หนังสือพิมพ์ มีดีนิวส์ ฉบับที่ 3...

20
ที่นี่มีดีโฟกัส จ�ำลอง ฝั่งชลจิตร นำยคูขวำง หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ‘พูดได้’ ฉบับเดียวในจังหวัดนครศรีธรรมราช วางแผงทุกวันที่ 1 และ 16 ของเดือน ราคา 7 บาท อ่านต่อหน้า 14 อ่านต่อหน้า 18 ให้คุณได้ชมมากกว่า 200 ช่อง บริการ ช่อง 3 5 7 9 NBT THAI PBS Nation Channel ASTV DTV ภาพยนต์ไทย ฝรั่ง จีน เกาหลี อินเดีย กีฬา สารคดี การ์ตูน แฟชั่นและท่องเที่ยว สุดยอดความบันเทิง ในระบบ DIGITAL MPEG4 HD และ 3D สอบถามรายละเอียด โทร. 075-319800-1 หรือ WWW.HICABLETV.COM หนังสือพิมพ์นครโพสต์ฉบับ www.medeefm.com ฉบับที่ 3 ปักษ์แรก ประจ�าวันที่ 1-15 กันยายน 2556 ราคา 7 บาท เพื่อเข้าสู ่ www.medeefm.com สแกน QR Code เล็งตั้งผู ้เชี่ยวชาญเพิ่ม พระธาตุสู ่มรดกโลก เชื่อคณะทูต เยี่ยมนครฯส่งผลดี ช่วยเติมเต็มกรรมการพิจารณา เตรียมแปล เอกสารดึงหลักศิลาจารึก สมัยสุโขทัยอ้างความเอกอุ สร้าง นักปราชญ์ เริ่มแก้โจทย์ ข้อที่ 3 งัดความโดดเด่นสู่สากลโชว์ ผศ.ฉัตรชัย ศุกระกาญจน์ ประธานสภาวัฒนธรรม จังหวัด นครศรีธรรมราช และเลขานุการคณะกรรมการจัดเตรียมเอกสาร พระบรมธาตุ มรดกธรรม น�าสู่มรดกโลก เผยถึงการเตรียม การเอสารในการขอขึ้นทะเบียนพระบรมธาตุและวัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกว่าความคืบหน ้าในการ แปลเอกสาร เพิ่งประชุม เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 56 ที่ผ่านมา อธิบดี กรมศิลปากร ที่ท�าหน้าที่ดูแลกลั่นกรองชั้นต้น อ่านต่อหน้า 19 เปิดศูนย์พระเครื่องฟื้นศรัทธาจตุคาม แหล่งรวมพระเครื่อง เชื่อมความศรัทธาผู้ รักและแสวงหาพระบูชาใหม่ หลังกระจาย อยู่ทั่ว เปิด 30 แผง สาขา 2 ของภาคใต้ เชื่อเซียนพระสุมหัวแลกเปลี่ยนบูชา เอกชัย บัวคง ผู้บริหารศูนย์พระเครื่องเมือง นครฯกล่าวว่าคือจริงๆ แล้วอยากให้เมืองนครฯมี ศูนย์พระที่มีมาตรฐาน นครฯนี้เป็นศูนย์กลางของ หอการค้านครฯเติมโอกาสและลู่ทางของอุตสาหกรรม ภาคใต้ อินโด-มาเลย์-ไทย หวังเป็นมุ้งเล็กในประชาคม อาเซียน ดันอุตสาหกรรมยาง ปาล์ม อาหารทะเล โยง สามเหลี่ยมเศรษฐกิจ IMT-GT หอการค้าจังหวัด นครศรีธรรมราช จัดสัมมนา “โอกาสและลู่ทางของอุตสาหกรรม ภาคใต้ ภายใต้กรอบ IMT-GT” โดยมี ผศ.ดร. อัทธ์ พิศาลวานิช คณบดีคณะ เศรษฐศาสตร์ และ ผอ. ศูนย์ ศึกษาการค้า ระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัย หอการค้าไทย ร่วมกันบรรยาย ความรู้ของอุตสาหกรรมไทย ซึ่ง กระทรวงอุตสาหกรรม ได้ให้ความส�าคัญ กับการพัฒนา ด้านอุตสาหกรรมของจังหวัด นครศรีธรรมราช และได้มาจัดสัมมนา ระดมความคิดเห็น เรื่อง ภาพโดย เกตุแก้ว ศิริวัฒน์

Upload: -

Post on 06-Mar-2016

232 views

Category:

Documents


4 download

DESCRIPTION

หนังสือพิมพ์ มีดีนิวส์ ฉบับที่ 3 ประจำวันที่ 1 - 15 กันยายน 2556

TRANSCRIPT

Page 1: หนังสือพิมพ์ มีดีนิวส์ ฉบับที่ 3 ประจำวันที่ 1 -15 กันยายน 2556

ฉบับที่ 3 ปักษ์แรก วันที่ 1-15 กันยายน พ.ศ. 2556 หน้า 1 ท

ี่นี่ม

ีดีโฟ

กัส

จ�ำลอง

ฝั่งช

ลจิต

รนำย

คูขวำ

งหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ‘พูดได้’ ฉบับเดียวในจังหวัดนครศรีธรรมราช วางแผงทุกวันที่ 1 และ 16 ของเดือน ราคา 7 บาท

อ่านต่อหน้า 14 อ่านต่อหน้า 18

ให้คุณได้ชมมากกว่า 200 ช่อง บริการ ช่อง 3 5 7 9 NBT THAI PBS Nation Channel ASTV DTV ภาพยนต์ไทย ฝรั่ง จีน เกาหลี อินเดีย กีฬา สารคดี การ์ตูน แฟชั่นและท่องเท่ียว สุดยอดความบันเทิงในระบบ DIGITAL MPEG4 HD และ 3D

สอบถามรายละเอียด โทร.075-319800-1 หรือ WWW.HICABLETV.COM

หนังสือพิมพ์นครโพสต์ฉบับ www.medeefm.com

ฉบับที่ 3 ปักษ์แรก ประจ�าวันที่ 1-15 กันยายน 2556 ราคา 7 บาท เพื่อเข้าสู่ www.medeefm.com

สแกน QR Code

เล็งตั้งผู้เชี่ยวชาญเพิ่ม พระธาตุสู่มรดกโลก เชื่อคณะทูตเยี่ยมนครฯส่งผลดี ช่วยเติมเต็มกรรมการพิจารณา เตรียมแปล เอกสารดึงหลักศิลาจารึก สมัยสุโขทัยอ้างความเอกอุ สร้าง นักปราชญ์ เริ่มแก้โจทย์ ข้อที่ 3 งัดความโดดเด่นสู่สากลโชว์

ผศ.ฉัตรชัย ศุกระกาญจน์ ประธานสภาวัฒนธรรม จังหวัดนครศรีธรรมราช และเลขานุการคณะกรรมการจัดเตรียมเอกสาร พระบรมธาตุ มรดกธรรม น�าสู ่มรดกโลก เผยถึงการเตรียม การเอสารในการขอขึ้นทะเบียนพระบรมธาตุและวัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกว่าความคืบหน้าในการ แปลเอกสาร เพิ่งประชุม เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 56 ที่ผ่านมา อธิบดีกรมศิลปากร ที่ท�าหน้าที่ดูแลกลั่นกรองชั้นต้น อ่านต่อหน้า 19

เปิดศูนย์พระเครื่องฟื้นศรัทธาจตุคาม แหล่งรวมพระเครื่อง เชื่อมความศรัทธาผู้รักและแสวงหาพระบูชาใหม่ หลังกระจายอยู่ทั่ว เปิด 30 แผง สาขา 2 ของภาคใต้ เชื่อเซียนพระสุมหัวแลกเปลี่ยนบูชา

เอกชัย บัวคง ผู้บริหารศูนย์พระเครื่องเมือง

นครฯกล่าวว่าคือจริงๆ แล้วอยากให้เมืองนครฯมีศูนย์พระที่มีมาตรฐาน นครฯน้ีเป็นศูนย์กลางของ

หอการค้านครฯเติมโอกาสและลู่ทางของอุตสาหกรรมภาคใต้ อินโด-มาเลย์-ไทย หวังเป็นมุ้งเล็กในประชาคมอาเซียน ดันอุตสาหกรรมยาง ปาล์ม อาหารทะเล โยงสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ IMT-GT

หอการค้าจังหวัด นครศรีธรรมราช จัดสัมมนา “โอกาสและลู่ทางของอุตสาหกรรมภาคใต้ ภายใต้กรอบ IMT-GT” โดยมี ผศ.ดร. อัทธ์ พิศาลวานิช คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ และ ผอ. ศูนย์ ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัย หอการค้าไทย ร่วมกันบรรยาย ความรู้ของอุตสาหกรรมไทย ซึ่ง กระทรวงอุตสาหกรรม ได้ให้ความส�าคัญกับการพัฒนา ด้านอุตสาหกรรมของจังหวัดนครศรีธรรมราช และได้มาจัดสัมมนา ระดมความคิดเห็น เรื่อง

ภาพโดย เกตุแก้ว ศิริวัฒน์

Page 2: หนังสือพิมพ์ มีดีนิวส์ ฉบับที่ 3 ประจำวันที่ 1 -15 กันยายน 2556

ฉบับท่ี 3 ปักษ์แรก วันท่ี 1-15 กันยายน พ.ศ. 2556หน้า 2

ห้องประชุมสภาองค์การบริหาร

ส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช (ชั้น 5)

องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรี-

ธรรมราช ถนนเทวบุรี ต.โพธิ์เสด็จ

อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช สภาองค์การ

บริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช

เปิดประชุม สมัยวิสามัญ สมัยที่ 1

ครั้งที่ 2 ประจ�าปี 2556 พิจารณาร่าง

ข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจ�าป ี

งบประมาณ พ.ศ. 2557 โดยม ี

นายมนตรี รักษ์ศรีทอง ประธานสภา

องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรี-

ธรรมราช เป็นประธานการประชุม และ

มีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด

นครศรีธรรมราช จ�านวน 41 คนจาก

สภาฯสจ.นครฯผ่านร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจ�าปี งบประมาณ พ.ศ.2557 “นายก”มั่นใจ มติสภาพิจารณางบประมาณรายจ่าย 1,233 ล้านผ่านฉลุย - เชื่อวาระ 2 และ 3 ไม่สะดุด

นายพิชัย บุณยเกียรติ นายก

องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรี-

ธรรมราช เสนอบัญญัติองค์การบริหาร

ส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช ร่างข้อข้อ

บัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจ�าปี

2557 ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย

ข้อที่ 23 และ 24 ว่าด้วยวิธีการงบ

ประมาณขององค์กรปกครองส่วน

ท้องถิ่น พ.ศ. 2541 งบประมาณราย

จ่ายประจ�าปีงบประมาณ 2557 ทั้งสิ้น

จ�านวน 1,233,803,000 บาท แยกราย

ละเอียดเป็นด้านต่างๆ ประกอบด้วย

ก. ด้านงานบริหารทั่วไป แยก

เป็น 1. แผนงานบริหารงานทั่วไป

310,555,000 บาท 2. แผนงานการ

รักษาความปลอดภัย 800,000 บาท

ข.ด้านการบริการชุมชน

แลtสังคม 1. แผนงานการศึกษา

115,672,000 บาท 2. แผนงานสาธา-

รณสุข 28,500,000 บาท 3. แผนงาน

สังคมสงเคราะห์ 300,000 บาท 4.

แผนงานเคหะชุมชน 12,960,000 บาท

5. แผนงานสร้างความเข็มแข็งของ

ชุมชน 143,578,000 บาท 6. แผน

งานศาสนา วัฒนธรรมและนันทนาการ

90,227,000 บาท

ค.ด้านการเศรษฐกิจ 1.แผน

งานอุตสาหกรรมและการโยธา

443,611,000 บาท 2. แผนงานการ

เกษตร 12,950,000 บาท 3.แผน

งานการพาณิชย์ 580,000 บาท และ

ง.ด้านการด�าเนินงานอื่น ๆ

1. แผนงานงบกลาง 74,070,000 บาท

ประธานสภาองค์การบริหาร

ส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช เปิด

โอกาสให้สมาชิกสภาองค์การบริหาร

ส่วนจังหวัดเขตอ�าเภอต่างๆ อภิปราย

ในรายละเอียดของร่างข้อบัญญัติงบ

ประมาณรายจ่ายประจ�าปี 2557 กัน

อย่างกว้างขวาง โดยส่วนใหญ่เห็นว่า

ร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่าย

ประจ�าปี 2557 ที่นายพิชัย บุณยเกียรติ

เสนอญัตติมีรายละเอียดในด้านต่างๆ

ความเหมาะสม สมาชิกสภาที่เข้าร่วม

ประชุมทั้ง 41 คนได้ลงมติรับร่างข้อ

บัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจ�า

ปีงบประมาณ 2557 ในวาระแรก

โดยประธานสภาองค์การบริหารส่วน

จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้แจ้งรายชื่อ

คณะกรรมการแปรญัตติ จ�านวน 7 คน

ประกอบด้วยนายวิฑูรย์ ตรีตรง นาย

พิทยา ชมพูทอง นายโกศล คงกระพันธ์

นายสุชาติ พิมเสน นางสาวสุทธินี บุญ

ประดิษฐ์ นายวัชระ ถาวรพราหมณ์

และนางสาวรจนา จันทร์เพ็ญ

นายมนตรี รักษ์ศรีทอง ประธาน

สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด

นครศรีธรรมราช เปิดเผยว่า หลังการ

ลงมติรับร่างข้อบัญญัติงบประมาณ

รายจ่ายประจ�าปีงบประมาณรายจ่าย

พ.ศ. 2557 ผ่านมติสภาฯ ในวาระแรก

จะต้องให้สมาชิกพิจารณาในการแปร

ญัตติเป็นเวลา 24 ชั่วโมง หากสมาชิก

ท่านใดมีความเห็นในการปรับลดงบ

ประมาณในส่วนใดก็ให้แจ้งกับคณะ

กรรมการแปรญัตติ ในขณะที่ตัวนายก

องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีสิทธิ์ที่จะ

ปรับลดหรือเพิ่มเติมงบประมาณใน

ส่วนใดส่วนหนึ่งได้ โดยทั้งตัวนายกฯ

และสมาชิกสภาจะมีการเสนอให้สภา

พิจารณาค�าแปรญัตติในการประชุม

สภาสาระ 2 และวาระ 3ในวันที่ 26

สิงหาคม 2556 และลงมติรับร่างข้อ

บัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจ�า

ปีงบประมาณ พ.ศ.2557 ในวาระ 2

และวาระ 3 ในวันเดียวกัน

นายพิชัย บุณยเกียรติ

นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด

นครศรีธรรมราช กล่าวว่าถือว่าการ

ประชุมสภาองค์การบริหารส่วนจังหวด

นครศรีธรรมราช สมัยวิสามัญ สมัย

ที่ 1 ครั้งที่ 2 ประจ�าปี 2556 เพื่อ

พิจารณาร่างข้อบัญญัติงบประมาณ

รายจ่ายประจ�าปี 2557 ผ่านในวาระ

แรก โดยสมาชิกสภาทั้ง 41 คนมีมติ

เป็นเอกฉันท์ และเชื่อว่าการพิจารณา

ในวาระ 2 และวาระ 3 ก็คงผ่านไม่มี

ปัญหาใดๆ อย่างแน่นอน เป็นการ

ลบค�าวิพากวิจารณ์ที่ว่ามีสมาชิก

สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด

นครศรีธรรมราชรวมตัวกันล้มการ

พิจารณาร่างข้อบัญญัติงบประมาณราย

จ่ายประจ�าปีงบประมาณ พ.ศ. 2557

เพราะมีสมาชิก ฯไม่เห็นเห็นด้วยเพียง

3-4 คนเท่านั้น แต่ผลการประชุม

สมาชิกทั้ง 41 คนมีมติในทิศทาง

เดียวกันคือเห็นด้วยและมีมติรับร่าง

ข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจ�า

ปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 ดังกล่าว

ไพฑูรย์ อินทศิลา/รายงาน

42 คนเข้าร่วมประชุมอย่างพร้อม

เพรียง ยกเว้นสมาชิกสภาองค์การ

บริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช

เขต อ.เชียรใหญ่ ที่ถูก กกต.ให้ใบแดง

และอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล

อุทธรณ์

Page 3: หนังสือพิมพ์ มีดีนิวส์ ฉบับที่ 3 ประจำวันที่ 1 -15 กันยายน 2556

ฉบับที่ 3 ปักษ์แรก วันที่ 1-15 กันยายน พ.ศ. 2556 หน้า 3

สายๆ วันที่ 25 สิงหาคม 2556 ภรรยาขี่จักรยานยนต์ไปร่วม

งาน รับ ‘อังคาร’ ที่วัดท่าโพธิ์วรวิหาร ไปฟังพี่ๆ น้องๆ เสวนาเรื่องอังคาร กัลยาณพงศ์ กวีและจิตรกรคนส�าคัญ ซึ่งเป็นศิลปินแห่งชาติ เลือดเนื้อเชื้อไขของชาวนคร

ผมซื้อหนังสือจัดพิมพ์ใน วาระนี้กลับมา 2 เล่ม ความจริง คุณหมอบัญชา พงษ์พานิช บอกว่าสื่อที่ช่วยประชาสัมพันธ์มาแต่ต้นแค่ไปแจ้งชื่อก็ขอรับได้ฟรีๆ แต่ผมอยากอุดหนุน

นายหนังบุญธรรม เทอด- เกียรติชาติ ศิลปินพื้นบ้านผู้เป็นมิตรและปรารถนาดีต่อผมมาตลอด โทร.แจ้งให้ผมเขียนถึง ‘ท่านองัคาร’ สัก 2 หน้ากระดาษภายในเวลา 2 วัน ในฐานะนักเขียนชาวนครคนหนึ่ง จะรวบรวมไว้ในหนังสือที่ระลึก ผมตอบแบบแบ่งรับแบ่งสู้ เพราะไม่รู้สึกว่าตัวเองสนิทสนมกับ ‘ท่านอังควร’ สักเท่าไร มือไม้เลยแข็งไปเฉยๆ

ราวๆ ปี 2528 ตอนอยู่ประจ�ากองบรรณาธิการนิตยสาร ‘ถนนหนังสือ’ ในความอุปถัมป์ของบริษัทเคล็ดไทยและอาจารย ์สุลักษณ์ ศิวรักษ์ หรือ ส.ศิวรักษ์ ซึ่งบ้านอยู่ตรงข้ามกับส�านักงาน วัน

ไหนเพื่อนนักเขียนที่มาเยี่ยมบ้าน อาจารย์มักชวนเราไปนั่งสนทนา ทั้งนักเขียนระดับอาเซียนจากฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย

จ�าได้ว่าวันหนึ่ง ‘ท่านอังคาร’ มาร่วมงานเลี้ยงด้วย ส. ศิวรักษ์ กรุณาแนะผมกับท่านอังคารว่า จ�าลองเป็นชาวนครเหมือนกัน ทันใดนั้นกวีแก้วพูดกับผมด้วยภาษากลางแหบๆ ว่า “คุณเป็นคนนครหรือ...คุณรู้มั้ย..ผมพูดภาษานครชัดที่สุดในประเทศไทย”

เวลานั้นผมยังหนุ่มแน่น เลยได้แต่ยิ้มข�าๆ หลังจากนั้นก็กันเจอห่างๆ อีก 2 ครั้ง

สมัยเรียน ม.ศ. 5 ผมได้อ่านกวีนิพนธ์ของอังคาร กัลยาณพงศ์ แล้วทึ่งลายมือของท่านมาก จนต้องลองหัดเขียนเลียนแบบบ้าง แต่เขียนยาก เส้นสายลายน�้าหมึกหนักเบาไม่อยู่กับร่องรอยเลยเลิกเล่นหาง

อ่านผลงานร้อยแก้วเรื่องพลับพลึง เรื่องสุนัขเน่า ยิ่งประทับใจ จนใจอยากเขียนกวี ผมเจียดเงินค่าขนมไปซื้อสมุดปกแข็งเล่มยาวๆ มาหัดเขียนล�าน�า น่าประลาดใจท่านอังคารเขียนเรื่องพวกนี้ออกมาได้อย่างไร

ทึ่งมากๆ คือ กวีนิพนธ์ ‘วักทะเล’ วรรคที่จินตนาการเลอเลิศ

เพริดพริ้งที่สุด คือ “ขี้เลื่อยละเมอท�ำ ค�ำนวณน�้ำหนักแห่งเงำ”

วาทกรรมขี้เลื่อยที่เราก�าซาบเก็บไว้ในสมองมาตั้งแต่เด็กๆ มันไม่ดีเอาเสียเลย คือ ‘หัวขี้เลื่อย’ หรือ ‘ไอ้หัวขี้เลื่อย’ ซึ่งหมายถึงไม่มีแก่นสารอะไรเลย แปลว่าโง่

แต่วันหนึ่งขี้เลื่อยของกวีแก้วสามารถคิดค�านวณน�้าหนักของเงา ซึ่งไม่อาจชั่งตวง เงาเป็นรูปที่เทวดาหรือนักฟิสิกส์่ไม่อาจชั่งตวง...ขี้เลื่อยหลับๆ ตื่นๆ ก็ค�านวณน�้าหนักของเงา จะได้หรือไม่ได้กวีชาวนครผู้ม ีผลงานมากกว่าศรีปราชญ์หลายร้อยเท่าได้เปิดพื้นที่ให้กับจินตนาการไปสุดขอบจักรวาล

นี่คือแรงบันดาลใจที่ท�าให้ผมจับปากกาเขียน ‘ล�าน�าโลมเส้นหญ้า’ ราวๆ ปี 2514 -15

ส่วนงานจิตรกรรมของท่าน ดักดานอย่างผมคงเข้าไม่ถึง ได้แต่รู้สึกว่างามแตกต่างจากฝีมือของจิตรกรคนอื่นๆ และไม่สามารถมีต้นฉบับจริงไว้ในครอบครอง ทั้งชาตินี้และชาติหน้า ผมเคยยืนตะลึงต่อหน้ารูปเขียนของท่านภายในอุโบสถริมกว๊านพะเยาที่วัดศรีโคมค�า จังหวัดพะเยา แม้งานจะไม่เสร็จสมบูรณ์ก็งามจับใจ

ไปรับอังคารคือท�าบุญอัฐิของอังคาร กัลยาณพงศ์ ที่ปรารถนาจะกลับมาอยูร่วมใบเสมากับพ่อแม่และพี่สาวในนิรภพ เหมือนเคยไปร่วมพิธีบรรจุและลอยอังคาร เชิด ทรงศรี นักเขียนและนักสร้างภาพยนตร์ชาวนคร ผู้ปรารถนาจะกลับมาอยู่ในเจดีย์องค์ใดองค์หนึ่งรอบพระบรมธาตุเจดีย์ ซึ่งเป็นสถานที่พ�านักชั่วนิรันดร

