187 -...

16

Upload: others

Post on 02-Oct-2020

9 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: 187 - KPRUแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบ
Page 2: 187 - KPRUแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบ

วันที่ 21-22 มีนาคม 2562 ณ ห้องคอนเวนชัน่ฮอล ศนูย์วัฒนธรรมภาคเหนือตอนล่าง มหาวิทยาลัยราชภัฏพบิูลสงคราม (สว่นวังจันทน์)

187

รายงานสบืเนือ่งการประชมุวชิาการระดบัชาต ิ

ครศุาสตรศ์กึษาครัง้ที ่2 (Proceedings)

การพฒันาทกัษะการพดูภาษาองักฤษโดยใชก้ารจดัการเรยีนรูเ้ชงิรกุของนกัเรยีนชัน้มธัยมศกึษาปทีี ่1 Development of English Speaking Skill Using

Active Learning Activity for Grade 7 Students

อรวรรณ แพงแกว้ ชตุกิลุ บญุทอง พมิพอ์นงค ์มงคลการ เฉลมิพนัธ ์ เสชงั ศศิธร เขยีวชัย ปาลติา เสอืดว้ง และอนสุษิฐ์ พนัธก์ล่ า

โปรแกรมวิชาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏก าแพงเพชร

บทคัดย่อ การวิจัยในครั้งน้ีมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนก่อนและหลังโดยใช้การ

จัดการเรียนรู้เชิงรุกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อศึกษาพัฒนาการด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1หลังการจัดการเรียนรู้เชิงรุก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/6 โรงเรียนวัชรวิทยาจ านวน 40 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 ซ่ึงได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง (purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบ ที่ทดสอบวัดผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนก่อนและหลังเรียน แบบประเมินพัฒนาการด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย (x̅) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D. และการทดสอบค่า (t-test) แบบ dependent

ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการเปรียบเทียบการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 22.74 คะแนน และ 29.53 คะแนน ตามล าดับและเม่ือเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังเรียน พบว่าคะแนนสอบหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ที่ระดับ .05 2) ผลพัฒนาการด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1หลังการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดย

ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅) = 4.55, S.D. = 0.31)

ค าส าคัญ : การเรียนรู้แบบเชิงรุก ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการพูด

ABSTRACT The purposes of this research were to: 1) compare learning outcome of secondary school

students before and after using English active learning activities for grade 7 students 2) study development of collaboration, interpersonal skill and responsibility of secondary school students after using active learning activity. The sample used for the study consisted of forty students, for grade 7 students from Watchara Wittaya School, Kamphaeng Phet, Thailand selected by using purposive sampling. The research instruments were active learning activity lesson plans, pretest and posttest, questionnaire of the collaboration, interpersonal skill and responsibility . The data were

analyzed by mean (x̅), standard deviation (S.D.) and t-test dependent.

Page 3: 187 - KPRUแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบ

วันที่ 21-22 มีนาคม 2562 ณ ห้องคอนเวนชัน่ฮอล ศนูย์วัฒนธรรมภาคเหนือตอนล่าง มหาวิทยาลัยราชภัฏพบิูลสงคราม (สว่นวังจันทน์)

188

รายงานสบืเนือ่งการประชมุวชิาการระดบัชาต ิ

ครศุาสตรศ์กึษาครัง้ที ่2 (Proceedings)

The results of the research were: 1) The comparison of pretest and posttest scores of secondary school student was 22.74 and 29.53 Comparing with the score of pretest and posttest and found that posttest score was significantly higher than pretest at . 05 level. 2) Collaboration,

interpersonal skill and responsibility of secondary school student were at high level ((x̅) = 4.55, S.D. = 0.31).

Keywords : active learning, interpersonal and responsibility skill, speaking skill

ที่มาและความส าคัญ สังคมโลกในปัจจุบันเป็นสังคมที่ไร้พรมแดน การติดต่อสื่อสารสะดวก รวดเร็ว โดยมีการน าเทคโนโลยีมาเป็น

ตัวกลางในการสื่อสารผ่านทางอินเทอร์เน็ต เช่น เฟซบุ๊ก ไลน์ ทวิตเตอร์ ฯลฯ ภาษาจึงเป็นเครื่องมือในการสื่อสารของมนุษย์ที่ท าให้เกิดความเข้าใจกันมากขึ้น ผู้ที่รู้ภาษา และผู้ที่ใช้การสื่อสารได้ดีจะได้เปรียบในการสื่อสาร ซ่ึงภาษาอังกฤษ คือภาษาสากลของโลก และประเทศไทยเป็นอีกหน่ึงประเทศที่ให้ความส าคัญกับภาษาอังกฤษรวมถึงน ามาใช้ในการติดต่อสื่อสารกับประเทศอ่ืนๆ แลกเปลี่ยนข้อมูลสื่อสาร ทางด้านวัฒนธรรม ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือแม้กระทั่งการติดต่อค้าขาย ดังน้ัน ผู้ที่มีความรู้ทางด้านภาษาอังกฤษจึงจะได้เปรียบกว่าหลายด้านเม่ือเทียบกับคนที่ไม่สามารถสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษได้ ในปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าได้เข้ามาอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication technology) เพื่อให้เหมาะสมกับการเป็นพลเมืองในยุคศตวรรษที่ 21 อน่ึงปัญหาของการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารของประเทศ เป็นที่น่าสังเกตว่ามีนักเรียน นักศึกษา ตลอดจนประชาชนที่มีการศึกษายังคงแสวงหาสถาบัน ส าหรับสอนพิเศษภาษาอังกฤษอยู่เนืองๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีผู้เรียนจ านวนมากที่ต้องการเรียนการพูดภาษาอังกฤษ ปรากฏการณ์เช่นน้ีสะท้อนถึงปัญหาของการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในโรงเรียน และวารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2554 สถานศึกษาจ านวน 87 สถานศึกษาที่ผ่านมาไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้เรียนตามวัตถุประสงค์ของการจัดการศึกษาที่ตั้งไว้ ตลอดจนมีข้อมูลที่น าเสนอต่อสังคมไทย และ ทั่วโลกถึงความล้มเหลวของการพูดภาษาอังกฤษของคนไทยมีมากถึงร้อยละ 99 ข้อสังเกตอีกประการหน่ึง คือ ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีจ านวนผลงานที่นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้คิดค้นสิ่งประดิษฐ์ น าเสนอและเผยแพร่สู่สังคมโลกจ านวนน้อยมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้าร่วมน าเสนอ ผลงานปากเปล่าในการประชุมสัมมนาวิชาการในระดับนานาชาติ การพูดภาษาอังกฤษเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งที่ท าให้คนไทยเสียโอกาสในการแข่งขัน เผยแพร่ความรู้ ความสามารถ และ ผลงานการคิดค้นสู่เวทีโลก ซ่ึงคณะผู้วิจัยเล็งเห็นปัญหาการพูดภาษาอังกฤษของโรงเรียนวัชรวิทยา ซ่ึงอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 คือ ผู้เรียนไม่ชอบและไม่สนุกกับการเรียนภาษา เพราะเน้นการสอนตามโครงสร้างของไวยากรณ์ และ ไม่ได้ส่งเสริมให้มีการพูดสื่อสาร ขาดปัจจัยกระตุ้นที่จะท าให้สามารถชื่นชอบได้ ขาดการฝึกฝนอย่างต่อเน่ืองและคิดว่าภาษาอังกฤษเป็นเรื่องไกลตัวและไม่สามารถพูดในชีวิตประจ าวันกับผู้อ่ืนได้ ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์ (2559) ได้กล่าวไว้ว่า การจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนในยุคศตวรรษที่ 21 น้ันผู้สอนต้องตระหนักอย่างมากถึงความเจริญของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและต่อเน่ือง ดังน้ันการจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน และวิธีการจัดการเรียนรู้ต้องปรับให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น วิจารณ์ พานิช (2555) ได้กล่าวว่า ทักษะเพื่อการด ารงชีวิตในศตวรรษที่ 21 สาระวิชาก็มีความส าคัญ แต่ไม่เพียงพอส าหรับการเรียนรู้

