระหวางท่ียังจํานํากันอยูนั้น ข. ยังคงเปนเจาของกรรมสิทธ์ิในภาพเหลานั้นตอไป แตกรรมสิทธ์ิของ ข. ก็อยูใตบังคับสิทธิบังคับจํานําของ ค. หากถึงกําหนดไถแลว ข. ละเลยไมชําระหนี้ดวยการนําเงินไปไถทรัพยท่ีจํานํา เม่ือไดเรียกใหผูจํานําชําระหนี้ตามท่ีกฎหมายกําหนดแลว ค. ผูรับจํานํายอมมีสิทธิบังคับจํานําโดยนําทรัพยจํานําออกจําหนายโดยวิธีขายทอดตลาดเพ่ือนําเงินมาชําระหนี้ได (มาตรา ๗๖๔, ๗๖๕ ปพพ.) จะเห็นไดวาสิทธิจําหนายทรัพยท่ีจํานําซ่ึงเดิมเปนของเจาของกรรมสิทธ์ิไดโอนไปอยูในมือของผูรับจํานําแลวตามสัญญาจํานํา ดังนี้สัญญาจํานําจึงมิไดเพียงกอหนี้ใหผูจํานําผูกพันวาจะนําเงินมาชําระหนี้จํานําเทานั้น แตยังเปนนิติกรรมเปล่ียนแปลงสิทธิอยางหนึ่ง คือโอนสิทธิจําหนายทรัพยเพื่อบังคับชําระหนี้ใหแกผูรับจํานําดวย

นิติกรรมเปล่ียนแปลงสิทธิอาจมีไดในกรณีอ่ืน ๆ นอกเหนือจากการโอนกรรมสิทธ์ิไดอีก เชนในกรณีท่ี ก. เปนเจาหนี้ ข. ตามสัญญาซ้ือขาย อยู ๕,๐๐๐ บาท และ ข. ไมมีเงินชําระหนี้รายน้ี ก. จึงตกลงกันกับ ข. วาจะทําการเปล่ียนแปลงหน้ีชําระเงินรายนี้ไปเปนหนี้โอนทรัพยสิน โดยให ข. โอนรถมอเตอรไซคของ ข. แก ก. แทนการชําระหนี้เงิน ดังนี้เปนการแปลงหนี้ใหม (มาตรา ๓๔๙ ปพพ.) ซ่ึงมีผลทําใหหนี้เดิมเปนอันระงับไป ดังนี้จะเห็นไดวาเปนกรณีท่ี ก. กับ ข. ทํานิติกรรมเปล่ียนแปลงสิทธิกันโดยนิติกรรมนั้นมีผลทําใหสิทธิเรียกให ข. ชําระหนี้ ๕,๐๐๐ บาทระงับส้ินไป และเกิดสิทธิเรียกรองแก ก. ท่ีจะเรียกให ข. โอนรถมอเตอรไซคชําระหนี้ข้ึนมาแทน

ในกรณีท่ีเจาหนี้แสดงเจตนาฝายเดียวปลดหนี้แกลูกหนี้ เชนเจาหนี้ตามสัญญาซ้ือขาย ตกลงปลดหนี้แกผูซ้ือ ดังนี้หนี้ของผูซ้ือท่ีจะตองชําระราคาแกผูขายก็เปนอันระงับลง (มาตรา ๓๔๐ ปพพ.) การที่หนี้ระงับจากการปลดหน้ีนี้ก็เปนผลจากนิติกรรมเปล่ียนแปลงสิทธิเชนกัน

เราอาจกลาวไดวานิติกรรมเปล่ียนแปลงสิทธิเปนนิติกรรมท่ีทําใหทรัพยสินของผูทํานิติกรรมนั้นลดนอยถอยลง ซ่ึงนับวาตางจากนิติกรรมกอความผูกพันทางหน้ี ซ่ึงยังไมกอใหเกิดความเปล่ียนแปลงตอสิทธิในทางลดนอยถอยลงหรือเพิ่มพูนข้ึน จะมีก็แตความผูกพันท่ีจะกระทําการ งดเวนกระทําการ หรือสงมอบทรัพยเทานั้น ดังนั้นผูทํานิติกรรมเปล่ียนแปลงสิทธิท่ีจําหนายสิทธิของตนไปยังคูกรณียอมเสียสิทธิหรือมีสิทธิลดนอยถอยลง สวนผูไดรับสิทธิไปโดยผลแหงนิติกรรมเปล่ียนแปลงสิทธิยอมมีสิทธิอยางหนึ่งอยางใดเพิ่มข้ึน