กวีนิพนธ์กับจิตรกรรม ล�้ำเลอค่ำของอังคำร กัลยำณพงศ์ จะยืนยงคงคู่จักรวำล

จ�าลอง ฝั่งชลจิตร

ที่ปรึกษากฎหมาย :อครพลหนูทวีสมชายฝั่งชลจิตรบรรณณาธิการที่ปรึกษา :จ�าลองฝั่งชลจิตรที่ปรึกษา :สุรโรจน์นวลมังสอไพฑูรย์อินทศิลาสุกรมกลางถิ่นสุรินทร์จตุการเลิศอักษรนิตย์ตรีภพนาคสงค์กองบรรณาธิการ :กาญจนาประดู่ชลกนกกิจวิบูลย์นิสารัตน์สอดจิตต์กริชกานต์ทองศรีนุ่นนันทโนราห์ธรรมชาติ ปิยะวัฒน์แก้วชอุ่มสิทธิพงษ์ใจอารีย์ปาลิตานิลโกมลณัฐศิริอินทร์ทองปานณัฏฐ์ธีระกุลบรรณาธิการผู้พิมพ์โฆษณา :ณรงค์ธีระกุลเจ้าของ :บริษัทมีดีมีเดียเรดิโอจ�ากัด 91/15ม.ราชพฤกษ์2ถ.พัฒนาการคูขวางต.คลังอ.เมืองจ.นครศรีธรรมราช80000โทร.075-347314-5 WWW.MEDEEFM.COM

การชุมนุมเรียกร้องให้รัฐบาลช่วยเหลือความเดือดร้อนจากราคายางพาราและราคาผลผลิตปาล ์มน�้ามันตกต�่า 2 จุดในพื้นที่ อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช ยืดเยื้อมาเป็นเวลานาน คณะกรรมการแก้ไขปัญหา ธงแก้ยางพาราท้ังระบบ เงื่อนปัจจัยการผลิตลดภาระต้นทุนชาวสวนยางเปิดกรีดรายละไม่เกิน 10 ไร่ ราคาไร่ละ 1,260 บาท/ปี เพ่ิมเติมรายละไม่เกิน 25 ไร่ รวมเป็นเงินรายละ 31,500 บาท/ปี

แม้เกษตรกรยังไม่เข้าใจและคิดว่ารัฐบาลจะซื้อปัจจัยการผลิต เช่น ปุ๋ย และอื่นๆ แจกจ่ายให้ ทางเกษตรกรก็ยังยอมรับไม่ได้ เพราะปุ๋ยอาจจะไม่ม ีคุณภาพ ปุ๋ยปลอม เกษตรกรจะไม่ได้ประโยชน์และงบประมาณที่ใช้ก็จะไปอยู่ กับนายทุนคนกลางเจ้าของบริษัทผลิตปุ๋ยแทนที่จะได้กับเกษตรกรชาวสวนยาง

แต่ทางรัฐบาลจ่ายให้เกษตรกรผ่านทางธนาคารเกษตรและสหกรณ์เป็นเงินสดๆ ตรงทันที เงินจ�านวนดังกล่าวเกษตรกรสามารถน�าไปใช้จ่ายด้านใดก็ได้ส่งผลทันทีตรงที่ เกษตรกรได้รับเงินทันที แต่หากช่วยเหลือในรูปแบบการแทรกแซงประกันราคา เกษตรกรได้เงินต่อเมื่อยางพาราไปขาย และไม่ได้รับเงินทันที หากมีปัญหาฝนตกเกษตรกรกรีดยางไม่ได้ในแต่ละรอบการขายจะมีผลผลิตไปขายน้อย เงินที่ได้ก็น้อยตามไปด้วย ระยะเวลาในการกรีดยางในแต่ละเดือนสูงสุดไม่เกิน 15 วัน ในภาคใต้ที่ฝนตกชุกในแต่ละเดือนอาจจะกรีดยางได้ไม่ถึง 15 วัน รายได้ก็ลดน้อยตามไปด้วย

การจ่ายเงินสดเพื่อช่วยเหลือปัจจัยการผลิตไร่ละ 1,260 บาท นอกจากเกษตรกรจะได้รับเงินจ�านวนดังกล่าวทันทีแล้ว ฝนจะตกจนไม่สามารถกรีดยางได้ก็ยังได้รับเหมือนเดิม โดยราคายางในตลาดจะสูงหรือต�่าก็ไม่ส่งผลต่อการรับเงินในส่วนน้ีการประกาศให้ เกษตรกรชาวสวนยางขึ้นทะเบียนเกษตรกรชาวสวนยาง รับเงินช่วยเหลือปัจจัยการผลิตไร่ละ 1,260 บาท ได้ทันทีใน 10 ไร ่แรกท่ีผ่านการอนุมัติไปแล้วส่วน 15 ไร่ที่ขอขยายเพ่ิมเติมเป็น 25 ไร่ น�าเข้า ครม. วันที่ 3 กันยายน นี้ สามารถด�าเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรได้ภายใน 15 วัน

การยืนยันน�ายางในสต๊อกจ�านวน 2 แสนตันรัฐบาลไม่ขายออกต่างประเทศ น�าเข้าสู ่กระบวนการส่งเสริมการผลิตเพื่อการใช้ผลิตภัณฑ์ยางภายในประเทศให้ มากขึ้นสร้างถนน มีส่วนผสมของยางพารา การสร้างสนามกีฬา,สนามเด็กเล่น โดยใช้พ้ืนยางพาราแทนยางสังเคราะห์ สนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยผ่อนปรนให้สถาบันเกษตรกรลงทุนสร้างโรงงานแปรรูป ผลิตภัณฑ์ยางพารา ส่งเสริมให้โค่นยางพาราที่มีอายุเกิน 25 ปี จ�านวน 1 ล้านไร่ เติมเงินแก้ไขปัญหายางพาราทั้งระบบกว่า 4 หมื่นล้านบาท มั่น 4 เดือนราคายางพาราทั้งในและต่างประเทศจะพุ่งสูงขึ้นโดยปริยาย เกษตรกรชาวยางจะกลายเป็นเสือตัวท่ี 6 ในระบบเศรษฐกิจของประเทศทันที

ในฐานะผู้ชมหวั่นอยู่ไม่น้อย ว่ามาตรการดังกล่าวเมื่อออกมาจริงๆ หลังอารมณ์ผ่อนคลายหายหูอื้อตาลายจากท้องถนนสามแยกบ้านควนเงิน และ สี่แยกควนหนองหงส์ อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช จะจากการที่ถูกต้อนของฝ่ายการเมืองอีกฝ่าย จะกลายเป็นอีกหนึ่งนโยบาย“ประชานิยม” แบบนี้นี่เอง

ผุดนโยบายประชานิยม

Page 4: หนังสือพิมพ์ มีดีนิวส์ ฉบับที่ 3 ประจำวันที่ 1 -15 กันยายน 2556

ฉบับท่ี 3 ปักษ์แรก วันท่ี 1-15 กันยายน พ.ศ. 2556หน้า 4

ขอบคุณการตอบรับสื่อ“มีดีนิวส์”

เป็นความอบอุ่น ที่ส่งมายังทีมงานและกอง

บรรณาธิการทุกคน เติมเต็มด้วยก�าลังใจเติม

ใจแห่งการสร้างสรรค์ เป็นอีกก้าว

ของส่ิงใหม่ที่ปรากฏบนหน้าหนังสือพิมพ์

อย่างคิวอาร์โค้ต ค่อยๆ ขยายวงไปเรื่อย

ตอบสนองคอข่าวสิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น

หาทางออกกันอย่างไร กับปัญหา

ราคายางพาราที่ล ้นมาอยู ่บนถนน อยู ่บน

ทางรถไฟ จะไปทางไหน ต่างฝ่ายต่างตั้งธง

ตั้งเป้าสร้างดาวกันคนละดวง แต่

ท่ีแน่การประกาศจะให้ตลาดภายในสร้าง

ผลิตผลรองรับ น�ายางมาสร้างถนน สร้าง

สนามเด็กเล่น เกิดได้จริงหรือไม่หากเกิด

ไปกระทบระบบการผูกขาด ของใครหรือ

ไม่ เพราะเห็นการจะสร้างถนนสายกรุงหยัน

จนป่านนี้ต้องยกเลิกไป รัฐมนตรีช่วยเกษตร

(ขณะนั้น) ณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ แถลงข่าวเป็นมั่น

เหมาะ ฝากคนใหม่คมนาคม กับเกษตรและ

สหกรณ์ คุยกันดูท�าได้จริงมั้ย “อย่าเคาะหมา

ให้กะลาดีใจ” กระทรวงเกษตรฯก็น่าจะผุด

กองทุนอื่นๆ ขึ้นมาบ้าง ก็ได้ กองทุนสงเคราะห์

การท�าสวนปาล์ม กองทุนสงเคราะห์การท�านา

ข้าว กองทุนสงเคราะห์การปลูกมังคุด, เงาะ,

ลางสาด, ลองกองฯ ท่ามกลางวิกฤติ

ออกมาเรียกร้องให้เห็นกันบ้างขององค์กร

ทางธุรกิจ วาริน ชิณวงศ์ ประธานหอการค้า

จังหวัดนครฯ, ยุทธกิจ มานะจิตต์ ประธาน

สภาอุตสาหกรรมจังหวัดฯ, ว่าที่ ร.ต.เสรี ถนัด

ผู้ว่าฯวิโรนจน์ จิวะรังสรรค์นายตัน ภาสกรนที

Mr.Katsunori Maeda

ดร.พรรณไท ไทยชน, ดร.อาณัติ เมฆไพบูลย์วัฒนา กก.บ.ทรูวิชั่น

ผศ.ฉัตรชัย ศุกระกาญจน์ ประธานสภาวัฒนธรรม, รศ.วิมล ด�าศรี อธิการ ม.ราชภัฏนครฯ แถลงข่าวฝากบุญมายังชาวพุทธ, ชาวนครฯชาวมหาชัย ร่วมสมทบทุนสร้างพระพุทธสิหิงค์ราชภัฎนครศรีธรรมราชใหญ่ที่สุด

ชักรูป - ทรงพล สวาทธรรม รองผวจ.นครฯ ขี่ม้าเปิดงาน-เปิดเมืองคาวบอย อินเดียน บิ๊กไบค์ ทางวาริน ชิณวงศ์ ประธานหอการค้านครฯ น�าชาวหอร่วมกันจัดกับกลุ่มคนรักคาวบอยวลัยลักษณ์ จัดขึ้นที่ โรงแรมราวดีของสรวิทย์ จันทร์แท่น ตามแผนส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองนครฯ

แต่งลูกอดีต รมต.ศธ. - นายชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรี, ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตเลขาธิการอาเซี่ยน นริศา อดิเทพวรพันธ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช ร่วมงานแต่ง ดร.ทองสมัคร กับ ดร.จอชชัว สต้าบส์ บุตรี นายสัมพันธ์ - ผศ.จันทรา ทองสมัคร ณ ห้องแคทลียาบอลรูม โรงแรมรามาการ์เด้น กรุงเทพ เมื่อเร็วๆ นี้

ตบรางวัล - นายกเอ อภินันท์ เชาวลิตร นายกองค์การบริหารส่วนต�าบลท่าศาลา มอบรางวัลให้นักกีฬามวยไทยสมัครเล่นให้กับนักเรียนในพ้ืนที่จากการเข้าแข่งขันยกีฬานครเกมส์ ครู-ผู้ปกครองพลอยปลื้มกันไปเต็มๆ

สอนสาร นายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยว

จังหวัดนครฯ หลังจากนี้ไปคงจะ

ออกมาแถลงตัวเลขให้งบประมาณ โปรโมท

การท่องเที่ยวกัน ประเมินเม็ดเงินที่ได้รับอา

นิสงจากการท่องเที่ยว ปีงบ 2557 ตั้งเยอะๆ

เม็ดเงินฟู เท่าไหร่ นักท่องเที่ยวเข้ามามาก

แค่ไหน สิทธิ ศิลมัย หัวหน้าส�านักงานการ

ท่องเดที่ยวและการกีฬาคงตอบได้

เติมงบให้จัดงานตามพื้นที่ต ่างๆ ซับน�้าตา

ปลา ขูดเลือดปูจากนักท่องเที่ยว จนหลาบไป

ตามๆ กัน ...แต่กลุ่มทัวร์ไหว้พระมาเลเซีย ยัง

คิดให้เขาไม่ออก ว่ามาไหว้เจ้าแม่กวนอิม ที่

ทุ่งสง ตอนตีสาม ไหว้พระบรมธาตุ ตอนหก

โมงเช้า และไปสงขลาต่อท�าอย่างไรให้เขาแวะ

เมืองนครมากกว่านี้ ขนาดว่าสร้างส้วม สร้าง

ห้องน�้ารับกรุ ๊ปทัวร์ ภายในวัดพระมหาธาตุ

รับก็ยังสร ้างเสร็จใช ้การไม ่ได ้ เวรนะเวร

วิชาการยังดันกันต่อ.. วิมล จ�านง-

บุตร ผู ้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ

ร่วมงานวันวิชาการมัธยมศึกษา ที่เบญจม-

ราชูทิศ ครู นักเรียนงัดนวัตรกรรมดีออกมา

โชว์ ..เสร็จแล้วต่อยอดยังไง อันนี้น่าคิดกว่า

ขยันจัดกิจกรรม ชนันธร ธนานรา-

สิน บ.สิงห ์อรฉัตร จ�ากัด จับมือ อารยา

สารคุณ จากฮอนด้าศรีนคร น�าทัพจัดกิจ-

กรรมวันแดงเดือด ที่ข้างบริษัท แฟนบอลโผล่

ให้เห็นเพียบ แบบนี้ต้องจัดบ๊ิกแม็ทบ่อยแล้ว

ผ่านไปด้วยดี แอ๊ด สุธรรม ชยันต์-

เกียรติ นพ.บัญชา พงษ์พานิชย์ อีกก�าลัง

ส�ำคัญ จัดงำนน�ำอังคำรกลับบ้ำนเกิด วัด

ท่ำโพธิ์ฯ ศิลปินพื้นบ้ำน ปรำชญ์ท้องถิ่น

ตัวแทนสถำนศึกษำร่วมงำนเพียบ..ของดีคน

ดี มีไว้เชิดชู

วาริน ชิณวงศ์

ยุทธกิจ มานะจิตต์

เจน สงสมพันธุ ์ นายกสมาคม

นักเขียนฯ เวียง วชิระ, อธิคม คุณาวุฒิ,

โดม วุฒิชัย, อัตถากร บ�ารุง, เกษม จันทร์-

ด�า (ธัช ธาดา), โอภาส สอดจิตต์, จ�าลอง

ฝั ่งชลจิตร, กร ศิริวัฒโณ และ อนันต์

ลือประดิษฐ์ จากเครือเนชั่นฯ มาร่วมงาน

บ�าเพ็ญกุศลศพ วิสรรชนีย์ นาคร (จิราภรณ์

เจริญเดช) ที่วัดหน้าพระบรมธาตุ

ไม ่กี่ วันแท็กซี่มิ เตอร ์ เป ิดให ้บริการแล ้ว

ตลาดเมืองนครจะหมู่หรือจ่า พิสูจน์กันมา

แบบพรึบเต็มบูมหรือค่อยเป็นไป เพ็ญพักต์

เจริญพานิช ผู้บริหารคงตอบได้..

Page 5: หนังสือพิมพ์ มีดีนิวส์ ฉบับที่ 3 ประจำวันที่ 1 -15 กันยายน 2556

ฉบับที่ 3 ปักษ์แรก วันที่ 1-15 กันยายน พ.ศ. 2556 หน้า 5

พรานไพรหอมเอย กลิ่นนี้ พี่จ�าได้ หอมกลิ่นคล้ายๆ บุหงา คราหน้าฝน พระพายโชย พัดผ่าน ซ่านกมลมันหอมหวน เสียจน เกือบเคลิ้มไป

ราตรีนี้ ยืดยาว ดาวพรายพร่างพระจันทร์เสี้ยว เคียวจาง พอหว่างไหวรัศมี ดาวล้อม จอมหทัย ส่องสว่าง พรายพร่างไป ทั่วโพยม

ก่อนหน้านั้น พิรุณโรย โปรยกระหน�่าราวจะย�้า ทิวไม้ ด้วยแรงโหมพอสายฝน ซาลง โค้งโพยมก็ปรากฎ รุ้งโน้ม ดูงดงาม

พอค�่าลง ดงไพร เงียบสงัด ยินแต่เสียง สรรพสัตว์ สนั่นไหวบินเวียนว่อน ซ่อนหา ลดาไพร ขยับปีก แกว่งไกว ในพงพี

กลางเวหา ก็ปรากฏ ดารากลาดราวจะพาด ผ่านฟ้า มาหาพี่ ระยิบระยับ นับแสง แห่งราตรี ชื่นชีวี พี่รักนัก รัตติกาล

กลิ่นไม้ป่า หน้าฝน ก็ลอยพริ้วล้อเป็นริ้ว หยอกลม ผสมหวาน มันแสนสุข หนักหนา ราตรีกาลชีวิตพราน เพื่อนไพร ไกลกังวัล ...

เขียนค�า : ข้าพเจ้า (เลาขลุ่ย)

โอกาส เป็นสิ่งที่ทุกคนในสังคมต้องการ แล้วแต่ว่าใครที่ต้องการมันเป็นพิเศษ บางคนอาจจะแค่ต้องการโอกาส ในการแก้ตัวเมื่อท�าผิดและขอโอกาสเริ่มต้นใหม่

แต่ส�ำหรับคนที่น่ี คนไร้ที่พ่ึง ที่สถำนสงเครำะห์บ้ำนสิชล พวกเขำต้องกำรแค่โอกำสที่คนภำยนอกจะหยิบยื่นมำให้ อำจเป็นอำหำรมื้อแปลกๆ ที่ไม่มีโอกำสลิ้มรสได้บ่อยๆ อย่ำงท่ีคนปกติภำย นอกทั่วไปสำมำรถหำซื้อได้ตำมก�ำลังควำมสำมำรถของแต่ละคน

วันนี้ ทีมข่ำว “มีดีนิวส์” ได้มีโอกำสตำมคณะผู้บริหำรและพนักงำนจำก บ.สิงห์อรฉัตร จ�ากัด ไปยังสถำนสงเครำะห์บ้ำนสิชล เพื่อเลี้ยงอำหำรกลำงวันผู้ไร้ที่พึ่งที่นี่ เมื่อเดินทำงไปถึงทีมผู้บริหำรและพนักงำน ก็เตรียมอำหำรเพื่อเลี้ยง “ผู้รับบริการ” กันอย่ำงขะมักเขม้น น�ำทีมโดย คุณชนันธร ธนานราสิน กรรมกำรผู้จัดกำรบริษัท ที่สลัดครำบผู้บริหำร ลงมำเป็นแม่งำนครั้งนี้

โอกำสนี้เรำได้คุยกับทำง คุณชนันธร ธนำนรำสิน กรรมกำรผู้จัดกำรบริษัทถึงที่มำที่ไป ในกำรมีโครงกำรนี้ขึ้นมำ “คือพอดีมันมีโครงกำรต่อเนื่อง ปกติทุกประเภทเรำช่วยกันอยู่แล้ว ทีนี้วันนั้นเรำจุดประกำยว่ำมีเส้ือเรำจะท�ำอย่ำงไรดีให้มันเกิดรำยได้ เพื่อจะเอำมำท�ำประโยชน์ ทำงทีมงำนก็คิดกันว่ำ มันมีบ้ำนพักคนชรำอยู่นะ เรำยังไม่เคยมำท�ำบุญแบบนี้สักที น่ำจะหันมำท�ำบุญแบบนี้บ้ำง เพรำะปกติน�้ำท่วมภัยแล้งเรำไปหมดแล้ว แต่ว่ำกับสถำนที่แบบนี้เรำยังไม่เคยได้มำเลย

ฉะนั้นปีนี้เรำเอำแบบนี้กันบ้ำง ลองเปลี่ยนดูซิ จะได้เกิดควำมแตกต่ำงบ้ำง ก็ไม่คิดว่ำที่น่ีคนจะเยอะขนำดน้ี ถ้ำมีครำวต่อ

ไปเราจะหาแนวร่วมมาด้วย จะไม่แค่มาเลี้ยงอาหารอย่างเดียวอาจจะมีดนตรี มีสันทนาการร่วมด้วย เพื่อเขาจะได้มีความสุขด้านอื่นร่วมด้วย ที่มาท�าตรงนี้ก็ไม่ได้หวังอะไร ถ้าพูดกันตรงๆก็หวังบุญอย่างเดียว”

และนอกจากนี้เราก็ได้มีโอกาสพูดคุยกับทางเจ้าหน้าที่ ที่ดูแลที่นี่โดยตรง คุณสุนทรา ชูสุวรรณ์ กล่าวว่า ส�าหรับสถานสงเคราะห์บ้านสิชลนั้น ตั้งอยู่ที่ถนนนครศรีธรรมราช - สุราษฎร์ธานี หลักกิโลเมตรที่ 81 - 82 ม. 7 ต.ทุ่งใส อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราชปัจจุบันมี ผู้รับบริการ หรือ คนไร้ที่พึ่ง ที่มาพักพิงที่นี่จ�านวน 327 คน ชาย 238 คน หญิง 134 คน ส่วนใหญ่เป็นบุคคลที่ไม่สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติอย่างคนทั่วไป ส่วนหน่ึงราชการน�าส่ง โรงพยาบาลต่างๆ ที่ผู้ป่วยเข้ามาพักพิงที่นี่ โดยมีเจ้าหน้าที่สังคมสงเคราะห์คอยดูแล

ส�าหรับกิจกรรมวันนี้ มีการเลี้ยงอาหารกลางวัน ท่ีเหล่าผู้บริหารและพนักงานจาก บ.สิงห์อรฉัตร จ�ากัด และคณะได้จัดเตรียมมา มีทั้งหวานเย็นมะพร้าวน�้าหอม น�้าหวาน ป๊อปคอร์น หมี่ผัด ข้าวผัดและบาร์บีคิว มาสร้างรอยยิ้มให้แก่ผู้รับบริการ ท่ีต่างก็บอกเป็นเสียงเดียวกันว่ามีความสุขเป็นอย่างมาก

โอกาสนี้เราได้พูดคุยกับ เรือเอกประภาส พูลสุข ผู้อยู่ที่นี่ในฐานะคนไร้ที่พึ่ง เขาแนะน�าตัวเองในแบบฉบับของเขา

“สวัสดีครับ กระผม เรือเอกประภาส พูลสุข รับราชการเป็นทหารเรือ เนื่องจากผมมีโรคประจ�าตัว เมื่อก่อนป่วยเป็นเส้นเลือดในสมองตีบ ไขมันในเลือดสูงและก็เป็นอัมพาตเดินไม่ได้ พยายามรักษาตัวมาประมาณ 8 ปี สาเหตุที่กระผมต้องมาขอพักพิงท่ีน่ี เน่ืองจากภรรยาผมมีครอบครัวใหม่ และคุณแม่ผมท่านแก่ชราไม่อยากจะไปรบกวนท่านเลยอยากขอมาพักพิงที่นี่” จากการพูดคุยเบื้องต้น ทราบว่าคุณลุงมีลูกชายที่เพิ่งเรียนจบปริญญาตรี แต่ก็ยังไม่อยากไปรบกวนอยากรอให้เขาตั้งตัวได้แล้วมากกว่า

แค่เพียงโอกาสเล็กๆ น้อยๆ ที่คนในสังคม หยิบยื่นให้ ส�าหรับคนที่นี่ ก็มีค่ามากมายแล้ว ดูจากรอยยิ้มและเสียงหัวเราะที่ผสมผสานเจือด้วยความสุขนั้น ก็ทราบได้ว่า พวกเขามีความสุขเพียง

ใด… กริชกานต์ ทองศรีนุ่น ภาพ/ข่าว

Page 6: หนังสือพิมพ์ มีดีนิวส์ ฉบับที่ 3 ประจำวันที่ 1 -15 กันยายน 2556

ฉบับท่ี 3 ปักษ์แรก วันท่ี 1-15 กันยายน พ.ศ. 2556หน้า 6

มติเลือกอิหม่ามมัสยิดยามาอาตุลมุสลิมีนบางขันเป็นกรรมการอิสลามประจ�าจังหวัดประจ�าจังหวัดนครฯแทนต�าแหน่งว่าง

ท่ีห ้องประชุมศรีวิชัย ชั้น 5

ศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช

ว่าที่ร้อยตรีฐิตวัฒน เชาวลิต รองผู้ว่า

ราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็น

ประธานในการคัดเลือกกรรมการ

อิสลามประจ�าจังหวัดนครศรีธรรมราช

แทนต�าแหน่งที่ว ่าง เน่ืองจากนาย

ในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กร

ศาสนาอิสลาม พ.ศ. 2540 เพื่อให้การ

คัดเลือกกรรมการอิสลามประจ�าจังหวัด

นครศรีธรรมราช แทนต�าแหน่งที่ว่าง

เป็นไปตามกฎหมาย

จังหวัดนครศรีธรรมราชจึงคัด

เลือกกรรมการอิสลามประจ�าจังหวัด

คนใหม่ ซึ่งมีอิหม่ามประจ�ามัสยิดต่างๆ

จังหวัดนครศรีธรรมราช เข้าร่วมประชุม

คัดเลือกกรรมการอิสลามประจ�าจังหวัด

นครศรีธรรมราช โดยได้เสนอชื่อนาย

จ�านง ชัยคีรี อิหม่ามมัสยิดยามาอาตุ

ลมุสลิมีน อ�าเภอบางขัน เพียงคนเดียว

เพ่ือเป็นกรรมการอิสลามประจ�าจังหวัด

นครศรีธรรมราช แทนต�าแหน่งที่ว่าง

สุกรี ชายคีรี กรรมการอิสลามประจ�า

จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งได้รับการ

คัดเลือกเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน

2554 ได้เสียชีวิตเมื่อวันที่ 15 มีนาคม

2556 เป็นเหตุให้พ้นจากต�าแหน่ง

กรรมการอิสลามประจ�าจังหวัด ตาม

มาตรา 27 (1) และต�าแหน่งว่างลง

ตามมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติ

การบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ.

