“น้ำใจ สร้างกุศล” 2557 : เปิดการ...

4
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย “แพทย์จุฬาฯ คู่กาชาดไทย วิชาการก้าวไกลสู่สากล รับใช้ปวงชนด้วยคุณธรรม” โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย “บริการประทับใจ รับใช้ชาวประชา ก้าวหน้าวิชาการ บริหารงานดีเด่น เน้นคุณภาพชีวิต” ปีท่ ๖ ฉบับที่ ๑๓ วันจันทร์ที่ ๒๕ เดือนสิงหาคม ๒๕๕๗ “น้ำใจ ... สร้างกุศล” 2557 : เปิดการออกรับบริจาค ต่อหน้า 2 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย โดย ฝ่ายกิจการนิสิต และ สโมสรนิสิตคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้จัด งาน “น้ำใจ ... สร้างกุศล” งานเปิดตัว “เข็มวันอานันทมหิดล” ประจำปี พ.ศ. 2557 เมื่อวันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม 2557 เวลา 11.00 – 13.30 น. ห้องอเนกประสงค์ ตึก “แพทยพัฒน์” คณะแพทยศาตร์ จุฬาฯ โดยมี ศ.ดร.นพ.ประวิตร อัศวานนท์ รองคณบดี ฝ่ายวางแผนและพัฒนา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ผู้แทนคณบดีเป็น ประธานในพิธีและ รศ.นพ.สมชาย ธนวัฒนาเจริญ รองคณบดี ฝ่ายกิจการนิสิต คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวรายงานความเป็นมา วัตถุประสงค์ และรายละเอียดของการจัด งาน “น้ำใจ ... สร้างกุศล” งานเปิดตัว “เข็มวันอานันทมหิดล” ประจำปี พ.ศ. 2557 ซึ่งมีความ สำคัญ ความว่า... คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถือกำเนิดขึ้นมา ในปี พ.ศ. 2490 จากพระราชปรารภ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหา อานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๘ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ที่ทรงต้องการให้ผลิตแพทย์เพิ่มมากขึ้น ให้เพียงพอที่จะช่วยเหลือประชาชน ต่อมาในปี พ.ศ. 2528 ได้มีการจัดสร้าง พระบรมราชานุสาวรีย์ขึ้น เพื่อรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ อันมีเป็นอเนกประการ โดยเฉพาะการพระราชทานกำเนิด “แพทย์จุฬาฯ” เมื่อแรกนั้นพระบรม ราชานุสาวรีย์ได้ประดิษฐานอยู่ ณ ด้านหน้า ตึก “อานันทมหิดล” คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดย พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมเสด็จพระราชดำเนิน มาทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์เมื่อ พ.ศ. 2529 ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2550 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ย้าย พระบรมราชานุสาวรีย์มาประดิษฐาน ณ บริเวณลานด้านหน้า อาคาร “อปร” แห่งนี้ โดย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์มาทรงวางศิลาฤกษ์แท่นประดิษฐาน พระบรมราชานุสาวรีย์ฯ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555 และ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้มีพิธีอัญเชิญพระบรมราชานุสาวรีย์ ขึ้นประดิษฐานยังแท่นแห่งใหม่นีเมื่อวันอังคารที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2556 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ โดย ฝ่ายกิจการนิสิต ได้ดำเนินการจัดทำ “เข็มวันอานันทมหิดล” มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเริ่มต้นขึ้นในปี พ.