สวดมนต์ตัดกรรม...

51

Upload: lc2u-liangchiang

Post on 30-Mar-2016

225 views

Category:

Documents


2 download

DESCRIPTION

สวดมนต์ตัดกรรม และคำสอนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

TRANSCRIPT

Page 1: สวดมนต์ตัดกรรม และคำสอนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)
Page 2: สวดมนต์ตัดกรรม และคำสอนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

สวดมนต์สร้างบารมี เสกความดีใส่ตัว ละชั่วสลายทุกข์ พบสุขนิรันดร์

สวดมนต์ตัดกรรม และคำสอน

ff สมเด็จพระพุฒาจารย์ û ( โต พฺรหฺมรํส ี)

เกร็ดประวัติอันลือลั่น คำสอนจากอารมณ์ขันปัญญาธรรม ตำนานพระคาถาชินบัญชรและมนตราคาถาอาคม

พร้อมวิธีใช้ให้บังเกิดผลดี

เรียบเรียง : สุภาพ หอมจิตร ออกแบบปก : อนุชิต คำซองเมือง

ภาพประกอบ : สมควร กองศิลา, ธนรัตน์ ไทยพานิช, ชิชกาน ทองสิงห์

รูปเล่ม/จัดอาร์ต : วันดี ตามเที่ยงตรง พิสูจน์อักษร : อรัญ มีพันธ์

Page 3: สวดมนต์ตัดกรรม และคำสอนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

พระพุทธาคม

...การภาวนาพระพุทธาคมนั้น ต้องปฏิบัติ

เป็นอาจิณวัตรเรียกว่าหมั่นฝึกหมั่นฝน เหมือนมีด

ต้องลับบ่อยๆ จึงคม ไม่ใช่รอคอยทำเมื่อจวนเจียน

จอแจคราวคับขันเท่านั้น สิ่งที่จะสร้างพลานุภาพ

ของพระพุทธาคมให้คงเส้นคงวา คือการรักษาอารมณ์

ให้บริสุทธิ์อยู่ด้วยเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ไม่คิด

เบียดเบียนพยาบาทจองเวรใคร ประคองใจไม่ข้องแวะเรื่องโลกียวิสัยได้มาก

เท่าไรยิ่งดี เมื่อบังคับจิตใจได้อย่างนี้ ประสิทธิภาพประสิทธิคุณย่อมมีมากมาย

สุดที่จะประมาณการเป็นตัวเลขว่า “พระพุทธาคมบทนั้นหรือบทนี้ทรงมหิทธา

ศักดานุภาพเท่าพลังเทพแสนองค์ เท่าพลังช้างสารสนเชือก หรือเท่าบุรุษ สตรี

ฝ่ายละหนึ่งล้านคน”

การสวดมนต์ภาวนาหรือบริกรรมพระพุทธาคมนั้น เป็นการอนุรักษ์

วัตถุมงคลและของศักดิ์สิทธิ์ให้คงสถิตอยู่ที่บ้านเรือน กุฏิ วิหาร หรือในตัวเรา

ตลอดไป ทั้งเป็นการแสดงความเคารพยำเกรง ให้ความสำคัญต่อวัตถุมงคล

และของกายสิทธิ์เหล่านั้น ความเคารพยำเกรงนั้นเองกลายเป็นเชือกมนต์เส้น

ใหญ่ผูกความศักดิ์สิทธิ์ไว้ได้อย่างวิเศษ... ทั้งให้คุณสมบูรณ์พูนสุข เจริญ

งอกงาม เรียกว่า ทำดีประพฤติดีก็ให้คุณ ทำชั่วประพฤติชั่วก็ให้โทษ เป็น

ลักษณะถ้อยทีถ้อยอาศัย ทำนองอัญญมัญญปัจจัยนั่นแล เรียกว่า “ของก็ไม่ต้อง

คุ้มครองคน คนก็ไม่ต้องคุ้มครองของ” แต่อำนวยประโยชน์ให้แก่กันและกัน

แบบน้ำพึ่งเรือเสื่อพึ่งป่า...

พระธรรมธีรราชมหามุนี

เจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม

Page 4: สวดมนต์ตัดกรรม และคำสอนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

คำนิยม

...วัดอินทรวิหารมีสิ่งดีงามอยู่มากมาย

เป็นสมบัติอันล้ำค่าอย่างยิ่ง เป็นสถานที่ที่จะให้

ท่านทั้งหลายได้ศึกษาค้นคว้าเป็นกำไรของชีวิต

ทั้งในด้านอัตชีวประวัติของท่านเจ้าประคุณ-

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) และหลักฐานทาง

ประวัติศาสตร์อันควรค่าแก่การสนใจ

ทั้งนี ้ นอกจากจะเป็นการเผยแพร่เกียรติคุณอันยิ่งใหญ่ของท่าน

เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) แล้ว ยังได้ทราบถึงความเป็นไปของ

บ้านเมืองตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันอันเป็นความหมายถึงความดีทั้งในส่วนของ

โลกและธรรมควบคู่กัน...

ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) เป็นพระมหาเถระผู้มี

จริยาวัตรงดงามและมีเมตตาธรรมอันสูงส่ง มีอัจฉริยภาพอันโดดเด่นไม่เหมือน

ใคร และจะหาผู้ใดเสมอเหมือนมิได ้ อีกทั้งส่วนบุญญาภินิหารอันดีงาม ความ

เมตตาปรานีแก่สรรพสัตว์ทั้งหลายทั้งมวล ที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒา-

จารย์ (โต) ได้ชี้แนะนำทำให้ถูกต้องตามหลักคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ที่ได้ตรัสไว้

อาตมาภาพขออนุโมทนา ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย บารมีและ

ความศักดิ์สิทธิ์ขององค์หลวงพ่อโต (พระศรีอริยเมตไตรย) และด้วยบุญญา-

ภินิหารของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) จงบันดาลให้ทุกๆ ท่าน

ที่ได้มีส่วนในการเผยแผ่เกียรติคุณ และคำสอนของท่านเจ้าประคุณสมเด็จ

พระพุฒาจารย์ (โต) เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณ ธนสารสมบัติ

จงทุกประการ เทอญ.

พระเทพวิสุทธาภรณ์

เจ้าอาวาสวัดอินทรวิหาร

Page 5: สวดมนต์ตัดกรรม และคำสอนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

คำนำ

การเรียนรู้ชีวประวัติและศึกษาคำสอนของครูอาจารย์ผู้ประพฤติดี

ปฏิบัติชอบนั้น นอกจากจะได้เรียนรู้ถึงจริยาวัตรและปฏิปทาอันน่าเลื่อมใส

ของท่านแล้ว ยังได้น้อมนำคำสอนมาเป็นหลักประพฤติปฏิบัติในชีวิต ย่อม

เป็นสิริมงคลสูงสุดในชีวิต และก่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่ตนเองและสังคม

โดยรวม

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ได้ชื่อว่าเป็นสุดยอดแห่ง

ปรมาจารย์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดองค์หนึ่งมาจนถึงปัจจุบัน และเป็นที่เลื่อมใส

ศรัทธาของประชาชนทุกหมู่เหล่า แม้เจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินก็เลื่อมใสในตัวท่าน

ทั้งนี้เพราะเหตุ ๒ อย่าง คือ

๑. ปฏิปทาและจริยาวัตร สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

มีวัตรปฏิบัติที่น่าเลื่อมใส มีความเป็นอยู่ที่สมถะเรียบง่าย สันโดษ ไม่คลุกคลี

ด้วยหมู่คณะ และไม่ยึดติดในยศสมณศักดิ์ เพราะพิจารณาเห็นว่ายศศักดิ์

นั้นเป็นสิ่งที่ไม่จีรังยั่งยืน ดังนั้น ท่านจึงมุ่งสร้างประโยชน์แก่ส่วนรวม โดย

การเทศนาสั่งสอนประชาชนให้รู้สึกสำนึกในสิ่งที่ดีที่ชอบ

๒. อมตธรรมคำสอน คำสอนของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต

พฺรหฺมรํสี) นั้น เป็นคำสอนที่เข้าใจง่าย เพราะท่านสอนแบบเปรียบเทียบให้

เห็นและยึดถือเป็นแบบอย่าง โดยถือคติว่า “ตัวอย่างที่ดีย่อมดีกว่า

คำสอน” บางคนที่ไม่เข้าใจอาจคิดว่าทำพิเรนทร์ แต่ถ้าคิดพิจารณาอย่าง

ถี่ถ้วนแล้วจะเห็นได้ว่าลึกซึ้งมากทีเดียว

หนังสือ สวดมนต์ตัดกรรม และคำสอนสมเด็จพระพุฒาจารย์

(โต พฺรหฺมรํสี) เล่มนี ้แบ่งเนื้อหาออกเป็น ๖ ส่วนหลักๆ ได้แก่

๑) เกร็ดประวัติ เป็นการรวบรวมประวัติความเป็นมา วัดและ

สถานที่ที่ท่านเคยอยู่ รวมทั้งการสร้างพระเครื่องตระกูลสมเด็จอันลือชื่อ

Page 6: สวดมนต์ตัดกรรม และคำสอนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

๒) อารมณ์ขันและปัญญาธรรม เป็นการรวบรวมคำสอน ทั้งที่

เป็นข้อคิด คติธรรม อันเป็นมรดกธรรมยิ่งใหญ่ที่ท่านได้มอบไว้และใช้เป็น

หลักปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี

๓) ตำนานความเป็นมาของพระคาถาชินบัญชร นำเสนอเรื่อง

ความเป็นมาอันลึกลับ และความหมายของพระคาถาชินบัญชรแต่ละบท

เพื่อเพิ่มความขลังพลังศรัทธาในพระคาถาชินบัญชรยิ่งขึ้น

๔) สวดมนต์ตัดกรรมตามแบบสมเด็จโต เป็นบทสวดมนต์เพื่อ

ตัดกรรมที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ได้แนะนำให้สวดภาวนา

เพื่อแก้ไขกรรมร้าย ขยายกรรมดี ทำชีวิตให้มีความสุขตลอดไป

๕) พระสูตรและปริตรที่ปรากฏในพระคาถาชินบัญชร อธิบาย

ความเป็นมาและอานิสงส์การสวดภาวนาพระสูตรต่างๆ อันมีอานุภาพ

สามารถขจัดทุกข์ โศก โรค ภัย ให้มลายหายไปสิ้น

๖) มนตราและคาถาอาคมของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต

พฺรหฺมรํสี) เสนอวิธีใช้พระคาถาชินบัญชรในแต่ละบท และมนตราคาถา

อาคมของสมเด็จโตซึ่งมีพลานุภาพมาก สามารถป้องกันภัยได้ทุกอย่าง

หวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้ คงเอื้อประโยชน์แก่ท่านผู้มีจิตใจ

เป็นบุญกุศล หมั่นฝึกฝนพัฒนาสติปัญญาและภาวนาสวดมนต์ได้เป็นอย่างด ี

ขอบารมีธรรมของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) จงให้การดำเนิน

ชีวิตมีความสุข ราบรื่น มั่นคง เข้มแข็ง มีสันติสุขภายใน และมีจิตใจที่เต็ม

เปี่ยมไปด้วยบุญกุศลตลอดไป.

ขอบารมีธรรมสมเด็จโตอำนวยพรให้ทุกท่านโชคดี

ด้วยกตัญญูกตเวทิตาธรรม

(น.ธ. เอก, ป.ธ. ๗, ร.บ.) รวบรวม/เรียบเรียง

Page 7: สวดมนต์ตัดกรรม และคำสอนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

สารบัญ

เกร็ดประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ๑๐

คำเล่าลือเกี่ยวกับชาติกาลของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ๑๑

บวชเป็นสามเณรที่วัดอินทรวิหาร ๑๒

ศึกษากับพระอาจารย์แก้ว วัดสังเวชวิศยาราม (บางลำพูบน) ๑๓

เป็นสัทธิวิหาริกของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (นาค) ๑๔

แสดงธรรมได้ไพเราะจนเป็นที่โปรดปราน ๑๖

อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดพระแก้ว ๑๗

ศึกษากรรมฐานกับสมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) ๑๘

ศึกษาวิชาอาคมกับครูอาจารย์หลายสำนัก ๑๙

ไม่ได้เข้าสอบเปรียญ แต่ได้นามว่า “พระมหาโต” ๒๐

ทำความดีจนได้ชื่อว่าเป็น “พระดีศรีสยาม” ๒๒

เป็นพระราชาคณะชั้นผู้ใหญ่ที่ “พระธรรมกิตติ” ๒๓

เป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม และเป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ ๒๔

การสร้างพระเครื่องของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ๒๕

กรรมวิธีในการสร้างและปลุกเสกพระเครื่อง ๒๖

ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

การก่อสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุต่างๆ ๒๗

การบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะวัดอื่นๆ ๓๐

มรณภาพที่วัดอินทรวิหาร ๓๑

อารมณ์ขันและปัญญาธรรมของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ๓๒

๑. จุดใต้เข้าวังกลางวัน ๓๓

๒. เจ้าชีวิตเสวยน้ำเหล้า สมเด็จเจ้าก็ต้องแจวเรือ ๓๕

๓. สอนฝรั่งเรื่องใจกลางของโลก ๓๖

๔. ทำบ้าก็ว่าดี ทำดีก็ว่าบ้า ๓๙

๕. สมเด็จโตติดแร้วแทนนก ๔๐

๖. ทำตัวอย่างที่ดีย่อมดีกว่าคำสอน ๔๑

๗. นี่แหละ! ตัวโทโส (ความโกรธ) ๔๒

๘. ทำบุญสร้างวัดไฉนได้บุญหนึ่งสลึงเฟื้อง ๔๕

Page 8: สวดมนต์ตัดกรรม และคำสอนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

