อาเซียน สุดารัตน์

34
A a s e a n ( ) จัดทำาโดย นางสาวสุดารัตน์ อินทร์เดช เลขที่ 38 ปวช.2/1 คอมพิวเตอร์ธุรกิจ เสนอ อาจารย์นุจสรา โพธิ์เงิน วิทยาลัยอาชีวศึกษานครปฐม ปีการศึกษา 1/2557

Upload: -

Post on 03-Apr-2016

221 views

Category:

Documents


1 download

DESCRIPTION

 

TRANSCRIPT

Page 1: อาเซียน สุดารัตน์

A

asean (อาเซยีน)

จัดทำาโดย

นางสาวสุดารัตน์ อินทร์เดช

เลขที่ 38 ปวช.2/1 คอมพิวเตอร์ธุรกิจ

เสนอ

อาจารย์นุจสรา โพธิ์เงิน

วิทยาลัยอาชีวศึกษานครปฐม

ปีการศึกษา 1/2557

Page 2: อาเซียน สุดารัตน์

B

คำานำา

อีบุ๊คเรื่อง อาเซียน เป็นส่วนหนึ่งของวิชา การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ จากการที่ได้ศึกษาเล่าเรียนวิชานี้

จึงจัดทำางานชิ้นนี้ขึ้น เพื่อเป็นการทดสอบความรู้ความเข้าใจในการเรียน ปละหวังว่าชิ้นงานนี้จะเป็น

ประโยชน์ต่อผู้ที่ศึกษาต่อไป

ขอขอบพระคุณ อาจารย์นุจสรา โพธิ์เงิน ที่เป็นที่ปรึกษาและให้คำาแนะนำาที่่ดี หากข้าพเจ้าทำาผิด

พลาดประการใด ต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย

จัดทำาโดย

นางสาวสุดารัตน์ อินทร์เดช

Page 3: อาเซียน สุดารัตน์

C

สารบัญ

เรื่อง หน้า

ความเป็นมาของอาเซียน

สัญลักษณ์อาเซียน

คำาขวัญอาเซียน

10 จุดแข็งของอาเซียน

อนาคตด้านการศึกษาและอาชีพในอาเซียนกับ

ประเทศไทย

7 อาชีพที่สามมารถทำางานได้อย่างเสรี

สถานที่ท่องเที่ยวในอาเซียน

ประเทศสมาชิกในอาเซียน

ภาษาอาเซียน

ตราแผ่นดินสมาชิกในอาเซียน

สัตว์ในสมาชิกอาเซียน

ดอกไม้ในสมาชิกอาเซียน

บรรณานุกรม

14446

79

102324292931

Page 4: อาเซียน สุดารัตน์

1

ความเป็นมาของอาเซียน

asean (อาเซียน)

อาเซียนหรือสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Assciation of Southeast Asian Nations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ(The

Bangkok Declaration ) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510โดยมีสมาชิกผู้ก่อตั้ง 5 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก-เฉียงใต้ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย

ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ได้ลงนามใน

“ปฏิญญากรุงเทพฯ” (Bangkok Declaration) เพื่อจัดตั้งสมาคมความร่วมมือกันในการเพิ่มอัตราการเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคม

การพัฒนาวัฒนธรรมในกลุ่มประเทศสมาชิก และการธำารงรักษาสันติภาพและความมั่นคง ในพื้นที่และเป็นการเปิดโอกาสให้คลายข้อพิพาทระหว่าง

ประเทศสมาชิกอย่างสันติของระดับภูมิภาคของประเทศต่างๆ ในเอเชีย ในเวลาต่อมาได้มี บูรไนดารุสซาราม (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 8 มกราคม 2527)

สาธารณรัฐสังคมคมนิยมเวียดนาม (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 28 กรกฎาคม 2538) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 23 กรกฎาคม

2540) สหภาพพม่า (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 23 กรกฎาคม 2540) ราชอาณาจักรกัมพูชา (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 30 เมษายน 2542) ตามลำาดับทำาให้อาเซียนมี

สมาชิกครบ 10ประเทศ

วัตถุประสงค์หลัก

ปฏิญญากรุงเทพฯ ได้ระบุวัตถุประสงค์สำาคัญ 7 ประการของการจัดตั้งอาเซียน ได้แก่ 1. ส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี

วิทยาศาสตร์ และการบริหาร

2. ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาค

3. เสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจพัฒนาการทางวัฒนธรรมในภูมิภาค

4. ส่งเสริมให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดี

5. ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในรูปของการฝึกอบรมและการวิจัย และส่งเสริมการศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

6. เพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรและอุตสาหกรรม การขยายการค้า ตลอดจนการปรับปรุงการขนส่งและการคมนาคม

7. เสริมสร้างความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอก องค์การ ความร่วมมือแห่งภูมิภาคอื่นๆ

Page 5: อาเซียน สุดารัตน์

2

และองค์การระหว่างประเทศ

ตลอดระยะเวลา กว่า 40ปีที่มีการก่อตั้งอาเซียน ถือว่าได้ประสบความสำาเร็จจนเป็นที่ยอมรับจากหลายฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมืองเเละ

ความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจและการพัฒนาด้านสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งประเทศไทยได้รับ ประโยชน์อย่างมากจากความร่วมมือต่างๆของอาเซียน ไม่ว่าจะ

เป็นประโยชน์จากการที่ภูมิภาค เป็นเสถียรภาพและสันติภาพ อันเป็นผลจากกรอบความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ

ความร่วมมือด้านสังคมและ วัฒนธรรม ซึ่งถ้าหากไม่มีความร่วมมือเหล่านี้แล้ว คงเป็นการยากที่จะพัฒนาประเทศได้โดยลำาพัง

การประชุมสุดยอดผู้นำาอาเซียนครั้งที่ วันที่ ประเทศเจ้าภาพ สถานที่จัดตั้งการประชุม

ครั้งที่ 1 23-24 กุมภาพันธ์ 2519 ประเทศอินโดนีเซีย บาหลี

ครั้งที่ 2 4-5 สิงหาคม 2520 ประเทศมาเลเซีย กัวลาลัมเปอร์

ครั้งที่ 3 14-15 ธันวาคม 2530 ประเทศฟิลิปปินส์ มะนิลา

ครั้งที่ 4 27-29 มกราคม 2535 ประเทศสิงคโปร์ สิงคโปร์

ครั้งที่ 5 14-15 ธันวาคม 2538 ประเทศไทย กรุงเทพมหานคร

ครั้งที่ 6 15-16 ธันวาคม 2541 ประเทศเวียดนาม ฮานอย

ครั้งที่ 7 5-6 พฤศจิกายน 2544 ประเทศบูรไนดารุสซาราม บันดาร์เสรีเบกาวัน

ครั้งที่ 8 4-5 พฤศจิกายน 2545 ประเทศกัมพูชา พนมเปญ

ครั้งที่ 9 7-8 ตุลาคม 2546 ประเทศอินโดนีเซีย บาหลี

ครั้งที่ 10 29-30 พฤศจิกายน 2547 ประเทศลาว เวียงจันทน์

ครั้งที่ 11 12?14 ธันวาคม 2548 ประเทศมาเลเซีย กัวลาลัมเปอร์

ครั้งที่ 12 11?14 มกราคม 25501 ประเทศฟิลิปปินส์ เซบู

ครั้งที่ 13 18?22 พฤศจิกายน 2550 ประเทศสิงคโปร์ สิงคโปร์

ครั้งที่ 14 27 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2552

10-11 เมษายน 2552 ประเทศไทย ชะอำา, หัวหิน

พัทยา

ครั้งที่ 15 23-25 ตุลาคม 2552 ประเทศไทย ชะอำา, หัวหิน

ครั้งที่ 8-9 เมษายน 2553 ประเทศเวียดนาม ฮานอย

หลักการพื้นฐานของความร่วมมืออาเซียน ประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ได้ยอมรับในการปฏิบัติตามหลักการพื้นฐาน ในการดำาเนินงานในเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างกัน อันปรากฏ

อยู่ในกฎบัตรอาเซียนซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของอาเซียน ที่เพิ่งมีผลบังคับใช้เมื่อกลางเดือนธันวาคม 2551 และสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือใน

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia หรือ TAC) ซึ่งประกอบด้วย

- การเคารพซึ่งกันและกันในเอกราช อธิปไตย ความเท่าเทียม บูรณาการแห่งดินแดนและเอกลักษณ์ประจำาชาติของทุกชาติ

- สิทธิของทุกรัฐในการดำารงอยู่โดยปราศจากจากการแทรกแซง การโค่นล้มอธิปไตยหรือการบีบบังคับจากภายนอก

- หลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน

Page 6: อาเซียน สุดารัตน์

3

- ระงับความแตกต่างหรือข้อพิพาทโดยสันติวิธี

- การไม่ใช้การขู่บังคับ หรือการใช้กำาลัง

- ความร่วมมืออย่างมีประสิทธิภาพระหว่างประเทศสมาชิก

นอกจากหลักการข้างต้นแล้ว ตั้งแต่อดีตจนถึงช่วงก่อนที่กฎบัตรอาเซียนมีผลบังคับใช้ อาเซียนยึดถือหลักการฉันทามติเป็นพื้นฐานของ

กระบวนการตัดสินใจและกำาหนดนโยบาย มาโดยตลอด หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การที่อาเซียนจะตกลงกันดำาเนินการใดๆ ประเทศสมาชิกอาเซียน

ทั้งหมดทั้งสิบประเทศ จะต้องเห็นชอบกับข้อตกลงนั้นๆ ก่อน

การที่อาเซียนยึดมั่นในหลัก ‘ฉันทามติ” และ “การไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน’ หรือที่ผู้สังเกตการณ์อาเซียนเรียกว่า ‘วิถี

ทางของอาเซียน’ (ASEAN’s Way)ในทางหนึ่งนั้น ก็ถือเป็นผลดีเพราะเป็นปัจจัย ที่ทำาให้ประเทศสมาชิกอาเซียนซึ่งมีความแตกต่างกันเป็นอย่างมาก ใน

เรื่องระบบการเมือง วัฒนธรรมและฐานะทางเศรษฐกิจ มีความ ‘สะดวกใจ’ ในการเข้าร่วมเป็นสมาชิก และดำาเนินความร่วมมือในกรอบอาเซียน แต่ในอีก

ทางหนึ่ง“ฉันทามติและ “การไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน”ก็ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ในหลายโอกาสว่า เป็นสาเหตุสำาคัญที่ทำาให้กระบวน

การรวมตัวกันของอาเซียนเป็นไปอย่างล่าช้า รวมถึงทำาให้อาเซียนขาดความน่าเชื่อถือ เนื่องจากถูกมองว่ากลไกที่มีอยู่ ของอาเซียน ล้มเหลว ในการจัดการ

กับปัญหา ของอาเซียนเองที่เกิดขึ้นในประเทศสมาชิกใดประเทศสมาชิกหนึ่งได้ อย่างไรก็ดี การยึดถือฉันทามติในกระบวนการตัดสินใจ ของอาเซียน

ได้เริ่มมี ความยืดหยุ่นมากขึ้นหลังจากที่กฎบัตรอาเซียน มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2551 เนื่องจาก กฎบัตรอาเซียนได้เปิดช่องให้ผู้นำาประเทศ

สมาชิกอาเซียน พิจารณาหาข้อยุติในเรื่องที่ประเทศสมาชิกไม่มีฉันทามติได้

โครงสร้างของอาเซียน

โครงสร้างของอาเซียนจะประกอบด้วยส่วนสำาคัญ ดังนี้สำานักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat)

สำานักเลขาธิการอาเซียนได้จัดตั้งขึ้นตามข้อตกลงที่ลงนามโดยรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน

ในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 1 ในปี 2519 เพื่อทำาหน้าที่ประสานงานและดำาเนินงาน

ตามโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ของสมาคมอาเซียน และเป็นศูนย์กลางในการติดต่อระหว่างสมาคมอาเซียน คณะกรรมการ ตลอดจนสถาบันต่าง ๆ และ

รัฐบาลของประเทศสมาชิก

สำานักเลขาธิการอาเซียนตั้งอยู่ที่กรุงจาการ์ตาประเทศอินโดนีเซียโดยมีหัวหน้าสำานักงานเรียกว่า “เลขาธิการอาเซียน” ซึ่งเมื่อเดือนกรกฎาคม 2545

ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 35 ได้แต่งตั้งนาย Ong Keng Yong” ชาวสิงคโปร์ เป็นเลขาธิการอาเซียนคนใหม่แทนนาย Rodolfo C. Sev-

erino Jr. เลขาธิการอาเซียนคนปัจจุบัน โดยจะมีวาระในการดำารงตำาแหน่ง 5 ปี (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2546) และมีรองเลขาธิการอาเซียนจำานวน 2 คน (ปัจจุบัน

ดำารงตำาแหน่งโดยชาว มาเลเซียและเวียดนาม)

สำานักงานอาเซียนแห่งชาติ หรือกรมอาเซียน (ASEAN National Secretariat)

เป็นหน่วยงานในกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิก ซึ่งแต่ละประเทศได้จัดตั้งขึ้นเพื่อทำาหน้าที่รับผิดชอบ ประสานงานเกี่ยวกับอาเซียน

ในประเทศนั้น ๆ และติดตามผลของการดำาเนินกิจกรรม/ความร่วมมือต่าง ๆ สำาหรับประเทศไทยนั้น ได้มีการจัดตั้งกรมอาเซียนให้มีหน้าที่รับผิดชอบใน

การปฏิบัติงานด้านอาเซียนดังกล่าว

กฏบัตรอาเซียน

เป็นร่างสนธิสัญญาที่ทำาร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อเป็นเครื่องมือ ในการวางกรอบทาง

Page 7: อาเซียน สุดารัตน์

4

กฎหมายและโครงสร้างองค์กรของสมาคม ทั้งนี้เพกฎบัตรอาเซียน เป็นร่างสนธิสัญญา ที่ทำาร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกในสมาคมประชาชาติแห่ง

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อเป็นเครื่องมือในการวาง กรอบทาง กฎหมายและโครงสร้างองค์กรของสมาคม ทั้งนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียน ในการ

ดำาเนินการตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน ภายในปี พ.ศ. 2558 ตามที่ผู้นำาอาเซียน ได้

ตกลงกันไว้ตามกำาหนดการ จะมีการจัดทำาร่างกฎบัตรอาเซียนให้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550 เพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพของอาเซียนในการ

ดำาเนินการตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนการรวมตัว เป็นประชาคมอาเซียน ภายในปี พ.ศ. 2558 ตามที่ผู้นำาอาเซียนได้

ตกลงกันไว้ตามกำาหนดการ จะมีการจัดทำาร่าง กฎบัตรอาเซียนให้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550

สัญลักษณ์อาเซียน

สัญลักษณ์อาเซียน แสดงถึงความสามัคคีและการสนับสนุนของประเทศสมาชิกใน

การรวมตัวเป็นปึกแผ่นของอาเซียน ประกอบด้วยรูปรวงข้าวสีเหลืองบนพื้นสีแดงล้อม

รอบด้วยวงกลมสีขาวและสีน้ำาเงิน โดยรวงข้าว 10 ต้นที่มัดรวมกัน หมายถึง ประเทศ

สมาชิก 10 ประเทศรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำาหนึ่งเดียววงกลมแสดงถึง

เอกภาพ มีตัวอักษรคำาว่า “asean” สีน้ำาเงินอยู่ใต้ภาพรวงข้าวอันแสดงถึงความมุ่งมั่นที่จะ

ทำางานร่วมกันเพื่อความมั่นคง สันติภาพ เอกภาพและความก้าวหน้าของประเทศสมาชิก

อาเซียน

สีเหลือง น้ำาเงิน แดง และขาว แสดงถึงสีหลักของธงชาติของบรรดาประเทศสมาชิก

อาเซียน โดยมีความหมายดังนี้

สีน้ำาเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง

สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า

สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์

สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง

คำาขวัญของ ประเทศอาเซียน

คำาขวัญของ ประเทศอาเซียน คือ หนึ่งวิสัยทัศน์, หนึ่งเอกลักษณ์, หนึ่งประชาคม (One Vision, One Identity, One Community)

นอกจากคำาขวัญแล้ว ประเทศอาเซียน ยังมีเพลงประจำาอาเซียน อีกด้วย ชื่อว่า “The ASEAN Way”

เป็นผลงานจากประเทศไทยที่ชนะเลิศจากการแข่งขันระดับภูมิภาคอาเซียน บทประพันธ์โดยนายกิตติคุณ สดประเสริฐ (ทำานองและเรียบเรียง)

ได้เริ่มใช้บรรเลงอย่างเป็นทางการครั้งแรกในพิธีเปิดการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2552 ที่อำาเภอหัวหิน จังหวัด

ประจวบคีรีขันธ์

ซึ่งเป็นความภาคภูมิใจของคนไทยทั้งประเทศ ที่นำา

ชื่อเสียงมาให้ประเทศไทยเรา โดยมีเนื้อร้องทั้งภาษา

อังกฤษและภาษาไทย

• เนื้อร้อง ภาษาอังกฤษ มีดังนี้

• Raise our flag high, sky high Embrace

the pride in our heart ASEAN we are bonded as one

Look-in out-ward to the world. For peace, our goal

from the very start And prosperity to last. WE dare to

dream we care to share. Together for ASEAN We dare

to dream,We care to share for it’s the way of ASEAN.