Page 4: 187 - KPRUแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบ

วันที่ 21-22 มีนาคม 2562 ณ ห้องคอนเวนชัน่ฮอล ศนูย์วัฒนธรรมภาคเหนือตอนล่าง มหาวิทยาลัยราชภัฏพบิูลสงคราม (สว่นวังจันทน์)

189

รายงานสบืเนือ่งการประชมุวชิาการระดบัชาต ิ

ครศุาสตรศ์กึษาครัง้ที ่2 (Proceedings)

เพื่อมีชีวิตในโลกยุคศตวรรษที่ 21 ปัจจุบันการเรียนรู้สาระวิชา (content หรือ subject matter) ควรเป็นการเรียนจากการค้นคว้าเองของศิษย์ โดยครูช่วยแนะน า และช่วยออกแบบกิจกรรมที่ช่วยให้นักเรียนแต่ละคนสามารถประเมินความก้าวหน้าของการเรียนรู้ของตนเองได้ ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์ (2559 อ้างถึงใน เพร์ลแมน) ได้กล่าวถึงผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 คนในศตวรรษที่ 21 จึงต้องมีความเชี่ยวชาญในด้านการสื่อสาร ว่า “นักเรียนจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดเม่ือพวกเขามีส่วนร่วม” ซ่ึงต่อมา ได้เรียกร้องให้ครูเปลี่ยนวิธีการสอนจากการบอกให้ท าหรือการบรรยายไปสู่การสอนแบบใหม่ที่ปล่อยให้ “ผู้เรียนสอนตัวเองโดยมีครูคอยแนะน า” ซ่ึงจะเห็นได้ว่าการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จะเน้นผู้เรียนเป็นส าคัญ โดยให้ผู้เรียนเป็นผู้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ดังน้ันคณะวิจัยจึงได้น าเสนอการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning การส่งเสริมหรือกระตุ้นให้ ผู้เรียนมีส่วนร่วมในชั้นเรียน มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน ด้วยเทคนิคหรือกิจกรรมต่างๆ ผู้สอนมี บทบาทอ านวยความสะดวกและจัดสภาพแวดล้อมที่เอ้ือให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง จนเกิดเป็นการ เรียนรู้อย่างมีความหมาย (Meaningful Learning) รูปแบบการเขียนรายการอ้างอิงประกอบการค้นคว้าวิจัยและงานเขียน

การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) คือ กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ลงมือกระท า และได้ใช้กระบวนการคิดเก่ียวกับสิ่งที่ได้กระท าลงไป ซ่ึง Bonwell (1991) เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภายใต้สมมติฐานพื้นฐาน 2 ประการคือ 1) การเรียนรู้เป็นความพยายามโดยธรรมชาติของมนุษย์, และ 2) แต่ละบุคคลมีแนวทางในการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน Fedler and Brent (1996) ได้กล่าวอีกว่า Active Learning สามารถเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนทักษะการพูดด้วยตนเอง และ ยังสามารถจัดระบบความคิดของผู้เรียนในด้านการสร้างองค์ความรู้ก่อนนักเรียนพูดอีกครั้ง และผู้เรียนจะได้มีปฏิสัมพันธ์สื่อสารกันมากกว่าการพูดด้วยการจ าหรือว่าการพูดเพื่อแข่งขันกัน ดังน้ันคณะผู้วิจัยจึงใช้การจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Leaning) ด้วยกิจกรรมค่ายนันทนาการและเพลง เพื่อเป็นการแก้ปัญหาการพูดภาษาอังกฤษ เพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนาการพูดภาษาอังกฤษด้วยการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง โดยการปฏิบัติลงมือด้วยตนเองและเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อให้เกิดความกล้าแสดงออก และส่งเสริมการท างานเป็นทีม และมีความรับชอบต่อหน้าที่ของแต่ละบุคคล เพื่อให้เหมาะสมกับการเป็นเยาวชนในศตวรรษที่ 21

ปญหาที่คณะวิจัยประสบในการสอนภาษาอังกฤษคือนักเรียนไม กระตือรือรนที่จะพูด ไมมีความกล้าแสดงออก และไมสามารถน าเรื่องที่เรียนไปประยุกตใชในการพูดสื่อสารท าใหนักเรียนไมสามารถใชภาษาในการพูดไดอยางเหมาะสมกับโอกาสและสถานการณ รวมไปถึงสภาพแวดล้อมรอบข้างที่ไม่ได้มีการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร ซ่ึงหากมีการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารเป็นประจ าจะท าให้นักเรียนมีความกล้าแสดงออก และมีความม่ันใจที่จะพูดภาษาอังกฤษได้

จากการศึกษาเอกสารและต าราที่เก่ียวข้องแล้วน้ัน พบว่าวิธีแกปญหาขางตนสามารถท าไดโดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนใหเปนรูปธรรมมากขึ้น คือการน ากิจกรรมการเรียนการสอนแบบบทบาทสมมติ หรือน าการจัดการเรียนรู้มาจัดเป็นสถานการณ์จ าลองการพูดสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษ ซ่ึงเป็นกิจกรรมหน่ึงในกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning มาใช เน่ืองจากเป็นกิจกรรมที่ฝึกทักษะการพูดที่สนุกช่วยใหนักเรียนมีปฏิสัมพันธกับเพื่อนในชั้นเรียน และมีโอกาสฝึกพฤติกรรมหลากหลายรูปแบบ หลากหลายสถานการณ์ ท าใหนักเรียนกลาแสดงความรูสึกที่ซอนอยู ใหโอกาสกับนักเรียนที่ไมกลาแสดงความคิดเห็นและเปนแรงจูงใจน าไปสูการเรียนรู โดยอัตโนมัติ และไม่ประหม่ากับสถานการณ์จริงที่จะเกิดขึ้น และจากการศึกษางานวิจัย พบว่า กิจกรรมบทบาทสมมติช่วยให้ผู้สวมบทบาทมีความคิดสร้างสรรค์ เปิดเผย เกิดความม่ันใจในตนเอง กล้าแสดงออก มีความกระตือรือร้น สามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ และปรับพฤติกรรมของตนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่ใกล้เคียงกับการพูดภาษาอังกฤษในชีวิตจริง ในขณะเดียวกัน