๙. วิธีปราบพระทะเลาะกัน ๔๗

๑๐. แม้แต่ผ้าเช็ดมือก็ถวายไม่ได้ ๔๙

๑๑. ถ้าโจรมันอยากได้ ก็ให้มันเอาไป ๕๐

๑๒. พระรับจ้างเทศน ์ ๕๑

๑๓. เรื่องของหมา คนอย่ายุ่ง ๕๒

๑๔. เวรย่อมไม่ระงับเพราะการจองเวร ๕๓

๑๕. สอนเขาเราต้องเห็นจริง ๕๕

๑๖. พระพุทธรูปแม้เริ่มสร้างก็เป็นองค์พระแล้ว ๕๗

๑๗. อะไรๆ ก็รู้หมดแล้ว ๕๘

๑๘. เรื่องเล่ากระต่ายดำ กระต่ายขาว ๕๙

๑๙. การเคารพพระธรรม ๖๐

๒๐. เทศน์ตรงจนถูกขับจากวัง ๖๑

๒๑. นักษัตรกับอริยสัจ ๖๓

๒๒. ม. ม้าหันหุน (ให้หวย) ๖๕

๒๓. สาเหตุที่ไม่ร่วมสังคายนาพระไตรปิฎก ๖๖

๒๔. ยศศักดิ์น่าขบขันฉันจึงหนีไม่พ้น ๖๗

๒๕. ลูกพระตถาคตที่แท้จริง ๖๙

๒๖. โลกมันพร่องอยู่เสมอ ๗๐

๒๗. สาธุ ! สาธุ ! สาธุ ! ๗๑

๒๘. ให้ทำ (ตัว) เหมือนหมาฆ่าความทะเลาะได ้ ๗๒

ตำนานและความเป็นมาพระคาถาชินบัญชร ๗๔

ประวัติความเป็นมาพระคาถาชินบัญชร ๗๕

พระคาถาชินบัญชร พุทธาคมศักดิ์สิทธิ์และทรงพลานุภาพ ๗๙

- บทที่ ๑ อาราธนาบารมี ๑๐ ทัศ ขจัดมารร้ายให้หายสิ้น ๘๑

- บทที่ ๒ อาราธนาพระพุทธเจ้า ๒๘ องค์ สถิตที่กระหม่อม ๘๒

- บทที่ ๓ อาราธนาพระไตรรัตน์ขจัดภัยอันตราย ๘๓

- บทที่ ๔ อัญเชิญพระเถระ ๔ องค์ สถิตที่หัวใจและกายซ้าย-ขวา ๘๔

- บทที่ ๕ อัญเชิญพระเถระ ๔ องค์ มาสถิตที่หูสองข้าง ๘๕

- บทที่ ๖ อัญเชิญพระโสภิตะมาสถิตอยู่ที่เส้นผม ๘๖

- บทที่ ๗ อัญเชิญพระกุมารกัสสปะมาสถิตอยู่ที่ปาก ๘๗

Page 9: สวดมนต์ตัดกรรม และคำสอนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

- บทที่ ๘ อัญเชิญพระเถระ ๕ องค์ มาสถิตอยู่ที่หน้าผาก ๘๘

- บทที่ ๙ อัญเชิญเถระ ๖๗ องค์ มาสถิตทั่วอวัยวะน้อยใหญ่ ๘๙

- บทที่ ๑๐ อาราธนาพระสูตร ๔ พระสูตร มาสถิตอยู่รอบตัว ๙๑

- บทที่ ๑๑ อาราธนาพระสูตร ๓ พระสูตร ๙๒

มาสถิตป้องกันภัยทุกทิศ

- บทที่ ๑๒ ขออานุภาพพระพุทธเจ้า ๙๓

มาสถิตเป็นกำแพงกางกั้นอันตราย

- บทที่ ๑๓ อาราธนาคุณพระพุทธเจ้าคุ้มครองรักษาทุกเมื่อ ๙๔

- บทที่ ๑๔ อาราธนาคุณพระรัตนตรัยป้องกันสรรพอันตราย ๙๕

- บทที่ ๑๕ ขออานุภาพพระรัตนตรัยปกป้องคุ้มผองภัย ๙๖

กวีนิพนธ์แปลพระคาถาชินบัญชร ๙๖

ศาสตร์และศิลป์แห่งการเสกพระคาถาชินบัญชรเข้าสู่ร่างกาย ๙๗

อานิสงส์พระคาถาชินบัญชร ๑๐๖

สวดมนต์ตัดกรรมตามแบบของสมเด็จโต ๑๐๗

เรียนรู้เรื่องกรรม ก่อนสวดมนต์ตัดกรรม ๑๐๘

ตัดกรรมคือหยุดทำความชั่วทุกอย่าง ๑๐๙

ตัดกรรมทำได้ แต่ต้องตัดใจก่อน ๑๑๐

สวดมนต์ตัดกรรมได้จริงหรือไม ่ ๑๑๑

สวดมนต์ให้สำเร็จผลเป็นพระอรหันต์ได้ ๑๑๓

สวดมนต์คือการทำความดีทั้งกาย วาจา ใจ ๑๑๔

การสวดมนต์เป็นประโยชน์แก่ตนและผู้อื่น ๑๑๕

ขั้นตอนการสวดมนต์ตัดกรรมตามแบบสมเด็จโต ๑๑๖

ลำดับบทสวดมนต์ตัดกรรมตามแบบสมเด็จโต ๑๑๘

๑. บทบูชาพระรัตนตรัย ๑๑๙

๒. บทกราบพระรัตนตรัย ๑๒๐

๓. บทนอบน้อมพระพุทธเจ้า ๑๒๑

๔. บทไตรสรณคมน์ ๑๒๒

๕. คำอาราธนาและสมาทานศีล ๕ ๑๒๓

๖. บทอัญเชิญเทวดา ๑๒๔

๗. บทสรรเสริญพระพุทธคุณ ๑๒๕

Page 10: สวดมนต์ตัดกรรม และคำสอนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

๘. บทสรรเสริญพระธรรมคุณ ๑๒๖

๙. บทสรรเสริญพระสังฆคุณ ๑๒๗

๑๐. คำอธิษฐานจิตภาวนา ๑๒๙

๑๑. คำไหว้คุณรวม (อาราธนาพระไตรรัตน์ขจัดภัย) ๑๓๐

๑๒. บทพระคาถาชินบัญชร ๑๓๒

๑๓. คาถาบูชาพระสีวลี ๑๓๔

๑๔. คำอธิษฐานบารมี ๑๓๖

๑๕. คำกรวดน้ำอุทิศส่วนบุญ ๑๓๗

๑๖. บทแผ่เมตตาแก่ตนเอง ๑๓๗

๑๗. บทแผ่เมตตาแก่สรรพสัตว์ ๑๓๘

๑๘. บทแผ่เมตตาแก่โลกทั้ง ๕ ๑๓๘

๑๙. บทแผ่เมตตาไม่มีขอบเขต ๑๓๙

๒๐. คำอุทิศบุญกุศล ๑๔๐

พระสูตรและพระปริตรที่ปรากฏในพระคาถาชินบัญชร ๑๔๑

๑. รัตนปริตร (มนต์พิชิตภัยร้าย) ๑๔๑

๒. กรณียเมตตสูตร (มนต์ผูกใจผู้คนให้รักใคร่) ๑๔๓

๓. ธชัคคสูตร (มนต์พิชิตความหวาดกลัว) ๑๔๕

๔. อังคุลิมาลปริตร (มนต์พิชิตความเจ็บปวด) ๑๔๗

๕. ขันธปริตร (มนต์พิชิตภัยจากสัตว์มีพิษร้าย) ๑๔๘

๖. โมรปริตร (มนต์พิชิตอันตรายแห่งชีวิต) ๑๔๙

๗. อาฏานาฏิยปริตร (มนต์พิชิตโรคและภัยอันตราย) ๑๕๑

มนตราและคาถาอาคมของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ๑๕๓

วิธีใช้พระคาถาชินบัญชรแต่ละบท ๑๕๓

พระคาถาชินบัญชร (ย่อ) ๑๕๗

คาถาหัวใจพระคาถาชินบัญชร ๑๕๗

พุทธมงคลคาถา (นมัสการพระอรหันต์ ๘ ทิศ) ๑๕๗

คาถาสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ๑๕๘

คาถาสืบสร้างทางสวรรค์-นิพพาน ๑๕๙

คาถาบูชาสมเด็จพระพุฒาจารย์ ๑๕๙

คาถามงกุฎพระพุทธเจ้า ๑๕๙

Page 11: สวดมนต์ตัดกรรม และคำสอนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

10 สวดมนต์ตัดกรรม และคำสอนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พ ฺรหฺมรํสี)

เกร็ดประวัติ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)*

บรรดาพระอมตเถราจารย์ผู้ทรงวิทยาคมที่ได้รับการยอมรับนับถือ

มากที่สุดองค์หนึ่งในยุคปัจจุบัน คงไม่มีใครที่ไม่รู้จักชื่อเสียงอันลือลั่นของ

สมเด็จพระพุฒาจารย์ หรือที่รู้จักโดยทั่วไปว่า “สมเด็จโต พฺรหฺมรํสี”

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) เป็นผู้เลิศด้วยคุณธรรม

อันควรแก่การยกย่องสรรเสริญ ๒ ด้าน คือ

๑) ด้านปริยัติ เป็นผู้ทรงวิทยาความรู้แตกฉานในพระไตรปิฎก

อย่างมาก โดยได้เข้าแปลพระไตรปิฎกต่อหน้าพระที่นั่งบ่อยครั้ง แต่ท่าน

ก็ไม่รับพัดเปรียญ ทั้งๆ ที่ความรู้ภูมิธรรมของท่านถึงขั้นเปรียญธรรม ๙

ประโยคเลยทีเดียว

๒) ด้านปฏิบัติ ท่านเป็นศิษย์ศึกษาวิปัสสนากัมมัฏฐานกับสมเด็จ

พระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน วัดราชสิทธาราม หรือ

วัดพลับ ฝั่งธนบุรี) และครูอาจารย์อีกหลายสำนัก

* ฉายาของสมเด็จพระพุฒาจารย์ในเล่มนี้ใช้เป็นบาลี "พฺรหฺมรํสี" ถ้าเป็นคำอ่านจะ

ใช้ว่า "พรหมรังสี" ก็ได ้

Page 12: สวดมนต์ตัดกรรม และคำสอนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

11สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

คำเล่าลือเกี่ยวกับชาติกาล ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

ตามประวัติกล่าวว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ถือ

กำเนิดในตระกูลสามัญชน ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า-

จุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ แห่งพระราชวงศ์จักรี เมื่อวันพฤหัสบดี

ที่ ๑๗ เมษายน พุทธศักราช ๒๓๓๑ ตรงกับวันขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๕

ปีวอก จุลศักราช (จ.ศ.) ๑๑๕๐ เวลาพระบิณฑบาต ๐๖.๔๕ นาที (ย่ำรุ่ง

๙ บาท) ณ ตำบลไก่จ้น อำเภอท่าเรือ จังหวัดอยุธยา มารดาของท่าน

มีนามว่า เกตุ (บางตำราว่า งุด) ส่วนบิดานั้นไม่ปรากฏชื่อ

บางตำรากล่าวว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) เป็น

พระโอรสนอกเศวตฉัตรในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาล

ที่ ๒ แห่งพระราชวงศ์จักรี กับมารดาซึ่งเป็นสามัญชนชื่อว่า งุด หญิงสาว

ชาวเมืองกำแพงเพชร ผู้เป็นบุตรีของนายผล และนางลา ทรงพระราช-

สมภพเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๓๓๑ เวลา ๐๖.๓๕ นาฬิกา

ณ จังหวัดพิจิตร

Page 13: สวดมนต์ตัดกรรม และคำสอนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

12 สวดมนต์ตัดกรรม และคำสอนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พ ฺรหฺมรํสี)

บวชเป็นสามเณรที่วัดอินทรวิหาร

หลังจากมารดาของท่านได้ย้ายมาอยู่ที่บางขุนพรหมแล้ว เมื่อ

อายุได้ ๑๒ ป ี จึงได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดอินทร์นั้นเอง ในราวปี

พุทธศักราช ๒๓๔๒ โดยมีท่านเจ้าคุณพระบวรวิริยเถร (อยู่) เจ้าอาวาส

วัดสังเวชวิศยาราม (บางลำพูบน) เป็นพระอุปัชฌาย ์ ได้ศึกษาอักษรสมัย

กับท่านเจ้าคุณอรัญญิก (ด้วง) เจ้าอาวาสวัดอินทร์ในขณะนั้น สามเณรโต

เป็นผู้มีสติปัญญาเป็นเลิศ มีปฏิภาณไหวพริบอันชาญฉลาด สามารถท่องจำ

หนังสือได้รวดเร็วจนก้าวหน้ามาโดยลำดับ

วัดอินทรวิหาร พระอารามหลวงชั้นตรี เป็นวัดโบราณที่สร้างขึ้น

ก่อนสมัยรัตนโกสินทร์ เดิมเรียกว่า วัดบางขุนพรหมนอก ได้รับการบูรณ-

ปฏิสังขรณ์ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔)

ครั้นบูรณะเสร็จแล้วโปรดให้นิมนต์ท่านเจ้าคุณอรัญญิก ซึ่งอพยพ

มาจากกรุงเวียงจันทน์ในสมัยรัชกาลที่ ๑ เป็นเจ้าอาวาสปกครองวัด ด้วย

ความที่ท่านเป็นผู้แตกฉานในด้านสมถวิปัสสนา จึงได้เป็นพระอาจารย์

สอนกัมมัฏฐานแก่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ต่อมา พระบาท

สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) โปรดเกล้าฯ พระราชทาน

นามวัดใหม่ว่า “วัดอินทรวิหาร”

Page 14: สวดมนต์ตัดกรรม และคำสอนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

13สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

ศึกษากับพระอาจารย์แก้ว วัดสังเวชวิศยาราม (บางลำพูบน)

