20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก...

84
20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก เพื่อนำสังคมไทยสู่ “ระบบข้อมูลข่าวสารยุคใหม่”

Upload: others

Post on 25-Jan-2020

3 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: 20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก เพื่อนำสังคมไทยสู่ “ระบบ ...203.157.10.11/pmqa53/wp-content/uploads/downloads/it7123.pdf ·

20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก เพื่อนำสังคมไทยสู่ “ระบบข้อมูลข่าวสารยุคใหม่”

Page 2: 20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก เพื่อนำสังคมไทยสู่ “ระบบ ...203.157.10.11/pmqa53/wp-content/uploads/downloads/it7123.pdf ·

พิมพ์ครั้งที่ 1 กุมภาพันธ์ 2553

ที่ปรึกษา นพ.พินิจ ฟ้าอำนวยผล

บรรณาธิการ อภิญญา ตันทวีวงศ์

ผู้เขียน สุธิดา วงษ์อนันต์

รัตนา พงษ์วานิชอนันต์

กิติมาภรณ์ จิตราทร

ประสานงานวิชาการ ศิริพร เค้าภูไทย

กองบรรณาธิการ ลักษนันท์ สุวรัตนานนท์

ปิยวรรณ์ กิจเจริญ

ภคมาศ วิเชียรศรี

ออกแบบรูปเล่ม วัฒนสินธุ์ สุวรัตนานนท์

ผลิตโดย สำนักพิมพ์ “ต้นคิด”

ห้อง 3D ถกลสุขเพลส 115 ถนนเทอดดำริ

เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300

ผู้จัดพิมพ์ สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ

(Health Information System Development Office)

70/7 ห้อง 408 ชั้น 4 อาคารเอไอนนท์

ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000

สนับสนุนการจัดพิมพ์โดย สำนักงานกองทุน

สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

พิมพ์ที่ บริษัท ที คิว พี จำกัด

เลขมาตรฐานสากล 978-616-11-0256-2

คำนำ คนต้นคิด 20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก เพื่อนำสังคมไทยสู่ “ระบบข้อมูลข่าวสารยุคใหม่”

การพฒันานโยบายและแผนงานสรา้งเสรมิสขุภาพ และ

บริการสาธารณสุขให้สัมพันธ์กับปัญหาและความต้องการของ

ประชาชน และนำไปสู่การใช้ทรัพยากรทั้งด้านบุคลากรและ

งบประมาณที่มีอยู่จำกัดให้เกิดความคุ้มค่าสูงสุดนั้นไม่อาจเป็น

ไปได้เลย หากไม่รู้ว่าสถานการณ์เกี่ยวกับ “ปัญหา” และ

“โอกาส” ที่เกิดขึ้นจริงในแต่ละช่วงเวลาคืออะไร

ในช่วงร้อยปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีการพัฒนาระบบ

ฐานข้อมูลด้านสุขภาพมาเป็นลำดับ ทั้งข้อมูลการเกิด ภาวะ

สุขภาพ การเจ็บป่วย และการตาย แต่จนถึงวันนี้ผู้เกี่ยวข้องใน

แวดวงการพัฒนาด้านสุขภาพต่างตระหนักดีว่า ระบบข้อมูล

ข่าวสารด้านสุขภาพของประเทศของเรายังมี “ช่องว่าง” ที่

จำเป็นต้องเร่งเติมเต็มในอีกหลายด้าน

เป้าหมายสำคัญก็คือ ทำอย่างไร สถานการณ์ความ

เคลื่อนไหวว่าด้วยการเกิด การเจ็บป่วย การตาย ร่องรอย

ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคภัยไข้เจ็บที่ป้องกันได้ ของคนไทยทั้ง

ประเทศจะแสดงตัวให้ผู้ เกี่ยวข้องทุกฝ่ายสามารถติดตาม

ศึกษา วิเคราะห์ และนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงป้องกันได้อย่าง

สะดวกและรวดเร็ว จนถึงขั้นที่ว่า “เกิดเหตุเมื่อไร รายงานเมื่อ

นั้น”

Page 3: 20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก เพื่อนำสังคมไทยสู่ “ระบบ ...203.157.10.11/pmqa53/wp-content/uploads/downloads/it7123.pdf ·

ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ ผ่านระบบ

การสื่อสารด้วยเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และโปรแกรมรวบรวม

บันทึก และประมวลข้อมูลอันมหาศาลได้ภายในเวลาอัน

รวดเร็ว เป็นปัจจัยท้าทายให้การปฏิรูประบบข้อมูลข่าวสาร

สุขภาพของประเทศไทยขยับใกล้เป้าหมายดังกล่าวยิ่งขึ้น

หนังสือ “ต้นคิด” เล่มนี้ นำเสนอความเคลื่อนไหวของ

ปฏิบัติการปฏิรูประบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพของประเทศไทย

ซึ่งสำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ ได้มี

ส่วนร่วมผลักดัน ผ่านพ็อกเก้ตบุ๊กขนาดกะทัดรัด เพื่อบอกเล่า

ถึงความก้าวหน้าสำคัญๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมของเรา ด้วยความ

ตั้งใจและทุ่มเทอย่างยิ่งของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย

ปฏบิตักิารเหลา่นีเ้ปน็เพยีงสว่นหนึง่ของความเคลือ่นไหว

ที่เกิดขึ้น เมื่ออ่านแล้วเชื่อว่าทุกท่านจะเห็นตรงกันกับเราว่า

เรื่องราวที่ดูเหมือนเต็มไปด้วยเทคนิควิชาการอันซับซ้อนแท้ที่

จริงแล้วมีที่มาและที่ไปอันเรียบง่าย และไม่อาจแยกออกจาก

ชีวิตของเราแต่ละคนได้

เพราะหัวใจของการพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ

ก็คือกระจกสะท้อนความเป็นไปในชีวิตของคนไทยให้ปรากฏ

แจ่มชัด เพื่อนำไปกำหนดแผนงานในการปกป้องคุ้มครอง

คุณภาพชีวิตให้แก่เราทุกคนนั่นเอง

นพ.พินิจ ฟ้าอำนวยผล

ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ

สารบัญ

• รู้ตัวก่อนเสี่ยง... รู้เลี่ยงเบาหวาน 7

• ติดฉลากรายการทีวี เพื่อพรุ่งนี้เด็กไทยไม่ไร้น้ำยา 17

• เครื่องมือชี้วัดสุขภาพจิต กระจกส่อง “ความสุข” 25

• แบบทดสอบสุขภาวะ สไตล์ “พุทธ” 33

• Verbal Autopsy “ชุดคำถามไขความตาย” 41

• Deepsouthwatch เข้าใจ เข้าถึง

เบื้องลึก สถานการณ์ภาคใต ้ 49

• บนเส้นทาง “แผ้วถางทางด่วนข้อมูลสุขภาพ” 55

• “ระบบมรณบัตร” เรื่องที่ต้องพัฒนา 63

• “ภาระโรค” เรื่องน่ารู้ 71

• เกาะติดความก้าวหน้า

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลผู้สูงอายุ 79

• งานแพทย์แผนไทยเดินหน้า

“ศูนย์ข้อมูลเชิงยุทธศาสตร์” 87

• แกะรอย GIS ...ตามล่าพิกัดสถานพยาบาล 95

• ก้าวใหม่จาก “เมืองใต้” 103

• สร้าง “ดัชนีชี้วัดสิ่งแวดล้อม” เพื่อสุขภาพคนไทย 111

• จัดกระบวนทัพสร้างมาตรฐาน ดัชนีชี้วัดสุขภาพ 119

• สะกดรอย (ข้อมูล) การตาย ระดับจังหวัด 127

Page 4: 20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก เพื่อนำสังคมไทยสู่ “ระบบ ...203.157.10.11/pmqa53/wp-content/uploads/downloads/it7123.pdf ·

รศ.นพ.วิชัย เอกพลากร

รู้ตัวก่อนเสี่ยง... รู้เลี่ยงเบาหวาน

• ลดอุบัติเหตุที่สงขลา ด้วย

“การพัฒนาระบบการจัดการข้อมูล” 137

• “ตำบลปริก” พลิกปัญหา

ใช้ “ฐานข้อมูล” ปูทางสร้างสุข 143

• เมื่อภาคประชาชน รุกจัดทำ “ฐานข้อมูลสุขภาพ” 151

• “เครือข่ายข้อมูลมะเร็ง”

สานพลังปัญญา ค้นหาความจริง 159

Page 5: 20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก เพื่อนำสังคมไทยสู่ “ระบบ ...203.157.10.11/pmqa53/wp-content/uploads/downloads/it7123.pdf ·

รู้ตัวก่อนเสี่ยง... รู้เลี่ยงเบาหวาน / �

ปัจจุบันเบาหวานเป็นหนึ่งในโรคเรื้อรังที่สร้างปัญหาสุขภาพให้กับผู้คนทั่วโลกกว่า 170 ล้านคน

และ 3 ล้านคนในจำนวนนั้นก็คือคนไทยเรานี่เอง...

ที่ผ่านมา หลายประเทศทั่วโลกได้พยายามพัฒนาเครื่อง

มือแนวคำถามเพื่อช่วยบอกให้เรารู้ว่า ใครบ้างที่มีโอกาส

เสี่ยงเป็นโรคเบาหวานในอนาคต

คุณรู้หรือไม่ว่าในประเทศไทยของเรามี “แบบประเมิน

ความเสี่ยงโรคเบาหวาน” ที่ทำเพื่อคนไทยโดยเฉพาะแล้ว

รศ.นพ.วิชัย เอกพลากร ผู้อำนวยการสำนักงานสำรวจ

สุขภาพประชาชนไทย (สสท.) ผู้พัฒนาแบบประเมินความ

เสี่ยงโรคเบาหวานสำหรับคนไทย จะเล่าถึงที่มาของการ

พัฒนาแบบประเมินนี้ ซึ่งเป็นการ “ต่อยอด” จากงานวิจัยจน

เกิดเป็นนวัตกรรมเพื่อการป้องกันได้อย่างน่าสนใจ

>>> ปัจจุบันได้มีการนำ แบบประเมินความเสี่ยง ต่อเบาหวานนี้มาใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในส่วนของบุคลากร ทางการแพทย์ระดับชุมชนทั่วประเทศ

>>> รศ.นพ.วิชัย เอกพลากร

Page 6: 20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก เพื่อนำสังคมไทยสู่ “ระบบ ...203.157.10.11/pmqa53/wp-content/uploads/downloads/it7123.pdf ·

10 / คนต้นคิด รู้ตัวก่อนเสี่ยง... รู้เลี่ยงเบาหวาน / 11

การประเมินความเสี่ยงเบาหวานสำคัญอย่างไร

นพ.วิชัย : ที่ผ่านมามีการศึกษาปัจจัยเสี่ยงบางอย่างที่ทำให้

เราสามารถรู้ได้ว่า ใครบ้างที่กำลังเสี่ยงและพยายามที่จะ

คัดกรองผู้ป่วยเบาหวานด้วยการตรวจเลือด แต่การตรวจ

เลอืดยงับอกถงึภาวะเสีย่งไดไ้มช่ดัเจน เพราะบางคนผลเลอืด

ปกติแต่ตัวเขาเองมีความเสี่ยงไม่ว่าจะจากกรรมพันธุ์หรือ

อื่นๆ ตรงนี้ก็ทำให้ไม่ตระหนักและไม่ได้ป้องกัน ซึ่งการ

ป้องกันจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดเบาหวานในอนาคต

ของเขาได ้

แสดงว่าแบบประเมินนี้จะมีประโยชน์เมื่อนำผลไปใช้ใน

การปรับพฤติกรรม

นพ.วิชัย : ใช่ครับ มีงานวิจัยหลายชิ้นที่ยืนยันว่าการปรับ

รูปแบบชีวิตจะช่วยป้องกันเบาหวานได้ อย่างมีชิ้นหนึ่งวิจัยใน

กลุ่มคนที่เสี่ยงเป็นเบาหวาน เช่น คนที่มีระดับน้ำตาลใน

เลือดสูงผิดปกติ แต่ยังไม่ถึงกับเป็นเบาหวาน กับคนที่ตรวจ

เลือดแล้วน้ำตาลไม่สูง แต่หลังจากเทสกลูโคส โดยให้กิน

กลูโคส 75 กรัมและตรวจเลือดเป็นระยะแล้ว พบว่าน้ำตาล

ในเลือดยังสูงอยู่ ซึ่งถ้าเป็นคนปกติจะสูงแป๊บเดียวแล้วก็ลง

ตรงนี้ก็จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงเช่นกัน เนื่องจากร่างกายนำกลูโคส

ไปใช้ไม่สมบูรณ์ การวิจัยนี้ก็นำคนที่มีโอกาสเสี่ยงเป็น

เบาหวานเหล่านี้มาเปรียบเทียบกัน โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ให้

กลุ่มหนึ่ง ไม่ต้องทำอะไรเลย กลุ่มสอง ให้ลดน้ำหนักและ

ปรับพฤติกรรม โดยการออกกำลังกาย กินอาหารสุขภาพคือ

ไม่กินหวานมาก และกลุ่มสาม ให้ยาป้องกันเบาหวาน

จากนั้นติดตามผลไป 3 ปีพบว่า กลุ่มที่ปรับพฤติกรรมเป็น

เบาหวานนอ้ยสดุ เพราะลดโอกาสเปน็เบาหวานไดก้วา่รอ้ยละ

50 จากนั้นติดตามต่อมาอีก 8 ปีพบว่า ลดโอกาสเสี่ยงได้อีก

ร้อยละ 30 ซึ่งทีมวิจัยเชื่อว่า การปรับพฤติกรรมจะช่วยยืด

เวลาการเป็นเบาหวานได้ ฉะนั้นถ้าเราสามารถหาผู้ที่มี

ความเสี่ยงได้ก่อนก็จะช่วยป้องกันไม่ให้เขาเป็นเบาหวานใน

อนาคตได้

กว่าจะเห็นเป็นแบบสำรวจนี้มีขั้นตอนอย่างไร

นพ.วิชัย : เราพัฒนามาจากฐานงานเดิมที่ทำอยู่ โดย

วิเคราะห์ข้อมูลจากการวิจัยระยะยาวของพนักงานการไฟฟ้า

ฝ่ายผลิต (EGAT) ในการประมาณโอกาสเกิดโรคเบาหวานใน

ช่วง 12 ปี คือระหว่างปี พ.ศ. 2528 ถึง พ.ศ. 2540 โดย

เราได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าว

สารสุขภาพ

เราพบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดเบาหวานใน

อนาคตมีอะไรบ้าง ซึ่งก็คือ อายุ เมื่อเทียบกับกลุ่มอายุ 35-

39 ปี แล้ว อัตราเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานในกลุ่มอายุ 45-

49 ปี มี 1.3 เท่า และกลุ่มอายุที่มากกว่า 50 ปี มี 1.8 เท่า

เพศชายจะมีอัตราเสี่ยงเป็น 1.5 เท่าของผู้หญิง ภาวะอ้วน

หรือค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ถ้าค่า BMI อยู่ระหว่าง 23-27.5

และมากกวา่ 27.5 จะมอีตัราเสีย่ง 2 และ 3.4 เทา่ของกลุม่ที ่

BMI น้อยกว่า 23 ความยาวรอบเอว ผู้หญิงที่มีเส้นรอบเอว

Page 7: 20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก เพื่อนำสังคมไทยสู่ “ระบบ ...203.157.10.11/pmqa53/wp-content/uploads/downloads/it7123.pdf ·

12 / คนต้นคิด รู้ตัวก่อนเสี่ยง... รู้เลี่ยงเบาหวาน / 13

มากกว่า 80 ซม. และผู้ชายมากกว่า 90 ซม. จะมีอัตรา

เสี่ยง 1.7 เท่า ภาวะความดันเลือดสูงมีอัตราเสี่ยง 1.9 เท่า

และประวัติการเป็นเบาหวาน ในพ่อแม่พี่น้องสายตรงมีอัตรา

เสี่ยง 2.9 เท่าของผู้ที่ไม่มีประวัติเบาหวานในครอบครัว

ปัจจุบันได้มีการนำแบบประเมินความเสี่ยงต่อเบาหวาน

นี้มาใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในส่วนของบุคลากร

ทางการแพทย์ระดับชุมชนทั่วประเทศ เพื่อคัดกรองผู้ป่วย

และส่งเสริมแนวทางการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันเบาหวานได้

อย่างถูกต้อง ที่สำคัญแบบประเมินนี้คุณเองก็สามารถทำได้

ไม่ยุ่งยาก เพียงตรวจสอบปัจจัยเสี่ยง 6 ข้อ แล้วรวมคะแนน

ออกมาดูว่าค่าที่ได้นั้นอยู่ในเกณฑ์ความเสี่ยงระดับใด เพียง

เท่านี้คุณก็จะไม่ต้องเสี่ยงกับเบาหวานในอนาคต

เพราะความแม่นยำของแบบประเมินฝีมือคนไทยนี้มี

มากถึง ร้อยละ 70 ทีเดียว

ปัจจัย คะแนน

อายุ (ปี)

35-39 0

40-44 0

45-49 1

มากกว่าหรือเท่ากับ 50 2

เพศ

ผู้หญิง 0

ผู้ชาย 2

BMI (kg/m2)

น้อยกว่า 23 0

มากกว่า 23 แต่ไม่ถึง 27.5 3

มากกว่าหรือเท่ากับ 27.5 5

เส้นรอบวงเอว (ซม.)

น้อยกว่า 90 ในผู้ชาย น้อยกว่า 80 ในผู้หญิง 0

มากกว่าหรือเท่ากับ 90 ในผู้ชาย 2

มากกว่าหรือเท่ากับ 80 ในผู้หญิง 2

ความดันเลือดสูง

ไม่มี 0

มี 2

มีประวัติเบาหวานในพ่อแม่ พี่น้อง

ไม่มี 0

มี 4

แบบประเมินความเสี่ยงเบาหวานสำหรับคนไทย

Page 8: 20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก เพื่อนำสังคมไทยสู่ “ระบบ ...203.157.10.11/pmqa53/wp-content/uploads/downloads/it7123.pdf ·

14 / คนต้นคิด รู้ตัวก่อนเสี่ยง... รู้เลี่ยงเบาหวาน / 15

หากผลรวมคะแนนได้

• น้อยกว่า หรือเท่ากับ 2 มีความเสี่ยง 5%

คำทำนาย โอกาสเป็นเบาหวานน้อยกว่า 1 ใน 20

ควรออกกำลังกายสม่ำเสมอ

รักษาน้ำหนักตัว ตรวจความดันเลือด

• 3-5 มีความเสี่ยง 5-10%

คำทำนาย โอกาสเป็นเบาหวานประมาณ 1 ใน 12

ควรออกกำลังกายสม่ำเสมอ รักษาน้ำหนักตัว

ควรตรวจความดันเลือด

• 6-8 มีความเสี่ยง 11-20%

คำทำนาย ความเสี่ยงปานกลาง โอกาสเป็นเบาหวาน

ประมาณ 1 ใน 7 ควรควบคุมอาหาร และออกกำลังกาย

สม่ำเสมอ ควบคุมน้ำหนักตัว ตรวจความดันเลือด

• 9-10 มีความเสี่ยง 21-30%

คำทำนาย ความเสี่ยงสูง โอกาสเป็นเบาหวานประมาณ

1 ใน 4 ควรควบคุมอาหาร และออกกำลังกายสม่ำเสมอ

ควบคุมน้ำหนักตัว ตรวจความดันเลือด และตรวจน้ำตาล

ในเลือด

• มากกว่าหรือเท่ากับ 11 มีความเสี่ยงมากกว่า 30%

คำทำนาย ความเสี่ยงสูงมาก โอกาสเป็นเบาหวานประมาณ

1 ใน 3 ควรควบคุมอาหารและออกกำลังกายสม่ำเสมอ

ควบคุมน้ำหนักตัว และความดันเลือด และควรตรวจน้ำตาล

ในเลือด

วิธีคิดค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ง่ายนิดเดียว

1. นำตัวเลขส่วนสูง หาร 100

เช่น 162 ซม. หาร 100 = 1.62

2. แล้วนำตัวเลขที่ได้จากข้อ 1 มาคูณกันอีกที

นั่นคือ 1.62 x 1.62 = 2.62

3. จากนั้นนำน้ำหนักตัวมาหารด้วยตัวเลขที่ได้ในข้อ 2

เช่น 55 กิโลกรัม หาร 2.62

จะพบว่าค่า BMI ที่ออกมา เท่ากับ 20.99

Page 9: 20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก เพื่อนำสังคมไทยสู่ “ระบบ ...203.157.10.11/pmqa53/wp-content/uploads/downloads/it7123.pdf ·

อ.อิทธิพล ปรีติประสงค์

ติดฉลากรายการทีวี เพื่อพรุ่งนี้เด็กไทยไม่ไร้น้ำยา

Page 10: 20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก เพื่อนำสังคมไทยสู่ “ระบบ ...203.157.10.11/pmqa53/wp-content/uploads/downloads/it7123.pdf ·

ติดฉลากรายการทีวี เพื่อพรุ่งนี้เด็กไทยไม่ไร้น้ำยา / 1�

แมว้า่บา้นเราจะมกีารจดั Rating โทรทศันม์าได้ระยะหนึ่งแล้ว แต่ก็อาจมีบางคนที่งุนงงสงสัยอยู่ว่า ทำไมถึง

ต้องจัด Rating กันด้วย... การจัด Rating มีความสำคัญ

อย่างไร... สัญลักษณ์ต่างๆ ที่ขึ้นปะหน้าจอก่อนเข้าแต่ละ

รายการนั้นมีความหมายว่าอย่างไร...

อ.อิทธิพล ปรีติประสงค์ ประธานโครงการวิจัยและ

พัฒนาระบบการจัดระดับความเหมาะสมของรายการ

โทรทัศน์ มาช่วยเราไขข้อข้องใจเหล่านี้

>>> เหตุผลที่ต้องมีการจัด Rating กันขึ้น ก็เพราะโทรทัศน์เป็นสื่อที่คนทุกเพศทุกวัยสามารถเข้าถึงได้ ทั้งเด็กและผู้ ใหญ่ รวมทั้งยังก่อให้เกิดผลกระทบ ทั้งบวกและลบได้

>>> อ.อิทธิพล ปรีติประสงค์

Page 11: 20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก เพื่อนำสังคมไทยสู่ “ระบบ ...203.157.10.11/pmqa53/wp-content/uploads/downloads/it7123.pdf ·

20 / คนต้นคิด ติดฉลากรายการทีวี เพื่อพรุ่งนี้เด็กไทยไม่ไร้น้ำยา / 21

ระบบเรตติ้งคืออะไร และมีความสำคัญอย่างไรบ้าง

อ.อิทธิพล : เหตุผลที่ต้องมีการจัด Rating กันขึ้นก็เพราะ

โทรทัศน์เป็นสื่อที่คนทุกเพศทุกวัยสามารถเข้าถึงได้ ทั้งเด็ก

และผู้ใหญ่ รวมทั้งยังก่อให้เกิดผลกระทบทั้งบวกและลบได้

จากการดูรายการโทรทัศน ์ โดยเฉพาะกับเด็ก ยกตัวอย่าง

งา่ยๆ บางทเีราเองกถ็กูละครทวีชีกัจงูจนเชือ่วา่ การทีพ่ระเอก

ข่มขืนนางเอกเป็นเรื่องปกติ แล้วบางคนก็เชียร์ด้วย ขนาด

เราเป็นผู้ใหญ่ ยังรู้สึกอย่างนี้เลย ถามว่าแล้วเด็กล่ะ เขาจะ

เคยชินไหมกับพฤติกรรมที่เวลารักใครชอบใครก็ข่มขืนเลย

หรือฝนตกก็พาขึ้นบนห้องแล้วก็ตกร่องปล่องชิ้นกันไป

คุณหมอพรรณพิมล หล่อตระกูล ที่ปรึกษาโครงการบอกเลย

ว่า เด็กเห็นอะไรก็รู้อย่างนั้น ไม่มีการประมวลผลแบบ

ซิกแซ็ก เห็นว่าตบก็รู้ว่าตบ เขาไม่รู้หรอกว่านี่คือตบแบบใช้

มุมกล้องบัง หรืออันนี้ตบจริงตบหลอก

ฉะนั้นการที่เราผลิตเรตติ้ง (rating) ขึ้นมาก็เพื่อบอกว่า

รายการนั้นเหมาะกับคนวัยไหน ยิ่งถ้าเราดูละคร ในช่วงเวลา

ด ีหรอืไพรม์ไทม ์ตอน 2-4 ทุม่ จะเหน็วา่ทกุวนันี ้ทกุชอ่งตบ

กันหมด แล้วบางทีตบแบบนุ่งสั้นห่มสั้นด้วย ฉะนั้นเรตติ้งจึง

ถูกปลุกขึ้นมาด้วย 2 เป้าหมายที่ว่านี้คือ หนึ่ง คนวัยไหน

เหมาะกับรายการนั้น สอง เราอยากเห็นรายการดีๆ เพื่อส่ง

เสริมการเรียนรู้ให้กับเด็กไทย

วิธีการวัดเรตติ้งทำอย่างไร

อ.อิทธิพล : การจัดเรตติ้งรายการทีวีที่เราพูดถึงนี้เป็นในเชิง

คุณภาพ ไม่ใช่เชิงปริมาณแบบที่เคยได้ยินกันบ่อยๆ เมื่อก่อน

หนา้นีท้ีว่า่มกีารจดัเรตติง้เพือ่วดัความนยิมดวูา่ แตล่ะรายการ

มีผู้ชมมากเท่าไร ที่ผ่านมาเรามีการวิจัยแบบลงลึกจนได้

ข้อมูลและทฤษฎีในการกำหนดเกณฑ์ในการชี้วัดคุณภาพ

รายการโทรทัศน์ เรียกว่าทฤษฎี 6+1 ซึ่งเกิดจากแนวคิดที่ว่า

สื่อทีวีมีอิทธิพลต่อคนในสังคมสูง ดังนั้นจึงควรเป็นสื่อที่

สนับสนุนการพัฒนาทั้งความคิด สติปัญญา และความรู้ของ

คนในสังคมพร้อมทั้งสามารถช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆ ของ

คนในสังคมได้ จึงคิดเรื่องเกณฑ์ในการชี้วัดคุณภาพรายการ

ทีวีว่าควรจะมีคุณภาพในด้านใดบ้าง โดยสอบถามความคิด

ของคนในสังคม ทั้งนักวิชาการ นักนิเทศศาสตร์ ผู้ผลิต

รายการ สถานโีทรทศัน ์ตลอดจนผูป้กครอง เดก็ และเยาวชน

กระทั่งเกิดผังของความรู ้ 6 เรื่อง คือ การพัฒนาด้านระบบ

ความคิด สติปัญญา การพัฒนาความรู้ด้านวิชาการ การ

พัฒนาคุณธรรม จริยธรรม มีการพัฒนาความรู้รอบตัว

ทักษะการใช้ชีวิต

อะไรคือปัญหาอุปสรรคในช่วงแรกเริ่ม

อ.อิทธิพล : มเียอะครบั อปุสรรคตวัแรกคอืวา่ พอเราบอกวา่

“เรตติง้” หมายถงึตวัทีจ่ะบอกวา่รายการไหนมคีณุภาพเพยีงไร

เอเยนซี่ โฆษณาบอกว่าไม่เอาด้วย ฉะนั้นจะเห็นว่านี่คือ

อุปสรรคตัวแรกที่ทำให้รายการดีๆ เหมือนกลุ่มรายการเชิง

คณุภาพไมค่อ่ยม ี เพราะเอเยนซี่บอกว่าทำเงินไม่ได้ ต้องเอา

รายการแบบตบจูบ

Page 12: 20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก เพื่อนำสังคมไทยสู่ “ระบบ ...203.157.10.11/pmqa53/wp-content/uploads/downloads/it7123.pdf ·

22 / คนต้นคิด ติดฉลากรายการทีวี เพื่อพรุ่งนี้เด็กไทยไม่ไร้น้ำยา / 23

อย่างที่บอกว่าเดิมการวัดเรตติ้งเขาวัดจากความนิยม

โดยการเอาอุปกรณ์เป็นกล่องพลาสติกดำๆ ไปติดไว้ที่หน้า

บ้าน แล้วเวลากดรีโมททีวี เราก็จะต้องกดรหัส 4 ตัวก่อน

แล้วเครื่องจะบันทึกว่าเราหมุนดูช่องไหนบ้าง และใช้เวลาดู

นานเท่าไหร่ นี่เป็นการบันทึกเรตติ้งเชิงปริมาณของบริษัท

เอกชนหลายแห่ง พอรายการ “ย้อนรอย” เขาตามไปดูว่า

กล่องดำที่ว่านี้อยู่ที่ไหนบ้าง รายการย้อนรอยเขาตามไปดูก็

พบว่า ไปอยู่ตามท้องไร่ท้องนา ฉะนั้นเรตติ้งละครจึงดีมาก

เราเคยเจอกลุ่มละครช่วงเย็น ประมาณสักทุ่มหนึ่งมาชนกับ

รายการสำรวจโลก ปรากฏว่า ผลเรตติ้งของสำรวจโลกได้

0.5 ขณะที่ละครช่อง 7 ได้ 18 จะเห็นว่า ต่างกันเยอะ

ฉะนั้นเอเยนซี่จึงเอาเงินทั้งหมดไปทุ่มให้กับรายการกลุ่มหลัง

ระบบเรตติ้ งแบบใหม่ที่ เราผลักดันเป็นระบบที่ ให้

ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดเรตติ้ง ซึ่งในช่วงแรกๆ จะเห็น

ว่ารายการ “ทีวีพูล ทูไนท์” บอกว่าเป็น ท. คือรายการทั่วไป

ที่ทุกคนดูได้ แต่ชุดที่ผู้ร่วมรายการใส่สั้นมากและเนื้อหา

รายการทั้งหมดเป็นการที่นำเรื่องของดาราหญิงดาราชายที่

เขาพูดถึงกันและกันในทางชู้สาว ซึ่งพอเราเอาเรื่องของเพศ

ภาษา และความรุนแรงเข้ามาจับก็คิดว่ามันน่าจะเป็น น.13-

น.18 มากกวา่ เพราะมเีนือ้หาเกีย่วกบัเรือ่งเพศทีไ่มเ่หมาะกบั

เดก็ โดยใหม้กีารประเมนิโดยครอบครวัทัง้หมด 12 ครอบครวั

ไปนั่งคุยกันที่กรมประชาสัมพันธ์ ในที่สุดรายการนี้ก็ยอม

ปรับระดับเรตติ้งรายการ

ก่อนจบอยากฝากอะไรถึงเพื่อนร่วมสังคม

อ.อิทธิพล : ตัวสัญลักษณ์ที่อยู่หน้าจอทีวีแม้เหมือนจะไม่มี

อะไร แต่จริงๆ แล้วมีความหมายมาก เพราะมันเป็นการ

เตือนพ่อแม่ว่า อ๋อ น. หนู นะ ฉะนั้นต้องมีการให้คำแนะนำ

แก่ลูก แต่เรายังขาดการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้เข้ามา

