a comparative study on the principle of …¸ªาขา... ·...

159
ศึกษาเปรียบเทียบหลักการลงโทษผูกระทําผิดในพุทธศาสนาเถรวาท กับประมวลกฎหมายอาญาและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF GUILTY PERSON PUNISHMENT IN THERAVADA BUDDHISM WITH CRIMINAL LAW AND PROCEDURE OF CRIMINAL LAW นายเกียรติศักดิพันธวงศ วิทยานิพนธนี้เปนสวนหนึ่งของการศึกษา ตามหลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พุทธศักราช ๒๕๕๔

Upload: ngophuc

Post on 17-Sep-2018

214 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

ศึกษาเปรียบเทียบหลักการลงโทษผูกระทําผิดในพทุธศาสนาเถรวาท กับประมวลกฎหมายอาญาและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF GUILTY PERSON PUNISHMENT IN THERAVADA BUDDHISM WITH CRIMINAL LAW AND PROCEDURE OF CRIMINAL LAW

นายเกียรติศักดิ์ พันธวงศ

วิทยานิพนธน้ีเปนสวนหนึ่งของการศึกษา ตามหลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต

สาขาวิชาพระพุทธศาสนา บัณฑิตวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พุทธศักราช ๒๕๕๔

Page 2: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

ศึกษาเปรียบเทียบหลักการลงโทษผูกระทําผิดในพทุธศาสนาเถรวาท กับประมวลกฎหมายอาญาและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

นายเกียรติศักดิ์ พันธวงศ

วิทยานิพนธน้ีเปนสวนหน่ึงของการศึกษา ตามหลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต

สาขาวิชาพระพุทธศาสนา บัณฑิตวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พุทธศักราช ๒๕๕๔

(ลิขสิทธ์ิเปนของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย)

Page 3: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF GUILTY PERSON PUNISHMENT IN THERAVADA BUDDHISM

WITH CRIMINAL LAW AND PROCEDURE OF CRIMINAL LAW

Mr.Kiettisak Phantawong

A Dissertation Submitted in Partial Fulfillment of The Requirement for the Degree of

Doctor of Philosophy (Buddhist Studies)

Graduate School

Mahachulalongkornrajavidyalaya University Bangkok, Thailand

C.E.2011

(Copyright by Mahachulalongkornrajavidyalaya University)

Page 4: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อนุมัติใหนับวิทยานิพนธฉบับน้ี

เปนสวนหน่ึงของการศึกษา ตามหลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา

.................................................. (พระสุธีธรรมานุวัตร, ผศ.ดร.) คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

คณะกรรมการตรวจสอบวิทยานิพนธ .......................................... ประธานกรรมการ (พระมหสมบูรณ วุฑฺฒิกโร, ดร. )

............................................กรรมการ

(พระมหาดวงจันทร คุตฺตสีโล, ดร. )

............................................กรรมการ

(ดร.พิสิฏฐ โคตรสุโพธิ์)

............................................กรรมการ

(ดร.พงศ สุภาวสิทธ์ิ)

............................................กรรมการ

(รศ.ดร.สุวิทย รุงวิสัย)

คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ พระมหาดวงจันทร คุตฺตสีโล, ดร. ประธานกรรมการ

ดร.พิสิฏฐ โคตรสุโพธ์ิ กรรมการ

ดร.พงศ สุภาวสิทธ์ิ กรรมการ

Page 5: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว
Page 6: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

ช่ือวิทยานิพนธ : ศึกษาเปรียบเทียบหลักการลงโทษผูกระทําผิดในพุทธศาสนาเถรวาท กับ ประมวลกฎหมายอาญาและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ผูวิจัย : นายเกียรติศักด์ิ พันธวงศ ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พระพุทธศาสนา)

คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ : พระมหาดวงจันทร คุตฺตสีโล,ดร. ป.ธ. ๕, พธ.บ, M.A., Ph.D. (Buddhist Studies) : ดร.พิสิฏฐ โคตรสุโพธ์ิ ป.ธ.๙, พธ.บ., M.A., Ph.D. (Philosophy)

: ดร.พงศ สุภาวสิทธิ์ นบ.,รม., Ph.D. (Philosophy)

วันสําเร็จการศึกษา : ๓ เมษายน ๒๕๕๕

บทคัดยอ การศึกษาวิจัย เรื่องศึกษาเปรียบเทียบหลักการลงโทษผูกระทําผิดในพุทธศาสนาเถรวาท กับประมวลกฎหมายอาญาและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาน้ีมีวัตถุประสงค ๔ ประการคือ (๑) เพ่ือศึกษาหลักการลงโทษผูกระทําผิดในพระพุทธศาสนาเถรวาทตามหลักอธิกรณ วิธีระงับอธิกรณ และกฎนิคหกรรมของมหาเถรสมาคม ฉบับท่ี ๑๑ พ.ศ. ๒๕๒๑วาดวยการลงนิคหกรรมตามพระราชบัญญัติคณะสงฆพ.ศ. ๒๕๐๕ แกไขเพ่ิมเติม (ฉบับท่ี ๒) พ.ศ.๒๕๓๕ (๒) เพ่ือศึกษาหลักการลงโทษผูกระทําผิดตามประมวลกฎหมายอาญา และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแหงราชอาณาจักรไทย (๓) เพ่ือศึกษาเปรียบเทียบหลักการลงโทษผูกระทําผิดวินัยในพุทธศาสนาเถรวาทกับหลักการลงโทษผูกระทําผิดตามประมวลกฎหมายอาญา และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแหงราชอาณาจักรไทยและ (๔) เพ่ือสังเคราะหรูปแบบหลักการและกระบวนการลงโทษผูกระทําผิดท่ีเหมาะสมและยุติธรรมกับสังคมสมัยปจจุบัน

จากการศึกษาพบวา หลักการลงโทษผูกระทําผิดในพุทธศาสนาเถรวาทสมัยพุทธกาลน้ันอธิกรณและวิธีระงับอธิกรณเปนวิธีปฏิบัติเก่ียวกับการจัดการความขัดแยงในแงของพระวินัยและเปนการระงับความขัดแยงท่ีเกิดขึ้นในสังคมสงฆ อธิกรณแบงออกเปน ๔ ประเภท และวิธีระงับอธิกรณแบงออกเปน ๗ ประเภท สวนการระงับความขัดแยงท่ีเกิดข้ึนในสังคมสงฆในปจจุบันคือกฎนิคหกรรมของมหาเถรสมาคม ฉบับท่ี ๑๑ พ.ศ. ๒๕๒๑ วาดวยการลงนิคหกรรมตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ พ.ศ. ๒๕๐๕ แกไขเพ่ิมเติม (ฉบับท่ี ๒) พ.ศ.๒๕๓๕ เปนการถอดแบบมาจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของฝายอาณาจักร ประมวลกฏหมายอาญาและประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความอาญาเปนการจัดการความขัดแยง เปนการระงับความขัดแยงท่ีเกิดข้ึนในสังคม และเปนการลงโทษผูกระทําผิดของฝายอาณาจักร

Page 7: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

สําหรับใชควบคุมความประพฤติของคนในสังคม ซ่ึงพัฒนาข้ึนมาจากศีลธรรม ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี ศาสนา และกฎเกณฑขอบังคับตามลําดับ โดยมีวัตถุประสงคเพ่ือธํารงความสงบเรียบรอยและศีลธรรมอันดีของสมาชิกในสังคม ทําใหการอยูรวมกันในสังคมน้ันเปนไปโดยราบรื่น สนองความตองการของภาคสวนตาง ๆ อยางเหมาะสม การศึกษาเปรียบเทียบหลักการลงโทษผูกระทําผิดในพุทธศาสนาเถรวาทกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและประมวลกฎหมายอาญา ในประเด็นอธิกรณและวิธีระงับอธิกรณ พบวามีความเหมือนกันและความแตกตางกัน ๔ ประการคือ (๑) กระบวนการฟอง (๒) กระบวนการพิจารณา (๓) กระบวนการพิพากษา (๔) กระบวนการระงับโทษ และในประเด็นกฎนิคหกรรมของมหาเถรสมาคม ฉบับท่ี ๑๑ พ.ศ. ๒๕๒๑ วาดวยการลงนิคหกรรมตามพระราชบัญญัติคณะสงฆพ.ศ. ๒๕๐๕ แกไขเพ่ิมเติม (ฉบับท่ี ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ พบวามีความเหมือนและความแตกตางกัน ๔ ประการคือ (๑) องคประกอบของการฟอง (๒) ขั้นตอนการพิจารณา (๓) ประเภทของพยานหลักฐาน (๔) วิธีบังคับตามคําวินิจฉัย สําหรับรูปแบบการลงโทษผูกระทําผิดท่ีเหมาะสมและยุติธรรมกับสังคมสงฆและสังคมไทย พบวาอธิกรณและวิธีระงับอธิกรณเปนการออกแบบที่มีเปาหมายเพ่ือ “ปองกัน” “ปองปราม” และ “ปราบปราม” อธิกรณท่ีจะเกิดข้ึน กําลังเกิดข้ึนและเกิดขึ้นแลว โดยเฉพาะอยางย่ิงรูปแบบของการระงับอธิกรณแตละชุดวิธีน้ันมุงตรงไปท่ีเปาหมายใหญน่ันก็คือ “ความสันติแหงสังคมสงฆหรือสังฆสามัคคี ดังน้ันหลักการลงโทษผูกระทําผิดตามประมวลกฎหมายอาญาและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาจึงสมควรอยางย่ิงท่ีตองนําหลักการลงโทษผูกระทําผิดในพุทธศาสนาเถรวาทมาประยุกตใชเปนหลักสูตรการศึกษา จะทําใหเกิดความโปรงใส ยุติธรรม เท่ียงธรรม และเกิดสันติสุขแกสังคมโดยรวมตอไป

Page 8: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

Dissertation Title : A Comparative Study on the Principle of Guilty Person Punishment in Theravada Buddhism with Criminal Law and Procedure of Criminal Law Researcher : Mr.Kiettisak Phantawong Degree : Doctor of Philosophy (Buddhist Studies) Dissertation Supervisory Committee : Ven. Dr. Duangchan Guttasîlo, Pali V, B.A., , M.A., Ph.D., (Buddhist Studies) : Dr. Phisit Kotsupho Pali IX, B.A., M.A., Ph.D. (Philosophy) : Dr.Phong Suphawasit LL.B., M.A., Ph.D. (Philosophy) Date of Graduation : April 3, 2012 Abstract

The dissertation entitled “A Comparative Study on the Principle of Guilty Person Punishment in Theravada Buddhism with Criminal Law and Procedure of Criminal Law” consists of 4 objectives as follows 1) to study the punishment of the offender in Adhikarana (disciplinary case of dispute) of Buddhism, the abatement of Adhikarana and Niggahakamma (the law of suppression) of the Sangha Supreme Council, (Volume 11) B.E. 2521 on the chastisement of a perverse monk according to the Sangha Acts of B.E. 2505 (amended B.E. 2535.) 2) To study the punishment of the guilty person in accordance with the criminal law and the procedure of criminal law of Thailand. 3) To study on a comparison between the punishment to a guilty person in Theravada Buddhism and the procedure of criminal law of Thailand. 4) To synthesize a formulation of principles and the process of a rational and justified punishment to a guilty person in today society.

The findings of the study were concluded that, the laws of suppression (Niggahakamma) were used for a perverse monk in the early Buddhism and these laws were concerned about the conflict of the Buddha’s doctrine and discipline that occurred in Sangha community. The laws of suppression are divided into four categories and there are seven of solutions.

At present, the law of suppression of the Sangha Supreme Council, (Volume 11) B.E. 2521 (the law of suppression) on the chastisement of a perverse monk according to the Sangha Act

Page 9: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

of B.E. 2505 (amended B.E. 2535) was used to solve the conflicts of the Sangha community. These laws were followed in line with the law of the kingdom.

The criminal law and the procedure of criminal law were made for preventing and managing of conflicts in the society. The law was the principle of punishment to the guilty persons and used to control the behavior of people in the society. All rules and regulations were developed from the moral system, custom, tradition and religious teaching in order to maintain the contentment in all aspects of the society.

In case of a comparative study on the infliction of punishment to the perverse monk in Buddhism and the criminal law together with the procedure of criminal law, the four major differences and similarities were found as follows: 1) the prosecution 2) trial procedure 3) render judgment and 4) a case dismiss. There were four differences and the similarities processes were found in the law of suppression as follows; 1) the prosecution, 2) trial 3) evidence and 4) legal execution.

However, when the proper punishment methods for the Sangha community and the Thai society were investigated, it can be mentioned that the Adhikarana or the laws of suppression were enacted for preventing, suppressing and repressing to perverse monks and also aimed to the harmony of Sangha community. This will lead to the unity of Sangha and focus on the transparency and justice. Therefore, the law of suppression or Niggahakamma should be applied to the criminal law and the procedure of criminal law in order to provide justice and peace to the society permanently.

Page 10: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

กิตติกรรมประกาศ ขอกราบขอบพระคุณพระสุธีธรรมานุวัตร, ผศ.ดร. คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ท่ีใหการสนับสนุนในการเปดสอนหลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา ทําใหผูวิจัยมีโอกาสไดเขามาศึกษาในสถาบันแหงน้ี ดุษฏีนิพนธฉบับน้ีสําเร็จลุลวงได ดวยความกรุณาอนุเคราะหอยางดีย่ิงจากอาจารยท่ีปรึกษาทุกทาน คือ พระมหาดวงจันทร คุตฺตสีโล,ดร.,ดร.พงศ สุภาวสิทธ์ิ, ดร.พิสิฏฐ โคตรสุโพธ์ิ, ดร.ไพฑูรย รื่นสัตย, ผูชวยศาสตราจารย ดร.พูนชัย ปนธิยะ และผูชวยศาสตราจารย ดร.เทพประวิณ จันทรแรง ท่ีไดกรุณาสละเวลาตรวจสอบแกไข และใหคําแนะนําอันเปนประโยชนย่ิง ทําใหผูวิจัยทําดุษฎีนิพนธจนเสร็จส้ิน โดยเฉพาะอยางย่ิงพระมหาดวงจันทร คุตฺตสีโล,ดร.,ดร.พงศ สุภาวสิทธ์ิ และดร.พิสิฏฐ โคตรสุโพธ์ิท่ีเปนผูใหคําแนะนําต้ังแตกําหนดหัวขอดุษฏีนิพนธ การจัดทําและนําเสนอโครงราง จนกระท่ังเปนกรรมการตรวจสอบดุษฏีนิพนธในข้ันตอนสุดทาย ผูวิจัยจึงขอกราบขอบพระคุณและขออุทิศความดีรวมท้ังประโยชนท่ีจะเกิดจากการวิจัยตอเน่ืองจากดุษฏีนิพนธเรื่องน้ีแดพระมหาดวงจันทร คุตฺตสีโล,ดร., ดร.พงศ สุภาวสิทธ์ิ และดร.พิสิฏฐ โคตรสุโพธ์ิสืบไป ขอขอบคุณเจาหนาท่ีศูนยบัณฑิตศึกษา วิทยาเขตเชียงใหมทุกทานท่ีกรุณาชวยอํานวยความสะดวกตลอดเวลาที่ทําทําดุษฏีนิพนธ ขอกราบขอบพระคุณบิดา มารดา และขอขอบคุณภรรยา บุตร รวมท้ังเพ่ือนรวมรุน ผูเปนกําลังใจอยูเคียงขางดวยการใชเวลาอันยาวนานในการทําดุษฏีนิพนธเชนกัน นายเกียรติศักด์ิ พันธวงศ ๒๐ มีนาคม ๒๕๕๕

Page 11: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

สารบัญ เรื่อง หนา บทคัดยอภาษาไทย ก บทคัดยอภาษาอังกฤษ ค กิตติกรรมประกาศ ง สารบัญ จ สารบัญตาราง ซ คําอธิบายสัญลักษณและคํายอ ฌ บทท่ี ๑ บทนํา

๑.๑ ความเปนมาและความสําคัญของปญหา ๑ ๑.๒ วัตถุประสงคของการวิจัย ๗ ๑.๓ ขอบเขตของการวิจัย ๗ ๑.๔ ปญหาท่ีตองการทราบ ๘ ๑.๕ นิยามศัพทเฉพาะท่ีใชในการวิจัย ๘ ๑.๖ ทบทวนเอกสารและงานวิจัยท่ีเก่ียวของ ๘ ๑.๗ วิธีดําเนินการวิจัย ๑๒ ๑.๘ ประโยชนท่ีคาดวาจะไดรับ ๑๓

บทท่ี ๒ หลักการลงโทษผูกระทําผิดในพุทธศาสนาเถรวาท ๒.๑ อธิกรณและวิธีระงับอธิกรณในสมัยพุทธกาล ๑๔ ๒.๑.๑ อธิกรณ ๑๕ ๑. วิวาทาธิกรณ ๑๕

๒. อนุวาทาธิกรณ ๑๘ ๓. อาปตตาธิกรณ ๒๐

๔. กิจจาธิกรณ ๒๓ ๒.๑.๒ วิธีระงับอธิกรณ ๒๗ ๑. สัมมุขาวินัย ๒๘ ๒. สติวินัย ๓๐ ๓. อมูฬหวินัย ๓๒ ๔. ปฎิญญาตกรณะ ๓๔

Page 12: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

๕. เยภุยยสิกา ๓๔ ๖. ตัสสปาปยสิกา ๓๖ ๗. ติณวัตถารกวินัย ๓๘

๒.๒ กฎนิคหกรรมของมหาเถรสมาคม ฉบับท่ี ๑๑ พ.ศ. ๒๕๒๑ วาดวยการลง นิคหกรรมตามพระราชบัญญัติคณะสงฆพ.ศ. ๒๕๐๕ แกไขเพ่ิมเติม (ฉบับท่ี ๒) พ.ศ.๒๕๓๕ ๒.๒.๑ ความหมายและประเภทกฏนิคหกรรม ๔๒ ๒.๒.๒ ลักษณะการตัดสินของกฎนิคหกรรม ๔๔

๒.๒.๓ บทนิยามแหงกฎนิคหกรรม ๔๕ ๒.๒.๔ วิธีปฏิบัติเบ้ืองตนในการลงนิคหกรรม ๔๖ ๒.๒.๕ วิธีไตสวนมูลฟองในการลงนิคหกรรม ๕๒

๒.๒.๖ วิธีอางพยานหลักฐานในการลงนิคหกรรม ๕๕ ๒.๒.๗ วิธีบังคับตามคําวินิจฉัยการลงนิคหกรรม ๕๖ ๒.๒.๘ ขอเบ็ดเตล็ดในการลงนิคหกรรม ๕๖ บทท่ี ๓ หลักการลงโทษผูกระทําผิดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และ ประมวลกฎหมายอาญา

๓.๑ หลักการลงโทษผูกระทําผิดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ๓.๑.๑ การฟองคดีอาญา ๕๘ ๓.๑.๒ การไตสวนมูลฟอง ๖๐ ๓.๑.๓ การพิจารณาในศาลชั้นตน ๖๑ ๓.๑.๔ คาํพิพากษาและคําส่ัง ๖๔ ๓.๒ หลักการลงโทษผูกระทําผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ๓.๒.๑ โทษประหารชีวิต ๖๕ ๓.๒.๒ โทษจําคุก ๖๖ ๓.๒.๓ โทษกักขัง ๗๑ ๓.๒.๔ โทษปรับ ๗๔ ๓.๒.๕ โทษริบทรัพยสิน ๗๖

Page 13: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

บทท่ี ๔ เปรียบเทียบหลักการลงโทษผูกระทําผิดวินัยในพุทธศาสนาเถรวาท กับหลักการลงโทษ ผูกระทําผิดตามประมวลกฎหมายอาญาและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

๔.๑ เปรียบเทียบวิธีระงับอธิกรณ กับประมวลกฎหมายอาญาและประมวล กฏหมายวิธีพิจารณาความอาญา

๔.๑.๑ เปรียบเทียบ อนุวาทาธิกรณกับการฟองคดี ๗๘ ๔.๑.๒ เปรียบเทียบ สัมมุขาวินัยและตัสปาปยสิกากับการพิจารณาพิพากษา ๗๙

๔.๑.๓ เปรียบเทียบ เยภุยยสิกากับการพิพากษา ๘๑ ๔.๑.๔ เปรียบเทียบติณวัตถารกวินัยกับการประนีประนอมยอมความ ๘๑ ๔.๒ เปรียบเทียบกฎนิคหกรรมของมหาเถรสมาคมกับประมวลกฎหมายอาญา และประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความอาญา ๔.๒.๑ วิธีปฎิบัติเบ้ืองตนในการลงนิคหกรรมเปรียบเทียบกับวิธีการฟอง ๘๗

คดีอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ๔.๒.๒ วิธีไตสวนมูลฟองในการลงนิคหกรรมเปรียบเทียบกับวิธีไต ๙๓ สวนมูลฟองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

๔.๒.๓ วิธีอางพยานหลักฐานในการลงนิคหกรรมเปรียบเทียบกับวิธีอาง ๙๘ พยานหลักฐานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

๔.๒.๔ วิธีบังคับตามคําวินิจฉัยการลงนิคหกรรมเปรียบเทียบกับคําพิพากษา ๑๐๔ และคําส่ังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

บทท่ี ๕ รูปแบบการลงโทษผูกระทําผิดท่ีเหมาะสมและยุติธรรม ๕.๑ รูปแบบการลงโทษผูกระทําผิดท่ีเหมาะสมและยุติธรรมกับสังคมสงฆ ๑๐๙ ๕.๒ รูปแบบการลงโทษผูกระทําผิดท่ีเหมาะสมและยุติธรรมกับสังคมไทย ๑๒๒ บทท่ี ๖ สรุปผลการวิจัย และขอเสนอแนะ ๖.๑ สรุปผลการวิจัย ๑๒๘ ๖.๒ ขอเสนอแนะ ๑๓๘ บรรณานุกรม ๑๔๐ ประวัติผูวิจัย ๑๔๔

Page 14: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

สารบัญตารางและแผนภูมิ

หนา

แผนภูมิท่ี ๑ ตารางเปรียบเทยีบความเหมือนกันของอธิกรณและวิธีระงับอธิกรณ ๘๒ กับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และประมวลกฎหมายอาญา แผนภูมิท่ี ๒ ตารางเปรียบเทยีบความแตกตางระหวางอธิกรณและระงับอธิกรณ ๘๕ กับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และประมวลกฎหมายอาญา แผนภูมิท่ี ๓ ตารางเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกตางระหวางกฎนิคหกรรมของ ๑๐๖ มหาเถรสมาคมกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

Page 15: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

คําอธิบายสัญลักษณและคํายอ

ดุษฏีนิพนธฉบับน้ีใชพระไตรปฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปฎกํ และพระไตรปฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในการอางอิงโดยจะระบบท่ีระบุ เลม/ขอ/หนา หลังคํายอช่ือคัมภีร ตัวอยางเชน ที.สี.(ไทย) ๙/๑๗๐/๕๖ หมายถึง สุตตันตปฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค พระไตรปฎกภาษาไทย เลมท่ี ๙ ขอท่ี ๑๗๐ หนา ๕๖

พระวินัยปฎก

วิ.มหา. (บาลี) = วินยปฎก มหาวภิงฺคปาลิ (ภาษาบาลี) วิ.มหา. (ไทย) = วินัยปฎก มหาวภิังค (ภาษาไทย) วิ.ม. (บาลี) = วินยปฎก มหาวคฺคปาลิ (ภาษาบาลี) วิ.ม. (ไทย) = วินัยปฎก มหาวรรค (ภาษาไทย) วิ.จู. (บาลี) = วินยปฎก จูฬวคฺคปาลิ (ภาษาบาลี) วิ.ป. (บาลี) = วินยปฎก ปริวารวคฺค (ภาษาบาลี) วิ.ป. (ไทย) = วินัยปฎก ปริวารวรรค (ภาษาไทย) วิ.จู.อ. (บาลี) = วินยปฏก สมนฺตปาสาทิกา (ภาษาบาลี) พระสุตตันตปฎก

ที.สี (บาลี) = สุตฺตนฺตปฎก ทีฆนิกาย สีลกฺขนฺธวคฺคปาลิ (ภาษาบาลี) ที.สี. (ไทย) = สุตตันตปฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค (ภาษาไทย) ที.ม. (บาลี) = สุตฺตนฺตปฎก ทีฆนิกาย มหาวคฺคปาลิ (ภาษาบาลี) ที.ม. (ไทย) = สุตตันตปฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค (ภาษาไทย) ที.ปา. (บาลี) = สุตฺตนฺตปฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวคฺคปาลิ (ภาษาบาลี) ที.ปา. (ไทย) = สุตตันตปฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค (ภาษาไทย) ม.มู. (ไทย) = สุตตันตปฎก มัชฌิมนิกาย มูลปณณาสก (ภาษาไทย) ม.อุ. (ไทย) = สุตตันตปฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปณณาสก (ภาษาไทย) สํ.ข. (ไทย) = สุตตันตปฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค (ภาษาไทย) อง.เอก (ไทย) = สุตตันตปฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต (ภาษาไทย) องฺ.ทุก. (บาลี) = สุตฺตนฺตปฎก องฺคุตฺตรนิกาย ทุกนิปาตปาลิ (ภาษาบาลี)

Page 16: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

บทท่ี ๑ บทนํา

๑.๑. ความเปนมาและความสําคัญของปญหา การอยูรวมกันในสังคมจําเปนตองมีกฎระเบียบสําหรับประพฤติปฏิบัติรวมกัน สังคมสงฆก็มีพระธรรมวินัยเปนหลักแหงการปฏิบัติรวมกัน หากมีผูกระทําผิดก็มีวิธีระงับ ซ่ึงเรียกวาอธิกรณสมถะ วิธีระงับอธิกรณซ่ึงเปนขอกําหนดท่ีพระพุทธเจาไดทรงบัญญัติไวเพ่ือเปนหลักการและแนวทางในการระงับปญหาตาง ๆ ท่ีเกิดขึ้นในหมูสงฆนับตั้งแตครั้งพุทธกาล ซ่ึงพระสงฆในยุคตอมาตางยึดถือปฏิบัติเพ่ือใหเกิดประโยชนดวยดีเสมอมา อธิกรณสมถะหรือวิธีระงับอธิกรณน้ันมีถึง ๗ ประการ พระพุทธเจาจะใชวิธีไหนระงับอธิกรณแบบใดก็ขึ้นอยูกับสถานการณท่ีเกิดข้ึน โดยมากพระพุทธองคจะเร่ิมตนดวยการประชุมสงฆแลวสอบถามความจริงจากคูกรณี ดังตัวอยางเชน สมัยหน่ึงพระองคประทับอยู ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบัณฑิตเศรษฐี กรุงสาวัตถี พระฉัพพัคคีย คือ พวกภิกษุ ๖ รูป ไดกระทําผิดดวยตัชชนียกรรมบาง นิยสกรรมบาง ปพพาชนียกรรมบาง ปฏิสารนียกรรมบาง อุกเขปนียกรรมบาง แกภิกษุท้ังหลายผูอยูลับหลัง บรรดาภิกษุอื่นตางกลาวโทษติเตียนแลวกราบทูลเรื่องน้ันใหพระพุทธองค ๆ ทรงรับส่ังใหประชุมสงฆและรับส่ังถามภิกษุฉัพพัคคีย เม่ือความจริงปรากฏชัดแลวพระพุทธองคทรงตําหนิดวยประการตางๆ ในท่ีสุดทรงบัญญัติพระวินัยความวา “กรรมท้ัง ๖ ประการน้ัน ภิกษุไมพึงทําแกภิกษุท้ังหลายผูอยูลับหลัง ภิกษุใดทําตองอาบัติทุกกฎ”๑ อีกตัวอยางหน่ึงเปนเร่ืองของพระทัพพมัลลบุตรผูบรรลุอรหันตต้ังแตอายุยังนอย แตปรารถนาจะทําประโยชนใหแกสงฆ จึงไปเฝาพระพุทธเจาขอรับหนาท่ีเปนผูจัดการเรื่องท่ีอยูอาศัย แลวจัดภิกษุไปฉันในท่ีนิมนตท่ีประชุมสงฆเห็นชอบโดยไมมีภิกษุใดคัดคานจึงประกาศแตงต้ัง เม่ือทานไดรับการแตงตั้งก็ทําหนาท่ีไดดีและเรียบรอยจนไดรับการยกยอง ถึงแมมีภิกษุมากลั่นแกลงตางๆ นานาแตทานก็มิไดบกพรองในหนาท่ี พระเมตติยะกับพระภุมมชกะซ่ึงเปนพระบวชใหมไดรับการจัดอันดับในท่ีนิมนตชาและคนก็ไมสนใจถวายอาหารดี ๆ เขาใจผิดวาพระทัพพมัลลบุตรกล่ันแกลง จึงหาเรื่องใหนางเมตติยาภิกษุณีโจทอาบัติปาราชิกวาขมขืนนาง เมื่อเร่ืองถึงพุทธสํานัก

                                                            

๑ วิ. จุ. (ไทย) ๖/๕๘๕/๒๖๗

Page 17: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

 

 

 

พระพุทธองคทรงไดสอบสวน ในท่ีประชุมสงฆไดมีคําส่ังใหสึกนางเมตติยาภิกษุณีเสีย สําหรับพระเมตติยะกับพระภุมมชกะเน่ืองจากเปนภิกษุตนบัญญัติ อันเรียกวา “อาทิกัมมิกะ” จึงพนความผิด จากตัวอยางขางตนจะเห็นไดวา วิธีระงับอธิกรณ (อธิกรณสมถะ) ซ่ึงเปนหลักการตัดสินลงโทษผูกระทําผิดในพระธรรมวินัยท่ีปรากฏในวินัยปฎกน้ัน ถือวาเปนกระบวนการตัดสินการกระทําความผิดของคณะสงฆท่ีแสดงใหเห็นรูปแบบแหงระบอบประชาธิปไตยนับแตสมัยพุทธกาล อยางไรก็ตามการตัดสินลงโทษพระสงฆผูกระทําผิดในยุคปจจุบันน้ี ความผิดบางอยางนอกจากเปนการละเมิดพระธรรมวินัยแลว ยังเปนความผิดกฎหมายบานเมืองอีกดวย เพราะพระสงฆไทยตองประพฤติปฎิบัติตามพระธรรมวินัยและอยูภายใตการควบคุมของประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และกฎนิคหกรรมของมหาเถรสมาคม ฉบับท่ี ๑๑ พ.ศ. ๒๕๒๑ วาดวยการลงนิคหกรรมตามพระราชบัญญัติคณะสงฆพ.ศ. ๒๕๐๕ แกไขเพ่ิมเติม (ฉบับท่ี ๒) พ.ศ.๒๕๓๕ เพราะประมวลกฎหมายอาญาและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเปนกฎหมายที่บัญญัติบังคับใชกับทุกคนในประเทศไทยไมวาคนน้ันจะเปนคฤหัสถหรือบรรพชิตก็ตาม เม่ือผูใดกระทําผิดกฎหมาย ผูน้ันจะตองรับโทษตามกฎหมาย หากไมไดกระทําความผิดตามกฎหมายดังกลาวก็ไมตองรับโทษ จะเห็นไดวาสังคมสงฆมีพระวินัยหรือสิกขาบทเปนส่ิงควบคุม ในขณะเดียวกันก็มีกฎนิคหกรรมของมหาเถรสมาคม ฉบับท่ี ๑๑ พ .ศ . ๒๕๒๑ วาดวยการลงนิคหกรรมตามพระราชบัญญัติคณะสงฆพ.ศ. ๒๕๐๕ แกไขเพ่ิมเติม (ฉบับท่ี ๒) พ.ศ.๒๕๓๕ รวมถึงประมวลกฎหมายอาญาและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาควบคุมอีกชั้นหน่ึง เพราะสังคมสงฆเปนสังคมพิเศษท่ีซอนอยูในสังคมไทย แมพระสงฆจะมีกฎระเบียบคือพระวินัยหรือสิกขาบทเปนเคร่ืองควบคุมบังคับ แตในบางกรณีความผิดท่ีละเมิดพระวินัยบัญญัติยังตองมีความผิดตามกฎหมายของฝายอาณาจักรดวย และในบางกรณีการกระทําท่ีผิดพระวินัยแตอาจไมเปนความผิดทางกฎหมายก็ได อยางไรก็ตาม ผูท่ีทําหนาท่ีพิจารณาวาการกระทําดังกลาวเปนความผิดหรือไมข้ึนอยูกับกระบวนการในการวินิจฉัย และการหาขอเท็จจริงมากลาวอาง เพราะการวินิจฉัยคดีท่ีเกิดขึ้นน้ันถาทําผิดพลาดแลวยอมเกิดผลรายตอผูถูกกลาวหา พระสงฆผูทําหนาท่ีวินิจฉัย จึงจําเปนตองมีความรูความชํานาญในการพิจารณาคดีตามกระบวนการของกฎนิคหกรรม และในขณะเดียวกันก็ตองมีความชํานาญในการพิจารณาหลักกฎหมายและสิกขาบท เพราะระบบการปกครองสงฆไทยในปจจุบัน อาศัยพระราชบัญญัติคณะสงฆ พ.ศ. ๒๕๐๕ แกไขเพ่ิมเติม (ฉบับท่ี ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕

Page 18: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

 

 

 

บังคับใชอยู คดีพระสงฆเม่ือตองอธิกรณบางคดีสรางความหนักใจตอผูเปนเจาหนาท่ีผูปฏิบัติ จึงตองใชเวลาชานานในแตละคดี เพราะตองการใหเกิดความยุติธรรมท้ังสองฝาย อีกท้ังโทษบางอยางเม่ือวินิจฉัยผิดจะกลายเปนตราบาปตอผูตองโทษ ถึงแมวาในสิกขาบทไมมีโทษถึงประหารชีวิตเหมือนฝายอาณาจักร แตโทษอาบัติปาราชิกก็อุปมาเหมือนกับโทษประหารชีวิตเชนกัน จะเห็นวากระบวนการวินิจฉัยในทางฝายอาณาจักรและฝายศาสนจักรมีท้ังความเหมือนกัน และตางกัน ถาผูพิจารณาทั้งฝายอาณาจักร และฝายศาสนจักรไดเรียนรูถึงเครื่องมือท่ีใชวินิจฉัยดังกลาวจะกอใหเกิดความถูกตองและเท่ียงธรรมแกคูกรณีมากย่ิงขึ้น การบัญญัติกฎหมายของทุกสังคมมีการนําเอาหลักทางศีลธรรมทางศาสนา ตลอดจนจารีตประเพณี และวัฒนธรรมของแตละสังคมเขามาเปนสวนประกอบที่สําคัญดวย ประมวลกฎหมายอาญา และประมวลกฎหมายวิ ธีการพิจารณาความอาญาลวนพัฒนาข้ึนมาจากศีลธรรม ขนบธรรมเนียมจารีตประเพณี ศาสนา และกฎเกณฑขอบังคับ ตามลําดับ โดยมีวัตถุประสงคเพ่ือธํารงความสงบเรียบรอยและศีลธรรมอันดีของสมาชิกในสังคม ท้ังเพ่ือใหการอยูรวมกันในสังคมน้ันเปนไปโดยราบร่ืน สนองความตองการของภาคสวนตาง ๆ อยางเหมาะสม ดังภาษิตลาตินท่ีวา "ท่ีใดมีมนุษย ท่ีน้ันมีสังคม ท่ีใดมีสังคม ท่ีน้ันมีกฎหมาย" โดยประมวลกฎหมายอาญาจะกลาวถึงการกระทําอยางไรเปนความผิดและผูกระทําผิดตองรับโทษอยางไรบาง อาทิเชนผูใดฆาผูอื่น ก็ตองรับโทษประหารชีวิตเปนตน สวนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเปนกระบวนการพิจารณาเพ่ือตัดสินลงโทษผูกระทํา โดยเริ่มตั้งแตชั้นพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ ผูพิพากษา รวมท้ังไดระบุถึงวิธีย่ืนฟอง วิธีการใตสวนมูลฟอง การสืบพยาน การหมายเรียกพยาน การสืบพยานผูเช่ียวชาญ การพิจารณา และการพิพากษาลงโทษผูกระทําผิดเปนตน งานวิจัยจํานวนมากไดศึกษากระบวนการยุติธรรมในพุทธศาสนาเปรียบเทียบกับกฎหมายไทย โดยเฉพาะงานวิจัยของมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยซ่ึงไดทําการวิจัยอันเปนประโยชนแกพุทธศาสนาและสังคมไวหลายประการ อาทิเชนงานวิจัยของนายอธิราช มณีภาค๒ เรื่องการศึกษาเปรียบเทียบกระบวนการยุติธรรมในพระวินัยปฎกกับกระบวนการยุติธรรมของกฎหมายไทย งานวิจัยน้ีเปนการศึกษาภาพรวมของกฎหมายต้ังแตประวัติศาสตรกฎหมายไทยและภาพรวมของกฎหมายไทยในปจจุบันแบบกวางๆ จึงทําใหเพียงแตทราบวาปญหากระบวนการยุติธรรมในพระ

                                                            

         ๒ อธิราช มณีภาค, “การศึกษาเปรียบเทียบกระบวนการยุติธรรมในพระวินัยปฎกกับกระบวนการ

ยุติธรรมของกฎหมายไทย”, วิทยานิพนธพุทธศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๖), หนา ๗๕.

Page 19: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

 

 

 

วินัยปฎกและกระบวนการยุติธรรมของกฎหมายไทยมีความลาชาเปนปญหาท่ีตองแกไข และงานวิจัยของนายวิรัช กล่ินสุบรรณ๓ เร่ืองกระบวนการพิจารณานิคหกรรม : ปญหาและแนวทางแกไข งานวิจัยน้ีเปนการศึกษาท่ีขยายความงานวิจัยของนายอธิราช มณีภาค โดยใหความเห็นเพ่ิมเติมวากระบวนการพิจารณานิคหกรรมตามกฎมหาเถรสมาคมน้ันเปนวิธีการท่ีใชการพิจารณาตามแนวกฎหมายทางฝายอาณาจักร แตการพิจารณานิคหกรรมน้ันมีปญหาหลายประการรวมทั้งมีปญหาเก่ียวกับโครงสรางทางดานการปกครองและกฎหมายจึงทําใหเกิดความลาชา และมีความเห็นวาควรแกไขกฎหมายพระราชบัญญัติสงฆ และกฎมหาเถรสมาคมท่ีใชในปจจุบัน จะเห็นไดวางานวิจัยเหลาน้ันไดใหขอเสนอแนะวากระบวนการยุติธรรมตามกฎนิคหกรรมของมหาเถรสมาคม ฉบับท่ี ๑๑ พ.ศ. ๒๕๒๑ วาดวยการลงนิคหกรรมตามพระราชบัญญัติคณะสงฆพ.ศ. ๒๕๐๕ แกไขเพ่ิมเติม (ฉบับท่ี ๒) พ.ศ.๒๕๓๕ ท่ีใชอยูในปจจุบันน้ีไมสามารถใหความยุติธรรมตามความเปนธรรมได ควรมีการปรับปรุงโครงสรางและรูปแบบกระบวนการแกไขปญหาของคณะสงฆใหสอดคลองกับพระธรรมวินัยและเหมาะสมกับยุคปจจุบัน รวมท้ังควรแกไขกฏหมายพระราชบัญญัติคณะสงฆและกฎนิคหกรรมของมหาเถรสมาคมดังกลาว อยางไรก็ตามระบบการดําเนินคดีอาญาในประเทศไทยท่ีสะทอนออกมาใหประชาชนไดเห็นจากคดีตาง ๆ ซ่ึงเปนบทเรียนใหแกหนวยงานที่รับผิดชอบ ตัวอยางเชนมีผูพบศพ เชอรี่แอน ดันแคน อําเภอเมืองจังหวัดสมุทรปราการ พนักงานสอบสวนตํารวจภูธรอําเภอเมืองสมุทรปราการจึงไดทําการสืบสวนสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานแลวเขาจับกุมนายวินัย ชัยพานิช เจาของบริษัทกอสราง กับพวก ๔ คนซ่ึงเปนลูกนองของนายวินัยคือนายรุงเฉลิม กนกชัชวาลชัย นายพิทักษ คาขาย นายกระแสร พลอยกลุมและนายธวัช กิจประยูร เมื่อวันท่ี ๒๑ สิงหาคม ๒๕๒๙ โดยพนักงานสอบสวนเห็นวาผูตองหาท้ัง ๕ คนรวมกันกระทําผิดฐานฆาผูตาย โดยไตรตรองไวกอนจึงมีความเห็นควรส่ังฟองและสงสํานวนใหพนักงานอัยการ จังหวัดสมุทรปราการ พนักงานอัยการพิจารณาแลวมีคําสั่งไมฟองนายวินัย ชัยพานิช และมีคําส่ังฟองนายรุงเฉลิม หรือเฮาด้ี กนกชวาลชัย, นายพิทักษ คาขาย, นายกระแสร พลอยกลุม และนายธวัช กิจประยูร ซ่ึงถือไดวาเปน “แพะรับบาป” ในคดีน้ี ในเดือน กรกฎาคม พ.ศ ๒๕๓๓ ศาลช้ันตนพิพากษาคดีวาจําเลยท้ังส่ีมีความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๒๘๙ (๔), ๘๓ ลงโทษประหารชีวิตจําเลยท้ังส่ี “ประหารชีวิต” คํา

                                                            

         ๓ นายวิรัช กลิ่นสุบรรณ, “กระบวนการพิจารณานิคหกรรม : ปญหาและแนวทางแกไข”,

วิทยานิพนธพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๓), หนา ๘๗.

Page 20: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

 

 

 

ตัดสินท่ีไดรับมีผลตอจิตใจของคนที่ไมเคยทําผิด ความรูสึกตอนน้ันเปนอยางไร คงไมมีใครเขาใจไดดีเทากับพวกเขา จําเลยท้ังส่ีไดอุทธรณคําพิพากษาศาลจังหวัดสมุทรปราการและศาลอุทธรณไดรับ ไวพิจารณา เมื่อวันท่ี ๒๙ ตุลาคม ๒๕๓๓ ในระหวางข้ันตอนการพิจารณาของศาลอุทธรณ นายรุงเฉลิม กนกชวาลชัย จําเลยท่ี ๑ ไดถึงแกความตายท่ีเรือนจําบางขวาง สงผลใหศาลจังหวัดสมุทรปราการส่ังจําหนายคดีสําหรับจําเลยท่ี ๑ ตอมาศาลอุทธรณไดมีคําพิพากษายกฟองและในวันท่ี ๘ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๖ ศาลฎีกาไดพิจารณาแลวมีคําพิพากษาตามคําพิพากษาศาลฎีกาท่ี ๗๖๘/๒๕๓๖ พิพากษายืนตามคําพิพากษา ศาลอุทธรณ อันเปนส่ิงแสดงวาจําเลยที่ยังมีชีวิตอยูในคดีดังกลาวเปน “ผูบริสุทธ์ิ” ระยะเวลาประมาณ ๖ ป ๒ เดือนในการพิสูจนความบริสุทธ์ิของผูถูกกลาวหาวาเปนผูกระทําผิดชางดูยาวนานเหลือเกิน โดยเฉพาะสําหรับผูบริสุทธ์ิเชนพวกเขา ความบกพรองของระบบการดําเนินคดีอาญาดังกลาวนอกจากจะไมสามารถอํานวยความยุติธรรมไดและผูตองหาทั้ง ๓ คนท่ีเหลืออยู แมศาลฎีกาจะตัดสินยกฟองแตสิ่งท่ีพวกเขาไดพบกลับหนามือเปนหลังมือคือครอบครัวท่ีแตกสลาย สวนนายพิทักษและนายธวัชออกจากคุกมาไดไมเทาไรก็เสียชีวิตเน่ืองจากติดโรคมาจากในเรือนจํา นอกจากน้ีความลาชาในการพิจารณาคดีก็เปนสาเหตุหน่ึงท่ีทําใหคนบางสวนตองติดคุกฟรี โดยที่ศาลยังไมไดตัดสินวามีความผิด แมตามกฎหมายหากมีความผิดพลาดหรือการใชอํานาจโดยมิชอบจากการกระทําของเจาหนาท่ีของรัฐจะมีการเยียวยาชดเชยแกผูบริสุทธ์ิซ่ึงถูกดําเนินคดีอาญาโดยมิชอบ โดยตามสถิติของกรมคุมครองสิทธิ กระทรวงยุติธรรมตองเสียเงินชดเชยเยียวยาประจําป ๒๕๕๐ เปนเ งิน ๓๒๕ ,๔๓๐ ,๐๗๘ .๒๙ บาท และประจําป ๒๕๕๑ เปนเ งิน ๒๒๙,๕๐๓,๙๐๑.๔๑ บาทเปนตน อยางไรก็ตามในความเปนจริงแลวการเยียวยาชดเชยดังกลาวจากรัฐ เทียบไมไดเลยกับวิบากกรรมและความสูญเสียท่ีไดรับจากความบกพรองของระบบการดําเนินคดีอาญา จากสภาพปญหาท่ีเกิดขึ้นกับกระบวนการยุติธรรมดังท่ีไดกลาวมาแลว จึงเปนความจําเปนอยางย่ิงท่ีหนวยงานทุกฝายสมควรตองรวมมือกันในการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมอยางจริงจัง รวมท้ังปลูกฝงจริยธรรม คุณธรรมใหแกบุคลากรท่ีเก่ียวของ อน่ึงจากการศึกษางานวิจัยตางๆ โดยเฉพาะงานวิจัยขางตนจะเห็นไดวากระบวนการยุติธรรมทางพุทธศาสนายังไมไดนํามาใชใหเกิดความยุติธรรมในสังคมสงฆปจจุบัน และยังตองมีการแกไขปรับปรุงโครงสรางกฎนิคหกรรมของมหาเถรสมาคมและพระราชบัญญัติคณะสงฆใหเขากับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ผูวิจัยมีความเห็นวาการปรับปรุงโครงสรางและ

Page 21: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

 

 

 

รูปแบบการปกครองคณะสงฆ รวมท้ังการแกไขกฎหมายท่ีเก่ียวกับคณะสงฆน้ันถือวาเปนเรื่องใหญละเอียดออน และจําตองระมัดระวังเปนอยางย่ิง สมควรมีการวิจัยใหชัดเจนไมคลุมเครือ เพ่ือจะไดนําผลการวิจัยมาประกอบการพิจารณาปรับปรุงหลักการลงโทษพระสงฆผูกระทําความผิดท่ีเหมาะสมและยุติธรรม งานวิจัยเก่ียวกับกระบวนการยุติธรรมท่ีผานมามีเน้ือหาสาระท่ีเปนประโยชนอันควรคาแกการศึกษาวิจัยมีเปนจํานวนมาก แตงานวิจัยเหลาน้ันยังขาดการศึกษาเปรียบเทียบอธิกรณสมถะกับประมวลกฎหมายอาญาและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เปนตน รวมทั้งยังไมมีงานวิจัยท่ีไดศึกษาสังเคราะหรูปแบบกระบวนการลงโทษผูกระทําความผิดพระวินัยทางพุทธศาสนาท่ีเหมาะสมและยุติธรรมกับสังคมในปจจุบัน ซึ่งเปนสาระสําคัญท่ีควรศึกษาอยางย่ิง

ดวยเหตุน้ีผูวิจัยจึงตองการศึกษาเปรียบเทียบหลักการลงโทษผูกระทําผิดในพุทธศาสนาเถรวาทโดยมุงเนนวิจัยประเด็นกระบวนการระงับอธิกรณและกฎนิคหกรรมของมหาเถรสมาคม เปรียบเทียบกับประมวลกฎหมายอาญาและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา รวมท้ังสังเคราะหรูปแบบกระบวนการลงโทษผูกระทําผิดท่ีเหมาะสมและยุติธรรมกับสังคมสมัยปจจุบัน เพ่ือเปนการพัฒนาคณะสงฆและกระบวนการยุติธรรมของไทย ผูวิจัยหวังวาการศึกษาวิจัยน้ีจะเปนประโยชนตอการพัฒนาสังคมสงฆและสังคมไทยโดยรวมตอไป

๑.๒ วัตถุประสงคของการวิจัย ๑.๒.๑. เพ่ือศึกษาหลักการลงโทษผูกระทําผิดในพระพุทธศาสนาเถรวาทตามหลักอธิกรณ วิธีระงับอธิกรณ และกฎนิคหกรรมของมหาเถรสมาคม ฉบับท่ี ๑๑ พ.ศ. ๒๕๒๑ วาดวยการลงนิคหกรรมตามพระราชบัญญัติคณะสงฆพ.ศ. ๒๕๐๕ แกไขเพ่ิมเติม (ฉบับท่ี ๒) พ.ศ.๒๕๓๕ ๑.๒.๒. เพ่ือศึกษาหลักการลงโทษผูกระทําผิดตามประมวลกฎหมายอาญา และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแหงราชอาณาจักรไทย ๑.๒.๓. เพ่ือศึกษาเปรียบเทียบหลักการลงโทษผูกระทําผิดวินัยในพุทธศาสนาเถรวาทกับหลักการลงโทษผูกระทําผิดตามประมวลกฎหมายอาญา และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแหงราชอาณาจักรไทย ๑.๒.๔. เพ่ือสังเคราะหรูปแบบหลักการและกระบวนการลงโทษผูกระทําผิดท่ีเหมาะสมและยุติธรรมกับสังคมสมัยปจจุบัน

Page 22: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

 

 

 

๑.๓ ขอบเขตของการวิจัย ๑.๓.๑ ขอบเขตดานเน้ือหา การศึกษาวิจัยครั้งน้ีเปนงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยผูวิจัยจะทําการวิจัยในประเด็นตอไปน้ี คือหลักการลงโทษผูกระทําผิดในพระพุทธศาสนาเถรวาทตามหลัก อธิกรณ วิธีระงับอธิกรณ กฎนิคหกรรมของมหาเถรสมาคม ฉบับท่ี ๑๑ พ.ศ. ๒๕๒๑ วาดวยการลงนิคหกรรมตามพระราชบัญญัติคณะสงฆพ.ศ. ๒๕๐๕ แกไขเพ่ิมเติม (ฉบับท่ี ๒) พ.ศ.๒๕๓๕ ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของราชอาณาจักรไทย โดยเปรียบเทียบขอเหมือน-ขอแตกตางของหลักการลงโทษผูกระทําผิดท้ัง ๒ ระบบ รวมท้ังสังเคราะหรูปแบบการลงโทษท่ีเหมาะสมกับปญหาของสงฆและสังคมไทยในอนาคตตอไป ๑.๓.๒. ขอบเขตดานเอกสาร

ผูวิจัยไดแยกประเภทในการศึกษาวิจัยดังน้ี ก) เอกสารชั้นปฐมภูมิ (Primary Source) ไดแก คัมภีรพระไตรปฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กฎนิคหกรรมของมหาเถรสมาคม ฉบับท่ี ๑๑ พ.ศ. ๒๕๒๑ วาดวยการลงนิคหกรรมตามพระราชบัญญัติคณะสงฆพ.ศ. ๒๕๐๕ แกไขเพ่ิมเติม (ฉบับท่ี ๒) พ.ศ.๒๕๓๕ ประมวลกฎหมายอาญาและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ราชกิจจานุเบกษา ข) เอกสารชั้นทุติยภูมิ (Secondary Source) ไดแก อรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา คัมภีรนอกพระไตรปฎก งานวิจัย วิทยานิพนธท่ีเก่ียวของ ตําราคําบรรยาย คําพิพากษาศาลฎีกา และคําอธิบายของนักการศาสนา นักกฎหมาย ผูรู อาจารยตางๆ นิตยสารและหนังสือพิมพท่ีมีเน้ือหาเก่ียวของกับหัวขอท่ีทําการวิจัย  ๑.๔. ปญหาท่ีตองการทราบ 

ในการวิจัยน้ีผูศึกษาวิจัยตองการทราบปญหาดังตอไป ๑.๔.๑ พระพุทธศาสนาเถรวาท กับประมวลกฎหมายอาญาและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแหงราชอาณาจักรไทย มีหลักการลงโทษผูกระทําผิดอยางไร ๑.๔.๒ หลักการลงโทษผูกระทําผิดวินัยในพุทธศาสนาเถรวาท กับหลักการลงโทษผูกระทําผิดตามประมวลกฎหมายอาญาและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแหงราชอาณาจักรไทย มีความเหมือนและความตางกันอยางไร

Page 23: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

 

 

 

๑.๔.๓ หลักการและกระบวนการลงโทษผูกระทําผิดท่ีเหมาะสมและยุติธรรมกับสังคมสงฆและสังคมไทยสมัยปจจุบัน มีรูปแบบอยางไร

๑.๕ นิยามศัพทเฉพาะท่ีใชในการวิจัย หลักการลงโทษ หมายถึงหลักนิติธรรมในการพิจารณาและกําหนดโทษโดยคํานึงถึงระดับโทษตามท่ีพระวินัยหรือกฎหมายกําหนดไว เชนความผิดรายแรงกําหนดโทษสถานหนัก ความผิดไมรายแรงกําหนดโทษสถานเบาเปนตน ผูกระทําผิดในพุทธศาสนาเถรวาท หมายถึง ผูกระทําผิดตามพระธรรมวินัยตามหลักอธิกรณ วิธีระงับอธิกรณ และกฎนิคหกรรมของมหาเถรสมาคม ฉบับท่ี ๑๑ พ.ศ. ๒๕๒๑ วาดวยการลงนิคหกรรมตามพระราชบัญญัติคณะสงฆพ.ศ. ๒๕๐๕ แกไขเพ่ิมเติม (ฉบับท่ี ๒) พ.ศ.๒๕๓๕ กฎหมายสงฆ หมายถึง กฎนิคหกรรมของมหาเถรสมาคม ฉบับท่ี ๑๑ พ.ศ. ๒๕๒๑ วาดวยการลงนิคหกรรมตามพระราชบัญญัติคณะสงฆพ.ศ. ๒๕๐๕ แกไขเพ่ิมเติม (ฉบับท่ี ๒) พ.ศ.๒๕๓๕ ประมวลกฎหมายอาญา หมายถึง กฎหมายที่มีโทษทางอาญาตั้งแตโทษประหารชีวิต จําคุก กักขัง ปรับ และริบทรัพยสิน

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หมายถึง กฎหมายท่ีเก่ียวกับการฟองคดี

การไตสวนมูลฟอง การพิจารณา รวมทั้งคําพิพากษาและคําส่ังในการลงโทษผูกระทําความผิดตาม

ประมวลกฏหมายอาญา

๑.๖ ทบทวนเอกสารและงานวิจัยท่ีเก่ียวของ ๑. เอกสาร

พระธรรมปฎก (ป.อ.ปยุตฺโต)๔ ไดกลาวไวในผลงานเร่ือง นิติศาสตรเชิงพุทธ เก่ียวกับระบบของการอยูรวมกันในสังคมสงฆวา เกิดจากการที่พระพุทธองคทรงคนพบพระธรรมแลวใชพระธรรมเปนจุดเริ่มตนในการสรางสังคมหรือชุมชนทางพระพุทธศาสนาข้ึนซ่ึงระบบของสงฆได

                                                            

         ๔ พระธรรมปฎก (ป.อ. ปยุตโต), นิติศาสตรแนวพุทธ, (กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิพุทธธรรม, 

๒๕๔๓).

Page 24: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

 

 

 

อาศัยพระวินัยเปนเสมือนหน่ึงเสนดายในการรอยรัดขัดเกลาพฤติกรรมของสังคมสงฆใหเกิดการเรียนรูพระธรรมและพระวินัยก็เปนเสมือนหน่ึงระบบการศึกษาท่ีจะทําใหสมาชิกในสังคมสามารถท่ีจะปรับพฤติกรรมเพ่ือท่ีจะสามารถเรียนรูและกาวไปสูเปาหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนาได

พระธรรมปฎก (ป.อ. ปยุตฺโต)๕ ไดกลาวไวในหนังสือเรื่องวินัยใหญกวาท่ีคิด ประเด็นท่ีเก่ียวของกับทรรศนะของเร่ืองพระวินัยวาเปนสวนประกอบของพระพุทธศาสนาท่ีสําคัญ ซ่ึงวินัยน้ันมิใชเปนเพียงแคกฎท่ีมีสภาพบังคับ แตเปนกฎหรือแนวทางท่ีเอื้อตอการศึกษาและปฏิบัติของสมาชิกในสังคมสงฆซ่ึงสมาชิกในสังคมสงฆจะตองใหการเคารพและศึกษาเพ่ือใหทราบถึงคุณประโยชนของวินัย

พระเมธีธรรมาภรณ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต)๖ ไดกลาวไวในหนังสือการปกครองคณะสงฆไทยวา โครงสรางการปกครองคณะสงฆน้ีมีลักษณะสอดคลองคูขนานกับโครงสรางการปกครองประเทศ ดังน้ันกอนการปรับปรุงเปล่ียนแปลงพระราชบัญญัติสงฆแตละครั้ง รัฐสมควรทําการวิจัยถึงผลไดผลเสียท่ีจะตามมาพรอมกับการจัดประชุมสัมมนาพระสงฆและคฤหัสถผูเก่ียวของกอน

นายสนิท ศรีสําแดง๗ ไดกลาวไวในหนังสือ กฎหมายท่ีพระสงฆควรทราบ นิติกรสงฆเลม ๑ วา การจับพระสึกกอนคําพิพากษาอันถึงท่ีสุดไมนากระทําได เน่ืองจากพระภิกษุเปนผูมีสถานะเปนบุคคลตองอยูในกรอบแหงกฏหมายบานเมืองท่ีเรียกวาอาณาจักร และอยูในกรอบแหงพระธรรมวินัยเรียกวาพุทธจักร ความผิดท่ีเกิดจากการละเมิดกฏหมายบานเมืองเรียกวาโลกวัชชะ ความผิดบางอยางเปนความผิดทางโลกคือกฎหมายบานเมือง บางอยางเปนความผิดทางธรรมวินัย บางอยางเปนความผิดท้ังสองทาง

นายแสวง อุดมศรี๘ ไดกลาวไวในหนังสือ การปกครองคณะสงฆไทยวา อาณาจักรกับศาสนจักรเปนสถาบันหลักท่ีดํารงอยูรวมกันในสังคมมนุษยมาต้ังแตสมัยบรรพกาล บางคร้ังสถาบันท้ังสองตางดํารงอยูในลักษณะสนับสนุนสงเสริมกันและกัน บางคร้ังก็ขัดแยงกัน บางคร้ังก็

                                                            

         ๕ พระธรรมปฎก (ป.อ. ปยุตโต), วินัยใหญกวาท่ีคิด, (กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิพุทธธรรม, 

๒๕๔๓).

         ๖ พระเมธีธรรมาภรณ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต), ระเบียบการปกครองคณะสงฆไทย, (กรุงเทพมหานคร

: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๖).

        ๗ สนิท ศรีสําแดง, นิติกรสงฆ เลม ๑, (กรุงเทพมหานคร: บริษัทคอมแพคทพริ้นท จํากัด, ๒๕๔๓).

         ๘ แสวง อุดมศรี, การปกครองคณะสงฆไทย, (กรุงเทพมหานคร:มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๓). 

Page 25: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

 

 

๑๐

 

พยายามแสดงบทบาทสะทอนออกมาในลักษณะคลายกับตองการท่ีจะครอบงําสถาบันของกันและกัน เพ่ือใหสถาบันของตนมีความย่ิงใหญและเกรียงไกรในสังคมแตเพียงสถาบันเดียว นายนคร พจนวรพงษ๙ ไดกลาวไวในหนังสือคําอธิบายกฎหมายอาญาวา เปนกฎหมายท่ีวาดวยความผิดและโทษท่ีกําหนดไวสําหรับความผิด โดยทุกสังคมยอมมีกฎเกณฑ ขอบังคับความประพฤติของสมาชิกในสังคมน้ันๆ บุคคลใดมีการกระทําท่ีมีผลกระทบกระเทือนตอสังคมหรือคนสวนใหญ จัดเปนการกระทําความผิดทางอาญา ดังน้ันกฎหมายอาญาจึงเปนกฎหมายซ่ึงมีวัตถุประสงคเพ่ือใหเกิดความสงบเรียบรอยในสังคมโดยการกําหนดวา การกระทําใดเปนความผิดอาญาและไดกําหนดโทษของผูฝาฝนการกระทําความผิดน้ันๆ

นายสัก กอแสงเรือง๑๐ ไดกลาวไวในหนังสือคําอธิบายกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

วา เปนกฎหมายท่ีวาดวยวิธีการฟองคดี การไตสวนมูลฟอง การพิจารณา การนําสืบพยานหลักฐาน

การออกหมายเรียกพยาน การออกหมายจับ การจับกุม การระงับการลงโทษ รวมท้ังการทําคํา

พิพากษาและคําส่ังในการลงโทษผูกระทําความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา

๒. งานวิจัย นายอธิราช มณีภาค๑๑ ไดศึกษาวิจัยเรื่องการศึกษาเปรียบเทียบกระบวนการยุติธรรมในพระวินัยปฎกกับกระบวนการยุติธรรมของกฏหมายไทย ใหความเห็นวาพระราชบัญญัติคณะสงฆ พ.ศ. ๒๕๐๕ แกไขเพ่ิมเติม (ฉบับท่ี ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ มีบางมาตราทําใหกระบวนพิจารณาในการปกครองสงฆเปนไปอยางลาชามาก เชนการดําเนินกระบวนการยุติธรรมในคดีพระพิมลธรรม ความลาชาดังกลาวนับวาไมเปนผลดีแกวงการของคณะสงฆและยังกระทบกระเทือนถึงฝายอาณาจักรดวย

                                                            

                       ๙ นคร พจนวรพงษ, คําอธิบายกฎหมายอาญา, (กรุงเทพมหานคร : เจริญกิจ, ๒๕๕๐), หนา ๒๐.

                       ๑๐ สัก กอแสงเรือง, คําอธิบายกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา, (กรุงเทพมหานคร : นิติ

บรรณาการ, ๒๕๕๐).

         ๑๑ อธิราช มณีภาค, “การศึกษาเปรียบเทียบกระบวนการยุติธรรมในพระวินัยปฎกกับกระบวนการ

ยุติธรรมของกฏหมายไทย”, วิทยานิพนธพุทธศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๖).

Page 26: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

 

 

๑๑

 

นางสาวใจทิพย ภัทรวิเชียร๑๒ ไดกลาวสรุปไวในผลงานวิจัยเร่ือง การศึกษากฎหมายท่ีมีผลกระทบตอพระสงฆไทย โดยศึกษากฎหมายพระราชบัญญัติคณะสงฆ พ.ศ. ๒๕๐๕ แกไขเพ่ิมเติม (ฉบับท่ี ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ และพระราชบัญญัติควบคุมการเร่ียไร พ.ศ. ๒๔๘๗ และคําส่ังมหาเถรสมาคมเร่ืองการควบคุมการเร่ียไร พ.ศ. ๒๕๓๙ วา ควรปรับเน้ือหาของกฎหมายเสียใหม กฎหมายควรใหโอกาสแกผูตองหาในการตอสูเพ่ือพิสูจนความบริสุทธิของตนเอง และการบัญญัติกฏหมายควรเปดกวางเพ่ือใหสามารถกอใหเกิดความยุติธรรมอยางแทจริงแกทุกฝายท่ีเก่ียวของ นายอธิเทพ ผาทา๑๓ ไดกลาวสรุปไวในผลงานวิ จัยเ ร่ืองการศึกษารูปแบบและกระบวนการแกปญหาในพระพุทธศาสนาเถรวาท : กรณีศึกษาเฉพาะกรณีอธิกรณสมถะ ๗ และกฎนิคหกรรมของมหาเถรสมาคมในพระราชบัญญัติคณะสงฆ พ.ศ. ๒๕๐๕ แกไขเพ่ิมเติม (ฉบับท่ี ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ โดยการศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบและกระบวนการแกไขปญหา โดยอธิกรณสมถวิธีในสมัยพุทธกาลกับกฎนิคหกรรมของมหาเถรสมาคม ภายใตกรอบของพระราชบัญญัติคณะสงฆ พ.ศ. ๒๕๐๕ แกไขเพ่ิมเติม (ฉบับท่ี ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ในเชิงการเปรียบเทียบเพ่ือท่ีจะหาขอสรุปเก่ียวกับรูปแบบและกระบวนการแกไขปญหาอธิกรณท้ังในสมัยพุทธกาลและในสมัยปจจุบันวา มีความเหมือนหรือแตกตางกันอยางไร ซ่ึงในสมัยปจจุบันพบวาการบริหารคณะสงฆภายใตพระราชบัญญัติคณะสงฆน้ัน ไมไดยึดเอาพระธรรมวินัยเปนธรรมนูญสูงสุดในการปกครองคณะสงฆ ซ่ึงผลของการดําเนินนโยบายดังกลาวก็ทําใหเกิดปญหาขอโตแยงและการวิพากษจากสังคมมาโดยตลอด นายวิรัช กล่ินสุบรรณ๑๔ ไดกลาวสรุปไวในผลงานวิจัยเรื่อง กระบวนการพิจารณานิคหกรรม : ปญหาและแนวทางแกไข วา กระบวนการพิจารณานิคหกรรม ตามกฎมหาเถรสมาคม ฉบับท่ี ๑๑ พ.ศ. ๒๕๒๑ น้ันเปนวิธีการท่ีใชการพิจารณาตามแนวกฎหมายทางฝายอาณาจักร

                                                            

         ๑๒ ใจทิพย ภัทรวิเชียร, “การศึกษากฎหมายที่มีผลกระทบตอพระสงฆไทย”, วิทยานิพนธพุทธ

ศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๑).

         ๑๓ อธิเทพ ผาทา, “การศึกษารูปแบบและกระบวนการแกปญหาในพระพุทธศาสนาเถรวาท :

กรณีศึกษาเฉพาะกรณีอธิกรณสมถะ ๗ และกฎนิคหกรรมของมหาเถรสมาคมในพระราชบัญญัติคณะสงฆ พ.ศ. ๒๕๐๕ แกไขเพิ่มเติม (ฉบับท่ี ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕”, วิทยานิพนธพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๐). 

         ๑๔ นายวิรัช กลิ่นสุบรรณ, “กระบวนการพิจารณานิคหกรรม : ปญหาและแนวทางแกไข”,

วิทยานิพนธพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๓).