สมัยนั้น วัดบางลำพูบน (วัดสังเวชฯ) มีพระอาจารย์แก้วเป็น

เจ้าอาวาส ตาผลผู้ซึ่งเป็นตาของท่านและมีความคุ้นเคยกับพระอาจารย์

แก้วเป็นอย่างดี จึงเอ่ยปากขอฝากสามเณรโตให้ช่วยดูแลอบรมสั่งสอน

พระธรรม เพื่อประโยชน์แก่พระศาสนาสืบต่อไป

พระอาจารย์แก้วพิจารณา

เห็นอุปนิสัยของสามเณรโตแล้วว่า

สามเณรน้อยรูปนี้ ต่อไปในอนาคต

ภายหน้าจะเป็นหลักชัยของพระ-

ศาสนาและประเทศชาติด้วย จึงได้

รับปากตางุดว่าจะดูแลสามเณรโต

เป็นอย่างดี

สามเณรโตเป็นผู้มีมานะ

ความมุ่งมั่น บากบั่น ขยันศึกษา

เล่าเรียน และปรนนิบัติพระอาจารย์

แก้วอย่างดี ในยามว่างสามเณรโต

จะท่องคัมภีร์ต่างๆ เป็นประจำ หาก

มีข้อสงสัยในหลักธรรมใด ก็จะไปถามกับพระอาจารย์แก้วจนกระจ่างแจ้ง

ในอรรถธรรมนั้น

ต่อมา พระอาจารย์แก้วพิจารณาเห็นว่า สามเณรโตมีสติปัญญา

เฉลียวฉลาด สามารถเล่าเรียนแตกฉานจนหมดภูมิความรู้ที่จะสอนแล้ว

จึงแนะนำให้ไปศึกษาพระปริยัติธรรมต่อที่สำนักวัดระฆังโฆสิตาราม ซึ่ง

มีชื่อเสียงมากในสมัยนั้น

Page 15: สวดมนต์ตัดกรรม และคำสอนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

14 สวดมนต์ตัดกรรม และคำสอนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พ ฺรหฺมรํสี)

เป็นสัทธิวิหาริก ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (นาค)

ในสมัยนั้นสำนักวัดระฆังโฆสิตาราม มีเจ้าประคุณสมเด็จพระ-

พุทธโฆษาจารย์ (นาค) เป็นเจ้าอาวาส เป็นสำนักที่มีชื่อเสียงโด่งดังทั้งด้าน

คันถธุระ (การศึกษาเล่าเรียน) และด้านวิปัสสนาธุระ (การปฏิบัติ)

ก่อนที่สามเณรโต จะไปอยู่วัดระฆังฯ

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เจ้าอาวาสวัดระฆังฯ ได้ฝันว่า

มีช้างเผือกเชือกหนึ่ง ได้เข้ามากัดกิน

พระไตรปิฎกในตู้ของท่าน จนเสียหายหมดสิ้น

จนท่านตกใจตื่นขึ้นมา

ครั้นพิจารณาความฝันอันประหลาดที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนเช่นนั้น

แล้ว ท่านจึงคิดว่า “ชะรอยจะมีผู้นำเด็กที่มีสติปัญญาดีมาฝากเป็นศิษย์

ศึกษาบาลี และถ้าเป็นเช่นนั้นจริงๆ เด็กคนนั้นต่อไปจะเป็นผู้มีคุณธรรม

ในด้านปริยัติอย่างวิเศษทีเดียว”

ด้วยความเชื่อที่มีอยู่เช่นนั้น เช้าวันรุ่งขึ้นเจ้าประคุณสมเด็จฯ จึง

ได้สั่งลูกศิษย์วัดไว้ว่า “วันนี้ ถ้ามีอะไรมาให้รับเอาไว้”

Page 16: สวดมนต์ตัดกรรม และคำสอนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

15สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

วันต่อมา สามเณรโตจัดการเก็บอัฐบริขารเรียบร้อยแล้วจึงเข้าไป

กราบลาพระอาจารย์แก้ว แล้วออกเดินทางไปยังวัดระฆังพร้อมกับเด็กวัด

บางลำพูบนคนหนึ่ง ครั้นพายเรือมาจอดเทียบท่าวัดระฆัง จึงขอเข้าพบเจ้า

ประคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์

แต่สามเณรผู้รับใช้กลับบอกว่าเจ้าอาวาสไม่อยู่ และก็ไม่ยอมให้

เข้าไปในกุฏิ เมื่อเป็นดังนี้ลูกศิษย์ที่มาด้วยจึงพาไปฝากกับเจ๊กขายกาแฟ

หน้าวัดระฆัง โดยที่ในวันนั้นสามเณรโตไม่ได้ฉันเพลอะไรเลย

ครั้นเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์กลับมาจากฉันเพล

ข้างนอกแล้ว ได้สอบถามลูกศิษย์ว่า “วันนี้มีใครเอาอะไรมาฝากหรือไม่”

ลูกศิษย์ตอบว่า “มีแต่คนจะเอาเณรมาฝากเป็นศิษย์วัด”

ท่านจึงรับสั่งให้ลูกศิษย์ไปตามมาพบ และทันทีที่ได้พบสามเณรโต

เจ้าประคุณสมเด็จฯ รู้สึกถูกชะตาจึงเรียกให้มาคุยที่หน้ากุฏิ สามเณรโต

ก้มกราบเจ้าประคุณสมเด็จฯ แล้วถวายหนังสือฝากตัวของพระอาจารย์แก้ว

เจ้าประคุณสมเด็จฯ อ่านจบแล้วนึกกระหยิ่มในใจ และตกลงรับสามเณรโต

เป็นศิษย์ศึกษาในสำนักวัดระฆัง โดยให้พักอยู่ที่กุฏิแดงริมแม่น้ำเจ้าพระยา

Page 17: สวดมนต์ตัดกรรม และคำสอนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

16 สวดมนต์ตัดกรรม และคำสอนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พ ฺรหฺมรํสี)

แสดงธรรมได้ไพเราะจนเป็นที่โปรดปราน

ครั้นสามเณรโตได้เข้ามาอยู่ที่วัดระฆังฯ แล้วก็เจริญก้าวหน้ามา

ตามลำดับ ทั้งในด้านการเรียนพระปริยัติและปฏิบัติ โดยท่านได้มีโอกาส

ไปเข้าเรียนกับสมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) เมื่อครั้งเป็นที่สมเด็จ-

พระญาณสังวร

ในสมัยนั้นท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระญาณสังวร ได้ชื่อว่าเป็น

สุดยอดปรมาจารย์ด้านวิปัสสนาธุระ จึงมีพระเถระชั้นผู้ใหญ่หลายรูป

ที่เคยเป็นศิษย์ศึกษากัมมัฏฐานกับท่านจนมีชื่อเสียงมาถึงทุกวันนี้ และ

สมเด็จพระพุฒาจารย ์(โต พฺรหฺมรํสี) ก็เป็นหนึ่งในนั้นด้วย

นอกจากนี้ในเรื่องการเทศน์ ท่านเป็นนักเทศน์

มาตั้งแต่ยังเป็นสามเณร คือเมื่อท่านมีอายุได้ ๑๘ ปี

เป็นนักเทศน์ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง ชนิดที่หาตัวจับได้ยากคนหนึ่ง

เพราะเหตุที่ท่านแสดงธรรมไพเราะเป็นที่จับใจของศรัทธาสาธุชน

จนชื่อเสียงเรียงนามขจรขจายไปทั่ว ความทราบถึงพระโหราธิบดี พระ-

วิเชียร และเสมียนตราด้วง จึงปรึกษากันว่าจะนำท่านไปถวายแด่เจ้าฟ้า

กรมหลวงอิศรสุนทร ซึ่งในขณะนั้นทรงมีพระชนมายุ ๓๘ พรรษา และ

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงครองราชสมบัติเป็น

ปีที่ ๒๓ ซึ่งตรงกับปีพุทธศักราช ๒๓๔๘

Page 18: สวดมนต์ตัดกรรม และคำสอนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

17สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดพระแก้ว

เมื่อสามเณรโตมีอายุ ๒๐ ปี จึงได้อุปสมบท ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงรับไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ ให้อุปสมบทเป็นนาคหลวง ในปีพุทธศักราช ๒๔๕๐ โดยมีสมเด็จพระสังฆราช (สุก) วัดมหาธาตุ เป็นพระอุปัชฌาย์ พร้อมกับตั้งฉายาให้ว่า พฺรหฺมรํสี

สมเด็จพระสังฆราช (สุก) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ประสูติ

เมื่อปีกุน จุลศักราช ๑๐๙๓ ตรงกับ พ.ศ. ๒๒๗๔ พระองค์ทรงเป็น

พระเปรียญมาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยา สมัยกรุงธนบุรีได้เป็นพระราชคณะที่

พระญาณสมโพธิ ประจำอยู่วัดมหาธาตุ ในสมัยอยุธยาตอนปลายได้เลื่อน

เป็นพระธรรมเจดีย์ และเป็น พระพนรัตน์ ตามลำดับ

ปี พ.ศ. ๒๓๓๑ รัชกาลที่ ๑ โปรดให้ทำการสังคายนาพระไตร-

ปิฎก พระพนรัตน์รับหน้าที่เป็นแม่กองชำระพระวินัยปิฎก และเมื่อสมเด็จ

พระสังฆราช (ศรี) สิ้นพระชนม์ โปรดสถาปนาพระพนรัตน์ขึ้นเป็นสมเด็จ

พระสังฆราชองค์ที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อปีขาล ขณะพระชนมายุ

๖๓ ปี

นอกจากจะเป็นพระอุปัชฌาย์ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต

พฺรหฺมรํสี) แล้วทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ของกรมพระราชวังบวรมหาสุร-

สิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานภิมุข เป็นต้น และทรงดำรงตำแหน่ง

สมเด็จพระสังฆราชเป็นเวลานานถึง ๒๒ ปี สิ้นพระชนม์เมื่อวันพุธ แรม

๑๑ ค่ำ เดือน ๖ ปีชวด พ.ศ. ๒๓๔๙ ในสมัยรัชกาลที่ ๒ พระชนมายุ

ได้ ๘๖ ป ี

Page 19: สวดมนต์ตัดกรรม และคำสอนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

18 สวดมนต์ตัดกรรม และคำสอนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พ ฺรหฺมรํสี)

ศึกษากรรมฐาน กับสมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน)

นอกจากจะศึกษาพระไตรปิฎกได้อย่างแตกฉานแล้ว ในด้านการ

ปฏิบัติโดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับวิปัสสนากัมมัฏฐานนั้น สมเด็จพระพุฒาจารย์

ได้ศึกษาวิชาวิปัสสนากัมมัฏฐานกับพระเกจิดังอีกหลายท่าน โดยเฉพาะ

สมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) ในสำนักนี้ได้ศึกษาทั้งด้านวิปัสสนา

กรรมฐานและคาถาอาคมอีกหลายอย่าง

สมเด็จพระญาณสังวร มีฉายาว่า ญาณสํวโร

ทรงเชี่ยวชาญในด้านวิปัสสนากัมมัฏฐาน เจริญเมตตาพรหมวิหาร

ให้แก่สัตว์ต่างๆ แม้กระทั่งเดรัจฉาน สมัยนั้นวัดพลับเป็นป่าเต็มไปด้วยไก่ป่ามาก

ท่านเจริญเมตตาจนไก่ป่าเชื่อง จึงได้รับการขนานนามว่า “สมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน)”

ประสูติเมื่อวันศุกร์ ขึ้น ๒ ค่ำ เดือนยี่ ปีฉลู พ.ศ. ๒๒๗๖ ใน

รัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เดิมบวชอยู่ที่วัดท่าหอยคลองคูจาม จังหวัด

พระนครศรีอยุธยา รัชกาลที่ ๑ ทรงทราบกิตติศัพท์ของท่านเกิดความ

เลื่อมใส จึงอาราธนามาเป็นเจ้าอาวาสครองวัดพลับหรือวัดราชสิทธาราม

และทรงตั้งเป็นพระราชาคณะที่ “พระญาณสังวร” ทรงเป็นพระกรรม-

วาจาจารย์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๓ เมื่อ

ครั้งทรงผนวช และทรงเป็นพระอุปัชฌาย์แก่เจ้านายอีกหลายพระองค ์

Page 20: สวดมนต์ตัดกรรม และคำสอนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

19สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

ศึกษาวิชาอาคมกับครูอาจารย์หลายสำนัก

ในด้านวิชาอาคมนั้น นอกจากจะเรียนกับสมเด็จพระญาณสังวร

(สุก ไก่เถื่อน) แล้วยังได้ศึกษาคาถาอาคมกับท่านเจ้าคุณอรัญญิกและท่าน

เจ้าคุณบวรวิริยเถร โดยได้รับเต้าปูน* จากท่านเจ้าคุณอรัญญิกอีกด้วย

ดังมีเรื่องเล่าว่า เมื่อครั้งที่พักอยู่ในสำนักของท่านเจ้าคุณบวรวิริย-

เถระ วันหนึ่ง ท่านเจ้าคุณอรัญญิกได้นำเอาเต้าปูนมาถวายแก่พระภิกษุ

สามเณรในวัดทั้งหมด คือถวายแก่ท่านเจ้าคุณพระบวรวิริยเถระผู้เป็นเจ้า

อาวาส และถวายพระเณรองค์ละเต้า แต่หามีพระเณรองค์ใดสนใจไม่ มี

เพียงท่านเพียงองค์เดียวเท่านั้นที่รับเอาเต้าปูนเก็บรักษาไว้

ต่อมา ท่านจึงเอามาปั้นเป็นลูกกลมๆ แล้วบริกรรมคาถาต่างๆ

เช่น อิติปิ โส ๑๐๘ และคาถาชินบัญชร เป็นต้น เมื่อมีผู้มาขอท่านก็ให้ไป

ปรากฏว่าลูกอมที่ท่านปลุกเสกไว้นั้นลูกศิษย์นำกลับไปใช้ได้ผลเป็นที่น่า

อัศจรรย์ จนเลื่องลือกันไปทั่วว่า “ลูกอมศักดิ์สิทธิ์” และเป็นที่ต้องการมาก

ในสมัยนั้น

* เต้าปูน หมายภาชนะสำหรับใส่หมากที่กินกับพลู

Page 21: สวดมนต์ตัดกรรม และคำสอนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

20 สวดมนต์ตัดกรรม และคำสอนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พ ฺรหฺมรํสี)

ไม้ได้เข้าสอบเปรียญ แต่ได้นามว่า “พระมหาโต”

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) มีอุปนิสัยฝักใฝ่ในการเรียน

ขยันหมั่นเพียรในการศึกษาเล่าเรียน จนสามารถแปลพระไตรปิฎกได้อย่าง

แม่นยำ แต่ท่านก็ไม่ยึดติดในยศถาบรรดาศักดิ์ จึงไม่ได้เข้าแปลปริยัติธรรม

ในสนามหลวง แม้กระนั้นกิตติศัพท์ของท่านก็เป็นที่กล่าวขานว่าเป็นผู้ทรง

พระไตรปิฎก

คราวหนึ่ง ท่านลงชื่อเข้าสอบแปลปริยัติธรรมในสนามหลวง ซึ่ง

สมัยนั้นต้องเข้าแปลต่อหน้ากรรมการผู้คุมสอบด้วยปากเปล่า เมื่อถึงเวลา

เข้าสอบท่านก็แปลไปเรื่อยๆ โดยไม่ติดขัดและไม่มีกรรมการรูปใดที่ทักท้วง

กล่าวกันว่าเพราะท่านแปลเก่งอย่างหนึ่ง และเป็นเพราะท่านเป็นพระหลวง

คืออุปสมบทในพระบรมมหาราชวัง โดยพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระ-