ศ. 2529 โดย รศ.นพ.ปรีดา ทัศนประดิษฐ์ รองคณบดี ฝ่ายกิจการนิสิต ขณะนั้น ได้ริเริ่มจัดทำขึ้นในรูปแบบของ “สติ๊กเกอร์” ก่อน ต่อมาได้มีการพัฒนา ปรับเปลี่ยนรูปแบบอย่างหลากหลาย จนกระทั่งเป็น “เข็ม” ดังในปัจจุบัน การดำเนินงานทั้งหมดนั้นอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของ สโมสรนิสิต คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ โดยมี ฝ่ายกิจการนิสิต คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เป็นผู้ดูแล ในปี 2557 น้ ผู้รับผิดชอบ คือ นสพ.กสานติ์ เกียรติปานอภิกุล นายกสโมสรนิสิตคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และ นสพ.ศุภนิดา ลิ้มพงศา นุรักษ์ ประธานโครงการ “เข็มวันอานันทมหิดล” พ.ศ. 2557 “เข็มวันอานันทมหิดล” พ.ศ. 2557 ได้รับพระราชทาน พระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญภาพ “พระบรมราชานุสาวรีย์” พระบาทสมเด็จ พระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร มาใช้ โดย ปรากฏอยู่บน “พื้นสีขาว ภายในกรอบแปดเหลี่ยม ขอบ สีเหลือง เนื่องจาก 9 มิถุนายน ปีน้ ตรงกับ “วันจันทร์” จึงใช้ สีเหลือง อันเป็น สีมงคลประจำวันจันทร์ และมี พระเกี้ยว ตราสัญลักษณ์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย สีทอง อยู่ด้านบน ด้านหลัง ตราสัญลักษณ์ 100 ปี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย “เข็มวันอานันทมหิดล” ที่จัดทำขึ้นมานี้ นอกจากจะเป็นกิจกรรม เฉลิมพระเกียรติและเผยแพร่พระเกียรติคุณ พระมหากรุณาธิคุณ อันมีเป็น อเนกประการ โดยเฉพาะการพระราชทานกำเนิด “แพทย์จุฬาฯ” ทั้งยังมี วัตถุประสงค์สำคัญเพื่อการหารายได้สนับสนุน “มูลนิธิอานันทมหิดล” และ “มูลนิธิสงเคราะห์เด็ก” สภากาชาดไทย รวมทั้งนำไปช่วยเหลือ “พระภิกษุอาพาธ และ ผู้ป่วยยากไร้” โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย พร้อมเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาส 100 ปี โรงพยาบาล จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย งาน “น้ำใจ ... สร้างกุศล” งานเปิดตัว “เข็มวันอานันทมหิดล” พ.ศ. 2557 ที่จัดขึ้นมาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์สำคัญที่จะแนะนำและ รณรงค์ “เข็มวันอานันทมหิดล” สู่สาธารณชน เพื่อให้เป็นที่ประจักษ์ ในวงกว้างโดยทั่วไป รวมทั้งยังเป็นการจุดประกายการรับรู้ และเปิด การรณรงค์ขอรับบริจาค “เข็มวันอานันทมหิดล” ด้วยการรวมพลัง “นิสิตแพทย์จุฬาฯ” ชั้นปีท่ 1 , 2 และ ชั้นปีอื่นๆ จำนวนรวม 500 คน ทำการรณรงค์และออกรับบริจาค จำนวน 84 หน่วย ใน 4 สาย ได้แก่ สายสีลม - สามย่าน , สายสยาม – ราชประสงค์ , สายสุขุมวิท และ สายรถไฟฟ้า BTS – รถไฟใต้ดิน MRT