Page 5: 187 - KPRUแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบ

วันที่ 21-22 มีนาคม 2562 ณ ห้องคอนเวนชัน่ฮอล ศนูย์วัฒนธรรมภาคเหนือตอนล่าง มหาวิทยาลัยราชภัฏพบิูลสงคราม (สว่นวังจันทน์)

190

รายงานสบืเนือ่งการประชมุวชิาการระดบัชาต ิ

ครศุาสตรศ์กึษาครัง้ที ่2 (Proceedings)

กิจกรรมบทบาทสมมติช่วยให้นักเรียนยอมรับฟังความคิดเห็นของเพื่อนและยังท าให้บรรยากาศในการเรียนการสอนสนุกสนานเป็นกันเองอีกด้วย สมศิริ ปลื้มจิตต์ (2550 : 32) และจากงานวิจัยของพจนันท ไวทยานนท (2541 : 37) วรวรรณินี ราชสงฆ์ (2541 : 72) และ วิไล พังสอาด (2542 : 45) พบวา กิจกรรมบทบาทสมมติชวยใหผูสวมบทบาทมีความคิดสรางสรรค เปดเผย เกิดความม่ันใจในตนเอง กลาแสดงออก มีความกระตือรือรน สามารถแกปญหาตาง ๆ และปรับพฤติกรรมของตนใหเหมาะสมกับสถานการณที่ใกลเคียง จากปัญหาและงานวิจัยดังกล่าว คณะผู้วิจัยจึงต้องการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อส่งเสริมให้ให้ผู้เรียนมีโอกาสได้ฝึกและเตรียมการใช้ภาษาในการสื่อสารในสถานการณ์ที่หลากหลาย ท าให้เกิดความสนุกสนานในการเรียน ช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ ในการปฏิบัติตนในสังคม ฝึกการแก้ปัญหาและช่วยให้ผู้เรียนเกิดความม่ันใจในการตัดสินใจอีกทั้งเข้าใจในความรู้สึกของผู้อ่ืน ตลอดจนสามารถปฏิบัติตนต่อผู้อ่ืนได้อย่างเหมาะสมท าให้เกิดความเข้าใจอันดีและเกิดความสามัคคี ซ่ึงจะช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษได้ อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

จุดมุ่งหมายของการวิจัย 1. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาทักษะการพูดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2. เพื่อศึกษาพัฒนาการด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบหลังการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาทักษะการพูดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

สมมติฐานของการวิจัย 1. นักเรียนมีพัฒนาการด้านการพูดภาษาอังกฤษดีขึ้นหลังจากได้รับกิจกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก 2. การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก มีผลต่อการพัฒนาด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ความรับผิดชอบ

3. นักเรียนมีผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

ขอบเขตของการวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1. กลุ่มประชากร นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัชรวิทยา โรงเรียนก าแพงเพชรพิทยาคม และโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ก าแพงเพชร จ านวนทั้งหมด 530 คน 2. กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/6 โรงเรียนวัชรวิทยาจ านวน 40 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 ได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง (purposive sampling)

ขอบเขตด้านเวลา ระยะเวลาในการทดลอง คณะผู้วิจัยท าการทดลองในภาคเรียนที่ 2 ในช่วงเวลาคาบว่างของนักเรียน สัปดาห์

ละ 2 ครั้ง ๆ ละ 1 ชั่วโมง เป็นเวลา 4 สัปดาห์ รวมเป็น 8 ชั่วโมง ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561

Page 6: 187 - KPRUแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบ

วันที่ 21-22 มีนาคม 2562 ณ ห้องคอนเวนชัน่ฮอล ศนูย์วัฒนธรรมภาคเหนือตอนล่าง มหาวิทยาลัยราชภัฏพบิูลสงคราม (สว่นวังจันทน์)

191

รายงานสบืเนือ่งการประชมุวชิาการระดบัชาต ิ

ครศุาสตรศ์กึษาครัง้ที ่2 (Proceedings)

ตัวแปรที่ศึกษา ตัวแปรต้น ได้แก่ การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ตัวแปรตาม ได้แก่

- ผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน - ทักษะการพูดภาษาอังกฤษ - ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ

เนื้อหาที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 Insects

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 Go shopping at the market แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 Occupations แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4 Daily Routine แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5 Personal Information แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6 My Classroom แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7 My Fruit

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 8 Where is the...? เครื่องมือการวิจัย

- แผนการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้การ จัดการเรียนรู้ เชิงรุก จ านวน 8 แผน

- แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน - แบบประเมินความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ

แนวคิดการวิจัย

ตวัแปรตน้ ตวัแปรตาม

การจดัการเรยีนรูโ้ดยใชก้จิกรรมการเรยีนรู้เชงิรกุ (Active Leaning)

นิยามศัพท์เฉพาะ 1. การเรียนรู้เชิงรุก หมายถึง กระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนมีบทบาทในกิจกรรมการเรียนอย่างตื่นตัวและมีชีวิตชีวา เป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนมีส่วนริเริ่มและด าเนินการเรียนรู้อย่างใส่ใจ จดจ่อกับเน้ือหาและเรื่องที่เรียนอย่าง

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

ความสัมพันธ์ระหว์างบุคคลและความรับผิดชอบ

Page 7: 187 - KPRUแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบ

วันที่ 21-22 มีนาคม 2562 ณ ห้องคอนเวนชัน่ฮอล ศนูย์วัฒนธรรมภาคเหนือตอนล่าง มหาวิทยาลัยราชภัฏพบิูลสงคราม (สว่นวังจันทน์)

192

รายงานสบืเนือ่งการประชมุวชิาการระดบัชาต ิ

ครศุาสตรศ์กึษาครัง้ที ่2 (Proceedings)

ต่อเน่ืองตลอดกระบวนการ โดยมีการริเริ่มความคิด สร้างความรู้ มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง และแสดงออกไม่ว่าจะเป็นท่าทางหรือวาจา มิใช่เป็นเพียงผู้รับความรู้เท่าน้ัน ผู้สอนต้อง มีบทบาทในการเร้าความสนใจและสร้างบรรยากาศในการเรียน โดยใช้กลยุทธ์แตกต่างกันไปตามสถานการณ์ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ 2. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ หมายถึงความสามารถในการสื่อสารเพื่อแลกเปลี่ยน ข้อเท็จจริงและความคิดเห็นระหว่างกันและกันภายในกลุ่ม โดยสมาชิกในกลุ่มจะต้องมีการปฏิสัมพันธ์การพูดคุยและการท างานร่วมกันจนกลายเป็นความสัมพันธ์อันดี นอกเหนือจากน้ีสมาชิกภายในกลุ่มยังต้องสามารถรับชอบในผลของการกระท าตามบทบาทหน้าที่ของผู้กระท าม่ว่าผู้น้ันจะด ารงต าแหน่งใดก็ตาม