ราชานุเคราะห์จึงไม่มีใครกล้าตำหนิท่าน

ครั้นแปลจบแล้วท่านก็ชิงลากลับไปเสียทุกครั้ง ดังนั้นจึงไม่ปรากฏ

ชื่อของท่านว่าเป็นเปรียญ แต่เพราะความที่ท่านเป็นผู้รอบรู้พระไตรปิฎก

ชนิดหาตัวจับยาก ผู้คนจึงเรียกท่านว่า “พระมหาโต” หรือ “ขรัวโต”

Page 22: สวดมนต์ตัดกรรม และคำสอนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

21สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

ส่วนอีกกระแสหนึ่งกล่าวว่า เมื่อพระภิกษุโตมีอายุ ๓๐ ปี สมเด็จ

เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรได้รับพระราชทานพระบวรราชอิสริยศักดิ์สูงขึ้น

เมื่อเสร็จพระราชพิธีอุปราชาภิเษกแล้ว พระภิกษุโตได้เข้าเฝ้าถวายพระพร

ชัยมงคล จึงโปรดพระราชทานเรือพระที่นั่งกราบเป็นเรือสีถวายให้

โดยรับสั่งว่า “เอาไว้เทศน์โปรดญาติโยม” อีกทั้งยังทรงแต่งตั้ง

ให้เป็นมหาโตด้วย ตั้งแต่นั้นมาทุกคนในแผ่นดินสยามก็เรียกท่านว่า “พระ

มหาโต”

กล่าวกันว่า พระมหาโตสอบได้เปรียญห้าตั้งแต่ยังเป็นสามเณร

และไม่เคยคิดที่จะสอบเปรียญธรรมเพื่อเพิ่มเติมประโยคบาลีให้สูงขึ้นไปอีก

เนื่องจากท่านมีความคิดว่าจะเหนือกว่าอาจารย์ไม่ได้ แต่กระนั้นพระมหาโต

มักจะได้รับเชิญให้เป็นกรรมการคุมสอบในการสอบนักธรรมสนามหลวง

ทุกครั้งไป

ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ท่านได้เข้าแปลพระปริยัติธรรมอีกครั้งหนึ่ง

โดยเข้าไปแปลต่อหน้าพระที่นั่งเลยทีเดียว หลังจากแปลจบแล้วพระเจ้า-

อยู่หัวทรงพอพระทัยเป็นพิเศษถึงกับตรัสว่า

“ความรู้ของท่านถึงขั้นเปรียญเอก จะโปรดเกล้าฯ พระราชทาน

พัดยศเปรียญธรรม ๙ ประโยค”

แต่เจ้าประคุณสมเด็จฯ ไม่มีความประสงค์จะรับสมณศักดิ์ จึงทูล

ถวายพระพรให้ทรงระงับไว้เสีย เป็นอันว่าท่านจึงไม่ได้รับพระราชทานพัด

เปรียญธรรม

Page 23: สวดมนต์ตัดกรรม และคำสอนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

22 สวดมนต์ตัดกรรม และคำสอนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พ ฺรหฺมรํสี)

ทำความดีจนได้ชื่อว่าเป็น “พระดีศรีสยาม”

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) มีวัตรปฏิบัติงดงาม สมถะ

เรียบง่าย ใครมีเรื่องเดือดร้อนอะไร หากช่วยได้ก็จะช่วยด้วยความเมตตา

สมกับเป็นที่พึ่งของคนทั่วไป

จากนั้นมากิตติศัพท์ของท่าน ก็เป็นที่เลื่องลือจนได้รับฉายาว่า

“พระดีศรีสยาม” ประกอบกับท่านเป็นผู้รู้หลักนักปราชญ์ มีความประพฤติสมกับความเป็นสมณะ

และมักเที่ยวแสดงธรรมเทศนา ตามท้องถิ่นต่างๆ ทั่วประเทศ

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๓ มีพระราช-

ประสงค์จะตั้งท่านให้เป็นพระราชาคณะ แต่ท่านก็เที่ยวจาริกไปจำพรรษา

อยู่ที่ดงพญาไฟ

ต่อมา สมัยรัชกาลที่ ๔ ทรงขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จ-

พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระประสงค์จะตั้งท่านให้เป็นพระราชาคณะ

จึงมีพระบรมราชโองการรับสั่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทั่วราชอาณาจักร

จับตัวพระมหาโตมารับฎีกาให้ได้

ฝ่ายพระมหาโตซึ่งหนีมากบดานไปอยู่ที่ดงพญาไฟนานถึง ๑๕ ปี

รู้ข่าวว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรับสั่งให้ตามหาตัวเช่นนั้นก็ยินยอม

ปฏิบัติตามด้วยดี โดยเดินทางไปที่อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น แล้ว

ขอให้ตำรวจนำตัวท่านกลับเข้าเมืองบางกอก

Page 24: สวดมนต์ตัดกรรม และคำสอนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

23สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

เป็นพระราชาคณะชั้นผู้ใหญ่ที่ “พระธรรมกิตติ”

เมื่อถึงเวลาพระมหาโตได้เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระดำรัส

กับพระมหาโตว่า

“เป็นสมัยฉันปกครองแผ่นดินแล้ว ท่านต้องช่วยฉันพยุงพระบวร-

พุทธศาสนาด้วยกัน”

จากนั้นมีพระบรมราชโองการให้กรมสังฆการี (เจ้าหน้าที่ฝ่ายพิธี)

วางฎีกาตั้งพระราชาคณะตามจารีตประเพณีโบราณ เสร็จแล้วพระมหาโต

เข้าไปรับฎีกา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงถวายสัญญาบัตรและ

ตาลปัตรแฉกหักทองด้ามงา อันเป็นพัดประจำตำแหน่งพระราชาคณะชั้น

ผู้ใหญ่ที่ พระธรรมกิตติ มีฐานานุกรม ๓ องค์ มีนิตยภัตเดือนละ ๔ ตำลึง

๑ บาท และค่าข้าวสาร พร้อมกับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม

เมื่อปีชวด พุทธศักราช ๒๓๙๕ ขณะที่มีอายุได้ ๖๕ ป ี

Page 25: สวดมนต์ตัดกรรม และคำสอนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

24 สวดมนต์ตัดกรรม และคำสอนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พ ฺรหฺมรํสี)

เป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม และเป็น "สมเด็จพระพุฒาจารย์"

ครั้นออกจากพระราชวังแล้ว ท่านถือพัดเดินไปถึงบางขุนพรหม

บางลำพูเพื่ออำลาญาติโยมที่รู้จักกัน แล้วกลับไปวัดมหาธาตุร่ำลาพระ

ภิกษุสงฆ์แล้วลงเรือข้ามไปวัดระฆัง

ท่านเดินแบกตาลปัตรพัดแฉก สะพายถุงย่ามสัญญาบัตร เครื่อง

อัฐบริขาร กาน้ำ และกล้วย เป็นต้น เต็มไม้เต็มมือ ดูพะรุงพะรังไปหมด

ยิ่งท่านทำท่าทางเก้ๆ กังๆ ยิ่งทำให้ผู้พบเห็นทั้งพระ เณร เด็กวัด และ

ญาติโยมรู้สึกตลกขบขัน แม้ใครจะไปช่วยถือก็ไม่ยอม

จากนั้นจึงลงเรือกราบที่ได้รับพระราชทานจากรัชกาลที ่ ๒ ไป

พร้อมกับเด็กชายช้างผู้เป็นหลาน เมื่อไปถึงวัดระฆังแล้วจึงไปบอกกับพระ

เณรว่า

“เจ้าชีวิตทรงตั้งฉันเป็นที่ “พระธรรมกิตติ” มาเฝ้าวัดระฆังฯ วันนี้จ๊ะ

เปิดประตูโบสถ์รับฉันเถอะจ๊ะ ฉันจะต้องเข้าจำวัดเฝ้าโบสถ์

จะเฝ้าวัดตามพระราชโองการรับสั่งจ๊ะ”

ในปี พ.ศ. ๒๓๙๗ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อน พระธรรม-

กิตต ิ เป็นพระราชาคณะชั้นผู้ใหญ่ในสมณศักดิ์ที ่ พระเทพกวี ต่อมา

ในปีพุทธศักราช ๒๔๐๗ เมื่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ (สน) วัดสระเกศ

มรณภาพในวันพฤหัสบดี เดือนยี่ ขึ้น ๙ ค่ำ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า

เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯ สถาปนาพระเทพกระวีขึ้นเป็นสมเด็จ

พระราชาคณะชั้นสุพรรณบัฏที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์

Page 26: สวดมนต์ตัดกรรม และคำสอนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

25สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

การสร้างพระเครื่อง ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

นอกจากสร้างพระพุทธรูปและวัดต่างๆ

แล้ว สมเด็จพระพุฒาจารย ์ (โต พฺรหฺมรํสี) ยัง

ได้สร้างพระเครื่องไว้มากมาย และเป็นที่ขึ้นชื่อ

มาจนถึงทุกวันนี้ คือ “พระสมเด็จวัดระฆัง” ซึ่ง

เป็นหนึ่งในตำนานพระเบญจภาค*ี

การสร้างพระเครื่องของท่านนั้น กล่าว

กันว่าเหตุที่ท่านสร้างพระเครื่อง เพราะปรารภ

ถึงบรรดาพระเถราจารย์ต่างๆ ในอดีตที่มักสร้าง

พระเครื่องบรรจุไว้ใต้ฐานพระเจดีย์และปูชนียวัตถุ นัยว่าเพื่อเป็นการ

สืบต่ออายุพระพุทธศาสนา

ดังนั้น ท่านจึงเริ่มดำเนินสร้างพระเครื่องตามแบบฉบับของท่าน

โดยให้ช่างหล่อพระแถวบ้านช่างหล่อ ซึ่งเป็นผู้มีความชำนาญในการทำ

แบบแม่พิมพ์พระมาออกแบบทำแม่พิมพ์ให้ ภายหลังทราบว่าลูกศิษย์ของ

ท่านสามารถทำแม่แบบพระได้ตรงตามแบบของท่านเช่นกันจึงให้ลูกศิษย์

ทำถวายตั้งแต่นั้นมา

เบื้องต้นใช้หินมีดโกนแกะแม่พิมพ์ โดยใช้หินอ่อนและไม้แก่น ส่วน

วัตถุที่ใช้นั้นก็มีหลายอย่าง เช่น ผงดินสอ, ดินสอเหลือง, ปูนขาว, เกสร

ดอกไม้, เปลือกกล้วยหอม, เปลือกกล้วยน้ำหว้า, ชานหมาก, ใบลานเผา,

อาหารสำรวม และน้ำมันตั้งอิ้ว

* หมายถึง พระ ๕ องค์ คือ พระสมเด็จวัดระฆัง พระรอด (ลำพูน) พระผงสุพรรณ

และพระซุ้มกอ (กำแพงเพชร) เชื่อกันว่าเป็นสุดยอดแห่งพระเครื่องที่มีอานุภาพมาก

Page 27: สวดมนต์ตัดกรรม และคำสอนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

26 สวดมนต์ตัดกรรม และคำสอนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พ ฺรหฺมรํสี)

กรรมวิธีในการสร้างและปลุกเสกพระเครื่อง ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

นอกจากนี้ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ยังมกีรรมวิธี

ในการสร้างและปลุกเสกพระเครื่อง กล่าวคือ ก่อนที่จะสร้างพระเครื่อง

ท่านจะฉันกล้วยแล้วเก็บเปลือกใส่ภาชนะไว้ จากนั้นให้ลูกศิษย์ใช้เลื่อย

เลื่อยดินสอเหลืองออกเป็นชิ้นเล็กๆ ผสมกับเปลือกกล้วย เจือด้วยน้ำผึ้ง

บ้าง น้ำอ้อยเคี่ยวบ้าง ตำให้ละเอียดแล้วใช้ทำเป็นแม่พิมพ์อย่างเล็กเป็นรูป

หลังเบี้ยมีฐาน ๓ ชั้น จากนั้นให้ลูกศิษย์นำไปเก็บไว้ที่กุฏิ

เจ้าประคุณสมเด็จฯ จะทำพิธีปลุกเสกพระเครื่องวันละ ๓ ครั้ง คือ

ตอนเช้า กลางวัน เย็น เป็นประจำมิได้ขาด และได้จัดสร้างพระเครื่องด้วย

กรรมวิธีแบบเดียวกันนี้อีกหลายครั้ง แล้วนำไปแจกจ่ายแก่ประชาชนทั่วไป

โดยเฉพาะเวลาบิณฑบาต ท่านจะนำพระเครื่องติดตัวไปด้วยเพื่อแจกจ่าย

แก่ญาติโยม

สมัยต่อมาเมื่อท่านสร้างพระเครื่องขึ้นอีก ครั้นปลุกเสกเสร็จแล้ว

นำพระเครื่องทั้งหมดใส่ลงในบาตรหรือกระบุง นำไปตั้งไว้ที่หอสวดมนต์

ตรงหน้าพระพุทธรูป แล้วโยงสายสิญจน์จาก

พระพุทธรูปไปยังพระเครื่องนั้น เมื่อพระสงฆ์

ลงอุโบสถสวดมนต์ก็นิมนต์ให้พระสงฆ์ร่วมกัน

ปลุกเสกด้วย

เมื่อได้เวลาอันสมควรแล้วเจ้าประคุณ

สมเด็จฯ ได้แบ่งออกเป็นส่วนๆ แล้วให้ลูกศิษย์

นำไปบรรจุไว้ในพระเจดีย์ต่างๆ เช่น พระเจดีย์

วัดชีปะขาว (วัดศรีสุดาราม) วัดตระไกร (เมือง

กรุงเก่า) และพระเจดีย์วัดระฆัง เป็นต้น

Page 28: สวดมนต์ตัดกรรม และคำสอนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

27สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

การก่อสร้าง และบูรณปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุต่างๆ

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) เป็นพระเถระที่มีอุปนิสัยมัก

น้อย สันโดษ ไม่สะสมปัจจัย ดังนั้น เมื่อท่านได้ปัจจัยค่าบูชากัณฑ์เทศน์

หรือจากการสวดมนต์ฉันเพลในที่ต่างๆ มักจะบริจาคในการก่อสร้างและ

บูรณปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุต่างๆ โดยสถานที่หรือปูชนียวัตถุปูชนียสถาน

ที่ท่านสร้างไว้แต่ละแห่งนั้น กล่าวกันว่าท่านสร้างไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์ของ

ตัวท่านเอง ขอยกเป็นตัวอย่างดังนี้

๑. พระพุทธไสยาสน์ (พระนอนใหญ่) วัดสะตือ จังหวัดพระ-

นครศรีอยุธยา สร้างไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์ว่าท่านเกิดที่นั่น องค์พระก่อด้วย

อิฐถือปูน ยาว ๖ เส้น ๖ วา ตั้งแต่พื้นถึงพระรัศมี ๘ วา ฐานพระยาว

๑ เส้น ๑๐ วา กว้าง ๔ วา ๒ ศอก องค์พระโปร่ง เบื้องพระปฤษฎางค์

ทำเป็นช่องกว้าง ๒ ศอก สูง ๑ วา สร้างประดิษฐานไว้กลางแจ้งริมคูวัด

ด้านทิศตะวันออก

ตามประวัติกล่าวว่า สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ ราวพุทธศักราช

๒๔๑๓ เจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้

เกณฑ์ให้พวกทาสชาวตำบลไก่

จ้นและใกล้เคียงช่วยกันสร้าง

โดยก่อเตาอิฐเผาหน้าลานพระ

นั่นเอง ใช้เวลาสร้าง ๒ ปี ครั้น

สร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว ถือว่า

ท่านได้ช่วยเหลือชาวบ้านให้พ้น

จากความเป็นทาสไปด้วย

Page 29: สวดมนต์ตัดกรรม และคำสอนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

28 สวดมนต์ตัดกรรม และคำสอนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พ ฺรหฺมรํสี)

๒. พระมหาพุทธพิมพ์ (หลวงพ่อโต)

วัดไชโยวรวิหาร อำเภอไชโย

จังหวัดอ่างทอง เป็นพระพุทธรูป

ปางสมาธิ ก่อด้วยอิฐถือปูน

หน้าตักกว้าง ๘ วา ๗ นิ้ว

สูง ๑๑ วา ๑ ศอก ๗ นิ้ว

สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๔

แต่เดิมนั้นสร้างไว้กลางแจ้ง

ฉาบทาด้วยปูนขาวธรรมดา ไม่ได้ปิดทอง

เมื่อปีขาล พุทธศักราช ๒๔๒๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า-

เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้เสด็จประพาสมณฑลอยุธยา ครั้นเสด็จถึงวัดไชโย

ทรงมีพระราชหัตถเลขาไว้ว่า “...พระใหญ่ที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต)

สร้าง ดูหน้าตารูปร่างไม่งามเลย แลดูที่หน้าวัดปากเหมือนท่านขรัวโต

ไม่ผิด ถือปูนขาวไม่ได้ปิดทอง ทำนองท่านจะไม่คิดปิดทอง จึงได้เจาะท่อน้ำ

ไว้ที่พระหัตถ์ แต่เดี๋ยวนี้มีผู้ไปก่อวิหารขึ้นค้างอยู่ใครจะทำต่อไปไม่ทราบ...”

ครั้นเวลาต่อมา เจ้าพระยารัตนบดินทร์ (บุญรอด กัลยาณมิตร)

ตำแหน่งสมุหนายก มีศรัทธาจะสร้างพระอุโบสถและพระวิหารพระโตขึ้น

ใหม่ เมื่อกระทุ้งรากพระวิหารอยู่นั้น ด้วยแรงสั่นสะเทือนทำให้องค์พระพัง

ทลายลงมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณา-

โปรดเกล้าฯ ให้พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าประดิษฐ์วรการ นายช่างผู้มี

ฝีมือในสมัยนั้นช่วยดูแลการก่อสร้าง โดยใช้วิธีวางโครงเหล็กยึดไว้ภายใน

แล้วก่อขึ้นเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิซ้อนพระหัตถ์ ตามลักษณะที่สมเด็จ-

พระพุฒาจารย์ (โต) สร้างไว้ทุกประการ

เมื่อสร้างเสร็จแล้วได้พระราชทานพระนามว่า พระมหาพุทธพิมพ์

หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า หลวงพ่อโต แล้วทรงยกวัดไชโยขึ้นเป็นพระอาราม

หลวงตั้งแต่นั้นมา

Page 30: สวดมนต์ตัดกรรม และคำสอนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

29สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

๓. พระศรีอริยเมตไตรย (หลวงพ่อโต) วัดอินทรวิหาร (บาง-

ขุนพรหม) ซึ่งเป็นวัดที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) เคยอยู่แถวนี้

และเคยศึกษาวิปัสสนากัมมัฏฐานกับเจ้าอาวาสวัดอินทร์ ท่านจึงดำริสร้าง

พระพุทธรูปยืน เพื่อเป็นอนุสรณ์ว่าท่านยืนได้ในถิ่นบางขุนพรหมนี ้ และ

หลวงพ่อโตได้ชื่อว่าเป็นพระพุทธรูปยืนที่สูงที่สุดในประเทศไทย มีความสูง

ตั้งแต่ฐานพระถึงพระเศียรประมาณ ๑๖ วา เป็นพระพุทธรูปปางอุ้มบาตร

ปั้นด้วยอิฐถือปูน

หลวงพ่อโตสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ โดยการริเริ่มของสมเด็จ

พระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ซึ่งท่านได้ลงมือควบคุมการก่อสร้างด้วย

ตัวเอง โดยใช้ไม้ซุงขนาดใหญ่ฝัง

เป็นคานรับน้ำหนัก ส่วนองค์พระใช้

เสาไม้ตะเคียนทั้งหมด ๗ ต้น เป็น

แกนกลาง ถมฐานด้วยไหและตุ่มจน

อัดแน่นแล้วใช้อิฐติ่งเรียงสูงขึ้นไป

ตามลำดับ แต่สร้างได้เพียงแค่พระ-

นาภี (สะดือ) เท่านั้นก็มรณภาพไป

เสียก่อน เจ้าอาวาสองค์ต่อๆ มาจึง

ดำเนินการก่อสร้างอีกจนแล้วเสร็จ

รวมระยะเวลาในการสร้างองค์พระ

เป็นเวลาถึง ๖๐ ปี

แต่แรกพระยืนองค์นี้ยังไม่มี

ชื่อเรียกกันอย่างเป็นทางการ เจ้า-

อาวาสและชาวบ้านเห็นว่าพระองค์นี้เริ่มสร้างโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์

(โต) จึงขนานนามว่า หลวงพ่อโต ตั้งแต่นั้นมา

Page 31: สวดมนต์ตัดกรรม และคำสอนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

30 สวดมนต์ตัดกรรม และคำสอนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พ ฺรหฺมรํสี)

การบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะวัดอื่นๆ

นอกจากที่กล่าวมาแล้ว สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ยัง

ได้ก่อสร้างและปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุในวัดอื่นๆ อีกมากมาย เช่น สร้าง

ศาลา ๑ หลังที่วัดดาวดึงส ์และในภายหลังสร้างวิหารเพิ่มขึ้นอีก ๑ หลัง

สร้างพระเจดีย์นอนที่วัดลครทำ เพื่อเป็นคติว่าแต่เดิมพระเจดีย์

ที่สร้างนั้นเป็นที่บรรจุพระธรรม แต่ภายหลังกลายเป็นที่บรรจุกระดูกไป

และเป็นปริศนาว่าในอนาคตภายหน้าจะไม่มีใครสร้างพระเจดีย์บรรจุ

พระธรรมอีก

สร้างกฏิ ๒ หลังที่วัดอินทร ์ โดยมีรูปปั้นโยมมารดาและบิดาของ

ท่านไว้ข้างในด้วย และสร้างพระพุทธรูปนั่งกลางแจ้งที่วัดกฏีทอง จังหวัด

พระนครศรีอยุธยา ๑ องค์ ก่ออิฐถือปูน ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๔ วา

๓ ศอก และที่สำคัญท่านได้สร้างพระพิมพ์ไว้อีกหลายรุ่นว่ากันว่ามีมากถึง

๗๓ ชนิดเลยทีเดียว

Page 32: สวดมนต์ตัดกรรม และคำสอนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

31สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

มรณภาพที่วัดอินทรวิหาร

สมเด็จพระพุฒาจารย์

(โต พฺรหฺมรํสี) มรณภาพในปี

พุทธศักราช ๒๔๑๕ (จุลศักราช

๑๒๓๔) สมัยรัชกาลที่ ๕ ก่อน

ที่จะมรณภาพนั้น ท่านได้ไปดู

การก่อสร้างพระโต วัดบางขุน-

พรหม (วัดอินทรวิหาร) แล้วเกิด

อาพาธหนัก ประมาณ ๑๕ วัน

ก็ได้ถึงแก่มรณภาพบนศาลาใหญ่วัดอินทรวิหารนั้นเอง เมื่อวันเสาร์ที่

๒๒ มิถุนายน ซึ่งตรงกับวันแรม ๒ ค่ำ เดือน ๘ รวมสิริอายุได้ ๘๕ ปี

๖๔ พรรษา

ข่าวการมรณภาพของท่านทราบถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานน้ำหลวงสรงศพเพื่อเป็นเกียรติ

และโปรดเกล้าฯ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จัดกระบวนนำสรีระสังขารของท่าน

ขึ้นเรือล่องตามแม่น้ำเจ้าพระยาด้วยเรือและฝีพายหลวงจนถึงวัดระฆัง

นอกจากนี้ ทรงพระราชทานเกียรติยศประกอบศพ คือตั้งศพไว้

บนฐานเบญจา ๒ ชั้น มีอภิรมย์ ๖ คัน กลองชนะ ๒๔ พร้อมจ่าปี่จ่ากลอง

และพระพิธีธรรมหลวงสวดพระอภิธรรมในพระบรมราชานุเคราะห์เป็นเวลา

๓ วัน แล้วเลี้ยงพระเพลอีก ๓ วัน นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่

ในชีวิตของท่าน

แม้ว่าสรีระร่างกายของท่านจะจากไปนานแล้วก็ตาม แต่ด้วยคุณ

ความดีที่ท่านได้สร้างไว้ ทำให้ท่านยังเป็นที่ระลึกในปฏิปทาและคุณงาม

ความดีตราบเท่าปัจจุบันนี ้

Page 33: สวดมนต์ตัดกรรม และคำสอนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

32 สวดมนต์ตัดกรรม และคำสอนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พ ฺรหฺมรํสี)

อารมณ์ขันและปัญญาธรรม ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

เป็นพระมหาเถระผู้ทรงภูมิธรรม

ยากที่จะหาใครเทียบได้

ลีลาการแสดงธรรมหรือการสอนของท่าน

ไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือน

แม้กระทั่งเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินยังให้การยอมรับนับถือ

ทั้งนี้เพราะคำสอนของท่านนอกจากจะแฝงด้วยอารมณ์ขันแล้ว

ยังสอดแทรกด้วยเนื้อหาสาระอันก่อให้เกิดปัญญาธรรม

สามารถน้อมนำไปปฏิบัติในชีวิตได้เป็นอย่างดี

Page 34: สวดมนต์ตัดกรรม และคำสอนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

33สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

๑. จุดใต้เข้าวังกลางวัน

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) ทรง

นับถือสมเด็จโตมาก นิมนต์แสดงธรรมเทศนาและฉันในวังอยู่บ่อยครั้ง ทั้ง

นิมนต์มาปรึกษาข้อราชการหลายคราว แต่ก็เกิดเรื่องจนได้ ดังเรื่องมีเรื่อง

เล่าว่า

ครั้งหนึ่ง สมเด็จโตปริวิตกว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้า-

อยู่หัว จะทรงหมกมุ่นมัวเมาอยู่ในกามคุณ (โปรดละคร) ปรารถนาที่จะ

ตักเตือนให้รู้สึกพระองค์ ครั้นจะทูลเตือนโดยตรงก็เกรงพระทัยและอาญา

แผ่นดิน จึงจุดไต้เดินถือ

เข้าไปในวังเวลากลางวัน

แสกๆ เพื่อเตือนให้ทรงรู้

ว่าในวังกำลังมืดมัว ไม่มี

กลางวันและไม่มีแสงสว่าง

แห่งปัญญา

พระบาทสมเด็จ-

พระจอมเกล้าจอมเจ้าอยู่หัว

ได้ทอดพระเนตรเห็นแล้ว

ตรัสตอบว่า

“ขรัวโต

ข้ารู้แล้วๆ”

สมเด็จโตจึงเอาไต้

ทิ่มกำแพงดับไฟเสีย แล้วเดินกลับวัดไปด้วยความสบายใจ

Page 35: สวดมนต์ตัดกรรม และคำสอนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

3434

อีกครั้งหนึ่ง สมัยรัชกาลที่ ๕ สมเด็จโตก็จุดไต้กลางวันอีก เรื่อง

มีอยู่ว่า เมื่อรัชกาลที่ ๕ เสด็จขึ้นครองราชย์ใหม่ๆ นั้น พระองค์ทรงมี

พระชนมพรรษาเพียง ๑๖ ปีเท่านั้น สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริย-

วงศ์ (ช่วง บุนนาค) ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน

สมเด็จโตได้ข่าวว่าจะมีการกบฏคิดร้ายต่อแผ่นดินเพื่อยึดอำนาจ

จึงจุดไต้เข้าไปยังบ้านของสมเด็จเจ้าพระยาฯ ตอนกลางวัน สมเด็จ-

เจ้าพระยาฯ ถามว่า “มีประสงค์อันใดหรือ จึงถือไต้เข้ามาหากระผมเช่นนี้”

สมเด็จโตตอบว่า “อาตมภาพได้ยินว่าทุกวันนี้แผ่นดินมืดมัวนัก

ด้วยมีคนคิดร้ายจะเอาแผ่นดิน ไม่ทราบเท็จจริงจะเป็นประการใด ถ้าแม้

เป็นความจริงแล้วไซร้ อาตมภาพก็ใคร่จะขอบิณฑบาตเสียสักครั้งหนึ่งเถิด”