มีส่วนร่วมในการเข้ามาจัดเรตติ้งในแบบที่เรียกว่า การจัด

เรตติ้งหลังจากที่รายการออกอากาศไปแล้ว

เรื่องนี้กรมประชาสัมพันธ์ต้องประชาสัมพันธ์ ให้

ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้นครับ

Page 13: 20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก เพื่อนำสังคมไทยสู่ “ระบบ ...203.157.10.11/pmqa53/wp-content/uploads/downloads/it7123.pdf ·

นพ.อภิชัย มงคล

เครื่องมือชี้วัดสุขภาพจิต กระจกส่อง “ความสุข”

Page 14: 20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก เพื่อนำสังคมไทยสู่ “ระบบ ...203.157.10.11/pmqa53/wp-content/uploads/downloads/it7123.pdf ·

26 / คนต้นคิด เครื่องมือชี้วัดสุขภาพจิต กระจกส่อง “ความสุข” / 27

ในยุคที่ใครๆ ก็ถามหา “ความสุข” โจทย์ข้อหนึ่งที่ดังก้องทั้งในสังคมไทยและโลกสากลก็คือ แล้วจะชี้วัด

ระดับมากน้อยของความสุขกันได้อย่างไร

หนึ่งในหน่วยงานที่กำลังเดินหน้าแสวงหาคำตอบก็คือ

กรมสุขภาพจิต ดังที่ นพ.อภิชัย มงคล รองอธิบดี

กรมสุขภาพจิต ได้เล่าถึงความเป็นมาและความก้าวหน้า

ล่าสุดให้เราได้ฟังกัน

>>>

เราต้องการจะสร้าง เป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งสำหรับนำไปสู่ การแทรกแซงปัญหา (intervention) เพื่อที่ว่าถ้าเกิดว่า มันมีทรัพยากรจำกัด คุณจะรู้ว่า คุณจะช่วยใครก่อน

>>>

นพ.อภิชัย มงคล

Page 15: 20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก เพื่อนำสังคมไทยสู่ “ระบบ ...203.157.10.11/pmqa53/wp-content/uploads/downloads/it7123.pdf ·

28 / คนต้นคิด เครื่องมือชี้วัดสุขภาพจิต กระจกส่อง “ความสุข” / 2�

อยากทราบถึงที่มาของการริเริ่มสร้างดัชนี้ชี้วัดความสุขของ

กรมสุขภาพจิต

นพ.อภิชัย : ก่อนหน้านี้ส่วนใหญ่เรามุ่งสร้างกันแต่แบบชี้วัด

ความเจ็บป่วย เพราะในประวัติศาสตร์ งานสาธารณสุขเกี่ยว

กับการรักษาพยาบาลเป็นหลัก แต่ตอนหลังเมื่อตั้งกรม

สุขภาพจิตขึ้นมา เราผนวกเอาทั้งเรื่องของการป้องกันและ

การส่งเสริมสุขภาพจิตเข้ามา เรื่องรักษาพยาบาลถือได้ว่า

เราชำนาญมากพอสมควร แต่เรื่องการป้องกันและส่งเสริม

สุขภาพนั้น แม้เราถูกอุปโลกน์ว่าเรารู้เยอะ แต่เรารู้ตัวว่าเรา

ยังรู้ไม่มาก ต่อมามีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขท่าน

หนึ่งคือ คุณหมออุดมศิลป์ ศรีแสงนาม ท่านบอกว่ากรม

สุขภาพจิตควรจะมีเครื่องมือชี้วัดสุขภาพจิต นั่นเป็นที่มาของ

การพยายามสร้างแบบประเมินสุขภาพจิตคนไทย

ได้ผลออกมาเป็นรูปร่างหน้าตาอย่างไร

นพ.อภิชัย : พอสร้างไปแล้ว ก็มีแบบออกมา 54 ข้อ คน

บอกว่ามันยาวไป ทำแบบสั้นๆ ได้ไหม จึงออกมาเป็นแบบ

15 ข้อ แต่เมื่อเราถามประชาชนในการทำวิจัยเชิงคุณภาพ

ด้วยการจัดโฟกัสกรุ๊ป (focus group) เกี่ยวกับนิยามของคำ

ว่า “สุขภาพจิต” ปรากฎว่าคนทั่วไปในสังคมไทย ไม่ว่าผู้นำ

ทางศาสนา คุณหมอ ปราชญ์ชาวบ้านหรือผู้นำชุมชน ต่างก็

ใช้คำว่า “สุขภาพจิต” และ “ความสุข” แทนกันอยู่เรื่อย

ทางคุณหมอจันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ ก็มาแนะนำผมว่า

ไอ้แบบประเมินสุขภาพจิตเนี่ย มันฟังแล้ว “ป่วย” ไม่สื่อ

ความหมาย และแนะนำว่าประชาชนน่าจะเข้าใจมากกว่าถ้า

เปลี่ยนมาเป็นคำว่า “แบบประเมินความสุข” หลังจากนั้น

อธิบดีกรมสุขภาพจิตท่านหนึ่งคือ คุณหมอวินัย วิริยกิจจา

บอกว่า กรมสุขภาพจิตต้องสร้างเครื่องมือประเมินความสุข

เพราะฉะนั้นเราจึงทำรายงานชิ้นหนึ่งซึ่งได้รับการตีพิมพ์เผย

แพร่แล้ว เนื้อหานำเสนอบริบทในสังคมไทยว่า “ความสุข”

และ “สุขภาพจิต” ใช้ทดแทนกันได้ เพราะว่าเวลาพูดผิวเผิน

นั้น ความสุขกับสุขภาพจิตดูเหมือนแตกต่างกัน แต่เวลาพูด

กันให้ลึกซึ้งแล้ว มันเหมือนกันมาก จึงเป็นที่มาว่า ฉบับยาว

ยังคงเรียกว่า “แบบประมินสุขภาพจิตคนไทย” แต่ในฉบับ

สั้น ได้เรียกว่า “แบบประเมินความสุขคนไทย”

ในดัชนีนี้มองว่า “ความสุข” คืออะไร

นพ.อภิชัย : พูดถึงโครงสร้างความสุขเรามีหลักการว่า

คนเราจะมีสุขภาพจิตดี หรือมีความสุข

เราพบวา่ ทัว่โลกกำลงัทำเรือ่งความสขุ หรอื happiness

อยู่ในขณะนี้ไม่ว่าภูฐาน หรือว่าการจัดประชุมนานาชาติที่

ประเทศไทยเพิง่จดัไป รวมทัง้ทีจ่ดัทีศ่นูยป์ระชมุสหประชาชาต ิ

ทุกประเทศยังไม่ไกลไปจากเรา ยังวนเวียนอยู่ในบริบท

คล้ายคลึงกัน สภาพัฒนฯ ก็ยังวนอยู่แถวนี้ ซึ่งสามารถจัด

องค์ประกอบเป็น 4 กลุ่ม คือ หนึ่งเรื่องของการเจ็บป่วย

ทางจิต สองเรื่องของความสามารถของจิตใจ ความสามารถ

ในการปรับตัว สามเรื่องของคุณภาพของจิตใจ หมายถึง

เรือ่งของความเมตตากรณุา เรือ่งของการชว่ยเหลอืคนตกทุกข์

Page 16: 20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก เพื่อนำสังคมไทยสู่ “ระบบ ...203.157.10.11/pmqa53/wp-content/uploads/downloads/it7123.pdf ·

30 / คนต้นคิด เครื่องมือชี้วัดสุขภาพจิต กระจกส่อง “ความสุข” / 31

ได้ยาก เรื่องยินดีที่ผู้อื่นมีความสุข เรื่องนี้เข้ามาใกล้ศาสนา

มาก ถ้าคนในสังคมมีคนประเภทนี้เยอะๆ สังคมก็คงมีความ

สุข สี่เรื่องปัจจัยสนับสนุน (supporting factors) และ

สภาพแวดลอ้ม หมายถงึ ครอบครวั เพือ่นรว่มงาน เพือ่นบา้น

สังคม เศรษฐกิจที่รุมเร้าตัวเขาคนนั้นอยู่ว่า เขาอยู่ใน

สภาพแวดล้อมอย่างไร ข้างบ้านเหม็น เสียงดังหรือเปล่า

เริ่มนำแบบประเมินนี้มาใช้ตั้งแต่เมื่อไหร่

นพ.อภิชัย : เราใช้เวลาหลายปีกว่าจะทำสำเร็จในปี 2544

แต่ว่าตอนนั้นด้วยงบประมาณที่จำกัด เราเลยทำเป็นตัวแทน

ของประชาชนชาวอีสาน 19 จังหวัด พอปี 2546 เราได้รับ

งบประมาณพอที่จะทำทั้งประเทศ ก็เลยทำใหม่อีกครั้งหนึ่ง

ซึ่งได้มีรายละเอียดเปลี่ยนแปลงไปเป็นเวอร์ชั่นสอง แต่ก็ยังมี

ฉบับแบบประเมินสุขภาพจิต 54 ข้อ และฉบับแบบประเมิน

ความสุข 15 ข้อ เหมือนเดิม จนกระทั่งปีสุดท้าย ปี 2550

เราปรับเป็นเวอร์ชั่นที่สาม ในเวอร์ชั่นนี้เรานำดัชนีที่เคยตัด

ทิ้งไปข้อหนึ่ง นัน่คอืเรือ่งของความรูส้กึวา่ตนเองเปน็คนสำคญั

ของครอบครัวมาใส่ไว้ด้วย ดังนั้นแบบประเมินสุขภาพจิต

เวอร์ชั่นที่สาม ซึ่งทำเสร็จแล้วแต่ยังไม่เผยแพร่นี้จะมีคำถาม

55 ข้อ แต่สำหรับแบบประเมินความสุขยังมี 15 ข้อเหมือน

เดิม

มีการนำไปใช้ประโยชน์อย่างไรบ้าง

นพ.อภิชัย : พวกนักศึกษาปริญญาโทหรือพวกองค์กรเอกชน

ขนาดใหญ่เขานิยมนำแบบประเมินสุขภาพจิต แต่ในการ

สำรวจแบบที่ทำกับคนจำนวนมากมักใช้แบบประเมินความ

สุข 15 ข้อ เช่น มีการเปรียบเทียบความสุขของข้าราชการ

กระทรวง สสธ. กับประชาชนรอบข้าง ข้าราชการในกรม

ต่างๆ หรือสาขาอาชีพต่างๆ ผลที่ได้นั้นบางทีเราไม่กล้าเปิด

เผยเพราะว่า นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี ดูผลที่ออกมาแล้ว

อาจไม่เข้าใจ เพราะฉะนั้นเราก็พยายามทำเป็นวิชาการและ

เก็บเป็นชุดไว้

ที่ผมภาคภูมิใจก็คือ บริษัทไลออนประเทศไทย ซึ่งอยู่ใน

เครือสหพัฒน์ฯ เขาใช้เครื่องมือนี้อย่างเป็นประโยชน์ เขามี

โครงการเพื่อทำให้คุณภาพชีวิตและคนงานของเขามีความสุข

แต่เขาไม่มั่นใจว่าทำไปแล้วมันจะสุขขึ้นจริงหรือเปล่า ฝ่าย

พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของเขาจึงใช้แบบประเมินทั้งแบบ 54

ข้อ และ 15 ข้อไปวัด พบว่า คนงานมีความสุขเพิ่มขึ้นมาก

เขาได้รับรางวัลชนะเลิศในหมู่เครือสหพัฒน์ฯ ว่าสามารถ

แปลงผลงานเป็นรูปธรรมได้ว่า โครงการที่ใส่เข้าไปส่งผล

อย่างไร นอกจากนี้ยังมีคนเอาไปใช้ในเรือนจำ ในกองทัพ

และในกลุ่มผู้พิการด้วย

ทางกรมสุขภาพจิตได้นำแบบประเมินนี้มาใช้ในการสะท้อน

ภาพรวมระดับชาติบ้างหรือยัง

นพ.อภิชัย : ความตั้งใจจริงก็คือว่า เราตั้งใจทำเหมือนดัชนี

ผู้บริโภค (consumer index) คือจะรายงานต่อประเทศไทย

ให้ทราบว่า ณ ปีฐานซึ่งมีคะแนน 100 เมื่อปีถัดไปดัชนีลด

Page 17: 20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก เพื่อนำสังคมไทยสู่ “ระบบ ...203.157.10.11/pmqa53/wp-content/uploads/downloads/it7123.pdf ·

32 / คนต้นคิด

หรือเพิ่ม เช่น หล่นเหลือ 96 หรือขึ้นมาที่ 102 แต่ที่เรายังไม่

ประกาศดัชนีความสุขออกมาเพราะว่ายังมีการปรับปรุง

ต่อเนื่อง ถ้านำเวอร์ชั่นที่แตกต่างกันมาใช้รายงานค่าแต่ละปี

จะทำให้เปรียบเทียบกันยาก ที่จริงในทางวิชาการสามารถ

เปรยีบเทยีบได ้แตว่า่สำหรบัการสือ่สารออกไปทางสือ่มวลชน

เราอยากให้นิ่งกว่านี้

มองเรื่องการขยายผลไปสู่แวดวงที่กว้างขึ้นไว้อย่างไร

นพ.อภิชัย : ที่ผ่านมา เครื่องมือนี้ไปได้อย่างรวดเร็วใน

แวดวงวิชาการ สื่อมวลชนก็สนใจ และพอรายงานข่าวไปคน

ที่สนใจเขาก็จะตามรายละเอียด ซึ่งในเว็บไซต์ของกรมฯ เรา

มีแบบรายงานการวิจัยสามารถดาวน์โหลด รวมทั้งการ

ทดสอบแบบออนไลน์ แต่เราไม่พยายามที่จะโปรโมทให้เร็ว

เกินไป มุ่งที่กลุ่มนักวิชาการ อยากให้ นศ.ปริญญาโทใช้

เครื่องมือนี้มากขึ้นเรื่อยๆ เพราะไม่อยากทำแบบจุดพลุแล้ว

หายไป

เราต้องการจะสร้างเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งสำหรับนำไป

สู่การแทรกแซงปัญหา (intervention) เพื่อที่ว่าถ้าเกิดว่ามัน

มีทรัพยากรจำกัด คุณจะรู้ว่าคุณจะช่วยใครก่อน และถ้าทำ

แบบละเอยีดจะรูว้า่ชว่ยประเดน็ใด ทีเ่ขากำลงัมคีวามทกุขน์ัน้

สาเหตุเป็นเพราะว่าเขาป่วย หรือเพราะมองโลกในแง่ร้าย

เครื่องมือนี้จะช่วยให้เรามองเห็นอย่างคมชัดว่า ใน

สถานการณ์ที่มีทรัพยากรและเวลาอันจำกัด เราจะแก้ปัญหา

อย่างไร

นพ.ชูฤทธิ์ เต็งไตรสรณ์

แบบทดสอบสุขภาวะ สไตล์ “พุทธ”

Page 18: 20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก เพื่อนำสังคมไทยสู่ “ระบบ ...203.157.10.11/pmqa53/wp-content/uploads/downloads/it7123.pdf ·

แบบทดสอบสุขภาวะ สไตล์ “พุทธ” / 35

ท่ามกลางแบบทดสอบมากมายที่มีอยู่กลาด เกลื่อน มีแบบทดสอบชุดหนึ่งที่ถูกสร้างขึ้นด้วยความตั้งอก

ตั้งใจว่าจะใช้เป็นเครื่องมือในการทำให้ผู้ตอบแบบทดสอบ

มีความสุข และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

“คนต้นคิด” ขอพาคุณผู้อ่านไปคุยกับ นพ.ชูฤทธิ์

เต็งไตรสรณ์ คุณหมอนักวิชาการใจดีแห่งกรมพัฒนาการ

แพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ผู้ริเริ่มและจัดทำ

แบบทดสอบสุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ เพื่อรู้จักแบบทดสอบ

ที่ได้สร้างคุณค่าให้แก่ชีวิตของใครต่อใครมาแล้วมากมาย

ชุดนี้

>>>

>>>

สิ่งที่สัมผัสได้จริงกว่านั้นคือ ทำให้คนที่เขาเห็นข้อบกพร่องตรงนั้น แล้วหาทางพัฒนาปรับปรุงตัวเองต่อไป นพ.ชูฤทธิ์ เต็งไตรสรณ ์

Page 19: 20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก เพื่อนำสังคมไทยสู่ “ระบบ ...203.157.10.11/pmqa53/wp-content/uploads/downloads/it7123.pdf ·

36 / คนต้นคิด แบบทดสอบสุขภาวะ สไตล์ “พุทธ” / 37

แบบทดสอบนี้มีที่มาอย่างไร

นพ.ชูฤทธิ์ : เริ่มมาจากความสนใจส่วนตัว ตั้งแต่สมัยที่ผม

รับราชการอยู่ที่โรงพยาบาลบำราศนราดูร ตอนนั้นผมยังเป็น

แพทย์เฉพาะทางด้านหูคอจมูก ประมาณปี 2545-2546

กระแสเรื่องคุณภาพชีวิตมาแรงมาก ก็ตั้งใจว่า อยากทำแบบ

ทดสอบเรื่องคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยหูคอจมูก เมื่อไปค้นงาน

วิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ของต่างประเทศดู ก็รู้สึกว่าบริบทไม่

เหมือนกับของสังคมไทย ตัวผมเองศึกษาพุทธศาสนาอยู่ ได้

พบว่าในทางพุทธศาสนามีมิติหนึ่งซึ่งคิดว่าน่าจะใช้เป็นกรอบ

ในการตรวจสอบดูคุณภาพชีวิตได้ นั่นคือ หลักภาวนา 4 ซึ่ง

หมายถึง หลักการพัฒนา 4 ด้าน ได้แก่ กาย จิต สังคม

และปัญญา จึงได้ทำแบบทดสอบชุดนี้ขึ้นมาโดยใช้หลัก

ดังกล่าวเป็นกรอบความคิด

กว่าจะออกมาสมบูรณ์มีขั้นตอนในการพัฒนาอย่างไร

นพ.ชูฤทธิ์ : ผมค่อนข้างโชคดีที่ได้นำแนวคิดนี้ไปปรึกษากับ

ท่านอาจารย์ครรชิต คุณวโร ซึ่งท่านเป็นพระที่เริ่มทำเรื่อง

สุขภาพองค์รวม แล้วบังเอิญท่านนำเรื่องนี้ เรียนปรึกษา

พระพรหมคุณาภรณ ์(ปยุต ปยุตโต) ซึ่งขณะนั้นท่านยังเป็น

พระธรรมปิฎก ท่านก็เมตตา บอกว่าทำสิ เดี๋ยวท่านช่วยดูให้

พอผมเขียนโครง 2 หน้า เสร็จ ท่านใช้เวลาอยู่ประมาณ 4-5

เดือน ก็ส่งโครงกลับมา 4 หน้า โดยเป็นโครงที่สมบูรณ์และ

ละเอียดมาก พอได้โครงมา ท่านครรชิตกลัวว่าผมจะทำได้

ไม่ดีแล้วเดี๋ยวจะเสียชื่อท่านเจ้าคุณ (หัวเราะ) ก็เลยชวน

อ.อรุณี วชิราพรทิพย์ ซึ่งเป็นนักสถิติอยู่ที่โรงพยาบาลศิริราช

มาช่วยกันทำเป็นแบบทดสอบนี้ขึ้นมา ท้ายสุดก็ได้เครื่องมือ

ออกมาหนึ่งชุด มีคำถาม 100 ข้อ

ตอนนั้นคิดว่าจะใช้ประโยชน์อย่างไร

นพ.ชูฤทธิ์ : ต้องการใช้เพื่อจะได้รู้ว่าคนไข้ที่ดูแลอยู่นั้นเขามี

จุดแข็งจุดด้อยตรงไหนบ้าง เพื่อเราจะได้ช่วยเสริมเขาได้ถูก

ทาง และตัวเขาเองก็จะได้รู้ด้วยว่า ตัวเองเป็นอย่างไร เช่น

สมมติว่าคนนี้ทักษะทางสังคมไม่ดี ปฏิสัมพันธ์ไม่ดี เขาก็จะ

ได้ปรับปรุงตัวเองในด้านนี้ให้ดีขึ้น

คุณหมอสนใจเรื่องศาสนาพุทธมาตั้งแต่เมื่อไร

นพ.ชูฤทธิ์ : เมื่อก่อนผมไม่ได้สนใจพุทธศาสนาเลย รู้สึกว่า

เป็นเรื่องล้าหลัง แต่สักช่วงปี 2541-2542 ผมเรียนจบเฉพาะ

ทางแลว้กค็ดิวา่นา่จะบวชตามหนา้ทีช่ายไทยทีด่ ี พอบวชแล้ว

พบว่ามุมมองที่มีต่อโลกและชีวิตเปลี่ยนไป จริงๆ เรื่องพวกนี้

มันแค่ “คลิก” เท่านั้นเอง เพราะธรรมะเป็นการพูดถึงเรื่อง

ของกฎธรรมชาติ บางทีเราเรียนมามาก เราคิดเอาเองว่ามัน

น่าจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ บางทีก็มีความคาดหวังต่อ

สถานการณ์ต่างๆ มาก พอไปปฏิบัติกรรมฐานวิปัสสนา

จนถึงจุดที่มองเห็นว่า ทุกอย่างมันดำเนินไปตามกฎเกณฑ์

ถา้อยากจะใหม้นัดขีึน้กต็อ้งไปเตมิปจัจยัใหม้นัดขีึน้เทา่นัน้เอง

ไม่ต้องไปคาดหวัง เพียงทำให้มันดีที่สุดพอ ชีวิตมันก็รู้สึกมี

ความสุข อิสระ

Page 20: 20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก เพื่อนำสังคมไทยสู่ “ระบบ ...203.157.10.11/pmqa53/wp-content/uploads/downloads/it7123.pdf ·

38 / คนต้นคิด แบบทดสอบสุขภาวะ สไตล์ “พุทธ” / 3�

แล้วเชื่อมโยงเรื่องนี้มาสู่เรื่องของงานอย่างไร

นพ.ชูฤทธิ์ : อีกสิ่งที่เราได้เรียนรู้คือ คำว่า สาธารณสุข

ถ้าเรามาดูจริงๆ สาธารณสุขคือ สุขอย่างถ้วนหน้า เป็น

ภาวะที่เราเองก็สุข คนไข้ก็สุข เราทุกคนสามารถอยู่ร่วมกัน

ได้อย่างมีความสุข อยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างเป็นสุข

ภาวะนี้ตอนเราเรียนในโรงเรียนแพทย์ไม่มี ตอนนั้นมีแต่ภาพ

ของการรักษาๆ แต่เรามาได้คิดเรื่องนี้ตอนที่บวช และเรามา

ดูคำว่า สุขภาพ สุขภาวะ ความหมายตรงๆ มันคืออะไร

คือ สภาพที่เป็นสุขสภาวะที่เป็นสุขใช่ไหม ก็ปรากฏว่าเรา

ได้คำตอบของสภาวะที่เป็นสุข คำตอบของความสุขที่ระดับ

ตา่งๆ การเข้าถึงความสุขระดับต่างๆ จากพุทธศาสนานี่เอง

ซึ่งตรงนี้ทำให้เรารู้สึกว่า สาธารณสุข สุขภาวะที่ดีจะเกิดขึ้น

ได้ยังไง ถ้าคนยังไม่รู้หลักปฏิบัติ ตรงนี้ก็เกิดความคิดว่า

พุทธศาสนาน่าจะนำมาใช้กับระบบสาธารณสุขได้

ผมเก็บเรื่องนี้ไว้ในตัวมาประมาณ 5-6 ปี จนมาเจอ

เพื่อนคนหนึ่ง เป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวี เขาเคยเขียนหนังสือเรื่อง

เอดส์ไดอารี่ ใช้นามปากกาว่า “แก้ว” ก็ไปโม้ให้เขาฟังว่า สิ่ง

ที่ผมได้เรียนรู้มาจากการบวชนั้นดีมาก และคิดว่าน่าจะนำ

มาประยุกต์ใช้ในการดูแลคนไข้ให้เป็นการรักษาแบบใหม่ขึ้น

มา แต่ตอนนั้นการแพทย์ทางเลือก การแพทย์แผนไทยต่างๆ

ยังถูกต่อต้านจากแพทย์แผนปัจจุบัน คนไม่ค่อยยอมรับ ผมก็

เลยยังไม่ได้ทำ ได้แต่พูดว่ามันดีๆ พูดจนเพื่อนคนนีพ้ดูออก

มาเลยว่า คนไข้เขาไม่ได้มีเวลาเหลือพอสำหรับรอการรักษา

แบบใหมข่องหมอหรอกนะ ผมฟงักส็ะอกึ ตรงนีเ้ปน็จดุเริม่ต้น

ให้นำความรู้ทางพุทธศาสนามาถอดเป็นงานต่างๆ เรื่อยมา

โครงสร้างของแบบทดสอบนี้เป็นอย่างไร

นพ.ชูฤทธิ์ : เหมือนกับแบบวัดทั่วไป คือส่วนแรกจะวัดเรื่อง

ทัว่ไป ชือ่อะไร อายเุทา่ไร อาชพีอะไร มคีวามสนใจในศาสนา

มากน้อยแค่ไหน ปฏิบัติภาวนาอะไรต่างๆ มากน้อยแค่ไหน

ส่วนที่สองเป็นคำถามทั่วไปที่เลือกตอบแบบลิเคิร์ท สเกล

(Likert scale) วัดว่าแบบนี้เราทำบ่อยมากน้อยแค่ไหน ระดับ

ไหน

ทำเสร็จแล้ว ได้นำไปใช้ในโอกาสไหนบ้าง

นพ.ชูฤทธิ์ : เมื่อก่อนตอนอยู่บำราศฯ ผมจะใช้กับคนไข้เพื่อ

หาข้อมูลคนไข้ที่ดูแล แต่ตอนนี้ผมจะใช้ในการอบรมเพื่อ

พัฒนาบุคลากรกลุ่มต่างๆ

คนที่ไม่ได้นับถือพุทธจะสามารถใช้แบบทดสอบนี้ได้ไหม

นพ.ชูฤทธิ์ : ได้ ถ้าเขาเป็นคนไม่ยึดติด ถ้าเขาเข้าใจนิดหนึ่ง

ว่า ความจริงแล้วพุทธเป็นเรื่องของเหตุผล เป็นความจริง

เหมือนกับวิทยาศาสตร์ เหมือนสังคมศาสตร์ เหมือนหนังสือ

ที่เราเรียนในโรงเรียน แล้วแบบวัดชุดนี้ผมเคยเอาไปให้คน

ศาสนาอื่นๆ ลองทำ เขาก็บอกว่าไม่เห็นเป็นอะไรเลย เป็น

กลางๆ

Page 21: 20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก เพื่อนำสังคมไทยสู่ “ระบบ ...203.157.10.11/pmqa53/wp-content/uploads/downloads/it7123.pdf ·

40 / คนต้นคิด

ได้มีการเผยแพร่แบบทดสอบนี้ออกสู่สาธารณชนบ้างหรือยัง

นพ.ชูฤทธิ์ : แบบทดสอบนี้เราไม่ได้เผยแพร่ เนื่องจากในการ

แปลผล ตอ้งอาศยัคนทีเ่ขา้ใจโครงของความสมัพนัธข์องเรือ่ง

สุขภาวะองค์รวมด้วย

เรียกว่าเป็นเครื่องมือส่วนหนึ่งในกระบวนการพัฒนาคน

นพ.ชูฤทธิ์ : แม้ว่าแบบทดสอบนี้จะเป็นเครื่องมือที่ ใช้

กระบวนการทางสถิติที่น่าเชื่อถือก็จริง แต่สิ่งที่สัมผัสได้จริง

กว่านั้นคือ ทำให้คนที่เขาเห็นข้อบกพร่องตรงนั้น แล้วหาทาง

พัฒนาปรับปรุงตัวเองต่อไป

แม้แต่คนที่ได้คะแนนเต็มจริงๆ ในหมวดนั้น จริงๆ ก็คือ

คุณยังต้องพัฒนาต่อไปในประเด็นที่ละเอียดขึ้นเรื่อยๆ อย่า

ประมาท ต่อให้ได้คะแนนเต็มก็อย่าผยองว่าด้านนี้ฉันดี มัน

ยังมีประเด็นที่ต้องพัฒนาให้สูงขึ้นต่อไปอีก

พญ.เยาวรัตน์ ปรปักษ์ขาม

Verbal Autopsy “ชุดคำถามไขความตาย”

Page 22: 20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก เพื่อนำสังคมไทยสู่ “ระบบ ...203.157.10.11/pmqa53/wp-content/uploads/downloads/it7123.pdf ·

42 / คนต้นคิด Verbal Autopsy “ชุดคำถามไขความตาย” / 43Verbal Autopsy “ชุดคำถามไขความตาย” / 43

ขอ้มลูเกีย่วกบัความตายนัน้ลำ้คา่สำหรบัคนเปน็มากกว่าที่คนทั่วไปจินตนาการถึง และหนึ่งในคนที่ตระหนัก

ต่อความจริงในเรื่องนี้ดีที่สุดก็คือ พญ.เยาวรัตน์ ปรปักษ์ขาม

ผู้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนา Verbal Autopsy หรือ VA

เครื่องมือในการสืบหาสาเหตุที่แท้จริงของการตายในคนไทย

แม้ก้าวล่วงพ้นวัยเจ็ดสิบมาหลายขวบปีแล้ว แต่คุณหมอ

เยาวรตัน ์อดตีอาจารยป์ระจำคณะสาธารณสขุศาสตร ์ม.มหดิล

และคุณหมอนักสถิติ ผู้บริหารโครงการพัฒนานโยบายด้าน

ภาระโรค ยงัสวยสงา่ แจม่ใส ไฟแรง และมอีารมณข์นั ออกตวั

ว่าแม้เป็นผู้บริหารหญิงของ “สไปซ์” แต่ไม่อาจหาญให้ใคร

เรียกขานว่า สไปซ์เกิร์ล แต่สำหรับฉายา “คุณหมอยอด

นักสืบ” คุณหมอกลับจะยืดอกรับอย่างภาคภูมิมากกว่า

และพร้อมจะเล่าถึง VA ผลงานที่สไปซ์ภาคภูมิใจ และเป็น

เครื่องมือช่วยไขปริศนาสาเหตุการตาย ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญที่

รอการชำระสะสางมาเนิ่นนานให้เราได้ฟัง

เมื่อนำข้อมูลมาประมวลพบว่า ในคนที่ตายทั้งหมดในแต่ละปี มีถึง ร้อยละ 30-40 ที่ระบุว่า ไม่ทราบสาเหตุ

>>>

>>> พญ.เยาวรัตน์ ปรปักษ์ขาม

Page 23: 20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก เพื่อนำสังคมไทยสู่ “ระบบ ...203.157.10.11/pmqa53/wp-content/uploads/downloads/it7123.pdf ·

44 / คนต้นคิด Verbal Autopsy “ชุดคำถามไขความตาย” / 45Verbal Autopsy “ชุดคำถามไขความตาย” / 45

ที่ว่าข้อมูลระบุสาเหตุการตายมีความสำคัญและที่ผ่านมายัง

มีความคลาดเคลื่อนอยู่มากนั้น ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร

พญ.เยาวรัตน์ : ที่ผ่านมาทางสำนักงานทะเบียนราษฎร์ฯ

เขาสนใจเรื่องจำนวนคนเกิด-ตาย แต่เรื่องสาเหตุเขาถือว่าไม่

เกี่ยวกับเขา เขาก็ส่งข้อมูลสาเหตุการตาย ซึ่งอยู่ในรูปของใบ

มรณบัตรมาที่สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ของกระทรวง

สาธารณสุข เมื่อนำข้อมูลมาประมวลพบว่า ในคนที่ตาย

ทั้งหมดในแต่ละปีมีถึง ร้อยละ 30-40 ที่ระบุว่า ไม่ทราบ

สาเหตุ

สภาพเช่นนี้ส่งผลถึงความเที่ยงตรงของข้อมูลในส่วน

อืน่ๆ ดว้ย เชน่ ขอ้มลูทีร่ะบวุา่มคีนตายเพราะมะเรง็ เสน้เลอืด

ในสมองแตก ฯลฯ ตัวเลขที่ระบุออกมาเป็นแค่ส่วนหนึ่ง ยังมี

อีกส่วนหนึ่งที่อาจรวมอยูใ่นกลุม่ไมท่ราบสาเหต ุรอ้ยละ 30-40

นี้ด้วย ข้อมูลการตายในภาพรวมที่ผ่านมาจึงคลาดเคลื่อน

จากความเป็นจริง เพราะฉะนั้นเราจึงต้องทำเรื่องนี้เพื่อให้

ส่วนที่ระบุสาเหตุไม่ชัดแจ้งเกิดความกระจ่าง โดยทาง สวรส.

