หน่วย ที่ 3 หุ้น ส่วน บริษัท องค์กร...

68
หน่วยที่3 หุ้นส่วนบริษัท องค์กรธุรกิจอื่น และตลาดหลักทรัพย์ รองศาสตราจารย์ศิริศักดิ์ ศุภมนตรี ชื่อ รองศาสตราจารย์ศิริศักดิ ์ ศุภมนตรี วุฒิ น.บ., น.ม., มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตำแหน่ง รองศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช หน่วยที ่ปรับปรุง หน่วยที ่3

Upload: others

Post on 28-Aug-2020

6 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: หน่วย ที่ 3 หุ้น ส่วน บริษัท องค์กร ธุรกิจ อื่น และ ... · เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า

3-1หุ้นส่วนบริษัทองค์กรธุรกิจอื่นและตลาดหลักทรัพย์

หน่วยที่3

หุ้นส่วนบริษัทองค์กรธุรกิจอื่นและตลาดหลักทรัพย์

รองศาสตราจารย์ศิริศักดิ์ศุภมนตรี

ชื่อ รองศาสตราจารย์ศิริศักดิ์ศุภมนตรี

วุฒิ น.บ.,น.ม.,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ตำแหน่ง รองศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชานิติศาสตร์

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

หน่วยที่ปรับปรุง หน่วยที่3

Page 2: หน่วย ที่ 3 หุ้น ส่วน บริษัท องค์กร ธุรกิจ อื่น และ ... · เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า

3-2 กฎหมายธุรกิจ

แผนการสอนประจำหน่วย

ชุดวิชา กฎหมายธุรกิจ

หน่วยที่3 หุ้นส่วนบริษัทองค์กรธุรกิจอื่นและตลาดหลักทรัพย์

ตอนที่3.1 ห้างหุ้นส่วน

3.2 บริษัท

3.3 องค์กรธุรกิจอื่น

3.4 ตลาดหลักทรัพย์

แนวคิดห้างหุ้นส่วนเป็นธุรกิจที่ดำเนินการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่กำหนดให้มีห้างหุ้นส่วน1.

ทัง้หมด2ประเภทคอืหา้งหุน้สว่นสามญัและหา้งหุน้สว่นจำกดัซึง่หา้งหุน้สว่นสามญัสามารถจดทะเบยีน

เป็นห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนหรือที่เรียกว่าห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลได้

บริษัทตามกฎหมายไทยมีอยู่2ประเภทคือบริษัทจำกัดที่อยู่ภายใต้บังคับของประมวลกฎหมายแพ่ง2.

และพาณิชย์และบริษัทมหาชนจำกัดที่อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัดพ.ศ.2535

นอกเหนือจากห้างหุ้นส่วนและบริษัทแล้วยังมีองค์กรธุรกิจอื่นที่ดำเนินการลักษณะพิเศษซึ่งไม่อยู่ในรูป3.

แบบอย่างหนึ่งอย่างใดเช่นกิจการร่วมค้ากิจการร่วมทำสำนักงานตัวแทนสำนักงานสาขาหรืออื่นๆ

ตลาดหลักทรัพย์เป็นพัฒนาการของการแสวงหาทุนมาดำเนินธุรกิจ ซึ่งการหาทุนอาจหาได้โดยตรงจาก4.

บุคคลหรือสถาบันการเงินซึ่งถือว่าเป็นตลาดทุนตลาดแรก(primarymarket)ส่วนการแสวงหาทุนจาก

ผู้ที่มีเงินออมเกินส่วนที่จะให้เป็นทุนของธุรกิจที่มีความต้องการทุนสูงแต่มิใช่ได้จากสถาบันหรือบุคคล

โดยตรงถือว่าเป็นทุนโดยอ้อมจึงเกิดตลาดทุนที่เป็นแหล่งระดมทุนจากบุคคลทั่วไปขึ้นมาอีกหนึ่งตลาด

เป็นตลาดที่สองหรือเรียกว่าตลาดรอง(secondarymarket)และตลาดรองนี้คือตลาดหลักทรัพย์ซึ่ง

เป็นแหล่งระดมเงินทุนที่เป็นสากล

วัตถุประสงค์เมื่อศึกษาหน่วยที่3จบแล้วนักศึกษาสามารถ

อธิบายระบุประเภทและวินิจฉัยเรื่องห้างหุ้นส่วนได้1.

อธิบายระบุประเภทและวินิจฉัยเรื่องบริษัทได้2.

อธิบายระบุประเภทและวินิจฉัยเรื่องธุรกิจที่มีลักษณะพิเศษได้3.

อธิบายที่มาและการดำเนินงานของตลาดหลักทรัพย์ได้4.

Page 3: หน่วย ที่ 3 หุ้น ส่วน บริษัท องค์กร ธุรกิจ อื่น และ ... · เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า

3-3หุ้นส่วนบริษัทองค์กรธุรกิจอื่นและตลาดหลักทรัพย์

กิจกรรมระหว่างเรียนทำแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียนหน่วยที่31.

ศึกษาเอกสารการสอนตอนที่3.1–3.42.

ปฏิบัติกิจกรรมตามที่ได้รับมอบหมายในเอกสารการสอนแต่ละตอน3.

ฟังรายการวิทยุกระจายเสียง(ถ้ามี)4.

ชมรายการวิทยุโทรทัศน์(ถ้ามี)5.

ทำแบบประเมินผลตนเองหลังเรียนหน่วยที่36.

สื่อการสอนเอกสารการสอน1.

แบบฝึกปฏิบัติ2.

เทปเสียงประกอบชุดวิชา(ถ้ามี)3.

รายการสอนทางวิทยุกระจายเสียง(ถ้ามี)4.

รายการสอนทางวิทยุโทรทัศน์(ถ้ามี)5.

การประเมินผลประเมินผลจากแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียนและหลังเรียน1.

ประเมินผลจากการทำกิจกรรมและแนวตอบท้ายเรื่อง2.

ประเมินผลจากการสอบไล่ประจำภาคการศึกษา3.

เมื่ออ่านแผนการสอนแล้วขอให้ทำแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียน

หน่วยที่3ในแบบฝึกปฏิบัติแล้วจึงศึกษาเอกสารการสอนต่อไป

Page 4: หน่วย ที่ 3 หุ้น ส่วน บริษัท องค์กร ธุรกิจ อื่น และ ... · เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า

3-4 กฎหมายธุรกิจ

ตอนที่3.1

ห้างหุ้นส่วน

โปรดอ่านหัวเรื่องแนวคิดวัตถุประสงค์ของตอนที่3.1แล้วจึงศึกษารายละเอียดต่อไป

หัวเรื่อง3.1.1ห้างหุ้นส่วนสามัญ

3.1.2 ห้างหุ้นส่วนจำกัด

แนวคิดภายใต้บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ห้างหุ้นส่วนจัดตั้งได้โดยมีบุคคล1.

ตั้งแต่สองคนขึ้นไปทำสัญญาที่จะกระทำกิจการร่วมกัน โดยนำทุนมาลงร่วมกัน เพื่อประสงค์ที่

จะแสวงหากำไรมาแบ่งปันกันห้างหุ้นส่วนมี 2 ประเภทคือ ห้างหุ้นส่วนสามัญและห้างหุ้นส่วน

จำกัด

ห้างหุ้นส่วนสามัญคือห้างหุ้นส่วนที่ผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญจะต้องร่วมกันรับผิดต่อ2.

บุคคลภายนอกในหนี้สินทั้งปวงโดยไม่มีจำกัดซึ่งห้างหุ้นส่วนสามัญจะจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล

หรือไม่ก็ได้ถ้าจดทะเบียนจะมีสถานะเป็นนิติบุคคลหรือเรียกว่าห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล

ห้างหุ้นส่วนจำกัดคือ ห้างหุ้นส่วนที่มีผู้เป็นหุ้นส่วน 2 จำพวกคือผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัด3.

ความรับผิดและผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดและกฎหมายบังคับว่าต้องจดทะเบียน

เป็นนิติบุคคล

วัตถุประสงค์เมื่อศึกษาตอนที่3.1จบแล้วนักศึกษาสามารถ

อธิบายและวินิจฉัยเรื่องห้างหุ้นส่วนสามัญได้1.

อธิบายและวินิจฉัยเรื่องห้างหุ้นส่วนจำกัดได้2.

Page 5: หน่วย ที่ 3 หุ้น ส่วน บริษัท องค์กร ธุรกิจ อื่น และ ... · เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า

3-5หุ้นส่วนบริษัทองค์กรธุรกิจอื่นและตลาดหลักทรัพย์

เรื่องที่3.1.1

ห้างหุ้นส่วนสามัญ

ห้างหุ้นส่วนเป็นรูปแบบของธุรกิจที่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยมีห้างหุ้นส่วน

อยู่2ประเภทคือห้างหุ้นส่วนสามัญและห้างหุ้นส่วนจำกัดนอกจากนั้นยังมีบริษัทจำกัดที่อยู่ในบังคับของประมวล

กฎหมายแพง่และพาณิชย์อีกประเภทหนึ่งส่วนบริษัทมหาชนจำกัดนั้นจะอยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติบริษัทมหาชน

จำกัดพ.ศ.2535สาระสำคัญที่ต้องศึกษาในกฎหมายที่เกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนและบริษัทนั้นได้แก่ลักษณะสำคัญการ

จัดตั้งทุนการจัดการความรับผิดข้อจำกัดบางประการการควบกิจการการเลิกกิจการและการชำระบัญชี

สำหรับห้างหุ้นส่วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แบ่งออกเป็น2ประเภทคือห้างหุ้นส่วนสามัญ

และห้างหุ้นส่วนจำกัดห้างหุ้นส่วนสามัญนั้นยังแบ่งออกเป็น2ประเภทคือ 1)ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนหรือ

เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าห้างหุ้นส่วนสามัญและ2)ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าห้างหุ้นส่วน

สามัญนิติบุคคล

ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน1. ลักษณะสำคัญลักษณะที่สำคัญของห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนคือผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วน

สามัญไม่จดทะเบียนนั้นจะต้องร่วมรับผิดโดยไม่จำกัดจำนวนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1025 บัญญัติไว้ว่า “ อันว่า

ห้าง หุ้น ส่วน สามัญ นั้น คือ ห้าง หุ้น ส่วน ประเภท ซึ่ง ผู้ เป็น หุ้น ส่วน หมด ทุก คน ต้อง รับ ผิด ร่วม กัน เพื่อ หนี้ ทั้ง ปวง ของ

หุ้น ส่วน โดย ไม่มี จำกัด”

จากมาตรานี้ จะเห็นได้ว่าลักษณะที่สำคัญของห้างหุ้นส่วนสามัญก็คือ ความรับผิดของผู้เป็นหุ้นส่วนใน

ห้างหุ้นส่วนสามัญจะมีอยู่2ประการคือ

1.1 ต้องร่วมกันรับผิดต่อหนี้สินของห้างหุ้นส่วนที่ผู้เป็นหุ้นส่วนได้กระทำลงในกิจการค้าของ

ห้างหุ้นส่วน แม้ตนจะไม่ใช่เป็นผู้กระทำก็ตาม และการร่วมกันรับผิดนั้นคือต้องร่วมกันรับผิดเสมือนเป็น

ลูกหนี้ร่วมนั่นคือเจ้าหนี้จะเลือกเรียกชำระหนี้จากผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งหรือทั้งหมดร่วมกันรับผิดก็ได้ เช่น

หลินปิง ไทจิน และขวัญไทย เข้าหุ้นกันจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน ชื่อขวัญไทปิงค้าขายอาหารสัตว์

หลนิปงิได้ไปซือ้อาหารแมวมาจำหนา่ยในรา้นเปน็จำนวนเงนิ75,000บาทคา่ซือ้อาหารแมวนี้ถอืวา่เปน็หนี้ของหา้งหุน้สว่น

สามัญขวัญไทปิง ดังนั้นเจ้าหนี้ผู้ขายอาหารแมวอาจจะเรียกชำระหนี้จากหลินปิงหรือไทจินหรือขวัญไทยก็ได้เพราะ

ถือว่าหุ้นส่วนทุกคนต้องร่วมกันรับผิดในหนี้สินของห้างหุ้นส่วนร่วมกัน

1.2ต้องรับผิดในหนี้ทั้งปวงของหุ้นส่วนโดยไม่มีจำกัด หมายความว่าความรับผิดในหนี้ของห้างหุ้น-

สว่นสามญัหุน้สว่นทกุคนตอ้งรบัผดิตอ่หนี้ของหา้งหุน้สว่นนัน้โดยไม่จำกดัจำนวนคำวา่ไมม่ีจำกดัหรอืไม่จำกดัจำนวน

หมายถึงความรับผิดของการลงทุนในหุ้นของหุ้นส่วนแต่ละคนซึ่งอาจจะลงทุนเท่ากันหรือต่างกันก็ได้กฎหมายไม่ได้

กำหนดว่าต้องลงทุนเท่ากัน หุ้นส่วนทุกคนจะปฏิเสธการชำระหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยอ้างว่าตนลงทุนในหุ้นส่วนเพียง

จำนวนเท่านั้นเท่านี้หนี้ที่มีสูงกว่าที่ตนลงทุนตนไม่ขอรับผิดเช่นนี้ไม่ได้ดังนั้นหนี้ของห้างหุ้นส่วนสามัญนั้นหุ้นส่วน

ทุกคนต้องรับผิดโดยไม่มีจำกัดจำนวนเช่นหลินปิงลงทุนในหุ้นส่วนสามัญ100,000บาทไทจิน200,000บาทและ

ขวัญไท500,000บาทหากห้างหุ้นส่วนขวัญไทปิงมีหนี้ของห้างจำนวน900,000บาท เจ้าหนี้จะเรียกให้ใครชำระหนี้

ก็ได้เพราะหุ้นส่วนทุกคนต้องร่วมกันรับผิดตามที่กล่าวมาแล้วในข้อ1.1ถ้าเจ้าหนี้มาเรียกชำระหนี้จากหลินปิงจำนวน

Page 6: หน่วย ที่ 3 หุ้น ส่วน บริษัท องค์กร ธุรกิจ อื่น และ ... · เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า

3-6 กฎหมายธุรกิจ

900,000บาทหลินปิงจะต้องรับผิดชำระหนี้จำนวน900,000บาทให้แก่เจ้าหนี้ของห้างหุ้นส่วนไม่มีสิทธิที่จะปฏิเสธ

ว่าหลินปิงลงทุนในห้างเพียง100,000บาทขอรับผิดเพียง100,000บาทเท่านั้นไม่ได้จะต้องรับผิดในหนี้ทั้งปวงโดย

ไม่มีจำกัดนี่คือความรับผิดในหนี้สินของห้างต่อบุคคลภายนอก

ดังนั้นลักษณะที่สำคัญของห้างหุ้นส่วนสามัญคือผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องร่วมรับผิดในหนี้ของห้างซึ่งถือว่า

เป็นความรับผิดต่อบุคคลภายนอก โดยจะต้องร่วมกันรับผิดเสมือนเป็นลูกหนี้ร่วมและจะต้องรับผิดร่วมกันโดยไม่

จำกัดจำนวน

2. การจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญ ในการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญนั้นกฎหมายกำหนดว่าจะต้องเป็นสัญญาที่

ทำขึ้นระหว่างบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปที่จะร่วมกระทำการค้าอย่างใดด้วยกัน โดยประสงค์ที่จะแสวงหากำไรเพื่อ

มาแบ่งปันกันซึ่งเป็นไปตามบทบัญญัติของป.พ.พ.มาตรา1012ที่บัญญัติว่า“ อันว่า สัญญา จัด ตั้ง ห้าง หุ้น ส่วน หรือ

บริษัท นั้น คือ สัญญา ซึ่ง บุคคล ตั้งแต่ สอง คน ขึ้น ไป ตกลง เข้า กัน เพื่อ กระทำ กิจการ ร่วม กัน ด้วย ประสงค์ จะ แบ่ง ปัน กำไร

อัน จะ พึง ได้ จาก กิจการ ที่ ทำ นั้น”

จากบทบัญญัติของมาตรา1012การจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญมีสาระสำคัญดังนี้

2.1จำนวนหุ้นส่วนกฎหมายกำหนดว่าต้องมีบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปนั่นหมายถึงการที่จะดำเนิน

กิจการค้าขายในลักษณะของห้างหุ้นส่วนนั้นไม่สามารถที่จะกระทำโดยบุคคลคนเดียวได้จะต้องมีบุคคลตั้งแต่2คน

ขึ้นไปและบุคคลตามที่กำหนดไว้ในมาตรา1012ก็ไม่ได้กำหนดไว้ว่าต้องเป็นบุคคลธรรมดาเท่านั้นดังนั้นนิติบุคคล

ก็สามารถที่จะเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนได้

2.2ต้องเป็นสัญญาบุคคลตั้งแต่สองคนนั้นจะต้องทำสัญญาเข้าหุ้นกัน โดยสัญญานั้นกฎหมายก็ไม่

ได้กำหนดว่าจะต้องทำด้วยวิธีการใดดังนั้นไม่ว่าจะทำเป็นลายลักษณ์อักษรหรือด้วยวาจาหรือด้วยวิธีการใดให้รู้ว่า

บุคคลดังกล่าวได้ทำสัญญาเข้าหุ้นต่อกันถือว่ามีผลเป็นการทำสัญญาทั้งสิ้นและจากการที่กฎหมายกำหนดให้ต้องทำ

เป็นสัญญาเข้าหุ้นกันนั้นก็จะต้องพิจารณาตามหลักของการทำสัญญาทั่วไปไม่ว่าจะเป็นเรื่องความสามารถของบุคคล

ในการทำสัญญาความชอบด้วยกฎหมายและความสมบูรณ์ของสัญญาตามหลักทั่วไป

กฎหมายถือว่าสัญญาเข้าหุ้นนี้เป็นสิ่งสำคัญที่หุ้นส่วนทุกคนต้องถือปฏิบัติตามข้อสัญญาที่ตกลงกันไว้

แต่เริ่มต้นการจะไปแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อสัญญานั้นทำไม่ได้นอกจากหุ้นส่วนทุกคนจะยินยอมตามป.พ.พ.มาตรา

1032ที่บัญญัติไว้ว่า“หา้ม ม ิให ้เปลีย่นแปลง ขอ้ สญัญา เดมิ แหง่ หา้ง หุน้ สว่น หรอื ประเภท แหง่ กจิการ นอกจาก ดว้ย ความ

ยินยอม ของ ผู้ เป็น หุ้น ส่วน หมด ด้วย กัน ทุก คน เว้น แต่ จะ มี ข้อ ตกลง กัน ไว้ เป็น อย่าง อื่น” ดังนั้น สัญญาเข้าหุ้นส่วนเป็น

สิ่งที่ผู้จะดำเนินกิจการประเภทหุ้นส่วนสามัญต้องตกลงกันในรายละเอียดต่างๆให้รอบคอบ เพราะถือเป็นหลักใน

การดำเนินกิจการของห้างหุ้นส่วนนั้นๆในทางปฏิบัติควรจะกระทำเป็นลายลักษณ์อักษรจะถูกต้องตามเจตนารมณ์ของ

หุ้นส่วนด้วยกันทุกคนหากตกลงด้วยวาจาอาจเกิดความคลาดเคลื่อนในการอ้างถึงข้อตกลงต่างๆได้เมื่อเวลาผ่านไป

แต่อย่างไรก็ตามกฎหมายก็ไม่ได้กำหนดว่าต้องทำด้วยวิธีใดสุดแต่ผู้เป็นหุ้นส่วนจะเลือกปฏิบัติกันเอง

2.3ต้องกระทำกิจการร่วมกันกฎหมายกำหนดว่าต้องมีการตกลงว่าจะกระทำการร่วมกันคือต้องมี

เจตนาที่จะดำเนินกิจการค้าขายด้วยกัน ในลักษณะที่ร่วมหัวจมท้ายกันในกิจการดังกล่าว สำหรับความหมายคำว่า

กิจการค้านั้นอาจจะมีบางกิจการที่ดูเหมือนมิใช่เป็นการค้าโดยตรงก็ตามก็ถือว่าเป็นกิจการค้าด้วยเช่นกัน เช่น ร่วม

กันเปิดสำนักงานทนายความ เป็นต้น ส่วนที่กฎหมายกำหนดว่าต้องกระทำกิจการร่วมกันนั้นมิได้หมายความว่าทุก

คนต้องกระทำเพราะห้างหุ้นส่วนอาจจะแต่งตั้งให้ผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการหรืออาจจะร่วมกันจัดการ

ห้างหุ้นส่วนก็ได้ การกระทำกิจการร่วมกันนี้จึงหมายถึงเจตนาในการเข้ามาร่วมกันกระทำการค้ามากกว่าหมายถึง

พฤติกรรมในการดำเนินกิจการค้าขาย

Page 7: หน่วย ที่ 3 หุ้น ส่วน บริษัท องค์กร ธุรกิจ อื่น และ ... · เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า

3-7หุ้นส่วนบริษัทองค์กรธุรกิจอื่นและตลาดหลักทรัพย์

2.4ต้องมีการเข้ากันการเข้ากันตามที่กฎหมายกำหนดไว้นั่นก็คือต้องมีการนำเอาทุนมาลงร่วมกัน

ส่วนทุนนั้นจะเป็นเงิน ทรัพย์สินหรือแรงงานก็ได้ เพราะถือว่าการจะดำเนินกิจการร่วมกันได้เงินทุนในการดำเนิน

กิจการก็เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องมี

2.5ต้องประสงค์ที่จะแสวงหากำไรมาแบ่งปันกันถือว่าเป็นสาระสำคัญอีกประการหนึ่งของการ

ดำเนินกิจการในลักษณะที่เป็นห้างหุ้นส่วนเพราะการดำเนินกิจการต่างๆในทางการค้านั้นก็เพื่อมุ่งที่จะแสวงหากำไร

เพื่อเอามาแบ่งปันกันในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วน โดยการแบ่งปันกำไรนั้นถือเอาเกณฑ์ของการลงทุนเป็นสำคัญ โดย

กำไรนั้นจะแบ่งตามสัดส่วนของการลงทุนของหุ้นส่วนแต่ละคน ใครลงทุนมากกว่าก็ได้กำไรมาก ใครลงทุนน้อยก็ได้

ส่วนแบ่งกำไรน้อยใช้เกณฑ์ในสัดส่วนของการลงทุนหรือลงหุ้นเป็นเกณฑ์ในการคำนวณตามป.พ.พ.มาตรา1044

ที่บัญญัติไว้ว่า “อัน ส่วน กำไร ก็ ดี ส่วน ขาดทุน ก็ ดี ของ ผู้ เป็น หุ้น ส่วน ทุกๆ คน นั้น ย่อม เป็น ไป ตาม ส่วน ที่ ลง หุ้น” จาก

มาตรา1044นอกจากที่กำหนดเรื่องเกณฑ์ในการคำนวณกำไรไว้แล้วยังแสดงให้เห็นว่าในการทำสัญญาเข้าหุ้นส่วน

กันนั้นเจตนาเพื่อแสวงหากำไรมาแบ่งปันกัน แม้จะไม่ได้พูดไว้ในเรื่องของการขาดทุนก็ตามแต่ในการดำเนินกิจการ

ค้าย่อมเป็นธรรมดาว่าอาจจะกำไรหรือขาดทุนก็ได้ ดังนั้น มาตราดังกล่าวจึงบัญญัติไว้ครอบคลุมไปถึงการที่ดำเนิน

กิจการแล้วขาดทุนก็ให้ใช้เกณฑ์การคำนวณเดียวกันคือตามส่วนของการลงทุนหรือลงหุ้นนั่นเอง

สรุปได้ว่าการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญนั้นเป็นการที่บุคคลตั้งแต่2คนขึ้นไปไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือ

นิติบุคคล ได้ทำสัญญาในการที่จะเข้าเป็นหุ้นส่วนกัน สัญญานั้นจะทำด้วยวิธีการใดก็ได้ โดยหุ้นส่วนแต่ละคนจะนำ

สิ่งหนึ่งสิ่งใดมาลงหุ้นหรือลงทุนก็ได้ไม่ว่าจะเป็นเงินทรัพย์สินหรือแรงงานโดยต้องมีความประสงค์หรือเจตนาที่จะ

กระทำกิจการค้าร่วมกันด้วยประสงค์ที่จะแสวงหากำไรมาแบ่งปันกัน

3. ทุน เป็นปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่งสำหรับการดำเนินธุรกิจ การดำเนินกิจการห้างหุ้นส่วนสามัญจึงได้

กำหนดให้ต้องมีการนำเงินมาลงทุนหรือลงหุ้นในห้างหุ้นส่วนโดยทุนนั้นกฎหมายกำหนดรายละเอียดและสาระสำคัญ

แยกเป็นประเด็นต่างๆได้ดังนี้

3.1ประเภทของทุนกฎหมายกำหนดไว้อย่างชัดเจนในเรื่องประเภทของทุนในการที่จะนำมาลงหุ้น

ในห้างหุ้นส่วนสามัญว่ามีทั้งหมด 3ประเภทที่ผู้เป็นหุ้นส่วนสามารถเลือกประเภทของทุนที่ตนจะนำมาลงหุ้น โดย

กฎหมายกำหนดไว้ในป.พ.พ. มาตรา 1026ที่บัญญัติว่า “ผู้ เป็น หุ้น ส่วน ทุก คน ต้อง มี สิ่ง ใด สิ่ง หนึ่ง มา ลง หุ้น ด้วย ใน

ห้าง หุ้น ส่วน

สิ่ง ที่ นำ มา ลง หุ้น นั้น จะ เป็น เงิน หรือ ทรัพย์สิน สิ่ง อื่น หรือ ลงแรง งาน ก็ได้”

กฎหมายกำหนดไว้ชัดเจนว่าผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องนำสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาลงทุน โดยกำหนดว่าสิ่งที่จะ

นำมาลงทุนนั้นมีทั้งหมด3ประเภทคือเงินทรัพย์สินหรือแรงงานก็ได้โดยในส่วนของเงินนั้นไม่มีปัญหาในจำนวน

ของการลงทุนเพราะเงินนั้นจำนวนกำหนดได้ชัดเจนในตัวของมันเอง ส่วนทรัพย์สินนั้นกฎหมายไม่ได้กำหนดหรือ

จำกัดว่าจะต้องเป็นทรัพย์สินประเภทใด จึงสามารถนำทรัพย์สินทุกประเภทที่หุ้นส่วนยอมรับกันมาลงทุนได้ จะเป็น

สังหาริมทรัพย์หรืออสังหาริมทรัพย์ก็ได้และหากไม่มีทั้งเงินและทรัพย์สินใดๆมาลงทุนด้วยกฎหมายให้สามารถนำ

เอาแรงงานซึ่งหมายความรวมถึงแรงกายสติปัญญาและความรู้ความสามารถของหุ้นส่วนนั้นมาเป็นทุนได้อีกประเภท

หนึ่งด้วย

3.2จำนวนในการลงทุน นอกจากกฎหมายจะกำหนดให้หุ้นส่วนสามารถลงทุนในประเภทของทุนที่

แตกต่างกันได้ตามข้อ 3.1ที่กล่าวมาแล้ว กฎหมายยังกำหนดให้สามารถลงทุนด้วยจำนวนที่แตกต่างกันได้อีกด้วย

เช่นกัน โดยกฎหมายไม่ได้กำหนดว่าทุนนั้นจะต้องลงเท่าๆกันทุนคนหุ้นส่วนคนใดจะลงทุนเท่าใดมากน้อยกว่ากัน

เพียงใดหรือจะลงทุนเท่ากันก็ได้

Page 8: หน่วย ที่ 3 หุ้น ส่วน บริษัท องค์กร ธุรกิจ อื่น และ ... · เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า

3-8 กฎหมายธุรกิจ

3.3ทุนคือฐานในการคำนวณกำไรขาดทุน เนื่องจากทุนตามที่กฎหมายกำหนดไว้นั้นเป็นฐานในการ

คำนวณกำไรขาดทุนที่กำหนดให้แบ่งกำไรหรือขาดทุนตามส่วนของการลงหุ้นตามป.พ.พ.มาตรา1044ดังที่กล่าว

มาแล้วในเรื่องการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญหัวข้อที่ 2.5 และด้วยลักษณะของทุนในประเภทที่เป็นเงินนั้นไม่มีปัญหา

ในการที่จะทราบจำนวนที่ชัดเจน แต่มีประเภทของทุนที่เป็นทรัพย์สินและแรงงานอาจจะเกิดปัญหาในเรื่องจำนวน

ทุน เพราะอาจมีบางกรณีที่ไม่ได้กำหนดหรือตีราคาทรัพย์สินหรือแรงงานที่นำมาลงหุ้นไว้ กฎหมายได้กำหนดวิธีการ

ในการแก้ปัญหาดังกล่าวไว้ดังนี้

กรณี ทุน ที่ เป็น ทรัพย์สินหากมีการตีราคาทรัพย์สินกันไว้จะสูงต่ำเพียงใดก็ให้เป็นไปตาม

ข้อตกลงของหุ้นส่วน ถือว่าเป็นไปตามข้อสัญญาของหุ้นส่วนที่ร่วมหุ้นกันนั้น กฎหมายจะไม่เข้าไปเกี่ยวข้องในกรณี

ดังกล่าว แต่หากเมื่อใดมิได้กำหนดราคาหรือตีราคาทรัพย์สินกันไว้กฎหมายกำหนดทางแก้ไว้ให้ 2 กรณี โดยคำนึง

ถึงเจตนารมณ์ของการนำทรัพย์สินนั้นมาให้ใช้ในลักษณะใดเป็นสำคัญคือ การนำทรัพย์สินมาให้เป็นกรรมสิทธิ์และ

การนำทรัพย์สินมาให้ใช้ประโยชน์นั้นจะมีความแตกต่างกันทั้งในความเกี่ยวพันความรับผิด โดยหากนำทรัพย์สิน

มาให้เป็นกรรมสิทธิ์จะนำเอาบทบัญญัติของกฎหมายในเรื่องซื้อขายมาใช้บังคับตามป.พ.พ.มาตรา1030ที่บัญญัติ

ไว้ว่า“ ถ้า ผู้เป็น หุ้น ส่วน คน หนึ่ง ให้ กรรมสิทธิ์ ใน ทรัพย์สิน อัน ใด อัน หนึ่ง เป็นการ ลง หุ้น ด้วย ไซร้ ความ เกี่ยว พัน ระหว่าง

ผู ้เปน็ หุน้ สว่น คน นัน้ กบั หา้ง หุน้ สว่น ใน เรือ่ง การ สง่ มอบ และ ซอ่มแซม ก ็ด ีความ รบั ผดิ เพือ่ ชำรดุ บกพรอ่ง ก ็ด ีความ รบั ผดิ

เพือ่ การ รอน สทิธกิ ็ด ีขอ้ ยกเวน้ ความ รบั ผดิ ก ็ด ีทา่น ให ้บงัคบั ตาม บทบญัญตั ิแหง่ ประมวล กฎหมาย นี ้วา่ ดว้ย ซือ้ ขาย” แต่

ถ้าเป็นการนำทรัพย์สินมาให้ใช้ประโยชน์จะนำเอาบทบัญญัติของกฎหมายในเรื่องเช่าทรัพย์มาใช้บังคับตามป.พ.พ.

มาตรา1029บัญญัติไว้ว่า“ ถา้ ผูเ้ปน็ หุน้ สว่น คน หนึง่ เอา ทรพัยส์นิ มา ให ้ใช ้เปน็การ ลง หุน้ ดว้ย ไซร ้ความ เกีย่ว พนั ระหวา่ง

ผู ้เปน็ หุน้ สว่น คน นัน้ กบั หา้ง หุน้ สว่น ใน เรือ่ง การ สง่ มอบ และ ซอ่มแซม ก ็ด ีความ รบั ผดิ เพือ่ ชำรดุ บกพรอ่ง ก ็ด ีความ รบั ผดิ

เพื่อ การ รอน สิทธิก็ ดี ข้อ ยกเว้น ความ รับ ผิด ก็ ดี ท่าน ให้ บังคับ ตาม บทบัญญัติ แห่ง ประมวล กฎหมาย นี้ ว่า ด้วย เช่า ทรัพย์”

กรณี ทุน ที่ เป็น แรงงานหากหุ้นส่วนกำหนดราคาหรือตีราคาค่าแรงกันไว้เพียงใดก็ให้เป็นไปตาม

นั้นแต่หากไม่ได้กำหนดกันไว้กฎหมายมีทางแก้ไว้ให้โดยให้นำเอาจำนวนหุ้นที่หุ้นส่วนอื่นลงไว้นั้นไม่ว่าจะเป็นเงินหรือ

ทรัพย์มารวมกันแล้วถัวเฉลี่ยด้วยจำนวนของหุ้นส่วนที่ลงทุนด้วยเงินหรือทรัพย์สินก็จะเป็นจำนวนทุนที่เป็นแรงงาน

นั้นตามป.พ.พ.มาตรา1028ที่บัญญัติไว้ว่า“ถา้ ผู ้เปน็ หุน้ สว่น คน ใด ได ้ลง แต ่แรงงาน ของ ตน เขา้ เปน็ หุน้ และ ใน สญัญา

เข้า หุ้น ส่วน มิได้ ตี ราคา ค่าแรง ไว้ ท่าน ให้ คำนวณ ส่วน กำไร ของ ผู้ ที่ เป็น หุ้น ส่วน ด้วย ลงแรง งาน เช่น นั้น เสมอ ด้วย ส่วน

ถัว เฉลี่ย ของ ผู้ เป็น หุ้น ส่วน ซึ่ง ได้ ลงเงิน หรือ ทรัพย์สิน เข้า หุ้น ใน การ นั้น”

ตัวอย่างกรณีการคำนวณค่าแรงงาน ถ้าหุ้นส่วนมี3คนหลินปิงลงด้วยเงิน20,000บาทไทจิน

ลงด้วยเงิน10,000บาทขวัญไทยลงด้วยแรงงานและไม่ได้ตีราคาค่าแรงไว้เช่นนี้ต้องนำเอาเงินลงทุนจำนวน20,000

บาทรวมกับ10,000บาทเป็นเงิน30,000บาทแล้วถัวเฉลี่ยเงินลงทุนของผู้ถือหุ้นที่ลงด้วยเงินทั้งสองคน(คือ30,000

หารด้วย2)ก็จะได้ราคาค่าแรงเฉลี่ยออกมาเป็น15,000บาทนั่นหมายถึงราคาค่าแรงของของขวัญเป็น15,000บาท

แต่ข้อเท็จจริงคือหุ้นส่วนไม่ได้มีเงินทุน15,000บาทนี้มาใช้ในกิจการของห้างหุ้นส่วนแต่อย่างใดจำนวนค่าแรง15,000

บาทนี้จึงเป็นเพียงทุนสมมติที่ใช้ในการคำนวณกำไรขาดทุนเท่านั้นเอง

แม้กฎหมายจะกำหนดทางแก้ไว้ตามที่กล่าวมาข้างต้นแล้วก็ตาม แต่หากยังเกิดปัญหาขึ้นมาใน

กรณีอื่นใดที่นอกเหนือจากที่กำหนดไว้แล้วนั้นกฎหมายได้กำหนดทางออกไว้เป็นการอุดช่องว่างไว้อีกกรณีหนึ่งคือ

ถ้าหากกรณีใดมีข้อสงสัยในเรื่องของการลงทุน กฎหมายให้สันนิษฐานว่าเงินที่นำมาลงทุนนั้นเท่ากัน ตาม ป.พ.พ.

มาตรา1027ที่บัญญัติไว้ว่า“ใน เมื่อ กรณี เป็น ข้อ สงสัย ท่าน ให้ สันนิษฐาน ไว้ ก่อน ว่า สิ่ง ซึ่ง นำ มา ลง หุ้น ด้วย กัน นั้น มี ค่า

เท่า กัน”

Page 9: หน่วย ที่ 3 หุ้น ส่วน บริษัท องค์กร ธุรกิจ อื่น และ ... · เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า

3-9หุ้นส่วนบริษัทองค์กรธุรกิจอื่นและตลาดหลักทรัพย์

4. การจัดการงานของห้างหุ้นส่วนสามัญ กฎหมายเปิดโอกาสให้หุ้นส่วนสามารถกำหนดกันได้ว่าจะให้

หุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นผู้ที่จะเข้ามาจัดการงานของห้างหุ้นส่วนหรือกรณีที่ไม่ได้กำหนดให้ใครเป็น

หุ้นส่วนผู้จัดการโดยมีรายละเอียดในกรณีต่างๆดังนี้

4.1กำหนดให้มีหุน้สว่นผู้จดัการคนเดยีวผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการนั้นสามารถจัดการงานของห้างหุ้นส่วน

นั้นได้โดยลำพัง

4.2กำหนดให้มีหุน้สว่นผู้จดัการหลายคนหุน้สว่นผู้จดัการแตล่ะคนสามารถจดัการงานของหา้งหุน้สว่น

ได้โดยลำพงัแต่หากมีกรณีใดที่หุน้สว่นผู้จดัการคนใดทกัทว้งการจดัการนัน้หุน้สว่นผู้จดัการนัน้จะกระทำการที่ทกัทว้ง

นั้นไม่ได้(ป.พ.พ.มาตรา1035)หากกระทำลงไปต้องรับผิดเป็นการส่วนตัว

4.3กรณีที่ไม่ได้กำหนดให้ใครเปน็หุน้สว่นผู้จดัการไว้กรณีเช่นนี้กฎหมายถือว่าหุ้นส่วนทุกคนสามารถ

ที่จะจัดการงานของห้างหุ้นส่วนได้ทุกคน แต่หากมีกรณีใดที่หุ้นส่วนคนใดทักท้วงการจัดการนั้น หุ้นส่วนผู้นั้นจะ

กระทำการที่ทกัทว้งนัน้ไม่ได้(ป.พ.พ.มาตรา1033)หากกระทำลงไปตอ้งรบัผดิเปน็การสว่นตวัและในกรณีนี้กฎหมาย

ให้ถือว่าหุ้นส่วนทุกคนเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ(ป.พ.พ.มาตรา1033วรรค2)

ในการจัดการงานของห้างหุ้นส่วนนั้นกฎหมายกำหนดให้หุ้นส่วนทุกคนต้องจัดการด้วยความระมัดระวังให้

มากเสมือนกับเป็นการจัดการงานของตนเอง (ป.พ.พ.มาตรา 1039) และต้องจัดการไปตามกรอบของวัตถุประสงค์

ของห้างหุ้นส่วนที่เป็นธรรมดาของกิจการค้านั้น (ป.พ.พ.มาตรา1050)และหากกรณีที่ต้องการจะเอาหุ้นส่วนผู้จัดการ

ออกจากตำแหน่งนั้นกฎหมายกำหนดว่าให้ทำได้ด้วยความยินยอมพร้อมใจกันของหุ้นส่วนทุกคนทั้งนี้เว้นเสียแต่ว่า

ได้ตกลงกันไว้ในเรื่องนี้เป็นอย่างอื่นนอกจากการที่ต้องให้ทุกส่วนยินยอมทุกคนก็ให้เป็นไปตามนั้น (ป.พ.พ.มาตรา

1036)

อย่างไรก็ตามสำหรับหุ้นส่วนที่ไม่ได้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการนั้นกฎหมายกำหนดให้มีสิทธิในการที่จะเข้ามาดูแล

ครอบงำกิจการค้าของห้างหุ้นส่วนได้ด้วยวิธีการไต่ถามกิจการงานของห้างได้ทุกเมื่อตลอดจนสามารถที่จะตรวจและ

คัดสำเนาสมุดบัญชีและเอกสารต่างๆของห้างหุ้นส่วนได้(ป.พ.พ.มาตรา1037)

5. ความรับผิดความรับผิดที่เกี่ยวข้องกับกิจการของห้างหุ้นส่วนสามัญมีอยู่ 2 กรณี คือ ความรับผิดต่อ

บุคคลภายนอกและความรับผิดต่อผู้เป็นส่วนด้วยกันโดยมีรายละเอียดดังนี้

5.1ความรับผิดต่อบุคคลภายนอก กฎหมายกำหนดว่าการกระทำใดที่หุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งกระทำ

ลงไปในสิ่งที่ถือว่าเป็นธรรมดาการค้าของห้างหุ้นส่วน ถือว่าการกระทำนั้นผูกพันผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนที่ต้องรับผิด

ต่อการกระทำของผู้เป็นหุ้นส่วนนั้นร่วมกันในหนี้อันได้ก่อให้เกิดขึ้นโดยไม่จำกัดจำนวน (ป.พ.พ.มาตรา1050) การ

ที่กฎหมายกำหนดไว้เช่นนี้ก็เป็นการสอดคล้องกับลักษณะที่สำคัญของห้างหุ้นส่วนสามัญที่หุ้นส่วนทุกคนจะต้อง

รับผิดร่วมกันและไม่จำกัดจำนวนเพียงแต่การกระทำนั้นจะต้องเป็นการกระทำที่เป็นธรรมดาการค้าของห้าง

การที่ผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดออกจากห้างหุ้นส่วนไปแล้วก็หาพ้นความรับผิดต่อบุคคลภายนอกไม่ยังคง

ต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกแต่รับผิดเพียงเฉพาะหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนที่ตนจะออกจากห้างหุ้นส่วนไป(ป.พ.พ.มาตรา

1051)และเชน่เดยีวกนักบัผู้เปน็หุน้สว่นที่เขา้มาใหม่ในหา้งหุน้สว่นนัน้ก็จะตอ้งรบัผดิตอ่หนี้ที่เกดิขึน้กอ่นที่ตนจะเขา้มา

เป็นหุ้นส่วนด้วย(ป.พ.พ.มาตรา1052)จึงเห็นได้ว่ากฎหมายมุ่งคุ้มครองประโยชน์ของบุคคลภายนอกเป็นสำคัญ

5.2 ความรับผิดต่อผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันความรับผิดของผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันนั้นก็เป็นไปตาม

ส่วนของการกระทำ หากเป็นการกระทำที่อยู่ในกรอบอำนาจที่เป็นธรรมดาการค้าขายของห้างหุ้นส่วน ในระหว่าง

หุน้สว่นผู้จดัการและผู้เปน็หุน้สว่นอืน่กฎหมายให้ถอืวา่หุน้สว่นผู้จดัการนัน้เปน็ตวัแทนของหุน้สว่นอืน่ทกุคน(ป.พ.พ.