Page 21: เอกสารประกอบการศึกษาวิชากฎหมายลักษณะนิติกรรมสัญญา (น. ๑๐๑)

๒๑

นิติกรรมเปล่ียนแปลงสิทธินี้อาจมีไดท้ังในกฎหมายลักษณะหนี้ และในกฎหมายลักษณะอ่ืน ๆ โดยเฉพาะในกฎหมายลักษณะทรัพย บางทีจึงมีผูเรียกนิติกรรมเปล่ียนแปลงสิทธินี้วาเปนนิติกรรมทางทรัพย (real contract) เชนการโอนกรรมสิทธ์ิในสังหาริมทรัพย และการโอนกรรมสิทธ์ิในอสังหาริมทรัพย ตางก็เปนนิติกรรมเปล่ียนแปลงสิทธ์ิ การกอต้ังภารจํายอม หรือทรัพยสิทธิเหนือทรัพยสินอยางอ่ืนก็เปนการทํานิติกรรมจํากัดตัดรอนกรรมสิทธ์ิอยางหน่ึง จึงนับเปนนิติกรรมเปล่ียนแปลงสิทธิเชนกัน

นิติกรรมเปล่ียนแปลงสิทธิท่ีปรากฏใหเห็นในกฎหมายลักษณะหนี้ท่ีสําคัญไดแกการโอนสิทธิเรียกรอง (มาตรา ๓๐๓ ปพพ.) ซ่ึงมีผลใหสิทธิเรียกรองเปล่ียนมือไป คือโอนจากมือผูโอนไปเปนสิทธิของผูรับโอน นอกจากนี้ยังมี เชน การปลดหน้ี (มาตรา ๓๔๐ ปพพ.) ซ่ึงเปนนิติกรรมท่ีมีผลใหสิทธิเรียกรองทางหนี้ระงับส้ินไป

ในบางกรณีนิติกรรมเปล่ียนแปลงสิทธิอาจทําข้ึนพรอม ๆ กันไปกับนิติกรรมกอหนี้ก็ได เชน ในสัญญาซ้ือขายท่ีคูกรณีตกลงซ้ือขายกันและโอนกรรมสิทธ์ิในทรัพยสินท่ีซ้ือขายแกกันในทันที ดังนี้สัญญาซ้ือขายนั้น เปนท้ังนิติกรรมทางหนี้ และนิติกรรมเปล่ียนแปลงสิทธิพรอม ๆ กันไป หรือการแปลงหน้ีใหม (มาตรา ๓๔๙ ป.พ.พ.) ซ่ึงเปนนิติกรรมเปล่ียนแปลงสิทธิซ่ึงทําใหหนี้เดิมระงับส้ินไป แตขณะเดียวกันก็เปนนิติกรรมกอหนี้หรือกอความผูกพันข้ึนใหม ตามท่ีคูกรณีตกลงกันดวย อยางไรก็ดี ในเร่ืองแปลงหน้ีใหมนี้ หากหนี้ใหมไมเกิดข้ึน หนี้เดิมก็ไมระงับ (มาตรา ๓๕๑ ป.พ.พ.) และในทํานองกลับกัน ถาหนี้เดิมไมมีอยูการแปลงหนี้ใหมก็ไมเกิดข้ึนเชนกัน

ข) องคประกอบของนิติกรรมเปล่ียนแปลงสิทธิ

๑) นิติกรรมเปล่ียนแปลงสิทธิมักอยูในรูปของสัญญา หรือบางทีก็อยูในรูปของการแสดงเจตนาฝายเดียว

นิติกรรมเปล่ียนแปลงสิทธิสวนมากมักอยูในรูปของนิติกรรมสองฝายหรือสัญญาไดแก การโอนกรรมสิทธ์ิ ซ่ึงตองมีผูโอนและผูรับโอน โดยท้ังสองฝายมีเจตนาโอนและรับโอนในลักษณะเปนคําเสนอสนองตองตรงกัน หรือในการโอนสิทธิเรียกรอง ผูโอนสิทธิเรียกรองและผูรับโอนสิทธิเรียกรองก็ตองมีเจตนาเสนอสนองตองตรงกัน สิทธิเรียกรองจึงจะโอนเปล่ียนมือจากผูโอนไปยังผูรับโอนและผูรับโอนสิทธิเรียกรองยอมกลายเปนเจาหนี้ในสิทธิเรียกรองนั้น ๆ แทนท่ีเจาหนี้เดิมทันทีท่ีสัญญาโอนสิทธิเรียกรองสําเร็จลง