3. ทักษะการพดูภาษาอังกฤษ หมายถงึ ทกัษะการพดูซ่ึงเปน็หน่ึงใน 4 ทกัษะส าคญัในการพฒันาภาษาอังกฤษ และความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษ มีความกล้าแสดงออก สามารถตอบโต้คู่สนทนาในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

วิธีด าเนินการวิจัย การวิจัยเรื่อง การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกส าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) ใช้แบบแผนการวิจัยแบบหน่ึงกลุ่มทดสอบก่อนและทดสอบหลัง (One Group Pretest Posttest Design) มีรายละเอียดและขั้นตอนในการด าเนินการวิจัยดังน้ี

ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย 1. กลุ่มประชากร นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัชรวิทยา โรงเรียนก าแพงเพชรพิทยาคม และโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ก าแพงเพชร จ านวนทั้งหมด 530 คน 2. กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/6 โรงเรียนวัชรวิทยาจ านวน 40 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 ได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง (purposive sampling) แบบแผนการวิจัย การจัดการเรียนรู้ครั้ง น้ีเป็นการ จัดการเรียนรู้ เชิงทดลอง (Experimental Research) คณะผู้ วิจัยได้ด าเนินการทดลอง ตามแบบแผนการวิจัยแบบหน่ึงกลุ่มทดสอบก่อนทดสอบหลัง (One Group Pertest Posttest Design )

T1

X

T2

แบบแผนการวิจัยแบบหน่ึงกลุ่มทดสอบก่อนทดสอบหลัง (One Group Pretest Design)สัญลักษณ์ที่ใช้ในแบบแผนการวิจัยมีความหมาย ดังน้ี

T1 หมายถึง การทดสอบก่อนเรียน X หมายถึง การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน

Page 8: 187 - KPRUแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบ

วันที่ 21-22 มีนาคม 2562 ณ ห้องคอนเวนชัน่ฮอล ศนูย์วัฒนธรรมภาคเหนือตอนล่าง มหาวิทยาลัยราชภัฏพบิูลสงคราม (สว่นวังจันทน์)

193

รายงานสบืเนือ่งการประชมุวชิาการระดบัชาต ิ

ครศุาสตรศ์กึษาครัง้ที ่2 (Proceedings)

T2 หมายถึง การทดสอบหลังเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ในวิจัยครั้งน้ี มีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยจ าแนกได้ 2 ประเภทคือเครื่องมือที่ใช้ในการทดลองและเครื่องมือที่

ใช้ในการเก็บข้อมูล มีรายละเอียดดังน้ี แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุก ที่คณะผู้วิจัยสร้าง

ขึ้นจ านวน 8 แผน ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 Insects แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 Go shopping at the market แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 Occupations แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4 Daily Routine แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5 Personal information แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6 My Classroom แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7 My Fruit แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 8 Where is the...?

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล 1. แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้วัดทักษะการพูด เป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จ านวน 80 ข้อก าหนดให้ค่าคะแนนคือ ตอบถูกได้ 1 คะแนน ตอบผิดได้ 0 คะแนน

2. แบบประเมินความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ มีลักษณะ 6 ด้านดังน้ี

1) สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนหลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2) สามารถให้ความช่วยเหลือและอ านวยความสะดวกในการแก้ปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งในบทบาท

ของผู้น า หรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมท างาน 3) สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์ที่ได้เรียนมาชี้น าในประเด็นที่เหมาะสม 4) มีความรับผิดชอบในการกระท าของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม

5) สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวมพร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม

6) มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเน่ือง การสร้างและตรวจคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ผู้วิจัยได้ด าเนินการสร้างและตรวจคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ดังน้ี 1. แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกมีขั้นตอนการ

สร้างดังน้ี

Page 9: 187 - KPRUแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบ

วันที่ 21-22 มีนาคม 2562 ณ ห้องคอนเวนชัน่ฮอล ศนูย์วัฒนธรรมภาคเหนือตอนล่าง มหาวิทยาลัยราชภัฏพบิูลสงคราม (สว่นวังจันทน์)

194

รายงานสบืเนือ่งการประชมุวชิาการระดบัชาต ิ

ครศุาสตรศ์กึษาครัง้ที ่2 (Proceedings)

1.1 ศึกษา ต ารา เอกสาร งานวิจัย ที่เก่ียวข้องกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุก 1.2 สร้างและออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้การจัดการ เรียนรู้เชิงรุก 1.3 น าแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุก เสนอต่อผู ้เชี ่ยวชาญจ านวน 3 คน ได้แก่ ผู ้เชี ่ยวชาญด้านเนื้อหา 1 คน ด้านการเรียนรู ้ 1 คน และด้านการวัดผลและประเมินผล 1 คน เพื่อตรวจสอบความถูกต้องเหมาะสมแล้วปรับปรุงแก้ไขตามค าแนะน า เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของภาษา และความเที่ยงตรงของเน้ือหา (Content Validity) แล้วน าผลการประเมินของผู้เชี่ยวชาญมาค านวณหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of Item Object Congruence: IOC) ซ่ึงค่าที่ค านวณได้ตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไปถือว่ามีความสอดคล้องอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ มีเกณฑ์ในการพิจารณาดังน้ี (มาเรียม นิลพันธ์ุ, 2553) +1 หมายถึง แน่ใจว่าแบบประเมินสอดคล้องกับตัวชี้วัด 0 หมายถึง ไม่แน่ใจว่าแบบประเมินสอดคล้องกับตัวชี้วัด

-1 หมายถึงแน่ใจว่าแบบประเมินไม่สอดคล้องกับตัวชี้วัด จากการตรวจสอบค่าดัชนีความสอดคล้องของผู้เชี่ยวชาญได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.00 ผู้วิจัยน าข้อเสนอแนะของ

ผู้เชี่ยวชาญมาปรับปรุงแก้ไขโดยการหาค่าความเหมาะสม (Rating Scale) ก่อนน าไปใช้ทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง 2. การสร้างแบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้เพื่อใช้เป็นแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน มีขั้นตอนใน

การสร้างดังน้ี 2.1 ศึกษาหลักสูตร และเอกสารที่เก่ียวข้องกับวิธีการสร้างแบบทดสอบปรนัย