มาตรา1042)

Page 10: หน่วย ที่ 3 หุ้น ส่วน บริษัท องค์กร ธุรกิจ อื่น และ ... · เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า

3-10 กฎหมายธุรกิจ

แต่หากมีการกระทำเกินขอบอำนาจของผู้เป็นหุ้นส่วนโดยมิได้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการแต่เข้าไปจัดการงานของ

ห้าง หรือหุ้นส่วนผู้จัดการกระทำการที่เกินกว่าอำนาจที่ตนมี ทั้งสองกรณีหากไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ห้างหรือ

เป็นประโยชน์ต่อห้างก็ถือว่าเป็นผลดีต่อห้างหุ้นส่วนนั้นไปแต่หากเป็นกรณีที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่ห้างหุ้นส่วน

กฎหมายถือว่าหุ้นส่วนคนนั้นหรือหุ้นส่วนผู้จัดการนั้นจะต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดจากการกระทำดังกล่าว

ถือว่าเป็นการกระทำที่จัดการงานนอกสั่ง(ป.พ.พ.มาตรา1043)

6. ข้อจำกัดบางประการสำหรับผู้เป็นหุ้นส่วน หากผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดไปประกอบกิจการค้าขายสภาพ

ดุจเดียวกันและเป็นการแข่งขันกับห้างหุ้นส่วนที่ตนเป็นหุ้นส่วนอยู่ ไม่ว่าจะเพื่อประโยชน์ของตนเองหรือของผู้อื่น

ก็ตามถ้าการไปประกอบกิจการดังกล่าวเกิดผลเสียต่อห้างหุ้นส่วนเดิมผู้เป็นหุ้นส่วนนั้นจะต้องรับผิดต่อความเสีย

หายที่เกิดขึ้นโดยหากกรณีที่กิจการที่ไปประกอบการเป็นการแข่งขันมีกำไรผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นๆสามารถที่จะเรียกเอา

กำไรที่ได้มาทั้งหมดนั้นได้หรืออาจจะเรียกเป็นค่าเสียหายก็สามารถทำได้เช่นกันเว้นเสียแต่ว่าการไปประกอบกิจการ

ดังกล่าวได้รับความยินยอมจากผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนกรณีเช่นนี้หุ้นส่วนผู้นั้นก็ไม่ต้องรับผิดชอบในการกระทำการ

ค้าขายที่เป็นการแข่งขันดังกล่าว (ป.พ.พ.มาตรา1038)

7. การควบห้างหุ้นส่วนสามัญ เนื่องจากกิจการของห้างหุ้นส่วนสามัญนั้นไม่ได้จดทะเบียน จึงไม่มีสถานะ

เป็นนิติบุคคลเมื่อไม่ได้เป็นนิติบุคคลจึงไม่สามารถที่จะควบรวมกิจการกับนิติบุคคลใดๆได้

8. การเลิกกิจการการเลิกกิจการนั้นกฎหมายกำหนดไว้ 2กรณีคือการเลิกโดยการร้องขอต่อศาลให้เป็น

ผู้สั่งให้เลิกและการเลิกโดยไม่ต้องร้องต่อศาล

8.1การเลิกโดยต้องร้องขอต่อศาลให้ศาลสั่งเลิกจะต้องมีเหตุที่เกิดขึ้นตามที่กฎหมายกำหนดไว้ดังนี้

8.1.1เมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งนอกจากผู้ร้องขอนั้นล่วงละเมิดบทบังคับใดๆอันเป็นข้อ

สาระสำคัญซึ่งสัญญาหุ้นส่วนกำหนดไว้แก่ตนโดยจงใจหรือเลินเล่ออย่างร้ายแรง

8.1.2เมื่อกิจการของห้างหุ้นส่วนนั้นจะทำไปก็มีแต่ขาดทุนอย่างเดียว และไม่มีหวังกลับฟื้นตัว

ได้อีก

8.1.3 เมื่อมีเหตุอื่นใดๆทำให้ห้างหุ้นส่วนนั้นเหลือวิสัยที่จะดำรงคงอยู่ต่อไปได้

เมื่อมีเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นกฎหมายให้สิทธิในการที่หุ้นส่วนคนใดจะใช้สิทธิในการร้องต่อศาล

ให้ศาลสั่งให้เลิกกิจการของห้างหุ้นส่วนนั้นได้เพราะในแต่ละเหตุเป็นเหตุที่สำคัญอันมีผลกระทบต่อการดำเนินกิจการ

ของห้างหุ้นส่วนต่อไปได้ (ป.พ.พ.มาตรา 1057) แต่อย่างไรก็ตามศาลอาจใช้ดุลยพินิจสั่งให้กำจัดหุ้นส่วนแทนการ

สั่งเลิกก็ได้ หากศาลพบว่าสาเหตุแห่งการร้องขอต่อศาลที่ขอให้ศาลสั่งให้เลิกห้างหุ้นส่วนสามัญนั้นเกิดจากสาเหตุที่

เกี่ยวกับผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งเป็นต้นเหตุ ศาลอาจสั่งให้กำจัดผู้เป็นหุ้นส่วนผู้นั้นแทนการสั่งให้เลิกกิจการของ

ห้างหุ้นส่วนนั้นก็ได้(ป.พ.พ.มาตรา1058)

8.2การเลิกโดยไม่ต้องร้องต่อศาลการเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญในกรณีดังต่อไปนี้ไม่จำต้องร้องขอต่อ

ศาลให้สั่งเลิกคือ

8.2.1ถ้าในการทำสัญญาเข้าหุ้นส่วนกันได้กำหนดกรณีอันใดไว้ที่จะเป็นเหตุให้เลิกกันและเมื่อ

มีกรณีดังกล่าวเกิดขึ้นก็ถือว่าห้างหุ้นส่วนสามัญนั้นเป็นอันเลิกกัน

8.2.2ถา้ในการทำสญัญาเขา้หุน้สว่นกนัได้กำหนดระยะเวลากนัไว้เมือ่สิน้ระยะเวลาตามที่กำหนด

ก็ถือว่าห้างหุ้นส่วนนั้นเป็นอันเลิกกันแต่หากสิ้นเวลาแล้วยังดำเนินกิจการอยู่ไม่ทำการชำระบัญชีให้แล้วเสร็จกฎหมาย

ถือว่าประสงค์จะดำเนินกิจการต่อจึงให้ถือว่าห้างหุ้นส่วนนั้นยังคงดำเนินการต่อไปโดยไม่มีระยะเวลาสิ้นสุด(ป.พ.พ.

มาตรา1059)

Page 11: หน่วย ที่ 3 หุ้น ส่วน บริษัท องค์กร ธุรกิจ อื่น และ ... · เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า

3-11หุ้นส่วนบริษัทองค์กรธุรกิจอื่นและตลาดหลักทรัพย์

8.2.3ถ้าในการทำสัญญาเข้าหุ้นส่วนกันกำหนดกันไว้ว่าจะกระทำการใดเป็นการเฉพาะการใดการ

หนึ่งเท่านั้นเมื่อเสร็จสิ้นการนั้นก็ถือว่าห้างหุ้นส่วนนั้นเป็นอันเลิกกัน

8.2.4เมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งบอกเลิกโดยได้บอกกล่าวต่อหุ้นส่วนขอเลิกเมื่อสิ้นรอบปี

บัญชีของห้างหุ้นส่วนโดยต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนสิ้นรอบปีไม่น้อยกว่าหกเดือนแต่หากหุ้นส่วนอื่นรับซื้อหุ้นของ

ผู้เป็นหุ้นส่วนที่บอกเลิกนั้นกฎหมายก็ให้ถือว่าสัญญาเข้าหุ้นส่วนที่กำหนดกันไว้นั้นยังคงสามารถใช้ได้ต่อไปสำหรับ

หุ้นส่วนที่ยังเหลืออยู่นั้น(ป.พ.พ.มาตรา1060)

8.2.5 เมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งตายหรือล้มละลายหรือตกเป็นผู้ไร้ความสามารถแต่หาก

ผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งได้เข้ามารับซื้อหุ้นของผู้เป็นหุ้นส่วนที่ตาย หรือล้มละลาย หรือเป็นผู้ไร้ความสามารถไว้

สัญญาเข้าหุ้นส่วนที่กำหนดกันไว้นั้นยังคงสามารถใช้ได้ต่อไปสำหรับหุ้นส่วนที่ยังเหลืออยู่นั้น(ป.พ.พ.มาตรา1060)

8.2.6เมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนตกลงร่วมกันว่าจะเลิกห้างหุ้นส่วน

หากมีเหตุอย่างใดเกิดขึ้นใน6กรณีนี้กฎหมายถือว่าห้างหุ้นส่วนสามัญนั้นเป็นอันเลิกกันไปตามเหตุ

ที่เกิดขึ้นนั้นๆโดยไม่จำเป็นต้องร้องขอต่อศาลให้สั่งเลิกแต่อย่างใด

9. การชำระบัญชี เมื่อห้างหุ้นส่วนสามัญเลิกกันด้วยสาเหตุใดก็ตามที่กล่าวมา กฎหมายกำหนดให้จัดการ

ชำระบัญชีเว้นแต่จะได้ตกลงกันให้จัดการทรัพย์สินโดยวิธีอื่นในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันหรือว่าห้างหุ้นส่วนนั้น

ศาลได้พิพากษาให้ล้มละลายสำหรับการชำระบัญชีมีวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้ให้เป็นไปตามลำดับในการจัดการ

ทรัพย์สินและหนี้สินต่างๆที่เกี่ยวข้องกับกิจการของห้างหุ้นส่วนสามัญดังนี้

9.1ให้จัดการชำระหนี้ทั้งปวงที่ค้างชำระแก่บุคคลภายนอก

9.2ให้ชดใช้เงินทดรองจ่ายและค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่ผู้เป็นหุ้นส่วนได้เอาเงินของตนออกใช้ไปเพื่อจัด

การค้าของห้างหุ้นส่วน

9.3ให้คืนทุนตามส่วนที่ผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ละคนได้ลงหุ้นไว้

เมื่อดำเนินการตามลำดับที่กล่าวมาแล้วยังมีเงินหรือทรัพย์อื่นเหลืออยู่ก็ถือว่าเป็นกำไรก็ให้แบ่งให้แก่ผู้เป็น

หุ้นส่วน(ป.พ.พ.มาตรา1062)โดยกฎหมายกำหนดให้แบ่งส่วนกำไรตามส่วนของการลงทุน(ป.พ.พ.มาตรา1044)

แต่หากเงินที่ใช้คืนตามลำดับนั้นไม่เหลือพอที่จะชำระคืนในข้อหนึ่งข้อใดตามที่ลำดับมาก็ถือว่ากิจการของห้างหุ้นส่วน

นั้นขาดทุนผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมดก็ต้องเฉลี่ยการขาดทุนนั้นเช่นกัน โดยใช้หลักการตามที่กฎหมายกำหนดเอาไว้ คือ

เฉลี่ยการขาดทุนตามส่วนของการลงทุน(ป.พ.พ.มาตรา1044)

ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนกฎหมายกำหนดไว้ว่าห้างหุ้นส่วนสามัญสามารถที่จะจดทะเบียนก็ได้โดยรายละเอียดในการจดทะเบียนเป็น

ไปตามที่กฎหมายกำหนดเอาไว้ตามป.พ.พ.มาตรา1064ที่บัญญัติไว้ว่า“อัน ห้าง หุ้น ส่วน สามัญ นั้น จะ จด ทะเบียน

ก็ได้

การ ลง ทะเบียน นั้น ท่าน บังคับ ให้ มี รายการ ดังนี้ คือ

(1) ชื่อ ห้าง หุ้น ส่วน

(2) วัตถุ ที่ ประสงค์ ของ ห้าง หุ้น ส่วน

(3) ที่ ตั้ง สำนักงาน แห่ง ใหญ่ และ สาขา ทั้ง ปวง

(4) ชื่อ และ ที่ สำนัก กับ ทั้ง อาชีวะ ของ ผู้ เป็น หุ้น ส่วน ทุกๆ คน ถ้า ผู้ เป็น หุ้น ส่วน คน ใด มีชื่อ ยี่ห้อ ก็ ให้ ลง ทะเบียน

ทั้ง ชื่อ และ ยี่ห้อ ด้วย

(5) ชื่อ หุ้น ส่วน ผู้ จัดการ ใน เมื่อ ได้ ตั้ง แต่ง ให้ เป็น ผู้ จัดการ แต่ เพียง บาง คน

Page 12: หน่วย ที่ 3 หุ้น ส่วน บริษัท องค์กร ธุรกิจ อื่น และ ... · เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า

3-12 กฎหมายธุรกิจ

(6) ถ้า มี ข้อ จำกัด อำนาจ ของ หุ้น ส่วน ผู้ จัดการ ประการ ใด ให้ ลง ไว้ ด้วย

(7) ตรา ซึ่ง ใช้ เป็น สำคัญ ของ ห้าง หุ้น ส่วน

ข้อความ ซึ่ง ลง ทะเบียน นั้น จะ ลง ราย กา รอื่นๆ อีก อัน คู่ สัญญา เห็น สมควร จะ ให้ ประชาชน ทราบ ด้วย ก็ได้

การ ลง ทะเบียน นั้น ต้อง ลง ลายมือ ชื่อ ของ ผู้ เป็น หุ้น ส่วน ทุก คน และ ต้อง ประทับ ตรา ของ ห้าง หุ้น ส่วน นั้น ด้วย

ให้ พนักงาน ทะเบียน ทำ ใบ สำคัญ แสดง การ จด ทะเบียน ส่ง มอบ ให้ แก่ ห้าง หุ้น ส่วน นั้น ฉบับ หนึ่ง”

จากการที่กฎหมายให้นำห้างหุ้นส่วนสามัญไปจดทะเบียนได้ตามที่กล่าวมาแล้วนั้นกฎหมายยังให้ถือว่าเมื่อได้

จดทะเบียนตามกฎหมายนี้ให้ถือว่าเป็นนิติบุคคลและผลที่ตามมาเกี่ยวกับความรับผิดต่อบุคคลภายนอกจะแตกต่าง

กันไปจากห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่จดทะเบียนเพราะกฎหมายกำหนดว่าเมื่อใดก็ตามที่องค์กรธุรกิจที่กฎหมายกำหนด

ให้ต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลความรับผิดของนิติบุคคลนั้นจะแยกต่างหากจากผู้ที่เป็นหุ้นส่วนขององค์กรธุรกิจ

นั่นหมายถึงนิติบุคคลนั้นจะเป็นผู้ที่รับผิดชอบต่อบุคคลภายนอกในหนี้สินและการกระทำต่างๆที่เกิดจากกิจการค้า

ของห้างหุ้นส่วนหรือองค์กรธุรกิจนั้นๆ เป็นสำคัญความรับผิดของผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนที่จดทะเบียนก็ยังมีอยู่

แต่จะเข้ามารับผิดก็ต่อเมื่อห้างหุ้นส่วนนั้นได้ผิดนัดชำระหนี้แล้วและห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนนั้นไม่มีความสามารถที่

จะชำระหนี้นั้นได้ซึ่งจะต่างจากห้างหุ้นส่วนไม่จดทะเบียนที่เจ้าหนี้สามารถฟ้องผู้ถือหุ้นทุกคนได้โดยตรง

ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1016 ที่บัญญัติไว้ว่า “ห้าง หุ้น ส่วน หรือ บริษัท เมื่อ ได้ จด ทะเบียน ตาม บทบัญญัติ แห่ง

ลักษณะ นี้ แล้ว ท่าน จัด ว่า เป็น นิติบุคคล ต่าง หาก จาก ผู้ เป็น หุ้น ส่วน หรือ ผู้ ถือ หุ้น ทั้ง หลาย ซึ่ง รวม เข้า กัน เป็น ห้าง หุ้น ส่วน

หรือ บริษัท นั้น”

มาตรา1070ที่บัญญัติไว้ว่า“เมือ่ ใด หา้ง หุน้ สว่น ซึง่ จด ทะเบยีน ผดินดั ชำระ หนี ้เมือ่ นัน้ เจา้ หนี ้ของ หา้ง หุน้ สว่น

นั้น ชอบ ที่ จะ เรียก ให้ ชำระ หนี้ เอาแต่ ผู้ เป็น หุ้น ส่วน คน ใด คน หนึ่ง ก็ได้”

มาตรา1071ที่บัญญัติไว้ว่า“ใน กรณี ที่ กล่าว ไว้ ใน มาตรา 1070 นั้น ถ้า ผู้ เป็น หุ้น ส่วน นำ พิสูจน์ ได้ ว่า

(1) สินทรัพย์ ของ ห้าง หุ้น ส่วน ยัง มี พอที่ จะ ชำระ หนี้ ได้ ทั้งหมด หรือ บาง ส่วน และ

(2) การ ที่ จะ บังคับ เอา แก่ ห้าง หุ้น ส่วน นั้น ไม่ เป็นการ ยาก ฉะนี้ ไซร้

ศาล จะ บังคับ ให้ เอา สินทรัพย์ ของ ห้าง หุ้น ส่วน นั้น ชำระ หนี้ ก่อน ก็ได้ สุดแต่ ศาล จะ เห็น สมควร”

จากบทบัญญัติในสามมาตราที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าความรับผิดของผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญที่จด

ทะเบียนนั้นแยกต่างหากจากตัวห้างหุ้นส่วนสามัญที่จะต้องเข้ามารับผิดก่อนเจ้าหนี้ทั้งหลายของห้างหุ้นส่วนก็จะต้อง

เรียกชำระหนี้จากห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนก่อนถ้าห้างหุ้นส่วนไม่ชำระหนี้นั่นหมายถึงห้างหุ้นส่วนผิดนัดชำระหนี้ผู้เป็น

หุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนที่จดทะเบียนก็ยังคงต้องร่วมรับผิดโดยไม่จำกัดจำนวนเพราะเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญแต่อย่างไร

ก็ตามถ้ามีการฟ้องร้องต่อศาลเพื่อเรียกให้รับผิดชอบในหนี้สินต่างๆของห้างหุ้นส่วนผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วน

จดทะเบียนยังพอที่จะบ่ายเบี่ยงให้ไปเรียกเอาจากทรัพย์สินอื่นของห้างหุ้นส่วนก่อนที่ตนจะเข้าไปรับผิดชอบได้อีกด้วย

แต่การนั้นจะต้องพิสูจน์ให้ศาลเห็นว่ายังมีทรัพย์สินอื่นของห้างหุ้นส่วนนั้นอยู่และการที่จะไปบังคับเอานั้นไม่เป็นการ

ยากซึ่งเป็นเพียงสิทธิในการนำเสนอข้อเท็จจริงสู่ศาลศาลจะเป็นผู้พิจารณาว่าเห็นสมควรหรือไม่

สำหรับประเด็นอื่นๆที่เป็นสาระสำคัญที่แตกต่างไปจากห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่จดทะเบียนมีดังนี้

1.การลาออกจากการเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ กฎหมายกำหนดให้หุ้นส่วนผู้จัดการลาออกจากการเป็นหุ้นส่วน

ผู้จัดการได้ซึ่งต่างกับห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่จดทะเบียนที่กฎหมายไม่ได้กำหนดเรื่องนี้ไว้โดยในการลาออกจากการ

เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนนั้นสามารถทำได้ดังนี้

กรณีมีหุ้นส่วนผู้จัดการหลายคน ให้ยื่นใบลาออกต่อหุ้นส่วนผู้จัดการอื่นคนใดก็ได้และให้มีผลนับแต่

ใบลาออกนั้นถึงหุ้นส่วนผู้จัดการอื่นคนใดคนหนึ่งนั้น(ป.พ.พ.มาตรา1064/1)

Page 13: หน่วย ที่ 3 หุ้น ส่วน บริษัท องค์กร ธุรกิจ อื่น และ ... · เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า

3-13หุ้นส่วนบริษัทองค์กรธุรกิจอื่นและตลาดหลักทรัพย์

กรณีมีหุ้นส่วนผู้จัดการคนเดียวให้แจ้งเป็นหนังสือต่อผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งทราบเพื่อนัดประชุมและ

พิจารณาแต่งตั้งหุ้นส่วนผู้จัดการคนใหม่ ทั้งนี้ให้แนบใบลาไปพร้อมกับหนังสือดังกล่าวด้วย และการลาออกให้มีผล

นับแต่ใบลาอออกไปถึงหุ้นส่วนคนนั้น(ป.พ.พ.มาตรา1064/1วรรค2)

การลาออกของหุ้นส่วนผู้จัดการนี้กฎหมายไม่ได้กำหนดว่าต้องแจ้งนายทะเบียน แต่จะแจ้งก็ได้ (ป.พ.พ.

1064/1 วรรค 3) แต่เมื่อใดที่เปลี่ยนแปลงผู้จัดการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว กฎหมายกำหนดว่าต้องแจ้งให้นายทะเบียน

ทราบภายในเวลา14วันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง(ป.พ.พ.มาตรา1064/2)

อนึ่ง การลาออกจากการเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการนี้ เป็นการลาออกจากตำแหน่งในการจัดการงานของห้างมิใช่

เป็นการลาออกจากห้างหุ้นส่วนดังนั้น หุ้นส่วนผู้จัดการที่ลาออกจากตำแหน่งหุ้นส่วนผู้จัดการยังคงเป็นหุ้นส่วนใน

ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนอยู่

2. ความรับผิดกรณีผู้เป็นหุ้นส่วนออกจากห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนแม้ผู้เป็นหุ้นส่วนจะออกจาก

ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนไปแล้วก็ตาม กฎหมายกำหนดว่ายังคงต้องรับผิดในหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนที่ตนจะออก

จากห้าง เช่นเดียวกับความรับผิดของหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน เพียงแต่ระยะเวลาในความรับผิด

ดังกล่าวนั้น มีเพียง 2 ปี นับแต่วันที่ผู้เป็นหุ้นส่วนนั้นได้ออกจากห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนนี้ไปหากพ้นกำหนดเวลา

2ปีก็ไม่ต้องรับผิดในหนี้ดังกล่าว(ป.พ.พ.มาตรา1068)

3. ความรับผิดของผู้เป็นหุ้นส่วนที่ประกอบกิจการค้าขายแข่งกับห้างหุ้นส่วน ในเรื่องการค้าขายแข่งกับ

ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนมีประเด็นที่แตกต่างจากห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน2ประเด็นสำคัญคือ

3.1ข้อห้ามที่เพิ่มขึ้นโดยหลักในการห้ามผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนที่จะประกอบ

กจิการคา้ขายที่มีสภาพดจุเดยีวกนัและเปน็การแขง่ขนักบัหา้งหุน้สว่นนัน้เหมอืนกนักบัหา้งหุน้สว่นสามญัไม่จดทะเบยีน

เพียงแต่เพิ่มข้อห้ามขึ้นมาอีกประการหนึ่งห้ามมิให้เข้าไปเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนอื่นที่

ประกอบกิจการค้าขายอันมีสภาพดุจเดียวกันและเป็นการแข่งขันกับห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน (ป.พ.พ. มาตรา

1066 วรรคหนึ่ง) แต่ถ้าหากหุ้นส่วนผู้นั้นได้กระทำกิจการหรือเข้าเป็นหุ้นส่วนที่ไม่จำกัดความรับผิดอยู่ก่อนที่จะทำ

สัญญาเข้าหุ้นกัน และหุ้นส่วนทั้งหลายก็มิได้บังคับให้ถอนตัวออกเช่นนี้ เมื่อจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนแล้วจะไปอ้างว่า

ผู้เป็นหุ้นส่วนคนนั้นประกอบกิจการค้าขายแข่งตามมาตรานี้ไม่ได้(ป.พ.พ.1066วรรค2)

3.2ระยะเวลาในการเรียกร้องกำไรหรือค่าสินไหมทดแทนความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการค้าขายแข่ง

ในความรับผิดของห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนกฎหมายมิได้กำหนดระยะเวลาในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน

หรือการเรียกกำไรไว้แต่อย่างใดแต่ในห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนกฎหมายกำหนดให้ต้องเรียกเอาภายในระยะเวลา

1ปีนับแต่มีการฝ่าฝืน(ป.พ.พ.มาตรา1067วรรค2)

4. การควบห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน เนื่องจากห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนมีสภาพเป็นนิติบุคคล

กฎหมายจึงกำหนดให้สามารถที่จะควบกับห้างหุ้นส่วนที่จดทะเบียนแล้วเท่านั้น จะควบเข้ากับห้างหุ้นส่วนที่ไม่ได้

จดทะเบียนไม่ได้โดยการควบห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนกฎหมายกำหนดให้ดำเนินการดังนี้

4.1 ต้องได้รับความยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนที่จะควบเข้ากันนั้น

ทุกคนเว้นแต่จะมีข้อตกลงเรื่องความยินยอมนี้ไว้เป็นประการอื่นนอกจากนี้ก็ให้เป็นไปตามนั้น(ป.พ.พ.มาตรา1073)

4.2 ห้างหุ้นส่วนใดที่จะควบเข้าหากันจะต้องลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องถิ่นอย่างน้อยสองครั้ง

4.3 ต้องส่งคำบอกกล่าวไปยังเจ้าหนี้เพื่อให้เจ้าหนี้คัดค้านหากเจ้าหนี้เห็นว่าตนจะเสียประโยชน์โดย

ให้เวลาที่เจ้าหนี้จะทำการคัดค้านได้ภายใน3เดือนนับแต่วันบอกกล่าว

Page 14: หน่วย ที่ 3 หุ้น ส่วน บริษัท องค์กร ธุรกิจ อื่น และ ... · เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า

3-14 กฎหมายธุรกิจ

หากเจ้าหนี้ไม่คัดค้านมาภายในเวลา 3 เดือน ถือว่าไม่มีคำคัดค้าน ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน

สามารถดำเนินการควบเข้ากันต่อไป

หากเจ้าหนี้คัดค้านมาภายในระยะเวลาดังกล่าวกฎหมายห้ามมิให้ดำเนินการควบเข้ากันจนกว่าจะชำระ

หนี้หรือหาประกันจนเป็นที่พอใจของเจ้าหนี้ก่อนจึงจะสามารถควบเข้ากันได้(ป.พ.พ.มาตรา1074)

4.4เมื่อควบเข้ากันแล้วต่างห้างต่างก็ต้องนำความไปจดทะเบียนว่าได้ควบเข้าเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ

จดทะเบียนขึ้นมาใหม่(ป.พ.พ.มาตรา1075)

4.5ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนใหม่นี้จะรับไปทั้งสิทธิและความรับผิดของห้างหุ้นส่วนเดิมที่ได้ควบ

เข้ากันทั้งสิ้น(ป.พ.พ.มาตรา1076)

5. การเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนหลักเกณฑ์ในการเลิกกิจการห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนนั้น

ใช้หลักกฎหมายในการเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนทุกประการ เพิ่มเติมเฉพาะกรณีที่เลิกห้างหุ้นส่วนโดย

ไม่ต้องร้องขอให้ศาลสั่งตามป.พ.พ.มาตรา1055ขึ้นมาอีกหนึ่งกรณีคือห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนจะเลิกเมื่อ

ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนนั้นล้มละลาย(ป.พ.พ.มาตรา1069)

กิจกรรม3.1.1

เมื่อนำเอาห้างหุ้นส่วนสามัญไปจดทะเบียนจะมีผลทางกฎหมายอย่างไรจงอธิบาย

แนวตอบกิจกรรม3.1.1

เมือ่ใดกต็ามที่นำหา้งหุน้สว่นสามญัไปจดทะเบยีนหา้งหุน้สว่นสามญันัน้จะมีสภาพเปน็นติบิคุคลตาม

ป.พ.พ.มาตรา1015นัน่หมายความวา่ความรบัผดิของผู้เปน็หุน้สว่นนัน้แยกตา่งหากจากความเปน็หา้งหุน้สว่น

ที่เป็นนิติบุคคลซึ่งหมายถึงความรับผิดที่เกิดขึ้นจากการจัดการงานของห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนนั้น

ห้างหุ้นส่วนจะต้องรับผิดชอบเป็นอันดับแรกผู้เป็นหุ้นส่วนสามารถที่จะบอกปัดหนี้ของห้างหุ้นส่วนสามัญ

จดทะเบียน โดยให้ไปเรียกเอากับห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนที่เป็นนิติบุคคลนั้นได้แต่ถ้าห้างหุ้นส่วนสามัญ

จดทะเบียนนั้นผิดนัดชำระหนี้แล้ว เจ้าหนี้อาจมาฟ้องร้องเอากับผู้เป็นหุ้นส่วนได้แต่ผู้เป็นหุ้นส่วนก็ยังสามารถ

ที่จะใช้สิทธิในการบ่ายเบี่ยงให้ไปเรียกเอากับทรัพย์สินอื่นของห้างหุ้นส่วนที่ยังมีอยู่หากการที่จะไปเรียกเอาจาก

ทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนนั้นไม่เป็นการยาก(ป.พ.พ.มาตรา1070-1071)

Page 15: หน่วย ที่ 3 หุ้น ส่วน บริษัท องค์กร ธุรกิจ อื่น และ ... · เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า

3-15หุ้นส่วนบริษัทองค์กรธุรกิจอื่นและตลาดหลักทรัพย์

เรื่องที่3.1.2

ห้างหุ้นส่วนจำกัด

ห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นห้างหุ้นส่วนอีกประเภทหนึ่งที่กฎหมายกำหนดว่าต้องจดทะเบียน จึงทำให้ห้างหุ้นส่วน

จำกัดมีสภาพเป็นนิติบุคคลซึ่งมีความรับผิดแยกต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วนเช่นเดียวกับห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล

(ป.พ.พ.มาตรา1015)และกฎหมายกำหนดให้นำเอาบทบัญญัติในเรื่องห้างหุ้นส่วนสามัญไม่ว่าจะเป็นในห้างหุ้นส่วน

สามัญจดทะเบียนหรือไม่จดทะเบียนก็ตามมาใช้บังคับเท่าที่ไม่ขัดกับห้างหุ้นส่วนจำกัดโดยอนุโลม อีกทั้งในส่วนของ

ความเกี่ยวพันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันหรือระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนกับห้างหุ้นส่วนของผู้ที่เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่

จำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนจำกัด ก็ให้นำเอาบทบัญญัติของห้างหุ้นส่วนสามัญในเรื่องดังกล่าวมาใช้บังคับโดย

อนุโลมเช่นกัน ตามป.พ.พ.มาตรา1080ที่บัญญัติไว้ว่า“ บทบัญญัติ ว่า ด้วย ห้าง หุ้น ส่วน สามัญ ข้อ ใดๆ หาก มิได้ ยกเว้น

หรือ แก้ไข เปลี่ยนแปลง ไป โดย บทบัญญัติ แห่ง หมวด 3 นี้ ท่าน ให้ นำ มา ใช้ บังคับ แก่ ห้าง หุ้น ส่วน จำกัด ด้วย

ถา้ ผู ้เปน็ หุน้ สว่น จำพวก ไม ่จำกดั ความ รบั ผดิ นัน้ ม ีอยู ่หลาย คน ดว้ย กนั ทา่น ให ้ใช ้บทบญัญตั ิสำหรบั หา้ง หุน้ สว่น

สามัญ เป็น วิธี บังคับ ใน ความ เกี่ยว พัน ระหว่าง คน เหล่า นั้น เอง และ ความ เกี่ยว พัน ระหว่าง ผู้ เป็น หุ้น ส่วน เหล่า นั้น กับ

ห้าง หุ้น ส่วน”

สาระสำคัญที่ต้องศึกษาในกฎหมายที่เกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ได้แก่ ลักษณะสำคัญ การจัดตั้ง ทุน การ

จัดการความรับผิดข้อจำกัดบางประการ การควบกิจการการเลิกกิจการและการชำระบัญชี

1. ลักษณะสำคัญลักษณะที่สำคัญของห้างหุ้นส่วนจำกัด นอกจากที่กฎหมายกำหนดว่าต้องจดทะเบียน

เป็นนิติบุคคลแล้วจะต้องเป็นห้างหุ้นส่วนที่มีผู้เป็นหุ้นส่วน2จำพวกคือหุ้นส่วนที่ไม่จำกัดความรับผิดและหุ้นส่วน

ที่จำกัดความรับผิด จำนวนอย่างน้อยจำพวกละหนึ่งคน เพราะห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นประเภทหนึ่งของห้างหุ้นส่วน

ที่ต้องดำเนินการโดยมีผู้เข้ามากระทำการร่วมกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป ดังนั้น เมื่อกฎหมายกำหนดว่าต้องมีหุ้นส่วน

สองจำพวกจึงต้องมีหุ้นส่วนจำพวกละอย่างน้อยหนึ่งคน

ตามที่ได้กล่าวมาแล้วถึงผู้เป็นหุ้นส่วนที่ไม่จำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนสามัญว่ามีความหมายอย่างไรนั้น

หุ้นส่วนที่ไม่จำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนจำกัดก็มีความหมายเช่นเดียวกัน ส่วนหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด

นั้นหมายถึงหุ้นส่วนที่แสดงความจำนงในความรับผิดของตนเองในการลงทุนหรือลงหุ้นในห้างหุ้นส่วนจำกัดนี้ไว้ว่า

ตนจะรับผิดเพียงเท่าจำนวนที่ตนลงหุ้นไว้เท่านั้นหนี้สินของห้างหุ้นส่วนจำกัดจะมีมากเพียงใดก็ตามหุ้นส่วนจำพวก

จำกัดความรับผิดก็จะรับผิดเพียงเท่าที่ตนลงหุ้นจะไม่รับผิดเกินกว่านั้น

ดังนั้นการเลือกดำเนินกิจการทางด้านธุรกิจจึงมีทางเลือกมากขึ้นเพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะของการลงทุน

และความรับผิด ถ้าหากหุ้นส่วนทุกคนพร้อมที่จะเป็นผู้ที่รับผิดในกิจการโดยไม่จำกัดจำนวนทั้งหมดก็เลือกเข้าหุ้นกัน

เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญจะจดทะเบียนเป็นสามัญนิติบุคคลหรือไม่จดทะเบียนก็ได้ แต่หากมีผู้ที่จะเข้าหุ้นคนใดคนหนึ่ง

หรือหลายคนในจำนวนผู้เป็นหุ้นส่วนกัน ประสงค์จะจำกัดความรับผิดของตนเองไว้เท่าที่ไม่เกินส่วนของการลงทุน

และมีอีกส่วนหนึ่งพร้อมที่จะรับผิดโดยไม่จำกัดจำนวนก็เข้าหุ้นกันเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด แต่หากทุกคนขอจำกัด

ความรับผิดของตนเองไว้เท่าที่ลงทุนทุกคนก็สามารถเข้ากันเป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด เช่นนี้สามารถ

ที่จะเลือกได้ตามลักษณะของธุรกิจที่กฎหมายกำหนดให้เป็นตัวเลือกในการดำเนินการได้

Page 16: หน่วย ที่ 3 หุ้น ส่วน บริษัท องค์กร ธุรกิจ อื่น และ ... · เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า

3-16 กฎหมายธุรกิจ

2. การจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด สามารถทำได้ดังนี้

2.1 ต้องมีการตกลงร่วมหุ้นกันของบุคคลตั้งแต่2คนขึ้นไป

2.2 ต้องมีผู้เป็นหุ้นส่วน2จำพวก คือจำกัดความรับผิดและไม่จำกัดความรับผิด

2.3 ต้องนำห้างหุ้นส่วนไปจดทะเบียน

2.1การตกลงร่วมหุ้นกันของบุคคลตั้งแต่2คนขึ้นไปสาระในประเด็นนี้เช่นเดียวกับที่กล่าวมาแล้วใน

ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนและจดทะเบียน คือต้องมีบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปได้ทำสัญญาในการที่จะเข้ากัน

เพื่อกระทำกิจการร่วมกันด้วยประสงค์จะแบ่งปันกำไรที่จะพึงได้จากการกระทำกิจการนั้น (ป.พ.พ.มาตรา1012)

2.2ความรับผิดของผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนจำกัด มีลักษณะที่แตกต่างออกไปจากห้างหุ้นส่วน

สามัญ ก็คือจะมีผู้เป็นหุ้นส่วน2จำพวกได้แก่หุ้นส่วนที่จำกัดความรับผิดและหุ้นส่วนที่ไม่จำกัดความรับผิดตาม

ป.พ.พ.มาตรา1077ที่บัญญัติไว้ว่า“อัน ห้าง หุ้น ส่วน จำกัด นั้น คือ ห้าง หุ้น ส่วน ประเภท หนึ่ง ซึ่ง มี ผู้ เป็น หุ้น ส่วน สอง

จำพวก ดัง จะ กล่าว ต่อ ไป นี้ คือ

(1) ผู้ เป็น หุ้น ส่วน คน เดียว หรือ หลาย คน ซึ่ง มี จำกัด ความ รับ ผิดเพียง ไม่ เกิน จำนวน เงิน ที่ ตน รับ จะ ลง หุ้น

ใน ห้าง หุ้น ส่วน นั้น จำพวก หนึ่ง และ

(2) ผู้ เป็น หุ้น ส่วน คน เดียว หรือ หลาย คน ซึ่ง ต้อง รับ ผิด ร่วม กัน ใน บรรดา หนี้ ของ ห้าง หุ้น ส่วน โดย ไม่มี

จำกัด จำนวน อีก จำพวก หนึ่ง”

สาระสำคัญของผู้เป็นหุ้นส่วนทั้ง2ประเภทมีดังนี้

หุ้น ส่วน ประเภท จำกัด ความ รับ ผิด หมายถึง ผู้เป็นหุ้นส่วนนั้นได้จำกัดการลงหุ้นไว้เฉพาะที่

ตนเองจะร่วมลงทุนด้วย ซึ่งจากการที่กฎหมายให้มีหุ้นส่วนประเภทนี้ก็เพื่อให้ผู้เป็นหุ้นส่วนที่ไม่ประสงค์ให้ตนเอง

ต้องรับผิดมากเกินกว่าที่ตนเองต้องการ สามารถเข้ามาร่วมหุ้นในห้างหุ้นส่วนจำกัดได้ เช่น ปูนา ปูม้า และปูทะเล

เข้าหุ้นส่วนกัน แต่ปูนาขอจำกัดความรับผิดในการลงทุนไว้เพียง 20,000 บาท ส่วนปูม้าและปูทะเลลงทุนคนละ

20,000บาทโดยไม่จำกัดความรับผิด ดังนั้นเมื่อจัดตั้งเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดจะมีปูนาเป็นหุ้นส่วนที่จำกัดความรับผิด

ซึ่งหมายถึงห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นจะมีหนี้สินมากเพียงใดก็ตาม ปูนาจะรับผิดไม่เกินจำนวนเงินที่ตนกำหนดการลงทุน

หรือลงหุ้นไว้เพียง20,000บาทเท่านั้น

หุน้ สว่น ประเภท ไม่ จำกดั ความ รบั ผดิ หมายถึงหุ้นส่วนนั้นไม่จำกัดความรับผิดเพียงเท่าที่ตนได้

ลงทุนไว้ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในเรื่องที่3.1.1ห้างหุ้นส่วนสามัญ

ดังนั้น จากหุ้นส่วนทั้ง 2ประเภทที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า หุ้นส่วนที่จำกัดความรับผิดนั้นความรับผิด

หรือความผูกพันในห้างหุ้นส่วนย่อมมีน้อยกว่าผู้เป็นหุ้นส่วนที่ไม่จำกัดความรับผิด จากความรับผิดที่แตกต่างกันนี้

เองกฎหมายจึงได้บัญญัติไว้ในลักษณะเป็นการจำกัดสิทธิของหุ้นส่วนที่จำกัดความรับผิดไว้เป็นสำคัญหลายประการ

เช่นห้ามหุ้นส่วนที่จำกัดความรับผิดเป็นผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัดห้ามเอาชื่อของหุ้นส่วนที่จำกัดความรับผิดระคน

ปนเป็นชื่อห้างเป็นต้น

2.3การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด การจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้น กฎหมายกำหนดว่า จะต้อง

จดทะเบียน โดยกฎหมายกำหนดรายการที่จะจดทะเบียนไว้ดังนี้

(1) ชื่อห้างหุ้นส่วน

(2) ข้อแถลงความว่าเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดและวัตถุที่ประสงค์ของห้างหุ้นส่วนนั้น

(3) ที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่และสำนักงานสาขาทั้งปวง

(4) ชือ่ยีห่อ้สำนกัและอาชวีะของผู้เปน็หุน้สว่นจำพวกจำกดัความรบัผดิและจำนวนเงนิซึง่เขาเหลา่นัน้

ได้ลงหุ้นด้วยในห้างหุ้นส่วนว่าเป็นจำนวนเท่าใด

Page 17: หน่วย ที่ 3 หุ้น ส่วน บริษัท องค์กร ธุรกิจ อื่น และ ... · เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า

3-17หุ้นส่วนบริษัทองค์กรธุรกิจอื่นและตลาดหลักทรัพย์

(5) ชื่อยี่ห้อสำนักและอาชีวะของผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด

(6) ชื่อหุ้นส่วนผู้จัดการ

(7) ถ้ามีข้อจำกัดอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการอันจะผูกพันห้างหุ้นส่วนนั้นประการใดให้ลงไว้ด้วย

(8) ข้อความอื่นที่คู่สัญญาเห็นสมควรที่จะลงทะเบียนเพื่อให้ประชาชนได้รับรู้ก็สามารถลงทะเบียนได้

การลงทะเบียนนั้น ต้องลงลายมือชื่อของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน และต้องประทับตราของห้างหุ้นส่วน

จำกัดนั้นด้วย(ป.พ.พ.มาตรา1078)

จากขั้นตอนในการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัดที่กล่าวมานั้นมีหลายขั้นตอนและอาจต้องใช้เวลานาน แม้

บุคคลจะได้ตกลงเข้ากันเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ห้างหุ้นส่วนนั้นยังไม่เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด

ที่สมบูรณ์ เพราะห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นกฎหมายกำหนดว่าจะต้องจดทะเบียน ดังนั้น เมื่อมีการตกลงเป็นสัญญาเข้า

หุ้นกันแล้วแต่ก่อนที่จะจดทะเบียน กฎหมายให้ถือว่ากิจการที่กระทำไปในช่วงเวลาก่อนที่จะจดทะเบียนจัดตั้งเป็น

ห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้น ให้ถือว่าการดังกล่าวเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญอยู่จนกว่าจะได้จดทะเบียนเป็นที่เรียบร้อย จาก

ข้อกำหนดของกฎหมายดังกล่าวจึงมีผลทำให้ผู้เป็นหุ้นส่วนที่จำกัดความรับผิด ต้องเป็นผู้รับผิดโดยไม่จำกัดจำนวน

อยู่ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวนั้นด้วย ผู้ที่เป็นหุ้นส่วนที่จำกัดความรับผิดนั้นไม่สามารถที่จะปฏิเสธความรับผิด

ดังกล่าวได้ถ้าตราบใดที่ห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นยังไม่จดทะเบียนให้เป็นที่เรียบร้อยตามป.พ.พ.มาตรา1079ที่บัญญัติ

ไว้ว่า“อนั หา้ง หุน้ สว่น จำกดั นัน้ ถา้ ยงั มไิด ้จด ทะเบยีน อยู ่ตราบ ใด ทา่น ให ้ถอืวา่ เปน็ หา้ง หุน้ สว่น สามญั ซึง่ ผู ้เปน็ หุน้ สว่น

ทั้งหมด ย่อม ต้อง รับ ผิด ร่วม กันใน บรรดา หนี้ ของ ห้าง หุ้น ส่วน โดย ไม่มี จำกัด จำนวน จนกว่า จะ ได้ จด ทะเบียน”

3. ทุนในเรื่องของทุนที่จะดำเนินการห้างหุ้นส่วนจำกัด แยกพิจารณาตามจำพวกของผู้ถือหุ้นดังนี้

