โครงงานคอมพิวเตอร์...

39
โครงงาน เรื่อง โครงงานคอมพิวเตอร์ การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ด้วย Word press เรื่อง การออกแบบสาร (Message Design) จัดทําโดย นางสาวณภัทร เวียงยศ นิสิตปริญญาตรี ปี สาขาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เสนอ ดร.ภูเบศ เลื่อมใส รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของ รายวิชา (๔๒๓๔๙๑) โครงงานเทคโนโลยีการศึกษา ภาคเรียนทีปีการศึกษา ๒๕๕๗ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

Upload: napatt-weangyos

Post on 11-Aug-2015

83 views

Category:

Education


1 download

TRANSCRIPT

โครงงาน

เรื่อง โครงงานคอมพิวเตอร์ การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ด้วย

Word press เรื่อง การออกแบบสาร (Message Design)

จัดทําโดย

นางสาวณภัทร เวียงยศ

นิสิตปริญญาตรี ปี ๓ สาขาเทคโนโลยีการศึกษา

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

เสนอ

ดร.ภูเบศ เลื่อมใส

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของ

รายวิชา (๔๒๓๔๙๑) โครงงานเทคโนโลยีการศึกษา

ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๗

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

 

  2

คำนำ

โครงงานฉบับนี้ได้ทําขึ้นเพ่ือประกอบการเรียนโครงงานเทคโนโลยีการศึกษา (423491) โดยมีจุด

ประสงคเ์พ่ือให้ผู้จัดทําได้ฝกึการศึกษาคน้ควา้ มีสมาธิ มีทกัษะการจําและเป็นแนวทาง

ในเพ่ือเป็นประโยชน์ ตอ่การศึกษาของตนเองและนอ้งๆ รุ่นหลังในการเรียนการสอนของตนเอง

และอาจารย์ตอ่ไป

ดิฉันหวังว่ารายงานฉบับนี้ คงมีประโยชน์ต่อรุ่นนอ้งหรือผูท้ี่นําไปใช้ให้เกิดผลสัมฤทธ์

ตามความ คาดหวัง

นางสาวณภัทร เวียงยศ

ผู้จัดทํา

  3

สารบัญ

หน้า

บทที่ 1 บทนำ 1

บทที่ 2 เอกสารและโครงงานที่เกี่ยวข้อง 3

บทที่ 3 วิธีการจัดทําสื่อโครงงาน 19

บทที่ 4 ผลการทดสอบประสิทธิภาพสื่อ 27

บทที ่5 สรุปผลการดําเนินงานและข้อเสนอะแนะ 30

บรรณานุกรม

  4

บทที่ 1

บทนำ

ชื่อโครงงาน โครงงานคอมพิวเตอร ์การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ด้วย

Word press เรื่อง การออกแบบสาร (Message Design)

ชื่อผู้ทําโครงงาน นางสาวณภัทร เวียงยศ

ชื่อที่ปรึกษาในโครงงาน ดร. ภูเบศ เลื่อมใส

หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอันยิ่งใหญ่ต่างวงการทั่ว

โลก รวมทั้งวงการการศึกษาของไทยด้วย และผลพวงที่ตามมาในแง่ของเทคนิควิธรการเกี่ยวกับการศึกษา

และการบวนการเรียนรู้ที่จะเปลี่ยนไปจากกระบวนการเรียนรู้แบบเดิมเป็นกระบวนการเรยีนรู้ที่ไม่มีขีดจํากัด

ด้วยการพัฒนาของเทคโนโลยีสารสนเทศ ทําให้ประเทศต่างๆ ทั่วโลกหันมา ให้ความสําคัญและสนใจในการ

พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียนในทุกระดับ มกีารใช้เครื่องคอมพิวเตอร์

และสื่ออิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น ผู้เรียนรู้รุ่นใหม่จะเป็นผู้เรีนที่รักในการศึกษาค้นคว้าเรียนรู้ด้วยตนเอง มีความ

คิดริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ มีความรู้ทักษะที่จําเป็นต่อการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองมากขึ้น (ลัดดาวัลย์ เพชร

โรจน์,2539:122) จึงเป็นที่ยอมรับว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ ได้กลายเป็นปัจจัยที่สําคัญในการพัฒนาประเทศ

การจัดการศึกษาจึงต้องปรับเปลี่ยน โดยการปรับเอาเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทุกๆ

ด้าน จึงได้มีข้อกําหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ว่าด้วยรัฐต้องส่งเสริมและสนับ

สนุนให้มีการผลิตสื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา รวมทั้งมีการพัฒนาบุคลากรด้านการผลิตและให้มีความ

สามารถ มีทักษะตลอดจนผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพที่จะพัฒนาเพื่อก่อให้เกิดความรู้ความสามารถและทักษะ

เพียงพอที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ในการแสวงหาความรู้ด้วยคนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

ซึ่งเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติฉบับนี้ได้ประกาศชัดว่าประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงการศึกษาเพื่อการ

เรียนรู้ และการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง และสาระทั้งหมดของพระราชบัญญัติฉบับนี้ ต้องการให้คนไทย

นั้นได้มี “ชีวิตแห่งการเรียนรู”้ เพื่อพัฒนาสังคมไทยให้ไปสู่ “สังคมแห่งภูมปัญญา” อย่างแท้จริง (ปัญญาพล,

2542:100)

จากเหตุผลดังกว่าว ผู้จัดทําจึงสนใจที่จะพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ด้วย Word press

เรื่อง การออกแบบสาร (Message Design) ซึ่งได้ ถือว่าเป็นแนวทางหนึ่งในการนําเทคโนโลยีทางการศึกษามา

ประยุกต์ใช้ร่วมกับระบบเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุดใน โลก ด้วยเห็นว่าต่อที่สนใจในหลายๆ ด้าน โดยผู้สนใจ

สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ไม่ว่าจะเรียนรู้เร็วหรือช้าก็ สามารถบรรลุจุดมุ่งหมายได้เหมือนกัน

วัตถุประสงค์

1. เพื่อเผยแพร่ความรู้ออนไลน ์การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ด้วย Word press

เรื่อง การออกแบบสาร (Message Design)

2. เพื่อใช้เป็นสื่อในการสอน ให้กับผู้ที่สนใจ เรื่อง การออกแบบสาร (Message Design)

  5

แผนปฏิบัติโครงงาน วัน เวลา และกิจกรรมการดําเนินงาน

เดือน มกราคม กุมภาพันธ ์ มีนาคม เมษายน พฤษภาคม

สัปดาห ์ 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4

กําหนดชื่อโครงงาน

ค้นหาข้อมูล

ศึกษารายละเอียด

ออกแบบสื่อการสอน

ประเมินคุณภาพต้นแบบ

ชิ้นงานโดยผู้ทรงคุณวุฒิ

ทดลองชิ้นงานกับกลุ่ม

ตัวอย่างเพื่อหาประสิทธิภาพ

ปรับปรุงต้นแบบชิ้นงาน

พัฒนาสื่อการสอน

ทดสอบและประเมินผล

เขียนรายงาน

จัดทําเอกสาร

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. ได้รับความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ด้วย Word press เรื่อง การออก

แบบสาร

2. ได้รับความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่นามาเป็นบทเรียนในการสร้างบทเรียนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตด้วย

Word press เรื่อง การออกแบบสาร

3. ผู้เรียนสามารถพัฒนารูปแบบของ Wordpress ได้ด้วยตนเองและนำมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับการ

เรียนรู้ของ ตนเองมากยิ่งขึ้น

4. สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ระหว่างคร ูเพื่อนและผู้สนใจทั่วไป เพื่อสร้างเป็นเครือข่ายการเรียนรู ้

ผ่าน Word press ได้

5. ได้นำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศยุคใหม่มาใช้อย่างมีคุณค่า และสร้างสรรค ์

  6

บทที่ 2

เอกสารและโครงงานที่เกี่ยวข้อง

ในการจัดทําโครงงานคอมพิวเตอร์ การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ด้วย Word press

เรื่อง การออกแบบสาร (Message Design) ผู้จัดทําได้ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี ้

1. ความสําคัญของคอมพิวเตอร ์

2. โปรแกรมที่ใช้ในการดําเนินงาน

1. ความสําคัญของคอมพิวเตอร์

ปัจจุบันเทคโนโลยีและการสื่อสารได้เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ในการดําเนินชีวิตประจําวันของ

มนุษย์อุปกรณ์สื่อสารและคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทสําคัญต่อการดําเนินกิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะอย่าง

ยิ่งการศึกษาค้นคว้าและการทําธุรกิจ ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร ์ทําให้องค์กรต่างๆ

นําเทคโนโลยีเหล่านี้เข้ามาช่วยในการดําเนินงานขององค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการรับ-

ส่งข้อมูลข่าวสารอิเล็กทรอนิกส ์การทําธุรกิจและให้บริการบนอินเตอร์เน็ต ตลอดจนการใช้เป็นเครื่องมือ

ช่วยในการทํางาน

ไม่เพียงแต่ในองค์กรต่างๆ เท่านั้นที่นําคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งาน ผู้ใช้ตามบ้านโดยทั่วไป ก็ได้จัดหา

คอมพวิเตอร์เข้ามาใช้ส่วนตัวกันมากขึ้น เนื่องจากคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันมีราคาถูก แต่มีประสิทธิภาพสูง

รวมทั้งสามารถใช้งานได้ง่ายกว่าในอดีตมาก จนมีการประมาณการกันว่า ในอนาคตคอมพิวเตอร์จะเป็น

อุปกรณ์พื้นฐานในทุกๆ ครัวเรือนเหมือนกับเครื่องรับโทรทัศน ์

ด้วยสถานการณ์ดังกล่าว การเรียนรู้การใช้งานคอมพิวเตอร์ในระดับเบื้องต้น จึงเป็นสิ่งที่มีความ

จําเป็นอย่างยิ่งในการดําเนินกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นในการทํางาน การศึกษาหรือเพื่อความบันเทิง ให้ม ี

ประสิทธิภาพและความสะดวกเพิ่มมากขึ้น

คอมพิวเตอร์มีข้อดีอย่างไร มนุษย์เราจึงได้นํามาใช้งานกันอย่างกว้างขวาง ก่อนที่จะตอบคําถาม

นี้ได้ เราต้องทราบคุณสมบัติพื้นฐานของคอมพิวเตอร์เสียก่อน ซึ่งมีอยู ่5 ประการที่สําคัญดังนี้

1. ทํางานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (electronic machine)

คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในการบันทึกข้อมูล ประมวลผล และแสดงผลลัพธ์ การจัด

เก็บข้อมูลที่บันทึกผ่านทางแป้นพิมพ์หรืออุปกรณ์อื่นๆ ข้อมูลเหล่านี้จะถูกแปลงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าเพื่อให ้

คอมพิวเตอร์เข้าใจและสามารถประมวลผลได ้และเมื่อคอมพิวเตอร์ประมวลผลเรียบร้อยแล้ว ข้อมูลที่เป็น

สัญญาณไฟฟ้าจะถูกแปลงกลับให้เป็นรูปแบบที่มนุษย์สามารถเข้าใจได ้

2. การทํางานด้วยความเร็วสูง (speed)

เนื่องจากการทํางานของคอมพิวเตอร์เป็นระบบอิเล็กทรอนิกส ์ดังนั้นการดําเนินงานต่างๆ

จึงสามารถกระทําได้อย่างรวดเร็ว (มากกว่าพันล้านคําสั่งในหนึ่งวินาท)ี

3. ความถูกต้องแม่นยําเชื่อถือได ้(accuracy and reliability)

คอมพิวเตอร์จะทํางานตามคําสั่งที่มนุษย์เขียนโปรแกรมหรือคําสั่งไว ้ถ้าผู้ใช้ป้อนข้อมูลและชุดคําสั่ง

มีความถูกต้อง ผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลก็จะมีความถูกต้องเชื่อถือได ้

4. การเก็บข้อมูลได้ในปริมาณมาก (storage)

  7

คอมพิวเตอร์มีหน่วยความจําที่ทําหน้าที่เก็บข้อมูลที่บันทึกเข้าไป ความสามารถในการจัดเก็บข้อมูลนี ้

จะขึ้นอยู่กับขนาดของคอมพิวเตอร ์เช่น เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันจะมีหน่วยเก็บข้อมูลสํารองที ่

สามารถบันทึกข้อมูลได้มากกว่าหนึ่งล้านตัวอักษร

5. การสื่อสารเชื่อมโยงข้อมูล (communication)

คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ และสามารถทํางานที่หลากหลายมาก

ขึ้นกว่าการใช้คอมพิวเตอร์แบบระบบเดี่ยว ตัวอย่างเช่น การนําคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ตเพื่อ

การสืบค้นข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น (remote computer)

จากคุณสมบัติของคอมพิวเตอร์เราจะเห็นได้ว่า คอมพิวเตอร์สามารถทํางานหลายๆ อย่างที่มนุษย ์

ไม่สามารถทําได ้หรือถ้ามนุษย์ทําได ้ก็จะใช้เวลามากและมีข้อผิดพลาดมากมาย เช่น การคํานวณตัวเลขหลาย