Upload: others

Post on 30-Dec-2019

1 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: “น้ำใจ สร้างกุศล” 2557 : เปิดการ ...pr.md.chula.ac.th/spotlight/year6/06-13.pdfได จ ด งาน “น ำใจ ... สร างก

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย “แพทย์จุฬาฯ คู่กาชาดไทย วิชาการก้าวไกลสู่สากล รับใช้ปวงชนด้วยคุณธรรม”

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย “บริการประทับใจ รับใช้ชาวประชา ก้าวหน้าวิชาการ บริหารงานดีเด่น เน้นคุณภาพชีวิต”

ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๑๓ วันจันทร์ที่ ๒๕ เดือนสิงหาคม ๒๕๕๗

“น้ำใจ ... สร้างกุศล” 2557 : เปิดการออกรับบริจาค

ต่อหน้า 2

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย ฝ่ายกิจการนิสิต และ สโมสรนิสิตคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้จัด งาน “น้ำใจ ... สร้างกุศล” งานเปิดตัว “เข็มวันอานันทมหิดล” ประจำปี พ.ศ. 2557 เมื่อวันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม 2557 เวลา 11.00 – 13.30 น. ณ ห้องอเนกประสงค์ ตึก “แพทยพัฒน์” คณะแพทยศาตร์ จุฬาฯ โดยมี ศ.ดร.นพ.ประวิตร อัศวานนท์ รองคณบดี

ฝ่ายวางแผนและพัฒนา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ผู้แทนคณบดีเป็นประธานในพิธีและ รศ.นพ.สมชาย ธนวัฒนาเจริญ รองคณบดี ฝ่ายกิจการนิสิต คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวรายงานความเป็นมา วัตถุประสงค์ และรายละเอียดของการจัด งาน “น้ำใจ ... สร้างกุศล” งานเปิดตัว “เข็มวันอานันทมหิดล” ประจำปี พ.ศ. 2557 ซึ่งมีความสำคัญ ความว่า... “คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถือกำเนิดขึ้นมา ในปี พ.ศ. 2490 จากพระราชปรารภ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๘ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ที่ทรงต้องการให้ผลิตแพทย์เพิ่มมากขึ้น ให้เพียงพอที่จะช่วยเหลือประชาชน ต่อมาในปี พ.ศ. 2528 ได้มีการจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ขึ้น เพื่อรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ อันมีเป็นอเนกประการ โดยเฉพาะการพระราชทานกำเนิด “แพทย์จุฬาฯ” เมื่อแรกนั้นพระบรม ราชานุสาวรีย์ได้ประดิษฐานอยู่ ณ ด้านหน้า ตึก “อานันทมหิดล” คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์เมื่อ พ.ศ. 2529 ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2550 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ย้ายพระบรมราชานุสาวรีย์มาประดิษฐาน ณ บริเวณลานด้านหน้า อาคาร “อปร” แห่งนี้ โดย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์มาทรงวางศิลาฤกษ์แท่นประดิษฐาน พระบรมราชานุสาวรีย์ฯ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555 และ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้มีพิธีอัญเชิญพระบรมราชานุสาวรีย์ ขึ้นประดิษฐานยังแท่นแห่งใหม่นี้ เมื่อวันอังคารที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2556 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ โดย ฝ่ายกิจการนิสิต ได้ดำเนินการจัดทำ “เข็มวันอานันทมหิดล” มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเริ่มต้นขึ้นในปี พ.ศ. 2529 โดย รศ.นพ.ปรีดา ทัศนประดิษฐ์ รองคณบดี ฝ่ายกิจการนิสิต ขณะนั้น ได้ริเริ่มจัดทำขึ้นในรูปแบบของ “สติ๊กเกอร์” ก่อน ต่อมาได้มีการพัฒนาปรับเปลี่ยนรูปแบบอย่างหลากหลาย จนกระทั่งเป็น “เข็ม” ดังในปัจจุบัน การดำเนินงานทั้งหมดนั้นอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของ สโมสรนิสิต คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ โดยมี ฝ่ายกิจการนิสิต คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เป็นผู้ดูแล