3.1ผู้เปน็หุน้สว่นที่ไม่จำกดัความรบัผดิสามารถลงทนุดว้ยเงนิทรพัยส์นิหรอืแรงงาน กไ็ด้เชน่เดยีวกบั

ผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญ

3.2ผู้เป็นหุ้นส่วนที่จำกัดความรับผิด กฎหมายกำหนดให้หุ้นส่วนจำพวกนี้ลงทุนได้เฉพาะเงินหรือ

ทรัพย์สินอย่างอื่นได้เท่านั้น ห้ามไม่ให้ลงหุ้นด้วยแรงงาน(ป.พ.พ.มาตรา 1083)

4. การจดัการงานของหา้งหุน้สว่นจำกดั การจัดการงานของห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นคงใช้หลักการเช่นเดียวกับ

การจัดการงานของห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนคือมีหุ้นส่วนผู้จัดการเป็นผู้ทำหน้าที่ในการดำเนินกิจการต่างๆของ

ห้างหุ้นส่วนจำกัดภายในขอบวัตถุประสงค์ของห้างหุ้นส่วนจำกัดที่ได้จดทะเบียนไว้ กฎหมายกำหนดไว้เป็นพิเศษใน

เรื่องนี้คือหุ้นส่วนที่จะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจะต้องเป็นหุ้นส่วนที่ไม่จำกัดความรับผิดเท่านั้นตามป.พ.พ. มาตรา1087

ที่บัญญัติไว้ว่า“อนั หา้ง หุน้ สว่น จำกดั นัน้ ทา่น วา่ ตอ้ง ให ้แต ่เฉพาะ ผู ้เปน็ หุน้ สว่น จำพวก ที ่ไม ่จำกดั ความ รบั ผดิ เทา่นัน้ เปน็

ผู ้จดัการ”ทัง้นี้คงดว้ยเหตผุลที่เกี่ยวกบัความรบัผดิเป็นสำคญัที่กฎหมายกำหนดเช่นนัน้เพราะผู้ที่จำกดัความรบัผดิไว้

เพียงส่วนที่ตนลงทุนนั้น หากเปรียบเทียบกับผู้ที่รับผิดโดยไม่จำกัดแล้วผู้ที่รับผิดโดยไม่จำกัดน่าจะมีความรับผิดชอบ

ต่อการจัดการงานของห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นมากกว่าจึงอนุญาตให้หุ้นส่วนที่ไม่จำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนจำกัด

เท่านั้นที่เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการได้ หุ้นส่วนที่จำกัดความรับผิดไม่สามารถเข้ามาจัดการงานของห้างหุ้นส่วนจำกัดได้แต่

อย่างใด

แต่หากผู้เป็นหุ้นส่วนที่จำกัดความรับผิดฝ่าฝืนหรือสอดเข้าไปจัดการงานของห้างหุ้นส่วนจำกัด ผลของการ

กระทำเช่นนั้นจะทำให้หุ้นส่วนที่จำกัดความรับผิดกลายเป็นหุ้นส่วนที่ต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกโดยไม่จำกัด

ความรับผิดไป แต่ทั้งนี้การแสดงความคิดเห็นและแนะนำหรือออกเสียงลงคะแนนในประเด็นที่กฎหมายกำหนดไว้ให้

ออกเสยีงนัน้ไม่ถอืวา่เปน็การฝา่ฝนืหรอืสอดเขา้ไปจดัการงานของหา้งหุน้สว่นจำกดัแต่อยา่งใด ตามป.พ.พ. มาตรา1088

ที่บัญญัติไว้ว่า “ถ้า ผู้ เป็น หุ้น ส่วน จำพวก จำกัด ความ รับ ผิด ผู้ ใด สอด เข้าไป เกี่ยวข้อง จัดการ งาน ของ ห้าง หุ้น ส่วนท่าน ว่า

ผู้ นั้น จะ ต้อง รับ ผิด ร่วม กัน ใน บรรดา หนี้ทั้ง หลาย ของ ห้าง หุ้น ส่วน นั้น โดย ไม่ จำกัด จำนวน

Page 18: หน่วย ที่ 3 หุ้น ส่วน บริษัท องค์กร ธุรกิจ อื่น และ ... · เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า

3-18 กฎหมายธุรกิจ

แต่ การ ออก ความ เห็น และ แนะนำ ก็ ดี ออก เสียง เป็น คะแนน นับ ใน การ ตั้ง และ ถอดถอน ผู้ จัดการ ตาม กรณี ที่ มี

บังคับ ไว้ ใน สัญญา หุ้น ส่วน นั้น ก็ ดี ท่าน หา นับ ว่า เป็นการ สอด เข้าไป เกี่ยวข้อง จัดการ งาน ของ ห้าง หุ้น ส่วน นั้น ไม่”

5. ความรับผิดในการจัดการห้างหุ้นส่วนจำกัด เนื่องจากห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นห้างที่จดทะเบียน การจัด

การงานของหา้งหุน้สว่นจำกดัจงึตอ้งดำเนนิการตามวตัถปุระสงค์ที่ได้จดทะเบยีนไว้ประกอบกบัขอ้จำกดัเรือ่งอำนาจของ

หุ้นส่วนผู้จัดการตามที่ได้จดทะเบียนไว้นั้นจะเป็นขอบเขตของการจัดการงานของหุ้นส่วนผู้จัดการโดยในลักษณะของ

ความรับผิดต่อบุคคลภายนอกก็ถือว่าหุ้นส่วนผู้จัดการนั้นเป็นตัวแทนของห้าง แต่ถ้าการใดทำเกินขอบวัตถุประสงค์

การนั้นก็ไม่ผูกพันห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้น ซึ่งจะต้องรับผิดเป็นการส่วนตัว หรือการใดที่ทำไปเกินอำนาจที่จดทะเบียน

กันไว้ให้พิจารณาถึงประโยชน์และความเสียหายตามหลักเรื่องจัดการงานนอกสั่ง

6. ข้อจำกัดบางประการสำหรับผู้เป็นหุ้นส่วนสำหรับผู้เป็นหุ้นส่วนที่ไม่จำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วน

จำกัด มีข้อห้ามเช่นเดียวกับผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนหรือห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลทุกประการ คือ

ห้ามประกอบกิจการค้าที่มีสภาพดุจเดียวกันและเป็นการแข่งขันกับห้างหุ้นส่วนไม่ว่าจะเพื่อประโยชน์ของตนหรือของ

ผู้อื่น และห้ามมิให้เข้าไปเป็นหุ้นส่วนที่ไม่จำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนอื่นที่มีสภาพดุจเดียวและเป็นการแข่งขันกับ

ห้างหุ้นส่วนจำกัด ถ้าฝ่าฝืนสามารถเรียกเอากำไรและค่าสินไหมทดแทนความเสียหายได้

แต่ที่สำคัญคือข้อห้ามดังกล่าวไม่นำมาบังคับใช้กับผู้เป็นหุ้นส่วนที่จำกัดความรับผิด ผู้เป็นหุ้นส่วนที่จำกัด

ความรับผิดสามารถที่จะกระทำการค้าขายแข่งกับห้างหุ้นส่วนจำกัดในกิจการที่มีสภาพดุจเดียวกันไม่ว่าจะกระทำเพื่อ

ประโยชน์ของตนเองหรือผู้อื่นได้ตามป.พ.พ. มาตรา1090ที่บัญญัติไว้ว่า“ผู้ เป็น หุ้น ส่วน จำพวก จำกัด ความ รับ ผิด จะ

ประกอบ การ ค้าขาย อย่าง ใดๆ เพื่อ ประโยชน์ ตน หรือ เพื่อ ประโยชน์ บุคคล ภายนอก ก็ได้ แม้ว่า การ งาน เช่น นั้น จะ มี สภาพ

เป็น อ ย่าง เดียวกัน กับ การ ค้าขาย ของ ห้าง หุ้น ส่วน ก็ ไม่ ห้าม”

ที่เป็นเช่นนี้เพราะผู้เป็นหุ้นส่วนที่จำกัดความรับผิดนั้นไม่ได้มีส่วนในจัดการงานของห้างหุ้นส่วนจำกัด จึง

ไม่น่าที่จะทำให้เกิดความเสียหายจากการกระทำของผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดนั้นได้เนื่องจากกฎหมาย

ไม่อนุญาตให้หุ้นส่วนที่จำกัดความรับผิดเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ

นอกจากข้อจำกัดสิทธิในการค้าขายแข่งกับห้างแล้ว ยังมีข้อจำกัดสิทธิอื่นอีกหลายประการสำหรับผู้เป็น

หุ้นส่วนจำพวกที่จำกัดความรับผิดดังจะกล่าวต่อไปนี้

1) ผู้เป็นหุ้นส่วนที่จำกัดความรับผิด จะต้องรับผิดต่อห้างหุ้นส่วนจำกัดเพิ่มขึ้น อย่างไม่จำกัดความ

รับผิดต่อบุคคลภายนอกหากเกิดกรณีใดกรณีหนึ่งดังนี้

1.1)ยนิยอมให้หา้งหุน้สว่นใช้ชือ่ของผู้เปน็หุน้สว่นที่จำกดัความรบัผดิระคนปนเปน็ชือ่หา้งหุน้สว่น

จำกดัไม่วา่จะโดยชดัแจง้หรอืโดยปรยิายกต็าม แต่อยา่งไรก็ดีในความรบัผดิระหวา่งกนัเองนัน้ยงัคงเปน็ไปตามสญัญา

หุ้นส่วนที่ตกลงกันไว้เมื่อก่อตั้งห้างหุ้นส่วนนั้น

1.2)สอดเข้าไปดำเนินกิจการของห้างตามที่กล่าวมาแล้วตอนต้น

2) ผู้เป็นหุ้นส่วนที่จำกัดความรับผิดจะต้องเพิ่มความรับผิดที่สูงขึ้นหากแสดงให้บุคคลภายนอกได้

ทราบว่าตนได้ลงหุ้นไว้มากกว่าที่ได้ลงไว้จริงไม่ว่าจะให้ทราบด้วยจดหมายหรือใบแจ้งความหรือด้วยวิธีอื่นใดก็ตาม

ผู้เป็นหุ้นส่วนที่จำกัดความรับผิดนั้นจะต้องรับผิดเพิ่มขึ้นเท่าจำนวนที่แสดงให้บุคคลภายนอกได้เข้าใจว่าผู้นั้นมีหุ้น

มากกว่านั้น

3) ผู้เป็นหุ้นส่วนที่จำกัดความรับผิด สามารถที่จะโอนหุ้นของตนได้ โดยไม่ต้องได้รับความยินยอม

ของผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นๆแต่อย่างใด

4)ผู้เป็นหุ้นส่วนที่จำกัดความรับผิดนั้นอาจถูกตั้งให้เป็นผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัดก็ได้กรณี

นี้กฎหมายไม่ห้ามสำหรับการที่จะเข้ามาเป็นผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัด

Page 19: หน่วย ที่ 3 หุ้น ส่วน บริษัท องค์กร ธุรกิจ อื่น และ ... · เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า

3-19หุ้นส่วนบริษัทองค์กรธุรกิจอื่นและตลาดหลักทรัพย์

5) ผู้เป็นหุ้นส่วนที่จำกัดความรับผิดมีสิทธิได้รับเพียงส่วนกำไรจากการดำเนินกิจการของห้างหุ้นส่วน

จำกัดนั้นเท่านั้น ไม่มีสิทธิที่จะได้รับเงินปันผลหรือดอกเบี้ยอื่นที่ห้างหุ้นส่วนมีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่

ห้างหุ้นส่วนขาดทุน แต่หากได้มีการจ่ายเงินปันผลหรือดอกเบี้ยให้แก่ผู้เป็นหุ้นส่วนที่จำกัดความรับผิดไปโดยสุจริต

ไม่สามารถที่จะเรียกคืนได้แต่อย่างใด

6) ตราบใดที่ห้างหุ้นส่วนจำกัดยังไม่เลิกกัน เจ้าหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัดไม่มีสิทธิที่จะฟ้องผู้เป็น

หุ้นส่วนที่จำกัดความรับผิดได้แต่อย่างใด

7) ถ้าห้างหุ้นส่วนจำกัดได้เลิกกันแล้ว เจ้าหนี้ของห้างหุ้นส่วนสามารถที่จะฟ้องผู้เป็นหุ้นส่วนที่จำกัด

ความรับผิดได้แต่ก็สามารถที่จะฟ้องได้เพียงจำนวนดังนี้

7.1)จำนวนที่ลงหุน้ตามที่ตกลงกนัไว้ในสญัญากอ่ตัง้หุน้สว่นเทา่ที่ยงัคา้งสง่แก่หา้งหุน้สว่นจำกดั

นั้นอยู่

7.2)จำนวนลงหุ้นเท่าที่ผู้เป็นหุ้นส่วนได้ถอนไปจากสินทรัพย์ของห้างหุ้นส่วน

7.3)จำนวนเงินปันผลและดอกเบี้ย ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนได้รับไปแล้ว โดยทุจริตและฝ่าฝืนต่อ

ข้อกำหนดที่กฎหมายกำหนดไว้ในเรื่องเงินปันผลและดอกเบี้ย

7. การควบห้างหุ้นส่วนจำกัด เนื่องจากห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นห้างหุ้นส่วนที่จดทะเบียนเช่นเดียวกับ

ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนหรือห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลมีสภาพเป็นนิติบุคคลจึงสามารถที่จะกระทำการควบ

ห้างหุ้นส่วนจำกัดได้เช่นเดียวกับการควบห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลที่กล่าวมาแล้ว

8. การเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด การเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้น โดยสาระหลักแล้วเช่นเดียวกับการเลิก

ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลที่กล่าวมาแล้ว แต่มีสาระสำคัญที่แตกต่างเป็นการเพิ่มเติมอันเนื่องมาจากการที่มีหุ้นส่วน

2จำพวกคือหุ้นส่วนที่จำกัดความรับผิดและหุ้นส่วนที่ไม่จำกัดความรับผิดจึงทำให้สาเหตุในการเลิกห้างที่เกี่ยวด้วย

คุณสมบัติของผู้เป็นหุ้นส่วนนั้นมีบทบัญญัติกำหนดไว้เพิ่มเติมจากการเลิกห้างของห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลคือ

กรณีเหตุแห่งการเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญที่ผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งตายล้มละลายหรือตกเป็นผู้ไร้ความ

สามารถห้างเป็นอันเลิกกัน นั่นหมายถึงผู้เป็นหุ้นส่วนที่ไม่จำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนสามัญ ซึ่งหากเป็นหุ้นส่วนที่

ไม่จำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนจำกัดตายล้มละลายหรือตกเป็นผู้ไร้ความสามารถห้างหุ้นส่วนจำกัดก็เป็นอันเลิก

เช่นเดียวกัน แต่หากกรณีที่ผู้เป็นหุ้นส่วนที่จำกัดความรับผิดตายล้มละลายหรือตกเป็นคนไร้ความสามารถ ไม่เป็น

เหตุให้เลิกห้างแต่อย่างใด เว้นแต่จะตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นในข้อสัญญา(ป.พ.พ.มาตรา1092)

นอกจากนั้นกฎหมายยังกำหนดวิธีการจัดการกับการลงหุ้นส่วนของผู้เป็นหุ้นส่วนที่จำกัดความรับผิดไว้ใน

กรณีต่างๆดังนี้

1) กรณีที่ผู้เปน็หุน้สว่นจำกดัความรบัผดิตาย ให้ทายาทเข้ามาเป็นหุ้นส่วนแทนที่ผู้นั้นเว้นแต่จะตกลง

กันไว้เป็นอย่างอื่นในข้อสัญญาก็ให้เป็นไปตามนั้น

2) กรณีที่ผู้เป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดล้มละลาย ให้เอาหุ้นออกขายเป็นสินทรัพย์ในกอง

ล้มละลาย

3) กรณีที่ผู้เป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดตกเป็นคนไร้ความสามารถ กฎหมายไม่ได้กำหนดวิธีการ

จัดการไว้สำหรับกรณีนี้ ซึ่งหากพิจารณาจากหลักกฎหมายในเรื่องความสามารถแล้ว การที่บุคคลตกเป็นคนไร้ความ

สามารถนั้น การเป็นหุ้นส่วนก็ยังคงมีสภาพอยู่ได้ ไม่ได้กระทบกระทั่งถึงสิทธิของบุคคลนั้นแต่อย่างใด และบุคคล

นั้นก็ไม่ได้เป็นผู้จัดการห้างหุ้นส่วนที่จะต้องดำเนินการในกิจการของห้าง จึงยังสามารถที่จะอยู่ในสภาพเดิมได้คือ

ผู้เป็นหุ้นส่วนนั้นยังเป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดอยู่เหมือนเดิม

Page 20: หน่วย ที่ 3 หุ้น ส่วน บริษัท องค์กร ธุรกิจ อื่น และ ... · เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า

3-20 กฎหมายธุรกิจ

9. การชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัดการชำระบัญชีนั้น ให้ใช้หลักเกณฑ์เดียวกับการชำระบัญชีของ

บริษัทซึ่งจะได้กล่าวต่อไป

กิจกรรม3.1.2

ผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนจำกัดมีกี่จำพวกและแตกต่างกันอย่างไร

แนวตอบกิจกรรม3.1.2

ในห้างหุ้นส่วนจำกัดมีหุ้นส่วน2จำพวกคือผู้เป็นหุ้นส่วนที่ไม่จำกัดความรับผิดและผู้เป็นหุ้นส่วน

ที่จำกัดความรับผิด

ผู้เปน็หุน้สว่นที่จำกดัความรบัผดิหมายถงึผู้เปน็หุน้สว่นที่แสดงเจตนาที่จะจำกดัความรบัผดิของตนไว้

เพียงเท่าที่จำนวนเงินลงหุ้นของตนจะไม่รับผิดในหนี้สินเกินกว่าจำนวนที่ลงหุ้นไว้เช่นลงหุ้นจำกัดไว้50,000

บาทเมื่อห้างหุ้นส่วนดำเนินการเป็นเหตุให้ห้างหุ้นส่วนขาดทุนเท่าใดก็ตามความรับผิดของผู้เป็นหุ้นส่วนนั้นก็

จะมีอยู่เพียงไม่เกิน50,000บาทที่ตนได้ลงหุ้นไว้เท่านั้น

สำหรบัผู้เปน็หุน้สว่นที่ไม่จำกดัความรบัผดิคอืผูเ้ปน็หุน้สว่นที่จะตอ้งรบัผดิในหนี้สนิของหา้งหุน้สว่น

จำกัดโดยไม่จำกัดเพียงเงินลงทุนเท่านั้นเช่นลงหุ้นไว้100,000บาทแต่หนี้สินของห้างหุ้นส่วนจำกัดมี300,000

บาทหุน้สว่นประเภทไม่จำกดัความรบัผดิจะเขา้ไปรบัผดิชอบในหนี้สนิทัง้300,000บาทนัน้แม้จะเกนิกวา่ที่ตน

ลงหุ้นไว้ก็ตาม

Page 21: หน่วย ที่ 3 หุ้น ส่วน บริษัท องค์กร ธุรกิจ อื่น และ ... · เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า

3-21หุ้นส่วนบริษัทองค์กรธุรกิจอื่นและตลาดหลักทรัพย์

ตอนที่3.2

บริษัท

โปรดอ่านหัวเรื่องแนวคิดวัตถุประสงค์ของตอนที่3.2แล้วจึงศึกษารายละเอียดต่อไป

หัวเรื่อง3.2.1 บริษัทจำกัด

3.2.2 บริษัทมหาชนจำกัด

แนวคิดบริษัทจำกัด อยู่ภายใต้บังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยบุคคลตั้งแต่ 3 คน 1.

ขึน้ไปเขา้ทำสญัญาตอ่กนัในการที่จะรว่มทำการคา้ดว้ยกนัดว้ยการนำทนุมาลงรว่มกนัเพือ่แสวงหา

กำไรมาแบ่งปันกันทุกคนคือผู้ถือหุ้นของบริษัทจำกัดที่มีความรับผิดจำกัดเพียงเท่าที่ตนลงหุ้นไว้

เท่านั้น

บริษัทมหาชนจำกัด อยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัดพ.ศ. 2535 โดย2.

บุคคลตั้งแต่ 15คน เข้าทำสัญญาต่อกันในการร่วมทำการค้า ด้วยการร่วมลงทุนกันเพื่อนำกำไร

มาแบ่งปันกัน และที่สำคัญการจัดตั้งบริษัทมหาชนจำกัดจะต้องมีวัตถุประสงค์ที่จะจำหน่ายหุ้น

ให้กับประชาชนโดยทั่วไป

วัตถุประสงค์เมื่อศึกษาตอนที่3.2จบแล้วนักศึกษาสามารถ

1. อธิบายและวินิจฉัยเรื่องบริษัทจำกัดได้

2. อธิบายและวินิจฉัยเรื่องบริษัทมหาชนจำกัดได้

Page 22: หน่วย ที่ 3 หุ้น ส่วน บริษัท องค์กร ธุรกิจ อื่น และ ... · เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า

3-22 กฎหมายธุรกิจ

เรื่องที่3.2.1

บริษัทจำกัด

บริษัทจำกัดเป็นรูปแบบของการดำเนินกิจการที่ดำเนินการกันอย่างแพร่หลายและมีรายละเอียดในกฎหมาย

ที่กำหนดสาระต่างๆ ไว้มากกว่าการดำเนินกิจการในลักษณะของห้างหุ้นส่วนที่กล่าวมา และสาระดังกล่าวอยู่ภายใต้

บทบัญญัติของกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เช่นกัน

สาระสำคัญที่ต้องศึกษาในกฎหมายที่เกี่ยวกับบริษัทจำกัดได้แก่ลักษณะสำคัญ การจัดตั้ง ทุน การจัดการ

ความรับผิดข้อจำกัดบางประการ การควบกิจการการเลิกกิจการและการชำระบัญชี

1.ลักษณะสำคัญลักษณะสำคัญของบริษัทจำกัดมีดังนี้

1.1การตกลงร่วมหุ้นกันของบุคคลตั้งแต่ 3คนขึ้นไป โดยลักษณะของห้างหุ้นส่วนและบริษัทนั้นมี

ลักษณะที่เหมือนกันคือการที่บุคคลสองคนมีสัญญาเข้ากันเพื่อที่จะดำเนินกิจการร่วมกันเพื่อแสวงหากำไรมาแบ่งปัน

กัน ซึ่งถือว่าเป็นลักษณะเบื้องต้นในการจัดตั้งบริษัทว่าต้องเป็นการแสดงเจตนาร่วมกันในการก่อตั้งบริษัทเช่นเดียว

กับหลักการของการจัดตั้งห้างหุ้นส่วน เพียงแต่ในเรื่องของบริษัทนั้นได้กำหนดจำนวนบุคคลไว้เป็นพิเศษนอกจาก

เกณฑ์ทั่วไปคือต้องมีบุคคลที่จะเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นรวมกันไม่น้อยกว่า3คนและมีขั้นตอนในการจัดตั้งบริษัทจำกัด

ตามที่กฎหมายกำหนดไว้อยู่อีกหลายขั้นตอน จนกว่าบริษัทนั้นจะได้จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดที่พร้อมจะดำเนิน

กิจการของบริษัทจำกัดได้

1.2แบ่งทุนเป็นหุ้นๆละเท่ากันการดำเนินธุรกิจในรูปแบบของบริษัทจำกัดนั้น เป็นการขยายฐานของ

การลงทุนทั้งในด้านของผู้ถือหุ้นและฐานของเงินลงทุน ที่กล่าวเช่นนั้นเพราะการลงทุนในลักษณะของบริษัทกฎหมาย

กำหนดว่า บริษัทจำกัดนั้น คือ บริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้นด้วยการแบ่งทุนเป็นหุ้นมีมูลค่าเท่าๆ กัน โดยผู้ถือหุ้นต่าง

รับผิดไม่เกินจำนวนที่ตนได้ลงทุนไว้ในหุ้นนั้นว่าเป็นจำนวนเท่าใดก็รับผิดเพียงเท่านั้น ซึ่งในกรณีนี้จะคล้ายกับผู้เป็น

หุ้นส่วนที่จำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนจำกัดที่ได้กล่าวกันมาแล้ว จะต่างกันก็ตรงที่การลงทุนในบริษัทจำกัดได้

กระจายหน่วยการลงทุนออกเป็นหุ้น โดยหุ้นต่างๆนั้นจะมีมูลค่าเท่ากัน แต่ผู้ร่วมลงทุนจะลงทุนแตกต่างไม่เท่ากัน

ก็ได้ โดยเข้าไปถือหุ้นตามจำนวนที่ผู้นั้นต้องการ เช่นบริษัทกำหนดราคาหุ้นในการดำเนินการของบริษัทเอเซียจำกัด

ไว้หุ้นละ 100บาทนายดำต้องการลงทุน 20,000บาทนายดำก็จะได้เป็นเจ้าของหุ้นจำนวน 200หุ้น หรือนายแดง

ต้องการลงทุนเพียง10,000บาทนายแดงก็จะเป็นเจ้าของหุ้นจำนวน100หุ้นหรือนายขาวต้องการร่วมลงทุน1,000

บาทนายขาวก็จะเป็นเจ้าของหุ้นจำนวน10หุ้น เป็นต้น

จะเห็นได้ว่าวิธีการในการร่วมทุนในการดำเนินกิจการร่วมกันนั้น ก็ยังสามารถที่จะลงทุนที่แตกต่าง

กันได้จะมากหรือน้อยแตกต่างกันอย่างไรก็ได้ เพียงแต่ใช้ฐานในการลงทุนเป็นหุ้นที่มีราคาเท่ากันส่วนจะเป็นราคา

เท่าไรแล้วแต่จะตกลงกันในการก่อตั้งบริษัท กฎหมายกำหนดเพียงไม่ให้ต่ำกว่าหุ้นละ 5บาทเท่านั้น ส่วนมูลค่าหุ้น

ขั้นสูงกฎหมายไม่ได้กำหนดจะเป็น10บาทก็ได้100,000บาทอย่างไรก็สามารถที่จะกระทำได้เพราะกฎหมายไม่ได้

กำหนดขั้นสูงไว้

1.3ความรับผิดของผู้ถือหุ้นเพียงเท่าที่ตนลงหุ้น ในส่วนความรับผิดของผู้ถือหุ้นของบริษัทจำกัด

กฎหมายกำหนดไว้ชัดเจนว่าผู้ ถือ หุ้น นั้น รับ ผิด จำกัด เพียง ไม่ เกิน จำนวน เงิน เท่า ที่ ตน ยัง ส่ง ใช้ ไม่ ครบ มูลค่า ของ หุ้น ที่

ตน ถือ ซึ่งหมายถึงรับผิดเพียงเท่าที่ตนแสดงเจตนาลงหุ้นไว้นั่นเอง แต่ที่กฎหมายใช้ถ้อยคำว่า รับผิดจำกัดเพียง

ไม่เกินจำนวนเงินเท่าที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือ ก็เนื่องจากกฎหมายไม่ได้กำหนดว่าจะต้องเรียกเก็บ

Page 23: หน่วย ที่ 3 หุ้น ส่วน บริษัท องค์กร ธุรกิจ อื่น และ ... · เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า

3-23หุ้นส่วนบริษัทองค์กรธุรกิจอื่นและตลาดหลักทรัพย์

ค่าหุ้นครั้งเดียวทั้งหมดจึงกำหนดให้เรียกเก็บค่าหุ้นกี่ครั้งก็ได้ขอเพียงให้มีการเรียกชำระค่าหุ้นครั้งแรกไม่น้อยกว่า

รอ้ยละ25และในสว่นที่ยงัไม่เรยีกเกบ็ก็คอืจำนวนเงนิที่ตนยงัสง่ไม่ครบมลูคา่หุน้ที่ตนถอืนัน่เอง ดงันัน้ความรบัผดิของ

ผู้ถือหุ้นของบริษัทจำกัดนั้นจะมีความรับผิดจำกัดเพียงเท่าที่ตนลงหุ้นหรือถือหุ้นไว้เท่านั้น

แต่ทั้งนี้กฎหมายอนุญาตให้กรรมการบริษัทจำกัดแสดงเจตนาที่จะรับผิดโดยไม่จำกัดจำนวนได้เพราะ

กรรมการเป็นผู้ที่เป็นตัวแทนของบริษัทจำกัดที่จะดำเนินกิจการต่างๆแทนบริษัทบางกรณีอาจจะต้องการสร้างความ

เชื่อมั่นให้กับผู้ที่จะเข้ามาติดต่อธุรกิจกับบริษัทจึงยอมตนเข้าไปรับผิดโดยไม่จำกัดจำนวนแต่กฎหมายยอมให้ทำได้

เฉพาะกรรมการของบริษัทเท่านั้นผู้ถือหุ้นที่ไม่ใช่กรรรมการไม่อาจทำเช่นนั้นได้

1.4การจดทะเบียนบริษัทจำกัดกฎหมายกำหนดให้กรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งจากที่ประชุมจัดตั้ง

บริษัทจำกัด ต้องนำความไปจดทะเบียน เมื่อกรรมการได้เรียกชำระเงินคราวแรกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว รายละเอียด

ข้อตกลงกันในที่ประชุมจัดตั้งที่ต้องนำไปจดทะเบียนมีดังนี้

(1) จำนวนหุน้ทัง้สิน้ซึง่ได้มีผู้เขา้ชือ่ซือ้หรอืได้จดัออกให้แลว้แยกให้ปรากฎวา่เปน็ชนดิหุน้สามญั

เท่าใดหุ้นบุริมสิทธิเท่าใด

(2) จำนวนหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิซึ่งออกให้เสมือนหนึ่งว่าได้ใช้เต็มค่าแล้วหรือได้ใช้แต่บาง

ส่วนแล้วนอกจากที่ใช้เป็นตัวเงิน และหุ้นที่ได้ใช้แต่บางส่วนนั้นให้บอกว่าได้ใช้แล้วเพียงใด

(3) จำนวนเงินที่ได้ใช้แล้วหุ้นละเท่าใด

(4) จำนวนเงินที่ได้รับไว้เป็นค่าหุ้นรวมทั้งสิ้นเท่าใด

(5) ชื่ออาชีวะและที่สำนักของกรรมการทุกคน

(6) ถ้าให้กรรมการต่างมีอำนาจจัดการของบริษัทได้โดยลำพังตัว ให้แสดงอำนาจของกรรมการ

นั้นๆว่าคนใดมีเพียงใดและบอกจำนวนหรือชื่อกรรมการซึ่งจะลงชื่อเป็นสำคัญผูกพันบริษัทได้นั้นด้วย

(7) ถ้าตั้งบริษัทขึ้นชั่วกาลกำหนดอันหนึ่งให้บอกกาลกำหนดอันนั้นด้วย

(8) ที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่และสาขาทั้งปวง

นอกจากรายการที่กำหนดนี้ ที่จะต้องนำไปจดทะเบียน หากกรรมการเห็นว่าข้อมูลใดจะเป็น

ประโยชน์ต่อประชาชน อาจนำข้อมูลนั้นเพิ่มเติมได้

2.การจัดตั้งบริษัทจำกัดในการจัดตั้งบริษัทจำกัดมีขั้นตอนในการดำเนินการดังนี้

2.1ตอ้งมีผู้เริม่กอ่การอยา่งนอ้ย3คนที่จะมาทำการตกลงเขา้กนัที่จะดำเนนิกจิการรว่มกนัเพือ่แสวงหา

กำไรมาแบ่งปันกันโดยการลงทุนในลักษณะที่กระจายออกมาเป็นหุ้นที่มีมูลค่าเท่ากัน ดังนั้นจะเห็นได้ว่าผู้เริ่มก่อการ

3คนเป็นอย่างน้อยนี้คือผู้ที่จะทำให้กิจการของบริษัทจำกัดนั้นเกิดขึ้นได้จึงถือได้ว่าเป็นบุคคลที่สำคัญต่อการก่อตั้ง

เป็นอย่างยิ่ง

2.2 ให้ผู้เริ่มก่อการจัดทำหนังสือบริคณห์สนธิซึ่งรายละเอียดในหนังสือบริคณห์สนธินั้น กฎหมาย

กำหนดไว้ให้มีรายการดังนี้

(1) ชื่อบริษัทจำกัดอันคิดจะตั้งขึ้นซึ่งต้องมีคำว่า“จำกัด“ไว้ปลายชื่อนั้นด้วยเสมอไป

(2)ที่สำนักงานของบริษัทจำกัดซึ่งบอกทะเบียนนั้นจะตั้งอยู่ณที่ใดในพระราชอาณาจักร

(3) วัตถุที่ประสงค์ทั้งหลายของบริษัท

(4)ถ้อยคำสำแดงว่าความรับผิดของผู้ถือหุ้นจะมีจำกัด

(5)จำนวนทุนเรือนหุ้นซึ่งบริษัทคิดกำหนดจะจดทะเบียน แบ่งออกเป็นหุ้นมีมูลค่ากำหนดหุ้น

ละเท่าไร

Page 24: หน่วย ที่ 3 หุ้น ส่วน บริษัท องค์กร ธุรกิจ อื่น และ ... · เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า

3-24 กฎหมายธุรกิจ

(6) ชื่อสำนักอาชีวะและลายมือชื่อของบรรดาผู้เริ่มก่อการทั้งจำนวนหุ้นซึ่งต่างคนต่างเข้าชื่อ

ซื้อไว้คนละเท่าใด

2.3ให้ผู้เริม่กอ่การนำหนงัสอืบรคิณหส์นธิไปจดทะเบยีนโดยจดทะเบยีนที่สำนกังานบรกิารจดทะเบยีน

ธุรกิจกลาง กระทรวงพาณิชย์ สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจกรุงเทพมหานครมี 7 เขตหรือสำนักงานบริการ

จดทะเบียนธุรกิจจังหวัดตั้งอยู่ที่สำนักงานพาณิชย์จังหวัด

2.4จัดหาผู้เข้าชื่อซื้อหุ้น โดยกฎหมายกำหนดว่าอย่างน้อยผู้เริ่มก่อการต้องซื้อหุ้นอย่างน้อยคนละ

หนึ่งหุ้น การจัดหาผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นดังกล่าวนั้นกฎหมายห้ามมิให้มีการชี้ชวนประชาชนทั่วไปให้ซื้อหุ้น

สำหรบัการจำหนา่ยหุน้ของบรษิทัจำกดันัน้กฎหมายกำหนดวา่หา้มจำหนา่ยหุน้ตำ่กวา่มลูคา่หุน้ที่กำหนด

ไว้เช่นหุ้นของบริษัทมีมูลค่าหุ้นละ50บาทจะจำหน่ายหุ้นราคาต่ำกว่า50บาทไม่ได้ แต่สามารถที่จะจำหน่ายหุ้นใน

ราคาที่สูงกว่าราคามูลค่าหุ้นนั้นสามารถที่จะทำได้แต่จะต้องกำหนดไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิว่าให้จำหน่ายหุ้นในราคา

ที่สูงกว่ามูลค่าได้จึงจะสามารถจำหน่ายได้ หากไม่ได้กำหนดกันไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิก็ไม่สามารถที่จะจำหน่าย

ในราคาที่สูงกว่าได้เช่นกันดังนั้น หากหนังสือบริคณห์สนธิให้อำนาจไว้ว่าให้จำหน่ายหุ้นสูงกว่ามูลค่าได้ ก็สามารถที่

จะจำหน่ายในราคา 70บาทหรือราคาเท่าใดก็ได้สุดแล้วแต่จะกำหนด

2.5เมื่อได้ผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นครบตามที่จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิไว้แล้ว ให้ผู้เริ่มก่อการเรียก

ประชุมจัดตั้งบริษัทจำกัดโดยมิชักช้า โดยส่งรายงานการจัดตั้งบริษัทจำกัดไปยังผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นอย่างน้อย 7 วันก่อน

วันนัดประชุม ในการประชุมจัดตั้งบริษัทจำกัดนั้นจะพิจารณาสาระสำคัญของกิจการของบริษัทจำกัดที่จะดำเนินการ

กันต่อไปว่าที่ประชุมจะกำหนดกันไว้เป็นประการใด เช่น กำหนดข้อบังคับต่างๆ ของบริษัทจำกัด กำหนดจำนวนหุ้น

บุริมสิทธิและรายละเอียดอื่นใดที่เกี่ยวกับหุ้นบุริมสิทธิให้สัตยาบันต่อกิจการที่ผู้เริ่มก่อการได้กระทำลงไปก่อนที่จะมี

การประชุมจัดตั้งบริษัทจำกัดเป็นต้นแต่ที่สำคัญก็คือต้องเลือกกรรมการที่จะดำเนินการกิจการของบริษัทจำกัดตาม

จำนวนที่กำหนดกันไว้ซึ่งเมื่อได้เลือกกรรมการมาแล้วผู้เริ่มก่อการก็จะหมดภารกิจหน้าที่ไปผู้เริ่มก่อการจะต้องมอบ

การทั้งปวงที่ได้ทำไปแล้วนั้นให้กับกรรมการบริษัทจำกัดเพื่อดำเนินการต่อไป

2.6กรรมการที่ได้รับการเลือกตั้งมาจากที่ประชุมจัดตั้งบริษัทจำกัด เริ่มปฏิบัติหน้าที่โดยเรียกให้ผู้ที่

เขา้ชือ่ซือ้หุน้ไว้นัน้ชำระคา่หุน้สำหรับการเรียกให้ชำระค่าหุ้นครั้งแรกนั้นกฎหมายกำหนดไว้แต่เพียงว่าให้เรียกเก็บ

เป็นเงินไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้าต่อหุ้น นั่นหมายถึงจะเรียกต่ำกว่าไม่ได้แต่อาจเรียกสูงกว่าร้อยละยี่สิบห้าได้ หรือ

อาจจะเรียกเก็บทั้งหมดก็ได้แล้วแต่ว่ากำหนดไว้อย่างไรในหนังสือเสนอให้เข้าชื่อซื้อหุ้น

กรณีการเรยีกชำระคา่หุน้เปน็ครัง้แรกนัน้หากเปน็กรณีที่บรษิทัได้จำหนา่ยหุน้ในราคาที่สงูกวา่มลูคา่หุน้

ที่กำหนดไว้ตามที่หนังสือบริคณห์สนธิของบริษัทจำกัดให้อำนาจไว้เช่นมูลค่าหุ้น100บาทแต่หนังสือบริคณห์สนธิ

ให้อำนาจว่าให้จำหน่ายหุ้นในราคาที่สูงกว่าได้และผู้ก่อการได้กำหนดการจำหน่ายหุ้นไว้ในราคา110บาท เมื่อประชุม

จัดตั้งบริษัทเป็นที่เรียบร้อยกรรมการบริษัทจำกัดกำหนดเรียกเก็บค่าหุ้นครั้งแรกร้อยละ 30 เช่นนี้กฎหมายกำหนด

ว่าให้ส่งจำนวนที่ล้ำกว่ามูลค่าหุ้นไปพร้อมกับการส่งชำระค่าหุ้นครั้งแรกดังนั้นในกรณีนี้หุ้นที่ขายล้ำกว่าจำนวนเป็น

เงิน110-100=10บาทไปพร้อมเงินที่เรียกชำระครั้งแรกคือ30บาทรวมเป็นเงินจำนวน40บาทที่ผู้ถือหุ้นจะต้อง

ชำระให้แก่กรรมการเป็นครั้งแรก

2.7 เมื่อเรียกเก็บเงินค่าหุ้นได้ครบทุกหุ้นแล้วให้นำรายละเอียดต่างๆในการประชุมและหุ้นต่างๆนั้น

ไปขอจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ซึ่งกฎหมายกำหนดเวลาไว้ว่าการที่จะไปขอจดทะเบียนนั้นต้องกระทำภายในเวลา

3เดือนนับตั้งแต่วันประชุมจัดตั้งบริษัทจำกัด หากไม่สามารถดำเนินการได้ภายในเวลาดังกล่าวถือได้ว่าบริษัทจำกัด

ไม่ได้จัดตั้งขึ้นซึ่งกรรมการจะต้องรีบคืนเงินที่ผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นได้ชำระมานั้นทันที

Page 25: หน่วย ที่ 3 หุ้น ส่วน บริษัท องค์กร ธุรกิจ อื่น และ ... · เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า

3-25หุ้นส่วนบริษัทองค์กรธุรกิจอื่นและตลาดหลักทรัพย์

เมื่อได้ดำเนินการมาตามขั้นตอนที่กล่าวมาแล้วนั้น จนนายทะเบียนได้จดทะเบียนให้เป็นที่เรียบร้อย

จึงจะถือว่าบริษัทจำกัดได้ก่อตั้งขึ้นอย่างสมบูรณ์ และสามารถที่จะดำเนินกิจการต่างๆ ของบริษัทจำกัดนั้นได้ทันที

แต่หากไม่ดำเนินกิจการเป็นเวลาล่วงเลยถึง1ปีไปแล้วศาลอาจสั่งให้เลิกบริษัทจำกัดได้

อนึ่ง หากการดำเนินการในการจัดตั้งบริษัทจำกัดสามารถจัดการได้เสร็จสิ้นในวันจดทะเบียนหนังสือ

บริคณห์สนธิทั้งผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นครบประชุมผู้เข้าชื่อจองซื้อหุ้นเพื่อจัดตั้งและพิจารณาแต่งตั้งกรรมการตลอดจนเรียก

ชำระค่าหุ้นเสร็จครบขั้นตอนการจัดตั้งบริษัทจำกัดทุกอย่างถ้าสามารถทำเสร็จสิ้นได้ภายในวันเดียวกันนั้นกฎหมาย

ยอมให้จดทะเบียนบริษัทไปในวันเดียวกันนั้นได้เลย(ตามป.พ.พ.มาตรา1111/1)ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ใหม่ที่กฎหมาย

กำหนดเพือ่เปดิโอกาสให้กระบวนการในการจดัตัง้บรษิทัจำกดันัน้สามารถทำได้หากผู้เริม่กอ่การและผู้เกีย่วขอ้งมีความ

สามารถในการจัดการได้ในวันเดียว

3. ทุนของบริษัทจำกัดกฎหมายได้กำหนดในเรื่องทุนของการดำเนินการในกิจการบริษัทจำกัดนั้นไว้ว่า

ทุนของบริษัทจำกัดนั้นจะแบ่งเป็นหุ้นที่มีมูลค่าหุ้นเท่าๆกัน การแตกหน่วยเป็นหุ้นที่มีมูลค่าหุ้นเท่าๆกันนั้น จึงเป็น

ลักษณะของการลงทุนที่แตกต่างไปจากการลงทุนในห้างหุ้นส่วนสามัญหรือห้างหุ้นส่วนจำกัด

บริษัทอาจจะกำหนดหุ้นที่มีลักษณะพิเศษที่เรียกว่าหุ้นบุริมสิทธิได้อีกด้วย โดยหากจะมีหุ้นบุริมสิทธิต้อง

กำหนดไว้ให้ชัดเจนในการประชุมจัดตั้งบริษัทจำกัด และกำหนดสิทธิพิเศษไว้ให้ชัดเจนว่าเป็นอย่างไร เมื่อเป็นเช่นนี้