สมเด็จเจ้าพระยาฯ ฟังแล้วก็อึ้งไปนิดหนึ่งก่อนจะตอบว่า

“ขอพระคุณเจ้าอย่าได้วิตกเลย ตราบใดที่กระผมยังมีชีวิตอยู่ฉะนี้ จะไม่ให้แผ่นดินนั้นมืดมัวหล่นลงไป

ด้วยจะไม่มีผู้ใดแย่งแผ่นดินไปได้เป็นอันขาด โยมไม่สู้มืดนักดอกเจ้าคุณ อนึ่ง โยมนี้มีใจแน่นแฟ้นในพระพุทธศาสนาแน่นอนมั่นคงเสมอ

อนึ่ง โยมทะนุบำรุงแผ่นดินโดยเที่ยงธรรม และตั้งใจประคับประคองสนองพระเดชพระคุณโดยตรงโดยสุจริต คิดถึงชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์เป็นที่ตั้งตรงอยู่เป็นนิจ

ขอเจ้าคุณอย่าปริวิตกให้ยิ่งกว่าเหตุ”

เมื่อผู้สำเร็จราชการแผ่นดินกล่าวดังนั้น

สมเด็จโตก็เดินทาง

กลับวัดทันที

Page 36: สวดมนต์ตัดกรรม และคำสอนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

35สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

๒. เจ้าชีวิตเสวยน้ำเหล้า สมเด็จเจ้าก็ต้องแจวเรือ

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงมีธรรมประจำพระทัย เมื่อ

เห็นว่าสมเด็จโตซึ่งเป็นพระที่เคารพนับถือมาตักเตือนแล้วก็ทรงเชื่อและ

ปฏิบัติตาม ดังมีเรื่องเล่าว่า

เมื่อถึงเดือน ๑๒ มีประเพณีการลอยกระทงหลวง และพระบาท-

สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) เสด็จลงประทับบนพระที่นั่ง

ชลังคพิมาน (ตำหนักแพ) พร้อมด้วยฝ่ายใน (พนักงานและข้าราชหญิง

ที่อยู่ในพระราชฐานชั้นใน) เป็นจำนวนมาก สมเด็จโตเห็นแล้วจึงแจวเรือ

ข้ามฟากฝ่าริ้วขบวนเข้ามา เจ้ากรมเรือดั้งจึงจับเรือแหกทุ่น สมเด็จพระ-

จอมเกล้าฯ รับสั่งถามว่า “เรือใคร” เจ้ากรมฯ กราบทูลว่า “เรือสมเด็จ-

พระพุฒาจารย์โต”

รับสั่งว่า “เอาเข้ามานี่” ครั้นเจ้ากรมฯ

นำเรือสมเด็จโตเข้าไปถวาย นิมนต์ให้นั่งแล้ว

ทรงมีรับสั่งถามว่า “ไปไหน”

สมเด็จโตทูลว่า “ขอถวายพระพร

ตั้งใจมาเฝ้า”

“ทำไมเป็นถึงสมเด็จเจ้าแล้ว เหตุใด

ต้องแจวเรือเอง เสียเกียรติยศแผ่นดินหมด”

รับสั่งถามแล้ว สมเด็จโตจึงทูลว่า

“ขอถวายพระพร อาตมภาพทราบว่าเจ้าชีวิตเสวยน้ำเหล้า

สมเด็จเจ้าก็ต้องแจวเรือ”

รับสั่งว่า “อ้อ ! จริงๆ การกินเหล้าเป็นโทษ เป็นมูลเหตุให้เสื่อมเสีย

เกียรติยศแผ่นดินใหญ่โตทีเดียว ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปโยมจะถวายพระคุณเจ้า

จักไม่กินเหล้าอีกแล้ว”

สมเด็จโตเลยถวายพรยถา สัพพี ถวายพระพรลา รับสั่งให้ฝีพาย

เรือดั้งไปส่งถึงวัดระฆัง

Page 37: สวดมนต์ตัดกรรม และคำสอนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

36 สวดมนต์ตัดกรรม และคำสอนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พ ฺรหฺมรํสี)

๓. สอนฝรั่งเรื่องใจกลางของโลก

ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔)

ชาวต่างประเทศหลั่งไหลเข้ามาสู่ประเทศไทยเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะ

พวกมิชชันนารีบาทหลวงสอนศาสนาเพื่อเผยแพร่ศาสนาคริสต์ ด้วยวิธี

การทดสอบถามถึงความรู้ หากบ้านเมืองใดมีนักปราชญ์ราชบัณฑิตก็จะ

สามารถตอบปัญหาให้ชาวต่างชาติหายข้องใจได้ ดังมีเรื่องเล่าว่า

วันหนึ่ง คณะบาทหลวงได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า-

เจ้าอยู่หัว ทูลถามเรื่องราวในพระพุทธศาสนาว่า

“ลัทธิหลักธรรมของพระพุทธศาสนา ตลอดจนศีลที่ประชาชนและ

ภิกษุสามเณรถือเป็นวัตรปฏิบัติรู้สึกว่าลุ่มลึกยิ่งนัก สงสัยว่ายังจะมีผู้ใด

ประพฤติปฏิบัติได้โดยสมบูรณ์อยู่หรือพระเจ้าข้า”

“มีซิ” พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงตอบ

บาทหลวงรุกถามต่อ “ผู้ใดเล่าที่เป็นผู้ทรงคุณวิเศษ สามารถ

ประพฤติธรรมและศีลสมบูรณ์เช่นนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจะมีเกียรติรู้จักท่าน

ผู้นั้นหรือไม่พระเจ้าข้า”

เมื่อคณะบาทหลวงรุกรานถึงขั้นนี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า-

เจ้าอยู่หัวทรงมีรับสั่งให้สังฆการีเข้าเฝ้าทันทีว่า

“แกพาคณะบาทหลวงเหล่านี้ไปหาสมเด็จพระพุฒาจารย ์ วัด

ระฆังฯ” แล้วหันมาตรัสกับคณะบาทหลวงว่า

“ท่านจงไปกับผู้นี ้ เขาจะพาท่านไปพบกับผู้ทรงคุณธรรมวิเศษ

ในพระพุทธศาสนา”

เมื่อไปถึงวัดระฆังแล้ว คณะบาทหลวงได้ถามหลักธรรมสำคัญ

ในพระพุทธศาสนาเป็นการลองภูมิสมเด็จโต ปรากฏว่าสมเด็จโตสามารถ

ตอบได้อย่างฉะฉาน

Page 38: สวดมนต์ตัดกรรม และคำสอนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

37สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

คณะบาทหลวงกล่าวสรรเสริญว่า “พระคุณเจ้าเป็นผู้ทรงคุณธรรม

วิเศษในพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง” ทำทีเป็นยอมรับในความเป็นผู้รู้ แต่

ก็กลับเหน็บแนมเอาว่า “แต่ส่วนทางโลก พระคุณเจ้าคงจะไม่รู้อะไรเลย”

สมเด็จโตจึงย้อนกลับไปว่า “อย่าว่าแต่อาตมภาพจะไม่แจ้งโลกเลย

แม้แต่พวกท่านก็อยู่ในลักษณะไม่แจ้งโลกเหมือนกัน”

“คณะกระผมแจ้งซิพระคุณเจ้า คือแจ้งว่าโลกนี้กลมไม่ใช่แบน แล้ว

หาได้มีปลาอานนท์หนุนอยู่เหมือนคนไทยเข้าใจกันไม่”

แต่สมเด็จโตฟังแล้วไม่รู้สึกอะไร กลับหัวเราะออกมาพร้อมกับ

กล่าวว่า “เข้าใจกันไปคนละทางเสียแล้วละท่าน อาตมภาพคิดว่าเป็นการ

แจ้งโลกแบบโลกวิทู (ผู้รู้แจ้งโลก) หาได้คิดไปถึงโลกกลม

โลกแบนอย่างท่านกล่าวไม่ อ้ายเรื่องโลกกลม

อย่างท่านกล่าว อาตมภาพก็แจ้งเหมือนกัน

ซ้ำแจ้งต่อไปอีกว่าใจกลางของโลกนั้นอยู่

ตรงไหนอีกด้วยซ้ำ”

คณะบาทหลวงเห็นท่วงท่าและ

วาจาอันอาจหาญของสมเด็จโต ทำเอา

ใจฝ่อไปเหมือนกัน แต่ก็ยังกล้ำกลืนรุกล้ำ

ถามต่อไปอีกว่า

“พระคุณเจ้าทราบถึงที่ตั้งใจกลางโลกจริงๆ หรือครับ”

“ก็จริงนะซิ อาตมภาพไม่เคยกล่าวมุสาวาทเลย” สมเด็จโตกล่าว

ยืนยัน

“ถ้าเช่นนั้นจะพาคณะกระผมไปดูที่ตั้งใจกลางโลกได้ไหมครับ”

“อ๋อ ได้ซี จะไปเมื่อไรล่ะ”

“เดี๋ยวนี้เลยได้ไหมครับ”

Page 39: สวดมนต์ตัดกรรม และคำสอนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

38 สวดมนต์ตัดกรรม และคำสอนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พ ฺรหฺมรํสี)

“ได้” สมเด็จโตตอบคำเดียวสั้นๆ แล้วบอกให้คณะบาทหลวงเดิน

ตามไป ทั้งหมดจึงเดินลงจากกุฏิไป โดยเดินถือไม้เท้านำหน้า พอไปถึง

ตรงหน้าบันได สมเด็จโตก็เอาไม้เท้าปักลงไปในดินแล้วชี้มือบอกกับคณะ

บาทหลวงว่า

“ใจกลางของโลกอยู่ที่ตรงนี้”

คณะบาทหลวงต่างพากันงุนงงสงสัย และไม่เชื่อเรื่องใจกลางโลก

ตามทัศนะของสมเด็จโตจึงพูดค้านขึ้นว่า “เป็นไปไม่ได้ดอกพระคุณเจ้า ที่นี่

มันหน้าบันไดกุฏิพระคุณเจ้าแท้ๆ”

สมเด็จโตจึงพูดยิ้มๆ ว่า

“ก็ท่านกล่าวยืนยันว่าโลกนี้กลม ไม่ใช่แบนอยู่เมื่อครู่นี้เอง

เมื่อโลกนี้กลมจริงอย่างท่านว่า ที่นี่ก็เป็นใจกลางโลก

ถ้าท่านสงสัยก็ขอให้วัดดูเถิดว่า จากจุดศูนย์กลางที่ไม้ปักนี้

อ้อมไปโดยทุกด้าน แล้วที่ตรงนี้จะเป็นใจกลางโลกจริง”

คณะบาทหลวงตกตะลึงกับคำตอบของสมเด็จโตอีกครั้งหนึ่ง แต่

เมื่อใคร่ครวญดูครู่หนึ่งก็เข้าใจ จึงถอดหมวกคำนับสมเด็จโตพร้อมกับ

กล่าวสรรเสริญว่า

“จริงของพระคุณเจ้า ใจกลางโลกอยู่ตรงนี ้ พระคุณเจ้าทรง

คุณธรรมวิเศษจริงๆ”

Page 40: สวดมนต์ตัดกรรม และคำสอนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

39สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

๔. ทำบ้าก็ว่าดี ทำดีก็ว่าบ้า

เป็นธรรมดาของคนเราที่ทำอะไรแล้ว จะเป็นที่ถูกใจของทุกคน

เป็นไปไม่ได้ เข้าทำนองที่ว่าถูกใจเราแต่อาจไม่ถูกใจเขา พอเราทำอย่างนี้

ก็หาว่าอย่างนั้น ครั้นทำอย่างนั้นก็หาว่าอย่างนี้ ไม่มีอะไรที่จะพอเหมาะ

พอสมเลย แม้พระพุทธรูปที่ชาวพุทธเคารพกราบไหว้บูชาก็ยังถูกตำหนิ

ว่าอย่างนั้นอย่างนี้ นับประสาอะไรกับคนเรา ดังมีเรื่องเล่าว่า

แต่ก่อนสมเด็จโตจะไปไหนมาไหน ถ้าเป็นทางบกท่านก็ขึ้นคาน

หามไป ถ้าทางน้ำก็ไปด้วยเรือกันยาที่ได้รับพระราชทานจากรัชกาลที่ ๒

ผู้คนเห็นแล้วก็ชมท่านว่าทำตนสมเกียรติพระหลวง

ภายหลังเมื่ออายุมากขึ้น ท่านก็เลิกละสิ่งเหล่านั้นเสีย เวลาไปไหน

มาไหนก็ไปอย่างหลวงตาธรรมดาๆ นุ่งห่มปอนๆ ประชาชนที่ไม่เข้าใจ

จุดประสงค์ของท่าน ก็หาว่าท่านประพฤติตนไม่สมกับเป็นสมเด็จฯ

ท่านกล่าวเนืองๆ ว่า “ทีขรัวโตบ้าก็ว่าขรัวโตดี ทีขรัวโตดีก็ว่า

ขรัวโตบ้า”

คำสอนของสมเด็จโตตอนนี้ ในทางพระพุทธศาสนาเรียกว่า โลกธรรม

แปลว่า เรื่องของโลก, ธรรมดาของโลก, เป็นสิ่งที่มีอยู่ประจำในโลกไม่มีใครหลีกพ้น

ไปได้ไม่ว่าจะต้องการหรือไม่ก็ตามมี๘อย่างแบ่งเป็น๒ประเภทคือ๑. อิฏฐารมณ์

สิ่งที่คนทั่วไปต้องการ ได้แก่ มีลาภ มียศ สรรเสริญ สุข๒. อนิฏฐารมณ์ สิ่งที่คน

ทั่วไปไม่ต้องการได้แก่เสื่อมลาภเสื่อมยศนินทาทุกข์หลักปฏิบัติเมื่อถูกโลกธรรม

ครอบงำคือทำใจให้หนักแน่น เป็นกลางๆ ไม่ดีใจจนเกินไปเมื่อได้รับอิฏฐารมณ์ และ

ไม่เสียใจเกินไปเมื่อได้รับอนิฏฐารมณ์จะไม่ทุกข์มาก

Page 41: สวดมนต์ตัดกรรม และคำสอนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

40 สวดมนต์ตัดกรรม และคำสอนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พ ฺรหฺมรํสี)

๕. สมเด็จโตติดแร้วแทนนก

พระพุทธเจ้าสอนว่า ชีวิตใครใครเขาก็รัก เพราะฉะนั้น หากใคร

คิดเบียดเบียนทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ย่อมมีแต่ความทุกข์ลำบาก อย่าว่าแต่

คนเลย แม้กระทั่งสัตว์ก็ยังรักชีวิตของมันเอง คนเราผู้ได้ชื่อว่าเป็นสัตว์

ประเสริฐ ไฉนจึงชอบรังแกสัตว์ เช่น ยิงนก ตกปลา เป็นต้น แต่สมเด็จโต

ท่านมีเมตตาธรรมสูงยิ่งแม้ต่อสัตว์ ดังมีเรื่องเล่าว่า

คราวหนึ่ง สมเด็จโตเดินทางไปต่างจังหวัด ระหว่างทางมองเห็น

นกติดแร้วอยู่ เห็นมันดิ้นรนเอาชีวิตรอดแล้วรู้สึกทนไม่ได้ ท่านจึงแก้บ่วง

แร้วปล่อยนกไปด้วยความคิดว่า "เป็นไงเป็นกัน ช่วยชีวิตสัตว์ผู้ตกทุกข์นับ

เป็นมหากุศล เพราะเป็นทานแห่งชีวิต"

นกได้เป็นอิสระแล้ว แต่ท่านก็ไปไหนไม่ได้ กลับเอาเท้าของท่าน

เข้าไปในบ่วงเป็นการติดแร้วแทนนก ขณะนั้นมีคนเดินผ่านมาเห็นจะช่วย

แกะแร้วออกจากขาให้ ท่านก็ไม่ยอม จะขอติดแร้วแทนนกอยู่อย่างนั้น

สักพักหนึ่งเจ้าของแร้วเข้ามาดูว่ามีนกติดหรือไม่ พอเห็นสมเด็จโต

ติดแร้วก็ตกใจคิดว่า "แร้วของเราก็ทำไว้ดักนก ไฉนพระมาติดได้ จะบาป

หรือเปล่านี ่!"