หลักเป็นจํานวนมากภายในเวลาจํากัด, การทํางานในแบบเดียวกันซ้ําๆ หลายล้านครั้ง หรือการจดจําข้อมูลตัว

เลขและตัวหนังสือหลายหมื่นหน้าโดยไม่มีการลืม งานที่น่าเบื่อและยุ่งยากเหล่านี้เราสามารถใช้คอมพิวเตอร ์

ทํางานแทนได ้โดยเรามีหน้าที่เพียงเป็นผู้สั่งการเท่านั้น

2. โปรแกรมที่ใช้ในการดําเนินงาน

โปรแกรม Microsoft Word

โปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด ซึ่งเป็นโปรแกรมประมวลผลคําแบบพิเศษ ช่วยให้สร้างเอกสารแบบมือ

อาชีพอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด เช่น เหมาะกับงานด้านการพิมพ์เอกสารทุกชนิด สามารถพิมพ ์

เอกสารออกมาเป็นชุด ๆ ซึ่งเอกสารอาจเป็นจดหมาย บันทึกข้อความ รายงาน บทความ ประวัติย่อ และยัง

สามารถตรวจสอบ ทบทวน แก้ไข ปรับปรุงความถูกต้องในการพิมพ์เอกสารได้อย่างง่ายดาย สามารถตรวจ

สอบ สะกดคำ และหลักไวยากรณ ์เพิ่มตาราง เพิ่มกราฟิก ในเอกสารได้อย่างง่ายดาย หรือเพิ่มเติมข้อมูลได ้

ตลอดเวลา สามารถใช้ลักษณะของการจัดพิมพ์ด้วยคอมพวิเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (Desktop Publishing) เพื่อสร้าง

โบชัวร ์(Brochures) ด้านสื่อโฆษณา (Advertisements) และจดหมายข่าว (Newsletters) ได้ด้วยโปรแกรม

ประมวลผลคำ (word Processor)

โปรแกรม Word press

เวิร์ดเพรสส ์(อังกฤษ: WordPress) เป็นโปรแกรมช่วยสร้างบล็อก ซึ่งเขียนด้วยภาษาพีเอชพีและใช ้

ฐานข้อมูล MySQL มีสัญญาอนุญาตใช้งานแบบ GPL เริ่มพัฒนาโดย แมตต์ มูลเลนเวก หลังจากซอฟต์แวร ์

สร้างบล็อก Movable Type ของบริษัท Six Apart ได้เปลี่ยนแปลงการคิดค่าใช้งานใน พ.ศ. 2547 ผู้ใช้เดิมของ

Movable Type จํานวนมากจึงหันมาใช ้เวริ์ดเพรสส์แทน เนื่องจากว่ามีรูปแบบการใช้งานคล้ายคลึงกัน

ซึ่งปัจจุบัน เวิร์ดเพรสส์ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจากบล็อกเกอร์ทั่วโลก เนื่องจากเป็นระบบที่ม ี

ความยืดหยุ่นในการใช้งาน อีกทั้งยังมีผู้ที่สร้างปลั๊กอิน (โปรแกรมเสริม) , ธีม (รูปแบบการแสดงผล) , รวม

ทั้งระบบอื่นๆ ที่สามารถใช้งานร่วมกับ เวิร์ดเพรสส์ได้เป็นจํานวนมาก จึงทําให ้เวิร์ดเพรสส์ได้รับความนิยม

อย่างยิ่ง

นอกจากนี ้เวิร์ดเพรสส์ยังได้แตกหน่อออกมาเป็น เวิร์ดเพรสส ์มิว เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถนําไปใช ้

สร้างเว็บบล็อก เพื่อให้ผู้อื่นใช้งานได้อีกด้วย ซึ่งระบบของ เวิร์ดเพรสสM์U นั้น ได้มีการปรับปรุงให้รองรับ

กับผู้ใช้งานจํานวนมากขึ้นกว่า เวิร์ดเพรสส์ในรุ่นปกต ิ

  8

โปรแกรม Mozilla Firefox

มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ ์(อังกฤษ: Mozilla Firefox) รู้จักในชื่อ ไฟร์ฟอกซ ์เป็นเว็บเบราว์เซอร์ที ่

สามารถใช้ได้ในหลายระบบปฏิบัติการ พัฒนาโดยมูลนิธิมอซิลลาและอาสาสมัครอีกหลายร้อยคน ปัจจุบัน

อยู่ใต้การดําเนินงานของบริษัท มอซิลลา ปัจจุบันไฟร์ฟอกซ์เป็นเว็บเบราว์เซอร์ที่นิยมอันดับ 3 รองจากอิน

เทอร์เน็ต เอกซ์พลอเรอร์และกูเกิล โครม และเมื่อแบ่งตามรุ่นของแต่ละเบราว์เซอร ์ไฟร์ฟอกซ ์รุ่น 3.5 เป็น

เบราว์เซอร์ที่มีคนใช้มากที่สุดในโลก ไฟร์ฟอกซ์มีส่วนแบ่งในตลาดเว็บเบราว์เซอร์ทั่วโลกร้อยละ 24.61

และมีส่วนแบ่งในตลาดเว็บเบราว์เซอร์ในประเทศไทยร้อยละ 15.28 (ข้อมูลเมื่อธันวาคม พ.ศ. 2552)

ไฟร์ฟอกซ์ใช้เกกโกตัวเรนเดอริงเอนจินโอเพนซอร์ซซึ่งจัดการตามมาตรฐานเว็บสอดคล้องกับทาง

ดับเบิลยูธรีซีกําหนดไว ้และเพิ่มคําสั่งพิเศษเข้าไป คําสั่งไฟร์ฟอกซ์เป็นซอฟต์แวร์ที่เปิดให้โปรแกรมเมอร ์

ที่เรียกว่า "แอด-ออนส์" ทํางานร่วมกับตัวโปรแกรม โดยปัจจุบันมีมากกว่า 2,000 ตัว โดยตัวที่นิยมมากที่สุด

ตามลําดับคือ ฟอกซีทูนส ์(ควบคุมโปรแกรมเล่นเพลง) สตัมเบิลอัปออน (ค้นหาเว็บไซต)์ แอดบล็อกพลัส

(บล็อกโฆษณา) ดาวน์เดมออล! (ดาวน์โหลด) และเว็บเดเวลอปเปอร ์(เครื่องมือสําหรับทําเว็บ)

ไฟร์ฟอกซ์ทํางานได้ในหลายระบบปฏิบัติการรวมถึง วินโดวส ์แมคโอเอสเท็น ลินุกซ์ รุ่นปัจจุบัน

คือรุ่น 12.0 ออกเมื่อวันที ่24 เมษายน พ.ศ. 2555 ตัวโค้ดโปรแกรมเขียนขึ้นในภาษา C++ XUL XBL และ

จาวาสคริปต ์โดยโค้ดทั้งหมดเปิดให้ใช้ฟรีภายใต้ลิขสิทธิ ์MPL GPL / LGPL และ Mozilla EULA โดยที่ใน

รุ่นนี้ได้ทําารแกB้ugในรุ่น9.0ที่ทําให้เบราว์เซอรC์rashบนระบบปฏิบัติการหลักทั้งสามตัว ในกรณีที่ติดตั้ง

Tools Bar บางตัวลงไป ไฟร์ฟอกซ์ในปัจจุบันรับรองการใช ้75 ภาษา

ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า

ขอบเขตด้านเนื้อหา เรื่อง การออกแบบสาร (Message Design) ซึ่งประกอบด้วย

1.1 การสื่อสาร

1.2 การรับรู ้

1.3 การวิเคราะห์ผู้รับสาร

1.4 หลักและทฤษฏีในการออกแบบสาร

1.1 การสื่อสาร

การสื่อสาร (Communication) หมายถึง กระบวนการส่งข่าวสารข้อมูลจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับ

ข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตาม

ที่ผู้ส่งต้องการ

องค์ประกอบของการสื่อสาร ประกอบด้วย

1. ผู้สง่ข่าวสาร (Sender)

2. ข้อมูลข่าวสาร (Message)

3. สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media)

4. ผู้รับข่าวสาร (Receivers)

5. ความเข้าใจและการตอบสนอง

  9

วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร ได้จําแนกไว้ดังนี ้

1. เพื่อแจ้งให้ทราบหรือเพื่อทราบ หมายถึง การสื่อสารที่ผู้ส่งสารจะแจ้ง หรือบอกกล่าว ข่าวสาร

ข้อมูล เหตุการณ ์ความคิด ความต้องการของตนให้ผู้รับได้ทราบ

2. เพื่อสอนหรือให้การศึกษา หมายถึง การสื่อสารที่มุ่งจะให้ผู้รับมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทาง

ด้านองค์ความรู ้ความคิด สติปัญญา ฉะนั้นจึงมุ่งเน้นไปที่การเรียนการสอนหรือการศึกษาค้นควา้ทางวิชาการ

โดยเฉพาะ

3. เพื่อสร้างความพอใจหรือให้ความบันเทิง หมายถึงการสื่อสารที่มุ่งให้เกิดผลทางจิตใจหรืออารมณ ์

ความรู้สึกแก ่ผู้รับสาร ซึ่งจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อผู้ส่งสารมีข้อมูลที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้รับสาร และ

มีกลวิธีในการนําเสนอเป็นที ่พอใจ

4. เพื่อเสนอหรือชักจูงใจ มุ่งเน้นให้ผู้รับสารมีพฤติกรรมคล้อยตาม หรือยอมรับปฏิบัติตาม

จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า วัตถุประสงค์ของการสื่อสารในแต่ละระดับมีจุดมุ่งหมายที่แตกต่างกันไป

ซึ่งจะสําเร็จ ได้ต้องขึ้นอยู่กับทั้งฝ่ายผู้ส่งสารและฝ่ายผู้รับสาร มีความต้องการทีส่ัมพันธ์กัน โดยรวมแล้วพอ

สรุปวัตถุประสงค์การ สื่อสารได ้ดังนี้

1. เพื่อแจ้งให้ทราบ คือ การรับและส่งข่าวสารด้านต่างๆ การนําเสนอเรื่องราว ความรู้สึกนึกคิด

ความรู ้หรือสิ่งอื่น ใด ที่ต้องการให้ผู้รับสารรู้และเข้าใจข้อมูลนั้นๆ โดยมุ่งให้ความรู้และสร้างความเข้าใจที ่

ถูกต้อง

2. เพื่อความบันเทิงใจ คือ การรับส่งความรู้สึกที่ด ีและมุ่งรักษามิตรภาพต่อกัน เป็นการนําเสนอ

เรื่องราวหรือสิ่ง อื่นใดที่จะทําให้ผู้รับสารเกิดความพึงพอใจ

3. เพื่อชักจูงใจ คือ การนําเสนอเรื่องราวหรือสิ่งอื่นใดเพื่อจูงใจให้เกิดความร่วมมือ สร้างกําลังใจ

เพื่อให้ผู้รับสาร เกิดความคิดคล้อยตาม หรือปฏิบัติตามที่ผู้ส่งสารต้องการ และนําไปสู่การปรับปรุงแก้ไข

ประเภทของการสื่อสาร

ได้จําแนกประเภทของการสื่อสารไว้แตกต่างกันหลายลักษณะ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าจะใช้อะไรเป็นเกณฑ ์

ในการจำแนก ในที่นี้จะแสดงการจําแนกประเภทของการสื่อสาร โดยอาศัยเกณฑ์ในการจําแนกที่สําคัญ 3

ประการ คือ

1. จําแนกตามกระบวนการหรือการไหลของข่าวสาร

2. จําแนกตามภาษาสัญลักษณ์ที่แสดงออก

3. จําแนกตามจํานวนผู้สื่อสาร

1. จําแนกตามกระบวนการหรือการไหลของข่าวสาร แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ

1.1 การสื่อสารทางเดียว (One-Way Communication) คือการสื่อสารที่ข่าวสารจะถูกส่ง

จากผู้ส่ง ไปยังผู้รับในทิศ ทางเดียว โดยไม่มีการตอบโต้กลับจากฝ่ายผู้รับ เช่น การสื่อสารผ่านสื่อ วิทย ุ

โทรทัศน ์หนังสือพิมพ ์การออกคําสั่งหรือ มอบหมายงานโดย ฝ่ายผู้รับไม่มีโอกาสแสดงความคิดเห็น

ซึ่งผู้รับอาจไม ่เข้าใจข่าวสาร หรือเข้าใจไม่ถูกต้องตามเจตนาของ

ผู้ส่งและทางฝ่ายผู้ส่งเมื่อไม่ทราบปฏิกิริยาของผู้รับจึงไม ่อาจปรับการสื่อสารให้เหมาะสมได ้การสื่อสาร

  10

แบบนี้สามารถทํา ได้รวดเร็วจึงเหมาะสําหรับการสื่อสารใน เรือ่งที่เข้าใจง่าย ในสถานการณ์ของการสื่อสาร

บางอย่าง มีความจําเป็นต้องใช้การ สื่อสารทางเดียว แม้ว่าเรื่อง ราวที่สื่อสารจะมีความซับซ้อนก็ตาม เช่น