ได้เริ่มโครงการแรกเมื่อปี 2542 โดยมีคุณหมอจันทร์เพ็ญ

ชปูระภาวรรณ เปน็แกนนำ ดฉินักไ็ดร้บัการชกัชวนใหม้ารว่ม

ด้วย และมาทำอีกครั้งในปี 2548 ที่ผ่านมา โดยมีการพัฒนา

เครื่องมือตัวหนึ่ง คือ VA ซึ่งริเริ่มโดยองค์การอนามัยโลก

มาปรับใช้ร่วมกับการจัดทีมแพทย์วิเคราะห์ประวัติผู้เสียชีวิต

ที่รักษาตัวในโรงพยาบาล จนได้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ

สาเหตุการตายในส่วนที่ระบุว่า “ไม่ทราบสาเหตุ” ชัดเจนขึ้น

มาก รวมทั้งการตรวจสอบข้อมูลที่ระบุสาเหตุอีกครั้ง เพราะ

ข้อมูลที่ระบุอาจไม่ใช่สาเหตุของการตายจริงๆ อย่างเช่น

ระบุว่าติดเชื้อในกระแสโลหิต ซึ่งมีถึง ร้อยละ 6 ของสาเหตุ

การเสียชีวิตทั้งหมด ถ้าเราดูโทรทัศน์ เห็นข่าวงานศพ

คนใหญ่คนโตที่ท่านเสียชีวิตเมื่ออายุมาก หลังนอนป่วยอยู่ใน

โรงพยาบาล จะได้ยินบ่อยๆ ว่าสาเหตุการตายคือติดเชื้อใน

กระแสโลหิต แต่นั่นคือภาวะที่ร่างกายอ่อนแอเต็มทนจน

อวัยวะไม่ทำงาน พอมีเชื้อเข้าไปนิดหนึ่งก็ติดทั่วร่างกายถึง

ได้เสียชีวิต เพียงข้อมูลนี้ก็ทำให้ข้อมูลคลาดเคลื่อนไปแล้วไม่

น้อย นี่คือสาเหตุว่าทำไมต้องมาศึกษาและพัฒนาระบบ

ข้อมูลเรื่องนี้ เพราะในการวางแผนเชิงป้องกัน กระทรวง

สาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องมีข้อมูลที่ถูกต้อง

ชัดเจน เพื่อกำหนดนโยบาย เป้าหมาย และวิธีการแทรกแซง

ปัญหาได้ตรงจุด ประหยัด และคุ้มค่า

เครื่องมือ VA เข้าไปช่วยตรงจุดไหน

พญ.เยาวรัตน์ : VA เป็นแบบสอบถามอย่างที่ได้ท้าวความไว้

ว่าองค์การอนามัยโลกได้ริเริ่มจัดทำขึ้น ตอนที่เราทำวิจัยในปี

2542 เรากอ็อกแบบชดุคำถามของเราเองในทำนองเดยีวกนันี ้

เป้าหมายคือเพื่อเป็นเครื่องมือในการสัมภาษณ์ญาติผู้เสีย

ชีวิต เพื่อสืบให้รู้สาเหตุแน่ๆ ว่าคืออะไร ในการวิจัยปี 2548

เรานำ VA ขององค์การอนามัยโลกมาปรับให้เข้ากับการใช้

กับคนไทย ระมัดระวังเป็นพิเศษไม่ให้คำถามสร้างความ

กระทบกระเทือนใจหรือเป็นการไปตราหน้า ตำหนิใคร และ

จากการทีเ่ราไดท้ดสอบเครือ่งมอืนีอ้ยา่งตอ่เนือ่งพบวา่ไดผ้ลดี

Page 24: 20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก เพื่อนำสังคมไทยสู่ “ระบบ ...203.157.10.11/pmqa53/wp-content/uploads/downloads/it7123.pdf ·

46 / คนต้นคิด Verbal Autopsy “ชุดคำถามไขความตาย” / 47Verbal Autopsy “ชุดคำถามไขความตาย” / 47

พอสมควร เพราะชี้บอกโรคที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตไดเ้ทีย่ง

ตรง ชว่ยลดปญัหาขอ้มลูในกลุม่ “ไมท่ราบสาเหตุ” ได้ และ

ทำให้ข้อมูลสาเหตุการตายในโรคอื่นๆ เที่ยงตรงมากขึ้นด้วย

งานวิจัยสาเหตุการตายด้วยวิธีใหม่ของ “สไปซ์” ทำให้เรา

มองเห็นภาพปรับเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง

พญ.เยาวรัตน์ : แรกเริ่มเดิมทีมรณบัตรบอกว่า สาเหตุไม่

ชดัแจง้ รอ้ยละ 3 แตห่ลงัจากทีใ่ชเ้วชระเบยีนของผู้เสียชีวิตที่

ได้จากโรงพยาบาล ข้อมูลกลุ่มนี้ลดลงเหลอืไมถ่งึ รอ้ยละ 1

สาเหตุจากโลหิตเป็นพิษ จากร้อยละ 14 ลดลงเหลือไม่ถึง

ร้อยละ 1 เส้นเลือดในสมองแตก ที่เดิมข้อมูลกลุ่มนี้อยู่ที่

ประมาณร้อยละ 8 แต่ที่จริงคือ ร้อยละ 12 และปอดบวม

ซึ่งที่จริงไม่ใช่ปอดบวม แต่ปอดบวมเป็นสาเหตุสุดท้ายก่อน

ตาย ซึ่งเขาลงผิด ด้านโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเพิ่มขึ้นจาก

ร้อยละ 6 เป็นร้อยละ 8 อุบัติเหตุบนท้องถนนก็เพิ่ม จะเห็น

ว่าเราได้สาเหตุที่เจาะจงมากขึ้น

ในส่วนของการใช้ VA คือตรวจสอบโดยแบบสัมภาษณ์

จากเดิมไม่รู้สาเหตุถึงร้อยละ 39 ลดลงมาได้เหลือ ร้อยละ

5.3 ตัวเลขลดลงนี้หมายถึงการที่เราสามารถระบุได้ว่าสาเหตุ

ของการตายเกิดจากโรคอะไร เช่น มะเร็งปอด เป็นต้น

ทุ่มเททำกันขนาดนี้ หลายคนอาจยังสงสัยว่าข้อมูลของ

คนตายจะมาช่วยคนเป็นได้อย่างไร

พญ.เยาวรัตน์ : ถ้าเป็นคนที่ทำงานกับโรคเรื้อรัง หรือโรคที่

ป้องกันได้ เช่น แพทย์ด้านโรคหัวใจและหลอดเลือด จะ

ต้องการข้อมูลพวกนี้มาก เพื่อใช้ในการคิดวิเคราะห์ วางแผน

หาทางทำให้มันลดลง ทำให้ผู้คนอยู่ได้อย่างดี มีความสุข

เป็น Healthy people นั่นคือไม่ว่าจะเป็นโรคอะไรอยู่แต่

หากได้รับการควบคุมจนสามารถกลับมาทำหน้าที่ต่างๆ ของ

ตนได้ตามปกตินี่ถือว่าโอเคที่สุด รวมถึงการศึกษาต่อว่าจะ

ทำอย่างไร ลงทุนกับอะไร จึงจะยืดอายุผู้ที่มีความเสี่ยงให้อยู่

ไปได้นานที่สุด อย่างประหยัดที่สุด

Page 25: 20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก เพื่อนำสังคมไทยสู่ “ระบบ ...203.157.10.11/pmqa53/wp-content/uploads/downloads/it7123.pdf ·

ผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี

Deepsouthwatch เข้าใจ เข้าถึง เบื้องลึก สถานการณ์ภาคใต ้

Page 26: 20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก เพื่อนำสังคมไทยสู่ “ระบบ ...203.157.10.11/pmqa53/wp-content/uploads/downloads/it7123.pdf ·

Deepsouthwatch เข้าใจ เข้าถึง เบื้องลึก สถานการณ์ภาคใต ้/ 51

อุณหภูมิที่ร้อนระอุอันเนื่องมาจากเหตุการณ ์ ความรุนแรงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ก่อให้เกิด

ความผันผวนของข้อมูลข่าวสารที่ส่งผลต่อการรับรู้ การ

เปลีย่นแปลงทางทศันคต ิความเชือ่ ของสงัคมทัง้ภายในพืน้ที่

และภายนอกตลอดเวลา เป็นเวลา 2 ปีกว่าที่ฝ่ายวิจัยและ

บริการชุมชน คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

วทิยาเขตปตัตาน ี ไดร้ว่มกบัสถาบนัขา่วอศิรา สมาคมนกัขา่ว

นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย จัดตั้งโครงการศึกษาข้อมูล

เฝ้าระวังสถานการณ์จังหวัดชายแดนภาคใต้ขึ้นอย่างจริงจัง

ผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี รองคณบดีฝ่ายวิจัยและ

พัฒนาชุมชน คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

วิทยาเขตปัตตานี ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวัง

สถานการณ์ภาคใต้ เผยว่านี่เป็นความตั้งใจที่ต้องการเปิด

พืน้ที ่ ใหเ้ปน็ศนูยข์อ้มลูและความรูส้ำหรบัผูส้นใจสถานการณ์

ภาคใต้ ใช้เป็นที่ศึกษาค้นคว้า และการอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ

>>> ต้องเปิดใจกว้าง ยอมรับว่ามีปัญหาเกิดขึ้นในภาคใต้ เป็นปัญหาที่ต้องช่วยกันคิด ช่วยกันหาทางแก้ ไข

>>> ผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศร ี

Page 27: 20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก เพื่อนำสังคมไทยสู่ “ระบบ ...203.157.10.11/pmqa53/wp-content/uploads/downloads/it7123.pdf ·

52 / คนต้นคิด Deepsouthwatch เข้าใจ เข้าถึง เบื้องลึก สถานการณ์ภาคใต ้/ 53

ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ทำงานอย่างไร

ผศ.ดร.ศรีสมภพ : ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้เป็นการ

ขับเคลื่อนงานเชิงเครือข่ายระหว่างนักวิชาการ สื่อมวลชน

ในนามศูนย์ข่าวอิสราและเครือข่ายภาคประชาสังคม มีการ

ทำงานร่วมกัน ด้วยเป้าหมายต้องการให้ประชาชนได้รับรู้

ข้อมลูขา่วสารทีถ่กูตอ้ง ครบถว้น และรอบดา้นทัง้ภมูหิลงัของ

เรื่องราวที่เกิดขึ้นและสถานการณ์ปัจจุบัน

การพัฒนาระบบฐานข้อมูลเฝ้าระวังสถานการณ์ มีความเป็น

มาอย่างไร

ผศ.ดร.ศรีสมภพ : การพัฒนาระบบฐานข้อมูลเราพัฒนามา

หลังจากที่ทำงานไปสักระยะหนึ่ง เรามีฐานข้อมูลมากมาย

จนเรียกได้ว่ากลายเป็น think tank เป็นคลังข้อมูลข่าวสาร

ที่มีการวิเคราะห์ สรุปรายงานสถานการณ์แต่ละช่วง เป็น

ขุมความรู้ ข้อเท็จจริงซึ่ งสะดวกต่อสื่อมวลชนทั้งไทย

ต่างประเทศ และผู้ที่สนใจ เข้ามาค้นคว้านำไปอ้างอิง

จุดดีของการทำงานร่วมกันเป็นเครือข่ายคืออะไร

ผศ.ดร.ศรีสมภพ : ด้านดีของทั้งสองฝ่ายจะมาผสมกัน เช่น

นักวิชาการทำงานวิจัยด้านลึก มีแนวคิดวิธีวิจัยอย่างเป็น

ระบบ แต่กระบวนการวิจัยใช้เวลานาน ส่วนงานด้านสื่อจะ

ทำงานเชิงประเด็นเฉพาะหน้าสามารถที่จะนำประเด็นมา

ทำงานสืบสวนสอบสวน เป็นสิ่งที่นักข่าว นักหนังสือพิมพ์

สามารถทำรายงานข่าวเจาะได ้ ข้ออ่อนคือขาดรายละเอียด

ทฤษฎีมุมมองการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ การเชื่อมโยงกับ

ปัญหาอื่นๆ ที่ซับซ้อนขึ้น เมื่อสองส่วนทำงานร่วมกันจะมี

พัฒนาการของงานมากขึ้น

ใช้ช่องทางอะไรในการสื่อสาร

ผศ.ดร.ศรีสมภพ : ผลงานทางวิชาการถูกนำมาย่อยผ่านสื่อ

ด้วยภาษาที่ง่าย และเผยแพร่ในพื้นที่สาธารณะ เช่น พร้อม

เผยแพร่ข้อมูลผ่านช่องทาง www.deepsouthwatch.org

และวารสาร deepsouthbookazine นำเสนอขา่วสถานการณ์

ที่น่าสนใจ อาศัยความชำนาญเฉพาะด้านของนักวิชาการมา

ช่วยทำให้เกิด ข่าวเจาะ ข่าวภูมิหลัง งานเชิงวิจัยออกมา

ต่อเนื่อง ที่สำคัญคือ มีข้อเสนอทางนโยบายที่ทันเหตุการณ์

ได้ทันท่วงที การเผยแพร่ข้อมูลเหล่านี้ผ่านช่องทางสื่อ มี

จุดเด่นคือ สามารถสร้างกระแสสังคมได้ ที่ทำให้ผู้กำหนด

นโยบายได้หันกลับมาดูทันที

มีอะไรที่อยากบอกเป็นเสียงสะท้อนจากคนทำงานในพื้นที่

บ้าง

ผศ.ดร.ศรีสมภพ : ต้องเปิดใจกว้าง ยอมรับว่ามีปัญหาเกิด

ขึ้นในภาคใต้ เป็นปัญหาที่ต้องช่วยกันคิด ช่วยกันหาทาง

แก้ไข ไม่ใช่แต่เฉพาะคนในสามจังหวัดชายแดนเท่านั้น เรา

กำลังอยู่ในสถานการณ์เรียนรู้ปัญหาใหม่ สถานการณ์ความ

รนุแรงมนัไมเ่คยเกดิขึน้ในสงัคมไทยมากอ่น ในแงข่องเชือ้ชาติ

ศาสนา การปรับตัว 2-3 ปีที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่รัฐ ทหาร

Page 28: 20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก เพื่อนำสังคมไทยสู่ “ระบบ ...203.157.10.11/pmqa53/wp-content/uploads/downloads/it7123.pdf ·

54 / คนต้นคิด

ตำรวจ ฝ่ายความมั่นคงเริ่มมีการเรียนรู้ ยอมรับความยาก

ความซับซ้อนที่เกิดขึ้น มีขั้นตอน มีการเรียนรู้ที่ดีขึ้น และ

เป็นจุดดีที่จะช่วยให้เราแก้ปัญหาได้ดีขึ้น เป็นการอุดช่องว่าง

ช่องโหว่ความผิดพลาดในอดีตที่เคยเกิดขึ้น สามารถแก้ไขได้

ด้วยการเรียนรู้ การยอมรับ และความเข้าใจเป็นสัญญาณดีที่

ช่วยให้มองเห็นทางออกในการแก้ปัญหาไฟใต้ได้

นพ.วิจักษ์ จักรพันธุ์ ณ อยุธยา

บนเส้นทาง

“แผ้วถางทางด่วนข้อมูลสุขภาพ”

Page 29: 20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก เพื่อนำสังคมไทยสู่ “ระบบ ...203.157.10.11/pmqa53/wp-content/uploads/downloads/it7123.pdf ·

56 / คนต้นคิด บนเส้นทาง “แผ้วถางทางด่วนข้อมูลสุขภาพ” / 57

ขอ้มลูในเครือ่งคอมพวิเตอรภ์ายในสถานอีนามยัและศูนย์สุขภาพชุมชนอันเป็น “ประตูด่านแรก” ในการเข้า

ถึงระบบบริการสุขภาพ ที่กระจายตัวอยู่ทั่วทุกตำบลหนแห่ง

ทั่วประเทศไทยนั้น เป็นเสมือนชิ้นส่วนเล็กๆ ที่เมื่อนำมา

ปะติดปะต่อเข้าด้วยกันแล้วจะกลายเป็นภาพที่สื่อให้เห็น

ข้อเท็จจริงอันมีคุณค่ามหาศาล... นั่นคือสิ่งที่ทำให้ศัลยแพทย์

คนหนึ่ง อาสาเข้ามาเป็นแกนนำในการดำเนิน โครงการ

พัฒนาระบบการเชื่อมโยงฐานข้อมูลสถานีอนามัยระดับ

จังหวัดและส่วนกลาง ซึ่งแผนงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสาร

สุขภาพ เป็นหนึ่งในองค์กรที่ร่วมสนับสนุน

“คนต้นคิด” ขอพาทุกท่านไปพูดคุยกับ นพ.วิจักษ์

จักรพันธุ์ ณ อยุธยา คุณหมอหนุ่มไฟแรงแห่งศูนย์การแพทย์

ปัญญานันทภิกขุ เกี่ยวกับเรื่องนี ้

>>> ไม่เพียงทำให้เกิดฐานข้อมูล สำหรับการวางแผนรองรับ ด้านการดูแลรักษา แต่ยังก้าวไปถึงการป้องกันได้ด้วย

>>> นพ.วิจักษ์ จักรพันธุ์ ณ อยุธยา

Page 30: 20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก เพื่อนำสังคมไทยสู่ “ระบบ ...203.157.10.11/pmqa53/wp-content/uploads/downloads/it7123.pdf ·

58 / คนต้นคิด บนเส้นทาง “แผ้วถางทางด่วนข้อมูลสุขภาพ” / 5�

โครงการนี้มีความเป็นมาอย่างไร

นพ.วิจักษ์ : ปัจจุบันประเทศไทยมีสถานีอนามัยอยู่นับหมื่น

แห่ง แต่ละแห่งให้บริการประชาชนในพื้นที่ระดับตำบล

ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศ ถ้าหากมีการเชื่อมโยงข้อมูลจาก

สถานีอนามัยทุกแห่งเข้ามารวมกัน เราจะได้เห็นภาพรวมว่า

สภาวะสุขภาพของคนไทยเป็นอย่างไรที่ผ่านมา ประเด็นนี้

ทางกระทรวงสาธารณสุขมองเห็นความสำคัญ จึงได้พัฒนา

โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับใช้เก็บข้อมูลการให้บริการใน

สถานีอนามัย และใช้ทุกแห่งมานานพอสมควรแล้ว แต่สิ่งที่

ยังขาดอยู่คือการเชื่อมโยงข้อมูลทั้งหมดมารวมกัน เพราะใน

เวลานั้นค่าใช้จ่ายในการเก็บข้อมูลจำนวนมาก และการเชื่อม

ต่อเครือข่ายระบบสื่อสารสนเทศยังสูงมาก จนกระทั่งในช่วง

ประมาณ 2 ปีที่ผ่านมานี้ ค่าใช้จ่ายลดลงมาก ทั้งเรื่อง

ฮาร์ดดิสก์และการเชื่อมเครือข่าย จึงมีการหารือร่วมกัน

ระหว่างหน่วยงานต่างๆ กับสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์

กระทรวงสาธารณสุข เพื่อพัฒนาระบบการเชื่อมโยงข้อมูล

ฐานข้อมูลจากสถานีอนามัยทั้งหมดเข้าด้วยกัน และเห็นว่ามี

ความเป็นไปได้และคุ้มค่า จึงเริ่มเดินหน้าโครงการนี้มาได้

ประมาณปีเศษๆ แล้วครับ

ตอนนี้เดินหน้าไปถึงขั้นไหน

นพ.วิจักษ์ : ต้องบอกว่าด้วยความร่วมมือจากทุกๆ ฝ่าย

ทำให้โครงการก้าวไปได้เร็วกว่าที่คิดมาก ภายในเวลาเพียงปี

เดียว เราได้ข้อมูลที่ส่งมาจากสถานีอนามัยทุกแห่ง ยกเว้นใน

เขต กทม. โดยทยอยสง่มาในรปูของดวีดี ีรวมทัง้ทางออนไลน์

อย่างต่อเนื่อง ในภาพรวมถือว่าเราผ่านพ้นงานในระยะแรก

ที่เปรียบเสมือนการตัดถนนสร้างทางให้ข้อมูลจากทั่วประเทศ

ไหลมารวมกันที่ส่วนกลางได้แล้ว ตอนนี้กำลังก้าวเข้าสู่ระยะ

ที่สอง คือการวิเคราะห์ข้อมูลและพัฒนาระบบเพื่อให้ได้

คุณภาพ เช่น การสร้างโปรแกรมหุ่นยนต์ในการประมวลและ

ตรวจสอบขอ้มลูใหเ้รา คาดวา่ขัน้ตอนนีจ้ะใชเ้วลาอกีประมาณ

2-5 ปี เมื่อผ่านพ้นส่วนนี้ จะมั่นใจได้ว่าข้อมูลที่ไหลเข้ามาสู่

ระบบรวมจะมคีณุภาพและรวดเรว็ชนดิที ่ รายงานสถานการณ์

ความเปลี่ยนแปลงในระดับประเทศไทยได้วันต่อวัน สามารถ

ใช้เป็นฐานข้อมูลในการเฝ้าระวังโรคได้อย่างสมบูรณ์

คุณหมอมีความสนใจเกี่ยวกับเรื่องระบบข้อมูลสารสนเทศ

ตั้งแต่เมื่อไร

นพ.วิจักษ์ : ผมตั้งใจตั้งแต่เรียนจบแพทยศาสตร์ เมื่อปี

2538 ว่าวันหนึ่งจะต้องทำเรื่องนี้ให้ได้ แต่ตอนนั้นทุกอย่าง

แพงมาก ยังทำไม่ไหว พอไปทำงานใช้ทุนที่โรงพยาบาลใน

จังหวัดน่าน ที่นั่นขาดแคลนเรื่องของระบบข้อมูลสารสนเทศ

มาก จึงเสนอต่อผู้บริหารว่าขอเขียนโปรแกรมเพื่อใช้เก็บ

ข้อมูลคนไข้ การจ่ายยา และผลตรวจวิเคราะห์จากห้องแล็บ

ในรูประบบเครือข่าย เพราะคิดว่าการใช้ระบบไอทีช่วย จะ

ทำให้เข้าใจสถานการณ์ในภาพรวมได้ง่าย จากนั้นก็ทำจน

สำเร็จ ถือว่านั่นคือจุดเริ่มต้น หลังจากนั้นก็ย้ายมาประจำที่

โรงพยาบาลชลประทาน เมื่อ 5 ปีก่อน ก็มาพัฒนาระบบ

Page 31: 20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก เพื่อนำสังคมไทยสู่ “ระบบ ...203.157.10.11/pmqa53/wp-content/uploads/downloads/it7123.pdf ·

60 / คนต้นคิด บนเส้นทาง “แผ้วถางทางด่วนข้อมูลสุขภาพ” / 61

ข้อมูลสารสนเทศที่นี่ต่อ พอมีโอกาสได้ทำงานในระดับ

กระทรวงครั้งนี้ ถือว่าเป็นเรื่องที่ท้าทาย เพราะไม่เพียงทำให้

เกิดฐานข้อมูลสำหรับการวางแผนรองรับด้านการดูแลรักษา

แต่ยังก้าวไปถึงการป้องกันได้ด้วย

ที่ผ่านมาพบอุปสรรคอย่างไรบ้าง

นพ.วิจักษ์ : ตอนแรกเรียกได้ว่าเป็นเหมือนคนขายฝันก็ว่าได้

เพราะการพัฒนาระบบฐานข้อมูลของสถานีอนามัยเริ่มต้นมา

แล้วประมาณ 20 ปี พอมีคนคิดจะทำอะไรต่อ คนก็มักมอง

ว่าต้องมีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง พอจะเริ่มโครงการนี้ เลยคิด

ว่าให้คนของกระทรวงทำกันเองดีกว่า เพราะเราสามารถดูแล

ได ้ตอนแรกทางกระทรวงกก็งัวลเหมอืนกนัวา่จะไปไดแ้คไ่หน

แต่เราก็เดินหน้าต่อ โดยรวมเอาคนในกระทรวงสาธารณสุขที่

สนใจเรื่องคอมพิวเตอร์มารวมกัน และพัฒนาระบบและ

โปรแกรมในลักษณะของ open source ที่ไม่มีลิขสิทธิ์ เพื่อ

เปิดกว้างให้เข้ามาช่วยกันพัฒนาได้ ผมเองก็ไม่มีออฟฟิศที่

นั่งทำเรื่องนี้แบบประจำ ยังต้องผ่าตัดไปด้วย ทำงานนี้ไป

ด้วย โดยการสื่อสารกับทีมงานผ่านอีเมล์ มาถึงจุดที่ผ่าน

ระยะแรกไปได้ในเวลาเพียงปีเดียวอย่างที่ได้เล่าให้ฟังตอน

แรก ก็เรียกได้ว่าเราผ่านขั้นตอนที่ยุ่งยากที่สุดมาแล้ว และใน

ขั้นจากนี้ก็จะมีอาจารย์ผู้ใหญ่ และหลายหน่วยงาน เช่น

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็ก-

ทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) เข้ามาช่วย

เรียกว่าเข้าขั้นสตาร์ทติดแล้ว

มาถึงขั้นนี้รู้สึกอย่างไร

นพ.วิจักษ์ : ต้องบอกว่าดีใจมากครับ ที่ได้ทำในสิ่งที่คิดว่าไม่

น่าเชื่อให้เกิดขึ้นได้ ต้องขอบคุณอาจารย์ผู้ใหญ่หลายท่าน

ที่ช่วยชี้ทางตั้งแต่เริ่มต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นพ.ทวีทอง

กออนันตกูล ที่กรมควบคุมโรค ที่ท่านได้แนะนำให้ผมเห็น

ประโยชน์ของการพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ

ผมคิดว่าที่เราทำงานได้สำเร็จในขั้นแรก และจะก้าวต่อ

ไปด้วยความตั้งใจที่ไม่ลดน้อยลง เป็นเพราะเรามีจุดร่วมกัน

ตรงที่อยากให้คนไทยทั้งประเทศได้รับการดูแลสุขภาพอย่าง

ดีที่สุดครับ

Page 32: 20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก เพื่อนำสังคมไทยสู่ “ระบบ ...203.157.10.11/pmqa53/wp-content/uploads/downloads/it7123.pdf ·

อรพิน ทรัพย์ล้น

“ระบบมรณบัตร” เรื่องที่ต้องพัฒนา

Page 33: 20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก เพื่อนำสังคมไทยสู่ “ระบบ ...203.157.10.11/pmqa53/wp-content/uploads/downloads/it7123.pdf ·

64 / คนต้นคิด “ระบบมรณบัตร” เรื่องที่ต้องพัฒนา / 65

“จิก๊ซอว”์ ทีส่ำคญัชิน้หนึง่ของการ “ยกเครือ่ง” ระบบข้อมูลการเสียชีวิตของประเทศไทยก็คือ การพัฒนา

ระบบข้อมูลการตายนอกสถานพยาบาล เพื่อให้การระบุ

สาเหตุและข้อมูลเกี่ยวเนื่องกับการเสียชีวิตของคนไทยเป็นไป

อย่างถูกต้องตามข้อเท็จจริง อันจะทำให้การนำข้อมูลไปใช้

วางแผนเชิงป้องกันปัญหาและการพัฒนาคุณภาพชีวิตแก่

ประชาชนเป็นไปอย่างตรงจุด เราจะไปสนทนากับ คุณอรพิน

ทรัพย์ล้น แห่ง สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวง

สาธารณสุข ผู้เป็นหนึ่งในแกนนำการพัฒนาองค์ประกอบที่

สำคัญส่วนนี้

>>> เมื่อทราบสาเหตุการเสียชีวิต และประมวลภาพรวมออกมาได้ ก็สามารถนำไปพิจารณาต่อได้ว่า จะป้องกันและสร้างเสริมสุขภาพ ให้แก่ประชาชนได้อย่างไร