เมื่อสมเด็จโตบอกความจริง

เขาก็ไม่ว่ากระไร

แต่รู้สึกแปลกใจดี

เพราะเพิ่งเคยพบเคยเห็น

แล้วท่านก็แก้บ่วงแร้วจากขา

พร้อมกับบอกให้เจ้าของแร้ว

กรวดน้ำ ท่านให้พรยถาสัพพี

เสร็จแล้วจึงเดินทางต่อไป

Page 42: สวดมนต์ตัดกรรม และคำสอนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

41สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

๖. ทำตัวอย่างที่ดีย่อมดีกว่าคำสอน

การจะสอนอะไรแก่

ใครก็ตาม ผู้ที่จะสอนคนอื่น

ได้นั้น ต้องมีพื้นฐานความรู้

ในด้านนั้นมาเป็นอย่างดี เช่น

การสอนลูกหลานก็ต้องทำ

ให้เขาดูเป็นตัวอย่าง เพื่อให้

เขาทำตาม เพราะถ้าเขาเห็น

แล้วทำตาม จะเป็นสิ่งที่เขา

ตั้งใจทำจริงๆ ไม่ใช่ทำเพราะถูกบังคับซึ่งจะได้ผลน้อยกว่า ดังมีเรื่องเล่าว่า

การทำวัตรสวดมนต์นั้น เป็นกิจที่พระภิกษุสามเณรต้องทำเป็น

ประจำ โดยเฉพาะที่วัดระฆังฯ สมเด็จโตท่านจะเคร่งครัดมาก การทำวัตร

สวดมนต์ในโบสถ์ทั้งเช้าและเย็นท่านปฏิบัติเป็นประจำ จะขาดก็เมื่อยามจำ

เป็นจริงๆ เช่น ได้รับนิมนต์ไปเทศน์ เป็นต้น

บางครั้งพระเณรขี้เกียจกันทั้งวัด ท่านก็ไปสวดมนต์องค์เดียวใน

โบสถ์เสียงแจ้วๆ จนพระเณรละอายใจต้องชวนกันลงไปทำวัตรเช้าเย็น

ทั้งหมด และทำเป็นประจำในเวลาต่อมา

อีกเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับความสะอาด สมเด็จโตท่านเป็นพระที่รัก

ความสะอาดมาก เวลาเดินตรวจความเรียบร้อยบริเวณวัด ท่านกเ็ที่ยวเก็บ

ขยะที่พระเณรและเด็กวัดทิ้งกันไว้

พระเณรและเด็กวัดเห็นแล้วก็รู้สึกละอายใจ และสงสารท่านที่ต้อง

เหนื่อยโดยไม่จำเป็น ต่อมาก็ไม่กล้าทำให้บริเวณวัดสกปรก ซ้ำยังช่วยกัน

กวาดบริเวณวัดเป็นประจำอีกด้วย

การกระทำของท่านแสดงให้เห็นว่า การทำเป็นตัวอย่างให้เขา

เห็น ย่อมเป็นการสอนที่ดีกว่า

Page 43: สวดมนต์ตัดกรรม และคำสอนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

42 สวดมนต์ตัดกรรม และคำสอนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พ ฺรหฺมรํสี)

๗. นี่แหละ! ตัวโทโส (ความโกรธ)

เมื่อความโกรธเกิดขึ้น คนเรามักจะระงับอารมณ์ไม่อยู่ บางครั้ง

ก็สร้างความเสียหายเดือดร้อนแก่ตัวเอง สมเด็จโตท่านเป็นพระที่ขี้เกรงใจ

คนมักไม่ขัดศรัทธา ใครจะมานิมนต์ให้ท่านไปเทศน์ที่ไหน ไม่ว่าจะชนบท

หรือในเมืองท่านก็รับหมด แต่มีข้อแม้ว่าต้องไม่มีกำหนดเวลา ถ้ากำหนด

เวลาว่าจะต้องเทศน์เวลานั้นเวลานี้ท่านจะไม่รับ ดังมีเรื่องเล่าว่า

ครั้งหนึ่ง มีผู้นิมนต์ให้ท่านไปเทศน์ที่วัดแห่งหนึ่งในคลองมอญ

สมเด็จโตไปถึงแต่เช้าทำให้กำหนดการของเจ้าภาพเปลี่ยนไป เพราะกำหนด

ไว้ว่าจะมีเทศน์คู่ต่อหลังฉันเพลแล้ว เมื่อสมเด็จโตไปถึงเช้าก็เลยต้องนิมนต์

ให้เทศน์เป็นพิเศษเสียก่อนกัณฑ์หนึ่ง

ครั้นเวลาประมาณ ๑๐ นาฬิกา พระพิมลธรรม (ถึก) พระนักเทศน์

องค์สำคัญที่เทศน์คู่กับสมเด็จโตเป็นประจำก็มาถึง เมื่อได้เวลาสมเด็จโต

ก็หยุดเทศน์ลงจากธรรมาสน์เพื่อฉันเพล ครั้นฉันเพลเสร็จแล้วท่านก็ขึ้น

ธรรมาสน์เทศน์์คู่กับพระพิมลธรรม (ถึก)

สมเด็จโตถามปัญหากับพระพิมลธรรม (สมเด็จโตเรียกว่าท่านถึก)

ข้อหนึ่ง แต่ท่านถึกตอบไม่ได ้ เมื่อตอบไม่ได้ท่านถึกก็เลยนั่งนิ่งเสียทำเป็น

ไม่รู้ไม่ชี้ สมเด็จโตเกรงว่าท่านถึกจะอายเขาจึงแกล้งพูดขึ้นว่า

“ดูเถิดจ้ะ ท่านถึกเขาอิจฉาฉัน เขาเห็นฉันเทศน ์๒ กัณฑ์ เขาเทศน์

ยังมิทันได้สักกัณฑ์ เขาจึงอิจฉาฉัน ฉันถามเขา เขาจึงไม่พูด ถามไม่ตอบ

นั่งอม... ได้ยินว่าทายกเขาจัดเครื่องกัณฑ์ให้ท่านถึกได้เท่ากับ ๒ เครื่องกัณฑ์

เท่ากันแล้ว”

ท่านถึกจึงถามขึ้นบ้างว่า

“เจ้าคุณฯ โทโสเป็นกิเลสสำคัญ พาเอาเจ้าของต้องเสียทรัพย์

เสียชื่อเสียงเงินทอง เสียน้องเสียพี่ เสียที่เสียทาง เสียอย่างเสียธรรมเนียม

Page 44: สวดมนต์ตัดกรรม และคำสอนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

43สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

เสียเหลี่ยมเสียแต้ม ก็เพราะลุแก่อำนาจโทโสให้โทษให้ทุกข์แก่เจ้าของมากนัก

ก็ลักษณะแรกโทโสจะเกิดขึ้นเกิดตรงที่ไหนก่อนนะขอรับ ขอแก้ให้ขาว”

สมเด็จโตแกล้งทำเป็นนั่งหลับ มิหนำซ้ำยังแสร้งทำเป็นไม่ได้ยิน

คำถาม ท่านถึกก็ถามซ้ำอีก ๒-๓ ครั้ง สมเด็จโตก็ยังนั่งเฉยเหมือนไม่มี

อะไรเกิดขึ้น

เมื่อถามกี่ครั้งๆ ก็ไม่ยอมตอบ ท่านถึกก็ชักฉิวตวาดแหวกออกมา

ด้วยเสียงดังว่า “ถามแล้วไม่ฟัง นั่งหลับใน”

ท่านถึกตวาดถามย้ำอีกครั้ง คราวนี้ทำสมเด็จโตเป็นตกใจตื่นแล้ว

ทำทีด่าออกไปว่า “อ้ายเปรต อ้ายกาก อ้ายห่า อ้ายถึก กวนคนหลับ”

ท่านถึกรู้สึกฉุนเฉียวอยู่ก่อนแล้ว

ครั้นถูกด่าเสียเกียรติในที่ประชุมเช่นนั้น

ก็ชักโกรธชักฉิวเพิ่มขึ้นอีกจนลืมตัว

ไม่ทันสำรวมเพราะไม่รู้อุบายของสมเด็จโต

จึงจับกระโถนปามาตรงสมเด็จโต

ซึ่งนั่งภาวนาอยู่ก่อนแล้ว

กระโถนจึงไพล่ไปโดนเสาศาลาเปรี้ยง !

แตกทันที นี่แหละ ! ตัวโทโส

สมเด็จโตได้ทีจึงชี้แจงแถลงไขถึงลักษณะของโทโสว่า

“สัปบุรุษ ! ดูซิเห็นไหมๆ เจ้าคุณพิมลธรรมองค์นี้ ท่านดีแต่ชอบ

คำเพราะๆ แต่พอได้รับเสียงด่าก็เกิดโทโสโอหัง เพราะอนิฏฐารมณ์ รูปร่าง

ที่ไม่อยากดูมากระทบนัยน์ตา เสียงที่ไม่น่าฟังมากระทบหู กลิ่นที่ไม่น่าดม

มากระทบจมูก รสที่ไม่น่ากินมากระทบลิ้น สัมผัสความกระทบถูกมากระทบ

ถึงกาย ความคิดที่ไม่สมคิดผิดหมายมากระทบใจ ให้เป็นมูลมารับเกิดสัมผัส

ชาเวทนาขึ้น สำรวมไม่ทันจึงดันออกมาข้างนอกให้คนอื่นรู้ว่าเขาโกรธ ดัง

เช่นเจ้าคุณพิมลธรรมเป็นตัวอย่าง

Page 45: สวดมนต์ตัดกรรม และคำสอนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

44 สวดมนต์ตัดกรรม และคำสอนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พ ฺรหฺมรํสี)

ถ้าเขายอท่านว่าพระเดชพระคุณแล้ว ท่านยิ้ม พอเขาด่าก็โกรธ

โทโสเกิดในทวาร ๖ เพราะถูกกระทบกระเทือนสิ่งที่เป็นอนิฏฐารมณ ์ ไม่

พอใจก็เกิดโกรธ แต่โทโสก็ไม่มีอำนาจกดขี่เจ้าของเลย เว้นแต่เจ้าของโง่

เผลอสติ เช่นพระพิมลธรรม (ถึก) นี ้ โทโสจึงกดขี่ได้ ถ้าฉลาดแล้วระวัง

ตั้งสต ิ ไม่พลุ่งพล่าน โทโสเป็นสหชาติเกิดดับด้วยจิต ไม่ได้ติดอยู่กับใจ

ถึงเป็นรากเหง้าเค้ามูลก็จริง แต่เจ้าของไม่นำพาหรือคอยห้ามปรามข่มขู่ไว้

โทโสก็ไม่เกิดขึ้นได้

เปรียบเช่นพืชพันธุ์เครื่องเพาะปลูก เจ้าของอย่าเอาไปดอง อย่าเอาไปแช่ อย่าเอาไปหมักในที่ฉำแฉะแล้ว เครื่องพืชพันธุ์เพาะปลูกทั้งปวง ไม่ถูกชื้นแล้วงอกไม่ได้ โทโสก็เช่นกัน ถ้าไม่รับให้กระทบถูกแล้ว โทโสก็ไม่เกิดขึ้นได้

ดูแต่ท่านถึกเป็นตัวอย่าง ตัวท่านเป็นเพศพระ

ครั้นท่านขาดสังวรก็กลายเป็นโพระ กระโถนเลยพลอยแตกโพละ

เพราะโทโสของท่าน ท่านรับรองยึดถือทำให้มูลแฉะชื้น

จงจำไว้ทุกคนเทอญ”

Page 46: สวดมนต์ตัดกรรม และคำสอนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