2540 และกระทรวงมหาดไทยให้ผู้ว่า

ราชการจังหวัดประชุมอิหม่ามประจ�า

มัสยิด เพื่อคัดเลือกกรรมการอิสลาม

ประจ�าจังหวัดแทนต�าแหน่งที่ว ่าง

ตามมาตรา 23 มาตรา 25 และกฎ

กระทรวง (พ.ศ. 2552) ออกตามความ

ส�ำหรับคณะกรรมกำรอิสลำม

ประจ�ำจังหวัดนครศรีธรรมรำช รวม

ทั้ งที่ ได ้รับกำรคัดเลือกใหม ่ รวม

ทั้งหมด จ�ำนวน 30 คน ซึ่งจะปฏิบัติ

หน้ำที่ เป ็นที่ปรึกษำหำรือของผู ้ว ่ำ

รำชกำรจังหวัด ตอบข้อสงสัยทำง

ด ้ำนศำสนำอิสลำม ให ้ค�ำปรึกษำ

เสนอควำมคิดเห็นเกี่ยวกับศำสนำ

อิสลำม กับผู้ว่ำรำชกำรจังหวัด ตลอด

จนก�ำกับดูแลตรวจสอบกำรปฏิบัติ

งำนของคณะกรรมกำรอิสลำมประจ�ำ

มัสยิดในจังหวัดนครศรีธรรมรำช โดย

มีวำระด�ำรงต�ำแหน่งครำวละ 6 ปี

และหมดวำระในวันที่ 23 พฤศจิกำยน

2560

เบญจมฯนคร เป็นเจ้าภาพ แข่งขันฟุตบอลพลาสติกชุดนัก-เรียน “นันยาง โกลหนู ไทยแลนด์ เล เจนด ์ คัพ” รอบชิ งแชมป ์ภาคใต้เลือก 4 ทีม ชิงชนะเลิศประเทศไทย แชมป์รับถ้วยพระ-ราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ พร้อมทุนการศึกษากว่า 3 แสนบาท

ห้องประชุมโรงเรียนเบญจม-ราชูทิศ นครศรีธรรมราช นายวิมล จ�านงบุตร ผู ้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ เป ็นประธานการแถลงข่าว การแข่งขันฟุตบอลพลาสติกในชุดนักเรียน “นันยาง โกลหนู ไทยแลนด์ เลเจนด์ คัพ” ถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยาม-บรมราชกุมารี ประจ�าปี 2556 รอบชิงแชมป์ภาคใต้ โดยมีนายสุชาติ ไชยสาร รองผู้อ�านวยการส�านักพัฒนากิจกรรมนักเรียน ส�านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือ สพฐ. นายภักดี เหมทานนท์ ผู ้อ�านวยการโรงเรียนเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช และนายจตุพร วัฒนพฤกษ์ ผู้แทนธนาคารกรุงเทพ จ�ากัด (มหาชน) ร่วมแถลง

นายวิมล จ�านงบุตร ผู้ตรวจราช-การกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า การแข่งขันฟุตบอลพลาสติกในชุดนักเรียน “นันยาง โกลหนู ไทยแลนด์ เลเจนด์ คัพ” ถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจ�าปี 2556 ชิงทุนการศึกษารวมกว่า 3 แสนบาท โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสนับสนุนเยาวชนให้แข็งแกร่งท้ังร่างกายและใจ รู ้จักสานพลังในความเป็นทีม และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ด ้วยการเล่นกีฬา ให้รู ้แพ้ รู ้ชนะ มีความสามัคคี และห่างไกลยาเสพติด ซึ่งในการแข่งขันรอบชิงแชมป์ภาคใต้ ก�าหนดแข่งขันระหว่างวันท่ี 22-23 สิงหาคม 2556 ณ โรงเรียนเบญจม- ราชูทิศ นครศรีธรรมราช แบ ่งการแข่งขันเป็น 3 รุ่น คือ รุ่นอายุ 12 ปี มีจ�านวน 24 ทีม รุ่นอายุ 15 ปี มีจ�านวน 64 ทีม และรุ่นอายุ 18 มีจ�านวน 64 ทีม โดยคัดเลือกเอาทีมอันดับที่ 1-4 ของ

แต่ละรุ่นเป็นตัวแทนของภาคใต้ ไปเข้าชิงชนะเลิศประเทศไทย ณ ศูนย์สรรพ-สินค้าซีคอนบางแค กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 6-8 กันยายน 2556

โดยแชมป์ประเทศไทยในรุ่น 15 ปี และรุ่น 18 ปี ได้รับถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยาม-บรมราชกุมาร พร ้อมทุนการศึกษา 20,000 บาท ส่วนรองแชมป์อันดับ 1 และ 2 รับทุนการศึกษา 10,000 บาท และ 5,000 บาท ตามล�าดับ พร้อมเกียรติบัตร ส่วนรุ่น 12 ปี แชมป์และรองแชมป์อันดับ1-2 รับทุนการศึกษา 5,000 บาท 3,000 บาท และ 2,000 บาท ตามล�าดับพร้อมเกียรติบัตร ส่วนทีมแชมป์และรองแชมป์อันดับ 1-2ในระดับภาค รุ่นอายุ 18 ปี และ 15 ปี ได้รับทุนการศึกษา 5,000 บาท 3,000 บาท 2,000 บาทตามล�าดับพร ้อมเกียรติบัตร และรุ่นอายุ 12 ปี แชมป์และรองแชมป์อันดับ1-2 รับทุนการศึกษา 3,000 บาท 2,000 บาท และ 1,000 บาท ตามล�าดับ

นายสุชาติ ไชยสาร รองผู้อ�านวยการส�านักพัฒนากิจกรรมนักเรียน ส�านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวว่า ฟุตบอลพลาสติก เป็นกิจกรรมสันทนาการท่ีเยาวชนคุ้นเคยกันอยู่ในชีวิตประจ�าวัน สามารถเล่นได้ทุกที่ ซึ่ง สพฐ.ได้สนับสนุนอย่างเต็มที่ เพราะมีความพึงพอใจกับผลการจัดการแข่งขันตลอด 2 ปีท่ีผ่าน ซึ่งปีนี้ได้จัดเป็นปีท่ี 3 แล้ว โดยได้รับการสนับสนุนอย่างดียิ่งจากภาคเอกชน

Page 7: หนังสือพิมพ์ มีดีนิวส์ ฉบับที่ 3 ประจำวันที่ 1 -15 กันยายน 2556

ฉบับที่ 3 ปักษ์แรก วันที่ 1-15 กันยายน พ.ศ. 2556 หน้า 7

คัดนักเรียน- ครูและบุคลากร ยกย่องเชิดชูเกียรติเฟ้นตัวแทนแข่งความสามารถงานศิลปะฯภาคใต้ที่พัทลุง ปลายปี รับการพัฒนาเด็กใต้สู่สากล

โรงเรียนเบญจมราชูทิศนครศรีธรรมราช

อ�าเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช นายวิมล

จ�านงบุตร ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ

ประธานเปิดงานมหกรรมวิชาการมัธยมศึกษา

ครั้งท่ี 23 ประจ�าปี 2556 โดยส�านักงานเขต

พื้นท่ีการศึกษามัธยมศึกษา เขต 12 ร่วมกับ

กลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการ

ศึกษามัธยมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

และตอนปลาย จังหวัดนครศรีธรรมราช และ

จังหวัดพัทลุง และองค์การบริหารส่วนจังหวัด

นครศรีธรรมราช จัดกิจกรรมมหกรรมวิชาการ

มัธยมศึกษา ครั้งที่ 23 ประจ�าปี 2556 ขึ้น

ระหว่างวันท่ี 21-23 สิงหาคม 2556 ณ

โรงเรียนเบญจมราชูทิศนครศรีธรรมราช

โดยมี โรงเรียนเมืองนครศรีธรรมราช

โรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช และโรงเรียนจุฬา-

ภรณราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช เข้าร่วม

เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้นักเรียน แสดงออก

ถึงทักษะความสามารถอย่างเต็มศักยภาพ จาก

การเรียนรู้ในห้องเรียนสู่การแสดงทักษะและ

ความสามารถต่อสาธารณชน ส่งเสริมการพัฒนา

นักเรียน เข้าร่วมการแข่งขันทักษะและความ

สามารถนักเรียนในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน

ภาคใต้ ประจ�าปีการศึกษา 2556 ในเดือน

พฤศจิกายน 2556 ณ จังหวัดพัทลุง ภายใต้

ค�าขวัญที่ว่า “สร้างขุมทรัพย์ทางปัญญา พัฒนา

เด็กใต้ ก้าวไกลสู่สากล” นอกจากน้ีกิจกรรม

มหกรรมวิชาการยังเป็นเวทีที่ได้คัดเลือกผู้บริหาร

ครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่มีผลงานดีเด่น

ยกย่องเชิดชูเกียรติและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกัน

หนึ่งที่ส่งเสริมให้นักเรียนได้มีกระบวนการเรียน

รู้ที่หลากหลาย เน้นให้นักเรียนได้น�าความรู้ไปสู่

การปฏิบัติอันส่งผลต่อการศึกษาสูงขึ้น เพื่อศึกษา

ต่อและประกอบอาชีพในอนาคต

ส�าหรับกิจกรรมภายในงาน มีการจัด

นิทรรศการ การแสดงผลงานของนักเรียน การ

ประกวดทักษะวิชาการต่าง ๆ ต่างมากมาย

ศักยภาพผู้เรียนให้เป็นคนดี คนเก่ง

และมีความสุข รู้จักท�างานร่วมกับ

ผู้อื่น มีความสามารถทางการคิด มี

ทักษะชีวิต และรู้จักแก้ปัญหา

เวทีส�าหรับคัดเลือกตัวแทน

และความสามารถเต็มตามศักยภาพของผู้เรียน

สามารถตอบสนองนโยบายและเจตนารมณ์ของ

การปฏิรูปการศึกษาให้เป็นรูปธรรม เป็นกิจกรรม

และกันเพื่อพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพ

ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ

กล่าวว่า การจัดงานมหกรรมวิชาการ

ถือว่าเป็นประเพณีของชาวมัธยมศึกษาที่

จัดสืบเน่ืองกันมาถึง 23 ครั้ง นับเป็นความ

ร่วมมือกันอย่างเหนียวแน่นที่จะช่วยกัน

ส่งเสริมคุณภาพทางวิชาการ การจัดเวที

ให้นักเรียนได้แสดงออก ได้แข่งขันทักษะ

Page 8: หนังสือพิมพ์ มีดีนิวส์ ฉบับที่ 3 ประจำวันที่ 1 -15 กันยายน 2556

ฉบับท่ี 3 ปักษ์แรก วันท่ี 1-15 กันยายน พ.ศ. 2556หน้า 8

นักวิชาการท้องถิ่น ศิลปินพื้นบ้าน ประชาชนร ่วมงานน�าศิลป ินแห ่งชาติ” ปณธิานกว”ี กลบับ้านเกดิตามประสงค์ วดัท่าโพธ์ิ มุ่งให้ชนรุน่หลงัได้ศกึษาผลงาน

25 สิ ง ห าคม 2556 ณ วั ดท ่ า โพ ธิ์วรวิหาร ชาวนครร ่วมเชิดชูเกียรติกวีเอกกรุงรัตนโกสินทร์ อังคาร กัลยาณพงศ์ ครบรอบ 1 ปี การจากไปของท่าน ภายในงานมีการเสาวนาเร่ือง “ฅนนครฯ คิดถึงอังคาร” โดย ผศ.ฉัตรชัย ศุกระกาญจน์, คุณสุธรรม ชยันเกียรติ, นพ.บัญชา พงษ์พานิช, รศ.ดร.สืบพงศ์ ธรรมชาติ พิธีบังสุกุลอัฐิ และ พิธีบรรจุอัฐิ ตามความประสงค์กลับบ้านเกิด โดยทางเหล่าญาติตระกูลชัยมุสิก ได้น�าเถ้าอัฐิของท่านอังคารมาบรรจุรวมไว้กับบิดา และ มารดา ณ ฐานใบเสมารอบอุโบสถ วัดท่าโพธิ์วรวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช อันเป็นต�าบลสถานบ้านเกิด

นายวรา จันทร์มณี เปิดเผยว่า ก่อนเสียชีวิต

อังคาร กัลยาณพงศ์ ก�าชับกับหลาน ชื่อนางสมจิตต์ ชัยมุสิก ว่าถ้าน้าตายให้พาน้ากลับบ้านด้วย พาไปอยู ่กับพ ่อแม ่และพี่สาวที่ ใบเสมารอบโบสถ ์ วัดท่าโพธิ์วรวิหาร หลานๆ ของท่านจึงมาหารือกับตน ต่างนับถือท่านเป็นครู ขณะอังคารเป็น กรรมการมูลนิธิโรคตับก็ได ้มอบภาพเขียนน�ามา ท�า ส.ค.ส. จ�าหน่ายหาเงินสมทบทุน และออกแบบตราสัญลักษณ์ให้มูลนิธิ ตนคิดว่าไม่ควรน�าอัฐิกลับ ไปบรรจุเฉยๆ ควรท�าอะไรเพื่อเป็นเกียรติแก่ท่านและเมืองนครด้วย “ผมจึงปรึกษากับอาจารย์ฉัตรชัย ศุกระกาญจน์ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครฯและคุณหมอบัญชา พงษ์พานิช เมืองนครมี ศรีปราชญ์กับอังคาร แต่ศรีปราชญ์เขียนไว้น้อยมาก เมื่อเปรียบกับอังคาร จึงมีการเสวนาและกิจกรรมอื่นๆ ตามสมควร”

นายวรา เปิดเผยว่า เพราะความใกล้ชิด จึงทราบว่า อังคาร กัลยาณพงศ์ มีความรู ้สึกค้าง

คาใจอยู ่ 2 เรื่อง คือ เมืองนครซึ่งเป็นบ้านเกิด ไม่ค่อยสนใจกับมหาวิทยาลัยศิลปากรไม่ชื่นชอบ ตนและกองทุนสิปปปชาจึงจัดงานเทิดเกียรติคุณของอังคารที่คีรีวง เมื่อปี 2551 และจัดงานมุทิตาจิตครบ 85 ปี ร่วมกับสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2554 ต่อมา อังคาร กัลยาณพงศ์ ได้รับพระราชทานปริญญา ดุษฎี บัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

อั งคาร กัลยาณพงศ ์ เกิด เมื่ อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2469 ณ บ้านหลังวัดจันทาราม ต.ท่าวัง อ . เมือง จ .นครศรีธรรมราช เรียนชั้นประถมโรงเรียนวัดจันทาราม โรงเรียนวัดใหญ่ โรงเรียน เบญจมราชูทิศ โรงเรียนเพาะช่างและ มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นศิษย์ของ ศ.ศิลป์ พีระศรี, เฟื้อ หริ-พิทักษ์ และเฉลิม นาคีรักษ์ ศึกษาค้นคว้างานด้านต่างๆ ทั้งศิลปกรรม โบราณคดี และประวัติศาสตร์

ท่านก็มานครศรีธรรมราช และก็ได้เป็นศิลปินแห่งชาติ เป็นอะไรต่างๆ คนดีศรีนครเยอะ แล้วท่านก็ เขี ยนกวีนิพนธ ์ ซึ่ ง เป ็น เรื่ อ งนิ ราศนครศรี - ธรรมราช และเขียนถึงพระบรมธาตุมากมาย ทีเดียวก็เลยเป็นห่วงว่าคนนครไม่รู ้จักก็เลยจัด ข้ึนมา ในวาระท่านกลับบ้านเกิด ก็คือน�าอัฐิของท่านมาไว้กับพ่อกับแม่ของท่าน ที่วัดท่าโพธิ์

“อันนี้คิดกันตั้งแต่คุยกันไว้ครั้งแรก แต่ว่าบังเอิญพาท่านมาไว้ที่นี่ แต่ทางวัดก็มีแนวคิดทางวัดอยู่แล้วที่จะไม่ให้สร้างอะไรเพิ่มเติมก็เลยท�าตามเจตนา นั้นแล้วก็ต่อไปในอนาคตก็คิดว่าน่าจะเป็นแกลลอรี่ สถานที่ เป็นเหมือนพิพิธภัณฑ์ของท่านอะไรสักท่ีหนึ่งในนครศรีธรรมราช ก็อาจจะมีรูปอนุสาวรีย์ของท่านด้วย ก็คิดกันมามากมาย แต่ว่าก็คงจะให้อาจจะให้คนรุ่นหลัง หรือคนรุ่นเรานี่แหละ เพราะแต่ว่าอีกสักระยะหนึ่งในการรวบรวม เพราะว่าบริษัทต่างๆของกรุงเทพฯก็พร้อมท่ีจะทุ่มเงินมาให้แต่ว่าเราเตรียมตัวไม่ทันเท่านั้นเอง ต่อไปก็คงจะเป็นอย่างนั้น

นพ.บัญชา พงษ์พานิช เลขานุการมูลนิธิ เปิดเผยว่าก็มีเพียงเจตนาของท่านท่ีสั่งไว้ กับพี่อุ่นเรือนกับลูกๆกับหลานๆและแม้กระทั่งกับ ผู้คนที่คุ ้นเคย บอกว่าถ้ายังไงพาลับไปอยู่เมืองนคร ไปอยู ่กับพ่อกับแม่ด้วย ด้วยเหตุนี้ เมื่อทางคณะญาติ มีข้อยุติเตรียมการและอยากจะจัดเนื่องในครบรอบ 1 ปีท่ีท่านอังคารเสียชีวิต พวกเราชาวนครที่มีความผูกพันก็ร่วมไม้ร่วมมือกัน เพื่อที่จะจัดให้ให้สมเจตนา แล้วก็ตามสมควร โดยมีทาง ผศ.ฉัตรชัย ศุกระกาญจน์ เป็นประธาน แล้วก็มีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์กับมหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช และก็อีกหลายฝ่ายเข้ามาร่วมกัน ตั้งใจสนองเจตนา ขณะเดียวกันสิ่งท่ีท่านอังคารท�า ก็น่าจะเป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้คนได้ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของบทกวี ไม่ว่าจะใจเรื่องของปรัชญาปณิธาน รวมทั้งแบบอย่างอันดีงามของท่าน

“เราก็เลยคิดว่าจัดท้ังท่ีก็ให้คนได้สัมผัส ได้เรียนรู้ตามสมควร ไม่งั้นก็เป็นแค่พิธีกรรม ด้วยเหตุนี้ก็มีกิจกรรมประกอบอื่นๆ ตามสมควร แต่ที่ส�าคัญ ผมเองได้รับมอบหมายให้เป็นบรรณาธิการท�าหนังสือเล่ม รับอังคารกลับบ้านเกิด ถือว่าเป็นหนังสือเล่มส�าคัญที่ประมวลแง่คิดว่าด้วยชีวิตของอังคาร ในฐานะคนนคร ในฐานะท่ีมีจิตวิญญาณเป็นศิลปินชาวนครศรีธรรมราช ก็รวบรวมออกมาเป็นหนังสืออังคารกลับบ้านเกิด ซึ่งมีหลายตอนที่ส�าคัญมาก ล้วนว่าด้วยการพลัดพรากไปจากบ้าน การระลึกถึงบ้าน แล้วก็ปณิธานชีวิต จนถึงเรื่องของวาระสุดท้าย เป็นการรวมบทกลอน บทประพันธ์ท่ีท่านจะไม่เคยเห็นในหนังสือเล่มอื่นมาก่อน เพราะส่วนใหญ่จะเป็นการผสมการเก็บนั่นเก็บนี่อย่างไม่เป็นระบบ อันนี้เก็บตั้งแต่แรกเขียน จนถึงวาระสุดท้าย ท่ีเขียนแม้กระท่ังบทสุดท้าย และก็ภายใต้กรอบความคิดตามท่ีกล่าวและยังมีความคิดของคนอื่นๆ ในนครที่มีแง่มุมต่างๆ ที่ส�าคัญพิเศษอีกอย่างคือประวัติท่านอังคาร จะเป็นประวัติฉบับหลานๆเขียน ซึ่งใครอื่นไม่รู ้หรอก หลานคนนครเป็นคนเขียน เป็นสิ่งที่เราตั้งใจจะให้เป็นหลักฐาน อีกอย่างหนึ่งเรียกว่า ปราชญ์กวีแก้วที่เป็นคนดี ศรีธรรมราช