>>> อรพิน ทรัพย์ล้น

Page 34: 20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก เพื่อนำสังคมไทยสู่ “ระบบ ...203.157.10.11/pmqa53/wp-content/uploads/downloads/it7123.pdf ·

66 / คนต้นคิด “ระบบมรณบัตร” เรื่องที่ต้องพัฒนา / 67

การพัฒนาระบบข้อมูลการตายนอกสถานพยาบาลมีความ

สำคัญอย่างไร

คุณอรพิน : ข้อมูลเกี่ยวกับสาเหตุการเสียชีวิต มีความสำคัญ

อย่างมากต่อการนำไปใช้วางแผนงานด้านสุขภาพในระดับ

ชาติ เพราะเมื่อทราบสาเหตุการเสียชีวิตและประมวลภาพ

รวมออกมาได้ก็สามารถนำไปพิจารณาต่อได้ว่า จะป้องกัน

และสร้างเสริมสุขภาพให้แก่ประชาชนได้อย่างไร แต่ที่ผ่าน

มามีการทบทวนข้อมูลจากมรณบัตรพบว่า มีการระบุสาเหตุ

คลุมเครือไม่ชัดเจน เช่น เสียชีวิตเพราะโรคชรา ฯลฯ มาก

กว่า ร้อยละ 40 ทำให้ไม่สามารถนำข้อมูลสำคัญนี้ไปใช้

ประโยชน์ได้มากเท่าที่ควร

ทั้งนี้ ขอบเขตการเก็บข้อมูลการตายนอกสถานพยาบาล

ได้แก่ การตายด้วยสาเหตุตามธรรมชาตินอกสถานพยาบาล

ไม่รวมการตายจากอุบัติเหตุ หรือการตายแบบผิดธรรมชาติ

ในลักษณะต่างๆ เพราะส่วนนั้นไปเกี่ยวข้องกับกฎหมาย

เกี่ยวกับการชันสูตรพลิกศพ

วัตถุประสงค์ของโครงการที่ดำเนินการอยู่ในขณะนี้คืออะไร

คุณอรพิน : สิ่งที่เราทำคือการพัฒนาระบบข้อมูลการตาย

นอกสถานพยาบาลในส่วนนี้ จากเดิมที่กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน

เป็นผู้ระบุสาเหตุที่จะบันทึกลงมรณบัตรว่า ผู้ตายเสียชีวิต

เพราะอะไร ซึ่งอย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่าระบบที่เป็นอยู่ใน

ปัจจุบัน ไม่ได้เป็นข้อมูลที่ชัดเจนพอในสัดส่วนที่สูงมาก เมื่อ

ไปสู่ระบบใหม่ที่ไม่เพียงทำให้ได้ข้อมูลที่เที่ยงตรง ชัดเจน

มากขึน้ แตย่งัทำไดค้ลอ่งตวัและปฏบิตัไิดอ้ยา่งมปีระสทิธภิาพ

ในทุกจังหวัดทั่วประเทศ

โครงการนี้เริ่มต้นตั้งแต่เมื่อไหร่ และดำเนินการอย่างไร

คุณอรพิน : เราเริ่มต้นดำเนินงานเมื่อกลางปี 2551 ที่ผ่านมา

โดยทดลองทำคู่ขนานกัน 2 รูปแบบ ใน 2 จังหวัด รูปแบบ

แรก เป็น การศึกษาแบบมองไปข้างหน้า (prospective)

คือ กรณีที่เกิดการเสียชีวิตในช่วงดำเนินโครงการ โดยปรับ

ขั้นตอนจากเดิมที่เมื่อญาติผู้ตายมาแจ้งต่อทางการ กำนัน

ผู้ใหญ่บ้าน หรือญาติจะเป็นผู้ระบุสาเหตุการตายในมรณบัตร

มาเป็น เมื่อกำนัน ผู้ใหญ่บ้านรับแจ้งเหตุแล้ว ให้ญาติมาพบ

เจ้าหน้าที่สถานีอนามัย ซึ่งจะสัมภาษณ์ตามแบบฟอร์ม เพื่อ

ให้ได้รายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับสาเหตุการตายชัดเจนพอที่

จะนำไปสู่การระบุสาเหตุได้อย่างถูกต้อง ในแบบฟอร์ม ทร.4

ตอนหนึ่งนี้แล้ว ก็นำเอกสารไปยื่นต่อทางอำเภอเพื่อขอใบ

มรณบัตรต่อไป

รูปแบบที่สองเป็น การศึกษาย้อนหลัง (retrospective)

โดยทางสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) นำข้อมูลการ

ตายจากใบขอมรณบตัรตามขัน้ตอนเดมิ ทีไ่ดร้บัจากกระทรวง

มหาดไทย แจ้งต่อสถานีอนามัยในพื้นที่ของผู้ตาย ให้ย้อน

กลับไปหาญาติผู้เสียชีวิตเพื่อสอบถามข้อมูลกรอกลงในแบบ

ฟอร์มเดียวกันกับที่ใช้ในรูปแบบแรก แล้วส่งกลับไปยัง สสจ.

เพื่อรายงานสู่ระบบข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขในส่วน

กลางต่อไป

Page 35: 20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก เพื่อนำสังคมไทยสู่ “ระบบ ...203.157.10.11/pmqa53/wp-content/uploads/downloads/it7123.pdf ·

68 / คนต้นคิด “ระบบมรณบัตร” เรื่องที่ต้องพัฒนา / 6�

ดำเนินการในพื้นที่ใดบ้าง

คุณอรพิน : รูปแบบแรกทดลองที่จังหวัดราชบุรี ส่วนรูปแบบ

ที่สอง ทดลองที่จังหวัดลพบุรี อย่างไรก็ตาม เราสนับสนุน

งบประมาณให้จังหวัดอุบลราชธานีดำเนินการไปพร้อมกัน

ด้วย เนื่องจากที่จังหวัดนี้กำหนดยุทธศาสตร์ชัดเจนว่าจะ

พัฒนาระบบข้อมูลการตายในพื้นที่ เพราะรับไม่ได้กับสภาพ

ที่มีข้อมูลจากมรณบัตรระบุว่า เสียชีวิตเพราะโรคชราใน

สัดส่วนสูงมาก จึงเลือกทำในรูปแบบแรกคือ การมองไป

ข้างหน้า และทุกวันนี ้ เมื่อมีผู้เสียชีวิตด้วยสาเหตุการตาย

ตามธรรมชาตินอกสถานพยาบาล ก็ได้ให้การสนับสนุนทาง

ดา้นวชิาการ และงบประมาณบางสว่นในการออกใบมรณบตัร

ขณะนี้ก้าวหน้าไปถึงขั้นไหน

คุณอรพิน : การดำเนินงานในพื้นที่สิ้นสุดลงแล้ว ขณะนี้เป็น

ขั้นตอนของการประมวลผลและปรับข้อมูลให้สมบูรณ์ และ

วิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็งของการดำเนินการในแต่ละรูปแบบ

เพื่อนำแนวคิดและข้อค้นพบเสนอต่อผู้บริหารกระทรวง

สาธารณสุข ผู้เกี่ยวข้องในกระบวนการออกมรณบัตรจาก

จังหวัดต่างๆ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนและขยายผลไปสู่

จังหวัดที่เห็นความสำคัญของข้อมูลการตายก่อน

จะเกิดอะไรขึ้นบ้างในปี 2552 นี้

คุณอรพิน : ในเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม 2552 เราจะนำ

แนวคิดและข้อมูลนำเสนอต่อจังหวัดที่สนใจ รวมทั้งจังหวัดที่

ต้องการพัฒนา โดยประเมินศักยภาพเพื่อให้มีการทดลอง

ดำเนินการออกไป โดยจะเป็นการทดลองทั้ง 2 รูปแบบ ไม่

ยึดติดว่าต้องเป็นรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง

เพื่อหาข้อสรุปที่ชัดเจนในขั้นสุดท้ายว่าระบบข้อมูล

การตายนอกสถานพยาบาลของประเทศไทยควรปรับไปสู่

ลักษณะใด

Page 36: 20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก เพื่อนำสังคมไทยสู่ “ระบบ ...203.157.10.11/pmqa53/wp-content/uploads/downloads/it7123.pdf ·

ทพญ.กนิษฐา บุญธรรมเจริญ

“ภาระโรค” เรื่องน่ารู้

Page 37: 20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก เพื่อนำสังคมไทยสู่ “ระบบ ...203.157.10.11/pmqa53/wp-content/uploads/downloads/it7123.pdf ·

72 / คนต้นคิด “ภาระโรค” เรื่องน่ารู้ / 73

ถา้คณุเปน็คนหนึง่ทีส่นใจตดิตามขอ้มลูในแวดวงสร้างเสริมสุขภาพในช่วงประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา อาจเคย

ได้ยินคำว่า เครื่องชี้วัดภาระโรค (Burden of Disease) ซึ่ง

เป็นเครื่องมือวัดปีสุขภาวะที่สูญเสียไปจากโรคและการบาด

เจ็บของประชากร (Disability-Adjusted Life Years-DALYs)

ผ่านหูผ่านตากันมาบ้างไม่มากก็น้อย เราขอพาไปสนทนากับ

ทพญ.กนิษฐา บุญธรรมเจริญ โครงการศึกษาภาระโรคและ

ปัจจัยเสี่ยงของประเทศไทย สำนักพัฒนานโยบายสุขภาพ

ระหว่างประเทศ (IHPP) หนึ่งในผู้ที่คลุกคลีกับข้อมูลชุดนี้มา

ตั้งแต่ช่วง “ตั้งไข่” จนกลายมาเป็นหนึ่งในข้อมูลที่ถูก

ใช้กำหนดทิศทางแผนพัฒนาด้านสุขภาพของประเทศไทยใน

วันนี้

>>> การวัดภาระโรคเป็นการคำนวณ ความสูญเสียทางสุขภาพ จากการเจ็บป่วย พิการ หรือเสียชีวิตก่อนอายุที่คาดหมาย ทพญ.กนิษฐา บุญธรรมเจริญ >>>

Page 38: 20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก เพื่อนำสังคมไทยสู่ “ระบบ ...203.157.10.11/pmqa53/wp-content/uploads/downloads/it7123.pdf ·

74 / คนต้นคิด “ภาระโรค” เรื่องน่ารู้ / 75

การศึกษา “ภาระโรค” มีที่มาอย่างไร?

ทพญ.กนิษฐา : แนวคิดนี้มีที่มาจากทางด้านเศรษฐศาสตร์

พัฒนาขึ้นมาโดยทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ที่

สหรัฐอเมริกา ถูกนำมาพัฒนาและต่อยอดจนเป็นที่รู้จักแพร่

หลายโดยองค์การอนามัยโลก โดยเมื่อประมาณ 10 ปีก่อน

องค์การอนามัยโลกจัดทำรายงานการจัดอันดับประเทศทั่ว

โลก ประมาณ 190 ประเทศ ตามความสามารถในการ

จัดการระบบสาธารณสุข โดยใช้ดัชนีวัด Health system

performance ใน 3 ด้านด้วยกัน คือ เรื่องของผลลัพธ์ทาง

สุขภาพ (Health achievement) เรื่องของความเป็นธรรม

ในระบบการเงินการคลังสาธารณสุข และสุดท้ายคือ เรื่อง

ของการตอบสนองของระบบสุขภาพต่อความต้องการของ

ประชาชน เช่น ระบบสุขภาพทำให้ผู้ที่ไปรับบริการรู้สึกว่า

ตนเองมีศักดิ์ศรีหรือไม่ ได้รับบริการรวดเร็วหรือไม่ เป็นต้น

สำหรับเรื่องของภาระโรคนี้เป็นส่วนหนึ่งในเรื่องของผลลัพธ์

ทางสุขภาพ

แนวคิดของภาระโรคคืออะไร

ทพญ.กนิษฐา : การวดัภาระโรคเปน็การคำนวณความสญูเสยี

ทางสุขภาพจากการเจ็บป่วย พิการ หรือเสียชีวิตก่อนอายุที่

คาดหมายออกมาโดยตีเป็นจำนวนปี ที่ผ่านมาเราใช้ตามค่า

มาตรฐานขององค์การอนามัยโลก คือ ผู้ชาย 80 ปี ผู้หญิง

ใช้ 82.5 ปี

หากเราแต่ละคนมีสุขภาพที่ดีสมบูรณ์แข็งแรงก็ควรจะ

ไปได้ถึงอายุที่คาดหมาย แต่ถ้าตายก่อน อย่างตายไปตอน

อายุ 50 ปี ก็เท่ากับสูญเสีย “ปีสุขภาวะ” ไป 30 ปี หรือถ้า

เจ็บป่วย พิการ ไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพเต็มร้อย

ก็จะมีการแปรออกมาเป็นสัดส่วนตัวเลขปีสุขภาวะที่สูญเสีย

ไป ความหมายโดยสรุปของ “ปีสุขภาวะ” ก็คือ ปีที่มีสุขภาพ

สมบูรณ์ มีชีวิตตามปกติ ทำกิจกรรมได้ตามปกติ นี่คือ

สุขภาพสมบูรณ์ แต่ถ้าใครเกิดพิการ เจ็บป่วยหรือประสบ

อุบัติเหตุแล้วพิการ ก็จะเริ่มไม่มีสุขภาวะแล้ว เราจะทอนตัว

ปีนี้ที่คิดว่าสุขภาวะได้สูญเสียไป ถ้าตายคือสูญเสียไป 1 ปี

เต็มๆ แต่ถ้าเกิดเจ็บป่วยพิการแขนขาดอย่างที่ว่า ก็คิดว่าเรา

มีสุขภาพดีเพียง 85 เปอร์เซ็นต์ ก็หมายถึงว่าเรามีความ

พิการ 15 เปอร์เซ็นต์ของปีสุขภาพดีเต็มที่ ฉะนั้นปีนั้นเรามี

ความพิการเกิดขึ้น 15 เปอร์เซ็นต์ สมมุติว่าเรามีชีวิตอยู่ใน

สภาพแขนขาด 5 ปี เท่ากับว่าเรามีความสูญเสียเกิดขึ้น

0.15 ปี ทุกๆ 5 ปี

เมื่อนำผลรวมของปีสุขภาวะที่สูญเสียไปของประชากร

ทั้งหมดมารวมกัน ก็จะได้ผลลัพธ์แสดงออกมาให้เห็นภาพ

รวมการสูญเสียปีสุขภาวะของคนในประเทศ ซึ่งจะเป็นตัวชี้

ถึงสภาวะสุขภาพได้ชัดเจนมากกว่าการพิจารณาจากอายุขัย

เฉลี่ยของประชากรอย่างเดียวเหมือนที่ผ่านมา

Page 39: 20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก เพื่อนำสังคมไทยสู่ “ระบบ ...203.157.10.11/pmqa53/wp-content/uploads/downloads/it7123.pdf ·

76 / คนต้นคิด “ภาระโรค” เรื่องน่ารู้ / 77

วิธีการคำนวณเหล่านี้มีคู่มือภาษาไทยให้ศึกษาหรือไม ่

ทพญ.กนิษฐา : มีค่ะ เราทำเป็นคู่มือไว้เพื่อใช้ในการอบรม

นักวิชาการที่มีความสนใจ ปีที่แล้วก็มีการจัดไปตอนปลายปี

มีคนสนใจพอสมควร ส่วนใหญ่ก็จะเป็นคนในแวดวงที่ทำ

เรื่องข้อมูลวิชาการ

ข้อมูลนี้นำไปใช้ประโยชน์อย่างไรได้บ้าง

ทพญ.กนิษฐา : หลักๆ เลยก็คือ ใช้เพื่อการจัดลำดับความ

สำคญัของปญัหาสขุภาพของประเทศ วา่ทรพัยากรเรามเีทา่น้ี

เราควรมุ่งความสนใจไปที่เรื่องอะไรบ้าง อีกส่วนหนึ่งคือ การ

ไปใช้ประโยชน์ในระดับจังหวัดหรือระดับพื้นที่ที่เล็กลงไป

คนในพื้นที่น่าที่จะได้รู้ว่าสถานการณ์ปัญหาสุขภาพของคนใน

พื้นที่เป็นอย่างไร

ที่ผ่านมา ข้อมูลเรื่องภาระโรคที่จัดทำครั้งแรกโดย

ใช้ข้อมูลของปี 2542 ได้ถูกใช้อ้างอิงในการทำแผนและ

การกำหนดนโยบายด้านสุขภาพอย่างต่อเนื่อง รวมถึง

การเป็นข้อมูลในการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

แห่งชาติ ฉบับที่ 10 ทางมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.)

ก็เคยพยายามจะนำข้อมูลตรงนี้ไปจัดลำดับความสำคัญของ

งานวิจัย เพื่อกำกับทิศทางของงานวิจัยให้ตอบสนองกับโรคที่

เป็นภาระลำดับสูงๆ อย่างไรก็ตาม ตรงนี้ก็มีข้อโต้เถียง

เหมือนกันว่า บางทีมันอาจจะทำอะไรไม่ได้เท่าไรนักเพราะ

การคำนวณภาระโรคอาศยัขอ้มลูยอ้นหลงั ซึง่เปน็สถานการณ์

ในอดีต

คุณหมอจับงานนี้ ซึ่งต้องอาศัยการรวบรวมข้อมูลสถิติทั้ง

ด้านการเจ็บป่วย และการตายในประเทศไทยนี้มายาวนาน

ร่วม 10 ปี อยากให้ช่วยสะท้อนว่ามองเห็นสภาพระบบ

ข้อมูลข่าวสารในบ้านเราเป็นอย่างไร

ทพญ.กนิษฐา : ต้องบอกตามตรงว่ามีปัญหามากเลยในเรื่อง

ข้อมูล การที่จะวัดปีสุขภาวะนั้นไม่ยาก แต่สิ่งที่ยากอยู่ตรง

คุณภาพของข้อมูลที่นำเข้ามาคำนวณว่าน่าเชื่อถือขนาดไหน

โดยเฉพาะในเรือ่งสาเหตกุารตายของประเทศไทย จรงิๆ แลว้

แพทย์ก็ไม่ได้ลงสาเหตุผิด แต่ข้อมูลที่ระบุเป็นสาเหตุการตาย

จากหัวใจล้มเหลว หรือติดเชื้อในกระแสโลหิต ฯลฯ ทำให้

เราไมส่ามารถสบืสาวไดว้า่สภาวะสขุภาพของผูต้ายเปน็อยา่งไร

และอะไรคือสาเหตุต้นทางของการตาย นอกจากนี้ ข้อมูล

ของบ้านเราค่อนข้างจะกระจัดกระจาย ข้อมูลแต่ละแหล่งก็

จัดทำขึ้นเพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน ที่เป็น

ปัญหามากคือการเก็บข้อมูลเป็นรายครั้งของการใช้บริการ

ซึ่งอาจเป็นคนเดิมซ้ำหลายครั้ง ขณะที่ข้อมูลปีสุขภาวะ และ

การชี้ภาระโรคมีพื้นฐานจากบุคคล เรียกว่าความสนใจ

แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม ถ้ามองในแง่ของพัฒนาการใน

ช่วง 10 ปีนี้ก็มองว่าดีขึ้นนะคะ ทั้งในแง่ของความครอบคลุม

และการรายงานที่รวดเร็วขึ้นกว่าเดิม

Page 40: 20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก เพื่อนำสังคมไทยสู่ “ระบบ ...203.157.10.11/pmqa53/wp-content/uploads/downloads/it7123.pdf ·

78 / คนต้นคิด

ล่าสุดทราบว่าผลการศึกษาล่าสุดกำลังจะออกเผยแพร่แล้ว

ทพญ.กนิษฐา : ค่ะ การศึกษาภาระโรคเราทำเป็นระยะทุก

5 ปี ชุดล่าสุด เป็นข้อมูลปี 2547 ข้อมูลก็เสร็จแล้ว ถ้า

เปรยีบเทยีบกบัครัง้กอ่นหนา้ สิง่ทีต่า่งกนัชดัเจนกค็อื จำนวน

การตายของประชาชนในวัยทำงานลดลงทั้งผู้หญิงผู้ชาย ซึ่ง

เราคดิวา่สว่นใหญจ่ะมาจากการลดลงของการตายจากเอดส.์..

รศ.ดร.พัชราวรรณ ศรีศิลปนันทน์

เกาะติดความก้าวหน้า โครงการพัฒนาระบบ

ข้อมูลผู้สูงอายุ

Page 41: 20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก เพื่อนำสังคมไทยสู่ “ระบบ ...203.157.10.11/pmqa53/wp-content/uploads/downloads/it7123.pdf ·

80 / คนต้นคิด เกาะติดความก้าวหน้า โครงการพัฒนาระบบข้อมูลผู้สูงอายุ / 81

ประโคมข่าวกันมานานว่า ไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่กำลังก้าวสู่ “สังคมสูงวัย” สิ่งหนึ่งที่เกิดไล่หลังตาม

มาก็คือ คำถามว่า แล้วเราได้ลงมือทำอะไร เพื่อเตรียมการ

รับมือกับสภาพการณ์ดังกล่าวไว้เพียงพอแล้วหรือยัง?

สนทนากับ รศ.ดร.พัชราวรรณ ศรีศิลปนันทน์ แห่งภาค

วิชาทันตกรรมครอบครัวและชุมชน คณะทันตแพทยศาสตร์

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ อดีตผู้อำนวยการสถาบันเวช-

ศาสตร์ผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ใน

ฐานะ หัวหน้าโครงการพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ

ผู้สูงอายุระดับพื้นที่ คือหนึ่งในผู้บุกเบิกงานด้านนี้ ซึ่งได้รับ

การสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสาร

สุขภาพ มาติดตามความคืบหน้าของโครงการที่น่าสนใจนี้

ด้วยกัน

อยากทำเรื่องผู้สูงอายุ และมีแนวคิดว่า ถ้าเรามีข้อมูลที่ดี ย่อมนำไปสู่การวางแผนที่ดีได ้รศ.ดร.พัชราวรรณ ศรีศิลปนันทน ์

>>>

>>>

Page 42: 20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก เพื่อนำสังคมไทยสู่ “ระบบ ...203.157.10.11/pmqa53/wp-content/uploads/downloads/it7123.pdf ·

82 / คนต้นคิด เกาะติดความก้าวหน้า โครงการพัฒนาระบบข้อมูลผู้สูงอายุ / 83

เหตุใดอาจารย์จึงเกิดความสนใจเรื่องผู้สูงอาย ุ

รศ.ดร.พัชราวรรณ : ตั้งแต่เริ่มเรียนปริญญาโทในปี พ.ศ.

2527 ที่มหาวิทยาลัยไอโอวา รัฐไอโอวา สหรัฐอเมริกา แรก

เริ่มก็ให้ความสนใจแต่สุขภาพฟันของเด็ก เพราะเป็นปัญหา

สำคัญในเมืองไทย แต่พอไปถึงไอโอวาทุกคนกลับสนใจเรื่อง

ผู้สูงอายุ เขาตื่นตัวกันมากเนื่องจากสังคมตะวันตกพบปัญหา

ผู้สูงอายุก่อนเรา นักวิชาการของเขามุ่งทำวิจัยศึกษาเรื่องนี้

นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยไอโอวายังเป็นมหาวิทยาลัยแรก

ที่ทำการศึกษาผู้สูงอายุระยะยาว จึงมีโอกาสตามอาจารย์ไป

ตรวจฟันผู้สูงอายุที่บ้าน แต่ตอนนั้นตัวเองยังหัวเราะและคิด

ว่าฉันจะดูเฉยๆ เมื่อกลับเมืองไทยก็ค่อยๆ มีความคิดไปที

ละน้อยว่า เรื่องผู้สูงอายุก็น่าสนใจ และคิดว่าอีกไม่นานเมือง

ไทยก็ต้องมีปัญหาเรื่องผู้สูงอายุ และได้รู้มาว่าในเชียงใหม่ก็มี

เครือข่ายที่ทำงานด้านผู้สูงอายุชื่อ Age Net จึงตามหาและ

ไปประชมุกบัเขา เพราะเกดิความตัง้ใจแลว้วา่จะทำงานดา้นน้ี

หลังจากนั้นก็ได้เข้ามาเป็นกรรมการ

ตอนนั้นสนใจเรื่องการพัฒนาระบบข้อมูลอยู่แล้วหรือไม ่

รศ.ดร.พัชราวรรณ : ไม่ เมื่อเรามีเครือข่าย Age Net ที่ว่านี้

และมีเพื่อนอาจารย์ที่อยู่ใน Age Net ได้แก่ คณาจารย์จาก

คณะแพทย์และพยาบาล คณะเทคนิคการแพทย์และเภสัชฯ

ก็เกาะกลุ่มชวนกันทำวิจัย เคยทำงานของสำนักงานกองทุน

สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) หนึ่งชิ้น เป็นเรื่อง

ของการรณรงค์ให้ผู้สูงอายุลด ละ เลิก เหล้าบุหรี่ โดยมี

แนวคิดว่า ผู้สูงอายุก็สามารถเป็นผู้นำเรื่องนี้ได้ นับว่าเป็น

โครงการที่สนุก ต่อมาหลังจากทำงานเกี่ยวกับเรื่องผู้สูงอายุ

มานาน สำนักงานวิจัยระบบสาธารณสุขภาคเหนือ มาตั้ง

สำนกังานอยูใ่ตต้กึของบณัฑติวทิยาลยั มหาวทิยาลยัเชยีงใหม ่

และเสนอที่จะให้ทุนอาจารย์ทำโครงการเรื่องเครือข่ายข้อมูล

ข่าวสารระดับพื้นที่ ดิฉันได้ตอบรับด้วย ทั้งที่จริงไม่ได้มี

ความถนดัเรือ่งขอ้มลูขา่วสารมากนกั แตอ่ยากทำเรือ่งผูส้งูอาย ุ

และมีแนวคิดว่า ถ้าเรามีข้อมูลที่ดี ย่อมนำไปสู่การวางแผน

ที่ดีได้ เพราะปัญหาของประเทศไทยก็คือ เรามักจะขาด

ข้อมูล โดยเฉพาะด้านข้อมูลสุขภาพ

ดำเนินการอย่างไร

รศ.ดร.พัชราวรรณ : เริ่มต้นจากเลือกพื้นที่จังหวัดลำพูน

เพราะเห็นว่าเป็นพื้นที่เล็กๆ ที่น่าสนใจ โครงการของเราก็

แบ่งเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 เป็นโครงการศึกษาสถานการณ์

ระบบข้อมูลสุขภาพผู้สูงอายุ ดูว่าปัจจุบันนี้สถานการณ์ใน

การเก็บข้อมูลเป็นอย่างไรบ้าง โดยใช้กรอบแนวคิด 5 ด้าน

ขององค์การอนามัยโลกคือ เรื่องของภาวะสุขภาพ, เรื่อง

พฤติกรรมสุขภาพ ระบบบริการสุขภาพ ปัจจัยด้านสังคม

เศรษฐกิจ สวัสดิการที่เกี่ยวกับผู้สูงอายุ และสิ่งแวดล้อมที่

เอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดี ซึ่งหมายถึงทั้งกายและใจ ส่วนระยะ

ที่ 2 คือ การพัฒนาตัวชี้วัดสุขภาพผู้สูงอายุ จากข้อมูลแรก

และการทบทวนวาทกรรมเช่นเดียวกัน เราก็มาดูว่าตัวชี้วัด

สุขภาพนั้นควรจะมีสักกี่ตัว และพื้นที่เขาเก็บอะไรแล้วบ้าง

Page 43: 20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก เพื่อนำสังคมไทยสู่ “ระบบ ...203.157.10.11/pmqa53/wp-content/uploads/downloads/it7123.pdf ·

84 / คนต้นคิด เกาะติดความก้าวหน้า โครงการพัฒนาระบบข้อมูลผู้สูงอายุ / 85

และอะไรที่ยังไม่ได้เก็บ และจะเก็บอย่างไรให้ง่ายที่สุด เมื่อ

จบเฟส 2 ซึ่งเราได้ตัวชี้วัดแล้ว ขั้นต่อไปคือ ความฝันของ

เรา คือจะพัฒนาระบบสารสนเทศ

ทีมงานมาจากที่ไหนบ้าง

รศ.ดร.พัชราวรรณ : ทีมหลักคือ คณาจารย์ในมหาวิทยาลัย

เชียงใหม่ จากคณะแพทย์ พยาบาล ทันตแพทย์วิทยาลัย

พยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่ และนักพัฒนาระบบสาร-

สนเทศอิสระ ซึ่งเป็นกลุ่มที่เคยทำให้จังหวัดลำพูนมาก่อน

เราจึงอยากเชื่อมโยงกับคนเดิมของที่นั่น ในทีมหลักนี้มี

ทัง้หมด 5 คน สว่นในพืน้ทีก่จ็ะมากหนอ่ยประมาณ 15 คน

พื้นที่มีส่วนร่วมในโครงการหรือไม่ อย่างไร

รศ.ดร.พัชราวรรณ : หลักการสำคัญของเราคือ ต้องการให้

พื้นที่ร่วมเป็นเจ้าของโครงการกับเรา ในการประชุมกับพื้นที่

เมื่อปลายเดือนมีนาคม เราก็นำเสนอในพื้นที่ว่า จะออกแบบ

ให้ทุกคนเป็นเจ้าของข้อมูล ทุกคนสามารถเข้ามาดึงข้อมูลไป

ใช้ได้

ขณะนี้โครงการดำเนินการมาถึงขั้นไหน

รศ.ดร.พัชราวรรณ : ตอนนี้กำลังจะปิดระยะที่สอง เราได้ตัว

ดัชนีชี้วัด โดยเป็นดัชนีที่เราทบทวนเอกสารและพูดคุยกับ

พื้นที่ ซึ่งอาจไม่ตรงกับดัชนีชี้วัดที่คนอื่นทำจากโครงการอื่น

ก็ได้ แต่คนในอำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน มาดูแล้วบอกว่า