Page 27: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

 

 

๑๒

 

โดยเฉพาะความผิดท่ีมีโทษหนักขั้นครุกาบัติ โดยมีขั้นตอนต้ังแตการฟอง การไตสวนการพิจารณาความผิด แตการพิจารณานิคหกรรมตามกฎมหาเถรสมาคม ฉบับท่ี ๑๑ มักจะมีปญหาหลายประการ และมีปญหาเก่ียวกับโครงสรางทางดานทางปกครองและกฎหมาย ทําใหเกิดความลาชา โดยเฉพาะพระราชบัญญัติคณะสงฆท่ีใชอยูในปจจุบัน และกฎมหาเถรสมาคมมีบางขอท่ีสมควรปรับปรุงแกไขใหสอดคลองกับหลักกฎหมายทั่วไป สําหรับแนวทางที่เห็นวาควรแกไขเพ่ือใหกระบวนการพิจารณานิคหกรรมดําเนินไปอยางมีประสิทธิภาพคือ ควรแกไขกฎหมายพระราชบัญญัติสงฆ และกฎมหาเถรสมาคมที่ใชในปจจุบันใหมีความเหมาะสม

พิจารณาโดยสรุปวา กระบวนการพิจารณานิคหกรรม ตามกฎมหาเถรสมาคมน้ันเปนวิธีการพิจารณาตัดสินลงโทษภิกษุผูกระทําความผิดตามแนวประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความอาญา โดยเฉพาะความผิดท่ีมีโทษหนักข้ันครุกาบัติ โดยมีขั้นตอนตั้งแตการฟอง การไตสวนการพิจารณาความผิด แตการพิจารณานิคหกรรมตามกฎมหาเถรสมาคมมีปญหาหลายประการ และมีปญหาเก่ียวกับโครงสรางทางดานทางปกครองและกฎหมาย ทําใหเกิดความลาชา โดยเฉพาะพระราชบัญญัติคณะสงฆท่ีใชอยูในปจจุบัน และกฎมหาเถรสมาคมมีบางขอท่ีสมควรปรับปรุงแกไขใหสอดคลองกับหลักประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความอาญา สําหรับแนวทางท่ีเห็นวาควรแกไขเพ่ือใหกระบวนการพิจารณานิคหกรรมดําเนินไปอยางมีประสิทธิภาพ คือ ควรแกไขกฎหมายพระราชบัญญัติสงฆ และกฎมหาเถรสมาคมท่ีใชในปจจุบันใหมีความเหมาะสม อยางไรก็ตามโครงสรางการปกครองคณะสงฆน้ีมีลักษณะสอดคลองคูขนานกับโครงสรางการปกครองประเทศ ดังน้ันกอนการปรับปรุงเปล่ียนแปลงพระราชบัญญัติสงฆแตละครั้ง สมควรทําการวิจัยถึงผลไดผลเสียท่ีจะตามมาพรอมกับการจัดประชุมสัมมนาพระสงฆและคฤหัสถผูเก่ียวของกอน อีกท้ังหนังสือและงานวิจัยตางๆ ก็ไมไดมีการศึกษากระบวนการระงับอธิกรณเปรียบเทียบกับประมวลกฎหมายอาญาและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา รวมท้ังยังไมเคยมีงานวิจัยการสังเคราะหรูปแบบกระบวนการลงโทษผูกระทําผิดท่ีเหมาะสมและยุติธรรมกับสังคมสมัยปจจุบันแตอยางใด

๑.๗ วิธีการดําเนินการวิจัย การศึกษาวิจัยครั้งน้ี ผูวิจัยจะศึกษาเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาคนควาทางเอกสาร (Documentary Research) มีวิธีการดําเนินการวิจัย ดังน้ี

Page 28: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

 

 

๑๓

 

๑.๗.๑. ศึกษาขอมูลจากเอกสารข้ันปฐมภูมิ โดยวิธีเก็บขอมูลจากพระไตรปฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย การระงับอธิกรณจากพระวินัยปฎก กฎนิคหกรรมของมหาเถรสมาคม ฉบับท่ี ๑๑ พ.ศ. ๒๕๒๑ วาดวยการลงนิคหกรรมตามพระราชบัญญัติคณะสงฆพ.ศ. ๒๕๐๕ แกไขเพ่ิมเติม (ฉบับท่ี ๒) พ.ศ.๒๕๓๕ ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และราชกิจจานุเบกษา ๑.๗.๒. รวบรวมขอมูลขั้นทุติยภูมิ คือ คัมภีรนอกพระไตรปฎก อรรถกถา งานวิจัย วิทยานิพนธท่ีเก่ียวของ งานนิพนธท่ัว ๆ ไป เอกสารงานวิจัย บทความทางวิชาการ ตําราคําบรรยาย จากคําพิพากษาศาลฎีกา คําอธิบายของนักการศาสนา นักกฎหมาย ผูรู อาจารยตางๆ นิตยสาร หนังสือพิมพ รวมท้ังอินเตอรเนตท่ีมีเน้ือหาเก่ียวของกับหัวขอท่ีทําการวิจัย ๑.๗.๓. นําขอมูลมาศึกษาวิเคราะหและเปรียบเทียบตามวัตถุประสงคท่ีตั้งไว ๑.๗.๔. สรุปขอมูลเพ่ือนําเสนอผลงานการวิจัยตอไป ๑.๘ ประโยชนท่ีไดรับ ๑.๘.๑. ไดทราบความหมายและหลักการลงโทษผูกระทําผิดวินัย การระงับอธิกรณในพระวินัยปฎก กฎนิคหกรรมของมหาเถรสมาคม ฉบับท่ี ๑๑ พ.ศ. ๒๕๒๑ วาดวยการลงนิคหกรรมตามพระราชบัญญัติคณะสงฆพ.ศ. ๒๕๐๕ แกไขเพ่ิมเติม (ฉบับท่ี ๒) พ.ศ.๒๕๓๕ ๑.๘.๒. ไดทราบกฎหมายและหลักการลงโทษผูกระทําผิดตามประมวลกฎหมายอาญา และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของราชอาณาจักรไทย ๑.๘.๓. ไดทราบความเหมือนและความแตกตางกันของหลักการลงโทษผูกระทําผิดวินัยของพุทธศาสนาเถรวาท กับประมวลกฎหมายอาญาและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของราชอาณาจักรไทย ๑.๘.๔. ไดรูปแบบหลักการและกระบวนการลงโทษผูกระทําผิดท่ีเหมาะสมและยุติธรรมกับสังคมสงฆและสังคมไทยสมัยปจจุบัน 

Page 29: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

บทท่ี ๒ หลักการลงโทษผูกระทําผิดในพุทธศาสนาเถรวาท

อธิกรณและวิธีระงับอธิกรณเปนวิธีปฏิบัติเก่ียวกับการจัดการความขัดแยงในแงของ

พระวินัยและเปนการระงับความขัดแยงท่ีเกิดข้ึนในสังคมสงฆ โดยพระพุทธเจาไดออกแบบขึ้นมาเปนขอปฏิบัติตามพระธรรมวินัย เพ่ือควบคุมความประพฤติใหอยูในระเบียบแบบแผนและมีความเรียบรอยดีงาม แตในปจจุบันน้ีการปกครองคณะสงฆนอกจากจะยึดพระธรรมวินัยเปนหลักแลวยังเก่ียวเน่ืองกับระบบการปกครองฝายโลกซึ่งเปนฝายอาณาจักร จึงไดมีการตรากฎหมายไวสําหรับปกครองจากรูปแบบการปกครองตามพระธรรมวินัยมาเปนกฎหมายเรียกชื่อวากฎนิคหกรรมของมหาเถรสมาคม ฉบับท่ี ๑๑ พ.ศ. ๒๕๒๑ วาดวยการลงนิคหกรรมตามพระราชบัญญัติคณะสงฆพ.ศ. ๒๕๐๕ แกไขเพ่ิมเติม (ฉบับท่ี ๒) พ.ศ.๒๕๓๕ ในการศึกษาคร้ังน้ีผูวิจัยตองการศึกษาอธิกรณและวิธีระงับอธิกรณรวมท้ังกระบวนการพิจารณานิคหกรรมของมหาเถรสมาคม ฉบับท่ี ๑๑ ซ่ึงมีลักษณะคลายคลึงกับการพิจารณาคดีทางกฎหมาย ผูวิจัยจึงขอนําเอาแนวปฏิบัติของอธิกรณและวิธีระงับอธิกรณ ประกอบกับแนวปฎิบัติของการลงนิคหกรรมของมหาเถรสมาคม ฉบับท่ี ๑๑ ในมิติเทียบเคียงกับหลักกฏหมาย ท้ังน้ีเพ่ือใหเกิดความเขาใจงายย่ิงขึ้นในกระบวนการพิจารณาคดีทางกฎหมายทั้งฝายศาสนจักรและอาณาจักรดังจะบรรยายรายละเอียดตอไป

๒.๑ อธิกรณและวิธีระงับอธิกรณในสมัยพุทธกาล ในสมัยพุทธกาล การปฏิบัติการเก่ียวกับการจัดการความขัดแยงในแงของพระวินัยคือ วิธีระงับอธิกรณหรืออธิกรณสมถะ พระพุทธเจาไดทรงบัญญัติไวเพ่ือเปนขอปฏิบัติเพ่ือระงับ (สมถะ) ความขัดแยงท่ีเกิดขึ้นในสังคมสงฆซ่ึงไดแกพระภิกษุและภิกษุณีเทาน้ัน มิไดเก่ียวของกับคฤหัสถ โดยใหเหตุผลวาความขัดแยงของคฤหัสถเชนการเถียงกันระหวางชนท้ังหลายมีมารดากับบุตรเปนเพียงการวิวาทเพราะกลาวแยงกันแตไมจัดเปนอธิกรณ เพราะไมมีความเปนเหตุท่ีตองระงับดวยสมถะท้ังหลาย อยางไรก็ตามแมจะอางวาพระพุทธเจาทรงออกแบบอธิกรณสมถะเพ่ือจัดการความขัดแยงในสังคมพระภิกษุเทาน้ัน แตพระองคไมไดตรัสหามวาหลักการบางอยางน้ันไมสามารถประยุกตรูปแบบไปใชไดกับสังคมคฤหัสถได การปฏิบัติการความขัดแยงตามแนวน้ีนาจะเปนหลักการท่ีมีการผสมผสานระหวางวิถีโลกกับวิถีธรรมเขาดวยกัน คลายคลึงกับหลักอปริหานิยธรรมที่ไดมีการนําแนวทางท่ีเจาลิจฉวีเคยปฏิบัติมาเปนฐานเพ่ือประยุกตใหพระภิกษุไดนําไปปฏิบัติ

Page 30: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

 

 

 

 

๑๕

ในลําดับตอมา ในเบ้ืองตนน้ีจะไดกลาวถึงอธิกรณและวิธีระงับอธิกรณ เพ่ือใหเห็นภาพหลักการท่ีพระพุทธองคทรงบัญญัติไวตอไปน้ีคือ ๒.๑.๑ อธิกรณ อธิกรณเปนเรื่องท่ีเกิดขึ้นแลวสงฆจะตองจัดตองทํา เปนเรื่องท่ีสงฆจะตองดําเนินการ ซ่ึงมีท้ังท่ีเปนปญหาดานการทะเลาะวิวาท การโจทกปรับอาบัติกัน การพิจารณาโทษ หรือการ ประกอบพิธีกรรมบางอยางเชน การทอดกฐิน, การอุปสมบทเปนตน คําวาอธิกรณ จึงไมไดหมายความถึงเฉพาะเร่ืองราวเหตุการณท่ีเปนปญหาเทาน้ัน แตยังมีความหมายรวมถึงกิจของสงฆท่ีเปนหนาท่ีและระเบียบปฎิบัติเชนการอุปสมบทหรือการทอดกฐินขางตน อธิกรณแบงออกเปน ๔ ประเภทมีรายละเอียดตอไปน้ี

๑. วิวาทาธิกรณ วิวาทาธิกรณหมายถึง การทะเลาะ การโตแยงกัน ท่ีสงฆจะตองดําเนินการพิจารณา

ระงับวิวาทาธิกรณ มาจากคําวา “วิวาท” คือ การทะเลาะ การโตแยง การวาไปคนละทาง การไมลงรอยกัน”๑ สนธิกับคําวา “อธิกรณ” คือ เรื่องท่ีเกิดข้ึนแลวจะตองจัดตองทํา เรื่องท่ีสงฆตองดําเนินการ๒ สามารถจําแนกไดเปน ๙ คู คือ๓

๑. วิวาทกันวาขอน้ีเปนธรรม ขอน้ีไมเปนธรรม ๒. ขอน้ีเปนวินัย ขอน้ีไมเปนวินัย ๓. ขอน้ีพระพุทธเจาไดตรัสไว ขอน้ีพระพุทธเจาไมไดตรัสไว ๔. ขอน้ีพระพุทธเจาทรงประพฤติมา ขอน้ีพระพุทธเจาไมไดทรงประพฤติมา ๕. ขอน้ีพระพุทธเจาทรงบัญญัติไว ขอน้ีพระพุทธเจาไมไดทรงบัญญัติไว ๖. ขอน้ีเปนอาบัติ ขอน้ีไมเปนอาบัติ ๗. ขอน้ีเปนอาบัติเบา ขอน้ีเปนอาบัติหนัก ๘. ขอน้ีเปนอาบัติมีสวนเหลือ ขอน้ีเปนอาบัติไมมีสวนเหลือ ๙. ขอน้ีเปนอาบัติหยาบคาย ขอน้ีไมเปนอาบัติหยาบคาย

                                                            

๑ พระเทพเวที (ประยุทธ ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสน ฉบับประมวลศัพท, (กรุงเทพมหานคร : บริษัท สหธรรมมิก จํากัด, ๒๕๓๙.), หนา ๔๕.

๒ เรื่องเดียวกัน, หนา ๖๒. ๓ วิ. จู. (บาลี) ๖/๖๓๓/๒๙๙

Page 31: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

 

 

 

 

๑๖

สาเหตุการเกิดวิวาทาธิกรณ คือ มูลเหตุแหงการเถียงกันปรารภกันมี ๒ ประการ คือ ๑. วิวาทาธิกรณดวยความปรารถนาดี คือ เห็นแกพระธรรมวินัย และมีจิต ประกอบดวยอโลภะ(ไมมีความโลภ) อโทสะ(ไมมีความโกรธ) อโมหะ(ไม มีความหลง) ๒. วิวาทาธิกรณดวยปรารถนาเลว คือ กอขึ้นดวย ทิฎฐิ มานะ แมรูวาผิดก็ขืน ทํา ยังมีจิตประกอบดวย โลภะ(ความโลภ) โทสะ(ความโกรธ) โมหะ(ความ หลง)

กรณีศึกษาวิวาทาธิกรณท่ีมาตั้งแตสมัยพุทธกาล กลาวคือ ในโกสัมพีขันธกะ๔ เรื่องพระธรรมธร๕กับพระวินัยธร๖ในสมัยพุทธกาลขณะที่พระพุทธเจาเสด็จประทับอยูท่ี โฆสิตาราม นครโกสัมพี มีภิกษุเปนคณาจารยอยูท่ีน้ัน ๒ รูป ตางก็มีลูกศิษยมากดวยกันท้ังสองฝาย วันหน่ึงพระธรรมธรไดเขาไปในหองนํ้า ใชนํ้าแลวเหลือไวนิดหน่ึง เมื่อพระวินัยธรเขาไปเจอนํ้าเหลือไว จึงไดตําหนิพระธรรมธร พระธรรมธรเห็นวาเปนอาบัติทุกกฏ จึงไดยอมรับผิดตอพฤติกรรมน้ัน แตพระวินัยธรกลับนําเร่ืองเพียงเล็กนอยน้ีเปนพูดกับลูกศิษยของตนวาพระธรรมธรขนาดทําผิดแลวยังไมรูสึกตัวอีก ตอมาลูกศิษยของพระวินัยธรก็ไดพูดถากถางทํานองเดียวกันกับลูกศิษยของพระธรรมธรวาอาจารยของพวกทานทําผิดแลวยังไมรูอีก นาละอายนัก ฝายลูกศิษยก็นําเรื่องน้ีไปปรึกษากับพระธรรมธร พระธรรมธรไดฟงดังน้ัน จึงพูดวาทําไมพระวินัยธรจึงพูดอยางน้ี เราทําผิดกฎก็ยอมรับผิดและแสดงอาบัติไปแลวไฉนจึงพูดกลับกลอกเชนน้ีเลาจึงพูดกับลูกศิษยวา พระวินัยธรพูดเท็จและท้ังสองฝายก็ไดเกิดการทะเลาะวิวาทกันเพราะเหตุเพียงเล็กนอยเอง ภิกษุท้ังหลายเปนศิษยของรูปใดก็เห็นตามรูปน้ัน เร่ิมตนดวยพระ ๒ รูปวิวาทกัน ลูกศิษยก็มาเขาขางฝายอาจารยของตนจนกลายเปนเหตุทะเลาะกัน ๒ ฝาย จนชาวบานแตกแยกกันเปนฝกเปนฝาย พระวินัยธรไดโอกาสสวดประกาศลงอุกเขป นียกรรม๗แกพระธรรมธร ฝายพระธรรมธรก็ไมยอมรับเพราะทานถือวาทานไมผิด เร่ืองลุกลามไปใหญโต พระพุทธเจาทรงเตือนสติเรื่องก็ยังไมยุติ ชาวบานไมพอใจจึง

                                                            

๔ วิ. มหา .(ไทย) ๕/๒๓๘-๒๖๐/๒๔๕-๒๗๗        ๕ พระธรรมธร คือ พระที่เครงครัดทางพระธรรม มีความรูเกี่ยวกับหลักธรรม

         ๖ พระวินัยธร คือ พระท่ีเครงครัดทางพระวินัย มีความรูเกี่ยวกับพระวินัย 

          ๗ อุกเขปนียกรรม หมายถึง วิธีการลงโทษที่สงฆกระทําแกภิกษุผูตองอาบัติแลว ไมยอมรับวาเปน

อาบัติ 

Page 32: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

 

 

 

 

๑๗

พากันงดทําบุญ ภิกษุเหลาน้ันเมื่อไดรับความลําบากก็รูสึกสํานึกในวิวาทาธิกรณดังกลาวมาแลวน้ัน พอออกพรรษาแลวจึงไปเขาเฝาพระพุทธเจาและยอมรับขอวิวาทท่ีมีตอกัน เร่ืองราวจึงยุติลงดวยดี

กรณีศึกษาวิวาทาธิกรณภายหลังพุทธกาลมาประมาณ ๑๐๐ ป กลาวคือ เรื่องภิกษุวัชชีบุตรกลาววัตถุ ๑๐ ประการ๘ พวกภิกษุวัชชีบุตรคือ ชาววัชชีผูตั้งสํานักในนครไพสาลีหรือชาวปราจีนไดประพฤติปฏิบัติทางวินัยแตกตางจากของพระสงฆพวกอื่นโดยยอหยอน ซ่ึงมีเรื่องยกข้ึนมากลาวดังตอไปน้ี

๑. สิงคโลณกัปปะ พระภิกษุส่ังสมเกลือในกลักเขาเปนตน แลวนําไปผสมอาหารอ่ืน ฉันไดไมเปนอาบัติ ซ่ึงผิดพุทธบัญญัติวา ภิกษุส่ังสมของเค้ียวของฉัน เปนอาบัติปาจิตตีย ๒. ทวังคุลกัปปะ ภิกษุฉันอาหารเวลาตะวันบายลวงไปแลว ๒ องคุลีไดไมเปนอาบัติ ซ่ึงขัดกับพระบัญญัติท่ีหามภิกษุฉันอาหารในยามวิกาล ถาฉันเปนอาบัติปาจิตตีย ๓. คามันตรกัปปะ ภิกษุฉันจากวัด แลวเขาไปในบาน เขาถวายอาหารก็ฉันไดอีกในเวลาเดียวกัน แมไมไดทําวินัยกรรมมากอนซ่ึงขัดกับพระบัญญัติท่ีหามภิกษุฉันอดิเรก ถาฉันตองอาบัติปาจิตตีย ๔. อาวาสกัปปะ อาวาสใหญมีสีมาใหญ ทําอุโบสถแยกกันได ในพระวินัยหามการทําอุโบสถแยกกัน ถาแยกกันเปนอาบัติปาจิตตีย ๕. อนุมติกัปปะ ถามีภิกษุท่ีควรนําฉันทะมามีอยู แตมิไดนํามาจะทําอุโบสถกอนก็ได แตพระวินัยหามไมใหกระทําเชนน้ัน ๖. อาจิณกัปปะ ขอปฏิบัติอันใดท่ีเคยปฏิบัติกันมาตั้งแตครูบาอาจารย แมประพฤติผิดก็ควร ๗. อมัตถิกกัปปะ ภิกษุฉันอาหารแลวไมไดทําวินัยกรรมกอน ฉันนมสดท่ีไมไดแปลเปนนมสมไมควร แตวัชชีบุตรวาควร ๘. ชโลคิง ปาตุง เหลาออนท่ีไมไดเปนสุรานํ้าเมาฉันได ซ่ึงขัดพระวินัยท่ีหามด่ืมนํ้าเมา ๙. อทสกัง นิสีทนัง ภิกษุใชผานิสีทนะท่ีไมมีชายก็ควร ๑๐. ชาตรูปรชตะ ภิกษุรับเงินและทองก็ได

                                                            

๘ วิ. จู. (บาลี) ๗/๖๔๐/๒๖๔

Page 33: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

 

 

 

 

๑๘

กรณีศึกษาวิวาทาธิกรณภายหลังพุทธกาลในระหวาง พ.ศ. ๒๒๒ ถึง ๒๓๔ กลาวคือ ในสมัยรัชกาลของพระเจาอโศกมหาราช ไดมีวิวาทาธิกรณเกิดขึ้นในหมูพระสงฆอโศการาม๙ พระอารามหลวง ณ กรุงปาตลีบุตร เพราะมีความเห็นปรารภศาสนธรรมแตกตางกัน พระสงฆไมไดทําอุโบสถรวมกันนานถึง ๑๒ ป พระคันถรจนาจารยกลาววาดวยสาเหตุพวกเดียรถียปลอมเปนภิกษุเขามาปนอยูในหมูสงฆแสดงลัทธิของตนวาเปนพระในพระพุทธศาสนา เอาเพศภิกษุคลุมตัว สอนลัทธิของตน และบางพวกตั้งใจอุปสมบทดวยความศรัทธาจริงๆ แตก็ไมท้ิงลัทธิเดิมปฏิบัติปนเปไปตามธรรมดาของปุถุชนท่ีเปล่ียนศาสนาหรือลัทธิใหม แตไมไดปฎิบัติตามพระธรรมวินัย ไมปฎิบัติตนใหถูกตองหรือหวังบวชเพียงหวังลาภสัการะเทาน้ัน ครั้งน้ันพระเจาอโศกมหาราชก็ทรงไดถือมติทางพระพุทธศาสนาตามพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระใหสึกภิกษุพวกเดียรถีย โดยใชวิธีตั้งคําถามเก่ียวกับพระธรรมและพระวินัยของสงฆ หากพระสงฆองคใหนตอบไดใหคงเปนสงฆอยู แตหากองคใหนตอบไมถูกหรือผิดเพ้ียนไปก็ใหจับสึก

นอกจากกรณีศึกษาท่ียกมากลาวแลวน้ี วิวาทาธิกรณหรือการทะเลาะวิวาทกันในหมู

สงฆก็เกิดข้ึนทุกยุคทุกสมัย แตวิวาทาธิกรณก็ระงับไปไดดวยวิธีการท่ีพระพุทธเจาทรงไดบัญญัติซ่ึงกลาวถึงในลําดับตอไป

๒. อนุวาทาธิกรณ อนุวาทาธิกรณหมายถึง การโจทที่จัดเปนอธิกรณ เปนการกลาวหากัน เปนการ

ฟองรองกันในเรื่องความผิดหรือความเสียหาย อนุวาทาธิกรณมาจากคําวา “อนุวาท” คือ การโจท๑๐ การฟอง การกลาวหากันดวยอาบัติ๑๑ สามารถจําแนกเปน ๔ อยางคือ

๑. ศีลวิบัติ ความเสียหายดานศีล เกิดจากการละเมิดสิกขาบทตาง ๆ ๒. อาจารวบัิติ ความเสียหายดานกิริยามารยาท เกิดจากการมีมารยาททราม

ขาดการสํารวมระวังแก เพศ กาล สถานท่ี ชุมชน เปนตน                                                             

                      ๙ พระธรรมปฎก, (ป.อ.ปยุตฺโต), รูจักพระไตรปฎกเพื่อเปนชาวพุทธที่แท, พิมพครั้งที่ ๒,

(กรุงเทพมหานคร : เอดิสันเพรสโปรดักส, ๒๕๔๓), หนา ๕๔.   ๑๐ วัตถุแหงการโจท มี ๓ ประการ คือ เห็น ๑ ไดยิน ๑ รังเกียจ ๑.

๑๑ พระเทพเวที, (ประยุทธ ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสน ฉบับประมวลศัพท, (กรุงเทพมหานคร : บริษัท สหธรรมมิก จํากัด, ๒๕๓๙.), หนา ๖๗.

Page 34: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

 

 

 

 

๑๙

๓. ทิฏฐวิิบัติ คือ ความเห็นผิดธรรม ผิดวินัย เกิดจากการมีความคิดเห็นไม ตรงตามพระธรรมวินัย ๔. อาชีววิบัติ ความเสียหายแหงการเล้ียงชีพ เกิดจากการเลี้ยงชีวิตในทางผิด ศีลธรรมและกฎหมาย อนุวาทาธิกรณเปนการโจทหรือการฟองรองกันเก่ียวกับเร่ืองการตองอาบัติ ซ่ึงเปนเร่ืองมีมูลเรื่องท่ีมีมูลในที่น้ีไมไดหมายถึงเรื่องท่ีเปนจริง๑๒ แตยังหมายรวมเอาถึง

๑. เรื่องท่ีไดเห็นเอง ๒. เร่ืองท่ีไดยินเองหรือมีผูบอกและเชื่อวาเปนเร่ืองจริง ๓. เร่ืองท่ีเวนจาก ๒ สถานน้ัน แตสงสัยหรือรังเกียจโดยอาการ เชน ไดยินวา ของช้ินหน่ึงหายไป และไดไปพบของช้ินน้ีท่ีกุฎิของพระภิกษุชื่อ ก. เปน ตน

ในหมูภิกษุสงฆมีความเปนมีสีลสามัญญตาหรือมีความเปนผูมีศีลเสมอกัน ซ่ึงเปนหลักสําคัญอยางหน่ึงแหงความสามัคคี เม่ือมีภิกษุทุศีลขึ้นในสงฆเปนหนาท่ีของภิกษุผูมีศีลจะกําจัดออกเสีย มีพระพุทธภาษิตตรัสวา เมื่อมีซากศพในมหาสมุทร คล่ืนยอมซัดขึ้นฝง ทางที่ภิกษุรูปหน่ึงจะพึงโจทภิกษุอีกรูปหน่ึงดวยอาบัติดวยความปรารถนาดีก็มี ดวยความปรารถนาเลวก็มี อนุวาทาธิกรณท่ีเกิดขึ้นผูใดโจทเพราะเห็นแกพระธรรมวินัยผูน้ันชื่อวาทําดวยความปรารถนาดี ผูใดโจทเพราะมุงรายแกเขา ผูน้ันช่ือวาทําดวยความปรารถนาเลว ซ่ึงมีมูลเหตุแหงอนุวาทาธิกรณ ดังน้ี๑๓

๑. จิตท่ีเปนอกุศล ประกอบดวย โลภ โกรธ หลง แลวโจท ๒. จิตท่ีเปนกุศล ประกอบดวย อโลภะ อโทสะ อโมหะ แลวโจท

ในขอ ๑-๒ เกิดจากความปรารถนาไมดีคือมีจิตเปนอกุศล และความปรารถนาดีคือจิตอันเปนกุศล อนุวาทาธิกรณ นอกจากยังเกิดจากเหตุอันเปนโทษ ๖ ประการเหมือนกับวิวาทา ธิกรณแลว ภิกษุผูปรารถนาจะโจทภิกษุอ่ืนน้ัน พึงตั้งอยูในธรรม ๕ ขอ คือ

                                                            

                        ๑๒ พระเมธีธรรมาภรณ, (ประยูร ธมฺมจิตโต), การปกครองคณะสงฆไทย, พิมพครั้งที่ ๙,

(กรุงเทพมหานคร : บริษัท สหธรรมมิก จํากัด, ๒๕๓๙), หนา ๖๓. ๑๓ วิ. จุ. (บาลี) ๖/๖๔๑/๓๐๒

Page 35: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

 

 

 

 

๒๐

๑. จักพูดโดยกาละ จักไมพูดโดยอกาละ ๒. จักพูดดวยคําจริง จักไมพูดดวยคําเท็จ

๓. จักพูดดวยคําสุภาพ จักไมพูดดวยคําหยาบ ๔. จักพูดดวยคําประกอบดวยประโยชน จักไมพูดดวยคําไรประโยชน ๕. จักมีเมตตาจิตพูด จักไมเพงโทษพูด

นอกเหนือจากธรรม ๕ ขอดังกลาวขางตนแลว ยังควรท่ีจะมีความการุญ ความเอ็นดู ความท่ีตองการออกจากอาบัติ ความท่ีเนนวินัยเปนหลัก การใครครวญหลักฐาน และการที่ควรพิจารณาคุณสมบัติของตนใหดีกอนแลวคอยโจทผูอื่น

ตามที่กลาวมาขางตนสรุปไดวา อนุวาทาธิกรณก็คือ การโจท การฟองรองภิกษุท่ี

ประพฤติผิดหลักประพฤติพรหมจรรย เพราะภิกษุท่ีละเมิดสิกขาบท ภิกษุท่ีประพฤติทรามมีกิริยามารยาทไมเหมาะสม ภิกษุท่ีเล้ียงชีพในทางท่ีผิดศีลธรรมและกฎหมาย รวมทั้งภิกษุท่ีมีมิจฉาทิฎฐิมีความคิดเห็นไมตรงตามพระธรรมวินัย อันเปนสาเหตุทําใหการประพฤติปฏิบัติผิดเพ้ียนไป เหลาน้ีลวนเปนการดําเนินชีวิตท่ีผิดหลักพรหมจรรยท้ังสิ้น และมีผลกระทบตอความเช่ือถือศรัทธาของชาวบานท่ีมีตอสงฆ และพระพุทธศาสนา เม่ือเกิดอนุวาทาธิกรณขึ้นพระพุทธองคทรงกําหนดใหสงฆดําเนินการพิจารณาวินิจฉัยวาจริงหรือไมจริงเพ่ือยุติขอปญหาดังกลาว ตามแนวทางท่ีทรงวางไวโดยเร่ิมตั้งแตการพิจารณามูลเหตุ พิจารณาเจตนาของผูฟองรองวามีเจตนาดีหรือแกลงโจทใหผูอื่นเสียหาย และทรงกําหนดคุณสมบัติ คุณธรรมสําหรับภิกษุท่ีจะโจทภิกษุอ่ืนเพ่ือความเปนธรรมกับผูถูกโจทและเพ่ือประโยชนตอภิกษุสงฆและพระศาสนา

๓. อาปตตาธิกรณ

อาปตตาธิกรณหมายถึงการตองอาบัติ การถูกปรับอาบัติ เปนอธิกรณโดยฐานเปนเร่ืองท่ีจะตองระงับดวยการแกไขปลดเปล้ืองใหออกจากอาบัติน้ันเสีย โดยการปลงอาบัติหรือการปฏิบัติเพ่ือใหพนจากอาบัติ ตามวิธีท่ีพระพุทธเจาทรงบัญญัติไวในพระวินัย การปฏิบัติเพ่ือใหพนจากอาบัติสามารถเรียกอีกหน่ึงวาการแสดงคืนอาบัติ

การแสดงคืนอาบัติ คือ การปฏิบัติตามวิธีท่ีกําหนดไวในพระวินัย เพ่ือใหภิกษุท่ีตองอาบัติพนจากมลทิน กลับมาบริสุทธ์ิดังเดิม

การตองอาบัติ ตามศีล ๒๒๗ มีดังตอไปน้ีคือ ปาราชิกมี ๔ ขอ สังฆาทิเสสมี ๑๓ ขอ อนิยตมี ๒ ขอ นิสสัคคิยปาจิตตียมี ๓๐ ขอ ปาจิตตียมี ๙๒ ขอ ปาฏิเทสนียะมี ๔ ขอ เสขิยะสารูปมี

Page 36: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

 

 

 

 

๒๑

๒๖ ขอ โภชนปฏิสังยุตตมี ๓๐ ขอ ธัมมเทสนาปฏิสังยุตตมี ๑๖ ขอ ปกิณสถะมี ๓ ขอ และอธิกรณสมถะมี ๗ ขอ มีวิธีแสดงคืนอาบัติตามระดับความหนักเบาของอาบัติท่ีตอง ซ่ึงแบงเปนประเภทใหญ ๆ ได ๓ ประเภท คือ

๑. อาบัติหนักท่ีสุด หมายถึง ละเมิดแลวขาดจากความเปนภิกษุทันที ไมวาจะมีคนรูหรือไมก็ตาม เรียกวาอาบัตปิาราชิก มี ๔ ขอ คือ (๑) เสพเมถุน แมกับสัตวเดรัจฉานตัวเมีย (รวมสังวาสกับคนหรือสัตว) (๒) ถือเอาทรัพยท่ีเจาของไมไดใหมาเปนของตน จากบานก็ดี จากปาก็ดี (ขโมย) (๓) พรากมนุษยจากชีวิต (ฆาคน)หรือแสวงหาศาสตราอันจะนําไปสูความตาย แกมนุษย

(๔) กลาวอวดอุตตริมนุสสธรรมท่ีไมมีในตน (ไมรูจริง แตโออวดความสามารถ ของตัวเอง หรือพูดอวดคุณวิเศษท่ีไมมีในตน)

ท้ัง ๔ สิกขาบทน้ี ผูลวงละเมิดจะหมดสภาพจากความเปนภิกษุทันที และจะบวชอีกไมไดตลอดชีวิต อรรถกถาจารยไดเปรียบเทียบวาเปนตาลยอดดวน เปรียบเหมือนนักโทษท่ีถูกประหารชีวิตแลวในกฎหมายบานเมือง ไมสามารถฟนคืนชีพมาอีก ไมมีทางแสดงคืนไดนอกจากจะปฏิญาณตนเปนฆราวาสเสีย ในอัฎฐกถาจูฬจฉราสังฆาฏสูตร อางในตามรอยพระอรหันตของพุทธทาสภิกขุ วา “ภิกษุผูตองปาราชิกแลว ละเพศภิกษุเสีย อยูในเพศสามเณร รักษาศีลสิบใหบริบูรณ ขวยขวายในภาวนา บางพวกก็ยังเปนโสดาบัน สกทาคามี อนาคามี บางพวกเกิดใน เทวโลก”๑๔ หมายถึง ผูตองอาบัติปาราชิกเม่ือแสดงคืนแลวสามารถบรรลุโลกุตรธรรมไดอีก หากผูน้ันมีความตั้งใจรักษาศีลปฏบัิติสมาธิภาวนาโลกุตรธรรม หากบรรลุขั้นตนแลวยอมสามารถบรรลุข้ันสูงคืออรหันตได ดังน้ันการแสดงคืนอาบัติปาราชิกคือการละเพศภิกษุ ๒. อาบัติหนักรองลงมา คือ อาบัติสังฆาทิเสสทั้ง ๑๓ สิกขาบท ไดแกประเภทท่ีฝาฝนแลวไมถึงกับการขาดจากความเปนภิกษุ แตตองอยูปริวาสหรือยูมานัต คือ การลงโทษกักบริเวณตัวเอง ประจานตัวเองตามกรรมวิธีของสงฆ การอยูปริวาสถาไมปกปดก็เพียงแตขอมานัตตอสงฆตั้งแต ๔ รูปขึ้นไป แลวใหอยูมานัตครบ ๖ ราตรี เมื่ออยูครบแลวก็ไปขออัพภานตอสงฆ ๒๐ รูป เม่ือออกอัพภานแลวก็เปนอันเสร็จพิธี ถาปกปดไวนานเทาใดตองอยูปริวาสนานเทาจํานวนวันท่ีปดไวกอนแลวจึงไปขอขมานัต อยูมานัตตออีก ๖ ราตรี จึงจะไดอัพภาน ภิกษุทีอยู

                                                            

๑๔ พุทธทาสภิกขุ, ตามรอยพระอรหันต, (กรุงเทพมหานคร : บริษัท สหธรรมมิก จํากัด, ๒๕๓๙), หนา ๔.

Page 37: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

 

 

 

 

๒๒

ปริวาสจะถูกตัดสิทธิตาง ๆ มากมาย เชน ไมใหทําหนาท่ีพระเถระ หามถือสิทธิแหงภิกษุปกติ หามถือสิทธิอันพึงไดตามลําดับพรรษา ฯลฯ ซึ่งการตัดสิทธิตาง ๆ รวมท้ังส้ิน ๙๔ ขอ๑๕ การประพฤติวัตรของภิกษุผูตองอาบัติสังฆาทิเสสพึงแสดงคืนโดยการอยูมานัต และการอยูปริวาส ซ่ึงการอยูปริวาสหรืออยูกรรมมี ๓ แบบ คือ๑๖

๑. ปฏิจฉันนปริวาส : การอยูปริวาสเพ่ืออาบัติท่ีปกปดไวตามจาํนวนวันท่ีปดไว ๒. สุทธันตปริวาส : การอยูปริวาสของทานท่ีตองอาบัติซํ้าซอนจนจําวัน และจํานวนอาบัติไมได ตองอยูไปจนกวาจะรูสึกวาครบวันท่ีปดไว

๓. สโมธานปริวาส : การอยูปริวาสของทานท่ีตองอาบัติมากแตกําหนดวันท่ีปด และจํานวนอาบัติได ใหรวมอาบัติท้ังหมดเขาดวยกัน อยูไปจนครบวันท่ีปดแลวขอ มานัตจากสงฆ อยูมานัตอีก ๖ ราตรี

การอยูปริวาสเปนโทษท่ีทําใหผูตองอาบัติไดรับโทษนาน ซ่ึงมีผลท้ังทางกายและทางใจเปรียบเสมือนการจําคุก และกักขังในโทษฝายบานเมือง เพ่ือใหรูสํานึกแลวเข็ดหลาบจะไดไมหวนกลับมาทําความชั่วอีก

๓. อาบัติเบา หมวดน้ีมีมากมายเก่ียวกับมารยาททั่วไปก็มี เก่ียวกับการกินอยูก็มี ถาตองอาบัติหรือฝาฝนแลวเพียงแต “ปลงอาบัติ” หรือสารภาพผิดตอหนาพระอีกรูปหน่ึงก็พนผิด อาบัติประเภทน้ีไดแก อาบัติถุลลัจจัย อาบัติปาจิตตีย อาบัติปาฏิเทสนียะ อาบัติทุกกฎ และอาบัติทุพภาสิต การแสดงอาบัติคือการประจานความผิดของตน และรับวาจะระวังไมใหเกิดขึ้นอีกตอไป

อาปตตาธิกรณ๑๗เปนเร่ืองเก่ียวกับภิกษุละเมิดสิกขาบท หรือตองอาบัติท่ีจะตองระงับ

โดยการแสดงคืน ภิกษุท่ีตองอาบัติเม่ือรูสึกสํานึกตัววาไดกระทําผิด สงฆใหโอกาสกลับเน้ือกลับตัว โดยการแสดงคืนอาบัติท่ีตองน้ันตามระเบียบวิธีท่ีกําหนดไวในพระวินัย

                                                            

๑๕ สุชีพ ปุญญานุภาพ, พระไตรปฏกฉบับสําหรับประชาชน, (กรุงเทพมหานคร : บริษัท สหธรรมมิก จํากัด, ๒๕๔๐), หนา ๑๗.

๑๖ พระราชธรรมนิเทศ (ระเบียบ ฐิตญาโณ), พระวินัยปฏกยอเลม ๒, (กรุงเทพมหานคร : เอดิสันเพรสโปรดักส, ๒๕๔๓), หนา ๕๕.

                      ๑๗ สนิท ศรีสําแดง, นิติกรสงฆ เลม ๑, (กรุงเทพมหานคร : บริษัทคอมแพคทพริ้นน จํากัด,

๒๕๔๓), หนา ๙๖.

Page 38: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

 

 

 

 

๒๓

การตองอาบัติหรือการละเมิดสิกขาบทน้ันคือ การท่ีภิกษุเฉไฉเดินออกนอกเสนทางการประพฤติพรหมจรรย พระพุทธศาสนามิไดตัดโอกาสภิกษุเหลาน้ันเสียเลยทีเดียว พระพุทธองคทรงใหเพ่ือนภิกษุตักเตือนเมื่อเห็นการกระทํา และยังยินดีใหอภัยเม่ือยอมรับผิด รูสํานึกกลับใจ หายเยอหย่ิง แลวแสดงคืนอาบัติโดยสัญญาวาจะไมประพฤติเชนน้ันอีก เม่ือแสดงคืนอาบัติน้ันแลว ภิกษุผูกระทําผิดก็พนจากมลทินกลับมาบริสุทธ์ิดังเดิมเหมือนเม่ือไมไดตองอาบัติ นอกจากอาบัติปาราชิกท้ัง ๔ ประการท่ีไมสามารถแกไขได ถาตองแลวขาดจากความเปนพระทันทีและไมสามารถกลับมาบวชเปนภิกษุไดอีก หากไมยอมรับสงฆพึงเขาดําเนินการตามวิธีการท่ีทรงกําหนดไวเชนกัน

การแสดงคืนอาบัติเปนเรื่องของการปรับสภาพจิตใจภิกษุผูกระทําผิด และรูสึกตัววาไดกระทําผิดแลวต้ังใจวาจะไมกระทําอีก เชน การปลงอาบัติเม่ือไดกระทําความผิดเล็กนอย เปนอาบัติเบาโดยการสารภาพผิดกับเพ่ือนภิกษุเพียงรูปเดียวก็พนได และการอยูปริวาสกรรมสําหรับภิกษุท่ีตองอาบัติหนักกระทําความผิดท่ีรุนแรง แตสามารถแกไขได ซ่ึงตองใชระยะเวลา ใชสถานท่ีและใชจํานวนภิกษุมากข้ึน เพ่ือรับรูและเปนสักขีพยาน เพ่ือปองกันไมใหภิกษุน้ันกลับมาทําความผิดซํ้าอีกไดโดยงาย สวนอาบัติปาราชิกแสดงวาภิกษุตองมีสภาพจิตใจที่ไมสามารถปรับปรุงและฟนฟูใหกลับมาดีไดดังเดิมอีก จึงตองใหพนจากเพศภิกษุไป การแสดงคืนอาบัติ ภิกษุสงฆตองถือเปนหนาท่ีท่ีจะตองชวยเหลือเพ่ือนภิกษุท่ีตองอาบัติใหพนจากอาบัติท่ีตองน้ันตามระเบียบวิธีการแสดงคืนอาบัติ หรือตามวิธีการระงับอาปตตาธิกรณท่ีพระพุทธองคทรงกําหนดไว

๔. กิจจาธิกรณ

กิจจาธิกรณหมายถึง การงานหรือกิจอันจะพึงทําดวยการประชุมสงฆ๑๘ เชน การใหผากฐิน การนิคหะ การอุปสมบท เปนตน ซ่ึงถือเปนหนาท่ีเปนกรณียกิจขอสงฆท่ีจะตองจัดตองทําเพ่ือใหสังคมสงฆเกิดความเรียบรอยและเพ่ือความมั่นคงแหงพระพุทธศาสนา กิจหรือการงานท่ีจัดวาเปนกิจแตไมเปนอธิกรณน้ัน และการงานท่ีเปนท้ังกิจและเปนท้ังอธิกรณก็มี การงานที่เปนกิจแตไมเปนอธิกรณไดแก กิจท่ีภิกษุทําแกพระอาจารย อุปชฌายะ หรือทําแกภิกษุผูเสมอพระอาจารย พระอุปชฌายะ ไมจัดวาเปนอธิกรณ สวนการงานท่ีจัดวาเปนท้ังกิจ และเปนท้ังอธิกรณไดแก กิจท่ีทําในรูปของสังฆกรรม ท่ีพระพุทธองคทรงกําหนดระเบียบปฏิบัติไวท้ังจํานวนภิกษุ คุณสมบัติของภิกษุและวิธีดําเนินการ หากดําเนินการถูกตองตาม

                                                            

๑๘ เรื่องเดียวกัน, หนา ๑๐๖.

Page 39: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

 

 

 

 

๒๔

ขอกําหนดกิจจาธิกรณเปนอันระงับ ถากระทําไมถูกตองกิจเหลาน้ันก็ยังคงเปนอธิกรณอยูตอไป กิจจาธิกรณก็เหมือนกับอธิกรณประเภทอื่น ๆ ยอมมีมูลแหงการเกิดเชนกัน มูลเหตุแหงกิจจาธิกรณตามท่ีปรากฏในพระวินัยปฏกคือ “สงฆเปนมูลอันหน่ึงแหงกิจจาธิกรณ”๑๙ สงฆเปนมูลเหตุแหงกิจจาธิกรณหรือเปนมูลเหตุท่ีทําใหเกิดสังฆกรรมเน่ืองจากภิกษุสงฆมีจํานวนมากข้ึน และพระพุทธองคทรงมีพระประสงฆท่ีจะใหสงฆเปนใหญในการบริหารหมูคณะดวยตนเอง จึงทรงกําหนดระเบียบวิธีตาง ๆ เพ่ือใหการปฏิบัติเปนไปในแนวเดียวกัน เชน การนาสนะสามเณร การลงนิคหกรรม การอุปสมบท การรับอาบัติในสงฆ ฯลฯ กิจเหลาน้ีมีข้ันตอนและวิธีดําเนินการเฉพาะเปนเร่ืองของสงฆ โดยทรงกําหนดจํานวนภิกษุตั้งแต ๔ รูปขึ้นไปจึงจะเรียกวา “สงฆ” หากเปนเร่ืองท่ีมีความสําคัญนอยก็กําหนดจํานวนภิกษุผูทําสังฆกรรมเพียง ๔ หรือ ๕ รูป หากเปนกิจท่ีมีความสําคัญมากก็ใชภิกษุจํานวนมาก เชน ๑๐ รูป หรือ ๒๐ รูป รวมรับรูรวมพิจารณาตัดสินใจเพ่ือใหกิจเหลาน้ันสําเร็จลุลวงไปดวยดี การกําหนดจํานวนภิกษุในการทําสังฆกรรมยอมขึ้นอยูกับความสําคัญ หรือประเภทของกิจจาธิกรณท่ีพระพุทธองคทรงจําแนกไว กิจจาธิกรณหรือเรื่องราวที่เกิดขึ้นแลวสงฆจะตองจัดตองทําใหถูกตองตามพุทธกําหนดโดยทําในรูปของสังฆกรรม จําแนกออกเปน ๔ ประเภท คือ

๑. อปโลกนกรรม คือ การบอกเลากันในที่ประชุมสงฆเปนไปในลักษณะแจงใหท่ีประชุมทราบ ไมตองตั้งญัตติ คือการนัดหมายเพ่ือทํากิจรวมกัน และไมตองสวดอนุสาวนา คือการขอมติจากสงฆ ไดแก การนาสนะสามเณรผูกลาวตูพระพุทธเจา การรับสามเณรรูปน้ันผูประพฤติเรียบรอยเขาหมู การประกาศลงพรหมทัณฑและประกาศแจกอาหารในโรงฉัน ๒. ญัตติกรรม คือ กรรมอันกระทําดวยญัตติ คือประกาศนัดหมายใหสงฆทราบเพ่ือทํากิจรวมกันไมตองสวดอนุสาวนา คือไมตองขอมติในท่ีประชุมสงฆมี ๙ สถาน เชน อุโบสถ ปวารณารับอาบัติอันภิกษุแสดงในสงฆ ประกาศเล่ือนวันปวารณา ประกาศเร่ิมตนระงับอธิกรณดวยติณวัตถารกวินัย เปนตน ๓. ญัตติทุติยกรรม แปลวา กรรมมีวาจาครบ ๒ คือ ตั้งญัตติ ๑ คร้ัง และสวดอนุสาวนาอีก ๑ ครั้ง เชน การคว่ําบาตร การหงายบาตร การใหผากฐิน การแสดงท่ีสรางกุฎิใหแกภิกษุ เปนตน

                                                            

๑๙ วิ.จู. (บาลี) ๖/๖๔๙/๓๐๕.

Page 40: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

 

 

 

 

๒๕

๔. ญัตติจตตุถกรรม แปลวา กรรมท่ีมีญัตติเปนท่ี ๔ คือ ตั้งญัตติ ๑ คร้ัง และสวดอนุสาวนาอีก ๓ คร้ัง เชน การนิคหะ คือการลงโทษภิกษุท่ีประพฤติผิด การใหปริวาสและมานัตแกภิกษุท่ีตองอาบัติสังฆาทิเลส การอุปสมบท การอัพภาน เปนตน

กิจจาธิกรณหรือเร่ืองราวท่ีเกิดขึ้นแลวสงฆจะตองจัดตองทําใหถูกตองตามพุทธกําหนดโดยทําในรูปของสังฆกรรมท้ังส่ีประเภทขางตน เปนการจําแนกตามความสําคัญของกิจ กิจท่ีมีความสําคัญไมมากนักก็ใชภิกษุจํานวนนอย และเพียงแตตั้งญัตติอยางเดียวโดยไมตองสวดอนุสาวนาหรือสวดอนุสาวนาเพียงหนเดียวก็เพียงพอ สวนกิจท่ีมีความสําคัญมากก็ใชภิกษุจํานวนมาก มีการต้ังญัตติและสวดอนุสาวนาอีก ๓ คร้ัง เพ่ือใหท่ีประชุมสงฆไดมีเวลาพิจารณาไตรตรองอยางรอบคอบหลายเท่ียววาจะอนุมัติหรือไม เชน สังฆกรรมประเภท ญัตติจตุตถกรรมมี นิคหะ อุปสมบท เปนตน

จากการที่บุคคลตกลงปลงใจเห็นดีเห็นงามเขามาบวชเพ่ือประพฤติพรหมจรรยเจริญรอยตามพระพุทธองคเพ่ือจุดหมายสูงสุด โดยมีพระธรรมเปนหลักปฏิบัติและมีพระวินัยเปนกรอบการดําเนินชีวิตน้ัน ปรากฏวายังมีเรื่องราวขอปญหาตาง ๆ ท่ีเปนอุปสรรคในการประพฤติพรหมจรรยของสงฆและสงผลกระทบตอพระพุทธศาสนาเกิดขึ้น เรื่องราวและขอปญหาตางๆ เหลาน้ันเรียกวา อธิกรณ เชน การโตแยงทุมเถียงกันเก่ียวกับพระธรรมวินัย การฟองรองภิกษุผูละเมิดพระวินัย การตองอาบัติ การปรับอาบัติ การแสดงคืนอาบัติของภิกษุ ตลอดจนภารกิจตาง ๆ ท่ีสงฆตองจัดตองทําใหเรียบรอยตามขอกําหนดของพระพุทธองคท่ีทรงวางไวเพ่ือใหสังคมสงฆมีระเบียบแบบแผนท่ีดีงามและเหมาะสมตามหลักการประพฤติพรหมจรรย

กิจจาธิกรณแตละประเภทมีมูลเหตุสําคัญมาจากภิกษุสงฆท่ีประกอบดวยเจตนาหรือความปรารถนา ๒ ประการ คือ ความปรารถนาดีและความปรารถนาที่เลว กิจจาธิกรณท่ีเกิดจากความปรารถนาดีหรือกุศลเจตนา เพ่ือจรรโลงพระพุทธศาสนา เพ่ือใหการประพฤติปฏิบัติเปนไปโดยถูกตองตามหลักพระธรรมวินัย เชน การโจทภิกษุผูตองอาบัติเพ่ือตองการใหออกจากอาบัติ เม่ือภิกษุผูตองอาบัติรูดวยยอมรับ และแสดงคืนอาบัติยอมเปนผลดีแกทุกฝายหรือเม่ือเกิดอธิกรณข้ึนในหมูสงฆ สงฆผูมีความปรารถนาดีรวมมือรวมใจประชุมทําการระงับอธิกรณน้ันก็เกิดผลดีอีกเชนกัน แตบางครั้งการกระทําดวยความปรารถนาดีเจตนาดีกลับสงผลไปในทางตรงกันขาม กลายเปนความวุนวายดังกรณีพระวินัยธรและพระธรรมกถึกในกรุงโกสัมพีสมัยพุทธกาล ท้ังสองฝายตางวิวาท ดวยกุศลเจตนาแตหาขอยุติไมได ประกอบกับลูกศิษยลูกหาของแตละฝายเขาสมทบ จึงเกิดเปนวิวาทาธิกรณดังกลาวหรือการโจทอาบัติท่ีภิกษุผูโจทมีความปรารถนาดี ตองการใหออก

Page 41: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

 

 

 

 

๒๖

จาอาบัติ แตภิกษุผูละเมิดอาบัติไมยอมรับวาเปนอาบัติ จึงเกิดเปนอนุวาทาธิกรณดังกรณีพระฉันนะในสมัยพุทธการเปนตัวอยาง

กิจจาธิกรณท่ีเกิดจากความปรารถนาเลว หรืออกุศลเจตนาของผูกระทํากรรมท่ีมีจิตประกอบดวยโลภ โกรธ หลง เพ่ือตองการเกียรติยศ ชื่อเสียง ลาภสักการะ ความสุขสบาย หรือเพ่ือมุงรายหวังทําลายผูอื่น กระทําดวยความเห็นแกตัว ความเห็นผิด ดังวิวาทาธิกรณกรณีพระภิกษุชาววัชชีบุตรท่ีแสดงใหเห็นเจตนาพยายามหลีกเล่ียงหลักพระธรรมวินัยเพ่ือความสุขสบายของตนเองและพวกพองหรืออนุวาทาธิกรณกรณีโจทเท็จพระทัพพมัลลบุตร เปนตน

กิจจาธิกรณท่ีเกิดขึ้นท้ังเกิดจากความปรารถนาดีและความปรารถนาเลวก็ตาม ยอมมีผลกระทบตอความผาสุกในสังคมสงฆ ความเล่ือมใสของชาวบานและความตั้งม่ันแหงพระสัทธรรม

อธิกรณท่ีเกิดขึ้นในปจจุบันนอกจากภิกษุสงฆจะเปนมูลเหตุท่ีสําคัญแลว ชาวบานก็มี

สวนในการสนับสนุนดวย เพราะถึงแมผูท่ีเขามาบวชจะมีความต้ังใจสละโลกียสุขเพียงใดก็ตาม ยอมหวั่นไหวตอความรุนแรงของกระแสคานิยมทางวัตถุในสังคม ชาวพุทธสวนหน่ึงเขาวัดเพียงเพ่ือขอโชคลาภและเคร่ืองรางของขลังตาง ๆ จากพระ เม่ือไดมาแลวบังเอิญไดผลไปตามท่ีคิดท่ีหวังเอาไวก็จะนําขาวของเงินทองไปถวายเปนการตอบแทนจํานวนมากๆ พระบางรูปบางสํานักก็ฉวยโอกาสจากความหลงเช่ือถือผลิตส่ิงเหลาน้ันข้ึนจําหนายอยางเปนลํ่าเปนสัน มีการโฆษณาประชาสัมพันธท้ังในหนังสือพิมพรายวัน รายสัปดาหและนิตยสารตาง ๆ มากมาย ซ่ึงก็ไดรับการตอบสนองอยางดีจากชาวบานท่ีหลงเชื่อทําใหพระมีเงินทองสะสมจนรํ่ารวยหลงลืมตัว ใชพลังอํานาจเงินตรากลับไปแสวงหาความสุขทางโลกเย่ียงปุถุชนท่ัวไป ประพฤติผิดหลักพระธรรมวินัยอยางรายแรงจนเกิดการฟองรองเปนเร่ืองอื้อฉาวตามมา รวมท้ังสุภาพสตรีท่ีปฏิบัติตนรับใชใกลชิดกับพระภิกษุสงฆจนเกินขอบเขตท่ีเหมาะสม จะโดยไมเจตนาหรือรูเทาไมถึงการณก็ตาม ทําใหพระบางรูปท่ีตั้งใจจะเปนพระที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตองมีอันเปนไปพายแพตอกิเลสตัณหาท่ีมาจากความใกลชิดสนิทสนม อธิกรณเปนเรื่องราวท่ีเกิดขั้นในกระบวนการประพฤติพรหมจรรยของภิกษุสงฆท่ีเปนไปโดยหลักวา ภิกษุผูเปนสหธรรมิกตางสงเคราะหเก้ือกูลซ่ึงกันและกัน เพ่ือการปฏิบัติสูเปาหมายเดียวกัน ในการประพฤติปฏิบัติธรรมรวมกัน(สหธรรมิก)น้ียอมจะมีส่ิงอันเปนเหตุใหเกิดอุปสรรคในการปฏิบัติเพ่ือกําจัดอาสวกิเลสข้ึนมาได ส่ิงอันเปนเหตุใหเกิดอุปสรรคตอการประพฤติพรหมจรรยน้ีเองท่ีเรียกวา “อธิกรณ” อธิกรณอาจจะเกิดข้ึนเพราะเจตนาดีของพระภิกษุผูมีศีลอันเปนท่ีรัก ซ่ึงมุงหวังสงเคราะหเก้ือกูลเพ่ือนสหธรรมิก และอนุเคราะหพระวินัยก็ได หรืออาจจะเกิด

Page 42: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

 

 

 

 

๒๗

จากเจตนาชั่วของภิกษุผูไรยางอายซ่ึงมุงหวังลาภสักการะสวนตนก็ได ส่ิงอันจะกอใหเกิดเปนอธิกรณน้ัน เม่ือกลาวโดยลักษณะแลวมีอยู ๔ ประเภท คือ

๑. อธิกรณท่ี สืบเน่ืองมาจากการโตแยง โตเถียงกัน เร่ืองพระธรรม พระวินัย ๒. อธิกรณอันสืบเน่ืองมาจากการกลาวหากันดวยเร่ืองละเมิดพระวินัยเพราะไมปฏิบัติใหสอดคลองกับขอกําหนดท่ีพระพุทธองคทรงบัญญัติไว ๓. อธิกรณอันสืบเน่ืองมาจากการยอมรับผิดและการรับโทษตามขอกําหนดแหงพระวินัย ๔. อธิกรณอันสืบเน่ืองมาจากการที่พระภิกษุสงฆตองทํากิจกรรมรวมกัน เพ่ือความบริสุทธ์ิของพระภิกษุและคณะสงฆ

ท้ัง ๔ ลักษณะน้ี คือส่ิงอันเปนสาเหตุใหการประพฤติพรหมจรรยของพระภิกษุไมเปนโดยสะดวกราบร่ืนจะเปนภาระของพระภิกษุสงฆท่ีตองชําระสะสางใหเหตุอันเปนอุปสรรคหมดไป

๒.๑.๒ วิธีระงับอธิกรณ

อธิกรณตางๆ ท่ีเกิดขึ้นถือเปนหนาท่ีของสงฆท่ีจะตองดําเนินการใหยุติลุลวงไปดวยดี เชน วิวาทาธิกรณ คือการเถียงกัน ไมลงรอยเดียวกันเก่ียวกับพระธรรมวินัย สงฆจะตองช้ีขาดวาฝายใดถูก ฝายใดผิด อนุวาทาธิกรณ คือ การฟองรองกันเก่ียวกันภิกษุตองอาบัติ สงฆจะตองพิจารณาวินิจฉัยวาจริงหรือไมจริง อาปตตาธิกรณคือเรื่องเก่ียวกับอาบัติ การปรับอาบัติ การแสดงคืนอาบัติ ถาหากเก่ียวกับสงฆแลวสงฆตองเปนธุระชวยเหลือในการแสดงคืนอาบัติ หรือการใหสละสมณเพศสําหรับภิกษุท่ีตองอาบัติปาราชิกและกิจจาธิกรณ คือสังฆกรรมตางๆ สงฆจะตองชวยกันดําเนินการใหสําเร็จลุลวงตามระเบียบหรือขอบัญญัติในพระวินัย เพ่ือความเปนระเบียบเรียบรอยในสังคมสงฆและเพ่ือแสดงออกถึงความสามัคคีในหมูคณะตามพุทธประสงคเปนตน อธิกรณท่ีเกิดขึ้นหากไดรับการแกไขใหสําเร็จลุลวงไปดวยดีก็จะบรรลุผล คือสังคมสงฆมีความเรียบรอย มีความสามัคคี ภิกษุอยูรวมกันอยางสงบสุข ภิกษุอลัชชีถูกกําราบหรือถูกกําจัดออกไปและเปนการปองกันปญหาตางๆ ท่ีจะเกิดขึ้นในปจจุบันและในอนาคต ทําใหเกิดความเล่ือมใสแกผูท่ียังไมเล่ือมใส และเกิดความเล่ือมใสย่ิงข้ึนกับผูท่ีเล่ือมใสแลว ตลอดจนเพ่ือความม่ันคงสถาพรกับพระพุทธศาสนา แตถาหากอธิกรณไมไดรับการเหลียวแลแกไข หรือแกไขปญหาในทางท่ีไมเปนไปตามธรรมตามวินัยจะเกิดผลในทางตรงขามเกิดความเสียหายตอคณะสงฆโดยรวมและกระทบตอความม่ันคงของพระพุทธศาสนา

Page 43: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

 

 

 

 

๒๘

เน่ืองจากอธิกรณตาง ๆ มีมูลเหตุมาจากภิกษุสงฆ คณะสงฆไดรับความเสียหายโดยตรง สงฆจึงมีหนาท่ียุติขอปญหาอธิกรณเหลาน้ันและเพ่ือใหเปนไปตามพุทธประสงคท่ีตองการใหสงฆเปนใหญในการบริหารหมูคณะ ท้ังน้ีเพ่ือประโยชนของสงฆและพุทธบริษัทท้ังหลาย การยุติปญหาหรือการระงับอธิกรณจะตองเปนไปตามหลักการท่ีทรงวางไวคือ “เปนธรรม เปนวินัย”๒๐ หรือ ระงับโดยชอบดวยพระธรรม พระวินัย โดยใหกระทําตามวิธีการท่ีทรงบัญญัติไว พระพุทธองคทรงกําหนดวิธีระงับอธิกรณประเภทตางๆ เพ่ือใหสงฆดําเนินการตามหลักการท่ีชอบดวยพระธรรม พระวินัย มีท้ังหมด ๗ วิธีคือ๒๑ ๑. สัมมุขาวินัย

สัมมุขาวนัิยหมายถึง ระเบียบอันพึงทําในที่พรอมหนา ไดแกการระงับอธิกรณในท่ีพรอมหนาสงฆ พรอมหนาธรรมวินัย พรอมหนาบุคคล๒๒ พระพุทธองคทรงบัญญัติวิ ธีระงับอธิกรณในท่ีพรอมหนา หรือสัมมุขาวิ นัย เน่ืองมาจากสมัยพุทธกาลขณะท่ีพระองคประทับอยู ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี กรุงสาวัตถี พระฉัพพัคคีย คือ พวกภิกษุ ๖ รูป ไดกระทํากรรมมี ตัชชะนียกรรมบาง นิยสกรรมบาง ปพพาชนียกรรมบาง ปฏิสารนียกรรมบาง อุกเขปนียกรรมบาง แกภิกษุท้ังหลายผูอยูลับหลัง

                                                            

๒๐ วิ. จู. (บาลี) ๖/๑๖/๗-๒๗/๑๐, ๕๗/๒๑-๖๗/๒๓, ๙๓/๓๙-๑๐๕/๔๒, ๑๔๗/๕๘-๑๕๘/๖๑, ๑๘๘/๗๓-๑๙๙/๗๖.

๒๑ วิ. จู. (บาลี) ๖/๕๘๕/๒๖๗, ๕๘๙/๒๗๐, ๖๐๐/๒๗๗, ๖๐๘/๒๘๒, ๖๑๑/๒๘๔, ๖๑๔/๒๘๖, ๖๒๕/๒๙๕.

       ๒๒

 คําวา “ความพรอมหนาสงฆ” หมายถึง “ภิกษุผูเขากรรมมีจํานวนเทาไร ภิกษุเหลาน้ันมาประชุมกัน นําฉันทะของผูควรฉันทะมา ผูอยูพรอมหนากันไมคัดคาน” พระอรรถกถาจารยอธิบายเพิ่มเติมวาในประเด็นน้ี “ความที่การกสงฆพรอมหนาดวยอํานาจสังฆสามัคคี”

คําวา “ความพรอมหนาธรรม วินัย” หมายถึง “อธิกรณน้ัน ระงับโดยธรรมโดยวินัย และโดยสัตถุศาสน” สวนพระอรรถกถาจารยอธิบายเพ่ิมเติมวา “ความท่ีเรื่องอันจะพึงระงับมีชื่อวา ความพรอมหนาธรรม สวนการระงับโดยวิธีที่อธิกรณจะพึงระงับได ชื่อวาความพรอมหนาวินัย”

คําวา “ความพรอมหนาบุคคล” หมายถึง “โจทยและจําเลยทั้งสอง เปนคูตอสูในคดีอยูพรอมหนากัน” พระอรรถกถาจารยอธิบายวา “การที่มีผูวิวาทกับเร่ืองมีเรื่องวิวาทเกิดพรอมหนาคูวิวาท ผูมีประโยชนขัดแยงกัน”  

Page 44: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

 

 

 

 

๒๙

บรรดาภิกษุอ่ืนๆ ตางกลาวโทษติเตียน แลวกราบทูลเรื่องน้ันใหพระพุทธองคๆ ทรงรับส่ังในที่ประชุมสงฆ และรับส่ังถามภิกษุฉัพพัคคียทรงตําหนิดวยประการตางๆ ในท่ีสุดทรงบัญญัติพระวินัยความวา “กรรมท้ัง ๖ ประการน้ัน ภิกษุไมพึงทําแกภิกษุท้ังหลายผูอยูลับหลัง ภิกษุใดทําตองอาบัติทุกกฎ”๒๓ สําหรับกรรมท่ีทําลงไปในลักษณะอยางน้ันหรือลักษณะอยางอ่ืนท่ีไมชอบดวยพระธรรมวินัยไมถือวาเปนกรรมท่ีจะตองยอมรับและปฏิบัติตามเพราะเปนโมฆกรรม พระพุทธองคทรงจําแนกประเภทบุคคลผูกระทํากรรมออกเปน ๖ ประเภท คือ (๑) อธรรมวาทีบุคคล (๒) ภิกษุอธรรมวาทีมากรูป (๓) สงฆอธรรมวาท ี (๔) ธรรมวาทีบุคคล (๕) ภิกษุธรรมวาทีมากรูป (๖) สงฆธรรมวาที เน่ืองจากกรรมท้ัง ๖ ประการน้ัน ตองทําเปนสังฆกรรม อธิกรณสมถะ อันตองนํามาใชในการกระทํากรรมดังกลาว จึงใชสัมมุขาวินัย โดยทรงกําหนดเง่ือนไขของสัมมุขาวนัิยไววาจะตองประกอบดวยองค ๔ ประการ คือ (๑) พรอมหนาสงฆ คือ ภิกษุผูเขาประชุมครบองคสงฆ คอืไมนอยกวา ๕ รูป (๒) พรอมหนาบุคคล คือ บุคคลท่ีเก่ียวของในเร่ืองน้ัน อยูพรอมกันในที่ประชุมสงฆ (๓) พรอมหนาวัตถุ คือเรื่องหรืออธิกรณท่ียกข้ึนมาเปนเหตุในการพิจารณาตัดสิน (๔) พรอมหนาพระธรรมวินัย คือ ขั้นตอนในการพิจารณาวินิจฉัย ถูกตองตามหลักพระธรรมวินัย คือ จะตัดสินวาถูกหรือผิดตองเปนไปตามเง่ือนไข หรือขอกําหนดท่ีพระธรรมวินัยกําหนดไว ในสวนท่ีเก่ียวกับบุคคล ๖ ประเภทดังกลาวแลวน้ัน เม่ือเขามาเก่ียวของกับการระงับอธิกรณและอธิกรณน้ันไดระงับไป แตจะเปนการระงับท่ีชอบดวยพระธรรมวินัยหรือไม ทรงใหหลักในการตัดสินยอมรับไว ๒ ประเภทใหญ ๆ ดังน้ีคือ

                                                            

๒๓ วิ. จู. (บาลี) ๖/๕๘๕/๒๖๗

Page 45: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

 

 

 

 

๓๐

(๑) อธรรมวาทีบุคคลก็ดี อธรรมวาทีบุคคลมากรูปก็ดี สงฆอธรรมวาทีก็ดี มีการช้ีนําธรรมวาทีบุคคลรูปเดียว หรือหลายรูป หรือสงฆฝายธรรมวาทีใหคลอยตามความประสงคของตนโดยใหยอมรับวาน่ันเปนธรรม เปนวินัย ถาฝายธรรมวาทีคลอยตาม เห็นดวย อธิกรณน้ัน ถึงแมจะระงับในทามกลางสงฆ บุคคล วัตถุ ก็เช่ือวาไมเปนการระงับโดยชอบดวยพระธรรมวินัยเพราะขัดหลักสัมมุขาวินัยขอท่ี ๔ คือ “ระงับพรอมหนาพระธรรมวินัย” (๒) ธรรมวาทีบุคคล ธรรมวาทีบุคคลหลายคน สงฆธรรมวาทีใหฝายอธรรมวาทีคนเดียว หลายคน หรือสงฆอธรรมวาที ใหคลอยตาม เห็นตามและยอมรับวา น้ีเปนวินัย น้ีเปนธรรม ถาอธิกรณน้ันระงับลงไป ชื่อวาเปนการระงับโดยชอบดวยพระธรรมวินัย เพราะไมขัดกับหลักสัมมุขาวินัยท้ัง ๔ ประการดังกลาว สัมมุขาวินัยเปนวิธีระงับขอปญหาอธิกรณซ่ึงกระทําในที่พรอมหนา พระพุทธองคทรงกําหนดใหบุคคลผูเก่ียวของในเรื่องราวท้ังโจทก จําเลย พยาน และผูมีสวนรูเห็นมาพรอมหนากันเพ่ือทําการไตสวน สอบสวนโดยซ่ึงหนา เปดโอกาสใหทุกฝายใหการตามความจริง ยกเร่ืองราวขอปญหาท่ีเกิดขึ้นมาพิจารณาวินิจฉัยโดยสงฆจํานวนไมนอยกวา ๕ รูป รวมกันดําเนินการเพ่ือใหเกิดความรอบคอบรัดกุมเปนธรรมกับทุกฝาย และการวินิจฉัยตัดสินสงฆตองมีความเห็นตรงกัน โดยไมมีภิกษุรูปใดรูปหน่ึงคัดคานโดยใชหลักพระธรรม หลักพระวินัยเปนเกณฑ คือ การตัดสินวาถูก หมายถึงถูกตองตามหลักพระธรรม หลักพระวินัย การตัดสินวาผิด หมายถึง ผิดจากหลักพระธรรมหลักพระวินัย เปนตน วิธีสัมมุขาวินัยเปนวิธีท่ีระงับอธิกรณทุกประเภท

๒. สติวินัย สติวินัย หมายถึง “วินัยอันสงฆพึงใหแกพระขีณาสพท่ีถึงพรอมดวยสติอันไพบูลย”๒๔

หรือ “วิธีระงับดวยสติ” หมายความวา “สติวินัยน้ี พึงใหแกพระขีณาสพเทาน้ัน ไมพึงใหแกภิกษุอื่น โดยที่สุดแมเปนพระอนาคามี และการใหสติวินัยน้ีตองใหแกพระขีณาสพท่ีถูกโจทเทาน้ัน” ๒๕ โดยเปนการประกาศสมมติใหวา เปนผูมีสติสมบูรณ และการใหสติวินัยท่ีจัดไดวา “ชอบธรรม” น้ัน ตองประกอบดวยองค ๕ ประการ กลาวคือ                                                             

        ๒๔

 “สติเวปุลฺลปฺปตฺตสฺส ขีณาสวสฺส ทาตพฺโพ วินโย สติวินโย” วิ.ม.(บาลี) ๓/๑๙๕-๒๐๐/๔๔๗. 

       ๒๕ อยํ ปน สติวินโย ขีณาสวสฺเสว ทาตพฺโพ น อฺญสฺส อนฺตมโส อนาคามิโนป” ว.ิม.(บาลี).-/

๑๙๕/๒๙๓.  