นิติกรรมเปล่ียนแปลงสิทธิท่ีอยูในรูปการแสดงเจตนาฝายเดียวก็มีเชน การปลดหนี้ หรือการสละกรรมสิทธ์ิ เปนตน ตัวอยาง เชน ก. ประสงคจะปลดหนี้แก ข. หรือประสงคจะ

Page 22: เอกสารประกอบการศึกษาวิชากฎหมายลักษณะนิติกรรมสัญญา (น. ๑๐๑)

๒๒

สละกรรมสิทธ์ิในนาฬิกาขอมือของตนซ่ึงใชการไมไดแลว ดังนี้ ก. ตองแสดงเจตนาปลดหน้ีตอ ข. หรือแสดงเจตนาสละกรรมสิทธ์ิ และสละการยึดถือครอบครองทรัพยนั้น (มาตรา ๑๓๑๙ ปพพ.)

๒) ในบางกรณีกฎหมายกําหนดใหมีขอเท็จจริงอ่ืนประกอบดวย นิติกรรมเปล่ียน-แปลงสิทธิจึงจะเปนผลบังคับ

เชนในการใหสังหาริมทรัพยโดยเสนหา กฎหมายกําหนดวาการใหยอมสมบูรณเม่ือสงมอบ (มาตรา ๕๒๓ ปพพ.) ดังนี้เพียงแตแสดงเจตนาใหและรับใหแกกันยังไมมีผลใหกรรมสิทธ์ิโอนไป ยังไมมีการเปล่ียนแปลงสิทธิจนกวาจะไดมีการสงมอบกันเสียกอน หรือในการโอนกรรมสิทธ์ิในอสังหาริมทรัพย การโอนยอมไมบริบูรณจนกวาจะไดมีการทําเปนหนังสือและจดทะเบียนตอเจาพนักงาน (มาตรา ๑๒๙๙ วรรคแรก ปพพ.)

๓) นิติกรรมเปลี่ยนแปลงสิทธินั้นจะมีผลบังคับไดก็ตอเม่ือผูทํานิติกรรมเปนผูมีอํานาจท่ีจะโอนหรือเปล่ียนแปลงสิทธินั้น ๆ ถาผูโอนหรือผูทํานิติกรรมเปล่ียนแปลงสิทธิปราศจากอํานาจโอนหรืออํานาจเปล่ียนแปลงสิทธินั้น ๆ แมจะแสดงเจตนาโอนหรือเปล่ียนแปลงสิทธิเสนอสนองตองตรงกันก็ไมมีผลใหสิทธินั้นโอนไปหรือเกิดเปล่ียนแปลงตามความมุงหมายของคูกรณีแตอยางใด

ตามปกติผูโอนสิทธิเรียกรอง หรือโอนกรรมสิทธ์ิในทรัพยสินตองเปนเจาของสิทธิหรือเปนเจาของทรัพยนั้น ๆ เสียกอน จึงจะโอนหรือเปล่ียนแปลงสิทธินั้น ๆ ใหสําเร็จเปนผลข้ึนมาได ถาผูโอนสิทธิ หรือผูโอนกรรมสิทธ์ิในทรัพยสินไมใชเจาของสิทธิ ไมใชเจาของทรัพย เขายอมไมมีสิทธิโอน และผูรับโอนยอมไมไดรับโอนสิทธิอะไรไปเลย คือไมมีการเปล่ียนแปลงสิทธิเกิดข้ึน ซ่ึงเปนไปตามหลักในสุภาษิตกฎหมายท่ีวา “ผูรับโอนยอมไมมีสิทธิดีกวาผูโอน”

อยางไรก็ดี มีกรณียกเวนท่ีผูเปนเจาของสิทธิอาจไมมีสิทธิโอน หรือมีผูอ่ืนซ่ีงไมใชเจาของสิทธินั้นกลับมีสิทธิโอนหรือเปล่ียนแปลงสิทธินั้น ๆ ไดโดยผลของกฎหมาย หรือผลของนิติกรรม