ใช่เลย ขั้นต่อไปก็คือ การพัฒนาตัวเครื่องมือนี้ให้เป็นระบบ

รวมทั้งระบบการจัดเก็บด้วย

เป้าหมายที่อยากเห็นคืออะไรคะ

รศ.ดร.พัชราวรรณ : อยากเห็นว่า ในขั้นสุดท้ายแล้วแต่ละ

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุสามารถดึงข้อมูลของเราไป

ใชไ้ด ้โดยเราจะทำระบบฐานขอ้มลูทีใ่หบ้คุคลกลุม่ทีร่ะบเุขา้ไป

เติมหรือแก้ไขข้อมูลได้ และกลุ่มทั่วไปก็สามารถเข้าไปศึกษา

หรือดึงข้อมูลออกมาใช้ประโยชน์ได้อย่างสะดวก

ความฝันสูงสุดก็คือ เมื่อเราได้ต้นแบบแล้ว เราทำงาน

เสร็จเราก็ส่งคืนเจ้าของทุน จากนั้นถ้าเขาเห็นว่าเป็นเครื่อง

มือที่ดี เขาก็สามารถผลักดันต่อไปให้นำไปใช้ในระดับชาติ

Page 44: 20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก เพื่อนำสังคมไทยสู่ “ระบบ ...203.157.10.11/pmqa53/wp-content/uploads/downloads/it7123.pdf ·

รัชนี จันทร์เกษ

งานแพทย์แผนไทย เดินหน้า

“ศูนย์ข้อมูลเชิงยุทธศาสตร์”

Page 45: 20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก เพื่อนำสังคมไทยสู่ “ระบบ ...203.157.10.11/pmqa53/wp-content/uploads/downloads/it7123.pdf ·

88 / คนต้นคิด งานแพทย์แผนไทยเดินหน้า “ศูนย์ข้อมูลเชิงยุทธศาสตร์” / 8�

การพัฒนาข้อมูลสักชิ้นขึ้นมา เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงยุทธศาสตร์หรือวางแผนระดับนโยบายได้นั้นไม่ใช่เรื่อง

ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับหน่วยงานที่เพิ่งตั้งขึ้นได้ไม่

นานอย่าง กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

แต่ในวันนี้ หน่วยงานแห่งนี้ได้บุกเบิกสร้าง ศูนย์ข้อมูลเชิง

ยุทธศาสตร์ ที่ผลิตงานข้อมูลเพื่อสนับสนุนงานระดับนโยบาย

ได้อย่างต่อเนื่องกว่า 5 ปี “คนต้นคิด” จึงขอพาคุณผู้อ่านไป

พูดคุยกับ คุณรัชนี จันทร์เกษ หัวหน้าศูนย์ข้อมูลเชิง

ยุทธศาสตร์ กรมการแพทย์แผนไทยฯ ถึงการก่อร่างสร้าง

ฐานข้อมูล ที่เธอแอบกระซิบว่า “เหมือนเริ่มต้นจากศูนย์”

งานตรงนี้ ได้โจทย์ ใหญ่ คือต้องได้ข้อมูล ที่เมื่อวิเคราะห์เสร็จแล้ว สามารถนำไปใช้ประโยชน์ ในเชิงนโยบายได้ รัชนี จันทร์เกษ

>>>

>>>

Page 46: 20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก เพื่อนำสังคมไทยสู่ “ระบบ ...203.157.10.11/pmqa53/wp-content/uploads/downloads/it7123.pdf ·

90 / คนต้นคิด งานแพทย์แผนไทยเดินหน้า “ศูนย์ข้อมูลเชิงยุทธศาสตร์” / �1

โครงการนี้มีที่มาอย่างไร

คุณรัชนี : มาจากคุณหมอประพจน์ เภตรากาศ ดิฉันเอง

ทำงานอยู่สำนักงานการแพทย์พื้นบ้านก่อนแล้ว และได้ร่วม

เป็นคณะทำงานจัดงาน มหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ ครั้งที่ 1

เมื่อปี 2547 โดยในงานครั้งนั้นมีการประชุมวิชาการเพื่อจัด

ทำยุทธศาสตร์ชาติด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์

พืน้บา้น และการแพทยท์างเลอืกขึน้เปน็ปแีรก ซึง่กไ็ดท้ศิทาง

และยุทธศาสตร์ 5 ประเด็นออกมา แต่ตอนนั้นภาพรวมของ

งานการแพทย์แผนไทยยังไม่มีองค์กรที่ดูแลภาพรวมของงาน

ด้านนี้ทั้งหมด จึงมีการจัดประชุมเพื่อจัดทำ แผนยุทธศาสตร์

ชาติการพัฒนาภูมิปัญญาไทยสุขภาพวิถีไทย พ.ศ. 2550-

2554 ซึ่งมีการทบทวนวาทกรรมในแต่ละเรื่อง ไม่ว่าจะเป็น

ยทุธศาสตรก์ารจดัการความรู ้ยทุธศาสตรก์ำลงัคน ยทุธศาสตร์

ของระบบบริการทั้งระบบ ยุทธศาสตร์การพัฒนายาไทยและ

ยาสมุนไพร ยุทธศาสตร์การคุ้มครองภูมิปัญญาของแพทย์

แผนไทยและแพทย์พื้นบ้าน ผลปรากฏว่าสิ่งที่ขาดหายไปใน

ทุกๆ ยุทธศาสตร์ก็คือ “ข้อมูล” เราไม่มีฐานข้อมูลที่จะมา

ทำแผนเชิงยุทธศาสตร์ หรือจัดทำนโยบายเลย นั่นอาจเป็น

ไปได้ว่า กรมการแพทย์แผนไทยฯ เพิ่งตั้งขึ้นเมื่อเดือน

ตุลาคม 2546 คุณหมอประพจน์ก็เลยชวนมาทำเรื่องนี้ เพื่อดู

ซวิา่ มนัมขีอ้มลูอยูต่รงไหนบา้ง ทีพ่อจะใชส้นบัสนนุงานตรงนี้

ได ้ โจทย์ใหญ่คือต้องได้ข้อมูลที่ เมื่อวิเคราะห์เสร็จแล้ว

สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงนโยบายได ้ เพราะกลุ่ม

เป้าหมายที่ใช้ข้อมูลของเราเป็นผู้บริหาร หรือคนที่ทำงาน

เรื่องยุทธศาสตร์ทั้งนั้น

แล้วเริ่มพัฒนางานอย่างไร

คุณรัชนี : ตอนปี 2548 ได้งบประมาณจากแผนงานพัฒนา

ระบบขอ้มลูขา่วสารสขุภาพมาประมาณ 500,000 บาท ซึง่ถอื

ว่าไม่มากเลย จากนั้นเราก็นำแนวคิดไปคุยกับ นพ.ณรงค์

กษิติประดิษฐ์ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านข้อมูลข่าวสารอยู่ที่

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ของกระทรวงสาธารณสุข

ท่านบอกว่า การแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์ทางเลือก และ

การแพทย์แผนไทย สามารถใช้โมเดลเดียวกับที่แวดวงการ

แพทย์ใช้อยู่ ประกอบด้วยทรัพยากร (Health Resource)

การบริการ (Health Service) และผลลัพธ์ทางสุขภาพ

(Health Outcome) ของระบบสุขภาพทั้งหมดที่ใช้อยู่ ณ

ปจัจบุนั แตร่ายละเอยีดขา้งในจะมคีวามตา่งกนั เพราะกรมฯ

เพิ่งเกิดไม่นาน

เราต้องดูโครงสร้างภายในของเราก่อนว่า มีข้อมูลที่

เข้าไปแทรกอยู่ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรงไหนบ้าง จากนั้น

ไปขอความร่วมมือแล้วเอาข้อมูลมาวิเคราะห ์ ซึ่งเราได้ข้อมูล

ของกองการประกอบโรคศลิปะ ทีเ่กบ็ฐานขอ้มลูของผูป้ระกอบ

โรคศิลปะตั้งหลายหมื่นคนไว้ ไม่ว่าจะเป็นสาขาเรื่องของ

เวชกรรมไทย การนวดไทย ผดุงครรภ์ เภสัชกรรม 4 สาขา

ดังนั้นประเด็นแรกที่ทำคือ เรื่องของกำลังคนด้านการแพทย์

แผนไทยของกองการประกอบโรคศิลปะ ออกมาเป็นปีที่ 1

Page 47: 20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก เพื่อนำสังคมไทยสู่ “ระบบ ...203.157.10.11/pmqa53/wp-content/uploads/downloads/it7123.pdf ·

92 / คนต้นคิด งานแพทย์แผนไทยเดินหน้า “ศูนย์ข้อมูลเชิงยุทธศาสตร์” / �3

ฉบับที่ 1 พอฉบับที่ 2 เรามองล้อกันไปกับยุทธศาสตร์ ก็ทำ

เรื่องสถานการณ์งานวิจัยในส่วนของการแพทย์แผนไทย

สมุนไพรไทยว่าเป็นอย่างไร

จากนั้นก็ดูตามโจทย์ว่ามีอะไรที่เกี่ยวกับเราได้อีก ก็มอง

ไปที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ เราขอความร่วมมือว่าอยากให้

เขาช่วยวิเคราะห์ข้อมูลให้เห็นภาพว่าสถานการณ์การใช้

บริการการแพทย์แผนไทยทั่วประเทศเป็นอย่างไร อีกเรื่อง

เป็นการวิเคราะห์สถานการณ์ยา พบว่า ข้อมูลของสำนักงาน

คณะกรรมการอาหารและยา (อย.) บางอย่างเปิดเผยไม่ได้

ตรงนี้เราก็เลยทำได้แค่วิเคราะห์ระบบข้อมูลสารสนเทศ

สถานการณ์การใช้ยาและสมุนไพรที่ต้องการ ว่าควรมีอะไร

บ้างเพื่อใช้ในการวางแผน อีกประเด็นคือ สถานการณ์การ

จดสิทธิบัตรและกระบวนการค้นคว้าต่อยอดองค์ความรู้การ

แพทย์แผนไทยที่ประเทศไทยทำ เรื่องนี้ ดร.พร้อมจิต

ศรลัมพ ์ที่ ม.มหิดล เป็นผู้เขียนให้ ซึ่งทั้งหมดนี้จะรวมอยู่ใน

รายงานสถานการณ์การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน

และการแพทย์ทางเลือก ประจำปี พ.ศ. 2548-2550

คนที่มาใช้ข้อมูลเป็นใครกันบ้าง

คุณรัชนี : ต้องบอกว่าข้อมูลของเราเป็นข้อมูลเฉพาะสำหรับ

ผู้บริหารที่ทำงานด้านนโยบาย สำหรับคนที่จะต้องอ้างอิงเพื่อ

ขอทุน สถาบันการวิจัย สถาบันการศึกษา อาจารย์ที่ใช้เป็น

เอกสารอ้างอิง

งานในก้าวต่อไปเป็นอย่างไร

คุณรัชนี : ผู้เกี่ยวข้องก็ถกกันว่า จะไปหาข้อมูลที่ไหนมา

เขียนอีก เพราะดูเหมือนจะหมดแหล่งฐานข้อมูลแล้ว ก็คุย

กันในส่วนกรรมการ เห็นว่ามีระบบข้อมูลของสำนักงาน

ปลัดฯ ซึ่งเรียกว่า ข้อมูล 18 แฟ้มอยู่ เป็นข้อมูลที่สถานี

อนามัยทั่วประเทศต้องกรอกในแฟ้มที่ 9 เรื่องของเวชภัณฑ์

สำหรับผู้ที่มารับบริการทั่วประเทศ เราดึงเอาข้อมูลตรงนั้นมา

วิเคราะห์เป็น รายงานสถานการณ์การใช้ยาไทยและยา

สมุนไพร ซึ่งจะนำเสนอวันที่ 9 มิ.ย. นี้ เพื่อรับฟังความคิด

เห็น

ปีต่อไปจะเป็นเรื่องของการทำ Traditional and

Alternative Medicine Profile in Thailand ของการ

แพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ตอนนี้เริ่มทยอยจัด

ประชุมบ้างแล้ว ข้อมูลชุดนี้จะทำออกมาเป็นหนังสือเล่มใหญ่

สองภาษาทัง้ไทยและองักฤษ วางไวว้า่นา่จะตพีมิพไ์ดป้ ี 2553

มีลักษณะเป็นเอกสารอ้างอิง

อีกงานหนึ่งที่ทำอยู่ตอนนี้คือ ขยายฐานเว็บไซต์ (www.

dtamsc.com) ให้เป็นแหล่งความรู้จากผู้เชี่ยวชาญในด้าน

ต่างๆ โดยมีห้องให้ความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของ “กูรู”

ทั้งหลาย ผู้สนใจสามารถเข้ามาแลกเปลี่ยนได้ งานส่วนนี้

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) เป็นผู้สนับสนุน

ตอนนี้อยู่ในช่วงของการประสานให้ผู้เชี่ยวชาญแต่ละ

ด้านเข้ามาเป็นเว็บมาสเตอร์ในแต่ละห้องของตัวเองค่ะ

Page 48: 20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก เพื่อนำสังคมไทยสู่ “ระบบ ...203.157.10.11/pmqa53/wp-content/uploads/downloads/it7123.pdf ·

นพ.ฐิตศักดิ์ บุญไทย

แกะรอย GIS ...ตามล่าพิกัดสถานพยาบาล

Page 49: 20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก เพื่อนำสังคมไทยสู่ “ระบบ ...203.157.10.11/pmqa53/wp-content/uploads/downloads/it7123.pdf ·

>>>

แกะรอย GIS ...ตามล่าพิกัดสถานพยาบาล / �7

มพีรายกระซบิมาวา่ เดีย๋วนีก้ระทรวงสาธารณสขุสุดไฮเทค คิดโปรแกรม GIS ขึ้นมาเพื่อพัฒนาระบบข้อมูล

พิกัดสถานพยาบาลทั่วประเทศทั้งของรัฐและเอกชน ไม่ว่าจะ

เป็นโรงพยาบาลหรือสถานีอนามัยต่อให้อยู่ซอกมุมไหนของ

ประเทศไม่มีทางหลุดรอดสายตาไปได้....เอ จะจริงดังว่า

หรือไม่ เรื่องนี้คงต้องไปคุยกับคุณหมอนักคิด นพ.ฐิตศักดิ์

บุญไทย หัวหน้าทีมพัฒนาโปรแกรมนี้กัน

ตอนนี้มีโครงการที่จะนำ โปรแกรม GIS ไปใช้ ในเรื่อง การกระจายเครื่องมือแพทย์ ที่มีราคาแพง เราคาดว่าการทำตรงนี้ จะมีส่วนช่วยในการตัดสินใจ ระดับนโยบายของภาครัฐมากขึ้น นพ.ฐิตศักดิ์ บุญไทย >>>

Page 50: 20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก เพื่อนำสังคมไทยสู่ “ระบบ ...203.157.10.11/pmqa53/wp-content/uploads/downloads/it7123.pdf ·

98 / คนต้นคิด แกะรอย GIS ...ตามล่าพิกัดสถานพยาบาล / ��

การจัดทำ “พิกัดสถานพยาบาล” หมายถึงอะไร

นพ.ฐิตศักดิ์ : ต้องบอกก่อนว่าโครงการนี้เริ่มต้นเมื่อต้นป ี

2550 จากความร่วมมือของหลายหน่วยงานในกระทรวง

สาธารณสุข อาทิ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนัก

พัฒนาระบบบริการสุขภาพ กองการประกอบโรคศิลปะ ศูนย์

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สถาบันวิจัยและพัฒนา

ระบบสุขภาพชุมชน และสำนักงานพัฒนาระบบข้อมูล

ข่าวสารสุขภาพ

การจัดทำพิกัดสถานพยาบาลนี้เป็นการนำโปรแกรม

GIS (Geography Information System) มาพัฒนาใช้เป็น

เครื่องมือในการบันทึกและแก้ไขพิกัดสถานพยาบาลของ

ภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศ ที่เราสามารถจัดการเข้าถึงได้

ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต และเป็นระบบที่ Open Source

สามารถพัฒนาต่อเนื่องได้ โดยเราสามารถนำเข้าข้อมูลได้

ด้วยการระบุตำแหน่งพิกัดสถานพยาบาลทั่วประเทศในแผนที่

ซึ่งแสดงที่ตั้งของจุดอ้างอิงต่างๆ หรือนำเข้าโดยการเก็บ

พิกัดด้วยเครื่อง GPS แล้วนำค่าพิกัดมาบันทึกลงโปรแกรม

โครงการนี้มีประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสาร

สุขภาพอย่างไร

นพ.ฐิตศักดิ์ : การนำ GIS มาใช้งานในขณะนี้ ถือว่าเป็นอีก

ความกา้วหนา้หนึง่ของการพฒันาระบบขอ้มลูขา่วสารสขุภาพ

ของประเทศ สมัยก่อนข้อมูลด้านสาธารณสุขของจังหวัด

ต่างๆ ทั่วประเทศจะเก็บอยู่ในโปรแกรมใช้งานทั่วๆ ไป เช่น

word Excel หรือเป็นเอกสารเล่มหนาๆ ซึ่งข้อมูลมีเป็น

จำนวนหลายร้อยหลายพันหน้า คำถามคือว่าคนอ่านข้อมูล

จะทำความเข้าใจหรือสรุปข้อมูลภาพรวมตรงหน้าได้ออกมา

ชัดเจนมากน้อยแค่ไหน แต่ถ้าใช้ GIS มาใส่ข้อมูลทั้ง 76

จังหวัด เราสามารถสรุปได้เลยว่า สถานการณ์ในแต่ละภาค

แต่ละจังหวัดเป็นอย่างไร

ตอนนี้มีโครงการที่จะนำโปรแกรม GIS ไปใช้ในเรื่อง

การกระจายเครื่องมือแพทย์ที่มีราคาแพง ซึ่งที่ผ่านมาเขา

สำรวจกันทุกปี เก็บข้อมูลเป็นเอกสาร เราคาดว่าการทำตรง

นี้จะมีส่วนช่วยในการตัดสินใจระดับนโยบายของภาครัฐมาก

ขึ้น เช่น การกระจายเครื่องสลายนิ่วมีราคาแพง แต่ยัง

กระจายไม่เหมาะสม ซึ่งเราจะรู้ได้ยังไงว่าสถานพยาบาล

ที่ไหนมีหรือไม่มี แล้วประชาชนจังหวัดไหนต้องการใช้งาน

มากกว่ากัน ในการจัดทำพิกัดสถานพยาบาล ภาครัฐ

สามารถนำข้อมูลเกี่ยวกับสถานพยาบาลที่มีเครื่องสลายนิ่วใส่

ลงไปในระบบ ข้อมูลต่างๆ จะแสดงผลขึ้นมาให้เห็นบน

หน้าจอ และยิ่งเอาข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนผู้ป่วยนิ่วในแต่ละ

จังหวัดใส่ลงไปประกอบกัน เราก็สามารถเห็นภาพรวมได้

ชัดว่า จังหวัดนี้คนป่วยนิ่วเยอะมาก แต่เครื่องสลายนิ่วกลับ

ไปอยู่จังหวัดข้างๆ ที่ไม่ค่อยมีผู้ป่วยโรคนิ่ว ซึ่งเมื่อเห็นดังนี้

เราสามารถย้ายเครื่องสลายนิ่วมาไว้ที่สถานพยาบาลที่มี

ความจำเป็นต้องใช้ได้รวดเร็วขึ้น เป็นการฉายภาพปัญหาให้

เห็นและพยายามเอาข้อมูลที่ปรากฏมาแก้ปัญหาในระดับ

นโยบายได้มากขึ้น

Page 51: 20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก เพื่อนำสังคมไทยสู่ “ระบบ ...203.157.10.11/pmqa53/wp-content/uploads/downloads/it7123.pdf ·

100 / คนต้นคิด แกะรอย GIS ...ตามล่าพิกัดสถานพยาบาล / 101

ขณะนี้ดำเนินการไปถึงไหน

นพ.ฐิตศักดิ์ : ตอนนี้อยู่ในขั้นตอนการนำข้อมูลที่มีอยู่มา

แสดงให้เห็น คือเป็นแผนที่ประเทศไทยและมีการแทรกสีลง

ไปให้เห็นพื้นที่ที่มีปัญหา การใช้งานส่วนใหญ่ยังอยู่ในกลุ่ม

ผู้บริหารนโยบายระดับกลาง

คาดว่าจะเสร็จสมบูรณ์และนำมาใช้ประโยชน์เมื่อไหร ่

นพ.ฐิตศักดิ์ : ตอนนี้โครงการน่าจะเสร็จไปได้สัก ร้อยละ 80

แล้ว เหลือแก้ไขรายละเอียดเล็กน้อยโดยให้เจ้าหน้าที่

สถานพยาบาลในท้องถิ่นนั้นๆ ร่วมกำหนดจุดพิกัดให้เรา

และคิดว่าเขาน่าจะทำได้ดีกว่า ถ้าทุกคนช่วยกันมันก็ทำให้

ข้อมูลสำเร็จเร็วยิ่งขึ้น

งานสำคัญในช่วงจากนี้ไปคืออะไร

นพ.ฐิตศักดิ์ : การทำข้อมูลพื้นฐานให้เที่ยงตรงแม่นยำ จาก

นั้นต้องปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันอยู่เรื่อยๆ และต้องมีทีม

ติดตามการเปลี่ยนแปลงของข้อมูล เพื่อให้ข้อมูลมีความ

พร้อมที่จะนำไปใช้ได้ตลอดเวลา

ผมคิดว่า ถ้าเรามีข้อมูลถูกต้องและสมบูรณ์ในการจัดทำ

พิกัดสถานพยาบาลแล้ว เราก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้งาน

ได้อีกมาก อย่างเช่น ตอนนี้เรามีปัญหาโรคไข้หวัดสายพันธุ์

ใหม่ 2009 ถ้าเรามีกรณีผู้ป่วยที่สงสัย ใส่ข้อมูลลงไปเพื่อ

แสดงจุดพิกัดในแผนที่ มันจะแสดงให้เห็นว่าใครป่วยอยู่

ที่ไหนบ้าง กี่คน ซึ่งสามารถเจาะรายละเอียดลงไปเรื่อยๆ

อย่างไรก็ตาม ต้องพิจารณาด้วยว่า ข้อมูลตรงนี้เปิดเผย

ได้ไหม เพราะข้อมูลบางอย่างมีผลต่อความมั่นคงของ

ประเทศ หรือต่อจิตใจของผู้ป่วยด้วย

Page 52: 20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก เพื่อนำสังคมไทยสู่ “ระบบ ...203.157.10.11/pmqa53/wp-content/uploads/downloads/it7123.pdf ·

ภก.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ

ก้าวใหม่จาก “เมืองใต้”

Page 53: 20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก เพื่อนำสังคมไทยสู่ “ระบบ ...203.157.10.11/pmqa53/wp-content/uploads/downloads/it7123.pdf ·

104 / คนต้นคิด ก้าวใหม่จาก “เมืองใต้” / 105

เอย่ชือ่ ภก.พงคเ์ทพ สธุรีวฒุ ิสถาบนัวจิยัระบบสขุภาพภาคใต ้มหาวทิยาลยัสงขลานครนิทร ์ผู้คนในแวดวงการพัฒนาด้านสุขภาพน่าจะคุ้นเคยเป็นอย่างดี แต่

มคีนไมม่ากนกัทีท่ราบวา่ นกัวชิาการทา่นนีอ้ยูเ่บือ้งหลงัความ

ก้าวหน้าในการพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพของภาคใต้

อีกด้านด้วย “คนต้นคิด” จึงขอนัดสนทนาเพื่อนำเรื่องราวที่

น่าสนใจมาเล่าสู่กันฟัง

>>> งานที่เราทำนี้ เป็นเหมือนการใช้ฐานข้อมูล เพื่อการขับเคลื่อนระบบสุขภาพ ในเทศบาลตำบล >>> ภก.พงค์เทพ สุธีรวุฒ ิ

Page 54: 20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก เพื่อนำสังคมไทยสู่ “ระบบ ...203.157.10.11/pmqa53/wp-content/uploads/downloads/it7123.pdf ·

106 / คนต้นคิด ก้าวใหม่จาก “เมืองใต้” / 107

ทำไมอาจารย์ถึงสนใจงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสาร

สุขภาพและบุกเบิกงานด้านนี้มาอย่างต่อเนื่อง

ภก.พงค์เทพ : โลกทุกวันนี้เป็นโลกของข้อมูลข่าวสาร และ

เวลาดำเนินการหรือวางแผนอะไรก็มักจะใช้ข้อมูลเป็นฐานใน

การทำงานที่ผ่านมา ผมมองเรื่องของระบบข้อมูลข่าวสารอยู่

3 ระดับด้วยกัน คือ 1. ข้อมูลระดับประเทศ 2. ข้อมูลระดับ

ของจังหวัด 3. ข้อมูลระดับชุมชน ซึ่งเรื่องของสุขภาพใน

อนาคต หากมีการถ่ายโอนภารกิจ หรือกระจายอำนาจให้

ท้องถิ่น อบจ. อบต. หรือเทศบาล ข้อมูลคือสิ่งสำคัญในการ

ทำงาน

นอกจากนี้ เรายังคิดกันว่าจะไปวางระบบข้อมูลข่าวสาร

ด้านสุขภาพในระดับพื้นที่ เช่น ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดน

ภาคใต ้ ซึ่งในเชิงประเด็นเรื่องแม่และเด็กเป็นประเด็นใหญ ่

เพราะเมื่อไปดูข้อมูลในเรื่องนี้พบว่า คุณภาพข้อมูลยังไม่ดี

ทำอย่างไรถึงจะทำให้มีการจัดการข้อมูลตรงนี ้ เพื่อการ

วางแผน นี่เป็นงานหลักๆ ที่เราทำ

อีกประเด็นคือ เรื่องอุบัติเหตุ ซึ่งเป็นประเด็นหลักและมี

หลายหน่วยงานทำเรื่องนี้ แต่ละหน่วยงานก็มีข้อมูลของ

ตัวเอง เราจะทำอย่างไรให้ข้อมูลเหล่านี้มารวมกันได้ และ

เมื่อรวมข้อมูลแล้วทำอย่างไร ที่จะหาทีมวิเคราะห์ข้อมูลและ

ส่งข้อมูลย้อนกลับไปให้แต่ละหน่วยงานได้ใช้งานต่อ

ทราบวา่โครงการพฒันาระบบขอ้มลูสขุภาพ ต.ปรกิ อ.สะเดา

จ.สงขลา เสร็จเรียบร้อยแล้ว มีเรื่องราวอะไรที่น่าสนใจบ้าง

ภก.พงค์เทพ : อันนี้เป็นโครงการพัฒนาฐานข้อมูลสุขภาพ

ระดับภูมิภาคของเทศบาลตำบลปริก หลักคิดของเรา เริ่มต้น

จากที่เราคิดว่าหากองค์กรส่วนท้องถิ่นจะดูแลเรื่องสุขภาพ

เวลาที่เขาคิดแผน คิดจากอะไร ใช้ข้อมูลอะไร แล้วเราจะ

ทำให้เขาสนใจข้อมูลเหล่านี้ เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาของ

ชุมชนได้อย่างไร

บังเอิญว่าเรามีทีมที่ทำเรื่องการจัดการความรู้ เราจึงวาง

โครงการว่าใช้เรื่องของการจัดการ พัฒนาฐานข้อมูลมาเป็น

เครื่องมือ ให้สามารถจัดการเรื่องสุขภาพในเทศบาลตำบล

ปริก โดยใช้การจัดการฐานข้อมูลเป็นตัวชี้วัดสุขภาพของ

ชุมชน ซึ่งไม่ใช่ของกระทรวงสาธารณสุข วิธีการคือรวบรวม

ข้อมูลในแวดวงสุขภาพว่า มีเรื่องอะไรบ้าง แล้วดูว่าแต่ละตัว

ชี้วัดสามารถหาแหล่งข้อมูลจากหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ได้

หรือไม่ จากนั้นให้ชาวบ้านมาเลือกดูว่าเขาต้องการตัวชี้วัด

อะไรและอย่างไร กระบวนการนี้สำคัญทำให้ชาวบ้านมาร่วม

คิด แล้วเป็นคนกำหนดตัวชี้วัด เช่น เขาต้องการคุณภาพ

ชีวิตทางด้านสุขภาพอย่างไร มันเหมือนการทำแผนที่ที่มี

จุดหมายว่าคุณอยากได้ตัวชี้วัดแบบไหน ความยากจนจะวัด

อย่างไร คุณคิดว่าอุบัติเหตุมันมากขนาดนี้ เราจะลดลง

มาเหลือเท่าไหร่ เป็นต้น ซึ่งการเลือกตัวชี้วัดนี้ต้องใช้

กระบวนการจัดการความรู้ไปตามเวทีชุมชนแต่ละชุมชน ให้

ชุมชนคิด แล้วทางนายกเทศบาลตำบลปริก มอบหมายให้

Page 55: 20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก เพื่อนำสังคมไทยสู่ “ระบบ ...203.157.10.11/pmqa53/wp-content/uploads/downloads/it7123.pdf ·