Page 46: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

 

 

 

 

๓๑

(๑) ภิกษุเปนผูบริสุทธ์ิ ไมตองอาบัติ (๒) ผูอื่นโจทภิกษุน้ัน (๓) ภิกษุน้ันขอ (๔) สงฆใหสติวินัยแกภิกษุน้ัน (๕) สงฆพรอมเพรียงกันโดยธรรมให

ความในขอน้ีเปนขอท่ีพึงสังเกตวา การประพฤติปฏิบัติตามแนวทางที่พระพุทธเจาทรงบัญญัติไวน้ันก็เพ่ือท่ีจะไดบรรลุถึงเปาหมาย คือความเปนพระอริยบุคคลชั้นสูง ขอบัญญัติท้ังปวงจึงเหมือนเปนอุปกรณชวยเหลือ ใหเขาถึงจุดมุงหมายสะดวกรวดเร็ว เมื่อพระอรหันตเปนบุคคลซ่ึงบรรลุถึงเปาหมายน้ันแลว การที่จะมีใครไปกลาวหาวาทานบกพรองไปจากแนวทางการปฏิบัติน้ันจึงฟงไมข้ึน เพราะผลของการปฏิบัติเปนสิ่งยืนยันการประพฤติปฏิบัติของทานแลว เพราะถาทานมีขอประพฤติปฏิบัติบกพรอง ทานก็ยอมไมบรรลุถึงท่ีสุดได ตัวอยางการระงับอธิกรณดวยสติวินัยน้ัน มีปรากฏชัดเจน ดังกรณีการโจทพระทัพพมัลลบุตร๒๖ ในสมัยพุทธกาล พระทัพพมัลลาบุตรบรรลุอรหันตต้ังแตอายุยังนอย แตปรารถนาจะทําประโยชนใหแกสงฆ จึงไปเฝาพระพุทธเจา ขอรับหนาท่ีเปนผูจัดการเร่ืองท่ีอยูอาศัย แลวจัดภิกษุไปฉันในท่ีนิมนตท่ีประชุมสงฆเห็นชอบโดยไมมีภิกษุใดคัดคานจึงประกาศแตงตั้ง เม่ือทานไดรับการแตงตั้งก็ทําหนาท่ีไดดีและเรียบรอยจนไดรับการยกยอง ถึงแมมีภิกษุมากล่ันแกลงตางๆ นานาแตทานก็มิไดบกพรอง พระเมตติยะกับพระภุมมชกะเปนพระบวชใหมไดรับการจัดอันดับในท่ีนิมนตชา และคนก็ไมสนใจถวายอาหารดี ๆ เขาใจผิดวาพระทัพพมัลลบุตรกล่ันแกลง จึงหาเรื่องใหนางเมตติยาภิกษุโจทอาบัติปาราชิกวาขมขืนนาง เม่ือเรื่องถึงพุทธสํานักทรงสอบสวนในที่ประชุมสงฆใหสึกนางเมตติยาภิกษุณีเสีย สําหรับพระเมตติยะกับพระภุมมชกะเพราะเปนภิกษุตนบัญญัติ อันเรียกวา “อาทิกัมมิกะ” จึงพนความผิด ทรงบัญญัติสิกขาบทท่ี ๘-๙ แหงสังฆาทิเสส เพ่ือปองกันไมใหพระอรหันตถูกรุกรานจากภิกษุพาลตอไป จึงทรงรับส่ังใหพระสงฆใหสติวินัยแกพระทัพพมัลลบุตรเปนปฐม โดยหามใครโจทพระอรหันตดวยอาบัติ เพราะทานเปนผูถึงความไพบูลยแหงสติแลว กรรมวิธีในการใหสติวินัยน้ัน ทรงกําหนดไว ดังน้ีคือ (๑) พระอรหันต เขาไปหาสงฆขอสติวินัยจากสงฆ ๓ ครั้ง

                                                            

๒๖ วิ. จู. (บาลี) ๖/๕๘๙/๒๗๐-๕๙๗/๒๗๕.

Page 47: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

 

 

 

 

๓๒

(๒) ภิกษุผูฉลาด ผูสามารถสวดประกาศใหสติวินัยแกพระอรหันตดวยญัตติจตุตถกรรมวาจา

จากน้ันทรงแสดงการใชสติวินัยท่ีจัดวาเปนธรรม จะตองประกอบดวยองค ๕ คือ๒๗ (๑) ภิกษุเปนผูหมดจด ไมตองอาบัติ คือ เปนพระอรหันต (๒) มีผูโจททานดวนอาบัติ (๓) ทานขอสติวินัยจากสงฆ (๔) สงฆสวดประกาศใหสติวินัยแกทาน (๕) สงฆพรอมเพรียงกันโดยธรรม ใหสติวินัยแกทาน

พระวินัยและสิกขาบทเปนเคร่ืองฝกหัดฝกฝนและเปนกรอบการดําเนินชีวิตของผูออกบวชหรือผูท่ีกําลังประพฤติพรหมจรรยซ่ึงอยูในระหวางการเดินทางยังไมบรรลุถึงจุดหมายสูงสุด พระอรหันตเปนผูจบพรหมจรรยเปนผูบรรลุจุดหมายสูงสุดน้ันแลว จึงเปนไปไมไดท่ีพระอรหันตจะกาวลวงออกไปนอกรอบทางเดินท่ีผานพนมาแลวน้ันอีก ดังน้ันเม่ือมีผูกลาวหาวาพระอรหันตตองอาบัติหรือละเมิดพระวินัย สงฆจึงตองคุมครองปองกันและรับรองวาพระอรหันตเปนผูมีสติสมบูรณไมมีความจําเปนใด ๆ ท่ีจะแกลงหรือเจตนาละเมิดอาบัติโดยการใหสติวินัยแกพระอรหันต

๓. อมูฬหวินัย

อมูฬหวินัยหมายถึง “วินัยท่ีสงฆพึงใหแกจําเลยผูหายหลง”๒๘ เปนการท่ีสงฆโดย ‘สังฆสภา’ ไดรวมกันระงับอธิกรณโดยยกประโยชนใหแกจําเลยท่ีตองอาบัติในขณะเปนบา ซ่ึงแมจําเลยจะไดกระทําการดังท่ีถูกโจทจริง ก็ไมถือวาเปนอาบัติ เปนวิธีระงับอธิกรณสําหรับภิกษุผูหายจากเปนบา ไดแก การท่ีสงฆสวดประกาศใหสมมติแกภิกษุผูหายเปนบาแลว เพ่ือระงับอนุวาทาธิกรณ คือในขณะท่ีจําเลยเปนบาทําการลวงละเมิดอาบัติ แมจะเปนจริงก็ไมถือวาเปนอาบัติ เม่ือภิกษุผูน้ันหายเปนบาแลว มีผูโจทดวยอาบัติระหวางเปนบาไมรูจบ ทรงใหสงฆสวดกรรมวาจาประกาศความขอน้ีไว เรียกวา อมูฬหวินัย ยกฟองของโจทกเสีย ภายหลังมีผูโจทดวยอาบัติน้ัน หรืออาบัติเชนน้ันในขณะเปนบาก็ใหอธิกรณเปนอันระงับดวยอมูฬหวินัย การท่ีทรงบัญญัติวิธีระงับอธิกรณดวยอมูฬหวินัย เน่ืองมาจากกรณีของพระคัคคะในสมัยพุทธกาล

                                                            

๒๗ วิ. จู. (บาลี) ๖/๕๙๙/๒๗๗.

                        ๒๘

 “อมูฬฺหสฺส ทาตพฺโพ วินโย อมูฬฺหวินโย” ว.ิม.(บาลี) -/๑๙๕-๒๐๐/๔๔๗. 

Page 48: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

 

 

 

 

๓๓

พระคัคคะวิกลจริต ไดประพฤติผิดวินัยเปนจํานวนมาก ทานเองก็จําอะไรไมได แตยังมีภิกษุบางจําพวกที่เห็นการกระทําของทานขณะเปนบา พยายามเตือนใหทานระลึก และโจทอาบัติทาน ถึงแมทานจะเรียกใหทราบวา ทานระลึกอะไรไมไดจริงๆ เพราะขณะท่ีทําน้ันทานเปนบา แตภิกษุเหลาน้ันก็ไมยอม พยายามโจทอยูน่ันเอง

เม่ือเร่ืองน้ันมาสูพุทธสํานัก ทรงรับส่ังถามทราบความตลอดแลวทรงตําหนิภิกษุผูโจทอาบัติพระคัคคะ ท่ีทานทําในขณะเปนบา จึงทรงกําหนดใหสงฆสวดประกาศใหอมูฬหวินัย คือ หามใครโจทอาบัติแกภิกษุผูกระทําในขณะเปนบา โดยกําหนดกรรมวิธีไวตามลําดับดังน้ี๒๙

(๑) ใหภิกษุผูหายจากความเปนบาแลว เขาไปหาสงฆ แจงความเปนมาของตน ใหสงฆทราบท้ังปวง เทาท่ีจําไดแลวขออมูฬหวินัยตอสงฆ ๓ คร้ัง (๒) สงฆมอบหมายใหภิกษุผูสามารถสวดประกาศใหอมูฬหวินัยแกเธอ ดวย บัญญัติจตุตถกรรมวาจา (๓) การใหอมูฬหวินัยจะเปนธรรมก็ตอเมื่อเปนการกระทําขณะเปนบาจริงๆ จาํ อะไรไมไดเลยแมแตนอย (๔) ถาเธอระลึกชื่ออาบัติไดบาง หรือระลึกไดแบบความฝนหรือคลับคลายคลับ คลาไมแนใจอะไรเลย จะใหอมูฬหวินัยไมได

ในคติของพระพุทธศาสนา การตัดสินการกระทําวาดีหรือชั่ว ถือเอาเจตนาเปนสําคัญการกระทําท่ีดีคือการกระทําท่ีเกิดจากเจตนาดี เจตนาดีคือเจตนาท่ีไมมีความโลภ ความโกรธ ความหลงเหลือเจือปน หรือเปนไปเพ่ือความไมเบียดเบียน แตในตรงกันขามการกระทําช่ัว คือการกระทําท่ีเกิดจากการเจตนาไมดี มีจิตประกอบดวยความโลภ ความโกรธ ความหลง

พระภิกษุท่ีละเมิดอาบัติในขณะเปนบาหรือวิกลจริต ซ่ึงไมมีเจตนาละเมิดจึงสมควรไดรับการใหอภัยในความผิดท่ีกระทําในขณะเปนบาไมมีสติน้ัน ทรงกําหนดไววาพระภิกษุน้ันเปนบาจริงๆ ซ่ึงเม่ือหายบาแลวนึกจําอะไรไมไดแมแตนอย แมจะถูกซักถูกถามอยางไรก็ไมอาจระลึกไดเลย

ดังน้ันพระพุทธองคจึงทรงใหสงฆสวดกรรมวาจาประกาศยกความผิดน้ันเสีย เปนการระงับอธิกรณดวยวิธีอมูฬหวินัย เพ่ือตัดปญหามิใหผูหน่ึงผูใดยกเอาเร่ืองดังกลาวขึ้นมาโจทอีก ทําใหเกิดความเดือดรอนวุนวานไมจบส้ิน และเปนการใหโอกาสกับภิกษุผูหายเปนบาน้ัน ไดประพฤติปฏิบัติตามทางท่ีถูกตองตอไปโดยไมตองกังวลใจ

                                                            

๒๙ วิ. จู. (บาลี) ๖/๖๐๑/๒๗๙.

Page 49: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

 

 

 

 

๓๔

๔. ปฏิญญาตกรณะ ปฏิญญาตกรณะหมายถึง กระบวนการระงับอธิกรณในกรณีเม่ือพระภิกษุผูถูกกลาวหา

ยอมรับวาตัวเองไดกระทําผิดตามท่ีถูกกลาวหา เมื่อพระภิกษุผูถูกกลาวหายอมรับผิดเชนน้ีแลว กระบวนการระงับอธิกรณจึงยุติลงดวยการที่สงฆใหพระภิกษุท่ียอมรับผิดน้ันออกจากอาบัติ พระพุทธองคทรงกําหนดวิธีระงับอธิกรณดวยปฏิญญาตกรณะ เน่ืองจากกรณีของพระฉัพพัคคียในสมัยพุทธกาล๓๐ ปฏิญญาตกรณะ เปนวิธีการระงับอนุวาทาธิกรณ และอาปตตาธิกรณ ในการระงับอนุวาทาธิกรณ กรณีท่ีจําเลยยอมรับผิดตามขอกลาวหาและสงฆปรับอาบัติ หรือลงโทษตามท่ีกําหนดไว เปนการระงับท่ีชอบดวยพระธรรม พระวินัย แตถาหากจําเลยรับผิดหนักกวาหรือเบากวาท่ีถูกโจท และสงฆปรับอาบัติตามน้ันเปนการระงับท่ีไมชอบดวยพระธรรมพระวินัย ในการระงับอาปตตาธิกรณก็เชนกัน กรณีภิกษุตองการแสดงคืนอาบัติโดยการสารภาพความผิดท่ีละเมิดตอภิกษุหรือสงฆก็พึงใชวิธีการเดียวกันน้ี ปฏิญญาตกรณะ เปนวิธีท่ีใหความเปนธรรมกับจําเลยหรือผูถูกกลาวหา เพราะสงฆไมสามารถปรับอาบัติหรือลงโทษภิกษุท่ีไมไดกระทําผิดและไมยอมรับวาไดกระทําความผิดตามท่ีถูกกลาวหาน้ัน สงฆมีอํานาจลงโทษภิกษุเฉพาะกรณีท่ีภิกษุยอมรับเทาน้ัน การระงับอธิกรณวิธีน้ีอํานวยประโยชนใหท้ังสงฆผูทําหนาท่ีพิจารณา และจําเลยผูกระทําความผิด เพราะเม่ือผูกระทําผิดยอมรับผิดแลว สงฆลงโทษหรือปรับอาบัติตามโทษท่ีกําหนดไวอธิกรณก็ยุติลงดวยดี และภิกษุผูกระทําผิดเมื่อยอมรับสารภาพผิด แสดงวามีความสํานึกผิด ซ่ึงจะไดรับการยกโทษในกรณีอาบัติเบาหรือความผิดเล็กนอย แมในทางกฎหมายบานเมืองก็ลดหยอนผอนโทษใหกับจําเลยท่ียอมรับสารภาพดวยเชนกัน

๕. เยภุยยสิกา เยภุยยสิกาหมายถึง “การกระทํากรรมโดยเสียงขางมาก” ๓๑กระบวนการระงับอธิกรณ

โดยใชวิธีการถือเอาเสียงขางมากเปนประมาณ วิธีน้ีสําหรับใชในเวลาท่ีความเห็นของคนท้ังหลายแตกกันเปน ๒ ฝาย โดยใชวิธีจับฉลากคือ ออกเสียงลงมติเพ่ือชี้ขอผิดถูก ขางไหนมีภิกษุผูรวม                                                            

๓๐ วิ. จู. (บาลี) ๖/๖๐๘/๒๘๒

        ๓๑ “ยสฺสา กิริยาย ธมฺมวาทิโน พหุตรา, เอสา เยภุยฺยสิกา นาม” วิ.จู.อ.(บาลี) -/๒๐๒/๒๙๓.

 

Page 50: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

 

 

 

 

๓๕

พิจารณาลงความเห็นมากกวา ก็ถือเอาพวกขางน้ันใชสําหรับระงับวิวาทาธิกรณ มูลเหตุท่ีพระพุทธองคทรงกําหนดวิธีระงับอธิกรณดวยเยภุยยสิกา ๓๒ ตังอยางเชน สมัยหน่ึง พวกภิกษุกอความบาดหมาง ความทะเลาะ วิวาทกันในทามกลางสงฆ จนมีการกลาวโจมตีกันอยางรุนแรง ไมอาจระงับอธิกรณท่ีกําลังดําเนินอยูได ความทราบถึงพระพุทธองคทรงอนุญาตใหระงับอธิกรณท่ีมีลักษณะอยางน้ันดวย เยภุยยสิกา คือใหถือเอาเสียงขางมากเปนกําหนดในการตัดสิน พึงสมมติภิกษุผูประกอบดวยองค ๕ ใหเปนผูจับสลาก (ออกเสียงลงมติ) (๑) ไมถึงความลําเอียงเพราะความรัก (๒) ไมถึงความลําเอียงเพราะความเกลียดชัง (๓) ไมถึงความลําเอียงเพราะความงมงาย (๔) ไมถึงความลําเอียงเพราะความกลัว (๕) รูจักสลากที่จับแลวและยังไมไดจับ การจับสลากที่ถือวาเปนธรรม จะตองมีลักษณะ ๑๐ ประการ คือ ๓๓ (๑) อธิกรณไมใชเร่ืองเล็ก (๒) ลุกลามไปไกล (๓) ภิกษุพวกน้ันระลึกไดและพวกอ่ืนก็ระลึกได (๔) รูวาธรรมวาทีมากกวา (๕) รูวาทําอยางไรธรรมวาทีจึงจะมีมากกวา (๖) รูวาสงฆจักไมแตกกัน (๗) รูวาทําอยางไรสงฆไมแตกกัน (๘) ธรรมวาทีภิกษุจับโดยธรรม (๙) ธรรมวาทภีิกษุพรอมเพรียงกันจับ (๑๐) จับตามความเห็น ถาลักษณะท้ัง ๑๐ ประการน้ีแมขอใดขอหน่ึงขาดไป จะใชหลักเยภุยยสิกาไมได ขืนทําลงไปถือวาเปนการจับสลากโดยไมเปนธรรม ไมเปนวินัย เยภุยยสิกา เปนวิธีระงับขอปญหาวิวาทาธิกรณท่ีเกิดขึ้นในหมูสงฆจํานวนมาก ซ่ึงไมสามารถหาขอยุติไดโดยงาย และเปนเร่ืองสําคัญหากปลอยไวเร่ืองราวขอปญหาจะลุกลามไปไกล

                                                            

๓๒ “เอเกนป อธิกา พหุตราว, โก ปน วาโท ทฺวีหิ ตีหิ” วิ.จู.อ.(บาลี) -/๒๓๔/๒๙๙. ๓๓ วิ. จู. (บาลี) ๖/๖๑๓/๒๘๖.

Page 51: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

 

 

 

 

๓๖

อันจะเปนเหตุแหงการแตกแยกในหมูสงฆ พระพุทธองคจึงทรงกําหนดใหใชวิธีการจับสลากออกเสียงลงมติ หรือการดูคะแนนเสียงขางมาก และถือเอาความเห็นของคนขางมากเปนเกณฑในการยุติปญหา โดยความเห็นของคนขางมากน้ันจะตองไมขัดกับหลักพระธรรมวินัย ตองอยูในขอบเขตแหงศีลธรรม มิใชในทํานองพวกมากลากไป ถาผิดธรรมวินัย แมจะมีคะแนนเสียงมากเพียงใดก็ใชไมได ท้ังน้ีใหทําเปนการสงฆ โดยมีการสวดประกาศแตงต้ังภิกษุท่ีมีคุณสมบัติเหมาะสมใหเปนผูจับสลาก คือเปนธรรมวาที ภิกษุผูปราศจากความลําเอียงดวยอคติ๔ และรูหลักรูวิธีการจับสลาก การระงับอธิกรณดวยวิธีเยภุยยสิกาจึงจะชอบดวยพระธรรมพระวินัย

๖. ตัสสปาปยสิกา ตัสสาปาปยสิกาหมายถึง กรรมอันสงฆพึงทําเพราะความท่ีภิกษุน้ันเปนผูเลวทราม

ไดแก การที่สงฆลงโทษแกภิกษุผูเปนจําเลยในอนุวาทาธิกรณใหการกลับไปกลับมาเด๋ียวปฏิเสธ เด๋ียวสารภาพ พูดมุสาซ่ึงหนา พูดกลบเกลื่อนขอท่ีถูกซัก แตพิจารณาไดความสมจริงตามขอหาทุกอยาง สงฆลงโทษตามความผิดแมวาภิกษุน้ันจะไมรับหรือเพ่ิมโทษอาบัติท่ีตอง สงฆไดทําแกพระอุปวาฬเปนคร้ังแรก๓๔ พระอุปวาฬ ถูกซักถามเร่ืองอาบัติในทามกลางสงฆ ปฏิเสธแลวรับ รับแลวปฏิเสธ ใหการวกวนสับสนเท็จ ถูกตําหนิ ความทราบถึงพระผูมีพระภาคเจา รับส่ังถามความตามเปนจริงแลวทรงตําหนิ ทรงมอบใหสงฆลงตัสสปาปยสิกากรรมแกพระอุปวาฬ โดยมีหลักการ วิธีการ ความถูกตอง และโทษ เปนตน คือ (๑) ใหสงฆโจทจาํเลยดวยอาบัติกอน แลวใหเธอใหการ สงฆปรับอาบัติเธอตามปฏิญญา (๒) ภิกษุผูฉลาดผูสามารถสวดประกาศแจงโทษ กรรมท่ีสงฆควรทําแกจําเลยดวยญัตติจตุตถกรรมวาจา (๓) ภิกษุผูมีความผิดควรแกการทําโทษ แบบตัสสปาปยสิกา จะตองเปนผูมีลักษณะดังน้ี (๑) ภกิษุเปนผูไมสะอาด ความประพฤตินารังเกียจ (๒) เปนอลัชชี(ผูไมมีความละอาย) (๓) เปนผูถูกโจท

                                                            

๓๔ วิ. จู. (บาลี) ๖/๖๑๔/๒๘๖.

Page 52: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

 

 

 

 

๓๗

(๔) สงฆทําตัสสปาปยสิกากรรมแกเธอ (๕) สงฆพรอมเพรียงกันทําโดยธรรม (๔) ในการกระทํากรรมน้ีจะตองยึดหลักตอไปน้ี คือ (๑) ทําตอหนา (๒) สอบถามเธอกอน (๓) ทําเพราะเธอตองอาบัติ (๔) อาบัติท่ีตองจะตองเปนประเภทเทสนาคามินี(อาบัตท่ีิแสดงคืนได) (๕) อาบัติน้ันยังไมไดแสดง (๖) โจทกอนทํา (๗) ใหจําเลยใหการกอนทํา (๘) ปรับอาบัติกอนทํา (๙) ทําโดยธรรม (๑๐) สงฆพรอมเพรียงกันทํา

ถาทําตามหลักเกณฑดังกลาว ถือวาเปนการกระทําระงับ โดยชอบดวยพระธรรมวินัยแตถาหลักเกณฑเหลาน้ีบกพรองไปแมเพียงขอเดียว ถือวาเปนการกระทํา การระงับไมชอบดวยพระธรรมวินัย ถึงแมวากรรมน้ันจะกระทําเสร็จไปแลว แตเม่ือไมชอบดวยพระธรรมวินัย จัดเปนการกระทําการระงับไมดี เปนโมฆกรรม

(๕) เมื่อสงฆพิจารณาเห็นวา ภิกษุรูปใดก็ตามเปนผูกอความบาดหมาง ทะเลาะ วิวาท อื้อฉาว กออธิการณในสงฆ เปนพาล ไมฉลาด มีอาบัติมาก มีมารยาททราม คลุกคลีดวยคฤหัสถในลักษณะที่ไมสมควร มีศีล อาจาระ อัชฌาจาร ทิฐิวิบัติ กลาวติเตียนพระรัตนตรัย ความผิดเหลาน้ีสงฆอาจพิจารณาลงโทษแกภิกษุ ๑-๓ รูป ผูกระทําความผิดเหมือนกันหรือตางกัน โดยวิธีตัสสปาปยสิกาไดแตจะกระทําแกภิกษุ ๔ รูปในคราวเดียวกันไมไดเพราะจะเปนสงฆหมูหน่ึงลงโทษสงฆหมูหน่ึงไป

ในกรณีท่ีสงฆทราบพฤติกรรมในทางไมเหมาะสมดังกลาว ท่ีภิกษุเปนจํานวนมากกระทําถาตองการจะลงโทษดวยตัสสปาปยสิกากรรมควรแยกกลุมออกทํา กลุมละไมเกิน ๓ รูปถาพิจารณาเห็นวาเร่ืองจะลุกลามไปใหญโต มีการแตกแยกกันหนักขึ้น อาจพิจารณาใชวิธีติณวัตถารกวินัย ซ่ึงจะไดกลาวตอไป

(๖) ภิกษุท่ีถูกสงฆลงตัสสปาปยสิกากรรม หรือกรรมอื่น ๆ อีก ๕ อยาง คือ ตัช

Page 53: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

 

 

 

 

๓๘

ชะนียกรรม นิสยกรรม ปพพาชนียกรรม ปฏิสารณียกรรม อุกเขปนียกรรม จะตองประพฤติวัตร หรือขอหามท่ีควรละเวนเด็ดขาดในขณะท่ียังไมไดรับการยกโทษจากสงฆ การระงับอนุวาทาธิกรณดวยวิธีตัสสปาปยสิกา เปนการกําหราบภิกษุท่ีไมมีความละอายขาดสมณสัญญา คือ จิตสํานึกในความเปนสมณะ ละเมิดอาบัติแลวมีเจตนาหลีกเล่ียงไมยอมรับผิด แตเมื่อสงฆพิจารณาจากพยานหลักฐานตางๆ แลวเห็นวาไดละเมิดจริงก็ลงโทษและใหประพฤติวัตรเปนการเพ่ิมโทษใหหลาบจําจะไดไมกระทําอีกและการประพฤติวัตรท้ัง ๑๘ ขอน้ันเปนการตัดสิทธิและหนาท่ีอันพึงมีสําหรับภิกษุปกติ ตอเม่ือสํานึกตัวและไดประพฤติวัตรไมบกพรองแลว จึงจะสามารถขอระงับโทษตอสงฆ เมื่อสงฆอนุญาตแลวกรรมเปนอันระงับ พระพุทธองคทรงกําหนดข้ันตอนการลงตัสสปาปยสิกาไวดวยความรอบคอบ เชน ทําตอหนา สอบถามกอน ฯลฯ ท่ีสําคัญท่ีสุดทรงใหสงฆพรอมเพรียงกันทําโดยธรรม ท้ังน้ีเพ่ือใหการลงโทษเปนไปดวยความยุติธรรม ถูกตองตรงตามขอเท็จจริง ปองกันการลงโทษแกผูท่ีไมไดกระทําความผิด การลงตัสสปาปยสิกา หากจะทํากับภิกษุจํานวนมากในคราวเดียวกันอาจจะเปนสาเหตุใหเกิดความวุนวาย ความแตกแยกในหมูสงฆควรแยกกลุมทําคราวละไมเกิน ๓ รูป หรืออาจพิจารณาใชวิธีติณวัตถารกะ ระงับอธิกรณดังกลาวน้ัน ๗. ติณวัตถารกวินัย

ติณวัตถารกวินัย๓๕หมายถึง การใชระเบียบดังกลบไวดวยหญา เปนกระบวนการระงับอธิกรณโดยใหคูกรณีท้ังสองฝายประนีประนอมยอมความกัน ไมจําเปนตองสะสางรื้อฟนสอบสวนเพ่ือจะบอกวา ใครผิดใครถูก วิธีติณวัตถารกวินัยน้ี เปนวิธีระงับอธิกรณท่ีใชในเม่ือจะระงับลหุกาบัติท่ีเก่ียวกับภิกษุจํานวนมาก ตางก็ประพฤติไมสมควรและซัดทอดกันเปนเร่ืองนุงนังซับซอน ชวนใหทะเลาะวิวาท กลาวซัดกันไปไมมีท่ีส้ินสุด จะระงับดวยวิธีอื่นก็จะเปนเร่ืองลุกลามไปเพราะถาจะสืบสวนสอบสวนปรับใหกันและกันแสดงอาบัติ ก็มีแตจะทําใหอธิกรณรุนแรงข้ึน จึงระงับดวยติณวัตถารกวิธี คือ แบบกลบไวดวยหญา ตัดตอนยกเลิกเสียเชนกรณีภิกษุในกรุงโกสัมพีแตกกันเปนตัวอยาง ไมตองสืบสวนสอบสวนเหตุเหตุอธิกรณเดิม

                                                            

        ๓๕

 อิทํ กมฺมํ ติณวตฺถารกสทิสตฺตา ติณวตฺถารโกติ วุตฺต”ํ วิ.จู.(บาลี) ๓/๒๑๒/๒๙๔-๒๙๕.

 

Page 54: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

 

 

 

 

๓๙

พระพุทธองคทรงกําหนดเง่ือนไขในการปฏบัิติเพ่ือระงับอธิกรณชนิดดังกลาวไวดังน้ี คือ๓๖ (๑) ใหท้ังสองฝายท่ีมีเรื่องกันประชุมรวมกันในที่แหงเดียวกัน (๒) ใหพระเถระผู เปนท่ียอมรับนับถือของท้ังสองฝาย ประกาศดวยญัตติกรรมวาจาเปนการบอกกลาวถึงการกระทําอันกอใหเกิดความเสียหายและอาจลุกลามเปนเรื่องใหญโตออกไปไดจึงขอใหท้ังสองฝายหาทางยุติดวยการประนีประนอม (๓) ตัวแทนของทั้งสองฝายจะประกาศใหฝายตนทราบโดยทํานองเดียวกัน และจบลงดวยการขอรองใหหาทางออมชอมกันในชวงน้ีก็ทําดวยญัตติกรรม (๔) ตัวแทนท้ังสองฝายจะสวดประกาศดวยญัตติทุติยกรรมวาจาเปนการกลาวทบทวนญัตติครั้งแรก และเปนตัวแทนในการแสดงอาบัติท่ีตนและคนอ่ืนละเมิดสําหรับฝายตน ในทามกลางสงฆดวย (๕) อธิกรณสมถะขอน้ีจะใชระงับอาบัตท่ีิมีโทษหนัก(ปาราชิกและสังฆาทิเสส) และอาบัติท่ีเก่ียวของเน่ืองกันชาวบานไมได (๖) ดวยการกระทําดังน้ี ภิกษุเหลาน้ันเปนผูบริสุทธ์ิจากอาบัติเหลาน้ัน เวนอาบัติท่ีมีโทษหนัก อาบัติท่ีเก่ียวกับคฤหัสถ ผูมีความเห็นแยง และผูไมเขารวมประชุม การระงับอธิกรณดวยติณวัตถารกวิธี มีวัตถุประสงคสําคัญเพ่ือใหภิกษุเหลาน้ันมองเห็นโทษในการกระทําของตนเอง ใหลดทิฏฐิมานะ ใหอภัยกับผูอื่น ตระหนักถึงคุณคาแหงสามัคคีธรรม คํานึงถึงประโยชนของหมูคณะ และพระธรรมวินัย โดยการใหเลิกแลวตอกันและหันมาประพฤติเพ่ือจุดหมายสูงสุดแหงการประพฤติพรหมจรรยตอไป

กลาวโดยสรุปการกําหนดอธิกรณจึงเปนส่ิงสําคัญท่ีจะตองพิจารณาในการเร่ิมตนกระบวนการแกไขปญหา โดยแบงประเภทของปญหาไวเปน ๔ ประเภทคือ  วิวาทาธิกรณ อนุวาทาธิกรณ อาปตตาธิกรณ และกิจจาธิกรณ สําหรับกระบวนการแกไขปญหาเม่ือสงฆทําสังฆกรรมอธิกรณสมถวิธีประเภทสัมมุขาวินัย สติวินัย อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณวินัย เยภุยยสิกา ติณณวัตถารกวินัย หรือตัสสปาปยสิกาแกจําเลยแลว ก็จะมีการประกาศใหสังคมไดทราบขอเท็จจริงภายหลังจากการทําสังฆกรรมดังกลาว โดยสงฆจะตองใหภิกษุรูปใดรูปหน่ึงเปนตัวแทนนํากติกาน้ีไปแจงแกภิกษุสงฆในอาวาสอื่นตอไป

                                                            

๓๖ วิ. จู. (บาลี) ๖/๖๒๗/๒๙๖-๖๓๑/๒๙๙.

Page 55: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

 

 

 

 

๔๐

๒.๒ กฎนิคหกรรมของมหาเถรสมาคม ฉบับท่ี ๑๑ พ.ศ. ๒๕๒๑ วาดวยการลงนิคหกรรมตาม พระราชบัญญัติคณะสงฆพ.ศ. ๒๕๐๕ แกไขเพ่ิมเติม (ฉบับท่ี ๒) พ.ศ.๒๕๓๕ ในประเทศไทย กระบวนการยุติธรรมในพระวินัยปฎกเร่ิมตั้งแตสมัยสุโขทัยเปนตนมา นอกจากพระวินัยจะมีบัญญัติในพระวินัยปฎกของฝายพุทธจักรแลว ฝายอาณาจักรก็ไดจารึกไวดังท่ีปรากฏอยูในศิลาจารึก(หลักท่ี ๑) พอขุนรามคําแหงมหาราช และศิลาจารึก (หลักท่ี ๓๘) พระยาเลอไทยมีบัญญัติกฏพระสงฆในกฏหมายตราสามดวง ศาลธรรมการ จนกระท่ังสมัยกรุงศรีอยุธยา สมัยกรุงรัตนโกสินทรตอนตน เมื่อมาถึงสมัยรัชกาลท่ี ๕ จึงเ ร่ิมมีการบัญญัติมากขึ้นดังเชนในพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ ร.ศ. ๑๒๑ (พ.ศ. ๒๔๔๕) และตอมามีการแกไขเปล่ียนแปลงบทบัญญัติเปนพระราชบัญญัติคณะสงฆ พ.ศ. ๒๔๘๔ โดยไดแตงตั้งองคกรตามฝายอาณาจักร ซ่ึงประกอบดวย สังฆสภา หรือสภาของพระสงฆโดยมีตัวแทนจากพระสงฆทําหนาท่ีในการตรากฎหมายมาใชและมีสังฆมนตรีเปนฝายบริหารและมีพระวินัยธร เพ่ือทําหนาท่ีพิจารณาคดีท่ีพระสงฆไดกระทําละเมิด พระธรรมวินัย ซ่ึงเปนการลอกเลียนแบบฝายปกครองหรือฝายอาณาจักร ซ่ึงตอมาจอมพลสฤษด์ิ ธนะรัชต ไมเห็นดวยเพราะเห็นวาฝายศาสนาจักรไมควรเลียนแบบฝายอาณาจักร การมีมหาเถรสมาคมเปนองคกรฝายบริหารทําหนาท่ีใชอํานาจท้ังสามอํานาจนาจะเกิดความรวดเร็ว และมีความเปนเอกภาพ๓๗ ตอมาไดมีการแกไขเปนพระราชบัญญัติคณะสงฆ พ.ศ. ๒๕๐๕ ซ่ึงตราขึ้นในสมัยท่ีทางราชอาณาจักรปกครองโดยคณะปฏิวัติ และมีสภาพบังคับใชเปนเวลา ๓๐ ป (ถึง พ.ศ.๒๕๓๕) เม่ือสถานการณท้ังฝายราชอาณาจักรและศาสนจักรเปล่ียนแปลงไปตามเวลา บางมาตรายังไมมีความรัดกุมพอ จึงไดตราพระราชบัญญัติคณะสงฆ พ.ศ. ๒๕๐๕ แกไขเพ่ิมเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ (ฉบับท่ี ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ เม่ือวันท่ี ๒๕ กุมภาพันธ ๒๕๓๕ หากนับระยะเวลาการบังคับใชกฎหมายฉบับดังกลาวถึงปจจุบัน (พ.ศ.๒๕๕๓) เปนเวลา ๔๘ ป ในการแกไขเพ่ิมเติมพระราชบัญญัติคณะสงฆ พ.ศ. ๒๕๐๕ (ฉบับท่ี ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ มีสาระสําคัญ ดังน้ี

ตามท่ีไดมีพระบรมราชโองการโปรดเกลาฯ ใหประกาศใชพระราชบัญญัติคณะสงฆ (ฉบับท่ี ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ น้ัน อาศัยเหตุผลพอสรุปไดวา พระราชบัญญัติคณะสงฆ พ.ศ. ๒๕๐๕ ไดใชบังคับเปนเวลา ๓๐ ป บทบัญญัติบางมาตราไมชัดเจนไมเหมาะสมสอดคลองกับสภาพการณ

                                                            

๓๗ พระเมธีธรรมาภรณ (ประยูร ธมฺมจิตโต), ระเบียบการปกครองคณะสงฆไทย, (กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙), หนา ๑๐๙.

Page 56: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

 

 

 

 

๔๑

ในปจจุบัน และในบางกรณีมิไดบัญญัติไว ทําใหเกิดปญหาในทางปฏิบัติ จึงเปนการสมควรท่ีตองมีการปรับปรุงแกไขเพ่ิมเติม บทบัญญัติแหงพระราชบัญญัติคณะสงฆ พ.ศ. ๒๕๐๕ ใหเหมาะสม ซ่ึงในพระราชบัญญัติดังกลาว ไดเพ่ิมเติมบทนิยามเพ่ือใหไดความชัดเจน และสะดวกในการตีความปรับปรุงบทบัญญัติวาดวยการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชใหมีเพียงพระองคเดียวเพ่ือปองกันการเกิดปญหาขัดแยงในวงการคณะสงฆ กําหนดข้ันตอนการแตงต้ังผูปฏิบัติหนาท่ีแทนสมเด็จพระสังฆราช กําหนดอํานาจหนาท่ีและการปฏิบัติหนาท่ีของมหาเถรสมาคมใหชัดเจน กําหนดใหมีเจาคณะใหญเพ่ือทําหนาท่ีในการปกครองคณะสงฆ เปนการแบงเบาภาระหนาท่ีของมหาเถรสมาคม ปรับปรุงบทบัญญัติวาดวยการสละสมณเพศของพระภิกษุพรอมท้ังกําหนดใหพระภิกษุตองคําวินิจฉัยใหสละสมณเพศน้ัน ตองสึกภายในสามวันนับแตวันท่ีไดรับทราบคําวินิจฉัยน้ัน เพ่ิมเติมบทบัญญัติใหวัดมีฐานะเปนนิติบุคคลและใหเจาอาวาสเปนผูแทนวัด เน่ืองจากไดมีการแกไขประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย มาตรา ๗๒ มีผลใหวัดไมมีฐานะเปนนิติบุคคล ตามประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย จึงตองบัญญัติใหวัดมีฐานะเปนนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายน้ีเพ่ือประโยชนในการปกครองดูแลรักษาศาสนสมบัติของวัดเพ่ิมเติมบทบัญญัติวาดวยการดูแลรักษา ศาสนสมบัติของวัดราง ซ่ึงพระราชบัญญัติคณะสงฆ พ.ศ. ๒๕๐๕ มิไดบัญญัติไว ปรับปรุงบทบัญญัติวาดวยการโอนกรรมสิทธ์ิท่ีวัด ท่ีธรณีสงฆและท่ีศาสนสมบัติกลางใหแกสวนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ รวมท้ัง เ น่ืองจากพระราชบัญญัติคณะสงฆ พ.ศ. ๒๕๐๕ มิไดบัญญัติไว อีกท้ังปรับปรุงบทกําหนดโทษใหสอดคลองกับสภาพการณในปจจบัุน

พระราชบัญญัติคณะสงฆ พ.ศ. ๒๕๐๕ แกไขเพ่ิมเติมโดยพระราชบัญญัติสงฆ (ฉบับท่ี ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ มีใจความสําคัญสวนท่ีเก่ียวของกับ “นิคหกรรม” คือเปดโอกาสใหองคกรท่ีทําหนาท่ีปฏิบัติตามพระราชบัญญัติไดสะดวกข้ึน หมายถึง มอบอํานาจใหมหาเถรสมาคมตรากฎมหาเถรสมาคม หลักเกณฑและวิธีปฏิบัติอ่ืนๆ ดังท่ีปรากฏในพระราชบัญญัติคณะสงฆ (ฉบับท่ี ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๑๕ จัตวา วา เพ่ือรักษาหลักพระธรรมวินัยและเพ่ือความเรียบรอยดีงามของคณะสงฆ มหาเถรสมาคมจะตรากฎมหาเถรสมาคม เพ่ือกําหนดโทษหรือวิธีลงโทษทางการปกครอง สําหรับพระภิกษุและสามเณรท่ีประพฤติใหเกิดความเสียหายแกพระศาสนาและการปกครองคณะสงฆก็ได นอกจากน้ี ในพระราชบัญญัติคณะสงฆ หมวด ๔ วาดวยนิคหกรรมและการสละสมณ เพศ ยังไดระบุโทษ คือการท่ีภิกษุจะตองรับนิคหกรรมเมื่อกระทําการลวงละเมิดพระธรรมวินัย และ

Page 57: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

 

 

 

 

๔๒

จึงใหอํานาจมหาเถรสมาคมตรากฎมหาเถรสมาคม เพ่ือกําหนดหลักเกณฑ และวิธีปฏิบัติสําหรับการลงนิคหกรรมไวดวย ตามมาตรา ๒๔ และ ๒๕ ดังน้ี มาตรา ๒๔ พระภิกษุจะตองรับ นิคหกรรม ก็ตอเม่ือกระทําการลวงละเมิด พระธรรมวินัย และนิคหกรรมที่จะลงแกพระภิกษุก็ตองเปนนิคหกรรมตามพระธรรมวินัย มาตรา ๒๕ ภายใตบังคับมาตรา ๒๔ มหาเถรสมาคมมีอํานาจตรากฎมหาเถรสมาคมกําหนดหลักเกณฑและวิธีการปฏิบัติ เพ่ือใหการลงนิคหกรรมเปนไปโดยถูกตอง สะดวก รวดเร็ว และเปนธรรม และใหถือวาเปนการชอบดวยกฎหมายท่ีมหาเถรสมาคมจะกําหนดในกฎมหาเถรสมาคม ใหมหาเถรสมาคมหรือพระภิกษุผูปกครองสงฆตําแหนงใดเปนผูมีอํานาจลงนิคหกรรมแกพระภิกษุผูลวงละเมิดพระธรรมวินัย กับท้ังการกําหนดใหการวินิจฉัยการลงนิคหกรรมใหเปนอันยุติในช้ันใด ๆ น้ันดวย พระราชบัญญัติคณะสงฆฉบับปจจุบัน จึงไดใหอํานาจมหาเถรสมาคมในการตรากฎเถรสมาคม ออกขอบังคับ วางระเบียบ ออกคําส่ัง มีมติหรือออกประกาศโดยไมขัดแยงกับกฎหมายและพระธรรมวินัย และมอบใหพระภิกษุใดหรือคณะกรรมการ หรือคณะอนุกรรมการตามมาตรา ๑๙ เปนผูใชอํานาจหนาท่ีตามวรรคหน่ึงก็ได นิคหกรรมซ่ึงเปนวิธีการลงโทษพระภิกษุผูลวงละเมิดพระธรรมวินัยน้ัน นอกจากพระภิกษุผูประพฤติลวงละเมิดพระธรรมวินัยตองอาบัติตามการละเมิดสิกขาบทแลวยังตองถูกลงโทษอีกขั้นหน่ึงตามความเหมาะสมเรียกวาการลงนิคหกรรม ตามที่บัญญัติไวในกฎมหาเถรสมาคมขอ ๖๒ ซ่ึงกลาวถึงการลงนิคหกรรมไวสองอยางคือ นิคหกรรมท่ีพระภิกษุตองสึก และนิคหกรรมท่ีไมตองสึกเปนตน การศึกษาครั้งน้ี ผูวิจัยตองการศึกษากระบวนการพิจารณานิคหกรรม ซ่ึงมีลักษณะคลายคลึงกับการพิจารณาคดีทางกฎหมาย ผูวิจัยจึงขอนําเอาแนวปฏิบัติของการลงนิคหกรรมในมิติเทียบเคียงกับหลักกฏหมาย ท้ังน้ีเพ่ือใหเกิดความเขาใจย่ิงข้ึนในกระบวนการพิจารณาคดีทางกฎหมายท้ังฝายศาสนจักรและอาณาจักร โดยมีลําดับดังน้ี ๒.๒.๑. ความหมายและประเภทกฏนิคหกรรม นิคหกรรม คือ วิธีการลงโทษแกพระภิกษุผูประพฤติลวงละเมิดพระธรรมวินัย กลาวคือ เม่ือมีพระภิกษุประพฤติลวงละเมิดพระธรรมวินัยแลว นอกจากจะถูกลงโทษดวยการปรับอาบัติแลว ยังตองถูกลงโทษอีกข้ึนหน่ึงตามความเหมาะสม ซึ่งการลงโทษดังกลาวน้ันเรียกวาการลงนิคหกรรมถือวาเปนมาตรการในอันท่ีจะใชขมหรือปรามเพ่ือใหเกิดความเข็ดหลาบ มีปรากฏอยู

Page 58: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

 

 

 

 

๔๓

ในขอ ๖๑ แหงกฎมหาเถรสมาคม วาดวยการลงนิคหกรรมมีความวา “เมื่อจําเลยรูปใดตองคําวินิจฉัยใหรับนิคหกรรมอยางใดอยางหน่ึงถึงท่ีสุดแลวใหคณะผูพิจารณาซ่ึงอานคําวินิจฉัย แจงผลคําวินิจฉัยแกผูบังคับบัญชาใกลชิดของจําเลยรูปน้ันทราบ เพ่ือดําเนินการใหเปนไปตามคําวินิจฉัยน้ัน”๓๘

อน่ึง ทานไดอธิบายนิคหกรรมดังกลาวน้ันไวในขอ ๖๒ วา ถาจําเลยไมยอมรับนิคหกรรมอยางใดอยางหน่ึง คือ (๑) ไมยอมรับนิคหกรรมตามคําวินิจฉัยใหสึก ไมสึกภายใน ๒๔ ช่ัวโมงนับแตเวลาท่ีไดรับคําวินิจฉัยน้ัน อันเปนการฝาฝนมาตรา ๒๖ ซ่ึงกําหนดโทษอาญาไวในมาตรา ๔๒ แหงพระราชบัญญัติคณะสงฆ พ.ศ. ๒๕๐๕ (๒) ไมยอมรับนิคหกรรมตามวินิจฉัยไมถึงใหสึกใหผูบังคับบัญชารายงานโดยลําดับถึงมหาเถรสมาคม เมื่อมหาเถรสมาคมวินิจฉัยหรือมีคําส่ังใหสละสมณเพศแลวไมสึกภายใน ๓ วัน นับแตวันท่ีไดรับทราบคําวินิจฉัยของมหาเถรสมาคม อันเปนการฝาฝนมาตรา ๒๗ ซ่ึงกําหนดโทษอาญาไวมาตรา ๔๒ แหงพระราชบัญญัติคณะสงฆ พ.ศ. ๒๕๐๕ ในกรณีเชนน้ีใหพระภิกษุผูดํารงตําแหนงปกครองคณะสงฆซ่ึงเปนผูบังคับบัญชาใกลชิดของจําเลยรูปน้ันขอความรวมมือจากเจาหนาท่ีฝายราชอาณาจักรเพ่ือใหเปนไปตามคําวินิจฉัย๓๙ ดังน้ันเม่ือพิจารณาตามความในขอ ๖๒ ดังกลาวแลวก็เปนอันสรุปไดวา นิคหกรรมของมหาเถรสมาคมมี ๒ ประเภท คือ นิคหกรรมใหสึกและนิคหกรรมไมถึงใหสึก ซ่ึงมีรายละเอียดดังน้ี ๑. นิคหกรรมใหสึก คือ ความผิดท่ีพระภิกษุผูลวงละเมิดวินัยสงฆขอใดขอหน่ึงเปนประจํา หรือเปนผูท่ีไมไดมีสังกัดอยูในวัดใดวัดหน่ึง กับท้ังไมมีท่ีอยูเปนหลักเปนแหลง ในกรณีเชนน้ีมหาเถรสมาคมมีอํานาจท่ีจะวินิจฉัยและมีคําสั่งใหพระภิกษุรูปน้ันสละสมณเพศและตองสึกภายใน ๓ วันนับแตวันท่ีไดทราบคําวินิจฉัยน้ัน ตามความในมาตรา ๒๗ แหงพระราชบัญญัติคณะสงฆ พ.ศ. ๒๕๐๕ ประกอบกับพระราชบัญญัติคณะสงฆ (ฉบับท่ี ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ ท่ีแกไขความเดิมใหมีความชัดเจนย่ิงขึ้น นิคหกรรมให สึก น้ีปรากฏตามความในมาตรา ๒๖๔๐ แหงพระราชบัญญัติคณะสงฆ พ.ศ. ๒๕๐๕ ท่ีวา “พระภิกษุรูปใดลวงละเมิดพระธรรมวินัย และไดมี                                                            

๓๘ เรื่องเดียวกัน, หนา ๑๒๙. ๓๙ กรมการศาสนา, หนังสือคูมือพระสังฆาธิการ วาดวย พระราชบัญญัติ กฎ ระเบียบ และคําส่ัง

ของคณะสงฆ, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพกรมการศาสนา, ๒๕๕๓.), หนา ๖๐. ๔๐ กรมการศาสนา, หนังสือคูมือพระสังฆาธิการ วาดวย พระราชบัญญัติ กฎ ระเบียบ และคําส่ัง

ของคณะสงฆ, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพกรมการศาสนา, ๒๕๕๓.), หนา ๖๒.

Page 59: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

 

 

 

 

๔๔

คําวินิจฉัยถึงท่ีสุดใหไดรับนิคหกรรมใหสึก ตองสึกภายในย่ีสิบส่ีชั่วโมงนับแตเวลาท่ีไดทราบคําวินิจฉัยน้ัน” ๒. นิคหกรรมไมถึงใหสึก คือ ความผิดขั้นเบาท่ีพระภิกษุผูประพฤติลวงละเมิดแลวสามารถท่ีแกไขได หมายถึง พระภิกษุลวงละเมิดวินัยสงฆท่ีเปนสังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย ปาฏิเทสนียะ ทุกกฎ และทุพภาสิตอยางใดอยางหน่ึงแลวสามารถแกไขไดดวยวิธีการ ทางพระวินัยท่ีพระพุทธเจาทรงอนุญาตไว คือ อาบัติสังฆาทิเสส แมจะเปนอาบัติท่ีมีโทษหนักรองจากอาบัติปาราชิกก็จริง แตก็ยังสามารถแกไขไดดวยการประพฤติวุฏฐานวิธี อันเปนระเบียบวิธีปฏิบัติสําหรับพระภิกษุผูจะเปล้ืองตนจากอาบัติสังฆาทิเสส๔๑ สวนอาบัติท่ีเหลืออีก ๕ เปนอาบัติท่ีเปนเทสนาคามินีท่ีเม่ือพระภิกษุตองเขาแลวพนไดดวยวิธีแสดงอาบัติ หรือเปนอาบัติท่ีปลงตกดวยการแสดงท่ีเรียกวา แสดงอาบัติหรือปลงอาบัติ๔๒ คือ พระภิกษุผูลวงละเมิดตองแสดงตอหนาสงฆ คณะหรือบุคคลก็จะทําใหพนจากอาบัติเหลาน้ีได ๒.๒.๒. ลักษณะการตัดสินกฎนิคหกรรมของมหาเถรสมาคม ลักษณะการตัดสินกฎนิคหกรรมของมหาเถรสมาคมไดกําหนดใหเปนอํานาจหนาท่ีของผูพิจารณา และคณะผูพิจารณาดําเนินการในการนิคหกรรมกลาวคือ ผูพิจารณาเปนผูมีอํานาจหนาท่ีดําเนินการตามวิธีปฏิบัติเบ้ืองตน สวนคณะผูพิจารณาเปนผูมีอํานาจหนาท่ีในการไตสวนมูลฟองและพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรม ซึ่งทานไดกําหนดคณะผูพิจารณาไวเปน ๓ ชั้น คือ คณะผูพิจารณาช้ันตน คณะผูพิจารณาชั้นอุทธรณ และคณะผูพิจารณาชั้นฎีกา ซ่ึงหากเปรียบเทียบกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในฝายราชอาณาจักรแลว ผูพิจารณาเทากับผูพิพากษาเวรช้ี คณะผูพิจารณา เทากับคณะผูพิพากษา คณะผูพิจารณาชั้นตนเทากับองคคณะผูพิพากษาในศาลช้ันตน คณะผูพิจารณาช้ันอุทธรณเทากับองคคณะผูพิจารณาในศาลชั้นอุทธรณ สวนคณะผูพิจารณาช้ันฎีกา เทากับองคคณะผูพิพากษาในศาลชั้นฎีกา๔๓                                                             

๔๑ วิ.จู. (บาลี) ๖/๗๕-๑๘๔/๑๐๐-๒๑๗, (ไทย) ๖/๗๕-๑๘๔/๑๕๗-๒๙๔. ๔๒ วิ.อ. (บาลี) ๓/๔๗๕/๕๒๘. ๔๓ พระราชรัตนกวี (ไสว สุจิตฺโต), คําอธิบายกฎมหาเถรสมาคม ฉบับท่ี ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๒๑) วา

ดวยการลงนิคหกรรม ภาควิชาการและภาคปฏิบัติ พรอมดวยพระราชบัญญัติคณะสงฆ พ.ศ. ๒๕๐๕ และกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๑๑, (กรุงเทพมหานคร : ธีรพงษการพิมพ, ๒๕๒๓), หนา ๗๗.

Page 60: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

 

 

 

 

๔๕

๒.๒.๓ บทนิยามแหงกฎนิคหกรรม บทนิยาม หมายถึงบทกําหนดความหมายของถอยคํา หรือท่ีเรียกกันวาบทวิเคราะห คือ เปนคําอธิบายความหมายของคําบางคําท่ีนํามาใชกฎมหาเถรสมาคมฉบับน้ี เพราะในกฎมหาเถรสมาคมน้ันมีคําบางคําท่ีมีความหมายกวางแคบตางกัน ทําใหไมเขาใจ เขาใจยาก หรือเขาใจผิดเปนอยางอ่ืน จึงไดกําหนดบทนิยามไวในขอ ๔ มี ๑๘ บทดังน้ี ๑. พระภิกษุ หมายถึง พระภิกษุท่ีมิใชผูปกครองสงฆ พระภิกษุผูดํารงสมณศักด์ิต่ํากวาชั้นพระราชาคณะ พระภิกษุผูปกครองสงฆ พระภิกษุผูเปนกิตติมศักด์ิ ผูดํารงตําแหนงท่ีปรึกษาเจาคณะ ผูดํารงตําแหนงเทียบพระสังฆาธิการ และผูดํารงสมณศักด์ิช้ันพระราชาคณะข้ึนไป ๒. ความผิด หมายถึง การลวงละเมิดพระธรรมวินัย ๓. นิคหกรรม หมายถึง การลงโทษตามพระธรรมวินัย ๔. ผูมีสวนไดเสีย หมายถึง ปกตัตตะภิกษุ ท่ีมีสังกัดในวัดเดียวกันและมีสังวาสเสมอกัน กับพระภิกษุผูเปนจําเลย ๕. โจทก หมายถึง (ก) ผูมีสวนไดเสียหรือผูเสียหาย ท่ีฟองพระภิกษุตอพระภิกษุผูพิจารณาในขอหาวาไดกระทําความผิด (ข) พระภิกษุท่ีไดรับแตงต้ังใหปฏิบัติหนาท่ีโจทกแทนสงฆ ในชั้นพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมเก่ียวกับความผิดของพระภิกษุผูถูกกลาวหา ๖. จําเลย หมายถึง (ก) พระภิกษุท่ีถูกโจทกฟองตอพระภิกษุผูพิจารณาในขอหาวา ไดกระทําความผิด (ข) พระภิกษุผูถูกกลาวหาท่ีตกเปนจําเลยในชั้นพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรม ๗. ผูเสียหาย หมายถึง ผูไดรับความเสียหายเฉพาะตัว เน่ืองจากการกระทําความผิดของพระภิกษุผูเสียหาย และผูจัดการแทนผูเสียหาย ในกรณีดังตอไปน้ี คือ (ก) ผูแทนโดยชอบธรรม หรือผูอนุบาลตามกฎหมาย หรือตามท่ีพระภิกษุผูมีอํานาจลงนิคหกรรมพิจารณาเห็นสมควรใหเปนผูจัดการแทนผูเสียหาย เฉพาะแตในความผิดซ่ึงไดกระทําตอผูเยาวหรือผูไรความสามารถ ซ่ึงอยูในความดูแล (ข) ผูบุพพการี ผูสืบสันดาน สามีหรือภริยา พ่ีนองรวมบิดามารดาหรือตางบิดา หรือตางมารดา เฉพาะแตในความผิดซ่ึงผูเสียหายตายกอนหรือหลังฟอง หรือปวยเจ็บไมสามารถจะจัดการเองได (ค) ผูจัดการหรือผูแทนอื่น ๆ ของนิติบุคคล เฉพาะความผิดซ่ึงกระทําแกนิติบุคคล ๘. ผูกลาวหา หมายถึง ผูบอกกลาวการกระทําความผิดของพระภิกษุตอพระภิกษุผูพิจารณาโดยท่ีตนมิไดเปนผูมีสวนไดเสีย หรือมิไดเปนผูเสียหาย และประกอบดวยคุณสมบัติอยางใดอยางหน่ึงดังตอไปน้ี (ก) เปนพระภิกษุปกตัตตะหรือสามเณรท่ีถึงพรอมดวยศีลอาจาระและมีสังกัด (ข) เปนคฤหัสถผูนับถือพระพุทธศาสนามีอายุไมต่ํากวา ๒๐ ปบริบูรณมีความประพฤติเรียบรอย มีวาจาเปนท่ีเช่ือถือได และมีอาชีพเปนหลักฐาน

Page 61: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

 

 

 

 

๔๖

๙. ผูแจงความผิด หมายถึง พระภิกษุผูปกครองสงฆท่ีไมมีอํานาจลงนิคหกรรม แจงการกระทําความผิดหรือพฤติกรรมอันเปนท่ีนารังเกียจสงสัยในความผิดของพระภิกษุท่ีไดพบเห็นตอพระภิกษุผูพิจารณา ๑๐. ผูถูกกลาวหา หมายถึง (ก) พระภิกษุท่ีถูกกลาวหา บอกกลาวการกระทําความผิดตอพระภิกษุผูพิจารณา (ข) พระภิกษุซ่ึงถูกผูแจงความผิด แจงการกระทําความผิด หรือพฤติการณอันเปนท่ีนารังเกียจสงสัย ในความผิดตอพระภิกษุผูพิจารณา ๑๑. ผูมีอํานาจลงนิคหกรรม หมายถึง พระภิกษุผูพิจารณาและคณะผูพิจารณา ๑๒. เจาสังกัด หมายถึง พระภิกษุผูปกครองสงฆชั้นเจาอาวาส เจาคณะ เจาสังกัด มีอํานาจลงนิคหกรรมแกพระภิกษุผูกระทําความผิดในเขตจังหวัดท่ีสังกัดอยู ๑๓. เจาของเขต หมายถึง พระภิกษุผูปกครองสงฆช้ันเจาคณะเจาของเขต มีอํานาจลงนิคหกรรมแกพระภิกษุผูกระทําความผิดในเขตจังหวัดท่ีมิไดสังกัดอยู ๑๔. ผูพิจารณา หมายถึง เจาสังกัดหรือเจาของเขตแลวแตกรณี มีอํานาจหนาท่ีดําเนินการตามวิธีปฏิบัติเบ้ืองตน ๑๕. คณะผูพิจารณา หมายถึง มหาเถรสมาคมและคณะพิจารณาท่ีมีผูดํารงตําแหนงสูงเปนหัวหนา มีอํานาจหนาท่ีดําเนินการตามวิธีไตสวนมูลฟองและวิธีพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรม๔๔ ๒.๒.๔ วิธีปฏิบัติเบ้ืองตนในการลงนิคหกรรม วิธีปฏิบัติเบ้ืองตนในการลงนิคหกรรม คือ วิธีปฏิบัติกอนท่ีจะดําเนินการตามวิธีไตสวนมูลฟองและวิธีพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมมี ๔ วิธี คือ ๑. วิธีปฏิบัติเม่ือมีการฟอง๔๕ เพ่ือความสะดวกและเขาใจงายข้ึน ผูวิจัยจะขอแยกออกเปน ๓ วิธี คือ

                                                            

๔๔ กรมการศาสนา, กฎหมายเถรสมาคม ฉบับท่ี ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๒๑) วาดวยการลงนิคหกรรม พรอมดวยคําแนะนําและแบบสําหรับใชในการพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรม, (กรุงเทพมหานคร : กรมการศาสนา, ๒๕๕๓), หนา ๖๖.

๔๕ พระราชรัตนกวี (ไสว สุจิตฺโต), คําอธิบายกฎมหาเถรสมาคม ฉบับท่ี ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๒๑) วาดวยการลงนิคหกรรม ภาควิชาการและภาคปฏิบัติ พรอมดวยพระราชบัญญัติคณะสงฆ พ.ศ. ๒๕๐๕ และกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๑๑, (กรุงเทพมหานคร : ธีรพงษการพิมพ, ๒๕๒๓), หนา ๙๙.

Page 62: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

 

 

 

 

๔๗

ก. วิธีปฏิบัติฝายผูรองเปนขั้นตอนการปฏิบัติของผูฟอง ไดกําหนดไวในขอ ๑๒ วรรค ๑ โดยมีวิธีปฏิบัติ ดังน้ี (๑) ตองย่ืนฟองเปนหนังสือลงลายมือช่ืออันแทจริงของโจทก ไมใชบัตรสนเทหหรือหนังสือท่ีสงทางไปรษณีย (๒) ตองย่ืนฟองดวยตนเอง เวนแตไมสามารถไปย่ืนฟองดวยตนเอง จะมีหนังสือมอบใหผูใดผูหน่ึงไปย่ืนฟองแทนก็ได (๓) ตองย่ืนตอเจาอาวาส หรือเจาคณะสังกัด หรือเจาคณะเจาของเขต ในเขตท่ีความผิดน้ันเกิดขึ้น ซ่ึงเปนผูพิจารณา มีอํานาจลงนิคหกรรม ข. วิธีปฏิบัติฝายผูรับฟอง เปนขั้นตอนการปฏิบัติฝายผูรับฟอง จึงควรท่ีฝายผูรับฟองจะหาโอกาสทําความเขาใจกับฝายผูฟองใหทราบถึงคุณและโทษของการฟองเสียกอนวา ถาการฟองเปนความจริง ยอมเปนคุณประโยชน เปนการชวยชําระมลทินของสงฆ รักษาความบริสุทธ์ิของวัดและพระศาสนา แตถาเปนการฟองเท็จตอผูพิจารณา ซ่ึงเปนเจาพนักงานตามความในมาตรา ๔๕ แหงพระราชบัญญัติคณะสงฆ พ.ศ. ๒๕๐๕๔๖ นอกจากจะเปนการทําใหผูอื่นไดรับความเสียหายแลวยังจะมีความผิดอาญาตามความในมาตรา ๑๓๗ แหงประมวลกฎหมายอาญาท่ีวา “ผูใดแจงขอความอันเปนเท็จแกเจาพนักงาน ซ่ึงอาจะทําใหผูอื่นหรือประชาชนเสียหาย ตองระวางโทษจําคุกไมเกินหกเดือน หรือปรับไมเกินหน่ึงพันบาทหรือท้ังจําท้ังปรับ” ๔๗ อีกท้ังถาโจทกเปนพระภิกษุไปฟองพระภิกษุอื่นวาตองอาบัติปาราชิกโดยไมมีมูล ทานก็จะไดรับโทษทางวินัยคือเปนอาบัติสังฆาทิเสส๔๘ ถาฟองพระภิกษุอ่ืนวาตองอาบัติสังฆาทิเสสไมมีมูล ก็เปนอาบัติปาจิตตีย๔๙ ดังน้ัน การชี้แจงใหโจทกเห็นคุณและโทษดังกลาวน้ัน ก็จะเปนการชวยระงับความยุงยากและความเส่ือมเสียมิใหเกิดกอนรับฟองและวิธีปฏิบัติหลังรับฟองซ่ึงมีรายละเอียดดังน้ี วิธีปฏิบัติฝายผูรับฟองดังกลาวมาน้ันไดกําหนดวิธีปฏิบัติออกเปน ๒ วิธี คือวิธีปฏิบัติกอนรับฟอง และวิธีปฏิบัติหลังรับฟอง ซ่ึงมีรายละเอียดดังน้ี

                                                            

๔๖ พระธรรมปฎก (ป.อ. ปยุตโต), นิติศาสตรแนวพุทธ, หนา ๗๙.

๔๗ พลประสิทธ์ิ ฤทธรักษา, ประมวลกฎหมายอาญา ฉบับแกไขเพ่ิมเติมใหม, (กรุงเทพมหานคร : เจริญกิจ, ๒๕๓๕), หนา ๓๔.

๔๘ วิ.มหา. (บาลี) ๑/๓๘๕/๒๑๒, ๓๙๒/๓๐๑, (ไทย) ๑/๓๘๕/๔๑๙, ๓๙๒/๔๓๒. ๔๙ วิ.มหา. (บาลี) ๒/๔๖๐/๓๒๘, (ไทย) ๒/๔๖๐/๕๖๒.

Page 63: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

 

 

 

 

๔๘

(ก) วิธีปฏิบัติกอนรับฟอง คือ เม่ือฝายผูฟองปฏิบัติถูกตองแลว ฝายผูรับฟองจึงจะรับตรวจลักษณะของโจทกและลักษณะคําฟองวาถูกตองหรือไม ลักษณะของโจทกน้ัน ทานไดกําหนดไวในขอ ๔(๖) ก. ๔. คือ ตองเปนผูมีสวนไดเสีย และเปนผูเสียหาย ซ่ึงฟองพระภิกษุตอพระภิกษุผูพิจารณาในขอหาวาไดกระทําความผิด สวนลักษณะคําฟองของโจทก ทานไดกําหนดไวในขอ ๑๒(๑) มี ๔ ลักษณะ คือ (๑) ใหระบุในคําฟองพอสมควรเทาท่ีจะชวยใหจําเลยเขาใจขอหาไดดี กลาวคือใหระบุถึงการกระทําท้ังหลายท่ีอางวา จําเลยไดกระทําความผิดโดยชัดแจง ขอเท็จจริงท่ีเก่ียวของกับความผิดท้ังกอนและหลังท่ีความผิดเกิดข้ึน และรายละเอียดอันเก่ียวกับวันท่ีและสถานท่ีเกิดการกระทําความผิดน้ัน รวมถึงบุคคลและส่ิงของท่ีเก่ียวของอยูดวย (๒) ไมเปนเร่ืองเกาท่ีมิไดคิดจะฟองมาแตเดิม (๓) ไมเปนเรื่องท่ีมีคําวินิจฉัยหรือคําส่ังของผูมีอํานาจลงนิคหกรรมถึงท่ีสุดแลว (๔) ไมเปนเร่ืองท่ีอยูในระหวางการพิจารณาของศาลฝายราชอาณาจักร หรือมีคําพิพากษาหรือคําส่ังของศาลฝายราชอาณาจักรถึงท่ีสุดแลว ยกเวนแตเรื่องท่ีมีปญหาทางพระวินัยตองรับไวพิจารณา การที่ไดกําหนดลักษณะคําฟองไวหลายประการดังท่ีกลาวมาแลวดวยมุงหมายท่ีจะปองกันมิใหเกิดการฟองกันโดยไมเปนธรรม ไมเปนกิจจะลักษณะ มิใชวาใครคิดจะฟองผูอื่นก็ฟองกันไดตามความพอใจ ดังเชนท่ีเคยปรากฏมาแลวในอดีต ดังพระปรารภแหงสมเด็จพระมหาสมณเจากรมพระวชิรญาณวโรรส ในพระมหาสมณาณัติกําหนดลักษณะฟองอธิกรณท่ีควรระงับหรือไม เม่ือพุทธศักราช ๒๔๖๒ มีความวา ภิกษุผูเปนพาล มักเขาใจวาฟองอะไร ๆ ขึ้นแลว เจาคณะตองชําระใหท้ังน้ัน เม่ือเกิดขัดใจข้ึนกับภิกษุอื่นแลวเก็บเอาเร่ืองตาง ๆ มีมูลแตปดไวดวยฉันทาคติบาง คนไมไดรังเกียจมาแตแรก เก็บเอามาตั้งเปนขอรังเกียจบาง นอกจากต้ังเรื่องบางมาประมวลฟองในคราวเดียวกันสุดแตจะหาความใหมากไดเพียงใดก็เก็บเอามาฟองเทาน้ัน เจาคณะโดยมากก็เขาใจวาสุดแตเขาฟองแลวตองชําระใหท้ังน้ัน ฟองอธิกรณอยางน้ีทําความลําบากแกจําเลย ผูใหการและพยานผูเบิกความและเจาคณะผูวินิจฉัย๕๐

                                                            

๕๐ มหามกุฎราชวิทยาลัย, การคณะสงฆ, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพศรีศตวรรษ, ๒๕๑๔), หนา ๑๑๔.

Page 64: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

 

 

 

 

๔๙

ถาตรวจลักษณะของโจทกและคําฟองแลว ปรากฏวามีความสมบูรณ ไมมีความบกพรองแลว ฝายผูรับฟองจะไดสั่งใหรับคําฟองน้ันไวพิจารณาดําเนินการตอไป แตถาปรากฏวามีความบกพรองอยางใดอยางหน่ึงตองไมรับคําฟองน้ัน พรอมท้ังแจงขอบกพรองไวในคําฟองแลวแจงใหโจทกทราบ แตอยางไรก็ดีฝายผูรับฟองอาจสอบถามฝายผูฟองใหชี้แจงขอสงสัยแลวบันทึกถอยคําไวเพ่ือประกอบการพิจารณาดวยก็ได (ข) วิธีปฏิบัติหลังรับฟอง ไดกําหนดวิธีปฏิบัติไวในขอ ๑๓๕๑ คือเมื่อผูพิจารณาส่ังรับคําฟองของโจทกไวแลว ใหเรียกพระภิกษุผูเปนจําเลยมาสอบถามวา ไดกระทําความผิดตามฟองจริงหรือไม โดยจดคําใหการของจําเลยไวเปนหลักฐานดวย จากน้ันใหปฏิบัติดังน้ี (๑) ถาจําเลยใหการรับสารภาพสมควรตามคําฟองของโจทกแลว ใหมีอํานาจส่ังลงนิคหกรรมแกพระภิกษุผู เปนจําเลยตามคํารับสารภาพน้ัน ท้ังน้ี เพ่ือใหการลงนิคหกรรมเปนไปโดยสะดวกและรวดเร็วตามความในมาตรา ๒๕ แหงพระราชบัญญัติคณะสงฆ พ.ศ. ๒๕๐๕๕๒ ในกรณีมีปญหาเร่ืองคาเสียหายในทางแพงอยูดวย ผูพิจารณาอาจเปรียบเทียบใหประนีประนอมกัน โดยใหโจทกจําเลยบันทึกขอตกลงกันไวเปนหลักฐาน เพ่ือใหเรื่องยุติลงดวยดีไมมีขอยุงยากโตแยงกันอีกตอไป (๒) ถาจําเลยใหการแบงรับความผิดเบากวาหรือนอยกวาท่ีถูกฟองก็ดี ใหการปฏิเสธก็ดี ซ่ึงเปนขอโตเถียงขัดแยงกันอยู ผูพิจารณาจะตองรายงานพรอมกับสงคําฟองและคําใหการท้ังหมดไปยังคณะผูพิจารณาชั้นตน เพ่ือจัดการไตสวนมูลฟองตอไป ค. วิธีปฏิบัติเมื่อมีการไมรับฟอง ในกรณีท่ีผูพิจารณาไมรับคําฟองของโจทก ถาเปนความผิดลหุกาบัติใหเรื่องเปนอันถึงท่ีสุด แตถาเปนความผิดครุกาบัติ เพ่ือความเปนธรรมทานจึงไดกําหนดใหโจทกมีสิทธิอุทธรณคําส่ังน้ันตอคณะผูพิจารณาช้ันตนได ดังความในขอ ๑๔๕๓ โดยย่ืนอุทธรณคําส่ังน้ันเปนหนังสือเสนอผูออกคําส่ังภายใน ๑๕ วัน นับแตวันทราบคําส่ังน้ัน

                                                            

๕๑ กรมการศาสนา, กฎมหาเถรสมาคม ฉบับท่ี ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๒๑) วาดวยการลงนิคหกรรม พรอมดวยคําแนะนําและแบบสําหรับใชในการพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรม, (กรุงเทพมหานคร : กรมการศาสนา, ๒๕๕๓), หนา ๕๕.