2.2 สร้างแบบทดสอบเป็นแบบข้อสอบปรนัยแบบเลือกตอบและเขียนตอบ จ านวน 120 ข้อ 2.3 น าแบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้เสนอต่อผู้เชี่ยวชาญจ านวน 3 คน ได้แก่ผู้เชี่ยวชาญด้านเน้ือหา 1

คน ด้านการเรียนรู้ 1 คน และด้านการวัดผลและประเมินผล 1 คนเพื่อตรวจสอบความถูกต้องเหมาะสมแล้วปรับปรุงแก้ไขตามค าแนะน าเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของภาษาและความเที่ยงตรงของเน้ือหา (Content Validity) แล้วน าผลการประเมินของผู้เชี่ยวชาญมาค านวณหาค่าดัชนีความสอดคล้อง ( Index of Item Object Congruence: IOC) ซ่ึงค่าที่ค านวณได้ตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไปถือว่ามีความสอดคล้องอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ มีเกณฑ์ในการพิจารณาดังน้ี (มาเรียม นิลพันธ์ุ, 2553) +1 หมายถึง แน่ใจว่าแบบประเมินสอดคล้องกับตัวชี้วัด 0 หมายถึง ไม่แน่ใจว่าแบบประเมินสอดคล้องกับตัวชี้วัด

-1 หมายถึงแน่ใจว่าแบบประเมินไม่สอดคล้องกับตัวชี้วัด จากการตรวจสอบค่าดัชนีความสอดคล้องของผู้เชี่ยวชาญได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.00 ผู้วิจัยน าข้อเสนอแนะของ

ผู้เชี่ยวชาญมาปรับปรุงแก้ไขก่อนน าไปใช้ทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง 3. แบบประเมินความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบระหว่างและหลังการจัดการเรียนรู้การจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุก มีขั้นตอนการสร้าง ดังน้ี

3.1 ศึกษาแนวคิด หลักการ ทฤษฏี รูปแบบ วิธีการสร้างแบบประเมินจากหนังสือ เอกสารและงานวิจัยที่เก่ียวข้อง 3.2 น าข้อมูลที่ได้จากการศึกษามาสร้างแบบประเมินความคิดเห็นของผู้เรียนเก่ียวกับ

Page 10: 187 - KPRUแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบ

วันที่ 21-22 มีนาคม 2562 ณ ห้องคอนเวนชัน่ฮอล ศนูย์วัฒนธรรมภาคเหนือตอนล่าง มหาวิทยาลัยราชภัฏพบิูลสงคราม (สว่นวังจันทน์)

195

รายงานสบืเนือ่งการประชมุวชิาการระดบัชาต ิ

ครศุาสตรศ์กึษาครัง้ที ่2 (Proceedings)

พัฒนาการด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ก าหนดเป็นประเด็นในการประเมินเป็น 6 ด้าน ได้แก่

1) การท ากิจกรรมส่งผลให้ข้าพเจ้าสามารถสื่อสารกับกลุ่มคนหลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2) การท ากิจกรรมส่งผลให้ข้าพเจ้าสามารถให้ความช่วยเหลือและอ านวยความสะดวกในการแก้ปัญหา

สถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งในบทบาทของผู้น า หรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมท างาน 3) การท ากิจกรรมส่งผลให้ข้าพเจ้าสามารถใช้ความรู้ในศาสตร์ที่ได้เรียนมาชี้น าในประเด็นที่เหมาะสม

4) การท ากิจกรรมส่งผลให้ข้าพเจ้ามีความรับผิดชอบในการกระท าของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม 5) การท ากิจกรรมส่งผลให้ข้าพเจ้าสามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์ทั้งส่วนตัวและ

ส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม 6) การท ากิจกรรมส่งผลให้ข้าพเจ้ามีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพ

อย่างต่อเน่ือง 3.3 ก าหนดเกณฑ์ของการประเมินด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบระหว่าง

และหลังการจัดการเรียนรู้การจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบรูบริกส์ (Rubrics) ประเภทแยกองค์ประกอบ (Analytic Score) โดยใช้แบบมาตราประเมินค่า 5 ระดับ คือ 5 หมายถึง มากที่สุด 4 หมายถึง มาก 3 หมายถึง ปานกลาง 2 หมายถึง น้อย และ 1 หมายถึง น้อยที่สุด ใช้เกณฑ์การแปลความหมายดังน้ี

ค่าเฉลี่ย 4.50 – 5.00 แปลความว่า ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบอยู่ ในระดับมากที่สุด

ค่าเฉลี่ย 3.50 – 4.49 แปลความว่า ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบอยู่ ในระดับมาก

ค่าเฉลี่ย 2.50 - 3.49 แปลความว่า ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบอยู่ ในระดับปานกลาง

ค่าเฉลี่ย 1.50 - 2.49 แปลความว่า ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบอยู่ ในระดับน้อย

ค่าเฉลี่ย 1.00 – 1.49 แปลความว่า ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบอยู่ ในระดับน้อยที่สุด

3.4 น าแบบประเมินด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบระหว่างและ หลังการจัดการเรียนรู้การจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุก ที่สร้างขึ้นเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญจ านวน 3 คน ได้แก่ผู้เชี่ยวชาญด้านเน้ือหา 1 คน ด้านการเรียนรู้ 1 คน

และด้านการวัดผลและประเมินผล 1 คน เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของภาษาและความเที่ยงตรงของเน้ือหา (Content Validity) แล้วน าผลการประเมินของผู้เชี่ยวชาญมาค านวณหาค่าดัชนีความสอดคล้อง ( Index of Item Object Congruence: IOC) ซ่ึงค่าที่ค านวณได้ตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไปถือว่ามีความสอดคล้องอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ มีเกณฑ์ในการพิจารณาดังน้ี (มาเรียม นิลพันธ์ุ, 2553) +1 หมายถึง แน่ใจว่าแบบประเมินสอดคล้องกับตัวชี้วัด 0 หมายถึง ไม่แน่ใจว่าแบบประเมินสอดคล้องกับตัวชี้วัด

Page 11: 187 - KPRUแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบ

วันที่ 21-22 มีนาคม 2562 ณ ห้องคอนเวนชัน่ฮอล ศนูย์วัฒนธรรมภาคเหนือตอนล่าง มหาวิทยาลัยราชภัฏพบิูลสงคราม (สว่นวังจันทน์)

196

รายงานสบืเนือ่งการประชมุวชิาการระดบัชาต ิ

ครศุาสตรศ์กึษาครัง้ที ่2 (Proceedings)

-1 หมายถึงแน่ใจว่าแบบประเมินไม่สอดคล้องกับตัวชี้วัด จากการตรวจสอบค่าดัชนีความสอดคล้องของผู้เชี่ยวชาญได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.00 ผู้วิจัยน าข้อเสนอแนะของ

ผู้เชี่ยวชาญมาปรับปรุงแก้ไขก่อนน าไปใช้ทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง 3.5 น าแบบประเมินด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบระหว่างและหลังการ