นายแพทย์บัญชากล่าวอีกว่า ใครจะท�าจะท�าอย่างไร ท�าที่ไหน และจะเป็นอย่างไร อันนี้นะมันไม่ใช่แค่แรงบันดาลใจ ในฐานะท่ีผมท�าหอจดหมายเหตุท่านอาจารย์พุทธทาส มันมีเงื่อนไขอีกหลายอย่าง แค่คิดไม่ได้ มันมีว่าใครจะท�า และจะท�ายังไงและอะไรท่ีเหมาะท่ีควร ก็คงต้องคิดกันต่อไป ล�าพังผมเองก็คิดว่า ณ วันนี้ท�าได้แค่นี้ก็ดีที่สุดแล้ว

ชอบแต ่ งก วีมาตั้ งแต ่ยั ง หนุ่ม มีผลงานได้แก่ นิราศ นครศรีธรรมราชและ ปณิ-ธานกวี ผลงานจิตรกรรมก็สวยงามล�้าลึกไม่เหมือนใคร

สุธรรม ชยันเกียรติ ชมรมรักษ์บ้านเกิดเปิดเผยว่า เป้าหมายเราก็คือการเชิดชู เกียรติท ่ านอั งคารเพราะว่า มีหลายท่านบอกว่าไม่รู ้จักท่านอังคาร ท้ังๆ ท่ีท่านเป็นคนนคร แล้วก็ไม่เคยอ่านผลงานท่านที่จริงท่านก็ไม่ได้กลับนครมานานหลายสิบปี แต่ว ่าพักหลัง

Page 9: หนังสือพิมพ์ มีดีนิวส์ ฉบับที่ 3 ประจำวันที่ 1 -15 กันยายน 2556

ฉบับที่ 3 ปักษ์แรก วันที่ 1-15 กันยายน พ.ศ. 2556 หน้า 9

รับรื้อ รับซื้อขาย สร้างบ้าน ไม้เก่าเนื้อดี โดย โกตุ้ม (พัฒนา ดวงคงทอง) โทร. 087-2636129 โดย โกตุ้ม พัฒนา ดวงคงทอง โทร. 087-2636129

จิบกาแฟในบรรยากาศบ้านไม้สไตล์ธรรมชาติ มุมกาแฟที่ให้คุณได้นั่งสบายๆ

พร้อมกาแฟและเคร่ืองดื่มให้เลือกหลากหลาย

รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ว่าที่ ร.ต.ฐิตวัฒน เชาวลิต ออกมาบอกถึงความ พร ้อมงานประเพณีเทศกาลบุญสารท และกาชาด จังหวัดนคร ประจ�าปีนี้ 2556 ภายใต้แนวคิด “ชู-พระบรมธาตุฯ สู ่มรดกโลก” รวม 10 วัน 10 คืน ระหว่างวันที่ 28 ก.ย. - 7 ต.ค. 56 ณ สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ 84 ทุ ่งท่าลาด สวนสาธารณะศรีธรรมาโศกราช

และวัดหน้าพระมหาธาตุ นอกจากจะจัดขึ้นเพื่อสืบสานประเพณีของจังหวัดนครศรีธรรมราช ส่งเสริมการท่องเที่ยวแล้ว ยังเป็นการร่วมเฉลิมฉลองที่คณะกรรมการมรดกโลกรับรองพระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เข้าสู ่บัญชีเบื้องต้น ตามที่ประเทศไทยน�าเสนอ อย่างเป็นทางการ นายวิโรจน์ จิวะรังสรรค์ ผู้ว่าฯ สั่งการบูรณะขัดสีคราบสนิม ปล่องไฉน น�านั่งร้านลง

ก่อนเทศกาลเดือนสิบ เพื่อให้ลูกหลานชาวเมืองนคร และนักท่องเที่ยว ผ่านไปมา ได้บูชากราบไหว้ ประกอบกับการสร้างกิจกรรมการมีส่วนร่วมด้วยการชวนเชิญทอดผ้าป่า สมทบกองทุน พระบรมธาตุ มรดกธรรม น�าสู ่มรดกโลก ในวันที่ 3 ตุลาคม วันแห่หมฺรับแรม 14 ค�่า เดือน 10 พร้อมตั้งพุ ่มผ้าป่าให้ร่วมได้ตลอดงานเดือนสิบ งานเดือนสิบยังเข้มคงไว้พิธีบวงสรวงพระ บรมราชานุสาวรีย ์รัชกาลที่ 5 พระราชานุ - สาวรีย ์พระเจ ้าศรีธรรมาโศกราช การแข ่ง หนังตะลุงภาคใต้ ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จ-พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี การประกวด-แข่งขันศิลปวัฒนธรรมท้องถ่ิน เช่น เพลงบอก โนราห์ กลอนสด หนังตะลุงระดับเยาวชน การประกวดวรรณกรรมไทยและเพลงร้องเรือเด็ก การจัดตลาดย้อนยุค วิถีชีวิตย้อนยุค การละเล่นและการแสดงพื้นบ้าน การประกวด แข่งขัน สาธิตหัตถกรรมพื้นบ้านและภูมิปัญญาท้องถิ่น วิถีเศรษฐกิจพอเพียง การตั้งเปรตและชิงเปรต ประกวดหุ่นเปรต ปีนี้ประธานจัดงานเปรต ไพฑูรย์ อินทศิลา หมายม่ันท่ีจะงัดเอาความเป็นบาป-บุญ-คุณ-โทษ ออกมาสื่อในยุคของความขัดแย้งที่ยังคงศรัทธาม่ันต่อองค์พระบรมธาตุ การแข่งขันสามล้อพ่วงท้าย กิจกรรมเสริมอาชีพ อนุรักษ์ สีสันเครื่องหมายของการท่องเที่ยวเมือง จากสนามหน้ากองบังคับการต�ารวจ ไปสิ้น

สุดทุ่งท่าลาดการแสดงบนเวทีกลางของนักเรียน นักศึกษา และขาดไม่ได้คือ การประกวดนางสาวนครศรีธรรมราช มีผู ้ ยืนยันว่าแม้ยุคสมัยจะเปลี่ยนไป แต่กลิ่นไอนั้นคงอยู่

การแสดงและจ�าหน่ายสินค้าราชทัณฑ์ การแสดงแสงเสียงสื่อผสม การออกร้านนาวากาชาดและออกรางวัลสลากกาชาด ทอดผ้า ป่าจัดหาทุนตั้งกองทุนพระธาตุฯ สู ่มรดกโลก นอกจากนี้ ยังจัดให้มีกิจกรรมด้านการส่งเสริม การท่องเที่ยว กิจกรรมด้านพลังงาน เป็นต้น วันที่ 3 ต.ค. 56 ซึ่งตรงกับวันแรม 14 ค�่า เดือน 10 ริ้ว ขบวนแห่หมฺรับของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สถานศึกษาจะโชว์อย่างตระการตาและประกวด หมฺรับชิงหมฺรับทองค�าพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เคลื่อนจากสนามหน้าเมืองไปยังวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ขอเชิญชวนชาวนครศรีธรรมราชและนักท่องเที่ยว เที่ยวชมงานประเพณีเทศกาลบุญสารทเดือนสิบและงานกาชาด ประจ�าปี 2556 รวม 10 วัน 10 คืน ระหว่างวันที่ 28 ก.ย.–7 ต.ค. 56 นี้.

หลายๆ ครั้ง ที่ผ ่านมา ผู ้ว ่าราชการจังหวัดที่เตรียมงาน กับผู้ว่าฯ อยู่เปิดงานเป็นคนละคนกัน เหตุเพราะ เดือนตุลา-กันยา ตามฤดูกาล แต่ฤดูกาลนี้ จะเป็นอย่างไร ติดตามดูครับ

ว.อาชีวศึกษานครฯ จัดวันนักประดิษฐ์สร้างศักยภาพคิดค้นสิ่งประดิษฐ์สร้างสรรค์ เรียนจริง ปฏิบัติได้จริง ส่งผลงานเข้าประกวดในระดับประเทศ

วิทยาลัยอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช ว่าที่ ร.ต. กิตติ บรรณโศภิษฐ์ ผู ้อ�านวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช เป็นประธานในพิธีเปิดการประกวดแข่งขันผลิตภัณฑ์นักศึกษา ในโครงการวันนักประดิษฐ ์ ประจ�าป ีการศึกษา 2556 โดยมีนักเรียน นักศึกษาแผนกอาหารและโภชนาการส่งผลงานเข้าร่วมประกวดเป็นจ�านวนมาก นอกจากน้ียังมีการศึกษาดูงานของสถาบันอาชีวศึกษาในสังกัดด้วย

โครงการวันนักประดิษฐ ์ จัดโดยแผนกอาหารและโภชนาการวิทยาลัยอาชีวศึกษานคร- ศรีธรรมราช เป็นกิจกรรมเพื่อกระตุ้นให้นักเรียน นักศึกษาในแผนกได้รู ้จักวิเคราะห์ คิดค้นผลิต-ภัณฑ์เชิงสร ้างสรรค ์และเผยแพร ่ผลงานของตนเองสู่สาธารณะชน เพื่อให้ชิ้นงานจากความคิด

สามารถน�าไปใช้ได้จริง ซึ่งนอกจากเป็นการน�าเสนอแนวคิดของผู ้เรียนแล้ว ทางวิทยาลัยได้คัดสรรผลงานของผู้เรียนเพื่อส่งเข้าประกวดต่อในระดับ อศจ. ระดับภาค และระดับชาติต่อไปตามล�าดับและได้น�าความรู้ที่ผู ้เรียนค้นพบด้วยตนเองจัดเป็นองค์ความรู ้ใหม่และขยายองค์ความรู ้สู ่การเรียนการสอนในสถานศึกษา และให้ความรู้กับชุมชนในโอกาสต่อไป

ว่าที่ร ้อยตรี กิติ บรรณโศภิษฐ์ ผู ้อ�านวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช กล่าวว่า นโยบายที่ส�าคัญ เป็นนโยบายหลักที่ส�าคัญของกรรมการการอาชีวะศึกษาและวิทยาลัยการอาชีวะศึกษาเราได้น�ามาสู่การปฏิบัติ เพราะฉะนั้นที่เรียนสายวิชาชีพทุกคนควรเรียนในลักษณะของ Learn-ing by doing เรียนโดยการกระท�าจริง ณ วันนี้ แผนกวิชาอาหารและโภชนาการได้ด�าเนินการ ให้นักเรียนนักศึกษาทั้งแผนก ซ่ึงได้ด�าเนินการ 4 ปี ติดต่อกันมาแล้ว

“แผนกอาหารได้น�าผลิตที่ได้เรียนมาตั้งแต่สัปดาห์ที่หนึ่งจนมาถึงสัปดาห์ ณ วันนี้เป็นสัปดาห์

ที่ 15 ได้น�ำออกมำคิดประดิษฐ์ ออกมำสร้ำงสรรค์งำน น�ำเสนอต่อสำธำรณชนซึ่งถือว่ำเป็นกำรน�ำเสนอควำมคิด ควำมรู้ควำมสำมำรถ ท่ีเขำเหล่ำนั้นได้ประมวล เพื่อที่จะน�ำไปใช้ในอนำคตต่อ ในเรื่องทักษะซึ่งตรงกับ อัตลักษณ์ ของวิทยำลัยอำชีวศึกษำนครศรีธรรมรำชว่ำ ทักษะดีมีจิตอำสำ”

อ.สุจิรำ ปิ่นสญชัย ผู้ด�ำเนินกำรเรียนกำรสอน แผนกอำหำรและโภชนำกำรกล่ำวว่ำวัตถุประสงค์ ของโครงกำร ก่อนหน้ำท่ีจัดโครงกำรสัปดำห์วันนักประดิษฐ์ มีโครงกำรที่เป็นโครงกำรเผยแพร่ ผลงำนแผนกอำหำร เกิดขึ้นจำกกำรท่ีท�ำกำรเรียนกำรสอน ในวิชำกำรแปรรูปอำหำร ซึ่งใช้ผลิตภัณฑ์ในชุมชนและก็มองเห็นว่ำในชุมชนนี่มีผลิตภัณฑ์มำกมำย ก็เลยให้โจทย์นักเรียนไปว่ำให้เอำผลิตภัณฑ์ชุมชนท่ีไม่มีคุณค่ำ มำสร้ำงคุณค่ำให้เกิดข้ึนแล้วสิ่งท่ีปรำกฏก็คือนักเรียนสร้ำงผลงำนได้ดีมำก

หลังจำกนั้นโครงกำรก็ใหญ่ข้ึน จำกท่ีเรำท�ำไม่มีงบประมำณ โรงเรียนก็จะให้งบประมำณเรำมำ แล้วก็เข้ำมำสู่โครงกำรวันนักประดิษฐ์ และเมื่อเป็น

นครฯเตรียมพร้อมจัดงานประเพณีเทศกาลบุญสารทและกาชาดจังหวัด ประจ�าปี 2556 ภายใต้แนวคิด “ชูพระบรมธาตุฯ สู่มรดกโลก” 28 ก.ย.-7 ต.ค. 56 ที่ สวนสมเด็จ พระศรีนครินทร์ 84 ทุ่งท่าลาด...

โครงการวันนักประดิษฐ์แล้วช้ินงานของนักเรียนท่ีได้แสดงผลงานได้มีคณะกรรมการประเมินผล ซึ่งคณะกรรมการก็จะมาจากคณะครูส่วนหนึ่ง และคณะกรรมการนักเรียนส่วนหนึ่ง

“อีกรางวัลหนึ่งก็เป็นรางวัลขวัญใจมหาชน ที่ผู้ชมงานเป็นผู้ปักธงให้รางวัล เด็กๆก็จะมีความตื่นเต้นกับงานและภาคูมิใจกับผลงานของเขา ท่ีได้ออกสู่สายตาของบุคคลทั่วไป ในอาชีวศึกษาเราจะมีงานอยู่สองลักษณะคือ งานประกวดแข่งขันทักษะวิชาชีพซึ่ง ในสาขาวิชาจะคัดนักเรียน ในสายวิชาชีพนั้นๆ ส่วนโครงการวันนักประดิษฐ์ จะเปิดอิสระให้นักเรียนคิดของตัวเอง ใครอยากจะประกวดครูก็พาเดินต่อนี่คือท่ีมาของโครงการวันนักประดิษฐ์”

Page 10: หนังสือพิมพ์ มีดีนิวส์ ฉบับที่ 3 ประจำวันที่ 1 -15 กันยายน 2556

ฉบับท่ี 3 ปักษ์แรก วันท่ี 1-15 กันยายน พ.ศ. 2556หน้า 10

พื้นที่ป่าพรุมีการอ้าง สค.1 ถึง 800 ราย และ สปก.4-01 อีกมาก โดยทางเจ้าหน้าท่ีปฏิรูปท่ีดินเพื่อเกษตรกรรมจังหวัดนครฯ แจ้งว่าปัจจุบันมีพื้นท่ีด�าเนินงานของ สปก.อยู่ 9,543 ไร่ และจัดให้ราษฎรไปแล้ว 7,209 ไร่

ปี 2555 เกิดไฟป่าที่ป่าพรุควนเคร็ง จังหวัดนครฯ สร้างความสูญเสียอย่างมาก ท้ังพรรณพืช สัตว์ ดิน น�้า และสิ่งแวดล้อม ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศวิทยาโดยรวม เช่น สูญเสียไม้เสม็ดเป็นพื้นที่กว้างนับเป็นมูลค่าไม่ได้ อีกท้ังสังคมป่าเสม็ดเป็นสังคมพืชที่ขึ้นอยู ่เฉพาะถิ่นพบว่ามีเหลืออยู ่น้อยมากในประเทศไทย

ผลการศึกษาการใช้ประโยชน์ท่ีดินในพื้นท่ีป่าพรุควนเคร็งในเขตพื้นท่ีจังหวัดนครฯ-พัทลุงปี พ.ศ. 2555 ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าคลองค็อง ป่าดอนทรายและป่ากลอง ป่าท่าช้างข้าม ป่าบ้าน กุมแป ป่าบ้านในลุ่ม และป่าพรุควนเคร็ง ครอบคลุมพื้นที่ 179,248.70 ไร่ มีประเภทการใช้ที่ดินระดับ-3 (Level-III) ใน 4 ประเภทหลัก ได้แก่ ป่าไม้ พื้นที่เกษตรกรรม แหล่งน�้าและพื้นที่อื่นๆ

ผลกระทบจากไฟป่ากลุ่มป่าบ้านกุมแป ป่าบ้านในลุ่ม และป่าพรุควนเคร็งมีพื้นที่เกิดไฟรุนแรงสูงถึง 27,946 ไร่ รองลงมาเป็นกลุ่มป่าท่าช้างข้าม 15,937 ไร่ กลุ่มป่าดอนทรายและป่ากลอง 15,375 ไร่ กลุ่มป่าคลองค็อง 12,465.056 ไร่ รวม 71,724 ไร่

สรุปได้ว่า พื้นที่ป่าพรุควนเคร็ง 179,248 ไร่ มีพื้นที่ที่ไม่ถูกไฟป่าเข้ารบกวน 82,657 หรือร้อยละ 46.11 ในขณะที่มีพื้นท่ีท่ีเกิดไฟป่าลุกลาม 96,591 ไร่ หรือร้อยละ 53.88 โดยเป็นพื้นท่ีท่ีเกิดไฟไม่รุนแรง 24,866 ไร่ หรือร้อยละ 13.87 ส่วนพื้นที่ที่เกิดไฟป่ารุนแรง 71,724 ไร่ หรือร้อยละ 40.01 ของพื้นที่ทั้งหมด

เหตุการณ์ไฟไหม้ป่าพรุควนเคร็งปี 2555 สร้างความเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติในพื้นท่ี

ท้ังโครงสร้างและองค์ประกอบของป่า นอกจากนี้ยังท�าให้ป่าซึ่งเป็นแหล่งเก็บกักคาร์บอนเสื่อมโทรมลง ไฟป่าท้ิงร่องรอยของลักษณะพฤติกรรมบางประการไว้ท�าให้ประเมินเชื้อเพลิงและพฤติกรรมไฟได้ ข้อมูลเหล่านี้เจ้าหน้าท่ีสามารถไปใช้ในการบริหารจัดการไฟในพื้นท่ีในอนาคตและสามารถใช้อธิบายผลกระทบของไฟไหม้ครั้งนี้ท่ีมีต่อระบบนิเวศป่าไม้ได้

สถิติและการปฏิบัติการควบคุมไฟป่าพรุควนเคร็ง ปี 2555

สาเหตุหลักยังคงมาจากการจุดไฟท�าให้ป่าเสื่อมโทรมลงเพื่อนาพื้นท่ีไปท�าการเกษตร รองลงมาได้แก่การเผาพื้นท่ีเกษตรกรรมแล้วลุกลามเข้าสู่พื้นที่และการหาของป่าล่าสัตว์

ขนาดของพื้นท่ีไฟไหม้แต ่ละครั้งไม ่เกิน 10 ไร่ รองลงมา 11-20 ไร่ ขนาด 300-500 ไร่ 10 ครั้ง ส่วนไฟไหม้ขนาดใหญ่ที่สร้างความเสียหายแก่พื้นที่มากกว่า 500 ไร่ เกิดขึ้น 5 ครั้งสร้างความเสียหาย 3,905 ไร่

ปี 2555 ไฟไหม้ส่วนใหญ่อยู ่ในช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม ไฟไหม้บ่อยท่ีสุดระหว่าง 11.00-15.00 น. ไฟไหม้สูงสุดเวลา 13.00-14.00 น.