กรณีผู้รับและผู้ส่งไม่อาจพบปะ หรือติดต่อสื่อสารกัน ได้โดยตรง การสื่อสารแบบกลุ่มใหญ ่และการสื่อสาร

มวลชนซึ่งไม่อาจทราบผู้รับที่แน่นอน

1.2 การสื่อสารสองทาง (Two-way Communication) คือการสื่อสารที่มีการส่งข่าวสารตอบ

กลับไป มาระหว่างผู้สื่อสาร ดังนั้นผู้สื่อสารแต่ละฝ่ายจึงเป็นทั้งผู้ส่งและผู้รับในขณะเดียวกัน ผู้สื่อสารม ี

โอกาสทราบ ปฏิกิริยาตอบสนอง ระหว่างกัน ทําให้ทราบผลของการสื่อสารว่าบรรลุจุดประสงค์หรือไม ่และ

ช่วยให ้สามารถปรับพฤติกรรมในการสื่อสารให้เหมาะสมกับสถานการณ ์ตัวอย่างการสื่อสารแบบสองทาง

เช่น การพบปะพูดคุยกัน การพูดโทรศัพท์ การออกคําสั่ง หรือมอบหมายงานโดยฝ่ายรับมีโอกาสแสดงความ

คิดเห็น การสื่อสารแบบนีจ้ึงมีโอกาสประสบผลสําเร็จได้มากกว่า แต่ถ้าเรื่องราวที่จะสื่อสารเป็นเรื่องง่าย

อาจทําให้เสียเวลาโดยไม่จําเป็น ในสถานการณ์ของการสื่อสารบางอย่าง เช่น ในการสื่อสารมวลชน ซึ่งโดย

ปกติมีลักษณะเป็นการสื่อสารทางเดียวนักสื่อสารมวลชนก็มีความพยายามที่จะทําให้มีการ สื่อสาร 2 ทาง

เกิดขึ้นโดยการให้ประชาชนส่งจดหมาย โทรศัพท ์ตอบแบบสอบถาม กลับไปยังองค์กรสื่อมวลชน เพื่อนํา

ผลไปปรับปรุงการสื่อสารให้บรรลุผลสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

2. จําแนกตามภาษาสัญลักษณ์ที่แสดงออก แบ่งเป็น

2.1 การสื่อสารเชิงวัจนะ (Verbal Communication) หมายถึงการสื่อสารด้วยการใช้ภาษาพูด

หรือเขียนเป็นคําพูดในการสื่อสาร

2.2 การสื่อสารเชิงอวัจนะ (Non-Verbal Communication) หมายถึงการสื่อสารโดยใช้รหัส

สัญญาณอย่างอื่น เช่น ภาษาท่าทาง การแสดงออกทางใบหน้า สายตา ตลอดจนถึงน้ําเสียง ระดับเสียง

ความเร็วใน การพูด เป็นตน้

3. จําแนกตามจํานวนผู้สื่อสาร

กิจกรรมต่างๆ ของบุคคลและสังคม ถือว่าเป็นผลมาจากการสื่อสารทั้งสิ้น ดังนั้นการสื่อสารจึงม ี

ขอบข่ายครอบ คลุมลักษณะการสื่อสารของมนุษย ์3 ลักษณะคือ

3.1 การสื่อสารส่วนบุคคล (Intrapersonal Communication)

3.2 การสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication)

3.3 การสื่อสารมวลชน (Mass Communication)

หน้าที่ของกระบวนการสื่อสาร

1. การสื่อสารในฐานะเครื่องมือให้ได้สิ่งที่ต้องการ

2. การสื่อสารเพื่อสร้างความสัมพันธ ์

3. การสื่อสารส่วนบุคคล

4. การสื่อสารเพื่อเสาะแสวงหาคําตอบ

5. การสื่อสารเพื่อสร้างจินตนาการ

  11

รูปแบบของการสื่อสาร

1. การจําแนกตามคุณลักษณะของการสื่อสาร

1.1 การสื่อสารด้วยภาษาพูด ได้แก ่การพูด อธิบาย บรรยาย การร้องเพลง เป็นต้น

1.2 การสื่อสารด้วยภาษาท่าทางหรือสัญญาณ เช่น กริยาท่าทาง การยิ้ม ภาษามือ เป็นต้น

1.3 การสื่อสารด้วยภาษาภาพ เช่นโปสเตอร ์จดหมาย ลูกศร ตรา รูปภาพ เครื่องหมาย

2. จําแนกตามปฏิสัมพันธ์ของผู้รับและผู้ส่ง

2.1 การสื่อสารทางตรง ผู้ส่งและผู้รับสื่อสารซึ่งกันและกันโดยตรง เนื้อหาสาระสอดคล้อง

กันอย่างตรงไปตรงมา เช่น การแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้าในตลาดสด

2.2 การสื่อสารทางอ้อม เป็นการสื่อสารโดยอาศัยสื่อในการถ่ายทอดเนื้อหาสาระ เช่น

การโฆษณาทางโปสเตอร์

3. จําแนกตามพฤติกรรมในการโต้ตอบ

3.1 การสื่อสารทางเดียว ผู้ส่งกระทําฝ่ายเดียว ผู้รับไม่สามารถตอบสนองทันทีได ้เช่น

การจัดรายการวิทย ุรายการโทรทัศน ์

3.2 การสื่อสารสองทาง ผู้ส่งและผู้รับมีการตอบโต้กันโดยอาจอยู่ในสถานที่เดียวกัน

หรือถ้าห่างกันจะใช้เครื่องมือสื่อสารช่วยได ้เช่นโทรศัพท ์วิทยุมือถือ

4. จําแนกตามจํานวนของผู้ร่วมสื่อสาร

4.1 การสื่อสารในตนเอง เป็นทั้งผู้ส่งและผู้รับ เช่น การสํารวจความรู้สึกนึกคิดของตัวเอง

4.2 การสื่อสารระหว่างบุคคล เป็นการสื่อสารระหว่างสองคน เช่นการสนทนา

การสัมภาษณ ์

4.3 การสื่อสารแบบกลุ่มบุคคล เป็นการสื่อสารที่มีจํานวนผู้ส่งผู้ส่งและผู้รับมากกว่าการ

สื่อสารระหว่างบุคคล เช่น การเรียนการสอนในห้องเรียน กลุ่มตํารวจช่วยกันสอบสวนผู้ต้องหา

4.4 การสื่อสารมวลชน การสื่อสารเป็นกลุ่ม จำนวนมากมหาศาล ต้องใช้สื่อที่มีศักยภาพใน

การแพร่กระจายข่าวสารได้อย่างกว้างไกล เช่น วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน ์อินเตอร์เน็ต โปสเตอร ์

แชนนันและวีเวอร ์ได้คิดรูปแบบจําลองของการสื่อสารขึ้นในลักษณะของกระบวนการ สื่อสารทาง

เดียว เชิงเส้น ตรง กระบวนการนี้เริ่มด้วยผู้ส่งสารซึ่งเป็นแหล่งข้อมูล ทําหน้าที่ส่งเนื้อข่าวสารเพื่อส่งไปยังผู ้

รับ โดยผ่านทางเครื่องส่งหรือ ตัวถ่ายทอด ในลักษณะของสัญญาณที่ถูกส่งไปในช่องทางต่างๆ กัน แล้วแต ่

ลักษณะของการส่งสัญญาณแต่ละประเภท เมื่อทางฝ่ายผู้รับได้รับสัญญาณให้เป็นเนื้อหาข่าวสารนั้นอีกครั้ง

หนึ่งให้ตรงกับที่ผู้ส่งส่งมา ในขั้นนี้เนื้อหาที่รับจะไปถึงจุด หมายปลายทาง คือผู้รับตามต้องการ แต่ในบาง

ครั้งสัญญาณที่ส่งไปอาจถูกรบกวนหรืออาจมีบางสิ่งบางอย่างมาขัดขวาง สัญญาณนั้น ทําให้สัญญาณที่ส่งไป

กับสัญญาณที่ได้รับมีความแตกต่างกัน เป็นเหตุทําให้เนื้อหาข่าวสารที่ส่งจากแหล่งข้อมูล ไปยังจุดหมาย

ปลายทางอาจผิดเพี้ยนไป นับเป็นความล้มเหลวของการสื่อสารเนื่องจากข้อมูลที่ส่งไปกับข้อมูลที่ได้รับไม ่

ตรงกัน อันจะทําให้เกิดการแปลความหมายผิด หรือความเข้าใจผิดในการสือ่สารกันได ้

  12

ภาพแบบจําลองการสื่อสารของแชนนัน และวีเวอร์

จากรูปแบบจําลอง พิจารณาได้ว่า แชนนันและวีเวอร์สนใจว่าเมื่อมีการสื่อสารกัน จะมีอะไรเกิดขึ้น

กับข้อมูลข่าว สารที่ส่งไป ไม่ว่าจะเป็นการส่งโดยผ่านอุปกรณ์ระบบไฟฟ้า หรือการส่งโดยใช้สัญญาณต่างๆ

เช่น เมื่อมีการเปิดเพลง ออกอากาศทางสถานีวิทยุ เสียงเพลงนั้นจะถูกแปลงเป็นสัญญาณและส่งด้วยวิธีการ

กล้ําสัญญาณ (modulation) จากสถานี วิทยุไปยังเครื่องรับวิทย ุโดยที่เครื่องรับจะแปลงสัญญาณคลื่นนั้นเป็น

เพลงให้ผู้รับได้ยิน ในขณะที่สัญญาณถูกส่งไปจะม ีสิ่งต่างๆ หลายอย่างมาเป็นอุปสรรคในการส่ง โดยการ

รบกวนสัญญาณนั้นให้เสียไป เราจึงเรียกสิ่งเหล่านี้ว่า “สิ่งรบกวน” (Noise Source) เช่นในการส่งวิทย ุ

ระบบ AM สัญญาณจะถูกรบกวนโดยไฟฟ้าในบรรยากาศ หรือในขณะที่ครูฉาย ภาพยนตร์ในห้องเรียน การ

รับภาพ และเสียงของผู้เรียนจะถูกรบกวนโดยสิ่งรบกวนหลายอย่าง เช่น แสงที่ตกลงบนจอภาพ เสียงพัดลม

เป่าใน เครื่องฉายภาพยนตร ์และเสียงพูดคุยจากภายนอกเป็นต้น หรือเช่นการพูดโทรศัพท ์ผู้เริ่มต่อโทรศัพท ์

จะแปลงสัญญาณไฟฟ้าให้กลับเป็นคําพูดส่งถึงผู้รับหรือผู้ฟังซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางของการสื่อสาร แต่ถ้า

ระหว่างที่ส่ง สัญญาณไปนั้นมีสิ่งรบกวนสัญญาณ เช่นฝนตกฟ้าคะนอง ก็จะทําให้สัญญาณที่ได้รับถูกรบกวน

เกิดการสั่นสะเทือนซึ่ง เป็นเหตุให้การฟังไม่ชัดเจน จึงสรุปได้ว่า “สิ่งรบกวน” คือ สิ่งที่ทําให้สัญญาณเสียไป

ภายหลังที่ถูกส่งจากผู้ส่งและก่อนที่จะถึง ผู้รับทําให ้สัญญาณที่ส่งไปกับสัญญาณที่ได้รับ มีลักษณะแตกต่าง

กันและอาจกล่าวได้ว่าเป็นอุปสรรคของ การสื่อสาร เนื่องจาทําให ้การสื่อสารไม่ได้ผลเต็มที ่

แบบจําลองของลาสเวลล ์มุ่งอธิบายกระบวนการสื่อสาร ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบการสื่อสาร

จากคําถามที ่ว่าใคร กล่าวอะไร ผ่านช่องทางใด กับใคร ด้วยผลประการใดเป็นกระบวนการสื่อสารแบบง่ายๆ

ระหว่างบุคคลซึ่งต้องกระทํา ต่อหน้า และมีการคาดหวังผลจากการสื่อสารในเวลาเดียวกัน แต่ไม่มีการตรวจ

สอบผลสะท้อนกลับ แบบจําลองการสื่อสาร ของลาสเวลล ์เป็นส่วนหนึ่งของทฤษฎีการสื่อสารเชิงระบบ

พฤติกรรม และทฤษฎ ีการสื่อสารเชิงพฤติกรรมการเข้าและ ถอดรหัส เพราะเป็นการสื่อสารที่จําเป็นต้องม ี

องค์ประกอบพื้นฐาน การสื่อสารครบถ้วน คือมีผู้ส่งสาร ผู้รับสาร ตัวสาร และช่องทางการสื่อสาร (ข้อ 1.1)

เป็นการสื่อสาร ระหว่างบุคคลตัวต่อตัว (ข้อ 1.2) และผู้ส่งสาร จะเป็นผู้กําหนดสาร และ เจตนารมย์ด้วยตน

เอง (ข้อ 1.7) และในการสื่อสารระหว่างบุคคล จะต้องมีการเข้ารหัส-ถอดรหัส เพราะการสื่อสารระหว่าง

บุคคล จําเป็น ต้องสําแดงผลในการสื่อสารด้วย (ข้อ 2.3) จากกระบวนการสื่อสารในขั้นตอน ใคร กล่าวอะไร