๕๒ กรมการศาสนา, หนังสือคูมือพระสังฆาธิการ วาดวย พระราชบัญญัติ กฎ ระเบียบ และคําส่ังของคณะสงฆ, (กรุงเทพมหานคร : กรมการศาสนา, ๒๕๕๒), หนา ๕๗.

๕๓ กรมการศาสนา, กฎมหาเถรสมาคม ฉบับท่ี ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๒๑) วาดวยการลงนิคหกรรม พรอมดวยคําแนะนําและแบบสําหรับใชในการพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรม, (กรุงเทพมหานคร : กรมการศาสนา, ๒๕๕๒), หนา ๕๙.

Page 65: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

 

 

 

 

๕๐

และให ผูออกคําส่ังสงอุทธรณคําส่ังน้ันไปยังคณะผูพิจารณาชั้นตน แลวแตกรณีภายใน ๑๕ วัน นับแต วันไดรับอุทธรณคําส่ัง เม่ือคณะผูพิจารณาชั้นตนไดรับอุทธรณคําสั่งน้ันแลว ใหวินิจฉัยอุทธรณคําส่ังน้ันภายใน ๓๐ วัน นับแตวันไดรับอุทธรณคําส่ังน้ันเสร็จแลวใหสงคําวินิจฉัยอุทธรณคําส่ังน้ันไปยังผูออกคําส่ัง เพ่ือแจงคําวินิจฉัยอุทธรณคําส่ังน้ันแกโจทกภายใน ๑๕ วัน นับแตวันไดรับคําวินิจฉัยอุทธรณคําส่ังน้ัน ถาคณะผูพิจารณาช้ันตนวินิจฉัยส่ังใหรับคําฟองน้ัน ผูออกคําส่ังตองดําเนินการตามความในขอ ๑๓ ท่ีกลาวมาแลวขางตนตอไป ถาวินิจฉัยส่ังไมใหรับคําฟองใหเรื่องเปนอันถึงท่ีสุด ๒. วิธีปฏิบัติเม่ือมีการกลาวหา ทานแบงออกเปนวิธีปฏิบัติฝายผูกลาวหาและวิธีปฏิบัติฝายผูรับคํากลาวหา โดยไดกําหนดไวในขอ ๑๕๕๔ สรุปได ดังน้ี วิธีปฏิบัติฝายผูกลาวหา เม่ือมีผูกลาวหาบอกกลาวการกระทําความผิดของพระภิกษุ โดยย่ืนคํากลาวหาเปนหนังสือดวยตนเอง ตอเจาอาวาสหรือเจาคณะเจาสังกัด หรือเจาคณะเจา ของเขตในเขตท่ีความผิดน้ันเกิดข้ึน ซ่ึงเปนผูพิจารณามีอํานาจลงนิคหกรรมตามท่ีกําหนดไว ในลักษณะ ๒ แลวแตกรณี สวนวิธีปฏิบัติฝายผูรับคํากลาวหา ไดกําหนดใหพระภิกษุผูพิจารณาตรวจลักษณะของ ผูกลาวหาและลักษณะของคํากลาวหาโดยอนุโลมตามลักษณะของคําฟองกอน ถาปรากฏวาผูกลาวหาและคํากลาวหาน้ันตองดวยลักษณะดังกลาวแลว ใหส่ังรับคํากลาวหาไวพิจารณาดําเนินการและเม่ือไดไตสวนมูลคํากลาวหาแลว ปรากฏวาคํากลาวหาน้ันไมมีมูล ใหเปนอันถึงท่ีสุด ถาปรากฏวาผูกลาวหาหรือคํากลาวหาน้ันบกพรองจากลักษณะดังกลาวแลว ใหส่ังไมรับคํากลาวหาน้ัน โดยระบุขอบกพรองไวในคําส่ังและแจงใหผูกลาวหาทราบ แตถาเปนกรณีความผิด ครุกาบัติ ใหส่ังไมรับคํากลาวหาน้ันโดยความเห็นชอบของคณะผูพิจารณาช้ันตน ตามท่ีกําหนดไวในลักษณะ ๒ แลวแตกรณี คําสั่งไมรับคํากลาวหาดังกลาวใหเปนอันถึงท่ีสุด สวนวิธีปฏิบัติกอนสั่งรับคํากลาวหาและวิธีปฏิบัติหลังรับคํากลาวหาน้ัน ทานกําหนดใหนําความในขอ ๑๒ วรรคทายมาใชบังคับโดยอนุโลม วิธีปฏิบัติฝายกลาวหาตามท่ีกําหนดไวในขอ ๑๕ วรรค ๑ ตางกับฝายผูฟอง เพราะผูกลาวหาตองย่ืนคํากลาวหาเปนหนังสือดวยตนเอง จะทําใหเปนหนังสือใหผูอื่นไปย่ืนแทนอยางฝายผูฟองไมได วิธีปฏิบัติทางฝายผูรับคํากลาวหา ในการตรวจคํากลาวหาก็ปฏิบัติเชนเดียวกับการฟอง สวนวิธีปฏิบัติภายหลังรับคํา

                                                            

๕๔ เรื่องเดียวกัน, หนา ๖๐-๖๑.

Page 66: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

 

 

 

 

๕๑

กลาวหาน้ัน ตองปฏิบัติตามความในขอ ๑๓ โดยอนุโลม นอกจากน้ัน ยังมีขอแตกตางกันอีกสวนหน่ึง ถาฝายผูรับคํากลาวหาส่ังไมใหรับคํากลาวหาน้ัน ผูกลาวหาไมมีสิทธิท่ีจะอุทธรณคําส่ังน้ัน แตหากเปนความผิดครุกาบัติ ฝายผูรับคํากลาวหาจะส่ังไมรับคํากลาวหาโดยลําพังไมได ตองไดรับอนุมัติจากคณะผูพิจารณาชั้นตนเสียกอน หากคณะผูพิจารณาช้ันตนใหรับคํากลาวหา ผูส่ังตองดําเนินการใหมีการไตสวนคํากลาวหาน้ันตอไป หากไมไดไตสวนส่ังยกคํากลาวหาน้ันเสีย เรื่องเปนอันถึงท่ีสุด ผูกลาวหาจะอุทธรณคํากลาวหาน้ันเหมือนอยางโจทกไมได นอกจากความแตกตางกันดังกลาวน้ีแลว วิธีปฏิบัติในเรื่องกลาวหาก็เหมือนกับการฟองทุกประการ ๓. วิธีปฏิบัติเม่ือมีการแจงความผิด เปนขั้นตอนท่ีผูแจงความผิดซ่ึงเปนพระภิกษุผูปกครองสงฆชั้นใดช้ันหน่ึงไดพบเห็นพฤติการณอันเปนท่ีนารังเกียจสงสัยในความผิด ของพระภิกษุหรือพบเห็นการกระทําความผิดของพระภิกษุ ไดกําหนดไวในขอ ๑๖ (๑)๕๕ วา ใหพระภิกษุดังกลาวดําเนินการดังน้ี คือ ถาผูพบเห็นน้ันไมมีอํานาจลงนิคหกรรม ใหแจงพฤติการณหรือการกระทําความผิดท่ีไดพบเห็นน้ันเปนหนังสือไปยังเจาอาวาสหรือเจาคณะ เจาสังกัดหรือเจาคณะเจาของเขตที่ความผิดน้ันเกิดขึ้น ท่ีเปนผูพิจารณามีอํานาจลงนิคหกรรม ตามท่ีกําหนดไวในลักษณะ ๒ แลวแตกรณี เพ่ือดําเนินการตามความในขอ ๑๓ โดยอนุโลม ถาผูกลาวหาใหการแบงรับความผิดเบากวาหรือนอยกวาท่ีถูกกลาวหาก็ดี ใหการปฏิเสธก็ดี ตามความในขอ ๑๓ (๒) และเมื่อไดไตสวนมูลคําแจงความผิดน้ันแลว ปรากฏวาคําแจงความผิดน้ันไมมีมูล ใหเปนอันถึงท่ีสุด โดยอนุโลมตามความในขอ ๒๑ (๒) ๔. วิธีปฏิบัติเมื่อมีการพบเห็นความผิด เปนขั้นตอนท่ีพระภิกษุผูพิจารณา มีอํานาจลงนิคหกรรมไดพบเห็นพฤติการณอันเปนท่ีนารังเกียจสงสัยในความผิดของพระภิกษุ หรือพบเห็นการกระทําความผิดของพระภิกษุ ไดกําหนดไวในขอ ๑๖ (๒)๕๖ วา ใหพระภิกษุผูปกครองสงฆซ่ึงจะเปนเจาอาวาสหรือเจาคณะเจาสังกัด หรือเจาคณะเจาของเขตท่ีความผิดน้ันเกิดขึ้นดําเนินการดังตอไปน้ี คือ เมื่อพบเห็นพฤติการณอันเปนท่ีนารักเกียจสงสัยในความผิด ใหดําเนินการตามความในขอ ๑๓ โดยอนุโลม ถาพระภิกษุผูตองสงสัยในความผิดน้ันใหการแบงรับความผิดเบากวาหรือนอยกวาท่ีถูกรังเกียจสงสัยก็ดี หรือใหการปฏิเสธก็ดี ใหดําเนินการตามความในขอ ๑๓

                                                            

๕๕ เรื่องเดียวกัน, หนา ๖๕. ๕๖ เรื่องเดียวกัน, หนา ๖๖-๖๗.

Page 67: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

 

 

 

 

๕๒

โดยอนุโลม และเมื่อไดไตสวนแลว ปรากฏวาพฤติการณอันเปนท่ีนาสงสัยในความผิดน้ันไมมีมูล ใหเปนอันถึงท่ีสุด โดยอนุโลมตามความในขอ ๒๑ (๒) และเม่ือพบเห็นการกระทําความผิด โดยประจักษชัด ใหมีอํานาจส่ังลงนิคหกรรมแกพระภิกษุผูกระทําความผิดน้ัน โดยบันทึกพฤติการณและความผิดพรอมดวยคําส่ังลงนิคหกรรมน้ันไวเปนหลักฐาน และใหพระภิกษุผูถูกลงนิคหกรรมลงชื่อทราบไวดวย ถาเปนกรณีความผิดครุกาบัติ พระภิกษุผูถูกลงนิคหกรรมมีสิทธ์ิอุทธรณและฎีกาได แลวแตกรณี และใหนําความในหมวด ๓ สวนท่ี ๓ และสวนท่ี ๔ มาบังคับโดยอนุโลม เพราะฉะน้ันจะเห็นไดวาวิธีปฏิบัติเบ้ืองตนในการลงนิคหกรรมท้ัง ๔ น้ีแสดงใหเห็นวาการใหอํานาจลงนิคหกรรมแกพระภิกษุผูสารภาพผิดก็ดี แกพระภิกษุผูกระทําความผิดตอหนา ผูมีอํานาจลงนิคหกรรมก็ดี นอกจากเพ่ือความสะดวกและรวดเร็วแลว ยังชอบดวยระบบอาจารยปกครองศิษย เวนแตในกรณีกระทําความผิดอยางประจักษชัดตอหนาผูมีอํานาจลงนิคหกรรมน้ันยอมใหสิทธิอุทธรณและฎีกาได ก็เพ่ือความถูกตองและเปนธรรมเปนสําคัญ ดังท่ีบัญญัติไวในมาตรา ๒๕ แหงพระราชบัญญัติคณะสงฆ พ.ศ. ๒๕๐๕ ๒.๒.๕ วิธีไตสวนมูลฟองในการลงนิคหกรรม คําวามูลฟองหมายถึง มูลเหตุแหงการฟองของโจทกซ่ึงฟองจําเลยดวยมูลเหตุ ๓ อยาง คือ โจทกไดพบเห็นการกระทําความผิดของจําเลยดวยตนเอง โจทกไดยินการทําความผิดของจําเลยดวยตนเองหรือไดฟงคําบอกเลาท่ีมีหลักฐานอันควรเชื่อถือได และโจทกรังเกียจสงสัย โดยมีพฤติการณอันนาเช่ือวาจําเลยไดกระทําความผิด๕๗ ดังน้ัน จะเห็นไดวา วิธีไตสวนน้ันมิใช ไตสวนถึงมูลแหงการกระทําผิด ดังท่ีสมเด็จพระมหาสมณเจา กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ไดทรงอธิบายไววา อธิกรณอันภิกษุจะพึงยกขึ้นวาไดน้ัน ตองเปนเร่ืองท่ีมีมูล มูลในท่ีน้ีไมไดหมายเอาเร่ืองท่ีเปนจริง และมีเงาแหงความจริงโดยสวนเดียว หมายเอาเร่ืองท่ีไดเห็นเอง ๑ เรื่อง ท่ีไดยินเองหรือมีผูบอกและเชื่อวาเปนจริง ๑ เร่ือง ท่ีเวนจาก ๒ สถานน้ัน แตรังเกียจโดยอาการ ๑ เชน ไดยินวาพัสดุช่ือน้ันของผูมีชื่อน้ันหายไป ไดพบพัสดุชนิดน้ันในที่อยูของภิกษุช่ือน้ัน๕๘

                                                            

๕๗ เรื่องเดียวกัน, หนา ๖๘-๗๐. ๕๘ สมเด็จพระมหาสมณเจา กรมพระยาวชิรญาณวโรรส, วินัยมุข เลม ๓, พิมพครั้งที่ ๒๔,

(กรุงเทพมหานคร : มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๓๗), หนา ๓๑.

Page 68: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

 

 

 

 

๕๓

ผูไตสวนมูลฟอง ทานกําหนดใหเปนอํานาจของคณะผูพิจารณาชั้นตน ๗ อันดับ สวนวิธีไตสวนมูลฟองน้ัน ทานกําหนดไวเปน ๕ เร่ือง คือ ๑. ขอบเขตและขอพิสูจนมูลฟอง ไดกําหนดไวในขอ ๑๘๕๙ วา ในการไตสวน มูลฟองใหคณะผูพิจารณาช้ันตนไตสวนจากพยานหลักฐานฝายโจทก ซ่ึงเปนพยานบุคคล พยานเอกสารหรือพยานวัตถุ ท่ีอาจจะพิสูจนใหเห็นขอมูลวา (ก) การกระทําของจําเลยท่ีโจทกนํามาฟอง ตองดวยบทบัญญัติแหงพระวินัยหรือไม (ข) การฟองของโจทกมีมูลเหตุอยางใดอยางหน่ึงตามความในขอ ๑๗ หรือไม ๒. วิธีปฏิบัติในการไตสวนมูลฟอง เรื่องการฟองพระภิกษุในขอหาวากระทําความผิดเปนท่ีกระทบกระเทือนถึงเกียรติและความเส่ือมเสียของคณะสงฆและพระพุทธศาสนา เพ่ือปองกันความเส่ือมเสีย จึงกําหนดวิธีปฏิบัติในการไตสวนมูลฟองไวในขอ ๑๙ ดังน้ี (ก) การไตสวนมูลฟองใหกระทําเปนการลับ (ข) หามมิใหบุคคลผูไมมีสวนเก่ียวของเขาไปในบริเวณท่ีทําการไตสวน ผูอยูในท่ี ไตสวนมูลฟองได มีดังน้ี คือ (๑) โจทกและจําเลย (๒) พยานเฉพาะที่กําลังใหการ (๓) ผูท่ีไดรับเชิญมาเพ่ือปฏิบัติการใด ๆ เก่ียวกับการพิจารณา (๔) พระภิกษุผูทําหนาที่จดบันทึกถอยคําสํานวน (ค) หากมีผูใดท่ีอยูในบริเวณไตสวนกอความไมสงบขึ้น คณะผูพิจารณามีอํานาจส่ังใหผูน้ันต้ังอยูในความสงบเรียบรอย หรือส่ังใหผูน้ันออกไปจากที่น้ันก็ได๖๐ (ฆ) เมื่อจะดําเนินการไตสวนมูลฟอง ใหคณะผูพิจารณาช้ันตนแจงวัน เวลา และสถานท่ีทําการไตสวนมูลฟอง พรอมท้ังสงสําเนาคําฟองของโจทกใหจําเลยทราบดวย โจทกตองมาฟงการไตสวนมูลฟองทุกคร้ัง ถาไมมาตามที่ไดรับแจงติดตอกัน ๓ ครั้ง โดยมิไดแจง ถึงเหตุขัดของใหเรื่องเปนอันถึงท่ีสุด สวนจําเลยจะมาฟงการไตสวนมูลฟองหรือไมมาก็ได

                                                            

๕๙ กรมการศาสนา, กฎมหาเถรสมาคม ฉบับท่ี ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๒๑) วาดวยการลงนิคหกรรม พรอมดวยคําแนะนําและแบบสําหรับใชในการพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรม, (กรุงเทพมหานคร : กรมการศาสนา, ๒๕๕๒), หนา ๕๐.

๖๐ เรื่องเดียวกัน, หนา ๕๒.

Page 69: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

 

 

 

 

๕๔

๓. วิธีปฏิบัติเมื่อมีเหตุขัดของ ในกรณีท่ีมีเหตุขัดของใด ๆ เกิดขึ้นกอนไตสวนมูลฟองหรือระหวางไตสวนมูลฟอง เชน โจทกหรือจําเลยเสียชีวิต จึงไดกําหนดวิธีปฏิบัติไวในขอ ๒๐ ดังน้ี (ก) ถาจําเลยถึงมรณภาพ ใหเร่ืองเปนอันถึงท่ีสุด (ข) ถาโจทกซ่ึงเปนผูมีสวนไดเสียตามความในขอ ๔ (๔) ถึงมรณภาพก็ดี หรือโจทกซ่ึงเปนผูเสียหายถึงมรณภาพหรือตาย โดยไมมีผูจัดการแทน ในกรณีอยางใดอยางหน่ึงตามความในขอ ๔ (๕) ก็ดี ใหคณะผูพิจารณาช้ันตนแตงตั้งพระภิกษุผูทรงคุณวุฒิรูปใดรูปหน่ึงตามที่เห็นสมควรใหปฏิบัติหนาท่ีเปนโจทกแทนสืบไป ๔. วิธีปฏิบัติเม่ือทําการไตสวนเสร็จ ใหกําหนดวิธีปฏิบัติไวในขอ ๒๑ โดยใหคณะ ผูพิจารณาช้ันตนปฏิบัติ ดังน้ี คือ ปรากฏวา (ก) คําฟองเร่ืองใดมีมูล ใหส่ังประทับฟอง แลวดําเนินวิธีปฏิบัติไวในขอ ๒๑ โดยใหคณะผูพิจารณาช้ันตนปฏิบัติดังน้ี คือ ปรากฏวา (ข) คําฟองเรื่องใดไมมีมูล ใหส่ังยกฟอง และแจงใหโจทกทราบ ๕. วิธีปฏิบัติเม่ือมีคําส่ังยกฟอง ไดกําหนดวิธีปฏิบัติไวในขอ ๒๒ แบงวิธีปฏิบัติ ไวเปน ๒ กรณี ดังน้ี (ก) ถาเปนกรณีความผิดครุกาบัติ ซ่ึงมิใชคําส่ังของมหาเถรสมาคม โจทกมีสิทธ์ิอุทธรณคําส่ังน้ันตอคณะผูพิจารณาชั้นอุทธรณตามท่ีกําหนดไวแลวแตกรณี โดยย่ืนอุทธรณคําส่ังน้ันเปนหนังสือตอผูออกคําส่ังภายใน ๑๕ วัน นับแตวันทราบคําส่ัง และใหผูออกคําส่ังอุทธรณคําส่ังน้ันไปยังคณะผูพิจารณาช้ันอุทธรณภายใน ๑๕ วัน นับแตวันไดอุทธรณคําส่ัง เม่ือคณะ ผูพิจารณาชั้นอุทธรณไดรับอุทธรณคําส่ังน้ันแลว ใหวินิจฉัยอุทธรณคําส่ังน้ันภายใน ๓๐ วัน นับแตวันไดรับอุทธรณคําส่ัง เมื่อวินิจฉัยอุทธรณคําส่ังน้ันเสร็จแลวใหสงคําวินิจฉัยอุทธรณคําส่ังน้ันไปยังผูออกคําส่ัง เพ่ือแจงคําวินิจฉัยอุทธรณคําส่ัง ถาคณะผูพิจารณาชั้นอุทธรณวินิจฉัยวา คําฟองน้ันมีมูลใหดําเนินการตอไป ถาวินิจฉัยวาคําฟองน้ันไมมีมูลใหเปนอันถึงท่ีสุด (ข) ถาเปนกรณีความผิดครุกาบัติ ซ่ึงเปนคําส่ังมหาเถรสมาคม โจทกจะอุทธรณมิไดหรือเปนกรณีความผิดลหุกาบัติ คณะผูพิจารณาช้ันตนส่ังยกฟองแลว ก็ใหเปนอันถึงท่ีสุด โจทกจะอุทธรณมิไดเหมือนกัน

Page 70: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

 

 

 

 

๕๕

๒.๒.๖ วิธีอางพยานหลักฐานในการนิคหกรรม พยานหลักฐานในการพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรม ไดกําหนดไวในขอ ๕๕๖๑ โดยจําแนกพยานหลักฐานของโจทก จําเลย และคณะผูพิจารณา ดังน้ัน พยานหลักฐานท่ีสามารถนํามาอางไดน้ัน จึงมี ๕ ประเภท๖๒ ๑. พยานบุคคล ไดกําหนดไวในขอ ๕๖ วา หามมิใหโจทกอางจําเลยเปนพยานเพราะจะเปนการทําใหจําเลยไดเปรียบ แตจําเลยสามารถอางตนเองเปนพยานได ถาจําเลยอางตนเองเปนพยานจะใหจําเลยเขาสืบกอนพยานของฝายจําเลยก็ได และถาคําของจําเลยท่ีใหการเปนพยานน้ัน ปรักปรําหรือเสียหายแกจําเลยอื่นใหจําเลยอื่นซักคานได ๒. พยานเอกสาร ไดกําหนดไวในขอ ๕๗ วา ใหนําตนฉบับเอกสารน้ันมาอาง แตถาหาตนฉบับไมไดจะอางสําเนาท่ีรับรองวาถูกตอง หรือพยานบุคคลที่รูขอความมาเปนพยานก็ได ถาพยานเอกสารท่ีอางน้ัน เปนหนังสือของทางการคณะสงฆหรือหนังสือราชการ แมตนฉบับยังมีอยู จะสงสําเนาท่ีเจาหนาท่ีรับรองวาถูกตองก็ได ๓. พยานวัตถุ ไดกําหนดไวในขอ ๕๘ วา ใหนําส่ิงน้ันมายังคณะผูพิจารณาดวย แตถานํามาไมได ใหคณะผูพิจารณาทุกรูปหรือมอบหมายใหผูพิจารณารูปใดรูปหน่ึงไปตรวจสอบงาน ยังท่ีท่ีพยานวัตถุน้ันตั้งอยู ตามเวลาและวิธี ซ่ึงคณะผูพิจารณาหรือผูพิจารณาเห็นสมควรตามลักษณะแหงพยานวัตถุ ๔. พยานผูชํานาญการพิเศษ ไดกําหนดไวในขอ ๕๙ วา ผูใดโดยอาชีพหรือมิใชก็ตาม มีความชํานาญพิเศษในการใด ๆ เชน ในทางวิทยาศาสตร ศิลปะ ฝมือ พาณิชยการ หรือการแพทย และความเห็นของผูน้ันอาจเปนประโยชนในการไตสวนมูลฟอง หรือการพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรม ๕. ขอความหรือเอกสารลับ ไดกําหนดไวในขอ ๖๐ วา ในกรณีท่ีโจทกจําเลยหรือผูใด ซ่ึงจะตองใหการหรือสงพยานหลักฐานอยางใดอยางหน่ึงอันประกอบดวยลักษณะ ๓ ประการ คือ (๑) ขอความหรือเอกสาร ซ่ึงยังเปนความลับในการคณะสงฆ หรือในราชการ (๒) ความลับหรือเอกสารลับ ซ่ึงไดมาหรือทราบเน่ืองดวยปกติธุระหรือหนาท่ีของเขา (๓) วิธีการ แบบแผน หรืองานอยางอ่ืน ซ่ึงมีกฎหมายควบคุมมิใหเปดเผย

                                                            

๖๑ เรื่องเดียวกัน, หนา ๕๓. ๖๒ เรื่องเดียวกัน, หนา ๕๗-๕๘.

Page 71: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

 

 

 

 

๕๖

๒.๒.๗ วิธีบังคับตามคําวินิจฉัยการลงนิคหกรรม วิธีบังคับตามคําวินิจฉัยการลงนิคหกรรม ไดกําหนดวิธีปฏิบัติไวในขอ ๖๑ และขอ ๖๒๖๓ แหงพระราชบัญญัติคณะสงฆ พ.ศ. ๒๕๐๕ แกไขเพ่ิมเติม (ฉบับท่ี ๒) พ.ศ.๒๕๓๕ ดังน้ี คือ ๑. เมื่อจําเลยรูปใดตองคําวินิจฉัยใหรับนิคหกรรมอยางใดอยางหน่ึงถึงท่ีสุดแลว ใหคณะผูพิจารณาซึ่งอานคําวินิจฉัย แจงผลคําวินิจฉัยแกผูบังคับบัญชาใกลชิดของจําเลยรูปน้ันทราบเพ่ือดําเนินการใหเปนไปตามคําวินิจฉัยน้ัน ๒. ถาจําเลยไมยอมรับนิคหกรรมอยางใดอยางหน่ึง คือ (๑) ไมยอมรับนิคหกรรมตามคําวินิจฉัยใหสึก ไมสึกภายใน ๒๔ ช่ัวโมง นับแตเวลาท่ีไดรับคําวินิจฉัยน้ัน อันเปนการฝาฝนมาตรา ๒๖ ซ่ึงกําหนดโทษอาญาไวในมาตรา ๔๒ แหงพระราชบัญญัติคณะสงฆ พ.ศ. ๒๕๐๕ แกไขเพ่ิมเติม (ฉบับท่ี ๒) พ.ศ.๒๕๓๕ คือหากไมยอมรับนิคหกรรมตามคําวินิจฉัยไมถึงใหสึก ใหผูบังคับบัญชารายงานโดยลําดับถึงมหาเถรสมาคม เม่ือมหาเถรสมาคมวินิจฉัยหรือมีคําส่ังใหสละสมณเพศแลว ไมสึกภายใน ๗ วัน นับแตวันท่ีไดรับทราบคําวินิจฉัยของมหาเถรสมาคม อันเปนการฝาฝนมาตรา ๒๗ วรรค ๒ ซ่ึงกําหนดโทษอาญาไวในมาตรา ๔๒ แหงพระราชบัญญัติคณะสงฆ พ.ศ. ๒๕๐๕ แกไขเพ่ิมเติม (ฉบับท่ี ๒) พ.ศ.๒๕๓๕ ในกรณีเชนน้ีใหพระภิกษุผูดํารงตําแหนงปกครองคณะสงฆซ่ึงเปนผูบังคับบัญชาใกลชิดของจําเลยรูปน้ันขออารักขาตอเจาหนาท่ีฝายราชอาณาจักรเพ่ือจัดการตามกฎหมายอาญาตอไป ๒.๒.๘ ขอเบ็ดเตล็ดในการลงนิคหกรรม ทานไดกําหนดใหมีขอเบ็ดเตล็ดแหงกฎมหาเถรสมาคมไวในหมวด ๖ มี ๓ เรื่อง คือ ๑. เรื่องหามโจทกจําเลยแตงตั้งผูวาตางหรือแกตาง ไดกําหนดหามไวในขอ ๖๓๖๔ วาโจทกหรือจําเลย จะแตงตั้งผูหน่ึงผูใดใหวาตางหรือแกตางในกรณีไตสวนมูลฟอง และในกรณีพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมมิได ๒. เรื่องเอกสารสํานวนเปนเอกสารลับ ไดกําหนดไวในขอ ๖๔ วา บรรดาเอกสารสํานวนเก่ียวกับการไตสวนมูลฟองและการพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมเปนเอกสารลับเฉพาะคําสั่งหรือคําวินิจฉัยของผูพิจารณา หรือคณะผูพิจารณา

                                                            

๖๓ เรื่องเดียวกัน, หนา ๕๙. ๖๔ เรื่องเดียวกัน, หนา ๖๐.

Page 72: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

 

 

 

 

๕๗

๓. หนาท่ีชวยเหลือของผูปกครองคณะสงฆทุกช้ัน ดังท่ีกําหนดไวในขอ ๖๕ วา พระภิกษุผูดํารงตําแหนงปกครองคณะสงฆทุกชั้นมีหนาท่ีตองชวยเหลือและอํานวยความสะดวกในกรณีไตสวนมูลฟอง และในกรณีพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมท่ีไดรับคํารองขอหรือคําสั่งใหปฏิบัติการใด ๆ จากผูพิจารณาหรือคณะผูพิจารณาแลวแตกรณี จากการศึกษาพบวา หลักการลงโทษผูกระทําผิดในพุทธศาสนาเถรวาทสมัยพุทธกาลน้ันอธิกรณและวิธีระงับอธิกรณเปนวิธีปฏิบัติเก่ียวกับการจัดการความขัดแยงในแงของพระวินัยและเปนการระงับความขัดแยงท่ีเกิดข้ึนในสังคมสงฆ อธิกรณแบงออกเปน ๔ ประเภท และวิธีระงับอธิกรณแบงออกเปน ๗ ประเภท

สวนการระงับความขัดแยงท่ีเกิดขึ้นในสังคมสงฆในปจจุบันคือกฎนิคหกรรมของมหาเถรสมาคม ฉบับท่ี ๑๑ พ.ศ. ๒๕๒๑ วาดวยการลงนิคหกรรมตามพระราชบัญญัติคณะสงฆพ.ศ. ๒๕๐๕ แกไขเพ่ิมเติม (ฉบับท่ี ๒) พ.ศ.๒๕๓๕ มีวัตถุประสงคเพ่ือรักษาพรหมจรรยของพระสงฆผูประพฤติธรรมกอใหเกิดความศรัทธาและความเจริญในหมูสงฆ การพิจารณานิคหกรรมสงฆผูถูกกลาวหาวาลวงละเมิดพระธรรมวินัยเปนการถอดแบบการพิจารณาคดีอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาใชเปนแนวทางในการปฏิบัติ โดยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และประมวลกฎหมายอาญาจะขออธิบายโดยละเอียดในบทตอไป

Page 73: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

บทท่ี ๓

หลักการลงโทษผูกระทําผิดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และประมวลกฎหมายอาญา กฎหมายเปนเครื่องควบคุมประพฤติการณในสังคม พัฒนาข้ึนมาจากศีลธรรม ขนบธรรม เนียม จารีตประเพณี ศาสนา และกฎเกณฑขอบังคับ ตามลําดับ โดยมีวัตถุประสงคเพ่ือธํารงความสงบเรียบรอยและศีลธรรมอันดีของสมาชิกในสังคม ท้ังเพ่ือใหการอยูรวมกันในสังคมน้ันเปนไปโดยราบรื่น สนองความตองการของภาคสวนตาง ๆ อยางเหมาะสม ดังภาษิตละตินท่ีวา "ท่ีใดมีมนุษย ท่ีน้ันมีสังคม ท่ีใดมีสังคม ท่ีน้ันมีกฎหมาย" ในบทน้ีจะกลาวถึงวิธีการพิจารณาความของกฎหมายอาญา และกฎหมายอาญา ดังมีรายละเอียดตอไปน้ี ๓.๑ หลักการลงโทษผูกระทําผิดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา๑

๓.๑.๑ การฟองอาญา๒ บุคคลเหลาน้ีมีอํานาจฟองคดีอาญาตอศาล (๑) พนักงานอัยการ (๒) ผูเสียหาย การดําเนินคดีอาญาในช้ันศาลจะตองมีโจทกเปนคูความฝายหน่ึง คูความฝายท่ีมีอํานาจฟองคดีอาญาตอศาล ไดแก พนักงานอัยการซ่ึงเปนเจาพนักงานของรัฐในการรักษาความสงบเรียบรอยและอํานวยความยุติธรรม เน่ืองจากการกระทําในคดีอาญาน้ันเปนเรื่องท่ีกระทบกระเทือนตอ ความสงบเรียบรอยของประเทศกับผูเสียหาย ซ่ึงเปนประชาชนผูไดรับความเสียหายจากผลแหง การกระทําผิดอาญา ผูเสียหายมีสิทธิท่ีจะฟองคดีอาญาไดดวยตนเอง แตอยางไรก็ดี ในคดีอาญาน้ันจะมีพนักงานอัยการเปนผูเสียหายของรัฐและเปนโจทกย่ืนคําฟองคดีอาญา กฎหมายจึงใหสิทธิ แกผูเสียหาย หากไมย่ืนคําฟองดวยตนเองแลว ก็ย่ืนคํารองขอเขาเปนโจทกรวมกับพนักงาน

๑ นคร พจนวรพงษ, พลประสิทธ์ิ ฤทธ์ิรักษา, ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา, (กรุงเทพมหานคร : เจริญกิจ, ๒๕๕๐), หนา ๒๐.

๒ เรื่องเดียวกัน. หนา ๒๓.

Page 74: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

๕๙

อัยการในระยะเวลาใดก็ได แตตองกอนท่ีศาลชั้นตนจะมีคําพิพากษา ซ่ึงในทางปฏิบัติผูเสียหายมักจะขอเขาเปนโจทกรวมกับพนักงานอัยการเพราะหากฟองเองแลวศาลจะส่ังใหรวมคดีท่ีผูเสียหายฟองเองเขากับคดีของพนักงานอัยการท่ีเปนโจทกโดยถือสํานวนคดีของพนักงานอัยการเปนหลัก คดีอาญาเรื่องเดียวกันซ่ึงท้ังพนักงานอัยการและผูเสียหายตางไดย่ืนฟองในศาลช้ันตน ศาลเดียวกันหรือตางศาลกัน ศาลน้ัน ๆ มีอํานาจส่ังใหรวมพิจารณาเปนเปนคดีเดียวกัน เม่ือศาลเห็นชอบโดยพลการหรือโดยโจทกย่ืนคํารองในระยะใดกอนมีคําพิพากษา แตทวาจะมีคําส่ังเชนน้ันไมได นอกจากจะไดรับความยินยอมของศาลอื่นน้ันกอน คดีความผิดตอสวนตัวน้ัน จะถอนฟองหรือยอมความในเวลาใดกอนคดีถึงท่ีสุดก็ได แตถาจําเลยคัดคานใหศาลยกคํารองขอถอนฟองน้ันเสีย คดีอาญาเลิกกันได ดังตอไปน้ี (๑) ในคดีมีโทษปรับสถานเดียว เม่ือผูกระทําผิดยอมเสียคาปรับในอัตราอยางสูงสําหรับความผิดน้ันแกพนักงานเจาหนาท่ีกอนศาลพิจารณา (๒) ในคดีความผิดท่ีเปนลหุโทษหรือความผิดท่ีมีอัตราโทษไมสูงกวาความผิดลหุโทษหรือคดีอื่นท่ีมีโทษปรับสถานเดียว อยางสูงไมเกินหน่ึงหมื่นบาท หรือความผิดตอกฎหมายเก่ียวกับภาษีอากร ซ่ึงมีโทษปรับอยางสูงไมเกินหน่ึงหมื่นบาท เม่ือผูตองหาชําระคาปรับตามท่ีพนักงานสอบสวนไดเปรียบเทียบแลว (๓) ในคดีความผิดท่ีเปนลหุโทษหรือความผิดท่ีมีอัตราโทษไมสูงกวาความผิดลหุโทษ หรือคดี ท่ีมี โทษปรับสถานเ ดียวอย า ง สูงไม เ กินห น่ึงหมื่นบาท ซึ่ ง เ กิดในกรุงเทพมหานคร เมื่อผูตองหาชําระคาปรับตามที่นายตํารวจประจําทองท่ีตั้งแตตําแหนงสารวัตรข้ึนไปหรือนายตํารวจชั้นสัญญาบัตรผูทําการในตําแหนงน้ัน ๆ ไดเปรียบเทียบแลว (๔) ในคดีซ่ึงเปรียบเทียบไดตามกฎหมายอื่น เม่ือผูตองหาไดชําระคาปรับตาม คําเปรียบเทียบของพนักงานเจาหนาท่ีแลว บทบัญญัติมาตราน้ีวางหลักใหสิทธิคดีอาญามาฟองรองของคูความฝายโจทก ไมอาจมีไดอีกตอไปดวยเหตุผลตามท่ีกฎหมายกําหนดไว อาทิเชนเม่ือผูกระทําผิดนําเงินมาชําระคาปรับในอัตราอยางสูงตอพนักงานเจาหนาท่ีท่ีบังคับใชกฎหมายฉบับน้ัน ซ่ึงคดีน้ันเปนคดีมีโทษปรับสถานเดียว พนักงานเจาหนาท่ีจะตองดําเนินการรับเปนชําระคาปรับและไมถือวาเปนการเปรียบเทียบปรับ ซ่ึงแตกตางจากกรณีความผิดลหุโทษท่ีมีโทษจําคุกไมเกินหน่ึงเดือนปรับไมเกินหน่ึงพันบาท หรือคดีท่ีมีโทษปรับสถานเดียว ไมเกินหน่ึงหม่ืนบาท พนักงานสอบสวน

Page 75: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

๖๐

เปรียบเทียบปรับในอัตราท่ีเห็นควรซ่ึงจะเปนจํานวนเงินมากนอยเทาใดก็ได ถือวาคดีอาญาเลิกกัน รวมท้ังในคดีตามกฎหมายใดก็ตาม สิทธินําคดีอาญามาฟองยอมระงับไป ดังตอไปน้ี

(๑) โดยความตายของผูกระทําผิด (๒) ในคดีความผิดตอสวนตัว เม่ือไดถอนคํารองทุกข ถอนฟอง หรือยอมความกันโดย

ถูกตองตามกฎหมาย (๓) เมื่อคดีเลิกกันตามมาตรา ๓๗ (๔) เมื่อมีกฎหมายออกใชภายหลังการกระทําผิดยกเลิกความผิดเชนน้ัน (๕) เมื่อคดีขาดอายุความ (๖) เม่ือกฎหมายยกเวนโทษ

มาตราน้ีวางหลักใหสิทธินําคดีอาญามาฟองของคูความฝายโจทกระงับไป โดยมีสาเหตุมาจากจําเลยถึงแกความตายไมวากอนหรือขณะพิจารณาคดีของศาล หรือในคดีความผิดตอสวนตัวเมื่อผูเสียหายถอนคํารองทุกขตอพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ ศาล หรือถอนฟองในช้ันศาล หรือยอมความกันไมวาในชั้นสอบสวน หรือชั้นศาลใดก็ตาม หรือเมื่อคดีอาญาเลิกกันโดยการเปรียบเทียบปรับ ชําระคาปรับในอัตราอยางสูง

๓.๑.๒ การไตสวนมูลฟองคดีอาญา๓ ถาฟองถูกตองตามกฎหมายแลว ใหศาลจัดการสั่งตอไปน้ี (๑) ในคดีราษฎรเปนโจทก ใหไตสวนมูลฟอง แตถาคดีน้ันพนักงานอัยการไดฟองจําเลยโดยขอหาอยางเดียวกันดวยแลวใหจัดการตามอนุมาตรา (๒) (๒) ในคดีพนักงานอัยการเปนโจทก ไมจําเปนตองไตสวนมูลฟอง แตถาเห็นสมควรจะสั่งใหไตสวนมูลฟองกอนก็ได ในกรณีท่ีมีการไตสวนมูลฟองดังกลาวแลว ถาจําเลยใหการรับสารภาพใหศาลประทับฟองไวพิจารณา เม่ือศาลตรวจคําฟองแลวเห็นวาถูกตองตามกฎหมาย และเห็นวาคดีน้ันมีราษฎรเปนโจทก ศาลจะส่ังใหสําเนาคําฟองใหจําเลยแลวกําหนดนัดไตสวนมูลฟอง โดยใหโจทกเปนผูนําสงหมายนัดใหจําเลยทราบ แตถาเห็นวาคดีน้ันมีพนักงานอัยการเปนโจทกฟองจําเลยในขอหาเดียวกัน ศาลจะส่ังใหรับประทับฟองไวโดยไมตองไตสวนมูลฟองหรือจะส่ังให

๓ สัก กอแสงเรือง, ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา, (กรุงเทพมหานคร : นิติบรรณาการ, ๒๕๕๐), หนา ๙๓-๑๐๕.

Page 76: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

๖๑

ไตสวนมูลฟองกอนก็ได เพราะในคดีท่ีพนักงานอัยการเปนโจทกศาลไมจําเปนตองไตสวนมูลฟอง เน่ืองจากคดีอาญาน้ันผานการสอบสวนของพนักงานสอบสวน ตามมาตรา ๑๒๐ มาแลว หรือศาลเห็นสมควรจะใหไตสวนมูลฟองกอนก็ได ในทางปฏิบัติน้ันศาลจะไมไตสวนมูลฟองและเม่ือเห็นวาจําเลยถูกขังตามหมายขังของศาลแลว หรือไดรับการปลอยตัวชั่วคราวจากศาล ศาลก็จะส่ังในคําฟองวาประทับฟอง ถาปรากฏวาคดีมีมูลใหศาลประทับฟองไวพิจารณาตอไปเฉพาะกระทงท่ีมีมูล ถาคดีไมมีมูลใหพิพากษายกฟอง ในคดีท่ีราษฎรเปนโจทกน้ัน ศาลจะส่ังใหสงสําเนาคําฟองใหจําเลยทราบ จําเลยจึงไดรับสําเนาคําฟองไวกอนท่ีศาลจะส่ังรับประทับฟองโจทก เม่ือศาลรับฟองแลวจึงไมตองสงสําเนาฟองใหจําเลยอีก แตศาลจะส่ังใหเรียกจําเลยมาใหการในวันเดียวกับวันนัดสืบพยานโจทก เน่ืองจากในคดีอาญาโจทกมีหนาท่ีนําสืบกอน คําส่ังของศาลท่ีใหคดีมีมูลยอมเด็ดขาด แตคําส่ังท่ีวาคดีไมมีมูลน้ันโจทกมีอํานาจอุทธรณฎีกาไดตามบทบัญญัติวาดวยลักษณะอุทธรณฎีกา

๓.๑.๓ การพิจารณาในศาลช้ันตน๔ การพิจารณาและสืบพยานในศาลใหทําโดยเปดเผยตอหนาจําเลย เวนแตบัญญัติไวเปนอยางอ่ืน เม่ือโจทกหรือทนายโจทกและจําเลยมาอยูตอหนาศาลแลว และศาลเชื่อวาเปนจําเลยจริง ใหอานและอธิบายฟองใหจําเลยฟง และถามวาไดกระทําผิดจริงหรือไม จะใหการตอสูอยางไรบาง คําใหการของจําเลยใหจดไว ถาจําเลยไมยอมใหการก็ใหศาลจดรายงานไวและดําเนินการพิจารณาตอไป เม่ือถึงวันนัดพิจารณาซ่ึงโดยปกติจะเปนนัดสอบคําใหการจําเลยกอนวาจะรับสารภาพหรือปฏิเสธตามขอหาของโจทก กระบวนพิจารณาในนัดพิจารณาน้ัน ศาลจะตองกระทําโดยเปดเผยตอหนาจําเลย ถาจําเลยรับสารภาพในขอหาท่ีมีอัตราโทษจําคุกอยางตํ่าไมถึงหาป และโจทกไมติดใจสืบพยาน ศาลก็จะตัดสินมีคําพิพากษาไดโดยไมตองสืบพยาน แตถาจําเลยปฏิเสธ โจทกจะตองสืบพยานกอน การนัดพิจารณาสืบพยานโจทกหรือจําเลย หรือนัดเพ่ือพิจารณาในเร่ืองใดก็ตามในคดีอาญาตองกระทําตอหนาจําเลย ซ่ึงตางจากคดีแพง โจทกสืบพยานไปฝายเดียวก็ได ถาจําเลยไมมาหรือทนายจําเลยมา แตคดีอาญากระทําไมไดจําเลยตองมาทุกนัด เวนแตกฎหมายจะใหอํานาจพิจารณาลับหลังจําเลยได เชน ตามมาตรา ๑๗๒ ทวิ การพิจารณาจะสืบพยานลับหลังจําเลย มาตรา ๑๘๐ จําเลยขัดขวางการ

๔ นคร พจนวรพงษ, พลประสิทธ์ิ ฤทธ์ิรักษา, ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา, (กรุงเทพมหานคร : เจริญกิจ, ๒๕๕๐), หนา ๑๕๖-๑๖๐.

Page 77: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

๖๒

พิจารณา มาตรา ๒๓๐ กระบวนพิจารณาเดินเผชิญสืบพยานหรือสงประเด็นใหศาลอ่ืนสืบพยานและคูความไมติดใจไปฟงการพิจารณา ภายหลังท่ีศาลไดดําเนินการตามมาตรา ๑๗๒ วรรค ๒ แลว เมื่อศาลเห็นเปนการสมควรเพ่ือใหการดําเนินการพิจารณาเปนไปโดยไมชักชา ศาลมีอํานาจพิจารณาและสืบพยานลับหลังจําเลยไดในกรณีด่ังตอไปน้ี (๑) ในคดีมีอัตราโทษจําคุกอยางสูงไมเกินสิบป จะมีโทษปรับดวยหรือไมก็ตาม หรือในคดีมีโทษปรับสถานเดียว เมื่อจําเลยมีทนาย และจําเลยไดรับอนุญาตจากศาลท่ีจะไมมาฟงการพิจารณาและการสืบพยาน (๒)ในคดีท่ีมีจําเลยหลายคน ถาศาลพอใจตามคําแถลงของโจทกวาการพิจารณาและการสืบพยานตามท่ีโจทกขอใหกระทําไมเก่ียวแกจําเลยคนใด ศาลจะพิจารณาและสืบพยานลับหลังจําเลยคนน้ันก็ได (๓) ในคดีท่ีมีจําเลยหลายคน ถาศาลเห็นสมควรจะพิจารณาและสืบพยานจําเลยคนหน่ึงๆ ลับหลังจําเลยคนอื่นได ในคดีท่ีศาลพิจารณาและสืบพยานตาม (๒) หรือ (๓) ลับหลังจําเลยคนใด ไมวากรณีจะเปนประการใด หามมิใหศาลรับฟงการพิจารณาและการสืบพยานท่ีกระทําลับหลังน้ันเปนผลเสียหาแกจําเลยคนน้ัน เม่ือศาลไดสอบคําใหการจําเลยในนัดแรกแลว และไดกําหนดนัดสืบพยานโจทกนัดตอไป การพิจารณาก็จะตองกระทําตอหนาจําเลยทุกนัด ยกเวนแตศาลเห็นเปนการสมควรเพ่ือใหการพิจารณาเปนไปโดยไมชักชา ศาลมีอํานาจพิจารณาและสืบพยานลับหลังจําเลยไดในกรณีตอไปน้ี ก. จําเลยไดรับอนุญาตจากศาลท่ีจะไมมาฟงการพิจารณาการสืบพยาน โดยจําเลยแตงต้ังทนายใหมาฟงการพิจารณาและสืบพยานแทน ซ่ึงคดีท่ีจําเลยตองหามาน้ันเปนคดีท่ีมีอัตราโทษจําคุกอยางสูงไมเกินสิบป เหตุตามมาตราน้ีจึงเปนกรณีท่ีจําเลยไดรับการปลอยตัวช่ัวคราวระหวางพิจารณามากกวาท่ีจะถูกควบคุมตามหมายขัง ข. ในคดีท่ีมีจําเลยหลายคน บางคนไดรับการปลอยตัวชั่วคราวหรือแมจะอยูในความควบคุมท่ีเรือนจําก็ตาม ถาศาลพอใจตามคําแถลงโจทกแลว การพิจารณาและการสืบพยานตามที่โจทกขอใหกระทําไมเก่ียวแกจําเลยคนใด แมจําเลยไมมาตามนัดศาลก็พิจารณาคดีไปได หรือศาลพิจารณาเห็นสมควรเองท่ีจะพิจารณาคดีและสืบพยานลับหลังจําเลยคนน้ัน แตอยางไรก็ดีการพิจารณาและสืบพยานในกรณีท่ีคดีมีจําเลยหลายคน หามมิใหศาลรับฟองคําพิจารณาและการสืบพยานท่ีกระทําลับหลังจําเลยใหเปนผลเสียหายแกจําเลยคนน้ัน เน่ืองจาก

Page 78: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

๖๓

การพิจารณาสืบพยานลับหลังจําเลย ทําใหจําเลยผูน้ันไมมีโอกาสซักคานพยานโจทกท่ีนํามาสืบได ในคดีท่ีมีอัตราโทษประหารชีวิต กอนเร่ิมพิจารณา ใหศาลถามจําเลยวามีทนายความหรือไม ถาไมมีก็ใหศาลตั้งทนายความให ในคดีท่ีมีอัตราโทษจําคุก หรือในคดีท่ีจะเลยมีอายุไมเกินสิบแปดปในวันท่ีถูกฟองตอศาล กอนเริ่มพิจารณา ใหศาลถามจําเลยวามีทนายความหรือไม ถาไมมี และจําเลยตองการทนายความก็ใหศาลตั้งทนายความให กอนนําพยานเขาสืบ โจทกมีอํานาจเปดคดีเพ่ือใหศาลทราบคดีโจทกคือแถลงถึงลักษณะของฟอง อีกท้ังพยานหลักฐานท่ีจํานําสืบเพ่ือพิสูจนความผิดของจําเลย เสร็จแลวใหโจทกนําพยานเขาสืบ เม่ือสืบพยานโจทกแลวจําเลยมีอํานาจเปดคดีเพ่ือใหศาลทราบคดีจําเลย โดยแถลงขอเท็จจริงหรือขอกฎหมายซ่ึงตั้งใจอางอิง ท้ังแสดงพยานหลักฐานท่ีจะนําสืบ เสร็จแลวใหจําเลยนําพยานเขาสืบ เม่ือสืบพยานจําเลยเสร็จแลว โจทกและจําเลยมีอํานาจแถลงปดคดีของตนดวยปาก หรือหนังสือ หรือท้ังสองอยาง ในระหวางพิจารณา ถาศาลเห็นวาไมจําเปนตองสืบพยานหรือทําการอะไรอีก จะส่ังงดพยานหรือการน้ันเสียก็ได ในช้ันพิจารณา ถาจําเลยใหการรับสารภาพตามฟอง ศาลจะพิพากษาโดยไมสืบพยานหลักฐานตอไปก็ได เวนแตคดีท่ีมีขอหาในความผิดซ่ึงจําเลยรับสารภาพน้ัน กฎหมายกําหนดอัตราโทษอยางต่ําไวใหจําคุกตั้งแตหาปขึ้นไปหรือโทษสถานท่ีหนักกวาน้ัน ศาลตองฟงพยานโจทกจนกวาจะพอใจวาจําเลยไดกระทําผิดจริง หลักการพิจารณาคดีจะตองกระทําโดยเปดเผยตอหนาจําเลย แตอยางไรก็ดีในบางสถานการณการพิจารณาคดีอาจกระทําโดยเปนการลับก็ได โดยศาลเห็นสมควรเองหรือโดยคํารองขอของคูความฝายใด เชน คดีขมขืนกระทําชําเราหญิงซ่ึงมีฐานะชื่อเสียงในสังคม และเปนนัดสืบพยานโจทกผูเสียหาย หรือคดีลอบสังหารบุคคลสําคัญของประเทศ หรือคดีเก่ียวกับการกระทําเอกสารสําคัญของประเทศ คดีตาง ๆ เหลาน้ีเปนคดีท่ีตองพิจารณาเปนการลับเพ่ือประโยชนแหงความสงบเรียบรอยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือเพ่ือปองกันความลับอันเก่ียวกับความปลอดภัยของประเทศมิใหลวงรูถึงประชาชน กฎหมายจึงใหเปนดุลพินิจของศาลท่ีจะพิจารณาเปนการลับในบางนัดพิจารณา หรือเห็นควรทุกนัดก็ได

Page 79: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

๖๔

๓.๑.๔ คําพิพากษาและคําส่ัง๕ คดีท่ีอยูในระหวางไตสวนมูลฟองหรือพิจารณา ถามีคํารองระหวางพิจารณาข้ึนมา ใหศาลส่ังตามที่เห็นควร เม่ือการพิจารณาเสร็จแลว ใหพิพากษาหรือส่ังตามรูปความ ใหอานคําพิพากษาหรือคําส่ังในศาลโดยเปดเผยในวันเสร็จการพิจารณาหรือภายในเวลาสามวันนับแตเสร็จคดี ถามีเหตุอันสมควรจะเล่ือนไปอานวันอื่นก็ได แตตองจดรายงานเหตุน้ันไว เมื่อศาลอานใหคูความฟงแลว ใหคูความลงลายมือชื่อไว ถาเปนความผิดของโจทกท่ีไมมา จะอานโดยโจทกไมอยูก็ได ในกรณีท่ีจําเลยไมอยู โดยไมมีเหตุสงสัยวาจําเลยหลบหนีหรือจงใจ ไมมาฟง ก็ใหศาลรอการอานไวจนกวาจําเลยจะมาศาล แตถามีเหตุสงสัยวาจําเลยหลบหนีหรือจงใจไมมาฟงใหศาลออกหมายจับจําเลย เม่ือไดออกหมายจับแลวไมไดตัวจําเลยมาภายในหน่ึงเดือน นับแตวันออกหมายจับ ก็ใหศาลอานคําพิพากษาหรือคําส่ังลับหลังจําเลยได และใหถือวาโจทกหรือจําเลยแลวแตกรณีไดฟงคําพิพากษาหรือคําส่ังน้ันแลว ในกรณีท่ีคําพิพากษาหรือคําส่ังตองเล่ือนอานไปโดยขาดจําเลยบางคน ถาจําเลยที่อยูจะถูกปลอย ใหศาลมีอํานาจปลอยชั่วคราวระหวางรออานคําพิพากษาหรือคําส่ังน้ัน การอานคําพิพากษาตองอานใหคูความฟงแลวใหคูความลงลายมือชื่อไว ถาโจทกไมมา แตจําเลยมาก็ใหอานได และถือวาโจทกไดฟงคําพิพากษาหรือคําส่ังแลว แตถาจําเลยไมมาศาลยังอานคําพิพากษาในนัดแรกไมไดตองเล่ือนการอานออกไป โดยจดไวในรายงานนัดฟงคําพิพากษา จําเลยทราบนัดโดยชอบแลวไมมาศาลโดยไมแจงเหตุขัดของ มีเหตุสงสัยวาจําเลยหลบหนีใหออกหมายจับจําเลย คําพิพากษา หรือคําส่ังหรือความเห็นแยงตองทําเปนหนังสือลงลายมือช่ือผูพิพากษาซ่ึงน่ังพิจารณา ผูพิพากษาใดท่ีน่ังพิจารณาถาไมเห็นพองดวย มีอํานาจทําความเห็นแยง คําแยงน้ีใหรวมเขาสํานวนไว การทําคําพิพากษาหรือคําส่ังของศาลเม่ือคดีเสร็จการพิจารณา ผูพิพากษาเจาของสํานวน จะเปนผูเขียนคําพิพากษาหรือคําส่ังแลวแตกรณี เม่ือนัดเสร็จแลวจะปรึกษากับองคคณะ โดยในสํานวนคดีน้ันท่ีหนาปกสํานวนมุมดานซายบนจะมีชื่อผูพิพากษา ๒ คน ช่ือบนสุดเปนช่ือผูพิพากษาเจาของสํานวน ชื่อลางเปนชื่อองคคณะ เพราะตามมาตรา ๒๓ วรรคแรก แหงพระธรรมนูญศาลยุติธรรมบัญญัติวาศาลชั้นตน นอกจากศาลแขวงตองมีผูพิพากษาอยางนอยสองคน จึงเปนองคคณะพิจารณาพิพากษาคดีแพงและคดีอาญาท้ังปวง โดยผูพิพากษาองคคณะตองเคยรวมพิจารณาคดีดวย ไมวาจะมีจํานวนครั้งเทาใดก็ตาม ซ่ึงดูไดจาก ๕ สัก กอแสงเรือง, ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา, (กรุงเทพมหานคร : เจริญกิจ, ๒๕๕๐), หนา ๒๒๐.

Page 80: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

๖๕

รายงานกระบวนพิจารณา ถาผูพิพากษาองคคณะเห็นชอบดวยกับการเขียนคําพิพากษาหรือคําส่ังของผูพิพากษาเจาของสํานวนก็จะลงลายมือชื่อในรางคําพิพากษาน้ันรวมกับผูพิพากษาเจาของสํานวน แตหาก ไมเห็นดวยก็มีอํานาจทําความเห็นแยง ความเห็นแยงตองติดไวในสํานวนเพ่ือเปนหลักฐานในการ ท่ีคูความจะใชอุทธรณคําพิพากษาศาลชั้นตนตอไปตามมาตรา ๑๙๓ ทวิ หากคดีน้ันเปนคดีตองหามอุทธรณตามมาตรา ๑๙๓ ทวิ ถาศาลเห็นวาขอเท็จจริงตามท่ีปรากฏในการพิจารณาแตกตางกับขอเท็จจริงดังท่ีกลาวในฟอง ใหศาลยกฟองคดีน้ัน เวนแตขอแตกตางน้ันมิใชในขอสาระสําคัญและท้ังจําเลยมิไดหลงตอสู ศาลจะลงโทษจําเลยตามขอเท็จจริงท่ีไดความน้ันก็ได ๓.๒ หลักการลงโทษผูกระทําผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ๖ ไดกําหนดโทษไว ๕ สถาน คือ ๑. ประหารชีวิต ๒. จําคุก ๓. กักขัง ๔. ปรับ ๕. ริบทรัพยสิน

๓.๒.๑. โทษประหารชีวิต๗ ในการพิจารณารางประมวลกฎหมายอาญา ไดมีขอโตเถียงในช้ันคณะกรรมาธิการวิสามัญของสภาผูแทนราษฎรวา จะสมควรยกเลิกโทษประหารชีวิตหรือไม ซ่ึงท่ีประชุมไดมีมติวาควรจะคงมีโทษประหารชีวิตไว

การลงโทษประหารชีวิตน้ัน ศาลจะลงโทษไดก็ตอเมื่อบทบัญญัติของประมวลกฎหมายอาญาหรือพระราชบัญญัติอ่ืนไดกําหนดโทษประหารชีวิตลงไวในกฎหมายน้ันๆ เทาน้ัน ท้ังน้ีเพราะมาตรา ๕๑ ไดกําหนดวาในการเพ่ิมโทษจําคุกน้ัน จะเพ่ิมขึ้นถึงเปนโทษประหารชีวิตมิได และจําลงโทษประหารชีวิตแกผูกระทําความผิดท่ีมีอายุต่ํากวา ๑๘ ปไมได

๖ พลประสิทธ์ิ ฤทธ์ิรักษา, ประมวลกฎหมายอาญา, (กรุงเทพมหานคร : เจริญกิจ, ๒๕๕๐), หนา ๕๖-๖๒.

๗ นคร พจนวรพงษ, ประมวลกฎหมายอาญา, (กรุงเทพมหานคร : เจริญกิจ, ๒๕๕๐), หนา ๖๙-๗๒.

Page 81: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

๖๖

อัตราในการลดโทษประหารชีวิต มาตรา ๕๒ กําหนดวา “ในการลดโทษประหารชีวิต ไมวาจะเปนการลดมาตราสวนหรือลดโทษท่ีจะลง ใหลดดังตอไปน้ี (๑) ถาจะลดหน่ึงในสาม ใหลดเปนโทษจําคุกตลอดชีวิต (๒) ถาจะลดก่ึงหน่ึง ใหลดเปนโทษจําคุกตลอดชีวิต หรือโทษจําคุกตั้งแตย่ีสิบหาปถึงหาสิบป” หมายเหตุ (๑) “ลดมาตราสวนโทษ” หมายถึง ลดจากอัตราท่ีกฎหมายกําหนดไว เชน ในกรณีท่ีบุคคลอายุกวาสิบเจ็ดปแตยังไมเกินย่ีสิบป กระทําการอันกฎหมายบัญญัติเปนความผิด มาตรา ๗๖ ไดบัญญัติใหศาลมีอํานาจลดมาตราสวนโทษท่ีกําหนดไวสําหรับความผิดน้ันลงหน่ึงในสามหรือก่ึงหน่ึงได ฉะน้ันในกรณีท่ีกฎหมายกําหนดโทษประหารชีวิตไวสถานเดียว เชนตามมาตรา ๒๘๙ ถาศาลจะลดมาตราสวนโทษลงหน่ึงในสาม ศาลก็ลดโทษลงเปนโทษจําคุกตลอดชีวิตและ (๒) “ลดโทษท่ีจะลง” ไดแก กรณีท่ีศาลไดลงโทษประหารชีวิตแลวและศาลลดโทษประหารชีวิตท่ีลงไวน้ัน เชน เพราะมีเหตุบรรเทาโทษตามมาตรา ๗๘ เสียก่ึงหน่ึงศาลก็เลือกลงโทษจําคุกตลอดชีวิต หรือลงโทษจําคุกมีกําหนดระหวางจําคุกย่ีสิบหาถึงหาสิบป

๓.๒.๒. โทษจําคุก๘ โทษจําคุกและโทษกักขัง (ซ่ึงเปนโทษท่ีศาลเปล่ียนมาจากโทษจําคุกตามมาตรา ๒๓) เปนโทษท่ีมีประสิทธิภาพมากท่ีสุดเทาท่ีจะทําใหผูตองโทษกลับตนเปนคนดีได เพราะทําใหเจาพนักงานราชทัณฑมีโอกาสพิจารณาผูตองโทษเปนรายบุคคลวา การปฏิบัติ (treatment) ในเรือนจําหรือสถานที่กักขังไดทําใหผูตองโทษกลับตนไดหรือไมเพียงใด ท้ังน้ีโดยถือหลักท่ีวาจะตองพิจารณาผลปฏิบัติจากนักโทษเปนคนๆ ไป สวนการที่จะใหผลปฏิบัติแกผูตองโทษอยางไรจึงจะเปนผลทําใหผูตองโทษกลับตนเปนคนดีเขาสูสังคมไดอยางเดิม เปนเรื่องของทัณฑวิทยา โทษจําคุกนอกจากจะทําใหเจาพนักงานเรือนจํามีโอกาสใหผลปฏิบัติถูกตองตามหลักวิชา เชน ใหเรียนหนังสือและใหฝกหัดอาชีพจนรูคุณคาของการทํางานแลว ยังเปนโทษท่ีทําใหผูตองโทษรูสึกหวาดกลัว เพราะไดรับทุกขทรมานเน่ืองจากการจากบานซ่ึงเคยอยูอาศัย

๘ พลประสิทธ์ิ ฤทธ์ิรักษา, ประมวลกฎหมายอาญา, (กรุงเทพมหานคร : เจริญกิจ, ๒๕๕๐), หนา ๗๘-๘๕.

Page 82: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

๖๗

และจากครอบครัวซ่ึงเปนท่ีรัก ฉะน้ันจึงมีหลักวา ไมควรจะจําคุกจําเลยในระยะเวลาอันส้ัน เชน จําคุกจําเลยเพียงสิบหาวันเพราะไมทําใหผูตองโทษรูสึกเจ็บและจะทําใหผูตองโทษถูกตราหนาวาเปนคนเคยถูกจําคุกมาแลวเพ่ือหลีกเล่ียงมิใหศาลตองจําคุกจําเลยในระยะเวลาอันสั้นน้ี

วิธีการรอการกําหนดโทษและรอการลงโทษ๙ ประมวลกฎหมายอาญาไดบัญญัติเรื่องน้ีไวมาตรา ๕๖ มีขอความดังตอไปน้ี มาตรา ๕๖ ผูใดกระทําความผิดซ่ึงมีโทษจําคุก และในคดีน้ันศาลจะลงโทษจําคุกไมเกินสองป ถาไมปรากฏวาผูน้ันไดรับโทษจําคุกมากอน หรือปรากฏวาไดรับโทษจําคุกมากอน แตเปนโทษสําหรับความผิดท่ีไดกระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ เม่ือศาลไดคํานึงถึงอายุ ประวัติ ความประพฤติ สติปญญา การศึกษาอบรม สุขภาพภาวะแหงจิต นิสัย อาชีพ และส่ิงแวดลอมของผูน้ัน หรือสภาภความผิด หรือเหตุอื่นอันควรปรานีแลว เห็นเปนการสมควร ศาลพิพากษาวาผูน้ันมีความผิดแตรอการกําหนดโทษไว หรือกําหนดโทษแตรอการลงโทษไว แลวปลอยตัวไปเพ่ือใหโอกาสผูน้ันกลับตัวภายในระยะเวลาที่ศาลจะไดกําหนด แตตองไมเกินหาปนับแตวันท่ีศาลพิพากษาโดยจะกําหนดเง่ือนไขเพ่ือคุมความประพฤติของผูน้ันดวยหรือไมก็ได เง่ือนไขเพ่ือคุมความประพฤติของผูกระทําความผิดน้ัน ศาลอาจกําหนดขอเดียวหรือหลายขอ ดังตอไปน้ี (๑) ใหไปรายงานตัวตอเจาพนักงานท่ีศาลระบุไวเปนครั้งคราว เพ่ือเจาพนักงานจะไดสอบถาม แนะนํา ชวยเหลือ หรือตักเตือนตามท่ีเห็นสมควรในเร่ืองความประพฤติและประกอบอาชีพ หรือจัดใหกระทํากิจกรรมบริการสังคมหรือสาธารณประโยชนตามที่เจาพนักงานและผูกระทําความผิดเห็นสมควร (๒) ใหฝกหัดหรือทํางานอาชีพอันเปนกิจจะลักษณะ (๓) ใหละเวนการคบหาสมาคมหรือการประพฤติใดอันอาจนําไปสูการกระทําความผิดในทํานองเดียวกันอีก (๔) ใหไปรับการบําบัดรักษาการติดยาเสพติดใหโทษ ความบกพรองทางรางกายหรือจิตใจ หรือความเจ็บปวยอยางอ่ืน ณ สถานท่ีและตามระยะเวลาท่ีศาลกําหนด (๕) เงื่อนไขอ่ืน ๆ ตามที่ศาลเห็นสมควรกําหนดเพ่ือแกไข ฟนฟูหรือปองกันมิใหผูกระทําความผิดกระทําหรือมีโอกาสกระทําความผิดขึ้นอีก เง่ือนไขตามท่ีศาลไดกําหนดตาม

๙ นคร พจนวรพงษ, ประมวลกฎหมายอาญา, (กรุงเทพมหานคร : เจริญกิจ, ๒๕๕๐), หนา ๘๖-๙๐.