การควบคุมไฟป่ากระท�าโดยจัดตั้งกองอานวยการควบคุมไฟป่าป่าพรุ

ควนเคร็ง (เฉพาะกิจ) จังหวัดนครฯ เมื่อวันท่ี 22 มิถุนายน 2555 ณ บริเวณศาลหลวงต้นไทร หมู่ที่ 11 ต.การะเกด อ.เชียรใหญ่ และก�าลังพลชุดปฏิบัติการพิเศษดับไฟป่า (หน่วยเสือไฟ) จากศูนย์ปฏิบัติการไฟป่า 15 ศูนย์ฯ ท่ัวประเทศเข้าสนับสนุนปฏิบัติการ

สถานีควบคุมไฟป่าพื้นท่ีลุ่มน�้าปากพนังอันเน่ืองมาจากพระราชด�าริ สถานีควบคุมไฟป่า 5 สถานี ในสังกัดส�านักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 (นครฯ) ได้รับการสนับบสนุนจากกองอ�านวยการควบคุมไฟป่าพระราชวังไกลกังวล โดยได้จัดส่งรถบรรทุกน�้า 1 คัน และเจ้าหน้าที่ 3 นาย กรมอุทยานแห่งชาติฯ จัดระดมกาลังเจ้าหน้าท่ีควบคุมไฟป่าของส�านักบริหารพื้นท่ีอนุรักษ์ ในสถานการณ์ไฟป่ารุนแรงมากจนถึงขั้นวิกฤติ ในวันที่ 16 สิงหาคม 2555

ปฏิบัติการต่างๆ ใช้ก�าลังเจ้าหน้าท่ี 1,120 นาย พร้อมอุปกรณ์ดับไฟป่า รถบรรทุกน�้า 18 คัน เครื่องสูบน�้าพร้อมสายส่งน�้า 83 เครื่อง และได้รับการสนับสนุนก�าลังเจจากกองทัพภาคท่ี 4 จ�านวน 360 นาย พร้อมรถบรรทุกน�้า 22 คัน

จนถึงวันที่ 20 กันยายน 2555 สถานการณ์เริ่มคลี่คลายจึงเข้าควบคุมสถานการณ์ไฟป่าได้ จากน้ันจึงถอนก�าลังพร้อมอุปกรณ์ออกจากพื้นท่ีกลับท่ีตั้งสังกัดเดิม ปฏิบัติการน้ีใช้งบประมาณ 8,320,000 บาท

พัทลุง และจังหวัดสงขลา มีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติอย่างหลากหลาย

ปี 2505 ได้เกิดพายุไต้ฝุ ่นแฮเรียดพัดผ่านภาคใต ้เป ็นเหตุให ้ป ่าพรุดั้ งเดิมในพื้นที่ป ่าพรุควนเคร็งโค่นล้มเสียหาย เมื่อชุมชนเติบโตและประชากรได้เพิ่มมากขึ้น ป่าพรุควนเคร็งจึงถูกท�าลายและบุกรุกจับจอง

หลังจากเกิดไฟไหม้หลายครั้งติดต ่อกัน พรรณไม้ดั้งเดิมถูกทดแทนด้วยไม้เสม็ดซึ่งสามารถเจริญเติบโตได้ในน�้าเปร้ียว ส่วนไม้พ้ืนล่างอย่างกระจูดยังด�ารงชีวิตอยู่ได้ จนกลายเป็นพืชเศรษฐกิจสร้างอาชีพและรายได้แก่ชุมชน

ป่าพรุควนเคร็งเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ป่าชนิดต่างๆ อย่างน้อย 301 ชนิด เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 65 ชนิด นกป่า 185 ชนิด สัตว์เลื้อยคลาน 42 ชนิด และสัตว์สะเทินน�้าสะเทินบก 17 ชนิด

ป่าพรุควนเคร็งในพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน�้าปากพนัง อันเนื่องมาจากพระราชด�าริ ปี พ.ศ.2550 พบว่ามีประเภทรูปแบบการใช้ที่ดินส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ป่าพรุมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ พื้นที่อื่นๆ ไม้ยืนต้น นาข้าวแหล่งน�้า หมู่บ้าน ไม้ผล พืชสวน พืชไร่ พ้ืนที่ชุมชนและส่ิงปลูกสร้าง พ้ืนที่เกษตรอื่นๆ และป่าชายเลน

ปี 2555 พบว่าป่าพรุถูกบุกรุก แผ้วถาง สุมเผา ป่าต้นเสม็ดขาวปรับพื้นที่และขุดร่องปลูกปาล์มน�้ามันเป็นบริเวณกว้าง ซ่ึงถูกด�าเนินคดีไปแล้วกว่า 3,000 ไร่ และอยู่ระหว่างการตรวจสอบ-เนื่องจากมีการอ้างเอกสารแสดงสิทธิการครอบครองที่ดิน เช่น สค.1 สปก.4-01 นส.3 นส.3 ก และโฉนดที่ดิน จากการส�ารวจเบื้องต้นพบว่า ใน

ป่าพรุ เป็นหนึ่งในสังคมป่าบึง (swamp

forest) ซึ่งแยกย่อยออกเป็น 3 รูปแบบ คือ ป่าชายเลน (mangrove forest) ป่าบึงน�้าจืด (fresh

water swamp forest) และ ป่าพรุดินพีท (peat

swamp forest)

พรุ ในภาษาไทยหมายถึงพ้ืนที่ ลุ ่มหรือพื้นที่น�้าขังที่มีการสะสมดินอินทรีย์ (peat) หรือดินพรุเพิ่มขึ้นเร่ือยๆ ตามระยะเวลา พรุโดยปกติจะเป็นพื้นท่ีที่เต็มไปด้วยดินอินทรีย์ เนื่องจากมีอัตราการสะสมของอินทรียวัตถุมากกว่าการย่อยสลาย และมีกิจกรรมของแบคทีเรียต�่า

ป่าพรุมีบทบาทส�าคัญอย่างมากในการเป็นแหล่งดูดซับคาร์บอน และเก็บกักคาร์บอน ป่าพรุทั่วโลกประมาณ 380,000 ตร.กม. แต่สามารถเก็บกักคาร์บอนไว้ประมาณมากถึง 50,000-70,000 ล้านตัน หรือประมาณ 3% ของคาร์บอนที่เก็บกักอยู่ในดินของโลก

ป่าพรุควนเคร็ง เป ็นป ่าพรุ ในลุ ่มน�้ าปากพนัง ครอบคลุมพื้นป่าสงวน 4 ป่า ได้แก่ ป่าคลองทราย-ป่ากอง ป่าหมายเลข 102 แปลงที่ 1 ป่าคลองค็อง และป่าท่าช้างข้าม มีเนื้อที่ทั้งหมด 354,339 ไร่ ป่าไม้ถาวรของชาติตามมติคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2516 มีเนื้อที่ทั้งหมด 178,275 ไร่ ป่าสงวนแห่งชาติตามกฎกระทรวง มีเนื้อที่ทั้งหมด 165,825-2-0 ไร่ และป่าสงวนแห่งชาติรับคืนจาก สปก. เน้ือที่ 109,656-1-28 ไร่ ที่จังหวัด

การบุกรุกพื้นที่ป่าพรุควนเคร็ง เพื่อใช้ประโยชน์ที่ดินในทางเกษตรกรรม

การเก็บข้อมูลวิจัยในพื้นที่ป่าพรุควนเคร็ง

พ้ืนที่ประชาสัมพันธ์

ลด ละ เลิก การกระท�าที่ก่อให้เกิดไฟป่า พบเห็นไฟป่า แจ้ง 086-4781726 ด้วยความปราถนาดีจาก ศูนย์ประสานงานการแก้ไขปัญหาไฟไหม้ป่าพรุควรเคร็งในพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน�้าปากพนัง อันเนื่องมาจากพระราชด�าริ ส�านักโครงการพระราชด�าริ และ กิจการพิเศษกรมป่าไม้ “หยุดจุด หยุดเผา เพื่อป่าไม้เรายั่งยืน”

Page 11: หนังสือพิมพ์ มีดีนิวส์ ฉบับที่ 3 ประจำวันที่ 1 -15 กันยายน 2556

ฉบับที่ 3 ปักษ์แรก วันที่ 1-15 กันยายน พ.ศ. 2556 หน้า 11

ผลกระทบไฟป่าในพ้ืนที่พรุควนเคร็งส่งผลกระทบด้าน

เศรษฐกิจ คือการท�าลายความอุดมสมบูรณ์ของดิน จ�านวนป่าลดลง ของป่าลดลง ท�าลายความหลากหลายทางชีวภาพทั้งพืชและสัตว์ รายได้ของราษฎรที่มาจากการเก็บลูกหว้า ผักป่า แมลงและไข่ เช่น ตัวต่อ ผึ้งและมดแดง การจับสัตว์น�้า เก็บเห็ดต่างๆ ตัดกระจูดและสาคู ราษฎรสูญเสียรายได้ไปประมาณ 4.22 ล้านบาทต่อปี จึงเกิดความเสียใจ เสียดาย เสี่ยงต่อการด�าเนินชีวิตและสูญ- เสียทรัพย์สิน คุณภาพสิ่งแวดล้อมโดยรวมของชุมชนแย่ลง โดยเฉพาะมลภาวะทางอากาศจากเขม่าควันไฟปกคลุมรายรอบพื้นที่ป่าพรุไม่ต่่ากว่า 30 หมู่บ้านในรัศมีไม่เกิน 5 กิโลเมตรจากแนวเขตป่า อ.เฉลิมพระเกียรติ และ อ.ชะอวด

จากการศึกษาพบว่า ต.บ้านตูล อ.ชะอวด และ ต.สวนหลวง อ.เฉลิมพระเกียรติ ได้รับผล กระทบมากที่สุด ได้แก่ หมู่บ้านกุมแป และ หมู่บ้าน ทุ่งปราน ต.บ้านตูล อ.ชะอวด และ หมู่บ้านทับแขก ต.สวนหลวง อ.เฉลิมพระเกียรติฯ ซ่ึงวัดตามระยะตามระยะทาง ใกล้ ปานกลาง และ ไกล

ไฟป่ายังกระทบต่อสัตว์ป่า 4 ประเภท ได้แก่ นก สัตว์เล้ียงลูกด้วยนม สัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์สะเทินน�้าสะเทินบก ผลการศึกษาพบว่ามีสัตว์ป่าในป่าพรุควนเคร็ง 148 ชนิด เป็นนกป่า 89 ชนิด สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 14 ชนิด สัตว์เลื้อยคลาน 28 ชนิด และสัตว์สะเทินน�้าสะเทินบก 17 ชนิด สัตว์ที่ถูกไฟไหม้ 100 ชนิด เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 14 ชนิด นก 59 ชนิด สัตว์เลื้อยคลาน 15 ชนิด สัตว์สะเทินน้าสะเทินบก 12 ชนิด

สัตว์ป่าที่ได้รับผลกระทบมาก 50 ชนิด ได้รับผลกระทบปานกลาง 95 ชนิด และได้รับผลกระทบน้อย 23 ชนิด

ผลกระทบของไฟป่าต่อความหลากหลายของแมลงในป่าพรุควนเคร็ง

การศึกษาแมลงใน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแมลงตามพื้นป่าและแมลงผิวดิน (soil insects) ภายหลังเกิดไฟป่า มีการเปลี่ยนแปลงจ�านวนประชากรแมลงท้ัง 83 ชนิด 18 วงศ์ ผลของไฟพบว่าการศึกษาพบมดจากป่าพรุแพร่กระจายเข้าไปในหลายพื้นท่ีท้ังในพื้นที่ป ่าธรรมชาติ และพ้ืนที่อนุรักษ์ต่างๆ โดยเฉพาะในพ้ืนที่เปิดโล่ง เช่นพ้ืนที่ที่ถูกไฟไหม้ พื้นที่รกร้างเส่ือมโทรม พ้ืนที่เกษตร และพ้ืนท่ีอื่นๆ ซึ่งอาจมีผลต่อชนิดพันธุ์ของถิ่นที่อาศัยดั้งเดิมนั้นๆ ได้

เจ้าภาพหลักที่จะดูแลเรื่องไฟป่า ก็คือกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กับกรม

ป่าไม้เราเข้ามาสนธิก�าลัง เราเอาเส้นแบ่งทั้งหมด ผืนป่าทั้งหมดที่ติดต่อกัน เราจะแยกอย่างนั้นไม่ได้เพราะฉะนั้นกระบวนการที่เราต้องการมากที่สุดคือบูรณาการด้วยกัน สนธิก�าลังด้วยกัน

ไฟป่าร้อยละ 98-99 เป็นฝีมือของมนุษย์ทั้งนั้น เรื่องการจุดไฟเผาไร่หรือการเตรียมพื้นที่ทางการเกษตร การเตรียมพื้นที่ที่ง่ายที่สุดคือเผา ซึ่งเราก็เร่งประชาสัมพันธ์หรือเร่งให้ความรู ้แก่เกษตรกรทั่วไปอยู่แล้วว่า ขอให้ ละ เลิก แล้วมาใช้การกวาดเก็บวัสดุจ�าเป็นและน�ามาท�าประโยชน์ เช่นท�าปุ๋ย การประชาสัมพันธ์หรือการป้องปราม เราก็ขอความร่วมมือไปแล้วว่าถ้าคิดว่าจะต้องเผาจริงๆ ก็ขอให้แจ้งกรมป่าไม้หรือกรมอุทยานแห่งชาติฯ ให้เราไปควบคุมดูแลการเผานั้นให้อยู่ในพื้นที่ที่เหมาะสมได้ ก็เข้าใจว่าป่าพรุควนเคร็งทั้งหมดเป็นที่ราบ โล่ง ตอนเผาเมื่อเวลาลมพัดมาและแรงมาก ถ้าไม่มีการจัดเตรียมจะควบคุมได้ยากมากโดยเฉพาะต้องมีน�้ามาเลี้ยงไม่ให้ไฟลาม เราขอความร่วมมือซึ่งตอนน้ีก็มีคนมาร้องขอตลอดเวลา

ปี 2553 มีผลเสียหายมากกว่านี้สองหมื่นไร่ แต่ปี 2554 ไฟไหม้ไม่ถึง 10 ครั้ง ปี 2555 พื้นที่ป่าหรือพื้นที่ทางการเกษตรสูญเสียไปประมาณหน่ึงแสนสองหมื่นกว่าไร่ และมีไฟป่าประมาณ 129 ครั้ง ปี 2556 เราก็จัดการประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง-- มีกรมชลประทาน กรมอุทยานแห่งชาติฯ กรมป่าไม้ เพื่อบูรณาการป้องกันและป้องปรามมาต้ังแต่เดือนกุมภาพันธ์โดยมี กปร.เป็นหน่วยงานหลัก เราแบ่งกันว่า ใครมีหน้าที่อะไรๆ ก็ไปด�าเนินการตามนั้น ณ วันนี้สถานการณ์เข้าสู่ภาวะค่อนข้างเสี่ยงสูงแล้ว จากไม่ก่ีสัปดาห์ที่ผ่านมามีไฟป่าประมาณเป็นสิบคร้ัง ความเส่ียงเร่ิมมีแล้ว แต่ผมมั่นใจว่าการบูรณาการมีผล ถ้าไม่ท�าแบบนี้ตั้งแต่ต้นผมว่าปริมาณไฟน่าจะมีมากกว่าปีที่แล้วแน่นอน อย่างชลประทานก็ให้ความกรุณาในการรักษาระดับน�้า ดูแลประตูระบายน�้า ก็จะกักเก็บน�้าเข้าสู่พื้นที่ป่าพรุให้มากที่สุด และกรมอุทยานฯและกรมป่าไม้ จัดแบ่งก�าลังกันออกเฝ้าระวังและด�าเนินการ

ช่วงที่พีคที่สุดเดือนเมษายนเป็นต้นมาจนถึงกันยายนฝนทิ้งช่วง แต่ว่าปีน้ีแปลก เราคิดว่าไฟเริ่มเข้าสู่ความเสี่ยงสูงแล้ว เริ่มตั้งแต่กรกฎาคมประมาณว่าอาจจะยืดไปถึงเดือนตุลาคมด้วยซ�้า

เพราะว่าฤดูกาลมันเริ่มจะขยับ จากเดิมที่ผ่านๆ สถิติเก่าๆ กุมภาพันธ์ก็จะมาหมดเดือนกรกฎาคม ก็คือเข้าสู่หน้าฝนของภาคใต้ และพื้นที่ตรงนี้ก็เป็นเรื่องที่แปลกอยู่อย่างหนึ่ง เหมือนกับเป็นลักษณะของพื้นที่เงาฝน ที่อื่นจะคิดว่าฝนตกหรือว่าอะไรที่ตกลงมากๆ แต่ว่าที่นี่จะตกน้อยมาก แต่พอถึงรอบของเขา เขาจะตกหนักมาก พอทิ้งช่วงเขาจะทิ้งช่วงยาว

การเผาก็คงเป็นการเตรียมพ้ืนที่ของการ เกษตร เพราะพื้นที่เราให้ สปก. จะเป็นพ้ืนที่ทางการเกษตร อาจจะปลูกปาล์ม หรือนาข้าว ตามวิถีชีวิตดั้งเดิม ในกรณีของนาข้าวก็จ�าเป็นต้องสูบน�้าเข้าแปลงนาตัวเอง เมื่อสูบน�้าเข้าเยอะๆน�้าที่มีอยู ่ในพื้นที่ ในคลองหรืออะไรก็ตามก็จะลดน้อยถอยลง กว่าจะกลับมาเข้าสู่ระบบเดิมก็ต้องใช้เวลา เป็นรอบของตรงนั้น แต่ผมไม่ได้โทษเกษตรกร ยังไม่มีใครท�ารายงานออกมาชัดเจนว่ามันเป็นเรื่องนี้

ส่วนปัญหาการขยายพ้ืนที่เราก็ด�าเนินการเป็นขั้นเป็นตอนอยู่แล้ว มีการสอบสวนสิทธิ์ตั้งแต่ปีที่แล้ว ว่าได้มาถูกต้องหรือไม่ แต่กระบวนการสอบสวนสิทธิ์ต้องเข้าสู่กระบวนการศาล หรือโต้แย้งสิทธิ์กันกว่าเรื่องจะจบก็ใช้เวลานาน แต่เราอยากใช้มาตรการขอความร่วมมือขอความเห็นใจว่า ถ้าไม่จ�าเป็นอย่าจุดเถอะถ้าจะจุดก็เรียกพวกเรา เราจะไปช่วยดูแลให้ เราจะส่งเจ้าหน้าที่กับเครื่องส่งน�้า อุปกรณ์ดับไฟเข้าไประวังประจ�าจุดตั้งแต่เช้าจนเย็นตามจุดที่ล่อแหลม มาตรการ อื่นๆ เช่น การตรวจสอบที่หอไฟ ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ของกรมอุทยานฯ ข้ึนไปอยู่ที่หอไฟทุกวันและก็รายงานทุกชั่วโมง บนหอไฟมีกล้องส่องทางไกลชี้พิกัดกลุ่มควัน ถ้ากลุ่มควันสีขาวจะไม่ค่อยรุนแรง แต่ถ้าเป็นควันด�าเหมือนคาร์บอนขึ้นมา อันนั้นจะรุนแรง ก็จะรายงานมาว่าเป็นพ้ืนที่อะไร คนที่อยู่จุดประจ�าพื้นดินก็จะเข้าไปตรวจสอบ ถ้าสอบตรวจแล้วเป็นไฟเขาก็จะรายงานทางวิทยุได้ตลอดเวลาว่าต้องการก�าลังเสริมหรือไม่ หรือต้องการอะไรหรือไม่

เวลาเกิดไฟป่าถ้าเป็นพื้นที่โล่งการสกัดไฟท�ายากมาก บางทีต้องล้อมหน้าล้อมหลัง หรือปล่อยให้ไหม้จนดับ เพราะการสู้กับไฟตรงๆ เป็นอันตรายมาก ไม่ได้เราจะเอาเครื่องฉีดน�้าไปฉีด

ชัยกรณ์ กีฏามระ หัวหน้าศูนย์ประสานงานการแก้ไขปัญหาไฟไหม้ป่าพรุควนเคร็ง

ในพื้นที่โครงการพัฒนาพ้ืนที่ลุ่มน�้าปากพนัง

อันเนื่องมาจากพระราชด�าริ จังหวัดนครศรีธรรมราช

สู้กับไฟ บางทีเราก็ต้องไปดัก ท�าแนวไว้ แล้วปล่อยให้เขาไหม้ไปจนถึงเพ่ือไม่ให้ไปต่อ แต่เราจะต้องท�าให้เร็วที่สุด ถ้าช้าไฟกองเล็กจะกลายเป็นไฟกองใหญ่ นั่นคือที่มาของการสนธิก�าลังไปวางในพื้นที่พร้อมอุปกรณ์และมีการสื่อสารตลอดเวลา

ก�าลังพลเป็นค�าสั่งของท่านผู ้ว ่าราชการจังหวัดตั้งแต่ต้นปีแล้ว ใครมีอุปกรณ์อะไร มีก�าลังเท่าไหร่ มีความพร้อมแค่ไหน เราเอามากางกัน แล้วจัดแบ่งกันโดยไม่มีแยกว่าพ้ืนที่นี้เป็นพื้นที่อะไร เรื่องไฟป่าเป็นเรื่องของภัยพิบัติเอาพ้ืนที่มาแยกไม่ได้ เอาความเป็นเจ้าภาพพ้ืนที่มาแยกไม่ได้ ไฟไหม้ที่ไหนดับที่นั่นก่อนนั่นคือเป้าหมายหลักของเรา เราเอาเครื่องไม้เครื่องมือมากางกัน ใครสะดวกใครไปตรงไหนได้ก็ไป เม่ือวางจุดเรียบร้อยแล้ว มีกระบวนการสื่อสารที่ชัดเจน และคนที่วางจุดเราก็ไม่ได้ให้เขาอยู่เฉยๆ หากอยู่ในพื้นที่ ถ้ามีรถมอเตอร์ไซด์ก็ขับตระเวนไป เจ้าหน้าที่ทุกท่านก็ใส่เสื้อแดง ซึ่งเป็นเสื้อประจ�าไฟป่าก็ลาดตระเวนกัน ส่วนใหญ่พนักงานของเราก็เป็นคนในพ้ืนที่ด้วย เขาก็จะรู ้ว่าคนที่เข้ามาอาจจะเป็นคนแปลกหน้าหรืออะไรมาท�าอะไรที่นี่

การวางแผนจะมีตัวชี้วัดว่าถ้าเกิดไฟแล้วไม่สามารถดับได้ก็เข้าสู ่แผนสองที่วางไว้ตามระดับความรุนแรง ก็จะมีการสนธิก�าลังเพ่ิมเติม อย่างปีที่แล้วกรมอุทยานฯ ก็มีเสือไฟ กรมป่าไม้เองก็มีหน่วยส่งเสริมก�าลังควบคุมไฟป่ามาจากสุราษฎร์ธานี และสงขลา แล้วยังมีเจ้าหน้าที่จากหน่วยป้องกันรักษาป่าของส�านักจัด การทรพัยากรป่าไม้ที ่12 นครศรธีรรมราช มาร่วมกนั กรณีที่ใช้เฮลิคอปเตอร์คงจะเป็นขั้นที่รุนแรงแล้ว และอาจจะมีการสนับสนุนก�าลังจากกองทัพภาคที่ 4 หรือ ปภ. แต่ก่อนหน้านั้นก็ประสานกับส�านักการบินฝนหลวงอยู ่ตลอดเวลา การท�าฝนให้ตกตรงเป้าหมายเป็นเรื่องยากมาก บางทีลมจะพาไปตกที่ทะเลหมด ก็ต้องมีการขอจากส�านักการบินฝนหลวง ขอทุกครั้งก็มาทุกครั้ง

Page 12: หนังสือพิมพ์ มีดีนิวส์ ฉบับที่ 3 ประจำวันที่ 1 -15 กันยายน 2556

ฉบับท่ี 3 ปักษ์แรก วันท่ี 1-15 กันยายน พ.ศ. 2556หน้า 12 หน้า 12

เรามีเครื่องพิมพ์ระบบดิจิตอลผลิตงานได้คุณภาพสูง รวดเร็ว ภาพคมชัดสูงสุดทุกรายละเอียด ทันสมัย ครบวงจร มาตรฐานมืออาชีพ

ท่ีพักหร ูสะดวกสบาย ห้องประชมุสมัมนาครบวงจร และการบรกิารท่ีเพียบพร้อม

ใจกลางเมอืงนครศรธีรรมราชส�ารองห้องพักได้ท่ี โทร.075-32377

แสงเสียง นครเอ็กซ์เพรส คัลเลอร์ ส่ีแยกตลาดแขก โดย คุณธนิต ธนิตยวงศ์เปิดบริการทุกวัน 7.30 – 20.00 น. วันอาทิตย์ 7.30 – 18.00 น. โทร 075-356325 อีเมล : [email protected], Facebook/แสงเสียง นครเอ็กซ์เพรส คัลเลอร์

- บริการถ่ายพรีเวดดิ้งทั้งในและนอกสถานที่ - แต่งหน้าท�าผมในสตู - ถ่ายรูปหมู่บัณฑิตน้อย ชุดครุยมีครบทุกสถาบันในพื้นที่จ.นครศรีธรรมราช

เก็บภาพความประทับใจ จากฟิล์มสู่ดิจิตอล สะสมประสบการณ์ผ่านเลนส์มากกว่า 30 ปี

Page 13: หนังสือพิมพ์ มีดีนิวส์ ฉบับที่ 3 ประจำวันที่ 1 -15 กันยายน 2556

ฉบับที่ 3 ปักษ์แรก วันที่ 1-15 กันยายน พ.ศ. 2556 หน้า 13

ผศ.ดร.ลัดดาวัลย์ แก้วศรีนวล คณบดีคณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช กล่าวว่า การจัดสัมมนามุ่งเป้าหมายไปที่สื่อกระจายเสียงและภาพของภาคใต้ ซึ่ง กสทช. ก็เล็งเห็นความส�าคัญ ให้อิสระเสรีภาพแก่สื่อ หลังจากที่ก่อนหน้านี้ก็ให้อิสรเสรีภาพกันพอสมควรในการที่จะให้ส่ือท�างานกัน อย่างอิสระเสรี แต่กระนั้นก็เพื่อให้ส่ือได้ท�าหน้าที่บทบาทของอย่างเต็มความสามารถ และก็เพ่ือพิทักษ์สิทธิเสรีภาพของประชาชน มีการท�าความเข้าใจกับสื่อในทุกภูมิภาค