108 / คนต้นคิด ก้าวใหม่จาก “เมืองใต้” / 10�

ผู้อำนวยการแต่ละกองเป็นผู้ดูแลตัวชี้วัด คืออัพเดทอย่างไร

บา้ง เชน่ คอยดวูา่เดอืนนีม้อีตัราคนตดิเหลา้เทา่ไหร ่อบุตัเิหตุ

เกิดขึ้นกี่ครั้ง เมื่อเทียบกับเป้าหมายมันห่างกันมากไหม ถ้า

ห่างกันมากตัวซอฟต์แวร์จะบอกออกมาเลยว่า เดือนนี้ตัว

ชี้วัดนี้ตก ตัวชี้วัดตัวนี้ผ่าน เวลาผู้บริหารมาดูข้อมูลก็จะเห็น

ชัดว่า ตัวชี้วัดที่ดูแลอยู่เป็นอย่างไร จะต้องมีกิจกรรมมี

โครงการอะไรเข้าไปพัฒนาเพื่อให้ตัวชี้วัดนั้นผ่าน

แล้วเราคิดกันต่อว่าชุมชนจะเข้ามามีส่วนร่วมได้อย่างไร

เราไปคุยกับนักวิจัยว่าทำยังไงให้เกิดความรู้ในเชิงจัดการ

ความรู้ เขาคิดอยู่ 2 วิธี คือ 1. ผลที่ออกมาในแต่ละเดือนๆ

ให้แกนนำชุมชนเป็นคนนำผลมาแจ้ง ติดประกาศประชา-

สัมพันธ์ให้ชาวบ้านทราบว่า เดือนนี้พวกเราตกเรื่องอะไร

แล้วให้เขามีเวทีพูดคุยกันว่า ทำไมมันถึงตก 2. บางครั้งการ

จัดเวทีต้องใช้เวลานานกว่าจะจัดได้สักครั้ง เราก็จะให้เขา

แลกเปลี่ยนความรู้ผ่านกล้องในโปรแกรมฐานข้อมูลซึ่งทำเป็น

เว็บไซต์ขึ้นมา เพื่อให้แลกเปลี่ยนความรู้ บางคนมีข้อมูลดีๆ

ก็ใส่เข้าไป บางคนอยากคุยเรื่องสุขภาพ บางคนอยากจะคุย

ถึงปัญหาที่ตกเกณฑ์ การคุยกันตรงนี้ทำให้เว็บไซต์มีความ

เคลื่อนไหว และเวลาพบกับแกนนำเขาจะนำสิ่งเหล่านี้ไปพูด

คุยกัน เพราะฉะนั้นงานที่เราทำนี้เป็นเหมือนการใช้ฐาน

ข้อมูลเพื่อการขับเคลื่อนระบบสุขภาพในเทศบาลตำบล

ตอนนี้เรากำลังขยายชุดความรู้ไปยังเทศบาลอื่นๆ และ

สิ่งดีที่เกิดขึ้นคือ นักวิชาการในมหาวิทยาลัยได้รู้ว่าเวลาจะ

พัฒนาฐานข้อมูลหรือซอฟต์แวร์ มันไม่ได้มาจากการพัฒนา

ข้อมูลอย่างเดียว แต่ได้ลงไปในพื้นที่ไปเห็นสภาพชุมชนจริง

ว่าเขาอยากได้อะไรใช้อะไร แล้วตัวชี้วัดมันเปลี่ยนตลอด 50

ตัว เหลือ 40 ตัว บางทีขึ้นไป 60 ตัว คือถ้าเป็นอย่างนี้ก็มา

ร่วมกันกำหนดว่า ขอเรื่องนี้เพราะมีความเคลื่อนไหว มีชีวิต

เราก็พยายามไปจี้ ไปติดตามดูแล วิธีการที่ผมบอกว่าเป็นสิ่ง

ที่ดีคือ การไปชื่นชม ไปประชาสัมพันธ์ ให้เขามารับรู้ มา

เรียนรู้ เพราะฉะนั้นการที่เขาเป็นเจ้าของ เขามีความรู้สึก

ภาคภูมิใจ และจะทำให้ผลลุล่วงไปได้ดี

อาจารย์มองว่าจุดอ่อนของระบบข้อมูลสุขภาพของบ้านเรา

อยู่ตรงไหน

ภก.พงค์เทพ : มีการเก็บข้อมูลเยอะไปหมด แต่ใช้ข้อมูลน้อย

เก็บเยอะใช้น้อย คนเก็บไม่ได้ใช้ คนใช้ไม่ได้เก็บ ข้อมูลจึง

ซ้ำซ้อน คุณภาพข้อมูลไม่ค่อยมี ก๊อปปี้กันมาบ้าง อีกเรื่อง

หนึ่งคือ ผู้บริหารหรือผู้เกี่ยวข้องไม่ค่อยตระหนักเรื่องของ

การใช้ข้อมูล เพราะฉะนั้นเราใช้ความเห็นมากกว่าใช้ความรู้

คือเวลาให้ทำแผนก็เอาแผนเก่ามาใช้ ยึดตามแผนเก่า แต่ว่า

ไม่ใช้ข้อมูล แล้วมานั่งคิดว่าปีนี้เราต้องปรับแผนอะไรบ้าง

เพราะอะไร

Page 56: 20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก เพื่อนำสังคมไทยสู่ “ระบบ ...203.157.10.11/pmqa53/wp-content/uploads/downloads/it7123.pdf ·

110 / คนต้นคิด

แล้วแง่มุมดีๆ ที่ควรสร้างให้เกิดในระบบข้อมูลข่าวสาร

สุขภาพคืออะไร

ภก.พงค์เทพ : อย่ามองเป็นเรื่องของซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์

แต่อยากมองในเรื่องของการจัดการ ทำอย่างไรที่จะทำให้คน

มีศักยภาพ ให้คนตระหนักในเรื่องของข้อมูล ทั้งคน ทั้ง

เครือข่ายของข้อมูลของพื้นที่ ทำยังไงให้การจัดการข้อมูล

เกิดพลังมากขึ้น

ดร.นพ.สมเกียรติ ศิริรัตนพฤกษ์

สร้าง “ดัชนีชี้วัดสิ่งแวดล้อม” เพื่อสุขภาพคนไทย

Page 57: 20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก เพื่อนำสังคมไทยสู่ “ระบบ ...203.157.10.11/pmqa53/wp-content/uploads/downloads/it7123.pdf ·

สร้าง “ดัชนีชี้วัดสิ่งแวดล้อม” เพื่อสุขภาพคนไทย / 113

>>>

เมื่อปัญหาสิ่งแวดล้อมมีแนวโน้มส่งผลกระทบต่อสุขภาพคนไทยมากขึ้น เราจะมีแนวทางป้องกันอย่างไร

เพื่อให้คนไทยปลอดพ้นจากผลกระทบเหล่านี้ได้อย่างรู้เท่า

และรับมือได้ทัน

..ลองไปฟังคำตอบจากปากของ ดร.นพ.สมเกียรติ

ศิริรัตนพฤกษ์ รองผู้อำนวยการสำนักโรคจากการประกอบ

อาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

หัวเรือใหญ่ในการดำเนินโครงการทบทวนสถานการณ์และ

พัฒนาดัชนีชี้วัดสิ่งแวดล้อมและอนามัยในประเทศไทย ใน

เรื่องนี้กัน

ถ้านโยบายของประเทศ มุ่งเน้นแต่ความเจริญก้าวหน้า ทางเศรษฐกิจอย่างเดียว โดยไม่ ได้มองผลกระทบ ทางสุขภาพของคนในสังคม มันย่อมส่งผลภายหลังได้เช่นกัน ดร.นพ.สมเกียรติ ศิริรัตนพฤกษ์ >>>

Page 58: 20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก เพื่อนำสังคมไทยสู่ “ระบบ ...203.157.10.11/pmqa53/wp-content/uploads/downloads/it7123.pdf ·

114 / คนต้นคิด สร้าง “ดัชนีชี้วัดสิ่งแวดล้อม” เพื่อสุขภาพคนไทย / 115

อยากให้ช่วยเล่าถึงที่มาโครงการ

ดร.นพ.สมเกียรติ : เริ่มโครงการตั้งแต่ปี 2548 โดยทาง

แผนงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ มาพูดคุย

แลกเปลี่ยนเรื่องความสัมพันธ์ของโครงการที่จะพัฒนาระบบ

ข่าวสารสุขภาพของประเทศ ผมเองก็สนใจเพราะรับผิดชอบ

ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับผลกระทบด้านสุขภาพที่เกิดจากการ

ทำงานและสิ่งแวดล้อมอยู่แล้ว เพราะเห็นว่าสถานการณ์

ปัญหาคนเจ็บป่วยจากผลกระทบเหล่านี้มีมากขึ้น และมอง

ว่าแผนงานฯ น่าจะมาช่วยเสริมให้การทำงานของเรามี

ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

โครงการนี้สำคัญต่อการพัฒนาสุขภาพของคนไทยอย่างไร

ดร.นพ.สมเกียรติ : ก่อนเริ่มโครงการนี้ เรามองว่าคนไทยมี

ปัญหาสุขภาพที่มีสาเหตุจากสิ่งแวดล้อมหรือการทำงานกัน

มาก เช่น ปัญหาสุขภาพในภาคเกษตร ที่พบว่า การที่

เกษตรกรใช้ยาฆ่าแมลงและยาปราบศัตรูพืชมากมายโดยไม่

ได้ป้องกัน นอกจากก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพต่อตัวเกษตรกร

แล้วยังลุกลามไปถึงครอบครัวและผู้บริโภคด้วย หรือปัญหา

สุขภาพในภาคอุตสาหกรรม เช่น ปัญหาสุขภาพที่เกิดจาก

การขยายตัวของนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ ปัญหาสุขภาพของ

ชุมชนรอบเหมืองแร่ การปนเปื้อนของสารพิษหรือโลหะต่างๆ

ในแหล่งน้ำดื่ม หรือแม้กระทั่งเรื่องการใช้ชีวิต การนำ

เทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้โดยที่ไม่รู้ว่าอาจส่งผลกระทบต่อ

สุขภาพได้ ปัญหาพลังงาน ปัญหาโลกร้อน เหล่านี้ล้วน

เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมทั้งนั้น

ด้วยเหตุนี้จึงมีความจำเป็นที่ต้องจัดสร้างระบบการเฝ้า

ระวังที่ดีเพื่อพัฒนาสุขภาพของคนไทย ซึ่งนั่นหมายถึงเรา

ต้องมีข้อมูลครบตามประเด็นที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 2 ส่วน

หลัก ได้แก่ ข้อมูลสิ่งแวดล้อม และข้อมูลสุขภาพ แต่ที่

ผ่านมา การจัดทำแผนหรือระบบการเฝ้าระวังของเรายังมี

ข้อจำกัดอยู่มาก

อยากให้คุณหมอช่วยยกตัวอย่างข้อจำกัดที่กล่าวถึง

ดร.นพ.สมเกียรติ : ในภาพรวมคือเรื่องของระบบข้อมูลที่ยัง

ไม่ดีพอและมีจุดอ่อน คือ หนึ่ง ตัวแปรหรือตัวชี้วัดที่จะต้อง

จัดเก็บยังไม่ชัดเจน อาทิ มีการจัดเก็บหลายตัวหรือว่าอาจ

ไม่มีเลย สอง ระบบข้อมูลนี้มีอยู่ในหลายหน่วยงาน เช่น

ข้อมูลสุขภาพอยู่กระทรวงสาธารณสุข คือตามโรงพยาบาล

ต่างๆ ส่วนข้อมูลสิ่งแวดล้อมที่ผ่านมาอาจอยู่ที่กระทรวง

อุตสาหกรรม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ กระทรวง

แรงงาน ซึ่งข้อมูลบางส่วนก็ถูกจัดเก็บแล้ว บางส่วนยังไม่ได้

จัดเก็บ บางส่วนจัดเก็บซ้ำซ้อน หรือจัดเก็บแล้วแต่ไม่ได้

ถูกนำไปวิเคราะห์แปรผลหรือใช้ให้เกิดประโยชน์ ซึ่งเมื่อมี

แผนงานฯ เกิดขึ้น เราคิดว่าน่าจะช่วยเสริมศักยภาพให้เรา

ได้ทั้งในเชิงวิชาการและบริหารจัดการ นั่นคือเชื่อมประสาน

สร้างเครือข่ายเพื่อนำข้อมูลจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

มาหลอมรวมกนั และพฒันาเปน็องคค์วามรูท้างวชิาการตอ่ไป

Page 59: 20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก เพื่อนำสังคมไทยสู่ “ระบบ ...203.157.10.11/pmqa53/wp-content/uploads/downloads/it7123.pdf ·

116 / คนต้นคิด สร้าง “ดัชนีชี้วัดสิ่งแวดล้อม” เพื่อสุขภาพคนไทย / 117

ที่ผ่านมาโครงการทำอะไรไปแล้วบ้าง

ดร.นพ.สมเกียรติ : เราได้ทบทวนวิเคราะห์สถานการณ์ใน

ภาพรวมว่า ที่ผ่านมาสถานการณ์ปัญหามีอะไรที่สำคัญ และ

เนื่องจากมันกว้างมาก เราจึงจับเพียงบางประเด็นปัญหา

เช่น ปัญหาด้านการเกษตร ปัญหาด้านอุตสาหกรรม ปัญหา

มลพิษทางด้านอากาศ และปัญหาผลกระทบสุขภาพในเด็ก

ซึ่งเด็กถือเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาสิ่งแวดล้อม

หนักที่สุด

หลังจากวิเคราะห์สถานการณ์เสร็จแล้วก็พัฒนาองค์

ความรู้ทางด้านข้อมูลต่อว่าควรมีอะไรบ้าง และขั้นตอนหลัง

จากนั้นที่เราจะทำต่อไปคือ จัดทำตัวชี้วัดที่สำคัญในเรื่อง

เหล่านี้ โดยเลือกประเด็นสำคัญขึ้นมาและทำตัวเชื่อมว่า

ถ้าจะทำข้อมูลเรื่องนี้ เราต้องมีข้อมูลอะไรบ้าง แล้วสร้าง

เครือข่าย เชิญเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ มหาวิทยาลัย

ผู้เชี่ยวชาญ เอ็นจีโอ หรือภาคประชาชน มาแลกเปลี่ยน

ความคิดเห็นกันว่า ตัวชี้วัดที่ เรายกร่างขึ้นมาเหมาะสม

สอดคล้องกับประเทศไหม และใครมีหรือไม่มีข้อมูลอย่างไร

จะประสานกันอย่างไร เพื่อนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ให้เกิด

ประโยชน์

ตอนนี้โครงการขยับเข้าใกล้เป้าหมายเพียงใด

ดร.นพ.สมเกียรติ : ตอนนี้ยังถือว่าอีกไกล เพราะความยาก

ของการดำเนินงานไม่ได้อยู่แค่องค์ความรู้ทางวิชาการ แต่

ต้องอาศัยหลายส่วน ทั้งนโยบายตั้งแต่ระดับชาติลงมา การที่

เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับหลายกระทรวง นอกจากนี้ยังมีความยาก

ในเรื่องเชิงเทคนิค เพราะเรื่องระบบข้อมูลข่าวสารมันมีหลาย

ประเด็น ไม่ว่าจะเป็นการจัดทำตัวดัชนี เรื่องระบบไอที ทั้ง

ซอฟต์แวร์จะเก็บอย่างไร ใช้โปรแกรมอะไร วิเคราะห์แล้วจะ

แปรผลอย่างไร จึงต้องใช้เวลาในการพัฒนา

มองภาพอนาคตในเรื่องนี้อย่างไร

ดร.นพ.สมเกียรติ : ผมคิดว่าการแก้ปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้น

จากสิ่งแวดล้อมนั้นไม่สามารถดำเนินการได้เบ็ดเสร็จใน

หน่วยงานเดียว แต่จะต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของหน่วยงาน

ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือภาคเอกชน รวม

ถึงผู้ที่ก่อมลพิษ ไม่ใช่เราไปต่อว่าเขาอย่างเดียว รวมถึงภาค

วิชาการ อาจารย์จากมหาวิทยาลัยต่างๆ แต่ที่สำคัญที่สุด

คือประชาชนเพราะเป็นได้ทั้งผู้ก่อมลพิษและเป็นผู้ได้รับ

ผลกระทบ

เพราะฉะนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดจะต้องมาพูด

คุยแลกเปลี่ยนและดำเนินการร่วมกัน ซึ่งต้องอาศัยหลาย

ส่วนหลายยุทธศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการสร้าง

องค์ความรู้ การหาเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่สำคัญคือจะต้องไม่ก่อ

มลพิษเพิ่มเติม และสุดท้ายคือภาพรวมของประเทศ

ถ้านโยบายของประเทศมุ่งเน้นแต่ความเจริญก้าวหน้า

ทางเศรษฐกิจอย่างเดียว โดยไม่ได้มองผลกระทบทาง

สุขภาพของคนในสังคม มันย่อมส่งผลภายหลังได้เช่นกัน

Page 60: 20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก เพื่อนำสังคมไทยสู่ “ระบบ ...203.157.10.11/pmqa53/wp-content/uploads/downloads/it7123.pdf ·

ผศ.ดร.พิมลพรรณ อิสระภักดี

จัดกระบวนทัพ สร้างมาตรฐาน ดัชนีชี้วัดสุขภาพ

Page 61: 20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก เพื่อนำสังคมไทยสู่ “ระบบ ...203.157.10.11/pmqa53/wp-content/uploads/downloads/it7123.pdf ·

จัดกระบวนทัพสร้างมาตรฐาน ดัชนีชี้วัดสุขภาพ / 121

>>>

การพัฒนาระบบข้อมูลเพื่อนำมาสร้างดัชนีชี้วัดสุขภาพของคนไทยอย่างยั่งยืน ต้องอาศัยความร่วมมือจาก

หลายหน่วยงานหลายภาคส่วนของสังคม ในการจัดเก็บ

รวบรวม และประมวลผลข้อมูลต่างๆ เพื่อนำไปใช้ให้เกิด

ประสิทธิภาพสูงสุด คนต้นคิดได้มีโอกาสพูดคุยกับ ผศ.ดร.

พิมลพรรณ อิสระภักดี จากสถาบันวิจัยประชากรและสังคม

มหาวิทยาลัยมหิดล ในประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับการจัดทำ

ดัชนีชี้วัดสุขภาพเหล่านี้

ถ้าทุกคนยอมรับดัชนีชี้วัดสุขภาพ และช่วยกันผลักดันออกมา เราก็จะรู้ว่าสังคมตอนนี้เป็นอย่างไร สิ่งแวดล้อมเป็นอย่างไร คือได้องค์รวมทั้งหมด ซึ่งสามารถนำไปผลักดันนโยบาย ในระดับประเทศได้ ผศ.ดร.พิมลพรรณ อิสระภักดี

>>>

Page 62: 20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก เพื่อนำสังคมไทยสู่ “ระบบ ...203.157.10.11/pmqa53/wp-content/uploads/downloads/it7123.pdf ·

122 / คนต้นคิด จัดกระบวนทัพสร้างมาตรฐาน ดัชนีชี้วัดสุขภาพ / 123

ทำไมต้องมีการจัดทำระบบข้อมูลในเรื่องนี้

ผศ.ดร.พิมลพรรณ : จริงๆ โครงการนี้อยู่ภายใต้โครงการ

ของศูนย์ระบบข่าวสารสาธารณสุข มีวัตถุประสงค์หลักคือ

พฒันาดชันชีีว้ดัสขุภาพทีเ่ปน็มาตรฐาน เหมอืนเวลาที่เราพูด

ถึงดัชนีชี้วัดความร่ำรวยหรือชี้วัดรายได้ของประเทศ เช่น

GDP ที่ทุกคนเข้าใจกัน ซึ่งในเรื่องของสุขภาพก็เช่นเดียวกัน

เราจะทำดัชนีชีว้ดัสขุภาพอยา่งไรใหเ้ปน็ระบบมาตรฐาน ทีท่กุ

คนสามารถเข้าใจและนำไปใช้ประโยชน์ได้

แสดงว่าที่ผ่านมาดัชนีชี้วัดสุขภาพที่เราใช้กันอยู่ยังมีปัญหา

ผศ.ดร.พิมลพรรณ : ตรงนี้น่าจะเป็นเรื่องของระบบข้อมูล

ข่าวสารด้านสุขภาพที่กระจัดกระจายและมีตัววัดหลายตัว

ซึ่งบางตัวคนก็ไม่เข้าใจ เพราะคนจากหน่วยงานหนึ่ง อาจ

ไม่เข้าใจข้อมูลของอีกหน่วยงานหนึ่ง และที่ผ่านมายังไม่มี

หน่วยงานไหนเป็นเจ้าภาพในเรื่องนี้จริงๆ เลย

แล้วโครงการนี้เข้าไปแก้ปัญหาดังกล่าวอย่างไร

ผศ.ดร.พิมลพรรณ : สิ่งที่เราทำ เป็นการใช้กระบวนการวิจัย

ในการพัฒนาตัวชี้วัด เราอยากให้ทุกคนเข้าใจเรื่องดัชนีชี้วัด

สุขภาพเหมือนกันหมด เพราะฉะนั้นเราจึงต้องมองว่าใครที่

จะมีส่วนให้ข้อมูล หรือว่าทำความเข้าใจกับตรงนี้ได้ ซึ่ง

ครอบคลุมตั้งแต่ระดับคนในชุมชน ในหมู่บ้าน กระทั่งกลุ่ม

คนที่มีความรูใ้นเรือ่งสขุภาพอนามยัจรงิๆ เชน่ นกัวชิาการ ซึ่ง

มคีวามรูเ้รือ่งนี ้ และกลุม่ของผูใ้หบ้รกิาร เชน่ แพทย ์อนามยั

โดยเน้นกระบวนการให้คนกลุ่มต่างๆ ช่วยกันลงมติว่า เรา

ควรจะใช้อะไรเป็นดัชนีชี้วัดสุขภาพ แล้วมาประมวลดูว่า ใน

คำว่า มิติด้านสุขภาพ เขามองเรื่องอะไร ซึ่งรวมไปถึง

สุขภาพกาย สุขภาพจิต สุขภาพปัญญา และอีกอย่างคือ

เรื่องสถานะสุขภาพ โดยมองว่าอะไรที่มีผลตอ่สถานะสขุภาพ

จากนัน้นำสิง่ทีไ่ดม้าประมวลกันว่า อันไหนควรนำไปใช้ต่อ

หลังจากนั้น เมื่อเราได้ขั้นตอนต่างๆ เรียบร้อย ก็จะจัด

ประชุมใหญ่ โดยเชิญกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องตั้งแต่กลุ่มคนที่เรา

เคยไปสัมภาษณ์บางส่วน กลุ่มนักวิชาการ กลุ่มทางด้าน

กระทรวงที่มีความเชี่ยวชาญ แล้วหาข้อสรุป เช่น ถ้าเรามี

ข้อมูลดัชนีชี้วัดสุขภาพ 20 ตัว ในแต่ละกลุ่มเขามองอย่างไร

บางกลุ่มก็มีการเสนอเพิ่มและลดในบางหัวข้อ หลังจากได้

ตรงนั้น เราก็นำเสนอไปที่โครงการข้อมูลข่าวสารเพื่อทำตัว

ดัชนีชี้วัดออกมา

ขณะนี้ดำเนินการไปถึงขั้นไหน

ผศ.ดร.พิมลพรรณ : ขั้นตอนอยู่ที่สำนักพัฒนาระบบข้อมูล

ข่าวสารสุขภาพ ได้นำโครงการดัชนีชี้วัดด้านสุขภาพกลับ

เข้าไปหารือกับผู้เชี่ยวชาญอีกครั้งหนึ่ง เหมือนกับการทำขั้น

ตอนสุดท้าย ซึ่งจะมีการระดมสมองกันอีก เพราะว่าตัวดัชนี

ชี้วัดสุขภาพเดิมมีเยอะมากๆ ซึ่งจากการที่ได้ไปประชุมครั้ง

สุดท้ายดัชนีชี้วัดสุขภาพนี้ได้รับการยอมรับจากที่ประชุม

เพราะถือว่าเป็นงานวิจัย แต่ว่าตัวดัชนีชี้วัดทั้งหมดมีการปรับ

เปลี่ยนบ้างตามที่ประชุมเห็นสมควร ส่วนการผลักดันใน

Page 63: 20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก เพื่อนำสังคมไทยสู่ “ระบบ ...203.157.10.11/pmqa53/wp-content/uploads/downloads/it7123.pdf ·

124 / คนต้นคิด จัดกระบวนทัพสร้างมาตรฐาน ดัชนีชี้วัดสุขภาพ / 125

โครงการใหญ่ก็กำลังผลักดันให้คณะกรรมการระดับชาตินำ

ไปใช้ค่ะ

ประชาชนหรือเครือข่ายที่เกี่ยวข้องจะเข้ามามีส่วนร่วมหรือ

ใช้ประโยชน์จากข้อมูลได้อย่างไรบ้าง

ผศ.ดร.พิมลพรรณ : ได้เคยไปร่วมกับคณะวิจัยโครงการ

สุขภาพชุมชน ซึ่งมีแนวคิดที่จะทำดัชนีชี้วัดสุขภาพระดับ

ชุมชน เห็นว่าตัวดัชนีชี้วัดสขุภาพเหลา่นีส้ามารถนำไปใชเ้กบ็

ข้อมูลจากชุมชนได้ ซึ่งถ้าเขาทำได้จริง คนในชุมชนก็มอง

เห็นสถานะสุขภาพของตัวเองตรงนั้นได้ จากการที่ได้ลง

ชุมชน เราได้เห็นประชาชนตื่นตัว เหมือนเป็นการกระตุ้น

ทางอ้อมให้คนหันมาใส่ใจสขุภาพ อยา่งเชน่ เวลาทีเ่ราไปคยุ

เรือ่งสขุภาพปุบ๊ ประชาชนก็จะนึกถึงเรื่องสุขภาพ นึกถึงสิ่งที่

จะทำให้สุขภาพดีหรือไม่ดี เช่น ถ้าครอบครัวแตกแยกก็ส่ง

ผลต่อสุขภาพจิต ส่งผลต่อความสุขในครอบครัว

มองอนาคตของการทำงานในเรื่องนั้นๆ ต่อไปในระยะยาว

อย่างไร

ผศ.ดร.พิมลพรรณ : ตอนนี้กำลังมองว่าใครจะเป็นเจ้าภาพ

หลกัและตอ้งใชเ้วลาเทา่ไหรถ่งึจะทำใหค้นยอมรบั นอกจากนี้

การเก็บข้อมูลแต่ละแหล่งมารวมกัน เจ้าภาพหลักนี่ล่ะจะ

เป็นคนบอกว่าถึงเวลาแล้วนะที่เราจะต้องมีหน่วยงานหนึ่งที่

ทำตัวนี้ขึ้นมา หรือวา่ทำอยา่งไรทีจ่ะทำใหห้นว่ยงานตา่งๆ ที่

เกี่ยวข้องส่งข้อมูลที่เก็บได้มาให้ทุกๆ ปีเพื่อทำดัชนีชี้วัด

สขุภาพแห่งชาติ

อยากฝากว่า ถ้ามีการยอมรับก็จะง่ายต่อการติดตาม

ประเมินผลสุขภาพของคน ถ้าเรามองย้อนกลับไปเวลาที่คน

พูดถึงเรื่องมิติสุขภาพ มันรวมถึงสุขภาพกาย สุขภาพจิต ซึ่ง

รวมไปถึงสุขภาพสังคม ถ้าสุขภาพดี สังคมก็ดี ประเทศก็ดี

สิ่งแวดล้อมดีแน่นอน

ถ้าทุกคนยอมรับดัชนีชี้วัดสุขภาพและช่วยกันผลักดัน

ออกมา เราก็จะรู้ว่าสังคมตอนนี้เป็นอย่างไร สิ่งแวดล้อมเป็น

อย่างไร คือได้องค์รวมทั้งหมด ซึ่งสามารถนำไปผลักดัน

นโยบายในระดับประเทศได้

เพราะคนที่ดูจะได้รู้ว่าสุขภาพของประชาชนในแต่ละ

แห่งเป็นอย่างไร ตรงไหนเข้าเกณฑ์ หรือตรงไหนต้องได้รับ

การช่วยเหลือหรือเข้าไปสนับสนุน

Page 64: 20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก เพื่อนำสังคมไทยสู่ “ระบบ ...203.157.10.11/pmqa53/wp-content/uploads/downloads/it7123.pdf ·

ดร.ปัทมา ว่าพัฒนวงศ์

สะกดรอย (ข้อมูล) การตาย ระดับจังหวัด

Page 65: 20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก เพื่อนำสังคมไทยสู่ “ระบบ ...203.157.10.11/pmqa53/wp-content/uploads/downloads/it7123.pdf ·

ลดอุบัติเหตุที่สงขลา ด้วย “การพัฒนาระบบการจัดการข้อมูล” / 12�

>>>

เมื่อเอ่ยถึงการตาย หลายคนอาจไม่อยากพูดถึงด้วยรู้สึกว่าไม่เป็นมงคล แต่ความจริงคือ เราทุกคนต่างก็หนี

ความตายไปไม่พ้น และมีโอกาสที่จะได้สัมผัสกับการตาย

ของคนรอบข้างได้ด้วยกันทั้งนั้น และด้วยทัศนคติเกี่ยวกับ

การตายนี้ เองที่ทำให้ระบบการจดทะเบียนการตายใน

ประเทศไทยไม่สมบูรณ์เท่าที่ควร จึงเป็นที่มาของโครงการ

ศึกษาความสมบูรณ์ของการตายจากทะเบียนตายเทียบกับ

ข้อมูลจริงระดับจังหวัด และการวิเคราะห์ความแปรปรวน

การตายตามช่วงเวลา โดย ดร.ปัทมา ว่าพัฒนวงศ์

จาก สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้รับผิดชอบโครงการนี้ จะเล่าถึงที่มาที่ไปนับจากบรรทัดนี้

ถ้าทุกคนเข้าใจตรงนี้ การไม่ ไปจดทะเบียนก็จะน้อยลง ข้อมูลการตายก็จะสมบูรณ์ขึ้น และสามารถนำข้อมูลที่ ได้ ไปวิเคราะห์ต่อยอดต่อไปได้ ดร.ปัทมา ว่าพัฒนวงศ์ >>>

Page 66: 20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก เพื่อนำสังคมไทยสู่ “ระบบ ...203.157.10.11/pmqa53/wp-content/uploads/downloads/it7123.pdf ·

130 / คนต้นคิด สะกดรอย (ข้อมูล) การตาย ระดับจังหวัด / 131

โครงการศกึษาความสมบรูณข์องการตายนีม้ทีีม่าอยา่งไร

ดร.ปัทมา : เดิมมีการศึกษาความสมบูรณ์ของทะเบียนการ

ตายในระดับประเทศโดยวัดผลเป็นระยะอยู่แล้ว เป็นการดึง

ขอ้มลูจากแตล่ะภาคมาวดัผลรวมกนัและไดอ้อกมาเปน็ขอ้มลู

ของประเทศ สถาบันวิจัยประชากรและสังคมจึงมองว่า ใน

เมื่อเราทำโครงการเฝ้าระวังทางประชากรในพื้นที่จังหวัด

กาญจนบุร ี ซึ่งเป็นจังหวัดหนึ่งที่ถูกนำข้อมูลจริงไปใช้วัดใน

ระดับประเทศอยู่แล้ว เราก็มีข้อมูลพื้นฐาน อาท ิ คนเกิด

คนตาย คนยา้ยออก และยา้ยเขา้ในทกุครวัเรอืนทัง้หมด 100

หมู่บ้าน ดังนั้นจึงน่าจะนำข้อมูลที่มีอยู่แล้วมาศึกษาลงลึกใน

ระดบัจงัหวดัได ้และเปน็ทีม่าของโครงการนี ้

ทำไมตอ้งมกีารศกึษาความสมบรูณข์องการตาย

ดร.ปทัมา : การศึกษาตรงนี้ทำให้เราทราบถึงการจดทะเบียน

ซึ่งในระดับจังหวัดเป็นจุดๆ หนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าในระดับ