อาจกล่าวได ้ว่าเป็นหลักเกณฑ์ข้อหนึ่งของทฤษฎีการสื่อสารเชิงปฏิสัมพันธ์ ในเรื่องของการสร้างความ

สัมพันธ์ระหว่าง เนื้อหาข่าวสาร กับบุคคล (ข้อ 3.1) นั้น เป็นปัจจัยหนึ่งทางการสื่อสาร ลาสเวลล ์ไม่ได ้

อธิบายถึงสภาพแวด ล้อมหรือบริบททางสังคมว่า จะมีอิทธิพลต่อการสื่อสารตามแนวคิดของเขาแต่อย่างใด

ดังนั้น จึงไม่อาจสรุป ได้ว่า ปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรมจะม ีอิทธิพลต่อการสื่อ ตามแบบจําลองการสื่อ

สารของลาสเวลล ์แต่แบบจําลองที่ลาสเวลล์กล่าวไว ้กลับมีประโยชน์อย่างมาก ต่อการนําไปใช้อธิบายโครง

สร้างและแบ่ง ประเภทของงานวิจัยทางการสื่อสาร โดยการจําแนกและวิเคราะห์องค์ประกอบ การสื่อสาร 5

เรื่องหรือ 5 ประเภท คือ

(1) การวิเคราะห์แหล่งสาร (Control Studies Analysis)

(2) การวิเคราะห์เนื้อหาของสาร (Content Analysis)

(3) การวิเคราะห์สื่อที่ใช้เป็นช่องทางในการส่งสาร (Media Analysis)

(4) การวิเคราะห์ผู้รับสาร (Audience Analysis) และ

(5) การวิเคราะห์ผลของการสื่อสาร (Effect Analysis)

  13

แบบจําลองการสื่อสารของชแรมม ์ชแรมม์ได้ให้ความหมายของการสื่อสารไว้ว่า การสื่อสาร คือ

การมีความเข้าใจ ร่วมกันต่อเครื่องหมายที่แสดงข่าวสาร ชแรมม์ (Schramm) ให้ความสําคัญกับการสื่อ

ความหมาย การสื่อสารจะเกิดประสิทธิภาพหรือไม่นั้นขึ้น อยู่กับ ประสบการณ์ร่วมกันของผู้ส่งสาร และ

ผู้รับสาร ซึ่งชแรมม ์ได้เสนอแบบจําลองการสื่อสารไว ้3 รูปแบบ ดังนี้

แบบที ่1 การสื่อสารเป็นกระบวนการเส้นตรง ประกอบด้วย แหล่งข่าวสาร การเข้ารหัส สัญญาณ

ถอดรหัส และจุดหมายปลายทาง

แบบที ่2 เป็นกระบวนการสื่อสารที่ผู้ส่งและผู้รับสารมีประสบการณ์บางอย่างร่วมกัน ทําการสื่อสาร

อยู่ภายใต้ขอบเขตประสบการณ์ของแต่ละฝ่ายความสําเร็จของการสื่อสารจึงขึ้นอยู่กับประสบการณ์ร่วมของ

ผู้สื่อสาร

แบบที ่3 เป็นการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สื่อสารซึ่งทั้งสองฝ่ายต้องทํางานเหมือนกันในระหว่างที่ทํา

การสื่อสาร คือการเข้ารหัสสาร แปลความ และถอดรหัสให้เป็นสัญลักษณ ์ส่งไปยังผู้รับสาร ซึ่งเมื่อรับเนื้อหา

ข่าวสารไว้แล้ว ก่อนที่จะ ทําการส่งสารออกไป ก็ต้องนําสารที่จะส่งออกมาเข้ารหัส แปลความ และถอดรหัส

เช่นกัน แล้วส่งกลับไปยังผูร้ับหรือผู้ส่ง ในครั้งแรก

อุปสรรคที่มีต่อการสื่อสาร

1. การเลือกในการสื่อสาร ในการสื่อสารมนุษย์ก็มักจะเลือกในสิ่งที่ตนสนใจมากเป็นอันดับแรก

ซึ่งความสนใจของ คนแต่ละคนนั้นมีความแตกต่างกันอยู ่ขึ้นอยู่ว่าคนๆนั้นจะเลือกสนใจในสิ่งไหน

2. การมีความหมายไม่ตรงกัน การมีความหมายไม่ตรงกันก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทําให้เกิดอุปสรรคการ

สื่อสารได้อัน เนื่องมาจากความต่างของภาษานั้นในบางสถานที่ก็มักใช้คําแบบเดียวกัน แต่ด้วยความหมาย

ก็อาจจะต่างกัน จนทําให้การสื่อ สารมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนได ้

3. ความสับสนระหว่างความรู้สึกกับความจริง โดยจะใช้ความรู้สึกว่ามันจะเป็นเช่นนี้แต่กับความ

เป็นจริงแล้วไม่ได ้เป็นเช่นนั้น จนทําให้เกิดการสับสนในการสื่อสารได ้

4.การไม่เปลี่ยนแปลงความคิดเห็น ก็ย่อมจะใช้ความคิดเห็นที่เป็นความคิดเห็นของตนเองเป็นหลัก

โดยไม่ได้อิงความคิดเห็นของผู้อื่น ก็มักจะมีการขัดแย้งกนัในด้านความคิด

5. การมองไม่เห็นความแตกต่าง

6. การมีความคิดแบบสุดโต่ง

7. การมีความคิดว่ารู้หมด

1.2 การรับรู้ (Perception)

การรับรู ้หมายถึง การแปลความหมายจากการสัมผัส โดยเริ่มตั้งแต่การมีสิ่งเร้ามากระทบกับอวัยวะ

รับสัมผัสทั้งห้าและส่งกระแสประสาทไปยังสมองเพื่อการแปลความ

กระบวนการของการรับรู ้(Process) เป็นกระบวนการที่คาบเกี่ยวกันระหว่างเรื่องความเข้าใจ การคิด

การรู้สึก (Sensing) ความจำ (Memory) การเรียนรู ้(Learning) การตัดสินใจ (Decision making)

Sensing -----> Memory ------> Learning -------> Decision making

  14

กระบวนการของการรับรู้

เกิดขึ้นเป็นลําดับดังนี้ สิ่งเร้าไม่ว่าจะเป็นคน สัตว ์สิ่งของ หรือสถานการณ์มาเร้าอินทรีย ์ทําให้เกิด

การสัมผัส (Sensation) และเมื่อเกิดการสัมผัส บุคคล จะเกิดมีอาการแปลการสัมผัสและมีเจตนา (Conation)

ที่จะแปลสัมผัสนั้น การแปลสัมผัสจะเกิดขึ้นในสมอง ทําให้เกิดพฤติกรรมต่างๆ เช่น การที่เราได้ยินเสียงดัง

ปัง ปัง ๆ สมองจะแปลเสียงดังปัง ปัง โดยเปรียบเทียบกับเสียงที่เคยได้ยินว่าเป็นเสียงของอะไร เสียงปืน

เสียงระเบิด เสียงพล ุเสียงประทัด เสียงของท่อไอเสียรถ เสียงเครื่องยนต์ระเบิด หรือเสียงอะไร ในขณะ

เปรียบเทียบ จิตต้องมีเจตนาปนอยู่ทําให้เกิดแปลความหมาย และต่อไปก็รู้ว่าเสียงที่ได้ยินนั่นคือเสียงอะไร

อาจเป็นเสียงปืนเพราะบุคคลจะแปลความหมายได ้ถ้าบุคคลเคยมีประสบการณ์ในเสียงปืนมาก่อน และอาจ

แปลได้ว่าปืนที่ดังเป็นปืนชนิดใด ถ้าเขาเป็นตํารวจ

จากตัวอย่างข้างต้นนี้ เราอาจสรุปกระบวนการรับรู้จะเกิดได้จะต้องมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้

1. มีสิ่งเร้า ( Stimulus ) ที่จะทําให้เกิด การรรับรู ้เช่น สถานการณ์ เหตุการณ ์สิ่งแวดล้อม รอบกาย ที่เป็น คน

สัตว ์และ สิ่งของ

2. ประสาทสัมผัส ( Sense Organs ) ที่ทําให้เกิดความรู้สึกสัมผัส เช่น ตาด ูหูฟัง จมูกได ้กลิ่น ลิ้นรู้รส

และผิวหนังรู้ร้อน หนาว

3. ประสบการณ์ หรือความรู้เดิมที่เกี่ยวข้องกับสิ่งเร้าที่เราสัมผัส

4. การแปลความหมายของสิ่งที่เราสัมผัส สิ่งที่เคยพบเห็นมาแล้วยอ่มจะอยู่ในความทรงจําของสมอง

เมื่อบุคคล ได้รับสิ่งเร้า สมองก็จะทําหน้าที่ทบทวนกับความรู้ที่มีอยู่เดิมว่า สิ่งเร้านั้นคืออะไร

เมื่อมนุษย์เราถูกเร้าโดยสิ่งแวดล้อม ก็จะเกิดความรู้สึกจากการสัมผัส (Sensation) โดยอาศัยอวัยวะสัมผัสทั้ง

5 คือ ตาทําหน้า ที่ดูคือ มองเห็น หูทําหน้าที่ฟังคือ ได้ยิน ลิ้นทําหน้าที่รู้รส จมูก ทําหน้าที่ดมคือได้กลิ่น

ผิวหนังทํา หน้าที่สัมผัสคือรู้สึกได้อย่างถูกต้อง กระบวนการรับรู ้ก็สมบูรณ์แต่จริงๆ

แล้วยังมีการสัมผัสภายในอีก 3 อย่าง ด้วยที่จะช่วยให้เรารับสัมผัสสิ่งต่างๆ

ลําดับขั้นของกระบวนการรับรู้

การรับรู้จะเกิดขึ้นได ้ต้องเป็นไปตามขั้นตอนของกระบวนการดังนี้

ขั้นที ่1 สิ่งเร้า (Stimulus) มากระทบอวัยวะสัม ผัสของอินทรีย ์

ขั้นที ่2 กระแสประสาทสัมผัสวิ่งไปยังระบบประสาทส่วนกลาง

ซึ่งมีศูนย์อยู่ที่สมองเพื่อสั่งการตรงนี้เกิดการรับรู ้(Perception)

ขัน้ที่ 3 สมองแปลความหมายออกมาเป็นความรู้ความเข้าใจโดยอาศัยความรู้เดิม ประสบการณ์เดิม

ความจำ เจตคติ ความต้องการ ปทัสถาน บุคลิกภาพ เชาวน์ปัญญา ทําให้เกิดการตอบสนองอย่างใดอย่างหนึ่ง

การรับรู ้(Perception)

กลไกของการรับรู้

กลไกการรับรู้เกิดขึ้นจากทั้ง สิ่งเร้าภายนอกและภายในอินทรีย ์มีอิทธิพลต่อพฤติกรรม อวัยวะรับ

สัมผัส (Sensory organ) เป็น เครื่องรับสิ่งเร้าของมนุษย ์ส่วนที่รับความรู้สึกของอวัยวะรับสัมผัสอาจอยู่ลึก

เข้าไปข้างใน มองจากภายนอกไม่เห็นอวัยวะรับ สัมผัส แต่ละอย่างมีประสาทรับสัมผัส (Sensory nerve)

ช่วยเชื่อมอวัยวะรับสัมผัส กับเขตแดนการรับสัมผัสต่าง ๆ ที่สมองและส่ง ผ่านประสาทมอเตอร ์(Motor

nerve) ไปสู่อวัยวะมอเตอร ์(Motor organ) ซึ่งประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อและต่อมต่างๆทําให้เกิดปฏิกิริยาตอบ

  15

สนองของอวัยวะมอเตอร์ และจะออกมาในรูปใดขึ้นอยู่กับ การบังคับบัญชาของระบบประสาท ส่วนสาเหต ุ

ที่มนุษย์เราสามารถไวต่อความรู้สึกก็เพราะเซลล์ประสาทของประสาทรับสัมผัส แบ่งแยกแตกออกเป็นกิ่ง

ก้านแผ่ไป ติดต่อกับอวัยวะรับสัมผัส และที่อวัยวะรับ สัมผัสมีเซลรับสัมผัส ที่มีคุณสมบัติเฉพาะตัวจึง

สามารถทําให้มนุษย์รับสัมผัสได้ จิตใจติดต่อกับโลกภายนอกได้โดยการสัมผัส คนตาบอดแม้อธิบายให้ฟังว่า

สีแดง สีเขียวเป็นอย่างไร เขาก็จะเข้าใจให้ถูกต้องไม่ได้เลย เพราะเรื่องสีจะต้องรู้ด้วยตา เครื่องมือสัมผัสอย่าง

หนึ่งก็ทําหน้าที่อย่างหนึ่ง คนหูหนวกย่อมไม่รู้สึกถึงลีลาความไพเราะของเสียงเพลง ดังนั้นการสอนจึงเน้น

ว่า "ให้สอนโดยทางสัมผัส" การรับรู้นับว่า เป็นพื้นฐานสําคัญของการเรียนรู ้การรับรู้ที่ถูกต้องจึงจะส่งผลให ้