ตัวอยางเชนในกระบวนพิจารณาคดีลมละลาย เม่ือศาลมีคําส่ังพิทักษทรัพยของลูกหนี้ ดังนี้แมลูกหนี้ยังคงเปนเจาของทรัพยท่ีถูกพิทักษ ก็ไมมีสิทธิโอนหรือเปล่ียนแปลงสิทธิเหนือทรัพยสินนั้นอีกตอไป กฎหมายกําหนดใหเจาพนักงานพิทักษทรัพยเปนผูมีอํานาจโอนทรัพยนั้นแตเพียงผูเดียว ท้ังนี้ก็เพื่อคุมครองสิทธิของเจาหนี้ท้ังหลาย ใหเจาพนักงานพิทักษทรัพยสามารถนํากองทรัพยสินของลูกหนี้ไปแปรสภาพใหเปนเงิน เพื่อจะไดนํามาเฉล่ียแบงชําระแกบรรดาเจาหนี้ได หากกฎหมายยังคงยอมปลอยใหลูกหนี้ในคดีลมละลายคงมีสิทธิโอนทรัพยสินของตัวไดตอไป ก็อาจสงผลทําใหลูกหนี้นําทรัพยสินของตนออกจําหนายและนําเงินท่ีไดรับมาไป

Page 23: เอกสารประกอบการศึกษาวิชากฎหมายลักษณะนิติกรรมสัญญา (น. ๑๐๑)

๒๓

ใชทางอ่ืนทําใหเจาหนี้ไมไดรับชําระหนี้ ดังนั้นกฎหมายจึงจํากัดอํานาจจําหนายทรัพยของเจาของทรัพยสินและกําหนดใหเจาพนักงานพิทักษทรัพยมีอํานาจจําหนายทรัพยสินของลูกหนี้ เพื่อประโยชนของเจาหนี้และตัวลูกหนี้เองดวย

ในกรณีท่ีผูโอนเปนผูรับมอบอํานาจโอนมาจากผูมีอํานาจโอนโดยทางนิติกรรม ดังนี้ผูโอนยอมมีอํานาจโอนทรัพยสินไปยังผูรับโอนได แมวาผูโอนจะมิใชเจาของกรรมสิทธ์ิในทรัพยสินท่ีโอนกันเลยก็ตาม หากผูโอนไดโอนทรัพยไปยังผูรับโอนแลว ดังนี้ผูรับโอนยอมไดกรรมสิทธ์ิ เพราะผูรับโอนไไดรับมอบอํานาจมาจากเจาของสิทธิ จึงเปนผูโอนท่ีมีอํานาจโอนโดยนิติกรรม

สวนในกรณีท่ีกฎหมายมุงคุมครองผูรับโอนทรัพยโดยสุจริตและเสียคาตอบแทนกฎหมายมักกําหนดใหผูรับโอนโดยสุจริตมีสิทธิดีกวาเจาของแทจริง แมวาผูโอนทรัพยนั้นมายังผูสุจริตจะไมมีสิทธิโอนก็ตาม (มาตรา ๑๓๐๓ วรรคแรก ปพพ.) ดังนี้ก็เปนกรณีท่ีกฎหมายรับรองใหผูโอนท่ีไมมีอํานาจโอนน้ันมีอํานาจโอนข้ึนมาโดยผลของกฎหมาย เปนกรณียกเวน เพื่อคุมครองผูรับโอนโดยสุจริตและเสียคาตอบแทน ซ่ึงในกรณีเชนนี้การที่ผูสุจริตไดทรัพยไปนั้น มิใชเปนผลของเจตนาโอนและรับโอนของคูกรณีเชนกรณีโอนทรัพยท่ัวไป แตการที่กรรมสิทธ์ิโอนไปยังผูรับโอนท่ีสุจริตและเสียคาตอบแทนน้ันเปนเพราะผลแหงกฎหมาย มิใชผลแหงนิติกรรมโดยตรง

๓. ขอแตกตางระหวางนิติกรรมกอความผูกพันทางหน้ีกับนิติกรรมเปลี่ยนแปลงสิทธิ

นิติกรรมกอความผูกพันทางหน้ีกับนิติกรรมเปล่ียนแปลงสิทธิมีขอแตกตางกันในสาระสําคัญ ๒ ประการคือ