• เนื้อร้อง ภาษาไทย มีดังนี้

• พลิ้วลู่ลม โบกสะบัด ใต้หมู่ธงปลิวไสว

สัญญาณแห่ง สัญญาทางใจ วันที่เรามาพบกัน อาเซียน

เป็นหนึ่ง ดังที่เราปรารถนา เราพร้อมเดินหน้าไปตรงนั้น

หล่อหลวมจิตใจ ให้เป็นหนึ่งเดียว อาเซียนยึดเหนี่ยวสัมพันธ์ ให้สังคมนี้ มีแต่แบ่งปัน เศรษฐกิจ มั่นคง ก้าวไกล

10 จุดแข็งของ10 ประเทศอาเซียนความแตกต่างที่ลงตัว

หากคุณได้อ่านบทความนี้ แสดงว่าคุณคือหนึ่งในประชากรของประเทศอาเซียนแล้วล่ะครับที่น่าตื่นเต้นอย่างยิ่งสำาหรับการเปิดเสรีอาเซียนที่กำาลังเดินทาง

มาถึงในเวลาอันใกล้นี้ และจะเกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างยิ่งยวดในภูมิภาคนี้อย่างแน่นอน ทั้งทางที่ดีและปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นตามมาเมื่อมีการรวมกลุ่ม

กันหลายๆประเทศเพื่อทำาในสิ่งเดียวกันหรือมีแนวทางเดียวกันในความแตกต่างที่หลากหลายในกลุ่มประเทศอาเซียนทั้ง 10 ประเทศนี้ หากจะมองในอีก

ด้านหนึ่งนั้นความแตกต่างนั่นแหละที่สร้างเอกลักษณ์ให้กลุ่มนี้ และสามารนำาไปแข่งขันกับกลุ่มประเทศอื่นได้ นอกจากเรื่องของการค้าการขายแล้ว

Page 8: อาเซียน สุดารัตน์

5

เรื่องอื่นๆของกลุ่มประเทศอาเซียนที่แตกต่างกันสามารถนำาไปแข่งขันได้เช่นกัน ซึ่งกลุ่มประเทศอาเซียนนั้นจุดแข็งต่างๆที่ทำาให้เราได้เปรียบกลุ่ม

ประเทศอื่นๆ

1. คมนาคมสะดวก ไม่ว่าคุณจะเป็นคนประเทศ

ไหน จากส่วนไหนของโลกที่ต้องเดินทางไป

มาหาสู่กันในกลุ่มประเทศอาเซียน หรือติดต่อ

ค้าขาย ขนส่งสินค้าภายในกลุ่มก็ตาม สามารถ

เดินทางไปได้ด้วยหลายเส้นทางที่เชื่อมถึงกัน

ทั้งทางอากาศที่มีสนามบินนานาชาติหลาก

หลายแห่งในประเทศเฉพาะในประเทศไทย

ประเทศเดียวก็มีถึง 11ท่าอากาศยานแล้ว ทาง

บกที่สามารถเดินทางได้หลายรูปแบบ รถไฟที่

มีเส้นทางระหว่างประเทศที่สะดวกสบาย หรือ

ทางน้ำาที่ทั้ง 9 ประเทศสมาชิกมีพื้นที่ติดทะเล

และมีท่าเรือที่สามารขนส่งโดยสารและสินค้า

ได้ ยกเว้นประเทศลาวประเทศเดียวที่ไม่มีพื้นที่

ติดทะเลเลย แต่สามารถออกสู่ทะเลได้ทางแม่น้ำา

โขงที่ไหลผ่านเวียดนามและกัมพูชา

2. แรงงานราคาถูก หากต้องการจะดึงดูดเงินที่จะมาลงทุนในภูมิภาคหรือประเทศใดก็ตาม ค่าจ้างแรงงานถือเป็นปัจจัยสำาคัญในการเลือกลงทุน อาเซียนถือ

เป็นกลุ่มประเทศที่มีแรงงานราคาถูกและมีคุณภาพแรงงานที่มีความสามารถสูง ตอบสนองความต้องการแรงงานได้ดีพอสมควร จะแพ้ก็เพียงแค่จีนที่มีค่า

จ้างแรงงานถูกกว่ากลุ่มประเทศอาเซียน แต่ด้วยประชนในอาเซียนเป็นแรงงานที่มีความสามารถอันหลากหลาย และยังมีฝีมือในเรื่องเทคโนโลยีที่ทันสมัย

ทักษะเรื่องภาษาอังกฤษที่มีคนใช้ภาษาอังกฤษได้มากกว่าด้วย ดังนั้นการจะได้แรงงานที่มีคุณภาพนั้นอาเซียนถือเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจอันดับแรกๆก็ว่าได้

3. แหล่งรวมทรัพยากรธรรมชาติที่หลากหลาย เนื่องจากสภาพภูมิประเทศอยู่ในเขตร้อน ดังนั้นทรัพยากรธรรมชาติจึงมีอยู่หลากหลายให้สามารถนำาไป

ใช้งานได้มาก และพื้นที่ในเขตร้อนนี่เองเป็นแหล่งรวมของความหลากหลายทั้งพันธุ์พืชและสัตว์มากมาย ความอุดมสมบูรณ์ของดินและน้ำาที่มากเพียง

พอสำาหรับการเพาะปลูกเพื่อให้ได้ผลผลิตทางการเกษตรที่มากขึ้น จากองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ของบุคคลกรที่มีประสบการณ์และความสามารถเรื่อง

เทคโนโลยีการเกษตร เรียกได้ว่าในน้ำามีปลาในนามีข้าวก็คงจะไม่ผิดแต่อย่างใด และ 2 ใน 3ประเทศที่ส่งออกข้าวมากที่สุดในโลกนั้นอยู่ในอาเซียนนั่นคือ

ไทยและเวียดนามนั่นเองครับ ดังนั้นอาเซียนจึงกลายเป็นผู้ผลิตอาหารสำาหรับโลกไปโดยปริยาย

4. สถานที่ท่องเที่ยวระดับโลก คงไม่มีใครปฏิเสธเรื่องนี้อย่างแน่นอนครับ เพราะอย่างน้อยที่สุดประเทศไทยของเราก็มีรายได้จากการท่องเที่ยวปีหนึ่งๆ

มากกว่า 1.5 ล้านล้านบาท และมีสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงาม น่าเทียวมากมาย ทั้งทะเล ภูเขา น้ำาตก สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โบราณสถาน สถาน

ที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตร และเชิงอนุรักษ์ที่กำาลังได้รับความนิยม ทั้งหมดที่กล่าวมานั้น ล้วนมีอยู่ในหลายประเทศอาเซียน เช่น ประเทศไทย ลาว กัมพูชา

เวียดนาม พม่า มาเลเซีย อินโดนีเซีย เรียกได้ว่าทุกประเทศในอาเซียนนั้นมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ และน่าท่องเที่ยวอย่างยิ่ง อากาศในภูมิภาคนี้ค่อน

ข้างอบอุ่นผู้คนจากซีกโลกเหนือที่มีอากาศหนาวเย็นจึงนิยมมาเที่ยวกันที่นี่ รัฐบาลของประเทศอาเซียนนั้นส่งเสริมธุรกิจและอุตสาหกรรมเกี่ยวกับการ

ท่องเที่ยว ทั้งยังให้ชาวต่างชาติลงทุนในธุรกิจท่องเที่ยวได้ด้วย ดังนั้นนี้จึงเป็นข้อดี และจุดแข็งของประเทศอาเซียน ในเรื่องสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของ

ผู้คนทั่วโลก

5. แหล่งรวมศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ของประเทศต่างๆในอาเซียนนั้นมีมายาวนานหลายร้อยปี คนรุ่นเก่าได้ทิ้งมรดกทางวัฒนธรรมเอาไว้แก่คนรุ่น

หลังได้เรียนรู้และคงรักษาเอาไว้ แต่ละประเทศของอาเซียนนั้นมีวัฒนธรรมที่แตกต่างกันแม้จะอยู่ในภูมิภาคเดียวกันก็ตามที เช่น ภาษาอาเซียนพูดที่แตก

ต่างกันโดยสิ้นเชิง อาจจะมีความคล้ายคลึงหรือมีรากศัพท์ที่เหมือนกันบ้าง แต่ก็ไม่ได้เป็นเป็นภาษาเดียวกัน เป็นต้น ทั้งยังหมายถึงวัฒนธรรมในแต่ละ

ประเทศที่มีความแตกต่างกัน ศาสนาที่แตกต่างกัน ด้วยความแตกต่างทางด้านวัฒนธรรมนี่เองทำาให้แต่ละประเทศเกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมซึ่งกันและ

กัน ประยุกต์ข้อดีของแต่ละประเทศมาใช่เพื่อการพัฒนาศิลปะที่สามารถเผยแพร่สู่สาธารณะให้ได้เข้าถึง และเข้าใจมากขึ้น นอกจากนั้นก็ยังมีการท่องเที่ยว

เชิงวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่นด้วยสามารถสร้างรายได้จากความแตกต่างนี้ได้ด้วย

6. สถาบันการเงินมั่นคง ระบบการเงินและธนาคารในหลายประเทศค่อนข้างมีความมั่นคงและรัฐฯส่งเสริมให้ชาวต่างชาติสามารถหาแหล่งเงินในการ

ระดมทุนได้โดยมีนโยบายลดดอกเบี้ยสำาหรับนักลงทุนที่ต้องการเงินทุนเพื่อทำาธุรกิจต่างๆในประเทศในอาเซียน สถาบันการเงินหรือธนาคารในประเทศ

อาเซียนโดยส่วนมากมีรัฐฯเป็นผู้ถือหุ้นหลักอยู่แล้วดังนั้นการกู้เงินเพื่อกำาเนินธุรกิจในภูมิภาคนี้จึงไม่ใช่เรื่องยากและวุ่นวายแต่อย่างใด เพราะยังไงรัฐฯก็

สนับสนุนการลงทุนต่างๆอยู่แล้ว ข้อดีแบบนี้จึงเป็นเหตุผลทำาให้สามารถดึงดูดเงินทุนจากทั่วโลกมาลงในอาเซียน

7. ผู้คนเป็นมิตร ในอาเซียนนั้นมีประชากรอยู่มากมายและแตกต่างในเรื่องภาษา วัฒนธรรม การแต่งกาย ดนตรี อาชีพ หรืออื่นๆแต่มีสิ่งเดียวที่คนใน

อาเซียนนั้นมีคล้ายๆกันนั่นก็คือความมีน้ำาใจและมิตรไมตรีต้อนรับผู้คนที่หลั่งไหลมาทำาธุรกิจเป็นนายจ้างของพวกเขา นักท่องเที่ยวที่หอบเงินมาใช้ใน

ภูมิภาคนี้ หรือคนที่เดินทางมาเพื่อจุดประสงค์อื่นๆ ต่างชื่นชมในความเป็นมิตรของผู้คนในหลากหลายประเทศในกลุ่มอาเซียนนี้ ชาวต่างชาติหลายคน

ประทับใจคนนี้ผู้ภูมิภาคนี้จนถึงขั้นแต่งงานด้วย และย้ายถิ่นฐานมาปักหลักทำามาหากินในอาเซียนกันมากมาย

Page 9: อาเซียน สุดารัตน์

6

8. เทคโนโลยีล้ำาสมัย ไม่ใช่ญี่ปุ่นหรือสหรัฐอเมริกาเท่านั้นที่สามารถคิดค้นหรือประดิษฐ์เทคโนโลยีที่ทันสมัยออกมามากมายหรือเป็นเพียงแหล่งเดียว

ที่สามารถทำาได้ หลายประเทศในอาเซียนนั้นมีบุคลากร สถาบันฯการศึกษา และองค์ความรู้มากมายที่สามารถคิดค้น สร้างสรรค์เทคโนโลยีต่างๆมาเพื่อ

ตอบสนองผู้คนในประเทศนั้นไม่มีสินค้า หรือเทคโนโลยีที่ทันสมัยเอาไว้ใช้งาน โดยเฉพาะประเทศไทย สิงค์โปร์ ฟิลิปปินส์ เป็นต้น ที่มีการผลิตคิดค้น

เครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่างๆเพื่อตอบสนองความต้องการในการประกอบอาชีพของประชาชนในท้องถิ่นนั้นๆ อย่างเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่ที่

เกษตรกรสามารถนำาไปใช้งานได้ง่าย และมีประสิทธิภาพมากขึ้นในการจัดการและเพิ่มผลผลิตการเกษตรต่างๆ และยังเป็นฐานการผลิตเครื่องมืออุปกรณ์

อิเล็กทรอนิกส์ที่สำาคัญของโลกก็ตั้งอยู่ในประเทศไทย เป็นต้น

9. แหล่งกระจายสินค้า ท่าเรือน้ำาลึกหลายๆแห่ง สนามบินนานาชาติ และเส้นทางติดต่อค้าขายที่สำาคัญของโลกก็ผ่านอาเซียนด้วยเช่นกัน ดังนั้นไม่ว่า

ภายในกลุ่มต้องการกระจายสินค้าออกไปนอกภูมิภาคนี้ก็สามารทำาได้ง่าย และยิ่งมีความสะดวกมากขึ้นเมื่อการร่วมมือกัน เอื้ออำานวยกัน หรือกลุ่มประทศ

อื่นๆต้องการเอาสินค้ามาขายในอาเซียนก็สามารถกระจายสินค้าของตัวเองสู่ประเทศต่างๆในอาเซียนได้สะดวกยิ่งขึ้น

10. ฐานการผลิตที่สำาคัญ ในประเทศอาเซียนนอกจากสินค้าเกษตรกรรมที่มีมากแล้ว สินค้าต่างๆที่มีชื่อเสียงในโลกนี้ก็มาตั้งฐานการผลิตในหลายประเทศ

ในอาเซียน ไม่ว่าจะเป็น รถยนต์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ

นั่นคือความแตกต่างของ 10 ประเทศอาเซียนที่สามารถนำาไปแข่งขันได้โดยไม่แพ้กลุ่มประเทศอื่นๆอย่างแน่นอนครับ เพราะประเทศอาเซียนมีความแตก

ต่างกันในหลายเรื่องๆ แต่ละประเทศนั้นมีข้อดี ข้อเด่นที่ต่างกัน เมื่อนำามารวมกันแล้ว ความแตกต่างเหล่านั้นกลายเป็นจุดแข็งจุดขายที่จะนำาพาเงินลงทุน

สู่ภูมิภาค นักท่องเที่ยวเดินทางมาเที่ยวกันมากขึ้น จากข้อดีเรื่องสถานที่ท่องเที่ยวในอาเซียนติดระดับโลกที่กล่าวไปในตอนต้น ด้วยการคมนาคมที่สะดวก