ได้รับความรู้ที่ถูกต้อง นักเรียนต้องได้การรับรู้ที่ถูกต้อง มิฉะนั้นความรู้ที่รับไปก็ผิดหมด อวัยวะสัมผัสกับ

การรับรู้มนุษย์ย่อมมีพฤตกิรรม สนองตอบสิ่งแวดล้อมกระบวนการของการรับรู้เป็นสิ่งแรกที่มนุษย์สนอง

ตอบต่อสิ่งแวดล้อม และระบบประสาท อวัยวะสัมผัส เป็นปัจจัยสําคัญของกระบวนการรับรู้ต้องมีความ

สมบูรณ์จึงจะสามารถ รับรู้สิ่งเร้าได้ดีเพราะ อวัยวะ สัมผัสรับสิ่งเร้า ที่มากระทบประสาทรับสัมผัสส่งกระ

แสประสาทไปยังสมอง เพื่อให้สมองแปลความหมายออกมา เกิดเป็นการรับรู ้และอวัยวะสัมผัสของมนุษย ์

มีขีดความสามารถจํากัด กลิ่นอ่อนเกินไป เสียงเบาเกินไป แสงน้อยเกินไปย่อมจะรับสัมผัสไม่ได ้ดังนั้น

ประเภท ขนาดคุณภาพของสิ่งเร้าจึงมีผลต่อการรับรู้และการตอบสนองสิ่งเร้า บางประเภทไม่สามารถกระ

ตุ้นอวัยวะสัมผัสของเราได ้เช่น คลื่นวิทย ุ

องค์ประกอบของการรับรู้

1.สิ่งเร้าได้แก่วัตถุแสงเสียงกลิ่นรสต่างๆ

2.อวัยวะรับสัมผัสได้แก่หูตาจมูกลิ้นผิวหนังถ้าไม่สมบูรณ์จะทําให้สูญเสียการรับรู้ได ้

3.ประสาทในการรับสัมผัสเป็นตัวกลางส่งกระแสประสาทจากอวัยวะรับสัมผัสไปยังสมองส่วน

กลางเพื่อการแปลความต่อไป

4.ประสบการณ์เดิมการรู้จักการจําได้ทําให้การรับรู้ได้ดีขึ้น

5.ค่านิยมทัศนคต ิ

6.ความใส่ใจความตั้งใจ

7.สภาพจิตใจอารมณ์เช่นการคาดหวังความดีใจเสียใจ

8.ความสามารถทางสติปัญญาทําให้รับรู้ได้เร็ว

การจัดระบบการรับรู้

มนุษย์เมื่อพบสิ่งเร้าไม่ได้รับรู้ตามที่สิ่งเร้าปรากฏแต่จะนํามาจัดระบบตามหลักดังนี ้

1. หลักแห่งความคล้ายคลึง ( Principle of similarity) สิ่งเร้าใดที่มีความคล้ายกันจะรับรู้ว่าเป็นพวก

เดียวกัน

2. หลักแห่งความใกล้ชิด (Principle of proximity ) สิ่งเร้าที่มีความใกล้กันจะรับรู้ว่าเป็นพวกเดียวกัน

3. หลักแห่งความสมบูรณ ์(Principle of closure) เป็นการรับรู้สิ่งที่ไม่สมบูรณ์ให้สมบูรณ์ขึ้น

ความคงที่ของการรับรู้ ( Perceptual constancy ) ความคงที่ในการรับรู้ม ี3 ประการ ได้แก ่

1. การคงที่ของขนาด

2. การคงที่ของรูปแบบรูปทรง

  16

3. การคงที่ของสีและแสงสว่าง

1.3 การวิเคราะห์ผู้รับสารตามหลักความต้องการของมนุษย์ของ Maslow

Maslow ได้แบ่งความต้องการ(needs)ของมนุษย์ออกเป็นหลายระดับ เราสามารถนําความต้องการ

แต่ละด้านของมนุษย์มาเป็นแนวทางการสร้างสารเพื่อให้ได้รับการตอบรับที่ด ี

ลําดับขั้นความต้องการของมาสโลว ์มักถูกนําเสนอโดยรูปพิระมิด ที่ความต้องการที่มากที่สุด

พื้นฐานที่สุดจะอยู่ข้างล่างและความต้องการความสมบูรณ์ของชีวิต (self-actualization) จะอยู่บนสุด

พิระมิดแบ่งออกเป็น 5 ชั้นคร่าวๆ ของความต้องการต่างๆ คือ

ความสมบูรณ์ของชีวิต (self-actualization), ความเคารพนับถือ (esteem), มิตรภาพและความรัก (friendship

and love), ความมั่นคงปลอดภัย (security), และความต้องการทางกายภาพ ถ้าความเคารพนับถือ, มิตรภาพ

และรัก หรือ ความมั่นคงปลอดภัย ขาดพร่องไป แม้ร่างกายจะไม่ได้แสดงอาการใดๆ ออกมาแต่บุคคลนั้นๆ

รู้สึกกระวนกระวายและเกร็งเครียด ทฤษฎีของมาสโลว์ยังบอกด้วยว่า ชั้นความต้องการที่พื้นฐานมากกว่า

หรืออยู่ข้างล่างของพิระมิด จะต้องได้รับการตอบสนองก่อนที่บุคคลจะเกิดความปรารถนาอย่างแรงกล้าต่อ

ความต้องการในระดับที่สูงขึ้นได ้

ความต้องการทางกายภาพ

ความต้องการทางกายภาพ เป็นความต้องการเพื่อจะอยู่รอดของมนุษย ์ถ้าความต้องการพื้นฐานที่สุด

นี้ไม่ได้รับการตอบสนอง ร่างกายของมนุษย์ก็ไม่สามารถทํางานได ้หรือไม่สามารถทํางานได้ด ีอากาศ น้ํา

อาหาร เป็นสิ่งที่ร่างกายต้องการเพื่อใช้ในกระบวนการสร้างและสลาย เพื่อให้มนุษย์สามารถมีชีวิตอยู่ได ้

เสื้อผ้าเครื่องนุ่นห่มและ ที่พัก จะให้การปกป้องที่จําเป็นกับมนุษย ์จากสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อม

สัญชาตญาณและความต้องการทางเพศ ถูกพัฒนามาจากการแข่งขันเพื่อโอกาสในการผสมและสืบพันธุ ์

ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย

เมื่อความต้องการทางกายภาพได้รับการตอบสนองในระดับที่พอเพียง ความต้องการความมั่นคง

ปลอดภัยจะมีอิทธิพลกับพฤติกรรม ถ้าไม่มีความปลอดภัยทางกายภาพ (จากสาเหตุ เช่น อาชญากรรม

สงคราม การก่อการร้าย ภัยพิบัติธรรมชาติ หรือ ความรุนแรงในครอบครัว) คนอาจมีอาการของความผิด

ปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ (post-traumatic stress disorder) และอาจมีส่งผ่านความเครียดนี้ไป

ยังคนรุ่นหลังได ้ถ้าไม่มีความปลอดภัยมั่นคงทางเศรษฐกิจ (จากสาเหตุ เช่น วิกฤติเศรษฐกิจ หรือ การขาด

โอกาสทางการงาน) ความต้องการความมั่นคงปลอดภัยนี ้อาจปรากฏออกมาในรูปของ การนิยมงานที่ม ี

ความมั่นคง กระบวนการร้องทุกข์เพื่อปกป้องบุคคลจากการกลั่นแกล้งของผู้บังคับบัญชา หรือ ปกป้องบัญชี

เงินฝาก เรียกร้องนโยบายประกันภัย ประกันสุขภาพ ประกันชีวิต ต่างๆ การเรียกร้องที่พักที่เหมาะสม

สําหรับคนพิการ เป็นต้น

ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย รวมถึง

- ความมั่นคงปลอดภัยส่วนบุคคล

- ความมั่นคงปลอดภัยทางการเงิน

- สุขภาพและความเป็นอยู ่

  17

- ระบบรับประกัน-ช่วยเหลือ ในกรณีของอุบัติเหตุ/ความเจ็บป่วย

ความรักและความเป็นเจ้าของ

เมื่อความต้องการทางกายภาพและความปลอดภัยได้รับการตอบสนองแล้ว ระดับขั้นที่สามของ

ความต้องการมนุษย์คือ ความต้องการเป็นเจ้าของ ความต้องการนี้จะรุนแรงมากในวัยเด็กและบางครั้งอาจ

จะชนะความต้องการความปลอดภัยได้ในบางครั้ง ดังเห็นได้จากการที่เด็กติดพ่อแม่ที่เป็นอันตราย ซึ่งบาง

ครั้งเรียกว่า "Stockholm syndrome" การขาดความรักและความเป็นเจ้าของ (อาจมาจาก การขาดความผูกพัน

จากผู้เลี้ยงดูขณะเป็นทารก (hospitalism) , การถูกทอดทิ้ง (neglect) , การถูกสังคมรังเกียจหรือกีดกัน

(shunning) , การถูกขับออกจากกลุ่ม (ostracism) เป็นต้น) อาจมีผลทําให้บุคคลไม่สามารถพัฒนาหรือรักษา

ความสัมพันธ์ที่สําคัญ (เช่น มิตรภาพ ความรัก ครอบครัว) ไว้ได ้

มนุษย์ต้องการที่จะรู้สึกเป็นเจ้าของและถูกยอมรับ ไม่ว่าจะเป็นในระดับกลุ่มสังคมใหญ ่เช่น สโมสร

กลุ่มศาสนา องค์กรสายอาชีพ ทีมกีฬา แก็งส ์หรือ ความสัมพันธ์ทางสังคมเล็กๆ (สมาชิกในครอบครัว คู่ชีวิต

พี่เลี้ยง เพื่อนสนิท) มนุษย์ต้องการที่จะรักและถูกรักจากคนอื่น ถ้าขาดความต้องการเรื่องนี้ไป หลายๆ คน

กลายเป็นคนขี้เหงา มีปัญหาการเข้าสังคม และ เป็นโรคซึมเศร้า ความต้องการเป็นเจ้าของนี ้บ่อยครั้งที ่

สามารถจะชนะความต้องการทางกายภาพและความมั่นคงปลอดภัยได ้ขึ้นกับแรงกดดันจากคนรอบข้าง

(peer pressure) เช่น คนที่มีอาการ anorexic (เบื่ออาหาร) อาจละเลยความต้องการอาหาร และความปลอดภัย

เพียงเพื่อได้ความต้องการควบคุมและเป็นเจ้าของ

ความเคารพนับถือ

มนุษย์ทุกคนต้องการที่จะได้รับการนับถือและเคารพให้เกียรต ิความเคารพนับถือแสดงถึงความต้อง

การของมนุษย์ที่จะได้รับการยอมรับและเห็นคุณค่าโดยคนอื่น คนต้องการที่จะทําอะไรจริงจังเพื่อจะได้รับ

การยอมรับนับถือและต้องการจะมีกิจกรรมที่ทําให้รู้สึกว่าเขาได้มีส่วนทําประโยชน ์เพื่อจะรู้สึกว่าตัวเองม ี

คุณค่า ไม่ว่าจะเป็นอาชีพ หรือ งานอดิเรก ความไม่สมดุลในความเคารพนับถือ อาจส่งผลให้มีความภาค

ภูมิใจในตนเองต่ําและรู้สึกต้อยต่ํา คนที่มีความภาคภูมิใจในตนเองต่ําต้องการการเคารพจากคนอื่นๆ เขาอาจ

พยายามแสวงหาความมีชื่อเสียง (ซึ่งขึ้นกับผู้อื่น) หมายเหต ุอย่างไรก็ตาม คนจํานวนมากที่มีความภาคภูมิใจ

ในตนเองต่ํา ไม่สามารถที่จะแก้ไขความภาคภูมิใจตัวเองได้ง่ายๆโดยการมีชื่อเสียง ได้รับความเคารพจากภาย

นอก แต่ต้องยอมรับตัวเองจากภายใน ความไม่สมดุลทางจิต เช่น โรคซึมเศร้า อาจทําให้ผู้ป่วยไม่สามารถม ี

ความภาคภูมิใจในตนเอง (self-esteem) ได้

คนส่วนใหญ่มีความต้องการความเคารพและความภาคภูมิในในตนเองที่มั่นคง มาสโลว์ได้กล่าวถึง

ต้องการความเคารพนับถือใน 2 ระดับ คอื ระดับล่าง กับ ระดับสูง ระดับล่าง เป็นความต้องการความนับถือ

จากคนอื่น ความต้องการสถานะ การยอมรับ ชื่อเสียง ศักดิ์ศรี และ ความสนใจ ระดับสูง เป็นความต้องการ

ความเคารพตัวเอง ความต้องการความแข็งแกร่ง ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ ความมั่นใจในตัวเอง

ความเป็นตัวของตัวเอง และ อิสระ ที่ความต้องการเหล่านี้จัดเป็นระดับสูง ก็เพราะว่า มันขึ้นกับความ

สามารถภายในมากกว่า ซึ่งได้มาโดยผ่านประสบการณ์การขาดความต้องการเหล่านี ้ อาจทําให้ความรู้สึกต่ํา