ในปี 2557 นี้ ผู้รับผิดชอบ คือ นสพ.กสานติ์ เกียรติปานอภิกุล นายกสโมสรนิสิตคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และ นสพ.ศุภนิดา ลิ้มพงศานุรักษ์ ประธานโครงการ “เข็มวันอานันทมหิดล” พ.ศ. 2557 “เข็มวันอานันทมหิดล” พ.ศ. 2557 ได้รับพระราชทาน พระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญภาพ “พระบรมราชานุสาวรีย์” พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร มาใช้ โดยปรากฏอยู่บน “พื้นสีขาว ภายในกรอบแปดเหลี่ยม ขอบสีเหลือง” เนื่องจาก 9 มิถุนายน ปีนี้ ตรงกับ “วันจันทร์” จึงใช้ สีเหลือง อันเป็น สีมงคลประจำวันจันทร์ และมี พระเกี้ยว ตราสัญลักษณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สีทอง อยู่ด้านบน ด้านหลัง ตราสัญลักษณ์ 100 ปี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย “เข็มวันอานันทมหิดล” ที่จัดทำขึ้นมานี้ นอกจากจะเป็นกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติและเผยแพร่พระเกียรติคุณ พระมหากรุณาธิคุณ อันมีเป็นอเนกประการ โดยเฉพาะการพระราชทานกำเนิด “แพทย์จุฬาฯ” ทั้งยังมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อการหารายได้สนับสนุน “มูลนิธิอานันทมหิดล” และ “มูลนิธิสงเคราะห์เด็ก” สภากาชาดไทย รวมทั้งนำไปช่วยเหลือ “พระภิกษุอาพาธ และ ผู้ป่วยยากไร้” โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย พร้อมเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาส 100 ปี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย งาน “น้ำใจ ... สร้างกุศล” งานเปิดตัว “เข็มวันอานันทมหิดล” พ.ศ. 2557 ที่จัดขึ้นมาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์สำคัญที่จะแนะนำและรณรงค์ “เข็มวันอานันทมหิดล” สู่สาธารณชน เพื่อให้เป็นที่ประจักษ์ ในวงกว้างโดยทั่วไป รวมทั้งยังเป็นการจุดประกายการรับรู้ และเปิด การรณรงค์ขอรับบริจาค “เข็มวันอานันทมหิดล” ด้วยการรวมพลัง “นิสิตแพทย์จุฬาฯ” ชั้นปีที่ 1 , 2 และ ชั้นปีอื่นๆ จำนวนรวม 500 คน ทำการรณรงค์และออกรับบริจาค จำนวน 84 หน่วย ใน 4 สาย ได้แก่ สายสีลม - สามย่าน , สายสยาม – ราชประสงค์ , สายสุขุมวิท และ สายรถไฟฟ้า BTS – รถไฟใต้ดิน MRT”

Page 2: “น้ำใจ สร้างกุศล” 2557 : เปิดการ ...pr.md.chula.ac.th/spotlight/year6/06-13.pdfได จ ด งาน “น ำใจ ... สร างก

“น้ำใจ ... สร้างกุศล” 2557 : เปิดการออกรับบริจาค

2

ศ.ดร.นพ.ประวิตร อัศวานนท์ รองคณบดี ฝ่ายวางแผนและ

พัฒนา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ผู้แทนคณบดีกล่าวขอบคุณมีอุปการคุณ

และกล่าวเปิดงาน ความว่า...

“แพทย์จุฬาฯ ซึ่งถือกำเนิดขึ้นมาจากพระราชปรารภ พระบาท

สมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร นั้น

ปัจจุบันมีอายุลุล่วงนับเป็นปีที่ 67 แล้ว และตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา

“แพทย์จุฬาฯ” ทุกรุ่น ต่างสืบสานพระราชปณิธาน ในการช่วยเหลือประชาชน

ด้วยคุณธรรมเสมอมาตามคำขวัญที่ว่า “แพทย์จุฬาฯ คู่กาชาดไทย

วิชาการก้าวไกลสู่สากล รับใช้ปวงชนด้วยคุณธรรม” ดังนั้น ไม่ว่า

“แพทย์จุฬาฯ” จะไปปฏิบัติหน้าที่อยู่ ณ ที่แห่งใดก็ตาม ต่างมุ่งมั่น

ปฏิบัติภารกิจหน้าที่ โดยมุ่งหมายเอาความสุขของหมู่ชนเป็นสำคัญตลอดมา

การจัดทำ “เข็มวันอานันทมหิดล” ของ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ นี ้

นับเป็นกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ ถวายกตเวทิตาคุณรำลึกแด่ผู้พระราชทาน

กำเนิด “แพทย์จุฬาฯ” อย่างเป็นรูปธรรม และโดยเหตุที่ มูลนิธิอานันทมหิดล

นั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม

พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จัดตั้งขึ้น เพื่อสนับสนุนนักเรียนไทย