Page 83: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

๖๘

ความในวรรคกอนน้ัน ถาภายหลังความปรากฏแกศาลตามคําขอของผูกระทําความผิด ผูแทนโดยชอบธรรมของผูน้ัน ผูอนุบาลของผูน้ัน พนักงานอัยการหรือเจาพนังกานวา พฤติการณท่ีเก่ียวแกการควบคุมความประพฤติของผูกระทําความผิดไดเปล่ียนแปลงไป เม่ือศาลเห็นสมควร ศาลอาจแกไขเพ่ิมเติมหรือเพิกถอนขอหน่ึงขอใดเสียก็ได หรือจํากําหนดเง่ือนไขขอใดตามท่ีกลาวในวรรคกอนที่ศาลยังมิไดกําหนดเพ่ิมเติมข้ึนอีกก็ได จะเห็นไดวามาตรา ๕๖ กําหนดวิธีการใหศาลใช ๒ วิธีดวยกัน กลาวคือ ๑. มีคําพิพากษาวาจําเลยมีความผิดแตรอการกําหนดโทษไว หรือ ๒. ศาลกําหนดโทษแตรอการลงโทษน้ัน การกําหนดเง่ือนไขเพ่ือคุมความประพฤติ สวนบทบัญญัติวรรคสองของมาตรา ๕๖ ซ่ึงกําหนดใหศาลมีอํานาจกําหนดเง่ือนไขเพ่ือควบคุมความประพฤติไดน้ัน ไมไดเปนการบังคับศาลใหตองกระทําเชนน้ันเสมอไป แตใหเปนดุลพินิจของศาลท่ีจะกําหนดเง่ือนไขหรือไมก็ได ซ่ึงในการท่ีศาลจะกําหนดเง่ือนไขเพ่ือคุมความประพฤติหรือไมน้ัน ก็แลวแตศาลจะเห็นวาจะไดประโยชนหรือไม และศาลมีเคร่ืองมือเพียงพอหรือไมท่ีจะควบคุมใหการเปนไปตามท่ีศาลกําหนดไวน้ัน เชน ในกรณีท่ีศาลยุติธรรมไมไดจัดเจาหนาท่ีไวโดยเฉพาะ ถาศาลจะใหจาศาลหรือเจาพนักงาน จะสามารถปฏิบัติหนาท่ีไดหรือไม เปนตน แตศาลกําหนดเง่ือนไขเพ่ือคุมความประพฤติโดยไมแตงตั้งเจาพนักงานก็ได การกําหนดเง่ือนไขเพ่ือคุมความประพฤติน้ี คลายกับหลัก probation ของอังกฤษ ตางกันในขอท่ี probation ของอังกฤษน้ันจําเลยตองใหความยินยอม ถาจําเลยไมใหความยินยอมรับเอา probation ศาลพิพากษาลงโทษไปทีเดียว ท้ังน้ีโดยประสงคท่ีจะใหผูตองคําพิพากษาสํานึกในความรับผิดชอบของตน และยอมปฏิบัติตามเงื่อนไขโดยความสมัครใจ แตกฎหมายไทยไดถือวาควรจะอยูในดุลพินิจของศาลที่จะพิจารณาวา ถากําหนดเง่ือนไขเพ่ือคุมความประพฤติแลว ผูตองคําพิพากษาจะกลับตนเปนคนดีไดหรือไม โดยไมตองคํานึงถึงความสมัครใจของผูตองตําพิพากษาวายอมรับเง่ือนไขหรือไม การท่ีกฎหมายไทยกําหนดเชนน้ีเปนการไดทางเสียทาง ทางได คือ ถาศาลเห็นวายังไมควรลงโทษแลว ศาลก็ไมจําตองลงโทษ (ขอน้ีตางกับกฎหมายอังกฤษ ซ่ึงเม่ือจําเลยไมยอมรับ probation แลวตองลงโทษเสมอ) ฉะน้ันตามกฎหมายไทย จึงเปนการหลีกเล่ียงผลรายของการลงโทษอาญาในกรณีท่ีไมสมควรลงโทษได

Page 84: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

๖๙

ทางเสีย คือ ถาผูตองคําพิพากษาไมสมัครใจรับเง่ือนไขเพ่ือคุมความประพฤติแลว ก็คงจะตองพยายามหลีกเล่ียงการปฏิบัติตามเง่ือนไขน้ัน ๆ แตขอน้ีไมจริงเสมอไป เพราะผูตองคําพิพากษาอาจะกลับใจภายหลังได ถาศาลตกลงใจจะกําหนดเง่ือนไขเพ่ือคุมความประพฤติแลว ศาลก็ตองพิจารณาวาสาเหตุท่ีทําใหผูตองคําพิพากษากระทําผิดคืออะไร แลวกําหนดเง่ือนไขใหผูตองคําพิพากษาปฏิบัติ อันจะทําใหเขากลับตนเปนพลเมืองดี เชน ถาผูตองคําพิพากษาลักทรัพยเพราะเกียจคราน ศาลก็กําหนดเง่ือนไขตาม (๒) ของมาตราน้ีโดยกําหนดใหผูกระทําผิดฝกและประกอบอาชีพเปนกิจจะลักษณะ แตถาปรากฏวาผูตองคําพิพากษาเขาไปในตําบลหน่ึง แลวไปคบเพ่ือนเกเรชวนกันทํารายผูอื่นเสมอ ๆ ศาลอาจกําหนดเง่ือนไขตาม (๓) ของมาตรานี้โดยกําหนดเง่ือนไขไมใหเขาไปในตําบลน้ันหรือไมใหสมาคมกับเพ่ือนคนน้ันอีก ฯลฯ เปนตน สวนเง่ือนไขตาม (๑) เปนการกําหนดใหมีการควบคุมและสอดสองมิใหประพฤติไปในทางท่ีจะโนมนาวไปกระทําความผิดขึ้นอีก และเจาพนักงานยอมมีอํานาจตักเตือนไดเอง การกําหนดเง่ือนไขเพ่ือคุมความประพฤติ มีความมุงหมายที่จะใหผูตองคําพิพากษากลับตนเปนคนดี ซ่ึงเง่ือนไขน้ีอาจแกไขเปล่ียนแปลงหรือเพ่ิมเติมภายหลังได เชน กําหนดไมใหผูตองคําพิพากษาเขาไปท่ีตําบลหน่ึงเพ่ือไมใหไปสมาคมกับเพ่ือนท่ีชั่ว ผูตองคําพิพากษาก็เชื่อฟง แตไปม่ัวสุมอยูท่ีรานขายสุราถึงกับทาทายวิวาทกับผูอื่น ศาลอาจกําหนดเง่ือนไขเพ่ิมเติมอีกได อน่ึง ศาลเห็นสมควรยกเลิกเง่ือนไขเพ่ือคุมความประพฤติเสียเพราะไมมีความจําเปนตอไปแลว หรือมีเหตุสมควรเพิกถอนอยางอื่น เชน เง่ือนไขท่ีหามมิใหเขาไปในตําบลหน่ึงเพ่ือมิใหคบเพ่ือนช่ัว แตเพ่ือนคนน้ันถูกคุกไปแลว หรือผูตองคําพิพากษามีความจําเปนจะตองประกอบอาชีพในตําบลน้ัน ศาลก็มีอํานาจเพิกถอนเง่ือนไขเพ่ือคุมความประพฤติน้ันเสียได การท่ีศาลจะแกไขเพ่ิมเติมเง่ือนไขเพ่ือคุมความประพฤติน้ี ศาลจะกระทําเองโดยไมมีคําขอไมได แตพนักงานอัยการ เจาพนักงานคุมความประพฤติ ผูแทนโดยชอบธรรมหรือผูอนุบาลอาจเสนอขอเท็จจริงใหศาลทราบ เพ่ือศาลจะพิจารณาแกไขเพ่ิมเติมได ปญหามีวา ถาศาลเห็นวาเง่ือนไขเพ่ือคุมความประพฤติไมจําเปนตอไป ศาลจะเพิกถอนเงื่อนไขเพ่ือคุมความประพฤติไม เพราะมาตรา ๕๖ ใชคําวาเพิกถอนขอหน่ึงขอใด ผูเขียนเห็นวาศาลเพิกถอนเง่ือนไขเพ่ือคุมความประพฤติท้ังหมดก็ได เง่ือนไขเพ่ือคุมความประพฤติเปนแตเพียงวิธีการเพ่ิมเติม เมื่อมาตรา ๕๖ น้ีกําหนดวา ศาลอาจแกไขเพ่ิมเติมหรือเพิกถอนขอหน่ึงขอใดเสียก็ได ศาลก็อาจกําหนดวาไมตองปฏิบัติตามเง่ือนไขทุกขอเลยก็ได ในเม่ือศาลเห็นวาไมจําเปน

Page 85: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

๗๐

การรอกําหนดโทษหรือกําหนดโทษแตรอการลงโทษ มีไวเพ่ือประสงคท่ีจะใหผูกระทําผิดกลับตนเปนคนดี ฉะน้ันจึงมีหลักเกณฑอยางรอการลงอาญาตามกฎหมายลักษณะอาญาเดิม คือไมใชเพียงแตปรากฏวาจําเลยกระทําผิดคร้ังแรกศาลจะรอการลงโทษเสมอไป จะตองปรากฏดวยวา ถารอการกําหนดโทษหรือรอการลงโทษไปแลวจะไดผลสมความมุงหมายของกฎมายในการท่ีจะทําใหผูกระทําผิดกลับตนเปนคนดีโดยเหตุน้ี จึงไมควรใชมาตราน้ีพร่ําเพรื่อจนเกิดความรูสึกขึ้นวา การกระทําผิดเล็ก ๆ นอย ๆ ในครั้งแรกศาลจะไมลงโทษเลย ฉะน้ันมาตรา ๕๖ จึงไดวางเง่ือนไขในการท่ีศาลจะรอการกําหนดโทษหรือรอการลงโทษไวดังตอไปน้ี ๑. ตองเปนกรณีท่ีไดกระทําความผิดซ่ึงมีโทษจําคุก ท้ังน้ีหมายความวาศาลไมมีอํานาจท่ีจะรอการกําหนดโทษหรือรอการลงโทษ ในเม่ือโทษท่ีศาลจะลงน้ันเปนโทษอยางอื่น เชน โทษปรับ เปนตน ๒. ตองไมปรากฏวาผูกระทําผิดไดรับโทษจําคุกมากอน หรือแมปรากฏวาไดรับโทษจําคุกมากอน แตเปนโทษสําหรับความผิดท่ีไดกระทําไปโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ ๓. ในคดีน้ันศาลจะลงโทษจําคุกไมเกินสองป ๔. เมื่อศาลไดคํานึงถึงส่ิงดังตอไปน้ีแลว เห็นเปนการสมควรที่จะรอการกําหนดโทษหรือรอการลงโทษ ท้ังน้ีไมวาศาลจะไดกําหนดเง่ือนไขเพ่ือคุมความประพฤติของผูกระทําความผิดดวยหรือไม กลาวคือ ก. อายุ เชน จําเลยยังมีอายุนอย ยังไมมีความรูผิดชอบดีพออยางท่ีเรียกวาโตแตตัวแตสติปญญาไมเจริญตามอายุ หรือจําเลยมีอายุมากแลว เพ่ิงจะไดกระทําความผิด ข. ประวัติ เชน จําเลยเคยประพฤติเปนคนดีมากอน ค. ความประพฤติ ซ่ึงหมายถึงความประพฤติในปจจุบันของจําเลย เชนเปนผูมีความประพฤติดี เพ่ิงจํามาพล้ังพลาดกระทําความผิดอาญาข้ึนเพราะพฤติการณแวดลอมบังคับ ง. สติปญญา ซ่ึงหมายถึงการมีสติปญญาอยางคนโงหรือคนฉลาด เชนจําเลยเปนคนโง จึงถูกเพ่ือนชักจูงใหกระทําความผิดไดงาย จ. สุขภาพ สุขภาพอาจเปนสาเหตุใหบุคคลกระทําความผิดได เพราะบุคคลท่ีสุขภาพไมดี ใจคอหงุดหงิด อาจกระทําความผิดอาญาไดงาย เชน ความผิดฐานทํารายรางกาย เปนตน บุคคลดังกลาวน้ีถาศาลรอกําหนดโทษหรือรอการลงโทษเพ่ือใหโอกาสแกผูน้ันไปรักษาตนใหมีสุขภาพดี ก็อาจกลับตนเปนคนดีได

Page 86: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

๗๑

ฉ. ภาวะแหงจิต เชน มีจิตบกพรองหรือจิตฟนเฟอน ก็เปนเหตุท่ีตองหยิบยกมาพิจารณาวาจะสมควรรอการกําหนดโทษหรือรอการลงโทษหรือไม ช. นิสัย ซ่ึงหมายถึงความเคยชิน ถาผูกระทําความผิดมีนิสัยดีก็ควรจะพิจารณารอกําหนดโทษหรือรอการลงโทษได แตถามีนิสัยกระทําความผิดอยูเสมอ ๆ แมจะไมถึงกับรับโทษจําคุกก็จําเปนตองใครครวญวา ถารอการกําหนดโทษหรือรอการลงโทษไปแลว ผูกระทําความผิดจะกลับตนเปนคนดีไดหรือไม ซ. อาชีพ ผูกระทําความผิดมีอาชีพอยางไร มีอาชีพสุจริตมากอนหรือประกอบอาชีพโดยการกระทาํความผิดตอกฎหมาย ฌ. ส่ิงแวดลอม สิ่งแวดลอมอาจเปนสาเหตุแหงการกระทําความผิด ฉะน้ันในบางกรณี ก็เปนส่ิงท่ีนาเห็นใจผูกระทําความผิด เพราะเขาไมสามารถอยูในฐานะที่ เ ลือกส่ิงแวดลอมได ญ. สภาพของความผิด กลาวคือ ความผิดท่ีเกิดข้ึนน้ันรายแรงเพียงใด ถาศาลรอการกําหนดโทษหรือรอการลงโทษ จะทําใหบุคคลอ่ืนเอาเปนเย่ียงอยางและกลากระทําความผิดอยางเดียวกันหรือไม ฎ. เหตุอื่นท่ีควรปรานี ท้ังน้ีเปนการใหดุลพินิจแกศาลท่ีจะพิจารณาถึงเหตุอ่ืนๆ โดยเฉพาะอยางย่ิงเหตุบรรเทาโทษตามมาตรา ๗๘ ๓.๒.๓. โทษกักขัง๑๐ โทษกักขังเปนโทษซ่ึงประมวลกฎหมายอาญาไดบัญญัติขึ้นใหมโดยไมมีอยูในกฎหมายลักษณะอาญาเดิม นอกจากน้ี ในประมวลกฎหมายอาญา ภาค ๒ ซ่ึงไดบัญญัติถึงความผิดก็มิไดมีกําหนดโทษกักขังไวดวย ท้ังน้ีเพราะประมวลกฎหมายอาญาประสงคจะใหโทษกักขังเปนโทษท่ีเปล่ียนจากโทษจําคุก ฉะน้ันในบรรดาความผิดท้ังหลายในภาค ๒ แหงประมวลกฎหมายอาญาจึงมีแตโทษจําคุกเทาน้ัน (ดูมาตรา ๒๓) อยางไรก็ดี ตอไปอาจมีการออกพระราชบัญญัติอื่นกําหนดใหมีโทษกักขังสําหรับความผิดตามพระราชบัญญัติน้ันๆ ในเวลาภายหนาก็ได

๑๐ สัก กอแสงเรือง, ประมวลกฎหมายอาญา, (กรุงเทพมหานคร : นิติบรรณาการ, ๒๕๕๐), หนา ๙๒.

Page 87: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

๗๒

ก. เง่ือนไขในการเปล่ียนโทษจําคุกเปนกักขัง มาตรา ๒๓ บัญญัติวา “ผูใดกระทําความผิดซ่ึงมีโทษจําคุก และในคดีน้ันศาลจะลงโทษจําคุกไมเกินสามเดือน ถาไมปรากฏวาผูน้ันไดรับโทษจําคุกมากอน หรือปรากฏวาไดรับโทษจําคุกมากอน แตเปนโทษสําหรับความผิดท่ีไดกระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ ศาลจะพิพากษาใหลงโทษกักขังไมเกินสามเดือนแทนโทษจําคุกน้ันก็ได” จะเห็นไดวามาตรา ๒๓ ไดวางเกณฑในการท่ีศาลจะลงโทษกักขังแทนโทษจําคุกไดดังน้ี ๑. ตองเปนกรณีท่ีบุคคลกระทําความผิด ซ่ึงความผิดน้ันมีโทษจําคุกและในคดีน้ัน ศาลจะลงโทษจําคุกไมเกินสามเดือน จะมีโทษปรับดวยหรือไมก็ตาม ๒. ไมปรากฏวาบุคคลน้ันไดรับโทษจําคุกมากอนหรือปรากฏวาไดรับโทษจําคุกมากอน เปนโทษสําหรับความผิดท่ีไดกระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ ท้ังน้ีเพราะเจตนารมณของประมวลกฎหมายอาญาท่ีกําหนดใหมีโทษกักขังขั้นน้ัน ก็เพ่ือจะไมใหผูตองโทษถูกตราหนาวาไดเคยตองโทษจําคุกมาแลว ซ่ึงถือวาเปนของนาอับอายและทําใหสังคมรังเกียจ ฉะน้ันถาปรากฏวาผูกระทําความผิดไดเคยตองโทษจําคุกมาแลว การท่ีจะเปล่ียนโทษจําคุกมาเปนโทษกักขังก็ไมมีประโยชนท้ังน้ีเวนแตจะเปนกรณีท่ีเคยรับโทษจําคุกสําหรับความผิดท่ีสังคมไมรังเกียจ ซ่ึงไดแกความผิดท่ีไดกระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

ข. สภาพของโทษกักขัง โทษกักขังเปนโทษจํากัดเสรีภาพในรางกาย แตเบากวาโทษจําคุก ดังจะเห็นไดจากบทบัญญัติดังตอไปน้ี ๑. ผูตองโทษกักขังจะถูกกักตัวไวในสถานท่ีกักขัง ซ่ึงกําหนดไวอันมิใชเรือนจํา สถานีตํารวจ หรือสถานท่ีควบคุมผูตองหาของพนักงานสอบสวน (มาตรา ๒๔ วรรคแรก) ท้ังน้ีเปนหลักประกันวา ผูตองโทษกักขังจะไมอยูปนเปกับนักโทษซ่ึงตองโทษจําคุก ๒. ถาศาลเห็นเปนการสมควร ศาลจะส่ังในคําพิพากษาใหกักขังผูกระทําความผิดไวในท่ีอยูอาศัยของผูน้ันเอง หรือผูอื่นท่ียินยอมรับไวหรือสถานท่ีอื่น(นอกจากสถานท่ีกําหนดไวสําหรับโทษกักขัง) ก็ได ท้ังน้ีเพ่ือใหเหมาะสมกับประเภทหรือสภาพของผูถูกกักขัง เชน ปรากฏวาผูกระทําความผิดติดยาเสพติดใหโทษ ศาลอาจส่ังใหกักขังไวยังโรงพยาบาลท่ีรักษาคนติดยาเสพติดใหโทษได (ดูมาตรา ๒๔ วรรคสอง) ๓. ในกรณีท่ีผูตองโทษกักขังถูกกักขังในที่อาศัยของผูน้ันเองหรือของผูอื่นท่ียินยอมรับผูน้ันไว ผูตองโทษกักขังมีสิทธิท่ีจะดําเนินการในวิชาชีพหรืออาชีพของจนในสถานท่ีดังกลาวได ในการน้ี ศาลจะกําหนดเง่ือนไขใหผูตองโทษกักขังปฏิบัติอยางหน่ึงอยางใด

Page 88: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

๗๓

หรือไมก็ไดแลวแตศาลจะเห็นสมควร เชน กําหนดใหรายงานใหศาลทราบวาไดประกอบวิชาชีพหรืออาชีพอยางใดเปนคร้ังคราว เปนตน ๔. ในกรณีท่ีผูตองโทษกักขังอยูในสถานท่ีท่ีกําหนดไวสําหรับการกักขัง ผูตองโทษกักขังจะไดรับการเล้ียงดูจากสถานที่น้ัน แตภายใตขอบังคับของสถานท่ีซึ่งกําหนดไวสําหรับการกักขัง ผูตองโทษกักขังมีสิทธิ ก. ท่ีจะรับอาหารจากภายนอกโดยคาใชจายของตนเอง ข. ใชเส้ือผาของตนเอง ค. ไดรับการเย่ียมอยางนอยวันละหน่ึงช่ัวโมง และ ง. รับสงจดหมายได อน่ึง ในกรณีท่ีผูตองโทษกักขัง ณ สถานท่ีซ่ึงกําหนดสําหรับการกักขัง ผูกักขังก็ตองทํางานบาง ท้ังน้ีโดยมาตรา ๒๕ วรรคสอง ไดกําหนดใหผูตองหากักขังทํางานตามระเบียบขอบังคับและวินัย ถาผูตองโทษกักขังประสงคจะทํางานอยางอื่น (เชน อยากจะทํางานจักสาน ซ่ึงในสถานที่กักขังก็มีงานเชนน้ันอยู) ก็ใหเลือกทําไดตามประเภทงานท่ีตนสมัคร แตตองไมขัดตอระเบียบขอบังคับ วินัย หรือความปลอดภัยของสถานท่ีน้ัน ค. การเปล่ียนโทษกักขังกลับมาเปนโทษจําคุก โทษกักขังมีความมุงหมายท่ีจะใหผูกระทําความผิดไมถูกตราหนาวาตองถูกจําคุกมาแลว และใหปฏิบัติตอผูกระทําความผิดอยางเบา เพ่ือใหมีโอกาสกลับตนเปนคนดีได แตถาผูกระทําความผิดแสดงวาไมไดพยายามกลับตนเปนคนดี ผูกระทําความผิดก็ไมควรจะรับโทษกักขังตอไป และควรจะรับโทษจําคุก ซ่ึงเปนโทษรุนแรงกวาโทษกักขัง โดยเหตุน้ีมาตรา ๒๗ จึงกําหนดกรณีท่ีใหศาลมีอํานาจเปล่ียนผูตองโทษกักขังตามมาตรา ๒๓ กลับไปเปนโทษจําคุกไดเมื่อปรากฏวา ๑. ผูตองโทษกักขังฝาฝนระเบียบขอบังคับ หรือวินัยของสถานท่ีกักขัง ๒. ผูตองโทษกักขังตองคําพิพากษาใหลงโทษจําคุก ๓. ผูตองโทษกักขังตองคําพิพากษาใหลงโทษจําคุก ท้ังน้ี ในเม่ือกรณีอยางหน่ึงอยางใดใน ๓ กรณีดังกลาวน้ีไดเกิดข้ึนในระหวางท่ีผูตองโทษกักขังไดรับโทษกักขังอยู และความปรากฏแกศาลเอง หรือปรากฏแกศาลตามคําแถลงของพนักงานอัยการหรือผูควบคุมดูแลสถานท่ีกักขัง อยางไรก็ดี ถาศาลเห็นสมควรท่ีจะเปล่ียนโทษกักขังกลับเปนโทษจําคุกแลวมาตรา ๒๗ ไดจํากัดอํานาจศาลไววา โทษจําคุกน้ีจําตองมีกําหนดเวลาไมเกินกําหนดเวลาของโทษกักขังท่ีผูตองโทษกักขังจะไดรับตอไป

Page 89: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

๗๔

๓.๒.๔. โทษปรับ๑๑ โทษปรับไดแกโทษซ่ึงผูตองคําพิพากษาจะตองนําจํานวนเงินตามท่ีกําหนดไวในคําพิพากษามาชําระตอศาล (มาตรา๒๘) ก. หนาท่ีท่ีจะเสียคาปรับ ความจริงผูตองโทษปรับมีเวลาถึงสามสิบวันนับต้ังแตวันท่ีศาลพิพากษาที่จะปฏิบัติตามคําพิพากษาน้ัน แตโดยมีมาตรา ๒๙ ไดบัญญัติวา “แตถาศาลเห็นเหตุอันควรสงสัยวาผูน้ันจะหลีกเล่ียงไมชําระคาปรับ ศาลจะสั่งเรียกประกันหรือจะส่ังใหกักขังผูน้ันแทนคาปรับไปพลางกอนก็ได” ฉะน้ันในทางปฏิบัติการตองคําพิพากษาใหชําระคาปรับจึงมักจะถูกศาลส่ังกักขังไปพลางกอน ในเม่ือหาประกันใหเปนท่ีพอใจของศาลไมได ข. วิธีดําเนินการในกรณีไมชําระคาปรับ มาตรา ๒๙ ไดกําหนดวิธีดําเนินการสําหรับกรณีท่ีผูตองคําพิพากษาไมชําระคาปรับไว ๒ วิธี กลาวคือ ๑. ศาลจะส่ังใหยึดทรัพยสินใชคาปรับ ๒. ศาลจะสั่งใหกักขังแทนคาปรับ การกักขังแทนคาปรับน้ี ประมวลกฎหมายอาญาไดกําหนดไวดังน้ี ๑. การกักขังแทนคาปรับยอมกักขังไดเฉพาะในสถานที่ท่ีกําหนดไวสําหรับการกักขัง ศาลจะกักขังผูตองโทษปรับไวในท่ีอยูอาศัยของผูน้ันเอง หรือของผูอ่ืนท่ียินยอมรับผูน้ันไว หรือสถานที่อื่นท่ีอาจกักขังไดไมได ท้ังน้ีเพราะมาตรา ๒๙ วรรคสอง ไดบัญญัติไมใหนําความในวรรคสองของมาตรา ๒๔ มาใชบังคับแกการกักขังแทนคาปรับ ๒. ในการกักขังแทนคาปรับ ในถืออัตรา ๒๐๐ บาทตอหน่ึงวัน และไมวากรณีความผิดกระทงเดียวหรือหลายกระทง หามกักขังเกินกําหนดหน่ึงป เวนแตในกรณีท่ีศาลพิพากษาใหปรับตั้งแตหน่ึงหมื่นบาทข้ึนไป ศาลจะส่ังใหกักขังแทนคาปรับเปนระยะเกินกวาหน่ึงป แตไมเกินสองปก็ได ๓. ในการคํานวณระยะเวลา ใหนับวันเร่ิมกักขังแทนคาปรับรวมเขาดวยและใหนับเปนหน่ึงวันเต็มโดยไมตองคํานึงถึงจํานวนช่ัวโมง ๔. ในกรณีท่ีผูตองโทษปรับถูกคุมขังกอนศาลพิพากษา ใหหักจํานวนวันท่ีถูกคุมขังน้ันออกจากจํานวนเงินคาปรับ โดยถืออัตรา ๒๐๐ บาทตอหน่ึงวัน เวนแตผูน้ันตองคํา

๑๑ นคร พจนวรพงษ, ประมวลกฎหมายอาญา, (กรุงเทพมหานคร : เจริญกิจ, ๒๕๕๐), หนา ๙๒-๙๕.

Page 90: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

๗๕

พิพากษาใหลงโทษจําคุกและปรับ ในกรณีเชนวาน้ี ถาจะตองหักจํานวนวันท่ีถูกคุมขังออกจากเวลาจําคุกตามมาตรา ๒๒ ก็ใหหักออกเสียกอน เหลือเทาใดจึงใหหักออกจากคาปรับ ท้ังน้ีเพราะโทษจําคุกเปนโทษท่ีหนักกวาโทษปรับ กฎหมายจึงใหหักวันท่ีตองถูกคุมขังกอนศาลพิพากษาออกจากโทษจําคุกเพ่ือใหประโยชนแกผูตองคําพิพากษา ๕. เม่ือผูตองโทษถูกกักขังแทนคาปรับครบกําหนดแลว ใหปลอยตัวในวันถัดจากวันท่ีครบกําหนด แตถานําเงินคาปรับมาชําระครบแลวใหปลอยตัวไปทันที นอกจากน้ีศาลอาจส่ังใหผูตองโทษกักขังทํางานบริการสังคม ตามความในมาตรา ๓๐/๑ และ ๓๐/๒ ได กลาวคือ ในกรณีท่ีศาลพิพากษาปรับไมเกินแปดหมื่นบาท ผูตองโทษปรับซ่ึงมิใชนิติบุคคลและไมมีเงินชําระคาปรับอาจย่ืนคํารองตอศาลช้ันตนท่ีพิพากษาคดีเพ่ือขอทํางานบริการสังคมหรือทํางานสาธารณประโยชนแทนคาปรับ การพิจารณาคํารองตามวรรคแรก เม่ือศาลไดพิจารณาถึงฐานะการเงิน ประวัติและสภาพความผิดของผูตองโทษปรับแลว เห็นเปนการสมควร ศาลจะมีคําส่ังใหผูน้ันทํางานบริหารสังคมหรือทํางานสาธารณประโยชนแทนคาปรับก็ได ท้ังน้ี ภายใตการดูแลของพนักงานคุมประพฤติ เจาหนาท่ีของรัฐ หนวยงานของรัฐ หรือองคการซ่ึงมีวัตถุประสงคเพ่ือการบริการสังคม การกุศลสาธารณะหรือสาธารณประโยชนท่ียินยอมรับดูแล กร ณี ท่ี ศ าลมี คํ า ส่ั ง ให ผู ต อ ง โทษป รับ ทํ า ง านบ ริก า ร สั งคมหรื อ ทํ า ง านสาธารณประโยชนแทนคาปรับ ใหศาลกําหนดลักษณะหรือประเภทของงาน ผูดูแลการทํางาน วันเริ่มทํางาน ระยะเวลาทํางาน และจํานวนชั่วโมงที่ถือเปนการทํางานหน่ึงวัน ท้ังน้ีโดยคํานึงถึงเพศ อายุ ประวัติ การนับถือศาสนา ความประพฤติ สติปญญา การศึกษาอบรม สุขภาพ ภาวะแหงจิต นิสัย อาชีพ ส่ิงแวดลอมหรือสภาพความผิดของผูตองโทษปรับประกอบดวย และศาลจะกําหนดเง่ือนไขอยางหน่ึงอยางใดใหผูตองโทษปรับปฏิบัติเพ่ือแกไขฟนฟูหรือปองกันมิใหผูน้ันกระทําความผิดขึ้นอีกก็ได ถาภายหลังความปรากฏแกศาลวาพฤติกรรมเก่ียวกับการทํางานบริการสังคมหรือทํางานสาธารณประโยชนของผูตองโทษปรับไดเปล่ียนแปลงไป ศาลอาจแกไขเปล่ียนแปลงคําส่ังท่ีกําหนดไวน้ันก็ไดตามท่ีเห็นสมควร ในการกําหนดระยะเวลาทํางานแทนคาปรับตามวรรคสาม ใหนําบทบัญญัติมาตรา ๓๐ มาใชบังคับโดยอนุโลม และในกรณีท่ีศาลมิไดกําหนดใหผูตองโทษปรับทํางานติดตอกันไป การทํางานดังกลาวตองอยูภายในกําหนดระยะเวลาสองปนับแตวันเร่ิมทํางานตามที่ศาลกําหนด

Page 91: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

๗๖

การยกโทษปรับ มาตรา ๒๐ กําหนดวา “บรรดาความผิดท่ีกฎหมายกําหนดใหลงโทษทั้งจําคุกและปรับดวยน้ัน ถาศาลเห็นสมควรจะลงโทษแตจําคุกก็ได”

๓.๒.๕. โทษริบทรัพยสิน๑๒ ตามประมวลกฎหมายอาญามีทรัพยสินท่ีจะริบอยู ๓ ประเภท กลาวคือ ๑. ทรัพยสินท่ีศาลตองริบเสมอ ๒. ทรัพยสินท่ีศาลตองริบ เวนแตจะเปนของผูอ่ืนซ่ึงมิไดรูเห็นเปนใจดวยในการกระทําความผิด ๓. ทรัพยสินท่ีศาลมีอํานาจสั่งใหริบก็ได ดังจะไดอธิบายตามลําดับ

๑. ทรัพยสินท่ีศาลตองริบเสมอ มาตรา ๓๒ บัญญัติ “ทรัพยสินท่ีกฎหมายบัญญัติไววา ผูใดทําหรือมีไวเปนความผิดไว ใหริบเสียท้ังน้ัน ไมวาเปนของผูกระทําความผิด และมีผูถูกลงโทษตามคําพิพากษาหรือไม” ซ่ึงหมายความถึงทรัพยสินดังตอไปน้ี ก. ทรัพยสินท่ีการทําข้ึนเปนความผิด เชน เงินตราท่ีทําปลอมข้ึน (ดูมาตรา ๒๔๐) ข. ทรัพยสินท่ีการมีไวเปนความผิด เชน ฝนเถ่ือน ปนท่ีไมไดจดทะเบียน

๒. ทรัพยสินท่ีศาลตองริบ เวนแตจะเปนของผูอ่ืนมิไดรูเห็นเปนใจ ดวยในการกระทําความผิด มาตรา ๓๔ บัญญัติวา “บรรดาทรัพยสิน (๑) ซ่ึงไดใหตามความในมาตรา ๑๔๓ มาตรา ๑๔๔ มาตรา ๑๕๐ มาตรา ๑๖๗ มาตรา ๒๐๑ หรือมาตรา ๒๐๒ หรือ (๒) ซ่ึงไดใหเพ่ือจูงใจบุคคลใหกระทําความผิด หรือเพ่ือเปนรางวัลในการท่ีบุคคลไดกระทําความผิด ใหริบเสียท้ังส้ิน เวนแตทรัพยสินน้ันเปนของผูอ่ืนซ่ึงมิไดรูเห็นเปนใจดวยในการกระทําความผิด” ๑๒ สัก กอแสงเรือง, ประมวลกฎหมายอาญา, (กรุงเทพมหานคร : เจริญกิจ, ๒๕๕๐), หนา ๙๙-๑๐๒.

Page 92: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

๗๗

๓. ทรัพยสินท่ีศาลมีอํานาจส่ังใหริบหรือไมใหริบก็ได มาตรา ๓๓ บัญญัติ “ในการริบทรัพยสิน นอกจากศาลจะมีอํานาจริบตามกฎหมายท่ีบัญญัติไวโดยเฉพาะแลว ใหศาลมีอํานาจส่ังใหริบทรัพยสินดังตอไปน้ีอีกดวย คือ (๑) ทรัพยสินซ่ึงบุคคลไดใช หรือมีไวเพ่ือใชในการกระทําความผิด (คําวาไดใชน้ัน หมายถึง ไดใชโดยเจตนา ทรัพยสินซ่ึงบุคคลไดใชในการกระทําความผิดโดยประมาทจะริบไมได) หรือ (๒) ทรัพยสินซ่ึงบุคคลไดมาโดยไดกระทําความผิด เวนแตทรัพยสินเหลาน้ีเปนทรัพยสินของผูอ่ืนซ่ึงมิไดรูเห็นเปนใจดวยในการกระทําความผิด”

เมื่อไดศึกษาหลักการลงโทษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและ

ประมวลกฎหมายอาญาแลวพบวา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของประเทศไทย

น้ัน เม่ือพิเคราะหแลว กลับพบวามีบทบัญญัติเหมือนกับ "เคะอิจิโซะโชโฮ" (刑事訴訟

法 หรือ Keiji Soshō Hō) หรือ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของประเทศญ่ีปุน

ถึงรอยละเกาสิบ โดยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามีโครงสรางแบงเปนเจ็ดภาค คือ

ภาค ๑ ขอความเบ้ืองตน, ภาค ๒ สอบสวน, ภาค ๓ วิธีพิจารณาในศาลชั้นตน, ภาค ๔ อุทธรณ

และฎีกา, ภาค ๕ พยานหลักฐาน, ภาค ๖ การบังคับตามคําพิพากษา และคาธรรมเนียม และภาค

๗ อภัยโทษ เปล่ียนโทษหนักเปนเบา และลดโทษ ตามลําดับ โดยต้ังแตเร่ิมมีผลใชบังคับใน

พ.ศ. ๒๔๗๘ สวนประมวลกฎหมายอาญาคือบทบัญญัติท่ีกําหนดเก่ียวกับการกระทําผิดและ

โทษ (Nullum crimen, nulla peona sina lega หรือ No crime, no punishment without law) โดย

กฎหมายอาญาตองตีความโดยเครงครัด การตีความกฎหมายอาญาจะตองตีความทั้งตาม

ตัวอักษรและเจตนารมณของกฎหมายไปพรอมๆกัน โดยไมสามารถเลือกตีความอยางใดอยาง

เพียงอยางเดียวกอนหรือหลังได หามตีความกฎหมายเกินตัวบท โดยในกรณีท่ีเกิดชองวางของ

กฎหมายข้ึนจากการตีความท่ีถูกตองแลว จะไมสามารถนํากฎหมายใกลเคียงอยางย่ิง (Analogy)

มาปรับใชเพ่ือลงโทษผูกระทําได ซ่ึงผูวิจัยจะไดทําการเปรียบเทียบหลักการลงโทษผูกระทําผิด

วินัยในพุทธศาสนาเถรวาท กับหลักการลงโทษผูกระทําผิดตามประมวลกฎหมายอาญาและ

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในบทตอไป

Page 93: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

บทท่ี ๔

เปรียบเทียบหลักการลงโทษผูกระทําผิดวินัยในพุทธศาสนาเถรวาท กับหลักการ ลงโทษผูกระทําผิดตามประมวลกฎหมายอาญาและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

ในบทท่ี ๔ น้ี ผูวิจัยเปรียบเทียบอธิกรณและวิธีระงับอธิกรณ รวมทั้งกฎนิคหกรรม

ของมหาเถรสมาคม ฉบับท่ี ๑๑ พ.ศ. ๒๕๒๑ วาดวยการลงนิคหกรรมตามพระราชบัญญัติคณะสงฆพ.ศ. ๒๕๐๕ แกไขเพ่ิมเติม (ฉบับท่ี ๒) พ.ศ.๒๕๓๕ กับหลักการลงโทษผูกระทําผิดตามประมวลกฎหมายอาญาและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามีรายละเอียดดังตอไปน้ี ๔.๑ เปรียบเทียบอธิกรณและวิธีระงับอธิกรณกับประมวลกฎหมายอาญาและประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา การศึกษาเปรียบเทียบอธิกรณและระงับอธิกรณกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและประมวลกฎหมายอาญาพบวามีความเหมือนกันและความแตกตางกันคือกระบวนการฟองไดแกอนุวาทาธิกรณกับการฟองคดี กระบวนการพิจารณาไดแกสัมมุขาวินัยและตัสปาปยสิกากับการพิจารณาพิพากษา กระบวนการพิพากษาไดแกเยภุยยสิกากับการพิพากษา และกระบวนการระงับโทษไดแกติณวัตถารกวินัยกับการประนีประนอมยอมความ โดยมีรายละเอียดการเปรียบเทียบไวตอไปน้ีคือ

๔.๑.๑ เปรียบเทียบอนุวาทาธิกรณกับการฟองคดี ก. อนุวาทาธิกรณ ก็คือ การโจท๑ การฟองรองภิกษุท่ีประพฤติปฏิบัติผิดหลักประพฤติพรหมจรรย เพราะภิกษุท่ีละเมิดสิกขาบท ภิกษุท่ีประพฤติทรามมีกิริยามารยาทไมเหมาะสม ภิกษุท่ีเล้ียงชีพในทางท่ีผิดศีลธรรมและกฎหมาย รวมท้ังภิกษุท่ีมีมิจฉาทิฎฐิมีความคิดเห็นไมตรงตามพระธรรมวินัยอันจะเปนสาเหตุทําใหการประพฤติปฏิบัติผิดเพ้ียนไป เหลาน้ี

๑ พระเทพเวที (ประยุทธ ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสน ฉบับประมวลศัพท,

(กรุงเทพมหานคร : บริษัท สหธรรมมิก จํากัด, ๒๕๓๙), หนา ๒๐.

Page 94: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

๗๙

ลวนเปนการดําเนินชีวิตท่ีผิดหลักพรหมจรรยท้ังส้ิน และมีผลกระทบตอความเช่ือถือศรัทธาของชาวบานท่ีมีตอสงฆ และพระพุทธศาสนา พุทธบริษัทเปนโจทกฟองได

ข. การฟองอาญา๒ เปนการดําเนินคดีอาญาแกผูกระทําความผิด การดําเนินคดีอาญาในช้ันศาลจะตองมีโจทกเปนคูความฝายหน่ึง คูความฝายท่ีมีอํานาจฟองคดีอาญาตอศาล ไดแก พนักงานอัยการซ่ึงเปนเจาพนักงานของรัฐ เน่ืองจากการกระทําในคดีอาญาน้ันเปนเร่ืองท่ีกระทบกระเทือนตอความสงบเรียบรอยของประเทศกับผูเสียหาย ซ่ึงเปนประชาชนผูไดรับความเสียหายจากผลแหงการกระทําผิดอาญา เชน ลักทรัพย วิ่งราวทรัพย ปลนทรัพย ทํารายรางกายผูอ่ืน ฆาผูอ่ืน เปนตน คดีอาญาใดซ่ึงพนักงานอัยการย่ืนฟองตอศาลแลว ผูเสียหายจะย่ืนคํารองขอเขารวมเปนโจทกในระยะใดระหวางพิจารณากอนศาลช้ันตนพิพากษาคดีน้ันก็ได รวมท้ังผูเสียหายมีสิทธิท่ีจะฟองคดีอาญาไดดวยตนเอง

๔.๑.๒ เปรียบเทียบสัมมุขาวินัยและตัสปาปยสิกากับการพิจารณา พิพากษา ก. สัมมุขาวินัย๓ เปนวิธีระงับขอปญหาอธิกรณซ่ึงกระทําในที่พรอมหนา พระพุทธองคทรงกําหนดใหบุคคลผูเก่ียวของในเรื่องราวท้ังโจทก จําเลย พยาน และผูมีสวนรูเห็นมาพรอมหนากันเพ่ือทําการไตสวน สอบสวนโดยซ่ึงหนา เปดโอกาสใหทุกฝายใหการตามความจริง ยกเรื่องราวขอปญหาท่ีเกิดขึ้นมาพิจารณาวินิจฉัยโดยสงฆจํานวนไมนอยกวา ๕ รูปรวมกันดําเนินการเพ่ือใหเกิดความรอบคอบรัดกุมเปนธรรมกับทุกฝาย และการวินิจฉัยตัดสินสงฆตองมีความเห็นตรงกัน โดยไมมีภิกษุรูปใดรูปหน่ึงคัดคานโดยใชหลักพระธรรม หลักพระวินัยเปนเกณฑ คือ การตัดสินวาถูก หมายถึงถูกตองตามหลักพระธรรม หลักพระวินัย การตัดสินวาผิด หมายถึง ผิดจากหลักพระธรรมหลักพระวินัย เปนตน วิธีสัมมุขาวินัยเปนวิธีท่ีระงับอธิกรณทุกประเภท สวนตัสสปาปยสิกา๔ หมายถึง กรรมอันสงฆพึงทําเพราะความท่ีภิกษุน้ันเปนผูเลวทราม ไดแก การท่ีสงฆลงโทษแกภิกษุผูเปนจําเลยในอนุวาทาธิกรณใหการกลับไปกลับมาเด๋ียวปฏิเสธ เด๋ียวสารภาพ พูดมุสาซ่ึงหนา พูดกลบเกล่ือนขอท่ีถูกซัก แตพิจารณาไดความสมจริงตามขอหาทุกอยาง สงฆลงโทษตามความผิดแมวาภิกษุน้ันจะไมรับหรือเพ่ิมโทษอาบัติท่ีตอง

๒ นคร พจนวรพงษ, ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา, (กรุงเทพมหานคร : เจริญกิจ, 

๒๕๕๐), หนา ๒๕. ๓ วิ.จู. (บาลี) ๖/๑๖/๒๗/๑๐ ๔ วิ.จู. (บาลี) ๖/๕๘๕/๒๗/๑๐, ๕๘๕/๒๗๐.

Page 95: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

๘๐

ข. การพิจารณาในศาลช้ันตน๕ การพิจารณาและสืบพยานในศาลใหทําโดยเปดเผยตอหนาจําเลย เวนแตบัญญัติไวเปนอยางอื่น เม่ือโจทกหรือทนายโจทกและจําเลยมาอยูตอหนาศาลแลว และศาลเชื่อวาเปนจําเลยจริง ใหอานและอธิบายฟองใหจําเลยฟง และถามวาไดกระทําผิดจริงหรือไม จะใหการตอสูอยางไรบาง คําใหการของจําเลยใหจดไว ถาจําเลยไมยอมใหการก็ใหศาลจดรายงานไวและดําเนินการพิจารณาตอไป เม่ือถึงวันนัดพิจารณาโดยปกติจะเปนนัดสอบปากคําใหการจําเลยกอนวาจะรับสารภาพหรือปฏิเสธตามขอหาของโจทก กระบวนพิจารณาในนัดพิจารณาน้ัน ศาลจะตองกระทําโดยเปดเผยตอหนาจําเลย ถาจําเลยรับสารภาพในขอหาท่ีมีอัตราโทษจําคุกอยางตํ่าไมถึงหาป และโจทกไมติดใจสืบพยาน ศาลก็จะตัดสินมีคําพิพากษาไดโดยไมตองสืบพยาน แตถาจําเลยปฏิเสธ โจทกจะตองสืบพยานกอน การนัดพิจารณาสืบพยานโจทกหรือจําเลย หรือนัดเพ่ือพิจารณาในเร่ืองใดก็ตามในคดีอาญาตองกระทําตอหนาจําเลย

สัมมุขาวินัย เปนวิธีระงับขอปญหาอธิกรณซ่ึงกระทําในที่พรอมหนา โดยกําหนดใหบุคคลผูเก่ียวของในเรื่องราวทั้งโจทก จําเลย พยาน และผูมีสวนรูเห็นมาพรอมหนากันเพ่ือทําการไตสวน สอบสวนโดยซ่ึงหนา เปดโอกาสใหทุกฝายใหการตามความจริง ยกเร่ืองราวขอปญหาท่ีเกิดข้ึนมาพิจารณาวินิจฉัยโดยสงฆจํานวนไมนอยกวา ๕ รูปรวมกันดําเนินการเพ่ือใหเกิดความรอบคอบรัดกุมเปนธรรมกับทุกฝาย และการวินิจฉัยตัดสินสงฆตองมีความเห็นตรงกัน โดยไมมีภิกษุรูปใดรูปหน่ึงคัดคานโดยใชหลักพระธรรม หลักพระวินัยเปนเกณฑ สวนตัสสาปาปยสิกาไดแก การท่ีสงฆลงโทษแกภิกษุผูเปนจําเลยในอนุวาทาธิกรณใหการกลับไปกลับมาเด๋ียวปฏิเสธ เด๋ียวสารภาพ พูดมุสาซ่ึงหนา พูดกลบเกล่ือนขอท่ีถูกซัก แตพิจารณาไดความสมจริงตามขอหาทุกอยาง สงฆลงโทษตามความผิดแมวาภิกษุน้ันจะไมรับ เม่ือสงฆพิจารณาจากพยานหลักฐานตางๆ แลวเห็นวาไดละเมิดจริงก็ลงโทษและใหประพฤติวัตรเปนการเพ่ิมโทษใหหลาบจําจะไดไมกระทําอีก พระพุทธองคทรงกําหนดขั้นตอนการลงตัสสปาปยสิกาไวดวยความรอบคอบ เชน ทําตอหนา สอบถามกอน ท่ีสําคัญท่ีสุดทรงใหสงฆพรอมเพรียงกันทําโดยธรรม ท้ังน้ีเพ่ือใหการลงโทษเปนไปดวยความยุติธรรม ถูกตองตรงตามขอเท็จจริง ปองกันการลงโทษแกผูท่ีไมไดกระทําความผิด เปรียบเสมือนการพิจารณา และพิพากษาคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ของราชอาณาจักรไทย

๕ สัก กอแสงเรือง, ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา, (กรุงเทพมหานคร : เจริญกิจ, ๒๕๕๐), หนา ๔๐.

Page 96: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

๘๑

๔.๑.๓ เปรียบเทียบ เยภุยยสิกากับการพิพากษา ก. เยภุยยสิกา๖ เปนวิธีระงับขอปญหาวิวาทาธิกรณท่ีเกิดข้ึนในหมูสงฆจํานวนมาก ซ่ึงไมสามารถหาขอยุติไดโดยงาย และเปนเรื่องสําคัญหากปลอยไวเร่ืองราวขอปญหาจะลุกลามไปไกลอันจะเปนเหตุแหงการแตกแยกในหมูสงฆ พระพุทธองคจึงทรงกําหนดใหใชวิธีการจับสลากออกเสียงลงมติ หรือการดูคะแนนเสียงขางมาก และถือเอาความเห็นของคนขางมากเปนเกณฑในการยุติปญหา โดยความเห็นของคนขางมากน้ันจะตองไมขัดกับหลักพระธรรมวินัย ตองอยูในขอบเขตแหงศีลธรรม มิใชในทํานองพวกมากลากไป ถาผิดธรรมวินัย แมจะมีคะแนนเสียงมากเพียงใดก็ใชไมได ทั้งน้ีใหทําเปนการสงฆ โดยมีการสวดประกาศแตงตั้งภิกษุท่ีมีคุณสมบัติเหมาะสมใหเปนผูจับสลาก คือเปนธรรมวาที ภิกษุผูปราศจากความลําเอียงดวยอคติ ๔ และรูหลักรูวิธีการจับสลาก การระงับอธิกรณดวยวิธีเยภุยยสิกาจึงจะชอบดวยพระธรรมพระวินัย ข. การพิพากษา๗ การทําคําพิพากษาหรือคําส่ังของศาลเม่ือคดีเสร็จการพิจารณา ผูพิพากษาเจาของสํานวน จะเปนผูเขียนคําพิพากษาหรือคําส่ังแลวแตกรณี เมื่อนัดเสร็จแลวจะปรึกษากับองคคณะ โดยในสํานวนคดีน้ันท่ีหนาปกสํานวนมุมดานซายบนจะมีช่ือผูพิพากษา ๒ คน ช่ือบนสุดเปนชื่อผูพิพากษาเจาของสํานวน ชื่อลางเปนชื่อองคคณะ เพราะตามมาตรา ๒๓ วรรคแรก แหงพระธรรมนูญศาลยุติธรรมบัญญัติวาศาลชั้นตน นอกจากศาลแขวงตองมีผูพิพากษาอยางนอยสองคน จึงเปนองคคณะพิจารณาพิพากษาคดีแพงและคดีอาญาท้ังปวง โดยผูพิพากษาองคคณะตองเคยรวมพิจารณาคดีดวย ไมวาจะมีจํานวนคร้ังเทาใดก็ตาม ซ่ึงดูไดจากรายงานกระบวนพิจารณา ๔.๑.๔ เปรียบเทียบติณวัตถารกวินัยกับการประนีประนอมยอมความ

ก. ติณวัตถารกวินัย๘ โดยความหมายของคําแลว คือ ใชระเบียบดังกลบไวดวยหญา น่ันคือ กระบวนการระงับอธิกรณ โดยใหคูกรณีท้ังสองฝายประนีประนอมยอมความกัน ไมจําเปนตองสะสางรื้อฟนสอบสวนเพ่ือจะบอกวา ใครผิดใครถูก วิธีติณวัตถารกวินัยน้ี เปนวิธีระงับอธิกรณท่ีใชในเมื่อจะระงับลหุกาบัติท่ีเก่ียวกับภิกษุจํานวนมาก ตางก็ประพฤติไมสมควรและซัดทอดกันเปนเรื่องนุงนังซับซอน ชวนใหทะเลาะวิวาท กลาวซัดกันไปไมมีท่ีส้ินสุด จะ

๖ วิ.จู. (บาลี) ๖/๖๑๑/๒๘๔ ๗ สัก กอแสงเรือง, ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา, (กรุงเทพมหานคร : เจริญกิจ,

๒๕๕๐), หนา ๕๖. ๘ วิ.จู. (บาลี) ๖/๕๘๕/๒๗/๑๐.

Page 97: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

๘๒

ระงับดวยวิธีอ่ืนก็จะเปนเร่ืองลุกลามไปเพราะถาจะสืบสวนสอบสวนปรับใหกันและกันแสดงอาบัติ ก็มีแตจะทําใหอธิกรณรุนแรงข้ึน จึงระงับดวยติณวัตถารกวิธี คือ แบบกลบไวดวยหญา ตัดตอนยกเลิกเสียเชนกรณีภิกษุในกรุงโกสัมพีแตกกันเปนตัวอยาง ไมตองสืบสวนสอบสวนเหตุเหตุอธิกรณเดิม

ข. สิทธินําคดีอาญามาฟองยอมระงับไป๙ ในคดีความผิดตอสวนตัว เม่ือไดถอนคํารองทุกข ถอนฟอง หรือประนีประนอมยอมความกันโดยถูกตองตามกฎหมาย สิทธินําคดีอาญามาฟองยอมระงับไป ในคดีความผิดตอสวนตัวเม่ือผูเสียหายถอนคํารองทุกขตอพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ ศาล หรือถอนฟองในช้ันศาล หรือยอมความกันไมวาในชั้นสอบสวน หรือชั้นศาลใดก็ตาม

แผนภูมิท่ี ๑ ตารางเปรียบเทียบความเหมือนกันของอธิกรณและวิธีระงับอธิกรณกับ

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และประมวลกฎหมายอาญา อธิกรณและวิธีระงับอธิกรณ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

และประมวลกฎหมายอาญา ๑. กระบวนการฟอง อนุวาทาธิกรณ หมายถึง การฟองรองภิกษุ ท่ีประพฤติปฏิ บัติ ผิ ดศีลธรรมหรือกฎหมาย

๑. กระบวนการฟอง การฟองอาญา หมายถึง การฟองรองแกผูกอใหความเสียหายจากผลการกระทําผิดอาญา

๒. กระบวนการพิจารณา สัมมุขาวินัย หมายถึง วิธีระงับขอปญหาอธิกรณซ่ึงกระทําในที่พรอมหนา พระพุทธองคทรงกําหนดให บุคคลผู เ ก่ี ยวของในเรื่องราวท้ังโจทก จําเลย พยาน และผูมีสวนรูเ ห็นมาพรอมหนา กันเ พ่ือทําการไตสวน สอบสวนโดยซ่ึงหนา เปดโอกาสใหทุกฝายใหการตามความจริง

๒. กระบวนการพิจารณา การพิจารณาและสืบพยานในศาลใหทําโดยเปดเผยตอหนาจําเลย เวนแตบัญญัติไวเปนอยางอ่ืน เมื่อโจทกหรือทนายโจทกและจําเลยมาอยูตอหนาศาลแลว และศาลเช่ือวาเปนจําเลยจริง ใหอานและอธิบายฟองใหจําเลยฟง และถามวาไดกระทําผิดจริงหรือไม จะใหการตอสูอยางไรบาง คําใหการของจําเลยใหจดไว ถาจําเลยไมยอมใหการ

๙ สัก กอแสงเรือง, ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา. (กรุงเทพมหานคร : เจริญกิจ,

๒๕๕๐), หนา ๙๐.

Page 98: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

๘๓

อธิกรณและวิธีระงับอธิกรณ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และประมวลกฎหมายอาญา

ตัสสปาปยสิกา หมายถึง กรรมอันสงฆพึงทําเพราะความท่ีภิกษุน้ันเปนผูเลวทราม ไดแกการที่สงฆลงโทษแกภิกษุผูเปนจําเลยในอนุวาทาธิกรณใหการกลับไปกลับมาเด๋ียวปฏิเสธ เด๋ียวสารภาพ พูดมุสาซ่ึงหนา แตหากสงฆพิจารณาไดความสมจริงตามขอหาทุกอยาง สงฆลงโทษตามความผิดน้ันแมวาภิกษุน้ันจะไมรับ หรือเพ่ิมโทษอาบัติท่ีตอง

ก็ใหศาลจดรายงานไวและดําเนินการพิจารณาตอไป เ ม่ือ ถึ งวันนัดพิจารณาโดยปกติจะ เปนนัดสอบปากคําใหการจําเลยกอนวาจะรับสารภาพหรือปฏิเสธตามขอหาของโจทก กระบวนพิจารณาในนัดพิจารณาน้ัน ศาลจะตองกระทําโดยเปดเผยตอหนาจําเลย ถาจําเลยรับสารภาพในขอหาท่ีมีอัตราโทษจําคุกอยางต่ําไมถึงหาป และโจทกไมติดใจสืบพยาน ศาลก็จะตัดสินมีคําพิพากษาไดโดยไมตองสืบพยาน แตถาจํา เลยปฏิเสธ หรือใหการกลับไปกลับมา โจทกจะตองสืบพยานกอน การนัดพิจารณาสืบพยานโจทกหรือจําเลย หรือนัดเพ่ือพิจารณาในเรื่องใดก็ตามในคดีอาญาตองกระทําตอหนาจําเลย

๓. กระบวนการพิพากษา เยภุยยสิกา หมายถึง วิธีระงับขอปญหาวิวาทาธิกรณท่ีเกิดขึ้นในหมูสงฆจํานวนมาก ซ่ึงไมสามารถหาขอยุติไดโดยงาย และเปนเร่ืองสําคัญหากปลอยไวเรื่องราวขอปญหาจะลุกลามไปไกลอันจะเปนเหตุแหงการแตกแยกในหมูสงฆ เป รียบเสมือนคํ าพิพากษาของศาล

๓. กระบวนการพิพากษา การพิพากษา หมายถึง การทาํคาํพิพากษาของผูพิพากษาเมื่อคดีเสร็จการพิจารณา กรณีศาลจังหวัดผูพิพากษาเจาของสํานวนจะเปนผูเขียนคําพิพากษา แลวใหผูพิพากษาองคคณะอีก ๑ คนลงชื่อรวมเพ่ือเห็นชอบ สวนศาลแขวงผูพิพากษาเจาของสํานวนจะเปนผูเขียนคําพิพากษาโดยไมมีองคคณะ

Page 99: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

๘๔

อธิกรณและวิธีระงับอธิกรณ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และประมวลกฎหมายอาญา

๔. กระบวนการระงับโทษ ปฏิญญาตกรณะ หมายถึง กระบวนการระ งับอธิกรณในกรณี เ ม่ือพระภิกษุ ผู ถูกกลาวหายอมรับสารภาพวาตัวเองไดกระทําผิดตามท่ีถูกกลาวหา คณะสงฆก็ลงความผิดตามพระวินัยในขอกลาวหาน้ัน ติณวัตถารกวินัย หมายถึง คูกรณีท้ังสองฝ า ยประ นีประนอมยอมความ กัน ไมจําเปนตองสะสางรื้อฟนสอบสวนเพ่ือจะบอกวา ใครผิดใครถูก

๔. กระบวนการระงับโทษ วิธีการรอการลงโทษ หมายถึง หากจําเลยรับสารภาพและคดีโทษไมสูง ศาลก็มีพิพากษารอการลงโทษ เพ่ือจะไดผลสมความมุงหมายของกฎมายในการท่ีจะทําใหผูกระทําผิดกลับตนเปนคนดี สิทธิ นําคดีอาญามาฟองยอมระ งับไป หมายถึง คดีความผิดตอสวนตัว คูกรณีท้ังสองฝายประนีประนอมยอมความกัน สิทธินําคดีอาญามาฟองยอมระงับไป

Page 100: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

๘๕

แผนภูมิท่ี ๒ ตารางเปรียบเทียบความแตกตางระหวางอธิกรณและวิธีระงับอธิกรณกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และประมวลกฎหมายอาญา

อธิกรณและวิธีระงับอธิกรณ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และประมวลกฎหมายอาญา

๑. กระบวนการฟอง อนุวาทาธิกรณ หมายถึง การฟองรองภิกษุท้ังท่ีประพฤติผิดหลักพรหมจรรย

๑. กระบวนการฟอง การฟองอาญา หมายถึง การฟองรองแกผูกอใหความเสียหายจากผลการกระทําผิดอาญาเทาน้ัน

๒. กระบวนการพิจารณา สัมมุขาวินัย หมายถึง วิธีระงับขอปญหาอธิกรณโดยทําการไตสวน สอบสวนโดยซึ่งหนา เปดโอกาสใหทุกฝายใหการตามความจริ ง ยกเรื่ องราวขอปญหา ท่ี เ กิด ข้ึนมาพิจารณาวินิจฉัยโดยสงฆจํานวนไมนอยกวา ๕ รูปรวมกันดําเนินการเพ่ือใหเกิดความรอบคอบรัดกุมเปนธรรมกับทุกฝาย และการวิ นิจฉัยตัดสินสงฆตองมีความเห็นตรงกัน โดยไมมีภิกษุรูปใดรูปหน่ึงคัดคานและใชหลักพระธรรม หลักพระวินัยเปนเกณฑ ตัสสาปาปยสิกา หมายถึง การกําหราบภิกษุท่ีไมมีความละอาย ละเมิดอาบัติแลวมีเจตนาหลีกเล่ียงไมยอมรับผิด แตเม่ือสงฆพิจารณาจากพยานหลักฐานตางๆ แลวเห็นวาไดละเมิดจริงก็ลงโทษและใหประพฤติวัตรเปนการเพ่ิมโทษใหหลาบจําจะไดไมกระทําอีก และการประพฤติวัตรเปนการตัดสิทธิ หากประพฤติวัตรไมบกพรองแลว จึงจะสามารถขอระงับโทษตอสงฆ

๒. กระบวนการพิจารณา การพิจารณาในศาลชั้นตน หมายถึง การพิจารณาและสืบพยานในศาลจังหวัดมีองคคณะผูพิพากษาเพียง ๒ คน สวนศาลแขวงมี ๑ คนเทาน้ัน ศาลไมสามารถพิพากษาเพิ่มโทษในกรณีท่ีจําเลยใหการกลับไปกลับมาได การพิจารณาและสืบพยานในศาลใหทําโดยเปดเผยตอหนาจําเลย เวนแตบัญญัติไวเปนอยางอื่น เม่ือโจทกหรือทนายโจทกและจําเลยมาอยูตอหนาศาลแลว และศาลเช่ือวาเปนจําเลยจริง ใหอานและอธิบายฟองใหจําเลยฟง และถามวาไดกระทําผิดจริงหรือไม จะใหการตอสูอยางไรบาง คําใหการของจําเลยใหจดไว ถาจําเลยไมยอมใหการก็ใหศาลจดรายงานไวและดําเนินการพิจารณาตอไป

ในคดี ท่ี มีอัตราโทษประหารชีวิต กอนเ ร่ิมพิจารณา ใหศาลถามจําเลยวามีทนายความหรือไม ถาไมมีก็ใหศาลตั้งทนายความให ในคดีท่ีมีอัตราโทษจําคุก หรือในคดีท่ีจะเลยมีอายุไมเกินสิบแปดปในวันท่ีถูกฟองตอศาล กอนเร่ิมพิจารณา ถาจําเลยไมมีทนายความและจําเลยตองการทนายความก็ใหศาลตั้งทนายความให

Page 101: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

๘๖

อธิกรณและวิธีระงับอธิกรณ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และประมวลกฎหมายอาญา

๓. กระบวนการพิพากษา เยภุยยสิกา หมายถึง วิธีระงับขอปญหาวิวาทาธิกรณท่ีเกิดขึ้นในหมูสงฆจํานวนมาก ซ่ึงไมสามารถหาขอยุติไดโดยงาย และเปนเร่ืองสําคัญหากปลอยไวเรื่องราวขอปญหาจะลุกลามไปไกลอันจะเปนเหตุแหงการแตกแยกในหมูสงฆ พระพุทธองคจึงทรงกําหนดใหใชวิธีการจับสลากออกเสียงลงมติ หรือการดูคะแนนเสียงขางมาก และถือเอาความเห็นของคนขางมากเปนเกณฑในการยุติปญหา โดยความเห็นของคนขางมากน้ันจะตองไมขัดกับหลักพระธรรมวินัย ตองอยูในขอบเขตแหงศีลธรรม มิใชในทํานองพวกมากลากไป

๓. กระบวนการพิพากษา การพิพากษา หมายถึง การทําคําพิพากษาหรือคําส่ังของศาลเม่ือคดีเสร็จการพิจารณา โดยมีผูพิพากษาเจาของสํานวนและผูพิพากษาองคคณะอีก ๑ คน เห็นชอบดวย ใชวิธีจับสลากไมได การทําคําพิพากษาหรือคําส่ังของศาลเมื่อคดีเสร็จการพิจารณา ผูพิพากษาเจาของสํานวน จะเปนผูเขียนคําพิพากษาหรือคําส่ังแลวแตกรณี เม่ือนัดเสร็จแลวจะปรึกษากับองคคณะ โดยในสํานวนคดีน้ันท่ีหนาปกสํานวนมุมดานซายบนจะมีชื่อ ผูพิพากษา ๒ คน ชื่อบนสุดเปนชื่อผูพิพากษาเจาของสํานวน ชื่อลางเปนช่ือองคคณะ

๔. กระบวนการระงับโทษ ปฏิญญาตกรณะ หมายถึง การระงับท่ีชอบดวยพระธรรม พระวินัย แตถาหากจําเลยรับผิดหนักกวาหรือเบากวาท่ีถูกโจท และสงฆปรับอาบัติตามน้ัน เปนการระงับท่ีไมชอบดวยพระธรรมพระวินัย ติณวัตถารกวินัย หมายถึง วิธีระงับอธิกรณท่ีใชในเมื่อจะระงับลหุกาบัติท่ีเก่ียวกับภิกษุจํานวนมาก ตางก็ประพฤติไมสมควรและซัดทอดกันเปนเรื่องนุงนังซับซอน ชวนใหทะเลาะวิวาท กลาวซัดกันไปไมมีท่ีส้ินสุด จะระงับดวยวิธีอ่ืนก็จะเปนเรื่องลุกลามไป

๔. กระบวนการระงับโทษ วิธีการรอการลงโทษ หมายถึง โทษจําคุกไมเกินสองป ถาไมปรากฏวาผูน้ันไดรับโทษจําคุกมากอน หรือปรากฏวาไดรับโทษจําคุกมากอน แตเปนโทษสําหรับความผิดท่ีไดกระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ เม่ือศาลไดคํานึงถึงอายุ ประวัติ ความประพฤติ สติปญญา การศึกษาอบรม สุขภาพภาวะแหงจิต นิสัย อาชีพ และส่ิงแวดลอมของผูน้ัน หรือสภาพความผิด หรือเหตุอ่ืนอันควรปรานีแลว เห็นเปนการสมควร ศาลตองพิพากษาวาผูน้ันมีความผิดแตรอการลงโทษไว สิทธินําคดีอาญามาฟองยอมระงับไป หมายถึง กรณีเฉพาะในคดีความผิดตอสวนตัวเทา น้ันท่ีสามารถระงับสิทธิการนําคดีอาญามาฟอง

Page 102: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

๘๗

๔.๒ เปรียบเทียบกฎนิคหกรรมของมหาเถรสมาคมกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ อาญา ผูวิจัยไดศึกษาเปรียบเทียบกฎนิคหกรรมของมหาเถรสมาคม ฉบับท่ี ๑๑ พ.ศ. ๒๕๒๑ วาดวยการลงนิคหกรรมตามพระราชบัญญัติคณะสงฆพ.ศ. ๒๕๐๕ แกไขเพ่ิมเติม (ฉบับท่ี ๒) พ.ศ.๒๕๓๕ กับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและประมวลกฎหมายอาญาแลวมีความเหมือนและความแตกตางกัน ๔ ประการดังตอไปน้ี ๔ .๒ .๑ วิ ธีปฎิบัติ เบื้องตนในการลงนิคหกรรมเปรียบเทียบกับวิธีการฟอง คดีอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ก. วิธีปฏิบัติเบ้ืองตนในการลงนิคหกรรม คือ วิธีปฏิบัติกอนที่จะดําเนินการตามวิธีไตสวนมูลฟองและวิธีพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมท่ีวิจัยเปนวิธีปฏิบัติเมื่อมีการฟอง โดยมีรายละเอียดดังตอไปน้ี วิธีปฏิบัติเม่ือมีการฟอง๑๐ไดกําหนดไวในขอ ๑๒ เพ่ือความสะดวกและเขาใจงายข้ึน ผูวิจัยจะขอแยกออกเปนดังน้ี คือ ๑. วิธีปฏิบัติฝายผูรอง เปนข้ันตอนการปฏิบัติของผูฟอง ไดกําหนดไวในขอ ๑๒ วรรค ๑ โดยมีวิธีปฏิบัติ ดังน้ี (๑) ตองย่ืนฟองเปนหนังสือลงลายมือช่ืออันแทจริงของโจทก ไมใชบัตรสนเทหหรือหนังสือท่ีสงทางไปรษณีย (๒) ตองย่ืนฟองดวยตนเอง เวนแตไมสามารถไปย่ืนฟองดวยตนเอง จะมีหนังสือมอบใหผูใดผูหน่ึงไปย่ืนฟองแทนก็ได (๓) ตองย่ืนตอเจาอาวาส หรือเจาคณะสังกัด หรือเจาคณะเจาของเขต ในเขตท่ีความผิดน้ันเกิดข้ึน ซ่ึงเปนผูพิจารณา มีอํานาจลงนิคหกรรม ๒. วิธีปฏิบัติฝายผูรับฟอง เปนข้ันตอนการปฏิบัติฝายผูรับฟอง จึงควรท่ีฝายผูรับฟองจะหาโอกาสทําความเขาใจกับฝายผูฟองใหทราบถึงคุณและโทษของการฟองเสียกอนวา ถาการฟองเปนความจริง ยอมเปนคุณประโยชน เปนการชวยชําระมลทินของสงฆ รักษาความบริสุทธ์ิของวัดและพระศาสนา แตถาเปนการฟองเท็จตอผูพิจารณา ซ่ึงเปนเจาพนักงานตามความในมาตรา ๔๕ แหงพระราชบัญญัติคณะสงฆ พ.ศ. ๒๕๐๕ นอกจากจะเปนการทําใหผูอื่น

๑๐ พระราชรัตนกวี (ไสว สุจิตฺโต), คําอธิบายกฎมหาเถรสมาคม ฉบับท่ี ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๒๑) วาดวยการลงนิคหกรรม ภาควิชาการและภาคปฏิบัติ พรอมดวยพระราชบัญญัติคณะสงฆ พ.ศ. ๒๕๐๕ และกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๑๑, (กรุงเทพมหานคร : บริษัท สหธรรมมิก จํากัด, ๒๕๓๙), หนา ๔๐.