หุ้นของบริษัทจำกัดจึงมี2ประเภทคือหุ้นสามัญและหุ้นบุริมสิทธิ

จากการลงทุนที่กำหนดเป็นหุ้นและการชำระค่าหุ้นกฎหมายกำหนดให้ชำระเป็นตัวเงินเท่านั้นจะชำระเป็นสิ่ง

อื่นไม่ได้ดังนั้นจึงดูเหมือนการลงทุนในบริษัทจำกัดจะลงได้ด้วยเงินเท่านั้นอย่างไรก็ตามในเรื่องของการชำระค่าหุ้น

นัน้กฎหมายได้กำหนดวา่การที่จะออกหุน้สามญัหรอืหุน้บรุมิสทิธิใดกต็ามเพือ่เปน็การตอบแทนแรงงานหรอืทรพัยส์นิ

อย่างใดนั้นจะต้องกำหนดไว้ให้ชัดเจนและจะต้องแถลงในที่ประชุมผู้ถือหุ้นให้ชัดเจนว่าตอบแทนกันอย่างไรเพียงใด

ซึ่งจากที่กฎหมายกำหนดเช่นนี้ อาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า การลงทุนในบริษัทจำกัดสามารถที่จะลงด้วยเงินทรัพย์สิน

หรือแรงงานก็ได้เช่นกัน แต่การลงด้วยทรัพย์สินหรือแรงงานนั้นจะต้องกำหนดออกมาให้ชัดเจนว่าจะเป็นหุ้นจำนวน

เท่าใด ปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการไม่ได้ตีราคาการลงทุนด้วยทรัพย์สินหรือแรงงาน จึงไม่เกิดขึ้นในการลงทุนของ

บริษัทจำกัดเพราะกฎหมายกำหนดให้ที่ประชุมจัดตั้งบริษัทต้องกำหนดกันไว้ให้ชัดเจนหากจะมีการลงทุนดังกล่าว

3.1สาระที่สำคัญในเรื่องหุ้นของบริษัทจำกัดมีดังนี้

3.1.1 หุ้น แบ่ง แยก ไม่ ได้ เช่นหุ้นมีมูลค่า100บาทเคนกับหน่อยเป็นผู้ถือหุ้นร่วมกันจะแบ่งแยก

ว่าเคนและหน่อยถือหุ้นเป็นมูลค่าหุ้นละ50บาทจำนวน2หุ้นเช่นนี้ไม่ได้จะต้องถือหุ้นเดียวคือ100บาทและถ้าเป็น

กรณีที่มีผู้ถือหุ้นหลายคนในหุ้นเดียวกันนั้นทำได้ แต่ต้องกำหนดให้ใครคนใดคนหนึ่งเป็นผู้ใช้สิทธิในฐานะเป็นผู้ถือ

หุ้น แต่ในความรับผิดในการส่งชำระค่าหุ้นนั้นกฎหมายกำหนดว่าผู้ร่วมถือหุ้นเดียวกันนั้นต้องรับผิดในการส่งชำระ

ค่าหุ้นให้กับบริษัทจำกัดนั้นร่วมกัน

3.1.2 ใบหุน้ ที ่บรษิทั จำกดั ออก ให ้กบั ผู ้ถอื หุน้ ม ี2 ชนดิ คอื หุน้ ระบ ุชือ่ และ หุน้ ผู ้ถอื โดยทั่วไปแล้ว

ใบหุ้นที่บริษัทจำกัดจะออกให้กับผู้ที่เข้าชื่อจองหุ้นนั้นจะเป็นหุ้นชนิดที่ระบุชื่อเป็นสำคัญการที่บริษัทจำกัดใดจะออก

หุ้นชนิดหุ้นผู้ถือได้นั้นจะต้องกำหนดไว้ในข้อบังคับว่าให้ออกหุ้นชนิดผู้ถือได้จึงจะสามารถออกได้และการจะออกหุ้น

ชนิดผู้ถือได้นั้นจะต้องมีการชำระค่าหุ้นเต็มมูลค่าแล้วเท่านั้นจึงจะสามารถออกหุ้นลักษณะนี้ได้

3.1.3 หุน้ ผู ้ถอื ตอ้ง เปน็ หุน้ ที ่ชำระ เตม็ มลูคา่ แลว้ สว่น หุน้ ระบ ุชือ่ อาจ จะ ชำระ เตม็ มลูคา่ หรอื ไม ่เตม็

มูลค่า ก็ได้ การชำระเต็มมูลค่าหมายถึงมูลค่าหุ้นที่บริษัทจำกัดกำหนดไว้จำนวนเท่าใดก็ตามเมื่อเรียกเก็บครบตาม

มูลค่าที่กำหนดก็ถือว่าเต็มมูลค่า ไม่ว่าจะเรียกเก็บครั้งเดียวหรือหลายครั้ง ก็ถือว่าการชำระค่าหุ้นนั้นเต็มมูลค่าแล้ว

สามารถที่จะออกหุ้นชนิดผู้ถือให้ได้ ส่วนหุ้นชนิดระบุชื่อจะชำระค่าหุ้นเต็มมูลค่าหรือไม่เต็มมูลค่าก็ได้

Page 26: หน่วย ที่ 3 หุ้น ส่วน บริษัท องค์กร ธุรกิจ อื่น และ ... · เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า

3-26 กฎหมายธุรกิจ

3.1.4 หุ้น ทั้ง สอง ประเภท สามารถ ที่ จะ โอน ให้ แก่ บุคคล อื่น ได้ ตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้

ในแต่ละประเภท

การโอนหุ้นชนิดระบุชื่อหากไม่มีข้อบังคับของบริษัทจำกัดกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นสามารถที่จะ

โอนกันได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากบริษัทจำกัดนั้นแต่อย่างใด โดยการโอนหุ้นระบุชื่อผู้ถือนั้นจะต้องทำเป็น

หนังสือและลงลายมือชื่อของผู้โอนและผู้รับโอนไว้เป็นสำคัญและจะต้องมีพยานอย่างน้อย 1คนลงลายมือชื่อเป็น

พยานในการลงลายมือชื่อของผู้โอนและผู้รับโอนด้วยหากไม่ปฏิบัติตามนี้ ถือว่าการโอนตกเป็นโมฆะ และที่สำคัญ

หนังสือโอนที่ทำกันขึ้นนั้นต้องระบุด้วยว่าหุ้นที่โอนกันนั้นเป็นหุ้นหมายเลขใด เพื่อให้ทราบว่าหุ้นที่โอนกันนั้นเป็นหุ้น

จำนวนเท่าใดเพื่อเป็นหลักฐานที่จะต้องนำมาลงในทะเบียนหุ้นของบริษัทจำกัดต่อไป

อย่างไรก็ตาม การโอนหุ้นนั้นจะมีผลที่จะใช้ยันกับบริษัทหรือบุคคลภายนอกได้ก็ต่อเมื่อได้

จดแจ้งการโอนหุ้นของผู้รับโอนดังกล่าวลงในทะเบียนหุ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้วเท่านั้น ทั้งนี้ เนื่องจากหุ้นชนิดระบุชื่อ

อาจจะยังไม่ชำระเต็มมูลค่าหุ้น จึงจำเป็นต้องทราบรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ที่รับโอนเพื่อสะดวกต่อการที่จะติดต่อเพื่อ

เรียกชำระค่าหุ้นที่ยังชำระไม่ครบต่อไป

การโอนหุ้นผู้ถือ กฎหมายกำหนดว่าสามารถที่จะโอนกันได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจาก

บริษัทไม่ว่าจะเป็นกรณีใดๆ ก็ตาม ซึ่งบริษัทจะไปออกข้อบังคับว่าห้ามโอนหุ้นผู้ถือนั้นก็ไม่สามารถที่จะกระทำได้

สำหรับวิธีการโอนหุ้นผู้ถือ เนื่องจากหุ้นผู้ถือเป็นหุ้นที่ชำระเต็มมูลค่าหุ้นแล้วการโอนกันนั้นจึงสามารถที่จะกระทำได้

โดยเพียงส่งมอบใบหุ้นให้แก่กันเท่านั้นก็ถือว่าเป็นการโอนที่สมบูรณ์แล้ว

ผู้ที่ถือหุ้นชนิดหนึ่งจะมาขอเปลี่ยนใบหุ้นเป็นอีกชนิดหนึ่งสามารถทำได้ตามเกณฑ์ที่กฎหมาย

กำหนดเอาไว้ ด้วยการเอาใบหุ้นเดิมมาขอเวนคืนแล้วเปลี่ยนใบหุ้นใหม่ไป

3.1.5 กฎหมาย หา้ม ม ิให ้บรษิทั จำกดั เปน็ ผู ้ถอื หุน้ ของ บรษิทั จำกดั ของ ตนเอง หรอื แมแ้ต ่จะ รบั จำนำ

หุ้น ของ บริษัท ของ ตนเอง ก็ ไม่ ได้

3.2การเพิ่มทุนหรือลดทุน เป็นสิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้เสมอในการดำเนินกิจการบริษัทจำกัด เพราะเมื่อ

ดำเนินกิจการอยู่นั้นอาจเกิดปัญหาในเรื่องเงินทุนหมุนเวียนขึ้นมาหรือต้องการขยายกิจการจำเป็นต้องใช้เงินทุนมาก

ขึ้นทางออกทางหนึ่งที่มักจะเลือกใช้ก็คือการเพิ่มทุนซึ่งกฎหมายกำหนดให้บริษัทจำกัดสามารถทำการเพิ่มทุนได้หาก

ที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติพิเศษให้เพิ่มทุนได้

3.2.1 สำหรับ การ เพิ่ม ทุน กฎหมายให้เพิ่มได้วิธีเดียวก็คือ ให้ออกหุ้นใหม่เท่านั้น โดยให้เสนอ

แก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามส่วนที่เขาถือหุ้นอยู่ หากผู้ถือหุ้นเดิมไม่ซื้อจึงจะนำหุ้นจำนวนนั้นมาจำหน่ายให้ผู้ถือหุ้นอื่นหรือ

กรรมการจะซื้อไว้เองก็ได้

3.2.2 สำหรบั การลดทนุ กรณีที่เงินทุนของบริษัทจำกัดอาจจะมีมากเกินไปทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นการ

ระงับโครงการบางโครงการไปหรือด้วยปัจจัยใดก็ตาม บริษัทจำกัดสามารถที่จะลดทุนได้ โดยต้องมีมติพิเศษจากที่

ประชุมผู้ถือหุ้น การลดทุนนั้นสามารถจะกระทำได้2วิธีคือลดจำนวนหุ้นให้น้อยลงหรือลดมูลค่าหุ้นให้น้อยลง

สำหรับการลดทุนนั้นจะมีผลกระทบต่อเจ้าหนี้ของบริษัทจำกัดเพราะทำให้เงินทุนของบริษัทจำกัดน้อย

ลงอันอาจจะมีผลกระทบต่อการชำระหนี้ให้แก่บรรดาเจ้าหนี้ของบริษัท กฎหมายจึงกำหนดเกณฑ์ในทางปฏิบัติไว้ว่า

หากบริษัทจำกัดใดจะลดทุน เมื่อได้มติพิเศษของบริษัทจำกัดนั้นให้ลดทุนได้แล้ว บริษัทจำกัดนั้นจะต้องดำเนินการ

ต่างๆดังนี้

1) ต้องลงโฆษณาความประสงค์ของบริษัทจำกัดที่จะลดทุนนั้น ในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่อย่างน้อย

หนึ่งครั้ง

Page 27: หน่วย ที่ 3 หุ้น ส่วน บริษัท องค์กร ธุรกิจ อื่น และ ... · เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า

3-27หุ้นส่วนบริษัทองค์กรธุรกิจอื่นและตลาดหลักทรัพย์

2) นอกจากประกาศหนังสือพิมพ์แล้ว จะต้องมีหนังสือบอกกล่าวไปยังบรรดาเจ้าหนี้ของบริษัทจำกัด

ว่าบริษัทจำกัดจะทำการลดทุนและที่สำคัญคือในหนังสือดังกล่าวต้องบอกเจ้าหนี้ด้วยว่าหากเจ้าหนี้ประสงค์จะคัดค้าน

การลดทุนนั้นให้ส่งคำคัดค้านมายังบริษัทจำกัดภายใน30วันนับแต่วันที่บอกกล่าวนั้น

3) ผลจากการแจ้งไปให้เจ้าหนี้ทราบและหากจะคัดค้านให้คัดค้านภายใน30วันตามที่กล่าวมาในข้อ

2)นั้นอาจเกิดผลที่จะต้องปฏิบัติเป็นได้2กรณีคือ

3.1) หากเจ้าหนี้ไม่ทำคำคัดค้านมาภายในเวลา30วันถือว่าไม่มีคำคัดค้านดังนั้นเมื่อพ้นเวลา

30วันนับแต่วันที่แจ้งให้เจ้าหนี้ทั้งหลายทราบบริษัทจำกัดนั้นสามารถที่จะทำการลดทุนได้

3.2)หากเจ้าหนี้คนใดหรือหลายคนทำการคัดค้านการลดทุนภายในเวลา 30 วัน เช่นนี้ บริษัท

จำกัดจะต้องจัดการใช้หนี้ให้แก่เจ้าหนี้ผู้คัดค้านนั้นหรือหากไม่ชำระหนี้ ก็จะต้องจัดหาประกันให้กับหนี้รายนั้นก่อน

เมื่อได้กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดตามแต่กรณีแล้วจึงจะสามารถที่จะทำการลดทุนของบริษัทจำกัดได้

หากกรณีที่เจ้าหนี้ไม่ทราบเรื่องการลดทุนจะด้วยเหตุประการใดก็ตามที่ไม่ใช่ความผิดของเจ้าหนี้

คนนั้นจึงไม่ได้ทำการคัดค้านการลดทุนของบริษัทจำกัดภายในเวลา30วันกฎหมายก็ยังคุ้มครองเจ้าหนี้ของบริษัท

จำกัดนั้นอยู่โดยให้ถือว่าบรรดาผู้ถือหุ้นที่ได้รับเงินคืนไปตามส่วนที่ลดทุนนั้นยังจะต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้ตามเงินส่วน

เท่าที่ตนได้รับคืนไปนั้นแต่กฎหมายกำหนดว่าความรับผิดดังที่กล่าวมานี้จำกัดระยะเวลาไว้เพียง2ปีนับแต่วันที่ได้

จดทะเบียนลดทุน

อนึ่งการลดทุนกฎหมายกำหนดไว้ว่าห้ามไม่ให้ลดทุนลงจนเหลือต่ำกว่าหนึ่งในสี่ของทุนทั้งหมดของ

บริษัทจำกัดนั้น

4. การจัดการบริษัทจำกัด เนื่องจากการจัดตั้งบริษัทจำกัดนั้นกฎหมายกำหนดให้ต้องจดทะเบียน จึงทำให้

บริษัทจำกัดมีสภาพเป็นนิติบุคคลการดำเนินกิจการของบริษัทจำกัดนั้น กฎหมายกำหนดให้กิจการของบริษัทจำกัด

ดำเนินการโดยกรรมการ และกรรมการของบริษัทจำกัดได้มาจากการเลือกจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นครั้งแรกหรือที่เรียกว่า

ที่ประชมุจดัตัง้บรษิทัจำกดั สว่นกรรมการจะมีจำนวนเทา่ใดสดุแลว้แต่ขอ้บงัคบัของบรษิทัที่จะกำหนด กฎหมายกำหนด

วา่ให้มีกรรมการอยา่งนอ้ยหนึง่คนสว่นการอยู่ในวาระของกรรมการหรอืการได้กรรมการเขา้มาแทนวาระของกรรมการ

เดิมต่างๆเหล่านั้นเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดไว้

กรรมการจึงเป็นผู้ที่มีบทบาทต่อการดำเนินกิจการของบริษัทจำกัดเป็นอย่างยิ่ง กรรมการจึงต้องดำเนินการ

ในกิจการของบริษัทจำกัดด้วยความระมัดระวังกรรมการต้องใช้ความเอื้อเฟื้อสอดส่องอย่างบุคคลผู้ค้าขายผู้ประกอบ

ด้วยความระมัดระวังในการประกอบกิจการ หากทำให้เกิดความเสียหายขึ้นจากการกระทำของกรรมการบริษัทจำกัด

อาจฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากกรรมการได้หรือหากบริษัทไม่ฟ้องร้องเรียกเอาจากกรรมการ ผู้ถือหุ้นอื่นอาจใช้สิทธิ

ในการฟ้องร้องเรียกเอาจากกรรมการได้ แต่ถ้าความเสียหายนั้นเกิดขึ้นจากการที่กรรมการได้ทำไปโดยได้รับอนุมัติ

จากที่ประชุมใหญ่แล้วไม่จำต้องรับผิดในความเสียหายนั้นต่อบริษัทหรือต่อผู้ถือหุ้นแต่อย่างใด

กรรมการอาจลาออกจากตำแหน่งกรรมการได้ โดยการยื่นใบลาออกต่อบริษัทจำกัดและให้มีผลนับแต่วันที่

ใบลาออกไปถึงบริษัทจำกัดนั้น และเมื่อใดที่ได้กรรมการใหม่แล้วบริษัทต้องนำเอาการเปลี่ยนแปลงกรรมการดังกล่าว

ไปขอจดทะเบียนภายใน 14 วันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง ส่วนการที่กรรมการลาออกนั้นจะแจ้งให้นายทะเบียน

ทราบด้วยก็ได้

4.1การดูแลครอบงำบริษัทของผู้ถือหุ้นการดำเนินการของบริษัทจำกัดที่นอกจากจะมีกรรมการเป็น

ผู้รับผิดชอบในการดำเนินการแล้วผู้ถือหุ้นของบริษัทยังสามารถใช้สิทธิในการครอบงำ ตรวจสอบการทำงานของ

กรรมการได้โดยอาศัยที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นซึ่งกฎหมายกำหนดว่าจะต้องจัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นอย่างน้อยปีละ

Page 28: หน่วย ที่ 3 หุ้น ส่วน บริษัท องค์กร ธุรกิจ อื่น และ ... · เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า

3-28 กฎหมายธุรกิจ

หนึง่ครัง้เรยีกวา่การประชมุ สามัญ ยกเวน้การประชมุนดัแรกให้ประชมุภายใน6เดอืนนบัแต่วนัที่ได้จดทะเบยีนบรษิทั

ในที่ประชุมดังกล่าวผู้ถือหุ้นสามารถที่จะซักถามและตรวจสอบการทำงานของกรรมการได้จากที่ประชุมใหญ่นั้น

นอกจากการประชุมสามัญตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว อาจจะมีบางกรณีที่จำเป็นจะต้องเรียก

ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น ก็สามารถที่จะกระทำได้ ซึ่งเรียกการประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นนั้นว่าการ ประชุม วิสามัญ ซึ่งอาจจะ

เรียกประชุมได้ในกรณีดังต่อไปนี้

1) กรรมการเป็นผู้เรียกประชุมเมื่อ

1.1) กรรมการเห็นสมควร

1.2) กรรมการต้องเรียกเมื่อบริษัทจำกัดขาดทุนลงถึงกึ่งของจำนวนต้นทุน

1.3) ให้กรรมการเรียกประชุมเมื่อผู้ถือหุ้นมีจำนวนหุ้นรวมกันไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าแห่ง

จำนวนหุ้นของบริษัทจำกัดเข้าชื่อกันทำหนังสือขอให้เรียกประชุม โดยระบุวัตถุประสงค์ในการเรียกประชุมด้วยว่า

เพื่อการใด

2) หากกรณีมีการทำหนังสือขอให้เรียกประชุมตาม1.3)แต่กรรมการไม่เรียกประชุมภายใน30

วันนับแต่วันที่ยื่นคำร้องขอให้เรียกประชุมอาจกระทำได้ดังนี้

2.1) ผู้ถือหุ้นทั้งหลายที่เป็นผู้ร้องสามารถที่จะเรียกประชุมเองได้

2.2) ผู้ถือหุ้นอื่นรวมกันได้จำนวนหนึ่งในห้าแห่งจำนวนหุ้นของบริษัทจำกัดนั้นสามารถ

ที่จะเรียกประชุมเองได้ โดยไม่ต้องร้องขอใหม่ อาศัยการร้องขอที่ผู้ถือหุ้นได้ร้องขอไว้แล้วนั้นมาเรียกประชุมได้ แต่

ก็ต้องให้ได้จำนวนหนึ่งในห้าแห่งจำนวนหุ้นทั้งหมดเช่นกันจึงจะเรียกประชุมได้

การเรียกประชุมใหญ่ทุกคราวต้องกระทำทั้ง2วิธีดังนี้คือลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องถิ่นอย่าง

น้อยหนึ่งคราวและจะต้องส่งทางไปรษณีย์ตอบรับยังผู้ถือหุ้นทุกคนที่มีชื่อในทะเบียนของบริษัทก่อนวันนัดประชุมไม่

น้อยกว่า7วัน ดังนั้นการเรียกประชุมใหญ่ไม่ว่าจะเป็นประชุมสามัญหรือวิสามัญคราวใดก็ตามจะต้องปฏิบัติตามวิธี

การที่กฎหมายกำหนดไว้ และสิ่งสำคัญที่ต้องมีปรากฏในคำบอกกล่าวการประชุมคือต้องระบุสถานที่ประชุมวันเวลา

และสภาพแห่งกิจการที่จะประชุมปรึกษาหารือกันนั้นด้วย และถ้าเป็นการเรียกประชุมมติพิเศษจะต้องระบุข้อความที่

จะนำเสนอให้ลงมติด้วย(ป.พ.พ.มาตรา1175)

ในการประชุมใหญ่นั้นหากมีข้อมติต้องลงคะแนนให้ทำโดยการชูมือเป็นสำคัญเว้นแต่หากมีการเสนอ

ให้ลงคะแนนลับโดยผู้ถือหุ้นอย่างน้อย2คนร้องขอเช่นนี้ก็ต้องลงคะแนนลับตามที่เสนอ

สำหรับกรณีที่กฎหมายกำหนดให้ต้องลงมติเป็นมติพิเศษ ที่ประชุมใหญ่ต้องลงมติในเรื่องนั้นด้วย

คะแนนเสียงข้างมากไม่ต่ำกว่าสามในสี่ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียง (ป.พ.พ.

มาตรา1194)

4.2สมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น เพื่อให้ผู้ถือหุ้นสามารถที่จะได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ถือหุ้นของบริษัท

กฎหมายจึงได้กำหนดไว้ว่าเป็นหน้าที่ของบริษัทจำกัดที่จะต้องจัดทำสมุดทะเบียนหุ้นเริ่มตั้งแต่วันจดทะเบียนบริษัท

จำกัดรายการต่างๆที่จะต้องจัดทำในสมุดทะเบียนหุ้นเป็นรายการที่เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องในเรื่องของ

หุ้นในบริษัทจำกัดไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเปลี่ยนใบหุ้นจากหุ้นผู้ถือเป็นหุ้นระบุชื่อหรือจากหุ้นระบุชื่อเป็นหุ้นผู้ถือหรือ

ในเรื่องของหุ้นที่ให้ถือว่าเป็นอันได้ใช้เงินแล้วซึ่งออกเป็นการตอบแทนแรงงานหรือทรัพย์สินอื่นใดเป็นต้นทั้งนี้เพื่อ

ให้ทราบที่มาที่ไปที่เกี่ยวข้องกับหุ้นของบริษัททั้งหมดที่มีอยู่ กฎหมายจึงกำหนดไว้ว่า บริษัทจำกัดจะต้องจัดทำสมุด

ทะเบียนหุ้นและแจ้งไว้ตอนจดทะเบียนบริษัทจำกัดด้วยว่าสมุดทะเบียนหุ้นนั้นจะเก็บไว้ที่สำนักงานแห่งใด

Page 29: หน่วย ที่ 3 หุ้น ส่วน บริษัท องค์กร ธุรกิจ อื่น และ ... · เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า

3-29หุ้นส่วนบริษัทองค์กรธุรกิจอื่นและตลาดหลักทรัพย์

5.ความรับผิดของกรรมการในการจัดการงานของบริษัทจำกัดความรับผิดชอบของกรรมการบริษัทนั้นอาจ

แบ่งออกได้เป็นดังนี้

5.1 หากกรรมการดำเนินกิจการของบริษัทภายในขอบวัตถุประสงค์ของบริษัท การกระทำต่างๆ

เหล่านั้นจะมีผลผูกพันบริษัทเพราะกฎหมายถือว่ากรรมการนั้นคือตัวแทนของบริษัทจำกัด

5.2 หากกรรมการของบริษัทจำกัดดำเนินกิจการที่นอกขอบวัตถุประสงค์ของบริษัทจำกัด เช่นนี้การ

กระทำนั้นไม่ผูกพันบริษัทจำกัดบริษัทจำกัดจึงไม่ต้องรับผิดในการกระทำของกรรมการนั้นทั้งนี้เพราะวัตถุประสงค์

ของบริษัทนั้นถือว่าบุคคลภายนอกได้รับรู้ เนื่องจากได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วว่าบริษัทดำเนินกิจการ

ในวัตถุประสงค์ใดบ้างดังนั้นเมื่อกรรมการดำเนินกิจการที่นอกเหนือจากวัตถุประสงค์ บริษัทจำกัดจึงไม่ต้องรับผิด

ต่อการกระทำดังกล่าวแต่อย่างใด

5.3 แต่หากปรากฏว่ากรรมการของบริษัทจำกัดดำเนินกิจการนอกเหนือจากอำนาจที่ได้รับมาจากที่

ประชมุใหญ่หรอืไม่เปน็ไปตามขอ้บงัคบัของบรษิทั เช่นนี้ยังคงต้องผูกพันต่อบุคคลภายนอกหากการที่กระทำนั้นอยู่

ในขอบวัตถุประสงค์ของบริษัทจำกัด แต่ในระหว่างผู้ถือหุ้นด้วยกันและระหว่างกรรมการกับบริษัทจำกัดนั้นสามารถที่

จะฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากกรรมการนั้นได้หากการกระทำนั้นทำให้บริษัทจำกัดนั้นได้รับความเสียหายโดยบริษัท

เป็นผู้ฟ้องร้องเองหรือหากบริษัทไม่ดำเนินการฟ้องร้องผู้ถือหุ้นคนใดคนหนึ่งจะเป็นผู้ฟ้องร้องก็ได้

6. ขอ้จำกดับางประการสำหรบัผู้เปน็กรรมการกรรมการเปน็ผู้ที่มีอำนาจในการดำเนนิกจิการของบรษิทัจำกดั

ซึ่งมีผลต่อความสำเร็จของบริษัทจำกัด กฎหมายจึงเข้ามาควบคุมการกระทำที่อาจกระทบต่อความเสียหายแก่บริษัท

จำกัดคือการที่กรรมการบริษัทจำกัดไปประกอบกิจการค้าขายอันเป็นการแข่งขันกับบริษัทจำกัดที่ตนเป็นกรรมการ

อยู่กฎหมายจึงห้ามไม่ให้กรรมการไปกระทำการดังกล่าวเช่นเดียวกับที่ห้ามผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญและ

ห้างหุ้นส่วนจำกัดไม่ให้กระทำการค้าขายแข่งในลักษณะเดียวกันนี้ทั้งนี้ข้อจำกัดที่ห้ามกรรมการมิให้กระทำนั้นคือ

6.1ห้ามมิให้กรรมการกระทำการใดดังนี้

6.1.1ประกอบกิจการค้าขายใดๆ

6.1.2เข้าไปเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิด

6.2โดยการประกอบกิจการหรือห้างหุ้นส่วนที่เข้าไปมีสภาพดุจเดียวกับบริษัทจำกัด

6.3กิจการนั้นเป็นการแข่งขันกับบริษัทจำกัด

6.4ไม่ว่าการกระทำนั้นจะกระทำเพื่อประโยชน์ของตนเองหรือของผู้อื่นก็ตาม

6.5การกระทำดังกล่าวนั้นไม่ได้รับความยินยอมจากที่ประชุมใหญ่ของผู้ถือหุ้น

การห้ามกรรมการไปประกอบกิจการค้าขายแข่งหรือห้ามแม้กระทั่งเข้าไปเป็นหุ้นส่วนที่ไม่จำกัดความ

รับผิดในห้างหุ้นส่วนใดก็ตาม ก็ด้วยเกรงว่าการดำเนินกิจการของบริษัทจะได้รับผลกระทบจากการกระทำดังกล่าว

ไม่ว่าจะเป็นทางตรงคือเอาประสบการณ์จากบริษัทจำกัดนี้ไปแสวงหาประโยชน์ให้กับตนเองหรือผู้อื่น หรือทางอ้อม

คืออาจจะไม่ตั้งใจที่จะทำงานในภารกิจของกรรมการอย่างเต็มที่ทั้งนี้บริษัทจำกัดที่ตนเป็นกรรมการอยู่อาจจะได้รับ

ความเสียหายได้กฎหมายจึงได้ห้ามมิให้กรรมการกระทำการดังกล่าว

อนึ่งพึงสังเกตว่ากฎหมายห้ามเฉพาะกรรมการของบริษัทเท่านั้นกฎหมายไม่ได้ห้ามผู้ถือหุ้นของบริษัท

จำกัดแต่อย่างใดดังนั้น หากผู้ถือหุ้นคนใดไปกระทำการดังกล่าวก็สามารถที่จะกระทำได้ ทั้งนี้ เพราะผู้ถือหุ้นมิได้

มีบทบาทต่อการจัดการหรือดำเนินการของบริษัทแต่อย่างใด จึงไม่มีผลกระทบหากผู้ถือหุ้นจะเป็นผู้ไปกระทำการ

ดงักลา่ว เชน่เดยีวกบักรรมการที่พน้จากตำแหนง่มาแลว้ถอืวา่เปน็ผู้ถอืหุน้เชน่กนักฎหมายก็ไม่หา้ม แต่หากเปน็บคุคล

ซึ่งเป็นผู้แทนของกรรมการของบริษัทจำกัดนั้นถือว่าเป็นผู้ที่มีบทบาทและกระทบต่อการจัดการของบริษัท กฎหมาย

จึงห้ามมิให้กระทำการดังกล่าวนั้นเฉกเช่นกรรมการ

Page 30: หน่วย ที่ 3 หุ้น ส่วน บริษัท องค์กร ธุรกิจ อื่น และ ... · เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า

3-30 กฎหมายธุรกิจ

7. การควบบรษิทัจำกดัเขา้กนักฎหมายกำหนดให้บริษัทจำกัดนั้นสามารถที่จะควบเข้ากันได้โดยได้กำหนด

หลักเกณฑ์ในการควบบริษัทจำกัดเข้ากันไว้ดังนี้

7.1 บริษัทจำกัดที่จะควบเข้ากันได้นั้นจะต้องได้รับมติพิเศษจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทนั้นก่อน

จึงจะสามารถที่จะดำเนินการต่อได้

7.2 ต้องนำมติพิเศษที่ยอมให้ควบบริษัทจำกัดนั้นไปขอจดทะเบียนภายในเวลา14วันนับแต่วันลงมติ

7.3 บริษัทต้องโฆษณาการควบบริษัทลงในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นอย่างน้อยหนึ่งคราว

7.4 บริษัทต้องส่งคำบอกกล่าวการควบบริษัทจำกัดนั้นไปยังบุคคลที่รู้ว่าเป็นเจ้าหนี้ของบริษัทให้ทราบ

ถึงวัตถุประสงค์ในการควบบริษัทจำกัดนั้นเข้ากับบริษัทจำกัดอื่น และขอให้เจ้าหนี้ที่ประสงค์จะคัดค้านการควบบริษัท

จำกัดดังกล่าวนั้นส่งคำคัดค้านมายังบริษัทภายใน60วันนับแต่วันที่บอกกล่าว

หากไม่มีการคัดค้านหรือไม่ส่งคำคัดค้านมาภายในเวลา 60 วัน ถือว่าไม่มีการคัดค้าน สามารถที่จะ

ทำการควบบริษัทจำกัดได้

แต่หากมีคำคัดค้านมาภายในเวลา 60 วันดังกล่าวนั้น จะยังไม่สามารถที่จะทำการควบบริษัทจำกัด

นั้นได้จนกว่าจะได้ชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้หรือได้จัดหาประกันให้กับหนี้รายนั้นแล้วจึงจะสามารถที่จะดำเนินการควบ

บริษัทจำกัดนั้นได้

7.5 เมื่อบริษัทควบเข้ากันแล้ว ให้บริษัทที่ควบเข้ากันนั้นต่างต้องนำความไปจดทะเบียนภายในเวลา

14วันนับแต่วันที่ควบเข้ากันรวมทั้งบริษัทที่ควบเข้ากันใหม่ก็ต้องจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดใหม่ด้วย

7.6 บริษัทจำกัดใหม่นั้นย่อมได้ไปทั้งสิทธิและความรับผิดบรรดาที่มีอยู่แก่บริษัทจำกัดเดิมอันได้มา

ควบเข้ากันนั้น

7.7 จำนวนทุนเรือนหุ้นของบริษัทจำกัดใหม่นั้น ต้องเท่ากับจำนวนทุนเรือนหุ้นของบริษัทจำกัดเดิม

สองบริษัทจำกัดที่มาควบเข้าด้วยกันรวมกัน

8. การเลิกบริษัทจำกัดบริษัทจำกัดนั้นสามารถเลิกบริษัทจำกัดได้เมื่อมีเหตุดังจะกล่าวต่อไปนี้

8.1 ถ้าในข้อบังคับของบริษัทจำกัดมีกำหนดกรณีอันใดเป็นเหตุที่จะเลิกกันและเมื่อมีกรณีนั้นเกิดขึ้น

ก็เป็นอันเลิกกัน

8.2 ถ้าบริษัทจำกัดได้ตั้งไว้เฉพาะกาลใดเมื่อสิ้นกำหนดกาลนั้น

8.3 ถ้าบริษัทจำกัดได้ตั้งไว้เฉพาะเพื่อทำกิจการอย่างหนึ่งอย่างใดแต่อย่างเดียวเมื่อเสร็จการนั้น

8.4 เมื่อบริษัทจำกัดมีมติพิเศษให้เลิก

8.5 เมื่อบริษัทจำกัดล้มละลาย

8.6 เมื่อมีเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ศาลอาจสั่งให้เลิกบริษัทจำกัดนั้นได้

8.6.1 ถ้าทำผิดในการยื่นรายงานประชุมตั้งบริษัทจำกัดหรือทำผิดในการประชุมตั้งบริษัทจำกัด

ศาลอาจสั่งให้เลิกบริษัทจำกัดนั้นได้ แต่ทั้งนี้ศาลอาจสั่งให้ดำเนินการในส่วนที่ผิดดังกล่าวนั้นใหม่แทนการสั่งเลิก

บริษัทจำกัดก็ได้ตามแต่จะเห็นสมควร

8.6.2 ถ้าบริษัทจำกัดไม่เริ่มทำการภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่จดทะเบียนหรือหยุดทำการไปแล้ว

ถึงหนึ่งปีเต็ม

8.6.3ถ้าการค้าของบริษัทจำกัดทำไปก็มีแต่ขาดทุนอย่างเดียวและไม่มีทางที่จะกลับฟื้นตัวได้

8.6.4ถ้าจำนวนผู้ถือหุ้นลดน้อยลงเหลือไม่ถึงสามคน

Page 31: หน่วย ที่ 3 หุ้น ส่วน บริษัท องค์กร ธุรกิจ อื่น และ ... · เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า

3-31หุ้นส่วนบริษัทองค์กรธุรกิจอื่นและตลาดหลักทรัพย์

กรณีการเลิกบริษัทจำกัดตามข้อ 8.6) นี้ ต้องมีเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นกับบริษัทจำกัด และมี

การร้องขอต่อศาลขอให้ศาลสั่งให้เลิกบริษัทจำกัดนั้นดังนั้นแม้มีเหตุเกิดขึ้นแต่ตราบใดที่ศาลยังไม่สั่งก็ถือว่าบริษัท

จำกัดนั้นยังไม่เลิกจากกันซึ่งจะต่างกับการเลิกบริษัทที่กำหนดไว้ตามข้อ8.1)ถึงข้อ8.5)ที่เมื่อเกิดเหตุการณ์ตามที่

กำหนดไว้นั้นก็ถือว่าบริษัทจำกัดเป็นอันเลิกจากกันตามเหตุนั้นๆ

9. การชำระบัญชีของบริษัทจำกัด เมื่อบริษัทเลิกกันด้วยเหตุใดก็ตามที่ไม่ใช่กรณีที่บริษัทจำกัดล้มละลาย

กฎหมายกำหนดว่าต้องจัดให้มีการชำระบัญชีของบริษัท เพื่อชำระสะสางการงานของบริษัทจำกัดให้เสร็จสิ้นไป

ตลอดจนจัดการใช้หนี้เงินและแจกจ่ายสินทรัพย์ของบริษัทจำกัด สำหรับผู้ชำระบัญชีของบริษัทจำกัดนั้น หากไม่มี

ข้อบังคับกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น กฎหมายให้ถือว่า กรรมการบริษัทจำกัด เป็นผู้มีหน้าที่ทำการชำระบัญชีของบริษัท

จำกัด

กรณีเมื่อเลิกบริษัทจำกัดแล้ว ไม่มีผู้ชำระบัญชีไม่ว่าด้วยกรณีใดก็ตามกฎหมายกำหนดให้ บุคคลผู้มีส่วน

ได้เสีย ไม่ว่าจะเป็นผู้ถือหุ้น เจ้าหนี้หรือบุคคลผู้มีส่วนได้เสียในกิจการของบริษัท เป็นผู้มีสิทธิร้องขอให้ศาลแต่งตั้ง

ผู้ชำระบัญชีให้กับบริษัทจำกัดนั้นได้หรือหากไม่มีบุคคลดังกล่าวมาร้องขอกฎหมายกำหนดให้พนักงานอัยการร้องขอ

ให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชีได้เช่นกัน

เมื่อมีการเลิกบริษัทจำกัดในขณะที่กำลังชำระบัญชีอยู่นั้นกฎหมายให้ถือว่าบริษัทจำกัดที่เลิกกันนั้นยังดำรง

อยู่ตราบเทา่ที่จำเปน็ตอ่การชำระบญัช ีนัน่ก็คอืยงัคงมีสถานะเปน็นติบิคุคลอยู่จนกวา่จะชำระบญัชีเปน็ที่เรยีบรอ้ยทัง้นี้

เนื่องจากภารกิจที่ผู้ชำระบัญชีจะต้องใช้เวลาในการดำเนินการพอสมควรกฎหมายจึงจำเป็นต้องให้บริษัทจำกัดนั้นยัง

ต้องคงสภาพไว้ก่อนจนกว่าจะชำระบัญชีเสร็จสิ้น

ภารกิจของผู้ชำระบัญชีตามที่กฎหมายกำหนดไว้มีดังนี้

1) แก้ต่างว่าต่างในนามของบริษัทจำกัดในอรรถคดีพิพาท ไม่ว่าจะเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญาก็ตามและยัง

สามารถทำการประนีประนอมยอมความได้ด้วย

2) ดำเนินกิจการของบริษัทจำกัดตามแต่จำเป็นเพื่อการชำระสะสางกิจการให้เสร็จไปด้วยดี

3) ขายทรัพย์สินของบริษัทจำกัด

4) ทำการอย่างอื่นตามความจำเป็นเพื่อชำระบัญชีให้เสร็จไปด้วยดี

5) เรียกชำระค่าหุ้นที่ผู้ถือหุ้นยังค้างชำระอยู่และผู้ถือหุ้นต้องชำระทันทีไม่ว่าจะมีเงื่อนไขใดอยู่ก่อนก็ตาม

เมื่อการดำเนินการชำระบัญชีของผู้ชำระบัญชีในหนี้สินต่างๆตลอดจนกิจการต่างๆของบริษัทจำกัดเสร็จสิ้น

ลงผู้ชำระบัญชียังไม่เสร็จสิ้นภารกิจของการชำระบัญชีผู้ชำระบัญชียังจะต้องทำรายงานการชำระบัญชีแสดงให้เห็นว่า

การชำระบัญชีนั้นได้ดำเนินการไปอย่างไรและได้จัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของบริษัทนั้นไปเป็นประการใดจากนั้นให้

ผู้ชำระบัญชีเรยีกประชมุใหญ่เพื่อเสนอรายงานและชี้แจงกิจการต่อที่ประชุมใหญ่ของบริษัทจำกัด หากที่ประชมุอนมุตัิ

รายงานนั้นแล้วผู้ชำระบัญชีจะต้องนำขอ้ความที่ได้ประชมุกันนัน้ไปจดทะเบียนภายใน14วันนับแต่วันประชุมใหญ่

นั้น และเมื่อได้จดทะเบียนเป็นที่เรียบร้อยจึงจะถือว่าเป็นการสิ้นสุดแห่งการชำระบัญชีของบริษัทจำกัดโดยสมบูรณ์

กิจกรรม3.2.1

บรษิทัจำกดัที่ประสงค์จะลดทนุลงจากทนุจดทะเบยีน10ลา้นลงมาเหลอื4ลา้นสามารถทำได้หรอืไม่

และต้องกระทำอย่างไร

Page 32: หน่วย ที่ 3 หุ้น ส่วน บริษัท องค์กร ธุรกิจ อื่น และ ... · เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า

3-32 กฎหมายธุรกิจ

แนวตอบกิจกรรม3.2.1

ตามประมวลกฎหมายแพง่และพาณชิย์กฎหมายกำหนดให้สามารถที่จะทำการลดทนุได้แต่จะลดทนุลง

ต่ำกว่าหนึ่งในสี่ของทุนจดทะเบียนไม่ได้จากคำถามการลดทุนจาก10ล้านลงเหลือ4ล้านซึ่งยังเหลือมากกว่า

หนึ่งในสี่ของทุนจดทะเบียนจึงสามารถกระทำได้

สำหรับการลดทุนให้ดำเนินการดังนี้คือ

1. ขอมติพิเศษจากบริษัทว่าจะทำการลดทุนลงเหลือ4ล้านนำมติพิเศษไปจดทะเบียนภายใน14วัน

2. ต้องโฆษณาลงในหนังสือพิมพ์แห่งท้องถิ่นอย่างน้อยหนึ่งครั้ง

3. มีหนงัสอืบอกกลา่วการลดทนุไปยงัเจา้หนี้และให้เจา้หนี้ทำการคดัคา้นภายในเวลา30วนันบัแต่วนั

ที่บอกกล่าว

4. หากพ้นเวลา30วันหากไม่มีคำคัดค้านมาถือว่าเจ้าหนี้ไม่คัดค้านแต่ถ้าเจ้าหนี้คัดค้านมาภายในเวลา

จะทำการลดทุนไม่ได้จนกว่าจะชำระหนี้นั้นหรือให้ประกันเพื่อหนี้นั้นแล้วจึงจะทำการลดทุนได้

สำหรบัการลดทนุจะลดได้2วธิีคอืลดมลูคา่หุน้ให้ตำ่ลงหรอืคงราคามลูคา่หุน้ไว้เทา่เดมิแลว้ลดจำนวน