ผู้มีความสามารถทางวิชาการอย่างยอดเยี่ยม มีคุณธรรมสูง ได้มีโอกาส

ไปศึกษาวิทยาการ จนถึงขั้นสูงสุดในต่างประเทศ เพื่อที่จะได้นำความรู้

กลับมาทำคุณประโยชน์พัฒนาบ้านเมืองให้ก้าวหน้าต่อไป โดยมี

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็น “นายกกิตติมศักดิ์” และมี

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกา ผู้อำนวยการ

สภากาชาดไทย ทรงเป็น “ประธานกรรมการ” ดังนั้น รายได้จากการ

จัดทำ “เข็มวันอานันทมหิดล” ซึ่งจะนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย

สมทบ “มูลนิธิอานันทมหิดล” , “มูลนิธิสงเคราะห์เด็ก” สภากาชาดไทย

กับทั้งยังจะนำไปช่วยเหลือ “พระภิกษุสงฆ์อาพาธ – ผู้ป่วยยากไร้”

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย พร้อมเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาส

100 ปี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย จึงนับว่าเป็นกุศลเจตนา

ที่เหมาะสมอย่างยิ่ง”

งาน “น้ำใจ ... สร้างกุศล” งานเปิดตัว “เข็มวันอานันทมหิดล” ประจำปี พ.ศ. 2557 เริ่มจากอันเชิญ “พระเกี้ยว” นำโดย นสพ.ศุภนิดา ลิ้มพงศานุรักษ์ ประธานโครงการ “เข็มวันอานันทมหิดล” พ.ศ. 2557 พรีเซนเตอร์ “เข็มวันอานันทมหิดล” พ.ศ. 2557 และ นิสิตแพทย์จุฬาฯ รวมทั้งสิ้น 30 คน

ศ.ดร.นพ.ประวิตร อัศวานนท์ รองคณบดี ฝ่ายวางแผนและพัฒนา

Page 3: “น้ำใจ สร้างกุศล” 2557 : เปิดการ ...pr.md.chula.ac.th/spotlight/year6/06-13.pdfได จ ด งาน “น ำใจ ... สร างก

ดารานักร้อง ... ร่วมออกรับบริจาค

3

ศ.ดร.นพ.ประวิตร อัศวานนท์ รองคณบดี ฝ่ายวางแผนและพัฒนา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ , รศ.นพ.สมชาย ธนวัฒนาเจริญ รองคณบดี ฝ่ายกิจการนิสิต คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ , คณาจารย์อาวุโส , คณะผู้บริหาร , หัวหน้าภาควิชา และ ผู้สนับสนุน ร่วมกันมอบ “เข็มวันอานันทมหิดล” และ กล่องรับบริจาค ให้แก่ “ศิลปินดารานักร้อง” พร้อมกับ “นิสิตแพทย์ จุฬาฯ” ชั้นปีที่ 1 - 2 และ ชั้นปีอื่นๆ รวมทั้งสิ้น 500 คน เพื่อออกไปขอรับบริจาคตามสถานที่ต่างๆ รวม 84 หน่วย ใน 4 สาย ได้แก่ สายสีลม - สามย่าน , สายสยาม – ราชประสงค์ , สายสุขุมวิท และ สายรถไฟฟ้า BTS – รถไฟใต้ดิน MRT อาทิ ห้างสรรพสินค้า Siam Discovery – Siam Center – Siam Paragon , ห้างสรรพสินค้า Central World , โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน , ศูนย์การค้าต่างๆ ศิลปินดารานักร้อง ที่มาร่วมงานและออกไปรับบริจาค ประกอบด้วย หนึ่งธิดา โสภณ (หนูนา) , จารุวัฒน์ เชี่ยวอร่าม (โดม) จาก Exact & Scenario และ โกเมน เรืองกิจรัตนกุล (โก) , วัชรเกียรติ คุณอมรเลิศ (บอล) และ กิตติพงศ์ ตันติชินานนท์ (ป๊อบ) จาก GMM Grammy ธนเวทย์ สิริวัฒนกุล (แก็ป) และ นิชา ปาลวัฒน์วิไชย (แพร) จาก โพลีพลัส วงศพัทธ์ ตั้งนิยม (โซ่ AF 9) , ปิยวัฒน์ สุทธิช่วย (เค AF 9) และ จิราภา จิตร์ระเบียบ (แนน AF 10) จาก Academy Fantasia