และเชื่อมต่อถึงกันอย่างทั่วถึง เชื่อว่านอกจากเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศอาเซียนจะดีขึ้นแล้ว จุดแข็งเรื่องอื่นๆจะถูกเผยแพร่ไปสู่สาธารณะในฐานะ

ประเทศในกลุ่มอาเซียนนั่นเอง

อนาคตด้านการศึกษาและอาชีพในอาเซียนกับ

ประเทศไทย

เป็นที่รู้กันว่าปี 2558 จะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic

Community: AEC) ซึ่งหลายหน่วยงานในประเทศไทยได้มีการเตรียมความ

พร้อมเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนแล้ว ไม่ว่าหน่วยงานราชการหรือเอกชน และที่

ต้องเตรียมพร้อมอย่างหนัก นั่นคือความพร้อมด้านการศึกษาและอาชีพ

AEC เกิดขึ้นจากการก่อตั้งอาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออก

เฉียงใต้(Association of Southeast Asian Nations : ASEAN) ตั้งแต่ปี 2510 ตาม

ปฏิญญาอาเซียน หรือปฏิญญากรุงเทพฯ โดยเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2519 โดยผู้นำา

อาเซียน 5ประเทศ ได้ลงนามร่วมกันในเอกสารสำาคัญ 2 ฉบับได้แก่ Declara-

tion of ASEAN และ Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia ที่

ระบุความร่วมมือทางเศรษฐกิจหลายด้านเพื่อการดำาเนินการต่อไป ต่อมาปี

2521- 2540 อาเซียนได้ขยายความร่วมมือในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการรวมกลุ่มทาง

เศรษฐกิจอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น ความตกลงที่สำาคัญที่สุดคือ การจัดตั้ง “เขต

การค้าเสรีอาเซียน” (ASEAN Free Trade Area : AFTA)

ภาษาที่ใช้ในการทำางานของอาเซียน คือ ภาษาอังกฤษ ซึ่ง ในความเข้าใจของในขั้นต้นก็เป็นเพียงว่า ต้องใช้ในภาครัฐบาลและภาคเอกชนเท่านั้น แต่ความ

เป็นจริงหมายรวมถึงทุกคนต้องสามารถใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้ ซึ่งหมายความว่า ตั้งแต่รัฐมนตรี ตลอดลงไปจนถึงชาวไร่ชาวนา ชาวบ้านทั่วไป

นักเรียน นักศึกษา เด็กและเยาวชน ต้องสามารถใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้ โดยสำาหรับประเทศไทยสถาบันการศึกษาขั้นพื้นฐานต้องกลับมาคิด

และปรับปรุงว่าจะทำาอย่างไรให้นักเรียนไทยสามารถพูด ฟัง เขียน และอ่าน ภาษาอังกฤษ เพื่อใช้ในการสื่อสารได้ เพราะหากเทียบกับนานาประเทศใน

กลุ่มประชาคมอาเซียนด้วยกัน ประเทศไทยก็ถือว่ายังต้องพัฒนาอยู่มากเลยทีเดียว

นอกจากนี้การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนยังสามารถทำาให้คนสามารถทำางานได้ทุกที่ที่อยู่ในเขตอาเซียน ซึ่งหมายความว่า ทุกคนสามารถย้ายพื้นที่

การทำางาน โดยสามารถทำางานได้ทุกประเทศ โดยในที่ประชุมอาเซียนได้ระบุ

Page 10: อาเซียน สุดารัตน์

7

7 อาชีพที่สามารถทำางานได้อย่างเสรีในประชาคมอาเซียน

• อาชีพวิศวกร ( Engineering Services)

• อาชีพพยาบาล (Nursing Services)

• อาชีพสถาปนิก (Architectural Services)

• อาชีพการสำารวจ (Surveying Qualifications)

• อาชีพนักบัญชี (Accountancy Services)

• อาชีพทันตแพทย์ (Dental Practitioners)

• อาชีพแพทย์ (Medical Practitioners)

หากเป็นเช่นนี้ หมายความว่า เราจะมีคนที่มีความรู้

เฉพาะด้านเข้ามาแข่งขันกันมากขึ้น และผู้คนที่อยู่ในสาย

งานนี้ก็มีอิสระในการทำางานมากขึ้น เพราะสามารถทำางาน

ในพื้นที่ที่กว้างขึ้น และการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือเสรีใน

กลุ่ม 7 อาชีพนั้น มีผลดีต่อไทยไม่น้อย เพราะในภาพรวม

สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในไทยมีศักยภาพในด้าน

การผลิตบุคลากรในสายวิชาชีพทั้ง 7ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สูง ส่งผลให้ผู้ที่จบการศึกษาในสายวิชาชีพทั้ง 7 ตั้งแต่

ระดับปริญญาตรีจนถึงปริญญาเอกมีตลาดงานที่เปิดกว้าง

มากขึ้น

อนาคตอาเซียนกับประเทศไทยนี้ หากเราสามารถพัฒนาคนในประเทศของเราให้มีความรู้ ความสามารถให้ทัดเทียมกับเพื่อบ้านที่อยู่ในกลุ่ม

ประชาคมอาเซียนด้วยกัน ประชากรของเราก็มีโอกาสที่จะมีงานทำามากขึ้น และการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจก็จะสามารถก้าวไปทัดเทียมกับประเทศเพื่อน

บ้านได้อย่างไม่ยากเย็นนัก

Page 11: อาเซียน สุดารัตน์

8

Page 12: อาเซียน สุดารัตน์

9

สถานที่ท่องเที่ยวในอาเซียน : เลโก้ แลนด์ สวนสนุกเลโก้ แห่งแรกของเอเชีย

สวนสนุกเลโก้แลนด์ แห่งแรกในเอเชีย เกิดขึ้นแล้วที่ประเทศอาเซียนของเรา เป็นเลโก้แลนด์ธีมพาร์คแห่งที่ 6 ของโลก และแห่งแรกในเอเชียและ

อาเซียน ตั้งอยู่ในเมืองนุสาจายา รัฐยะโฮร์ ตอนใต้ของประเทศมาเลเซีย เปิดต้อนรับคนที่ชื่นชอบเลโก้ เป็นสวนสนุกสำาหรับครอบครัวและเด็กๆ รวม

ถึงผู้ใหญ่ที่ชื่นชอบสวนสนุกจากเลโก้ผ่านตัวต่อนับล้านชิ้น มีเครื่องเล่นกว่า 40 ชนิด บนพื้นที่เกือบ 200 ไร่ แบ่งเป้นโซนต่างๆทั้งหมดได้ 7 โซน คือ

Miniland เมืองจำาลองสถานที่สำาคัญของเมืองต่างๆในเอเชีย, The Begining บริเวณทางเข้าสวนสนุก ที่มีทั้งร้านอาหาร คาเฟ่ และร้านขายของที่ระลึก,

Lego Technic เครื่องเล่นน่าตื่นเต้นหวาดเสียวด้วยรถไฟเหาะ ปราสาทแห่งเวทมนตร์ และรถไฟเหาะหลังมังกร, Land of Adventure ผจญภัยไปในเกาะ

ไดโนเสาร์ และปิรามิดแห่งอียิปต์, Imagination ที่สร้างเสริมจินตนาการของเด็กด้วยตัวต่อเลโก้หลากหลายแบบ และโซนสุดท้าย Lego City ที่ให้ได้ลอง

บังคับรถและเรือ

Page 13: อาเซียน สุดารัตน์

10

ประเทศสมาชิกในอาเซียน 10 ประเทศ

พม่า อยากเป็นประธานอาเซียนในปี 2557 หลังถูกเลื่อนมาแล้ว 1 ครั้ง

สวัสดีค่ะ ใกล้เข้าสู่ประชาคมอาเซียนเข้าทุกทีแล้วนะคะ ในปี 2557 นี้มีแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงด้านการเมืองของอาเซียนเป็นอย่างมาก เนื่องจากว่า

ประเทศพม่านั้นได้เข้าเจรจาต้องการรับตำาแหน่งเป็นประธานอาเซียนในปี 2557 หลังจากเคยถูกเลื่อนมาแล้ว 1 ครั้งในปี2557 และไม่เคยได้รับตำาแหน่งนี้

เลย โดยแสดงให้เห็นถึงความพัฒนาทางด้านการเมืองของประเทศพม่า ว่าพร้อมรับตำาแหน่งแล้ว แต่หลายๆประเทศก็ยังมีความกังวล ไม่เชื่อว่าพม่าจะมี

ความมั่นคงอย่างนี้ตลอดไป ทั้งในเรื่องของสิทธิมนุษยชนอีกด้วย แต่การเจรจาของพม่าในครั้งนี้ ก็ถือว่าได้ผลดีเกินคาด ในหลายๆประเทศเริ่มอ่อนข้อกับ

พม่ามากขึ้น และให้การยอมรับ โดยเฉพาะเห็นได้ชัดกับมาตรการของประเทศญี่ปุ่นที่มีต่อพม่า ทั้งยังมีการส่งตัวแทนธนาคารเข้าไปช่วยเหลือและลงทุน

ในพม่าอีกด้วย

นายเต็ง เส่ง ประธานาธิบดีพม่า ได้เข้าร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำาสมาชิก

สมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ด้วยหวังว่าจะขึ้นเป็น

ประธานอาเซียนในปี 2557 นี้ ความต้องการนี้ทำาให้มีเสียงคัดค้านจำานวน

มากจากมนุษยชน

นายเต็ง เส่ง เข้าหารือกับประธานาธิบดีสุสิโล บัมบัง ยูโดโยโน ผู้นำา

อินโดนีเซียที่ปะเทศอินโดนีเซีย ทำาเนียบประธานาธิบดีในกรุงจาการ์ตา ถือ

เป็นการเดินทางไปยังต่างประเทศเป้นครั้งแรกของพม่าก็ว่าได้ นับตั้งแต่ได้

รับตำาแหน่งประธานาธิบดีมา ทั้งผู้นำาของพม่าและอินโดนีเซีย มีการพูดคุย

กันหลายเรื่องหลายประเด็น ไม่ว่าจะเป็น การส่งเสริมความสัมพันธ์ทวิภาคี

ความสัมพันธ์ และความร่วมมือภายในภูมิภาค และอื่นๆอีกมากมายด้าน

นายกรัฐมนตรีต่างประเทศของอินโดนีเซีย ได้เปิดเผยมาแล้วว่า พม่า

ต้องการเป็นประธานอาเซียนในอีก 3 ปีข้างหน้า ( หรือปี 2557 นั่นเอง) ซึ่ง

จริงๆแล้วพม่านั้นควรจะได้รับตำาแหน่งประธานอาเซียนตั้งแต่ปี 2548 แต่

ก็ได้ถูกเลื่อนออกไป เนื่องจากโดนสหรัฐและสหภาพยุโรป ขู่ไว้ว่าจะคว่ำา

บาตรอาเซียนทันที หากพม่าได้เป็นประธานอาเซียน เนื่องจากมีภาพพจน์

ในด้านลบในเรื่องของสิทธิมนุษยชน

นางเอเลน เพียร์สัน รองผู้อำานวยการฮิวแมน ไรท์ วอทช์ ประจำาภูมิภาค

เอเชีย ได้บอกว่า การที่จะให้พม่าเป็นประธานอาเซียน ทั้งที่มีการเลือกตั้งแต่ในปีที่แล้ว มันเป็นเรื่องที่น่าละอายอย่างมาก โดยเฉพาะให้ประเทศที่มีการขุม

ขังนักโทษถึง 2,000 คนอย่างพม่ามารับตำาแหน่งประธานอาเซียนในปี 2557 นี้ นอกจากนี้นายเพียร์สันยังกล่าวด้วยว่า ผู้ที่จะเป็นผู้นำาอาเซียนได้นั้น ไม่ควร

เชื่อ ในการถูกหลอกให้เชื่อว่าการปล่อยตัวนางอองซาน ซูจี ผู้นำาฝ่ายค้านพม่าหมายถึงความก้าวหน้าในการปฏิรูปของรัฐบาลพม่า และขอให้มีการจัดตั้ง

องค์กรใดๆที่มาช่วยในการจัดการในด้านสิทธิมนุษยชนของพม่าด้วย หากอาเซียนให้ความสำาคัญกับระบอบประชาธิปไตย ของประเทศพม่าแลพม่าได้รับ

ตำาแหน่งเป็นประธานอาเซียนในปี 2557 ซึ่งจะต้องเป็นผู้นำาอาเซียนไปอีกถึง 8 ปี หลังจากที่พม่าต้องยอมสละตำาแหน่งประธานอาเซียนในปี 2548 เพราะ

แรงกดดันจากหลายๆประเทศ ในเรื่องของการละเมิดสิทธิมนุษยชนของประเทศพม่า ถึงแม้ว่า 2-3 ปีที่ผ่านมานี้ พม่าจะมีการพัฒนาในเรื่องของการเมือง

ให้ดีขึ้นเป้นอย่างมาก แต่ก็ยังไม่ได้รับการเชื่อใจ นักวิเคราะห์ทางการเมืองยังกังวลในเรื่องของความมั่นคง ว่าจะเป็นแบบนี้ไปได้อีกนานแค่ไหน ความ

ระแวงนี้ยังส่งผลต่อการให้พม่าเป็นประธานอาเซียนในปี 2557 นี้อีกด้วย

Page 14: อาเซียน สุดารัตน์

11

การได้ขึ้นเป็นประธานอาเซียนในปี 2557 นี้ถือว่ามีความหมายเป็นอย่างมากกับพม่า เพราะการได้เป็นผู้นำาอาเซียนในปี 2557 จะนำามาซึ่งความชอบธรรม

ให้กับรัฐบาลชุดปัจจุบันของพม่า หรือประธานาธิบดีเต็งเส็ง ทั้งนี้ต้องมีการรับผิดชอบในเรื่องของการจัดประชุมต่างๆ ในอาเซียนที่มีเกือบ 1 พันครั้ง

สำาหรับการรับตำาแหน่งประธานาธิบดีในระยะเวลา 1 ปี และเป็นประโยชน์กับรัฐบาลของพม่าในการเปิดประเทศก็ว่าได้ จึงกล่าวได้ว่า การที่พม่าได้เป็น

ประธานอาเซียนนั้น ส่งผลต่อทิศทางทางการเมืองภายในประเทศเป็นอย่างมาก ละในด้านของอาเซียนก็ด้วย มีความจำาเป็นที่ต้องมอบตำาแหน่งประธาน

อาเซียนให้กับประเทศพม่าอย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เนื่องจาถูกเลื่อนมา 1 ครั้งแล้ว และการที่พม่ามีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ส่งผลต่อ

ภาพพจน์ของอาเซียนในสายตาของบรรดาต่างประเทศว่าไร้ประสิทธิภาพ ไร้ความสามารถ แรงกดดันที่พม่าต้องการจะเป็นประธานอาเซียนในปี 2557 นี้

แสดงให้เห็นว่าพม่านั้นเดินมาถูกทาง และที่สำาคัญ ประเทศพม่านั้นยังไม่เคยได้เป็นประธานของอาเซียนเลยแม้แต่ครั้งเดียว และอาเซียนได้เล็งเห็นแล้วว่า

พม่าพร้อมที่จะเป็นประธานอาเซียน เร็วกว่าที่กำาหนดถึง 2 ปีเลยทีเดียว

เสียงตอบรับจากหลายๆประเทศที่มีต่อพม่ามีทั้งในแง่ลบและแง่บวกด้วยกัน ซึ่งเสียงข้างมากให้การยอมรับพม่ามากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะประเทศในด้าน

ตะวันตก สหรัฐอเมริกาและในยุโรป อย่างน้อยก็ถูกมองว่าพม่ามีความจริงจังในด้านการพัฒนาเรื่องประชาธิปไตยมากยิ่งขึ้น ซึ่งอาจเกิดจากการเจรจาของ

พม่ากับหลายๆประเทศในเรื่องของการพิจารณายกเลิกมาตรการคว่ำาบาตรต่อพม่า หากได้รับตำาแหน่งผู้นำาอาเซียน ซึ่งก็มีแนวโน้มว่าน่าจะได้ผลดียิ่งขึ้น