Page 103: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

๘๘

ไดรับความเสียหายแลวยังจะมีความผิดอาญาตามความในมาตรา ๑๓๗ แหงประมวลกฎหมายอาญาท่ีวา “ผูใดแจงขอความอันเปนเท็จแกเจาพนักงาน ซึ่งอาจะทําใหผูอื่นหรือประชาชนเสียหาย ตองระวางโทษจําคุกไมเกินหกเดือน หรือปรับไมเกินหน่ึงพันบาทหรือท้ังจําท้ังปรับ” อีกท้ังถาโจทกเปนพระภิกษุไปฟองพระภิกษุอ่ืนวาตองอาบัติปาราชิกโดยไมมีมูล ทานก็จะไดรับโทษทางวินัยคือเปนอาบัติสังฆาทิเสส ถาฟองพระภิกษุอื่นวาตองอาบัติสังฆาทิเสสไมมีมูล ก็เปนอาบัติปาจิตตีย ดังน้ันการชี้แจงใหโจทกเห็นคุณและโทษดังกลาวน้ัน ก็จะเปนการชวยระงับความยุงยากและความเสื่อมเสียมิใหเกิดกอนรับฟอง และวิธีปฏิบัติหลังรับฟอง ซ่ึงมีรายละเอียดดังน้ี วิธีปฏิบัติฝายผูรับฟองดังกลาวมาน้ันไดกําหนดวิธีปฏิบัติออกเปนวิธีปฏิบัติกอนรับฟอง วิธีปฏิบัติหลังรับฟอง และวิธีปฏิบัติเมื่อมีการไมรับฟอง ซ่ึงมีรายละเอียดดังน้ี ก. วิธีปฏิบัติกอนรับฟอง คือ เมื่อฝายผูฟองปฏิบัติถูกตองแลว ฝายผูรับฟองจึงจะรับตรวจลักษณะของโจทกและลักษณะคําฟองวาถูกตองหรือไม ลักษณะของโจทกน้ัน ทานไดกําหนดไวในขอ ๔(๖) ก. ๔. คือ ตองเปนผูมีสวนไดเสีย และเปนผูเสียหาย ซ่ึงฟองพระภิกษุตอพระภิกษุผูพิจารณาในขอหาวาไดกระทําความผิด สวนลักษณะคําฟองของโจทก ทานไดกําหนดไวในขอ ๑๒(๑) มี ๔ ลักษณะ คือ (๑) ใหระบุในคําฟองพอสมควรเทาท่ีจะชวยใหจําเลยเขาใจขอหาไดดี กลาวคือใหระบุถึงการกระทําท้ังหลายที่อางวา จําเลยไดกระทําความผิดโดยชัดแจง ขอเท็จจริงท่ีเก่ียวของกับความผิดท้ังกอนและหลังท่ีความผิดเกิดขึ้น และรายละเอียดอันเก่ียวกับวันท่ีและสถานท่ีเกิดการกระทําความผิดน้ัน รวมถึงบุคคลและสิ่งของท่ีเก่ียวของอยูดวย (๒) ไมเปนเรื่องเกาที่มิไดคิดจะฟองมาแตเดิม (๓) ไมเปนเรื่องท่ีมีคําวินิจฉัยหรือคําส่ังของผูมีอํานาจลงนิคหกรรมถึงท่ีสุดแลว (๔) ไมเปนเร่ืองท่ีอยูในระหวางการพิจารณาของศาลฝายราชอาณาจักร หรือมี คําพิพากษาหรือคําส่ังของศาลฝายราชอาณาจักรถึงท่ีสุดแลว ยกเวนแตเรื่องท่ีมีปญหาทางพระวินัยตองรับไวพิจารณา ถาตรวจลักษณะของโจทกและคําฟองแลว ปรากฏวามีความสมบูรณ ไมมีความบกพรองแลว ฝายผูรับฟองจะไดส่ังใหรับคําฟองน้ันไวพิจารณาดําเนินการตอไป แตถาปรากฏวามีความบกพรองอยางใดอยางหน่ึงตองไมรับคําฟองน้ัน พรอมท้ังแจงขอบกพรองไวในคําฟองแลวแจงใหโจทกทราบ แตอยางไรก็ดีฝายผูรับฟองอาจสอบถามฝายผูฟองใหชี้แจงขอสงสัยแลวบันทึกถอยคําไวเพ่ือประกอบการพิจารณาดวยก็ได

Page 104: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

๘๙

ข. วิธีปฏิบัติหลังรับฟอง๑๑ ไดกําหนดวิธีปฏิบัติไวในขอ ๑๓ คือเม่ือผูพิจารณาส่ังรับคําฟองของโจทกไวแลว ใหเรียกพระภิกษุผูเปนจําเลยมาสอบถามวา ไดกระทําความผิดตามฟองจริงหรือไม โดยจดคําใหการของจําเลยไวเปนหลักฐานดวย จากน้ันใหปฏิบัติดังน้ี (๑) ถาจําเลยใหการรับสารภาพสมควรตามคําฟองของโจทกแลว ใหมีอํานาจส่ังลงนิคหกรรมแกพระภิกษุผูเปนจําเลยตามคํารับสารภาพน้ัน ท้ังน้ี เพ่ือใหการลงนิคหกรรมเปนไปโดยสะดวกและรวดเร็วตามความในมาตรา ๒๕ แหงพระราชบัญญัติคณะสงฆ พ.ศ. ๒๕๐๕ ประกอบพระราชบัญญัติคณะสงฆ พ.ศ. ๒๕๒๑ ในกรณีมีปญหาเรื่องคาเสียหายในทางแพงอยูดวย ผูพิจารณาอาจเปรียบเทียบใหประนีประนอมกัน โดยใหโจทกจําเลยบันทึกขอตกลงกันไวเปนหลักฐาน เพ่ือใหเรื่องยุติลงดวยดีไมมีขอยุงยากโตแยงกันอีกตอไป (๒) ถาจําเลยใหการแบงรับความผิดเบากวาหรือนอยกวาท่ีถูกฟองก็ดี ใหการปฏิเสธก็ดี ซ่ึงเปนขอโตเถียงขัดแยงกันอยู ผูพิจารณาจะตองรายงานพรอมกับสงคําฟองและคําใหการท้ังหมดไปยังคณะผูพิจารณาช้ันตน เพ่ือจัดการไตสวนมูลฟองตอไป ค. วิธีปฏิบัติเมื่อมีการไมรับฟอง๑๒ ในกรณีท่ีผูพิจารณาไมรับคําฟองของโจทก ถาเปนความผิดลหุกาบัติใหเร่ืองเปนอันถึงท่ีสุด แตถาเปนความผิดครุกาบัติ เพ่ือความเปนธรรมทานจึงไดกําหนดใหโจทกมีสิทธิอุทธรณคําส่ังน้ันตอคณะผูพิจารณาช้ันตนได ดังความในขอ ๑๔ โดยย่ืนอุทธรณคําส่ังน้ันเปนหนังสือเสนอผูออกคําส่ังภายใน ๑๕ วัน นับแตวันทราบคําส่ังน้ัน และให ผูออกคําส่ังสงอุทธรณคําส่ังน้ันไปยังคณะผูพิจารณาช้ันตน แลวแตกรณีภายใน ๑๕ วัน นับแต วันไดรับอุทธรณคําสั่ง เมื่อคณะผูพิจารณาชั้นตนไดรับอุทธรณคําส่ังน้ันแลว ใหวินิจฉัยอุทธรณคําส่ังน้ันภายใน ๓๐ วัน นับแตวันไดรับอุทธรณคําส่ังน้ันเสร็จแลวใหสงคําวินิจฉัยอุทธรณคําสั่งน้ันไปยังผูออกคําส่ัง เพ่ือแจงคําวินิจฉัยอุทธรณคําส่ังน้ันแกโจทกภายใน ๑๕ วัน นับแตวันไดรับคําวินิจฉัยอุทธรณคําสั่งน้ัน ถาคณะผูพิจารณาช้ันตนวินิจฉัยส่ังใหรับคําฟองน้ัน ผูออกคําส่ังตองดําเนินการตามความในขอ ๑๓ ท่ีกลาวมาแลวขางตนตอไป ถาวินิจฉัยส่ังไมใหรับคําฟองใหเรื่องเปนอันถึงท่ีสุด

๑๑ พระราชรัตนกวี (ไสว สุจิตฺโต), คําอธิบายกฎมหาเถรสมาคม ฉบับท่ี ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๒๑) วา

ดวยการลงนิคหกรรม ภาควิชาการและภาคปฏิบัติ พรอมดวยพระราชบัญญัติคณะสงฆ พ.ศ. ๒๕๐๕ และกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๑๑, หนา ๔๒. ๑๒ กรมการศาสนา, กฎหมายเถรสมาคม ฉบับท่ี ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๒๑) วาดวยการลงนิคหกรรม พรอมดวยคําแนะนําและแบบสําหรับใชในการพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรม, (กรุงเทพมหานคร : บริษัท สหธรรมมิก จํากัด, ๒๕๕๓), หนา ๖๓.

Page 105: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

๙๐

ข. วิธีการฟองอาญาตามประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความอาญา๑๓ การดําเนินคดีอาญาในช้ันศาลจะตองมีโจทกเปนคูความฝายหน่ึง คูความฝายท่ีมีอํานาจฟองคดีอาญาตอศาล ไดแก พนักงานอัยการซ่ึงเปนเจาพนักงานของรัฐในการรักษาความสงบเรียบรอยและอํานวยความยุติธรรม เน่ืองจากการกระทําในคดีอาญาน้ันเปนเรื่องท่ีกระทบกระเทือนตอ ความสงบเรียบรอยของประเทศกับผูเสียหายซ่ึงเปนประชาชนผูไดรับความเสียหายจากผลแหงการกระทําผิดอาญา คดีอาญาใดซ่ึงพนักงานอัยการย่ืนฟองตอศาลแลว ผูเสียหายจะย่ืนคํารองขอเขารวม เปนโจทกในระยะใดระหวางพิจารณากอนศาลช้ันตนพิพากษาคดีน้ันก็ได ผูเสียหายมีสิทธิท่ีจะฟองคดีอาญาไดดวยตนเอง แตอยางไรก็ดี ในคดีอาญาน้ันจะมีพนักงานอัยการเปนผูเสียหายของรัฐและเปนโจทกย่ืนคําฟองคดีอาญา กฎหมายจึงใหสิทธิ แกผูเสียหาย หากไมย่ืนคําฟองดวยตนเองแลว ก็ย่ืนคํารองขอเขาเปนโจทกรวมกับพนักงานอัยการในระยะเวลาใดก็ได แตตองกอนท่ีศาลชั้นตนจะมีคําพิพากษา ซ่ึงในทางปฏิบัติผูเสียหายมักจะขอเขาเปนโจทกรวมกับพนักงานอัยการเพราะหากฟองเองแลวศาลจะส่ังใหรวมคดีท่ีผูเสียหายฟองเองเขากับคดีของพนักงานอัยการท่ีเปนโจทกโดยถือสํานวนคดีของพนักงานอัยการเปนหลัก แตถาคดีอาญาท่ีผูเสียหายฟองเองเปนความผิดตอสวนตัวในความผิดตาม พ.ร.บ. วาดวยความผิดอันเกิดจากการใชเช็ค พ.ศ. ๒๕๓๔ ความผิดฐานฉอโกง โกงเจาหน้ี ยักยอก พนักงานอัยการไมมีอํานาจขอเขารวมเปนโจทก อยางไรก็ดีในทางปฏิบัติน้ัน หากเปนคดีอาญาแผนดินแลวผูเสียหายจะไปแจงความรองทุกขกับพนักงานสอบสวนเสมอ เน่ืองจากพนักงานสอบสวนมีอํานาจตามกฎหมายในการรวบรวมพยานหลักฐานมากกวาประชาชน

คดีอาญาเรื่องเดียวกันซ่ึงท้ังพนักงานอัยการและผูเสียหายตางไดย่ืนฟองในศาลช้ันตน ศาลเดียวกันหรือตางศาลกัน ศาลน้ัน ๆ มีอํานาจส่ังใหรวมพิจารณาเปนเปนคดีเดียวกัน เม่ือศาลเห็นชอบโดยพลการหรือโดยโจทกย่ืนคํารองในระยะใดกอนมีคําพิพากษา

แตทวาจะมีคําส่ังเชนน้ันไมได นอกจากจะไดรับความยินยอมของศาลอ่ืนน้ันกอน ในกรณีท่ีคูความฝายโจทก ซ่ึงไดแก พนักงานอัยการและผูเสียหายตางเปนโจทกฟองคดีอาญาตอศาลชั้นตน ไมวาจะเปนศาลเดียวกันหรือตางศาลกัน ซ่ึงพยานหลักฐานสวน

๑๓ สัก กอแสงเรือง, ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา, หนา ๕๗. 

Page 106: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

๙๑

ใหญในการนําสืบของโจทกท้ังสองฝายจึงเปนพยานหลักฐานชุดเดียวกัน หากใหมีการแยกพิจารณาจะทําใหคดีลาชาออกไปได กฎหมายจึงบัญญัติใหอํานาจและสิทธิแกโจทก คือ ก. เม่ือศาลช้ันตนใดเห็นสมควรส่ังใหรวมพิจารณาเปนคดีเดียวกัน แตกอนท่ีศาลน้ันจะส่ังจะตองมีหนังสือสอบถามไปยังอีกศาลหน่ึงท่ีพิจารณาคดีอยูวาจะขัดของหรือไมเสียกอน ซ่ึงในทางปฏิบัติศาลท่ีรับหนังสือสอบถามมักจะตอบไมขัดของ เพราะสามารถจําหนายคดีออกจากสารบบความของศาลน้ันได ข. โจทกซ่ึงเปนพนักงานอัยการหรือผูเสียหาย ย่ืนคํารองขอรวมการพิจารณากอนท่ีศาลช้ันตนจะมีคําพิพากษา คําส่ังไมฟองคดี หาตัดสิทธิผูเสียหายฟองคดีโดยตนเองไม เม่ือพนักงานอัยการพิจารณาสํานวนสอบสวนของพนักงานสอบสวนแลวมีคําส่ังไมฟอง ผูตองหาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๔๕ ซ่ึงทําใหคดีน้ันเปนอันยุติในช้ันสอบสวน ไมมีการฟองผูตองหาตอศาล คําส่ังของพนักงานอัยการเชนน้ีไมตัดสิทธิผูเสียหายท่ีจะฟองดวยตนเอง ซ่ึงปรากฏอยูเสมอวาผูเสียหาย อาศัยบทบัญญัติแหงมาตราน้ีฟองผูถูกกลาวหาวากระทําความผิดเสียเอง และหลายคดีท่ีศาลมีคําพิพากษาวาจําเลยกระทําความผิดตามฟอง คํารองขอถอนฟองคดีอาญาจะย่ืนเวลาใดกอนมีคําพิพากษาของศาลชั้นตนได ศาลจะมีคําส่ังอนุญาตหรือมิอนุญาตใหถอนก็ไดแลวแตศาลจะเห็นสมควรประการใด ถาคํารองน้ันไดย่ืน ในภายหลังเมื่อจําเลยใหการแกคดีแลว ใหถามจําเลยวาจะคัดคานหรือไม แลวใหศาลจดคําแถลงของจําเลยไว ในกรณีท่ีจําเลยคัดคานการถอนฟอง ใหศาลยกคํารองขอถอนฟองน้ันเสีย คดีความผิดตอสวนตัวน้ัน จะถอนฟองหรือยอมความในเวลาใดกอนคดีถึงท่ีสุดก็ได แตถาจําเลยคัดคานใหศาลยกคํารองขอถอนฟองน้ันเสีย เมื่อโจทกย่ืนฟองคดีอาญาได โจทกยอมมีอํานาจถอนฟองคดีอาญาไดเชนกัน เพียงแตกฎหมายกําหนดหลักเกณฑการถอนฟองของโจทกไว คือ ก. คดีอาญาแผนดินน้ันตองย่ืนกอนท่ีศาลชั้นตนมีคําพิพากษา ซ่ึงเปนดุลพินิจของศาลที่จะใหถอนฟองหรือไมก็ได โดยเฉพาะในกรณีท่ีโจทกย่ืนคํารองขอถอนฟองเม่ือจําเลยย่ืนคําใหการ แกคดีแลว ศาลตองถามจําเลยเสียกอนวาจะคัดคานอยางไรหรือไม ถาจําเลยแถลงคัดคานตอศาล ศาลจะตองจดลงไวในรายงานกระบวนพิจารณาของศาล และกฎหมายบังคับใหศาลตองยกคํารองขอถอนฟองของโจทก ขอสังเกต การถอนฟองในคดีอาญาแผนดินน้ันกระทําไดในศาลชั้นตนเทาน้ัน จะไปถอนฟองในชั้นอุทธรณฎีกาไมได

Page 107: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

๙๒

ข. คดีความผิดสวนตัว กฎหมายไมบังคับใหกระทําไดเฉพาะในศาลชั้นตน ดังน้ัน โจทกก็จะถอนฟองหรือยอมความกับจําเลยในช้ันศาลอุทธรณหรือฎีกาก็ได เพียงแตตองกระทํากอนท่ี คดีถึงท่ีสุดเทาน้ัน อยางไรก็ดี จําเลยคัดคานคํารองขอถอนฟองของโจทก ใหศาลยกคํารอง คดีอาญาซ่ึงไดถอนฟองไปจากศาลแลว จะนํามาฟองอีกหาไดไม เวนแตจะเขาอยูในขอยกเวนตอไปน้ี (๑) ถาพนักงานอัยการไดย่ืนคําฟองคดีอาญาซ่ึงไมใชความผิดตอสวนตัวไวแลวไดถอนฟองคดีน้ันไป การถอนน้ีไมตัดสิทธิผูเสียหายท่ีจะย่ืนฟองคดีน้ันใหม (๒) ถาพนักงานอัยการถอนคดีซ่ึงเปนความผิดตอสวนตัวไปโดยมิไดรับความยินยอมเปนหนังสือจากผูเสียหาย การถอนน้ันไมตัดสิทธิผูเสียหายที่จะย่ืนฟองคดีน้ันใหม (๓) ถาผูเสียหายไดย่ืนฟองคดีอาญาไวแลวไดถอนฟองคดีน้ันเสีย การถอนน้ีไมตัดสิทธิพนักงานอัยการท่ีจะย่ืนฟองคดีน้ันใหม เวนแตคดีซ่ึงเปนความผิดสวนตัว เม่ือโจทกถอนฟองไปจากศาลแลว โจทกจะนํามูลคดีเดิมมาฟองอีกไมได เพราะจะทําใหจําเลยเดือดรอนซํ้าสองในการกระทําอันเดียวกันมิได แตอยางไรก็ดีในคดีอาญาบางเรื่อง คูความฝายโจทกประกอบดวยพนักงานอัยการและผูเสียหาย กฎหมายจึงมีขอยกเวนใหฝายใดฝายหน่ึงยังคงมีอํานาจฟองคดีอยู กลาวคือ ๑. ในคดีท่ีพนักงานอัยการเปนโจทก (๑) ถอนฟองคดีอาญาแผนดิน ผูเสียหายยังคงมีสิทธิย่ืนฟองใหมได (๒) ถอนฟองคดีความผิดสวนตัว โดยมิไดรับความยินยอมเปนหนังสือจากผูเสียหาย ผูเสียหายยังคงมีสิทธิฟองใหมได

๒. คดีที่ผูเสียหายเปนโจทกฟองคดีอาญาแผนดิน ไมตัดสิทธิพนักงานอัยการท่ีจะฟองคดีใหม แตถาเปนคดีความผิดตอสวนตัว พนักงานอัยการฟองใหมไมได

Page 108: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

๙๓

๔.๒.๒ วิธีไตสวนมูลฟองในการลงนิคหกรรมเปรียบเทียบกับวิธีไตสวนมูลฟองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ก. วิธีไตสวนมูลฟองในการลงนิคหกรรม๑๔ คําวา มูลฟอง หมายถึง มูลเหตุแหงการฟองของโจทก ซ่ึงฟองจําเลยดวยมูลเหตุ ๓ อยาง คือ โจทกไดพบเห็นการกระทําความผิดของจําเลยดวยตนเอง โจทกไดยินการทําความผิดของจําเลยดวยตนเอง หรือไดฟงคําบอกเลาท่ีมีหลักฐานอันควรเช่ือถือไดและโจทกรังเกียจสงสัย โดยมีพฤติการณอันนาเช่ือวาจําเลยไดกระทําความผิด ดังน้ันจะเห็นไดวาวิธีไตสวนน้ันมิใชไตสวนถึงมูลแหงการกระทําผิด ผูไตสวนมูลฟอง ทานกําหนดใหเปนอํานาจของคณะผูพิจารณาช้ันตน ๗ อันดับ สวนวิธีไตสวนมูลฟองน้ัน ทานกําหนดไวเปน ๕ เรื่อง คือ ๑. ขอบเขตและขอพิสูจนมูลฟอง ไดกําหนดไวในขอ ๑๘ วา ในการไตสวน มูลฟองใหคณะผูพิจารณาชั้นตนไตสวนจากพยานหลักฐานฝายโจทก ซ่ึงเปนพยานบุคคล พยานเอกสารหรือพยานวัตถุ ท่ีอาจจะพิสูจนใหเห็นขอมูลวา (ก) การกระทําของจําเลยท่ีโจทกนํามาฟองตองดวยบทบัญญัติแหงพระวินัยหรือไม (ข) การฟองของโจทกมีมูลเหตุอยางใดอยางหน่ึงตามความในขอ ๑๗ หรือไม ๒. วิธีปฏิบัติในการไตสวนมูลฟอง เรื่องการฟองพระภิกษุในขอหาวากระทําความผิดเปนท่ีกระทบกระเทือนถึงเกียรติและความเส่ือมเสียของคณะสงฆและพระพุทธศาสนา เพ่ือปองกันความเส่ือมเสีย จึงกําหนดวิธีปฏิบัติในการไตสวนมูลฟองไวในขอ ๑๙ ดังน้ี (ก) การไตสวนมูลฟองใหกระทําเปนการลับ (ข) หามมิใหบุคคลผูไมมีสวนเก่ียวของเขาไปในบริเวณท่ีทําการไตสวน ผูอยูในท่ี ไตสวนมูลฟองได มีดังน้ี คือ (๑) โจทกและจําเลย (๒) พยานเฉพาะท่ีกําลังใหการ (๓) ผูท่ีไดรับเชิญมาเพ่ือปฏิบัติการใด ๆ เก่ียวกับการพิจารณา (๔) พระภิกษุผูทําหนาท่ีจดบันทึกถอยคําสํานวน (ค) หากมีผูใดท่ีอยูในบริเวณไตสวนกอความไมสงบข้ึน คณะผูพิจารณามีอํานาจส่ังใหผูน้ันตั้งอยูในความสงบเรียบรอย หรือส่ังใหผูน้ันออกไปจากท่ีน้ันก็ได

๑๔ กรมการศาสนา, กฎหมายเถรสมาคม ฉบับท่ี ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๒๑) วาดวยการลงนิคหกรรม

พรอมดวยคําแนะนําและแบบสําหรับใชในการพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรม, (กรุงเทพมหานคร : บริษัท สหธรรมมิก จํากัด, ๒๕๓๙), หนา ๖๕.

Page 109: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

๙๔

(ฆ) เมื่อจะดําเนินการไตสวนมูลฟอง ใหคณะผูพิจารณาชั้นตนแจงวัน เวลา และสถานท่ีทําการไตสวนมูลฟอง พรอมท้ังสงสําเนาคําฟองของโจทกใหจําเลยทราบดวย โจทกตองมาฟงการไตสวนมูลฟองทุกคร้ัง ถาไมมาตามท่ีไดรับแจงติดตอกัน ๓ ครั้ง โดยมิไดแจงถึงเหตุขัดของใหเร่ืองเปนอันถึงท่ีสุด สวนจําเลยจะมาฟงการไตสวนมูลฟองหรือไมมาก็ได ๓. วิธีปฏิบัติเม่ือมีเหตุขัดของ ในกรณีท่ีมีเหตุขัดของใด ๆ เกิดข้ึนกอนไตสวนมูลฟองหรือระหวางไตสวนมูลฟอง เชน โจทกหรือจําเลยเสียชีวิต จึงไดกําหนดวิธีปฏิบัติไวในขอ ๒๐ ดังน้ี (ก) ถาจําเลยถึงมรณภาพ ใหเรื่องเปนอันถึงท่ีสุด (ข) ถาโจทกซ่ึงเปนผูมีสวนไดเสียตามความในขอ ๔ (๔) ถึงมรณภาพก็ดี หรือโจทกซ่ึงเปนผูเสียหายถึงมรณภาพหรือตาย โดยไมมีผูจัดการแทน ในกรณีอยางใดอยางหน่ึงตามความในขอ ๔ (๕) ก็ดี ใหคณะผูพิจารณาช้ันตนแตงต้ังพระภิกษุผูทรงคุณวุฒิรูปใดรูปหน่ึงตามท่ีเห็นสมควรใหปฏิบัติหนาท่ีเปนโจทกแทนสืบไป ๔. วิธีปฏิบัติเมื่อทําการไตสวนเสร็จ ใหกําหนดวิธีปฏิบัติไวในขอ ๒๑ โดยใหคณะ ผูพิจารณาช้ันตนปฏิบัติ ดังน้ี คือ ปรากฏวา (ก) คําฟองเร่ืองใดมีมูล ใหส่ังประทับฟอง แลวดําเนินวิธีปฏิบัติไวในขอ ๒๑ โดยใหคณะผูพิจารณาช้ันตนปฏิบัติดังน้ี คือ ปรากฏวา (ข) คําฟองเร่ืองใดไมมีมูล ใหส่ังยกฟอง และแจงใหโจทกทราบ ๕. วิธีปฏิบัติเม่ือมีคําส่ังยกฟอง ไดกําหนดวิธีปฏิบัติไวในขอ ๒๒ แบงวิธีปฏิบัติ ไวเปน ๒ กรณี ดังน้ี (ก) ถาเปนกรณีความผิดครุกาบัติ ซ่ึงมิใชคําส่ังของมหาเถรสมาคม โจทกมีสิทธ์ิอุทธรณคําส่ังน้ันตอคณะผูพิจารณาช้ันอุทธรณตามที่กําหนดไวแลวแตกรณี โดยย่ืนอุทธรณคําส่ังน้ันเปนหนังสือตอผูออกคําส่ังภายใน ๑๕ วัน นับแตวันทราบคําสั่ง และใหผูออกคําส่ังอุทธรณคําส่ังน้ันไปยังคณะผูพิจารณาชั้นอุทธรณภายใน ๑๕ วัน นับแตวันไดอุทธรณคําส่ัง เม่ือคณะผูพิจารณาช้ันอุทธรณไดรับอุทธรณคําส่ังน้ันแลว ใหวินิจฉัยอุทธรณคําส่ังน้ันภายใน ๓๐ วัน นับแตวันไดรับอุทธรณคําส่ัง เมื่อวินิจฉัยอุทธรณคําส่ังน้ันเสร็จแลวใหสงคําวินิจฉัยอุทธรณคําส่ังน้ันไปยังผูออกคําส่ัง เพ่ือแจงคําวินิจฉัยอุทธรณคําส่ัง ถาคณะผูพิจารณาช้ันอุทธรณวินิจฉัยวา คําฟองน้ันมีมูลใหดําเนินการตอไป ถาวินิจฉัยวาคําฟองน้ันไมมีมูลใหเปนอันถึงท่ีสุด

Page 110: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

๙๕

(ข) ถาเปนกรณีความผิดครุกาบัติ ซ่ึงเปนคําส่ังมหาเถรสมาคม โจทกจะอุทธรณมิไดหรือเปนกรณีความผิดลหุกาบัติ คณะผูพิจารณาช้ันตนส่ังยกฟองแลว ก็ใหเปนอันถึงท่ีสุด โจทกจะอุทธรณมิไดเหมือนกัน

ข. วิธีไตสวนมูลฟองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา๑๕ ถาฟองถูกตองตามกฎหมายแลว ใหศาลจัดการสั่งตอไปน้ี (๑) ในคดีราษฎรเปนโจทก ใหไตสวนมูลฟอง แตถาคดีน้ันพนักงานอัยการไดฟองจําเลยโดยขอหาอยางเดียวกันดวยแลวใหจัดการตามอนุมาตรา (๒) (๒) ในคดีพนักงานอัยการเปนโจทก ไมจําเปนตองไตสวนมูลฟอง แตถาเห็นสมควรจะสั่งใหไตสวนมูลฟองกอนก็ได ในกรณีท่ีมีการไตสวนมูลฟองดังกลาวแลว ถาจําเลยใหการรับสารภาพใหศาลประทับฟองไวพิจารณา เม่ือศาลตรวจคําฟองแลวเห็นวาถูกตองตามกฎหมาย และเห็นวาคดีน้ันมีราษฎรเปนโจทก ศาลจะสั่งใหสําเนาคําฟองใหจําเลยแลวกําหนดนัดไตสวนมูลฟอง โดยใหโจทกเปนผูนําสงหมายนัดใหจําเลยทราบ แตถาเห็นวาคดีน้ันมีพนักงานอัยการเปนโจทกฟองจําเลยในขอหาเดียวกัน ศาลจะส่ังใหรับประทับฟองไวโดยไมตองไตสวนมูลฟอง หรือจะส่ังใหไตสวนมูลฟองกอนก็ได เพราะในคดีท่ีพนักงานอัยการเปนโจทกศาลไมจําเปนตองไตสวนมูลฟอง เน่ืองจากคดีอาญาน้ันผานการสอบสวนของพนักงานสอบสวน ตามมาตรา ๑๒๐ มาแลว หรือศาลเห็นสมควรจะใหไตสวนมูลฟองกอนก็ได ในทางปฏิบัติน้ันศาลจะไมไตสวนมูลฟองและเม่ือเห็นวาจําเลยถูกขังตามหมายขังของศาลแลว หรือไดรับการปลอยตัวชั่วคราวจากศาล ศาลก็จะส่ังในคําฟองวาประทับฟอง ในกรณีท่ีจําเลยใหการรับสารภาพในช้ันไตสวนมูลฟองใหศาลประทับฟองไวพิจารณา คงจะมิไดหมายเฉพาะในคดีท่ีพนักงานอัยการเปนโจทกเทาน้ัน เน่ืองจากในคดีท่ีราษฎรเปนโจทก มาตรา ๑๖๕ วรรคสาม หามมิใหศาลถามคําใหการจําเลย แตในวรรคแรกในคดีท่ีพนักงานอัยการเปนโจทกใหศาลถามคําใหการจําเลยได ในคดีซ่ึงพนักงานอัยการเปนโจทก ในวันไตสวนมูลฟองใหจําเลยมาหรือคุมตัวมาศาล ใหศาลสงสําเนาฟองแกจําเลยรายตัวไป เม่ือศาลเช่ือวาเปนจําเลยจริงแลว ใหอานและ

๑๕ นคร พจนวรพงษ, ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา, (กรุงเทพมหานคร : เจริญกิจ,

๒๕๕๐), หนา ๕๕.  

Page 111: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

๙๖

อธิบายฟองใหฟง และถามวาไดกระทําไปผิดจริงหรือไม จะใหการตอสูอยางไรบาง คําใหการของจําเลยให จดไว ถาจําเลยไมยอมใหการ ก็ใหศาลจดรายงานไว และดําเนินการตอไป จําเลยไมมีอํานาจนําพยานมาสืบในช้ันไตสวนมูลฟอง แตท้ังน้ีไมเปนการตัดสิทธิในการท่ีจําเลยจะมีทนายมาชวยเหลือ ในคดีราษฎรเปนโจทก ศาลมีอํานาจไตสวนมูลฟองลับหลังจําเลย ใหศาลสงสําเนาฟอง แกจําเลยรายตัวไป กับแจงวันนัดไตสวนใหจําเลยทราบ จําเลยจะมาฟงการไตสวนมูลฟอง โดยตั้งทนายใหซักคานพยานโจทกดวยหรือไมก็ได หรือจําเลยจะไมมาแตต้ังทนายซักคานพยานโจทกก็ได หามมิใหศาลถามคําใหการจําเลย และกอนท่ีศาลรับฟองมิใหถือวาจําเลยอยูในฐานะเชนน้ัน การไตสวนมูลฟองเปนกระบวนการพิจารณาของการช่ังนํ้าหนักพยานหลักฐานเบ้ืองตนของศาล เพ่ือวินิจฉัยวา คดีโจทกมีมูลฟองเพียงพอที่จะรับประทับฟองไวตอไปหรือไม โดยมีหลักเกณฑของการไตสวนมูลฟองท่ีสําคัญ ดังน้ี (๑) การไตสวนมูลฟองเปนกระบวนการพิจารณาของศาลโดยเฉพาะ (๒) การไตสวนมูลฟองเพ่ือพิจารณาคําฟองขอโจทกท่ีกลาวหาจําเลยวากระทําความผิดน้ันมีมูลเพียงพอทั้งขอเท็จจริงและขอกฎหมายหรือไม ถาคดีไมมีมูลศาลจะมีคําพิพากษายกฟองโจทก ซ่ึงแสดงวาผูถูกกลาวหามิไดเปนผูกระทําความผิด (๓) การไตสวนมูลฟองเปนกระบวนการพิจารณาของศาลกับโจทกเทาน้ันเพราะจําเลยไมมีอํานาจนําพยานเขาสืบในช้ันไตสวนมูลฟอง ศาลจะเรียกพยานมาไตสวนเองก็ได การไตสวนมูลฟองแบงออกไดเปน ๒ ข้ันตอนกลาวคือ ถาเปนคดีท่ีพนักงานอัยการเปนโจทกแลวการไตสวนมูลฟองจะตองมีตัวจําเลยมาศาลแลวดวย และใหศาลอธิบายฟองของโจทกใหจําเลยโดยใหสิทธิแกจําเลยท่ีจะรับหรือปฏิเสธ หรือจะใหการตอสูอยางไร ใหศาลจดไวในรายงานกระบวนพิจารณา แตการไตสวนมูลฟองในคดีท่ีพนักงานอัยการเปนโจทกน้ัน ในทางปฏิบัติจะไมทํากันเน่ืองจากเปนคดีท่ีพนักงานสอบสวนไดทําการสอบสวนรวบรวมหลักฐานเบ้ืองตนไวแลว และเม่ือมีหลักฐานนาเช่ือวามีการกระทําความผิดเกิดขึ้นจริงจึงไดมีการย่ืนคําฟองข้ึนมาซ่ึงผิดกับกรณีท่ีราษฎรเปนโจทกฟองเองน้ัน ไมไดผานการสอบสวนมากอนจึงตองใหมี การไตสวนมูลฟองเสียกอนวา คดีมีมูลเพียงพอท่ีจะฟองจําเลยหรือไม ซ่ึงจําเลยจะมาศาลหรือไม ก็ได และกอนท่ีศาลจะรับประทับฟองมิใหถือวาผูกระทําตกเปนจําเลยและใหสิทธิแกจําเลยซักคานพยานโจทก แตหามมิใหศาลถามคําใหการจําเลยซ่ึง

Page 112: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

๙๗

ผิดกับการไตสวนมูลฟองในคดีท่ีพนักงานอัยการเปนโจทกศาลจะถามได และในกรณีท่ีเปนการฟองนิติบุคคลวากระทําความผิดน้ันจะตองฟองผูแทนของนิติบุคคลเปนจําเลยดวย ถาโจทกไมมาตามกําหนดนัด ใหศาลยกฟองเสีย แตถาศาลเห็นวามีเหตุผลสมควรจึงมาไมไดจะส่ังเล่ือนคดีไปก็ได ถาปรากฏวาคดีมีมูลใหศาลประทับฟองไวพิจารณาตอไปเฉพาะกระทงท่ีมีมูล ถาคดีไมมีมูลใหพิพากษายกฟอง เมื่อศาลช้ันตนไตสวนมูลฟองแลวเห็นวาคดีมีมูลจะทําเปนคําส่ังวาคดีมีมูล ใหประทับฟองไวพิจารณา หมายเรียกจําเลยมาใหการในวันเดียวกับวันนัดสืบพยานโจทก ถาเห็นวาคดีของโจทกไมมีมูลฟองจะพิพากษายกฟอง หากการไตสวนมูลฟองมีหลายขอหาและศาลเห็นวาคดีมีมูลบางขอหา ศาลจะทําเปนคําส่ังฉบับเดียวกัน เม่ือศาลประทับฟองแลว ใหสงสําเนาฟองใหแกจําเลยรายตัวไป เวนแตจําเลยจะไดรับสําเนาฟองไวกอนแลว ในคดีท่ีราษฎรเปนโจทก น้ัน ศาลจะส่ังใหสงสําเนาคําฟองใหจํา เลยทราบ จําเลยจึงไดรับสําเนาคําฟองไวกอนท่ีศาลจะส่ังรับประทับฟองโจทก เม่ือศาลรับฟองแลวจึงไมตองสงสําเนาฟองใหจําเลยอีก แตศาลจะส่ังใหเรียกจําเลยมาใหการในวันเดียวกับวันนัดสืบพยานโจทก เน่ืองจากในคดีอาญาโจทกมีหนาท่ีนําสืบกอน เมื่อศาลประทับฟองแลว แตยังไมไดตัวจําเลยมา ใหศาลออกหมายเรียกหรือหมายจับแลวแตสมควรอยางใดอยางหน่ึงเพ่ือใหพิจารณาไดตอไป ในคดีท่ีพนักงานอัยการเปนโจทก โจทกตองมีตัวจําเลยอยูในอํานาจศาลแลว เชน ศาลหมายขังไวระหวางสอบสวน หรือไดรับการปลอยตัวชั่วคราวจากศาล ศาลจึงจะประทับฟอง แตในคดีท่ีราษฎรเปนโจทก เมื่อคดีมีมูลและศาลรับประทับฟองแลว ศาลจะออกหมายเรียกจําเลยมาใหการในวันเดียวกับวันนัดสืบพยานโจทก ถาจําเลยไมมาศาลจะออกหมายจับ เพราะการพิจารณาคดีตองกระทําตอหนาจําเลย โดยศาลจะส่ังในวันนัดวา “พฤติการณมีเหตุอันควรสงสัย วาจําเลยหลบหนีใหออกหมายจับจําเลย เน่ืองจากไมแนใจวาจะจับจําเลยไดเม่ือใด จึงใหจําหนายคดีชั่วคราว เม่ือจับจําเลยไดแลวจะไดยกคดีขึ้นพิจารณาตอไป” (คูมือปฏิบัติราชการของตุลาการสวนวธีิพิจารณาความอาญา การจําหนายคดีชั่วคราว) คําส่ังของศาลที่ใหคดีมีมูลยอมเด็ดขาด แตคําส่ังท่ีวาคดีไมมีมูลน้ัน โจทกมีอํานาจอุทธรณฎีกาไดตามบทบัญญัติวาดวยลักษณะอุทธรณฎีกา ถาโจทกรองขอ ศาลจะขังจําเลยใหหรือปลอยช่ัวคราวระหวางอุทธรณฎีกาก็ได

Page 113: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

๙๘

ศาลชั้นตนไตสวนมูลฟองแลว และมีคําส่ังวาคดีมีมูลยอมเด็ดขาด จําเลยจะอุทธรณฎีกาตอไปไมได แตถาศาลมีคําพิพากษายกฟองโจทก เทากับส่ังวาคดีโจทกไมมีมูลหรือจําเลยไมไดกระทําความผิดตามฟองของโจทก กฎหมายจึงบัญญัติใหโจทกมีอํานาจอุทธรณฎีกาตอไปได ตามบทบัญญัติวาดวยลักษณะอุทธรณฎีกา ๔ .๒ .๓ วิ ธีอ างพยานหลักฐานในการลงนิคหกรรมเปรียบเทียบกับวิธีอ างพยานหลักฐานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ก. วิธีอางพยานหลักฐานในการลงนิคหกรรม๑๖ พยานหลักฐานในการพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมไดกําหนดไวในขอ ๕๕ โดยจําแนกพยานหลักฐานของโจทก จําเลย และคณะผูพิจารณาออกเปน ๓ ประการคือ พยานบุคคล พยานเอกสาร และพยานวัตถุ ทานกําหนดใหอางพยานหลักฐานดังกลาวน้ันได แตตองเปนพยานหลักฐานท่ีนาจะพิสูจนไดวาจําเลยมีความผิดหรือบริสุทธ์ิ อีกท้ังพยานหลักฐานท่ีอางน้ัน ตองเปนพยานหลักฐานชนิดท่ีมิไดเกิดจากการจูงใจ มีคํามั่นสัญญา ขูเข็ญ หลอกลวง หรือโดยประการอ่ืนอันมิชอบ นอกจากน้ียังมีพยานหลักฐานอีก ๒ ประเภท คือ พยานผูชํานาญการพิเศษ และขอความหรือเอกสารลับซ่ึงกําหนดไวในขอ ๕๙ และขอ ๖๐ ตามลําดับ ดังน้ันพยานหลักฐานท่ีสามารถนํามาอางไดน้ัน จึงมี ๕ ประเภท โดยมีรายละเอียดดังตอไปน้ี ๑. พยานบุคคล ไดกําหนดไวในขอ ๕๖ วา หามมิใหโจทกอางจําเลยเปนพยานเพราะจะเปนการทําใหโจทกไดเปรียบ แตจําเลยสามารถอางตนเองเปนพยานได ถาจําเลยอางตนเองเปนพยานจะใหจําเลยเขาสืบกอนพยานของฝายจําเลยก็ได และถาคําของจําเลยท่ีใหการเปนพยานน้ัน ปรักปรําหรือเสียหายแกจําเลยอื่นใหจําเลยอ่ืนซักคานได ๒. พยานเอกสาร ไดกําหนดไวในขอ ๕๗ วา ใหนําตนฉบับเอกสารน้ันมาอาง แตถาหาตนฉบับไมไดจะอางสําเนาท่ีรับรองวาถูกตอง หรือพยานบุคคลท่ีรูขอความมาเปนพยานก็ได ถาพยานเอกสารท่ีอางน้ันเปนหนังสือของทางการคณะสงฆหรือหนังสือราชการ แมตนฉบับยังมีอยู จะสงสําเนาท่ีเจาหนาท่ีรับรองวาถูกตองก็ได เวนแตในหนังสือเรียกจะบงไวเปนอยางอื่น ถาพยานเอกสารท่ีอางน้ันมิไดอยูในความยึดถือของผูอาง ถาผูอางแจงถึงลักษณะพรอมท้ังท่ีอยูของเอกสารตอคณะพิจารณา ใหคณะพิจารณาเรียกเอกสารน้ันจากผูยึดถือ

๑๖ พระราชรัตนกวี (ไสว สุจิตฺโต), คําอธิบายกฎมหาเถรสมาคม ฉบับท่ี ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๒๑) วา

ดวยการลงนิคหกรรม ภาควิชาการและภาคปฏิบัติ พรอมดวยพระราชบัญญัติคณะสงฆ พ.ศ. ๒๕๐๕ และกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๑๑, (กรุงเทพมหานคร : บริษัท สหธรรมมิก จํากัด, ๒๕๓๙), หนา ๘๗.

Page 114: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

๙๙

๓. พยานวัตถุ ไดกําหนดไวในขอ ๕๘ วา ใหนําส่ิงน้ันมายังคณะผูพิจารณาดวย แตถานํามาไมได ใหคณะผูพิจารณาทุกรูปหรือมอบหมายใหผูพิจารณารูปใดรูปหน่ึงไปตรวจสอบงาน ยังท่ีท่ีพยานวัตถุน้ันต้ังอยูตามเวลาและวิธีซ่ึงคณะผูพิจารณาหรือผูพิจารณาเห็นสมควรตามลักษณะแหงพยานวัตถุ ๔. พยานผูชํานาญการพิเศษ ไดกําหนดไวในขอ ๕๙ วา ผูใดโดยอาชีพหรือมิใชก็ตาม มีความชํานาญพิเศษในการใด ๆ เชน ในทางวิทยาศาสตร ศิลปะ ฝมือ พาณิชยการ หรือการแพทย และความเห็นของผูน้ันอาจเปนประโยชนในการไตสวนมูลฟอง หรือการพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรม ซ่ึงอาจเปนพยานในกรณีตาง ๆ เปนตนวาตรวจรางกาย หรือจิตใจของผูเสียหาย ตรวจลายมือ ทําการทดลอง หรือกิจการอยางอ่ืน ๆ คณะผูพิจารณาจะใหผูชํานาญการพิเศษทําความเห็นเปนหนังสือก็ได แตตองใหมาเบิกความประกอบหนังสือน้ัน และตองสงสําเนาหนังสือดังกลาว แลวแกโจทกและจําเลยทราบลวงหนาไมนอยกวา ๓ วัน กอนวันเบิกความ เม่ือมีความจําเปนตองใชผูชํานาญการพิเศษ ถาหากไมไดในฝายสงฆ จะขอจากเจาหนาท่ีฝายราชอาณาจักรก็ได ๕. ขอความหรือเอกสารลับ ไดกําหนดไวในขอ ๖๐ วา ในกรณีท่ีโจทกจําเลยหรือผูใดซ่ึงจะตองใหการหรือสงพยานหลักฐานอยางใดอยางหน่ึงอันประกอบดวยลักษณะ ๓ ประการ คือ

(๑) ขอความหรือเอกสาร ซ่ึงยังเปนความลับในการคณะสงฆ หรือในราชการ

(๒) ความลับหรือเอกสารลับ ซ่ึงไดมาหรือทราบเน่ืองดวยปกติธุระ หรือหนาท่ีของเขา

(๓) วิธีการ แบบแผน หรืองานอยางอื่นซ่ึงมีกฎหมายควบคุมมิให เปดเผย โจทก จําเลยหรือผูน้ันอาจปฏิเสธไมยอมใหการหรือสงพยานหลักฐานดังกลาวน้ัน เวนแตจะไดรับอนุญาตจากทางการคณะสงฆ ทางราชการหรือบุคคลที่เก่ียวของกับความลับน้ัน ในกรณีดังกลาวน้ันคณะผูพิจารณาอาจแจงใหทางการคณะสงฆ ทางราชการ หรือบุคคลที่เก่ียวของกับความลับน้ันมาช้ีแจงเหตุผลท่ีไมสมควรใหการหรือสงพยานหลักฐานดังกลาวน้ันโดยชัดแจงตอคณะผูพิจารณา

Page 115: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

๑๐๐

ข. วิธีอางพยานหลักฐานในคดีอาญา๑๗ พยานหลักฐานในคดีอาญาตอไปน้ี จะเปนการแยกอธิบายลักษณะของพยานใน

คดีอาญาใหเห็นชัดเจนวา จะมีวิธีการนําสืบอยางไร ผลของการนําสืบพยานในลักษณะน้ันๆ จะเปนอยางไรซ่ึงการนําสืบพยานน้ัน จะมีลักษณะวิธีการไมเหมือนกัน การนําสืบบางวิธีการจะแตกตางกับวิธีนําสืบในวิธีการอางพยานหลักฐานในการลงนิคหกรรม ลักษณะของพยานในทางอาญาจะมีอยู ๒ ลักษณะคือ

๑. พยานบุคคล ๒. พยานเอกสารและพยานวัตถุ

๑. พยานบุคคล พยานบุคคล หมายความถึง บุคคลท่ีมาใหปากคําท่ีศาล อาจจะเปนบุคคล

ธรรมดาผูเชี่ยวชาญ ผูชํานาญการพิเศษ ผูมีความรูเช่ียวชาญท่ีคูความใหมาเบิกความในคดีท่ีศาลและศาลไดจดบันทึกเปนขอความไวในสํานวนความ การสืบพยานในคดีอาญาสวนใหญคูความจะนําพยานบุคคลเขาสืบโดยวิธีปฎิบัติดังน้ี

๑.๑ การขอใหศาลออกหมายเรียกพยาน การนําพยานบุคคลมาสืบขึ้นอยูกับคูความวาสามารถจะนําพยานเขาสืบไดหรือไม ถาสามารถนํามาสืบไดเอง ก็ไมตองรองขอตอศาล เพ่ือออกหมายเรียกใหพยานมาศาล วิธีการปฏิบัติสวนใหญแลวการนําพยานบุคคลเขาสืบจะใชวิธีออกหมายเรียกพยาน ท้ังน้ันไมวาจะเปนฝายโจทกหรือฝายจําเลย เพราะเพ่ือความสะดวกและเปนหลักประกันวาพยานจะตองมาศาลเม่ือไดรับหมายเรียกศาลแลว ถาพยานไมมาศาลโดยไมมีเหตุขัดของ หรือไมไดรับเอกสิทธิตามกฎหมายพยานก็จะมีความผิดทางอาญาซ่ึงมีโทษตามกฎหมาย ตรงกันขามถาหากไมขอใหศาลออกหมายเรียก พยานไมมาศาลก็ไมมีความผิดทางอาญาแตประการใด ฝายนําพยานเขาสืบก็ตองขอเล่ือนคดี ถาหากศาลไมอนุญาตใหเล่ือนคดี ฝายนําพยานเขาสืบก็ไมมีพยานมาสืบในที่สุดอาจแพคดีได

๑.๒ วิธีการนําสืบพยานบุคคลของโจทกในคดีอาญา ในคดีอาญา โจทกจะตองนําสืบพยานกอนเสมอ พยานท่ีโจทกจะนําสืบกอนคือพยานบุคคล การสืบพยานบุคคลโจทกนําสืบไดอยางกวางขวางมากเพราะบุคคลใดท่ีนาจะนําเขาสืบพิสูจนไดวาจําเลยมีความผิดแลว โจทกสามารถท่ีจะอางเปนพยานหลักฐาน และนําสืบไดท้ังส้ิน พยานบุคคลน้ันอาจจะเปนประจักษพยานหรือพยานบอกเลาก็ได โดยมีขอหามกลาวคือ ขอหามท่ีไมใหโจทกอางพยานท่ีบัญญัติไวในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๓๒ “หามมิใหโจทกอาง

๑๗ สัก กอแสงเรือง, ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา, (กรุงเทพมหานคร : เจริญกิจ, ๒๕๕๐), หนา ๙๐.

Page 116: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

๑๐๑

จําเลยเปนพยาน” การท่ีกฎหมายหามโจทกอางจําเลยเปนพยานเพราะวา จําเลยตองเปนพยานตนเองอยูแลว คดีอาญาศาลจะใหโอกาสจําเลยตอสูคดีไดอยางเต็มท่ี เพ่ือเสรีภาพของจําเลยเอง ดังน้ันจําเลยจะใหการอยางไรก็ไดท่ีคิดวาจะทําใหตนเองพนผิดทางอาญา การเบิกความของจําเลยจึงไมใชพยานเท็จจําเลยจึงไมถูกฟองฐานเบิกพยานเท็จ เพราะเปนการตอสูคดีใหตนเองพนผิด ดังน้ันการวินิจฉัย ช่ังนํ้าหนักพยานหลักฐานศาลจะใชดุลพินิจวินิจฉัยนํ้าหนักพยานหลักฐานของฝายโจทกเทาน้ัน หากพยานหลักฐานของโจทกมีนํ้าหนักม่ันคง ศาลก็พิพากษาลงโทษจําเลยได ถานํ้าหนักออน หรือเกิดขอสงสัย ศาลจะพิพากษายกฟองปลอยจําเลยพนขอหาไป โดยไมตองวินิจฉัยพยานหลักฐานของฝายจําเลย จากเหตุดังกลาว กฎหมายจึงบัญญัติใหโจทกจะอางจําเลยเปนพยานของตนเองไมได ถาหากใหโอกาสโจทกอางจําเลยเปนพยาน จําเลยยอมใหการไมเปนไปตามความเปนจริง จึงทําใหมีความผิดฐานเบิกความเท็จ ทําความลําบากใจใหแกจําเลย การอางของโจทกกฎหมายหามไมใหอางจําเลยเปนพยานเทาน้ันแตถาโจทกจะอางตนเองเปนพยานยอมอางได และในทางกลับกัน จําเลยยังสามารถอางผูเสียหายหรือโจทกเปนพยานของตนได หากคําใหการของผูเสียหายน้ันจะเปนประโยชนแกตนหากผูเสียหายทีเปนพยานเบิกความไมตรงกับความจริง ยอมเปนการเบิกความเท็จยอมมีความผิดทางอาญาได

๑.๓ เอกสิทธิท่ีจะไมใหการถึงความลับ จากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๓๑ บัญญัติ ดัง น้ี “เ ม่ือคูความหรือผู ใดจะตองใหการหรือสงพยานหลักฐานอยางหน่ึงอยางใดดังตอไปน้ี

(๑) เอกสารหรือขอความท่ียังเปนความลับในราชการอยู (๒) เอกสารหรือขอความลับ ซ่ึงไดมาหรือทราบเน่ืองในอาชีพของเขา (๓) วิธีการ แบบแผน หรืองานอยางอ่ืนซ่ึงกฎหมายคุมครองไมยอมให

เปดเผย คูความหรือบุคคลน้ันมีอํานาจไมยอมใหการหรือสงพยานหลักฐาน เวนแตไดรับอนุญาตจากเจาหนาท่ีหรือบุคคลท่ีเก่ียวขอกับความลับน้ัน

ถาคูความหรือบุคคลใดไมยอมใหการ หรือไมสงพยานหลักฐานดังกลาวแลว ศาลมีอํานาจหมายเรียกเจาหนาท่ีหรือบุคคลผูเก่ียวของกับความลับน้ันมาแถลงตอศาล เพ่ือวินิจฉัยวาการไมยอมน้ันมีเหตุผลค้ําจุนหรือไม ถาเห็นวาไรเหตุผล ใหศาลบังคับให ใหการหรือสงพยานหลักฐานน้ัน”

๑.๔ พยานผูชํานาญการพิเศษ จะเปนใครก็ได จะเปนโดยอาชีพหรือไมเปนโดยอาชีพก็ไดแตจะตองมีความชํานาญพิเศษในเร่ืองน้ัน ๆ ซ่ึงอาจจะแยกพิจารณาไดดังน้ี

Page 117: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

๑๐๒

๑.๔.๑ ผูชํานาญการพิเศษ ไมจําเปนตองเปนผูชํานาญการในวิชาชีพ คือจะมีอาชีพเปนผูชํานาญพิเศษก็ได หรือไมมีอาชีพเปนผูชํานาญการพิเศษก็ได เพียงแตมีความรูความชํานาญในเร่ืองน้ัน ๆ ก็พอ ฉะน้ันบุคคลธรรมดาท่ีมีความชํานาญในเร่ืองหน่ึงเรื่องใด โดยเฉพาะ ศาลยอมจะรับฟง เชนพยานจําลายมือจําเลยไดเพราะเคยเห็นลายมือมาเปน ๑๐ ป หรือบุคคลธรรมดานําพิสูจนวาของกลางคือ นํ้าสุราดังน้ีเปนตน

๑.๔.๒ ผูชํานาญการพิเศษตองมีความชํานาญพิเศษในเรื่องน้ัน เชนมีความรูความชํานาญในวิทยาศาสตร ศิลปะ ฝมือ พาณิชยการ การแพทย กฎหมายระหวางประเทศหรือ การบัญชี การทหาร การเดินเรือ การขนสง น้ันก็คือบุคคลน้ันจะตองเปนผูมีความรูในเรื่องน้ันจริง

๑ .๔ .๓ ความเห็นของผู ชํานาญการพิเศษจะตองเปนประโยชนในคดี ผูชํานาญการพิเศษตองเปนผูท่ีเขามาโดยใหความเห็นเปนประโยชนแกคดี และตองเขามาเปนพยานดวย ศาลจึงจะรับฟง

๒. พยานเอกสารและพยานวัตถุ พยานเอกสารและพยานวัตถุ หมายความถึงหนังสือลายลักษณอักษรที่ไดขีด

เขียน พิมพ หรือจารึกไวเปนการถาวรและอานไดความ หรือรูปรอย หรือวัตถุท่ีมีขอความปรากฏเปนลายลักษณอักษรหรือปรากฏเปนเครื่องหมายท่ีสามารถใชแทนลายลักษณอักษรได ท้ังน้ีโดยมุงท่ีจะใหขอความหรือเคร่ืองหมายดังกลาวน้ัน เปนพยานหลักฐานในคดี ซ่ึงศาลอาจอานตรวจดูไดจากหนังสือลายลักษณอักษรหรือรูปรอยใดๆ โดยรูปรอยน้ันได เปนเคร่ืองหมาย ใชแทนคําพูดในภาษาใดภาษาหน่ึง โดยมีรายละเอียดดังตอไปน้ี

๒.๑. วิธีอางและเรียกพยานเอกสารหรือพยานวัตถุ ปจจุบันการพิจารณาคดีอาญาถาคูความประสงคจะอางเอกสารหรือวัตถุเปนพยาน จะระบุพยานเอกสารหรือพยานวัตถุในบัญชีพยานเสมอ เพ่ือใหศาลทราบวาคูความมีเอกสารอะไรบาง เพราะเอกสารบางอยางคูความไมอาจนําเอกสารเขาสืบได ตองอาศัยอํานาจศาลออกหมายเรียก ใหผูเก็บรักษาเอกสารนําเอกสารน้ันมาสงศาล หากเอกสารไมอยูในความยึดถือของผูกลาวอาง แตอยูกับบุคคลอื่น ผูอางพยานเอกสารอาจขอใหศาลออกหมายเรียกใหผูยึดถือเอกสารนั้นนําสงศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๓๙ โดยระบุโดยชัดเจนถึงลักษณะและท่ีอยูของเอกสารและชนิดของพยานใหครบถวนทุกเอกสาร อน่ึงบุคคลท่ีไดรับหมายเรียกจากศาลใหนําสงเอกสาร หากไมยอมสงเอกสารตามท่ีศาลเรียกยอมมีความผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๗๐ จะตองโทษจําคุกไมเกิน ๖ เดือน ปรับไมเกิน ๑,๐๐๐ บาท หรือท้ังจําท้ังปรับ

Page 118: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

๑๐๓

๒.๒. ลักษณะของพยานเอกสารที่อางเปนพยาน อาจแยกพิจารณาดังน้ี ๑. เอกสารธรรมดา บางครั้งเรียกวา เอกสารเอกชนเชนสัญญาตาง ๆ ท่ี

เอกชนทําขึ้น จดหมายท่ีเขียนถึงกัน เอกสารธรรมดา ท่ีจะอางเปนพยานน้ันมีบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๓๘ วรรคแรก “ตนฉบับเอกสารเทาน้ันท่ีอางเปนพยานได ถาหาตนฉบับไมได สําเนาท่ีรับรองวาถูกตอง หรือพยานบุคคลท่ีรูขอความก็อางเปนพยานได” และ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพง มาตรา ๙๓ ก็สนับสนุน การอางพยานเอกสารเปนพยานใหยอมรับไดแตตนฉบับเอกสารเทาน้ัน แตก็มีขอยกเวนอยู ๓ ขอ ท่ีไมตองใชตนฉบับของเอกสาร เชน คูความท่ีเก่ียวของทุกฝายตกลงกันวาสําเนาเอกสารน้ันถูกตอง หรือตนฉบับเอกสารหาไมไดเพราะสูญหายหรือถูกทําลายโดยเหตุสุดวิสัยหรือตนฉบับอยูในอารักขาควบคุมดูแลของทางราชการพยานเอกสารในคดีอาญา จึงเนนท่ีตนฉบับเอกสาร ถาตนฉบับยังมีอยูจะอางอยางอ่ืนไมได เวนเสียแตตนฉบับหาไมได จึงสามารถอางไดอีก ๒ วิธีคือ

ก. สําเนาเอกสารท่ีรับรองวาถูกตอง สําเนาดังกลาวอาจจะมีการตัดไวหรือถายเอกสารไวก็ได กฎหมายไมไดจํากัดจะตองเปนสําเนาอยางใด ขอสําคัญน้ันจะตองมีผูรับรองความถูกตองไวดวย หากไมมีการรับรองความถูกตองศาลจะไมรับฟงสําเนาเอกสารน้ัน ผูรับรองความถูกตองจะเปนใครก็ได เชนคูความฝายท่ีอางเอกสารทนายความ บุคคลภายนอก หรือผูคัดลอกเอกสารน้ันรับรองไวก็ได เพราะกฎหมายไมระบุผูรับรองความถูกตองไว สําเนาเอกสารท่ีไมมีผูรับรอง แตนําสงเปนพยานศาล ถาคูความอีกฝายหน่ึงยอมรับโดยไมมีขอโตแยงอยางใด ถาเขากรณีน้ีสําเนาเอกสารน้ันยอมอางเปนพยานตอศาลได ศาลรับฟงสําเนาเอกสารท่ีคูความยอมรับน้ัน

ข. อางพยานบุคคลท่ีรูขอความ บุคคลท่ีจะอางเพ่ือสืบตนฉบับเอกสารท่ีหาไมไดน้ี จะตองเปนผูท่ีรูขอความของเอกสารน้ันเชน ไดอาน ไดเขียน การจะนําบุคคลท่ีไดรูขอความเอกสารนําสืบน้ันจะตองไมมีสําเนาเอกสารท่ีรับรองวาถูกตอง หรือมีตนฉบับ ถามีสําเนารับรองวาถูกตองหรือมีตนฉบับ จะอางพยานบุคคลท่ีรูขอความเขานําสืบไมได การอางพยานบุคคลที่รูขอความน้ีในเวลาระบุพยานจะตองอางในบัญชีพยานดวย

๒. เอกสารราชการ หมายถึง เอกสารซ่ึงเจาพนักงานไดทําขึ้น หรือรับรองในหนาท่ี ยังหมายรวมถึงสําเนาเอกสารน้ันๆ ท่ีเจาพนักงานไดรับรองในหนาท่ีดวย เอกสารราชการอาจจะมีลักษณะเปนเอกสารมหาชน หรือเปนเอกสารราชการธรรมดาก็ได การอางเอกสารราชการเปนพยานน้ัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๓๘ วรรค ๒ “ถาอางหนังสือราชการเปนพยาน แมตนฉบับยังมีอยูจะสงสําเนาท่ีเจาหนาท่ีรับรอง

Page 119: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

๑๐๔

วาถูกตองก็ไดเวนแตในหมายเรียกจะบงเปนอยางอ่ืน ตามหลักการแลวพยานเอกสารราชการก็ตองสงตนฉบับเชนกัน แตถาหากทางราชการจําเปนท่ีตองรักษาตนฉบับไวท่ีสํานักงาน กฎหมายจึงเห็นความจําเปน จึงไดบัญญัติใหสงสําเนาท่ีเจาหนาท่ีรับรองวาถูกตองก็ได เวนแตศาลจะส่ังในหมายเรียกวาใหสงตนฉบับ ถาเขากรณีน้ีผูยึดถือเอกสารทางราชการไวก็ตองสงตนฉบับเอกสารราชการน้ันตอศาล เอกสารราชการน้ันเม่ือสงใหศาลแลว ศาลสามารถยกขึ้นเปนขอวินิจฉัยได เวนเสียแตฝายใดเห็นวาเอกสารน้ันไมใชของแทและถูกตองจะตองนําสืบหักลาง ถาไมนําสืบหักลางแลวก็จะเขาขอสันนิษฐานของกฎหมายวา เปนของแทและถูกตอง เอกสารราชการเม่ือไดระบุในบัญชีพยานวาเปนเอกสารตนฉบับแตเวลานําสงกลับสงสําเนาเอกสารมาและมีการรับรองวาถูกตอง ถากระทําเชนน้ีหากไมมีผูใดคัดคานศาลยอมรับฟงสําเนาเอกสารน้ันได

๔.๒.๔ วิธีบังคับตามคําวินิจฉัยการลงนิคหกรรมเปรียบเทียบกับคําพิพากษาและคําส่ังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ก. วิธีบังคับตามคําวินิจฉัยการลงนิคหกรรม๑๘ วิธีบังคับตามคําวินิจฉัยการลงนิคหกรรม ไดกําหนดวิธีปฏิบัติไวในขอ ๖๑ และขอ ๖๒ แหงพระราชบัญญัติคณะสงฆ พ.ศ. ๒๕๐๕ แกไขเพ่ิมเติม (ฉบับท่ี ๒) พ.ศ.๒๕๓๕ ดังน้ี คือ ๑. เม่ือจําเลยรูปใดตองคําวินิจฉัยใหรับนิคหกรรมอยางใดอยางหน่ึงถึงท่ีสุดแลวใหคณะผูพิจารณาซ่ึงอานคําวินิจฉัย แจงผลคําวินิจฉัยแกผูบังคับบัญชาใกลชิดของจําเลยรูปน้ันทราบเพ่ือดําเนินการใหเปนไปตามคําวินิจฉัยน้ัน ๒. ถาจําเลยไมยอมรับนิคหกรรมอยางใดอยางหน่ึง คือ (๑) ไมยอมรับนิคหกรรมตามคําวินิจฉัยใหสึก ไมสึกภายใน ๒๔ ช่ัวโมง นับแตเวลาที่ไดรับคําวินิจฉัยน้ัน อันเปนการฝาฝนมาตรา ๒๖ ซ่ึงกําหนดโทษอาญาไวในมาตรา ๔๒ แหงพระราชบัญญัติคณะสงฆ พ.ศ. ๒๕๐๕ แกไขเพ่ิมเติม (ฉบับท่ี ๒) พ.ศ.๒๕๓๕ คือไมยอมรับนิคหกรรมตามคําวินิจฉัยไมถึงใหสึก ใหผูบังคับบัญชารายงานโดยลําดับถึงมหาเถรสมาคม เมื่อมหาเถรสมาคมวินิจฉัยหรือมีคําส่ังใหสละสมณเพศแลว ไมสึกภายใน ๗ วันนับแตวันท่ีไดรับทราบคําวินิจฉัยของมหาเถรสมาคม อันเปนการฝาฝนมาตรา ๒๗ วรรคสอง ซ่ึงกําหนดโทษอาญาไวในมาตรา ๔๒ แหงพระราชบัญญัติคณะสงฆ พ.ศ. ๒๕๐๕ แกไขเพ่ิมเติม (ฉบับท่ี ๒) พ.ศ.๒๕๓๕ ในกรณีเชนน้ี

๑๘ กรมการศาสนา, หนังสือคูมือพระสังฆาธิการ วาดวย พระราชบัญญัติ กฎ ระเบียบ และคําสั่งของคณะสงฆ, (กรุงเทพมหานคร : บริษัท สหธรรมมิก จํากัด, ๒๕๓๙), หนา ๙๔.

Page 120: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

๑๐๕

ใหพระภิกษุผูดํารงตําแหนงปกครองคณะสงฆซ่ึงเปนผูบังคับบัญชาใกลชิดของจําเลยรูปน้ัน ขออารักขาตอเจาหนาท่ีฝายราชอาณาจักรเพ่ือจัดการตามกฎหมายอาญาตอไป ข. คําพิพากษาและคําส่ัง๑๙ การอานคําพิพากษาตองอานใหคูความฟงแลวใหคูความลงลายมือชื่อไว ถาโจทกไมมา แตจําเลยมาก็ใหอานได และถือวาโจทกไดฟงคําพิพากษาหรือคําส่ังแลว กรณีจําเลยบางคนมีประกัน บางคนถูกขังระหวางพิจารณา และจําเลยคนหน่ึงหลบหนี ศาลจะไมอานคําพิพากษาใหจําเลยท่ีมิไดหลบหนีและโจทกฟงทันที แตจะเลื่อนการอานคําพิพากษาออกไปแลวออกหมายจับจําเลยท่ีหลบหนีกอน หากพน ๑ เดือนแลวยังจับไมได ศาลจะอานคําพิพากษาใหโจทกและจําเลยที่มาศาลฟง เม่ือมีการเล่ือนคําพิพากษาออกไป แตจําเลยที่ถูกขังจะถูกปลอย ศาลมีอํานาจปลอยช่ัวคราวระหวางรอการอานคําพิพากษาหรือคําส่ัง แตตองไมใหคูความสามารถคาดเดาคําพิพากษาไดวาจะออกมาในรูปแบบใด ถาศาลเห็นวาจําเลยมิไดกระทําผิดก็ดี การกระทําของจําเลยไมเปนความผิดก็ดี คดีความขาดอายุความก็ดี มีเหตุตามกฎหมายท่ีจําเลยไมควรตองรับโทษก็ดี ใหศาลยกฟองโจทกปลอยจําเลยไป แตศาลจะส่ังขังจําเลยไวหรือปลอยช่ัวคราวระหวางคดียังไมถึงท่ีสุดก็ได เมื่อศาลเห็นวาจําเลยไดกระทําผิด และไมมีการยกเวนโทษตามกฎหมายใหศาลลงโทษแกจําเลยตามความผิด แตเมื่อเห็นสมควรศาลจะปลอยจําเลยช่ัวคราวระหวางคดียังไมถึงท่ีสุดก็ได ถาเห็นวาจําเลยมิไดกระทําผิดตามฟองของโจทก โดยพิจารณาจากทางนําสืบของโจทกจําเลย และพิเคราะหพยานหลักฐานแลวจึงพิพากษายกฟองโจทก หรือการกระทําของจําเลยไมเปนความผิดเชนการกระทําของจําเลยเปนการปองกันตัวพอสมควรจึงพิพากษายกฟองโจทก ศาลจึงพิพากษายกฟองโจทกปลอยจําเลยพนขอหาไปหรือจะส่ังขังจําเลยไวหรือปลอยช่ัวคราว ในระหวางระยะอุทธรณก็ได แตถาศาลเห็นวาจําเลยไดกระทําผิด เชน ปลนทรัพย ชิงทรัพย ฆาผูอื่นจริง โดยพิเคราะหจากพยานหลักฐานแลวหรือการกระทําของจําเลยไมมีเหตุยกเวนโทษ ศาลจึงมีคําพิพากษาลงโทษจําเลยตามความผิด เชน ประหารชีวิต จําคุก ปรับ หรือท้ังจําท้ังปรับ

๑๙ สัก กอแสงเรือง, ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา, , (กรุงเทพมหานคร : เจริญกิจ, 

๒๕๕๐), หนา ๑๓๐. 