จัดการเรียนรู้การจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกที่ปรับปรุงแล้วไปใช้เป็นเครื่องมือในการวิจัยโดยใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/6 โรงเรียนวัชรวิทยา ต าบลในเมือง อ าเภอเมือง จังหวัดก าแพงเพชร จ านวน 40 คน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 ซ่ึงเป็นกลุ่มทดลองในการวิจัยครั้งน้ี

การด าเนินการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูล คณะผู้วิจัยด าเนินการทดลองกับนักเรียนกลุ่มทดลองด้วยตนเอง ตามขั้นตอนดังน้ี 1. ขั้นก่อนการทดลอง เป็นขั้นที่คณะผู้วิจัยเตรียมความพร้อมในด้านต่าง ๆ ดังน้ี 1.1 สร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1.1.1 แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุก 1.1.2 แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ 1.1.3 แบบประเมินด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ ระหว่างและหลังการจัดการเรียนรู้การจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุก 1.2 คณะผู้วิจัยชี้แจงวัตถุประสงค์ของการวิจัยและอธิบายวิธีการเรียนรู้โดยใช้การจัดการ เรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุก หน้าที่ของนักเรียนในการปฏิบัติกิจกรรมแก่นักเรียนกลุ่มทดลอง 1.3 ทดสอบก่อนเรียน (Pretest) โดยใช้แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ที่คณะผู้วิจัยสร้างขึ้น

2. ขั้นทดลอง คณะผู้วิจัยท าการทดลอง ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 ท าการทดลองเป็นสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ๆ ละ 1 ชั่วโมง เป็นเวลา 4 สัปดาห์ รวมเป็น 8 ชั่วโมง โดยคณะผู้วิจัยสอนนักเรียนกลุ่มทดลองด้วยตนเอง 3. ขั้นหลังการทดลอง หลังจัดการเรียนรู้ครบตามก าหนดระยะเวลา คณะผู้วิจัยได้ด าเนินการ ดังน้ี 3.1 จัดการเรียนการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่ก าหนด

3.2 ประเมินด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบจากการท ากิจกรรมกลุ่ม 3.3 ทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยใช้แบบทดสอบวัดผลการจัดการเรียนรู้ที่คณะผู้วิจัยสร้างขึ้น การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือและการวิเคราะห์ข้อมูล

1. การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือส าหรับการวิจัย มีรายละเอียดดังน้ี 1.1 ตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ ได้แก่ (Content Validity) ค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of Item Objective Congruence: IOC) โดยผู้เชี่ยวชาญ ค่าความยากง่าย (p) และค่าอ านาจจ าแนก (r) ค่าความเชื่อม่ัน (Reliability) โดยใช้วิธีของคูเดอร์-ริชาร์ด จากสูตร KR-20

Page 12: 187 - KPRUแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบ

วันที่ 21-22 มีนาคม 2562 ณ ห้องคอนเวนชัน่ฮอล ศนูย์วัฒนธรรมภาคเหนือตอนล่าง มหาวิทยาลัยราชภัฏพบิูลสงคราม (สว่นวังจันทน์)

197

รายงานสบืเนือ่งการประชมุวชิาการระดบัชาต ิ

ครศุาสตรศ์กึษาครัง้ที ่2 (Proceedings)

1.2 ตรวจสอบคุณภาพของแบบประเมินทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบได้แก่ความเที่ยงตรงเชิงเน้ือหา (Content Validity) ค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of Item Objective Congruence: IOC) โดยผู้เชี่ยวชาญ 2. การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ส าเร็จรูป มีรายละเอียดดังน้ี

2.1 การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ก่อนและหลังเรียน โดยการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ( x̅) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบค่า (t-test) แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (Dependent) 2.2 การวิเคราะห์ข้อมูลด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบโดยการวิเคราะห์

ค่าเฉลี่ย (x̅) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิเคราะห์ข้อมูล การวิจัยเรื่อง การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้การเรียนรู้เชิงรุกส าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่

1 มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยมีดังน้ี 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาทักษะการพูดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อศึกษาพัฒนาการด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบหลังการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาทักษะการพูดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 คณะผู้วิจัยขอเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ดังน้ี

ตอนที่ 1 ผลการวิเคราะห์การเปรียบเทียบผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาทักษะการพูดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ตอนที่ 2 ผลการวิเคราะห์พัฒนาการด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบหลังการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาทักษะการพูดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ส าหรับรายละเอียดผลการวิเคราะห์ข้อมูลในแต่ละขั้นตอน มีดังน้ี

ตอนที่ 1 ผลการวิเคราะห์การเปรียบเทียบผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาทักษะการพูดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 คณะผู้วิจัยได้เปรียบเทียบผลการเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ ดังตารางที่ 1

ตารางที่ 1 ผลการเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้

การทดสอบ คะแนนเต็ม (x ̅) S.D. T P

ก่อนเรียน 40 22.74 5.30 16.24* .00

หลังเรียน 40 29.53 5.15

จากตารางที่ 1 พบว่า การทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 22.74 คะแนน และ 29.53 คะแนน ตามล าดับและเม่ือเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังเรียน พบว่าคะแนนสอบหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ที่ระดับ .05

ตอนที่ 2 ผลการวิเคราะห์พัฒนาการด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบหลังการ

จัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาทักษะการพูดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตารางที่ 2 ผลการแสดงความคิดเห็นพัฒนาการด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ

ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1หลังการจัดการเรียนรู้เชิงรุก

Page 13: 187 - KPRUแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบ

วันที่ 21-22 มีนาคม 2562 ณ ห้องคอนเวนชัน่ฮอล ศนูย์วัฒนธรรมภาคเหนือตอนล่าง มหาวิทยาลัยราชภัฏพบิูลสงคราม (สว่นวังจันทน์)

198

รายงานสบืเนือ่งการประชมุวชิาการระดบัชาต ิ

ครศุาสตรศ์กึษาครัง้ที ่2 (Proceedings)

รายการประเมิน (x ̅) S.D. ระดับ

1) การท ากิจกรรมส่งผลให้ข้ าพเจ้าสามารถสื่อสารกับกลุ่ มคนหลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4.70 0.61 มากที่สุด

2) การท ากิจกรรมส่งผลให้ข้าพเจ้าสามารถให้ความช่วยเหลือและอ านวยความสะดวกในการแก้ปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งในบทบาทของผู้น า หรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมท างาน 4.53 0.55 มากที่สุด

3) การท ากิจกรรมส่งผลให้ข้าพเจ้าสามารถใช้ความรู้ในศาสตร์ที่ ได้เรียนมาชี้น าในประเด็นที่เหมาะสม 4.48 0.75 มาก

4) การท ากิจกรรมส่งผลให้ข้าพเจ้ามีความรับผิดชอบในการกระท าของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม 4.38 0.77 มาก

5) การท ากิจกรรมส่งผลให้ข้าพเจ้าสามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม 4.55 0.50 มากที่สุด