ประเทศญี่ปุ่นจะเด่นชัดในเรื่องของมาตรการต่างๆที่มีต่อพม่า แสดงให้เห็นว่ามีการอ่อนข้อกับพม่าลงไปมาก โดยการส่งตัวแทนธนาคารจากประเทศ

ญี่ปุ่นไปยังประเทศพม่า เพื่อช่วยเหลือในเรื่องของการลงทุนต่างๆ

ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศหนึ่งในประชาคมอาเซียนที่ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนา

คริสต์ประเทศฟิลิปปินส์เป็นหนึ่งประเทศในอาเซียนที่ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ ประชาชนในประเทศได้รับความรู้เรื่องภาษาอังกฤษและความ

รู้ด้านไอทีค่อนข้างมาก มีทรัพยากรธรรมชาติที่ยังไม่ถูกนำามาใช้ประโยชน์มากนัก มีศิลปวัฒนธรรมและดนตรีที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวสูง เป็นหนึ่งใน

ประเทศอาเซียนที่มีประชากรมาก ดังนั้นกำาลังการซื้อก็ย่อมมีมากตามไปด้วย เป็นประโยชน์สำาหรับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนจะนำาสินค้าต่างๆไปขาย

ให้กับฟิลิปปินส์ได้ อย่างเช่น สินค้าอาหารและผลิตภัณฑ์การเกษตรต่างๆ ฟิลิปปินส์ส่งออกชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์

มาทำาความรู้จักกับฟิลิปปินส์ให้มากขึ้นกันครับ ฟิลิปปินส์ หรือ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก ประกอบด้วยเกาะเล็ก

ใหญ่มากถึง 7000 เกาะ มีลักษณะพิเศษคือเป็นประเทศเพียงหนึ่งเดียวที่มีพรมแดนทางทะเลที่ติดต่อระหว่างกันยาวมากที่สุดในโลก ฟิลิปปินส์ตกเป็น

เมืองขึ้นของสหรัฐอเมริกา และสเปนจึงทำาวัฒนธรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาษา ความรู้ ศิลปะต่างๆส่งผลต่อวัฒนธรรมของฟิลิปปินส์ในปัจจุบันอย่างมาก

มีภาษาประจำาชาติคือ ภาษาตากาล็อก การปกครองเป็นแบบประชาธิปไตยแบบคณาธิปไตย หรืออำานาจของครอบครัวที่มีความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ เข้า

ควบคุมกระบวนการทางการเมืองและธุรกิจของประเทศ ภูมิอากาศเป็นแบบร้อนชื้น คล้ายๆกันกับประเทศอื่นๆในภูมิภาคนี้ ของชาวฟิลิปปินส์ส่วนมาก

นับถือศาสนาคริสต์หลากหลายนิกาย และมีคนที่นับถืออิสลามในตอนใต้ของประเทศเกิดการขัดแย้งและกีดกันทางศาสนาในฟิลิปปินส์ด้วย

อย่างที่บอกในตอนแรกว่าฟิลิปปินส์มีความได้เปรียบในเรื่องบุคลากรที่มีความรู้สูง ความรู้เหล่านี้สามารถนำาไปต่อยอดในการพัฒนาทั้งด้านความสัมพันธ์

ระหว่างประเทศ การเผยแพร่ความรู้วิทยาการที่ฟิลิปปินส์มีอยู่ต่อประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนได้มากขึ้นในประเทศที่ยังขาดความรู้ และแรงงานที่มี

คุณภาพได้ ซ้ำายังสามารถนำารายได้จากส่วนนั้นเข้าประเทศได้ด้วย

Page 15: อาเซียน สุดารัตน์

12

ด้านทรัพยากรธรรมชาติทั้งทางบกและทางทะเลนั้นฟิลิปปินส์ถือว่ายังไม่ได้นำาเอาสิ่งเหล่านี้มาสร้างรายได้ หรือประโยชน์ในทางใดทางหนึ่งมากนัก แต่

ในอนาคตสามารถทำาได้โดยรัฐฯ หรือให้เพื่อนบ้านในอาเซียนอย่างสิงคโปร์ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย หรือประเทศอื่นที่สนใจ เข้ามาร่วมลงทุนในการ

ค้นหาและจัดการทรัพยากรนั้นๆ สามารถทำาให้ฟิลิปปินส์มีรายได้ และติดต่อกับประเทศอื่นได้มากขึ้น

การท่องเที่ยวสำาหรับฟิลิปปินส์แล้วมีว่ามีสถานที่ท่องเที่ยวตามธรรมชาติอยู่มากมาย และมีความสวยงามอย่างมาก หากรัฐบาลของฟิลิปปินส์พัฒนาธุรกิจ

การท่องเที่ยวให้มากขึ้นกว่าเดิม ช่วยส่งเสริมการคมนาคมที่สะดวกทั้งทางบกและทางทะเล มีความปลอดภัยจากโจรผู้ร้ายชุกชุม หรือโจรสลัดที่มักจับนัก

ท่องเที่ยวเป็นตัวประกันเพื่อเรียกค่าไถ่ที่เราได้เช่นตามข่าวในทีวีอยู่เนืองๆ จะสามารถทำาให้ฟิลิปปินส์เป็นอีกแหล่งท่องเที่ยวที่น่าจะเป็นจุดหมายปลายทาง

ของนักท่องเที่ยวทั่วโลกอย่างแน่นอน เพราะทะเลและชายหาดที่ฟิลิปปินส์นั้นสวยงามมาก ทั้งยังความสมบูรณ์ของธรรมชาติอย่างเต็มที่อีกด้วย

ประเทศเวียดนาม หนึ่งในเสือเศรษฐกิจของอาเซียน

หนึ่งในเสือเศรษฐกิจของอาเซียนที่มีการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจจนสามารถแซงหน้าประเทศเพื่อนบ้านในหลายด้านไปแล้ว อย่างล่าสุดกลายเป็นผู้ส่ง

ออกข้าวมากกว่าไทยไปแล้ว(ในเชิงปริมาณ) ในช่วง 2ไตรมาศแรกของปี 2556 และส่งออกข้าวไปประเทศจีนมากที่สุด เป็นประเทศที่เสถียรภาพทางการ

เมือง มีทรัพยากรธรรมชาติ อย่าง เช่น น้ำามันดิบ อาหารและผลิตภัณฑ์จากทะเล เพราะเวียดนามมีแนวชายฝั่งยาวกว่า 3,000 กิโลเมตร ทั้งยังสนับสนุนให้

มีการลงทุนในธุรกิจและกิจการต่างๆ จากนักลงทุนต่างประเทศ ด้วยการจูงใจด้วยการลดภาษี จึงทำาให้หลายประเทศเลือกที่จะเข้ามาลงทุนทำากิจการใน

ประเทศเวียดนาม โดยเฉพาะสิงคโปร์ที่เป็นประเทศที่มีการลงทุนในเวียดนามมากที่สุด

มาทำาความรู้จักกับเวียดนามขึ้นอีกหน่อย ประเทศเวียดนาม หรือสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกสุดของคาบสมุทรอินโดจีน มี

พรมแดนติดกับประเทศจีน ลาว และกัมพูชา มีประชากรมากกว่า 92 ล้านคน (ข้อมูล ณ วันที่ 1มีนาคม 2556) การเมืองปกครองด้วยระบอบสังคมนิยม

คอมมิวนิสต์ โดยมีพรรคคอมมิวนิสต์ เวียดนาม เป็นพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียวในประเทศ ซึ่งมีบทบาทในการกำาหนดแนวทาง และการบริหาร

ประเทศในทุกๆด้าน ภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงกันระหว่างที่ราบลุ่มทางตอนบนและล่าง ทำาให้สภาพอากาศในเวียดนามมีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงโดยที่

ทางตอนเหนืออากาศจะหนาวเย็นจนถึงขั้นอุณหภูมิติดลบในหน้าหนาว และทางตอนใต้มีอากาศที่ร้อนชื่นและแห้งแล้ง

ความได้เปรียบหลายอย่างของประเทศเวียดนามนั้นอยู่ที่มีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติทั้งทางบกที่มีแหล่งปลูกข้าว ที่ส่งออกมากที่สุดประเทศหนึ่งของ

โลก ข้าวเจ้า ยางพารา ชา กาแฟ ยาสูบ พริกไทย ก็เป็นสินค้าส่งออก ทางทะเลที่มีทั้งผลิตภัณฑ์อาหารสดและแช่แข็ง เช่น ปลาหมึก กุ้ง ไปยังญี่ปุ่น ไต้หวัน

Page 16: อาเซียน สุดารัตน์

13

และสิงคโปร์ และน้ำามันดิบที่อยู่ในเขตชายฝั่งทะเลของเวียดนามทำาให้เวียดนามกลายเป็นประเทศที่ส่งออกน้ำามันดิบมากที่สุดประเทศหนึ่งในอาเซียน

อุตสาหกรรมที่สำาคัญของประเทศคืออุตสาหกรรมทอผ้า

จากทรัพย์ในดินสินในน้ำาอย่างอุดมสมบูรณ์ทำาให้เวียดนามสามารถส่งออกอาหารไปทั่วโลกได้อย่าง กลายเป็นหนึ่งในผู้ผลิตอาหารให้โลกรายใหญ่ราย

หนึ่ง แต่เวียดนามก็ยังมีข้อด้อยหลายอย่างที่ยังต้องการพัฒนา และความช่วยเหลือจากเพื่อนสมาชิกอาเซียนทั้งในเรื่องของสาธารณูปโภคที่สำาคัญของ

ประเทศ ยังมีไม่เพียงพอที่จะสามารถขยายความเจริญไปยังส่วนต่างๆของประเทศอย่างทั่วถึง ทั้งถนนหนทาง ไฟฟ้า ประปา และการขนส่งในประเทศ

เวียดนามยังถือว่ามีค่าใช้จ่ายสูง และใช้ระยะเวลาในการขนส่งนาน ดังนั้นจึงเป็นช่องทางสำาหรับประเทศสมาชิกอย่างสิงคโปร์และมาเลเซียที่มีความ

เชี่ยวชาญในเรื่องการขนส่งสินค้า เข้าไปลงทุนในภาคการขนส่งสินค้าให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น และมีราคาที่ถูกลงได้

ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศพี่ใหญ่ของประชาคมอาเซียน

อินโดนีเซียถือว่าเป็นประเทศพี่ใหญ่ในอาเซียนก็ว่าได้ เพราะมีพื้นที่มาก มีประชากรกว่า 250 ล้านคนในประเทศหรือเกือบครึ่งหนึ่งของประชากรทั้งหมด

ในอาเซียนก็ว่าได้ มีเศรษฐกิจที่ดี กำาลังการซื้อมาก มีทรัพยากรธรรมชาติทั้งทางบกและทางทะเลมาก แต่ยังไม่ถูกนำามาใช้มากนัก มีการเมืองที่มั่นคง

ภูมิประเทศเป็นเกาะขนาดเล็กใหญ่เรียงรายอยู่ระหว่างมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิก เป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกที่เริ่มก่อตั้งอาเซียนขึ้นมา และถือว่ามี

บทบาทอย่างมากในอาเซียน มีสำานักงานใหญ่ขององค์การอาเซียนตั้งอยู่ที่กรุงจาการ์ตา ที่มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับกิจกรรมของประเทศสมาชิกทั้งหมด

มารู้จักประเทศอินโดนีเซียให้มากขึ้นครับ ประเทศอินโดนีเซียมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุขและ

ทำาหน้าที่ปกครองประเทศ ภูมิประเทศเป็นหมู่เกาะหลายเกาะรวมกัน ที่สำาคัญ เช่น เกาะสุมาตรา เกาะบอร์เนียว เป็นต้น ชื่อทางการคือ สาธารณรัฐ

อินโดนีเซียตั้งอยู่กลางระหว่างมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิกประประชากรมากกว่า 250 ล้านคน ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาและที่ราบสูง เป็นประเทศ

ที่มีป่าไม้มากที่สุดในอาเซียนและสามารถผลิตผลจากป่าไม้ไปใช้ภายในประเทศ น้ำามันปิโตรเลียมที่อยู่ในพื้นที่น่านน้ำาของอินโดนีเซียทำารายได้ให้กับ

ประเทศมากที่สุด เนื่องจากมีพื้นที่เป็นที่ราบสูงการปลูกพืชจึงปลูกแบบขั้นบันได ได้แก่ข้าว ยาสูบ ข้าวโพด เครื่องเทศ ฯลฯ ลักษณะภูมิประเทศเป็น

หมู่เกาะมากมายทำาให้อินโดนีเซีย มีอุตสาหกรรมการจับสัตว์น้ำาและทำาประมงด้วย อุตสาหกรรมที่สำาคัญที่สามารถสร้างรายได้เข้าประเทศได้มากก็คือ

อุตสาหกรรมการกลั่นน้ำามัน การต่อเรือ เป็นต้น

Page 17: อาเซียน สุดารัตน์

14

เนื่องจากประเทศอินโดนีเซียตั้งอยู่กลางมหาสมุทรใหญ่ที่มาบรรจบกันคือมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก และมีพื้นที่คลอบคลุมเกือบ 2 ล้าน

ตารางกิโลเมตรทั้งแผ่นดินและน่าน้ำา ทำาให้มีความอุดมสมบูรณ์ทางทะเลอย่างมาก สามารถจับสัตว์น้ำาเพื่อการบริโภคภายในประเทศและส่งขายไปยัง

ต่างประเทศ และเป็นผู้ส่งออกน้ำามันดิบรายใหญ่ในอาเซียนที่สามารถขุดได้จากน่านน้ำาในประเทศ มีอุตสาหกรรมอู่ต่อเรือระดับโลกหลายแห่งที่สร้าง

รายได้ให้กับประเทศอย่างมาก เนื่องจากเป็นพี่ใหญ่ในอาเซียนประทศไทยและเพื่อนสมาชิกต่างให้ความยำาเกรงและขอความเห็นต่างเกี่ยวกับอาเซียนจาก

อินโดนีเซียเสมอ ไทยและอินโดนีเซียมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันเสมอมา และยังช่วยเหลือกันในเรื่องต่างทั้ง เศรษฐกิจ สังคม หรือแม้แต่เรื่องข้อพิพาท

ระหว่างไทยกับกัมพูชาเรื่องประสาทเขาพระวิหาร อินโดนีเซียก็ยื่นมาเข้าช่วยเหลือทั้ง 2 ประเทศให้สามารถเจรจาและหาข้อยุติร่วมกันอย่างสันติได้

ความสำาคัญและบทความของอินโดนีเซียนั้นได้ทำาอย่างเต็มที่และเอาใจใส่อย่างมาก เพื่อช่วยพัฒนาความสัมพันธ์ ความร่วมมือ และกิจการ กิจกรรมต่างๆ

ของเพื่อนสมาชิกอาเซียน เพราะทั้งยังเสียสละงบประมาณมากมายเพื่อการสนับสนุนกิจกรรมต่างๆของอาเซียน เรียกได้ว่ายกให้อินโดนีเซียเป็นพี่ใหญ่

ของอาเซียนก็คงจะไม่ผิด

ประเทศไทยของเรานั้นเป็นประเทศที่มีความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ และการค้ากับ

นานาๆ ประเทศทั่วโลก

และเพื่อนสมาชิกอาเซียนอย่างกว้างขวาง เพราะไทยมีนโยบายการค้าเสรีที่เปิดโอกาสให้ประเทศต่างๆ เข้ามาค้าขายกับไทยได้ง่าย มีเงื่อนไขทางภาษีที่น่า

จูงใจ มีธนาคารและสถาบันการเงินที่น่าเชื่อถือและมีความมั่นคงสูง แรงงานภายในประเทศมีฝีมือแรงงานที่มีมาตรฐาน และค่าแรงงานอยู่ในระดับปาน

กลางสมกับฝีมือที่มีคุณภาพนั้น นักลงทุนต่างชาติจึงนิยมมาลงทุน และตั้งฐานการผลิตสินค้าต่างๆในประเทศไทย เป็นศูนย์การค้า การคมนาคมภายใน