Page 121: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

๑๐๖

อยางไรก็ดี เม่ือจําเลยถูกจําคุกตามหมายจําคุกแลว จําเลยก็ยังมีสิทธิรองขอใหปลอยชั่วคราวในระหวางอุทธรณฎีกาได รวมท้ังคําพิพากษาหรือคําส่ังซ่ึงไดอานในศาลโดยเปดเผยแลวยอมมีผลบังคับในทันที ซ่ึงคูความหรือผูมีประโยชนเก่ียวของยอมขอคัดสําเนาคําพิพากษาไปได แผนภูมิท่ี ๓ ตารางเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกตางระหวางกฎนิคหกรรมของมหาเถรสมาคมกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

กฎนิคหกรรมของมหาเถรสมาคม ฯ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

๑. องคประกอบของการฟอง ๑.๑ ผูย่ืนฟอง ไดแก ผูมีสวนไดเสีย ผูเสียหาย

ผูกลาวหา ผูแจงความผิด ๑.๒ ผูพิจารณาเบื้องตน ไดแก เจาอาวาสหรือ เจาคณะปกครอง ชั้นตน ๑.๓ องคคณะผูพิจารณา

องคคณะผูพิจารณาชั้นตน องคคณะ ผูพิจารณาช้ันอุทธรณ และองคคณะ ผูพิจารณาช้ันฎีกา

๑. องคประกอบของการฟอง ๑.๑ ผูย่ืนฟอง ไดแก ผูเสียหาย พนักงานอัยการ

๑.๒ ผูพิจารณาเบ้ืองตน ไดแก ผูพิพากษาศาลชั้นตน

๑.๓ องคคณะผูพิพากษา องคคณะผูพิพากษาช้ันตน องคคณะ ผูพิพากษาช้ันอุทธรณ และองคคณะ

ผูพิพากษาชั้นฎีกา

๒. ข้ันตอนไตสวนมูลฟองและพิจารณา ๒.๑ ตรวจดูคําฟอง ผูพิจารณาตรวจดูคําฟอง แลวมีคําส่ังรับฟองหรือไมรับฟอง ๒.๒ หากรับฟอง ใ ห มี ก า ร ใ ต ส ว น มู ล ฟ อ ง จ า กพยานหลักฐาน วาการกระทําของจําเลยมีความผิดหรือไม ถาผิดก็พิพากษาไดเลย

๒. ข้ันตอนการไตสวนมูลฟองและพิจารณา ๒.๑ ตรวจดูคําฟอง ผูพิพากษาตรวจดูคําฟอง แลวมีคําส่ังรับฟองหรือไมรับฟอง ๒.๒ หากรับฟอง ๑. ผูฟองเปนอัยการ ไมตองมีการใต สวน โดย ให สื บพย านจ า กพย านห ลั ก ฐาน วาการกระทําของจํ า เลยมีความผิด หรือไม ถาผิดก็พิพากษาไดเลย

Page 122: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

๑๐๗

กฎนิคหกรรมของมหาเถรสมาคม ฯ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

วิธีปฏิบัติในการไตสวนมูลฟอง ดังน้ี (ก) การไตสวนมูลฟองใหกระทําเปนการลับ (ข) หามมิใหบุคคลผูไมมีสวนเก่ียวของเขาไปในบริเวณท่ีทําการไตสวน

๒. ผูฟองไมเปนอัยการ ตองมีการใต สวน ถามีมูล จึงใหสืบพยานจากพยาน ห ลั ก ฐ า น ว า ก า ร ก ร ะ ทํ า ข อ ง จํ า เ ล ย มี ความผิดหรือไม ถาผิดก็พิพากษาไดเลย

๓. ประเภทของพยานหลักฐาน พยานหลักฐานแบงออกเปน ๔ ประเภทดังน้ี ๑. พยานบุคคล ๒. พยานเอกสาร ๓. พยานวัตถุ ๔ พยานผูเช่ียวชาญ ผูพิจารณาไมมีอํานาจออกหมายเรียกพยานตางๆ ได

๓. ประเภทของพยานหลักฐาน พยานหลักฐานแบงออกเปน ๔ ประเภทดังน้ี ๑. พยานบุคคล ๒. พยานเอกสาร ๓. พยานวัตถุ ๔ พยานผูเชี่ยวชาญ ผูพิพากษามีอํานาจออกหมายเรียกพยานตางๆ ได

๔. วิธีบังคับตามคําวินิจฉัย เ ม่ือ จํา เลยรูปใดตอง คําวิ นิจ ฉัยให รับนิคหกรรมอยางใดอยางหน่ึงถึงท่ีสุดแลวใหคณะผูพิจารณาซึ่งอานคําวินิจฉัย แจงผลคําวินิจฉัยแกผูบังคับบัญชาใกลชิดของจําเลยรูปน้ันทราบเพ่ือดําเนินการใหเปนไปตามคําวินิจฉัยน้ัน

๔. วิธีบังคับตามคําวินิจฉัย การอานคําพิพากษาตองอานใหคูความฟงแลวใหคูความลงลายมือช่ือไว ถาศาลเห็นวา จําเลยมิไดกระทําผิดใหศาลยกฟองโจทกปลอยจําเลยไป แตหากจําเลยกระทําผิดใหศาลมีคําพิพากษาลงโทษจําเลยตามความผิดน้ัน

Page 123: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

๑๐๘

เม่ือไดศึกษาเปรียบเทียบหลักการลงโทษผูกระทําผิดในพุทธศาสนาเถรวาทกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและประมวลกฎหมายอาญา ในประเด็นอธิกรณและวิธีระงับอธิกรณแลว พบวามีความเหมือนกันและความแตกตางกัน ๔ ประการคือ (๑) กระบวนการฟอง (๒) กระบวนการพิจารณา (๓) กระบวนการพิพากษา (๔) กระบวนการระงับโทษ และในประเด็นกฎนิคหกรรมของมหาเถรสมาคม ฉบับท่ี ๑๑ พ.ศ. ๒๕๒๑ วาดวยการลงนิคหกรรมตามพระราชบัญญัติคณะสงฆพ.ศ. ๒๕๐๕ แกไขเพ่ิมเติม (ฉบับท่ี ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ พบวามีความเหมือนและความแตกตางกัน ๔ ประการคือ (๑) องคประกอบของการฟอง (๒) ขั้นตอนการพิจารณา (๓) ประเภทของพยานหลักฐาน (๔) วิธีบังคับตามคําวินิจฉัย สวนรูปแบบการลงโทษผูกระทําผิดท่ีเหมาะสมและยุติธรรมกับสังคมสงฆและสังคมไทยจะขอกลาวโดยละเอียดในบทตอไป

Page 124: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

บทท่ี ๕ รูปแบบการลงโทษผูกระทําผดิท่ีเหมาะสมและยุติธรรม

หลักการลงโทษผูกระทําผิดตามประมวลกฎหมายอาญาและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา แมจะมีขั้นตอนปฎิบัติท่ีซับซอนในการไตสวนมูลฟอง การสืบพยานหลักฐาน การออกหมายเรียกพยาน การซักถามคูกรณี การพิจารณาและการพิพากษาท่ีดําเนินการมาจากพนักงานสอบสวน ทนายความ พนักงานอัยการ จนทําใหไดมาซ่ึงขอเท็จจริงในการพิจารณาพิพากษาคดีของทางฝายอาณาจักรตามท่ีไดอธิบายมาแลวในบทขางตนน้ันก็ยังตองมีการแกไขปรับปรุงอยูอีกจากกรณีตัวอยางคดีของนางสาวเชอร่ี แอน ดันแคน ท่ีเดิมท่ีศาลชั้นตนไดมีคําพิพากษาลงโทษประหารชีวิตผูบริสุทธ์ิที่เปนแพะรับบาปจํานวน ๔ คน ถึงแมอีก ๗ ปตอมาศาลฎีกาจะพิพากษาวาเปนผูบริสุทธ์ิก็เทียบไมไดเลยกับวิบากกรรมและความสูญเสียท่ีไดรับจากความบกพรองของระบบการดําเนินคดีอาญาขางตน ในทางกลับกันอธิกรณและวิธีระงับอธิกรณท่ี พระพุทธเจาไดบัญญัติขึ้นมาเพ่ือเปนขอปฏิบัติเพ่ือระงับความขัดแยงและเปนหลักการลงโทษผูกระทําผิดท่ีเกิดขึ้นในสังคมสงฆน้ัน แมมิไดเก่ียวของกับคฤหัสถแตพระองคไมไดตรัสหามวาหลักการบางอยางน้ันไมสามารถประยุกตรูปแบบไปใชไดกับสังคมคฤหัสถได หลักการน้ีเปนหลักการท่ีมีการผสมผสานระหวางวิถีโลกกับวิถีธรรมเขาดวยกันเปนหลักการลงโทษผูกระทําผิดท่ีทําใหเกิดความยุติธรรมดังท่ีกษัตยลิจฉวีเคยนํามาใชปฏิบัติในสมัยพระองค ซ่ึงเม่ือศึกษาแลวผูวิจัยพบวารูปแบบหลักการและกระบวนการลงโทษผูกระทําผิดท่ีเหมาะสมและยุติธรรมในสมัยปจจุบันแบงไดเปน ๒ รูปแบบคือ (๑) รูปแบบการลงโทษผูกระทําผิดท่ีเหมาะสมและยุติธรรมกับสังคมสงฆ (๒) รูปแบบการลงโทษผูกระทําผิดท่ีเหมาะสมและยุติธรรมกับสังคมไทย ดังมีรายละเอียดตอไปน้ี ๕.๑ รูปแบบการลงโทษผูกระทําผิดท่ีเหมาะสมและยุติธรรมกับสังคมสงฆ

๑. สัมมุขาวินัย เปนการจัดการความขัดแยงในท่ีพรอมหนาหรือวิธีระงับตอหนา เปนการระงับอธิกรณ

หรือความขัดแยงในมิติตาง ๆ เชน การบาดหมาง และการทะเลาะวิวาทของคูกรณีท่ีอยูพรอมหนากันตอหนาสังฆสภา คณะบุคคลสอด คลองไดกับการพิจารณาคดีของศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

Page 125: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

๑๑๐

สําหรับวิธีการท่ีจะใชระงับอธิกรณตามนัยของสัมมุขาวินัยน้ีคูกรณีสามารถท่ีจะเลือกใชได ๓ วิธี คือ การตกลงกันเองระหวางคูกรณี คูกรณีสามารถเลือกผูวินิจฉัยเพ่ือดําเนินการไกลเกล่ีย และคูกรณีสามารถใชอาํนาจของสังฆสภาพิจารณาตัดสินก็ได

(ก) การเจรจาไกลเกล่ียกันเองระหวางคูกรณี กลุมพระภิกษุท่ีนําขอปฏิบัติหรือวิธีการน้ีไปจัดการความขัดแยงคือพระภิกษุเมืองโกสัมพี จากการศึกษาพบวา พระธรรมธรไดตระหนักรูวาน่ันเปนอาบัติ น่ันไมเปนอาบัติหามิได เราตองอาบัติ เราไมตองอาบัติหามิได และการท่ีพระวินัยธรพรอมคณะสงฆบางสวนลงอุกเขปนียกรรมยอมจัดไดวา เปนการชอบธรรม และเหมาะสม๑ พระธรรมธรไดนําประเด็นน้ีไปปรึกษากับพระภิกษุท่ีประพฤติตามตนเอง และยอมรับความผิดพลาดและขอบกพรองท่ีเกิดขึ้น หลังจากน้ันกระบวนการเจรจาไกลเกล่ียกันเองจึงเกิดขึ้น เม่ือภิกษุฝายพระธรรมธรเขาไปเจรจากับฝายพระวินัยธรโดยยกเหตุผลข้ึนมาอางวา ทานท้ังหลายความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแกงแยง ความวิวาท ความแตกแยกแหงสงฆ...ไดมีแลวเพราะเร่ืองใด ภิกษุรูปน้ัน... เห็นอาบัติแลว เอาละพวกเราจะทําสังฆสามัคคีเพ่ือระงับเร่ืองน้ัน๒ จะเห็นวา การแสดงออกในลักษณะน้ี เปนการสรางทางเลือก หรือนําเสนอทางเลือกท่ีดีท่ีสุด ( Best Alternative) ท่ีพระภิกษุฝายพระธรรมธรไดนําเสนอแกฝายพระวินัยธรเพ่ือหาทางออกใหแกขอขัดแยง ดังกลาวขางตน เน่ืองจากวาแนวทางการแกปญหาแบบเดิมคือการใชความรุนแรงดวยการดา และทุบตีกันน้ันมิใชทางเลือกท่ีดีท่ีสุด ในการสรางความสมานฉันท ผลสรุปท่ีไดจากการเจรจาไกลเกล่ียกันเองแบบ ทวิภาคี ก็คือ ความสมนัยทางความเห็นและความประพฤติ ของพระภิกษุท้ังสองฝาย ดวยเหตุน้ีพระภิกษุฝายพระวินัยธรจึงไดนําผลท่ีไดจากการเจรจาสองฝายไปปรึกษากับพระพุทธเจา พระองคทรงเห็นดวยกับปฏิญญาดังกลาว และใหประกาศปฏิญญาท่ีวาดวย สังฆสามัคคี ตอหนาพระสงฆท้ังมวลท่ีอยูในกรุงโกสัมพีและประกาศใหชาวโกสัมพีไดทราบถึง ความสมานฉันท ระหวางพระภิกษุท้ังสองกลุม จุดเดนของวิธีการน้ีคือการท่ีคนท้ังสองกลุมไดตระหนักดวยตัวเองเก่ียวกับพิษภัยของความขัดแยงท่ีเกิดข้ึน โดยเฉพาะอยางย่ิงการเลือกแนวทางความรุนแรงเขามาแกปญหาในเบ้ืองตน แตการแกปญหาในลักษณะดังกลาวกลับพบทางตีบตัน เพราะการใชไฟดับไฟ ไฟก็จะลุกลามอยางตอเน่ืองและรวดเร็ว แตเมื่อท้ังคูไดตระหนักวาการดับไฟท่ีถูกตองควรใชนํ้าดับ ดวยเหตุน้ีจึงเปนท่ีมาของการหาทางออกในการจัดการความขัดแยง ส่ิงท่ีถือไดวาเปนหัวใจสําคัญของวิธีการน้ีคือการจัดการกับทิฏฐิ และมานะของคูกรณีเพราะเมื่อใดก็ตามที่คูกรณียังมองเห็นวา

๑ วิ.ม. (ไทย) ๕/๔๗๔/๓๖๘. ๒ วิ.ม. (ไทย) ๕/๔๗๕/๓๖๘.

Page 126: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

๑๑๑ ตัวเองถูก แตคนอ่ืนผิด ก็จะทําใหบรรยากาศของการเจรจาไกลเกล่ียกันเองเพ่ือหาออกพบกับความลมเหลว ฉะน้ันการท่ีพระภิกษุฝายพระธรรมธร และฝายพระวินัยธรคนพบทางออกในลักษณะน้ีจุดเริ่มตนจึงอยูท่ีการขามพนหลุมพรางแหงทิฏฐิ และมานะ น่ันเอง

(ข) คูกรณีสามารถเลือกผูวินิจฉัยเพ่ือดําเนินการไกลเกล่ีย วิธีน้ีคูกรณีสามารถเลือกผูวินิจฉัยท่ีคูกรณีมองวามีความนาเชื่อถือ มีความเหมาะสม และเปนธรรม ซ่ึงอาจจะเลือกผูวินิจฉัยท่ีเปนพระเถระรูปเดียว สองรูป สามรูป หรือเปนมากกวา จนกลายเปนองคคณะก็ได๓ พระเถระเหลาน้ันท่ีไดรับเลือกใหเปนผูวินิจฉัยจะวิเคราะหถึงความเปนไปไดวาตนเองพรอมหรือไม มีความเช่ียวชาญในอธิกรณดังกลาวหรือไม ถาปรึกษาหารือกันแลวพระเถระมีความมั่นใจในการตัดสินอธิกรณดังกลาวจะแจงใหคูกรณีไดทราบวาพวกเราสามารถระงับอธิกรณน้ีไดโดยธรรม โดยวินัย และโดยสัตถุศาสน ในขณะเดียวกันเง่ือนไขคือถาพวกทานจักแจงอธิกรณท่ีเกิดขึ้นตามความเปนจริง...พวกเราจัก (ชวย) ระงับอธิกรณน้ัน แตถาไมแจงตามท่ีเกิดข้ึน... พวกเราจักไม (ชวย) ระงับอธิกรณน้ี๔ เม่ือคูกรณีใหคําปฏิญญาแกพระเถระวา ยอมรับ และมอบอธิกรณ หรือช้ีแจงความขัดแยงของคูกรณีท่ีเกิดขึ้นแกพระเถระแลว ข้ันตอนในการจัดการความขัดแยงจึงเกิดขึ้น การวินิจฉัยอธิกรณของพระเถระที่ไดรับเลือกใหเปนผูวินิจฉัยน้ันตองเปนการวินิจวินิจฉัยท่ีเด็ดขาดและถึงท่ีสุดของการใหคําตัดสิน เพราะไมวาผลจะออกมาอยางไร คูกรณีจะตองยอมรับและปฏิบัติตามผลการตัดสินดังกลาวดวย ดังจะเห็นไดจากกรณีท่ีพระภิกษุในกรุงสาวัตถีท่ีเปนคูกรณีกันไดนําอธิกรณท่ีเกิดข้ึนไปใหพระเถระเปนองคคณะบาง สองรูปบาง สามรูปบางตัดสิน แตเม่ือท้ังคูไมพอใจคําตัดสินจะนําความไปกราบทูลพระพุทธเจา พระองคจึงตรัสวา อธิกรณท่ีพิจารณาแลวเปนอันระงับระงับดีแลว๕ ถาอธิกรณดังกลาวระงับดีแลว หรือไดรับการตัดสินอยางบริสุทธ์ิยุติธรรมแลว พระภิกษุรื้อฟนอธิกรณขึ้นมาใหม ภิกษุรูปน้ันตองอาบัติปาจิตตีย๖ ประเด็นปญหาคือคําวา บริสุทธ์ิยุติธรรม หรือ อธิกรณระงับดีแลว คําวาระงับดีแลว ในบริบทน้ีหมายถึงอะไร แลวพระองคเอาอะไรเปนตัวช้ีวัด ในประเด็นน้ีพระองคไดใชคําวา “สัมมุขาวินัยโดยธรรม” เกณฑท่ีนํามาตัดสินคือ คําวาความพรอมหนาน้ัน หมายถึงตองพรอมหนาดวย ธรรมวาทีบุคคล ธรรมวาทีคณะ และธรรมวาทีสงฆเทาน้ัน จึงเรียกไดวาเปนความพรอมหนาโดยธรรมเพราะหากเปนเชนน้ี การวินิจฉัย หรือ

๓ วิ.ม. (ไทย) ๕/๒๓๐/๓๔๗. ๔ วิ.ม. (ไทย) ๕/๒๓๐/๓๔๗-๓๔๘. ๕ วิ.ม. (ไทย) ๕/๒๓๕/๓๕๔-๓๕๕. ๖ วิ.ม. (ไทย) ๕/๒๓๐/๓๔๘.

Page 127: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

๑๑๒ ตัดสินอธิกรณยอมบริสุทธ์ิยุติธรรมดังท่ีพระองคใชคําวาสงบดีแลว แตหากเปนไปในทิศทางตรงกันขาม พระพุทธเจาอนุญาตให “รื้อคดี” หรือ “รื้ออธิกรณ” หมายถึง“การอุทธรณ” ขึ้นมาเพ่ือนําไปสูการตั้งองคคณะตัดสินใหมได โดยไมอาบัติแตประการใด

(ค) คูกรณีสามารถนําอธิกรณขึ้นสูสังฆสภาเพ่ือดําเนินการตัดสิน กรณีศึกษาท่ีเก่ียวกับการท่ีคูกรณีเกิดความขัดแยงจนนําไปสูการนําอธิกรณขึ้นสูสังฆสภาเพ่ือตัดสิน และวินิจฉัย “ความถูกผิด” น้ี สามารถวิเคราะหไดจากกรณีศึกษาใน ๒ กรณีใหญๆ ดวยกันกลาวคือ กรณีขอพิพาทท่ีเก่ียวกับพระวินัย และขอพิพาทท่ีเก่ียวกับธรรม

(๑) ขอพิพาทท่ีเก่ียวกับพระวินัย ประเด็นน้ีสามารถศึกษาไดจากกรณีการทําสังคายนาคร้ังท่ี ๒ คูกรณีท่ีมีขอพิพาทกันในเบ้ืองตนคือ “พระยสกากัณฑกบุตร” และ“กลุมพระภิกษุ วัชชีบุตรแหงเมืองเวสาลี” ประเด็นท่ีนําไปสูขอพิพาทก็คือ “วัตถุ ๑๐ ประการ” โดยท่ีพระ ยสกากัณฑกบุตรมองวา “ผิดวินัย” และไดกลาวเตือนประชาชนวา “ไมถูกตอง” แตกลุมพระภิกษุวัชชีบุตรมองวา “ไมผิดวินัย” ทานจึงนําประเด็นดังกลาวไปปรึกษาหารือกับพระภิกษุชาวเมืองปาเฐยยะ พระสัพพกามี พระสัมภูตสาณวาสี และพระเรวตะ เปนตน เพ่ือใหพระสงฆไดนําประเด็นขอพิพาทดังกลาวเขาสู “สังฆสภา” เพ่ือวินิจฉัยและระงับขอพิพาทดังกลาว พระเรวตะเปนผูนําการวินิจฉัยไดขอใหสงฆระงับอธิกรณดวยการใช “อุพพาหิกวิธี” เพราะกลุมพระสงฆมีขนาดใหญ จึงไดยินเสียงถอยคําของประเด็นตางๆ ไมชัดเจน อีกท้ังไมทราบความหมายของถอยคําตาง ๆ เม่ือ “สังฆสภา” อนุญาต ทานจึงเริ่มกระบวนการสอบถามประเด็นตางๆ ในคณะอนุกรรมการท่ีไดรับการแตงต้ังจากสงฆกลุมใหญ หลังจากน้ันจึงไดนําประเด็นท่ีไดจากการ “สานเสวนา” ในชุดของคณะอนุกรรมการ ไปเสนอตอ “สังฆสภา” เพ่ือลง “ฉันทามติ” โดยใชหลักการ “อุพพาหิกวิธี” บทสรุปดังกลาวทําใหขอพิพาทระหวางพระยสกากัณฑกบุตร และกลุมพระภิกษุวัชชีบุตรไดบทสรุปอยางชัดเจน ซ่ึงกระบวนการน้ีเปนการอาศัยชองทางของ สังฆสภาเขามามีสวนสําคัญในการตัดสินอธิกรณ

(๒) ขอพิพาทเก่ียวกับพระธรรม ประเด็นน้ีสามารถศึกษาไดจาก “อลคัททูปมสูตร”๗ คูกรณีท่ีมีสวนไดสวนเสียโดยตรงคือ “พระอริฏฐะ และพระภิกษุหลายรูป” ประเด็นท่ีกอใหเกิดความขัดแยงคือการท่ีพระอริฏฐะมีความเห็นวา “เรารูท่ัวถึงธรรมท่ีพระผูมีพระภาคทรงแสดงแลว จนกระท่ังวาธรรมตามที่พระผูมีพระภาคตรัสวา เปนธรรมกอ

๗ ม.มู. (ไทย) ๑๒/๒๓๔-๒๔๘/๒๔๕-๒๖๗.

Page 128: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

๑๑๓

อันตราย ก็หาสามารถกออันตรายแกผูซองเสพไดจริงไม” พระภิกษุจํานวนมากพยายาม “แลกเปล่ียนเรียนรู” และ “นําเสนอขอมูลท่ีเปนจริง” แตก็ไมสามารถท่ีจะทําใหพระอริฏฐะคลายจากความคิดเห็นได พระภิกษุท้ังหลายจึงนําประเด็นน้ีไปกราบทูลพระพุทธเจา พระองคอาศัยเหตุดังกลาวประชุมสงฆเพ่ือสอบถามประเด็นท่ีเกิดข้ึน ส่ิงท่ีนาสนใจคือ วิธีการแกไขอธิกรณในทามกลางสงฆน้ัน พระองคจะพยายามถามพระสงฆท่ีมาประชุมกันวา ทุกรูปเขาใจวาอยางไร หลังจากน้ัน จึงตรัสถึงขอเท็จจริงในทามกลางสงฆ และหลังจากน้ัน ท่ีประชุมสงฆนําโดยพระพุทธเจาก็ไดลง “นิคหกรรม” แกพระอริฏฐะเหลาน้ีคือตัวอยางท่ีนาสนใจวา เม่ือเกิดขอขัดแยงระหวางคูกรณีท่ีเปนพระภิกษุในกลุมตางๆ แลวไมสามารถหาทางออกดวยวิธีการเจรจาไกลเกล่ียกันเอง หรือต้ังคณะผูวินิจฉัยขึ้นมาเพ่ือพิจารณาอธิกรณ จึงนําประเด็นดังกลาวเขาสู “สังฆสภา” เพ่ือตัดสินอธิกรณตอไป อยางไรก็ตาม การนําอธิกรณขึ้นสูศาลสงฆ หรือสังฆสภาน้ัน “สังฆสภา” อาจจะไมวินิจฉัยเองก็ได อาจจะเลือกพระภิกษุบางรูปในหมูเพ่ือแยกอธิกรณไปวินิจฉัยตางหาก วิธีการน้ีเรียกวา “อุพพาหิกวิธี”๘ เปนการต้ัง “คณะอนุกรรมการ” เพ่ือศึกษาวิเคราะหสืบสวน สอบสวนขอมูล หรือพยานตางๆ จนครบถวนแลว จึงนําคดีกลับไปนําเสนอตอสังฆสภา เพ่ือใหสงฆลงมติอีกครั้งหน่ึง ดังจะเห็นไดจากกรณีของการทําสังคายนาคร้ังท่ีสองท่ีพระเรวตะไดขอใหสงฆอนุญาตวิธีการดังกลาว ดวยเหตุผลวาไมสะดวกในการวินิจฉัยเพราะเกิดความพลุกพลาน เสียงดัง เปนตน แตผูวิจัยมองวา การทําดังกลาวจะทําใหเกิดการคลองตัวในการพิจารณามากย่ิงขึ้นประเด็นท่ีนาสนใจก็คือ การท่ีพระภิกษุจะรวมอยูในองคคณะดังกลาวน้ันตองประกอบไปดวย คุณสมบัติ ๑๐ ประการ คือ

(๑) เปนผูมีศีล (๒) เปนพหูสูต (๓) เปนผูทรงปาติโมกข (๔) เปนผูตั้งม่ันในพระธรรมวินัย ไมคลอนแคลน

๘ อุพพาหิกวิธี คือ วิธีระงับวิวาทธิกรณ ในกรณีที่ประชุมสงฆมีความไมสะดวกดวยเหตุบางประการ

สงฆจึงเลือกภิกษุบางรูปในท่ีประชุมนั้น ตั้งเป นคณะแลวมอบเรื่องใหนําไปวินิจฉัย วิ.จู. (ไทย) ๖/๒๓๑-๒๓๓/๓๔๙/๓๕๒.

Page 129: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

๑๑๔

(๕) เปนผูอาจชี้แจงใหคูตอสูในอธิกรณยินยอม เขาใจ เพง เห็น เล่ือมใส

(๖) เปนผูฉลาดเพ่ือยังอธิกรณอันเกิดขึ้นใหระงับ (๗) รูอธิกรณ (๘) รูเหตุเกิดอธิกรณ (๙) รูความระงับอธิกรณ (๑๐) รูทางระงับอธิกรณ

อยางไรก็ตาม เมื่อเขาสูกระบวนการพิจารณาเพ่ือวินิจฉัยอธิกรณ หากพระภิกษุรูปใดรูปหน่ึงซึ่งไดรับการแตงต้ังจาก “สังฆสภา” ไมมีความเชี่ยวชาญ หรือแมนยําในส่ิงท่ีตัวเองตัดสินอันอาจจะกอใหเกิดการพิจารณาท่ีผิดพลาดได พระสงฆท่ีอยูในองคคณะอาจจะขอใหถอนออกจากคณะผูพิจารณาได

ส่ิงสําคัญคือ การลงโทษผูกระทําผิดในพุทธศาสนาเถรวาทท่ีจะกลาวตอไปน้ัน จะตองมี

“สัมมุขาวินัย” อยูรวมดวยเสมอ สอดรับกับประเด็นท่ีพระพุทธเจาทรงยํ้าวา “หามพระสงฆระงับความขัดแยงลับหลัง” หรือ “ลงโทษลับหลัง”

๒. สติวินัย ตนกําเนิดของการให “สติวินัย” น้ี เกิดจากการท่ีพระเมตติยะ และพระภุมมชกะซ่ึงเปน

พระบวชใหมเขาใจผิดคิดวาพระทัพพมัลลบุตรซ่ึงไดรับการแตงต้ังจากสงฆใหเปนผูจัดแจงเสนาสนะ (เสนาสนปญญาปกะ) จัดกิจนิมนต (ภัตตุทเทสกะ) กล่ันแกลง และใสรายจนทําใหเศรษฐีถวายปลายขาว และนํ้าผักดองอันเปนอาหารท่ีไมประณีต และตนเองไมชอบ ไดขอรองใหเมตติยาภิกษุณีใสรายวาถูกพระมัลลทัพพบุตรขมขืน” พระภิกษุท้ังสองรูปพรอมดวยเมตติยาภิกษุณีนําประเด็นน้ีไปฟองพระพุทธเจา พระองคจึงส่ังใหประชุมสงฆท้ังหมดเพ่ือพิจารณาตัดสินอธิกรณดังกลาว การพิจารณาอธิกรณน้ี พระทัพพมัลลบุตรใหการวา “ขาพระองคไมรูจักการเสพเมถุนแมในความฝน ไมจําตองกลาวถึงเมื่อตอนตื่นอยู” ดวยเหตุดังกลาว พระพุทธเจาจึงไดตัดสินใหเมตติยาภิกษุณีสึก และส่ังใหลงโทษนิคหกรรมแกพระเมตติยะและภุมมชกะท้ังสองรูปในขอหาโจทพระภิกษุรูปอื่นโดยไมมีมูล หลังจากน้ัน พระสงฆจึงให “สติวินัย” ตามพระดํารัสของพระพุทธเจา โดยใหพระทัพพมัลลบุตรเขาไปหาสงฆและแจงแกสงฆเปนจํานวน ๓ คร้ังวา ทานไมไดกระทําผิดตามขอกลาวหาของโจทก พระสงฆใน “สังฆสภา” ไดรวมกันประกาศคืนความชอบธรรมโดยการ

Page 130: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

๑๑๕ ประกาศใน “สังฆสภา” เปนจํานวน ๓ คร้ังวา พระทัพพมัลลบุตรถึงความไพบูลยดวยสติไมไดผิดตามขอกลาวหาของโจทกแตประการใด

ประเด็นท่ีนาสนใจในการระงับอธิกรณดวย “สติวินัย” ก็คือ “สังฆสภา” สามารถใชวิธีน้ีแกพระขีณาสพเทาน้ัน ไมสามารถท่ีจะใหแกพระภิกษุรูปอื่น ๆ ได เหตุผลสําคัญคือพระอรหันตไมอยูในฐานะท่ีจําเลยจะไปลวงละเมิด และหากมีการฟองรอง หรือกลาวหาอีกก็ไมจําเปนท่ีจะนําอธิกรณดังกลาวมาสู “สังฆสภา” อีก

๓. อมูฬหวินัย ท่ีมาของการยกประโยชนใหแกจําเลยน้ัน มีจุดเริ่มตนจากการท่ีพระภิกษุกลุมหน่ึงไดจะ

โจท “พระคัคคะ”๙ ในชวงเวลาท่ีทานเปนบา แตทานพยายามช้ีแจงวา “การประพฤติละเมิดส่ิงท่ีไมสมควรแกสมณะเปนอาจิณมากมาย ท้ังท่ีกลาวดวยวาจา และพยายามทําดวยกาย” น้ัน เปนส่ิงท่ีทาน “ระลึกอาบัติเหลาน้ันไมได” เพราะ “ทานมีอาการเปนบาจึงไดทําส่ิงตาง ๆเหลาน้ัน” เม่ือพระสงฆนําประเด็นดังกลาวไปปรึกษาพระพุทธเจา พระองคทรงตําหนิกลุมพระภิกษุท่ีพากันโจทพระคัคคะ หลังจากน้ัน พระองคจึงจัดการความขัดแยงดวย “อมูฬหวินัย” โดยพระคัคคะเขาไปประกาศทามกลางสงฆวาเก่ียวกับประเด็นตาง ๆ ที่เกิดขึ้น และขอใหสงฆไดยกประโยชนแกทานในฐานะท่ีผิดวินัยเพราะทานเปนบา พระสงฆท้ังหมดใน “สังฆสภา” จึงประกาศยกประโยชนใหแกจําเลย ๓ คร้ัง ทามกลางสงฆวา “พระคัคคะไมเปนอาบัติเพราะทานตองอาบัติในขณะเปนบา”

๔. ปฏิญญาตกรณะ กระบวนการระงับอธิกรณในกรณีเม่ือพระภิกษุผูถูกกลาวหายอมรับวาตัวเองไดกระทํา

ผิดตามท่ีถูกกลาวหา๑๐ หมายความวา การระงับอธิกรณตามคํารับของจําเลยในประเด็นน้ีอาจแยกออก ๒ กรณีคือ (ก) การท่ีพระภิกษุรูปใดรูปหน่ึง ระลึกไดวาวา ตัวเองตอง “ลหุกาบัติ” ขอใดขอหน่ึง จึงไดเขาไปหาสงฆแลวขอปลงอาบัติ ซ่ึงคําวา “สงฆ” ในบริบทน้ี หมายถึง “ปุคคลสัมมุขตา” กลาวคือ “ผูแสดงอาบัติ และผูรับอยูพรอมหนากัน” ดังท่ีพระอรรกถาจารยไดกลาววา “ทานขอรับ ผมตองอาบัติชื่อน้ี ดังน้ี และวา ขอรับผมเห็นอาบัติ” ขอน้ีก็จัดไดวาเปนการระงับอธิกรณตามท่ีพระภิกษุไดรับสารภาพขอท่ี ๑ (ข) กรณีท่ีพระภิกษุรูปใดรูปหน่ึงตองอาบัติและจําไมได หรือไมรูวา

๙ วิ.จู. (บาลี) ๖/๑๙๙/๓๑๔-๓๑๕. ๑๐ วิ.จู. (บาลี) ๖/๑๙๖-๑๙๙/๓๐๙-๓๐๕.

Page 131: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

๑๑๖ ตัวเองเปนอาบัติ จึงถูกโจทวาตองอาบัติขอใดขอหน่ึง และพระภิกษุรูปท่ีตองอาบัติยอมรับวาตัวเองตองอาบัติตามท่ีถูกโจทจริง พระสงฆจึงไดปรับอาบัติตามท่ีเธอยอมรับ ถาหากเปนอาบัติหนัก สงฆจะใหพระภิกษุรูปน้ันไปอยูปริวาสกรรม และหากตองอาบัติเบาสงฆจะใหปลงอาบัติ อธิกรณจึงระงับไป ดังท่ีพระอรรกถาจารยไดกลาววา “การขออยูปริวาส เปนตน ในอาบัติสังฆาทิเสส และการใหปริวาสเปนตนตามคํารับสารภาพ” ขอน้ีจัดไดวาเปนการระงับอธิกรณตามท่ีพระภิกษุไดรับสารภาพขอท่ี ๒ พระภิกษุฉัพพัคคียไดพากันลงตัชชนียธรรม นิยสกรรม ปพพาชนียกรรม ปฏิสารณียกรรม และอุกเขปนียกรรมแกภิกษุ “ท่ียังมิไดรับสารภาพ” ทําใหภิกษุกลุมหน่ึงท่ียึดมั่นในความยุติธรรมมีความเห็นวาการกระทําดังกลาว “ไมไดรับความเปนธรรม” จึงนําประเด็นน้ีไปปรึกษากับพระพุทธเจา พระองคทรงเห็นดวย และทรงช้ีวา “การกระทําของโมฆบุรุษเหลาน้ัน ไมสมควร ไมคลอยตาม ไมเหมาะ ไมใชกิจสมณะ ใชไมได ไมควรทําเลย” ฉะน้ัน“ภิกษุไมพึงลงตัชชนียกรรม... แกภิกษุท้ังหลายผูท่ียังไมไดรับสารภาพ รูปใดลง ตองอาบัติทุกกฎ” อยางไรก็ตาม พระพุทธเจาทรงชี้วา การระงับดวยวิธีปฏิญญาตกรณะขาดความชอบธรรม หากพระภิกษุรูปใดรูปหน่ึงถูกโจทดวยอาบัติขอใดขอหน่ึงแลวไมยอมรับในขอท่ีถูกโจทและไปยอมรับในขออื่น ๆ ท่ีสงฆ หรือพระภิกษุไมไดโจท ฉะน้ัน สาระสําคัญก็คือหากพระภิกษุท่ีถูกโจท รับวาเปนอาบัติตามท่ีถูกโจทในขอใด ก็ใหปรับอาบัติตามท่ีรับเทาน้ัน จะปรับอาบัตินอกเหนือจากน้ันไมได เพราะจะขาดความชอบธรรมในวิธีระงับอธิกรณในขอน้ี

๕. เยภุยยสิกา คําวา “เยภุยยสิกา” หมายถึง “การกระทํากรรมโดยเสียงขางมาก” การนิยามในลักษณะน้ี

ทําใหเกิดคําถามวา “เสียงขางมาก” หมายถึงใคร และมีเทาไร จึงจะเรียกวา “มาก” พระอรรกถาจารยไดอธิบายคําวา “เสียงขางมาก” เอาไว ๒ แหงดวยกัน เน่ืองจากเกรงวาจะทําใหการตีความประเด็นดังกลาวคลาดเคล่ือนจาก “พุทธพจน” โดยช้ีใหเห็นวา“เสียงขางมาก” ในบริบทน้ี หมายถึงตองเปนพวกที่เปน “ธรรมวาที” เทาน้ัน หากมี “อธรรมวาที” มากกวา ไมจัดเปน “เสียงขางมาก” ในบริบทน้ี ดังคํายืนยันวา “ธรรมวาทีบุคคลแหงการกระทําใดใด เปนผูมากกวา การกระทําน้ันจึงช่ือวา เสียงขางมาก” (เยภุยยสิกา) คําถามท่ีวา “มีจํานวนเทาใด จึงจะจัดไดวา เสียงขางมาก หรือมากกวา" น้ัน ทานอธิบายวา “ภิกษุผูเปนธรรมวาทีเกินแมเพียงรูปเดียว ก็จัดเปนฝายมากกวาได ก็จะตองกลาวอะไรถึง ๒-๓ รูปเลา” ฉะน้ัน คําวา “มาก” ในบริบทน้ีจึงไมไดมุงไปท่ี “ปริมาณ” หากแตใหความสําคัญอยูท่ี “คุณภาพ” ของจํานวน ซึ่งเปนประเด็นท่ีนาสนใจมาก การตีความในลักษณะน้ีสอดรับกับพระพุทธเจาดังท่ีผูวิจัยจะนําเสนอในลําดับตอไป “ท่ีมา” ของการระงับอธิกรณดวย “วิธี

Page 132: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

๑๑๗ เยภุยยสิกา” น้ี เกิดขึ้นจากการท่ี “พระภิกษุสองกลุม บาดหมาง ทะเลาะวิวาทกัน ในทามกลางสงฆ กลาวเสียดสีกันดวยหอกคือปาก”๑๑ ซ่ึงการทะเลาะวิวาทกันดังกลาวทําใหไมสามารถหาบทสรุปเก่ียวกับ “อธิกรณ” ได พระองคจึงนําเสนอวิธีระงับอธิกรณในกรณีขั้นตน “สังฆสภา” ตองดําเนินการแตงต้ัง พระภิกษุท่ีเพียบพรอมดวยคุณสมบัติตอไปน้ีคือ (๑) ไมลําเอียงเพราะชอบ (๒) ไมลําเอียงเพราะชัง (๓) ไมลําเอียงเพราะหลง (๔) ไมลําเอียงเพราะกลัว (๕) รูจักสลากท่ีจับแลว และยังไมไดจับ การแตงตั้งน้ันตองไดรับ “ฉันทานุมัติ” จาก “สังฆสภา” ซ่ึงส่ิงท่ีจะช้ีวัดวาสังฆสภายอมรับหรือเห็นดวยหรือไม ตองประประเมินจาก “ความเงียบ” เปนเกณฑ ถาทุกรูปเงียบยอมถือไดวาเปนผานมติดังกลาวขอสังเกตท่ีนาสนใจอีกประการหน่ึงก็คือ กระบวนการในการโหวตน้ัน จะถือวา“เปนมติของสังฆสภา”๑๒ ไมได หาก “อธิกรณ” ท่ีนําไปสูการจับสลาก หรือการโหวตน้ันประกอบไปดวยประเด็นตางๆ ดังตอไปน้ี

(๑) อธิกรณเปนเรื่องเล็กนอย (๒) ไมลุกลามไปไกล

(๓) ภิกษุพวกน้ันระลึกไมไดเอง และพวกอ่ืนก็ใหระลึกไมได (๔) รูวา อธรรมวาทีมากกวา (๕) รูวา ไฉนอธรรมวาทีมีมากกวา (๖) รูวา สงฆจักแตกกัน (๗) รูวา ไฉนสงฆพึงแตกกัน (๘) อธรรมวาทีภิกษุจับสลากโดยไมชอบธรรม (๙) อธรรมวาทีภิกษุแบงพวกกันจับ (๑๐) ไมจับตามความเห็น

หากการจับสลากน้ันมีองคประกอบเหลาน้ีอยูในขณะมีการตัดสินอธิกรณกระบวนการท้ังหมดยอมจัดไดวาเปน “โมฆะ” จัดไดวาเปน “การจับสลากที่ไมชอบธรรม” ในทันที ฉะน้ัน จึงควรจัดใหมีกระบวนการในการสรรหาคณะกรรมการกลาง และดําเนินการจับสลากใหมอีกคร้ัง เม่ือ “สังฆสภา” ไดดําเนินการจับสลากในทิศทางตรงขามกับส่ิงท่ีไดนําเสนอมาแลวน้ัน ยอมจักถือวาการจับสลากดังกลาวน้ันเปน “การจับสลากที่ชอบธรรม” อธิกรณจึงไดช่ือวา “ยุติ” คําวา “จับสลาก” ในบริบทน้ี พระพุทธเจาทรงใหดําเนินการจัดการใน ๓ วิธีการดวยกัน กลาวคือ (๑) ปกปด (๒)

๑๑ ว.ิจ.ู (บาลี) ๖/๒๐๒/๓๑๙. ๑๒ วิ.จู. (บาลี) ๖/๒๓๕/๒๖๒-๓๖๓.

Page 133: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

๑๑๘ กระซิบบอก และ (๓) เปดเผย ตามความยินยอมของคูกรณี ท้ัง ๓ วิธีการน้ี วิธีท่ี ๑ และ ๒ พระพุทธเจาแนะนําใหใชในกรณีท่ี “สังฆสภา” น้ัน มี “อธรรมวาที” มากกวา สวนกรณีท่ี ๓ น้ันใหใชในกรณีท่ีมี “ธรรมวาทีภิกษุ” มากกวา ซ่ึงพระอรรถกถาจารยไดสนับสนุนประเด็นดังกลาววา “ในบริษัทท่ีหนาแนนดวยพวกอลัชชีพึงทําการจับสลากอยางปกปด ในบริษัทท่ีหนาแนนดวยพวกลัชชี พึงทําการจับสลากอยางเปดเผย และในบริษัทท่ีหนาแนนดวยภิกษุพาล พึงทําการจับสลากอยางกระซิบท่ีหู” ขอสังเกตท่ีนาสนใจเก่ียวกับ “กลยุทธแบบขาว” ของพระอรรถกถาจารยน้ัน ผูวิจัยไมคอย “ติดใจ” ในประเด็นท่ี ๒ อันเปนประเด็นท่ีวาดวยกรณีท่ีมีลัชชีมากกวา แตส่ิงท่ีควรตั้งขอสังเกตและวิเคราะหคือ ประเด็นท่ี ๑ และประเด็นท่ี ๓ วา เพราะเหตุไร จึงตองจําแนกบุคคลดังกลาวกับวิธีการท่ีใชในการจับสลาก ประเด็นท่ีวาดวยการ “ปกปด” ในขณะท่ี “สังฆสภา” มีจํานวนของ “อธรรมวาที” มากกวาน้ัน จากการศึกษาพบวา เปนการเล็งผลในเบ้ืองตนแลววา ถาดําเนินการอยางเปดเผยน้ัน ความพายแพยอมมีแก “ธรรมวาที” ฉะน้ัน การทําอยางปกปดยอมจะทําให “ธรรมวาที” ไดชองทางในการหาขออางเพ่ือทําใหผลของการลงมติพลิกกลับได ในขณะเดียวกัน “ธรรมวาที” อาจหาชองทางเพื่อ “ลมกระดาน” ของการประชุมไปเลยหากทําใหผลของการลงมติน้ัน คําวา “เตสํ สฺญตฺติยา” ในบริบทน้ี หมายถึง การท่ีธรรมวาทีไดชี้ใหเห็นถึงวิธีการในการจับสลากวานาจะเปนทางเลือกอีกดานหน่ึงท่ีคูกรณีสามารถหาทางออกได หากคูกรณีเห็นความสําคัญ และยินยอมเขาสูกระบวนการจับสลากทั้งสามวิธีน้ัน ก็ใหสงฆดําเนินการ แตส่ิงท่ีนาสนใจก็คือ ประเด็นน้ีไมไดหมายความวา “คูกรณีไมสามารถท่ีจะเปนคนเลือกวิธีการใดวิธีการหน่ึงในสามวิธีของการจับสากดวยตัวเองได” เพราะอาจจะทําใหกระบวนการท่ีวาดวย “การจับสลากไมชอบธรรมเกิดข้ึน” จะเห็นวาพระอรรถกถาจารยพยายามจะอุดชองโหวของคําน้ีดวยการนิยามคําวา “สฺญตฺติยา” ใหมวา“ หมายถึง สฺญาปนตฺถาย แปลวา เราอนุญาตการจับสลาก ๓ วิธี เพ่ือตองการใหภิกษุเหลาน้ันยินยอม” หมายถึงการยินยอมใชกระบวนการจับสลากเพ่ือหาทางออกรวมกัน ตองทําใหฝาย “อธรรมวาที” มีชัย เชน การอางวา วันน้ีเวลาไมเหมาะ เปนตน แลวแสวงหาแนวรวมท่ีเปน “ธรรมวาที” ตอไป

ผูวิจัยใครตั้งขอสังเกตวา การกระทําในลักษณะน้ี อาจทําใหฝาย “อธรรมวาที” จับพิรุธและตั้งขอสังเกตไดเชนเดียวกันวาการกระทําเชนน้ีมีวาระซอนเรนหรือไม หากการณเปนเชนท่ี “อธรรมวาที” ต้ังขอสังเกต อาจจะทําใหไมเขารวมประชุมในครั้งถัดไปก็ได เพราะ“อธรรมวาที” ก็ตระหนักไดเชนกันวา “ผลการลงมติ” จะออกมาในรูปแบบใด ฉะน้ัน จะเห็นวา “ไมมีผูใด” รวมโหวตท้ัง ๆ ท่ีตัวเองรูแลววาจะตองแพ ในขณะเดียวกัน หากสงฆสวนมากลงมติกันวา “จะขอใหมีการจับสลากอยางเปดเผย” และโดยเฉพาะอยางย่ิง สงฆสวนมากคืออธรรมวาทีสงฆ หรือบุคคลเลา

Page 134: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

๑๑๙ สังฆสภาซ่ึงนําโดยพระภิกษุท่ีอาจจะไดชื่อวาเปน “ธรรมวาที” จะทําอยางไร จะปฏิเสธตรง ๆ หรือจะยอมรับมติดังกลาว จากการวิเคราะหตามท่ีปรากฏในเบ้ืองตนน้ัน เปนไปไมไดท่ี “ธรรมวาที” จะยอมรับขอเสนอดังกลาว แตถาหากวา “ปฏิเสธ” ขอเสนอของอธรรมวาที คําถามก็คืออธรรมวาทีจะยอมรับไดหรือไม และอาจจะทําใหเกิดการตั้งคําถามไดวา มีวาระแอบแฝงหรือไม หรืออาจจะทําใหไมไดรับความรวมมือจากท่ีประชุมจนนําไปสูการลมเหลวก็ได ซ่ึงคําถามเหลาน้ีเปนคําถามซ่ึงบุคคลท่ีไดชื่อวาเปน“ธรรมวาที” จะตองตอบ ถาไมเชนน้ีการประชุมเพ่ือหาขอสรุปก็เกิดขึ้นไมได

ประเด็นท่ีวาดวยการ “กระซิบท่ีหู” ท่ีตองใชกับ “พระภิกษุท่ีเปนพาล” น้ันหมายความวาอยางไร พระอรรถกถาจารยแนะนําวา กรณีท่ีพระสังฆเถระจะจับสลากเพ่ือเลือกฝาย “อธรรมวาที” ควรท่ีจะกระซิบท่ีหูทานวา ทานเปนผูแกเจริญวัย การจับเชนน้ันไมควรแกทาน ทานควรจับธรรมวาทีสลาก” หากจะวิเคราะหตามนัยน้ีจะพบวา การกระทําดังกลาวเปนการมุงหวังชัยชนะแก “ธรรมวาที” เชนเดียวกัน แตผูวิจัยมองวา เปาหมายของการกระซิบท่ีหูน้ัน นาจะมุงหมายในกรณีท่ีพระภิกษุบางรูปจับสลากโดย “ไรจุดยืน” อันเปนการจับตาม “พวกมาก” เมื่อสังเกตวา เลือกใครมากกวาจะเลือกคนน้ัน ซ่ึงการขาดวิจารณญาณดังกลาวอาจมีผลตอการแพ หรือชนะของฝายใดฝายหน่ึงได ฉะน้ัน เพ่ือปดชองทางดังกลาว ธรรมวาทีจึงนําวิธีการจับสลากแบบ “กระซิบท่ีหู” มาเปนกลยุทธเพ่ือเอาชนะพวกอธรรมวาที อยางไรก็ตาม ไมวาพระพุทธเจา หรือพระอรรถกถาจารยจะนําเสนอกลยุทธท่ีวาดวยการจับสลากเอาไวอยางไรก็ตาม แต “องคประกอบ” หรือ “เง่ือนไข” ท่ีพระพุทธเจาไดวางกรอบเอาไวเพ่ือใชในการระงับอธิกรณในประเด็นท่ีวาดวย “เสียงขางมาก” หรือ “สลากขางมาก” น้ี จึงไดรับการตีกรอบเอาไวอยางรัดกุม เพ่ือหวังผลในแงของความบริสุทธ์ิ และยุติธรรมท่ีจะเกิดข้ึนในหมูสงฆ อันจะทําใหหมูสงฆ และหมูชนอุดมไปดวยความผาสุกบนฐานความสันติภายใน และภายนอกดวย ๖. ตัสสปาปยสิกา

คําวา “ตัสสปาปยสิกา” หมายถึง “กรรมท่ีสงฆจะพึงทําแกบุคคลท่ีเลวทราม โดยความเปนคนบาปหนา”๑๓ ประเด็นท่ีนาสนใจคือ คําวา “เลวทราม” หรือ “คนบาปหนา” มีอะไรเปน “เกณฑ” หรือ “ตัวชี้วัด” ถึงพฤติกรรมดังกลาวพระพุทธเจาไดใหคํานิยามเก่ียวประเด็นดังกลาวเอาไว ๓ ประการดวยกัน กลาวคือ๑๔ (๑) เปนผูไมสะอาด (๒) เปนอลัชชี๑๕ (๓) เปนผูถูกโจท แต

๑๓ วิ.จู. (บาลี) ๖/๒๓๕/๒๖๒-๓๖๓. ๑๔ วิ.จ.ู (บาลี) ๓/๒๐๗/๒๙๔.

Page 135: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

๑๒๐ ไมยอมรับ เม่ือสงฆไดพิจารณาตัดสินแลวลงมติวา “ผิดตามขอกลาวหา”๑๖ คุณสมบัติดังกลาวน้ี พระภิกษุจึงไดชื่อวา “เปนคนเลวทราม และบาปหนา” ซ่ึงเปนบุคคลท่ี “สังฆสภา” พึงลงตัสสปาปยสิกกรรม อยางไรก็ตาม สังฆสภาสามารถลงตัสสปาปยสิกกรรมแกบุคคลตอไปน้ีดวยก็ได เชนพระภิกษุท่ีชอบกอความบาดหมาง ทะเลาะ วิวาท สรางความอ้ือฉาว และกออธิกรณในหมูสงฆ รวมไปถึงพระภิกษุท่ีชอบติเตียนพระรัตนตรัย เปนตนการระงับอธิกรณในลักษณะน้ีผูวิจัยมองวา เปนการทั้ง “การปองกัน” “การปองปราม” และ “การปราบปราม” พระภิกษุบางรูปท่ีจะกออธิกรณ กําลังกออธิกรณ หรือกออธิกรณแลว โดยประเมินจาก “วัตรปฏิบัติ” ท่ีพระภิกษุผูกระทําผิดจะตองปฏิบัติตาม ซ่ึงมี ๑๘ ขอดวยกัน กลาวคือ (๑) ไมพึงให (ผูอ่ืน) อุปสมบท (๒) ไมพึงใหนิสัยแกภิกษุ สามเณรรูปอื่น (๓) ไมพึงใชสามเณรอุปฏฐาก (๔) ไมพึงรับแตงตั้งเปนผูสอนภิกษุณี (๕)แมไดรับการแตงตั้งแลวก็ไมพึงส่ังสอนภิกษุณี (๖) ไมพึงตองอาบัติท่ีเปนเหตุใหถูกสงฆลงตัสสาปยสิกกรรม (๗) ไมพึงตองอาบัติอื่นทํานองเดียวกัน (๘) ไมพึงตองอาบัติท่ีเลวทรามกวาน้ัน (๙) ไมพึงตําหนิกรรม (ท่ีสงฆกระทํา) (๑๐) ไมพึงตําหนิภิกษุผูกระทํากรรม (๑๑) ไมพึงงดอุโบสถแกปกตัตตภิกษุ (๑๒) ไมพึงงดปวารณาแกปกตัตตภิกษุ (๑๓) ไมพึงทําการไตสวน (๑๔) ไมพึงเพ่ิมอนุวาทาธิกรณ (๑๕) ไมพึงขอโอกาสภิกษุอื่น (๑๖) ไมพึงโจทภิกษุอื่น (๑๗) ไมพึงใหภิกษุอื่นใหการ (๑๘) ไมพึงชักชวนกันกอความทะเลาะจะเห็นวา หลักการระงับอธิกรณขอน้ี เปนการระงับอธิกรณในเชิงรุกท่ีมุงเนนการปองกัน การปองปราม และการปราบปราม โดยเฉพาะอยางย่ิง เปาหมายของการระงับน้ันมุงเนนเพ่ือการพัฒนากาย วาจา และพฤติกรมของพระภิกษุท่ีถูกลงโทษใหดํารงชีวิต และเปนอยูอยางประสานสอดคลองกับ “ปจจัยภายนอก” อันจะทําให “สังคมสงฆ” กลายเปน“สังคมแหงสันติ” ตอไป ถึงกระน้ัน เมื่อวิเคราะหถึง “ท่ีมา” ของการใชหลักการน้ีระงับอธิกรณพบวา พระอุปวาฬถูกสงฆซักถามใน “สังฆสภา” แตใหการวกไปวนมาซ่ึงเปนการใหการท่ีไมเปนประโยชนตอรูปคดี ในขณะเดียวกัน ทานพยายามบายเบ่ียง และพูดจากลบเกล่ืนประเด็นตางๆ ท่ีพระสงฆไดซักถามเพ่ือหลบเล่ียงความผิดท่ีตัวเองไดกระทําลงไป “สังฆสภา” มองวาพฤติกรรมดังกลาวของพระอุปวาฬะเปนการกระทําท่ีเขาขายในอาบัติขอท่ีวา “พูดเท็จท้ังท่ีรู” พระสงฆจึงนําประเด็นดังกลาวไปทูลพระพุทธเจา พระองคจึงใหสงฆดําเนินการลง “ตัสสปาปยสิกกรรม” แกพระอุปวาฬะ โดยเร่ิมตนใหพระภิกษุรูปใดรูปหน่ึงโจทพระอุปวาฬะดวยอาบัติท่ีทานเคยประพฤติผิด และเมื่อพระอุปวาฬะ

๑๕ วิ.จู. (บาลี) ๖/๒๐๗/๓๒๑. ๑๖ วิ.จู. (บาลี) ๓๖/๒๓๕/๓๐๐.

Page 136: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

๑๒๑ ใหการรับสารภาพตามคําโจทพระสงฆจึงไดดําเนินการปรับอาบัติตามขอกลาวหา แลวพระสงฆใน “สังฆสภา” จึงประกาศใหทรงทราบดวยญัตติจตุตถกรรมวาจา ๓ ครั้งเก่ียวกับความผิดท่ีพระอุปวาฬะเคยกระทําพระสงฆถืออาการ “เงียบ” ของพระสงฆใน “สังฆสภา” เปนเคร่ืองบงชี้วาไดรับ “ฉันทานุมัติ” ใหลงตัสสาปาปยสิกกรรมแกพระอุปวาฬ ซ่ึงทานจะตองประพฤติตนตามกรอบของวัตร ๑๘ ประการดังท่ีกลาวแลวในเบ้ืองตน

๗. ติณวัตถารกะ คําวา “ติณวัตถารกะ” หมายถึง “การกระทํา หรือการระงับอธิกรณประดุจการกลบเอาไว

ดวยหญา” หรือ “การระงับอธิกรณโดยการประนีประนอม” ประเด็นน้ี พระอรรถกถาจารยอธิบายเพ่ิมเติมวา “เปรียบเทียบเหมือนคูถ หรือมูตร บุคคลกระทบเขายอมโชยกล่ิน เพราะเปนของเหม็น แตเม่ือถูกปกปดกลบไวดวยหญา กล่ินน้ัน ยอมไมโชยไป ฉันใด อธิกรณท่ีถึงมูลเหตุนอยใหญอันชั่วหยาบ ยังไมสงบ ยอมเปนไปเพ่ือความแตกสามัคคีเพราะหยาบราย เม่ือสงบระงับดวยกรรมน้ี ยอมเปนอันระงับดุจคูถท่ีถูกกลบปดไวดวยหญา” ประเด็นคําถามก็คือวา “กลบอะไร และเพราะเหตุไร จึงตองกลบ” จากการศึกษาพบวา “ท่ีมา” ของการ “กลบ” น้ัน เกิดจากการที่ “พระภิกษุท้ังหลายบาดหมาง ทะเลาะวิวาทกันอยู” นอกจากน้ัน “ยังไดประพฤติละเมิดส่ิงท่ีไมสมควรแกสมณะอยูเน่ือง ๆ ท้ังกลาวดวยวาจา และพยายามทําดวยกาย” พระภิกษุเหลาน้ันไดปรึกษาหารือกันวา “ถาหากพวกเราจักปรับอาบัติเหลาน้ีกันและกันแลว บางทีอธิกรณน้ันจะพึงลุกลามไปเพ่ือความรุนแรง เพ่ือความรายแรง เพ่ือความแตกกันก็ได ทานจึงไดนําประเด็นปญหาดังกลาวไปทูลถามพระพุทธเจา

อยางไรก็ตาม ขอท่ีนาสังเกตคือ แมวาพระภิกษุท่ีเขารวมสังฆกรรมในสังฆสภาทุกรูปจะพนจากอาบัติดวยวิธีติณวัตถารกะน้ี แตถึงกระน้ันก็ยังมีพระภิกษุอีก ๔ ประเภทท่ีไมสามารถท่ีจะ “พนจากอาบัติ” ดวยสังฆกรรมดังกลาว กลาวคือ พระภิกษุท่ีมีโทษหยาบ พระภิกษุท่ีมีอาบัติเน่ืองดวยคฤหัสถ พระภิกษุท่ีเปดเผยอาบัติ และพระภิกษุท่ีไมไดอยูในสังฆกรรม

จากหลักการระงับความขัดแยงดวยวิธีการ “กลบดวยหญา” น้ัน ผูวิจัยมีขอสังเกต ๒ ประการ กลาวคือ

(๑) การระงับดังกลาวเปนประดุจหลักการ “นิรโทษกรรม” ท่ีเปนเชนน้ีเพราะความผิดของพระภิกษุเหลาน้ัน เปนความผิดท่ี “หมักหมม” และ “ครอบคลุม” ผูมีสวนไดสวนเสียเปนจํานวนมาก ถาหากจะลงโทษผูท่ีผิดกฎหมายท้ังหมดในสังคมก็จะเกิดความสับสนวุนวาย เพราะกระทบผูมีสวนเก่ียวของในทุกระดับ ฉะน้ัน วิธีการก็คือ “การออกกฎหมายนิรโทษกรรม” แกผูกระทําผิด เพ่ือจะไดเริ่มตนนับหน่ึงใหมเก่ียวกับการบังคับใชกฎหมาย ทําใหเกิดผลชัดเจนมาก

Page 137: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

๑๒๒ ย่ิงขึ้นในแงของพระภิกษุในประเด็นน้ีก็เชนเดียวกัน พบวา พระภิกษุเหลาน้ันตางก็ทะเลาะวิวาท และประพฤติผิดพระวินัยท้ังทางกาย และวาจามาอยางยาวนาน หากตางฝายตางมุงท่ีจะปรับอาบัติกันและกัน ก็จะทําใหเกิดการโจทกันอยางไมมีท่ีสุด และ “สังฆโกลาหล” จะเกิดข้ึน ฉะน้ัน พระพุทธเจาจึง “อนุโลม” ใชวิธีการดังกลาวเพ่ือพระภิกษุเหลาน้ีจะไดเริ่มตนในการบําเพ็ญสมณธรรมใหมอีกครั้ง ถึงกระน้ัน ในอาบัติบางขอท่ีไมสามารถจะยกโทษใหได พระองคก็ยังยืนกรานอยูเชนเดิมคลายคลึงกับการออกกฎหมายนิรโทษกรรมน้ัน สําหรับผูท่ีกระทําผิดกฎหมายอาญา บางขอก็ไมสามารถยกโทษใหไดเชนเดียวกัน

(๒) การระงับอธิกรณในลักษณะน้ี ผูวิจัยมองวา ถาใชคําวา “กลบดวยหญา” นาจะเหมาะกับคําวา “กลบอาบัติ” หรือ ขอผิดพลาดที่หมักหมมมาอยางยาวนาน เพราะถาไมกลบก็จะเกิดการเนาเหม็นทางการกระทําดังท่ีไดกลาวแลว สวนคําวา “ประนีประนอม” ผูวิจัยมองวานาจะเหมาะกับประเด็นของการบาดหมาง การทะเลาะ และการวิวาท ดังจะเห็นวา “อุณหภูมิ” ของการวิวาทน้ัน กําลังเพ่ิมสูงขึ้นและรุนแรง หากไมรีบทําการประนีประนอมก็จะเกิดผลเสียจนนําไปสูการแตกแยกในหมูสงฆได ฉะน้ันทางออกคือประนีประนอมเปนทางเลือกท่ีดีท่ีสุดในประเด็นน้ี หากใชคําวา “กลบดวยหญา” ดูจะไมเหมาะกับประเด็นหลังน้ี

กลาวโดยสรุปการระงับอธิกรณท้ัง ๗ ประการ ไดแก (๑) สัมมุขาวินัย (๒) สติวินัย (๓) อมูฬหวินัย (๔) ปฎิญญาตกรณะ (๕) เยภุยยสิกา (๖) ตัสสปาปยสิกา (๗) ติณวัตถารกวินัย เปนหลักการลงโทษผูกระทําผิดท่ีมีกระบวนการฟอง กระบวนการพิจารณา กระบวนการพิพากษา และกระบวนการระงับโทษแกผูกระทําผิดวินัยในพระพุทธศาสนาท่ีเหมาะสมและยุติธรรม ดังน้ันในปจจุบันน้ีการระงับอธิกรณท้ัง ๗ ประการขางตนจึงเปนรูปแบบการลงโทษผูกระทําผิดท่ีเหมาะสมและยุติธรรมกับสังคมสงฆ ๕.๒ รูปแบบการลงโทษผูกระทําผิดท่ีเหมาะสมและยุติธรรมกับสังคมไทย

๑. สัมมุขาวินัย การจัดการความขัดแยงในท่ีพรอมหนาหรือวิธีระงับตอหนาน้ัน บุคคลท่ีพิจารณาตัดสิน

คดีโดยใชธรรมวินัยและสัตถุศาสนเปนเครื่องมือในการตัดสิน สอดคลองไดกับการพิจารณาคดีของศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ท่ีวาการพิจารณาคดีอาญาตองทําตอหนาจําเลยและตองทําตอหนาทุกฝาย หากการพิจารณาโดยท่ีไมอยูพรอมหนากัน ถือวาเปนการพิจารณาท่ีผิดกฎหมาย ซ่ึงจําเลยสามารถใชสิทธิในการอุทธรณ ฏีกา ใหศาลยกฟองได สําหรับวิธีการท่ีจะใช

Page 138: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

๑๒๓ ระงับอธิกรณตามนัยของสัมมุขาวินัยซ่ึงเปนรูปแบบการลงโทษผูกระทําผิดท่ีเหมาะสมและยุติธรรมกับสังคมไทย คูกรณีสามารถท่ีจะเลือกใชไดดังตอไปน้ี

การประนีประนอมยอมความกันเองระหวางคูกรณี จากการศึกษากลุมพระภิกษุท่ีนําขอปฏิบัติหรือวิธีการน้ีไปจัดการความขัดแยงคือพระภิกษุเมืองโกสัมพีพบวา พระธรรมธรไดตระหนักรูวาน่ันเปนอาบัติ น่ันไมเปนอาบัติหามิได เราตองอาบัติ เราไมตองอาบัติหามิได และการท่ีพระวินัยธรพรอมคณะสงฆบางสวนลงอุกเขปนียกรรมยอมจัดไดวา เปนการชอบธรรม และเหมาะสม พระธรรมธรไดนําประเด็นน้ีไปปรึกษากับพระภิกษุท่ีประพฤติตามตนเอง และยอมรับความผิดพลาดและขอบกพรองท่ีเกิดขึ้น หลังจากน้ันกระบวนการเจรจาไกลเกล่ียกันเองจึงเกิดข้ึน เม่ือภิกษุฝายพระธรรมธรเขาไปเจรจากับฝายพระวินัยธรโดยยกเหตุผลขึ้นมาอางวา ทานท้ังหลายความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแกงแยง ความวิวาท ความแตกแยกแหงสงฆ...ไดมีแลวเพราะเรื่องใด ภิกษุรูปน้ัน... เห็นอาบัติแลว เอาละพวกเราจะทําสังฆสามัคคีเพ่ือระงับเร่ืองน้ัน จะเห็นวา การแสดงออกในลักษณะน้ี เปนการสรางทางเลือก หรือนําเสนอทางเลือกท่ีดีท่ีสุด ( Best Alternative) ท่ีพระภิกษุฝายพระธรรมธรไดนําเสนอแกฝายพระวินัยธรเพ่ือหาทางออกใหแกขอขัดแยง ดังกลาวขางตน เน่ืองจากวาแนวทางการแกปญหาแบบเดิมคือการใชความรุนแรงดวยการดา และทุบตีกันน้ันมิใชทางเลือกท่ีดีท่ีสุด ในการสรางความสมานฉันท ผลสรุปท่ีไดจากการเจรจาไกลเกล่ียกันเองแบบทวิภาคี ก็คือ ความสมนัยทางความเห็นและความประพฤติ ของพระภิกษุท้ังสองฝาย ดวยเหตุน้ีพระภิกษุฝายพระวินัยธรจึงไดนําผลท่ีไดจากการเจรจาสองฝายไปปรึกษากับพระพุทธเจา พระองคทรงเห็นดวยกับปฏิญญาดังกลาว และใหประกาศปฏิญญาท่ีวาดวย สังฆสามัคคี ตอหนาพระสงฆท้ังมวลท่ีอยูในกรุงโกสัมพีและประกาศใหชาวโกสัมพีไดทราบถึง ความสมานฉันท ระหวางพระภิกษุท้ังสองกลุม จุดเดนของวิธีการน้ีคือการที่คนท้ังสองกลุมไดตระหนักดวยตัวเองเก่ียวกับพิษภัยของความขัดแยงท่ีเกิดขึ้น โดยเฉพาะอยางย่ิงการเลือกแนวทางความรุนแรงเขามาแกปญหาในเบ้ืองตน แตการแกปญหาในลักษณะดังกลาวกลับพบทางตีบตัน เพราะการใชไฟดับไฟ ไฟก็จะลุกลามอยางตอเน่ืองและรวดเร็ว แตเมื่อท้ังคูไดตระหนักวาการดับไฟที่ถูกตองควรใชนํ้าดับ ดวยเหตุน้ีจึงเปนท่ีมาของการหาทางออกในการจัดการความขัดแยง สิ่งท่ีถือไดวาเปนหัวใจสําคัญของวิธีการน้ีคือการจัดการกับทิฏฐิ และมานะของคูกรณีเพราะเมื่อใดก็ตามท่ีคูกรณียังมองเห็นวาตัวเองถูก แตคนอ่ืนผิด ก็จะทําใหบรรยากาศของการเจรจาไกลเกล่ียกันเองเพ่ือหาออกพบกับความลมเหลว ฉะน้ันการท่ีพระภิกษุฝายพระธรรมธร และฝายพระวินัยธรคนพบทางออกในลักษณะน้ีจุดเริ่มตนจึงอยูท่ีการขามพนหลุมพรางแหงทิฏฐิ และมานะน่ันเอง การทําสังฆสามัคคีเพ่ือระงับเรื่องซ่ึงเปนการแสดงออกที่สรางทางเลือกหรือนําเสนอทางเลือกท่ีดีท่ีสุด ถือวา

Page 139: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

๑๒๔ เปนทางออกท่ีดีท่ีสุดของกระบวนการยุติธรรม โดยเฉพาะกระบวนยุติธรรมไทยซ่ึงเปนการทํางานตามหนาท่ีโดยไมไดมาการพูดคุยกับทุกฝายเพ่ือนําเสนอทางเลือกท่ีดีท่ีสุด ทําใหกระบวนยุติธรรมไทยเกิดความลาชา มีเรื่องราวรกโรงรกศาลเปนจํานวนมาก หากสังคมไทยนําหลักการสังฆสามัคคีเพ่ือระงับเรื่องซ่ึงเปนการแสดงออกที่สรางทางเลือกหรือนําเสนอทางเลือกท่ีดีท่ีสุด ยอมสรางความยุติธรรมใหกับสังคมไทยได

การพิพากษาคดี ข้ันตอนและวิธีการบางอยางตามที่ปรากฏในพระวินัยน้ีสอดคลองกับกรณีท่ีเกิดข้ึนในศาลยุคปจจุบัน เพราะกอนที่คูความจะใหการในศาลน้ัน ผูพิพากษาตองใหคูกรณีซ่ึงกอนจะเบิกความตอง “สาบาน” ตอศาลทุกคร้ังกอนเบิกความวาจะพูดความจริงเทาน้ัน อันจะทําใหการตัดสินคดีเปนไปอยางบริสุทธ์ิและยุติธรรมการตัดสินคดี หรือวินิจฉัยอธิกรณของพระเถระที่ไดรับเลือกใหเปนผูวินิจฉัยน้ันตองเปนการวินิจวินิจฉัยท่ี เด็ดขาด และถึงท่ีสุด ของการใหคําตัดสิน เพราะไมวาผลจะออกมาอยางไร คูกรณีจะตองยอมรับ และปฏิบัติตามผลการตัดสินดังกลาวดวย ดังจะเห็นไดจากกรณีท่ีพระภิกษุในกรุงสาวัตถีท่ีเปนคูกรณีกันไดนําอธิกรณท่ีเกิดข้ึนไปใหพระเถระเปนองคคณะบาง สองรูปบาง สามรูปบางตัดสิน แตเม่ือท้ังคูไมพอใจคําตัดสินจะนําความไปกราบทูลพระพุทธเจา พระองคจึงตรัสวา อธิกรณท่ีพิจารณาแลวเปนอันระงับระงับดีแลว๑๗ ถาอธิกรณดังกลาวระงับดีแลว หรือไดรับการตัดสินอยางบริสุทธ์ิยุติธรรมแลว พระภิกษุร้ือฟนอธิกรณข้ึนมาใหม ภิกษุรูปน้ันตองอาบัติปาจิตตีย ประเด็นปญหาคือคําวา บริสุทธ์ิยุติธรรม หรือ อธิกรณระงับดีแลว คําวาระงับดีแลว ในบริบทน้ีหมายถึงอะไร แลวพระองคเอาอะไรเปนตัวช้ีวัด ในประเด็นน้ีพระองคไดใชคําวา “สัมมุขาวินัยโดยธรรม” เกณฑท่ีนํามาตัดสินคือ คําวาความพรอมหนาน้ัน หมายถึงตองพรอมหนาดวย ธรรมวาทีบุคคล ธรรมวาทีคณะ และธรรมวาทีสงฆเทาน้ัน จึงเรียกไดวาเปนความพรอมหนาโดยธรรมเพราะหากเปนเชนน้ี การวินิจฉัย หรือตัดสินอธิกรณยอมบริสุทธ์ิยุติธรรมดังท่ีพระองคใชคําวาสงบดีแลว แตหากเปนไปในทิศทางตรงกันขาม พระพุทธเจาอนุญาตให “รื้อคดี” หรือ “รื้ออธิกรณ” หมายถึง“การอุทธรณ” ข้ึนมาเพ่ือนําไปสูการต้ังองคคณะตัดสินใหมได โดยไมอาบัติแตประการใด สอดคลองกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เพราะรูปแบบการลงโทษผูกระทําผิดน้ันจะตองอยูบนพ้ืนฐานของการตัดสินอยางบริสุทธ์ิยุติธรรม อน่ึงหากโจทกจําเลยเห็นวาการตัดสินของศาลชั้นตนยังไมบริสุทธ์ิยุติธรรม โจทกจําเลยสามารถใชสิทธิอุทธรณคําพิพากษาของศาลช้ันตน รวมท้ังหากศาลอุทธรณพิจารณาแลวเห็นวาการพิจารณา

๑๗ ว.ิม. (ไทย) ๕/๒๓๕/๓๕๔-๓๕๕.