๘. ทำบุญสร้างวัดไฉนได้บุญหนึ่งสลึงเฟื้อง

การทำบุญนั้นไม่ว่าจะมากหรือน้อยก็อำนวยผลคือความสุขแก่ผู้ทำ

เช่นกัน แต่หากทำได้บ่อยๆ ก็จะพอกพูนขึ้นเรื่อยๆ เหมือนน้ำที่หยดลงในตุ่ม

ทีละหยดไม่นานก็เต็มตุ่มได้ฉันใดก็ฉันนั้น อีกอย่างหนึ่งการทำบุญก็ไม่ได้

จำเพาะเจาะจงว่าห้ามคนนั้นคนนี้ทำ อยู่ที่ว่าคนไหนพอใจที่จะทำ มีมาก

ทำมาก มีน้อยก็ทำแต่น้อย ที่สำคัญคือต้องไม่ทำให้ตนเองเดือดร้อนเป็นอัน

ใช้ได้ ดังมีเรื่องเล่าว่า

เดิมทียายแฟงมีอาชีพเป็นแม่เล้าเจ้าของซ่องแห่งหนึ่งแถวป้อม-

ปราบฯ อาศัยแรงกายที่ขายกามของหญิงโสเภณีเลี้ยงชีพ ทำให้แกไม่ต้อง

ทำอาชีพอื่นให้เหน็ดเหนื่อย เพราะอาชีพแม่เล้าทำให้แกร่ำรวย มีเงินทอง

มากขึ้นทุกวัน จนใครๆ ต่างพากันนับหน้าถือตา

เมื่ออายุมากขึ้นยายแฟงคิดอยากทำบุญใหญ่สักครั้งหนึ่ง เผื่อจะ

ช่วยลบรอยบาปที่ฉาบทาชีวิตลงได้บ้าง จึงเกิดศรัทธาบริจาคเงินสร้างวัด

ที่ป้อมปราบศัตรูพ่าย ฝั่งพระนคร เรียกว่า วัดใหม่ยายแฟง หรือที่เรียกกัน

ในปัจจุบันว่า วัดคณิกาผล การสร้างวัดได้สำเร็จเสร็จลงด้วยดี ยายแฟง

แกดีใจมากว่า แม้ตัวแกจะมีอาชีพเป็นเพียงแม่เล้า แต่ก็สามารถมีเงินสร้าง

วัดได้อย่างเศรษฐี

45

Page 47: สวดมนต์ตัดกรรม และคำสอนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

46 สวดมนต์ตัดกรรม และคำสอนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พ ฺรหฺมรํสี)

ครั้นพอถึงวันฉลองวัด ยายแฟงได้นิมนต์สมเด็จโตมาเทศน์แสดง

อานิสงส์ของการสร้างวัดว่าจะได้บุญมากน้อยอย่างไร

สมเด็จโตรับนิมนต์เพื่อฉลองศรัทธาของยายแฟง ครั้นถึงเวลา

สมเด็จโตเทศน์ตอนหนึ่งมีใจความว่า

“ยายแฟงสร้างวัดครั้งนี้ ได้ผลอานิสงส์บกพร่องไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย เพราะเงินที่สร้างวัดเป็นเงิน ที่เกิดจากน้ำพักน้ำแรงของคนอื่น ที่ไม่ชอบด้วยธรรมเนียม ถ้าเปรียบอานิสงส์นี้ ด้วยเงินเหรียญบาท ยายแฟงก็ได้ไม่เต็มบาท จะได้สักสลึงเฟื้องเท่านั้น นี่ว่าอย่างเกรงใจกันนะ”

ญาติโยมที่นั่งฟังอยู่ในที่นั้นฟังแล้วก็ชอบใจหัวเราะกันครื้นเครง

แต่ยายแฟงฟังแล้วเกร็งๆ ซ้ำขัดเคือง กาลเวลาผ่านไปเมื่อยายแฟงพิจารณา

ดูแล้วเห็นว่าเป็นความจริงตามที่สมเด็จโตท่านว่าไว้จึงไม่โกรธเคือง และ

ตั้งหน้าตั้งตาอุปถัมภ์บำรุงวัดที่แกสร้างต่อไป

ในสมัยพุทธกาล มีหญิงโสเภณีคนหนึ่งชื่อว่า อัฑฒกาสี เพราะมีค่าตัว

มาก คือครึ่งหนึ่งของภาษีเมืองกาสี(๕๐๐ กหาปณะ) ภายหลังเกิดความเบื่อหน่าย

อยากออกบวชพวกโจรได้ยินเช่นนั้นก็พาพวกไปดักเพื่อหวังฉุดนางทราบเรื่องก่อนจึง

ส่งคนไปทูลถามพระพุทธเจ้าว่าควรจะทำอย่างไรถึงจะบวชได้ พระพุทธเจ้าส่งพระสงฆ์

เป็นทูตมาบวชให้นางเรียกวิธีบวชแบบนี้ว่าทูเตนอุปสัมปทาต่อมานางได้ทำความเพียร

จนบรรลุพระอรหันต์ในที่สุด

Page 48: สวดมนต์ตัดกรรม และคำสอนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

47สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

๙. วิธีปราบพระทะเลาะกัน

การทะเลาะเบาะแว้งถึงขั้นรุมตีชกต่อยกันมีอยู่ทั่วไปในทุกวงการ

โดยเฉพาะเด็กนักเรียนที่ยกพวกตีกันจนเป็นที่เดือดร้อนและเอือมระอา

บางสถาบันถึงขั้นถูกสั่งปิดก็มี แม้กระทั่งวงการพระสงฆ์สมัยก่อนก็ไม่วาย

ที่จะมีเรื่องชกต่อยกัน อยู่ที่ว่าผู้ปกครองจะมีวิธีการอย่างไรไม่ให้เกิดขึ้นอีก

ดังมีเรื่องเล่าว่า

ครั้งหนึ่ง พระที่วัดระฆังคู่หนึ่งเกิดทะเลาะวิวาทด่าทอกันดังขรม

ไปทั่ววัด และยังท้าทายจะชกต่อยกัน องค์ที่ถูกท้าชกร้องว่า “พ่อไม่กลัว”

อีกองค์หนึ่งก็ร้องตอบว่า “พ่อก็ไม่กลัวเหมือนกัน”

ต่างองค์ต่างเก่งท้ากัน

เหยงๆ ไม่มีใครกลัวใคร สมเด็จ

โตซึ่งตอนนั้นเป็นพระเทพกระวี

นั่งอยู่ในกุฏิของท่าน ได้ยินเสียง

พระทั้งสองทะเลาะกัน ได้เห็น

พฤติกรรมอันผิดวิสัยของสมณะ

และด้วยความที่ท่านเป็นเจ้า-

อาวาสจึงไม่อาจทนนิ่งเฉยอยู่ได ้

ต้องตัดไฟแต่ต้นลมก่อนที่มันจะ

ลุกลามไปใหญ่โต

ท่านจึงจัดดอกไม้ธูปเทียนใส่พานอย่างด ี เดินถือเข้าไประหว่าง

พระทั้งสององค์ นั่งคุกเข่าน้อมพานเข้าไปถวายพระคู่นั้น แล้วก็ประนมมือ

กล่าวอ้อนวอนขอฝากเนื้อฝากตัวว่า

“พ่อเจ้าประคุณ ! พ่อจงคุ้มฉันด้วย ฉันฝากตัวกับพ่อด้วย ฉันเห็นจริง

แล้วว่าพ่อเก่งเหลือเกิน เก่งพอได้ เก่งแท้ๆ พ่อเจ้าประคุณ ลูกฝากตัวด้วย”

Page 49: สวดมนต์ตัดกรรม และคำสอนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

48 สวดมนต์ตัดกรรม และคำสอนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พ ฺรหฺมรํสี)

พระทั้งสององค์นั้นเกิดความรู้สึกละอายใจ เลิกทะเลาะกันแล้ว

กลับเข้าไปในกุฏิและพิจารณาเห็นโทษความผิดอันเกิดจากกิเลสของตัวเอง

แล้วจึงออกมาคุกเข่ากราบขอโทษท่าน

สมเด็จโตก็คุกเข่าตอบบ้าง พระทั้งสององค์เห็นสมเด็จโตกราบ

ตนเองดังนั้น ก็เกิดความละอายใจและเกรงกลัวว่า ท่านเป็นถึงเจ้าอาวาส

มีอำนาจหน้าที่ปกครองดูแลเรา จะมากราบเราได้อย่างไร ลำบากใจนัก

จึงกราบสมเด็จโตตอบ

การไหว้เป็นวิธีการแสดงความเคารพอย่างหนึ่งของคนไทยเช่นไหว้พระ

ไหว้ผู้ใหญ่เป็นต้นซึ่งแต่ละอย่างก็มีวิธีการและจุดมุ่งหมายแตกต่างกันไปการไหว้พระ

ก็เพื่อระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัยส่วนการไหว้ผู้ใหญ่ที่นับถือก็เพื่อแสดงความเคารพ

ในวงการพระก็เช่นเดียวกัน พระที่มีพรรษาน้อยหรืออ่อนพรรษาต้องแสดงความเคารพ

ต่อพระที่มีพรรษามากกว่า คือผู้มีวัยวุฒิ คุณวุฒิ และชาติวุฒิ ถ้าเป็นการไหว้เมื่อพระ

อ่อนพรรษากว่าไหว้ พระผู้แก่พรรษาก็ประนมมือรับไหว้ และหากเป็นการกราบเมื่อ

พระอ่อนพรรษากราบ พระผู้แก่พรรษาก็เพียงแต่ประนมรับกราบ แต่บางทีสมเด็จโต

ท่านทำมากกว่านั้นถ้าเห็นว่าเป็นประโยชน์ดังเช่นเรื่องนี้เป็นตัวอย่าง

ปรากฏว่าในวันนั้นต่างก็กราบกันไปกราบกันมาอยู่นานจนเหนื่อย

แล้วจึงเลิกรากันไป จะเห็นว่าวิธีปราบพระทะเลาะกันของสมเด็จโตได้ผลดี

โดยไม่ต้องปากเปียกปากแฉะ เพราะพระทั้งสององค์เกิดความละอายและ

เสียใจที่ประพฤติอย่างนั้น เมื่อกราบท่านเสร็จแล้วก็ปฏิญาณตนว่าจะไม่

ทะเลาะกันอีก

Page 50: สวดมนต์ตัดกรรม และคำสอนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

49สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

๑๐. แม้แต่ผ้าเช็ดมือก็ถวายไม่ได้

ปัจจุบันนี้ชาวพุทธส่วนมากนิยมทำบุญด้วยการถวายสังฆทาน

เพราะสะดวกและไม่เสียเวลามาก และนิยมซื้อชุดสังฆทานสำเร็จรูปที่มี

ขายตามท้องตลาดนำไปถวายพระ ซึ่งบางทีของที่ใส่อยู่ในชุดสังฆทานนั้น

อาจไม่จำเป็นสำหรับท่าน และบางอย่างก็หมดอายุแล้ว ทางที่ดีควรหาชุด

สังฆทานที่มีสิ่งของที่จำเป็นสำหรับพระ เพราะท่านจะได้ใช้และเราจะได้

บุญตามไปด้วย แต่บางทีเราก็นึกไม่ถึงว่าอะไรคือสิ่งที่จำเป็น มีเรื่องเล่าว่า

ในสมัยรัชกาลที่ ๔ สมเด็จโตได้รับนิมนต์ให้ไปฉันในพระราชวัง

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประเคนไตรแพรซึ่งมีราคาแพง

มากในสมัยนั้น แต่แล้วสมเด็จโตก็เอาไตรแพรนั้นเช็ดปากเช็ดมือยุ่งไปหมด

พระจอมเกล้าฯ ทรงทักว่า

“ไตรเขาดีๆ เอาไปเช็ดเปรอะหมด”

สมเด็จโตทูลตอบสวนขึ้นทันทีว่า

“อะไรๆ ก็ถวายได้ ผ้าเช็ดมือ

ถวายไม่ได้ อาตมภาพก็ต้องเอาผ้าไตร

ของอาตมาเช็ดอาตมาเอง เป็นอันได้

บริโภคของทายกแล้ว ไม่เป็นศรัทธา

ไทยวิบัติ”

การกระทำของสมเด็จโตเป็นการสอนให้รู้ว่า

อย่าเห็นแต่สิ่งของสำคัญจนลืมของเล็กๆ น้อยๆ เพราะบางที

ของเล็กน้อยก็สำคัญเหมือนกัน เพราะหนึ่งย่อมมาจากสอง ก่อนที่จะ

ถึงจุดสิ้นสุดก็ต้องมาจากจุดเริ่มต้นก่อน

Page 51: สวดมนต์ตัดกรรม และคำสอนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

50

๑๑. ถ้ามันอยากได้ ก็ให้มันเอาไป

ความอยากได้ใคร่มีเป็นเรื่องปกติธรรมดาของมนุษย์ทั่วไป แต่ควร

แสวงหาด้วยสติปัญญาและความสามารถของตนเองจึงจะเกิดความภูมิใจ

ที่ได้ใช้น้ำพักน้ำแรงหามาได้ แต่มีคนประเภทหนึ่งชอบเอาเปรียบชาวบ้าน

มีนิสัยชอบลักขโมย ใครเผลอเป็นต้องหยิบจับไป แม้แต่ของพระของเจ้า

ก็ไม่เว้น แต่บางคราวก็เจอดีจนได้ ดังมีเรื่องเล่าว่า

ดึกคืนหนึ่ง ขณะที่สมเด็จโตกำลังจำวัดอยู่ มีโจรแอบย่องขึ้นมา

บนกุฏิ มันล้วงมือเข้าไปหวังจะหยิบตะเกียงลาน เจ้าโจรพยายามอยู่นาน

แต่ก็ไม่เป็นผลสำเร็จ โบราณว่า ความพยายามอยู่ที่ไหน ความพยายาม

ก็ยังอยู่ที่นั่น แม้จะพยายามอย่างไรก็ไม่มีทางสำเร็จ เพราะเอื้อมมือไม่ถึง

นั่นเอง

สมเด็จโตรู้สึกตัวตื่นขึ้นมาได้ยินเสียงดังกุกกักๆ รู้สึกว่าเสียงนั้น

คงไม่ใช่แมว มันต้องเป็นโจรแน่ๆ พลันเหลือบไปมองเห็นโจรกำลังเอื้อมมือ

เข้ามาลักตะเกียงลาน

ท่านจึงเกิดความเห็นใจในความพยายามของเจ้าโจร จึงช่วยเขี่ย

ตะเกียงลานไปให้ใกล้มือโจร พอตะเกียงลานถึงมือ เจ้าโจรก็รีบคว้าเอา

แล้วเผ่นแนบไปทันที

มันคงจะไม่รู้ว่าเจ้าของ

เป็นพระระดับสมเด็จฯ

เมื่อเล่าเรื่องนี้ให้ฟัง

สมเด็จโตก็บอกว่า

“มันอยากได้ ก็ให้มันไป”