ประเทศมีเส้นทางเชื่อมต่อไปยังประเทศอื่นๆได้สะดวกทั้งทางบก ทางน้ำา และทางอากาศ ประเทศไทยมีพื้นที่อันอุดมสมบูรณ์ในการเพาะปลูกทำาให้ไทย

เป็นประเทศส่งออกอาหารสู่ตลาดโลกมากประเทศหนึ่ง โดยเฉพาะไทยเป็นผู้ส่งออกข้าวหอมมะลิคุณภาพสูงมากที่สุดในโลก (เปรียบเทียบคุณภาพต่อ

ปริมาณ)

Page 18: อาเซียน สุดารัตน์

15

ประเทศไทย หรือ ราชอาณาจักรไทย เป็นประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข มีประชากรมากว่า 70 ล้านคน ส่วน

ใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม มีพื้นที่มากกว่า 513,115 ตารางกิโลเมตร ภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มทางภาคกลาง พื้นที่ภูเขาและที่ราบสูงในภาค

เหนือและภาคอีสานที่มีอากาศแห้งแล้ง แต่ในภาคใต้มีอากาศที่ร้อนชื้นและมีฝนตกชุกตลอดทั้งปี มีอาณาเขตติดกับ พม่า ลาว กัมพูชา และมาเลเซีย พื้นที่

ในภาคใต้มีพื้นที่ติดกับทะเลอ่าวไทย และทะเลอันดามัน

ประเทศไทยค่อนข้างมีความเจริญทางด้านเทคโนโลยี มีเส้นทางที่สามารถติดต่อค้าขาย ขนส่งสินค้าภายในประเทศและประเทศเพื่อนบ้านได้สะดวก เป็น

หนึ่งในประเทศผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยจึงให้ความสำาคัญอย่างมากกับการพัฒนาความสัมพันธ์และความร่วมมือที่จะเกิดขึ้นในอาเซียน พร้อมทั้งส่ง

เสริมให้ประชาชนโดยทั่วไปรับรู้รับทราบถึงข้อมูลสำาคัญต่างในที่มีความจำาเป็นสำาหรับการมุ่งเข้าสู่ความร่วมมือของประเทศในกลุ่มอาเซียนที่มีมากกว่า

การค้าขาย ยังรวมถึงความมั่นคงภายในประเทศ และการแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมด้วย

ประเทศไทยมีสถานที่ท่องเที่ยวที่ติดอันดับโลก มีชายหาดที่สวยงาม มีป่าเขาที่อุดมสมบูรณ์ ล้วนแล้วแต่ถูกสร้างสรรค์โดยธรรมชาติทั้งสิ้น ดังนั้นรัฐฯจึง

ให้การสนับสนุนการท่องเที่ยวอย่างมาก ทั้งกิจการที่ทำาขึ้นมาเพื่อตอบสนองการท่องเที่ยวหรือกิจการที่มีผลกระทบต่อการท่องเที่ยว และนอกจากจะส่ง

เสริมและประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวไปยังชาวต่างชาติ รัฐฯยังส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนท่องเที่ยวภายในประเทศอีกด้วย แต่ประเทศไทยนั้นมี

ปัญหาเรื่องการเมืองที่ยังไม่นิ่งมาหลายปี ทำาให้บางครั้งที่มีสถานการณ์ทางการเมืองอาจจะทำาให้ชาวต่างชาติมาท่องเที่ยวน้อย แต่เมื่อเหตุการณ์สงบดีแล้ว

ผู้คนต่างก็หลั่งไหลมาท่องเที่ยวในประเทศไทยเหมือนเดิม ด้วยค่าใช้จ่ายในประเทศไทยไม่แพงมากนัก สถานที่สวยงาม และกรเดินทางสะดวกสบาย และ

ที่สำาคัญ ผู้คนในประเทศไทยมีความเป็นมิตร และสามารถสื่อสารกับชาวต่างชาติได้พอสมควร

ประเทศมาเลเซีย ประเทศที่มีความเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นประเทศหนึ่งในประชาคมอาเซียน

ประเทศมาเลเซีย ประเทศที่มีความเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นประเทศหนึ่งในประชาคมอาเซียน

มาเลเซีย ประเทศที่มีความเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นประเทศหนึ่งในอาเซียน เรียกได้ว่าทัดเทียมกับประเทศไทยได้อย่างไม่น้อยหน้าในเรื่องใดๆ เลย นอกจาก

เรื่องการเมืองที่มาเลเซียค่อนข้างมีเสถียรภาพมากกว่าไทย มาเลเซียเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกอาเซียนที่สามารถผลิตยางพาราได้มากที่สุดประเทศหนึ่ง

ปลูกข้าวเจ้าเป็นสินค้าส่งออก เพราะมีพื้นที่อุดมสมบูรณ์อย่างมาก และอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้จำานวนมหาศาลให้กับมาเลเซียนั่นก็คือ อุตสาหกรรม

ปาล์มน้ำามันคุณภาพสูง มีพื้นที่แบ่งเป็น 2 เกาะใหญ่เป็นมาเลเซียตะวันออก และมาเลเซียตะวันตก นัยว่ามาเลเซียเป็นเสือเศรษฐกิจหนึ่งในอาเซียนเลยก็ว่า

ได้ หลังจากได้รับอิสรภาพจากอังกฤษเมื่อปี พ.ศ.2500 ก็เปิดรับประเทศรับความเจริญต่างๆ เข้ามาอย่างมากและทำาให้มาเลเซียกลายเป็นประเทศที่กำาลัง

พัฒนา และกำาลังกำาลังจะก้าวเข้าสู่ประเทศที่พัฒนาแล้วในปี 2563

ข้อมูลโดยทั่วไปของประเทศมาเลเซีย เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นสมาชิกก่อตั้งของกลุ่มประเทศอาเซียน ตั้งอยู่ในเขตเส้นศูนย์สูตร

ทำาให้มีฝนตกชุกตลอดทั้งปี เกษตรกรรมที่สำาคัญคือยางพารา ปาล์มน้ำามันและข้าว การทำาเหมือง แร่ดีบุกที่ส่งออกมากที่สุดของโลก การทำาป่าไม้ยังพอมี

อยู่บ้างเพราะมาเลเซียยังมีพื้นที่ป่าไม้มาก ส่วนใหญ่เป็นไม้เนื้อแข็ง ผู้คนโดยส่วนมากนับถือศาสนาอิสลามและได้เงินอุดหนุนจากรัฐฯ สำาหรับคนที่นับถือ

ศาสนาอื่นจะไม่ได้เงินอุดหนุนนี้

มาเลเซียถือว่าเป็นประเทศที่มีความเจริญก้าวหน้าในด้านต่างๆ ดี ทั้งเรื่องการเพาะปลูกและเกษตรกรรมที่สามารถปลูกปาล์มน้ำามันและยางพาราได้จำานวน

มาก แต่ผลิตผลการเกษตรบางอย่างก็ต้องนำาเข้าเช่นกัน การพัฒนาของมาเลเซียนั้นมีให้มองเห็นอย่างชัดเจนในหลายๆ เรื่องที่น่าจะเป็นประโยชน์ต่อกลุ่ม

ประเทศอาเซียน อย่างเช่น มาเลเซีย พัฒนาเพื่อให้ตัวเองเป็นศูนย์กลางมาตรฐานฮาลาลที่ดูเรื่องอาหารและผลิตภัณฑ์สำาหรับคนที่นับถือศาสนาอิสลาม โดย

กำาหนดมาตรฐานขั้นต่ำาที่สามารถยอมรับได้และเป็นผู้ออกใบอนุญาตสำาหรับผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่น่าเชื่อถือที่สุดในโลก ดังนั้นเมื่อเรามีประเทศสมาชิกที่

เป็นผู้นำามาตรฐานอาหารฮาลาล เราก็สามารถขอรับคำาแนะนำาเกี่ยวกับมาตรฐานนี้และส่งออกผลิตภัณฑ์ไปสู่ผู้บริโภคชาวอิสลามที่มีอยู่ทั่วโลก หรือการ

พัฒนาธุรกิจการขนส่งที่มีคุณภาพสูงและลดขั้นตอนในการตรวจสอบคุณภาพสินค้าต่างๆลง เพื่อการขนส่งที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้นเป็นตัว

ดึงดูดใจให้ผู้ประกอบการต่างๆหันมาใช้บริการขนส่งจากมาเลเซียมากขึ้น

Page 19: อาเซียน สุดารัตน์

16

สำาหรับมาเลเซียหนึ่งในประเทศที่สามารถพัฒนาการกิจกรรมต่างๆ ภายในประเทศจนสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ทั่วโลกได้นั้นมาจากการโฟกัสเป้า

หมายที่แน่นอน และดึงศักยภาพของคนคุณภาพในประเทศออกมาให้มากที่สุด และใช้เรื่องใกล้ตัวที่ถนัดในการสร้างรายได้ นั่นคือการมุ่งเป้าหมายการค้า

ที่ชัดเจนไปยังผลิตภัณฑ์และประเทศอิสลามต่างๆ ที่อยู่ทั่วโลก แต่ก็ไม่ได้ละทิ้งการค้าร่วมกันกับประเทศในอาเซียน

ประเทศบรูไน ประเทศเล็กๆ ที่มีกำาลังการซื้อสูงมากประเทศหนึ่งในประชาคมอาเซียน

ประเทศบรูไน ประเทศเล็กๆ ที่มีกำาลังการซื้อสูงมากประเทศหนึ่งในประชาคมอาเซียน

ประเทศเล็กๆในทะเลจีนใต้บนเกาะบอร์เนียวที่มีชื่อว่าประเทศบรูไน หรือ เนการาบรูไนดารุสซาลาม ที่เคยมีความยิ่งใหญ่ และเป็นเมืองขึ้นของประเทศ

ฝั่งยุโรปมาก่อน และได้รับเอกราชเมื่อปี 2527 ไม่นานมานี่เอง หนึ่งในประเทศในกลุ่มอาเซียนที่อาจจะถูกมองจากสายตาประเทศอื่นๆว่าเป็นเศรษฐีน้ำามัน

และก๊าซธรรมชาติ แต่บรูไนก็ตระหนักว่าทรัพยากรเหล่านี้มีวันหมดไปในอนาคต จะหวังพึ่งพิงเพื่อเป็นรายได้หลักของประเทศคงไม่ยั่งยืนเท่าไหร่ จึงได้

มีการพัฒนาอุตสาหกรรมอื่นจากทรัพยากรธรรมชาติในบรูไนที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ อย่างเช่น ป่าไม้ แร่ทองคำา การประมง และการเกษตร เพราะ

บรูไนมีพื้นที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูกได้เป็นอย่างดี

Page 20: อาเซียน สุดารัตน์

17

ข้อมูลโดยทั่วไปสำาหรับประเทศบรูไนนั้น เป็นประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว ทิศเหนือติกับทะเลจีนใต้ ทิศใต้ ทิศตะวันออก ทิศ

ตะวันตก ติดกับประเทศมาเลเซีย มีพื้นที่เพียง 5,765 ตารางกิโลเมตรแต่มีประชากรเพียงประมาณ 500,000 คนเท่านั้น (ข้อมูลอัพเดทเมื่อปี 2555) มีราย

ได้หลักจากการขุดน้ำามันเพื่อส่งขายไปทั่วโลก สภาพอากาศเป็นแบบร้อนชื้น ฝนตกชุกตลอดทั้งปี มีพื้นที่เป็นภูเขาไฟจำานวนมากในพื้นที่ด้านตะวันออก

ของประเทศ การปกครองของประเทศบรูไนเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สมเด็จพระราชาธิบดีหรือกษัตริย์ทรงเป็นอธิปัตย์ คือ เป็นประมุข นายก

รัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ด้วย และกฎหมายกำาหนดให้ นายกรัฐมนตรีจะต้องเป็นชาวบรูไนเชื้อสาย

มาเลย์โดยกำาเนิด และจะต้องนับถือศาสนาอิสลาม นิกายซุนนีย์เท่านั้น

ข้อได้เปรียบสำาหรับประเทศบรูไนในประชาคมอาเซียนนั้นคือประเทศที่มีกำาลังการซื้อสูงมากจากการค้าขายน้ำามันและก๊าซธรรมชาติมาก่อน และมีความ

ต้องการปัจจัยพื้นฐานหลายอย่างสำาหรับประชาชนภายในประเทศ กำาลังการผลิตอาหารและเครื่องอุปโภคบริโภคค่อนข้างน้อย ยังไม่เพียงพอต่อความ

ต้องการของประชาชน ดังนั้นประเทศเพื่อนสมาชิกในอาเซียนที่สามารถผลิตอาหารหรือเครื่องอุปโภคสามารถนำาเข้าไปขายในบรูไนได้มาก แต่ประเทศ

บรูไนเป็นประเทศที่นับถือศาสนาอิสลามดังนั้นการนำาเข้าอาหารต่างๆจะต้องผ่านการรับรองฮาลาลแล้วเท่านั้นโดยเฉพาะเนื้อสัตว์ และหากต้องการขนส่ง

สินค้าไปบรูไนจะต้องผ่านสิงคโปร์ก่อน เพราะเจ้าของธุรกิจส่วนใหญ่ในบรูไนเป็นคนสิงคโปร์ และการขนส่งสินค้าไปบรูไนนั้นต้องยอมรับเรื่องการกลับ

มาตัวเปล่า เพราะบรูไนไม่ค่อยมีสินค้าส่งออกมากนัก การขนส่งทางเรือจึงต้องคำานึงถึงความเสี่ยงในเรื่องนี้ด้วย

ประเทศพม่า ประเทศที่น่าลงทุนประเทศหนึ่งในประชาคมอาเซียน

ประเทศพม่า ประเทศที่น่าลงทุนประเทศหนึ่งในประชาคมอาเซียน

ประเทศเพื่อนบ้านของไทยที่มีปัญหาเรื่องการเมืองการปกครองมาอย่างยาวนานและเพิ่งจะเริ่มคลี่คลายได้บ้างแล้ว หลังจากโดนคว่ำาบาตรจากนานา

ประเทศในช่วงหลายปีที่ผ่านมาจากเหตุการณ์สงครามกลางเมืองที่มีการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวาง เมื่อมีการเลือกตั้งเกิดขึ้นการเปิด

ประเทศเพื่อรับความช่วยเหลือจากต่างประเทศ และติดต่อทำามาค้าขายการมากขึ้น ทำาให้ประเทศพม่าสามารถเดินหน้าต่อไปได้ ด้วยความสมบูรณ์ของ

ทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ทั้งทางบก และทางทะเล แหล่งแร่ธาตุต่างๆที่สามารถขุดขึ้นมาเพื่อจำาหน่าย หรือเป็นแหล่งวัสดุสำาหรับอุตสาหกรรมที่

จะไปลงทุนภายในประเทศ

Page 21: อาเซียน สุดารัตน์

18

เนื่องจากพม่าอยู่ภายใต้ภาวะสงครามเย็นมาหลายปี ทำาให้การพัฒนาประเทศในด้านต่างไม่ค่อยสูงเท่าใดนัก สาธารณูปโภคพื้นฐานต่างๆก็ยังด้อย ทั้งถนน

หนทาง ไฟฟ้า ประปา หรือสิ่งอำานวยความสะดวกในชีวิตประจำาวัน และความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ยังคงต้องการไม่เพียงพอ สินค้าที่นำาเข้ามา

จากประเทศไทยเป็นหลัก และรัฐฯพยายามที่จะผลักดันนโยบายส่งเสริมการลงทุนเพิ่มขึ้น เพื่อให้สามารถพัฒนาให้ทัดเทียมกับนานาประเทศในอาเซียน

ได้อย่างเต็มภาคภูมิ และก่อให้เกิดการลงทุนในเรื่องพื้นฐานเหล่านี้ได้ ทั้งธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสาธารณูปโภคพื้นฐานมีโอกาสที่จะเข้าไปลงทุนในประเทศ

พม่าได้ อย่างเช่น ธุรกิจก่อสร้าง ธุรกิจไฟฟ้า และโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ เป็นต้น