ภาคใต้ของเราถือเป็นภาคสุดท้าย เชิญส่ือมวลชน ผู้ประกอบการวิทยุกระจายเสียง วิทยุชุมชน วิทยุบริการสาธารณะ แล้วก็วิทยุประเภทธุรกิจ รวมทั้งเคเบิ้ลทีวี ทีวีดาวเทียม ส่ือโทรทัศน์ ในท้องถิ่นทั้ง 14 จังหวัดภาคใต้ รวมแล้วประมาณ 120 คน มาระดมความคิดเห็น แนวทางในการที่จะก�ากับดูแลตนเองในเชิงของคุณธรรม จริยธรรมสื่อ ในการท�าหน้าที่ของสื่อที่สามารถจะท�าให้ชุมชน ประชาชนได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง

การท�าหน้าที่ของสื่อ เพื่อแสวงหาแนวทางในการที่จะท�าให้สื่อหันมามองตัวเอง ก�ากับดูแลการท�างานของตัวเอง เนื้อหาสรุปน�าเสนอต่อคณะ กสทช. เพื่อที่จะหามาตรการในการที่จะมาเป็นแนวทางก�ากับ ซ่ึงอันนี้ก็ข้ึนอยู ่กับข้อมูลภาคใต้ คือแต่ละภาคท่ีผ่านมาอาจจะไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นข้อมูลเหล่านี้ก็จะเป็นข้อมูลในการประกอบการเสนอ แนวทางในการก�ากับกัน เองของสื่อมวลชน เป็นข้อเสนอจากภาคใต้

นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสทช. กล่าวว่า มาชวนคุยเพื่อที่จะหารูปแบบก�ากับดูแลที่เหมาะสม เพราะว่าตอน กสทช. เริ่มออกใบอนุญาตให้กับผู้ประกอบการทยอยให้ไปแต่ยังไม่หมด แต่พอสักพักหนึ่งเริ่มเข้าสู่การก�ากับดูแล การก�ากับดูแลมีหลายระดับ คือการใช้กฎหมายทางตรงโดย กสทช. กับอีกส่วนหนึ่งเป็นเรื่องของการก�ากับดูแลกันเองขององค์กรวิชาชีพ

เราก็ร่างแนวปฏิบัติ เรื่องจรรยาบรรณของวิชาชีพส่ือวิทยุโทรทัศน์มา และมารับฟังว่า สื่อท้องถิ่นคิดยังไง แล้วก็รวมไปจนถึงข้อเสนอแนะ เรื่องของการก�ากับดูแลกันเองว่ามันจะเป็นไปได้ไหม ถ้าเป็นไปไม่ได้จะมีทางเลือกอย่างไร ระหว่าง 3 ทางเลือก คือ 1.ให้

รัฐหรือ กสทช.ก�ำกับโดยตรงทุกเร่ือง 2.ร่วมกันระหว่ำง กสทช.กับองค์กรวิชำชีพ 3.เป็นรูปแบบกำรก�ำกับดูแลกันเองจริงๆ คือให้สื่อตรวจสอบกันเองถ้ำมีเรื่องร้องเรียนเข้ำมำในเรื่องจรรณยำบรรณและ จริยธรรม

“เป้ำประสงค์ของงำนคร้ังน้ีก็คือ กสทช. สนับสนุนให้ทำงมหำวิทยำลัยรำชภัฏนครศรี-ธรรมรำชได้ท�ำงำนวิจัยและศึกษำ เพื่อจะรวบรวมข้อมูล ควำมเห็นทั้งหมดมำให้ก่อนที่เรำจะน�ำเอำไปสรุปเป็นแนวนโยบำยในกำรก�ำกับดูแล ต่อไป”

นำงสำวสุภิญญำ กล่ำวอีกว่ำช่วงเวลำที่ผ่ำนมำค่อยๆคล้ำยๆว่ำจัดระเบียบในแง่ของกำรเอำวิทยุ ทีวีทั้งหมดที่เกิดขึ้นก่อน กสทช. เข้ำสู่กระบวนกำรออกใบอนุญำตมันก็จะมีเงื่อนไขกว้ำงๆ เช่น เรื่องเทคนิค เรื่องกำรต้องจดทะเบียน พอหลังจำกออกใบอนุญำตแล้ว มันจะมีกำรก�ำกับดูแลลงลึก อย่ำงที่บอกว่ำเรื่องคลื่นควำมถี่ก็ว่ำไปเรื่องหนึ่ง เรื่องของก�ำกับเน้ือหำก็เป็นเร่ืองยำกอีกเร่ืองหน่ึง เพรำะว่ำมันมีเรื่องของสิทธิเสรีภำพด้วย เพรำะฉะนั้นวันนี้เรำก็เลยอยำกคุยว่ำอะไรที่ กสทช. จะไม่ได้ไปก้ำวก่ำยสิทธิเสรีภำพของสื่อจนเกินไป แต่ในขณะเดียวกันมีเร่ืองร้องเรียน มีปัญหำ มีสิ่งที่มันอำจจะกระทบกับจรรยำบรรณของสื่อ บทบำทของส่ือจะช่วย กสทช. ก�ำกับได้อย่ำงไรบ้ำง

“ถ้ำเรื่องไหนเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมำยแน่นอนรัฐต้องเข้ำ มำ เร่ืองก�ำกับดูแลกันเองส่วนใหญ่จะเป็นเร่ืองจรรยำบรรณ จริยธรรม เช่นอำจจะเป็นเร่ืองกำรเมืองหรือเร่ืองกำรอำจจะไปพำดพิงบุคคลที่ 3 กำรที่ไม่ไปละเมิดสิทธิศักดิ์ศรีควำมมนุษย์คนอื่น แต่ว่ำถ้ำเรื่องที่ผิดกฎหมำยโฆษณำ ผิดกฎหมำยอำหำรและยำหรือสคบ. ตอนนี้คือทำง กสทช. มีกำรท�ำข้อตกลงควำมร่วมมือกับ อย.และ สคบ. คือถ้ำมีเรื่องร้องเรียนเข้ำมำแล้วเรำตรวจสอบไปกับอย. แล้วอย.ส่งจดหมำยยืนยันว่ำ โฆษณำนี้ผิดกฎหมำยไม่ได้รับอนุญำต ทำง กสทช. ก็จะส่งหนังสือเตือนหรือแจ้งระงับผู้ประกอบกำรต่อไปหรือว่ำโทษแรงที่สุดคือ จะไม่ต่อใบอนุญำตในปีถัดไป กรรมกำร กสทช.กล่ำวอีกว่ำนอกจำก

นี้นางสาวอภิญญา ได้กล่าวถึงความคืบหน้าตอนน้ีอยู่ในช่วงการทยอยออกใบอนุญาต ก็ออกไปได้ 2,500 กว่าใบ ซึ่งเป็นใบอนุญาตชั่วคราว 1 ปี ยังเหลือ 3,000-4,000 รายที่ยังอยู่ในคิว จะมีกลุ่มที่เป็นกลุ่มหลุมด�า ที่ยังไม่เคยมีสิทธิ์มาขอเลย ก�าลังพิจารณากันอยู่ว่าถ้าเราจะให้เข้ามาสู่กระบวนการจะมีเง่ือนไขอย่างไร บ้างที่เข้ม และขณะเดียวกันคนที่

กสทช.รับฟังคุมเนื้อหาสื่อท้องถ่ิน ระดมวิทยุชุมชนภาคใต้แชร์ประสบการณ์ ใช้หลักจริยธรรม คุณธรรม หลักกฎหมาย เตรียมดึง อย.,สคบ.ดูเนื้อหา

ได้ใบอนุญาตทดลองประกอบกิจการ 1 ปี แล้ว ตอนนี้จะต้องเริ่มทยอยน�าเครื่องส่งมาตรวจคุณภาพให้ได้มาตรฐานตามประกาศ เช่น 500 วัตต์

“กสทช. ก็เพิ่งจะได้ลงนามความร่วมมือ MOU กับมหาวิทยาลัยและสถาบันต่างๆ 31 แห่งทั่วประเทศ เพื่อที่จะเป็นศูนย์ในการเอาเครื่องมาตรวจ โดยที่สื่อท้องถิ่นไม่ต้องเอาเคร่ืองเข้าไปในกรุงเทพ และหลังจากนั้นอยากให้ทุกคนเอาเคร่ืองตรวจหรือปรับ ให้มันได้คุณภาพจะได้ลด ปัญหาคลื่นรบกวนกัน”

“ก็คือว่าหน่วยงานที่ได้ร่วมงานกับเราก็ได้รับคล้ายๆ เป็นห้องแล็ปเอกชน ก็ได้รับสิทธิ์ในการที่จะไปช่วยตรวจในตรงนี้ แล้ว กสทช.จะสนับสนุนงบประมาณส่วนหนึ่งด้วย”นางสาวสุภิญญา กล่าวในที่สุด

Page 14: หนังสือพิมพ์ มีดีนิวส์ ฉบับที่ 3 ประจำวันที่ 1 -15 กันยายน 2556

ฉบับท่ี 3 ปักษ์แรก วันท่ี 1-15 กันยายน พ.ศ. 2556หน้า 14

โดย สมกิจ สงประเสริฐ โทร.089-8739902ส่งเสริมย่านการค้าจังหวัด โดย

ส�านักงานพาณิชย์จังหวัดนครศรีธรรมราช กระทรวงพาณิชย์

ถนนท่าช้างหลังสนามหน้าเมือง

“โอกาสและลู่ทางของอุตสาหกรรมภาคใต้ ภายใต้กรอบ IMT-GT” ภายใต้โครงการพัฒนาความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมกับ ประเทศเพื่อนบ้าน โดยได้ให้ความส�าคัญกับ 3 อุตสาหกรรมหลัก คือ อุตสาหกรรมยางพาราและไม้ยางพารา อุตสาหกรรมปาล์มน�้ามัน และอุตสาหกรรมอาหารทะเลแปรรูป

เนื้อหาเพื่อศึกษาและเทียบเคียงศักยภาพในการพัฒนา ทางด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมระหว่างไทย กับประทศอื่นๆ และก�าหนดอุตสาหกรรม ผลิตภ�ณฑ์เป้าหมายทั้งที่เป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็น คู่แข่ง และผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพในความ ร่วมมือระหว่างกันซึ่งศักยภาพด้านทรัพยากร วัตถุดิบ และโครงสร้างการผลิตปัจจัยในจัง หวัดนครศรีธรรมราชภายใต้ระเบียง

พบว่าการขายวัตถุ ดิบที่เป็นปาล์ม เป็นยาง เป็นแผ่น ที่ไม่ได้เป็นวัตถุดิบแปรรูป ไม่สามารถก�าหนดราคาขายได้ ในโอกาสนี้ถ้าสามารถที่จะแปรรูปเป็นสินค้าที่พร้อมใช้ ซึ่งจะสร้างมูลค่าของสินค้าเพิ่ม จะท�าให้เกษตรกรและอุตสาหกรรมดีขึ้น

“เริ่มพัฒนาในกลุ่มของนักธุรกิจ อุตสาหกรรมในภาคใต้ก่อน และบางอย่าง เทคโนโลยี และก็นักธุรกิจที่ท�าอุตสาหกรรมภาคใต้ไม่มีศักยภาพพอ ต้องเชิญ ต้องเชิญมาจากต่างชาติ หรือว่าในประเทศที่พอจะมีศักยภาพที่จะผลิต” นางสาววารินกล่าวต่อว่า เราต้องยอมรับว่าทุกวันนี้ทุกอย่างเราท�านี้ ทุกอย่างเราขายเป็นรถสิบล้อ เราไม่ได้ขายเป็นชิ้นหรือท�าแพ็คเกจให้เรียบร้อย ซึ่งเราไม่สามารถก�าหนดราคาขายได้ เพราะคนก�าหนดราคาซื้อของเราคือ อุตสาหกรรม หรือธุรกิจที่เป็นพอค้า หอการค้าคาดหวังว่าเราจะเริ่มพัฒนาตั้งแต่วันนี้ คิดที่จะขายยาง ขายปาล์ม เป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นชิ้นไปขายให้กับผู้บริโภค “หอการค้าพยายามที่จะจัดสัมมนาให้ความรู้แนวทางการลงทุนและและข้อมูลต่างๆ เพื่อการเข้าถึงของสมาชิกและประชาชนโดยทั่วไป เพราะอย่างน้อยเตรียมความพร้อมของการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในเร็ว ๆนี้ด้วย

ผศ.ดร. อัทธ์ พิศาลวานิช คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ และผอ. ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเปิดเผยว่า การหาทางรอด สู่สินค้าเกษตรไทยของภาคใต้พยายามหาทางร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านได้อย่าง ไร ภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนซึ่งสินค้าเกษตรไทยที่ส�าคัญๆก็หลายตัว และเรา

ก็ผลิตพร้อมๆกับเพื่อนบ้าน ยางพารา มาเลเซีย อินโดนีเซีย ก็ผลิตเหมือนกัน ปาล์ม มาเลเซีย อินโดนีเซีย ก็ผลิตเหมือนกัน

คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ กล่าวต่อว่าการประชุมร่วมกัน ทางส�านักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ทางศูนย์ศึกษาการค้ากรุงเทพฯ ม.หอการค้าไทย ร่วมกับหอการค้าจังหวัดนครศรีธรรมราช และก็ภาคเอกชน ข้าราชการต่างๆ ส่วนหนึ่งอาจจะไม่ได้เป็นการแก้ปัญหาเบ็ดเสร็จเด็ดขาด แต่อย่างน้อยก็เป็นส่วนหนึ่งว่า ในอนาคตภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน สามประเทศนี้จะร่วมมือกันยังไง อันที่สอง เราในฐานะ 14 จังหวัดภาคใต้ มีกรอบความร่วมมือที่เรียกว่า IMT-GT ซึ่งเป็นการร่วมมือกันในการพัฒนาสินค้าเกษตร อุตสาหกรรมและการท่องเที่ยวร่วมกัน

ผอ. ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยกล่าวอีกว่า เรื่องยางพารา ควรจะเป็นฐานการผลิต ให้กับมาเลเซียหรือไม่ หรือว่าควรจะน�านักลงทุนจากมาเลเซียมาตั้งโรงงานที่ภาคใต้ มาตั้งโรงงานที่นครศรีธรรมราชหรือเปล่า หรือในจังหวัดภาคใต้อื่นๆ ก็เป็นแนวทางเชิญนักวิชาการเข้ามาร่วมกันพัฒนาทั้งพันธุ์ปาล์ม ทั้งโรงงาน อุตสาหกรรมกลางน�้าและปลายน�้าร่วมกันเป็นต้น วันนี้อยากให้ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งมีหน่วยงานของรัฐ ภาคเอกชน เกษตรกรทั่วไป ร่วมแสดงความคิดเห็น การศึกษานี้ก็จะน�าไปสู่กระทรวง ซึ่งกระทรวงก็จะส่งให้กับทางรัฐบาลต่อไป เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราน�า

เสนอวันนี้ก็จะเป็นประโยชน์แก่ภาคใต้

งัดแผนสำมเหลี่ยมเศรษฐกิจใต้ ดันอำหำรทะเล,ยำงมุ้งเล็กAEC

ที่ล�ำห้วยลึก หมู่ที่ 2 ต.ก�ำแพงเซำ

อ.เมือง จ.นครศรีธรรมรำช ชำวบ้ำนร่วมกัน

สร้ำงฝำยมีชีวิต โดยมีนำยสัญญำ ไชยวรรณ

ประธำนศูนย์เรียนรู้นอกห้องเรียน

ต.ก�ำแพงเซำ เป็นแกนน�ำ

ห้วยลึกเป็นล�ำห้วยขนำดใหญ่ มีอำยุ

เก่ำแก่อยู่คู่กับชุมชนมำกว่ำร้อยปี ปัจจุบันมี

สภำพตื้นเขิน ไม่สำมำรถรองรับน�้ำไว้ใช้ในช่วง

เศรษฐกิจ สงขลา-ปีนัง-เมดาน อุตสาหรรม ที่ส�าคัญคือ อุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิต ทางการเกษตร เช่น อุตสาหกรรมแปรรูป ยางพารา ยางแผ่นรมควัน น�้ายางข้นและ แปรรูปไม้ยางพารา

จากข้อมูลของส�านักงาน อุตสาหกรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช ปี 2555 ในจังหวัดนครศรีธรรมราชมีโรงงานอุตสาหกรรมทั้งหมด 1,875 โรงงานและจังหวัด นครศรีธรรมราชมีศูนย์กระจายสินค้าที่ ส�าคัญ 2 แห่ง ได้แก่ ตลาดรวมพืชผลหัวอิฐ และศูนย์กระจายสินค้าทุ่งสง จึงเป็นโอกาสที่ ดีของจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่จะเป็นลู่ทาง ของอุตสาหกรรมภาคใต้ ภายใต้กรอบ IMT-GT”

นางสาววาริน ชิณวงศ์ ประธานหอการค้าจังหวัดนครศรีธรรมราชกล่าวว่าเราอยากจะผลักดันลู่ทางโอกาสของ อุตสาหกรรมในกรอบของ IMT-GT ก็คือพัฒนาอุตสาหกรรมในกลุ่มของภาคใต้ เพื่อที่จะเตรียมความพร้อมในการพัฒนาผลิตผลทางการเกษตร เรื่องยางและปาล์มเป็นหลัก และสินค้าพวกแปรรูปของอาหารทะเล ซึ่งเป็นผลผลิตของทางภาคใต้ มีอยู่แล้ววัตถุดิบเลยจัดสัมมนาขึ้นเพื่อพัฒนาและเตรียมความพร้อมที่ก�าลังจะ เปิด AEC ในปี 2558 นี้

กลุ่ม IMT-GT ก็คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย และกลุ่มภาคใต้มีการเตรียมความพร้อม หอการค้าจังหวัดนครศรีธรรมราช พยายามเตรียมความพร้อมว่า เมื่อกลุ่มของเรามีสามประเทศ แล้วก็มีเปิด AEC ในปี 59 ต้องเตรียมความพร้อมจะรวมกลุ่มในกลุ่มของอุตสาหกรรม พัฒนาอุตสาหกรรมในภาคใต้ คาดหวังว่า ถ้าเริ่มท�าวันนี้ เราจะสู้ได้ พอดีว่างานของเรามาชนกับงานประท้วงราคายางและราคาปาล์มพอดี จริงๆแล้วเป็นการวางแผนไว้นานแล้ว หอการค้าจะร่วมระดมจัดสัมมนา ให้คนใต้ที่มีวัตถุดิบเป็นปาล์ม เป็นยาง และสินค้าที่เป็นอาหารทะเล ซึ่งเราอยู่ติดทะเลทั้งสองฝั่ง จะพัฒนาเป็นอุตสาหกรรมแปรรูป

ประธานหอการค้ากล่าวอีกว่าทุกวันนี้เรา

ต่อจากหน้า 1

Page 15: หนังสือพิมพ์ มีดีนิวส์ ฉบับที่ 3 ประจำวันที่ 1 -15 กันยายน 2556

ฉบับที่ 3 ปักษ์แรก วันที่ 1-15 กันยายน พ.ศ. 2556 หน้า 15

ที่ สภ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช

เจ้าหน้าท่ีต�ารวจสันติบาล กก. 4 บก.ส.

1 ประจ�าจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้

น�าสุราต่างประเทศของกลางที่ต�ารวจ

สันติบาลจับกุมได ้ที่ท ่าอากาศยาน

นครศรีธรรมราช มาส่งมอบให้กับ

พนักงานสอบสวนเวร สภ . เมื อง

จ.นครศรีธรรมราช เ พ่ือสอบสวน

สืบสวนติดตามจับกุมตัวผู ้ต้องหามา

ด�าเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

16.00 น.วันที่ 25 ส.ค. 2556

ด.ต.วิกรานต์ พงศ์วรากร จ.ส.ต.ศักดา

ขุนทอง ผบ.หมู่ กก.4 บก.ส.1 ได้เดิน

ทางไปรอรับ พล.ต.ต.สราวุธ การ

พานิช ผบก.ส.1 และ พ.ต.อ.วรา

เวชชาภินันท์ ผกก.4 บก.ส.1 ที่เดิน

ทางมาตรวจสอบเรื่องราวกรณีการ

ปะทะกันระหว่างเจ ้าหน้าที่กับกลุ ่ม

วัยรุ ่นในม็อบสวนยางพารา ที่ปิดถนน

เอเชีย 41 บริเวณสี่แยกควนหนองหงส์

อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช ในขณะ

ที่ พล.ต.ต.สราวุธ เดินผ่านช่องทางออก

ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช ต.ปาก

พูน อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช ซึ่ง

อยู ่ ในบริ เวณเดียว กับจุดที่ ทางท ่ า

อากาศยานก�าลังโหลดสิ่งของที่จะน�าไป

กับเครื่องบินเพื่อเข้ากรุงเทพ ได้สังเกต

เห็นชายฉกรรจ์ 3 คนก�าลังช่วยกันเข็ญ

รถบรรทุกกระเป๋าของท่าอากาศยาน

จ�านวน 6 คัน เพื่อน�าเข้าช่องโหลด

กระเป๋าหรือสินค้า ซึ่งรถเข็ญแต่ละคัน

มีลังกระดาษสีน�้าตาลมัดด้วยเชือกฟาง

สีแดง ด้วยท่าทางมีพิรุธ โดยในลังดัง

กล่าวน่าจะเป็นสิ่งของผิดกฎหมาย

ผู้บังคับการต�ารวจสันติบาลจึงสั่ง

การให้ ด.ต.วิกรานต์ และ จ.ส.ต.ศักดา

เข ้าไปท�าการตรวจสอบ พบว่าเป ็น

สิ่งของผิดกฎหมายก็ให้จับกุมผู้ร่วมกร

ท�ำผิดทันที แต่ชำยฉกรรจ์ท้ัง 3 คน

เห็น ด.ต.วิกรำนต์ และ จ.ส.ต.ศักดำ

เดินตรงเข้ำไปหำและรู้ว่ำเป็นเจ้ำหน้ำที่

ต�ำรวจจึงรีบแยกย ้ำยกันวิ่ งหลบหนี

ไปอย่ำงรวดเร็ว จำกกำรตรวจสอบ

ลังกระดำษในรถเข็ญพบว ่ำเป ็นลัง

บรรจุสุรำต่ำงประเทศรวม 33 ลังๆ

ละ 12 ขวด รวมสุรำต ่ำงประเทศ

จ�ำนวน 396 ขวด พล.ต.ต.สรำวุธ

จึ งสั่ ง ให ้ เจ ้ ำหน ้ำ ท่ีต� ำรวจท�ำกำร

ตรวจยึดไว ้ เป ็นของกลำง และน�ำ

สุรำต่ำงประเทศของกลำงทั้งหมดส่ง

พนักงำนสอบสวน สภ.เมือง และลง

บันทึกประจ�ำวันไว้เป็นหลังฐำน เพื่อ

สอบสวนสืบสวนติดตำมเจ้ำของสุรำ

ต่ำงประเทศจ�ำนวนดังกล่ำวมำด�ำเนิน

คดีตำมกฎหมำยต่อไป

ผู้สื่อข่ำวรำยงำนว่ำกำรลักลอบ

ส่งสุรำและบุหรี่ต่ำงประเทศหนีภำษี

ส ่งไปให ้ลูกค ้ำทำงเครื่องบินที่ท ่ำ

อำกำศยำนนครศรีธรรมรำช กระท�ำ

กันเป็นขบวนกำรโดยจะมีกำรส่งให้

ลูกค้ำทำงเครื่องบินทุกวัน ๆ ละ 30-

50 ลัง ๆ ละ 12 ขวด โดยมีเอเยน

ต์คนหน่ึงท่ีรู ้ จักกันอย่ำงขว้ำงขวำง

และอ้ำงว่ำมีกำรเคลียร์กับเจ้ำหน้ำที่

เก่ียวข้องท้ังหมดแล้ว จึงสำมำรถส่ง

สุรำ และบุหรี่ต่ำงประเทศขึ้นเครื่อง

บินน�ำส่งลูกค้ำได้อย่ำงสะดวก โดยจะ

มีลูกค้ำเดินทำงมำรับที่ท่ำอำกำศยำน

ดอนเมือง แต ่ในครำวนี้ โชคร ้ำย

เพรำะ พล.ต.ต.สรำวุธ มำเห็นควำม

ผิดปกติระหว่ำงกำรกำรเข็ญน�ำสุรำ

ต่ำงประเทศไปโหลดขึ้นเครื่องบิน จึง

สั่งตรวจสอบจับกุมและตรวจยึดของ

กลำงจ�ำนวนมำกดังกล่ำว

ผู้การ ฯสันติบาลลงเครื่องคุมม็อบสวนยางประท้วงเจอต�าตาส่งของทางเครื่องบินสั่งตรวจสอบก�าลังโหลดขึ้นเครื่องสนามบินศาลาบางปู -สั่งลุยพบสุราต่างประเทศหนีภาษียึด 33 ลังรวมเกือบ 400 ขวด ส่งด�าเนินคดี