Page 140: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

๑๒๕ หรือการตัดสินของศาลชั้นตนยังไมบริสุทธ์ิยุติธรรม ศาลอุทธรณมีอํานาจกลับหรือแกไขคําพิพากษาของศาลช้ันตนได

สิ่งสําคัญคือ รูปแบบการลงโทษผูกระทําผิดท่ีเหมาะสมและยุติธรรมกับสังคมไทย จะตองมี “สัมมุขาวินัย” อยูรวมดวยเสมอ สอดรับกับประเด็นท่ีพระพุทธเจาทรงยํ้าวา “หามพระสงฆระงับความขัดแยงลับหลัง” หรือ “ลงโทษลับหลัง” ซึ่งผลการวิจัยจะเห็นไดชัดเจนวาพระพุทธองคทรงเปนหลักใหเกิดความยุติธรรมไดอยางชัดเจน การพิจารณาพิพากษาผูกระทําผิดในสังคมไทยตองพิจารณาพิพากษาอยูพรอมหนา อยางไรก็ตามกระบวนการการทําสังฆสามัคคีเพ่ือระงับเร่ืองซ่ึงปจจุบันน้ีเรียกวาการไกลเกล่ียขอพิพาท ซ่ึงเปนการแสดงออกที่สรางทางเลือกหรือนําเสนอทางเลือกท่ีดีท่ีสุด ถือวาเปนทางออกท่ีดีท่ีสุดรูปแบบการลงโทษผูกระทําผิดท่ีเหมาะสมและยุติธรรมกับสังคมไทยในปจจุบันน้ี

๒. อมูฬหวินัย คํา วา “อมูฬหวินัย” หมายถึง “วินัยท่ีสงฆพึงใหแกจํา เลยผูหายหลง” หมายความวา “การ

ท่ีสงฆโดย ‘สังฆสภา’ ไดรวมกันระงับอธิกรณโดยยกประโยชนใหแกจําเลยท่ีตองอาบัติในขณะเปนบา ซ่ึงแมจําเลยจะไดกระทําการดังท่ีถูกโจทจริง ก็ไมถือวาเปนอาบัติ” อยางไรก็ตาม การท่ีจะระงับความขัดแยงดวยการยกผลประโยชนใหแกจําเลยท่ีเรียกไดวา “ชอบธรรม” น้ัน ท่ีมาของการยกประโยชนใหแกจําเลยในขณะท่ีถูกโจทยน้ันจําเลยยังเปนบาอยูน้ัน ตามประมวลกฎหมายอาญาก็ไดมีการบัญญัติไวชัดเจนวา การกระทําความผิดผูกระทําผิดตองมีเจตนาทุจริต จึงจะเปนความผิด หากผูท่ีกระทําผิดน้ันในขณะท่ีเปนบาอยูไมมีความผิด เน่ืองจากผูท่ีเปนบาในขณะกระทําความผิดน้ันยอมไมมีสติรูสํานึกในการกระทําความผิด หากตามประมวลกฎหมายอาญาไดมีการบัญญัติใหลงโทษผูท่ีไมมีสติสํานึกในการกระทําความผิดแลว การลงโทษผูกระทําผิดน้ันยอมไมยุติธรรมน้ันเอง

๓. ปฏิญญาตกรณะ คําวา “ปฏิญญาตกรณะ” หมายถึง “การกระทําตามท่ีจําเลยปฏิญญา หรือรับสารภาพ”๑๘

หมายความวา “การระงับอธิกรณตามคํารับของจําเลย” ฉะน้ัน สาระสําคัญก็คือหากพระภิกษุท่ีถูกโจท รับวาเปนอาบัติตามท่ีถูกโจทในขอใด ก็ใหปรับอาบัติตามที่รับเทาน้ัน จะปรับอาบัติ

๑๘ วิ.จู. (บาลี) ๖/๑๙๖-๑๙๙/๓๐๙-๓๐๕.

Page 141: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

๑๒๖ นอกเหนือจากน้ันไมได เพราะจะขาดความชอบธรรมในวิธีระงับอธิกรณในขอน้ี สอดคลองกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความหากจําเลยไมรับสารภาพ ศาลก็จะพิพากษาลงโทษจําเลยตามประมวลกฎหมายอาญาไมได ศาลตองใหมีการสืบพยานโจทกจําเลยใหครบถวนจึงพิพากษาลงโทษจําเลยได อีกท้ังหากจําเลยรับสารภาพบางขอหา ขอหาท่ีจําเลยไมไดรับสารภาพ หากไมไดมีการสืบพยานใหเห็นวาจําเลยไดกระทําความผิดแลว ศาลจะพิพากษาลงโทษจําเลยไมได เพราะถือวาเปนการลงโทษผูกระทําผิดท่ีไมยุติธรรม

๔. ตัสสปาปยสิกา คําวา “ตัสสปาปยสิกา” หมายถึง “กรรมท่ีสงฆจะพึงทําแกบุคคลท่ีเลวทราม โดยความ

เปนคนบาปหนา”๑๙ การระงับอธิกรณในลักษณะน้ีผูวิจัยมองวา เปนการท้ัง “การปองกัน” “การปองปราม” และ “การปราบปราม” เม่ือวิเคราะหถึง “ท่ีมา” ของการใชหลักการน้ีระงับอธิกรณพบวา พระอุปวาฬถูกสงฆซักถามใน “สังฆสภา” แตใหการวกไปวนมาซ่ึงเปนการใหการที่ไมเปนประโยชนตอรูปคดี ในขณะเดียวกัน ทานพยายามบายเบี่ยง และพูดจากลบเกล่ือนประเด็นตางๆ ท่ีพระสงฆไดซักถามเพ่ือหลบเล่ียงความผิดท่ีตัวเองไดกระทําลงไป “สังฆสภา” มองวาพฤติกรรมดังกลาวของพระอุปวาฬะเปนการกระทําท่ีเขาขายในอาบัติขอท่ีวา “พูดเท็จท้ังท่ีรู” พระสงฆจึงนําประเด็นดังกลาวไปทูลพระพุทธเจา พระองคจึงใหสงฆดําเนินการลง “ตัสสปาปยสิกกรรม” แกพระอุปวาฬะ สอดคลองกับประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความอาญาโดยรูปแบบการลงโทษผูกระทําผิดน้ัน ศาลจะตองใหมีการสืบพยานโจทกจําเลยใหไดชัดเจนเพ่ือใชในการลงโทษผูกระทําผิด อน่ึงตามประมวลกฎหมายอาญาท่ีใหอํานาจศาลลงโทษจําเลยในกรณีท่ีจําเลยใหการวกไปวนมาซ่ึงเปนการใหการท่ีไมเปนประโยชนตอรูปคดี ในขณะเดียวกันพยายามบายเบ่ียงและพูดจากลบเกลื่อนประเด็นตางๆ ท่ีไดซักถามเพ่ือหลบเล่ียงความผิดท่ีตัวเองไดกระทําลงไป ศาลมีอํานาจในการลงโทษจําเลยใหหนักขึ้นตามท่ีประมวลกฏหมายอาญาบัญญัติได อาทิเชนปรมวลกฎหมายอาญาบัญญัติโทษจําคุก ๑ ป – ๑๐ ป ศาลก็สามารถลงโทษ ๑๐ ปไดเปนตน

๑๙ วิ.จู. (บาลี) ๖/๒๓๕/๒๖๒-๓๖๓.

Page 142: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

๑๒๗

๕. ติณวัตถารกะ คําวา “ติณวัตถารกะ” หมายถึง “การประนีประนอม” ในรูปแบบการลงโทษผูกระทําผิด

ในสังคมไทย จากหลักการระงับความขัดแยงดวยวิธีการ “ติณวัตถารกะ” ผูวิจัยมีขอสังเกต ๒ ประการ กลาวคือ

(๑) ติณวัตถารกะเปนประดุจหลักการ “นิรโทษกรรม” ท่ีเปนเชนน้ีเพราะความผิดของพระภิกษุเหลาน้ัน เปนความผิดท่ี “หมักหมม” และ “ครอบคลุม” ผูมีสวนไดสวนเสียเปนจํานวนมาก ถาหากจะลงโทษผูท่ีผิดกฎหมายท้ังหมดในสังคมก็จะเกิดความสับสนวุนวาย เพราะกระทบผูมีสวนเก่ียวของในทุกระดับ ฉะน้ัน วิธีการก็คือ “การออกกฎหมายนิรโทษกรรม” แกผูกระทําผิด เพ่ือจะไดเร่ิมตนนับหน่ึงใหมเก่ียวกับการบังคับใชกฎหมาย เพราะหากคนในสังคมไทยเหลาน้ันตางก็ทะเลาะวิวาท และประพฤติผิดกฏหมายท้ังทางกายและวาจามาอยางยาวนาน หากตางฝายตางมุงท่ีจะทะเลาะเบาะแวงซ่ึงกันและกัน ก็จะทําใหเกิดการฟองรองดําเนินคดีกันอยางไมมีท่ีสุด และ “สังคมโกลาหล” ยอมเกิดขึ้น อยางไรก็ตามการออกกฎหมายนิรโทษกรรมหากเปนผูท่ีกระทําผิดกฎหมายอาญาท่ีเก่ียวกับความม่ันคงของประเทศก็ไมสามารถออกกฏหมายนิรโทษกรรมใหไดเชนเดียวกัน

(๒) ติณวัตถารกะในสมัยพุทธกาลเหมาะสมกับคําวา “การประนีประนอม” ในสังคมไทยในปจจุบัน เน่ืองจากประเด็นของการบาดหมาง การทะเลาะ และการวิวาท ดังจะเห็นวา “อุณหภูมิ” ของการวิวาทน้ัน กําลังเพ่ิมสูงข้ึนและรุนแรง หากไมรีบทําการประนีประนอมก็จะเกิดผลเสียจนนําไปสูการแตกแยกในสังคมไทยได ฉะน้ันทางออกคือติณวัตถารกะหรือการประนีประนอมซ่ึงเปนทางเลือกท่ีดีท่ีสุดอีกรูปแบบหน่ึงในการลงโทษผูกระทําผิดท่ีเหมาะสมและยุติธรรมในสังคมไทยในปจจุบันน้ี

กลาวโดยสรุปการระงับอธิกรณท้ัง ๕ ประการ ไดแก (๑) สัมมุขาวินัย (๒) อมูฬหวินัย

(๓) ปฎิญญาตกรณะ (๔) ตัสสปาปยสิกา (๕) ติณวัตถารกวินัย เปนหลักการลงโทษผูกระทําผิดท่ีมีกระบวนการฟอง กระบวนการพิจารณา กระบวนการพิพากษา และกระบวนการระงับโทษแกผูกระทําผิดในสังคมไทยท่ีเหมาะสมและยุติธรรม ดังน้ันในปจจุบันน้ีการระงับอธิกรณท้ัง ๕ ประการขางตนจึงเปนรูปแบบการลงโทษผูกระทําผิดท่ีเหมาะสมและยุติธรรมกับสังคมไทย

Page 143: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

บทท่ี ๖ สรุปผลการวิจัยและขอเสนอแนะ

๖.๑ สรุปผลการวิจัย อธิกรณและวิธีระงับอธิกรณเปนวิธีปฏิบัติเก่ียวกับการจัดการความขัดแยงในแงของพระวินัยและเปนการระงับความขัดแยงท่ีเกิดขึ้นในสังคมสงฆ โดยพระพุทธเจาไดบัญญัติข้ึนมาเปนขอปฏิบัติตามพระธรรมวินัย เพ่ือควบคุมความประพฤติใหอยูในระเบียบแบบแผนและมีความเรียบรอยดีงาม อธิกรณเปนขอกําหนดท่ีพระพุทธเจาไดทรงแสดงไวเพ่ือเปนหลักการในการระงับปญหาตาง ๆ ท่ีเกิดข้ึนในหมูสงฆแบงออกเปน ๔ ประเภทคือ (๑) วิวาทาธิกรณ (๒) อนุวาทาธิกรณ (๓) อาปตตาธิกรณ (๔) กิจจาธิกรณ และวิธีระงับอธิกรณเปนขอกําหนดท่ีพระพุทธเจาไดทรงแสดงไวเพ่ือเปนแนวทางในการระงับปญหาท่ีเกิดขึ้นในหมูสงฆนับต้ังแตคร้ังพุทธกาลแบงออกเปน ๗ ประเภทคือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) สติวินัย (๓) อมูฬหวินัย (๔) ปฎิญญาตกรณะ (๕) เยภุยยสิกา (๖) ตัสสปาปยสิกา (๗) ติณวัตถารกวินัย ซ่ึงพระสงฆในยุคตอมาตางยึดถือปฏิบัติเพ่ือใหเกิดซ่ึงประโยชนดวยดีเสมอมา

ประกอบกับในปจจุบันน้ีการปกครองคณะสงฆนอกจากจะยึดพระธรรมวินัยตามอธิกรณและวิธีระงับอธิกรณเปนหลักแลว ระบบการปกครองคณะสงฆซ่ึงเปนฝายศาสนจักรยังเก่ียวเน่ืองกับระบบการปกครองฝายอาณาจักร เดิมการปกครองคณะสงฆเริ่มตนมาจากพระราชบัญญัติคณะสงฆ พ.ศ . ๒๔๘๔ โดยไดแตงต้ังองคกรตามฝายอาณาจักร ซ่ึงประกอบดวยสังฆสภาหรือสภาของพระสงฆโดยมีตัวแทนจากพระสงฆทําหนาท่ีในการตรากฎหมายมาใช มีสังฆมนตรีเปนฝายบริหาร และมีพระวินัยธรเพ่ือทําหนาท่ีพิจารณาคดีท่ีพระสงฆไดกระทําละเมิดพระธรรมวินัย ซ่ึงเปนการลอกเลียนแบบฝายปกครองหรือฝายอาณาจักร ตอมาไดมีการแกไขเปนพระราชบัญญัติคณะสงฆ พ.ศ. ๒๕๐๕ ซ่ึงตราขึ้นในสมัยท่ีทางราชอาณาจักรปกครองโดยคณะปฏิวัติ เมื่อสถานการณท้ังฝายราชอาณาจักรและศาสนจักรเปล่ียนแปลงไปตามเวลา บางมาตรายังไมมีความรัดกุมพอ จึงไดตราพระราชบัญญัติคณะสงฆ พ.ศ. ๒๕๐๕ แกไขเพ่ิมเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ (ฉบับท่ี ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ มีใจความสําคัญสวนท่ีเก่ียวของกับ “นิคหกรรม” วาเปนการมอบอํานาจใหมหาเถรสมาคมตรากฎมหาเถรสมาคม หลักเกณฑและวิธีปฏิบัติอ่ืนๆ ดังท่ีปรากฏในพระราชบัญญัติคณะสงฆ (ฉบับท่ี ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๑๕ จัตวา วา “เพ่ือรักษาหลักพระธรรมวินัยและเพ่ือความเรียบรอยดีงาม

Page 144: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

๑๒๙

ของคณะสงฆ มหาเถรสมาคมจะตรากฎมหาเถรสมาคม เพ่ือกําหนดโทษหรือวิธีลงโทษทางการปกครอง สําหรับพระภิกษุและสามเณรที่ประพฤติใหเกิดความเสียหายแกพระศาสนาและการปกครองคณะสงฆก็ได” จากขอมูลขางตนผูวิจัยจึงตองการศึกษากระบวนการพิจารณานิคหกรรมจากกฎนิคหกรรมของมหาเถรสมาคม ฉบับท่ี ๑๑ พ.ศ. ๒๕๒๑ วาดวยการลงนิคหกรรมตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ พ.ศ. ๒๕๐๕ แกไขเพ่ิมเติม (ฉบับท่ี ๒) พ.ศ.๒๕๓๕ ซ่ึงมีลักษณะคลายคลึงกับการพิจารณาคดีทางกฎหมาย โดยขอวิจัยแนวปฏิบัติของการลงนิคหกรรมในมิติเทียบเคียงกับหลักกฏหมาย แบงสาระสําคัญของกฏนิคหกรรมเปน ๘ ประการคือ (๑) ความหมายและประเภทกฏนิคหกรรมของมหาเถรสมาคม (๒) ลักษณะการตัดสินของกฎนิคหกรรม (๓) บทนิยามแหงกฎนิคหกรรม (๔) วิธีปฏิบัติเบ้ืองตนในการลงนิคหกรรม (๕) วิธีไตสวนมูลฟองในการลงนิคหกรรม (๖) วิธีอางพยานหลักฐานในการลงนิคหกรรม (๗) วิธีบังคับตามคําวินิจฉัยการลงนิคหกรรม (๘) ขอเบ็ดเตล็ดในการลงนิคหกรรม ประมวลกฏหมายอาญาและประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความอาญาเปนหลักลงโทษผูกระทําผิดของฝายอาณาจักรท่ีควบคุมความประพฤติของคนในสังคม พัฒนาขึ้นมาจากศีลธรรม ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี ศาสนา และกฎเกณฑขอบังคับตามลําดับ โดยมีวัตถุประสงคเพ่ือธํารงความสงบเรียบรอยและศีลธรรมอันดีของสมาชิกในสังคม ท้ังเพ่ือใหการอยูรวมกันในสังคมน้ันเปนไปโดยราบร่ืน สนองความตองการของภาคสวนตาง ๆ อยางเหมาะสม ดังภาษิตละตินท่ีวา "ท่ีใดมีมนุษย ท่ีน้ันมีสังคม ท่ีใดมีสังคม ท่ีน้ันมีกฎหมาย" โดยกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทยไดบัญญัติหลักการลงโทษผูกระทําผิดไวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและประมวลกฎหมายอาญา อน่ึงหลักการลงโทษผูกระทําผิดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามีสาระสําคัญแบงออกเปน ๔ ประการดังน้ี

(๑) การฟองอาญา ผูเสียหายมีสิทธิท่ีจะฟองคดีอาญาไดดวยตนเอง แตอยางไรก็ดีในคดีอาญาน้ันจะมี

พนักงานอัยการเปนผูเสียหายของรัฐและเปนโจทกย่ืนคําฟองคดีอาญา กฎหมายจึงใหสิทธิแกผูเสียหายหากไมย่ืนคําฟองดวยตนเองแลว ก็ย่ืนคํารองขอเขาเปนโจทกรวมกับพนักงานอัยการในระยะเวลาใดก็ไดแตตองกอนท่ีศาลช้ันตนจะมีคําพิพากษา ซ่ึงในทางปฏิบัติผูเสียหายมักจะขอเขาเปนโจทกรวมกับพนักงานอัยการเพราะหากฟองเองแลวศาลจะส่ังใหรวมคดีท่ีผูเสียหาย ฟองเองเขากับคดีของพนักงานอัยการท่ีเปนโจทกโดยถือสํานวนคดีของพนักงานอัยการเปนหลัก

Page 145: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

๑๓๐

(๒) การไตสวนมูลฟองคดีอาญา ในคดีราษฎรเปนโจทกใหไตสวนมูลฟอง แตถาในคดีพนักงานอัยการเปนโจทกไมจําเปนตองไตสวนมูลฟองแตถาเห็นสมควรจะส่ังใหไตสวนมูลฟองกอนก็ได ในกรณีท่ีมีการไตสวนมูลฟองดังกลาวแลวถาจําเลยใหการรับสารภาพใหศาลประทับฟองไวพิจารณา (๓) การพิจารณาในศาลช้ันตน การพิจารณาและสืบพยานในศาลใหทําโดยเปดเผยตอหนาจําเลยเวนแตบัญญัติไวเปนอยางอื่น เม่ือโจทกหรือทนายโจทกและจําเลยมาอยูตอหนาศาลแลวและศาลเชื่อวาเปนจําเลยจริงใหอานและอธิบายฟองใหจําเลยฟงและถามวาไดกระทําผิดจริงหรือไมจะใหการตอสูอยางไรบางคําใหการของจําเลยใหจดไว ถาจําเลยไมยอมใหการก็ใหศาลจดรายงานไวและดําเนินการพิจารณาตอไป เมื่อถึงวันนัดพิจารณาซ่ึงโดยปกติจะเปนนัดสอบคําใหการจําเลยกอนวาจะรับสารภาพหรือปฏิเสธตามขอหาของโจทก กระบวนพิจารณาในนัดพิจารณาน้ัน ศาลจะตองกระทําโดยเปดเผยตอหนาจําเลย (๔) คําพิพากษาและคําส่ัง

การอานคําพิพากษาตองอานใหคูความฟงแลวใหคูความลงลายมือชื่อไว ถาโจทกไมมาแตจําเลยมาก็ใหอานไดและถือวาโจทกไดฟงคําพิพากษาหรือคําส่ังแลว แตถาจําเลยไมมาศาลยังอานคําพิพากษาในนัดแรกไมไดตองเล่ือนการอานออกไปโดยจดไวในรายงานนัดฟงคําพิพากษาวาจําเลยทราบนัดโดยชอบแลวไมมาศาลโดยไมแจงเหตุขัดของ หากมีเหตุสงสัยวาจําเลยหลบหนีใหออกหมายจับจําเลย การทําคําพิพากษาหรือคําส่ังของศาลเม่ือคดีเสร็จการพิจารณา ผูพิพากษาเจาของสํานวนจะเปนผูเขียนคําพิพากษาหรือคําส่ังแลวแตกรณี เม่ือนัดเสร็จแลวจะปรึกษากับองคคณะโดยในสํานวนคดีน้ันท่ีหนาปกสํานวนมุมดานซายบนจะมีช่ือผูพิพากษา ๒ คนชื่อบนสุดเปนช่ือผูพิพากษาเจาของสํานวนช่ือลางเปนชื่อองคคณะ สวนหลักการลงโทษผูกระทําผิดตามประมวลกฎหมายอาญามีวัตถุประสงคลงโทษผูกระทําผิดหากฝาฝนบทบัญญัติของกฏหมายอาทิเชนตองไดรับโทษประการชีวิตเมื่อฆาคนตายเปนตน โดยมีอัตราโทษท่ีลงโทษแกผูกระทําผิดโดยมีสาระสําคัญแบงออกเปน ๔ ประการดังน้ี

(๑) โทษประหารชีวิต การลงโทษประหารชีวิตน้ันศาลจะลงโทษไดก็ตอเมื่อบทบัญญัติของประมวล

กฎหมายอาญาหรือพระราชบัญญัติอื่นไดกําหนดโทษประหารชีวิตลงไวในกฎหมายน้ันๆ เทาน้ัน ท้ังน้ีเพราะมาตรา ๕๑ ไดกําหนดวาในการเพ่ิมโทษจําคุกน้ัน จะเพ่ิมข้ึนถึงเปนโทษประหารชีวิตมิได และจําลงโทษประหารชีวิตแกผูกระทําความผิดท่ีมีอายุต่ํากวา ๑๘ ปไมได

Page 146: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

๑๓๑

(๒) โทษจําคุก เปนโทษท่ีมีประสิทธิภาพมากท่ีสุดเทาท่ีจะทําใหผูตองโทษกลับตนเปนคนดีได เพราะทําใหเจาพนักงานราชทัณฑมีโอกาสพิจารณาผูตองโทษเปนรายบุคคลวา การปฏิบัติ (treatment) ในเรือนจําหรือสถานที่กักขังไดทําใหผูตองโทษกลับตนไดหรือไมเพียงใด ท้ังน้ีโดยถือหลักท่ีวาจะตองพิจารณาผลปฏิบัติจากนักโทษเปนคนๆ ไป สวนการท่ีจะใหผลปฏิบัติแกผูตองโทษอยางไรจึงจะเปนผลทําใหผูตองโทษกลับตนเปนคนดีเขาสูสังคมไดอยางเดิม เปนเร่ืองของทัณฑวิทยา (๓) โทษกักขัง ศาลจะลงโทษกักขังแทนโทษจําคุกไดดังน้ี ๑. ตองเปนกรณีท่ีบุคคลกระทําความผิด ซ่ึงความผิดน้ันมีโทษจําคุกและในคดีน้ัน ศาลจะลงโทษจําคุกไมเกินสามเดือน จะมีโทษปรับดวยหรือไมก็ตาม ๒. ไมปรากฏวาบุคคลน้ันไดรับโทษจําคุกมากอนหรือปรากฏวาไดรับโทษจําคุกมากอน เปนโทษสําหรับความผิดท่ีไดกระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ ท้ังน้ีเพราะเจตนารมณของประมวลกฎหมายอาญาท่ีกําหนดใหมีโทษกักขังข้ันน้ัน ก็เพ่ือจะไมใหผูตองโทษถูกตราหนาวาไดเคยตองโทษจําคุกมาแลว ซ่ึงถือวาเปนของนาอับอายและทําใหสังคมรังเกียจ (๔) โทษปรับ เปนการลงโทษอีกประเภทหน่ึงโดยคาปรับจะไดเปนเงินเขาภาครัฐมาใชประดยขนในการพัฒนาประเทศตอไป รวมท้ังตามประมวลกฏหมายอาญามาตรา ๒๙ ไดกําหนดวิธีดําเนินการสําหรับกรณีท่ีผูตองคําพิพากษาไมชําระคาปรับไว ๒ วิธี กลาวคือ ๑. ศาลจะส่ังใหยึดทรัพยสินใชคาปรับ ๒. ศาลจะส่ังใหกักขังแทนคาปรับ (๕) โทษริบทรัพยสิน ตามประมวลกฎหมายอาญามีทรัพยสินท่ีจะริบอยู ๓ ประเภท กลาวคือ ๑) ทรัพยสินท่ีศาลตองริบเสมอ เปนทรัพยสินท่ีการทําขึ้นเปนความผิดเชนเงินตราท่ีทําปลอมข้ึน เปนตน หรือทรัพยสินท่ีการมีไวเปนความผิดเชนปนท่ีไมไดจดทะเบียนเปนตน ๒) ทรัพยสินท่ีศาลตองริบ เวนแตจะเปนของผูอ่ืนซึ่งมิไดรูเห็นเปนใจดวยในการกระทําความผิด ๓) ทรัพยสินท่ีศาลมีอํานาจส่ังใหริบก็ได เชน ก. เอาเคร่ืองมือสําหรับแกเครื่องยนตของตนไปใชในการลักทรัพย แตศาลเห็นวาเปนเครื่องมือในการประกอบอาชีพของก. ซ่ึงตองใชในการรับจางแกรถยนต ศาลอาจส่ังไมริบเคร่ืองมือน้ันก็ได อยางไรก็ดีถาทรัพยสินเหลาน้ีเปนทรัพยสินของผูอ่ืนซ่ึงมิไดรูเห็นเปนใจดวยในการกระทําความผิดศาลไมมีอํานาจส่ังใหริบทรัพยสินน้ัน

Page 147: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

๑๓๒

เม่ือผูวิจัยไดศึกษาเปรียบเทียบหลักการลงโทษผูกระทําผิดในพุทธศาสนาเถรวาทในประเด็นกระบวนการอธิกรณและระงับอธิกรณกับหลักการลงโทษผูกระทําผิดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและประมวลกฎหมายอาญามีความเหมือนกันอยางมีนัยสําคัญ๔ ประการดังน้ี ๑. กระบวนการฟอง อนุวาทาธิกรณเปนการฟองรองภิกษุท่ีประพฤติปฏิบัติผิดศีลธรรมหรือกฎหมาย สวนการฟองอาญาเปนการฟองรองแกผูกอใหความเสียหายจากผลการกระทําผิดอาญา

ตัสสาปาปยสิกาเปนกรรมอันสงฆพึงทําเพราะความท่ีภิกษุน้ันเปนผูเลวทราม ไดแกการท่ีสงฆลงโทษแกภิกษุผูเปนจําเลยในอนุวาทาธิกรณใหการกลับไปกลับมาเด๋ียวปฏิเสธ เด๋ียวสารภาพ พูดมุสาซ่ึงหนา แตพิจารณาไดความสมจริงตามขอหาทุกอยาง สงฆลงโทษตามความผิดแมวาภิกษุน้ันจะไมรับหรือเพ่ิมโทษอาบัติท่ีตอง สวนการพิจารณาในศาลช้ันตนเปนการพิจารณาและสืบพยานในศาลใหทําโดยเปดเผยตอหนาจําเลย โดยใหศาลอานและอธิบายฟองใหจําเลยฟง และถามวาไดกระทําผิดจริงหรือไม จะใหการตอสูอยางไรบาง คําใหการของจําเลยใหจดไว อน่ึงหากจําเลยใหการกลับไปกลับมาเด๋ียวปฏิเสธเด๋ียวสารภาพ แตเม่ือพิจารณาไดความสมจริงตามขอหาทุกอยาง ศาลลงโทษตามความผิดได ๓. กระบวนการพิพากษา เยภุยยสิกาเปนวิธีระงับขอปญหาวิวาทาธิกรณท่ีเกิดขึ้นในหมูสงฆจํานวนมาก ซ่ึงไมสามารถหาขอยุติไดโดยงาย และเปนเร่ืองสําคัญหากปลอยไวเร่ืองราวขอปญหาจะลุกลามไปไกลอันจะเปนเหตุแหงการแตกแยกในหมูสงฆ สวนการพิพากษาเปนการทําคําพิพากษาของผูพิพากษาเม่ือคดีเสร็จการพิจารณา ผูพิพากษาเจาของสํานวนจะเปนผูเขียนคําพิพากษา แลวใหผูพิพากษาองคคณะอีก ๑ คนลงชื่อรวมเพ่ือเห็นชอบ

๒. กระบวนการพิจารณา สัมมุขาวินัยเปนวิธีระงับขอปญหาอธิกรณซ่ึงกระทําในท่ีพรอมหนา พระพุทธองคทรงกําหนดใหบุคคลผูเก่ียวของในเร่ืองราวท้ังโจทก จําเลย พยาน และผูมีสวนรูเห็นมาพรอมหนากันเพ่ือทําการไตสวน สอบสวนโดยซ่ึงหนา เปดโอกาสใหทุกฝายใหการตามความจริง

Page 148: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

๑๓๓

๔. กระบวนการระงับโทษ

เม่ือผูวิจัยไดศึกษาเปรียบเทียบหลักการลงโทษผูกระทําผิดในพุทธศาสนาเถรวาทในประเด็นกระบวนการอธิกรณและระงับอธิกรณกับหลักการลงโทษผูกระทําผิดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและประมวลกฎหมายอาญามีความมีความแตกตางกันอยางมีนัยสําคัญ ๔ ประการดังน้ีดังน้ี ๑. กระบวนการฟอง อนุวาทาธิกรณเปนการฟองรองภิกษุท้ังท่ีประพฤติผิดหลักพรหมจรรยเทาน้ัน สวนการฟองอาญาเปนการฟองรองแกผูกอใหความเสียหายจากผลการกระทําผิดอาญาเทาน้ัน ๒. กระบวนการพิจารณา สัมมุขาวินัยเปนวิธีระงับขอปญหาอธิกรณโดยทําการไตสวน สอบสวนโดยซึ่งหนา เปดโอกาสใหทุกฝายใหการตามความจริง ยกเร่ืองราวขอปญหาท่ีเกิดขึ้นมาพิจารณาวินิจฉัยโดยสงฆจํานวนไมนอยกวา ๕ รูปรวมกันดําเนินการเพ่ือใหเกิดความรอบคอบรัดกุมเปนธรรมกับทุกฝาย และการวินิจฉัยตัดสินสงฆตองมีความเห็นตรงกัน โดยไมมีภิกษุรูปใดรูปหน่ึงคัดคานและใชหลักพระธรรม หลักพระวินัยเปนเกณฑ ตัสสาปาปยสิกาเปนการกําราบภิกษุท่ีไมมีความละอายขาดสมณสัญญา ละเมิดอาบัติแลวมีเจตนาหลีกเล่ียงไมยอมรับผิด แตเม่ือสงฆพิจารณาจากพยานหลักฐานตางๆ แลวเห็นวาไดละเมิดจริงก็ลงโทษและใหประพฤติวัตรเปนการเพ่ิมโทษใหหลาบจําจะไดไมกระทําอีกและการประพฤติวัตรเปนการตัดสิทธิ ประพฤติวัตรไมบกพรองแลว จึงจะสามารถขอระงับโทษตอสงฆ สวนการพิจารณาในศาลช้ันตนเปนการพิจารณาและสืบพยานในศาลมีองคคณะผูพิพากษาเพียง ๒ คนเทาน้ัน ศาลไมสามารถพิพากษาเพ่ิมโทษในกรณีท่ีจําเลยใหการกลับไปกลับมาได การพิจารณาและสืบพยานในศาลใหทําโดยเปดเผยตอหนาจําเลย เม่ือโจทกหรือทนายโจทกและจําเลยมาอยูตอหนาศาลแลว และศาลเช่ือวาเปนจําเลยจริง ใหอานและอธิบายฟองใหจําเลยฟง และถามวาไดกระทําผิด

ปฏิญญาตกรณะเปนกระบวนการระงับอธิกรณในกรณีเม่ือพระภิกษุผูถูกกลาวหายอมรับวาตัวเองไดกระทําผิดตามท่ีถูกกลาวหา ติณวัตถารกวินัยเปนเรื่องท่ีคูกรณีท้ังสองฝายประนีประนอมยอมความกัน ไมจําเปนตองสะสางร้ือฟนสอบสวนเพ่ือจะบอกวา ใครผิดใครถูก สวนวิธีการรอการลงโทษเปนกรณีท่ีหากจําเลยรับสารภาพ ศาลก็ตองพิพากษารอการลงโทษ เพ่ือจะไดผลสมความมุงหมายของกฎมายในการท่ีจะทําใหผูกระทําผิดกลับตนเปนคนด ี

สวนสิทธินําคดีอาญามาฟองยอมระงับไปเปนกรณ่ีคูกรณีท้ังสองฝายประนีประนอมยอมความกัน สิทธินําคดีอาญามาฟองยอมระงับไป

Page 149: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

๑๓๔

จริงหรือไม จะใหการตอสูอยางไรบาง คําใหการของจําเลยใหจดไว ถาจําเลยไมยอมใหการก็ใหศาลจดรายงานไวและดําเนินการพิจารณาตอไป ในคดีท่ีมีอัตราโทษประหารชีวิต กอนเร่ิมพิจารณา ใหศาลถามจําเลยวามีทนายความหรือไม ถาไมมีก็ใหศาลตั้งทนายความให ในคดีท่ีมีอัตราโทษจําคุก หรือในคดีท่ีจะเลยมีอายุไมเกินสิบแปดปในวันท่ีถูกฟองตอศาล กอนเริ่มพิจารณาใหศาลถามจําเลยวามีทนายความหรือไม ถาไมมีและจําเลยตองการทนายความก็ใหศาลต้ังทนายความให ๓. กระบวนการพิพากษา เยภุยยสิกาเปนวิธีระงับขอปญหาวิวาทาธิกรณท่ีเกิดข้ึนในหมูสงฆจํานวนมาก ซ่ึงไมสามารถหาขอยุติไดโดยงาย และเปนเร่ืองสําคัญหากปลอยไวเร่ืองราวขอปญหาจะลุกลามไปไกลอันจะเปนเหตุแหงการแตกแยกในหมูสงฆ พระพุทธองคจึงทรงกําหนดใหใชวิธีการจับสลากออกเสียงลงมติ หรือการดูคะแนนเสียงขางมาก และถือเอาความเห็นของคนขางมากเปนเกณฑในการยุติปญหา โดยความเห็นของคนขางมากน้ันจะตองไมขัดกับหลักพระธรรมวินัย ตองอยูในขอบเขตแหงศีลธรรม มิใชในทํานองพวกมากลากไป สวนการพิพากษาเปนการทําคําพิพากษาหรือคําส่ังของศาลเม่ือคดีเสร็จการพิจารณา โดยมีผูพิพากษาเจาของสํานวนและผูพิพากษาองคคณะอีก ๑ คน เห็นชอบดวย ใชวิธีจับสลากไมได อน่ึงผูพิพากษาองคคณะอีก ๑ คนดังกลาวน้ันมีอํานาจทําความเห็นแยงไดเชนเดียวกัน ๔. กระบวนการระงับโทษ ปฏิญญาตกรณะเปนวิธีการระงับท่ีชอบดวยพระธรรม พระวินัย แตถาหากจําเลยรับผิดหนักกวาหรือเบากวาท่ีถูกโจท และสงฆปรับอาบัติตามน้ัน เปนการระงับท่ีไมชอบดวยพระธรรมพระวินัย ติณวัตถารกวินัยเปนวิธีระงับอธิกรณท่ีใชในเมื่อจะระงับลหุกาบัติท่ีเก่ียวกับภิกษุจํานวนมาก ตางก็ประพฤติไมสมควรและซัดทอดกันเปนเร่ืองนุงนังซับซอน ชวนใหทะเลาะวิวาท กลาวซัดกันไปไมมีท่ีส้ินสุด จะระงับดวยวิธีอื่นก็จะเปนเร่ืองลุกลามไป สวนวิธีการรอการลงโทษหากเปนโทษจําคุกไมเกินสองป ถาไมปรากฏวาผูน้ันไดรับโทษจําคุกมากอน หรือปรากฏวาไดรับโทษจําคุกมากอน แตเปนโทษสําหรับความผิดท่ีไดกระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ เม่ือศาลไดคํานึงถึงอายุ ประวัติ ความประพฤติ สติปญญา การศึกษาอบรม สุขภาพภาวะแหงจิต นิสัย อาชีพ และส่ิงแวดลอมของผูน้ัน หรือสภาพความผิด หรือเหตุอื่นอันควรปรานีแลว เห็นเปนการสมควร ศาลตองพิพากษาวาผูน้ันมีความผิดแตรอการลงโทษไว และสิทธินําคดีอาญามาฟองยอมระงับไปเปนกรณีเฉพาะในคดีความผิดตอสวนตัวเทาน้ันท่ีสามารถระงับสิทธิการนําคดีอาญามาฟอง

Page 150: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

๑๓๕

อน่ึงเมื่อผูวิจัยไดศึกษาเปรียบเทียบหลักการลงโทษผูกระทําผิดในพุทธศาสนาเถรวาทในประเด็นกฎนิคหกรรมของมหาเถรสมาคม ฉบับท่ี ๑๑ พ.ศ. ๒๕๒๑ วาดวยการลง นิคหกรรมตามพระราชบัญญัติคณะสงฆพ.ศ. ๒๕๐๕ แกไขเพ่ิมเติม (ฉบับท่ี ๒) พ.ศ.๒๕๓๕กับหลักการลงโทษผูกระทําผิดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและประมวลกฎหมายอาญาแลวมีความเหมือนและมีความแตกตางกันอยางมีนัยสําคัญ ๔ ประการดังน้ี ๑. องคประกอบของการฟอง กฎนิคหกรรมของมหาเถรสมาคมแบงเปน ๑.๑ ผู ย่ืนฟองไดแก ผูมีสวนไดเสียผูเสียหาย ผูกลาวหา ผูแจงความผิด ๑.๒ ผูพิจารณาเบื้องตนไดแก เจาอาวาสหรือ เจาคณะปกครองชั้นตน ๑.๓ องคคณะผูพิจารณาไดแก องคคณะผูพิจารณาชั้นตน องคคณะผูพิจารณาช้ันอุทธรณ และองคคณะผูพิจารณาชั้นฎีกา สวนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแบงเปน ๑.๑ ผูย่ืนฟองไดแก ผูเสียหาย พนักงานอัยการ ๑.๒ ผูพิจารณาเบ้ืองตนไดแก ผูพิพากษาศาลช้ันตน ๑.๓ องคคณะผูพิพากษาไดแก องคคณะผูพิพากษาชั้นตน องคคณะผูพิพากษาช้ันอุทธรณ และองคคณะผูพิพากษาช้ันฎีกา ๒. ข้ันตอนการพิจารณา กฎนิคหกรรมของมหาเถรสมาคมแบงเปน ๒.๑ การตรวจดูคําฟองผูพิจารณาตรวจดูคําฟอง แลวมีคําส่ังรับฟองหรือไมรับฟอง ๒.๒ หากรับฟองใหมีการใตสวนมูลฟองจากพยานหลักฐาน วาการกระทําของจําเลยมีความผิดหรือไม ถาผิดก็พิพากษาไดเลย สวนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแบงเปน ๒.๑ การตรวจดูคําฟองผูพิพากษาตรวจดูคําฟอง แลวมีคําส่ังรับฟองหรือไมรับฟอง ๒.๒ หากรับฟองโดยผูฟองเปน ก. ผูฟองเปนอัยการ ไมตองมีการใต สวน โดยใหสืบพยานจากพยานหลักฐาน วาการกระทําของจําเลยมีความผิดหรือไม ถาผิดก็พิพากษาไดเลย ข. ผูฟองไมเปนอัยการ ตองมีการใต สวน ถามีมูล จึงใหสืบพยานจากพยาน หลักฐาน วาการกระทําของจําเลยมีความผิดหรือไม ถาผิดก็พิพากษาไดเลย ๓. พยานหลักฐาน กฎนิคหกรรมของมหาเถรสมาคมแบงเปน ๑. พยานบุคคล ๒. พยานเอกสาร ๓. พยานวัตถุ ๔. พยานผูเชี่ยวชาญ โดยผูพิจารณาไมมีอํานาจออกหมายเรียกพยานตางๆ ได สวนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแบงเปน ๑. พยานบุคคล ๒. พยานเอกสาร ๓. พยานวัตถุ ๔. พยานผูเชี่ยวชาญ แตผูพิพากษามีอํานาจออกหมายเรียกพยานตางๆ ได ถาผูใดไดรับหมายแลวไมปฎิบัติตามตองไดรับโทษจําคุก

Page 151: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

๑๓๖

๔. วิธีบังคับตามคําวินิจฉัย กฎนิคหกรรมของมหาเถรสมาคมมีวิธีบังคับตามคําวินิจฉัยไดกําหนดไววาเมื่อจําเลยรูปใดตองคําวินิจฉัยใหรับนิคหกรรมอยางใดอยางหน่ึงถึงท่ีสุดแลวใหคณะผูพิจารณาซ่ึงอานคําวินิจฉัย แจงผลคําวินิจฉัยแกผูบังคับบัญชาใกลชิดของจําเลยรูปน้ันทราบเพ่ือดําเนินการใหเปนไปตามคําวินิจฉัยน้ัน สวนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาวิธีบังคับตามคําวินิจฉัยไดกําหนดไววาการอานคําพิพากษาตองอานใหคูความฟงแลวใหคูความลงลายมือชื่อไว ถาศาลเห็นวาจําเลยมิไดกระทําผิดใหศาลยกฟองโจทกปลอยจําเลยไป แตหากจําเลยกระทําผิดใหศาลมีคําพิพากษาลงโทษจําเลยตามความผิดน้ัน

อยางไรก็ตาม เมื่อศึกษารูปแบบการลงโทษผูกระทําผิดท่ีเหมาะสมและยุติธรรมกับสังคมสงฆและสังคมไทยแลวมีประเด็นท่ีนาสนใจอยางย่ิงก็คือ “ความขัดแยง” หรือ ”การลงโทษ” ในมิติของสังคมนับไดวาสอดรับกับหลักไตรลักษณของพระพุทธเจา กลาวคือ คําวา “ความขัดแยง” หรือ “การลงโทษ” จัดไดวาเปน“ธรรมชาติ” หรือ “ธรรมดา” ของสังคมทั่วไป เพราะสรรพสิ่งในสังคมน้ันแปรเปล่ียนไปอยูตลอดเวลา (อนิจจัง) ผลจากการแปรเปล่ียนดังกลาวน้ันจึงทําใหเกิดบรรยากาศของ “ทุกข” หรือ “ความขัดแยง” ซ่ึงเปนสภาวะหรือบรรยากาศท่ีดํารงอยูในสภาพเดิมไมได สาเหตุสําคัญท่ีทําใหเกิดความขัดแยงก็เพราะทุกส่ิงทุกอยางน้ันในแงของโลกวิสัยน้ันไมสามารถเปนไปตามความตองการ หรืออํานาจของส่ิงใดหรือบุคคลใด กลาวคือไมมีส่ิงใดหรือบุคคลใดบังคับใหมันไมเปล่ียนหรือไมใหขัดแยงกัน ฉะน้ันเม่ือกลาวโดยธรรมชาติแลวสรรพส่ิงตองขัดแยงกัน แตถึงกระน้ัน พระพุทธศาสนาก็ไดเหลือ“พ้ืนท่ี” ของความ “ไมขัดแยง” เอาไวให “สภาวะสูงสุด” น่ันก็คือ “พระนิพพาน”

จากหลักการลงโทษผูกระทําผิดในพุทธศาสนาเถรวาทเม่ือกลาวถึงอธิกรณสมถะพบวา การออกแบบมีเปาหมายเพ่ือ “ปองกัน” “ปองปราม” และ “ปราบปราม” อธิกรณท่ีจะเกิดขึ้น กําลังเกิดขึ้น และเกิดขึ้นแลว โดยเฉพาะอยางย่ิงการออกแบบรูปแบบของการะงับแตละชุดวิธีน้ัน มุงตรงไปท่ีเปาหมายใหญน่ันก็คือ “ความสันติแหงสังคมสงฆ” คําวา “สันติ” ในบริบทน้ีไมไดหมายถึง “ภาวะท่ีไรความขัดแยง” ดังจะเห็นไดจากท่ีมาของการนําเสนอสาเหตุของ “วิวาทาธิกรณ” ท่ีเปนไปไดท้ัง “แงบวก” และ “แงลบ” แตปญหาคือทําอยางไรความขัดแยงและรูปแบบการลงโทษผูกระทําผิดเหลาน้ันจะไมนําไปสูความรุนแรงจนทําใหสังคมสงฆและสังคมไทยเกิดความไรระเบียบ อันจะกอใหเกิดความเปนเอกภาพซึ่งเอกภาพท่ีพระองคทรงเนนในบริบทน้ีคือ “สังฆสามัคคี” การมุงเนนใหสังคมสงฆเปนสังคมแหงสังฆสามัคคีพระองคทรงเลือกใชอธิกรณสมถะโดยเปนการออกแบบข้ึนมาโดยวางอยูบนพ้ืนฐานของสถานการณจริงท่ีเกิดขึ้นแลว และพระภิกษุไมสามารถคนพบทางออกของการจัดการกับ

Page 152: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

๑๓๗

ปญหาดังกลาวทําใหตองออกแบบและนําเสนอแกพระภิกษุ โดยหัวใจสําคัญของแตละชุดวิธีมุงเนนคือ “สังฆสภา” จะเห็นวา “สังฆสภา” เปนจุดสุดทาย หรือจุดสูงสุดท่ีรองรับปญหา หรือแกปญหาตางๆ ท่ีเกิดขึ้น แตพระภิกษุบางรูป หรือบางคณะไมสามารถดําเนินการแกไขได ซ่ึงการแสดงออกดังกลาวของพระองคนับไดวาเปนการ “ใหเกียรติ” และ “เคารพ” ใน “สังฆสภา” เน่ืองจากพระองคสามารถ “ช้ีผิดหรือถูกได” ในบางสถานการณ แตทรงเลือกใช “สังฆสภา” เปน “เวทีในการไตสวนสาธารณะ” เพ่ือช้ีใหทุกฝายไดเห็นวา “โปรงใส” “ยอมรับได” “เปนธรรม” “บริสุทธ์ิ” “ยุติธรรม” และ “เท่ียงธรรม” ดวยเหตุน้ี คําวา “โปรงใส” และ“ตรวจสอบ” ได โดยดํารงอยูบนฐานของความ “ชอบธรรม” ท่ีพระองคทรงเนนหนักน้ันปรากฏอยูในแตละชุดวิธีของการระงับอธิกรณ โดยกฎนิคหกรรมของมหาเถรสมาคม ฉบับท่ี ๑๑ ผูวิจัยมีขอสังเกตุเก่ียวกับการพิจารณาในการลงนิคหกรรมน้ันยังไมมีทนายความชวยพิสูจนความบริสุทธ์ิใหแกผูกระทําผิด ดังเชนการมีทนายความชวยพิสูจนความบริสุทธ์ิหรือชวยผอนหนักเปนเบาตามประมวลกฎหมายอาญา และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

รูปแบบการลงโทษผูกระทําผิดท่ีเหมาะสมและยุติธรรมกับสังคมสงฆ ซ่ึงมีอยู ๗ ประการกลาวคือ สัมมุขาวินัย สติวินัย อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ เยภุยยสิกา ตัสสปาปยสิกา และติณวัตถารกะ รวมท้ังรูปแบบการลงโทษผูกระทําผิดท่ีเหมาะสมและยุติธรรมกับสังคมไทยซ่ึงมีอยู ๕ ประการกลาวคือ สัมมุขาวินัย อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ ตัสสปาปยสิกา และติณวัตถารกะ

พระพุทธองคจะทรงใชหลัก ๔ ต. คือ “ตอหนาสงฆ ตอหนาธรรม ตอหนาวินัย และตอหนาบุคคล” เปนตัวเชื่อมชุดของวิธีอื่น ๆ ท้ังหมด โดยมี “สัมมุขาวินัย” เปน “ศูนยบัญชาการกลาง” ของการพิจารณา และตัดสินอธิกรณ การที่จะนําชุดของวิธีอื่น ๆ ไปดําเนินการระงับอธิกรณน้ัน จะกระทําไมได หากไมมี “สัมมุขาวินัย” เขาไปกํากับ (Regulator) ใหการชวยเหลือ (Facilitator) และสนับสนุน (Supporter) เหตุผลสําคัญท่ีพระองคทรงให “พระภิกษุ” “คณะสงฆ” หรือ “สังฆสภา” ตองทําเชนน้ันเพราะวาทรงมุงเนนท่ี “ความชอบธรรม” อันเปนหัวใจของกระบวนการในการพิจารณาตัดสินอธิกรณ เพราะเมื่อใดก็ตาม ชุดของวิธีดังกลาว ไมสามารถ “หยิบย่ืนความชอบธรรม” ใหแกคูกรณีได เมื่อน้ัน “สังฆสภา” ก็จะ “ไรคุณคา” ทางความนาเช่ือถือ และสงผลขางเคียง (Side Effect) ใหเกิด “ความไรสันติแหงสังคมสงฆ” ฉะน้ัน ในประเด็นน้ีจึงสรุปไดวา “หลักการลงโทษผูกระทําผิดในพุทธศาสนาเถรวาท” ก็คือ “ความชอบธรรม” หรือเรียกวา “วิธีท่ีเต็มไปดวยความชอบธรรมน้ันเอง”

Page 153: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

๑๓๘

๖.๒ ขอเสนอแนะ จากการศึกษาวิจัยคร้ังน้ี ผูวิจัยมีขอเสนอแนะดังตอไปน้ี ๑. พระพุทธองคไดทรงนําเสนอ “แผนปฏิบัติการ” (Action Plan) เพ่ือนําไปเปน

เคร่ืองมือสําคัญในการจัดการความขัดแยงและการลงโทษผูกระทําผิด ซ่ึงแผนปฏิบัติการบางอยางน้ันพระพุทธเจาไดเขาไปมีสวนรวมโดยตรง และแผนบางอยางน้ันพระพุทธเจาไดทรงแนะนําใหพระภิกษุไดใชเปนเครื่องมือในการจัดการดวยกลุมของพระสงฆเอง จะเห็นวาเร่ิมแรกของการประดิษฐานพระพุทธศาสนาพบวา พระพุทธเจาไดใชแนวคิดแบบ “อัตตาธิปเตยยะ” หมายถึงการท่ีพระองคเปนศูนยรวมเพ่ือบัญชาการหรือส่ังการในประเด็นตางๆ แตเม่ือพระสงฆมีจํานวนมากย่ิงขึ้น พระองคไดเปล่ียนระบบการบริหารแบบใหมเปนการใหความสําคัญแกสงฆ หรือ “โลกาธิปเตยยะ” หรือ “สังฆาธิปเตยยะ” อันเปนการกระจายอํานาจใหแกคนกลุมใหญ ถึงกระน้ันส่ิงท่ีอัตตาธิปเตยยะ และโลกาธิปเตยยะจะขาดมิไดคือ “ธัมมาธิปเตยยะ” อันเปนการปกครองหรือทําหนาท่ีโดยมี “ความชอบธรรมเปนศูนยกลาง” จะพบวา “ความถูกตอง” หรือ “ความชอบธรรม” (ธรรมิกา) เปน “หัวใจ” ของรูปแบบการจัดการความขัดแยงและลงโทษผูกระทําผิดของพระพุทธเจาในทุก ๆ วิธี และชุดของวิธี

๒. การนําเสนอหลักการ “อธิกรณสมถะ ๗ ประการ” เพ่ือใชเปนเครื่องมือในการระงับความขัดแยงและลงโทษผูกระทําผิดน่ัน พระองคทรงคํานึงถึง “ธัมมาธิปเตยยะ” อยูเสมอ และในทุกๆวิธีพระพุทธองคไดนิยามวา คําวา “ความชอบ” ในชุดของวิธีน้ีคืออะไร ฉะน้ันรูปแบบการจัดการความขัดแยงในมิติตาง ๆ ท้ังในแงของธรรม ไดแก “การเจรจาไกลเกล่ียคนกลาง” แลว ในแงของวินัยก็ประกอบไปดวยสัมมุขาวินัย สติวินัย อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ ตัสสปาปยสิกา เยภุยยสิกา และ ติณวัตถารกะ ซึ่งชุดวิธีจะแฝงไปดวย “ชอบธรรม”

๓. ในขณะเดียวกัน ส่ิงท่ีดํารงอยูบนฐานของความชอบธรรมอีกประการหน่ึงคือ “ความพรอมหนา” (สัมมุขาวินัย) ซ่ึงมุงเนนไปท่ีความ “โปรงใส” “ยุติธรรม” และ “ตรวจสอบได” ท่ีคูกรณีจะไดรับจากการพิจารณา หรือตัดสินความขัดแยง หรือลงโทษผูกระทําผิด

๔. อยางไรก็ตามเปาหมายสําคัญของความชอบธรรมที่เพียบพรอมไปดวยความโปรงใส ยุติธรรมและตรวจสอบไดน้ัน มีเปาหมายเพ่ือสรางสรรคใหสังคมสงฆเปนสังคมที่ไมมีความหวาดระแวง และรังเกียจกันเก่ียวศีลาจารวัตร อันจะทําใหสังคมสงฆเปนสังคมที่เหมาะแกการฝกฝนพัฒนาตนเองตามแนวไตรสิกขาเพ่ือเขาถึงจุดมุงหมายสูงสุดกลาวคือ “พระนิพพาน”

ผูวิจัยจึงมีขอเสนอแนะวา หลักการลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญาและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาสมควรอยางย่ิงท่ีตองนําหลักการลงโทษผูกระทําผิดในพุทธ

Page 154: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

๑๓๙

ศาสนาเถรวาทมาประยุกตใชเปนหลักสูตรการศึกษา รวมท้ังปจจัยในการพิจารณาพิพากษาคดีนอกจากท่ีบัญญัติไวในประมวลกฎหมายอาญาและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแลว ปจจัยท่ีสําคัญน้ันคือองคคณะผูพิพากษาจําเปนตองมีมีความรอบรูและเท่ียงธรรม มีวัยวุฒิและคุณวุฒิท่ีสามารถใชดุลยพินิจใหเหมาะสมแกอรรถคดี เพ่ือแกไขปญหาความผดพลาดในการพิพากษาลงโทษผูบริสุทธ์ิดังกรณีคดีเชอรร่ีแอนขางตน อันทําใหการลงโทษผูกระทําผิดเกิดความเหมาะสมและยุติธรรมแกสังคมไทยในปจจุบัน

Page 155: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

๑๔๐

บรรณานุกรม

๑. ภาษาไทย : ก. ขอมูลปฐมภูมิ

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปฎก ภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปฏกํ ๒๕๐๐. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๕. . พระไตรปฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร โรงพิมพ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙. ________ . อรรถกถาภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาอฏฐกถา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพวิญญาณ,

๒๕๔๐. ________ . อนุฎีกาภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาฎีกา. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราช

วิทยาลัย,๒๕๔๐. มหาวิทยาลัยมหิดล. พระไตรปฎกฉบับคอมพิวเตอร BUDSIR VI for Windows,

กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล, ๒๕๕๐. ข. ขอมูลทุติยภูมิ (๑) หนังสือ : กรมการศาสนา. กฎหมายเถรสมาคม ฉบับท่ี ๑๑ (พ.ศ.๒๕๒๑) วาดวยการลงนิคหกรรม พรอม ดวยคําแนะนําและแบบสําหรับใชในการพิจารณาวินิจฉันการลงนิคหกรรม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพการศาสนา, ๒๕๒๒. กรมการศาสนา. หนังสือคูมือพระสังฆาธิการ วาดวย พระราชบัญญัต ิกฎ ระเบียบ และคําส่ัง ของสงฆ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพการศาสนา, ๒๕๔๒. คณาจารยโรงพิมพเล่ียงเซียง. วินัยมุข เลม ๑. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพเล่ียงเซียง, ๒๕๓๕. _________. วินัยมุข เลม ๓. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพเล่ียงเซียง, ๒๕๓๖. ชําเรือง วุฒิจนัทร ไพโรจน กิตติโฆษณ เสวก ทองเดช. พระราชบัญญัติคณะสงฆ พ.ศ. ๒๕๐๕. กฎกระทรวง กฎมหาเถรสมาคม พรอมดวยระเบียบและคําสั่งมหาเถร สมาคมเก่ียวกับการคณะสงฆและการพระศาสนา. พิมพคร้ังท่ี ๒. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพการศาสนา, ๒๕๒๖.

Page 156: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

๑๔๑

โชติ ทองประยูร. คําบรรยายกฎมหาเถรสมาคม ฉบับท่ี ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๒๑). กรุงเทพมหานคร : ม.ป.ท., ๒๕๓๕. นคร พจนวรพงษ พลประสิทธ์ิ ฤทธ์ิรักษา. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา. ฉบับ แกไขเพ่ิมเติมใหม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพเจริญกิจ, ๒๕๕๐. ________ . ประมวลกฎหมายอาญา. ฉบับแกไขเพ่ิมเติมใหม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ

เจริญกิจ, ๒๕๕๐. ________ . คําอธิบายกฎหมายอาญา. ฉบับแกไขเพ่ิมเติมใหม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ

เจริญกิจ, ๒๕๕๐. บุญมี แทนแกว. จริยศาสตร. กรุงเทพมหานคร : โอ.เอส.พร้ินติ้ง เฮาส, ๒๕๒๙. พระเทพเวที (ประยุกต ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๕. ________ . พจนานุกรมพุทธศาสน ฉบับประมวลศัพท. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพมหา

จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๓. ________ . พุทธศาสนากับสังคมไทย. พิมพครั้งท่ี ๒. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพเรือน

แกวการพิมพ, ๒๕๓๒. พระธรรมดิลก (ปุณฺณสิริ). ประมวลอาณัติคณะสงฆ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพอักษรเจริญ

ทัศน, ๒๔๙๒. พระธรรมปริยัติโสภณ (วรวิทย). คําบรรยายกฎมหาเถรสมาคม ฉบับท่ี ๑๑ (พ.ศ.๒๕๒๑) วา ดวยการลงนิคหกรรม. พิมพครั้งท่ี ๒. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพมหาจุฬาลง กรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๕. พระธรรมปฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). นิติศาสตรแนวพุทธ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพบริษัท

สหธรรมิก จํากัด, ๒๕๓๙. ________ . วินัยเรื่องใหญกวาท่ีคิด. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพบริษัท

สหธรรมิก จํากัด, ๒๕๓๘. พระธรรมวโรดม (บุญมา คุณสมฺปนฺโน ป.๙). คูมือพระอุปชฌาย. กาญจนบุรี : สหาย พัฒนาการพิมพ, ๒๕๔๐. พระพุทธกัปปยเถระ. รูปสิทธิปกรณ. กรุงเทพฯ : กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ, ๒๕๒๗. พระเมธีธรรมาภรณ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). ระเบยีบการปกครองคณะสงฆไทย. พิมพครั้งท่ี ๘. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๖.

Page 157: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

๑๔๒

พระราชรัตนกวี (ไสว สุจิตฺโต). คําอธิบายกฎมหาเถรสมาคม ฉบับท่ี ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๒๑) วา ดวยการลงนิคหกรรม ภาควิชาการและภาคปฏิบัติ พรอมดวยพระราชบัญญตัิคณะ สงฆ พ.ศ. ๒๕๐๕ และกฎมหาเถรสมาคม ฉบับท่ี ๑๑. กรุงเทพมหานคร : ธีรพงษ การพิมพ, ๒๕๒๓. พระวิสุทธาจารมหาเถระ. ธาตุวัตถุสังคหปาฐนิสสยะ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพมหาจุฬา ลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๕. มหามกุฏราชวทิยาลัย. การคณะสงฆ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพศรีศตวรรษ, ๒๕๑๔. มูลนิธิภูมิพโลภิกขุ. พจนานุกรม บาลี-ไทย-อังกฤษ ฉบับภูมิพโลภิกขุ เลม ๔. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพภูมิพโลภิกขุ, ๒๕๓๑. ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕. พิมพครั้งท่ี ๔.

กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพอักษรเจริญทัศน, ๒๕๓๑. ________ . พจนานุกรมศัพทสังคมวิทยา. กรุงเทพมหานคร : บริษัทรุงศิลปการพิมพ

(๑๙๗๗) จํากัด, ๒๕๒๔. วิทย วิศทเวทย และเสถียรพงษ วรรณปก. จริยธรรมกับบุคคล. กรุงเทพมหานคร : อักษร

เจริญทัศน, ๒๕๓๓. สมเด็จพระมหาสมณเจา กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. วินัยมุข เลม ๓. กรุงเทพมหานคร : โรง

พิมพมหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๓๗. ________ . สารานุกรมพระพุทธศาสนา. รวบรวมโดย สุเชาว พลอยชุม. กรุงเทพมหานคร

: โรงพิมพมหามกุฎราชวิทยาลัย, ๒๕๒๙. สัก กอแสงเรือง. ประมวลกฎหมายพิธีพิจารณาความอาญา. กรุงเทพมหานคร : นิติบรรณา การ, ๒๕๔๕. แสวง อุดมศรี. การปกครองคณะสงฆไทย. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวทิยาลัย, ๒๕๓๓. สนิท ศรีสําแดง. นิติกรสงฆ เลม ๑. กรุงเทพมหานคร : บริษัทคอมแพคทพร้ินท จํากัด, ๒๕๔๓. (๒) วิทยานิพนธ : ใจทิพย ภัทรวิเชียร. “การศึกษากฎหมายท่ีมีผลกระทบตอพระสงฆไทย”, วิทยานิพนธพุทธ ศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๑.

Page 158: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

๑๔๓

นายวิรัช กล่ินสุบรรณ. “กระบวนการพิจารณานิคหกรรม : ปญหาและแนวทางแกไข”. วิทยานิพนธพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวทิยาลัย : มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราช วิทยาลัย, ๒๕๕๓. ร.ต.อ.ธวัช หนูคํา. “ปญหาการดําเนินคดีอาญากับพระภิกษุสงฆไทย”. วิทยานิพนธนิติศาสตร มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย), ๒๕๔๑. เสวก สุบรรณเกตุ. “บทบัญญัติในพระราชบัญญัติคณะสงฆ พ.ศ. ๒๕๐๕ ซ่ึงเปนอุปสรรคใน การ บริหารคณะสงฆ(พ.ศ. ๒๕๐๕ – ๒๕๓๕)”. วิทยานิพนธนิติศาสตร มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, ๒๕๔๐. อธิเทพ ผาทา. “การศึกษารูปแบบและกระบวนการแกปญหาในพระพุทธศาสนาเถรวาท : กรณีศึกษาเฉพาะกรณีอธิกรณสมถะ ๗ และกฎนิคหกรรมของมหาเถรสมาคมใน พระราชบัญญัติคณะสงฆ พ.ศ. ๒๕๐๕ แกไขเพ่ิมเติม (ฉบับท่ี ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕”, วิทยานิพนธพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย, ๒๕๕๐. อธิราช มณีภาค. “การศึกษาเปรียบเทียบกระบวนการยุติธรรมในพระวนัิยปฎกกับกระบวนการ ยุติธรรมของกฏหมายไทย”. วิทยานิพนธพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวทิยาลัย, ๒๕๔๖. ๒. ภาษาอังกฤษ : Childer, Robert Caesar. Dictionary of the Pali Languaage. London : Trubner & Co, 59 LudgateHill, 1995. Green, Anold W. Sociology. New York : mcgraw-Hill Book Company, 2009. Horner, Tomas Ford. Dictionary of Modern Sociology. New Jersey : Littiefield, Adams & Co., 2008.

Page 159: A COMPARATIVE STUDY ON THE PRINCIPLE OF …¸ªาขา... · บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจ ุฬาลงกรณราชว

ประวัติผูวิจัย

ช่ือ-นามสกุล นายเกียรติศักด์ิ พันธวงศ วัน เดือน ปเกิด ๒๘ กุมภาพันธ ๒๕๑๓

ท่ีอยูปจจุบัน มูลนิธิเพ่ือครอบครัว เลขท่ี ๒๙๙ หมูท่ี ๒ ตําบลสันพระเนตร อําเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม ๕๐๒๑๐

ประวัติการศึกษา พ.ศ. ๒๕๓๑ มัธยมศึกษา โรงเรียนมงฟอรตวิทยาลัย อาํเภอเมือง จังหวัด

เชียงใหม พ.ศ. ๒๔๓๔ นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคาํแหง พ.ศ. ๒๕๓๖ เนติบัณฑิตยไทย สํานักอบรมศึกษากฎหมายแหงเนติ บัณฑติยสภา พ.ศ. ๒๕๔๓ รัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม ประสบการณการทํางานโดยสังเขป พ.ศ. ๒๕๔๙ ไดรับโปรดเกลาใหเปน สมาชิกสมัชชาแหงชาติ ประจํา จังหวัดเชียงใหม พ.ศ. ๒๕๔๙ ดํารงตําแหนงกรรมาธิการกรรมการสภารางรัฐธรรมนูญ

ประจําจังหวัดเชียงใหม พ.ศ. ๒๕๔๙ ดํารงตําแหนงประธานฝายกฎหมายธุรกิจ หอการคา

จังหวัดเชียงใหม พ.ศ. ๒๕๔๙ ดํารงตําแหนงกรรมการสภาทนายความภาค ๕ พ.ศ. ๒๕๔๘ ประธานมูลนิธิเพ่ือครอบครัว พ.ศ. ๒๕๔๘ กรรมการการเลือกตั้งเขต ๔ จังหวัดเชียงใหม