ความได้เปรียบอย่างหนึ่งของพม่าก็คือแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างล้นเหลือโดยที่ยังไม่ถูกค้นพบและยังไม่ถูกนำาไปใช้งานในด้านต่างๆที่เป็น

ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศได้ หากพม่านำาทรัพยากรเหล่านั้นมาเพื่อจำาหน่ายออกไปยังประเทศอื่น หรือขายให้เป็นวัสดุในการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์

อื่นได้ ก็จะสามารนำาเงินนั้นมาพัฒนาประเทศได้ ทั้งเรื่องปัจจัยพื้นฐาน ความเป็นอยู่ รายได้ของประชาชนในประเทศ การศึกษาและฝีมือแรงงานที่สามารถ

พัฒนาต่อไป เรียกได้ว่าประเทศสมาชิกในอาเซียนสามารถเข้าไปลงทุนทำากิจการต่างๆในพม่าได้

อีกความได้เปรียบของพม่าก็คือมีสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงามติดระดับโลกที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวและเม็ดเงินจำานวนมหาศาลจากธุรกิจการท่องเที่ยว

ที่สามารถท่องเที่ยวได้ทั่วทั้งประเทศ นอกจากสถานที่ท่องเที่ยวที่สำาคัญแล้ว ยังมีสภาพภูมิประเทศที่สวยงามด้วยป่าไม้และแหล่งธรรมชาติที่สามารถท่อง

เที่ยวได้ด้วย นอกจากนั้นพม่ายังพรมแดนติดกับอินเดียและจีน สามารถเป็นเส้นทางติดต่อค้าขายกับทั้ง 2 ประเทศที่มีจำานวนประชากรมาก และมีความ

ต้องการมากเช่นกัน หากพม่าสามารถสร้างเส้นทางที่ช่วยในการขนส่งสินค้าไปยังทั้ง 2 ประเทศนี้ได้ก็จะสามารสร้างรายได้ให้กับประเทศ และบรรดา

เพื่อนสมาชิกอาเซียนด้วยกัน

แต่มีข้อเสียอยู่นิดเดียวคือประชาชนของพม่ายังด้อยในเรื่องการศึกษาที่ยังไม่ทั่วถึงและแรงงานคุณภาพต่ำา เนื่องจากภาวะสงครามหลายปี ดังนั้นสิ่งที่พม่า

จะต้องทำานอกจากการพัฒนาเศรษฐกิจแล้วก็คือการศึกษาสำาหรับประชาชน ซึ่งประเทศสมาชิกต่างๆ ในอาเซียนรวมทั้งไทยได้สนับสนุนเรื่องการศึกษา

ด้วย เช่น ให้ทุนการศึกษากับนักเรียนชาวพม่าที่เรียนดีแต่ยากจน เป็นต้น เมื่อประชาชนได้รับการศึกษาที่มากขึ้น ประเทศพม่าก็มีศักยภาพที่จะแข่งขันกับ

ประเทศอื่นได้เช่นกัน

การพัฒนาภายในประเทศนั้นรัฐบาลเล็งเห็นถึงความสำาคัญในเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้วยการสนับสนุนให้ประชาชนได้มีการลงทุนภายในประเทศใน

กิจการหลายอย่างที่รัฐให้การสนับสนุนทั้งเรื่องเงินทุน และวิทยาการศึกษาในธุรกิจนั้นๆ โดยเฉพาะการเกษตรและการเพาะปลูกพืชต่างๆที่สามารถนำามาบ

ริโภคภายในประเทศและสามารถส่งเสริมให้ส่งออกได้ด้วย จะได้ลดการพึ่งพาสินค้าจากการนำาเข้า

ประเทศสิงคโปร์ เถ้าแก่รายใหญ่ของอาเซียน

ประเทศที่เรียกได้ว่ามีความมั่งคั่งที่สุดประเทศหนึ่งในเอเชียก็ว่าได้ “สาธารณรัฐสิงคโปร์” ประชากรมีความรู้สูง และมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าประเทศสมาชิก

อื่นในกลุ่มประเทศอาเซียน เพราะด้วยพื้นที่ขนาดเล็ก และประชากรจำาหนวนไม่มากนัก สามารถทำาให้รัฐฯสามารถบริหารงานจัดการ พัฒนาความสามารถ

ความรู้ และดูแลความเป็นอยู่ของประชาชนได้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพที่ดีได้

สาธารณรัฐสิงคโปร์ถือเป็นประเทศที่เล็ก ตั้งอยู่ตอนใต้ของคาบสมุทรมาเล ไม่มีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติมากเหมือนประเทศอื่นในกลุ่มประเทศอาเซียน

เพราะเป็นเกาะ แต่มีฐานะทางเศรษฐกิจที่ดีมาก สิงคโปร์พัฒนาเศรษฐกิจด้านการค้ามากกว่าด้านอื่นๆโดยทำาหน้าที่เป็นเหมือนประเทศพ่อค้าคนกลาง

ในการขายสินค้าในหมู่ประเทศสมาชิก และประเทศอื่นๆทั่วโลก ความได้เปรียบสำาหรับการค้าขายของสิงคโปร์นั้นอยู่ที่ท่าเรือขนส่งสินค้าที่เป็นท่าเรือ

ที่ปลอดภาษี ทำาให้สินค้าที่ผ่านทางสิงคโปร์มีราคาถูก และมีท่าเรือน้ำาลึกขนาดใหญ่มีความทันสมัยที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง และนอกจากนั้นยังการไป

ลงทุนในต่างประเทศโดยคนสิงคโปร์ในประเทศไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชาและพม่า ฯลฯ

การเพาะปลูกพืชในสิงคโปร์นั้นทำาได้น้อยเพราะมีพื้นในการเกษตรน้อย สิงคโปร์จะนำาพื้นที่ไปพัฒนาเพื่อสร้างมูลค่ามากกว่านั้นโดยนำาไปสร้างที่อยู่

สำาหรับพักอาศัย อาคารสำานักงาน หรืออื่นๆ ดังนั้นการนำาเข้าสินค้าเพื่อการบริโภคภายในประเทศจึงมีมากกว่าที่จะผลิตขึ้นมา แรงงานในภาคการใช้แรงงา

นั้นสิงคโปร์นิยมจ้างงานจากแรงงานในประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซีย ไทย เป็นต้น เพราะได้แรงงานที่มีค่าจ้างที่ถูกกว่าคนในประเทศ

Page 22: อาเซียน สุดารัตน์

19

นอกจากความมั่งคั่งในการค้าขายของสิงคโปร์แล้วสถานที่ท่องเที่ยวในสิงคโปร์นั้นไม่ค่อยมีต้นทุนในเรื่องสถานที่ต่างๆที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเท่าไหร่

นัก ส่วนมากสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆมักถูกสร้างขึ้นมาให้มีความสวยงามตระการตา อย่างเช่น ใครที่ไปเที่ยวสิงคโปร์ก็ต้องไปถ่ายรูปบริเวณ Marina Bay

ปากแม่น้ำาสิงคโปร์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของ Merlion (รูปปั้นสิงโตที่มีหางเป็นปลา พ่นน้ำาออกจากปาก) , อาคารโรงละคร Esplanade ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมสมัย

ใหม่, สถานที่ท่องเที่ยวยามค่ำา บริเวณพื้นที่ริมน้ำา ได้แก่ Clarke Quay, Boat Quay, ย่านไชน่าทาวน์ (China Town) , ย่าน Little India, ย่านช้อปปิ้ง บนถนน

Orchard ซึ่งสถานที่เหล่านี้ล้วนเนรมิตขึ้นมาหลังสิงคโปร์ประสบความสำาเร็จในด้านเศรษฐกิจการเป็นพ่อค้าคนกลาง และแท่นขุดเจาะน้ำามันที่ใหญ่ที่สุด

เป็นอันดับ 2 ของโลก

สิงคโปร์คือแหล่งเงินลงทุนของกลุ่มประเทศอาเซียนเพราะเป็นแระเทศที่ร่ำารวยประเทศหนึ่งของอาเซียน ดังนั้นเมื่อเกิดการส่งเสริมให้ลงทุนขึ้นระหว่าง

ประเทศสมาชิกต่างๆแล้ว เชื่อว่าเม็ดเงินลงทุนจะไหลออกจากสิงคโปร์ไปสู่ประเทศที่มีทรัพยากรต่างๆอย่างอุดมสมบูรณ์มากอย่างเช่น ประเทศไทย สปป.

ลาว กัมพูชา และพม่า เป็นต้น มากขึ้นอย่างแน่นอน และเชื่อว่าการร่วมมือกันครั้งนี้ย่อมทำาให้รัฐฯของแต่ละประเทศออกมาตรการส่งเสริมการลงทุนอย่าง

แน่นอนไม่ว่าจะเป็นเรื่องภาษีหรือลดขั้นตอนที่ยุ่งยากในการลงทุนสำาหรับบรรดาประเทศสมาชิกอาเซียนด้วยกัน

ประเทศกัมพูชาการพัฒนาที่ก้าวกระโดดหนึ่งในสมาชิก AECประเทศกัมพูชาได้เปิดประเทศเมื่อไม่นานมานี้เองเพื่อเปิดรับผู้คนจากทั่วโลกให้สามารถเข้ามากิจกรรม กิจการ หรือลงทุนภายในประเทศได้มากขึ้น หลัง

จากภาวะสงครามเย็นเป็นเวลาหลายสิบปีทำาให้ประเทศหยุดชะงักทางด้านเศรษฐกิจ เมื่อเปิดประเทศขึ้นอีกครั้ง กัมพูชาได้พัฒนาเศรษฐกิจขึ้นอย่างรวดเร็ว

จากหลายๆด้านทั้งทางการท่องเที่ยวที่กัมพูชามีโบราณสถานหลายแห่งที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกและนำานักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวมากมายใน

แต่ละปี สามารถมีเงินหมุนเวียนมากมายจากธุรกิจการท่องเที่ยวสถานที่ท่องเที่ยวที่สำาคัญอย่างเช่น โตนเลสาบ ซึ่งเป็นทะเลสาบน้ำาจืดที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย

มีพื้นที่กว้างถึงประมาณ 10,000 ตารางกิโลเมตร ที่มีความหลากหลายของพันธุ์พืชและสัตว์เขตร้อน สามารถมาท่องเที่ยวเพื่อศึกษาระบบนิเวศน์เขตร้อน

ที่ยังอุดมสมบูรณ์ หรือความเป็นอยู่ของชาวท้องถิ่นที่อาศัยอยู่บนแพ มีอาชีพหาปลา จับสัตว์น้ำาขายเป็นอาชีพด้วย ตั้งอยู่ใจกลางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของ

ประเทศ เป็นต้น

Page 23: อาเซียน สุดารัตน์

20

ด้านธุรกิจก่อสร้างที่สามารถสร้างการจ้างงานให้เกิดขึ้นอย่างมากภายในประเทศ เพราะเมื่อเริ่มพัฒนาประเทศสิ่งสำาคัญอย่างหนึ่งที่จำาเป็นต้องมีการ

ก่อสร้างนั้นก็คือ สาธารณูปโภคต่างๆที่จำาเป็นในประเทศทั้งไฟฟ้า น้ำาประปา ถนนหนทาง ทีต้องการอย่างมากทำาให้เกิดการจ้างงานภายในประเทศมาก

ขึ้นด้วย ประชาชนกัมพูชานิยมเดินทางมาทำางานก่อสร้างในประเทศไทยทั้งที่ถูกกฎหมายและลักลอบเข้ามา เพราะนอกจากได้ค่าจ้างแรงงานที่แพงกว่า ยัง

สามารถมีชีวิตและทำางานในประเทศไทยได้อย่างค่อนข้างเสรี แต่อีกไม่นานแรงงานก่อสร้างเหล่าก็คงเดินทางกลับไปทำางานในประเทศอย่างแน่นอน หาก

ในประเทศมีการจ้างงานที่มากขึ้น

เมื่อมีการพัฒนาหลายด้านเพิ่มมากขึ้น การค้นพบแหล่งทรัพยากรที่มีค่าอย่างนำามันในน่านน้ำาของกัมพูชา จะสามารถนำาเงินที่ได้จากการขายน้ำามันมา

พัฒนาความเจริญภายในประเทศต่อไป และเกิดมูลค่าเพิ่มทางด้านเศรษฐกิจอย่างแน่นอน การเดินทางติดต่อกับกัมพูชาสามารถทำาได้หลายหลายเส้นทาง

ทั้งทางบกที่ผ่านประเทศไทย สนามบินนานาชาติที่สามารถบินตรงถึงกัมพูชา และมีสายการบินเริ่มให้ความสนใจลงทุนเปิดบริการในกัมพูชาด้วย ส่วน

ทางทะเลนั้นมีความสะดวกมาก เพราะกัมพูชามีพื้นที่ของประเทศที่ติดทะเลอ่าวไทยด้วย

ประเทศกัมพูชายังอยู่ในรอยต่อของการพัฒนาปัจจัยพื้นฐานต่างทางด้านเศรษฐกิจ สาธารณูปโภคที่จำาเป็นสำาหรับคนในประเทศและมีความสำาคัญสำาหรับ

การพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการเข้าไปสนับสนุนและลงทุนในปัจจัยพื้นฐานย่อมสามารสร้างเงินได้ด้วย และการท่องเที่ยวก็ถือเป็นการลงทุนที่

น่าสนใจจากต้นทุนสถานที่สำาคัญที่มีอยู่แล้วภายในประเทศโดยไม่ต้องสร้างขึ้นมา แต่กัมพูชายังมีการเมืองที่ไม่มั่นคงและการเงินที่ไม่แน่นอนสำาหรับการ

กู้ยืมซักเท่าไหร่ ดังนั้นการลงทุนในกัมพูชาต้องอาศัยเงินจากภายนอก

ประเทศลาวหนึ่งในสมาชิกอาเซียน

ประเทศลาวเป็นประเทศที่อยู่ในอาเซียนถือเป็นประเทศที่มีความสำาคัญประเทศหนึ่งต่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของภูมิภาค

อาเซียนนี้ เป็นประเทศที่อุดมไปด้วยความสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติมากมาย สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเขื่อนหลายแห่งในประเทศเพื่อส่ง

จำาหน่ายไปยังประเทศเพื่อนบ้านอย่างประเทศไทยที่รับซื้อพลังงานไฟฟ้าบางส่วนจากประเทศลาวด้วย หรือทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างมากสามารถนำา

มาเป็นวัสดุในการผลิตอุสาหกรรมหลากหลายประเภทในอนาคตได้ด้วย แถมยังเป็นประเทศที่มีค่าจ้างแรงงานราคาถูก ดังนั้นจึงมีนักลงทุนเข้ามาลงทุนใน

ทรัพยากรที่มีอยู่กับแรงงานราคาถูกด้วยครับ

Page 24: อาเซียน สุดารัตน์

21

วันนี้เรามารู้จักประเทศลาว หรือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หรือ สปป.ลาว กันอีกนิดหนึ่งครับ จะได้รับรู้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับประเทศ

เพื่อนบ้านของเราประเทศนี้กันมากขึ้น

• มีพื้นที่ติดกับประเทศจีน พม่า ไทย เวียดนาม และกัมพูชา โดยเฉพาะกับในเขตแดนที่ติดกับประเทศจีนคือตลาดใหญ่ที่สามารถส่งออกสินค้าไปขายได้

ทางแม่น้ำาโขงและจุดผ่านแดนอื่นๆ

• ประเทศลาวเป็น 1ใน 10 ประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก ดังนั้นจึงมีความช่วยเหลือต่างๆมากมายจากต่างประเทศ ทั้งเรื่องเงินทุน การศึกษา และสิทธิพิเศษ

อื่นๆจากประเทศอื่นทั่วโลกที่พยายามช่วยเหลือ สปป.ลาว ให้มีเศรษฐกิจที่ดีขึ้น

• พื้นที่โดยส่วนใหญ่ของลาวเป็นที่ราบสูง และเป็นมีความสวยงามทางธรรมชาติ เหมาะสำาหรับการท่องเที่ยวพักผ่อน เที่ยวชมความงามตามธรรมชาติ

• ประเทศลาวสามารถส่งสินค้าไปขายในสหรัฐอเมริกาได้ในอัตราการเสียภาษีนำาเข้าเพียงร้อยละ 0.8 สำาหรับสินค้าสิ่งทอหรือผ้าไหม

• คนลาวมีความรู้เรื่องภาษาที่หลากหลายเพราะได้รับการสนับสนุนเรื่องทุนการศึกษาจากประเทศต่างๆมากมาย มาช่วยเหลือและสนับสนุนการศึกษาให้

กับประชาชนชาวลาวได้ยกระดับความรู้ความสามารถต่างๆเพิ่มขึ้น เพื่อส่งเสริมให้นำาความรู้นั้นไปพัฒนาประเทศต่อไป

แม้ว่าจะมีข้อดีมากโข แต่ก็มีข้อเสียเปรียบอยู่บ้างแต่สามารปรับปรุงได้ในอนาคตที่ความร่วมมืออาเซียนที่กำาลังจะมาถึง อย่างเช่น ประเทศลาวไม่มี

พรมแดนติดกับทะเลเลย ดังนั้นการเดินทางหรือส่งสินค้าออกทางทะเลจึงมีความลำาบากจะต้องส่งผ่านแดนประเทศกัมพูชาและเวียดนามทางแม่น้ำาโขง แต่

ในอนาคตอาจจะสามารถเดินทางได้สะดวกยิ่งขึ้นกว่านี้ก็เป็นไปครับ และภูมิประเทศของประเทศลาวนั้นส่วนมากเป็นที่ราบสูง มีภูเขาสลับซับซ้อนมาก

ทำาให้บางครั้งการเพาะปลูกพืชพันธุ์ต่างๆค่อนข้างมีความลำาบากในการขนส่งผลผลิตลงมา แต่ประเทศลาวมีพรมดินที่ติดกับประเทศจีนที่เป็นเส้นทางการ

ค้าสำาคัญ เพราะจีนคือตลาดใหญ่ที่สามารถส่งสินค้าต่างๆผ่านทาง สปป.ลาว นี้ได้ และแน่นอนครับว่า สปป.ลาว ต้องการที่จะเป็นสมาชิกในกลุ่มอาเซียนที่

มีจุดเด่นหลายๆอย่างได้ และเอื้อประโยชน์ต่อเพื่อนสมาชิกได้.