ขาดแคลนได้ และยังท�าให้เกิดภาวะน�้า

ท่วมเมื่อมีน�้าป่าไหลหลาก

การสร้างฝายมีชีวิต เป็นการ

เรียกความสมดุลทางธรรมชาติกลับมา

สู่ชุมชน ท�าให้มีน�้าใช้เพื่อการเกษตร

ตลอดท้ังปี ช่วยป้องกันภัยน�้าท่วม

ฉับพลัน เมื่อมีน�้าป่าไหลหลาก และ

เป็นการสนองแนวพระราชด�าริ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และ

สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ

ในการอนุรักษ์ป่าและน�้า

ฝายมีชีวิตโดยการน�าวัสดุที่มีอยู่

ในพื้นที่ ใช้ทรายที่ท�าให้ล�าห้วยมีสภาพ

ตื้นเขินบรรจุกระสอบน�ามาวางเป็นฝาย

ใช้ไม้ไผ่เป็นแนวก้ันน�้า นอกจากน้ันยัง

ใช้พันธุ์ไม้น�้าหลายชนิดมาปลูกป้องกัน

การพังทลายของดิน โดยเฉพาะต้นไทร

ซึ่งมีรากหยั่งลึกลงใต้ดินและเติบโตเร็ว

ลูกไทรจะเป็นอาหารของนกนานาชนิด

ถ้าหล่นลงน�้าจะเป็นอาหารของปลา

และสัตว์น�้า

แรงงานที่เป็นเกษตรกรในพื้นที่

สละเวลาหลังจากเสร็จภารกิจประจ�า

วัน ร่วมกันสร้างฝาย โดยไม่คิดค่าแรง

ใดๆ และไม่ต้องใช้เงินงบประมาณจาก

ภาครัฐแต่อย่างใด ซึ่งคาดว่าหลังจาก

การสร้างเสร็จ ชาวบ้านหลายร้อยครัว

เรือนจะสามารถใช้ประโยชน์จากฝายมี

ชีวิตแห่งนี้

นายสัญญา ไชยวรรณ ประธาน

ศูนย์เรียนรู้นอกห้องเรียน ต�าบลก�าแพง

เซาเปิดเผยว่าหมู่ที่ 2 ต.ก�าแพงเซา

ชาวบ้านมารวมตัวกันท�าเรื่องอนุรักษ์

สิ่งแวดล้อมโดยท�าอ่างเก็บน�้า ที่

ล�าห้วยลึกเพื่อจะเก็บน�้าไว้ใช้ทางภาค

การเกษตร เราก็ปลูกต้นไม้เราเรียกฝาย

น้ีว่าฝายมีชีวิต

“มีชีวิตที่ว่าก็คือปลูกต้นไทรไว้

สองข้างฝั่งของล�าห้วย แล้วให้รากไทร

ช่วยยึดโครงสร้างของฝาย เป็นจ�าพวก

กระสอบปุ๋ยมะพร้าว กระสอบขี้วัว

กระสอบทราย แล้วก็ใช้ไม้น�้าทุกชนิด

ประเภทที่เคยอยู่ในล�าห้วยมาปลูกเพื่อ

ยึดโครงสร้างฝาย แล้วก็ไม้จ�าพวกนี้เป็น

ไม้ที่สร้างน�้า มีประโยชน์ต่อระบบนิเวศ

ลูกของต้นไทรนกสารพัดชนิดสามารถ

กินเป็นอาหาร หล่นตกน�้าปลาก็ใช้เป็น

อาหาร แล้วก็น�้าในล�าห้วยก็สามารถ

ซึมเข้าไปในพื้นที่ของชาวสวน สามารถ

ตอบโจทย์เรื่องการแก้ปัญหาน�้า ปัญหา

น�้าก็คือน�้าท่วม น�้าแล้ง น�้าหลาก”

“ช่วงที่น�้ำท่วมฝำยตัวนี้ช่วย

ชะลอน�้ำไม่ให้ลงสู่พื้นที่ด้ำนล่ำงใน

ระยะเวลำ ที่คนข้ำงล่ำงเตรียมตัว

ไม่ทัน ในช่วงที่น�้ำแล้งฝำยตัวนี้ก็

ช่วยเก็บน�้ำไว้ใช้ได้อย่ำงมีระบบเข้ำ

สู่กำร บริหำรจัดกำรน�้ำของชำวบ้ำน

ได้ถูกต้อง ในช่วงที่น�้ำหลำก สมมติ

ว่ำฝนตกด้ำนบนโดยที่ด้ำนล่ำงไม่ได้

รู้ว่ำมีน�้ำมำฝำยตัวนี้ก็จะชะลอน�้ำ ไม่

ให้ไปสู่ปัญหำพื้นที่ด้ำนล่ำงของตัว

ฝำยตัวเขื่อนได้ ก็สำมำรถเชื่อมโยง

กระบวนกำรที่คนต้นน�้ำ คนกลำง

น�้ำ คนปลำยน�้ำได้ ระบบนิเวศของ

ชุมชนก็จะกลับมำสู่ระบบ วันนี้คน

หมู่ 2 ต.ก�ำแพงเซำ ดีใจ ท�ำหนึ่งอย่ำง

ตอบโจทย์สองอย่ำงก็คือ เรำท�ำเรื่อง

อ่ำงเก็บน�้ำตำมแนวพระรำชด�ำริของ

พระบำทสมเด็จพระเจ้ำอยู่หัว แล้วก็

ปลูกต้นไม้ซึ่งพระรำชินีก็ทรงตรัสเรื่อง

กำรปลูกป่ำ สร้ำงป่ำ ที่หนุนเสริมให้

อ่ำงเก็บน�้ำสำมำรถเก็บน�้ำไว้ได้”

Page 16: หนังสือพิมพ์ มีดีนิวส์ ฉบับที่ 3 ประจำวันที่ 1 -15 กันยายน 2556

ฉบับท่ี 3 ปักษ์แรก วันท่ี 1-15 กันยายน พ.ศ. 2556หน้า 16

โดย ทนายขุน อครพล หนูทวี

ประเทศย่ีห้อต่าง ๆ จ�านวน 2,550 ซอง มาก รวม

มูลค่าทั้งหมดประมาณกว่า 2 ล้านบาท เจ้าหน้าที่

จึงได้ควบคุมตัว นายประสิทธิ์ รูปธรรม อายุ 40 ปี

บ้านอยู่ อ.สะเดา จ.สงขลา คนขับรถคันดังกล่าว

พร้อมของกลางทั้งหมดเพื่อด�าเนินคดี

นายวีระชาติ รักษ์ศรีทอง กล่าวว่า ใน

ปัจจุบันการลักลอบขนสินค้าหนีภาษี ท้ังสุรา บุหร่ี

สินค้าอื่นๆ รวมทั้งน�้ามันเถื่อนท�ากันเป็นขบวนการ

โดยเฉพาะสินค้าประเภทสุราและบุหร่ีต่างประเทศ

จะท�ากันเป็นขบวนการโดยใช้รถบรรทุกสินค้าต่าง

ๆ รวมทั้งรถบรรทุกสัตว์น�้า หรือรถห้องเย็น หาก

ไม่มีสายที่น่าเชื่อถือได้แจ้งเบาะแสจะตรวจสอบ

พบยากมาก เพราะเจ้าหน้าที่คงไม่สามารถตรวจ

สอบรถห้องเย็น หรือรถบรรทุกสิ้นค้าขนาดใหญ่

ได้อย่างละเอียดทุกคัน สุราและบุหรี่ต่างประเทศ

เหล่านี้มีปลายทางอยู่ท่ีกรุงเทพมหานคร ส�าหรับ

ของกลางที่ตรวจยึดได้ในครั้งนี้หากคิดภาษีสุรา

และยาสูบจะได้ภาษีจ�านวน 926,404.62 บาท

เมื่อถูกจับกุมจะมีค ่าเปรียบเทียบปรับมากถึง

3,439,036.74 บาท

มีรายงานว่าหลังจากการจับกุมและน�า

รถบรรทุกห้องเย็นคันดังกล่าวมาตรวจสอบ

ที่ส�านักงานสรรพสามิตอ�าเภอทุ่งสง จ.นครศรี-

ธรรมราช จนพบสุราและบุหรี่หนีภาษีจ�านวน

มาก ได้มีเจ้าหน้าที่จากหน่วยชุดหนึ่งเดินทาง

เข้ามาแอบอ้างว่าได้มีการจับกุมนายประสิทธิ์

รูปธรรม อายุ 40 ปี พร้อมยึดสุราและบุหรี่ต่าง

ประเทศของกลางท้ังหมดไว้ก่อนแล้ว จึงขอ

ให้เจ้าหน้าที่สรรพสามิตคืนผู้ต้องหาพร้อมของ

กลางท้ังหมดให้เพื่อน�าผู ้ต้องหาและของกลาง

ส่งพนักงานสอบสวน สภ.ทุ่งสง ด�าเนินคดีตาม

กฎหมายต่อไป แต่เจ้าหน้าท่ีสรรพสามิตชุด

จับกุมไม่ยินยอม และขอให้เจ้าหน้าท่ีชุดดังกล่าว

แสดงบันทึกการจับกุมตามที่อ้าง แต่ไม่มีบันทึก

การจับกุมมาแสดง

ต่อมาได้มีนายต้น (ไม่ทราบชื่อจริง) ซึ่ง

อ้างว่าเป็นเจ้าของบุหรี่และสุราที่ถูกจับทั้งหมด

เข้าพบเจ้าหน้าที่สรรสามิต พร้อมโวยวายเสียงดัง

ว่า การจับกุมในครั้งนี้ถูกหักหลังจากเจ้าชุดหนึ่ง

เพราะก่อนที่จะถูกเจ้าหน้าที่สรรพสามิตจับกุม

ในเวลาประมาณ 03.00 น. ได้มีเจ้าหน้าที่รวม

กว่า 10 นายจับกุมรถห้องเย็นคันนี้ ก�าลังเข้าไป

ด�าเนินการอ้างว่าทราบว่าในรถห้องเย็นคันนี้มี

สุราและบุหรี่ต่างประเทศซุกซ่อนอยู่จ�านวนมาก

หากไม่อยากถูกจับกุมด�าเนินคดีขอให้น�าเงิน

จ�านวน 5 แสนบาทมาให้จ่าย

“นายประสิทธิ์ รูปธรรม อายุ 40 ปี คน

ขับรถบรรทุกห้องเย็นจึงโทรศัพท์แจ้งให้นาย

ต้นทราบ จึงเดินทางมาเจรจากับเจ้าหน้าท่ี

ชุดดังกล ่าว และตกลงจ ่ายเงินสด 5 แสน

บาท โดยมีข้อแม้ว่า เจ้าหน้าที่ชุดนั้นจะต้อง

จัดก�าลังคุ้มกันรถห้องเย็นของตนไปให้พ้นเขต

จ.นครศรีธรรมราช จึงตอบตกลง นายประสิทธิ์

คนขับรถบรรทุกห้องเย็นจึงขับรถห้องเย็นมุ่งหน้า

มาตามเส้นทางถนนสายเอเชีย โดยมีรถคุ้มกัน

มาให้ตลอดเส้นทาง แต่เมื่อมาถึงหน้าห้างเทสโก้

โลตัส สาขาทุ่งสง กลับมีเจ้าหน้าที่สรรพสามิต

จังหวัดนครศรีธรรมราช ซ้อนแผนจับกุมซ�้าสอง

แต่หลังถูกจับกุมคร้ังท่ีสอง ชุดคุ้มกันได้แยกย้าย

หลบหนีไปหมดสิ้น นอกจากตนสูญเสียเงิน 5

แสนฟรี ๆ แล้วยังถูกจับกุมด�าเนินคดี โดยต้อง

จ่ายค่าปรับเกือบ 3.5 ล้าน ของกลางท้ังหมดถูก

ริบ และอาจจะมีโทษทางอาญาอีกด้วย นายต้น

กล่าวอย่างอารมณ์เสียในที่สุด.

ซ้อนแผนจับเหล้าและบุหรี่กว่า 2 ล้านหนีภาษีของซุกเต็มรถบรรทุกห้องเย็นตบตา แฉขบวนการใหญ่ขึ้น-ล ่อง ล็อตใหญ่ เคลียร์บางหน่วย มา 5 แสน มีรถคอยคุ้มกัน สรรพสามิตนครจมูกไว มาสน ค้นเจอของกลางเพียบ

ที่ส�ำนักงำนสรรพสำมิตจังหวัดนคร-ศรี

ธรรมรำช นำยวีรชำติ รักษ์ศรีทอง ผอ.ส�ำนัก

งำนสรรพสำมิต ภำค 8 และนำยสมยศ ซัง

สรรพสำมิตจังหวัดนครศรีธรรมรำช ร่วมกัน

แถลงข ่ำวกำรจับกุมรถห้องเย็นบรรทุกสุรำ

และบุหรี่ยี่ห้อต่ำงๆ หลบเลี่ยงกำรเสียภำษีตำม

กฎหมำย พบของกลำงเป็นจ�ำนวนมำก

นำยวีระชำติ รักษ์ศรีทอง เปิดเผยว่ำ

จำกกำรที่นำยสมยศ ซัง สรรพสำมิตจังหวัด

นครศรีธรรมรำช รับแจ้งจำกพลเมืองดีว่ำจะมี

กำรลักลอบบรรทุกสุรำและบุหรี่ต่ำงประเทศมำ

กับรถบรรทุก 10 ล้อห้องเย็น ส�ำหรับรถบรรทุก

ลูกกุ้งและสัตว์น�้ำ ยี่ห้อฮีโน่ หมำยเลขทะเบียน

81- 2771 สงขลำ วิ่งไปตำมถนนเอเชีย 41 จำก

จังหวัดสงขลำมุ่งหน้ำไปยังกรุงเทพมหำนคร จึง

สั่งกำรให้นำยสมวงษ์ ยอดสุรำงค์ หัวหน้ำฝ่ำย

ปรำบปรำม ส�ำนักงำนสรรพสำมิตจังหวัดนครฯ

น�ำก�ำลังเจ้ำหน้ำที่ดักรอสังเกตกำรณ์บริเวณ

หน้ำห้ำงเทสโก้โลตัส สำขำทุ ่งสง ต.ชะมำย

อ.ทุ่งสง

จนกระทั้งพบรถบรรทุกห ้องเย็นต ้อง

สงสัยคันดังกล่าวเขียนข้างว่าแพ แอร์ 99 วิ่งผ่าน

มา ขอท�าการตรวจสอบ เมื่อเจ้าหน้าที่เปิดท้ายรถ

ดูพบว่ามีถังน�้าบรรจุน�้าและน�้าแข็งเต็มถังจ�านวน

หลายถังซ้อนไว้หลายชั้นจนไม่สามารถเห็นภายใน

ได้ ยากต่อการตรวจสอบ แต่เนื่องจากได้รับการ

ยืนยันจากพลเมืองดีอย่างชัดเจนว่ามีการซุกซ่อน

สุราและบุหรี่ต ่างประเทศมากับรถคันดังกล่าว

เป็นจ�านวนมาก นายนายสมวงษ์ ยอดสุรางค์ จึง

รายงานให้นายวีระชาติ ซัง สรรพสามิตจังหวัด

ทราบ โดยนายสมยศ ได้สั่งการให้น�ารถบรรทุก

ห้องเย็นคันกล่าวพร้อมคนขับมายังส�านักงาน

สรรพสามิตอ�าเภอ ก่อนจะช่วยกันรื้อถังน�้าและเท

น�้าออกจนหมด จนพบบุหรี่ต่างประเทศและสุรา

ต่างประเทศจ�านวนมากซุกซ่อนอยู่ในลังพลาสติก

ปิดทับฝาลังป้องกันน�้าเข้าเป็นอย่างดี ซุกซ่อนอยู่

ในถังน�้าแข็ง

จากการตรวจสอบและตรวจนับบุหรี่และ

สุราของกลางประกอบด้วยสุราต่างประเทศยี่ห้อ

ต่างๆ จ�านวน 163 ลัง รวม 1,956 ขวดในจ�านวน

นี้มีสุรา ต่างประเทศย่ีห้อหนึ่งที่เป็นที่นิยมจ�านวน

3 ขวด ราคายังไม ่รวมภาษีขวดละประมาณ

8,500 บาท เมื่อรวมภาษีจ�าหน่ายในเมืองไทย

ขวดละกว่า 11,000 บาท นอกจากนี้ยังบุหรี่ต่าง

Page 17: หนังสือพิมพ์ มีดีนิวส์ ฉบับที่ 3 ประจำวันที่ 1 -15 กันยายน 2556

ฉบับที่ 3 ปักษ์แรก วันที่ 1-15 กันยายน พ.ศ. 2556 หน้า 17

Page 18: หนังสือพิมพ์ มีดีนิวส์ ฉบับที่ 3 ประจำวันที่ 1 -15 กันยายน 2556

ฉบับท่ี 3 ปักษ์แรก วันท่ี 1-15 กันยายน พ.ศ. 2556หน้า 18

มีดีนิวส์ หนังสือพิมพ์รายปักษ์ ทุกวันที่ 1, 15 ของทุกเดือน

Medee FM 103.75 MHzคล่ืนเคียงข้างคุณ Medee time 105.0 MHz เวลาดีกับมีดีไทม์

Medee Focusห้องข่าวท้องถิ่นของชาวนครฯ ทางช่อง Hi Cable TV ชัดกว่าที่นึก ลึกกว่าที่คิด

ภาคใต้ วงการพระอยู่มานาน เป็นเมืองที่มีวัดมากที่สุดในประเทศไทย เป็นแหล่งที่มาของศาสนาพุทธของประเทศไทย

ทีนี้ เมืองนครฯ วงการพระอยู ่กันมายาวนานแต่ก็ยังไม่เป็นปึกแผ่น ก็เลยพยายามหาท่ีทางท่ีเป็นศูนย์รวม ให้เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ในวงการพระเครื่องได้มีที่ยืน ที่อยู่ ที่ท�ามาหากินกัน เป็นหลักแหล่งชัดเจนมีการดูแล มีระบบการรักษาความปลอดภัย เรื่องความสะอาด

“คือจริงๆแล้ว วงการพระมีทั้งพระสายจตุคาม พระสายใต้ พระสายภาคกลาง สายเหนือ สายอีสาน แต่ละท้องถิ่นก็มีพระในกลุ่มของท้องถิ่นของตัวเองอยู ่แล้ว เพียงว่าวันนี้กระแสของพ่อจตุคามอาจจะลดลงแต่ก็ไม่ได้สูญหายไปไหน ผู้ที่นิยมสายพ่อจตุคามก็ยังมีการซื้อขายแลกเปลี่ยน อาจจะราคาหย่อนลงมานิดหนึ่ง แต่ก็ยังเดินได้ ส่วนพระสายใต้ที่เรายังเช่าบูชากันอยู่ทุกวัน ก็ยังขยับขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะเป็นพ่อท่านคล้ายวาจาสิทธิ์ หลวงปู่ทวด พระสายนครศรีธรรมราช เหรียญพระธาตุนครฯ พระหลักต่างๆ เหล่านี้ที่เป็นพระเกจิของนครฯก็ยังขยับขึ้นไปได้”

นายเอกชัยกล่าวอีกว่าพระกรุบ้านเรา ณ วันนี้ ทิศทางมันค่อนข้างจะถอยหลัง เพราะเด็ก

รุ ่นใหม่ๆ เซียนพระรุ ่นใหม่ จะเล่นพระที่ดูง่าย ว่าแท้หรือเก๊ มีการแลกเปล่ียนกันได้ มีคนที่การันตี มีคนที่ดูเป็นกันกว้างขวาง ดูเน้ือดูศิลปะ พวกที่จะดูพระสายน้ีก็จะน้อยลง

“ผมกับเพื่อนอีกคนมีความคิดกันว่าเราจะท�าศูนย์พระเครื่องให้เป็นศูนย์กลาง ให ้ เพื่อนๆ พี่ๆ น ้องๆ มาอยู่ด้วยกัน ก็ได้ตรงนี้ขึ้นมา เดิมตั้งเป ็นศูนย ์พระเครื่องเมืองนครฯ และเมื่อวันที่ 1 สิงหาคมที่ผ ่านมามีงานสมโภชน์ศาลหลักเมือง คุณพยัคฆ์ ค�าพันธ ์ นายกสมาคมผู ้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทยมาที่นครฯก็ได้มาเยี่ยมตอนน้ันก็มีการปรับปรุงภูมิทัศน์ มาดูสถานที่แล้ว ดูความตั้งใจ มีความเป็นไปได้ ขออนุญาตทางสมาคมพระเครื่องนครให้เราเป็นสมาคมผู ้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทยสาขาภาคใต้เขต 2 และจะมีการแต่งตั้งเป ็นหนังสือยืนยัน หลังจากที่ศูนย์ฯร้านอย่างเป็นทางการ และจะมาร่วมพิธีเปิดศูนย์ที่นครศรีธรรมราช ซึ่งตั้งอยู่ที่ราชพฤกษ์ 2 ถ.พัฒนาการคูขวาง อ.เมือง”