6) การท ากิจกรรมส่งผลให้ข้าพเจ้ามีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเน่ือง 4.68 0.62 มากที่สุด รวมเฉลี่ย 4.55 0.31 มากที่สุด

จากตารางที่ 2 พบว่าพัฒนาการด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบของนักเรียนชั้น

มัธยมศึกษาปีที่1หลังการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ((x̅) = 4.55, S.D. = 0.31) เรียงล าดับจากมากไปหาน้อยได้แก่ ข้อที่ 1) การท ากิจกรรมส่งผลให้ข้าพเจ้าสามารถสื่อสารกับกลุ่มคนหลากหลายได้อย่างมี

ประสิทธิภาพ อยู่ในระดับมากที่สุด (( x̅) = 4.70, S.D. = 0.61) ข้อที่ 6) การท ากิจกรรมส่งผลให้ข้าพเจ้ามีความ

รับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเน่ือง อยู่ในระดับมากที่สุด ((x̅) = 4.68, S.D. = 0.31) ข้อที่ 5) การท ากิจกรรมส่งผลให้ข้าพเจ้าสามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์ทั้งส่วนตัวและ

ส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม อยู่ในระดับมากที่สุด ((x̅) = 4.55, S.D. = 0.50) ข้อที่ 2) การท ากิจกรรมส่งผลให้ข้าพเจ้าสามารถให้ความช่วยเหลือและอ านวยความสะดวกในการแก้ปัญหา

สถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งในบทบาทของผู้น า หรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมท างาน อยู่ในระดับมากที่สุด ((x̅) = 4.53, S.D. = 0.55) ข้อที่ 3) การท ากิจกรรมส่งผลให้ข้าพเจ้าสามารถใช้ความรู้ในศาสตร์ที่ได้เรียนมาชี้น าในประเด็นที่เหมาะสม

อยู่ในระดับมากที่สุด ((x̅) = 4.48, S.D. = 0.75) และข้อที่ 4) การท ากิจกรรมส่งผลให้ข้าพเจ้ามีความรับผิดชอบในการ

กระท าของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม อยู่ในระดับมากที่สุด ((x̅) = 4.38, S.D. = 0.77) เป็นล าดับสุดท้าย

อภิปรายผลการวิจัย การวิจัยเรื่อง การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกส าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 สามารถอภิปรายผลจากข้อค้นพบในการวิจัยได้ดังน้ี

Page 14: 187 - KPRUแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบ

วันที่ 21-22 มีนาคม 2562 ณ ห้องคอนเวนชัน่ฮอล ศนูย์วัฒนธรรมภาคเหนือตอนล่าง มหาวิทยาลัยราชภัฏพบิูลสงคราม (สว่นวังจันทน์)

199

รายงานสบืเนือ่งการประชมุวชิาการระดบัชาต ิ

ครศุาสตรศ์กึษาครัง้ที ่2 (Proceedings)

1. ผลการเปรียบเทียบการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 22.74 คะแนน และ 29.53 คะแนน ตามล าดับและเม่ือเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังเรียน พบว่าคะแนนสอบหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ที่ระดับ .05

2. ผลพัฒนาการด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่

1 หลังการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅) = 4.55, S.D. = 0.31) 1. ผลการเปรียบเทียบการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 22.74 คะแนน และ 29.53 คะแนน ตามล าดับและเม่ือเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังเรียน พบว่าคะแนนสอบหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ที่ระดับ .05 ทั้งน้ีอาจเป็นเพราะลักษณะเด่นของการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning) ซ่ึงเป็นกิจกรรมที่เน้นการจัดการเรียนรู้ที่มีการบูรณาการใช้เกม เพลงและกิจกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นส าคัญ เน้นการเรียนรู้แบบร่วมมือที่ประกอบด้วยกิจกรรมกลุ่ม คู่และเดี่ยวส่งผลให้นักเรียนมีความสุขในการเรียนรู้ ซ่ึงสอดคล้องกับแนวคิดของปรีชาญ เดชศรี (2545) กล่าวว่าการเรียนรู้แบบกระตือรือร้น หมายถึงการจัดการเรียนการสอนที่มีกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติ ทั้งในเชิงทักษะต่าง ๆ เช่น การทดลอง การส ารวจตรวจสอบและการปฏิบัติเพื่อพัฒน าเชาว์ปัญญา วิเคราะห์ วิจารณ์ หรือการตัดสินใจเรื่องราวต่าง ๆ เพื่อแทนที่การเรียนการสอนที่ครูบอกเล่าให้ผู้เรียนได้ฟังเพียงด้านเดียว และศรีลักษณ์ ผลวัฒนะ (2548) ได้ศึกษาการพัฒนานวัตกรรมสื่อการเรียนรู้แบบสมบูรณ์แบบที่เน้นการเรียนรู้แบบกระตือรือร้นวิชาเคมีสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม 40224 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเบญจมราชาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ ซ่ึงจากผลการวิจัยพบว่าส่งผลต่อผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเบญจมราชาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ที่เรียนวิชาเคมีสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม 40224 ว ที่เรียนโดยใช้นวัตกรรมสื่อการเรียนรู้แบบหน่วยสมบูรณ์แบบที่เน้นการเรียนรู้แบบกระตือรือร้น โดยมีผลท าให้ผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ผลพัฒนาการด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่

1 หลังการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅) = 4.55, S.D. = 0.31) พบว่า นักเรียนมีพัฒนาการด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบได้ชัดเจนมากขึ้น อาจเน่ืองมาจากการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning) และกิจกรรมที่ได้ท าน้ันเป็นส่วนหน่ึงที่ท าให้ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ศักยภาพด้านต่าง ๆ ของตนเองและเพื่อนร่วมงานจากการท างานร่วมกันทั้งภายในกลุ่มเพื่อนที่มีความสนิทสนมกันมากขึ้นท าให้การท างานมีความเป็นระบบที่ดี เน่ืองมาจากมีการแบ่งงานตามหน้าที่และความรับผิดชอบท าให้งานบรรลุเป้าหมายตามที่ตนได้รับผิดชอบทั้งยังช่วยท าให้เกิดมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อกันและเกิดการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพและสานสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ทั้งน้ีผู้เรียนสามารถน าทักษะชีวิตที่ได้จากการเรียนรู้ไปท างานร่วมกับผู้ อ่ืนหรือหน่วยงานอ่ืน ๆ ทั้งในและนอกมหาวิทยาลัย เพราะเน่ืองจากได้รับประสบการณ์ตรงจากการท างานจริง ๆ และจากการสังเกตพบว่านักเรียน ได้เห็นความส าคัญของการท างานร่วมกัน ท าให้เกิดองค์ความรู้จากการท างานที่ตนได้รับผิดชอบ ซ่ึงถือได้ว่านักเรียนน้ันมีทักษะชีวิตในการท างานร่วมกับผู้อ่ืน ซ่ึงสอดคล้องกับที่ ปาริชาติ วลัยเสถียร (2543) ได้สรุปไว้ว่า การศึกษาที่เหมาะสมกับยุคโลกาภิวัฒน์ในศตวรรษที่ 21 คือการศึกษาตลอดชีวิตมีความครอบคลุม ไปถึงการเรียนรู้วิธีการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงในการท างาน การปรับรูปร่างบุคลิกการเรียนรู้ ซ่ึงมีสาระ 4 ประการ ได้แก่ (1) การเรียนรู้เพื่อรู้ เป็นการเรียนรู้ทั่วไปและเรียนรู้เฉพาะอย่างให้ลึกซ้ึง (2) การเรียนรู้เพื่อท า ซ่ึงเป็นการเรียนรู้อาชีพหรือการท างาน (3) การเรียนรู้เพื่อเป็นการตัดสินใจและรับผิดชอบ และ (4) การเรียนรู้เพื่ออยู่ร่วม ซ่ึงเป็นการเรียนรู้ใจผู้อ่ืนและวัฒนธรรมประเพณี