ต้อย อ่อนแอ และช่วยตัวเองไม่ได ้หมดหนทาง

มาสโลว์ได้หมายเหตุไว้ว่าการแบ่งขั้นความต้องการความเคารพนับถือระดับล่างกับสูงนี้เกี่ยวข้องกัน

มากกว่าที่จะเป็นการแบ่งแยกกันอย่างชัดเจน

  18

ความสมบูรณ์ของชีวิต

“ อะไรที่บุคคลเป็นได ้เขาต้องเป็น ” (“What a man can be, he must be.”) เป็นคํากล่าวของมาสโลว ์

ที่สรุปความหมายของความต้องการความสมบรูณ์ของชีวิตไว้ ความต้องการนี ้เกี่ยวกับ ศักยภาพสูงสุดของ

บุคคล และ การตระหนักถึงศักยภาพนั้น มาสโลว์อธิบายว่านี้คือความต้องการที่ปรารถนาจะเป็นมากกว่าที ่

เขาเป็นอยู ่เป็นความปรารถนาที่จะเป็นทุกๆอย่างที่เขาจะสามารถเป็นได ้เพื่อที่จะเข้าใจความต้องการความ

สมบูรณ์ของชีวิตได้ บุคคลจะต้องได้รับการตอบสนองความต้องการอื่นๆ (กายภาพ ความปลอดภัย ความรัก

ความเคารพนับถือ) อย่างดีแล้วก่อน

1.4 หลักและทฤษฎีในการออกแบบ

1. เส้น

เส้นก็คือ การที่จุดหลาย ๆ จุด ถูกนํามาวางต่อเนื่องจนกลายเป็นเส้นรูปทรงต่าง ๆ ขึ้นมา รูปทรง

ของเส้นที่จะสื่อออกมาถึงความรู้สึกที่แตกต่างกันออกไป

• เส้นแนวนอน ให้ความรู้สึกสงบ ราบเรียบ

• เส้นตรงแนวตั้ง ให้ความรู้สึกมั่นคงแข็งแรง

• เส้นทแยง ให้ความรู้สึกไม่มั่นคง รวดเร็ว แสดงถึงเคลื่อนไหว

• เส้นตัดกัน ให้ความรู้สึกประสาน แข็งแกร่ง หนาแน่น

• เส้นโค้ง ให้ความรู้สึกอ่อนช้อย อ้อนน้อม

• เส้นประ ให้ความรู้สึก โปร่ง ไม่สมบูรณ์หรือในบางกรณีอาจจะใช้เป็นสัญลักษณ์ในการแสดงถึง

ส่วนที่ถูกซ้อนเอาไว ้

• เส้นโค้งก้นหอย ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหวไม่มีที่สิ้นสุด

• เส้นโค้งแบบคลื่น ให้ความรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวอย่างนิ่มนวล

• เส้นซิกแซ็ก ให้ความรู้สึก น่ากลัว อันตราย

ส่วนใหญ่แล้วเส้นจะมีอยู่ทุกๆ งานออกแบบ โดยถูกนําไปใช้ร่วมกับองค์ประกอบต่างๆ จนสื่อถึง

อารมณ์ของผลงานออกมาได้ในแบบที่ต้องการ ดังนั้น การเลือกใช้เส้นเข้ามาเป็นส่วนประกอบในงานของ

เราจึงถือว่าเป็นสิ่งที่ต้อง คํานึงถึงเป็นอันดับแรก

2. รูปร่าง และรูปทรง

รูปร่าง (Shape) คือ รูปแบน ๆ ม ี2 มิต ิมีความกว้างกับความยาว ไม่มีความหนาเกิดจากเส้นรอบ

นอกที่แสดง พื้นที่ขอบเขตของรูปต่าง ๆ เช่น รูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม หรือ รูปอิสระที่แสดงเนื้อที่ของผิว

ที่เป็นระนาบมากกว่า แสดงปริมาตรหรือมวล

รูปทรง (Form) คือ รูปที่ลักษณะเป็น 3 มิต ิโดยนอกจากจะแสดงความกว้าง ความยาวแล้ว ยังม ี

ความลึก หรือ ความหนานูนด้วยเช่นรูปทรงกลม ทรงสามเหลี่ยมทรงกระบอกเป็นต็น ให้ความรู้สึกม ี

ปริมาตร ความหนา แน่น มีมวลสาร ที่เกิดจากการใช้ค่านฎ้าหนัก หรือการจัดองค์ประกอบของรูปทรง

หลายรูปรวมกัน

รูปร่างและรูปทรงที่มีอยู่ในงานศิลปะม ี3 ลักษณะ คือ

  19

รูปเรขาคณิต (Geometric Form) มีรูปที่แน่นอน มาตรฐาน สามารถ วัดหรือ คํานวณได้ง่าย มีกฎ

เกณฑ์ เกิดจากการสร้างของมนุษย ์เช่น รูปสี่เหลี่ยม รูปวงกลม รูปวงร ีนอกจากนี้ยังรวมถึงรูปทรงของ

สิ่งที่มนุษย ์ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นอย่างมีแบบแผน แน่นอน เช่น รถยนต์ เครื่องจักรกล เครื่องบิน สิ่งของ

เครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ผลิตโดยระบบอุตสาหกรรม ก็จัดเป็นรูปเรขาคณิต เช่นกัน รูปเรขาคณิตเป็นรูป ที่ให้โครง

สร้างพื้น ฐานของรูปต่าง ๆ ดังนั้นการสร้างสรรค์รูปอื่น ๆ ควรศึกษารูปเรขาคณิต ให้เข้าใจถ่องแท้เสียก่อน

รูปอินทรีย ์(Organic Form) เป็นรูปของสิ่งที่มีชีวิต หรือ คล้ายกับสิ่งมีชีวิตที่สามารถเจริญเติบโต

เคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนแปลงรูปได ้เช่น รูปของคน สตัว ์พืช

รูปอิสระ (Free Form) เป็นรูปที่ไม่ใช่แบบเรขาคณิตหรือแบบอินทรีย ์แต่เกิดขึ้นอย่างอิสระไม่มีโครง

สร้างที่แน่นอน ซึ่งเป็นไปตามอิทธิพลและการกระทําจากสิ่งแวดล้อม เช่น รูปก้อนเมฆ ก้อนหิน หยดน้ํา

ควัน ซึ่งให้ความรู้สึกที่เคลื่อนไหว มีพลัง รูปอิสระจะมีลักษณะขัดแย้งกับรูปเรขาคณิต แต่กลมกลืน

กับรูปอินทรีย ์รูปอิสระอาจเกิดจากรูป เรขาคณิตหรือรูปอินทรีย์ที่ถูกกระทํา จนมีรูปลักษณะเปลี่ยนไปจาก

เดิมจนไม่เหลือสภาพ เช่น รถยนต์ที่ถูกชนจนยับเยินทั้งคัน เครื่องบินตก ตอไม้ที่ถูกเผาทําลาย หรือซากสัตว ์

ที่เน่าเปื่อยผุพัง

3. พื้นผิว

พื้นผิว หมายถึงบริเวณผิวนอกของสิ่งต่าง ๆ ที่ปรากฎให้เห็น รับรู้ได้ด้วยการ รับสัมผัสทางตาและ

กายสัมผัส ก่อให้เกิดความรู้สึกใน ลักษณะต่าง ๆ กัน เช่น หยาบ ละเอียด มัน วาว ด้าน และขรุขระ พื้นผิว

เป็นส่วนประกอบ (Element) ที่สําคัญของศิลปะอันหนึ่ง ที่ถูกนํา มาใช้สร้างสรรค์ทัศนศิลป ์เพราะพื้นผิว

สามารถก่อให้เกิดปฎิกิริยาทางด้านความรู้สึก รับรู้ได้ด้วยการรับสัมผัสทางตา และจับต้องได้ทางกายสัมผัส

ในงานออกแบบกราฟิก พื้นผิวจะเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบที่ช่วยสื่ออารมณ์ของงานออกมาได้ชัดเจนมากขึ้น

เช่น ถ้าเราเลอืกใส่ลวดลายที่ดูคล้าย ๆ สนิม หรือรอยเปื้อนลงไปในงานก็จะสื่อได้ทันทีถึง “ความเก่า”

ดังนั้นในการทํางานจึงควรเลือกสร้างพื้นผิวทั้งในองค์ประกอบต่าง ๆ ที่ใส่ลงไปในภาพรวมทั้งวัสดุที่ใช้พิมพ ์

งานดัง กล่าวลงไป ก็จะสามารถช่วยสื่อความหมายที่ต้องการได้อย่างเหมาะสม

4. ส ี

หลักการใช้สีสื่อความรู้สึก

สีแดง: ให้ความรู้สึกของการมีพละกําลัง ความก้าวร้าว รุนแรง รวดเร็ว และปราดเปรียว จึงนิยมใช ้

เป็นสีสําหรับรถยนตฺสปอรฺต เสื้อทีม สําหรับนักกีฬา นอกจากนั้น สีแดงยังเป็นสีที่แทนความรู้สึก รักชาติ

ความเป็นชาตนิยม จึงมักจะพบว่าสีแดงเป็นสีประจําชาติของหลายชาต ิและสีแดงยังใช้เป็นสัญลักษณ์ของ

ความรัก ตลอดจนอารมณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับความเร่าร้อน ความขัดแย้ง ทะเลาะวิวาทและ อันตราย เป็นต้น

สีน้ํางิน: ให้ความรู้สึกเยือกเย็น เงียบสงบ ความรับผิดชอบ ความจริงใจ สีนฎ้าเงินเข้มมักเป็นสีที่นัก

บริหาร ชั้นสูงเลือกใช้เป็นสีของรถ

สีน้ําเงินอ่อนหรือสีฟ้า: มักทําให้นึกถึงความสะอาด ความเย็น และผ่อนคลาย มักใช้เป็นสีพื้นหลัง

บรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ที่ให้ความรู้สึกเย็นและความชุ่มชื่น เช่น ลูกอมที่มีเมนทอลผสม เป็นต้น

  20

สีเหลือง: เป็นสีที่มีความสว่างสีสูงสีเหลืองที่สดใสเป็นสัญลักษณ์ของดวงอาทิตย ์ให้ความรู้สึก

อบอุ่น ความสนุกสนานร่าเริง ความใหม ่ความทันสมัยสุขภาพที่ด ีแต่ถ้าเป็นสีเหลืองหม่นจะให้ความรู้สึก

ถึงความขี้ขลาด ความอ่อนแอโรคภัยไข้เจ็บ

สีเขียว: ให้ความรู้สึกผ่อนคลาย สงบ แต่ให้ความรู้สึกสดชื่นความมีชีวิตชีวา การเติบโต ความเป็น

ธรรมชาติ นิยมใช้เป็นสีสําหรับสินค้าที่ปลอดสารเคม ีหรือการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

สีม่วง: ให้ความรู้สึกความมีอํานาจของสีแดงและความมีคุณธรรมรับผิดชอบของสีน้ําเงิน สีม่วง

มักจะให้ความรู้สึกยิ่งใหญ ่ความหรูหราโอ่อ่า และความประทับใจ

สีขาว: ให้ความรู้สึกโปร่งเบา ละเอียดอ่อน บริสุทธิ ์ความดีงาม ความมีคุณธรรม การใช้ธงขาวจะ

หมายถึง การยอมแพ้ สงบศึก ในบางประเทศใช้ สีขาวแสดงถึงความเศร้าโศก การพลัดพราก

สีดํา: ให้ความรู้สึกหดหู ่เคร่งขรึม ลึกลับ น่ากลัว ชั่วรา้ย ความเป็นอมตะ ในบางประเทศใช้สีดํา

แสดงถึงความเศร้าหมอง ความตาย

5. ตัวอักษร

ตัวอักษรที่เราใช้งานกันอยู่ในปัจจุบันจะแบ่งออกเป็น 4 รูปแบบใหญ ่ๆ คือ

แบบ Serif ดูเป็นระเบียบ เป็นทางการ เหมาะจะใช้ในงานที่เป็นทางการ และ ต้องการความน่า

เชื่อถือ

แบบ San Serif อ่านง่าย ดูทันสมัยมากกว่าแบบอื่น ๆ เหมาะจะใช้ในงานที่ต้องการความทันสมัย

ไม่เป็นทางการมากนัก

แบบ Antique เหมาะกับงานที่ต้องการแสดงความชัดเจนของยุคสมัย

แบบ Script เหมาะกับงานที่ไม่เป็นทางการ ต้องการความเป็นกันเองและดูสนุกสนานมากกว่าแบบ

อื่นๆ หรือในบางกรณ ีFont แบบนี้จะใช้ในงานที ่ต้องการข้อความที่ดูเหมือนลายมือเขียน

การเลือกตัวอักษรไปใช้ในงานออกแบบ

การเลือก Font ไปใช้ในงานออกแบบมีข้อควรคํานึงอยู ่2 ข้อคือ

1. ความหมายต้องเข้ากัน ความหมายของคําและ Font ที่เลือกใช้ควรจะไปด้วย กันได้ เช่น คําว่า