หุ้นลงก็ได้ทั้งสองวิธี

เรื่องที่3.2.2

บริษัทมหาชนจำกัด

บริษัทมหาชนจำกัดเป็นอีกรูปแบบหนึ่งขององค์กรธุรกิจ ที่เกิดขึ้นตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด

พ.ศ.2521 โดยสาระสำคัญคือบริษัทมหาชนจะต้องมีผู้ถือหุ้นรายย่อยไม่เกิน0.6%ของจำนวนทุนของบริษัท และ

การเป็นบริษัทมหาชนจำกัดนั้นต้องพิจารณาว่าวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งต้องมีความชัดเจนเพื่อจะเสนอขายหุ้นให้

กับประชาชนเป็นหลักเกณฑ์สำคัญ

หลังจากมีการบังคับใช้พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัดพ.ศ. 2521 มาเป็นเวลากว่าสิบปี แต่การจัดตั้ง

บริษัทมหาชนจำกัดก็ยังไม่แพร่หลายเท่าที่ควรทั้งนี้เนื่องจากบทบัญญัติบางมาตรายังไม่เอื้ออำนวยต่อการประกอบ

ธุรกิจการค้าและอุตสาหกรรมในรูปบริษัทมหาชนจำกัดสมควรผ่อนคลายความเคร่งครัดของบทบัญญัติเหล่านั้นเพื่อ

สง่เสรมิการจดัตัง้หรอืการดำเนนิการของบรษิทัมหาชนจำกดัให้เปน็ไปโดยคลอ่งตวัขึน้พรอ้มทัง้แยกกรณีการเสนอขาย

หุ้นและหุ้นกู้ต่อประชาชนไปรวมไว้ในกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ซึ่งเป็นกฎหมายว่าด้วยการซื้อ

ขายหลักทรัพย์โดยเฉพาะและโดยที่มีการแก้ไขในมาตราต่างๆเป็นจำนวนมากดังนั้นเพื่อให้เกิดความสะดวกแก่การ

ใช้บังคับกฎหมายสมควรปรับปรุงเสียในคราวเดียวกันโดยยกเลิกพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัดพ.ศ.2521จึง

จำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัดพ.ศ.2535นี้มาใช้บังคับแทน

จากเหตุผลในการแก้ไขพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัดพ.ศ.2535นั้น ได้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติ

อีกฉบับหนึ่งที่เกี่ยวข้องในการจัดระบบของตลาดหลักทรัพย์ของไทยนั่นก็คือ พระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์

แหง่ประเทศไทยพ.ศ.2517ซึง่ได้มีการแกไ้ขมาครัง้หนึง่เมือ่พ.ศ.2527และได้ถกูยกเลกิไปโดยได้ตราพระราชบญัญตัิ

หลกัทรพัย์และตลาดหลกัทรพัย์พ.ศ.2535มาใช้บงัคบัแทน สำหรบัเหตผุลในการประกาศใช้พระราชบญัญตัิฉบบันี้คอื

Page 33: หน่วย ที่ 3 หุ้น ส่วน บริษัท องค์กร ธุรกิจ อื่น และ ... · เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า

3-33หุ้นส่วนบริษัทองค์กรธุรกิจอื่นและตลาดหลักทรัพย์

โดยที่การพัฒนาตลาดทุนของประเทศที่ผ่านมาได้มุ่งเน้นการพัฒนาตลาดรองซึ่งเป็นตลาดซื้อขายหลักทรัพย์

เปน็หลกัแต่ยงัขาดการพฒันาตลาดแรกอนัเปน็ตลาดสำหรบัหลกัทรพัย์ออกใหม่ควบคู่กนัไปดว้ยทำให้บทบาทที่สำคญั

ของตลาดรองในการเป็นตลาดที่สนับสนุนตลาดแรกไม่เกิดประสิทธิภาพอย่างเต็มที่ ด้วยเหตุนี้จึงต้องเปิดโอกาสให้

มีการพัฒนาตลาดแรกได้กว้างขวางขึ้นและให้มีตราสารประเภทต่างๆได้มากขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการระดมทุน

นอกจากนี้ โดยที่การควบคุมดูแลในเรื่องที่เกี่ยวกับตลาดทุนมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องหลายฉบับและอยู่ภายใต้ความ

รบัผดิชอบของหลายหนว่ยงานทำให้การกำกบัและพฒันาตลาดทนุขาดความเปน็เอกภาพ ทัง้ยงัขาดมาตรการที่คุม้ครอง

ผลประโยชน์ของผู้ลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพสมควรมีกฎหมายและหน่วยงานที่เป็นศูนย์รวมในการกำกับดูแลและ

พัฒนาตลาดทุนเพื่อให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นจึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น

จากความสัมพันธ์ของกฎหมาย 2 ฉบับนี้ที่ได้ถูกกำหนดขึ้นด้วยหลักเกณฑ์ที่ต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับ

หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์จึงทำให้หลักเกณฑ์ต่างๆที่เกี่ยวกับบริษัทมหาชนจำกัดนั้นต้องอาศัยกฎเกณฑ์จาก

พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์มาเป็นตัวกำหนดหลายเรื่องด้วยกัน โดยเฉพาะในเรื่องที่จะเสนอ

ขายหุ้นให้กับประชาชน จะต้องอยู่ในเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์จะเป็นผู้กำหนดและอนุญาตก่อนที่จะ

ดำเนินการทำหนังสือชี้ชวนออกไปยังประชาชน

1. ลกัษณะสำคญัของบรษิทัมหาชนจำกดัการดำเนนิธรุกจิในรปูแบบของบรษิทัมหาชนจำกดันัน้ เปน็เครือ่งมอื

ที่สำคัญในการขยายฐานของการลงทุนสู่ประชาชนหรือมหาชนทั้งในด้านของผู้ถือหุ้นและฐานของเงินลงทุน ที่กล่าว

เช่นนั้นเพราะการลงทุนในลักษณะของบริษัทมหาชนจำกัด กฎหมายกำหนดว่า บริษัทมหาชนจำกัดนั้น คือ บริษัท

ประเภทซึ่งตั้งขึ้นด้วยการแบ่งทุนเป็นหุ้นมีมูลค่าเท่าๆ กัน โดยผู้ถือหุ้นต่างรับผิดไม่เกินจำนวนที่ตนได้ลงทุนไว้ใน

หุ้นนั้นว่าเป็นจำนวนเท่าใดก็รับผิดเพียงเท่านั้น เช่นเดียวกับบริษัทจำกัด จะต่างกันก็ตรงที่การลงทุนในบริษัทจำกัด

ไม่สามารถที่จะขยายฐานของการลงทุนไปยังประชาชนได้ แต่สำหรับบริษัทมหาชนจำกัด กฎหมายกำหนดไว้ชัดเจน

ว่าต้องเป็นการขยายฐานการลงทุนไปยังประชาชนเป็นสำคัญ

ลักษณะสำคัญของบริษัทมหาชนจำกัดมีดังนี้

1.1เป็นบริษัทที่มีลักษณะของทุนแบ่งเป็นหุ้นละเท่าๆกันโดยหุ้นนั้นต้องมีมูลค่า

1.2ผู้ถือหุ้นรับผิดจำกัดเช่นเดียวกับบริษัทจำกัดคือไม่เกินจำนวนที่ตนจะต้องชำระค่าหุ้น ที่ตนได้

แสดงเจตนาในการลงทุนไว้

1.3จะตอ้งระบวุตัถปุระสงค์ในการจดัตัง้อยา่งชดัเจนวา่จะเสนอขายหุน้ให้กบัประชาชนไว้ในหนงัสอื

บริคณห์สนธิของบริษัท ซึ่งจะเห็นได้ว่าตรงกันข้ามกับบริษัทจำกัดที่ห้ามเสนอขายหุ้นให้กับประชาชน ส่วนจำนวน

ผู้ถือหุ้นนั้นไม่ได้กำหนดว่าจะต้องเป็นจำนวนเท่าใดเช่นเดียวกับบริษัทจำกัดที่ไม่ได้กำหนดจำนวนผู้ถือหุ้นไว้เช่นกัน

เพียงแต่จำนวนผู้ก่อการในการจัดตั้งบริษัทจำกัดจำนวนไม่ต่ำกว่า3คนและบริษัทมหาชนจำกัดจำนวนไม่ต่ำกว่า15

คนถือว่าเป็นการกำหนดจำนวนผู้ถือหุ้นขั้นต่ำไว้ แต่ไม่ได้กำหนดจำนวนผู้ถือหุ้นว่าจะต้องมีจำนวนเท่าใด แต่เมื่อใดที่

บริษัทมหาชนจำกัดต้องการที่จะเข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์อาจจะถูกกำหนดในเรื่องจำนวนผู้ถือหุ้นไว้เช่น

ต้องมีจำนวนผู้ถือถือหุ้นไม่ต่ำกว่า1,500คนจึงจะจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้ดังนั้นหากบริษัทมหาชนจำกัด

ใดจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ก็ต้องพยายามที่จะขายหุ้นให้กับประชาชนให้ได้ตามจำนวนดังกล่าว

ที่กล่าวมาทั้งสามประการนั้น คือ สาระที่สำคัญของบริษัทมหาชนจำกัดตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชน

จำกัดพ.ศ.2535

2. การจัดตั้งบริษัทมหาชนจำกัดการก่อตั้งบริษัทมหาชนจำกัด จะมีขั้นตอนและวิธีการที่ใกล้เคียงกับการ

จัดตั้งบริษัทจำกัดแตกต่างกันในส่วนที่เป็นรายละเอียดบางประการที่เป็นองค์ประกอบที่แตกต่างกันไปเท่านั้น

Page 34: หน่วย ที่ 3 หุ้น ส่วน บริษัท องค์กร ธุรกิจ อื่น และ ... · เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า

3-34 กฎหมายธุรกิจ

ขั้นตอนในการดำเนินการก่อตั้งบริษัทมหาชนจำกัดมีดังนี้

2.1ต้องมีผู้เริ่มจัดตั้งอย่างน้อย15คน โดยกฎหมายกำหนดว่าต้องเป็นบุคคลธรรมดาเท่านั้น ห้าม

ไม่ให้นิติบุคคลเข้ามาเป็นผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทมหาชนนอกจากนั้นยังกำหนดคุณสมบัติของผู้จัดตั้งไว้ดังนี้

2.1.1 ผู้จัดตั้งต้องบรรลุนิติภาวะแล้ว

2.1.2 ผู้จดัตัง้ตอ้งมีถิน่ที่อยู่ในราชอาณาจกัรเปน็จำนวนไม่นอ้ยกวา่กึง่หนึง่ของจำนวนผู้เริม่จดัตัง้

ทั้งหมด

2.1.3 ผู้จัดตั้งจะต้องจองหุ้นของบริษัทมหาชนจำกัดที่พวกตนจะตั้งขึ้นมานั้นทุกคน โดยหุ้นที่

จองนั้นต้องมีจำนวนรวมกันแล้วไม่น้อยกว่าร้อยละห้าของทุนจดทะเบียนและหุ้นที่จองนั้นต้องเป็นหุ้นที่ชำระค่าหุ้น

ด้วยตัวเงิน

2.1.4 ผู้จัดตั้งต้องไม่เป็นบุคคลดังต่อไปนี้

2.1.4.1 คนไร้ความสามารถ

2.1.4.2 คนเสมือนไร้ความสามารถ

2.1.4.3 คนล้มละลาย

2.1.4.4 เคยเป็นคนล้มละลาย

2.1.5 ผู้จดัตัง้ตอ้งไม่เคยรบัโทษจำคกุโดยคำพพิากษาถงึที่สดุให้จำคกุในความผดิเกีย่วกบัทรพัย ์

ที่ได้กระทำโดยทุจริต

2.2ผู้จัดตั้งต้องจัดทำหนังสือบริคณห์สนธิซึ่งรายละเอียดในหนังสือบริคณห์สนธิจะต้องมีรายการ

อย่างน้อยดังต่อไปนี้

2.2.1 ชื่อ บริษัทซึ่งต้องมีคำว่า“บริษัท”นำหน้าและ“จำกัด(มหาชน)”ต่อท้ายหรือจะใช้อักษร

ย่อว่า“บมจ.”นำหน้าแทนคำว่า“บริษัท”และ“จำกัด(มหาชน)”ก็ได้ แต่ในกรณีที่ใช้ชื่อเป็นอักษรภาษาต่างๆ ประเทศ

จะใช้คำซึ่งมีความหมายว่าเป็น “บริษัทมหาชนจำกัด” ตามที่กำหนดในกฎกระทรวงแทนก็ได้ และในเรื่องชื่อนี้ได้

มีกฎกระทรวงออกมากำหนดว่าหากบริษัทมหาชนจำกัดจะมีชื่อเป็นภาษาต่างประเทศนั้นให้เป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น

จะเขียนเป็นภาษาอื่นไม่ได้และให้มีคำว่า“PublicCompanyLimited”ต่อท้ายชื่อภาษาอังกฤษดังนั้นจะใช้ชื่อย่อ

ว่าPcl.เหมือนที่ต่างประเทศใช้ไม่ได้

2.2.2 แสดง ความ ประสงค์ ของ บรษิทั ที ่จะ เสนอ ขาย หุน้ ตอ่ ประชาชน ใน หนงัสอื บรคิณหส์นธ ิซึ่ง

ถือว่าเป็นสาระที่สำคัญของความเป็นบริษัทมหาชนจำกัด

2.2.3 วัตถุประสงค์ ของ บริษัท ซึ่งต้องระบุประเภทของธุรกิจโดยชัดแจ้ง เพื่อให้ทราบว่าบริษัท

ดังกล่าวจะดำเนินกิจการประเภทใดเพราะเป็นสิ่งที่ผู้ที่จะเข้ามาร่วมลงทุนคือเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นสามารถใช้เป็นข้อมูล

ที่สำคัญประการหนึ่งในการตัดสินใจที่จะร่วมลงทุนด้วยหรือไม่

2.2.4 ทุน จด ทะเบียนซึ่งต้องแสดงชนิดของหุ้นที่กำหนดไว้จำนวนหุ้นและมูลค่าของหุ้น

2.2.5 ที่ ตั้ง สำนักงาน ใหญ่ ซึ่งต้องระบุว่าจะตั้งอยู่ณท้องที่ใดในราชอาณาจักร

2.2.6 วนั เดอืน ป ีเกดิ สญัชาต ิและ ที ่อยู ่ของ ผู ้เริม่ จดั ตัง้ บรษิทั มหาชน จำกดัและที่สำคัญคือจำนวน

หุ้นที่แต่ละคนจองไว้

สำหรับในส่วนของชื่อของบริษัทนั้นต้องไม่มีลักษณะเป็นการต้องห้ามตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

2.3เมือ่จดัทำหนงัสอืบรคิณหส์นธิเสรจ็เรยีบรอ้ยให้ผู้จดัตัง้บรษิทัมหาชนจำกดัทกุคนลงลายมอืชือ่ใน

หนังสือบริคณห์สนธิพร้อมทั้งนำหนังสือบริคณห์สนธินั้นไปยื่นขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียน

Page 35: หน่วย ที่ 3 หุ้น ส่วน บริษัท องค์กร ธุรกิจ อื่น และ ... · เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า

3-35หุ้นส่วนบริษัทองค์กรธุรกิจอื่นและตลาดหลักทรัพย์

2.4เมื่อนายทะเบียนจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิให้แล้วผู้จัดตั้งเสนอขายหุ้นต่อประชาชนหรือ

บุคคลใดได้ โดยต้องเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์กล่าวคือผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทมหาชน

จำกัดจะต้องขออนุญาตเสนอขายหุ้นออกใหม่ ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

(คณะกรรมการก.ล.ต.) โดยการพิจารณาให้อนุญาตนี้คณะกรรมการก.ล.ต.จะพิจารณาถึงลักษณะของธุรกิจความ

เป็นไปได้ของธุรกิจระยะยาวโครงสร้างทางการเงินและการถือหุ้นและคุณสมบัติของผู้บริหารโดยสำนักงานก.ล.ต.

จะแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้ขออนุญาตทราบภายใน45วันนับแต่วันที่ได้รับคำขออนุญาต

ภายหลังจากที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการก.ล.ต.ให้เสนอขายหุ้นออกใหม่ต่อประชาชน

แล้ว ผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทมหาชนจำกัด ต้องยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลเสนอขายหุ้นนั้นต่อสำนักงานคณะกรรมการ

ก.ล.ต. โดยแบบแสดงรายการข้อมูลเสนอขายหุ้นและร่างหนังสือชี้ชวนจะต้องมีรายการตามแบบที่คณะกรรมการ

ก.ล.ต.กำหนดและการเสนอขายหุ้นนั้นจะกระทำได้ต่อเมื่อแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหุ้นและร่างหนังสือ

ชี้ชวนดังกล่าวมีผลใช้บังคับแล้ว

การเสนอขายหุ้นให้กับประชาชนนั้นกฎหมายอนุญาตให้ขายเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องขาย

ทั้งหมดเหมือนในบริษัทจำกัดที่ต้องให้มีผู้จองครบทั้งหมด แต่การกำหนดจำนวนที่จะจำหน่ายนั้นต้องกำหนดไว้

ในหนังสือชี้ชวนหรือเอกสารที่เกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนนั้น กฎหมายห้าม มิ ให้ กำหนด จำนวน น้อย กว่า

ร้อย ละ 50 ของ จำนวน หุ้น ที่กำหนดไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิ เช่น หุ้นที่กำหนดไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิจำนวน

20,000 หุ้น ราคามูลค่าหุ้นละ 100 บาท เช่นนี้ การกำหนดจำนวนหุ้นที่จะจำหน่ายในหนังสือชี้ชวนหรือเอกสาร

เกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนนั้น อาจจะกำหนดว่าจะเปิดโอกาสให้จองหุ้น เป็นจำนวน 12,000หุ้น เช่นนี้

ก็สามารถที่จะกระทำได้แต่จะกำหนดว่าจะให้จองหุ้น9,000หุ้นเช่นนี้ไม่ได้เพราะไม่ถึงร้อยละห้าสิบของจำนวนหุ้น

ที่กำหนดไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิแต่ก็ไม่จำเป็นจะต้องจองครบตามที่จดทะเบียนในหนังสือบริคณห์สนธิเพียงแต่

ต้องไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของจำนวนหุ้นทั้งหมดที่จดทะเบียนไว้

2.5เมื่อมีผู้จองหุ้นครบตามจำนวนแล้วผู้จัดตั้งต้องเรียกประชุมจัดตั้งบริษัทมหาชนจำกัดภายใน2

เดือนนับแต่วันที่มีการจองหุ้นครบ และการจำหน่ายหุ้นการเรียกประชุมจัดตั้งบริษัทนั้นต้องกระทำให้เสร็จภายใน

เวลาไม่เกิน6เดือนนับแต่วันที่นายทะเบียนได้จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ

หากมีข้อขัดข้องใดที่ผู้จัดตั้งไม่สามารถที่จะเรียกประชุมจัดตั้งบริษัทได้ภายในเวลาดังกล่าวนั้น และ

ยังคิดที่จะดำเนินกิจการต่อไปกฎหมาย อนุญาต ให้ ขอ ขยาย เวลา ได้ แต่ต้องยื่นขออนุญาตขยายเวลาก่อนไม่น้อยกว่า

เจ็ดวันก่อนครบกำหนด โดยทำเป็นหนังสือชี้แจงเหตุผลยื่นต่อนายทะเบียนหากนายทะเบียนเห็นสมควรก็สามารถ

อนุญาตให้ขยายเวลาได้โดยต้องขยายเวลาให้ไม่น้อยกว่า1เดือนแต่ก็ไม่ให้ขยายเวลาเกิน3เดือนนับแต่วันสิ้นสุด

กำหนดแห่งเวลานั้น

สำหรับองค์ประชุมในการประชุมจัดตั้งบริษัทมหาชนจำกัดนั้น กฎหมายกำหนดให้ต้องมีผู้ที่เข้าชื่อ

จองหุ้นซึ่งเมื่อนับจำนวนหุ้นแล้วมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนหุ้นที่จองจึงจะถือว่าครบองค์ประชุม

2.6ในการประชุมจัดตั้งบริษัทนั้นกิจการที่จะต้องกระทำในการประชุมมีอยู่ดังนี้

2.6.1 พิจารณาข้อบังคับของบริษัท ซึ่งผู้จัดตั้งจะเป็นผู้ที่จัดทำร่างข้อบังคับของบริษัทมหาชน

จำกัดมาเพื่อให้พิจารณา

2.6.2 ให้สัตยาบันแก่กิจการที่ผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทได้กระทำไว้ และอนุมัติค่าใช้จ่ายที่ได้จ่ายไป

เนื่องในการจัดตั้งบริษัทมหาชนจำกัด

2.6.3 กำหนดจำนวนเงินที่จะให้แก่ผู้จัดตั้งบริษัทมหาชนจำกัดถ้าระบุไว้เช่นนั้นในหนังสือชี้ชวน

2.6.4 กำหนดลักษณะแห่งหุ้นบุริมสิทธิ(ถ้ามี)

Page 36: หน่วย ที่ 3 หุ้น ส่วน บริษัท องค์กร ธุรกิจ อื่น และ ... · เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า

3-36 กฎหมายธุรกิจ

2.6.5 กำหนดจำนวนหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิที่จะออกให้แก่บุคคลใดเสมือนว่าได้รับชำระเงิน

ค่าหุ้นเต็มมูลค่าแล้วเพราะบุคคลนั้นเป็นผู้ให้ทรัพย์สินอื่นนอกจากตัวเงินหรือให้หรือให้ใช้ลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรม

ศิลปะหรือวิทยาศาสตร์สิทธิบัตรเครื่องหมายการค้าแบบหรือหุ่นจำลองแผนผังสูตรหรือกรรมวิธีลับใดๆหรือให้

ข้อสนเทศเกี่ยวกับประสบการณ์ทางอุตสาหกรรมการพาณิชย์หรือวิทยาศาสตร์

2.6.6 เลือกตั้งกรรมการบริษัทมหาชนจำกัดเพื่อเป็นผู้ดำเนินกิจการของบริษัทมหาชนจำกัด

นั้น กฎหมายกำหนดว่าจะต้องเลือกกรรมการไม่น้อยกว่า 5 คน และกรรมการที่จะเลือกมานั้นจะต้องมีถิ่นที่อยู่ใน

ราชอาณาจักรไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมดที่เลือกมานอกจากนั้น กฎหมายยังกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่

จะสามารถเป็นกรรมการได้ดังนี้

1)ต้องเป็นบุคคลธรรมดา

2)ต้องบรรลุนิติภาวะ

3)ไม่เป็นบุคคลล้มละลายคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ

4)ไม่เคยรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก ในความผิดที่เกี่ยวกับทรัพย์ที่ได้

กระทำโดยทุจริต

5)ไม่เคยถูกลงโทษไล่ออกหรือปลดออกจากราชการหรือองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ

ฐานทุจริตต่อหน้าที่

อนึ่ง กฎหมายห้ามมิให้กำหนดข้อจำกัดใดๆ อันมีลักษณะที่เป็นการกีดกันมิให้ผู้ถือหุ้น

เป็นกรรมการนั้น

2.6.7 เลือกตั้งผู้สอบบัญชีและกำหนดจำนวนเงินค่าสอบบัญชีของบริษัท

2.7เมือ่ประชมุจดัตัง้บรษิทัมหาชนจำกดัเสรจ็เปน็ที่เรยีบรอ้ยผู้จดัตัง้เปน็อนัหมดหนา้ที่ดงันัน้ผู ้จดั ตัง้

ต้อง ทำการ มอบ กิจการ และ เอกสาร ทั้ง ปวง ของ บริษัท มหาชน จำกัด ให้ แก่ คณะ กรรมการ ภายในเจ็ดวัน นับแต่วันที่

เสร็จสิ้นการประชุมจัดตั้งบริษัท

เมื่อรับมอบกิจการและเอกสารต่างๆ แล้ว ให้ คณะ กรรมการ ดำเนิน กิจการ สำหรับ ผู้ จอง ซื้อ หุ้น แต่ละ

ประเภท ดังนี้

2.7.1 มีหนังสือแจ้งให้ผู้จองหุ้นชำระเงินค่าหุ้นเต็มจำนวนภายในเวลาที่กำหนดไว้ในหนังสือ

ที่แจ้งไปนั้นแต่ต้องกำหนดวันที่ให้ชำระค่าหุ้นไม่น้อยกว่า14วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง ข้อสังเกตในเรื่องของ

การเรียกชำระค่าหุ้นนั้นในบริษัทจำกัดให้เรียกชำระคราวแรกไม่น้อยกว่าร้อยละ25ส่วนจะเรียกเท่าใดสุดแล้วแต่จะ

กำหนดกันไว้แต่ในบริษัทมหาชนจำกัดกำหนดไว้ชัดเจนว่าให้เรียกชำระเต็มมูลค่าหุ้น

2.7.2 เรียกให้ผู้จองหุ้นที่ชำระด้วยทรัพย์สินอื่นที่มิใช่ตัวเงินโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นหรือ

ทำเอกสารหลักฐานการใช้สิทธิต่างๆให้แก่บริษัทมหาชนจำกัดตามวิธีการและภายในเวลาที่กำหนดไว้ในหนังสือแจ้ง

นั้นแต่ต้องไม่น้อยกว่า1เดือนนับแต่วันจดทะเบียนบริษัท

ในการรับชำระค่าหุ้นนั้น กฎหมายห้ามมิให้หักกลบลบหนี้กับผู้จัดตั้ง หรือหักกลบลบหนี้กับบริษัท

ก็ไม่ได้เช่นกัน

2.8 เมือ่ได้รบัชำระเงนิคา่หุ้นครบแลว้ให้คณะกรรมการดำเนนิการขอจดทะเบยีนบรษิทัมหาชนจำกดั

ต่อนายทะเบียน ซึ่งมีรายละเอียดในการจดทะเบียนตามที่กฎหมายกำหนดไว้ แต่การดำเนินการจดทะเบียนนั้นต้อง

ดำเนินจดทะเบียนให้เสร็จสิ้นภายในเวลา3 เดือนนับตั้งแต่วันประชุมจัดตั้งบริษัทและเมื่อจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท

มหาชนจำกัดเป็นที่เรียบร้อย จะมีผลทำให้บริษัทมหาชนจำกัดนั้นมีสภาพเป็นนิติบุคคลตั้งแต่วันที่นายทะเบียนรับ

จดทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัดนั้น

Page 37: หน่วย ที่ 3 หุ้น ส่วน บริษัท องค์กร ธุรกิจ อื่น และ ... · เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า

3-37หุ้นส่วนบริษัทองค์กรธุรกิจอื่นและตลาดหลักทรัพย์

อย่างไรก็ตามหากคณะกรรมการของบริษัทมหาชนจำกัดไม่ดำเนินการจดทะเบียนภายในเวลา3เดือน

นับแต่วันประชุมจัดตั้งบริษัทมหาชนจำกัด หรือนายทะเบียนมีคำสั่งไม่รับจดทะเบียนและคำสั่งนั้นถึงที่สุดแล้ว

กฎหมายให้ถือว่า บริษัทมหาชนจำกัดนั้นเป็นอันไม่ได้จัดตั้งขึ้น เมื่อเป็นเช่นนี้คณะกรรมการจะต้องคืนเงินที่ชำระค่า

หุ้น หากเป็นกรณีที่ชำระด้วยการโอนทรัพย์สินมา ก็ให้โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นคืน หรือคืนลิขสิทธิ์ที่ได้รับมา

ชำระค่าหุ้นนั้นต้องคืนไปให้ภายใน1เดือนนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาดังกล่าว

3. ทุนของบริษัทมหาชนจำกัดกฎหมายได้กำหนดในเรื่องทุนของการดำเนินการในกิจการบริษัทมหาชน

จำกัดนั้นไว้ว่า ทุนของบริษัทมหาชนจำกัดนั้นจะแบ่งออกเป็นหุ้นที่มีมูลค่าหุ้นเท่าๆ กัน โดยกฎหมายกำหนดไว้ว่า

หุ้นนั้นต้องมีมูลค่าเท่านั้นแต่ไม่ได้กำหนดเท่าใดสำหรับมูลค่าหุ้นขั้นสูงก็ไม่ได้กำหนดไว้เช่นกันแต่หากกำหนดมูลค่า

หุ้นไว้สูงอาจจะมีผลต่อการตัดสินใจในการเข้าซื้อหุ้นก็เป็นได้

3.1สาระที่สำคัญของหุ้นในบริษัทมหาชนจำกัดมีดังนี้

3.1.1 หุน้ แบง่ แยก ไม ่ได ้หมายความว่าหุ้นที่บริษัทมหาชนจำกัดกำหนดราคามูลค่าหุ้นไว้ตามที่ได้

จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิไว้เท่าใดก็เป็นไปตามนั้นไม่อาจจะเปลี่ยนแปลงโดยการแบ่งหุ้นนั้นออกไปในลักษณะ

อื่นใดได้

3.1.2 หุ้น ใน บริษัท มหาชน จำกัด อาจมีได้ 2 ประเภทคือ หุ้นสามัญและหุ้นบุริมสิทธิ ซึ่งหุ้น

บุริมสิทธิ คือ หุ้นที่มีสิทธิพิเศษที่ดีกว่าหุ้นสามัญส่วนจะดีอย่างไรสุดแต่บริษัทมหาชนจำกัดนั้นจะกำหนดกันไว้เป็น

อย่างไรเช่นอาจจะให้มีสิทธิได้รับเงินปันผลก่อนหุ้นสามัญหรืออาจจะเป็นสิทธิที่จะได้รับเงินคืนค่าหุ้นก่อนหุ้นสามัญ

เป็นต้น บริษัทมหาชนจำกัดอาจจะกำหนดให้มีหุ้นบุริมสิทธิหรือไม่ก็ได้ และกฎหมายกำหนดว่าบุริมสิทธิในหุ้นซึ่งได้

ออกให้แล้วนั้นจะเปลี่ยนแปลงไม่ได้แม้แต่จะแปลงหุ้นบุริมสิทธิเป็นหุ้นสามัญก็ไม่สามารถทำได้เช่นกันเว้นแต่บริษัท

มหาชนจำกัดนั้นจะมีข้อบังคับกำหนดไว้ให้ทำได้จึงจะมามารถทำได้และถ้ากำหนดไว้ให้แปลงหุ้นได้ก็ต้องทำโดยให้

ผู้ถือหุ้นยื่นคำขอแปลงหุ้นต่อบริษัทมหาชนจำกัดพร้อมกับส่งมอบใบหุ้นคืนกฎหมายให้ถือว่ามีผลนับแต่วันที่ได้ยื่น

ขอแปลงหุ้นในการดังกล่าวให้บริษัทมหาชนจำกัดออกใบหุ้นใหม่ให้แก่ผู้ขอภายใน14วันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ

3.1.3 ใบหุน้ ของ บรษิทั มหาชน จำกดั ม ีประเภท เดยีวเพราะการชำระค่าหุ้นของบริษัทมหาชนจำกัด

ต้องชำระครั้งเดียวจนเต็มมูลค่า และในการชำระค่าหุ้นผู้จองหุ้นหรือผู้ซื้อหุ้นจะหักกลบลบหนี้กับบริษัทไม่ได้

บริษัทมหาชนจำกัดต้องออกใบหุ้นให้แก่ผู้ซื้อภายในเวลา2เดือน นับแต่วันที่นายทะเบียนรับ

จดทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัดหรือนับแต่วันที่ได้ชำระเงินค่าหุ้นครบถ้วนในกรณีที่บริษัทมหาชนจำกัดจำหน่ายหุ้นที่

เหลือหรือจำหน่ายหุ้นที่ออกใหม่ภายหลังการจดทะเบียนบริษัท

กฎหมายห้ามมิให้ออกใบหุ้นให้แก่บุคคลใดจนกว่าจะมีการจดทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัดหรือ

จดทะเบียนเพิ่มทุนแล้วจึงจะออกได้ และการจะออกใบหุ้นให้แก่บุคคลใดบุคคลนั้นจะต้องชำระเงินค่าหุ้นครบถ้วน

แล้ว

หากการออกใบหุ้นใดฝ่าฝืนกฎหมายดังกล่าวถือว่าตกเป็นโมฆะ

3.1.4 การ โอน หุ้น ของ บริษัท มหาชน จำกัด นั้น มี ผล สมบูรณ์ เมื่อ ผู้ ถือ หุ้น สลัก หลัง ใบหุ้น โดย ระบุ

ชื่อ ผู้รับ โอน ลง ลายมือ ชื่อ ผู้ โอน และ ผู้รับ โอน และ ส่ง มอบ ใบหุ้น ดัง กล่าว ให้ ผู้รับ โอน

เมื่อได้กระทำตามที่กล่าวมาถือว่าการโอนหุ้นนั้นมีผลสมบูรณ์แล้วคือมีผลสมบูรณ์ต่อผู้โอนหุ้น

และผูร้บัโอนหุน้ แต่ยงัไม่สามารถที่จะใช้ยนักบับรษิทัได้จนกวา่บรษิทัมหาชนจำกดัจะได้รบัคำรอ้งขอให้ลงทะเบยีนการ

โอนหุ้นแล้ว และหากจะใช้ยันต่อบุคคลภายนอกได้ก็ต่อเมื่อบริษัทมหาชนจำกัดนั้นได้ลงทะเบียนการโอนหุ้นแล้ว

เมื่อการโอนหุ้นถูกต้องบริษัทมหาชนจำกัดจะต้องจัดการลงทะเบียนหุ้นให้แก่ผู้ถือหุ้นโดยทำได้

2กรณีดังนี้

Page 38: หน่วย ที่ 3 หุ้น ส่วน บริษัท องค์กร ธุรกิจ อื่น และ ... · เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า

3-38 กฎหมายธุรกิจ

กรณีแรก หากผู้รับโอนต้องการที่จะให้ออกใบหุ้นใหม่ผู้รับโอนหุ้นต้องทำเป็นหนังสือลง

ลายมือชื่อผู้รับโอนหุ้นพร้อมมีพยานอย่างน้อยหนึ่งคนลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้รับโอนหุ้นนั้นโดยจะต้อง

เวนคืนใบหุ้นเดิมหรือหลักฐานอื่นให้แก่บริษัทบริษัทมหาชนจำกัดต้องลงทะเบียนการโอนหุ้นภายใน7วันนับแต่วันที่

ได้รับคำร้องขอ และต้องออกใบหุ้นให้ใหม่ภายใน1เดือนนับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอ

กรณีที่สอง หากผู้รับโอนไม่ต้องการที่จะขอรับใบหุ้นใหม่ บริษัทมหาชนจำกัดต้องลง

ทะเบียนการโอนหุ้นภายใน14วันนับแต่วันที่มีการร้องขอ

3.1.5 โดย หลกั การ แลว้ ใน การ โอน หุน้ นา่ จะ เปน็ สทิธ ิของ ผู ้ถอื หุน้ อยา่ง อสิระ วา่ จะ โอน หุน้ ของ ตน

ให้ กับ ผู้ ใด อย่างไร ก็ได้แต่สำหรับ บริษัท มหาชน จำกัด นั้น มี กฎหมาย กำหนด หลัก การ สำคัญ ไว้ ใน เรื่อง ของ สัดส่วน ของ

ผู้ ถือ หุ้น เพื่อป้องกันไม่ให้หุ้นนั้นตกเป็นของคนใดคนหนึ่งมากเกินไปเพราะต้องการที่จะกระจายไปยังมหาชนอย่าง

กว้างขวาง นอกจากนั้นยังถือว่าเป็นการวางกรอบในเรื่องการป้องกันการเข้ามาลงทุนของชาวต่างชาติอีกด้วยเป็นสำคัญ

ข้อจำกัดบางประการในการโอนหุ้นของบริษัทมหาชนจำกัดมีดังนี้

1) บริษัทจะกำหนดข้อจำกัดใดๆในการโอนหุ้นมิได้ เว้นแต่ข้อจำกัดนั้นจะเป็นไป เพื่อ

รักษาสิทธิและผลประโยชน์ที่บริษัทจะพึงได้รับตามกฎหมายหรือเพื่อเป็นการรักษาอัตราส่วนการถือหุ้นของคนไทย

กับคนต่างด้าว

2) กรณีผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทมหาชนจำกัดได้จองซื้อหุ้นไว้จำนวนเท่าใดก็ตาม จะโอนหุ้น

ดังกล่าวก่อนครบกำหนด 2ปีนับแต่วันจดทะเบียนเป็นบริษัทแล้วมิได้ เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุม

ผู้ถือหุ้นว่าให้โอนได้

3.1.6 กฎหมาย ห้าม มิ ให้ บริษัท มหาชน จำกัด เป็น ผู้ ถือ หุ้น ของ บริษัท ของ ตนเอง หรือ แม้แต่ จะ รับ

จำนำ หุ้น ของ บริษัท ของ ตนเอง ก็ ไม่ ได้

3.2การเพิ่มทุนลดทุน เป็นสิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้ในการดำเนินกิจการบริษัทมหาชนจำกัดเช่นเดียวกับ

บริษัทจำกัด เพราะเมื่อดำเนินกิจการอยู่นั้นอาจเกิดปัญหาในเรื่องเงินทุนหมุนเวียนขึ้นมาหรือต้องการขยายกิจการ

จำเป็นต้องใช้เงินทุนมากขึ้น ก็อาจเลือกใช้การเพิ่มทุน แต่หากเงินทุนมากเกินความจำเป็นก็อาจจะทำการลดทุนได้

เช่นกัน

3.2.1 การ เพิ่ม ทุน ของ บริษัท มหาชน จำกัด กฎหมายให้เพิ่มได้โดยวิธีการให้ออกหุ้นใหม่เท่านั้น

กฎหมายกำหนดรายละเอียดในการออกหุ้นใหม่นั้นไว้ดังนี้

1) จะออกหุ้นใหม่ได้ก็ต่อเมื่อหุ้นที่กำหนดไว้ในการจดทะเบียนนั้นได้จำหน่ายหมดและ

ได้รับชำระค่าหุ้นครบถ้วนแล้ว

2) หากหุ้นยังจำหน่ายไม่หมดจำนวนหุ้นที่เหลือต้องเป็นหุ้นที่ออกเพื่อรองรับหุ้นกู้แปลง

สภาพหรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น

3) ที่ประชุมผู้ถือหุ้นลงมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า3ใน4ของจำนวนเสียงทั้งหมด

ของผู้ถือหุ้นซึ่งมาประชุมและออกเสียงลงคะแนนให้ออกหุ้นใหม่เพิ่มได้

4) จะต้องมีการนำมติของที่ประชุมที่ให้ออกหุ้นใหม่เพิ่มนั้น ไปจดทะเบียนเปลี่ยนแปลง

ทุนต่อนายทะเบียนภายใน14วันนับแต่วันที่ที่ประชุมลงมติดังกล่าว

สำหรับหุ้นจำนวนที่ออกใหม่เพิ่มนั้นก็หลักการเดียวกับการเปิดให้จองหุ้นเมื่อตอนจัดตั้งบริษัท

มหาชนจำกัด คือจะเสนอขายทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้ โดยวิธีเสนอขายนั้นกฎหมายกำหนดไว้ให้เสนอขายให้แก่

ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนก็ได้ หรืออาจจะเสนอขายให้แก่ประชาชนหรือบุคคลอื่นก็ได้ เมื่อจำหน่ายได้แล้วบางส่วน

Page 39: หน่วย ที่ 3 หุ้น ส่วน บริษัท องค์กร ธุรกิจ อื่น และ ... · เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า

3-39หุ้นส่วนบริษัทองค์กรธุรกิจอื่นและตลาดหลักทรัพย์

ก็ต้องนำความไปจดทะเบียนขอเปลี่ยนแปลงทุนชำระแล้วต่อนายทะเบียนโดยแบ่งเป็นงวดๆละไม่น้อยกว่าร้อยละ25

ของจำนวนหุ้นที่เสนอขายและเมื่อจำหน่ายได้ครบตามที่จดทะเบียนเพิ่มไว้นั้นจะต้องไปจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงทุน

ชำระแล้วภายใน14วันนับแต่วันที่ได้รับชำระค่าหุ้นครบตามจำนวนที่เสนอขาย

3.2.2 การ ลด ทุน ของ บริษัท มหาชน จำกัด ในส่วนของการลดทุนนั้นกฎหมายกำหนดให้สามารถ

กระทำได้3วิธีคือ

1) ลดมูลค่าหุ้นให้น้อยลง

2) ลดจำนวนหุ้นให้น้อยลง

3)ลดทุนด้วยการตัดหุ้น การตัดหุ้นคือการที่บริษัทมหาชนจำกัดได้จดทะเบียนจำนวน

หุ้นไว้ว่ามีจำนวนเท่าใดจะจำหน่ายในช่วงแรกที่จะขอจดทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัดนั้นเป็นจำนวนเท่าใดเช่นจำนวน

หุ้นทั้งหมดมี2,000หุ้นจะจำหน่ายช่วงแรก1,500หุ้นจึงยังมีหุ้นที่เหลืออยู่จำนวน500หุ้นหุ้นจำนวน500หุ้นนี้หาก

บริษัทมหาชนจำกัดมีมติให้ลดทุนด้วยการตัดหุ้นก็สามารถที่จะตัดหุ้นที่ยังไม่ได้ออกจำหน่ายนี้ได้เป็นอีกวิธีการหนึ่ง

ที่แตกต่างออกไปจากการลดทุนในบริษัทจำกัดซึ่งไม่มีการลดทุนโดยการตัดหุ้น

การลดทุนจะลดลงอย่างไรนั้นต้องได้รับมติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า

3ใน4ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียง เมื่อได้มติเป็นที่เรียบร้อยแล้วให้นำมติ

ให้ลดทุนดังกล่าวไปจดทะเบียนภายใน14วันนับแต่วันที่ประชุมลงมติ

การลดทุนของบริษัทมหาชนจำกัดนั้นกฎหมายกำหนดให้บริษัทมหาชนจำกัดต้องแจ้งให้เจ้าหนี้

ทราบถึงการลดทุนภายใน14วันนับแต่วันที่ที่ประชุมมีมติให้ลดทุนและแจ้งให้เจ้าหนี้ทราบว่าหากจะทำการคัดค้าน

การลดทุนให้ส่งคำคัดค้านมาภายใน2เดือนนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งมตินั้นนอกจากนั้นบริษัทมหาชนจำกัดจะ

ต้องลงโฆษณามติทางหนังสือพิมพ์ภายในกำหนดเวลา14วันนับแต่วันที่ที่ประชุมมีมติดังกล่าวด้วย หากเจ้าหนี้คัดค้าน

บริษัทจะยังไม่สามารถที่จะการลดทุนได้ จนกว่าจะได้ชำระหนี้หรือให้ประกันเพื่อหนี้นั้นแล้ว แต่อย่างไรก็ตามกรณี

หากเป็นการลดทุนโดยการตัดหุ้นไม่ต้องแจ้งให้เจ้าหนี้ทราบมติเพื่อที่จะทำคำคัดค้านแต่อย่างใด