ศรุญสธร ธนวัชรวัฒน์ (ไฮน์) และ ขวัญฤทัย พันธุ์พฤกษ์ (แพรว) จาก Broadcast Thai Television

ส่วน ดารา จาก ช่อง 7 ประกอบด้วย ปิยพันธ์ ขำกฤษ (บูม) , กรรณาภรณ์ พวงทอง (น้ำหวาน) และ ชัชฎาภรณ์ ธนันทา (ต่าย) ไปรณรงค์ออกรับบริจาคที่ ห้างสรรพสินค้า Central World

Page 4: “น้ำใจ สร้างกุศล” 2557 : เปิดการ ...pr.md.chula.ac.th/spotlight/year6/06-13.pdfได จ ด งาน “น ำใจ ... สร างก

ศูนย์ประชาสัมพันธ์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ตึกอานันทมหิดล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ 1873 ถนนพระราม 4 แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 โทร. (02) 256 4183, 256 4462 โทรสาร (02) 252 5959 E-mail: [email protected], [email protected] และ [email protected]

ติดตามอ่าน “สารสัมพันธ์” ฉบับ “Spotlight” ได้ที่ http://www.md.chula.ac.th

http://www.md.chula.ac.th http://www.facebook.com/mdcu.page http://www.facebook.com/prmdcu.pr

http://www.twitter.com/prmdcu

ผู้สนับสนุน “เข็มวันอานันทมหิดล” 2557

ประชาชนทั่วไป สามารถ “บริจาค” และรับ “เข็มวันอานันทมหิดล” 2557 ตามสถานที่ต่างๆ ดังนี้... • โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ : ตึก “ภปร”, ตึก “อปร”, ตึก “อานันทมหิดล”, ตึก “วชิรญาณวงศ์”, ศาลาทินทัต • กรุงเทพมหานคร : นิสิตแพทย์จุฬาฯ จะออก “ออกรับบริจาค” ณ ศูนย์การค้าต่างๆ อาทิ... Siam Discovery – Siam Center – Siam Paragon , Central World , สยามสแควร์ , จามจุรีสแควร์ , ตึกธนาคารกรุงเทพ สำนักงานใหญ่ , ตึก CP Tower , หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร , เดอะ แพลทินัม แฟชั่น มอลล์ , MBK Center , โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน โรงพยาบาล BNH , โรงพยาบาลเซ็นหลุยส์ , โรงพยาบาลพญาไท 1 , โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ , โรงพยาบาลกรุงเทพ , โรงพยาบาลวิชัยยุทธ และ รถไฟฟ้า BTS – รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT • ต่างจังหวัด : “บริจาครับเข็ม” ที่ ศาลากลางจังหวัด และ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด - โรงพยาบาลจังหวัดทั่วประเทศ