ก) นิติกรรมเปล่ียนแปลงสิทธิเปนนิติกรรมท่ีอาศัยอํานาจโอนเปนแกนกลาง คือนิติกรรมจะเปนผลไดก็ตอเม่ือผูทํานิติกรรมเปล่ียนแปลงสิทธิมีอํานาจทํานิติกรรมเปล่ียนแปลงสิทธิหรือโอนสิทธินั้น สวนนิติกรรมกอความผูกพันทางหน้ีนั้นโดยท่ัวไปยอมเปนผลไดโดยไมตองคํานึงถึงวาผูกอนิติกรรมนั้นจะมีอํานาจท่ีจะโอนหรือเปล่ียนแปลงสิทธิอันเปนวัตถุแหงหนี้นั้นหรือไม ท้ังนี้เปนไปตามหลักเสรีภาพทางทรัพยสิน ซ่ึงกฎหมายถือวาบุคคลทุกคนยอมมีเสรีภาพท่ีจะกอนิติสัมพันธผูกพันตนกับผูอ่ืนไดโดยลําพังตนเอง ไมตองอาศัยอํานาจหรือสิทธิพิเศษประการใด

ตัวอยาง เชนผูโอนกรรมสิทธ์ิในทรัพยสินนั้น ตามปกติจะตองเปนเจาของทรัพยนั้นจึงจะโอนกรรมสิทธ์ิได แตในการทํานิติกรรมกอความผูกพันทางหนี้ เชนผูขายทรัพยสินไม

Page 24: เอกสารประกอบการศึกษาวิชากฎหมายลักษณะนิติกรรมสัญญา (น. ๑๐๑)

๒๔

จําเปนตองเปนเจาของทรัพยสินท่ีซ้ือขายเสมอไป หากผูขายน้ันเพียงแตกอความผูกพันท่ีจะโอนกรรมสิทธ์ิในทรัพยสินนั้นแกผูซ้ือในภายหนาเทานั้น แตตราบใดท่ีผูขายยังไมไดเปนเจาของทรัพยสินหรือยังไมมีสิทธิโอนทรัพยสินท่ีขายไป เขายอมไมสามารถโอนกรรมสิทธ์ิในทรัพยสินนั้นแกผูซ้ือไดเทานั้น

ตามอุทาหรณในขอ ๒. เม่ือ ก. ตกลงขายภาพเขียนแก ข. แลว แต ข. ยังไมทันมาคัดเลือกภาพเขียนวาจะเอาหรือไมเอาภาพใด ดังนี้กรรมสิทธ์ิในภาพเขียนยังคงเปนของ ก. อยู ดังนั้น ก. ยอมมีสิทธิขายและโอนกรรมสิทธ์ิในภาพเขียนท้ังหมดแก ค. ได และ ค. ยอมไดกรรมสิทธ์ิไป แมวา ก. จะไดตกลงขายภาพสวนหนึ่งแก ข. แลวก็ตาม แตเม่ือยังไมไดมีการโอนกรรมสิทธ์ิกัน ก. ยอมไดช่ือวาเปนผูมีกรรมสิทธ์ิและยอมมีสิทธิท่ีจะโอนทรัพยสินของตนแกผูอ่ืนไดเสมอ เม่ือ ก. โอนกรรมสิทธ์ิในภาพเขียนท้ังหมดแก ค. แลว ก. ยอมไมมีสิทธิเหลือจะโอนใหแก ข. ไดอีก ดังนี้ ข. ยอมมีสิทธิเรียกให ก. รับผิดเพื่อการไมชําระหนี้ และชดใชคาสินไหมทดแทนความเสียหายแกตนได แต ข. ไมมีสิทธิเรียกรองใด ๆ ตอ ค. เพราะ ค. ไดสิทธิไปโดยชอบ อยางไรก็ดี ถาปรากฏวา ค. รูอยูแลววา ก. ไดตกลงขายภาพเขียนแก ข. แลว และรูวาหากตนตกลงซ้ือภาพเขียนจาก ก. ข. ยอมไดรับความเสียหายอยางมาก และเปนทางให ข. เปนฝายเสียเปรียบ ดังนี้อาจเขาขายเปนกรณีการฉอฉล ซ่ึง ข. ในฐานะเจาหนี้ของ ก. อาจฟองขอใหศาลเพิกถอนการโอนรายนี้ได (มาตรา ๒๓๗ ปพพ.)