เมื่อดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องให้เจ้าหนี้ทำการคัดค้านแล้วเสร็จ ให้บริษัทมหาชนจำกัดไปขอ

จดทะเบียนลดทุนต่อนายทะเบียนภายใน14วันนับแต่วันครบกำหนดที่ให้เจ้าหนี้ทำคำคัดค้านหากไม่มีคำคัดค้าน

หรือถ้าหากเจ้าหนี้ทำคำคัดค้านมา ก็ให้ขอจดทะเบียนลดทุนภายใน 14 วันนับแต่วันที่ได้ชำระหนี้หรือให้ประกันแก่

เจ้าหนี้เป็นที่เรียบร้อย

กรณีหากเจ้าหนี้ไม่ทราบเรื่องมติการลดทุนดังกล่าว และการไม่ทราบนั้นมิใช่ความผิดของ

เจ้าหนี้จึงไม่ได้ทำการคัดค้านมาภายในกำหนดเวลาที่กำหนดกฎหมายยังให้โอกาสเจ้าหนี้ฟ้องเรียกเงินที่บริษัทมหาชน

จำกัดคืนให้แก่ผู้ถือหุ้นไปนั้นได้ผู้ถือหุ้นจำเป็นจะต้องรับผิดคืนให้แก่เจ้าหนี้แต่ทั้งนี้เจ้าหนี้ต้องฟ้องคดีภายใน1ปี

นับแต่วันที่ได้จดทะเบียนลดทุน

แต่อย่างไรก็ตาม กฎหมายไม่อนุญาตให้ลดทุนลงต่ำกว่าหนึ่งในสี่ของทุนทั้งหมดของบริษัท

มหาชนจำกัดนั้น

อนึ่ง หากกรณีที่บริษัทมหาชนจำกัดมีความจำเป็นจะต้องกู้เงินโดยการออกหุ้นกู้เพื่อเสนอ

ขายแก่ประชาชนนั้นสามารถที่จะกระทำได้ แต่ต้องเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่

จะกำหนดหลักเกณฑ์ต่างๆ ไว้ แต่อย่างไรก็ตามหากบริษัทมหาชนจำกัดจะออกหุ้นกู้ จะต้องได้รับมติจากที่ประชุม

ผู้ถือหุ้นด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า3ใน4ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นซึ่งมาประชุมและมีสิทธิออกเสียง

ลงคะแนนก่อนจึงจะดำเนินการตามเกณฑ์ของกฎหมายหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ต่อไป

Page 40: หน่วย ที่ 3 หุ้น ส่วน บริษัท องค์กร ธุรกิจ อื่น และ ... · เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า

3-40 กฎหมายธุรกิจ

4. การดำเนนิกจิการของบรษิทัมหาชนจำกดัการดำเนินกิจการของบริษัทมหาชนจำกัดนั้นกฎหมายกำหนด

ไว้ว่าจะต้องดำเนินการโดยกรรมการคณะหนึ่ง อย่างน้อย 5คน จึงเห็นได้ว่าบริษัทมหาชนจำกัดได้กำหนดเกณฑ์ไว้

แตกต่างจากบริษัทจำกัดในเรื่องของจำนวนกรรมการที่กำหนดเพียงให้มีกรรมการหนึ่งคนหรือหลายคนก็ได้ แต่ใน

บริษัทมหาชนจำกัด กำหนดให้ดำเนินการในรูปของคณะกรรมการ ที่ต้องมีกรรมการในคณะนั้น ไม่น้อยกว่า 5 คน

ทั้งยังกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะเป็นกรรมการไว้ดังได้กล่าวมาแล้วในขั้นตอนของการจัดตั้งบริษัทที่สำคัญกฎหมาย

กำหนดไว้ว่าห้ามมิให้มีข้อกำหนดใดๆที่เป็นการกีดกันผู้ถือหุ้นมิให้เข้ามาเป็นกรรมการเป็นอันขาด

4.1ภาระหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัทมหาชนจำกัดมีอยู่ดังนี้

4.1.1 ต้องประชุมคณะกรรมการทุก3เดือนโดยให้ประชุมณท้องที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของบริษัท

หรือจังหวัดใกล้เคียงทั้งนี้เว้นแต่ข้อบังคับของบริษัทจะกำหนดให้มีการประชุมณท้องที่แห่งอื่นก็ให้เป็นไปตามนั้น

4.1.2 คณะกรรมการต้องจัดกิจการงานของห้างให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ข้อบังคับและมติของ

ที่ประชุมผู้ถือหุ้น

4.1.3 คณะกรรมการอาจมอบหมายให้กรรมการคนหนึ่งหรือหลายคน หรืออาจมอบหมายให้

บุคคลอื่นที่มิใช่กรรมการปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งแทนคณะกรรมการก็ได้ เว้นแต่บริษัทมหาชนจำกัดนั้นจะมี

ข้อบังคับไม่ให้คณะกรรมการมีอำนาจดังกล่าวโดยระบุไว้ชัดแจ้ง หากไม่มีระบุห้ามไว้ เป็นอำนาจของคณะกรรมการ

ที่จะมอบหมายอำนาจได้

4.1.4 ให้คณะกรรมการเลือกกรรมการคนใดคนหนึ่งเป็นประธานคณะกรรมการ และอาจ

เลือกกรรมการอื่นเป็นรองประธานที่จะรับมอบหมายภาระงานจากประธานก็ได้ ประธานมีหน้าที่ในการเรียกประชุม

คณะกรรมการหรือหากประธานไม่เรียกประชุมกรรมการอย่างน้อย 2คนสามารถที่จะร้องขอให้ประธานกรรมการ

กำหนดวันประชุมกรรมการภายใน14วันนับแต่วันที่ได้รับการร้องขอ

กรรมการจึงเป็นผู้ที่มีบทบาทต่อการดำเนินกิจการของบริษัทมหาชนจำกัดเป็นอย่างยิ่งกรรมการ

จึงต้องดำเนินการในกิจการของบริษัทด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและระมัดระวังรักษาผลประโยชน์ของบริษัทมหาชน

จำกัดนั้น หากทำให้เกิดความเสียหายขึ้นจากการกระทำของกรรมการ บริษัทมหาชนจำกัดอาจฟ้องร้องเรียก

ค่าเสียหายจากกรรมการได้ หรือหากบริษัทมหาชนจำกัดไม่ฟ้องร้องเรียกเอาจากกรรมการ ผู้ถือหุ้นคนหนึ่งหรือ

หลายคนที่ถือหุ้นรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ5ของหุ้นที่จำหน่ายได้ทั้งหมดอาจใช้สิทธิในการแจ้งเป็นหนังสือให้บริษัท

มหาชนจำกัดดำเนินการเรียกร้องก็ได้หากบริษัทมหาชนจำกัดไม่ดำเนินการดังกล่าวผู้ถือหุ้นนั้นๆจะนำคดีขึ้นฟ้องร้อง

เรียกค่าสินไหมทดแทนจากกรรมการแทนบริษัทก็ได้และผู้ถือหุ้นที่ฟ้องร้องดังกล่าวอาจจะขอให้ศาลสั่งให้กรรมการ

นั้นออกจากตำแหน่งได้ด้วย

การดำเนินการของบริษัทมหาชนจำกัดที่นอกจากจะมีคณะกรรมการเป็นผู้รับผิดชอบในการ

ดำเนินการแล้วผู้ถือหุ้นของบริษัทมหาชนจำกัดยังสามารถใช้สิทธิในการครอบงำตรวจสอบการทำงานของกรรมการ

ได้โดยอาศัยที่ประชุมผู้ถือหุ้นซึ่งกฎหมายกำหนดว่าต้องประชุมอย่างน้อยภายในสี่เดือนนับแต่วันสิ้นสุดของรอบปี

บัญชีของบริษัท ซึ่งรอบปีบัญชีของบริษัทมหาชนจำกัดก็คือ 12 เดือนนั่นก็หมายความว่าการประชุมผู้ถือหุ้นต้อง

ประชุมอย่างน้อยปีละ 1ครั้ง โดยต้องเรียกประชุมในช่วงเวลาที่กฎหมายกำหนดคือไม่เกิน 4 เดือนนับแต่วันสิ้นสุด

ของรอบปีบัญชีนั่นเอง การประชุมนอกจากนี้เรียกว่าประชุมวิสามัญคณะกรรมการจะเรียกประชุมเมื่อใดก็ได้แล้วแต่

จะเห็นสมควรหรือหากผู้ถือหุ้นจำนวนไม่น้อยกว่า25คนซึ่งมีหุ้นนับรวมกันได้ไม่น้อยกว่า1ใน10 ของจำนวนหุ้นที่

จำหน่ายได้ทั้งหมดหรือหากไม่ถึง25คนแต่มีหุ้นที่ถือรวมกันไม่น้อยกว่า1ใน5ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้ทั้งหมด

สามารถที่จะเข้าชื่อกันทำหนังสือขอให้คณะกรรมการเรียกประชุมวิสามัญก็ได้ และคณะกรรมการต้องจัดให้มีการ

ประชุมภายใน1เดือนนับตั้งแต่วันที่ได้รับหนังสือจากผู้ถือหุ้น

Page 41: หน่วย ที่ 3 หุ้น ส่วน บริษัท องค์กร ธุรกิจ อื่น และ ... · เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า

3-41หุ้นส่วนบริษัทองค์กรธุรกิจอื่นและตลาดหลักทรัพย์

4.2ความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัทมหาชนจำกัดอาจแบ่งออกได้ดังนี้

4.2.1หากกรรมการคนใดกระทำการซื้อหรือขายทรัพย์สินของบริษัทมหาชนจำกัดหรือกระทำ

ธุรกิจอย่างหนึ่งอย่างใดกับบริษัทมหาชนจำกัดนั้นไม่ว่าจะกระทำในนามของตนเองหรือผู้อื่นถ้าไม่ได้รับความยินยอม

จากคณะกรรมการแล้วการซื้อขายหรือธุรกิจอื่นใดนั้นไม่ผูกพันบริษัทมหาชนจำกัดนั้นแต่อย่างใด

4.2.2 ความเกี่ยวพันระหว่างกรรมการกับบริษัทมหาชนจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัดกับบุคคล

ภายนอกให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตัวแทน

4.2.3 กรรมการต้องรับผิดร่วมกันเพื่อความเสียหายอันเกิดแก่ผู้ถือหุ้นและบุคคลที่เกี่ยวข้องกับ

บริษัทมหาชนจำกัดดังต่อไปนี้

1) การแจ้งความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความอันควรต้องแจ้งเกี่ยวกับฐานะการเงินและ

ผลการดำเนินงานของบริษัทมหาชนจำกัดในการเสนอขายหุ้นหุ้นกู้หรือตราสารการเงินของบริษัทมหาชนจำกัด

2) การแสดงข้อความหรือลงรายการในเอกสารที่ยื่นต่อนายทะเบียนโดยข้อความหรือ

รายการอันเป็นเท็จหรือไม่ตรงกับบัญชีทะเบียนหรือเอกสารของบริษัทมหาชนจำกัด

3) การจัดทำงบดุลและบัญชีกำไรขาดทุน รายงานการประชุมผู้ถือหุ้น หรือรายงานการ

ประชุมคณะกรรมการอันเป็นเท็จ

ทั้งนี้เว้นแต่จะสามารถพิสูจน์ได้ว่ากรรมการท่านนั้นมิได้มีส่วนในการกระทำผิดนั้นๆจึงจะพ้น

จากความรับผิดชอบที่กล่าวมานี้ได้

4.2.4 กรรมการคนใดกระทำการใดที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติให้อำนาจอนุมัติหรือให้สัตยาบันแล้ว

แม้ต่อมาจะมีการเพิกถอนมตินั้นกรรมการคนนั้นไม่ต้องรับผิดในการกระทำนั้นต่อบริษัทมหาชนจำกัดผู้ถือหุ้นหรือ

เจ้าหนี้ของบริษัท

นอกจากนั้นกรรมการยังต้องรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่บริษัทมหาชนจำกัดร่วมกันอีก

ในกรณีที่ที่ไม่ปฏิบัติภารกิจต่างๆตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ

5. ข้อจำกัดบางประการสำหรับผู้เป็นกรรมการบริษัทมหาชนจำกัด เนื่องจากกรรมการเป็นผู้ที่มีอำนาจ

ในการดำเนินกิจการของบริษัทมหาชนจำกัด อันจะมีผลต่อกิจการของบริษัทที่จะได้รับกำไรหรือไม่ ขึ้นอยู่กับความ

รับผิดชอบในการดำเนินกิจการของบริษัทมหาชนจำกัดกฎหมายจึงได้กำหนดกรอบการทำงานไว้หลายประการ เพื่อ

ป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายต่อบริษัทมหาชนจำกัด และสิ่งหนึ่งที่ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญต่อผลกระทบที่จะทำให้เกิด

ความเสียหายแก่บริษัทมหาชนจำกัดนั้นได้ คือการที่กรรมการไปประกอบกิจการค้าขายอันเป็นการแข่งขันกับบริษัท

มหาชนจำกัดนั่นเอง กฎหมายจึงห้ามไว้ไม่ให้กรรมการไปกระทำการดังกล่าว เช่นเดียวกับที่ห้ามกรรมการในบริษัท

จำกัดมิให้กระทำการเช่นเดียวกันนี้

ข้อจำกัดที่ห้ามกรรมการมิให้กระทำคือ

5.1 ห้ามมิให้กรรมการคนใดกระทำการใดดังนี้

5.1.1 ประกอบกิจการค้าขายใดๆ

5.1.2 เข้าไปเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิด

5.2 โดยการประกอบกิจการหรือห้างหุ้นส่วนที่เข้าไปนั้นมีสภาพดุจเดียวกับบริษัทมหาชนจำกัดนั้น

5.3 กิจการนั้นเป็นการแข่งขันกับบริษัทมหาชนจำกัดนั้น

5.4 ไม่ว่าการกระทำนั้นจะกระทำเพื่อประโยชน์ของตนเองหรือของผู้อื่นก็ตาม

5.5 การกระทำดังกล่าวนั้นไม่ได้แจ้งให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นทราบก่อนมีมติแต่งตั้งกรรมการ

Page 42: หน่วย ที่ 3 หุ้น ส่วน บริษัท องค์กร ธุรกิจ อื่น และ ... · เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า

3-42 กฎหมายธุรกิจ

หากกรรมการใดกระทำการฝ่าฝืนบริษัทมหาชนจำกัดอาจเรียกค่าสินไหมทดแทนความเสียหายที่เกิดขึ้นจาก

กรรมการนั้นได้โดยต้องฟ้องภายใน2ปีนับแต่วันที่บริษัทมหาชนจำกัดนั้นทราบการฝ่าฝืนแต่มิให้เกิน2ปีนับแต่

วันที่ฝ่าฝืน

อย่างไรก็ตามหากบริษัทมหาชนจำกัดไม่ดำเนินการเรียกค่าสินไหมทดแทนดังกล่าว ผู้ถือหุ้นจำนวนหนึ่ง

คนหรือหลายคนที่มีจำนวนหุ้นรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ5ของหุ้นที่จำหน่ายได้ทั้งหมดจะแจ้งเป็นหนังสือให้บริษัท

มหาชนจำกัดดำเนินการก็ได้ หากบริษัทมหาชนจำกัดไม่ดำเนินการภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่แจ้งให้บริษัทมหาชน

จำกัดดำเนินการหรือระยะเวลาที่บริษัทมหาชนจำกัดจะใช้สิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนตามความที่กล่าวมานั้นเหลือ

เวลาน้อยกว่า1เดือนก็ดีผู้ถือหุ้นดังกล่าวจะใช้สิทธิเรียกร้องเพื่อบริษัทก็ทำได้มีสิทธิทั้งขอให้ระงับการกระทำที่ทำให้

เกิดความเสียหายได้และมีสิทธิที่จะให้ศาลสั่งให้กรรมการนั้นออกจากตำแหน่งได้

6. การควบบรษิทัมหาชนจำกดักฎหมายกำหนดให้บริษัทมหาชนจำกัดนั้นสามารถที่จะควบเข้ากันได้ทั้งกับ

บริษัทมหาชนจำกัดด้วยกันเอง หรืออาจจะควบเข้ากันกับบริษัทจำกัดซึ่งเป็นบริษัทเอกชนก็สามารถที่จะกระทำได้โดย

ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการควบบริษัทมหาชนจำกัดไว้ดังนี้

6.1 บริษัทมหาชนจำกัดที่จะควบเข้ากันนั้นแบ่งได้ดังนี้

6.1.1 บริษัทมหาชนต่อบริษัทมหาชนด้วยกัน ทั้งสองบริษัทจะต้องได้รับมติจากที่ประชุม

ผู้ถือหุ้นด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นซึ่งมาประชุมและมีสิทธิออกเสียง

ลงคะแนน

6.1.2 หากควบเข้ากับบริษัทจำกัดต้องมีมติพิเศษตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและ

พาณิชย์

6.2 หากมีผู้ถือหุ้นของบริษัทมหาชนจำกัดที่จะควบนั้นคัดค้านการควบบริษัทมหาชนจำกัด บริษัท

มหาชนจำกัดนั้นจะต้องจัดให้มีผู้ซื้อหุ้นของผู้ถือหุ้นที่คัดค้านนั้นดังนี้

6.2.1 ในราคาที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ครั้งสุดท้ายก่อนวันที่จะมีมติให้ควบบริษัทมหาชน

จำกัดนั้น

6.2.2 หากไม่มีราคาซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ให้ใช้ราคาตามที่ผู้ประเมินราคาอิสระที่ทั้งสอง

ฝ่ายแต่งตั้งขึ้นเป็นผู้กำหนด

หากผู้ถือหุ้นดังกล่าวไม่ยอมขายด้วยเหตุไม่พอใจราคาหรือเหตุอื่นใดก็ตามภายใน14วันนับแต่

วันที่ได้รับคำเสนอขอซื้อ ให้บริษัทดำเนินการควบบริษัทมหาชนจำกัดต่อไปได้ และให้ถือว่าผู้ถือหุ้นดังกล่าวเป็น

ผู้ถือหุ้นของบริษัทมหาชนที่ควบแล้วด้วย

6.3 บริษัทมหาชนจำกัดต้องแจ้งมติเรื่องการควบบริษัทให้แก่บรรดาเจ้าหนี้ได้ทำคำคัดค้านการควบ

บริษัทภายใน14วันนับแต่วันที่มีมติให้ควบและให้เจ้าหนี้ส่งคำคัดค้านมาภายใน2 เดือนนับแต่วันที่ได้รับหนังสือ

แจ้งมตินั้นและต้องโฆษณามติการควบบริษัทนั้นทางหนังสือพิมพ์ภายในกำหนด14วันด้วย หากมีการคัดค้านบริษัท

จะต้องชำระหนี้หรือให้ประกันแก่เจ้าหนี้แล้ว จึงจะสามารถควบบริษัทมหาชนจำกัดได้ แต่หากเจ้าหนี้ไม่คัดค้านมา

ภายในเวลาดังกล่าวบริษัทมหาชนจำกัดก็สามารถที่จะควบบริษัทได้เลย

6.4 ให้ประธานกรรมการของบริษัทที่จะควบกันนั้นเรียกประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทนั้นๆให้มาประชุม

ร่วมกันเพื่อพิจารณาเรื่องที่สำคัญเช่นการจัดสรรหุ้นชื่อบริษัทที่จะควบวัตถุประสงค์ที่จะควบหนังสือบริคณห์สนธิ

ที่จะควบข้อบังคับบริษัทที่จะควบและอื่นๆอีกหลายประการที่กฎหมายกำหนดให้ต้องประชุมกันเพื่อพิจารณาก่อน

ที่จะควบและที่สำคัญคือต้องตั้งคณะกรรมการของบริษัทมหาชนจำกัดที่ควบกันด้วยและกฎหมายกำหนดให้ประชุม

กันให้ได้เสร็จสิ้นภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่บริษัทที่มีมติให้ควบหลังสุด แต่อย่างไรก็ตาม อาจจะขอขยายเวลาได้

Page 43: หน่วย ที่ 3 หุ้น ส่วน บริษัท องค์กร ธุรกิจ อื่น และ ... · เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า

3-43หุ้นส่วนบริษัทองค์กรธุรกิจอื่นและตลาดหลักทรัพย์

แต่ไม่ให้เกิน1ปี การประชุมนี้เหมือนกับเป็นการประชุมจัดตั้งบริษัทที่จะควบนั่นเองเพราะต้องตั้งกรรมการกำหนด

ข้อบังคับและอื่นๆที่มีสาระเช่นเดียวกับการประชุมจัดตั้งบริษัทมหาชนจำกัด

6.5 ให้คณะกรรมการเดิมของบริษัทที่จะควบกันนั้นส่งมอบกิจการ ทรัพย์สิน บัญชี เอกสาร และ

หลักฐานต่างๆของบริษัทแก่คณะกรรมการของบริษัทที่ควบกันแล้วภายใน7วันนับแต่วันที่ประชุมเสร็จสิ้น

6.6 คณะกรรมการของบริษัทมหาชนจำกัดที่ควบแล้วจะต้องขอจดทะเบียนการควบบริษัทพร้อม

ทั้งยื่นหนังสือบริคณห์สนธิ และข้อบังคับของบริษัทที่ควบแล้ว ต่อนายทะเบียนภายใน 14 วันนับแต่วันที่เสร็จสิ้น

การประชุม เมื่อนายทะเบียนรับจดทะเบียนแล้ว ให้บริษัทมหาชนเดิมหมดสภาพจากการเป็นนิติบุคคล และ

ให้นายทะเบียนหมายเหตุไว้ในทะเบียน สำหรับบริษัทที่ควบเข้ากันใหม่จะมีสภาพเป็นนิติบุคคล และได้ไปทั้ง

ทรัพย์สินหนี้ สิทธิ หน้าที่และความรับผิดชอบของบริษัทเหล่านั้นที่เข้ามาควบกันทั้งหมดมาเป็นของบริษัทมหาชน

จำกัดที่ควบเข้ากันมานี้

7. การเลกิบรษิทัมหาชนจำกดัการเลิกบริษัทมหาชนจำกัดนั้นสามารถทำได้เมื่อมีเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้น

ดังต่อไปนี้

7.1 เมื่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเห็นว่าบริษัทมหาชนจำกัดควรจะเลิก โดยผู้ถือหุ้นลงมติด้วยคะแนนเสียง

ไม่น้อยกว่า3ใน4ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน

7.2 เมื่อบริษัทมหาชนจำกัดล้มละลาย

7.3 เมื่อศาลมีคำสั่งถึงที่สุดแล้วให้เลิกกฎหมายให้เป็นสิทธิของผู้ถือหุ้นซึ่งมีหุ้นนับรวมกันไม่น้อยกว่า

1 ใน 10 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้ทั้งหมด จะร้องขอต่อศาลให้สั่งให้เลิกบริษัทมหาชนจำกัดนั้นเสียก็ได้ เมื่อมี

เหตุอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

7.3.1 ผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทมหาชนจำกัดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติเกี่ยวกับการประชุมจัด

ตั้งบริษัทมหาชนจำกัดหรือคณะกรรมการบริษัทมหาชนจำกัดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติเกี่ยวกับการชำระ

ค่าหุ้นการโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินหรือเอกสารหลักฐานการใช้สิทธิต่างๆให้แก่บริษัทเพื่อชำระค่าหุ้นการจัดทำบัญชี

ผู้ถือหุ้นหรือการจดทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัด

7.3.2 ถ้าจำนวนผู้ถือหุ้นลดน้อยลงจนเหลือไม่ถึงสิบห้าคน

ทั้งสองกรณีที่กล่าวมานั้น หากมีการร้องขอให้ศาลสั่งให้เลิกบริษัทมหาชนจำกัดนั้นศาลอาจจะ

สั่งให้บริษัทมหาชนจำกัดนั้นแก้ไขหรือปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายภายในเวลาที่กำหนดให้ แต่ไม่ให้กำหนดเกิน

6เดือนแทนการสั่งให้เลิกบริษัทมหาชนจำกัดก็ได้

7.3.3 กิจการของบริษัทมหาชนจำกัดที่ทำไปมีแต่ขาดทุนและไม่มีหวังจะกลับฟื้นตัวได้อีก

เมื่อมีเหตุให้เลิกบริษัทมหาชนจำกัดตามที่กล่าวมาอย่างใดอย่างหนึ่งนั้นต้องทำการแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีและ

ผู้สอบบัญชีไปในคราวเดียวกันและให้กำหนดค่าตอบแทนในการดังกล่าวไว้ด้วย และให้คณะกรรมการบริษัทมหาชน

จำกัดส่งมอบทรัพย์สินบัญชีและเอกสารหลักฐานต่างๆทั้งหมดของบริษัทมหาชนจำกัดนั้นให้แก่ผู้ชำระบัญชีภายใน

7วันนับแต่วันเลิกบริษัทมหาชนจำกัดนั้น

สำหรับการเลิกบริษัทมหาชนจำกัดนั้นจะมีผลนับแต่วันที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนเลิกบริษัทซึ่งบางกรณี

การชำระบัญชีอาจจะยังชำระไม่เสร็จก็เป็นได้ หากเป็นเช่นนั้นกฎหมายให้ถือว่าบริษัทมหาชนจำกัดนั้นยังดำรงอยู่

เท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี

8. การชำระบัญชีของบริษัทมหาชนจำกัดการเลิกบริษัทมหาชนจำกัดนั้นกฎหมายให้จัดการชำระบัญชีให้

เป็นที่เรียบร้อย โดยการเลิกบริษัทมหาชนจำกัดด้วยเหตุใดก็ตาม จะมีการแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีเข้ามาดำเนินการชำระ

บัญชีของบริษัทนั้นยกเว้นหากบริษัทมหาชนจำกัดนั้นล้มละลายให้ดำเนินการตามกฎหมายเรื่องล้มละลายไป กฎหมาย

จึงกำหนดหลักเกณฑ์ต่างๆของการชำระบัญชีไว้ดังนี้

Page 44: หน่วย ที่ 3 หุ้น ส่วน บริษัท องค์กร ธุรกิจ อื่น และ ... · เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า

3-44 กฎหมายธุรกิจ

8.1 จำนวนผู้ชำระบัญชี อาจจะมีเพียงหนึ่งคนหรือหลายคนก็ได้ หากกรณีมีผู้ชำระบัญชีหลายคน

ผู้ชำระบัญชีจะดำเนินการโดยลำพังคนเดียวไม่ได้เว้นแต่จะได้ขอจดทะเบียนอำนาจในการจัดการดังกล่าวไว้ในตอน

แต่งตั้ง โดยความเห็นชอบของที่ประชุมผู้ถือหุ้นหรือศาลแล้วแต่กรณี

8.2 อำนาจหน้าที่ในการจัดการชำระบัญชีมีอยู่ดังนี้

8.2.1 ดำเนินการงานของบริษัทเท่าที่จำเป็น เพื่อชำระสะสางกิจการงานที่ค้างอยู่ให้เสร็จสิ้นไป

แต่ห้ามมิให้ดำเนินกิจการขึ้นใหม่ หากผู้ชำระบัญชีกระทำไปเกินความจำเป็นและทำให้บริษัทขาดทุนผู้ชำระบัญชีจะ

ต้องรับผิดต่อบริษัทในส่วนที่ขาดทุนนั้น

8.2.2 เก็บรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สินที่บริษัทมหาชนจำกัดมีสิทธิจะได้รับจากบุคคลอื่น

หรือขายทรัพย์สินของบริษัท

8.2.3 ดำเนินการทั้งปวงเกี่ยวกับคดีแพ่งหรือคดีอาญาหรือประนีประนอมยอมความในเรื่องใดๆ

ในนามของบริษัท

8.2.4 ชำระหนี้ในนามของบริษัท

8.2.5 เรียกประชุมผู้ถือหุ้น

8.2.6 แบ่งเงินหรือทรัพย์สินที่เหลืออยู่ภายหลังการชำระหนี้ให้แก่ผู้ถือหุ้น

8.2.7 ดำเนินการมิให้มีป้ายชื่อของบริษัทมหาชนจำกัดอยู่ณสำนักงานของบริษัทมหาชนจำกัด

ที่ได้เลิกกิจการแล้ว

8.2.8 ดำเนินการอย่างอื่นที่จำเป็นเพื่อให้การชำระบัญชีเสร็จสิ้น

8.3 ต้องดำเนินการสิ่งต่างๆเหล่านี้ภายใน7วันนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง

8.3.1 ขอจดทะเบียนเป็นผู้ชำระบัญชี

8.3.2 ขอจดทะเบียนเลิกบริษัทมหาชนจำกัด

8.3.3 ประกาศโฆษณาการเลิกบริษัทมหาชนจำกัดให้ประชาชนทราบโดยทางหนังสือพิมพ์

นอกจากนั้นยังมีภารกิจต่างๆอีกมากที่กฎหมายกำหนดให้ต้องดำเนินการเช่นต้องรายงานการดำเนินการ

ชำระบัญชีให้นายทะเบียนทราบทุกๆ3เดือน หากภายใน1ปียังไม่สามารถชำระบัญชีให้เสร็จสิ้นลงได้ผู้ชำระบัญชีจะ

ต้องเรียกประชุมผู้ถือหุ้นทุกรอบปีบัญชีภายใน4เดือนนับแต่วันครบรอบเพื่อรายงานการชำระบัญชีที่ได้ทำมาแล้วและ

ที่จะกระทำต่อไป พร้อมด้วยงบดุลและบัญชีกำไรขาดทุน ให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นทราบและหากภายใน5ปียังชำระบัญชี

ไม่เสร็จสิ้นจะต้องรายงานชี้แจงเหตุผลต่อนายทะเบียนทุก3เดือนซึ่งนายทะเบียนมีอำนาจที่จะสั่งการให้กระทำอย่าง

ใดอย่างหนึ่งเพื่อเป็นการเร่งรัดการชำระบัญชีก็สามารถที่จะกระทำได้ตามแต่จะเห็นสมควร

หากผลของการชำระหนี้หรือกันเงินเพื่อการชำระหนี้ไว้ทั้งหมดแล้ว ยังมีทรัพย์สินเหลืออยู่ เช่นนี้ ให้แบ่ง

ทรัพย์สินคืนให้แก่ผู้ถือหุ้นตามส่วนที่ตนถือแต่หากดำเนินการดังกล่าวแล้วทรัพย์สินไม่เพียงพอต่อการชำระหนี้และ

ผู้ชำระบัญชีไม่สามารทำการประนอมหนี้กับเจ้าหนี้ได้สำเร็จ เช่นนี้ผู้ชำระบัญชีจะต้องร้องขอต่อศาลให้สั่งให้บริษัท

มหาชนจำกัดดังกล่าวนั้นล้มละลาย

เมื่อชำระบัญชีเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผู้ชำระบัญชีมีหน้าที่ไปยื่นขอจดทะเบียนการเสร็จสิ้นการชำระ

บัญชีต่อนายทะเบียนจึงจะถือว่าการชำระบัญชีเป็นอันเสร็จสิ้นสมบูรณ์ แต่ก่อนที่จะไปยื่นขอจดทะเบียนการชำระ

บัญชีเสร็จสิ้นดังกล่าว จะต้องนำเอาผลการชำระบัญชีทั้งหมดไปเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่ออนุมัติการชำระบัญชี

ดังกล่าวซึ่งจะต้องเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นภายใน4เดือนนับแต่วันเสร็จสิ้นการชำระบัญชี และเมื่อนายทะเบียนรับ

จดทะเบียนการเสร็จสิ้นการชำระบัญชีแล้วนายทะเบียนจะหมายเหตุไว้ในทะเบียนและจะเก็บรักษาบัญชีและเอกสาร

Page 45: หน่วย ที่ 3 หุ้น ส่วน บริษัท องค์กร ธุรกิจ อื่น และ ... · เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า

3-45หุ้นส่วนบริษัทองค์กรธุรกิจอื่นและตลาดหลักทรัพย์

ประกอบการลงบัญชีของบริษัทมหาชนจำกัดนั้นที่ได้ส่งมอบไว้ต่อนายทะเบียนเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า3ปีนับแต่วัน

จดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี

9.การแปรสภาพบรษิทัจำกดัเปน็บรษิทัมหาชนจำกดัตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัดพ.ศ.2535ได้

อนุญาตให้บริษัทจำกัดแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัดได้ โดยบริษัทจำกัดนั้นจะต้องได้รับมติพิเศษจากที่ประชุม

ผู้ถือหุ้นของบริษัทจำกัดนั้นว่ายินยอมให้แปรสภาพได้ โดยคณะกรรมการในบริษัทจำกัดต้องจัดให้มีการพิจารณาใน

เรือ่งที่เกีย่วขอ้งกบัการที่จะแปรสภาพมาเปน็บรษิทัมหาชนเชน่ในเรือ่งของการเลอืกตัง้คณะกรรมการเพราะบรษิทัจำกดั

อาจมีกรรมการเพียงคนเดียว แต่ในบริษัทมหาชนจำกัดกำหนดว่าต้องมีคณะกรรมการ ซึ่งประกอบด้วยกรรมการ

ไม่น้อยกว่า 5คน ในเรื่องการกำหนดข้อบังคับของบริษัทมหาชนจำกัดการเลือกตั้งผู้สอบบัญชีเป็นต้น เมื่อได้พิจารณา

รายละเอียดดังกล่าวแล้วให้กรรมการหรือคณะกรรมการบริษัทจำกัดนั้นส่งมอบกิจการทั้งปวงพร้อมทรัพย์สินบัญชี

เอกสารและหลกัฐานตา่งๆให้แก่คณะกรรมการที่ได้รบัการแตง่ตัง้ใหม่ภายใน7วนันบัแต่วนัเสรจ็สิน้การประชมุ จากนัน้

คณะกรรมการนำรายงานการประชุมหนังสือบริคณห์สนธิและข้อบังคับของบริษัทใหม่ยื่นต่อนายทะเบียนพร้อมกับ

การขอจดทะเบียนแปรสภาพบริษัทจำกัดเป็นบริษัทมหาชนจำกัดภายใน 14 วันนับแต่วันเสร็จสิ้นการประชุม เมื่อ

นายทะเบียนรับจดทะเบียนการแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด ตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัดแล้ว ให้

บริษัทจำกัดหมดสภาพการเป็นบริษัทจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และให้นายทะเบียนหมายเหตุไว้

ในทะเบียน บรรดาทรัพย์สิน หนี้ สิทธิและความรับผิดของบริษัทจำกัดนั้นย่อมตกมาเป็นของบริษัทมหาชนจำกัดที่

ได้แปรสภาพมานั้นทุกประการ

กิจกรรม3.2.2

การลดทุนด้วยการตัดหุ้นในบริษัทมหาชนจำกัดมีความหมายอย่างไร

แนวตอบกิจกรรม3.2.2

บริษัทมหาชนจำกัดสามารถที่จะทำการลดทุนได้ด้วยวิธีการต่างๆถึง3วิธีคือการลดจำนวนหุ้นการ

ลดมูลค่าหุ้นและการตัดหุ้น

การตดัหุน้คอืการที่ผู้จดัตัง้บรษิทัมหาชนจำกดัได้เสนอขายหุน้ในขัน้ตอนการจดัตัง้ที่กฎหมายกำหนด

ว่าไม่จำเป็นต้องจำหน่ายทั้งหมด เพียงแต่ต้องไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของทุนจดทะเบียนหากบริษัทนั้นเสนอ

ขายหุ้นไป5,000หุ้นจากจำนวนหุ้นทั้งหมดที่จดทะเบียนจำนวน7,000หุ้นหุ้นที่เหลือยังไม่ได้จำหน่ายจำนวน

2,000หุ้นนั้นคือหุ้นที่สามารถลดทุนด้วยการตัดหุ้น 2,000หุ้นที่ยังไม่ได้ขายนั้นออกไปได้เลยถือว่าเป็นการ

ลดทุนอีกวิธีการหนึ่ง

Page 46: หน่วย ที่ 3 หุ้น ส่วน บริษัท องค์กร ธุรกิจ อื่น และ ... · เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า

3-46 กฎหมายธุรกิจ

ตอนที่3.3

องค์กรธุรกิจอื่น

โปรดอ่านหัวเรื่องแนวคิดวัตถุประสงค์ของตอนที่3.3แล้วจึงศึกษารายละเอียดต่อไป

หัวเรื่อง3.3.1 กิจการร่วมค้า

3.3.2 กิจการร่วมทำ

3.3.3 สำนักงานตัวแทนและสำนักงานสาขา

แนวคิดกิจการร่วมค้า (Joint Venture) เป็นลักษณะของการดำเนินธุรกิจรูปแบบพิเศษตามลักษณะ1.

ของสัญญาที่กระทำต่อกัน ที่สำคัญคือเป็นการร่วมทุนต่อกันและร่วมดำเนินการค้าด้วยกันและ

รับผิดชอบด้วยกัน ซึ่งมักจะเป็นการร่วมกันเฉพาะกิจ เมื่อเสร็จสิ้นภารกิจกิจการร่วมค้าก็จะจบ

สิ้นลงหรือเลิกกิจการ แต่ทั้งนี้กิจการร่วมค้าอาจจะดำเนินการเป็นองค์กรธุรกิจที่จดทะเบียนตาม

กฎหมายไทยก็ให้เป็นไปตามนั้น

กิจการร่วมทำ (Consortium) เป็นลักษณะของการดำเนินธุรกิจรูปแบบพิเศษตามลักษณะของ2.

สัญญาที่กระทำต่อกันภายใต้ประโยชน์ของผู้ว่าจ้างเป็นสำคัญและกิจการประเภทนี้จะไม่มีการ

ร่วมกันลงทุนแม้การกระทำก็ไม่ได้ร่วมกันดำเนินการหรือบริหารต่างทำเฉพาะในส่วนของตนแต่

ต้องรับผิดต่อผู้ว่าจ้างร่วมกันเท่านั้นจะปฏิเสธไม่ได้

สำนักงานตัวแทนและสำนักงานสาขา เป็นลักษณะหนึ่งของการดำเนินกิจการในต่างแดนของ 3.

คนต่างด้าว ซึ่งต้องพิจารณาหลักเกณฑ์ในการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวตามพ.ร.บ. การ

ประกอบธรุกจิของคนตา่งดา้วพ.ศ.2542 ซึง่ความรบัผดิตอ่บคุคลภายนอกนัน้บรษิทัแม่ตอ้งรบัผดิ

ในกิจการที่อยู่ในวัตถุประสงค์ของสำนักงานตัวแทนหรือสำนักงานสาขานั้นๆด้วย

วัตถุประสงค์เมื่อศึกษาตอนที่3.3จบแล้วนักศึกษาสามารถ

1. อธิบายระบุประเภทและวินิจฉัยเรื่องกิจการร่วมค้าได้

2. อธิบายระบุประเภทและวินิจฉัยเรื่องกิจการร่วมทำได้

3. อธิบายระบุประเภทและวินิจฉัยเรื่องสำนักงานตัวแทนและสำนักงานสาขาได้

Page 47: หน่วย ที่ 3 หุ้น ส่วน บริษัท องค์กร ธุรกิจ อื่น และ ... · เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า

3-47หุ้นส่วนบริษัทองค์กรธุรกิจอื่นและตลาดหลักทรัพย์

เรื่องที่3.3.1

กิจการร่วมค้า

กิจการร่วมค้า หรือที่รู้จักกันก็คือ JointVenture พัฒนาการขึ้นมาจากการดำเนินธุรกิจในลักษณะพิเศษ

ไม่มีรูปแบบตามที่กฎหมายกำหนดไว้แต่หากพิจารณาในด้านการดำเนินธุรกิจจะเป็นการร่วมมือกันถ่ายทอดทางด้าน

วิชาการหรือพึ่งพากันอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อลดต้นทุนหรือลดความเสี่ยงหรือด้วยเหตุปัจจัยใดก็ตามแต่ได้มีข้อตกลง

หรือสัญญาในการที่จะกระทำการค้าร่วมกันโดยมีการร่วมทุนกันรับผิดชอบในการดำเนินการในธุรกิจเฉพาะนั้นร่วม

กันโดยมุ่งที่จะแสวงหากำไรจากกิจการเพื่อมาจัดสรรแบ่งปันกันเช่นกัน และหากพิจารณาตามกฎหมายลักษณะของ

กิจการร่วมค้าก็อาจจะเป็นกิจการที่เป็นห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทก็เป็นได้ และอาจจะเป็นทั้งห้างหุ้นส่วนที่จดทะเบียน

หรือไม่จดทะเบียนก็ได้

ได้มีการให้คำนิยามของ “กิจการร่วมค้า” กันไว้ตามนัยของแต่ละวิชาชีพ ดังเช่น กรมสรรพากร และใน

ส่วนของวิชาชีพทางการบัญชีซึ่งมีรายละอียดที่จะนำมาพิจารณาดังนี้

ตามประมวลรัษฎากรได้กำหนดให้กิจการร่วมค้านี้ถือว่ามีสภาพเป็นนิติบุคคลที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

โดยได้ให้คำนิยามของกิจการร่วมค้าอยู่ในประมวลรัษฎากรมาตรา39บัญญัติไว้ว่า“ใน หมวด นี้ เว้น แต่ ข้อความ จะ

แสดง ให ้เหน็ เปน็ อยา่ง อืน่ “ บรษิทั หรอื หา้ง หุน้ สว่น นติบิคุคล” หมายความ วา่ บรษิทั หรอื นติบิคุคล ที ่ตัง้ ขึน้ ตาม กฎหมาย

ไทย หรือ ที่ ตั้ง ขึ้น ตาม กฎหมาย ของ ต่าง ประเทศ และ ให้ หมายความ รวม ถึง .....

...........

(2) กจิการ รว่ม คา้ ซึง่ ไดแ้ก ่กจิการ ที ่ดำเนนิ การ รว่ม กนั เปน็ ทาง คา้ หรอื หา กำไร ระหวา่ง บรษิทั กบั บรษิทั บรษิทั

กับ ห้าง หุ้น ส่วน นิติบุคคล ห้าง หุ้น ส่วน นิติบุคคล กับ ห้าง หุ้น ส่วน นิติบุคคล หรือ ระหว่าง บริษัท และ/หรือ ห้าง หุ้น ส่วน

นิติบุคคล กับ บุคคล ธรรมดา คณะ บุคคล ที่ มิใช่ นิติบุคคล ห้าง หุ้น ส่วน สามัญ หรือ นิติบุคคล อื่น ...”