Page 15: 187 - KPRUแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบ

วันที่ 21-22 มีนาคม 2562 ณ ห้องคอนเวนชัน่ฮอล ศนูย์วัฒนธรรมภาคเหนือตอนล่าง มหาวิทยาลัยราชภัฏพบิูลสงคราม (สว่นวังจันทน์)

200

รายงานสบืเนือ่งการประชมุวชิาการระดบัชาต ิ

ครศุาสตรศ์กึษาครัง้ที ่2 (Proceedings)

ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะเพื่อการน าผลไปใช้ 1. โรงเรียนหรือผู้สอนควรมีการจัดเตรียมสื่อการเรียนรู้ให้มีความพร้อมและมีพอเพียง มีประสิทธิภาพและทันสมัย

2. ควรด าเนินการเชิญบุคคลภายนอกที่มีส่วนเก่ียวข้องกับการเรียนการสอนร่วมประเมินกระบวนการการจัดการเรียนรู้เพื่อให้สามารถรู้ถึงข้อดีและข้อจ ากัดของการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุกที่หลากหลาย

ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป 1. ควรน าการจัดการเรียนรู้ด้วยการจัดการเรียนรู้เชิงรุกไปใช้ในการจัดการเรียนรู้กับนักเรียนในระดับชั้น อ่ืน ๆ เพื่อศึกษาความสามารถในการใช้ทักษะการคิดวิเคราะห์ และการสื่อสาร

2. ควรมีการติดตามและประเมินผลพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความรับผิดชอบของผู้เรียนหลังจากที่เข้าร่วมการพัฒนาพฤติกรรมไปแล้ว ต่ออีกเป็นระยะ ๆ เพื่อศึกษาความคงทน ของผลการพัฒนาพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความรับผิดชอบโดยใช้กิจกรรมที่มีการประเมินผล ตามสภาพจริง

เอกสารอ้างอิง ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2559). 80 นวตักรรมการจดัการเรยีนรูท้ีเ่นน้ผูเ้รยีนเป็นส าคญั. กรุงเทพฯ:

บริษัท แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปปอเรชั่น ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์ (2559). ไดศ้ึกษาถงึผูเ้รยีนในศตวรรษที ่21 คนในศตวรรษที ่21. (เพร์ลแมน. ไม่ทราบปีที่แต่ง) ปาริชาติ วลัยเสถียร (2543). กระบวนการพฒันาและเทคนคิการท างานของนกัพัฒนา. กรุงเทพฯ : ส านักงานกองทน

สนับสนุนการวิจัย (สกว.) ปรีชาญ เดชศรี. (2545).การเรยีนรแูบบ Active Learning : ท าไดอยางไร. วารสาร สสวท. 30 (116) : 53 -5 พจนันท ไวทยานนท. (2541). ผลของการใชบทบาทสมมตทิีม่ตีอความคดิสรางสรรคของนักเรยีนชั้นประถมศกึษาปที ่

6 โรงเรยีนวดัสวุรรณารญัญกิาวาส จงัหวดัชลบรุี. ปริญญานิพนธ กศ.ม. (จิตวิทยา การศึกษา). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.ถายเอกสาร.

มาเรียม นิลพันธ์. (2553) วธิีวจิยัทางการศกึษา. พิมพ์ครั้งที่5. นครปฐม: โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถสีร้างการเรยีนรูเ้พือ่ศิษยใ์นศตวรรษที่21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์. วิไล พังสะอาด. (2542). การเปรยีบเทยีบผลของการใชบทบาทสมมตแิละการใชแมแบบทีม่ีผลตอพฤตกิรรมกลา

แสดงออกของนกัเรยีนชัน้มธัยมศกึษาปที ่2 โรงเรยีนวงัตะเคยีนวทิยาคม อ าเภอกบนิทรบรุ ีจงัหวดัปราจนีบรุ.ี ปริญญานิพนธ กศ.ม. (จิตวิทยาการศึกษา).กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถายเอกสาร.

วรวรรณินี ราชสงฆ. (2541). การเปรยีบเทยีบผลการใชเทคนคิแมแบบและเทคนคิการใชบทบาทสมมตทิี ่มผีลตอการใชเหตผุลเชงิจรยิธรรมดานความซือ่สตัย ของนกัเรยีนชัน้ประถมศึกษาปที ่6 โรงเรยีน ศกึษาสงเคราะห จงัหวดัพทัลงุ. ปริญญานิพนธ กศ.ม. (จิตวิทยาการแนะแนว). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถายเอกสาร.

Page 16: 187 - KPRUแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบ

วันที่ 21-22 มีนาคม 2562 ณ ห้องคอนเวนชัน่ฮอล ศนูย์วัฒนธรรมภาคเหนือตอนล่าง มหาวิทยาลัยราชภัฏพบิูลสงคราม (สว่นวังจันทน์)

201

รายงานสบืเนือ่งการประชมุวชิาการระดบัชาต ิ

ครศุาสตรศ์กึษาครัง้ที ่2 (Proceedings)

สมศิริ ปลื้มจิตต. (2534). การศึกษาเปรยีบเทยีบผลสัมฤทธิ์ทางการเรยีนและเหตผุลเชงิจรยิธรรมในการสอนจรยิธรรมของนักเรยีนชัน้มัธยมศึกษาปที ่2 ดวยการสอนโดยใชบทบาทสมมตกิับการสอนตามคมูือ. ปริญญานิพนธ กศ.ม. (การมัธยมศึกษา).กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถายเอกสาร.

Bonwell, C. & Eison, J. (1991a). Active Learning: Creating Excitement in the Classroom AEHE-ERIC Higher Education Report No. 1. Wshington, D.C.: Jossy-Bass.

Felder, R.M. & Brent, R. (1996a). Navigating the Bumpy Road to Student-Centered Instruction. Journal of College Teaching, 44(2)