จังหวัดมีความสมบูรณ์ในการจดทะเบียนการตายมากน้อยแค่

ไหน ทำใหเ้รารูต้วัเลขการจดทะเบยีนการตายจรงิๆ จากการ

เจาะลกึลงในพืน้ทีท่ีย่อ่ยลงไป ไมใ่ชม่เีฉพาะในระดบัประเทศ

เท่านั้น ฉะนั้นการศึกษาความสมบูรณ์ของทะเบียนการตาย

จะทำใหเ้ราเหน็ภาพความสมบรูณข์องทะเบยีนการตายทีแ่ตก

ต่างกัน ซึ่งแม้การศึกษานี้เป็นการศึกษาเพียงแค่จังหวัดเดียว

แต่ก็ทำให้เห็นภาพว่า ถ้าจะมีการพัฒนาในระดับประเทศ

ตอ้งมองถงึความแตกตา่งของแตล่ะจงัหวดัดว้ย

ขณะนีโ้ครงการดำเนนิการแลว้เสรจ็หรอืยงั

ดร.ปัทมา : โครงการนีส้ำเรจ็ไปแลว้ แตใ่นสว่นของเจา้หนา้ที่

ตอนนี้กำลังพัฒนาปรับปรุงเรื่องระบบต่อไป แต่ว่าการศึกษา

ความสมบรูณข์องทะเบยีนการตายมนัใหภ้าพในชว่งเวลาหนึง่

เท่านั้น จึงต้องอาศัยกระบวนการทำงานอย่างต่อเนื่องมาก

กวา่นัน้ ทีจ่ะทำใหก้ารจดทะเบยีนการตายสมบรูณย์ิง่ขึน้

ผลการศกึษาทีไ่ดจ้ะนำไปใชป้ระโยชนอ์ยา่งไร

ดร.ปัทมา : เปน็ลกัษณะนำผลการศกึษาไปพดูคยุในเครอืขา่ย

ขอ้มลูตา่งๆ ของคณุหมอพนิจิ ฟา้อำนวยผล โดยมหีนว่ยงาน

ที่รับผิดชอบมาร่วมพูดคุยในเรื่องเหล่านี้ด้วย เช่น สำนัก

บริหารการทะเบียนก็เข้ามาประชุม ซึ่งเมื่อหน่วยงานที่มา

รบัฟงัถงึประเดน็ปญัหาวา่ การจดทะเบยีนการตายยงัมปีญัหา

อยูน่ะ เขากจ็ะไดไ้ปหาระบบมาจดัการปญัหาตรงนี ้นอกจากนี ้

ไดน้ำขอ้มลูจากการศกึษาไปเผยแพรใ่นเวบ็ไซตข์องสำนกังาน

พฒันาระบบขอ้มลูขา่วสารสขุภาพ และนำไปพดูคยุกนัในเวที

วชิาการตา่งๆ กบัหนว่ยงานทีเ่กีย่วขอ้งคะ่

ประชาชนหรือเครือข่ายที่เกี่ยวข้องสามารถใช้ประโยชน์จาก

ขอ้มลูทีไ่ดน้ีอ้ยา่งไร

ดร.ปัทมา : เมื่อนำข้อมูลมาทำเป็นรายงาน เขาก็จะเห็น

ตัวอย่างที่ศึกษามา ได้นำไปเปรียบเทียบให้เห็นว่าพื้นที่ที่เรา

เข้าไปศึกษาประชากรในช่วงแรกพบการจดทะเบียนการตาย

Page 67: 20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก เพื่อนำสังคมไทยสู่ “ระบบ ...203.157.10.11/pmqa53/wp-content/uploads/downloads/it7123.pdf ·

132 / คนต้นคิด สะกดรอย (ข้อมูล) การตาย ระดับจังหวัด / 133

เพียงร้อยละ 82.5 ซึ่งเมื่อเราเผยแพร่ตัวเลขนี้ออกไป ทำให้

สำนกับรหิารการทะเบยีนเหน็วา่คนจำนวน 100 คน ยงัมอีกี

ตั้ง 10 กว่าคนที่ไม่ได้จดทะเบียนการตาย และจะหา

วิธีการอย่างไรที่จะทำให้ประชาชนทราบและเห็นความสำคัญ

ของเรือ่งนี ้

มองอนาคตของการทำงานในเรื่องนั้นๆ ต่อไปในระยะยาว

อยา่งไร

ดร.ปัทมา : เรื่องการพัฒนาระบบการจดทะเบียน ความ

สมบูรณ์ของทะเบียนการตาย ที่ผ่านมาได้มีการพัฒนาอย่าง

ต่อเนื่อง อย่างที่ทราบมาสำนักบริหารการทะเบียนพยายามที่

จะทำให้ระบบข้อมูลดีที่สุด สมบูรณ์ที่สุด สำนักนโยบายและ

ยุทธศาสตร ์ เองพยายามคิดหาระบบให้ประชาชนมาจด

ทะเบยีนการตาย หลงัจากคนในครอบครวัตาย และในส่วนที่

ตัวเองดูแลก็เป็นการศึกษาวิจัยซึ่งมีทำต่อเนื่องไปเรือ่ยๆ

สำหรับคนที่จะนำข้อมูลการศึกษาความสมบูรณ์ของ

ทะเบยีนการตายไปใชใ้นเชงิวชิาการ กจ็ะชว่ยใหเ้ขารูว้า่ การ

จดทะเบียนการตายตอนนี้ยังไม่สมบูรณ ์ ถ้าจะนำข้อมูลไป

ใชต้อ่ เขาจะชว่ยทำยงัไงใหข้อ้มลูการจดทะเบยีนการตายเกดิ

ความสมบรูณข์ึน้กวา่เดมิ

สำหรบัคนทัว่ไป เรือ่งขอ้มลูการตายเปน็สิง่สำคญั อยาก

ให้ทุกคนที่คนในครอบครัวเสียชีวิตมาจดทะเบียนการตายที่

อำเภอด้วยไม่ใช่แค่ไปแจ้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แล้วจบ แต่ยัง

ต้องนำเอกสารที่ได้จากกำนัน ผู้ใหญ่บ้านไปที่สำนักทะเบียน

เทศบาลหรืออำเภอ เพื่อขอใบมรณะบัตร ตรงนี้จึงถือว่าการ

จดทะเบียนการตายสมบูรณ ์ถ้าทุกคนเข้าใจตรงนี ้การไม่ไป

จดทะเบียนก็จะน้อยลง ข้อมูลการตายก็จะสมบูรณ์ขึ้นและ

สามารถนำขอ้มลูทีไ่ดไ้ปวเิคราะหต์อ่ยอดตอ่ไปได ้

Page 68: 20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก เพื่อนำสังคมไทยสู่ “ระบบ ...203.157.10.11/pmqa53/wp-content/uploads/downloads/it7123.pdf ·

อ.วิวัฒน์ สุทธิวิภากร

ลดอุบัติเหตุที่สงขลา ด้วย “การพัฒนาระบบ การจัดการข้อมูล”

Page 69: 20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก เพื่อนำสังคมไทยสู่ “ระบบ ...203.157.10.11/pmqa53/wp-content/uploads/downloads/it7123.pdf ·

ลดอุบัติเหตุที่สงขลา ด้วย “การพัฒนาระบบการจัดการข้อมูล” / 137

>>>

คงจะดหีากการเดนิทางบนทอ้งถนน เราสามารถรู้ได้ว่าเส้นทางไหนเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง เส้นทางไหนเกิด

น้อยกว่า เพื่อจะได้เลือกเส้นทางที่ปลอดภัยมากที่สุด แต่จะ

ดียิ่งกว่านั้นหากถนนทุกสายได้รับการออกแบบให้มีความ

ปลอดภัยสูงสุด และได้รับการแก้ไขปัญหาตรงจุดที่เกิด

อุบัติเหตุบ่อยครั้ง คนใช้รถใช้ถนนจะได้มีความมั่นใจว่า

ปลอดภัยทุกเส้นทาง

โครงการการพัฒนาระบบการจัดการข้อมูลอุบัติเหตุทาง

ถนนจังหวัดสงขลา เป็นแบบอย่างน่าสนใจในการพัฒนา

ระบบการจัดการข้อมูลเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุ

บนท้องถนน ถึงแม้การดำเนินโครงการที่ผ่านมากว่า 2 ปี

จะสามารถเดินหน้าไปได้เพียงบางส่วน ไม่บรรลุเป้าหมาย

ภายในกรอบเวลาที่ตั้งไว้ แต่คณะผู้จัดทำก็ยังมีความหวัง

และความตั้งใจที่จะพัฒนาต่อ

สิ่งที่โครงการนี้ค้นพบมีอะไรบ้าง และจะพัฒนาข้อมูล

อุบัติเหตุทางถนนในระดับจังหวัดได้อย่างไร ฟังจาก อาจารย์

วิวัฒน์ สุทธิวิภากร ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรม-

ศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หนึ่งในทีมงาน

ผู้ดำเนินโครงการ

สิ่งที่เราต้องรู้ คืออุบัติเหตุมันเกิดขึ้นที่ ไหน จุดไหน แต่ปัญหาคือข้อมูลลักษณะนี้ หลายๆ หน่วยงาน ไม่มีหรือมีก็ไม่ละเอียด อ.วิวัฒน์ สุทธิวิภากร >>>

Page 70: 20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก เพื่อนำสังคมไทยสู่ “ระบบ ...203.157.10.11/pmqa53/wp-content/uploads/downloads/it7123.pdf ·

138 / คนต้นคิด ลดอุบัติเหตุที่สงขลา ด้วย “การพัฒนาระบบการจัดการข้อมูล” / 13�

ทำไมต้องมีการจัดทำเรื่องโครงการนี้ที่สงขลา

อาจารย์วิวัฒน์ : การแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุนั้นเราไม่ค่อยรู้

สาเหตุที่แท้จริง มีการนับจำนวนว่าชนกันกี่ครั้ง มีอุบัติเหตุ

ตายเท่าไหร่ แต่ถามว่าสาเหตุที่แท้จริงคืออะไร ส่วนใหญ่

เราก็จะสุ่มใช้ปฏิภาณไหวพริบตอบเอา เช่น เป็นเพราะเมา

ไม่ใส่หมวก ไม่คาดเข็มขัด ขับรถเร็ว เราก็จะคิดไปต่างๆ

นานา นอกจากนี้ยังมีคนเก็บข้อมูลเยอะ และแต่ละคนก็มี

วิธีการจัดเก็บไม่เหมือนกัน เวลาจะแก้ไขปัญหาเรามองไม่รู้

ต้นตอของปัญหาที่แท้จริง ข้อมูลจัดเก็บคนละส่วน เราก็เลย

คิดว่าทำอย่างไรจะเอาข้อมูลมาผูกเป็นข้อมูลเดียวกัน

ใช้วิธีการอย่างไรในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจาก

หน่วยงานต่างๆ

อาจารย์วิวัฒน์ : พอเริ่มโครงการเราก็เชิญหน่วยงานทั้งหมด

มาประชุม แล้วก็ขอข้อมูลจากเขาว่าต่อไปนี้ถ้ามีข้อมูลขอให้

ส่งมาที่เราด้วย เราไม่ได้ขอข้อมูลย้อนหลังนะ เราเอาข้อมูล

ไปข้างหน้าอย่างเดียว ข้อมูลที่ได้มาคือนับจากวันที่เริ่ม

โครงการจนถึงปัจจุบัน

วิธีการจะเก็บข้อมูลมารวมกันก็ต้องมีสถานีข้อมูล เราจึง

ทำเป็นสถานีแบบชั่วคราว ตอนนี้อยู่ที่ภาควิศวกรรมโยธา

หน่วยงานต่างๆ เขาก็ส่งไปที่คณะวิศวะฯ แล้วเราก็เป็น

คนเก็บ จากนั้นเราก็เอาข้อมูลนี้ลงไปใน GIS หรือระบบ

สารสนเทศภูมิศาสตร์ เมื่อเรามีข้อมูลตำแหน่งของการเกิด

อุบัติเหตุที่ได้รับจากหน่วยงานต่างๆ เราก็จะนำมากำหนด

จุด (plot) ลงในระบบหรือบนแผนที่ ถ้าตรงไหนที่มีจุด

เยอะๆ แสดงว่าตรงนั้นอันตราย แล้วในจุดนี้มันจะมีข้อมูล

อีกเยอะเลยที่สามารถใส่เข้าไปได้อีก ดังนั้นนอกจากจะบอก

ตำแหน่งได้แล้ว ยังสามารถบอกได้อีกว่าวันเวลาที่เกิดเหตุ

เกิดขึ้นกับใคร รถอะไรชนกับอะไร สถานที่นั้นเป็นอย่างไร

สภาพแวดลอ้ม ถนน ดนิฟา้อากาศเปน็อยา่งไร ขอ้มลูเหลา่น้ี

เราก็สามารถที่จะเอาไปวิเคราะห์ได้

โครงการนี้ดำเนินการถึงขั้นไหนแล้ว และพบปัญหาอะไรบ้าง

อาจารย์วิวัฒน์ : ช่วงแรกเรารวบรวมข้อมูลมาจากหลายๆ

หนว่ยงานเพือ่ทำความเขา้ใจ ชว่งทีส่องทำการวเิคราะหข์อ้มลู

ที่ได้มา แล้วพบจุดอ่อนเรื่องการระบุตำแหน่งก็เลยคิดแก้ไข

ปัญหาอยู่ระยะหนึ่ง เนื่องจากแต่ละหน่วยงานที่ใช้แบบฟอร์ม

เก็บข้อมูลคนละแบบ แพทย์ก็ใช้แบบฟอร์มของแพทย์เพื่อ

การรักษาพยาบาล ตำรวจก็ใช้อีกแบบฟอร์มหนึ่งเพราะเขา

อยากรู้ว่าใครผิดใครถูกในเรื่องคดีความ กรมทางหลวงก็มีอีก

แบบฟอร์มหนึ่ง ทุกคนต่างมีวาระ (agenda) ของตัวเองว่า

จะแก้ไขปัญหาอะไร เวลาเจ้าหน้าที่เอาข้อมูลจากที่มีการ

บันทึกในแบบฟอร์มมาถอดรหัส การเจาะจงจุดลงไปใน

แผนที่มันเจาะจงยาก

อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นมันมีสิ่งเกี่ยวข้องคือ คน ถนน และรถ

ในฐานะที่ผมกับทีมงานคือ ผศ.ดร.ศักดิ์ชัย ปรีชาวีรกุล (จาก

คณะวิศวกรรมศาสตร ์ และผู้อำนวยการศูนย์คอมพิวเตอร ์

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์) เป็นวิศวกรโยธา ส่วนที่คิดว่า

Page 71: 20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก เพื่อนำสังคมไทยสู่ “ระบบ ...203.157.10.11/pmqa53/wp-content/uploads/downloads/it7123.pdf ·

140 / คนต้นคิด ลดอุบัติเหตุที่สงขลา ด้วย “การพัฒนาระบบการจัดการข้อมูล” / 141

เราพอทำได้คือการแก้สภาพทางกายภาพ เรื่องของสภาพ

แวดล้อม เรื่องของถนน ดังนั้นสิ่งที่เราต้องรู้คืออุบัติเหตุมัน

เกิดขึ้นที่ไหน จุดไหน แต่ปัญหาคือข้อมูลลักษณะนี้หลายๆ

หน่วยงานไม่มีหรือมีก็ไม่ละเอียด โดยเฉพาะข้อมูลในเขต

เมือง บางครั้งก็บอกว่าอยู่หน้าร้านเซเว่น แล้วถนนสายนั้นมี

เซเว่นอยู่ 3 จุด เราก็ไม่รู้ว่าจุดไหน เราจึงซื้อ GPS (Global

Positioning System) เอาไปให้เลย จะได้บอกตำแหน่งได้

เพราะเป็นระบบการกำหนดตำแหน่งสากลบนโลก ให้รู้ว่า

เกิดขึ้นที่ไหน เพราะฉะนั้นเมื่อเขามีเครื่องมือนี้ คนที่ไปดู

สถานที่เกิดเหตุก็เอาตัวนี้ไป พอไปถึงแล้วก็กดระบุตำแหน่ง

ว่ามันเกิดขึ้นตรงนี้ ข้อมูลมันก็จะออกมาเป็นพิกัดแล้วเขาก็

จดลงไปในแบบฟอร์มเพื่อส่งต่อให้เรา

เมื่อประมาณ 1-2 เดือนที่ผ่านมา เราเอาตัว GPS ไปให้

กับมูลนิธิ 2 แห่ง คือมูลนิธิมิตรภาพสามัคคีที่หาดใหญ่ และ

มูลนิธิสมาคมร่วมใจที่จังหวัดสงขลา ซึ่งเขาก็เริ่มส่งข้อมูลมา

ให้เราแล้ว คิดว่าจะทดลองไปสักระยะหนึ่งเพื่อเอาข้อมูลจาก

มูลนิธิมาดูว่าจะทำได้อย่างที่เราตั้งใจได้หรือไม่ ถ้าทำได้ก็จะ

แนะนำให้มีการดำเนินการแบบนี้ในส่วนอื่นๆ ต่อไป แต่

สำหรับกรมทางหลวงเขาเก็บข้อมูลซึ่งระบุตำแหน่งได้ เพราะ

เวลาวางเส้นทางเขาจะบอกว่าเริ่มจากไหนถึงไหน จาก

กิโลเมตรศูนย์ถึงกิโลเมตรที่เท่าไหร่ เมื่อเกิดอุบัติเหตุตรงไหน

จะบอกได้ เช่น ชนกันที่ กม.11 บวก 6 ถึง 0 ก็คือกิโลเมตร

ที่ 11.6

ตอนนี้ผลผลิตจากโครงการเท่าที่ได้ออกมามีการเผยแพร่บ้าง

หรือยัง และมีกระบวนการที่จะพัฒนาต่ออย่างไร

อาจารย์วิวัฒน์ : ผลผลิตจากโครงการนี้มี 2 อย่าง อย่างแรก

คือผลลัพธ์จากการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหลาย และอีกอย่าง

หนึ่งคือผลลัพธ์จากการดำเนินงาน ในส่วนของการดำเนิน

งานเราพอบอกได้ว่าอะไรเป็นปัญหา อะไรไม่เป็นปัญหา แล้ว

เราคิดว่าวิธีแก้ไขปัญหาจะทำอย่างไร

ส่วนการพัฒนาต่อไปตอนนี้เรามีการใช้ทั้ง GIS กับ

GPS ก็คือ GIS เอาไว้ประมวลข้อมูล ส่วน GPS เอาไว้ระบุ

ตำแหน่ง ซึ่งยังไม่ค่อยมีใครเอา GPS ไปใช้ประโยชน์ใน

ลักษณะนี้ แต่เราก็ยังคิดว่าการใช้งานยังไม่มีประสิทธิภาพ

เท่าที่ควร

นอกจากนี้ เรายังคิดว่าจะเอาข้อมูลทั้งหมดมาทำให้

สาธารณชนเข้าถึงได้ทางเว็บไซต์ แต่เราควรจะมีวิธีการ

ประมวลให้เขาด้วย ไม่เช่นนั้นเขาดูเสร็จแล้วก็ไม่รู้ว่ามันคือ

อะไร อย่างในต่างประเทศข้อมูลเหล่านี้เมื่อเข้าไปดูแล้วผู้ใช้

สามารถที่จะเลือกเส้นทางการเดินทางที่อันตรายน้อยที่สุด

หรือปลอดภัยที่สุดได้ เส้นไหนที่พบอุบัติเหตุบ่อยก็หลีกเลี่ยง

ไปอีกเส้นหนึ่ง

อุบัติเหตุเป็นปัญหาใหญ่ แต่ผมคิดว่าถ้ามีผู้ศึกษาอย่าง

อาจารย์ศักดิ์ชัยกับผม และอีกหลายๆ คน ที่คอยนำเสนอ

ข้อมูล ผลักไปเรื่อยๆ สักวันหนึ่งก็จะข้ามเขาลูกนี้ไปได้ เช่น

เดียวกับตัวอย่างที่ข้ามไปได้แล้ว เช่น เรื่องการสูบบุหรี่

Page 72: 20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก เพื่อนำสังคมไทยสู่ “ระบบ ...203.157.10.11/pmqa53/wp-content/uploads/downloads/it7123.pdf ·

142 / คนต้นคิด

แต่ก่อนคนสูบบุหรี่ไม่อายเลย เท่ด้วย แต่ตอนนี้คนสูบบุหรี่

ต้องไปหลบๆ ซ่อนๆ

เรื่องข้อมูลอุบัติเหตุผมก็หวังว่าวันหนึ่งมันจะข้ามเขาลูก

นี้มา เราก็นำเสนอไปเรื่อยๆ ว่าวิธีเก็บข้อมูลต้องทำอย่างไร

และถ้าเรารู้จากข้อมูลที่ได้มาว่ามันเป็นอย่างไรแล้ว ทำ

อย่างไรจะแก้ไขปัญหาได้

สุริยา ยีขุน

“ตำบลปริก” พลิกปัญหา ใช้

“ฐานข้อมูล” ปูทางสร้างสุข

Page 73: 20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก เพื่อนำสังคมไทยสู่ “ระบบ ...203.157.10.11/pmqa53/wp-content/uploads/downloads/it7123.pdf ·

144 / คนต้นคิด “ตำบลปริก” พลิกปัญหา ใช้ “ฐานข้อมูล” ปูทางสร้างสุข / 145

>>>

หากคลกิเขา้ไปในเวบ็ไซต ์www.tonprik.org จะเห็นหน้าเว็บสีเขียวสดใสที่มีเนื้อหาอัดแน่นด้วยข้อมูลข่าวสาร

ต่างๆ ทั้งในรูปแบบของภาพนิ่ง คลิปวิดีโอ และตัวหนังสือ

บอกเล่าเรื่องราวความเคลื่อนไหวใน ชุมชนเทศบาลตำบล

ปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ที่มีการอัพเดทอยู่เสมอ

สะท้อนให้เห็นว่าเทศบาลแห่งนี้ไฮเทคไม่เบา บวกกับการมี

นโยบายและทิศทางการบริหารที่ชัดเจนด้านสุขภาวะ จึงเป็น

ฐานให้เกิดการพัฒนาระบบฐานข้อมูลสุขภาพชุมชนเทศบาล

ตำบลปริกในช่วงปี 2550-51 ภายใต้ โครงการวิจัยระบบการ

จัดการฐานข้อมูลสุขภาพชุมชนเทศบาลตำบลปริก โดยการ

สนับสนุนของสถาบันการจัดการระบบสุขภาพภาคใต้

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (เดิมคือ สวรส. ภาคใต้ มอ.)

ภายใต้แผนงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ ระบบ

ฐานข้อมูลดังกล่าวได้พัฒนาไว้ที่ www.tonprikinfo.org

และมีลิงค์ไว้บนเว็บไซต์ของเทศบาลตำบลปริก (www.

tonprik.org) ด้วย

การทำระบบการจัดการฐานข้อมูลสุขภาพชุมชนมีความ

จำเป็นอย่างไร ชาวชุมชนเทศบาลตำบลปริกได้รับประโยชน์

อะไร คุณสุริยา ยีขุน ผู้ครองตำแหน่งนายกเทศมนตรี

เทศบาลตำบลปริกมานานเกือบ 10 ปี จะช่วยไขให้เห็น

คุณค่าในเรื่องนี้

ฐานข้อมูลเป็นประโยชน์กับเรา เป็นโจทย์ ให้คิดต่อว่าเราจะทำอะไร... ที่จะเขยื้อนสังคมในตำบลปริกของเราให้มันดีขึ้น

>>>

>>> สุริยา ยีขุน >>>

Page 74: 20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก เพื่อนำสังคมไทยสู่ “ระบบ ...203.157.10.11/pmqa53/wp-content/uploads/downloads/it7123.pdf ·

146 / คนต้นคิด “ตำบลปริก” พลิกปัญหา ใช้ “ฐานข้อมูล” ปูทางสร้างสุข / 147

สภาพปัญหาที่มีอยู่คืออะไร ทำไมต้องทำระบบการจัดการ

ฐานข้อมูลสุขภาพชุมชน

คุณสุริยา : แต่เดิมเทศบาลตำบลปริกยังขาดเรื่องของการจัด

ระบบข้อมูล ข้อมูลมันสะเปะสะปะไปหมด กระจัดกระจาย

ทั่วไปตามหน่วยงานต่างๆ เวลาจะจับต้องอะไร มันดูเหมือน

ว่าอยู่ตรงนั้นนะ อยู่ตรงนี้นะ เหมือนกับเราทำอะไรก็ยังไม่มี

ความเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน การทำงานบางครั้งทำแบบใช้

ความรู้สึกนึกคิดเอาเอง หรือใช้คนบอกเล่า ซึ่งไม่ได้อยู่บน

ฐานของข้อมูลเชิงประจักษ์ เช่น อยู่ๆ เราคิดเอาเองว่า บ้าน

นี้น่าจะเกิดโรคภัยอันนี้นะ แต่ของจริงไม่รู้ว่ามันมีหรือไม่มี

เราก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ตรงจุด เพราะฉะนั้นสิ่งที่จำเป็น

สำหรับการทำงานของท้องถิ่นอันดับแรกน่าจะเป็นเรื่องของ

ข้อมูล จะทำอะไรต้องอิงระบบฐานข้อมูลว่ามันจะต้องมีของ

จริง สถานการณ์จริง เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง เราจึงจะแก้ไข

ปัญหาได้จริง จากฐานคิดตรงนี้ก็เลยทำให้เราอยากจะหาวิธี

การหรือหาโครงการอะไรก็ได้ที่สามารถเป็นเครื่องมือบอกเรา

ว่ามีอะไร อยู่ที่ไหน เท่าไหร่ ในพื้นที่ของเรา เพื่อให้สามารถ

รองรับการบริหารจัดการกิจกรรมด้านต่างๆ ของเทศบาลได้

อย่างครอบคลุม ก็ เลยคิดร่วมกับทีมงาน สวรส. ใน

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ออกมาเป็นรูปแบบของ

โครงการวิจัยนี้

เมื่อมีระบบฐานข้อมูลสุขภาพชุมชนแล้วช่วยแก้ปัญหาได้

อย่างไร

คุณสุริยา : ในตวัของระบบฐานขอ้มลูจะมตีัง้แตข่อ้มลูปฐมภมูิ

เช่น ข้อมูลจำนวนประชากรต่อพื้นที่ ซึ่งพื้นที่ของปริกแบ่ง

ออกเป็น 7 ชุมชน แต่ละชุมชนมีใคร อยู่ที่ไหน เท่าไหร่

ข้อมูลช่วงชั้นอายุของคน ข้อมูลเกี่ยวกับการเข้าร่วมกิจกรรม

ข้อมูลในเรื่องของโรคภัยไข้เจ็บ ข้อมูลที่เกี่ยวกับเรื่องของ

ภาวะโภชนาการ เรื่อง life expectancy หรืออายุที่คาดหวัง

แยกออกไปตามตัวชี้วัดสุขภาวะต่างๆ ซึ่งทั้งหมดเรามีอยู่

ประมาณ 65 ตัวชี้วัด

ข้อมูลประชากรเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนา ถ้า

เรารู้ว่าประชากรวัยเด็กมีเยอะมาก แล้วเราจะพัฒนาเด็กให้มี

คุณภาพได้อย่างไร จะเอาโครงการไหน input เข้าไป เพื่อ

ให้เด็กมีพัฒนาการที่ดี เช่น การทำศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้ดี

ขึ้น แล้วต่อยอดด้วยการสร้างโรงเรียนของเทศบาลเอง ก็มา

จากการคิดจากฐานข้อมูลที่เราเห็นว่ามีเด็กตั้ง 350 กว่าคน

ต่อปี พอตรวจดูรายละเอียดปรากฏว่าเด็กที่ไปเรียนข้างนอก

ในโรงเรียนดีๆ มีอยู่ไม่ถึง 100 คน แล้วที่เหลือไปไหน เด็กที่

เรียนอยู่ในพื้นที่ หรือไม่ได้เรียน หรือเรียนแบบไม่ได้คุณภาพ

จะเป็นปัญหาสังคมเราในอนาคตไหม ก็ทำให้เราคิดต่อว่า

ต้องทำอย่างไร เพื่อที่จะพัฒนาเด็กให้เป็นผู้ ใหญ่ที่ดีมี

คุณภาพ

ขอ้มลูเรือ่งโรคภยัไขเ้จบ็ ถา้เรารูว้า่ขณะนีส้ถานการณโ์รค

ภายในชุมชนมีคนเป็นความดัน เป็นเบาหวาน หรือมี

Page 75: 20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก เพื่อนำสังคมไทยสู่ “ระบบ ...203.157.10.11/pmqa53/wp-content/uploads/downloads/it7123.pdf ·

148 / คนต้นคิด “ตำบลปริก” พลิกปัญหา ใช้ “ฐานข้อมูล” ปูทางสร้างสุข / 14�

ความเครียดสูง ก็เป็นหน้าที่ของท้องถิ่นที่จะต้องคิดว่าทำ

อย่างไรจะขจัดความเครียดในชุมชน หรือทำอย่างไรจะลด

แนวโน้มของโรคเบาหวาน โรคความดันที่มันกำลังเพิ่มขึ้น

เรื่อยๆ

หรือจะดูข้อมูลเรื่องของความปลอดภัยในการบริโภค

ข้อมูลในส่วนที่เกี่ยวกับอุบัติเหตุ พวกนี้อยู่ในฐานข้อมูลทั้งนั้น

มันเหมือนกับเป็นโจทย์ตั้งไว้ให้เราคิดต่อ เพราะฉะนั้นตรงนี้

แหละที่คิดว่าฐานข้อมูลเป็นประโยชน์กับเรา เป็นโจทย์ให้คิด

ตอ่วา่เราจะทำอะไร ชว่ยในการวางแผน คดิกจิกรรม คดิงาน

หรือคิดภารกิจ ที่จะเขยื้อนสังคมในตำบลปริกของเราให้มัน

ดีขึ้น

ในส่วนของประชาชนหรือเครือข่ายที่เกี่ยวข้องจะเข้ามามี

ส่วนร่วมหรือใช้ประโยชน์จากข้อมูลได้อย่างไร

คุณสุริยา : เราทำระบบฐานข้อมูลสุขภาพชุมชนที่สามารถ

เชื่อมโยงข้อมูลสู่สาธารณะได้ ให้ชุมชนและประชาชน

สามารถเรียนรู้และเข้าถึงการใช้ข้อมูล ผ่านทาง www.

tonprikinfo.org ซึ่งมีการออกแบบไว้เป็นสองส่วน ส่วนหนึ่ง

เป็นคลังข้อมูลที่เป็นระบบฐานข้อมูล (database system)

อีกส่วนหนึ่งเป็นเรื่องของการนำไปสู่การขยายผล เป็น

ลักษณะของการพัฒนาระบบฐานความรู้ (KM) ผ่านระบบ

เว็บไซต์ที่มีพื้นที่สำหรับคนที่จะเข้ามาสนทนากัน เป็นเวที

สำหรับการแลกเปลี่ยน ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร ก็มา

เล่าสู่กันฟัง

การใช้ประโยชน์จากข้อมูลมันใช้ได้ทั้ง 4 ระดับเลย

ระดับหนึ่งคือ ฝ่ายบริหารของเทศบาล ใช้ในเรื่องของการ

วางแผนที่จะพัฒนา ระดับสองคือ เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ

แต่ละฝ่ายงาน เขาได้รู้ว่าในบริบทของปริก ลักษณะฐาน

ข้อมูลที่มีอยู่เรามีเท่านี้ จะทำอย่างไรให้มีการเติมเต็ม เพราะ

ฉะนั้นเจ้าหน้าที่เองก็ต้องขวนขวาย ใฝ่รู้ หรือต้องหาวิธีการ

ในการที่จะมาเขยิบต่อว่าเมื่อเรามีฐานข้อมูลแบบนี้ แต่เรา

ต้องการพัฒนาอีกแบบหนึ่ง เราต้องทำอย่างไรกับฐานข้อมูล

ที่มีกับสิ่งที่ เราอยากจะเป็น ระดับสามคือ กลุ่มองค์กร

ประธานชุมชน กรรมการชุมชน หรืออาสาสมัคร เช่น อสม.

เขาก็รู้จักเอาตัวข้อมูลไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการทำงาน

แต่เดิม อสม. แค่ทำ จปฐ. ให้กับกระทรวงสาธารณสุข ไป

ขีดๆ เขียนๆ ลอกมาจากชุมชนแล้วส่ง ตัวเองไม่ได้ใช้เลย

แต่ฐานข้อมูลนี้ทำแล้วได้รู้โจทย์ของชุมชนเป็นอย่างนี้ ลอง

เอาไปคิดดู สถานการณ์โรคเป็นอย่างไร สถานการณ์ทาง

ด้านอายุเป็นอย่างไร สถานการณ์ทางด้านความปลอดภัย

เรื่องอาหารการกิน เรื่องอุบัติเหตุ เรื่องเกี่ยวกับการใช้สาร

เคมีในการเกษตรเป็นอย่างไร และระดับสี่คือ พี่น้อง

ประชาชนทั่วไป เขาก็สามารถที่จะโพสต์ข้อความขึ้นมา

สามารถแสดงความคิดเห็น และบอกได้ว่าข้อมูลตรงนี้ถูก

หรือไม่ถูก ต้องแก้ไขอย่างไร ส่วนประชาชนทั่วไปที่ไม่มี

ความรู้ทางคอมพิวเตอร์ ก็จะได้รับประโยชน์ในแง่ที่เราเป็น

คนดึงข้อมูลมาแล้วไปติดประกาศหรือบอกโดยตรง หรือ

Page 76: 20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก เพื่อนำสังคมไทยสู่ “ระบบ ...203.157.10.11/pmqa53/wp-content/uploads/downloads/it7123.pdf ·

150 / คนต้นคิด

อสม. ที่เป็นผู้ที่ใช้ข้อมูลนี้ก็ไปเล่าสู่กันฟังในระดับชุมชน แล้ว

ก็คิดต่อว่าจะทำอย่างไรกับสภาพปัญหาที่มีอยู่

มองอนาคตที่จะพัฒนาระบบฐานข้อมูลนี้ต่อไปอย่างไร

คุณสุริยา : กำลังดูความเป็นไปได้ที่จะบูรณาการกับระบบ

ฐานข้อมูลของ อบต.ปากพูน (อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช)

ขณะเดียวกันก็อยากขยายผลไปสู่เพื่อนท้องถิ่นด้วยกัน ถ้ามี

ใครไปจุดประกาย ให้การสนับสนุนก็น่าจะเป็นประโยชน์

สำหรับเขา

ตอนนี้หลายๆ ที่ก็เห็นว่าจำเป็นแล้ว รู้ว่ามันมีประโยชน์

อย่างน้อยเวลาทำโครงการหรือทำงานอะไร จะได้อยู่บน

พื้นฐานของข้อเท็จจริง ไม่ใช่ทำแบบลอยๆ

ภาณุมาศ นนทพันธ์

เมื่อภาคประชาชน รุกจัดทำ

“ฐานข้อมูลสุขภาพ”

Page 77: 20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก เพื่อนำสังคมไทยสู่ “ระบบ ...203.157.10.11/pmqa53/wp-content/uploads/downloads/it7123.pdf ·

เมื่อภาคประชาชน รุกจัดทำ “ฐานข้อมูลสุขภาพ” / 153

>>>

ดว้ยลกัษณะเดน่หลายอยา่งโดยเฉพาะการมภีาคประชาสังคมที่เข้มแข็ง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่

ทำงานจริงจัง ผลักดันให้จังหวัดสงขลามีจังหวะก้าวที่ชัดเจน

บนเส้นทางของการสร้างสุขภาวะ จนเกิด แผนสุขภาพ

จังหวัดสงขลา เมื่อประมาณ 3 ปีที่ผ่านมา

ภายใต้การทำงานเป็นเครือข่าย องค์กรต่างๆ ได้เล็ง

เห็นความสำคัญของระบบการจัดการข้อมูลข่าวสารด้าน

สุขภาพนำมาสู่ โครงการการรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นของ

องค์กรภาคประชาชนเพื่อจัดทำฐานข้อมูลสุขภาพ ลองฟัง

เสียง คุณภาณุมาศ นนทพันธ์ ผู้ประสานงานประเด็นการ

จัดการข้อมูลภาคประชาชน ซึ่งเป็นผู้ดำเนินงานโครงการ

เพื่อรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นขององค์กรภาคประชาชนจำนวน

28 องค์กร

จากโครงการแรก มันก็ขยับมาเป็นอีกโครงการ ที่มีทั้งสำรวจและเก็บข้อมูล แล้วผลักดัน ให้เกิดเป็นศูนย์ข้อมูลให้ ได้

>>> >>> ภาณุมาศ นนทพันธ ์

Page 78: 20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก เพื่อนำสังคมไทยสู่ “ระบบ ...203.157.10.11/pmqa53/wp-content/uploads/downloads/it7123.pdf ·

154 / คนต้นคิด เมื่อภาคประชาชน รุกจัดทำ “ฐานข้อมูลสุขภาพ” / 155

การทำโครงการเพื่อรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นขององค์กรภาค

ประชาชนมีที่มาอย่างไร

คุณภาณุมาศ : ในการทำงานของแผนสุขภาพระดับจังหวัด

มีคนหลายกลุ่ม หลายองค์กร พอผ่านไปสักพักหนึ่งเราก็เริ่ม

เห็นปัญหาว่าข้อมูลที่มีอยู่มันค้นหายาก เพราะมีหน่วยงาน

อยู่เยอะ แต่ละที่เขาก็เก็บของเขาเอง

จากนัน้กเ็ลยไปคยุกบัทางสถาบนัการจดัการระบบสขุภาพ

ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เขาก็บอกว่าถ้าเช่นนั้น

ลองรวบรวมทำภาพรวมคร่าวๆ ขึ้นมาว่าอะไรมันอยู่ที่ไหน

ทั้งในภาครัฐและภาคประชาชน ใครทำงานอยู่ที่ไหนบ้าง มี

องค์กรอะไรอยู่ที่ไหน แล้วแต่ละองค์กรเขามีความต้องการ

เกี่ยวกับเรื่องการใช้งานข้อมูลในลักษณะใดบ้าง สิ่งที่เขายัง

ไม่มีคืออะไร และสิ่งที่เขามีอยู่แล้วมีอะไรบ้าง เขามีการเผย

แพร่อะไรยังไงบ้าง ลักษณะการใช้งานของเขา แบ่งออกเป็น

สองส่วน ส่วนของภาครัฐ พี่สุจิตร คงจันทร์ จากสำนักงาน

สาธารณสุขจังหวัดสงขลา รับไปทำเป็นอีกโครงการหนึ่ง

ส่วนของภาคประชาชนผมรับมา

ใช้กระบวนการทำงานและจัดเก็บผลที่ได้มาอย่างไร

คุณภาณุมาศ : เราอาศัยเชิงความสัมพันธ ์ และมีคนดูแล

แผนงานกลางอยูด่ว้ย เวลามกีจิกรรม ใครทำอะไรอยูต่รงไหน

แผนงานกลางเขาจะรู ้กน็ดัหมายมาคยุกนั แลว้ใชแ้บบสอบถาม

แต่ส่วนใหญ่ใช้วิธีทำแบบสอบถามทางโทรศัพท์ หลังจากทำ

แบบสอบถามเสร็จก็นัดกลุ่มมาคุยกันว่าแนวทางเราจะเอา

ยังไงต่อให้มันเข้าถึงได้ง่าย เก็บได้ง่าย ค้นหาได้ง่าย

ในมุมมองของคนทำงานภาคประชาชน คิดว่าเป็นเรื่องยาก

หรือไม่

คุณภาณุมาศ : ภาคประชาชนส่วนใหญ่เป็นนักกิจกรรมที่มา

จากสายศิลปะบ้าง สายการจัดการบ้าง บางคนก็เป็น

ชาวบ้านธรรมดาทีพ่ฒันาตนเองขึน้มาจากการทำงาน เรยีนรู้

ไปเรื่อยๆ เรียกว่าทุกคนพัฒนาตนเองมาจากสายอื่นที่ไม่

เกี่ยวกับทางดา้นคณติศาสตร ์ วทิยาศาสตร ์ วศิวะ หรอืเรือ่ง

อะไรทีเ่กีย่วกบัการจดัการขอ้มลู ฉะนัน้เวลาเกบ็ขอ้มลูกจ็ะเกบ็

กันไปตามประสา ไม่ใช่ว่าเขาผิดนะ แต่ว่ามันเป็นอย่างนั้น

จริงๆ จะหาสักทีก็ลำบาก ทั้งเป็นกระดาษและเป็นแฟ้ม

อิเล็กทรอนิกส์ แต่ถึงแม้จะเป็นแฟ้มอิเล็กทรอนิกส์แล้วก็ยัง

อยู่ที่เขา สมมติผมอยากได้อะไรสักอย่างมันไม่มีทางอื่นเลย

นอกจากต้องไปหาเขา

ตอนที่ผมสำรวจประเด็นวัฒนธรรม เขาบอกว่าเขามี

รายชื่อหมดเลยว่า หนังตะลุงในจังหวัดสงขลามีใครบ้าง มี

รายชื่อคนที่ทำโรงหนังด้วย หนังตะลุงกับโรงหนังมันแยกกัน

มีคนทำโรงหนังแล้วหนังตะลุงถึงจะไปเล่น โรงหนังจะมา

พรอ้มกบันกัดนตร ีหนงัตะลงุจะไปเฉพาะนายหนงักบัตวัหนงั

เขาก็มีรายชื่ออยู่หมดเลย พอผมถามว่ามันอยู่ที่ไหน เขาบอก

ว่าอยู่ในคอมพิวเตอร์นี้แหละ แต่มันอยู่ที่คนโน้นคนนี้ เรารู้

แล้วละว่าตัวข้อมูลมันมี ใช้ประโยชน์ได้ในการที่จะมาค้นหา

Page 79: 20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก เพื่อนำสังคมไทยสู่ “ระบบ ...203.157.10.11/pmqa53/wp-content/uploads/downloads/it7123.pdf ·

156 / คนต้นคิด เมื่อภาคประชาชน รุกจัดทำ “ฐานข้อมูลสุขภาพ” / 157

หรอืวา่จะทำอะไรกบักลุม่เปา้หมาย แตพ่อขอไดแ้ลว้กล็ำบาก

ที่จะไปตามหาข้อมูล

ขั้นตอนต่อไปที่จะพัฒนาจากข้อมูลที่ได้คืออะไร

คุณภาณุมาศ : มันก็ไปถึงขั้นที่สองซึ่งพัฒนาต่อขึ้นมา คือ

โครงการการพัฒนาระบบการจัดการข้อมูลสุขภาพจังหวัด

สงขลา ซึง่พดูถงึการวเิคราะหค์วามตอ้งการอยา่งละเอยีดขึน้มา

อกี เจาะลกึลงไปแตล่ะประเดน็วา่ประเดน็นีจ้รงิๆ เขาตอ้งการ

อะไร เช่น ประเด็นแรงงานเขาต้องการรายชื่อผู้ว่างงาน จะ

หาได้จากที่ไหน บางอย่างมันอาจจะหาไม่ได้ แต่ว่าได้รู้

ละเอียดลึกลงไปถึงความต้องการ ทำ requirement ออกมา

ดูว่าแต่ละกลุ่มคนเขาต้องการอะไร อยากได้ข้อมูลประเภท

ไหน กลุ่มนักบริหาร เช่น ผู้บริหารของโรงพยาบาล หรือ

เทศบาล อบต. เขาต้องการข้อมูลลักษณะไหน เพราะเราใช้

ประโยชน์กันคนละด้าน อย่างเราคนทำงานนี้ก็ต้องการเห็น

ภาพเพื่อเอาไปประกอบกับการทำงานของเรา ผู้บริหารเขาก็

ต้องการเห็นภาพเพื่อไปต่อยอดในการคิดนโยบายอะไรของ

เขา ทางเจ้าหน้าที่เขาก็ต้องการข้อมูลในเชิงปฏิบัติการ มันก็

เลยแยกกลุ่มออกมาเป็น 3-4 กลุ่มการทำงาน ซึ่งกลายเป็น

ว่าพอเราสำรวจเสร็จเราก็ต้องเก็บข้อมูลด้วย จากโครงการ

แรกมันก็ขยับมาเป็นอีกโครงการที่มีทั้งสำรวจและเก็บข้อมูล

แล้วผลักดันให้เกิดเป็นศูนย์ข้อมูลให้ได้ ให้ตัวข้อมูลตัวนี้มี

การใช้งานระยะยาว เป็นรูปเป็นร่างขององค์กรที่จะดูแลตัว

ข้อมูลตลอด นี่คือเป้าหมายถัดไป

ตอนนี้โครงการการพัฒนาระบบการจัดการข้อมูลสุขภาพ

จังหวัดสงขลา ที่พัฒนาต่อขึ้นมาดำเนินการไปถึงขั้นไหน

แล้ว

คุณภาณุมาศ : เริ่มมาประมาณยังไม่ถึงปี แบ่งออกเป็น 4

ระยะ ตอนนี้มันอยู่ระยะที่ 2 ทีมทางเทคนิคก็มานั่งคุยกันว่า

ข้อมูลดิบที่จะเอามาวิเคราะห์ตามความต้องการนี้จะได้มา

ยงัไง และจะเขยีนโปรแกรมยงัไง เพือ่ใหม้นัไดผ้ลลพัธอ์อกมา

อย่างข้อมูลการทำงานของ สอ. พวกนี้ก็เริ่มได้เข้ามา เป็น

ข้อมูลภาครัฐ ส่วนข้อมูลภาคประชาชนนี้ก็เหนื่อยเหมือนกัน

เพราะว่ามันไม่เป็นระบบ

ในอนาคตคิดว่ารูปธรรมที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาระบบการ

จัดการข้อมูลสุขภาพจังหวัดสงขลาจะเป็นอย่างไร

คุณภาณุมาศ : เรื่องของข้อมูลต้องทำต่อไปเรื่อยๆ ไม่ใช่ปีนี้

เก็บรวบรวมเสร็จแล้วก็ถือว่าจบ เราเก็บในปีนี้แต่ปีหน้า

เหตุการณ์มันไม่ใช่อย่างนี้ มันมีปัจจัยใหม่เข้ามาก็ต้องไปเก็บ

รวบรวมข้อมูลใหม่ทุกปี หนึ่ง คือเพื่อเป็นการอัพเดท สอง

คอืเพือ่เปน็การเปรยีบเทยีบ พอมขีอ้มลูเปรยีบเทยีบสกั 4-5 ป ี

มนักจ็ะเริม่เหน็แนวโนม้อะไรบางอยา่ง เราจะพยายามผลกัดนั

ใหใ้นกลุม่ยอ่ยเขาเกบ็ทำกนัเอง เพราะมนัจะงา่ยกวา่ อาจจะ

ให้เก็บในระดับหมู่บ้าน แล้วค่อยขยับขยายไปให้รวบรวมทั้ง

ตำบล และทำให้ได้ต่อเนื่องทุกปี ต้องให้แต่ละแห่ง ดูว่า

ที่ไหนมีความพร้อมแล้วก็ให้ทำเป็นศูนย์ข้อมูลของตำบลไป

เลย เพียงแต่ทำให้คนอื่นเข้าถึงได้ด้วย ตอนนี้โซนแถวตำบล

Page 80: 20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก เพื่อนำสังคมไทยสู่ “ระบบ ...203.157.10.11/pmqa53/wp-content/uploads/downloads/it7123.pdf ·

158 / คนต้นคิด

เขาพระ และคูหาใต้ เขาก็เริ่มมีการเก็บแบบสอบถามใน

แต่ละปีๆ มาวิเคราะห์กันแล้ว

การที่จะเก็บข้อมูลได้ต้องให้คนที่ขลุกอยู่กับพื้นที่ เป็นคน

เก็บเป็นคนทำ ทำเสร็จแล้วถ้าในเชิงเทคนิคทำยาก วิเคราะห์

ยาก เขียนออกมายาก ซึ่งผมว่าต้องอาศัยความร่วมมือทั้ง

จากนักเทคนิค ผู้ปฏิบัติการ รวมถึงผู้ใช้งาน ต้องใช้ความ

ร่วมมือกันหลายฝ่าย ใช้แรงคนคนเดียวไม่ได้

นพ.หัชชา ศรีปลั่ง

“เครือข่ายข้อมูลมะเร็ง” สานพลังปัญญา ค้นหาความจริง

Page 81: 20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก เพื่อนำสังคมไทยสู่ “ระบบ ...203.157.10.11/pmqa53/wp-content/uploads/downloads/it7123.pdf ·

“เครือข่ายข้อมูลมะเร็ง” สานพลังปัญญา ค้นหาความจริง / 161

>>>

หนึ่งในเครื่องมือสกัดกั้นโรคร้ายอย่างมะเร็ง นอกเหนือจากการคิดค้นยาหรือเทคโนโลยีการบำบัดรักษา

ตลอดจนวัคซีนป้องกัน ซึ่งกำลังเดินหน้าไปอย่างคร่ำเคร่ง ก็

คือ การพัฒนาระบบข้อมูลเกี่ยวกับการเจ็บป่วยและเสียชีวิต

ที่เท่าทันสถานการณ์ สะท้อนภาพที่ชัดเจน แจ่มชัด พอที่จะ

นำไปสู่ความเข้าใจว่า อะไรคือชนวนความเสี่ยงหลัก และ

อะไรคือแนวทางป้องกันที่ควรเร่ง “ลงทุน”

นพ.หชัชา ศรปีลัง่ แหง่คณะแพทยศาสตร ์มหาวทิยาลยั

สงขลานครินทร ์ คือหนึ่งในผู้ที่ไม่เพียงตระหนักต่อศักยภาพ

ของระบบข้อมูลข่าวสารในการปกป้องสุขภาพประชาชน แต่

ยังยินดีให้เวลาและความตั้งใจในการเชื่อมประสานให้เกิด

“เครือข่ายข้อมูลมะเร็ง” เพื่อยกระดับคุณภาพข้อมูลของ

ประเทศไทยในเรื่องนี้ให้ดีพอที่จะนำไปสู่ผลเชิงป้องกันได้

อย่างแท้จริง

พอเราเริ่มจับกลุ่มกันในประเทศ คนแบบนี้ก็เริ่มเข้ามา ทำให้เราพัฒนาความรู้ ได้ถูกทาง นพ.หัชชา ศรีปลั่ง >>>

Page 82: 20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก เพื่อนำสังคมไทยสู่ “ระบบ ...203.157.10.11/pmqa53/wp-content/uploads/downloads/it7123.pdf ·

162 / คนต้นคิด “เครือข่ายข้อมูลมะเร็ง” สานพลังปัญญา ค้นหาความจริง / 163

เหตุใดคุณหมอจึงสนใจด้านข้อมูลโรคมะเร็ง

นพ.หัชชา : ผมเริ่มสนใจทำข้อมูลเรื่องนี้มาตั้งแต่ปี 2533

แต่ว่าก็เริ่มแบบผิวเผิน แล้วก็ลึกลงเรื่อยๆ เข้าไปเล่นกับตัว

สถิติต่างๆ ต่อมา ทาง IARC (International Agency for

Research on Cancer) เข้ามากระตุ้นให้มีการพัฒนาระบบ

การรายงานข้อมูลผู้ป่วยมะเร็งจากภูมิภาคต่างๆ ในประเทศ

ไทย จนเกิดการจัดทำทะเบียนมะเร็งประชากรแห่งแรกขึ้นใน

ประเทศไทยที่เชียงใหม่ ตามมาด้วยขอนแก่น จากนั้นก็

ติดต่อมายังอาจารย์วิจารณ์ (ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช) ตอนนั้น

อาจารย์ยังเป็นอาจารย์ประจำที่คณะแพทยศาสตร์ และ

อาจารย์วิจารณ์ก็อยากให้เกิดโครงการนี้ขึ้น จึงสอบถามไปที่

อาจารย์อีก 2 ท่าน คือ อาจารย์วีระศักดิ์ (ศ.นพ.

วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์) กับ อาจารย์ธนพล (ศ.นพ.

ธนพล ไหมแพง) แตอ่าจารยธ์นพลบอกไมไ่หว เพราะงานเยอะ

อาจารย์วีระศักดิ์ก็บอกไม่ไหว เพราะตอนนั้นอาจารย์ก็ตั้ง

หน่วยระบาดวิทยา อาจารย์ธาดา (ศ.นพ.ธาดา ยิบอินซอย)

ซึ่งเป็นคณบดีในขณะนั้นเลยมาถามผมว่าสนใจทำหรือไม่

ผมก็บอกว่าทำ เพราะอยากรู้ ก็เลยเริ่มทำตั้งแต่นั้น เพราะ

เห็นว่ามันท้าทาย หลังจากนั้น พอเริ่มทำหนังสือ Cancer

In Thailand ทำให้ได้เห็นภาพที่กว้างออกไป เพราะเป็นการ

ประมวลภาพรวมระดับชาติ เราก็จะเห็นภาพของคนอื่นบ้าง

แต่เราก็ยังไม่สะดุดตากับมันเท่าไหร่

แล้วเครือข่ายข้อมูลมะเร็งเริ่มเกิดขึ้นได้อย่างไร

นพ.หัชชา : มีที่มาจากคุณหมอพินิจ ฟ้าอำนวยผล สนใจทำ

เรื่องระบบข้อมูลการตาย และพบว่าคนไทยเราตายด้วย

สาเหตุจากโรคมะเร็งเป็นอันดับต้นๆ ผมเองก็ศึกษาข้อมูล

เรื่องโรคมะเร็งอยู่ที่ มอ. พอมีโอกาสได้พูดคุยกัน คุณหมอ

พินิจตั้งประเด็นขึ้นมา เราก็เลยเห็นภาพว่าข้อมูลบางเรื่อง

เป็นเรื่องเฉพาะของเรา ที่อื่นไม่เป็นแบบเรา บางเรื่องก็เป็น

ปัญหาร่วมกัน น่าจะมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันอย่างต่อเนื่อง

เพื่อให้เกิดการพัฒนาระบบข้อมูลส่วนนี้ คุณหมอพินิจเลย

ชวนมาทำโครงการนี้

ทำไมการทำข้อมูลเรื่องนี้ต้องให้ความสำคัญกับกระบวนการ

สร้างเครือข่าย

นพ.หัชชา : ผมยกตัวอย่างข้อมูลโรคมะเร็งตับ ซึ่งทำร่วมกับ

นักศึกษาปริญญาโทที่นี่ ตอนแรกเรามีข้อมูลแค่ปี 2543 เรา

รู้สึกว่ามันยังต่ำ ไม่ได้เพิ่มขึ้น นิ่งๆ อยู่ ปัจจัยหนึ่งที่เรารวม

ไว้ในการอธิบายข้อมูลนี้คือ เด็กสงขลาได้รับการฉีดวัคซีน

ป้องกันไวรัสตับอักเสบ ชนิดซี ตั้งแต่ปี 2535 เพราะฉะนั้น

ในขณะเก็บข้อมูลเด็กเขาก็อายุ 15 ปีแล้ว ถ้ารอไปในระยะ

ยาว เขาจะไม่เป็นมะเร็ง เราได้ทำนายแนวโน้มไว้เช่นนั้น แต่

ปรากฏว่าไม่เป็นอย่างนั้น เพราะแนวโน้มกลับเพิ่มขึ้นมา ผม

ก็สงสัยว่าเกิดอะไรขึ้น ก็เลยเอาข้อมูลนี้ส่งให้อาจารย์ธาดาดู

อาจารย์ธาดาก็ตั้งคำถามกลับว่า เป็นเพราะวิธีวินิจฉัยโรคนี้

เปลี่ยนไปหรือไม่ ผมก็เลยวิเคราะห์ต่อ ปรากฏว่าวิธีวินิจฉัย

Page 83: 20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก เพื่อนำสังคมไทยสู่ “ระบบ ...203.157.10.11/pmqa53/wp-content/uploads/downloads/it7123.pdf ·

164 / คนต้นคิด “เครือข่ายข้อมูลมะเร็ง” สานพลังปัญญา ค้นหาความจริง / 165

เปลี่ยนไปจริงๆ ความจริงเรื่องนี้ยังมีประเด็นที่น่าสนใจอีก

มาก แต่ขอเล่าย่อๆ เท่านี้นะครับ

กรณีนี้น่าจะสะท้อนให้เห็นว่า การตีความตัวเลขเชิงสถิติที่ได้

นั้นต้องอาศัยข้อมูลรอบด้านเพื่อวิเคราะห์ให้เห็นสาเหตุที่

ถูกต้อง เพื่อนำไปสู่การคาดการณ์แนวโน้มอนาคตได้แม่นยำ

และวางแผนป้องกันได้ตรงจุด

นพ.หัชชา : ใช่ครับ ขั้นแรกเราต้องการข้อมูลที่ยืนยันจาก

ของแต่ละภาค และวิเคราะห์ให้ชัดว่า ตัวเลขที่ได้สะท้อน

สถานการณ์ที่เป็นจริงหรือเปล่า และถือเป็นภาพรวมของ

ประเทศ หรือเป็นสถานการณ์ที่เกิดเฉพาะที่ หลังจากนั้นเรา

ก็ไปหาข้อมูลจากที่อื่นๆ เพื่อมาประกอบ ในความคิดผม

การทำงานวิชาการควรเป็นไปในลักษณะนี้ เพราะถ้าไม่ร่วม

กันคิด บางทีมันก็ไม่แตกฉาน ไม่เห็นมุมมองคนอื่น พอมา

ทำตรงนี้แล้วเราจะเห็นชัดว่าพอเราได้ฟังคนอื่น ฟังความเห็น

หลายๆ คน พอเราเริ่มจับกลุ่มกันในประเทศ คนแบบนี้ก็เริ่ม

เข้ามา ทำให้เราพัฒนาความรู้ได้ถูกทาง

การประสานเป็นเครือข่ายข้อมูลมะเร็ง ทำผ่านกิจกรรมอะไร

บ้าง

นพ.หัชชา : กิจกรรมหลักคือ การพบปะกันเดือนละครั้ง

ผู้เข้าร่วมคือผู้แทนจากสถาบันมะเร็ง ผู้จัดทำทะเบียนมะเร็ง

ทุกภาค และนักวิชาการที่ศึกษาเรื่องนี้ เราจะนำข้อมูล

และความเคลื่อนไหวใหม่ๆ มาแลกเปลี่ยน อภิปรายกัน

ขณะเดียวกันก็ให้ความสำคัญกับการใช้เวลาร่วมกันอย่างมี

คุณภาพ เช่น การพูดคุยสังสรรค์ในเรื่องอื่นๆ ที่สนใจ เช่น

เรือ่งการเพาะกลว้ยไม ้ฯลฯ เพราะเรือ่งทีเ่ราสามารถเชือ่มโยง

กนัได ้ เหลา่นีจ้ะนำไปสูก่ารใชเ้วลา และการเกดิความสมัพนัธ์

นอกงานแบบไม่เป็นทางการ ซึ่งเป็นสิ่งที่หล่อเลี้ยงอยู่

เบื้องหลังความเป็น “เครือข่าย” แต่ที่สำคัญคือ ข้อมูลที่ได้

จากชว่งเวลาประชมุแลกเปลีย่นกต็อ้งบรรลผุลคอื ดำเนนิการ

สำเร็จ และมีการเผยแพร่สู่สังคมเป็นระยะๆ

ฟั งดู เป็นงานที่ ต้ องประสานความร่ วมมือและสร้ าง

สัมพันธภาพกับผู้คนมากมายและต่อเนื่อง เมื่อเทียบกับ

ตอนที่ทำงานวิจัยเฉพาะพื้นที่ดูน่าจะลงแรงกว่ามากทีเดียว

อะไรคือแรงผลักดันเบื้องหลัง

นพ.หัชชา : แรงกระตุ้นหลักสำหรับผมคือ การมีอาจารย์เป็น

ตัวอย่างที่ดี เช่น อาจารย์วิจารณ์ พานิช อาจารย์ไม่ได้คิด

แค่เล็กๆ แต่อาจารย์คิดใหญ่ เราก็เลยคิดใหญ่ตามว่า

ทำงานอะไรต้องให้เกิดผลกระทบระดับประเทศ

Page 84: 20 เรื่องราวจากชีวิตนักบุกเบิก เพื่อนำสังคมไทยสู่ “ระบบ ...203.157.10.11/pmqa53/wp-content/uploads/downloads/it7123.pdf ·