ซึ่งในการพิจารณาในส่วนของการเสียภาษีตามประมวลรัษฎากรนั้นกิจการร่วมค้า เป็นหน่วยภาษีที่ต้อง

จดทะเบียนเพื่อเสียภาษีแยกต่างหากจากองค์กรธุรกิจเดิมหรือแยกต่างหากจากบุคคลหรือคณะบุคคลที่เข้ามาร่วม

การค้ากัน คือเมื่อกิจการร่วมค้าเสียภาษีนิติบุคคลแล้วผู้ได้รับส่วนแบ่งจากกำไรไม่ต้องนำส่วนแบ่งกำไรที่ได้รับนั้น

ไปคำนวณภาษีอีก

สำหรับคำนิยามทางด้านวิชาชีพบัญชีได้ให้คำนิยาม การร่วมค้า ไว้ว่า “การ ร่วม ค้า หมาย ถึง การ ที่ บุคคล

หรือ กิจการ ตั้งแต่ สอง คน หรือ สอง กิจการ ขึ้น ไป ทำการ ประกอบ กิจการ ค้า ร่วม กัน โดย จะ ต้อง มี ข้อ ตกลง ใน สัญญา เป็น

ลาย ลักษณ์ อักษร ด้วย ว่า ผู้ ร่วม ค้า ทุก คน จะ ต้อง มี สิทธิ หรือ ส่วน ร่วม ใน การ ควบคุม การ ร่วม ค้า ด้วย กัน ใน การ กำหนด

นโยบาย ทางการ เงนิ และ การ ดำเนนิ งาน ของ กจิการ ที ่รว่ม คา้ ดว้ย กนั เพือ่ ให ้ได ้รบั ประโยชน ์ของ กจิกรรม ตา่งๆ ของ ธรุกจิ

นั้น การ ค้า ร่วม อาจ จะ เกี่ยว กับ การ ค้าขาย สินค้า หรือ การ ประกอบ กิจการ โครงการ ใด โครงการ หนึ่ง โดย เฉพาะ เมื่อ กิจการ

ร่วม ค้า สำเร็จ ลุล่วง แล้ว การ ร่วม ค้า ถือว่า ยุติ ลง”

นอกจากนัน้ตามมาตรฐานการบญัชีฉบบัที่46ได้กำหนดวา่กจิการคา้รว่มอาจทำการบนัทกึบญัชีในรปูแบบใด

รูปแบบหนึ่งใน3รูปแบบตามลักษณะของการดำเนินกิจการร่วมค้าดังนี้

รูปแบบที่1 การดำเนินงานที่ควบคุมร่วมค้า(JointlyControlledOperations)

รูปแบบที่2 สินทรัพย์ที่ควบคุมร่วมกัน(JointlyControlledAssets)

รูปแบบที่3 กิจการที่ควบคุมร่วมกันหรือกิจการร่วมค้า(JointlyControlledEntities)

Page 48: หน่วย ที่ 3 หุ้น ส่วน บริษัท องค์กร ธุรกิจ อื่น และ ... · เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า

3-48 กฎหมายธุรกิจ

สำหรับรูปแบบที่1และ2นั้นจะไม่แยกกิจการร่วมค้าออกมาเป็นการทำแฝงกันอยู่โดยนำเอาความรู้ความ

ชำนาญและสินทรัพย์ของตนมาใช้ร่วมกันระบบบัญชีก็จะเป็นไปตามลักษณะของการใช้ทรัพยากรเป็นสำคัญ หากมี

การแยกกิจการร่วมค้าออกมาเป็นหน่วยงานต่างหากซึ่งจะเห็นได้อย่างชัดเจนระบบบัญชีก็จะเป็นรูปแบบที่3คือต้อง

แยกบันทึกบัญชีออกมาต่างหาก

จากนิยามทั้งสองนิยามที่กล่าวมา ทำให้สามารถที่จะพิจารณาร่วมกับหลักกฎหมายในส่วนของความเป็น

องค์กรธุรกิจที่เป็นนิติบุคคลและไม่เป็นนิติบุคคลสรุปสาระสำคัญของกิจการร่วมค้าได้ดังนี้

1. กิจการร่วมค้าต้องเป็นสัญญาของบุคคล2คน โดยบุคคลนั้นจะเป็นบุคคลธรรมดาคณะบุคคลหรือ

นิติบุคคลก็ตามได้ตกลงทำสัญญาระหว่างกันโดยสัญญานั้นก็ไม่ได้กำหนดว่าจะเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่เพราะ

แม้ในสัญญาเข้าห้างหุ้นส่วนก็ไม่ได้กำหนดว่าจะต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษรจึงทำด้วยวิธีการใดก็ได้เช่นกันแต่ในทาง

ปฏิบัติหากกิจการที่ต้องการค้าร่วมกันนั้นมีรายละเอียดในข้อตกลงมากควรจะต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษร

2. ต้องร่วมกันในการทำการค้า คือต้องร่วมกันรับผิดชอบต่อกิจการค้าร่วมกันนั้นดังเช่นนิยามทางบัญชีที่

กำหนดว่าต้องมีส่วนร่วมในการบริหารมีอำนาจในการควบคุมการร่วมค้าด้วยกันในการกำหนดนโยบายทางการเงิน

และการดำเนินงานของกิจการที่ร่วมค้าร่วมกัน แต่มิจำเป็นต้องทำทุกอย่างเท่ากันทุกประการ

3. แสวงหากำไรมาแบ่งปันกัน กิจการร่วมค้านั้นมุ่งที่จะแสวงหากำไรจากกิจการที่กระทำร่วมกันมาแบ่งปัน

กันตามข้อตกลงที่2ฝ่ายได้ตกลงเข้ากัน

4. กิจการที่ร่วมกันนั้นเป็นการเฉพาะกิจ เมื่อสำเร็จภารกิจในกิจการที่ตกลงนั้นน่าจะเป็นการสิ้นสุดกิจการ

ร่วมค้ามิใช่ดำเนินกิจการต่อเนื่องเหมือนการดำเนินธุรกิจตามปกติ

5. กิจการร่วมค้าอาจจะจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ไม่ว่าจะเป็นห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลประเภทใดหรือบริษัท

ก็ตามก็ถือว่าเป็นกิจการที่มีรูปแบบไปตามกฎหมายลักษณะนั้นๆ แต่หากการร่วมค้านั้นไม่ได้จะทะเบียนเป็นนิติบุคคล

ซึ่งก็ถือว่าเป็นกิจการร่วมค้าเช่นเดียวกัน เพียงแต่หากเข้าตามเกณฑ์ของประมวลรัษฎากรก็จะต้องเสียภาษีอากรใน

ฐานะที่เป็นหน่วยภาษีที่กำหนดไว้นั้น และหากมิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในส่วนของการดำเนินการเกี่ยวกับกิจการ

ของการค้าร่วมนั้น จะเข้าเกณฑ์ตามหลักกฎหมายของห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน ก็ให้นำเอาบทบัญญัติใน

เรื่องห้างหุ้นส่วนสามัญมาใช้บังคับโดยอนุโลม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความรับผิดต่อบุคคลภายนอก การเลิกกิจการ

ร่วมค้าหรืออื่นๆ

กลา่วโดยสรปุแลว้กิจการร่วมค้าเป็นกิจการที่เกิดขึ้นจากปัจจัยต่างๆที่เป็นสาเหตุในการทำให้เกิดการพัฒนา

รูปแบบของการดำเนินกิจการขององค์กรธุรกิจที่มีลักษณะของการร่วมกันที่เป็นการเฉพาะไม่ได้ดำเนินการอย่าง

ตอ่เนือ่งเหมอืนธรุกจิอืน่ สว่นรปูแบบในการดำเนนิกจิการนัน้ผู้รว่มคา้สามารถที่จะเลอืกรปูแบบขององคก์รธรุกจิที่มีอยู่

ทั้งที่จดทะเบียนหรือไม่ต้องจดทะเบียนก็สามารถทำได้ จึงต้องพิจารณาทั้งหลักกฎหมายที่มีใช้บังคับอยู่ประกอบกับ

ข้อสัญญาที่ผู้ร่วมค้าได้ทำกันขึ้นไว้มาใช้เป็นหลักในการดำเนินกิจการที่เป็นกิจการร่วมค้า

กิจกรรม3.3.1

ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับคำกล่าวที่ว่า“กิจการร่วมค้าคือกิจการที่มิได้แสวงหากำไรเป็นสำคัญ”

แนวตอบกิจกรรม3.3.1

ไม่เห็นด้วยกับคำกล่าวที่กล่าวว่า “กิจการร่วมค้าคือกิจการที่มิได้แสวงหากำไร” เพราะกิจการร่วมค้า

เป็นกิจการที่เกิดจากสัญญาของบุคคลหรือองค์กรธุรกิจ เป็นสัญญาที่กระทำกิจการค้าร่วมกันเพื่อแสวงหากำไร

Page 49: หน่วย ที่ 3 หุ้น ส่วน บริษัท องค์กร ธุรกิจ อื่น และ ... · เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า

3-49หุ้นส่วนบริษัทองค์กรธุรกิจอื่นและตลาดหลักทรัพย์

ส่วนลักษณะที่สำคัญของกิจการร่วมค้าก็คือทำกิจการเฉพาะกิจเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจกิจการค้าร่วมก็เสร็จสิ้นลง

มิได้ดำเนินการต่อเนื่องเหมือนธุรกิจหรือการค้าทั่วๆไป

เรื่องที่3.3.2

กิจการร่วมทำ

กิจการร่วมทำ (Consortium) เป็นกิจการค้าอีกรูปแบบหนึ่งที่เกิดขึ้นจากกิจการธุรกิจที่มีการดำเนินการที่

หลากหลายเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อธุรกิจต่างๆ และความที่เป็นรูปแบบใหม่นี้ ก็ไม่มีอยู่ในรูปแบบของธุรกิจที่มีอยู่

ตามกฎหมายจึงถือว่าเป็นธุรกิจที่ไม่มีรูปแบบตามกฎหมาย ลักษณะที่สำคัญคอนซอร์เตียม(Consortium) คือไม่มี

การร่วมทุนกัน ไม่มีการแสวงหากำไรมาแบ่งปันกัน เป็นแนวทางของการเข้ามาร่วมกันรับผิดต่อเจ้าหนี้รายเดียวกัน

เพื่อให้งานที่เป็นโครงการใหญ่ๆนั้นมีผู้ที่เข้ามาร่วมรับผิดมากกว่าหนึ่งราย เพียงแต่การเข้ามารับผิดนั้นไม่แยกส่วน

ต้องร่วมกันเข้ามารับผิดต่อเจ้าหนี้โดยไม่แยกส่วนความรับผิด เมื่อพิจารณาจากที่มาของกิจการดังกล่าว จึงใช้ชื่อ

เป็นภาษาไทยว่า “กิจการร่วมทำ” เพื่อเป็นการเปรียบเทียบกับกิจการร่วมค้า ที่จะต้องเป็นสัญญาที่ร่วมกันกระทำ

กิจการนั้นๆ ร่วมกัน เพียงแต่เป็นการเฉพาะกิจเท่านั้น ไม่ต่อเนื่องเหมือนธุรกิจโดยทั่วไป แต่กิจการร่วมทำนี้ จะ

ไม่มีการแสวงหากำไรมาแบ่งปันกัน รายได้ก็แบ่งไปตามส่วนงานของแต่ละกิจการที่ตนทำอยู่มิใช่กำไรไม่ต้องลงทุน

ร่วมกัน ดังนั้นในกิจการที่เป็นกิจการร่วมทำ(Consortium)มีลักษณะที่สำคัญๆ ดังนี้

1. เป็นข้อตกลงร่วมกันขององค์กรธุรกิจตั้งแต่สององค์กรขึ้นไป จะเห็นได้ว่ากิจการร่วมทำนั้นเน้นที่ตัว

องค์กรธุรกิจที่เข้ามาร่วมกันรับผิดชอบในกิจการเดียวกันเป็นการเฉพาะ

2. วตัถปุระสงค์ของการเขา้มารว่มทำกนันัน้ไมม่ีการลงทนุรว่มกนัเหมอืนกจิการรว่มคา้ไม่ตอ้งมีเงนิทรพัยส์นิ

หรือแรงงานหรืออื่นใดมาลงทุนร่วมกันเพียงนำเอาข้อตกลงในส่วนของความรับผิดมาลงร่วมกันต่อผู้ว่าจ้าง

3. การเข้ามาร่วมกิจการร่วมทำ เป็นไปตามเงื่อนไขของเจ้าหนี้ที่ต้องการให้ผู้รับจ้างหลายรายเข้ามาร่วม

ทำงานชิน้เดยีวกนัด้วยการอาศัยความชำนาญหรือความสามารถเฉพาะของกิจการที่กระทำอยู่เพียงแต่ด้วยเงื่อนไขที่

ผู้ว่าจ้างกำหนดคือความรับผิดร่วมกันต่องานที่ว่าจ้างนั้นทุกฝ่ายที่ร่วมทำกิจการจะต้องเข้ามารับผิดร่วมกันเหมือน

เป็นลูกหนี้ร่วมต่อผู้ว่าจ้าง จึงเป็นกิจการที่ดูเหมือนไม่น่าจะมีหรือเกิดขึ้นได้ แต่ด้วยอำนาจต่อรองหรือด้วยอำนาจใน

การทำสัญญาที่แตกต่างกันหรือเป็นเงื่อนไขของการรับข้อตกลงตามสัญญาทำให้เกิดกิจการลักษณะนี้ขึ้นมาได้ โดย

เฉพาะอย่างยิ่งกิจการใหญ่ๆหรือที่ต้องอาศัยความรู้ความชำนาญที่หลากหลายที่จะต้องใช้ในกิจการที่ว่าจ้างนั้นๆ

4. กิจการร่วมทำนี้ไม่เข้ารูปแบบขององค์กรธุรกิจใดรวมทั้งไม่เข้าลักษณะของห้างหุ้นส่วนสามัญ จึงไม่

สามารถนำหลักกฎหมายดังกล่าวมาใช้แต่ในเรื่องความรับผิดต่อบุคคลภายนอกนั่นหมายถึงไม่ต้องรับผิดต่อบุคคล

ภายนอกต่อกิจการที่กระทำในลักษณะที่เป็นองค์กรเพียงแต่ต้องร่วมรับผิดต่อบุคคลภายนอกที่เป็นผู้ว่าจ้างเท่านั้นที่

ไม่อาจปฏิเสธความรับผิดได้ ซึ่งคล้ายกับว่าเป็นกิจการที่เสมือนถูกบังคับให้เข้ามาทำสัญญาเพื่อประโยชน์ของผู้ว่าจ้าง

โดยแท้

Page 50: หน่วย ที่ 3 หุ้น ส่วน บริษัท องค์กร ธุรกิจ อื่น และ ... · เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า

3-50 กฎหมายธุรกิจ

5. เป็นกิจการที่ไม่ได้เข้ามาร่วมกันดำเนินกิจการในลักษณะที่เป็นการบริหารองค์กรธุรกิจ เพียงแต่เป็นการ

เข้ามารับผิดชอบในงานตามส่วนของงานโดยไม่ได้มีวัตถุประสงค์ในการที่จะแสวงหากำไรมาแบ่งปันกันเหมือนกิจการ

ร่วมค้า จึงเป็นเรื่องของการแบ่งรายได้ตามส่วนงานที่ตนทำ

6. กิจการร่วมทำนี้ตามประมวลรัษฎากรมิได้ถือว่าเป็นหน่วยภาษีที่ต้องเสียภาษีอย่างกิจการร่วมค้า ดังนั้น

กิจการร่วมทำก็เสียภาษีตามองค์กรที่ตนดำเนินอยู่ตามปกติเท่านั้นไม่ต้องมาเสียภาษีเป็นพิเศษต่างหากแต่อย่างใด

7. สำหรับการเลิกกิจการร่วมทำ เนื่องจากมิได้เป็นองค์กรธุรกิจ จึงไม่มีข้อกำหนดในการเลิกกิจการร่วมทำ

จึงเป็นไปตามข้อตกลงที่ได้ตกลงกันไว้ของแต่ละกิจการร่วมทำที่จะได้ตกลงกันไว้ว่าจะเลิกกันอย่างไรก็เป็นไป

ตามนั้น

กล่าวโดยสรุปกิจการร่วมทำ อาจจะมีที่มาของการเกิดเป็นรูปแบบของการพัฒนาการดำเนินธุรกิจคล้ายกับ

กิจการร่วมค้า แต่ลักษณะของตัวกิจการร่วมทำนั้นต่างจากกิจการร่วมค้าในลักษณะสำคัญๆหลายประการ ไม่ว่า

จะเป็นเรื่องของวัตถุประสงค์ในการเข้าร่วมกันทำกิจการก็ต่างกันเพราะกิจการร่วมทำไม่ต้องการการเข้าร่วมใน

เชิงของการบริหารกิจการแต่เป็นการร่วมกันเข้ามารับผิดชอบต่อผู้ว่าจ้างตามเงื่อนไขหรือความต้องการของผู้ว่าจ้าง

เป็นสำคัญและกิจการร่วมทำไม่ได้เป็นหน่วยภาษีที่จะต้องเสียภาษีเป็นการเฉพาะเหมือนกิจการร่วมค้าเป็นเพียงการ

เสียภาษีตามปกติที่นำเอารายได้ที่ได้จากกิจการร่วมทำนี้ไปชำระตามปกติเท่านั้นเองทุกอย่างจึงไม่เข้าเกณฑ์ในการที่

จะนำกฎหมายใดๆมาใช้ จึงเป็นสิ่งที่เป็นไปตามข้อตกลงหรือสัญญาระหว่างผู้ว่าจ้างกับผู้ร่วมทำเป็นสำคัญ

กิจกรรม3.2.2

ลักษณะสำคัญของกิจการร่วมทำ(Consortium)คือลักษณะใด

แนวตอบกิจกรรม3.2.2

ลักษณะที่สำคัญของกิจการร่วมทำก็คือกิจการค้าที่ผู้ว่าจ้างต้องการให้ผู้รับจ้างหลายรายนั้นเข้ามาร่วม

รับผิดต่อการจ้างงานของนายจ้างคนเดียวซึ่งอาจจะถือว่าเป็นเงื่อนไขพิเศษที่นายจ้างเป็นผู้กำหนดขึ้นมาในการ

ทำสัญญาว่าจ้างนั้นๆองค์กรธุรกิจตั้งแต่สององค์กรขึ้นไปจึงไม่มีการร่วมทุนใดๆ ต่อกัน เป็นเพียงสัญญาที่

เข้ามาร่วมรับผิดต่อนายจ้างร่วมกันเท่านั้น

Page 51: หน่วย ที่ 3 หุ้น ส่วน บริษัท องค์กร ธุรกิจ อื่น และ ... · เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า

3-51หุ้นส่วนบริษัทองค์กรธุรกิจอื่นและตลาดหลักทรัพย์

เรื่องที่3.3.3

สำนักงานตัวแทนและสำนักงานสาขา

การประกอบธุรกิจสองลักษณะนี้จะเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่ผู้ประกอบธุรกิจต่างชาติใช้เป็นรูปแบบในการดำเนิน

ธุรกิจในประเทศไทยด้วยข้อจำกัดต่างๆที่มีอยู่ทำให้นักธุรกิจเลือกวีธีการที่จะดำเนินธุรกิจในลักษณะที่เป็นตัวแทน

หรือสำนักงานสาขาซึ่งจะเหมาะสมกับการเลือกที่จะดำเนินการ

สำนกังานตวัแทน(RepresentativeOffice) เป็นลักษณะหนึ่งของกิจการที่เข้ามาดำเนินกิจการในประเทศไทย

โดยเข้ามาในลักษณะที่เป็นสำนักงานตัวแทนมิได้จดทะเบียนเป็นองค์กรธุรกิจรูปแบบใดของไทย แต่เข้ามาดำเนิน

กิจการให้กับบริษัทแม่ ในลักษณะที่เป็นการให้บริการข้อมูลต่างๆ ให้บริษัทที่ตนเป็นตัวแทนหรือบริษัทแม่ของตน

จึงน่าจะเป็นนิติบุคคลตามบริษัทแม่ซึ่งตามนัยของคนต่างด้าวตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

พ.ศ.2542น่าจะถือได้ว่าสำนักงานตัวแทนเป็นคนต่างด้าวตามคำนิยามที่กล่าวไว้ว่านิติบุคคลซึ่งไม่ได้จดทะเบียนใน

ประเทศไทยถือว่าเป็นคนต่างด้าวเมื่อถือว่าสำนักงานตัวแทนที่เข้ามาดำเนินกิจการดังกล่าวเป็นต่างด้าวแล้ว จึงต้อง

พิจารณาว่ากิจการที่เข้ามาทำนั้นต้องห้ามตามกฎหมายเรื่องการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวหรือไม่ ก็ให้ปฏิบัติไป

ตามนั้น

ในการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวตามพระราชบัญญัติดังกล่าวได้ควบคุมการประกอบธุรกิจไว้3ลักษณะ

ด้วยกันคือ

1. ธรุกจิที่หา้มคนตา่งดา้วประกอบการโดยเดด็ขาดด้วยเหตุผลพิเศษที่เป็นอาชีพสงวนสำหรับคนไทยได้แก่

กิจการหนังสือพิมพ์กิจการวิทยุกระจายเสียงกิจการวิทยุโทรทัศน์การทำนาการทำสวนการทำไร่การเลี้ยงสัตว์การ

ป่าไม้การประมงการค้าที่ดินการทำบาตรหรือหล่อพระพุทธรูปการค้าวัตถุโบราณการสกัดสมุนไพร

2. ธรุกจิที่หา้มคนตา่งดา้วประกอบการเวน้แต่ได้รบัอนญุาตจากรฐัมนตรีโดยอนมุตัิของคณะรฐัมนตรีด้วย

เหตุผลที่เกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยของประเทศเช่นการค้าอาวุธยุทโธปกรณ์ การขนส่งทางบกทางน้ำทางอากาศ

หรือด้วยเหตุผลในด้านศิลปวัฒนธรรมจารีตประเพณี เช่นการค้าของเก่าที่เป็นศิลปกรรมหัตถกรรมของไทยการ

เลี้ยงไหมการผลิตเครื่องทองเครื่องถมเครื่องเขิน หรือด้วยเหตุผลในด้านทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อมเช่น

การทำนาเกลือการผลิตน้ำตาลจากอ้อยการทำเหมืองการแปรรูปไม้ทำเครื่องเรือน

3. ธรุกจิที่หา้มคนตา่งดา้วประกอบการเวน้แต่ได้รบัอนญุาตจากอธบิดีโดยความเหน็ชอบของคณะกรรมการ

ประกอบธรุกจิของคนตา่งดา้วซึ่งธุรกิจประเภทนี้เป็นลักษณะของธุรกิจที่คนไทยยังไม่พร้อมที่จะแข่งขันกับคนต่างด้าว

เช่นการสีข้าวการผลิตไม้อัดการทำกิจการทางการบัญชีกฎหมายสถาปัตยกรรมวิศวกรรมการโรงแรมการนำเที่ยว

หรือการทำธุรกิจบริการอื่น (ยกเว้นธุรกิจที่อนุญาตไว้ในกฎกระทรวง)

การประกอบธุรกิจในลักษณะที่เป็นตัวแทนก็ถือว่าเป็นการกระทำในนามของบริษัทแม่ จึงต้องปฏิบัติตาม

หลักเกณฑ์ในการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวเช่นกัน ซึ่งส่วนใหญ่จะเข้ามาดำเนินการในลักษณะของการให้ข้อมูล

ต่างๆไปยังบริษัทแม่มากกว่าเป็นการดำเนินการเพื่อให้เกิดรายได้ดังเช่นสำนักงานสาขาการดำเนินการของสำนักงาน

ตัวแทนจึงเป็นการให้บริการซึ่งก็ถือเป็นประเภทหนึ่งที่ต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดี (ซึ่งปัจจุบันคืออธิบดีกรมพัฒนา

ธุรกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์)จึงจะดำเนินการได้ แต่อย่างไรก็ตามหากมีการกระทำที่ต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอก

บริษัทแม่คงต้องรับผิดในลักษณะที่เป็นตัวการและตัวแทน ตามหลักในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เช่น

เดียวกัน

Page 52: หน่วย ที่ 3 หุ้น ส่วน บริษัท องค์กร ธุรกิจ อื่น และ ... · เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า

3-52 กฎหมายธุรกิจ

สำนักงานสาขา(BranchOffice) ตามกฎหมายถือว่าสำนักงานสาขาเป็นนิติบุคคลเดียวกับสำนักงานใหญ่

ของนติบิคุคลโดยบรษิทัจำกดัของไทยที่จะเปดิสำนกังานสาขานัน้ไม่ตอ้งจดทะเบยีนใหม ่แต่ถา้เปน็บรษิทัมหาชนจำกดั

นั้นพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัดกำหนดว่าหากจะเปิดสำนักงานสาขาจะต้องจดทะเบียนด้วยดังนั้นสำนักงาน

สาขาของบริษัทต่างประเทศที่เข้ามาขยายสาขาในประเทศไทยก็ถือว่าเป็นนิติบุคคลที่ไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทย

เช่นเดียวกับสำนักงานตัวแทนที่ถือว่าเป็นคนต่างด้าวซึ่งจะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคน

ต่างด้าวพ.ศ.2542ด้วยเช่นกัน

ลักษณะของธุรกิจที่เป็นสำนักงานตัวแทนและสำนักงานสาขา ก็คงไม่แตกต่างกันในส่วนของความรับผิดที่

บริษัทแม่คงต้องรับผิดหากตัวแทนหรือสาขากระทำตามกรอบของนิติบุคคลนั้นๆแต่ในเจตนารมณ์ของการเปิดเป็น

สำนกังานตวัแทนหรอืสำนกังานสาขาจะตา่งกนัก็ตรงที่สำนกังานตวัแทนมกัจะทำหนา้ที่ในการให้บรกิารขอ้มลูแก่บรษิทั

แม่เป็นสำคัญมิได้ดำเนินการในลักษณะที่สร้างผลกำไร แต่สำหรับกิจการที่ดำเนินการเป็นสำนักงานสาขานั้นดำเนิน

กิจการในลักษณะที่เป็นธุรกิจเหมือนบริษัทแม่

ที่กลา่วมานัน้เปน็ลกัษณะของการดำเนนิกจิการของนติบิคุคลตา่งดา้วที่เขา้มาดำเนนิกจิการเพือ่บรษิทัแม่หรอื

เขา้มารว่มกจิการคา้เฉพาะกจิซึง่การเขา้มาดงักลา่วไม่ได้เขา้มาดำเนนิกจิการในรปูแบบของธรุกจิที่กฎหมายไทยกำหนด

ไว้จึงต้องพิจารณาเป็นกรณีไปว่าในลักษณะที่เข้ามาดำเนินกิจการเป็นสำนักงานตัวแทนก็ดีหรือสำนักงานสาขาก็ดี อาจ

จะต้องบังคับกันไปเป็นพิเศษ และหากเข้าเกณฑ์ว่าเป็นคนต่างด้าวก็จะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการประกอบ

ธุรกิจของคนต่างด้าวพ.ศ.2542ว่าธุรกิจใดจะดำเนินการได้เพียงใด แต่หากเข้ามาดำเนินกิจการในรูปแบบธุรกิจใด

ไม่ว่าจะเป็นห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดก็เป็นไปตามกฎหมายเรื่องนั้นๆกำหนดไว้

นอกจากรูปแบบของธุรกิจที่กล่าวมาแล้ว ยังมีธุรกิจอื่นๆ อีกหลากหลายรูปแบบที่อาจจะเป็นธุรกิจที่เป็น

ลักษณะพิเศษที่พัฒนาขึ้นมาจากแวดวงธุรกิจเช่นธุรกิจขายตรงธุรกิจแฟรนไชส์ อีคอมเมอร์ซเป็นต้น ธุรกิจต่างๆ

จะพัฒนาขึ้นมาอย่างไรก็ตามก็ต้องเข้าอยู่ในกรอบรูปแบบขององค์กรธุรกิจอย่างใดอย่างหนึ่งที่มีอยู่ในกฎหมาย ไม่

ว่าจะเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลห้างหุ้นส่วนจำกัดบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดหรือ

ไม่มีกฎหมายกำหนดรูปแบบกิจการไว้ เช่นกิจการเจ้าของรายเดียวกิจการร่วมค้า (JointVenture) กิจการร่วมทำ

(Consortium)แต่เป็นลักษณะของการดำเนินการที่เป็นที่นิยมและไม่ขัดต่อกฎหมายก็สามารถดำเนินการได้เช่นกัน

กิจกรรม3.3.3

สำนักงานตัวแทนและสำนักงานสาขามีความเหมือนและความแตกต่างกันอย่างไรบ้างจงอธิบาย

แนวตอบกิจกรรม3.3.3

สำนักงานตัวแทนและสำนักงานสาขามีความเหมือนกันในส่วนของความรับผิดที่บริษัทแม่ต้องรับผิด

ต่อบุคคลภายนอกในกิจการที่อยู่ในขอบข่ายวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลนั้น

สว่นความตา่งกนัจะมีในสว่นของการดำเนนิการที่สำนกังานตวัแทนทำหนา้ที่ในสว่นของการให้บรกิาร

ข้อมูลต่างๆต่อบริษัทแม่แต่ในส่วนสำนักงานสาขาจะทำหน้าที่ในการดำเนินธุรกิจในการสร้างรายได้เช่นเดียว

กับบริษัทแม่

Page 53: หน่วย ที่ 3 หุ้น ส่วน บริษัท องค์กร ธุรกิจ อื่น และ ... · เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า

3-53หุ้นส่วนบริษัทองค์กรธุรกิจอื่นและตลาดหลักทรัพย์

ตอนที่3.4

ตลาดหลักทรัพย์

โปรดอ่านหัวเรื่องแนวคิดวัตถุประสงค์ของตอนที่3.4แล้วจึงศึกษารายละเอียดต่อไป

หัวเรื่อง3.4.1 หลักการตลาดหลักทรัพย์

3.4.2 การดำเนินการตลาดหลักทรัพย์

3.4.3 การกำกับตลาดหลักทรัพย์

แนวคิดตลาดหลักทรัพย์คือตลาดรองที่ทำหน้าที่เป็นแหล่งกลางในการซื้อขายเปลี่ยนมือหลักทรัพย์อย่าง1.

เป็นระบบเพื่อเสริมสภาพคล่องให้แก่หลักทรัพย์ที่เป็นตราสารที่มีระยะยาวกว่า1ปี

การดำเนินการตลาดหลักทรัพย์ของไทยแบ่งตลาดเป็น 2 ตลาด คือ ตลาดหลักทรัพย์แห่ง2.

ประเทศไทยหรือที่เรียกว่าSETและตลาดเอ็มเอไอหรือที่เรียกว่าMAIโดยตลาดทั้งสองจะใช้

จำนวนเงินทุนเป็นการกำหนดตลาด

วิธีการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์เดิมจะมีห้องค้าหลักทรัพย์เป็นสถานที่ทำการค้าโดย3.

ใช้ระบบซื้อขายแบบเคาะกระดาน ในปัจจุบันพัฒนาด้วยระบบASSETที่ลูกค้าสามารถซื้อขาย

หลักทรัพย์ผ่านinternetโดยไม่ต้องมาที่ห้องค้าหลักทรัพย์ก็ได้

ตลาดหลักทรัพย์ของไทยจะมีคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือที่เรียก4.

ว่าคณะกรรมการก.ล.ต.เป็นผู้กำกับดูแลออกกฎระเบียบต่างๆเพื่อให้การดำเนินการในกิจการ

ตลาดหลักทรัพย์สามารถดำเนินการไปได้อย่างโปร่งใสและเป็นธรรมต่อนักลงทุน ตลอดจนมี

อำนาจในการลงโทษผู้กระทำผิดวินัยในการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์

วัตถุประสงค์เมื่อศึกษาตอนที่3.4จบแล้วนักศึกษาสามารถ

1. อธิบายและวินิจฉัยเรื่องหลักการตลาดหลักทรัพย์ได้

2. อธิบายและวินิจฉัยเรื่องการดำเนินการตลาดหลักทรัพย์ได้

3. อธิบายและวินิจฉัยเรื่องการกำกับตลาดหลักทรัพย์ได้

Page 54: หน่วย ที่ 3 หุ้น ส่วน บริษัท องค์กร ธุรกิจ อื่น และ ... · เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า

3-54 กฎหมายธุรกิจ

เรื่องที่3.4.1

หลักการตลาดหลักทรัพย์

เมื่อจะกล่าวถึงตลาดหลักทรัพย์ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของตลาดการเงิน ในระบบเศรษฐกิจทุนนิยมที่นานา

ประเทศใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการระดมทุนสำหรับผู้ที่มีเงินออมส่วนเกินให้มาพบกับผู้ที่ต้องการทุนโดยผ่านกลไก

ของตลาดทุน จึงทำให้ต้องกลับไปมองโครงสร้างใหญ่คือโครงสร้างของตลาดการเงิน(FinancialMarket)ที่ประกอบ

ด้วยตลาดเงิน (MoneyMarket)และตลาดทุน(CapitalMarket) ซึ่งถ้าหากวิเคราะห์ในเบื้องต้นแล้วคำว่าตลาด

การเงินก็คือการเงินทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นเงินส่วนทุนส่วนดำเนินการส่วนกำไรส่วนของการกู้ยืมส่วนของหนี้สินทั้ง

หลายทั้งปวงนี้ก็คือการเงินทั้งสิ้น แต่เมื่อระบบเศรษฐกิจได้รับการพัฒนาการนำเงินของผู้อื่นมาลงทุนก็มีหลากหลาย

วิธีการทั้งการเข้ามาร่วมทุนกันไม่ว่าจะเป็นห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท เป็นการร่วมทุนกันระหว่างบุคคลตามข้อสัญญาที่

ต่างตกลงกัน หรือเป็นการขยายทุนในการดำเนินการเพิ่มโดยนำเงินของผู้อื่นมาใช้อาจเป็นได้ทั้งจากญาติเพื่อนหรือ

สถานบันการเงิน หรือหากต้องการเงินทุนจำนวนมากๆจึงต้องขยายแหล่งทุนมากขึ้นด้วยวิธีการที่หลากหลายทั้งใน

การออกตราสารมาเพื่อให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าเพื่อดึงผู้ที่มีเงินออมส่วนเกินให้มาสนใจต่อผลตอบแทนที่ได้รับซึ่งสูง

กว่าการฝากไว้ในสถาบันการเงิน ตราสารต่างๆจึงเริ่มมีบทบาทมากขึ้นในตลาดการเงิน และในท้ายที่สุดก็สามารถที่จะ

แบ่งแยกตลาดการเงินออกได้เป็นตลาดเงินและตลาดทุนโดยใช้ตราสารที่ระยะเวลาสั้นคือไม่เกิน1ปีกับตราสารที่

ระยะยาวคือเกินกว่า1ปีเป็นตัวแบ่งแยกตลาดเงินและตลาดทุน ถ้าตราสารที่มีระยะเวลาไม่เกิน1ปีถือว่าเป็นตลาด

เงินส่วนตราสารที่มีระยะเวลาเกินกว่า1ปีถือว่าเป็นตลาดทุน

1.ตลาดเงินของไทยเป็นศูนย์กลางในการระดมทุนระยะสั้น ไม่ว่าจะเป็นเงินหรือตราสารก็ตาม โดยส่วนใหญ่จะเป็นเงินมากกว่า

ตราสารและหากเป็นตราสารก็จะเป็นตราสารระยะสั้นคือไม่เกิน1ปีแต่ก็มีบางกรณีที่สถานบันการเงินออกตราสารที่

เกิน1ปีก็ยังถือว่าอยู่ในตลาดเงินเช่นกัน ตลาดเงินจึงเป็นตลาดของผู้มีเงินออมเกินส่วนนำเงินออมมาไว้ยังสถาบันการ

เงิน ที่รู้จักส่วนใหญ่จะเป็นธนาคารพาณิชย์ซึ่งผู้นำเงินมาออมถือว่าเป็นผู้ลงทุนโดยได้อัตราดอกเบี้ยเป็นการตอบแทน

ในการลงทุนและสถาบันการเงินก็จะนำเงินออมที่มีอยู่นั้นไปปล่อยกู้ให้กับผู้ที่ต้องการเงินทุนได้ส่วนต่างของดอกเบี้ย

รับและดอกเบี้ยจ่ายที่เรียกว่าspreadมาเป็นค่าดำเนินการ กรณีนี้ระหว่างผู้มีเงินออมส่วนเกินและผู้ต้องการเงินทุนจึง

ไม่มีความผูกพันต่อกันแต่เป็นการผูกพันระหว่างสถาบันการเงินกับผู้ออมและสถาบันการเงินกับผู้ต้องการเงินทุน

สถาบันการเงินในตลาดการเงินก็คือธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุน ซึ่งเป็นของเอกชนนอกจากนั้น ยัง

มีสถาบันของรัฐคือธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่ง

ประเทศไทย

2.ตลาดทุนของไทยสำหรับตลาดทุนก็คือตลาดตราสารการเงินที่มีระยะเวลาเกินกว่า1ปีไม่ว่าจะเป็นตราสารที่เป็นหุ้นสามัญหุ้น

บุริมสิทธิหุ้นกู้หรือแม้แต่ใบสำคัญแสดงสิทธิการจองหุ้นและตราสารอื่นๆที่กำหนดให้เป็นหลักทรัพย์

Page 55: หน่วย ที่ 3 หุ้น ส่วน บริษัท องค์กร ธุรกิจ อื่น และ ... · เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า

3-55หุ้นส่วนบริษัทองค์กรธุรกิจอื่นและตลาดหลักทรัพย์

ตลาดทุนแบ่งออกเป็น2ตลาดคือ

2.1ตลาดแรก(PrimaryMarket)

2.2ตลาดรอง(SecondaryMarket)

2.1ตลาดแรกจะทำหน้าที่เคลื่อนย้ายเงินทุนเพราะตลาดแรกจะเป็นตลาดที่ผู้ต้องการเงินทุนจะเสนอขายหุ้น

โดยตรงต่อบุคคลทั่วไปที่เรียกว่าpublicoffering หรือกลุ่มบุคคลเฉพาะเจาะจงที่เรียกว่าprivateplacementจึง

ถือว่าเป็นการเคลื่อนย้ายเงินทุนที่ได้จากผู้มีเงินออมส่วนเกินมายังผู้ต้องการเงินทุนโดยตรง

2.2ตลาดรองจะเป็นตลาดที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่มีตราสาร หรือสินทรัพย์ทางการเงินอยู่ในมือแล้วหรือได้มา

จากตลาดแรก แล้วต้องการที่จะเปลี่ยนมือ ให้มาใช้ช่องทางของตลาดนี้ โดยมีสถาบันที่ดำเนินการจัดหาคู่ระหว่าง

ผู้ที่ต้องการซื้อและผู้ต้องการขายให้มาพบกัน ซึ่งในส่วนนี้จะเห็นได้ว่าตัวเงินทุนนั้นไม่ได้มีการเคลื่อนย้ายเงินลงทุน

ไปสู่ผู้ประกอบการในการที่จะนำเงินไปขยายกิจการหรือดำเนินกิจการแต่อย่างใด เป็นการเปลี่ยนแปลงการถือครอง

ตราสาร

ในตลาดรองของการซื้อขายตราสารต่างๆ นี้ สถาบันที่มาทำหน้าที่จับคู่ระหว่างผู้ต้องการซื้อและผู้ต้องการ

ขายตราสารก็คือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหรือชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่าTheStockExchangeofThailand

เรียกชื่อย่อว่าSET

2.2.1ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจัดตั้งขึ้นด้วยแนวคิดของการต้องการใช้ตลาดเป็นเครื่องมือ

ในการสร้างฐานเศรษฐกิจของประเทศให้กว้างขวาง มั่นคงและเป็นสากลมากขึ้น เพราะกระแสของระบบทุนเริ่มมี

อทิธพิลตอ่การขยายตวัทางดา้นเศรษฐกจิของประเทศเปน็อยา่งมากแนวคดินี้ได้รบัการผลกัดนัเขา้มาอยู่ในแผนพฒันา

เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2510-2514) ต่อเนื่องมาถึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 3

(พ.ศ.2515-2519)ที่กำหนดให้มีการพัฒนาตลาดทุนเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาประเทศ และจากการพัฒนาตลาด

ทุนมาอย่างต่อเนื่องจนถือได้ว่าประสบความสำเร็จคือได้มีการออกพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

พ.ศ.2517ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่20พฤษภาคมพ.ศ.2517โดยมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือ

1)ส่งเสริมการออมทรัพย์และการระดมทุนระยะยาว โดยตลาดหลักทรัพย์ทำหน้าที่เป็นแหล่ง

กลางในการซื้อขายเปลี่ยนมือเสริมสภาพคล่องให้แก่หลักทรัพย์

2) เป็นแหล่งกลางในการซื้อขายหลักทรัพย์อย่างเป็นระบบ มีสภาพคล่องและตั้งอยู่บนพื้นฐาน

ของความยุติธรรม

3)ช่วยปรับโครงสร้างทางธุรกิจของบริษัทเอกชน รัฐวิสาหกิจทั้งโครงสร้างเงินและความเสี่ยง

ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม

4) สนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในความเป็นเจ้าของกิจการในธุรกิจหรืออุตสาหกรรมต่างๆ

โดยตลาดหลักทรัพย์ทำหน้าที่ในการเปิดเผยข้อมูลต่างๆเพื่อประกอบการตัดสินใจที่จะลงทุน

5)ให้ความคุ้มครองผลประโยชน์ของผู้เกี่ยวข้องโดยเฉพาะผู้ลงทุนในเรื่องของระบบและความ

ยุติธรรมในการซื้อขายหลักทรัพย์

6) ให้ตลาดหลักทรัพย์เป็นองค์ประกอบหนึ่งในดัชนีชี้การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

จากวัตถุประสงค์ดังกล่าวจะเห็นได้ว่า โดยหลักการในการดำเนินกิจการตลาดหลักทรัพย์แล้วจะ

เน้นการส่งเสริมให้มีการออมเงินในระยะยาว และให้ประชาชนมีโอกาสเป็นเจ้าของกิจการร่วมกับกิจการต่างๆ โดย

ตลาดหลักทรัพย์ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการซื้อขาย และทำหน้าที่ให้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจของประชาชน โดยเน้น

ความเปน็ระบบและเปน็กลาง และยดึถอืความยตุธิรรมเปน็ที่ตัง้ สว่นผลพลอยได้ที่เกดิจากการพฒันาตลาดหลกัทรพัย์

คือการปรับโครงสร้างทางธุรกิจให้กับบริษัทและการที่ยอมรับเอาตลาดเป็นตัวชี้การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

Page 56: หน่วย ที่ 3 หุ้น ส่วน บริษัท องค์กร ธุรกิจ อื่น และ ... · เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า

3-56 กฎหมายธุรกิจ

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยก็ได้เปิดดำเนินการตามภารกิจที่มุ่งหมายไว้ เมื่อวันที่30 เมษายน

พ.ศ. 2518 โดยเปิดทำการซื้อขายหลักทรัพย์ที่ห้องค้าหลักทรัพย์ อาคารศูนย์การค้าสยาม และหลักทรัพย์ที่จะเข้า

ทำการซื้อขายได้ต้องเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนหรือหลักทรัพย์รับอนุญาตเท่านั้น ซึ่งมีอยู่ไม่ถึง 20 บริษัทที่เข้ามา

ทำการซื้อขายในวันนั้นสำหรับการซื้อขายในยุคนั้นใช้การซื้อแบบเคาะกระดาน(postonboard)และเปิดซื้อขายเป็น

เวลา2ชั่วโมงคือเวลา10.30–12.30น ตลาดหลักทรัพย์ได้ดำเนินการและพัฒนาการดำเนินการตามวัตถุประสงค์มา