จากตัวอยางขางตนนี้ เราอาจพอสรุปไดว า ขอจํ ากัดสําคัญในนิ ติกรรมเปล่ียนแปลงสิทธิอยูท่ีวาผูทํานิติกรรมมีอํานาจทําไดหรือไม สวนขอจํากัดสําคัญในนิติกรรมกอความผูกพันทางหนี้อยูท่ีวาผูทํานิติกรรมควรกอหนี้ผูกพันตนหรือไม

ในอุทาหรณขอ ๒. เราจะเห็นไดวา แมวา ก. จะตกลงขายภาพเขียนของตนบางสวนแก ข. แลว แตเม่ือยังมิไดโอนกรรมสิทธ์ิแกกัน ทรัพยคือภาพเขียนนั้นยังเปนของ ก. ดังนั้น ก. ยังมีอํานาจทํานิติกรรมเปล่ียนแปลงสิทธิโดยโอนภาพเขียนของตนแก ค. ได แตในแงนิติกรรมกอความผูกพันนั้น เม่ือ ก. ไดทํานิติกรรมกอหนี้ผูกพันท่ีจะโอนภาพเขียนสวนหนึ่งแก ข. ไวแลว ก. ก็ไมควรจะกอหนี้ผูกพันตนที่จะโอนกรรมสิทธ์ิในภาพเขียนท้ังหมดแก ค. อีก แตหากพิจารณาในแงอํานาจในการโอนและการทํานิติกรรมเปล่ียนแปลงสิทธินั้น กรรมสิทธ์ิอยูท่ีใคร คนนั้นยอมมีอํานาจโอนกรรมสิทธ์ินั้นไดโดยชอบ การที่ ก. ทํานิติกรรมเปล่ียนแปลงสิทธิโดยโอนกรรมสิทธ์ิในทรัพยสินแก ค. กฎหมายมุงพิจารณาเพียงวากรรมสิทธ์ิโอนไปแลวหรือไม สวนการท่ี ก. ตกลงขายภาพเขียนแก ค. ท้ัง ๆ ท่ีไดตกลงขายแก ข. ไวกอนหนานั้นแลว กฎหมายมุงหมายพิจารณาวา แม ก. จะขายทรัพยสินเดียวกันซอนกันได แตก็เปนส่ิงไมควรทําเพราะเปนการฝาฝนหนาท่ีตามความผูกพันท่ีมีตอ ข. ดังนั้นกฎหมายจึงใหความคุมครอง ข. ในฐานะเจาหนี้ตามความ

Page 25: เอกสารประกอบการศึกษาวิชากฎหมายลักษณะนิติกรรมสัญญา (น. ๑๐๑)

๒๕

ผูกพันนั้น เม่ือ ข. มาเรียกให ก. สงมอบทรัพยสินคือภาพเขียนท่ีซ้ือขายกันไว แลว ก. ไมสามารถสงมอบใหได เพราะไดโอนไปเปนของ ค. หมดเสียแลว ดังนี้ ก. ยอมตองรับผิดชดใชคาสินไหมทดแทนแก ข. เพราะละเลยไมชําระหนี้ของตน (มาตรา ๒๑๓ ป.พ.พ.) หรือเพราะไมชําระหนี้ใหตองตามความประสงคอันแทจริงแหงมูลหนี้ (มาตรา ๒๑๕ ป.พ.พ.) หรือรับรองสิทธิแก ข. ใหมีสิทธิรองตอศาลเพ่ือเพิกถอนการฉอฉล (มาตรา ๒๓๗ ป.พ.พ.) ได

ข) นิติกรรมเปล่ียนแปลงสิทธิยอมอยูใตบังคับของหลักท่ีวาผูรับโอนยอมไมมีสิทธิดีกวาผูโอน กลาวคือผูไดสิทธิไปกอนยอมมีสิทธิดีกวา แตนิติกรรมกอความผูกพันทางหน้ีไมตองอยูใตบังคับของหลักผูรับโอนไมมีสิทธิดีกวาผูโอน เพราะในขณะท่ีกอหนี้กันนั้นยังไมมีอะไรโอนเปล่ียนมือไป

๑) ผลของหลักขอนี้ก็คือ ผูท่ีไดรับโอนสิทธิไปกอนยอมมีสิทธิดีกวาผูท่ีไดรับโอนสิทธิไปทีหลัง และในการโอนสิทธิหรือทรัพยสินสองคราวซอนกันนั้น การโอนคราวแรกยอมมีผล แตการโอนสิทธิหรือทรัพยสินเดียวกันในคราวหลังยอมไมเกิดผล (ยกเวนจะมีกฎหมายกําหนดขอยกเวนไวโดยเฉพาะ เชนกรณีท่ีกฎหมายคุมครองผูรับโอนท่ีไดทรัพยสินมาโดยสุจริตและเสียคาตอบแทนและไดการครอบครองมาโดยสุจริต ตามมาตรา ๑๓๐๓ วรรคแรก ปพพ.)