ช่วงเร่ิมต ้น มีการซื้อขายแลกเปลี่ยน มีการประกัน พระแท้พระเก๊ แล้วแต่ว่าพระท่ีเราต้องการเป็นพระอะไร หลักร้อย หลักพัน หลักหม่ืน

ยังเดินได้ตลอดจนถึงหลักแสน แต่มันไม่แน่นอน ว่าวันนี้มีพระอะไรเข้ามา อาจจะแค่ สามร้อย ห้าร้อย ก็อยู ่ที่คนที่เอาเข้ามาให้เรา ส่วนเร่ืองของความเก๊ไม่เก๊ คนเล่นพระนี่มีหลายรูปแบบ คนที่เขาดูไม่เป็นเขาก็อยากได้พระแท้ เพราะเงินที่เขาถือมาแท้ เขาก็ต้องเลือกเช่าเลือกบูชากับคนที่มีความเชื่อถือได้ มีการรับรองให้เขาได้ว่าถ้าพระองค์น้ีไม่แท้ก็มีการคืนกัน แต่ส�าหรับคนที่เป็นเซียนพระด้วย ก็มีการซื้อขายแลกเปลี่ยนกันตามปกติ แต่โดยมารยาทแล้วถ้าลูกค้าขอประกัน ก็ต้องรับประกันให้ ก็รับประกันให้ว่าพระองค์นี้แท้แน่นอน

มีการตรวจสอบออกมา ถ้าไม่แท้ก็ต้องคืนกัน ตรงนี้มีศูนย์ประสานงานรับผิดชอบ แต่ก็ต้องมาดูกันว่าคุณซื้อขายกันแบบไหน ถ้าพระราคาหลัก ล้านคุณมาซื้อขายกันแบบไหน สามร้อยห้าร้อย ตาดีได้ตาร้ายเสีย ก็ต้องดูด้วยว่า คุณเดินมา

เช่าพระแท้ หรือเดินมาเพื่อเสี่ยงดวงเช่าพระถ้าคนท่ีเล่นพระแล้วอยู่ในท�านองคลอง

ธรรมในรูปแบบที่ถูกต้องของวงการพระถึงจะมายืนได้ คนที่เล่นไม่จริง ไม่ตรงไปตรงมา เขาก็ไม่กล้ามายืน ไม่กล้ามามีชื่อ มามีเบอร์โทรศัพท์หน้าตู ้ คนท่ีมาตรงน้ีอย่างน้อยชื่อเสียงเขาไม่เสียโดยตัวเขาเอง เราไม่ต้องไปกรองให้เขา ถ้าคนเล่นไม่จริงไม่กล้ามายืนสู้หน้าก็คือต้องเดินเล่นไม่มีหลักแหล่ง

ความพร้อมท่ีจะเปิดอย่างเป็นทางการ เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน ทั้งหมด ณ วันนี้ 30 ตู้ แต่โดยพื้นที่แล้วสามารถไปได้ถึง 40-45 ตู้ ก็ต้องดูความหนาแน่น ดูการตอบรับของสมาชิก นอกเหนือร ้านตรงน้ีก็มีร ้านกาแฟสดมาบริการ ราคาพิเศษ ที่ยังไม่เรียบร้อยคือตู้ตลับพระ สร้อยพระ กรอบพระ ครบวงจร และเชื่อว่าท่ีนี่จะเป็นศูนย์พระเครื่องที่ได้รับการยอมรับเป็นสถานที่แลกเปลี่ยน พระเครื่องพระบูชาที่เป็นที่รู้จักของคนทั่งไป แล้วศรัทธา ต่อสิ่งเหล่านี้จะกลับมาคึกคักอีกคร้ังรวมถึงความนิยมจากองค์

พ่อจตุคามรามเทพด้วย

ต่อจากหน้า 1

หลังจากพ่อค้าไก่ ร ้านขายน�้าชา ร ้านขายซีดี คนขับรถจักรยานยนต์รับจ้าง ฯลฯ ต้องกลับไปท�าหน ้าที่ เดิมของตัวเอง หลังกระแสจตุคามทรุดและหายไปในที่ สุด เหลือ เพียงตั วจริ ง เสี ยงจริ งจากผู ้ นิ ยมบูชาพระเครื่ อ งพระบูชาที่ ระ เหเร ่ ร ่ อนกัน ใจชื้ นขึ้ นมาหน่อยแหล่งรวมกลุ ่มที่อาคารโอท็อป ใกล้สวนศรีธรรมมาโศกราช พอเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาบ้าง เซียนหน้าเก ่าหน้าใหม่ เป ิดวงเสวนาแลกเปลี่ยนกันได ้บ ้าง กระแส พระกรุ พระเกจิ พระท้องถิ่น ยังยืนพื้นบนความศรัทธา การเปลี่ยนมือ ความเคลื่อนไหวยังมีให้เห็น แต่หลังจากศูนย์โอท็อปกลายพันธ์ุ ตลาดพระก็เงียบหายมาด้วย จน เอกชัย บัวคง จับมือ ติ่ ง ทุ ่ งสง รพีพันธ ์ รักษาพงษ ์ ผุดศูนย ์ สมาคมผู ้นิยมพระเครื่อง พระบูชาไทย สาขาภาคใต้ นครศรีธรรมราช เขต 2 ในอาคารราชพฤกษ์ 2 ถ.พัฒนาการ-คูขวาง อ.เมือง นครฯ รวมเบ้ืองต้น 30 แผง พร้อมแตกได้เป็น 40-50 แผง หากต้องการ หมายให้ขาประจ�าขาจรเจอกันที่นี่ ได้ฤกษ์เชิญ พยัพ ค�าพันธุ์ นายกสมาคมผู้นิยม

Page 19: หนังสือพิมพ์ มีดีนิวส์ ฉบับที่ 3 ประจำวันที่ 1 -15 กันยายน 2556

ฉบับที่ 3 ปักษ์แรก วันที่ 1-15 กันยายน พ.ศ. 2556 หน้า 19

และก็มีหน่วยงานต่างๆ ในการประชุมมีความคิดเห็นอย่างหลากหลายก็คือ ประเด็นวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารขึ้นสู่บัญชีอย่างถาวร และบัญชีรายชื่อที่จะหาจากแหล่งต่างๆ ที่เป็นบัญชีส�ารอง (TENTA-TIVE LIST) เหมือนกับท่ีนครฯ เป็นแล้ว เขามีการเตรียมการที่จะเสนอในปี ต่อๆ ไป

ผศ.ฉัตรชัย กล่าวอีกว่า กรณีวัดพระมหาธาตุ-วรมหาวิหารมีประเด็นน�าเสนออยู่สองประเด็น คือ อยากให้จังหวัดนครศรีธรรมราชเพิ่มเติมค�าสั่งหรือประกาศให้มีนักวิชาการในระดับชาติหรือระดับนานาชาติ ที่เขาเข้าใจในเร่ืองของปูชนียสถาน วัดพระมหาธาตุฯ เข้ามาด้วย และให้ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏนครฯไปติดต่อคณะกรรมการชุดท่ีว่านี้ ท้ังไทยทั้งเทศ จะได้เพิ่มเติมเข้าไปจะได้มีมุมมองท่ีหลากหลายเพ่ือรับฟัง

“ให้เพ่ิมเติม จัดร่างประกาศคุณค่าที่โดดเด่นเป็นสากล ของวัดพระธาตุวรมหาวิหาร เสียก่อน คล้ายๆ คัมภีร์ ว่าด้วยเรื่องการเรียบเรียง อยู่ในบทที่ 3 และในบทที่ 3 พยายามให้ยกขึ้นมาเป็นประเด็นหลัก เมื่อท�าบทที่ 3 ได้ ก็ท�าบทที่ 1-2 ได้ง่ายขึ้น และบทที่ 4-8 จะง่ายยิ่งขึ้น เพราะว่าเอา คัมภีร์ประกาศคุณค่าที่โดดเด่นเป็นสากล มาเป็นตัวตั้ง ให้คณะกรรมการที่มีชื่ออยู่แล้วและก�าลังเป็นชาวต่างชาติมาพิจารณาคุณค่าท่ีโดดเด่นเป็นสากล”

“พูดง่ายๆ ว่าต้องลับหมัดเมื่อชกไปแล้วเข้าตากรรมการ ถ้าเราเสนอแต่เพียงว่าเป็นความโดดเด่นที่เราเห็น ในฐานะคนอยู ่ในประเทศหรืออยู ่ในจังหวัด แต่เพียงพอเพราะบางมุมมองของเรามัน

คับแคบ คือ คุณค่าที่โดดเด่นเป็นสากล เช่นรูปแบบสถาปัตยกรรม รูปแบบประเพณี น่าจะเป็นเอก เป็นตัวแทนประเทศไทยได้”

ประธานสภาวัฒนธรรม จังหวัดนครฯกล่าวเพิ่มเติมว่าข้อเสนอแนะว่ายังสิ่งท่ีแฝงเร้นอยู่ แล้วเราก็ยกมาได้ก็คือ พระธาตุนครฯเป็นแหล่งผลิตบัณฑิต หรือนักปราชญ์ ผู้เรียนจบพระไตรปิฎก ศิลาจารึกหลักที่ 1 เรียกว่าปราชญ์ผู้เรียนจบปิฎกไตร เขาเรียนกันที่ไหน ก็เอาพระพุทธศาสนาจากอินเดีย จากลังกา มาฝึกฝนกัน วัดหน้าพระบรมธาตุและสอนจนกระทั่งได้เปรียญ มีความนุ ่มลึกจนหลักแหลม และพระสงฆ์เหล่านี้ ได้รับการนิมนต์ กันไปยังสุโขทัย และก็ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา และการเผยแผ่พระพุทธศาสนาก็คือการสร้างชาติของยุคสุโขทัย ตรงนี้ที่นครศรีธรรมราชของเราเป็นศูนย์กลางการผลิตปราชญ์ผู้เรียนจบ ปิฎกไตร นี่ก็คือคุณค่าที่โดดเด่นเป็นสากล”

ประธานสภาวัฒนธรรม จังหวัดนครฯกล่าวเพิ่มเติมว่า เป็นการยกระดับความคิดของคณะท�างาน ในการเขียนเอกสารต้องใช้สายตาของต่างชาติหรือว่าสายตาของคนนอก ให้ OUTSIDERS มองเข้ามายังวัดพระธาตุฯ ที่ไม่ใช่ INSIDERS แบบเรามองออกไปข้างนอกแล้วเราก็เข้าข้างตนเองว่า เราเด่นหรือเราดี นะครับ อันนี้ก็ไปการช่วยท�าให้เรารอบคอบยิ่งขึ้น

“แต่คณะวิทยากร คณะผู้เรียบเรียง ฟังค�าถามของท่านทูตานุทูตเป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นว่ามุมมองของคนที่เป็นทูตซึ่งไปมาหลายประเทศ พบเห็นมรดกทางวัฒนธรรมในหลายประเทศเขามองอย่างไร ส�าหรับต่างชาติที่เขาไม่ได้สัมผัส ไม่นับถือศาสนาพุทธ อาจจะเข้าใจยาก เพราะฉะนั้นเราก็จะต้องจับในส่วนนี้” เขากล่าว

ผศ.ฉัตรชัย ศุกระกาญจน์ กล่าวถึงสิ่งที่คณะทูตานุทูตได้เดินทางมาครั้งนี้ มีสองประการประการแรกเป็นการประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับวัดพระมหาธาตุ-วรมหาวิหาร ให้เป็นสากลไปสู ่โดยคณะทูต คณะทูตนี่มาจากหลายประเทศ เช่นออสเตรเลีย กัมพูชา แคนาดา โคลัมเบีย สาธารณรัฐเช็ค เดนมาร์ก อิหร่าน ญี่ปุ ่น เกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ มอลกา แม็กซิ-โก มองโกเลีย โมร็อคโค เนเธอร์แลนด์ โรมาเนีย สาธารณรัฐสโลวัก เวียดนาม ฮังการี เนปาล ปากีสถานและศรีลังกา

เป ็นการเป ิดตัว ซึ่งในจ�านวนนี้ มี 5 ชาติที่เป ็นกรรมการมรดกโลกอยู ่ ไม ่ได ้แปลว่าทูตเป็นแต ่ประ เทศเหล ่ านั้ นมีบุคคลผู ้ ทรงคุณวุ ฒิ ในประเทศของเขาได้เป็นกรรมการมรดกโลกหวังว่าจะประชาสัมพันธ์ผ่านทางทูตที่มาไปยังคณะกรรมการมรดกโลก

ส�าหรับการเดินทางมาสัญจรของคณะทูตในครั้งนี้ ถือเป็นการลงตัวพอดี ทางกระทรวงวัฒนธรรมเขาจัดโครงการน้ีมา 3 ปี แล้ว ไปภาคเหนือ อีสาน ภาคกลาง ปีละครั้ง และเที่ยวนี้ก็ลงใต้แต่การลงมาปักษ์ใต้เรามีไฮไลท์คือวัดพระธาตุฯอยู ่พอดี คือก็อยากให้เขามาอยู่แล้ว และการด�าเนินการโดยจะใช้งบของทางจังหวัดนครฯแต่ค่าใช้จ่ายต่างๆ กระทรวงวัฒนธรรมเป็นเจ้าภาพหลัก

ต่อจากหน้า 1

พระเครื่ องพระบูชาไทย มาเป ็นประธานเป ิด แว ่วว ่า 29 กย.นี้ ชัดเจนอย ่างไรจะแจ ้งอีกที . .

แต่ที่แน่ๆ เพิ่งถือครอง พ่อท่านซัง รุ ่น 1 ไป 8 แสนปลายๆ จาก โกเซ่ง นครบริการ เมื่อเร็วๆ นี้ ส่วนรุ ่นเดียวกัน กริบ กริบ ยังอยู ่กับ ติ่ง ทุ่งสง พร้อมเหรียญพระธาตุนคร 2460 ขอชมกันได้อยู่ ส่วน ธง นคร ยังครองพ่อท่านเอ้ือม กตปุญโญ วัดบางเนียน รุ่นแรก ห่มจีวรโชว์อยู ่

โต ๊ะ เกียรตินคร สมเกียรติ ประดู ่ โชว ์หรา พ่อท่านเนียม ฐิตธัมโม วัดบางไทรรุ ่นบูชาครูพร้อม พ่อท่านคล้ายขัดสวนขันธ์ รุ่นไฝแตก เชิญได้

ถามไถ่จะมาเยี่ยมศูนย์อยู ่เหมือนกัน มานะ นวลหวาน เช่นเดียวกับ ตี๋ใหญ่ บวร เกาะติดทุกช๊อท

ด้านขาจร คงวนเวียนหาพระมาเปล่ียนมือจากด้านนอก เชื่อว่าที่นี่เกิดแน่ ยืนยัน ราหู //

Page 20: หนังสือพิมพ์ มีดีนิวส์ ฉบับที่ 3 ประจำวันที่ 1 -15 กันยายน 2556

ฉบับท่ี 3 ปักษ์แรก วันท่ี 1-15 กันยายน พ.ศ. 2556หน้า 20 ฉบับท่ี 2 ปักษ์หลัง วันท่ี 16-31 สิงหาคม พ.ศ. 2556หน้า 20

เครื่องถมเมืองนคร ทั้งเครื่องถมเงินและเครื่องถมทอง หัตถศิลป์ชิ้นเอกของเมืองนครศรีธรรมราชที่นับวันจะมีผู้สืบทอดงานฝีมือด้านน้ีน้อยลงทุกที ด้วยขั้นตอนการท�าชิ้นงานที่ประณีต ละเอียด ต้องใส่ใจในทุกขั้นตอนและอาศัยทักษะความช�านาญเฉพาะทาง น่ีอาจจะเป็นเหตุผลต้นๆ ที่ท�าให้มีผู้สนใจที่จะเรียนรู้และสืบทอดขั้นตอนการท�าหัตถศิลป์ด้านน้ีน้อยลง

คุณวิชิต พีรภิรมย์รัตน์ แห่งร้านศรีนครจิวเวลรี่ ถ.ท่าช้าง หลังสนามหน้าเมือง คือผู้ที่เล็งเห็นคุณค่าและความสวยงามของเครื่องถมเมืองนคร เอกลักษณ์หน่ึงเดียวของประเทศไทย ด้วยความเป็นผู้ใฝ่รู้ ถึงแม้ไม่ได้เรียนทางด้านการท�า

ล�้ำค่ำของนครศรีธรรมรำชสูญหำยไปคุณวิชิต พีรภิรมย์รัตน์ ร้ำนศรีนครจิว-

เวลรี่ เล่ำให้ฟังว่ำ “ทำงร้ำนเรำก็จะท�ำสินค้ำเกี่ยวกับงำนสั่งของลูกค้ำด้วย ซึ่งเรำจะเน้นงำนฝีมือที่มีคุณภำพ ที่ร้ำนก็จะมีสินค้ำหลำกหลำยนะครับ แต่ทำงใต้เรำจะเน้นเป็นพวกงำนถม อย่ำงนครศรีธรรมรำชเรำก็จะเน้นเป็นพวกงำนเครื่องถมส่วนใหญ่ แต่เดี๋ยวนี้ก็จะประยุกต์ล่ะครับก็จะมีทั้งพวกงำนถมบ้ำง พวกงำนเงินผสมเข้ำมำ”

“ ในอดีตเรำก็จะมีแต่งำนเนื้อดิบ ก็คือหมำยถึงเมื่อหลำยๆ สิบปีก่อนครับเรำจะเน้นพวกงำนเครื่องถมส่วนใหญ่ แต่ปัจจุบันก็จะรวมๆ หมดแล้ว ก็จะท�ำหลำกหลำยครับไม่ว่ำจะเป็นของใช้ในบ้ำน หรือว่ำพวกงำนสร้อยมือสร้อยคอ

เครื่องถม ก็ต้องมานคร เครื่องเงินเครื่องถมมีที่เดียวในประเทศไทย ท�าที่นี่ เครื่องถมก็คือนครศรีธรรมราช อยากจะให้ไปดูพวกงานถมว่าขั้นตอนการท�ามันค่อนข้างจะเยอะมาก แล้วก็งานมันเป็นหัตถศิลป์ที่ควรจะเก็บไว้มากๆ ซึ่งอีกหน่อยมันจะค่อยๆ สลายไปแล้ว เพราะเนื่องจากว่าคนรุ่นเก่าที่ท�าอยู่พอเค้าล้มหายตายจากไป รุ่นลูกรุ่นหลานเค้าก็ไม่ค่อยมาฝึกเท่าไหร่ มันก็เลยค่อยๆ หายไป ยังโชคดีว่าเรามีสมเด็จท่านช่วยในด้านนี้อยู่”

“แต่ในขณะเดียวกันเมืองนครศรีธรรมราชเราก็อยากจะให้ทุกๆ มาช่วยกัน ไม่ว่าจะเป็นผู้ใหญ่หรือใครก็ดี เราอยากให้ท่านมาช่วยๆ กันว่าท�ายังไงที่จะให้ศิลปหัตถกรรมของบ้านเราคงอยู่ต่อไปถึงรุ่นลูกรุ่นหลานเลย ไม่ใช่มาจบแค่รุ่นพวกเราหรือแค่รุ่นนี้ แล้วรุ่นลูกรุ่นหลาน เมื่อถามเรื่องเครื่องถมอาจจะไม่รู้จักแล้วก็ได้ใช่ไหมครับ เพราะว่าเด็กรุ่นหลังพวกงานเครื่องถมบางคนไม่รู้จักเลย ว่าเครื่องถมคืออะไร” คุณวิชิต พีรภิรมย์รัตน์ กล่าว

ขั้นตอนการท�าเครื่องถมในแต่ละชิ้น ไม่ใช่เรื่องง่าย เครื่องถมบาง ชิ้น ต้องใช้ช่างท�าไม่ต�่ากว่า 4 คน ใช้ระยะเวลาหลายเดือน ในขณะที่ช่างท�าเครื่องถมเองก็ลดน้อยลงไปทุกที เพราะน้อยคนที่จะสนใจสานต่องานด้านนี้ ค�าถามจึงอยู่ที่ว่าเราจะท�าอย่างไรต่อไปเพื่อให้มีผู้สนใจเห็นคุณค่าของการเรียนรู้และตั้งใจที่จะสืบทอดงานศิลป์แขนงนี้ต่อก่อนที่จะสูญหายไปกลาย

เป็นเพียงแค่ค�าบอกเล่าสู่ลูกหลานเท่านั้น

นันทโนราห์ ธรรมชาติ ถ่ายภาพนิสารัตน์ สอดจิตต์ รายงาน

เดี๋ยวน้ีก็มีหมดนะครับ อย่างเช่นตอนนี้เศรษฐกิจที่มีปัญหาอยู่ก็ท�าให้ยอดการขายตกไปพอสมควรเหมือนกันนะครับ”

เขาเล่าต่อว่า “ส�าหรับคุณภาพของสินค้า มันก็อยู่ที่ว่างานที่เราท�าไปนะครับ ความเชื่อถือของลูกค้าก็ส�าคัญ ความเชื่อถือของลูกค้าที่ดี งานเราท�าไปมีคุณภาพก็ยังโอเค ก็ยังตอบรับได้อยู่ ส�าหรับลูกค้าก็มีหลากหลาย ทั้งต่างจังหวัดแล้วก็ในบ้านเราครับ ต่างชาติแต่ไม่ค่อยจะมาก เพราะนครเราต่างชาติจะเข้ามาค่อนข้างจะน้อย ก็จะไม่เหมือนกับทางกระบี่ ภูเก็ตที่ต่างชาติจะไปเยอะ นครเราก็มีบ้างแต่ประปราย”

เจ้าของร้านศรีนครจิวเวลรี่เผยอีกว่า “ทางร้านก็จะมีสินค้าทุกชนิดเกี่ยวกับย่านโอทอปก็ดี หมายถึงว่าโอทอปก็คล้ายๆ กับสินค้างานพื้นบ้าน เราก็ท�านะครับ และแรงงานชาวบ้านที่ท�ามาขาย พวกกระเป๋าย่านลิเภาอะไรพวกนี้เค้าก็ท�าก็มีให้ลูกค้าเลือกหลากหลายเหมือนกัน ก็จะมีทุกอย่างนะครับ ก็มีทั้งเงิน สร้อยเงิน กระเป๋า ทุกอย่าง ก็มีหลากหลายให้ลูกค้าเลือกได้”

“ส�าหรับช่องทางการชะระเงินก็มีทั้งลูกค้าจ่ายทั้งเงินสดบ้าง บัตรเครดิตบ้าง ซึ่งมันก็ต้องตอบรับทุกชนิดที่ลูกค้าต้องการจ่าย สินค้า โอทอปบ้านเราก็มีมากก็อย่างเครื่องเงิน

เครื่องถมจากสถาบันการศึกษาโดยตรง แต่ใช้วิธีสังเกต จดจ�า ศึกษาหาความรู้และฝึกปฏิบัติจนเกิดความช�านาญ สะสมประสบการณ์และพร้อมจะถ่ายทอดแก่ผู้ที่สนใจเพื่ออนุรักษ์ไม่ให้สิ่ง