น่ารักก็ควรจะใช ้Font ที่ดูน่ารักไปด้วย ไม่ควรใช ้Font ที่ดูเป็นทางการ

2. อารมณ์ของฟอนต์ และอารมณ์ของงานต้องไปในทิศทางเดียวกัน เช่น งานที่ ต้องการความ

น่าเชื่อถือก็จะเลือกใช ้Font แบบ Serif ที่ดูหนักแน่นน่าเชื่อถือ ส่วนงานที่ต้องการความฉูดฉาดอย่าง

โปสเตอร์ลดราคาก็ควรจะเลอืกใช้ Font ที่ เป็นกันเองไม่เป็นทางการมากนักอย่าง Font ในกลุ่ม Script เป็นต้น

การวางตําแหน่งตัวอักษร

เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่มีความสําคัญกับการทํางาน สําหรับการวางตําแหน่งตัวอักษร

มีข้อควรคํานึงถึงไว้ให้อยู ่3 ข้อ คือ

• ธรรมชาติการอ่านของคนไทยจะอ่านจากซเายไปขวา และบนลงล่าง โดยมีรัศมีการกวาดสายตา

ตามลําดับ ดังนั้น ถ้าอยากให้อ่านง่าย ควรจะวางเรียงลําดับให้ดีด้วย ไม่เช่นนั้นจะเป็นการอ่านข้ามไปข้ามมา

ทําให้เสียความหมายของข้อความไป

  21

• จุดเด่นควรจะมีเพียงจุดเดียว หรือพูดง่าย ๆ กค็ือ มีตัวอักษรตัวใหญ่ๆ อยู่เพียงชุดเดียว จึงจะเป็น

จุดเด่นที่มองเห็นได้ง่าย ไม่สับสน ส่วนจุดอื่น ๆ ขนาดควรจะเล็กลงมาตามลําดับความสําคัญ

• ไม่ควรใช ้Font หลากหลายรูปแบบเกินไป จะทําให้กลายเป็นงานที่อ่านยากและชวนปวดศรีษะ

มากกว่าชวนอ่าน ถ้าจําเป็นจริง ๆ แนะนําให้ใช ้Font เดิมแต่ไม่ตกแต่งพวกขนาด, ความหนาหรือกําหนด

ให้เอียงบ้าง เพื่อเพิ่มความน่าสนใจไม่ให้งานดูน่าเบื่อแบบนี้จะดีกว่า

  22

บทที่ 3

วิธีการจัดทําโครงงาน

วัสดุและอุปกรณ์

วัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดทําโครงงาน ได้แก ่

1. เครื่องคอมพิวเตอร ์

วิธีการจัดทําโครงงาน

1. ทำการสมัครอีเมล์ของ Hotmail

วิธีการสมัครอีเมล์ของ Hotmail

1.1 ให้ทําการเข้าไปที่ https://login.live.com หรือ http://hotmail.com

1.2 เมื่อเข้ามาถึงหน้าเว็บล๊อกอินของ Hotmail แล้วตาม ข้อ 1.1 ให้เราทําการคลิกที ่ลงทะเบียน

เดี๋ยวนี ้

  23

1.3. เมื่อทําการคลิกที ่ลงทะเบียนเดี๋ยวนี ้ตามข้อ2 แล้วก็จะมาในหน้าต่างการสมัคร ให้เราทํา

การกรอกข้อมูลการสมัครให้ครบถ้วน

– หมายเลข 1 จะเป็น ให้เราทำการกรอก ชื่อ – นามสกุล

– หมายเลข 2 จะเป็น ให้เราทําการกรอก (วัน/เดือน/ป ีพ.ศ.) ปีเกิด

– หมายเลข 3 จะเป็น ให้เราทําการเลือก เพศ โดยจะมีให้เลือก 1. ชาย 2. หญิง 3. ไม่ระบ ุ

– หมายเลข 4 จะเป็น ให้เราทําการตั้ง ชื่อบัญชี หรือ สร้างชื่อของอีเมล์ ในส่วนข้างหลัง @

นั้นเราสามารถทําการเลือกได ้โดยจะมีให้เราเลือกคือ

1. [email protected]

2. [email protected]

3. [email protected]

4. [email protected]

5. [email protected]

– หมายเลข 5 จะเป็น ให้เราทําการสร้างรหัสผ่าน ของอีเมล์รหัสผ่านต้องมีตัวพิมพ์ใหญ่เล็ก

ตัวเลขและสัญลักษณ์ผสมกัน

– หมายเลข 6 จะเป็น ให้เราทําการป้อนรหัสผ่านอีกครัง้เพื่อยืนยัน

– หมายเลข 7 จะเป็น ให้เราทําการเลือกหมายเลขโทรศัพท์ของแต่ละประเทศ ในที่นี้ให้เลือก

ไทย (+66) สําหรับคนที่อยู่ประเทศไทย

– หมายเลข 8 จะเป็น ให้เราทําการกรอกเบอร์โทรศัพท ์อาทิเช่น 0842231xxx เป็นต้น

  24

– หมายเลข 9 จะเป็น ให้เราทําการกรอกอีเมล์แอดเดรสสํารอง หรือ อีเมล์ต่างบัญชี ใช้สําหรับ

หากลืมรหัสผ่าน

จากนั้นให้ทําการคลิกที่หรือ เลือกคําถามรักษาความปลอดภัย เพื่อทําการตั้งคําถาม ใช้สําหรับ

หากลืมรหัสผ่าน

1.4 ทําการกรอกข้อมูลการสมัครอีเมล์ต่อจาก ข้อ3

– หมายเลข 1 จะเป็น ให้เราทําการตั้งคําถาม โดยจะมีให้เลือกอยู่ด้วยกัน 6 คำถาม

1. สถานที่เกิดของมารดา?

2. เพื่อนสนัทในวัยเด็ก?

3. ชื่อของสัตว์เลี้ยงตัวแรก?

4. คุณครูที่ชื่นชอบ?

  25

5. บุคคลในประวัติศาสตร์ที่ชื่นชอบ?

6. อาชีพของคุณปู่?

– หมายเลข 2 จะเป็น ให้เราทําการตั้งคําตอบของคําถามด้านบน ให้ตั้งอย่างน้อย 5 อักขระ

– หมายเลข 3 จะเป็น ให้เราทําการเลือก ประเทศ หรือ ภูมิภาคของตน ให้ทําการเลือก ไทย

ถ้าเป็นคนไทย

– หมายเลข 4 จะเป็น ให้เราทําการกรอก รหัสไปรษณีย ์ของที่อยู่ปัจจุบัน

– หมายเลข 5 จะเป็น ให้เราป้อนอักขระ ตามภาพด้านบน เพื่อให้แน่ใจว่าคุณไม่ใช่หุ่นยนต ์

จากนั้นพอกรอกข้อมูลเสร็จเรียบร้อยแล้วให้เราทําการคลิกที ่ยอมรับ เพื่อทําการสมัครอีเมล ์

1.5 เมื่อมาถึงในหน้านี ้ทําการอ่านข้อความเสร็จเรียบร้อยแล้วให้ทําการคลิกที ่ดําเนินการ

ต่อในกล่องขาเข้า

1.6 เท่านี้การสมัครอีเมล ์ของ Hotmail.com ก็เป็นอันเสร็จสิ้น

  26

2. ทําการสมัคร WordPress.com เพื่อเข้าใช้งานบล็อกฟร ี

2.1 เข้าไปที ่www.WordPress.com เพื่อทําการสมัคร

1.2 ทำการกรอกที่อยู่เว็บที่เราจะใช ้

  27

1.3 กรอกข้อมูลการสมัคร E-mail Username และ Password ให้เรียบร้อย

1.4 ในส่วนนี้ เราสามารถเพิ่มคีย์เวิส์ดคํา เมื่อเวลาเราพิมพ์คีย์เวิส์ดที่เราต้องการ มันก็จะเจอ

บล็อกของเราทันที

  28

1.5 ในขั้นตอนนี้จะเป็นส่วนของการเลือก Theme หรือรูปแบบหน้าจอบล็อกของเรา ซึ่ง

ทาง WordPress มีให้เราเลือกมากมาย ทั้งแบบฟรีและเสียเงิน

1.6 ในขั้นตอนนี้เราจะเลือกสมัตรใช้งานแบบฟรี ถ้าหากว่าอยากอัพเกรดก็จะเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม

ขึ้นมา โดยมีทั้งแบบ Premium และแบบ Business

  29

1.7 ขั้นตอนสุดท้าย ระบบจะเข้ามาที่หน้าเว็บของฉัน ในส่วนนี้เราสามารถโพสต์บทความลง

ในบล็อก และก็สามารถตั้งค่าการทํางานในส่วนอื่นๆ ได้อีก

1.8 เท่านี้การสมัครอีเมล์ ของ WordPress ก็เป็นอันเสร็จสิ้น

1.9 ลิ้งค์ชิ้นงานสื่อออนไลน์ https://inpatt.wordpress.com

  30

บทที่ 4

ผลการทดสอบประสิทธิภาพสื่อ

การจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์การพัฒนาการพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ด้วย

Wordpress เรื่อง การออกแบบสาร นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาสื่อการเรียนการสอนออนไลนด์้วย

Wordpress และ ค้นคว้าเรื่องที่สนใจเกี่ยวกับ การออกแบบสาร เพื่อให้ผู้จัดทำโครงงานสามารถนำมา

ประยุกต์ใช้ให้เข้ากับ การเรียนรู้ของตนเองมากยิ่งขึ้น ตลอดจนสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ ระหว่างคร ู

เพื่อนและผู้สนใจทั่วไป ซึ่งมีผลการดําเนินงานโครงงาน ดังนี้

สัญญลักษณ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันในการนําเสนอและการแปลความหมายของผลการวิเคราะห์ข้อมูล จึง

กําหนดสัญลักษณ์และอักษรย่อที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี ้

n แทน จำนวนกลุ่มตวัอย่าง

𝑥 แทน ค่าเฉลี่ยคะแนนก่อนเรียน / ค่าเฉลี่ยคะแนนหลงัเรียน

S.D. แทน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนก่อนเรียน / ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของ

คะแนนหลงัเรียน t แทน ค่าสถิติทดสอบที

p แทน ค่าระดับนัยสาคญัของการทดสอบ

การนำเสนอผลการวิเคาะห์ข้อมูล

1. การหาประสิทธิภาพของสื่อ เรื่อง การพัฒนาการพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ด้วย

Wordpress เรื่อง การออกแบบสาร ระดับปริญญาตรี มหาวทิยาลัยบูรพา ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 90/90

2. การวเิคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตมหาวทิยาลยับูรพา คณะศึกษาศาสตร์

สาขา เทคโนโลยกีารศึกษาปีที ่1 ก่อนและหลงัเรียนดว้ยสื่อการพัฒนาการพัฒนาบทเรียนบนเครือข่าย

อินเตอร์เน็ต ด้วย Wordpress เรื่อง การออกแบบสาร ระดับปริญญาตรี มหาวทิยาลัยบูรพา

วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม

1. ผู้เรียนสามารถอธิบายความหมายของการพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได ้

2. ผู้เรียนสามารถอธิบายความหมายของการออกแบบสาร (Message Design) ได้

3. ผู้เรียนสารมารถนําบทเรียน หลักการและทฤษฏีการออกแบบสารไปใช้ในชีวิตประจําวันได ้

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

1. การคํานวณค่าประสิทธิภาพสื่อ

  31

ตารางที่ 1 คํานวณค่าประสิทธิภาพบทเรียนสื่อวีดิทัศน์ช่วยสอนเรื่อง เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

นักเรียน การรับรู้ การวิเคราะห์ผู้รับสาร การสื่อสาร

หลักและทฤษฏ ี

ในการออกแบบ ผล

นักเรียน

ที่ผ่าน

เกณฑ์ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 รวม

1 ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü 20 ผ่าน

2 ü ü ü ü û ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü û ü ü ü ü 18 ผ่าน

3 ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü û ü 20 ผ่าน

4 ü û ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü 19 ผ่าน

5 ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü û ü ü ü ü ü ü û ü ü 18 ผ่าน

6 ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü 20 ผ่าน

7 ü ü ü ü ü û ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü 19 ผ่าน

8 ü ü ü ü û ü ü ü ü û ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü 18 ผ่าน

9 ü ü ü ü ü ü û ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü 19 ผ่าน

10 ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü 20 ผ่าน

11 ü ü û ü ü ü ü ü ü ü ü ü û ü ü ü ü ü ü ü 18 ผ่าน

12 ü û ü ü ü ü ü ü ü û ü ü ü ü ü ü ü ü û ü 17 ไม่ผ่าน

13 ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü û ü ü ü ü ü ü 19 ผ่าน

14 ü ü ü ü ü ü û ü ü ü ü ü ü ü ü ü û ü ü ü 18 ผ่าน

15 û ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü 19 ผ่าน

16 ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü 20 ผ่าน

17 ü ü ü ü ü ü ü û ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü 19 ผ่าน

18 ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü 20 ผ่าน

19 ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü û ü ü ü ü ü ü ü ü 19 ผ่าน

20 ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü ü 20 ผ่าน

จากตาราง พบว่า ;