นอกจากนี้ ศ.ดร.นพ.ประวิตร อัศวานนท์ รองคณบดี ฝ่ายวางแผนและพัฒนา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ , รศ.นพ.สมชาย ธนวัฒนาเจริญ รองคณบดี ฝ่ายกิจการนิสิต คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ , นสพ.ศุภนิดา ลิ้มพงศานุรักษ์ ประธานโครงการ “เข็มวันอานันทมหิดล” และ พรีเซนเตอร์ “เข็มวันอานันทมหิดล” พ.ศ. 2557 รับมอบ “เงินสนับสนุน” งานเปิดตัว “เข็มวันอานันทมหิดล” ประจำปี พ.ศ. 2557 จาก ผู้มีจิตศรัทธา จำนวน 20 ราย รวมทั้งสิ้น 2,160,000 บาท (สองล้านหนึ่งแสนหกหมื่นบาทถ้วน) โดยแบ่งออกเป็น 2 รายการ ดังนี้ l ธนาคารที่มาร่วมงาน จำนวน 3 ราย ดังนี้ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) บริจาค 100,000 บาท , ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) บริจาค 50,000 บาท , ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) บริจาค 50,000 บาท และ ที่ไม่ได้มาร่วมงาน จำนวน 2 ราย ดังนี้ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า แห่งประเทศไทย (ธสน.) บริจาค 50,000 บาท และ ธนาคารแห่งประเทศไทย บริจาค 50,000 บาท รวมทั้งสิ้น 300,000 บาท (สามแสนบาทถ้วน) l บริษัทเอกชนที่มาร่วมงาน จำนวน 7 ราย ดังนี้ พญ.นลินี ไพบูลย์ บริษัท กิฟฟารีน สกายไลน์ยูนิตี้ จำกัด บริจาค 500,000 บาท , การประปานครหลวง บริจาค 300,000 บาท , การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย บริจาค 100,000 บาท , บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) บริจาค 50,000 บาท , บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) บริจาค 50,000 บาท , บริษัท เทเวศประกันภัย จำกัด (มหาชน) บริจาค 50,000 บาท , บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) บริจาค 30,000 บาท , บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด บริจาค 10,000 บาท , การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค บริจาค 10,000 บาท และ ที่ไม่ได้มาร่วมงาน จำนวน 9 ราย ดังนี้ คุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี บริจาค 500,000 บาท , พญ.เจรียง จันทรกมล เครือโรงพยาบาลบางปะกอก บริจาค 100,000 บาท , บริษัท โอสถสภา จำกัด บริจาค 50,000 บาท , บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) บริจาค 50,000 บาท , มูลนิธิ ดร.กำจัด - ปราณี มงคลกุล บริจาค 50,000 บาท และ การไฟฟ้านครหลวง บริจาค 10,000 บาท รวมทั้งสิ้น 1,860,000 บาท (หนึ่งล้านแปดแสนหกหมื่นบาทถ้วน)

1. บริษัท กิฟฟารีน สกายไลน์ยูนิตี้ จำกัด : 500,000 บาท โดย นพ.จักรพงศ์ ไพบูลย์ ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการ และ พญ.ใจทิพย์ ไพบูลย์ รองประธานกรรมการ

2. การประปานครหลวง : 300,000 บาท โดย ธนศักดิ์ วัฒนฐานะ ผู้ว่าการประปานครหลวง

3. ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) : 100,000 บาท โดย วิไล ตรีรัตนเกษม ผู้จัดการเขตพื้นที่ชิดลม

4. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย : 100,000 บาท โดย ศรีลดา บุตรขวัญ หัวหน้ากององค์กรสัมพันธ์

5. ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) : 50,000 บาท โดย พจณี คงคาลัย ผู้จัดการใหญ่

6. ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) : 50,000 บาท โดย เสาวลักษณ์ วิภาวีพิทักษ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารและองค์การสัมพันธ์

7. บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) : 50,000 บาท โดย นิตา ชูฤทธิ์ ผู้จัดการส่วนงานกำกับองค์กร

8. บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) : 50,000 บาท โดย อัจฉรา วรธรรมพินิจ ผู้จัดการแผนกรัฐกิจสัมพันธ์

9. บริษัท เทเวศประกันภัย จำกัด (มหาชน) : 50,000 บาท โดย ภาวิณี ทิพย์เพชร ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานกรรมการ และสื่อสารองค์กร

11. บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด : 10,000 บาท โดย สมรักษ์ เหมวิมล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ด้านปฏิบัติการนครหลวง

10. บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) : 30,000 บาท โดย เรืองศักดิ์ ชินะโรจน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ภาคขายและบริการนครหลวงที่ 1

12. การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค : 10,000 บาท โดย ดวงแข เหลืองธุวปราณีต ผู้อำนวยการกองแผนพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม ฝ่ายสังคมและสิ่งแวดล้อม