Page 25: อาเซียน สุดารัตน์

22

Page 26: อาเซียน สุดารัตน์

23

ภาษาอาเซียน 10 ประเทศมีอะไรบ้าง ภาษาที่ใช้ในประเทศอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ มีมากมายเป็นหลายร้อยภาษา แต่ก็คือที่เราพอจะรู้จักร ก็คือ ภาษาราชการ และภาษาที่ใช้เป็นหลักของ

ประเทศ เนื่องจากบางประเทศมีประชากรหลายเชื้อชาติ และรัฐบาลให้ความสำาคัญต่อทุกเชื้อชาติ จึงกำาหนดภาษาราชการไว้มากกว่า 1 ภาษา เช่น สิงค์โปร์

หรือบางประเทศเคยตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ ก็ใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารในชีวิตประจำาวันด้วย เช่น สิงค์โปร์ มาเลเซีย เป็นต้น ด้วยเหตุผลดังกล่าว เรา

พอจะสรุปภาษาต่างๆ ที่ใช้กันในแต่ละประเทศดังนี้

1. ภาษาอังกฤษ = ประเทศสิงคโปร์, ประเทศมาเลเซีย และ กำาหนดให้เป็นภาษากลางของอาเซียน สำาหรับการติดต่อระหว่างกัน

2. ภาษาไทย = ประเทศไทย

3. ภาษาลาว = ประเทศลาว

4. ภาษาเขมร = ประเทศกัมพูชา

5. ภาษาเวียดนาม = ประเทศเวียดนาม

6. ภาษามลายู = ประเทศสิงคโปร์, ประเทศมาเลเซีย, ประเทศบรูไน

7. ภาษาจีนกลาง = ประเทศสิงคโปร์, ประเทศมาเลเซีย

8. ภาษาทมิฬ = ประเทศสิงคโปร์, ประเทศมาเลเซีย

9. ภาษาอินโดนีเซีย = ประเทศอินโดนีเซีย

10. ภาษาเมียนมาร์ (พม่า) = ประเทศเมียนมาร์

11. ภาษาฟิลิปิโน (ตากาล็อก) = ประเทศฟิลิปปินส์

ภาษาที่เราคุ้นเคยที่สุดคือ ภาษาลาว เนื่องจากเป็นภาษาในตระกูลไท – กะไดเหมือนกับ ภาษาไทย มีระบบการเขียนการอ่านคล้ายกัน สำาเนียงก็คล้าย

กับภาษาถิ่นอีสานของไทย เพียงแต่ใช้คำาศัพท์แตกต่างกัน อีกภาษาที่คุ้นเคยกันก็คือ ภาษาจีนกลาง เพราะคนไทยก็มีเชื้อสายจีนจำานวนมาก และสถาบัน

การเรียนการสอนของไทย ก็เปิดสอนภาษาจีนกลางกันแพร่หลาย ส่วนภาษาที่ใช้กันมากที่สุดในอาเซียนเมื่อนับจากจำานวนผู้ใช้ คงหนีไม่พ้น ภาษามลายู

(Bahasa Melayu) เพราะใช้กันทั้งในมาเลเซีย สิงคโปร์ บรูไน และอินโดนีเซีย ซึ่งเรียกชื่อให้แตกต่างออกไปว่า ภาษาอินโดนีเซีย (Bahasa Indonesia)

สำาหรับภาษาหนึ่งที่เราไม่ค่อยคุ้นหูคงจะเป็น ภาษาทมิฬ (Tamil) ภาษานี้เป็นภาษาตระกูลดราวิเดียน ใช้กันมากในอินเดียตอนล่างและศรีลังกา จาก

การอพยพในสมัยอาณานิคม ทำาให้ผู้คนและภาษากระจายเข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลายประเทศ เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ เมียนมาร์

เวียดนาม รวมทั้งไทยด้วย แต่ภาษานี้ใช้กันมากในกลุ่มของคนเชื้อชาติอินเดียของสิงคโปร์และมาเลเซีย อย่างคำาว่า กะกรี่(แกง) ยี่หร่า สาเก ในภาษาไทย ก็

เป็นคำาที่มีรากศัพท์มาจากภาษาทมิฬ

ส่วน ภาษาเวียดนาม และ ภาษาเขมร จัดอยู่ในตระกูลออสโตร-เอเชียติก ที่เชื่อกันว่าเป็นภาษาดั้งเดิมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอินเดียตะวันออก

แม้เราจะไม่คุ้นเคยกับสำาเนียงภาษาเขมรเท่าภาษาลาว แต่ในอดีตเราก็รับคำายืมมาจากภาษาเขมรมากมาย เช่น บรรทม เสวย บำาเพ็ญ เป็นต้น สำาหรับภาษา

เมียนมาร์ หรือ พม่าเป็นภาษาในกลุ่มภาษาย่อย ทิเบต-พม่า การเข้ามาของแรงงานต่างด้าวเมียนมาร์ในปัจจุบัน คงจะทำาให้เราคุ้นเคยกับภาษามากขึ้น ส่วน

ภาษาฟิลิปิโน หรือ ภาษาตากาล็อก จะมีความแตกต่างกับภาษาอาเซียนชาติอื่นอย่างชัดเจน เนื่องจากภูมิประเทศเป็นเกาะ ตั้งอยู่ห่างจากประเทศอื่น และได้

รับอิทธิพลจาก ภาษาของเจ้าอาณานิคมอย่างสเปนค่อนข้างมา

Page 27: อาเซียน สุดารัตน์

24

ตราแผ่นดินของกัมพูชา

เป็นรูปฉลองพระองค์ครุยคลุมพานแว่นฟ้า

อัญเชิญพระแสงขรรค์และเครื่องหมายอุณาโลมภายใต้พระมหามงกุฎเปล่งรัศมี

มีลายช่อต่อออกมาจากกรรเจียกจรทั้งสองข้าง รูปดังกล่าวอยู่เหนือรูปดาราของ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งกัมพูชา (Royal Order of Cambodia) และมีรูปลายก้านขดอยู่ใต้รูปฉลองพระองค์ครุยอีกชั้นหนึ่ง ถัดมาทางด้านข้างทั้ง 2 ด้าน

ขนาบด้วยรูปฉัตร 5 ชั้น

โดยคชสีห์ทางด้านซ้าย และด้านขวา เบื้องล่างสุดของรูปทั้งหมดเป็นแพรแถบแสดงข้อความว่า "พระเจ้ากรุงกัมพูชา" ด้วยอักษรเขมรแบบอักษรมูล

รัศมีที่เปล่งออกมาจากพระมหามงกุฎ หมายถึง ความเจริญรุ่งเรืองแห่งอารยธรรมเขมร

ฉัตร 5 ชั้นทั้งสองคัน หมายถึง พระมหากษัตริย์และสมเด็จพระราชินี

พระแสงขรรค์ หมายถึง พระราชอำานาจและความยุติธรรม

ราชสิห์และคชสีห์ หมายถึง ปวงชนชาวกัมพูชาผู้ค้ำาจุนราชบัลลังก์

ตราแผ่นดินในประเทศสมาชิกอาเซียน

Page 28: อาเซียน สุดารัตน์

25

ตราแผ่นดินของฟิลิปปินส์ (Coat of Arms of the Philippines)

มีลักษณะเป็นพระอาทิตย์มีรัศมีแปดแฉกซึ่งแสดงถึงจังหวัดทั้งแปด (บาตัน

กัส บูลาจัน กาวิเต มะนิลา ลากูนา นูเอวา เอจิยา ปัมปางาและตาร์ลัก)

ซึ่งอยู่ภายใต้กฏอัยการศึกระหว่างการปฏิวัติฟิลิปปินส์และดาวห้าแฉก

สามดวงแสดงถึงเขตทางภูมิศาสตร์หลักสามแห่ง คือ ลูซอน วิซายา และ

มินดาเนา

พื้นสีน้ำาเงินทางด้านซ้ายมีนกอินทรีของสหรัฐอเมริกา

และพื้นสีแดงทางด้านขวามีสิงโตของสเปน ซึ่งแสดงถึงประวัติศาสตร์ใน

การเป็นอาณานิคม การออกแบบนี้คล้ายกับการออกแบบโดยเครือรัฐแห่ง

ฟิลิปปินส์เมื่อ พ.ศ. 2483

คำาที่อยู่ในผ้าแถบมีการเปลี่ยนแปลงไป ตั้งแต่ฟิลิปปินส์ได้รับเอกราช จาก

การได้รับเอกราชเมื่อ พ.ศ. 2489 – 2515 จนถึงเฟอร์ดินาน มาร์กอสประกาศ

กฎอัยการศึก

ผ้าแถบมีคำาว่า "REPUBLIC OF THE PHILIPPINES." จาก พ.ศ. 2522 จนถึง

การสิ้นสุดอำานาจของมาร์กอสเมื่อ พ.ศ. 2529 ในผ้าแถบมีคำาว่า "ISANG

BANSA ISANG DIWA"

(หนึ่งชาติ หนึ่งสปิริต) เมื่อมาร์กอสสิ้นสุดอำานาจลง ในผ้าแถบเปลี่ยนไปใช้

คำาว่า "REPUBLIKA NG PILIPINAS" ใน พ.ศ. 2541

รูปนกอินทรีและสิงโตถูกตัดออกไป แต่ตราที่ถูกดัดแปลงนี้ไม่ได้ใช้อย่าง

แพร่หลาย

ตราแผ่นดินของมาเลเซีย (มาเลย์: Jata Negara)ประกอบด้วยส่วนหลักๆห้าส่วนคือ โล่ เสือโคร่งสองตัว พระจันทร์เสี้ยวสีเหลือง และดาวสีเหลือง 14 แฉก และแถบผ้า ตราแผ่นดินของมาเลเซียนี้สืบทอด

มาจากตราแผ่นดินสหพันธรัฐมาลายาระหว่างที่เป็นอาณานิคมของอังกฤษ ตราในปัจจุบันจึงมีอิทธิพลของตราแบบตะวันตกอยู่มาก เครื่องยอดประกอบ

ด้วยรูปจันทร์เสี้ยวและดาว14แฉกซึ่งเรียกว่า"ดาราสหพันธ์"("Bintang Persekutuan") ทั้งสองรูปนี้เป็นสีเหลือง หมายถึงยังดี เปอร์ตวน อากง กษัตริย์ผู้เป็น

องค์อธิปัตย์ของสหพันธรัฐ นอกจากนี้รูปจันทร์เสี้ยวยังหมายถึงศาสนาอิสลามอันเป็นศาสนาประจำาชาติอย่างเป็นทางการ ส่วนดาราสหพันธ์หมายถึงรัฐ

ทั้ง 13 รัฐของสหพันธ์และดินแดนของรัฐบาลสหพันธรัฐ

เดิมรูปดาว 14 แฉกนั้นใช้เป็นสัญลักษณ์แทนรัฐที่รวมเป็นประเทศมาเลเซียเมื่อแรกก่อตั้ง 14 รัฐ ซึ่งมีสิงคโปร์รวมอยู่ด้วย

ต่อมาเมื่อสิงคโปร์แยกตัวจากสหพันธรัฐ รูปดาว 14 แฉกนี้ก็มิได้มีการแก้ไข แต่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่าดาวดังกล่าวได้รวมความหมายถึงดินแดนของ

สหพันธรัฐที่มีอยู่แทน รูปโล่ในตราอาร์มนี้เป็นสัญลักษณ์แทนการรวมเป็นเอกภาพของรัฐต่างๆ ภายใต้สหพันธรัฐของชาวมาเลย์ ภายในโล่แบ่งพื้นที่

อย่างคร่าวๆ ออกเป็น 3 ส่วน ตามแนวนอนสิบส่วนดังนี้ส่วนบนสุดหรือส่วนหัวของโล่ บรรจุภาพกริช 5 เล่มบนพื้นสีแดง หมายถึง อดีตรัฐมลายูที่อยู่นอก

สหพันธรัฐมาลายา 5 รัฐ ได้แก่ รัฐยะโฮร์ รัฐตรังกานู รัฐกลันตัน รัฐเกดะห์ (ไทรบุรี) และรัฐปะลิส ส่วนกลางโล่ ทางซ้ายสุด เป็นรูปต้นปาล์มปีนังอยู่เหนือ

Page 29: อาเซียน สุดารัตน์

26

แพรประดับสีฟ้า-ขาว หมายถึง รัฐปีนัง ถัดมาตรงกลางเป็นแถวช่องสี่เหลี่ยม

ผืนผ้า 4 แถวประกอบด้วยสีของธงชาติ สหพันธรัฐมาลายา ได้แก่ สีแดง

สีดำา สีขาว และสีเหลือง เรียงจากซ้ายไปขวา สีเหล่านี้เป็นสีที่ใช้ประกอบใน

ธงประจำารัฐสมาชิกในสหพันธรัฐมาลายา ได้แก่ รัฐเนกรีเซมบิลัน (แดง-ดำา-

เหลือง). รัฐปาหัง

(ดำา-ขาว), รัฐเประ (ขาว-เหลือง) และรัฐสลังงอร์ (แดง-เหลือง) ทางขวา

สุด เป็นรูปต้นมะขามป้อม (Indian gooseberry) อันเป็นสัญลักษณ์ของรัฐ

มะละกา ส่วนล่างหรือท้องโล่ แบ่งออกเป็นสามช่อง ทางซ้ายสุด เป็นรูปตรา

อาร์มประจำารัฐซาบาห์ (ก่อตั้งเมื่อพ.ศ. 2506) ตรงกลางเป็นรูปดอกชบาซึ่ง

เป็นดอกไม้ประจำาชาติ ทางขวาสุด เป็นรูปตราอาร์มประจำารัฐซาราวัก รูปเสือ

โคร่งท่ายืนผงาดที่ประคองสองข้างของตราเป็นสัญลักษณ์ตามธรรมเนียมเดิม

ของชาวมลายู หมายถึง กำาลังและความกล้า รูปดังกล่าวนี้มีที่มาจากตราเดิม

ของรัฐแห่งสหพันธ์มาลายา (Federated Malay States) และสหพันธรัฐมาลา

ยา (Federation of Malaya) คำาขวัญประจำาดวงตราอยู่ในตำาแหน่งล่างสุดของ

โล่ ประกอบด้วยแพรแถบและข้อความ "Bersekutu Bertambah Mutu"