ผลรวมคะแนนของนักเรียนคือ 380

จํานวนนักเรียนที่ทําแบบทดสอบ คือ 20 คน

คะแนนเต็มของชุดข้อสอบ คือ 20 คน

จํานวนนักเรียนที่ผ่านทุกเกณฑ์วัตถุประสงค์ มีจํานวน 18 คน

สามารถนํามาวิเคราะห์เกณฑ์มาตรฐาน 90/90 ได้ดังนี้

90 ตัวแรก = {(∑X/n)×100)}/R

= {(380/20)×100)}/20

= 95

90 ตัวหลัง = (Y×100)/N

  32

= (19×100)/20

= 95

จากผลการวิเคราะห์ สามารถนํามาเปรียบเทียบตามเกณฑ์มาตรฐาน 90/90 ดังตารางนี้

90 ตัวแรก 90 ตัวหลัง

95 95

จะเห็นได้ว่า จากผลวิเคราะห์ค่าประสิทธิภาพของสื่อบทเรียนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ด้วย Word

press เรื่อง การออก แบบสาร (Message Design) ตามเกณฑ์มาตรฐาน 90/90 คือ 95/95

จึงสรุปได้ว่า ประสิทธิภาพของสื่อสื่อบทเรียนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ด้วย Word press เรื่อง

การออก แบบสาร (Message Design) สําหรับนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา นั้นมีประสิทธิภาพ

ตามเกณฑ์มาตรฐาน 90/90

2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ นิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา คณะศึกษาศาสตร์ สาขา

เทคโนโลยีการศึกษา ก่อนและหลังเรียนด้วยสื่อบทเรียนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ด้วย Word press เรื่อง

การออกแบบสาร (Message Design) มีดังนี้

ผลการทดสอบ n คะแนนเต็ม x ̄ S.D. t

ก่อนเรียน 20 20 18.45 1.19 18.98*

หลังเรียน 20 20 19 9.979

*p < 0.05

จากตารางพบว่า นิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา คณะศึกษาศาสตร์ สาขาเทคโนโลยีการศึกษา ที่ได้รับกิจ

กรรมการเรียนการสอนจากสื่อบทเรียนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ด้วย Word press เรื่อง การออกแบบสาร

(Message Design) สําหรับนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน

หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

  33

บทที่ 5

สรุปผลการดําเนินงานและข้อเสนอะแนะ

ในการศึกษาค้นคว้าข้อมูล เรื่อง โครงงานคอมพิวเตอร ์การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

ด้วย Word press เรื่อง การออกแบบสาร (Message Design) สาขาเทคโนโลยีการศึกษา ระดับ ปริญญาตรี

มหาวิทยาลัยบูรพา สามารถสรุปผลการพัฒนาสื่อได้ ดังนี ้

สรุปผลการดําเนินโครงงาน

จากการทดลอง สามารถอภิปรายผลการวิจัย ได้ดังนี ้

1. การหาประสิทธิภาพของสื่อโครงงานคอมพิวเตอร์ การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

ด้วย Word press เรื่อง การออกแบบสาร (Message Design) ระดับ ปริญญาตรีมหาวิทยาลยับูรพา ที่สร้าง

ขึ้นตามเกณฑ์มาตรฐาน 90/90 พบว่า

โครงงานคอมพิวเตอร ์การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ด้วย Word press เรื่อง การออก

แบบสาร (Message Design) ภาควชิาเทคโนโลยกีารศึกษา ระดับปริญญาตรี มหาวทิยาลยับูรพา มีประสิทธ ิ

ภาพ 95/95 หมายความว่าโครงงานคอมพิวเตอร ์การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ด้วย Word

press เรื่อง การออกแบบสาร (Message Design) ทําให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และหลังจากที่ผู้เรียน ได้เรียน

ด้วยสื่อโครงงานคอมพิวเตอร ์การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ด้วย Word press เรื่อง การออก

แบบสาร (Message Design) แล้ว ทําให้พฤติกรรมของผู้เรียนเปลี่ยนไป 95/95 แสดงว่า โครงงานคอมพิว

เตอร์ การพัฒนาบทเรียนบนเครือ ข่ายอินเตอร์เน็ต ด้วย Word press เรื่อง การออกแบบสาร (Message

Design) ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา มีประสิทธิภาพสงูกว่า เกณฑ์ซึ่ง

กําหนดไว้ 90/90 ถือว่า เป็นสื่อที่มีประสิทธิภาพสามารถนําไปใช้เป็นบทเรียนได้ เป็นสื่อที่ทันสมัย ส่งเสริม

การเรียนรู้แบบเอกัตบุคคล ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองโดยไม่จํากัดเวลา สถานที่ สามารถ เรียนรู้ได้

ตามความต้องการและรวดเร็ว ตามความสามารถของแต่ละบุคคล วิธีการและขั้นตอนการนําเสนอ เน้นให้มี

รูปแบบเหมือนกับการเรียนกับครูโดยตรง ผู้เรียนสามารถศึกษาค้นคว้า ทบทวนได้ตามความต้องการ

2. การวิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา คณะศึกษาศาสตร์

สาขาเทคโนโลยีการศึกษา ชั้นปีที่ 2 ก่อนและหลังเรียนด้วยสื่อโครงงานคอมพิวเตอร์ การพัฒนาบทเรียนบน

เครือข่ายอินเตอร์เน็ต ด้วย Word press เรื่อง การออกแบบสาร (Message Design) พบว่า

นิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา คณะศึกษาศาสตร์ สาขาเทคโนโลยีการศึกษา ที่ได้รับกิจ กรรมการเรียน

การสอนจากสื่อบทเรียนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ด้วย Word press เรื่อง การออกแบบสาร (Message

Design) สําหรับนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน หลังเรียน

สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

หมายความว่า หลังจากเรียนด้วยกรรมการเรียนการสอนจากสื่อบทเรียนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

ด้วย Word press เรื่อง การออกแบบสาร (Message Design) ผู้เรียนมีคะแนนเพิ่มขึ้น ที่เป็นเช่นนี้อาจเป็น

เพราะ สื่อบทเรียนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ด้วย Word press เรื่อง การออกแบบสาร (Message Design)

  34

มีรูปแบบการนําเสนอที่เหมือนกันกับการเรียนกับครูผู้สอนโดยตรงและมีทั้งตัวอักษร ภาพนิ่ง และ ภาพ

เคลื่อนไหว สีสัน และเสียงประกอบ ทําให้ผู้เรียนสนุกสนานไปกับการเรียนไม่รู้สึกเบื่อหน่ายและให้ข้อมูล

ป้อนกลับเพื่อการเสริมแรง โดยอาศัยแนวคิดทฤษฏีเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเรา้กับการตอบสนอง จากเหตุผล

ดังกล่าวจึงทําให้ผู้เรียนมีความรู้เพิ่มมากขึ้น

ข้อเสนอแนะ

1. ข้อเสนอแนะในการพัฒนาสื่อบทเรียนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ด้วย Word press เรื่อง การออก

แบบสาร (Message Design) ต้องคํานึงถึงสิ่งต่อไปนี้

1.1 การพัฒนาสื่อวีดิทัศน์ต้องเริ่มต้นจากการศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเรียนการสอน

และความจําเป็นในการนําเสนอวีดิทัศน์เข้ามาในการเรียนการสอน

1.2 การเลือกหัวข้อจะต้องเป็นหัวข้อที่เป็นปัญหาต่อการเรียนการสอนอย่างแท้จริง โดยการ

ประเมินตามระดับความสําคัญของปัญหา

1.3 ควรมีการศึกษาหลักสูตร ปลการเรียนรู้ที่คาดหวัง คําอธิบายรายวิชา วัตถุประสงค์เชิง

พฤติกรรมของรายวิชาและสาระที่จะนํามาจัดทําสื่อ

1.4 การเขียนแผนดารจัดการเรียนรู้ จะเป็นตัวช่วยในการกําหนดสาระและรูปแบบการนํา

เสนอ ทําให้บทเรียนมีลักษณะเหมือนกับการเรียนในชั้นปกต ิ

1.5 การกําหนดเป้าหมายในการทดลอง ควรคํานึงถึงสภาพความเป็นจริงและความเป็นไป

ได้ของสถานที่ เวลา เครื่องมือและกลุ่มทดลอง

2. ข้อเสนอแนะในการนําสื่อสื่อบทเรียนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ด้วย Word press เรื่อง การออก

แบบสาร (Message Design) ไปใช ้

2.1 ควรศึกษาประสิทธิภาพและการทํางานของโปรแกรมที่จะใช้ในการเปิดสื่อให้ละเอียด

2.2 ผู้เรียนได้ศึกษาวิธีการใช้สื่อบทเรียนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตให้เข้าใจอย่าละเอียดอ่อน

2.3 ไม่ควรกําหนดเวลาในการใช้สื่อบทเรียนบทเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพื่อให้ผู้เรียนมีอิสระ

ในการใช้บทเรียน

3. ข้อเสนอแนะในการพัฒนาสื่อบทเรียนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ด้วย Word press เรื่อง การออก

แบบสาร (Message Design)

3.1 ควรมีการเพิม่คณุสมบัติของเครือ่งคอมพิวเตอร์เพือ่ให้ใชง้านโปรแกรมต่างๆไดเ้รว็ขึน้

3.2 ลักษณะตัวอักษรควรจะเป็นแบบมาตรฐาน ขนาดตัวอักษรเหมาะสมกับวัย ระดับชั้น

ของผู้เรียน

3.3 ภาพประกอบที่ใช้ประกอบในสื่อควรจะเป็นภาพที่ชัดเจน

       

  35

แบบฝึกหัด

1.) การสื่อสาร หมายถึง

..........................................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................................

2.) องค์ประกอบของการสื่อสารมีอะไรบ้าง

..........................................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................................

3.) ประเภทของการสื่อสารจําแยกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง พร้อมอธิบาย

..........................................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................................

4.) การรับรู้ หมายถึง

..........................................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................................

5.) ลําดับขั้นของการรับรู้มีอะไรบ้าง พร้อมอธิบาย

..........................................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................................

  36

6.) ปัจจัยทีม่ีอิทธิพลต่อการรับรู้ขึ้นอยู่กับสิ่งใดบ้าง พร้อมอธิบาย

..........................................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................................

7.) อธิบายการวิเคราะห์ผู้รับสารตามหลักความต้องการของมนุษย์ของ Maslow

..........................................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................................

8.) องค์ประกอบของการออกแบบสารมีอะไรบ้าง พร้อมอธิบาย

..........................................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................................

  37

9.) เส้นมีทั้งหมดกี่ประเภท พร้อมอธิบาย

..........................................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................................

10.) ให้นักเรียนออกแบบภาพโดยใช้หลักและทฤษฏี เส้น รูปร่างและรูปทรง พื้นผิว สีและตัวอักษร สามารถ

ออกแบบภาพตามที่ตัวเองต้องการได้

                 

  38

แบบฝึกหัด

จงเติมเครื่องหมายถูก ✓หน้าช่องว่างที่ถูก และเครื่องหมายผิด ✗ หน้าช่องว่างที่ผิด

1.) การสื่อสาร (Communication) หมายถึง กระบวนการส่งข่าวสารข้อมูลจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับ

2.) องค์ประกอบของการสื่อสารมีทั้งหมด 4 องค์ประกอบ 1.) ผู้ส่งข่าวสาร (Sender)

2.) ข้อมูลข่าวสาร (Message) 3.) สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media)

4.) ผู้รับข่าวสาร (Receivers)

3.) การสื่อสารทางเดียว (One-Way Communication) คือการสื่อสารที่ข่าวสารจะถูกส่งจากผู้ส่งไปยัง

ผู้รับในทิศ ทางเดียว โดยไม่มีการตอบโต้กลับจากฝ่ายผู้รบั

4.) การสื่อสารผ่านสื่อวิทย ุโทรทัศน ์หนังสือพิมพ ์เป้นการสื่อสารสองทาง

5.) การสื่อสารสองทาง (Two-way Communication) คือการสื่อสารที่มีการส่งข่าวสารตอบกลับไปมา

ระหว่างผู้สื่อสาร

6.) จําแนกตามภาษาสัญลักษณ์ที่แสดงออก แบ่งเป็น 1.การสื่อสารเชิงวัจนะ (Verbal Communication)

2.การสื่อสารเชิงอวัจนะ (Non-Verbal Communication)

7.) กระบวนการของการรับรู้ คือ Sensing -----> Memory ------> Learning -------> Decision making

8.) Maslow ได้แบ่งความต้องการ(needs)ของมนุษย์ออกเป็น 6 ระดับ เราสามารถนําความต้องการแต ่

ละด้านของมนุษย์มาเป็นแนวทางการสร้างสารเพื่อให้ได้รับการตอบรับที่ด ี

9.) ลําดับขั้นความต้องการของมาสโลว ์มักถูกนําเสนอโดยรูปพิระมิด

10.) พิระมิดแบ่งออกเป็น 5 ชั้นคร่าวๆของความต้องการต่างๆ คือ ความสมบูรณ์ของชีวิต , ความเคารพ

นับถือ , มิตรภาพและความรัก , ความมั่นคงปลอดภัย , และความต้องการทางกายภาพ

  39

บรรณานุกรม

เอกสารประกอบการสอนวิชา ออกแบบการสอน (Message Design), ดร.ดวงพร ธรรมะ

ภาควิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา