74 › bcnu › images › jnunc › year6-2 › 7.pdf ·...

5
74 วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ Boromarajonani College of Nursing, Uttaradit Journal ปีท่ี 6 ฉบับที่ 2 : กรกฎาคม - ธันวาคม 2557 ประสบการณ์การส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินทางอากาศด้วยเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ : จากแม่สะเรียง ลำาเลียงสู่นครพิงค์ ภราดร ล้อธรรมมา* ภาคภูมิ ขยันกิจ** บทคัดย่อ การส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินทางอากาศ หมายถึง การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉินทางอากาศยานภายใต้ การดูแลรักษาพยาบาลของเจ้าหน้าที่ชุดลำาเลียงผู้ป่วยทางอากาศ ซึ่งผ่านการฝึกอบรมจากหลักสูตรเวชศาสตร์การบิน โดยมีการประสานงานกันเป็นทีมเพื่อประสิทธิภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วยขณะลำาเลียงส่งต่อ โดยมี จุดเริ่มต้นจากการขนย้ายทหารที่ได้รับบาดเจ็บจากการสู้รบด้วยบอลลูนในสงคราม Franco – Prussian การ ขนย้ายทหารที่ได้รับบาดเจ็บโดยเครื่องบินในสงครามโลกครั้งที่ 1 และสงครามโลกครั้งที่ 2 วัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการส่งต่อผู้ป่วยในพื้นที่ห่างไกล ทุรกันดารให้ทันเวลา และเกิดความปลอดภัย โดยในปัจจุบันการส่งต่อผู้ป่วยทางอากาศสามารถทำาได้ทั้งในภาวะปกติ ฉุกเฉิน และภาวะสงคราม โดย ทหารและพลเรือน อำาเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นพื้นที่หนึ่งที่ตั้งอยู่ในพื้นที่สุดเขตแดน ด้านตะวันตกของประเทศไทย ภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน การส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินด้วยระยะทาง ปกติต้องใช้เวลานานหลายชั่วโมง จึงจำาเป็นต้องส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินทางอากาศด้วยเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ โดยทีมแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลแม่สะเรียง จากประสบการณ์การส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินด้วย เครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ของพยาบาลผู้ปฏิบัติงานอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน สามารถอธิบายหลักสำาคัญในการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินทางอากาศได้แก่ การประสานงานเครือข่าย การเตรียม ผู้ป่วยก่อนขึ้นบิน การเตรียมรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นขณะส่งต่อ และการเรียนรู้ที่ได้จากการปฏิบัติงาน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ปฏิบัติงานด้านอุบัติเหตุฉุกเฉินในการนำาไปประยุกต์ใช้ เพื่อให้เกิดความปลอดภัย และ เพิ่มประสิทธิภาพในการส่งต่อผู้ป่วยที่ดียิ่งขึ้น คำาสำาคัญ : ประสบการณ์, การส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินทางอากาศ, เครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ *พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ **พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ แผนกผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

Upload: others

Post on 27-Jun-2020

4 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: 74 › bcnu › images › jnunc › year6-2 › 7.pdf · สงครามโลกครั้งที่ 1 และสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการส่งต่อผู้ป่วยในพื้นที่

74วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถBoromarajonani College of Nursing, Uttaradit Journal

ปีท่ี 6 ฉบับที่ 2 : กรกฎาคม - ธันวาคม 2557

ประสบการณ์การส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินทางอากาศด้วยเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์: จากแม่สะเรียง ลำาเลียงสู่นครพิงค์

ภราดร ล้อธรรมมา*ภาคภูมิ ขยันกิจ**

บทคัดย่อ

การส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินทางอากาศ หมายถึง การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉินทางอากาศยานภายใต้

การดูแลรักษาพยาบาลของเจ้าหน้าที่ชุดลำาเลียงผู้ป่วยทางอากาศ ซึ่งผ่านการฝึกอบรมจากหลักสูตรเวชศาสตร์การบิน

โดยมีการประสานงานกันเป็นทีมเพื่อประสิทธิภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วยขณะลำาเลียงส่งต่อ โดยมี

จุดเริ่มต้นจากการขนย้ายทหารที่ได้รับบาดเจ็บจากการสู้รบด้วยบอลลูนในสงคราม Franco – Prussian การ

ขนย้ายทหารที่ได้รับบาดเจ็บโดยเครื่องบินในสงครามโลกครั้งที่ 1 และสงครามโลกครั้งที่ 2 วัตถุประสงค์

เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการส่งต่อผู้ป่วยในพื้นที่ห่างไกล ทุรกันดารให้ทันเวลา และเกิดความปลอดภัย

โดยในปัจจุบันการส่งต่อผู้ป่วยทางอากาศสามารถทำาได้ทั้งในภาวะปกติ ฉุกเฉิน และภาวะสงคราม โดย

ทหารและพลเรือน อำาเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นพื้นที่หนึ่งที่ตั้งอยู่ในพื้นที่สุดเขตแดน

ด้านตะวันตกของประเทศไทย ภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน การส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินด้วยระยะทาง

ปกติต้องใช้เวลานานหลายชั่วโมง จึงจำาเป็นต้องส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินทางอากาศด้วยเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์

โดยทีมแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลแม่สะเรียง จากประสบการณ์การส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินด้วย

เครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ของพยาบาลผู้ปฏิบัติงานอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

สามารถอธิบายหลักสำาคัญในการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินทางอากาศได้แก่ การประสานงานเครือข่าย การเตรียม

ผู้ป่วยก่อนขึ้นบิน การเตรียมรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นขณะส่งต่อ และการเรียนรู้ที่ได้จากการปฏิบัติงาน

ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ปฏิบัติงานด้านอุบัติเหตุฉุกเฉินในการนำาไปประยุกต์ใช้ เพื่อให้เกิดความปลอดภัย และ

เพิ่มประสิทธิภาพในการส่งต่อผู้ป่วยที่ดียิ่งขึ้น

คำาสำาคัญ : ประสบการณ์, การส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินทางอากาศ, เครื่องบินเฮลิคอปเตอร์

*พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์**พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ แผนกผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

Page 2: 74 › bcnu › images › jnunc › year6-2 › 7.pdf · สงครามโลกครั้งที่ 1 และสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการส่งต่อผู้ป่วยในพื้นที่

75 วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถBoromarajonani College of Nursing, Uttaradit Journalปีท่ี 6 ฉบับที่ 2 : กรกฎาคม - ธันวาคม 2557

Experiences on Emergency Aeromedical Service by Helicopter: Mae Sariang to Nakornping

ABSTRACT

Emergency aeromedical service refers to the use of air transportation to move emergency patients

using certified aeromedics, completed aviation medicine training course, who exercise team working

aimed at effective transfer and safety of patients. This service dates to Franco-Prussian War, World

War I and World War II to evacuate wounded soldiers. The objectives of aeromedical services include

enhancing referral ability of patients in remote areas regarding timing and safety issues. Currently,

aeromedical services can perform both in normal and critical situations or hostilities by either combatant

or civilian. Amphoe Mae Sariang, Mae Hong Son Province, is a remote area located at the western border

of Thailand. Mae Sariang is mountainous landscape that ground emergency medical service is usually

prolonged. Therefore, emergency aeromedical service is necessity. The vehicle naturally is helicopter

with trained personnel such as physicians, nurses, and authorities from Mae Sariang Hospital. Four

significant principles regarding experiences on emergency aeromedical services by emergency nurses

Mae Sariang Hospital can be identified as follow: 1) Network collaboration; 2) Patient preparation before

the flight; 3) Anticipation of risk management during transfer; and 4) Lesson learned from practices. This

information is very useful to practitioners in an emergency unit to ensure effective transport and safety of

the patients during interfacility transportation.

Key Words : Referal experiences, Aeromedical Services

Paradon Lorthama*Pakphum Khayankit**

* RN, Practitional Level, Pediatric Adult and Aging Nursing Department, Boromarajonani College of Nursing, Uttaradit** RN, Practitional Level, Emergency Unit, Mae Sariang Hospital, Mae Hong Son Province

Page 3: 74 › bcnu › images › jnunc › year6-2 › 7.pdf · สงครามโลกครั้งที่ 1 และสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการส่งต่อผู้ป่วยในพื้นที่

76วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถBoromarajonani College of Nursing, Uttaradit Journal

ปีท่ี 6 ฉบับที่ 2 : กรกฎาคม - ธันวาคม 2557

บทนำา

การส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินทางอากาศเร่ิมต้น

จากการขนย้ายทหารที่ได้รับบาดเจ็บจากการสู้รบ

ด้วยบอลลูนในสงคราม Franco – Prussian การ

ขนย้ายทหารที่ได้รับบาดเจ็บโดยเครื่องบินใน

สงครามโลกครั้งที่ 1 และสงครามโลกครั้งที่ 2

เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการส่งต่อผู้ป่วยในพ้ืนท่ี

ห่างไกล ทุรกันดารให้ทันเวลา และเกิดความปลอดภัย

ส่วนการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินทางอากาศด้วยเครื่องบิน

เฮลิคอปเตอร์น้ันถูกนำามาใช้งานอย่างเป็นทางการ

ในปี ค.ศ. 1951 ในสงครามเกาหลี และสงคราม

เวียดนาม โดยเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ ประเภท Bell 47

และ Sikorsky S -51 ซึ่งประสบความสำาเร็จอย่างมาก

ในการส่งต่อผู้ป่วยจากพื้นที่ห่างไกล เข้าสู่โรงพยาบาล

(พิจฬุร นีละภมร และคณะ, 2533) ซึ่งในปัจจุบัน

การส่งต่อผู้ป่วยทางอากาศสามารถทำาได้ทั้งในภาวะ

ปกติ ภาวะฉุกเฉิน และภาวะสงคราม โดยทหารและ

พลเรือน ในเขตอำาเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

เป็นพ้ืนที่หนึ่งที่ตั้งอยู่ในพื้นที่สุดเขตแดนด้านตะวันตก

ของประเทศไทย แม้จะวัดระยะทางจากอำาเภอแม่สะเรียง

ถึงโรงพยาบาลศูนย์นครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ได้เพียง

191 กิโลเมตร แต่ด้วยภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับ

ซับซ้อน เส้นทางคดเคี้ยว การส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินด้วย

ระยะทางปกติต้องใช้เวลานาน 4-5 ชั่วโมง ซึ่งเสี่ยง

ต่ออาการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยที่เกิดขึ้นระหว่าง

การเดินทาง จึงจำาเป็นต้องส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินทาง

อากาศด้วยเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์เพื่อให้เกิดความ

ปลอดภัยและเกิดประสิทธิภาพในการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉิน

โดยทีมแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล

แม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน จากประสบการณ์

การส่งต่อผู ้ป่วยฉุกเฉินทางอากาศด้วยเครื่องบิน

เฮลิคอปเตอร์จากพยาบาลวิชาชีพที่ผ่านการอบรม

หลักสูตรการลำาเลียงผู้ป่วยทางอากาศ (Aeromedication

Evaluation Course) จากสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินและ

สถาบันเวชศาสตร์การบินกองทัพอากาศที่ปฏิบัติงาน

ในโรงพยาบาลแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ในปี

พ.ศ. 2552 – 2557 สามารถอธิบายหลักสำาคัญในการ

ส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินทางอากาศซึ่งเป็นประโยชน์ต่อ

ผู้ปฏิบัติงานด้านอุบัติเหตุฉุกเฉินในการนำาไปประยุกต์ใช้

เพื่อให้เกิดความปลอดภัย และเพิ่มประสิทธิภาพ

ในการส่งต่อผู้ป่วยที่ดียิ่งขึ้น

การส่งต่อผู ้ป่วยฉุกเฉินทางอากาศด้วยเคร่ืองบิน

เฮลิคอปเตอร์

หมายถึง การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉินทาง

อากาศยานด้วยเฮลิคอปเตอร์ ภายใต้การดูแลรักษา

พยาบาลของเจ้าหน้าที่ชุดลำาเลียงผู้ป่วยทางอากาศ

ซ่ึงต้องนำาความรู้จากการอบรมหลักสูตรเวชศาสตร์

การบินมาใช้เพื่อให้การพยาบาลขณะขนส่งผู้ป่วย

ทางอากาศ โดยทำางานในลักษณะการประสานงานกัน

เป็นทีมเพ่ือประสิทธิภาพและความปลอดภัยของ

ผู้ป่วย สามารถเพิ่มขีดความสามารถในการส่งต่อผู้ป่วย

จากพื้นที่ห่างไกลทุรกันดารสู่พื้นที่เป้าหมาย หรือ

โรงพยาบาลศูนย์ได้ทันเวลา และปลอดภัย (พิจฬุร

นีละภมร และคณะ, 2533)

ประสบการณ์การส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินทางอากาศด้วย

เครื่องบินเฮลิคอปเตอร์

โรงพยาบาลแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็น

โรงพยาบาลประจำาอำาเภอขนาด 60 เตียง มีโรงพยาบาล

ส่งเสริมสุขภาพประจำาตำาบลในเครือข่ายทั้งหมด 11 แห่ง

ประกอบด้วย รพ.สต.สล่าเชียงตอง, รพ.สต.โพซอ,

รพ.สต.ช่างหม้อ, รพ.สต.ป่าแป๋, รพ.สต.แม่ลิดป่าแก่,

รพ.สต.แม่เหาะ, รพ.สต.ห้วยสิงห์, รพ.สต.แม่ต๊อบ,

รพ.สต.ทุ่งแล้ง, รพ.สต.สบหาร, รพ.สต.นำ้าดิบ จำานวน

ประชากรที่รับผิดชอบทั้งหมด 41,921 คน จาก

ข้อมูลการคมนาคมและสาธารณูปโภคของอำาเภอ

แม่สะเรียงพบว่า โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำา

ตำาบลแต่ละแห่งห่างจาก โรงพยาบาลแม่สะเรียง

เฉลี่ย 31.18 กิโลเมตร หากเดินทางโดยรถยนต์จะใช้

เวลาการเดินทางจาก รพ.สต. ถึงโรงพยาบาล เฉลี่ย

1.30 นาที และวัดระยะทางจากโรงพยาบาลแม่สะเรียง

ถึงโรงพยาบาลศูนย์นครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ได้

ระยะทาง 191 กิโลเมตร แต่ด้วยภูมิประเทศเป็นเทือกเขา

Page 4: 74 › bcnu › images › jnunc › year6-2 › 7.pdf · สงครามโลกครั้งที่ 1 และสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการส่งต่อผู้ป่วยในพื้นที่

สลับซับซ้อน เส้นทางคดเคี้ยว การส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉิน

ด้วยรถยนต์จึงต้องใชเ้วลานาน 4-5 ชั่วโมง (สำานักงาน

สาธารณสุขจังหวัดแม่ฮ่องสอน, 2555) การส่งต่อ

ผู ้ป่วยฉุกเฉินจึงจำาเป็นต้องขนส่งทางอากาศด้วย

เครือ่งบนิเฮลคิอปเตอร์จากเขตพืน้ทีอ่ำาเภอแม่สะเรยีง

สู่โรงพยาบาลศูนย์นครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ โดย

พยาบาลวิชาชีพที่ผ่านการอบรมหลักสูตรการลำาเลียง

ผู้ป่วยทางอากาศ (Aeromedication Evaluation Course)

จากสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินและสถาบันเวชศาสตร์

การบินกองทัพอากาศที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาล

แม่สะเรียง

จากประสบการณ์การส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉิน

ทางอากาศด้วยเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ในปี พ.ศ. 2552

–2557 พบกรณีตัวอย่างที่น่าสนใจในการปฏิบัติงาน

ได้แก่ กรณีผู้ป่วยชายอายุ 65 ปีเข้ารับการรักษาที่แผนก

อุบัติเหตุและฉุกเฉิน โดย 3 นาที ก่อนมาโรงพยาบาล

มีอาการแน่นหน้าอก เหงื่อออก ตัวเย็น ประเมิน

สัญญาณชีพความดันโลหิต 90/80 มิลลิเมตรปรอท

ชีพจร 100 ครั้ง/นาที อัตราการหายใจ 24 ครั้ง/นาที

อุณหภูมิ 36.7 องศาเซลเซียส ตรวจเคลื่อนไฟฟ้าหัวใจ

(EKG) พบ ST elevation (STEMI) ผลการตรวจทาง

ห้องปฏิบัติการ Troponin T 150 mg/l แพทยว์ินิจฉัย

กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (Acute myocardial

infraction) หลังให้การรักษา 20 นาที คลื่นไฟฟ้า

หัวใจ (EKG) มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทีมแพทย์

พยาบาล และเจ้าหน้าที่ ประสานงานโรงพยาบาล

ศูนย์นครพิงค์เชียงใหม่ ค่ายทหารพรานเทพสิงห์

กรมทหารพรานที่ 36 ค่ายตำารวจตระเวนชายแดนที่ 337

เพื่อขอสนับสนุนการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินทางอากาศ

ด้วยเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ในการส่งตัวผู้ป่วยเข้ารับ

การผ่าตัดขยายหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery

Bypass Grafting/CABG) หลังจากนั้นประมาณ 30 นาที

ส่งต่อผู ้ป่วยถึงโรงพยาบาลศูนย์นครพิงค์เชียงใหม่

ผู้ป่วยมีภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden cardiac

arrest) แต่ด้วยทีมแพทย์ พยาบาล บุคลากร เจ้าหน้าที่

อุปกรณ์ของโรงพยาบาลศูนย์นครพิงค์เชียงใหม่ที่มี

ความพร้อม จึงสามารถช่วยชีวิตผู้ป่วย และทำาการ

ผ่าตัดขยายหลอดเลือดหัวใจให้กับผู้ป่วยได้ทันเวลา

นับเป็นการประเมินสถานการณ์ผู ้ป่วยอย่างแม่นยำา

และมีระบบการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินทางอากาศด้วย

เฮลิคอปเตอร์ท่ีมีประสิทธิภาพจึงสามารถช่วยชีวิต

ผู้ป่วยได้ทันเวลา หากเป็นการส่งต่อด้วยรถฉุกเฉิน

ตามปกติจากโรงพยาบาลแม่สะเรียงถึงโรงพยาบาล

ศูนย์นครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ต้องใช้เวลา 3-4 ชั่วโมง

ผู้ป่วยอาจเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden

cardiac arrest) ระหว่างการเดินทาง ซึ่งอาจไม่สามารถ

รักษาชีวิตผู้ป่วยรายนี้ไว้ได้ทันเวลา จากประสบการณ์

การทำางานสามารถสรุปความรู้ที่ได้จากประสบการณ์

การส่งต่อผู ้ป่วยฉุกเฉินทางอากาศด้วยเครื่องบิน

เฮลิคอปเตอร์ตามขั้นตอนได้ดังนี้

1. การประสานงานเครือข่ายการบิน

การประสานงานเครือข่ายการบินเป็นสิ่งสำาคัญ

ที่จะช่วยลดระยะเวลาในการส่งต่อผู ้ป่วยโดยทีมแพทย์

พยาบาล เจ้าหน้าที่ บุคลากรต้องแจ้งหน่วยงาน เครือข่าย

การบิน ได้แก่ โรงพยาบาลศูนย์ปลายทาง (Notify the

receiver) เพื่อเตรียมรับตัวผู้ป่วยเข้ารับการรักษา ซึ่ง

จำาเป็นต้องส่งต่อข้อมูลทั้งจำานวนผู้ป่วย สภาพอาการ

ของผู้ป่วย การรักษาเบื้องต้นที่ได้ให้ไว้ และข้อมูล

อื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการรักษา หน่วยการบิน

อาจเป็นหน่วยการบินพลเรือน เอกชน หรือหน่วยการบิน

ทหาร ทั้งต้นทางและปลายทางในการสนับสนุนการ

ส่งต่อผู้ป่วย การเตรียมรถพยาบาลในการรับผู้ป่วยที่

สนามบินปลายทาง (ศิริมา โฆษิตเจริญกุล, 2555)

2. การเตรียมผู้ป่วยก่อนขึ้นบิน

การเตรียมผู้ป่วยก่อนขึ้นบินหรือการทำาให้ผู้ป่วย

อยู่ในสภาพที่เหมาะสมกับการเคลื่อนย้าย (Well

stabilized before transport) โดยทีมแพทย์ พยาบาล

เจ้าหน้าที่ทุกคนต้องทราบหลักการรักษาผู้ป่วยเบื้องต้น

ตามพยาธิสภาพของโรคของผู้ป่วยที่ควรได้รับก่อน

ส่งต่อ และเฝ้าระวังดูแลผู้ป่วยในขณะส่งต่อเหมือน

ในขณะไม่ได้เคลื่อนย้าย (Continue vital function

monitoring and support) ตามหลักสรีรวิทยาการบิน

(Aviation physiology) หรือสรีรวิทยาที่เปลี่ยนแปลง

ไปตามระดับความสูงตามกฎของก๊าซ (The gas laws)

77 วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถBoromarajonani College of Nursing, Uttaradit Journalปีท่ี 6 ฉบับที่ 2 : กรกฎาคม - ธันวาคม 2557

Page 5: 74 › bcnu › images › jnunc › year6-2 › 7.pdf · สงครามโลกครั้งที่ 1 และสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการส่งต่อผู้ป่วยในพื้นที่

78วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถBoromarajonani College of Nursing, Uttaradit Journal

ปีท่ี 6 ฉบับที่ 2 : กรกฎาคม - ธันวาคม 2557

เอกสารอ้างอิง

ทนันชัย บุญบูรณ์พงศ์. (2555). การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย วิกฤต. กรุงเทพฯ : คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี.บุณยอ ทีฆภิยา.(2555). พยาบาล ทอ. : เอกลักษณ์ที่ ภาคภูมิใจ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลทหาร อากาศ, 49, 53-55.พิจฬุร นีละภมร และคณะ. (2533). การลำาเลียงผู้ป่วย

ทางอากาศ.กรุงเทพฯ:โรงเรียนเวชศาสตร์การบิน สถาบันเวชศาสตร์การบิน กรมการแพทย์ทหารอากาศ.

ศิริมา โฆษิตเจริญกุล. (2555). การขนย้ายผู้ป่วยทาง อากาศ. กรุงเทพฯ : คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี.สำานักงานสาธารณสุขจังหวัดแม่ฮ่องสอน. (2555).

รายงานการคมนาคมและสาธารณูปโภค.แม่ฮ่องสอน: กลุ่มงานเวชกรรม สำานักงานสาธารณสุขจังหวัดแม่ฮ่องสอน.

ได้แก่ หากผู้ป่วยมีการใส่ endotracheal tubeลมภายใน

cuff อาจมีปริมาตรที่เปลี่ยนแปลงไป,ผู้ป่วยที่มีการ

อักเสบของไซนัส หรือหูชั้นกลางอาจมีการขยายตัว

ของอากาศภายในช่องว่างดังกล่าว ผู้ป่วยอาจมีการปวด

หรืออักเสบมากยิ่งขึ้น, ผู้ป่วย simple pneumothorax

อาจมีการเปลี่ยนแปลงเป็น tension pneumothorax,

อากาศในลำาไส้หรือกระเพาะอาหารผู้ป่วยอาจขยายตัว

มากขึ้นทำาให้ท้องอืด, อากาศในpneumatic splints

ขยายตัวบีบรัดมากขึ้น ทำาให้ขาดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะ

ส่วนปลายได้ นอกจากนี้ยังพบว่า การฟังเสียงอวัยวะ

ภายใน เช่น ปอด หัวใจ และอวัยวะภายในช่องท้อง

สามารถทำาได้ยากในขณะทำาการขึ้นบิน จึงจำาเป็น

ต้องมีการวางแผนเตรียมความพร้อมในการแก้ไขปัญหา

ดังกล่าว โดยผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การบิน ก่อน

ทำาการส่งตัวผู้ป่วย (ศิริมา โฆษิตเจริญกุล, 2555)

3. การเตรียมรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น

ขณะส่งต่อในระหว่างการส่งต่อต้องป้องกันอันตราย

จากการเคลื่อนย้าย (Prevent further injury) โดยใช้

สายรัดคาดตัวผู้ป่วยเพื่อกันตกจากเตียง และผูกรัดเตียง

ยึดไว้กับจุดยึดเกาะกับตัวเครื่องบิน ตลอดจนเตรียม

รับภาวะฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้น (Prepare for emergency)

โดยมีเตรียมเวชภัณฑ์ที่เฉพาะกับโรคของผู้ป่วย

ในแต่ละภารกิจ ส่วนอุปกรณ์ทางการแพทย์นั้น ข้อ

กำาหนดพื้นฐานที่ต้องมีบนเครื่องบิน คือ Defibrillator,

Ventilator, Infusion pump, Monitor (vital sign),

Suction, Oxygen tang. และต้องมีผู้ดูแลที่เหมาะสม

ร่วมทางไปด้วย (Appropriate escort) ซึ่งได้แก่

แพทย์เวชศาสตร์การบิน พยาบาลเวชศาสตร์การบิน

ทีมนักบิน นอกจากนี้ต้องประสานงานให้ทีมแพทย์

จากสถานพยาบาลปลายทางในการเตรียมรับตัว

ผู้ป่วยอีกด้วย (ศิริมา โฆษิตเจริญกุล, 2555)

บทสรุปการเรียนรู้ที่ได้จากการปฏิบัติงาน

จากประสบการณ์การส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉิน

ทางอากาศด้วยเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ พบว่า การ

ส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินยิ่งระยะทางไกลมากเท่าไร ระยะ

เวลานานเท่าไร ความเสี่ยงของผู้ป่วยยิ่งเพิ่มมากขึ้น

การส่งต่อผู ้ป่วยฉุกเฉินทางอากาศด้วยเครื่องบิน

เฮลิคอปเตอร์ จึงมีความสำาคัญในพื้นที่ห่างไกล และ

ต้องใช้ระยะเวลาในการเดินทาง โดยหัวใจสำาคัญ

ในการช่วยให้การส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินทางอากาศให้

ประสบความสำาเร็จคือการประสานงานที่ดี ตั้งแต่

การขอสนับสนุนการบิน การติดต่อโรงพยาบาลศูนย์

ปลายทางในการเตรียมรับผู้ป่วยเข้ารับการรักษา แม้

จะใช้งบประมาณจำานวนมากในการขึ้นบินแต่ละครั้ง

ก็ไม่อาจบอกได้ว่าคุ้มค่าหรือไม่ เพราะชีวิตไม่สามารถ

ประมาณค่าได้ แต่หากการขึ้นบินแต่ละครั้งสามารถ

ช่วยชีวิตผู้ป่วยได้ ความทรงจำาจากความสำาเร็จในการ

ปฏิบัติงานนั้นมีค่ามากกว่าผลตอบแทนใดๆ ที่ทีม

ปฏิบัติงานทุกฝ่ายได้รับ