อันมีความหมายว่า "ความเป็นเอกภาพคือพลัง" ข้อความนี้เป็นภาษามลายู

เขียนด้วยอักษรโรมันและอักษรยาวี ข้อความที่เป็นอักษรโรมันนี้ได้ถูกนำามา

แทนที่ข้อความเดิมซึ่งเป็นภาษาอังกฤษ ("Unity is Strength") ภายหลังจาก

การประกาศเอกราชระยะหนึ่ง

ตราแผ่นดินของเวียดนาม (Coat of arms of Viet Nam)

มีรูปแบบเช่นเดียวกับประเทศคอมมิวนิสต์อื่นๆ มีรูปดาวสีเหลืองบนพื้นสี

แดง มีรูปเฟืองและรวงข้าว หมายถึง ความร่วมมือกันระหว่างแรงงานภาค

เกษตรกรรมและอุตสาหกรรม

ตามแนวคิดแบบคอมมิวนิสต์ มีลักษณะคล้ายตราแผ่นดินของเยอรมัน

ตะวันออก และตราแผ่นดินของจีน ซึ่งถูกนำามาสร้างเป็นตราแผ่นดินของ

เวียดนามเหนือเมื่อ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498

เมื่อรวมชาติกับเวียดนามใต้แล้ว จึงนำามาใช้เป็นตราแผ่นดินเวียดนามเมื่อ 2

กรกฎาคม พ.ศ. 2519

ตราแผ่นดินของไทย คือตราพระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์ เทพพาหนะของพระนารายณ์ ใช้เป็น

สัญลักษณ์ของพระราชอำานาจแห่งพระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขของชาติ

และเป็นองค์อวตารของพระนารายณ์ตามแนวคิดสมมุติเทพ โดยเริ่มใช้มาตั้งแต่

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดั้งแต่หลัง พ.ศ. 2436 เป็นต้น

มา

แต่มาใช้อย่างเต็มที่แทนตราแผ่นดินเดิมทั้งหมดเมื่อ พ.ศ. 2453

Page 30: อาเซียน สุดารัตน์

27

ตราแผ่นดินของบรูไน ใช้เครื่องหมายอย่างเดียวกับที่ปรากฏในธงชาติบรูไน เริ่มใช้เมื่อพ.ศ. 2475

ประกอบด้วยสัญลักษณ์ 5 อย่าง คือ

ราชธวัช (ธง) พระกลด (ร่ม) ปีกนก 4 ขน มือสองข้าง และซีกวงเดือนหรือ

พระจันทร์เสี้ยว ภายในวงเดือนซึ่งหงายขึ้นนั้น มีข้อความภาษาอาหรับจารึก

ไว้ ซึ่งแปลความได้ว่า "น้อมรับใช้ตามแนวทางของพระอัลเลาะห์เสมอ"

("Always in service with God's guidance") เบื้องล่างสุดมีแพรแถบจารึกชื่อ

ประเทศไว้ว่า บรูไนดารุสซาลาม แปลว่า

นครแห่งสันติ ราชธวัช (Bendera) และพระกลด (Payang Ubor-Ubor) หมาย

ถึง สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งบรูไนดารุสซาลาม (ของทั้งสองสิ่งนี้ นับเป็น

เครื่องราชกกุธภัณฑ์ตามคติบรูไน)

ปีกนก 4 ขน (Sayap) หมายถึง การพิทักษ์ความยุติธรรม ความสงบ ความ

เจริญ และสันติสุขของชาติ มือสองข้างที่ชูขึ้น (Tangan หรือ Kimhap) หมาย

ถึง หน้าที่ของรัฐบาลที่จะยกระดับความมั่งคั่ง สันติสุข และความวัฒนาถาวร

ให้เจริญรุ่งเรืองสืบไป ซีกวงเดือนหงาย (Bulan) หมายถึง ศาสนาอิสลาม อัน

เป็นศาสนาประจำาชาต ิ

ตราแผ่นดินของสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า เป็นเครื่องหมายราชการของรัฐบาลสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า ใช้ประทับในเอกสารของทางราชการทุกชนิด รวมถึงการตีพิมพ์ในเอกสารสำาหรับเผย

แพร่

แบบตราดังที่ปรากฏในปัจจุบันนี้เป็นลักษณะตามที่ปรากฏในหมวดที่ 8 ของรัฐธรรมนูญสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า ซึ่งได้รับการรับรองด้วยการลง

ประชามติในปี พ.ศ. 2551

ลักษณะของดวงตราประกอบด้วยรูปสิงห์แบบศิลปะพม่า จำานวน 2 ตน อยู่ในท่านั่งรักษาการณ์ หันหลังให้ ซึ่งกันและกัน ที่กลางตรานั้นมีภาพของแผนที่

ประเทศพม่ารองรับด้วยช่อใบมะกอกคู่ ล้อมรอบด้วยลวดลายบุปผชาติตามแบบศิลปะพม่า ที่บนสุดของดวงตราเป็นรูปดาวห้าแฉกดวงหนึ่ง รูปรองรับ

ด้วยม้วนแพรแถบจารึกนามเต็มของประเทศ

ด้วยใจความ "สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า" นับตั้งแต่สมัยราชาธิปไตยเป็นต้นมา พม่าได้ใช้รูปนกยูงรำาแพนเป็นเครื่องหมายประจำาแผ่นดินมาโดยตลอด

ดังปรากฏในเงินเหรียญรูปีของพม่าและ

ธงของพม่าในสมัยต่างๆ ทั้งในสมัยเป็นเอกราชในยุคราชวงศ์อลองพญา สมัยภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักร และธงของรัฐบาลพม่าภายใต้การ

ควบคุมของญี่ปุ่น

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 หลังได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักรในปี พ.ศ. 2491 ประเทศพม่าได้ใช้รูปตราแผ่นดินอันมีลักษณะคล้ายกับดวงตราที่

ปรากฏในปัจจุบัน

สำาหรับรายละเอียดที่แตกต่างกันประกอบด้วย แพรแถบชื่อประเทศจารึกข้อความว่า "สหภาพพม่า" ตำาแหน่งบนสุดของดวงตรานั้นมีรูปสิงห์นั่งหน้าตรง

อยู่แทนที่รูปดาว

ภาพแผนที่ประเทศพม่ากลางดวงตรานั้นบรรจุอยู่ในวงกลมอีกชั้นหนึ่ง ที่ขอบวงกลมนั้นจารึกคาถาพุทธภาษิตเป็นภาษาบาลี ซึ่งยกมาจากธัมมปทัฏฐกถา

พุทธวัคควัณณนา คาถาที่ 194 ความว่า "สมคฺคานำ ตโป สุโข" อันหมายถึง "ความเพียรของชนผู้พร้อมเพรียงกัน เป็นเหตุนำาสุขมา"

ในสมัยการปกครองแบบสังคมนิยมของนายพลเน วิน รัฐธรรมนูญ

ของพม่าฉบับ ค.ศ. 1974 (พ.ศ. 2517) ได้บัญญัติภาพตราแผ่นดินใหม่ให้มี

ลักษณะในเชิงสังคมนิยมมากขึ้น

โดยมีการแก้รูปแผนที่ประเทศพม่าให้ซ้อนทับบนรูปล้อเฟืองล้อมรอบด้วย

ช่อรวงข้าวคู่ และเปลี่ยนรูปสิงห์นั่งที่อยู่บนสุดให้เป็นรูปดาวห้าแฉก

ส่วนนามประเทศในแพรแถบล่างสุดได้เปลี่ยนเป็นข้อความ "สาธารณรัฐ

สังคมนิยมพม่า"ข้อความดังกล่าวนี้เมื่อคณะทหารได้ทำารัฐประหารและตั้ง

สภาฟื้นฟูกฎหมาย

และระเบียบแห่งรัฐขึ้นในปี พ.ศ. 2531 ข้อความ ซึ่งหมายถึง "สาธารณรัฐ

สังคมนิยม" จึงได้ถูกลบออกไป

Page 31: อาเซียน สุดารัตน์

28

ตราแผ่นดินลาว แบบปัจจุบันเป็นตราของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวที่เริ่มใช้

มาตั้งแต่ พ.ศ. 2534 หลังจากการใช้นโยบายจินตนาการใหม่ มีลักษณะตาม

ที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หมวด

ที่ 10 มาตราที่ 90 ไว้ว่า:- "เครื่องหมายชาติของสาธารณรัฐประชาธิปไตย

ประชาชนลาวเป็นรูปวงกลม ด้านล่างมีรูปครึ่งกงจักรเป็นฟันเฟืองและโบว์

อักษร "สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว" สองข้างล้อมด้วยรวง

ข้าวสุกเป็นรูปวงพระจันทร์และโบว์สีแดงเขียนอักษร "สันติภาพ เอกราช

ประชาธิปไตย เอกภาพ วัฒนาถาวร

ระหว่างกลางของสองปลายรวงข้าวมีรูปพระธาตุหลวง อยู่กลางรูปวงกลมมี

หนทาง ทุ่งนา ป่าไม้ และเขื่อนไฟฟ้าน้ำาตก"

ตราประจำาชาติสิงคโปร์

เริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อปี 2502 เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2502 พร้อมกันกับ

ธงชาติ และเพลงชาติสิงคโปร์ ณ ห้องสาบานตนประธานาธิบดีแห่งสิงค์โปร์

ที่ศาลาว่าการของเมืองสิงคโปร์ซิตี้ ลักษณะของตราแผ่นดิน เป็นรูปสิงโต

และเสือถือโล่สีแดง ซึ่งมีรูปดาวห้าแฉกสีขาว 5 ดวง และพระจันทร์เสี้ยวสี

ขาวซึ่งเป็นสัญลักษณ์ สำาคัญที่ใช้บนธงชาติของสิงคโปร์ เสือเป็นสัญลักษณ์

แสดงถึงความผูกพันทางประวัติศาสตร์กับประเทศมาเลเชีย และสิงโตเป็น

สัญลักษณ์แสดงถึงสิงคโปร์ ด้านล่างของตราแผ่นดินเป็นริบบิ้นสีน้ำาเงินจารึก

คำาขวัญประจำาชติด้วยตัวหนังสือที่ทองว่า "Majulah singapura:" ซึ่งมีความ

หมายว่า "สิงคโปร์จงเจริญ"

ตราแผ่นดินของอินโดนีเซีย

มีชื่อว่า "ตราพญาครุฑปัญจศีล" ลักษณะเป็นรูปพญาครุฑ มีขนปีกข้างละ 17

ขน ,หาง 8 ขน, โคนหาง 19 ขน และคอ 45 ขน หมายถึง วันที่ 17 สิงหาคม

ค.ศ. 1945

ซึ่งเป็นวันประกาศเอกราช กลางตัวพญาครุฑนั้นมีรูปโล่ ภายในโล่แบ่งเป็น

สี่ส่วน และมีโล่ขนาดเล็กช้อนทับอีกชั้นหนึ่ง ช่องซ้าย บนของโล่บรรจุรูป

หัวควายป่า (ในภาษาอินโดนีเซียเรียกว่า "บานเต็ง") ถือเป็นสัญลักษณ์ของ

ประชาชน ช่องขวาบนบรรจุรูปต้นไทร หมายถึง ลัทธิชาตินิยม ช่องซ้ายล่าง

บรรจุรูปดอกฝ้ายและช่อรวงข้าว ได้แก่ความยุติธรรมในสังคม ช่องขวาล่าง

บรรจุสร้อยสีทองร้อยทรงสี่เหลี่ยมสลับทรงกลม คือ หลักการของ

มนุษยธรรมและ ความผูกพันในสังคมมนุษย์ทื่ไม่มีจุดสิ้นสุดพื้นโล่ของช่อง

ซ้ายบนขวาล่างนั้นมีสีแดง ส่วนกลางนั้นมีสีดำา

ที่มีโล่ขนาดเล็กสีขาวบรรจุรูปดาวสีทอง หมายถึง ความเชื่อในพระเจ้า เบื้อง

ล่างของตราที่เท้าของพญาครุฑนั้นจับแพรแถบสีขาว บรรจุคำาขวัญประจำา

ชาติ

ซึ่งเขียนเป็นภาษาอินโดนีเซียอย่างเก่าความว่า "Bhinneka Tunggal lka" แปล

ได้ว่า "เอกภาพท่ามกลางความหลากหลาย" เหตุที่เรียกชื่อตราพญาครุฑปัญจ

ศีล เพราะในโล่กลางตรานี้ได้บรรจุสัญลักษณ์ของหลักการทางการเมือง 5

ข้อของอินโดนีเซีย (ปัญจศีล - ชื่อพ้องกับหลักปัญจศีลของพระพุทธศาสนา)

ตรานี้ออกแบบโดยสุลต่านฮามิดที่ 2 แห่งปอนติอานัก (Sultan Hamid II of

Pontianak) และได้ประกาศใช้เป็นตราแผ่นดินของอินโดนีเซียเมื่อวันที่ 11

กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493

Page 32: อาเซียน สุดารัตน์

29

สัตว์ประจำาชาติในสมาชิกอาเซียน

- สัตว์ประจำาชาติของประเทศไทย คือ ช้าง

- สัตว์ประจำาชาติของประเทศกัมพูชา คือ กูปรี

- สัตว์ประจำาชาติของประเทศพม่า คือ เสือโคร่ง

- สัตว์ประจำาชาติของประเทศลาว คือ ช้าง

- สัตว์ประจำาชาติของประเทศอินโดนีเซีย คือ มังกรโคโมโด

- สัตว์ประจำาชาติของประเทศฟิลิปปินส์ คือ ควาย

- สัตว์ประจำาชาติของประเทศบรูไน คือ เสือโคร่ง

- สัตว์ประจำาชาติของประเทศสิงคโปร์ คือ สิงโต

- สัตว์ประจำาชาติของประเทศมาเลเซีย คือ เสือโคร่งมลายู

- สัตว์ประจำาชาติของประเทศเวียดนาม คือ ควาย

- ราชพฤกษ์ หรือ ดอกคูน เป็นดอกไม้ประจำาชาติไทย

- ดอก Simpor หรือที่เรารู้จักกันในชื่อดอก Dillenia เป็นดอกไม้ประจำาชาติของประเทศ บรูไน ดารุสซาลาม

- ดอก Rumdul ก็คือดอก ลำาดวน เป็นดอกไม้ประจำาชาติของราชอาณาจักรกัมพูชา

- ดอก Moon Orchid (กล้วยไม้ราตรี) เป็นกล้วยไม้ในสายพันธุ์ของ Phalaenopsis เป็นดอกไม้ประจำาชาติของ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

- ลีลาวดี หรือลั่นทม เป็นดอกไม้ประจำาชาติของ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

- Hibiscus หรือ ชบา เป็นดอกไม้ประจำาชาติของ ประเทศมาเลเซีย

- Padauk ประดู่ เป็นดอกไม้ประจำาชาติของ สหภาพพม่า

- Sampaguita Jasmine ดอกพุดแก้ว เป็นดอกไม้ประจำาชาติของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์

- Vanda Miss Joaquim เป็นกล้วยไม้ในกลุ่ม แวนด้า เป็นดอกไม้ประจำาชาติของ สาธารณรัฐสิงคโปร์

- บัว เป็นดอกไม้ประจำาชาติของ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม

ดอกไม้ประจำาชาติในสมาชิกอาเซียน

Page 33: อาเซียน สุดารัตน์

30

Page 34: อาเซียน สุดารัตน์

31

บรรณานุกรม

http://ewt.prd.go.th/ewt/aseanthai/ewt_news.php?nid=375&filename=index

http://www.thaimaster.info/pornpilai/wannisa/asean/asean_info.html