ตัวอยางเชน ก. เปนเจาหนี้เงินกู ข. อยู ๕,๐๐๐ บาท ตกลงโอนสิทธิเรียกรองให ข. ชําระหนี้เงินกูรายนี้ใหแก ค. และตอมา ก. ไดไปตกลงโอนสิทธิเรียกรองรายเดียวกันนี้แก ง. อีก และหลังจากนั้นยังไปโอนสิทธิเรียกรองนี้ใหแก จ. เปนรายท่ีสาม ดังนี้ การโอนสิทธิเรียกรองแกผูรับโอนรายแรก คือ การโอนสิทธิแก ค. ยอมมีผล แตการโอนสิทธิเรียกรองใหแกผูรับโอนรายหลัง อันไดแก ง. และ จ. ยอมไรผล ท้ังนี้เพราะเม่ือ ก. โอนสิทธิเรียกรองแก ค. ไปแลว ก. ยอมส้ินสิทธิไป และ ค. ยอมไดสิทธิเรียกรองนั้นไปโดยชอบแลว การที่ ก. ผูโอนสิทธิเรียกรองไปโอนสิทธิแก ง. และ จ. ในภายหลัง เปนการโอนสิทธิในขณะที่ผูโอนคือ ก. ไมมีสิทธิเรียกรองใด ๆ เหลืออยูใหโอนไดอีกแลว

๒) แตในกรณีท่ีมีผูทํานิติกรรมกอความผูกพันทางหนี้หลายรายซอนกัน ไมทําใหผูเปนเจาหนี้รายหลังเสียสิทธิไป ผูเปนเจาหนี้รายแรก กับเจาหนี้รายหลัง ๆ ลวนไดช่ือวาเปนเจาหนี้สามัญ และตางมีสิทธิเรียกใหลูกหนี้ชําระหนี้ไดในลําดับเสมอกัน

ตัวอยางเชน ก. ตกลงขายนํ้ามันในสตอก หรือขายเร่ืองรับวิทยุของตนแก ข. แตยังไมทันไดตกลงโอนกรรมสิทธ์ิกัน ซ่ึงอาจเปนเพราะยังชําระเงินกันไมครบ หรือเพียงแตมัดจํา หรือจายเงินจองเอาไว จึงตกลงหนวงการโอนกรรมสิทธ์ิกันไว โดยใหผูซ้ือจะมารับโอนในภายหนา ดังนี้หาก ก. ผูขายนําเอาน้ํามันในสตอกหรือวิทยุเคร่ืองนั้นไปขายแก ค. และตอมายังนําไปขายใหแก ง. อีก ยอมมีปญหาวาระหวาง ก. ข. ค. และ ง. ใครจะมีสิทธิเหนือน้ํามันหรือเหนือวิทยุท่ี

Page 26: เอกสารประกอบการศึกษาวิชากฎหมายลักษณะนิติกรรมสัญญา (น. ๑๐๑)

๒๖

ซ้ือขายกันนั้นดีกวากัน ดังนี้หากขณะทําสัญญาซ้ือขายกันนั้น คูสัญญายังไมไดโอนกรรมสิทธ์ิแกกัน ดังนี้ผูซ้ือ คือ ข. ค. และ ง. ลวนมีฐานะเปนเจาหนี้ผูขาย คือ ก. ในลําดับเดียวกัน เพราะเปนคูกรณีในนิติกรรมกอความผูกพันทางหนี้เทานั้น แตถาปรากฏวา ก. ไดโอนกรรมสิทธ์ิในน้ํามัน หรือในวิทยุเคร่ืองนั้น แก ง. ไปแลว ดังนี้ ง. ยอมไดกรรมสิทธ์ิไป และเม่ือ ง. ไดกรรมสิทธ์ิในวิทยุนั้นไปแลว ก. ก็ไมมีวิทยุจะโอนแก ข. และ ค. อีก ดังนี้ ก. ยอมมีหนาท่ีตองชดใชคาสินไหมทดแทนแก ข. และ ค. เพื่อการท่ีตนไมสามารถชําระหนี้แก ข. และ ค. ได