โดยตลอด มีการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้เป็นเอกภาพมีการพัฒนาระบบการซื้อขายทั้งด้านเทคโนโลยีและความ

โปร่งใส และมุ่งสู่ความเป็นสากล

2.2.2 ในพ.ศ. 2542 ได้มีการเปิดตลาดรองขึ้นอีกหนึ่งตลาด เพื่อสนับสนุนและกระตุ้นให้ประชาชน

สนใจตลาดทนุมากขึน้โดยการเปดิตลาดเอม็เอไอ(MarketforAlternativeInvestments:MAI)เปน็ที่รองรบัธรุกจิ

ขนาดกลางและขนาดย่อม โดยกำหนดขนาดของธุรกิจไว้ว่า ต้องเป็นบริษัทที่มีทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วเฉพาะหุ้น

สามัญไม่น้อยกว่า 40ล้านและไม่ถึง 200ล้าน ให้เป็นหนึ่งในคุณสมบัติของหลักทรัพย์ที่เข้ามาทำการซื้อขายกันใน

ตลาดรองตลาดใหม่นี้แต่ในเวลาต่อมาเมื่อพ.ศ.2547ได้กำหนดทุนไว้ว่าต้องไม่น้อยกว่า20ล้านและไม่ถึง300ล้าน

จึงสรุปได้ว่าตลาดทุนของไทยจะมี2ตลาดคือตลาดแรกซึ่งเป็นตลาดที่ผู้ที่มีเงินออมเกินส่วนสามารถที่

จะตัดสินใจในการเคลื่อนย้ายเงินทุนตามแต่ความสมัครใจความสัมพันธ์ส่วนตัวหรือด้วยปัจจัยสนับสนุนการตัดสินใจ

ประการอื่นๆ และอีกตลาดหนึ่ง คือ ตลาดรอง ซึ่งตลาดนี้เป็นแหล่งกลางของการซื้อขายแลกเปลี่ยนตราสารที่ถือว่า

เป็นทุนในลักษณะที่เป็นหลักทรัพย์ที่อาจจะได้มาจากตลาดแรกแล้วประสงค์จะเปลี่ยนมือก็จะมาอาศัยตลาดรองนี้

เป็นที่ซื้อขายตราสารที่เป็นหลักทรัพย์โดยตลาดรองจะมี2ตลาดคือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(TheStock

ExchangeofThailand:SET) และตลาดเอ็มเอไอ (MarketforAlternativeInvestment:MAI)

กิจกรรม3.4.1

จงอธิบายถึงตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ(MAI)ว่าเกี่ยวข้องกับตลาดหลักทรัพย์ของไทยอย่างไร

แนวตอบกิจกรรม3.4.1

ตลาดหลักทรัพย์ เอ็มเอไอ(MAI)เป็นตลาดหลักทรัพย์ที่จัดตั้งขึ้น เพื่อรองรับการซื้อขายหลักทรัพย์

ของธรุกจิขนาดกลางและขนาดยอ่มถอืวา่เปน็ตลาดรองของตลาดหลกัทรพัย์ที่กำหนดไว้ดว้ยทนุจดทะเบยีนวา่

ตอ้งเปน็บรษิทัที่มีทนุจดทะเบยีนที่ชำระแลว้เฉพาะหุน้สามญัไม่นอ้ยกวา่20ลา้นและตอ้งนอ้ยกวา่300ลา้นให้

เป็นหนึ่งในคุณสมบัติของหลักทรัพย์ที่เข้ามาทำการซื้อขายกันในตลาดรองตลาดใหม่นี้ โดยทำหน้าที่เป็นกลาง

ในการซื้อขายตราสารหรือหลักทรัพย์เช่นเดียวกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(SET)

Page 57: หน่วย ที่ 3 หุ้น ส่วน บริษัท องค์กร ธุรกิจ อื่น และ ... · เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า

3-57หุ้นส่วนบริษัทองค์กรธุรกิจอื่นและตลาดหลักทรัพย์

เรื่องที่3.4.2

การดำเนินการตลาดหลักทรัพย์

การดำเนินการของตลาดหลักทรัพย์ มีพัฒนาการมาเป็นลำดับ จากการที่เริ่มเปิดตลาดด้วยต้องการให้เป็น

แหล่งตลาดของการซื้อขายตราสารที่เป็นตราสารระยะยาวกว่า1ปีขึ้นไปโดยมีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเป็น

สถาบันที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการซื้อขายระหว่างผู้ซื้อหรือผู้ลงทุนและผู้ขายหรือผู้ประกอบการ ส่วนของผู้ซื้อและ

ผู้ลงทุนในระยะแรกเนื่องจากตลาดหลักทรัพย์หรือตลาดหุ้นเป็นเรื่องใหม่ที่ประชาชนยังไม่คุ้นเคยจึงทำให้ไม่ค่อยได้

รับความสนใจมากนัก ส่วนผู้ขายหรือผู้ประกอบการ ก็ยังไม่ได้กำหนดชัดเจนว่าจะต้องเป็นบริษัทมหาชนเท่านั้นหรือไม่

ที่จะเป็นบริษัทจดทะเบียนเพื่อเอาหลักทรัพย์จดทะเบียนเข้ามาในตลาดหลักทรัพย์เพื่อทำการซื้อขายได้

ด้วยการจัดตั้งตลาดหลักทรัพย์ขึ้นมาตั้งแต่พ.ศ.2517และตลาดเริ่มเปิดทำการตั้งแต่เมษายนพ.ศ.2518

กับความใหม่และความเกี่ยวพันกับบริบทอื่นที่เกี่ยวข้องที่ยังไม่อยู่ในสภาพที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน จึงทำให้เกิด

การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญอย่างต่อเนื่องเพื่อมุ่งไปสู่การพัฒนาความเป็นตลาดหลักทรัพย์ที่เป็นสากล ซึ่งมีการ

เปลี่ยนแปลงที่สำคัญด้วยพิจารณาความสัมพันธ์ของบริษัทมหาชนจำกัดกับตลาดหลักทรัพย์ อาจแบ่งพัฒนาการของ

ตลาดหลักทรัพย์ออกได้เป็น3ช่วงดังนี้คือ

1. ช่วงก่อนมีบริษัทมหาชนจำกัด (หลักทรัพย์จดทะเบียนและหลักทรัพย์อนุญาต)

2. ช่วงมีบริษัทมหาชนจำกัดแต่ยังไม่ได้กำหนดว่าบริษัทที่เข้าตลาดหลักทรัพย์จะต้องเป็นบริษัทมหาชน

3. ช่วงที่กำหนดว่าบริษัทมหาชนเท่านั้นที่จะเข้าตลาดหลักทรัพย์ได้(บริษัทจดทะเบียน)

1.ช่วงก่อนมีบริษัทมหาชนจำกัด(หลักทรัพย์จดทะเบียนและหลักทรัพย์อนุญาต)นับแต่มีพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยพ.ศ.2517เมื่อวันที่17พฤษภาคมพ.ศ.2517 ก็ได้

มีการจัดตั้งตลาดหลักทรัพย์ขึ้นเป็นผลสำเร็จเมื่อวันที่20ธันวาคมพ.ศ.2517 โดยมีสถานะเป็นนิติบุคคลแต่มิได้มี

วัตถุประสงค์ที่จะแสวงหากำไรมาแบ่งปันกัน การดำเนินการมีผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์เป็นผู้ดำเนินการภายใต้การ

กำกับดูแลของคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประทศไทย ทั้งหมดอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของรัฐมนตรีว่าการ

กระทรวงการคลัง และตลาดหลักทรัพย์แห่งประไทยได้เริ่มเปิดดำเนินการซื้อขายหลักทรัพย์ที่ห้องซื้อขายหลักทรัพย์

อาคารศูนย์การค้าสยามเมื่อวันที่30เมษายนพ.ศ.2518ซึ่งจะเปิดทำการขายตั้งแต่เวลา10.30–12.30นสำหรับการ

ดำเนินการของตลาดหลักทรัพย์ดำเนินการดังนี้

1.1ผู้ซื้อหรือผู้ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ก็คือประชาชนทั่วไปที่มีเงินออมเกินส่วนและสนใจที่จะนำเงินออม

นั้นมาลงทุนในระยะยาว โดยเข้ามาทำการซื้อขายตราสารระยะยาวกว่า 1 ปี แต่ต้องเป็นผู้ที่มีความสนใจและเข้าใจ

ตลาดใหม่แห่งนี้นอกจากประชาชนทั่วไปยังมีสถานบันหรือนักลงทุนจากต่างประเทศซึ่งในระยะแรกๆนี้ประชาชนยัง

ไม่รู้จักและคุ้นเคยกับตลาดหลักทรัพย์หรือตลาดหุ้นนี้มากนัก

1.2ผู้ขายหรือผู้ต้องการเงินทุนในตลาดหลักทรัพย์ หากบริษัทใดต้องการที่จะนำหลักทรัพย์ของตนเข้ามา

ทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์หรือตลาดหุ้นจะต้องนำเอาบริษัทของตนเข้ามาจดทะเบียนเป็นหลักทรัพย์ที่จะทำการ

ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ได้ซึ่งหลักทรัพย์แบ่งออกเป็น2ประเภท คือหลักทรัพย์จดทะเบียน และหลักทรัพย์รับ

อนุญาตโดยมีคุณลักษณะที่แตกต่างกันดังนี้

Page 58: หน่วย ที่ 3 หุ้น ส่วน บริษัท องค์กร ธุรกิจ อื่น และ ... · เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า

3-58 กฎหมายธุรกิจ

1.2.1คุณลักษณะของบริษัทจำกัดที่จะมาขอจดทะเบียนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนได ้ ต้องประกอบ

ด้วย

1)ทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วเต็มมูลค่าไม่ต่ำกว่า10ล้านบาท

2)มีจำนวนผู้ถือหุ้นไม่ต่ำกว่า250ราย

3)ผู้ถือหุ้นแต่ละรายต้องถือหุ้นเป็นมูลค่าไม่เกินกว่า 5 ใน1,000ของทุนซึ่งชำระแล้วและถือ

หุ้นรวมกันไม่ต่ำกว่าร้อยละ25ของทุนซึ่งชำระแล้ว

4)หุ้นนั้นต้องเป็นหุ้นสามัญที่เป็นหุ้นระบุชื่อผู้ถือที่เรียกชำระเต็มมูลค่าแล้ว

5)หุ้นนั้นต้องมีราคามูลค่าหุ้นที่ตราไว้หุ้นละ100บาท

6)ต้องมีกำไรสุทธิจากการดำเนินการมาแล้ว2ปีติดต่อกัน

7)ต้องไม่มีข้อจำกัดในการโอนหุ้น

8)บริษัทต้องประกอบธุรกิจที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

1.2.2 คุณลักษณะของบริษัทจำกัดที่จะมาขอจดทะเบียนเป็นหลักทรัพย์รับอนุญาตได้ ต้องประกอบ

ด้วย

1)ทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วเต็มมูลค่าไม่ต่ำกว่า5ล้านบาท

2)มีจำนวนผู้ถือหุ้นไม่ต่ำกว่า100ราย

3)ผู้ถือหุ้นแต่ละรายต้องถือหุ้นเป็นมูลค่าไม่เกินกว่า 5 ใน1,000ของทุนซึ่งชำระแล้วและถือ

หุ้นรวมกันไม่ต่ำกว่าร้อยละ20ของทุนซึ่งชำระแล้ว

4)หุ้นนั้นต้องเป็นหุ้นสามัญที่เป็นหุ้นระบุชื่อผู้ถือที่เรียกชำระเต็มมูลค่าแล้ว

5)หุ้นนั้นต้องมีราคามูลค่าหุ้นที่ตราไว้หุ้นละ100บาท

6)ต้องไม่มีข้อจำกัดในการโอนหุ้น

7)บริษัทต้องประกอบธุรกิจที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

ตลาดหลักทรัพย์ในยุคแรกนี้จะมีหลักทรัพย์ที่จะเข้ามาซื้อขายกันในตลาด2ประเภทตามที่กล่าวมา

1.3สินค้าที่เข้าตลาดก็จะเป็นตราสารต่างๆของบริษัทจดทะเบียนหรือบริษัทที่ได้รับอนุญาตซึ่งเป็นตราสาร

ที่มีอายุยาวกว่า1ปี

1.4บริษัทที่ได้รับอนุญาตให้เป็นตัวแทนหรือนายหน้าในการซื้อขายที่เรียกว่าบริษัทBroker

การดำเนินงานในส่วนที่สำคัญๆมีดังนี้

1)ระบบการซื้อขายหลักทรัพย์ใช้ระบบซื้อขายบนกระดานหรือเคาะกระดาน(postonboard)

2)ผู้ซื้อและผู้ขายชำระราคากันแต่ละรายหลังจากตลาดปิดในแต่ละวัน

3)หลกัทรพัย์ที่จะซือ้ขายได้ในตลาดตอ้งเปน็หลกัทรพัย์ที่จดทะเบยีนหรอืหลกัทรพัย์รบัอนญุาตเทา่นัน้

และผู้ที่อนุญาตหลักทรัพย์ก็คือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ซึ่งเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติตลาด

หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

4)มีผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์เป็นผู้จัดการเกี่ยวกับการบริหารงานในกิจการตลาดหลักทรัพย์ภายใต้

การกำกับดูแลของคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

5)ไม่มีความผิดเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์เฉพาะไม่ว่าจะเป็นinsidertrading หรือการปั่นหุ้น

จะมีการเพียงกฎหมายห้ามมิให้กระทำการซื้อขายหุ้นโดยทุจริตเท่านั้นเอง

การดำเนินของตลาดหลักทรัพย์ในระยะแรกนี้ยังเป็นปัญหาเรื่องความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตลาดทุนหรือ

ตลาดหลักทรัพย์ จึงได้รับความสนใจน้อยมาก อีกทั้งบริษัทที่มีอยู่ในขณะนั้นก็คือบริษัทจำกัดเท่านั้น และบริษัทที่

Page 59: หน่วย ที่ 3 หุ้น ส่วน บริษัท องค์กร ธุรกิจ อื่น และ ... · เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า

3-59หุ้นส่วนบริษัทองค์กรธุรกิจอื่นและตลาดหลักทรัพย์

จะเป็นบริษัทจดทะเบียนหรือบริษัทรับอนุญาตก็เป็นบริษัทจำกัดเท่านั้นเพราะบริษัทมหาชนยังไม่มีด้วยเหตุนี้ก็เป็น

ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้มีพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัดขึ้นมาในพ.ศ.2521

2. ช่วงมีบริษัทมหาชนแต่ยังไม่ได้กำหนดว่าบริษัทที่เข้าตลาดหลักทรัพย์จะต้องเป็นบริษัทมหาชนหลังจากได้มีพ.ร.บ.บริษัทมหาชนจำกัดพ.ศ.2521อันเป็นการกระตุ้นให้บริษัทจำกัดที่มีอยู่ตามประมวล

กฎหมายแพ่งและพาณิชย์เริ่มมีแนวคิดในการกระจายหุ้นออกไปยังผู้ถือที่กว้างขวางขึ้น โดยเงื่อนไขในพ.ร.บ.บริษัท

มหาชนจำกัดได้กำหนดจำนวนผู้ถือหุ้นที่จะจดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชนจำกัดได้จะต้องมีผู้ถือหุ้นจำนวน 100คน

มีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 5ล้านบาท ราคามูลค่าหุ้นต้องไม่ต่ำกว่า 20บาทและไม่เกิน 100บาททำหนังสือชี้ชวน

ประชาชนซื้อหุ้นได้และสามารถออกหุ้นกู้ได้ และเมื่อกำหนดหลักเกณฑ์ดังกล่าวไว้ในพ.ร.บ.บริษัทมหาชนจำกัดเช่น

นั้นแล้ว จึงได้แก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่มีอยู่เกี่ยวกับบริษัทจำกัดให้สอดคล้องไปในทางเดียวกันโดย

แก้ไขว่าบริษัทจำกัดจะมีผู้ถือหุ้นได้ไม่เกิน99คนถ้าเกินบริษัทจำกัดนั้นต้องแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัดภายใน

1ปี และยังแก้ไขให้ยกเลิกการทำหนังสือชี้ชวนซื้อหุ้นต่อประชาชนในบริษัทจำกัด การเพิ่มทุนห้ามขายให้กับประชาชน

ให้ขายให้กับผู้ถือหุ้นหรือกรรมการเท่านั้นและห้ามบริษัทจำกัดออกหุ้นกู้

จะเหน็วา่ได้มีความพยายามที่จะกำหนดให้ชดัเจนวา่บรษิทัจำกดักบับรษิทัมหาชนจำกดัจะแบง่แยกกนัอยา่งไร

ดังนั้นกฎเกณฑ์ใดที่มีอยู่ในบริษัทมหาชนจำกัดก็จะนำมาเป็นหลักการในการแก้ไขป.พ.พ.ที่เคยบัญญัติไว้ว่าให้ทำได้

นั้นออกไปหลายประการ ซึ่งทั้งนี้ในหลักการการจัดตั้งตลาดหลักทรัพย์แล้ว ควรจะต้องมีบทบัญญัติบริษัทมหาชน

ออกมาพร้อมกันแต่ของไทยเราห่างกันประมาณ4ปี ถึงแม้บริษัทมหาชนเกิดขึ้นแล้วก็ตามแต่ในหลักการเรื่องการนำ

บริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ก็ยังไม่ได้กำหนดเฉพาะเจาะจงว่าต้องเป็นบริษัทมหาชนจำกัดเท่านั้น นั่นหมายถึงบริษัท

จำกัดซึ่งมีอยู่มากในระบบเศรษฐกิจของไทยนั้นยังไม่ค่อยมีผู้ที่จะสนใจจะแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน เพราะบริษัท

จำกัดที่กิจการดีก็สามารถเข้าในตลาดหลักทรัพย์ได้จึงไม่จำเป็นต้องแปรสภาพก็ได้

สำหรับในส่วนของการดำเนินการตลาดหลักทรัพย์มีการพัฒนาในหลายๆด้านดังนี้

2.1 ส่วนผู้ซื้อหรือผู้ลงทุน ประชาชนเริ่มสนใจเข้ามาลงทุนมากขึ้นในตลาดหลักทรัพย์ รวมทั้งนักลงทุนต่าง

ชาติเริ่มให้ความสนใจในตลาดหุ้นไทยมากขึ้น

2.2 ส่วนผู้ขายหรือผู้ประกอบการเนื่องจากยังไม่ได้กำหนดว่าบริษัทที่จะเข้าตลาดหรือเป็นบริษัทจดทะเบียน

หรอืบรษิทัรบัอนญุาตจะตอ้งเปน็บรษิทัมหาชนจำกดัเทา่นัน้ จงึทำให้เงือ่นไขตา่งๆที่แก้ไขป.พ.พ.ไว้ไม่วา่จะเปน็จำนวน

ผู้ถือหุ้นถ้าเกิน99คนต้องแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัดห้ามออกหุ้นกู้ ก็ไม่ได้ช่วยกระตุ้นให้บริษัทจำกัดนั้นแปร

สภาพมาเป็นบริษัทมหาชนจำกัด ในท้ายที่สุดเมื่อพ.ศ.2527ได้มีการแก้ไขพ.ร.บ.ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

(ฉบับที่2)พ.ศ.2527ซึ่งแก้ไขหลักการต่างๆ ทำให้เกิดความชัดเจนในหลายๆประเด็นเกี่ยวกับบริษัทจำกัดที่จะเข้า

ตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งในท้ายที่สุดก็สามารถดำเนินการไปสู่ความมุ่งหมายที่สอดคล้องกับหลักการเดิมคือ การที่จะให้

บริษัทมหาชนจำกัดเท่านั้นที่จะเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียน ตามพ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ.2535ซึ่ง

มีการเปลี่ยนแปลงหลักการและการบริหารจัดการตลาดหลักทรัพย์ให้สอดคล้องกับการพัฒนาตลาดหลักทรัพย์ไทยไป

สู่สากลทั้งนี้ก็ได้แก้ไขพ.ร.บ.บริษัทมหาชนจำกัดพ.ศ.2535ด้วยเช่นกัน

2.3 ในส่วนของการดำเนินการของตลาดหลักทรัพย์ มีการพัฒนาหลายอย่างที่เริ่มเป็นสากลมากขึ้น โดย

เฉพาะในด้านการให้ข้อมูลต่อผู้ลงทุนซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญและเป็นมาตรฐานสากล จึงได้มีการวางรากฐานใน

หลายๆปัจจัยที่เกี่ยวข้องรวมทั้งร่วมมือกับหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องดำเนินการร่วมกันพัฒนาตลาดหลักทรัพย์ของไทย

ซึ่งที่สำคัญมีดังนี้

Page 60: หน่วย ที่ 3 หุ้น ส่วน บริษัท องค์กร ธุรกิจ อื่น และ ... · เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า

3-60 กฎหมายธุรกิจ

2.3.1ได้เริ่มมีการคำนวณดัชนีของตลาดหลักทรัพย์SETINDEXซึ่งก่อนหน้านั้นใช้ดัชนีราคาตลาด

ของเอกชนในการเผยแพร่ ซึ่งการคำนวณนั้นใช้ราคาหุ้นสามัญทุกตัวมาคำนวณถัวเฉลี่ยโดยถ่วงน้ำหนักด้วยจำนวน

หุ้นจดทะเบียนของแต่ละหลักทรัพย์ กำหนดให้ค่าดัชนีที่ 100จุดและใช้วันที่ 30 เมษายนพ.ศ. 2518คือวันเปิด

ตลาดการซื้อขายหลักทรัพย์ของไทยเป็นวันฐานในการคำนวณ

2.3.2ใช้เกณฑ์การขึ้นเครื่องหมายในการเตือนผู้ลงทุน หากบริษัทใดมีข้อมูลที่ยังไม่ชัดเจน คือ

เครื่องหมายNP (notice pending) จะขึ้นที่หลักทรัพย์ที่มีปัญหาหรือไม่มีข้อมูลที่ชัดเจน เมื่อใดข้อมูลชัดเจนแล้ว

จะขึ้นเครื่องหมายNR(noticereceived)

2.3.3เปิดศูนย์กลางชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ขึ้นมาเป็นการบริการลูกค้าของตลาดหลักทรัพย์

ซึ่งเดิมนั้นผู้ซื้อและผู้ขายจะชำระราคากันหลังจากตลาดปิดในแต่ละวันและแต่ละราย และในพ.ศ.2525ได้นำระบบ

ชำระราคายอดแบบสุทธิ(netpaymentsystem)มาแทนการชำระราคาแต่ละรายทำให้การชำระราคาเป็นสากลขึ้น

โดยต้องชำระราคาภายใน3วันนับแต่วันที่ซื้อขายหลักทรัพย์กัน

2.3.4เริ่มเปิดช่องทางการให้ความรู้และเผยแพร่การดำเนินการของตลาดหลักทรัพย์ในสื่อวิทยุกระจาย

เสยีง วทิยุโทรทศัน์และที่สำคญัคอืเพิม่เตมิความรู้เกีย่วกบัตลาดหลกัทรพัย์ให้เขา้ไปบรรจุอยู่ในสว่นหนึง่ของหลกัสตูร

ชั้นมัธยมต้นและมัธยมปลาย

2.3.5เริ่มพัฒนาบุคลากรของตลาดหลักทรัพย์ให้ศึกษาอบรมดูงานทั้งในและต่างประเทศ

2.3.6ขยายที่ทำการจากสยามสแควร์ไปยังอาคารสินธรถนนวิทยุในปีพ.ศ.2526

2.3.7ตั้งศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ขึ้นมาทำหน้าที่รับฝากใบหุ้นในระบบตลาด รวมทั้งทำหน้าที่เป็น

ศูนย์กลางในการหักบัญชีในการโอนหุ้นระหว่างสมาชิกด้วยความสะดวกรวดเร็วและถูกต้อง

2.3.8ได้มีการเปิดตลาดสู่นานาชาติ และมีผลทำให้นักลงทุนต่างชาติได้ร่วมกันจัดตั้งกองทุนขึ้นมา

เพื่อทำการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ของไทยคือกองทุนBangkokFundเมื่อพ.ศ.2528และกองทุน

ThailandFundเมื่อพ.ศ.2529จากนั้นมีกองทุนต่างชาติจัดตั้งขึ้นอีกหลายกองทุน

2.3.9เข้าเป็นสมาชิกสหพันธ์ตลาดหลักทรัพย์นานาชาติ Federation International desValeurs

หรือ FIBV และเข้าเป็นสมาชิกสมทบขององค์กรคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์นานาชาติ

InternationalOrganizationofSecuritiesCommission หรือIOSCO

2.3.10 เปลี่ยนระบบการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แบบเคาะกระดาน (post on board) เป็นระบบ

ASSET:AutomatedSystem for The StockExchange of Thailand โดยระบบนี้ลูกค้าไม่ต้องมาที่ห้องค้า

หลักทรัพย์ใช้การซื้อขายผ่านระบบinternet

จะเห็นได้ว่า มีการพัฒนาการของตลาดหลักทรัพย์ในทุกๆด้านด้านการพัฒนาตลาดบุคลากร วิธีการและ

มาตรการต่างๆที่เป็นสากลมากยิ่งขึ้นและจากการที่ได้รับการยอมรับทั้งนักลงทุนไทยและนักลงทุนต่างชาติตลอดจน

องค์การการค้าตลาดหลักทรัพย์นานาประเทศ ทำให้ในที่สุดทุกอย่างนั้นต้องเป็นระบบสากลให้ได้มากที่สุด ซึ่ง

ทำให้ต้องมาแก้ไขหลักการต่างๆที่เกี่ยวกับตลาดหลักทรัพย์ที่ยังไม่เป็นไปในทางเดียวกัน จึงได้มีการแก้ไขพ.ร.บ.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเป็นพ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยพ.ศ.2535และแก้ไข

หลักการสำคัญๆในพ.ร.บ.บริษัทมหาชนจำกัดพ.ศ.2535ตลอดจนป.พ.พ.เมื่อพ.ศ.2535ด้วยเช่นกัน

3.ช่วงที่กำหนดว่าบริษัทมหาชนเท่านั้นที่จะเข้าตลาดหลักทรัพย์ได้(บริษัทจดทะเบียน)ในพ.ศ. 2535 ได้มีการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องถึง 3ฉบับตามที่ได้กล่าวมาแล้ว ทั้งบริษัทมหาชนจำกัด

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และตลาดหลักทรัพย์ หลักการที่สำคัญคือ บริษัทที่จะเข้าตลาดได้จะมีเฉพาะ

บริษัทจดทะเบียนเท่านั้น และบริษัทจดทะเบียนได้ต้องเป็นบริษัทมหาชนจำกัดเท่านั้น ความกังวลเรื่องบริษัทจำกัด

Page 61: หน่วย ที่ 3 หุ้น ส่วน บริษัท องค์กร ธุรกิจ อื่น และ ... · เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า

3-61หุ้นส่วนบริษัทองค์กรธุรกิจอื่นและตลาดหลักทรัพย์

กับบริษัทมหาชนจำกัดนั้นหมดสิ้นไป เนื่องจากตลาดหลักทรัพย์นั้นเป็นที่แพร่หลายกว้างขวางมากขึ้นทั้งในประเทศ

ตลอดจนเป็นสากลขึ้นทำให้นักลงทุนต่างชาติรู้จักและสนใจตลาดหลักทรัพย์ไทย และได้พยายามพัฒนาในทุกๆ

ด้านเพื่อสู่ความเป็นสากลอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ ให้มีคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และ

ตลาดหลักทรัพย์เป็นผู้มีอำนาจในการกำกับดูแลกิจการของหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ สามารถออกกฎเกณฑ์

ต่างๆในการบริหารจัดการได้ตามอำนาจหน้าที่

ได้ทำการเปิดตลาดหลักทรัพย์ใหม่ขึ้นมาอีกหนึ่งตลาด เพื่อรองรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ชื่อว่า

ตลาดเอ็มเอไอ (MAI)เมื่อ2กันยายนพ.ศ.2545 ทำหน้าที่เป็นตลาดรองเช่นเดียวกับตลาดหลักทรัพย์เพียงแต่

แยกตลาดกันที่ธุรกิจที่มีทุนจดทะเบียนที่เป็นหุ้นสามัญที่ชำระแล้วตั้งแต่40ล้านแต่ไม่เกิน200ล้าน(ปัจจุบันไม่

น้อยกว่า20ล้านและไม่ถึง300ล้าน)จะมาทำการซื้อขายกันที่ตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอและมีดัชนีของเอ็มเอไอ

ชื่อMAI INDEX

การดำเนินการตลาดหลักทรัพย์ทั้งสองคือตลาดSETและตลาดMAIจึงทำหน้าที่คู่ขนานกันไป โดยแต่ละ

ตลาดจะมีสินค้าที่เป็นหลักทรัพย์ที่หลากหลายมากขึ้นมีทั้งตราสารทุนตราสารหนี้ ตราสารอนุพันธุ์และอื่นๆ

3.1ตราสารทุน (Equity Instruments) เป็นตราสารที่กิจการออกให้แก่ผู้ถือ (Holder) เพื่อระดมเงินทุนไป

ใช้ในกิจการโดยผู้ถือตราสารทุนจะมีฐานะเป็น“เจ้าของกิจการ”รวมทั้งมีส่วนได้เสียหรือมีสิทธิในทรัพย์สินและราย

ได้ของกิจการและมีโอกาสจะได้รับผลตอบแทนเป็นเงินปันผล(Dividend) โดยทั่วไปแล้วตราสารทุนมีหลายประเภท

ดังนี้

3.1.1 หุ้นสามัญ(CommonStock)เป็นตราสารประเภทหุ้นทุนซึ่งออกโดยบริษัทมหาชนจำกัด

3.1.2 หุน้บรุมิสทิธิ(PreferredStock)เป็นตราสารประเภทหุ้นทุนที่ผู้ถือมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของกิจการ

เช่นเดียวกับหุ้นสามัญมีข้อแตกต่างจากหุ้นสามัญคือผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิจะได้รับสิทธิที่ดีกว่าหุ้นสามัญเช่นได้รับชำระ

คืนเงินทุนก่อนผู้ถือหุ้นสามัญในกรณีที่บริษัทเลิกกิจการ

3.1.3 ใบสำคญัแสดงสทิธิหรอืวอแรนท์(Warrant)เปน็ตราสารที่ให้สทิธิแก่ผู้ถอืในการซือ้หลกัทรพัย์ที่

ใบสำคัญแสดงสิทธินั้นอ้างอิงอยู่(UnderlyingAsset)ตามราคาใช้สิทธิ(ExercisePrice)จำนวนที่ให้ใช้สิทธิ(นิยม

ใช้เป็นอัตราส่วน)และภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ล่วงหน้า

3.1.4 หน่วยลงทุน (UnitTrust) หลักทรัพย์ที่ออกขายโดยบริษัทจัดการลงทุนเพื่อระดมเงินเข้า

กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้น แล้วจัดสรรเงินในกองทุนนั้นลงทุนในตลาดการเงินตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในหนังสือชี้ชวน

ผู้ถือหน่วยลงทุนมีฐานะร่วมเป็นเจ้าของกองทุนนั้นๆและมีสิทธิได้รับเงินปันผลตอบแทนจากผลกำไรที่เกิดขึ้น

3.1.5 ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยหรือ เอ็นวีดีอาร์ (Non -Voting

DepositaryReceipt:NVDR)เป็นตราสารที่ออกโดยบริษัทไทยเอ็นวีดีอาร์จำกัดมีสถานะเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน

โดยอัตโนมัติ(AutomaticList)และมีหลักทรัพย์อ้างอิง(UnderlyingAsset)เป็นหุ้นสามัญหุ้นบุริมสิทธิใบสำคัญ

แสดงสิทธิหรือใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ

3.1.6 ใบแสดงสทิธิในผลประโยชน์ที่เกดิจากหลกัทรพัย์อา้งองิ(DepositoryReceipt:DR) เป็นตราสาร

ที่ออกและเสนอขายโดยบริษัทสยามดีอาร์จำกัดเป็นหลักทรัพย์ที่ให้สิทธิอ้างอิงอาจเป็นได้ทั้งหุ้นสามัญหุ้นกู้หุ้นกู้

แปลงสภาพผู้ลงทุนที่ถือDRจะได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆเช่นเดียวกับผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนทุกประการ

3.2ตราสารหนี้เป็นตราสารการเงินที่เป็นสัญญาแสดงความเป็นหนี้ระหว่างผู้ออกและผู้ถือตราสารหนี้(หรือ

ที่เรียกว่า“ผู้ลงทุน”)ตราสารหนี้ต้องมีกำหนดอายุและอัตราดอกเบี้ยหรือผลประโยชน์อื่นใดเป็นจำนวนที่แน่นอนโดย

ระบุวันที่ชำระดอกเบี้ยและเงินต้นล่วงหน้าตั้งแต่เมื่อออกตราสารนั้นและในระหว่างที่ยังไม่ครบกำหนดอายุรวมถึงวัน

ไถ่ถอนนอกจากนี้ตราสารหนี้ยังสามารถซื้อขายโอนเปลี่ยนมือกันได้

Page 62: หน่วย ที่ 3 หุ้น ส่วน บริษัท องค์กร ธุรกิจ อื่น และ ... · เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า

3-62 กฎหมายธุรกิจ

ผู้ออกตราสารหนี้คือผู้กู้เงินจากผู้ที่ซื้อตราสารหนี้ดังนั้นผู้ออกจึงเป็น“ลูกหนี้”ในขณะที่ผู้ซื้อคือ“ผู้ให้กู้”

หรือ“เจ้าหนี้”นั่นเองซึ่งแตกต่างจากตราสารทุนหรือหุ้นสามัญที่ผู้ถือตราสารทุนนั้นจะลงทุนในส่วนของผู้ถือหุ้นและ

มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของกิจการนั้นๆไม่ใช่เป็นเจ้าหนี้ตราสารหนี้เป็นคำศัพท์กว้างๆแต่ที่ท่านอาจคุ้นเคยมากกว่าคือ

“พันธบัตร”และ“หุ้นกู้”โดยพันธบัตรมักใช้เรียกตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจส่วนหุ้นกู้จะถูกเรียกใช้

เมื่อออกโดยบริษัทเอกชนในต่างประเทศจะใช้คำว่า“Bond”สำหรับตราสารหนี้ทั่วไปทั้งที่ออกโดยรัฐบาลและเอกชน

แต่จะมีในบางกรณีที่อาจจะเรียกว่า“Debenture”เมื่อตราสารหนี้นั้นไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน

3.3ตราสารอนพุนัธ์เป็นสัญญาหรือเครื่องมือทางการเงินที่มูลค่าของสัญญาขึ้นอยู่กับมูลค่าของสินค้าอ้างอิง

(UnderlyingAsset)ตราสารอนุพันธ์แบ่งออกเป็นหลายประเภทเช่นออปชั่น(Options)สวอป (Swap)ฟอร์เวิร์ด

(Forward) และฟิวเจอร์ส (Futures)นักลงทุนสามารถเข้ามาซื้อขายตราสารอนุพันธ์ได้ที่ตลาดอนุพันธ์ (Thailand

Futures Exchange – TFEX) ซึ่งได้เปิดให้บริการซื้อขายฟิวเจอร์สของดัชนี SET50 (SET50 Index Futures)

เป็นลำดับแรกเมื่อวันที่28เมษายนพ.ศ.2549และได้กำหนดเปิดซื้อขายออปชั่นของดัชนีSET50(SET50Index

Options) ในวันที่ 29 ตุลาคมพ.ศ. 2550 สำหรับฟิวเจอร์สและออปชั่นของสินค้าอ้างอิงประเภทอื่นๆนั้น จะได้

ดำเนินการในลำดับถัดไป

สำหรับในเรื่องของดัชนีราคาหุ้นก็จะเป็นสัญลักษณ์แทนหลายๆอย่างของตลาดหลักทรัพย์ในแต่ละประเทศ

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่การสื่อสารด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยผู้ที่เกี่ยวข้องมักจะเสนอข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจผ่าน

สื่อต่างๆและข้อมูลหนึ่งที่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งในการรายงานก็คือดัชนีหุ้นของแต่ละตลาด ซึ่งในปัจจุบันประชาชนโดย

ทั่วไปมักจะรู้จักตลาดหลักทรัพย์ของประเทศต่างๆผ่านทางชื่อดัชนีราคาหุ้น (Price Index) ของตลาดหลักทรัพย์

นั้นๆมากกว่าจะรู้จักชื่อของตลาดหลักทรัพย์นั้นๆสำหรับดัชนีของตลาดหลักทรัพย์ที่เป็นที่รู้จักและน่าสนใจมีดังนี้

ประเทศ ตลาดหลักทรัพย์ ดัชนีราคาหุ้น

สหรัฐอเมริกา ตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก(NYSE) ดาวโจนส์

สหรัฐอเมริกา ตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก(NYSE) เอสแอนด์พี500

สหรัฐอเมริกา แนสแด็ก(NASDAQ) แนสแด็ก

อังกฤษ ตลาดหลักทรัพย์ลอนดอน ฟุตซี่

สิงคโปร์ ตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ สเตรทไทมส์

ญี่ปุ่น ตลาดหลักทรัพย์โตเกียว นิกเคอิ

จีน ตลาดหลักทรัพย์เซี่ยงไฮ้ เซี่ยงไฮ้คอมโพสิต

ฮ่องกง ตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง ฮั่งเส็ง

ไทย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย SET

ไทย ตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ MAI

สรุปแล้วจะเห็นได้ว่า การดำเนินกิจการของตลาดหลักทรัพย์นับแต่มีแนวคิดที่เริ่มต้นที่จะสร้างตลาดขึ้นมา

ในประเทศไทยตั้งแต่พ.ศ.2517จากนั้นก็พัฒนาขึ้นมาในทุกๆด้านทั้งในส่วนของการพัฒนาตัวตลาดการบริหาร

งานการกำกับดูแลทุกอย่างนั้นมุ่งสู่ระดับสากลและให้เป็นที่ยอมรับของทั้งตลาดหลักทรัพย์ของนานาประเทศและที่

Page 63: หน่วย ที่ 3 หุ้น ส่วน บริษัท องค์กร ธุรกิจ อื่น และ ... · เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า

3-63หุ้นส่วนบริษัทองค์กรธุรกิจอื่นและตลาดหลักทรัพย์

สำคัญอย่างยิ่งคือนักลงทุนทั่วโลกไม่จำกัดเฉพาะนักลงทุนไทยเท่านั้นปัจจุบันประเทศไทยคือหนึ่งในตลาดหลักทรัพย์

ที่เป็นที่ยอมรับของนานาประเทศตามความมุ่งหมายแต่เริ่มแรกอย่างน่าภูมิใจ

กิจกรรม3.4.2

การคำนวณราคาดัชนีหลักทรัพย์ จะมีปัจจัยตัวหนึ่งที่นำมาเป็นฐานในการคำนวณคือ “วันฐาน” ให้

อธิบายวันฐานตามที่ท่านเข้าใจและระบุวันฐานของตลาดหลักทรัพย์ไทยทั้งตลาดSETและตลาดMAI

แนวตอบกิจกรรม3.4.2

วนัฐานคอืวนัที่เปดิตลาดหลกัทรพัย์ของแตล่ะตลาดซึง่จะนำเอาตวัเลขของมลูคา่ตลาดรวมในวนัเปดิ

ทำการวันแรกมาเป็นตัวคำนวณหาดัชนีตลาดหลักทรัพย์ณวันปัจจุบัน

สำหรับวันฐานของตลาดหลักทรัพย์ SETคือ วันที่ 30 เมษายนพ.ศ. 2518และสำหรับวันฐานของ

ตลาดหลักทรัพย์MAIคือวันที่2กันยายนพ.ศ.2545

เรื่องที่3.4.3

การกำกับตลาดหลักทรัพย์

ด้วยเจตนารมณ์ของการจัดตั้งตลาดหลักทรัพย์ในประเทศไทยตั้งแต่พ.ศ.2518มาจนถึงปัจจุบันที่เติบโต

มาตามลำดับจนในปัจจุบันถือได้ว่าเป็นสากลทัดเทียมนานาประเทศ นับว่าเป็นพัฒนาการที่บรรลุผลตามเจตนารมณ์

ที่ต้องการให้การซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดมีสภาพคล่อง เป็นระเบียบ และมีระบบที่สร้างความยุติธรรมซึ่งปัจจัย

ที่สำคัญในการดำเนินการกิจการของตลาดหลักทรัพย์ก็คือ การให้ข้อมูลของสินค้าคือบริษัทจดทะเบียนต่อผู้ลงทุน

อย่างรวดเร็ว ถูกต้องและเท่าเทียมกัน จึงจำต้องกำหนดกติกาต่างๆ เพื่อให้บริษัทจดทะเบียนต้องปฏิบัติตามทั้งนี้

เพื่อความเป็นธรรมและโปร่งใสต่อทุกฝ่าย การกำกับดูแลจึงถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญของการพัฒนาตลาดหลักทรัพย์

ให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งการกำกับดูแลมีกลไกที่สำคัญอันได้แก่ โครงสร้างในการกำกับดูแล เจตนารมณ์การก้าวสู่

สากล มาตรการและเทคโนโลยีและอื่นๆ

1.โครงสร้างในการกำกับดูแลสำหรับการกำกับดูแลในลักษณะที่เป็นโครงสร้างตั้งแต่เปิดดำเนินการมาจนถึงปัจจุบันมีอยู่2ช่วงคือก่อนมี

คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และเมื่อมีคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

1.1 ก่อนมีคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ โครงสร้างในการบริหารและกำกับดูแล

ตลาดหลักทรัพย์ในยุคก่อนมีคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์คือช่วงตั้งแต่เปิดตลาดหลักทรัพย์

แหง่ประเทศไทยจนถงึกอ่นมีพ.ร.บ.หลกัทรพัย์และตลาดหลกัทรพัย์แหง่ประเทศไทยซึง่ในชว่งดงักลา่วการบรหิารงาน

ของตลาดหลักทรัพย์นั้นจะบริหารงานโดยคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ซึ่งโครงสร้างของกรรมการจะประกอบด้วย

Page 64: หน่วย ที่ 3 หุ้น ส่วน บริษัท องค์กร ธุรกิจ อื่น และ ... · เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า

3-64 กฎหมายธุรกิจ

กรรมการ4คนที่มาจากการแต่งตั้งโดยรัฐมนตรีกระทรวงการคลังและกรรมการอีก4คนจะมาจากการเลือกตั้งจาก

บริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์ และมีผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ที่มาจากกรรมการเป็นผู้แต่งตั้ง

อำนาจในการกำกับดูแลในช่วงเวลาดังกล่าวจะเป็นอำนาจของรัฐมนตรีกระทรวงการคลังเป็นผู้ที่มีอำนาจใน

การกำหนดหลักเกณฑ์เงื่อนไขต่างๆในการเป็นบริษัทจดทะเบียนหลักทรัพย์จดทะเบียนหรือหลักทรัพย์รับอนุญาต

คณะกรรมการมีหน้าที่เป็นผู้เสนอให้รัฐมนตรีเป็นผู้อนุญาตดังนั้นในยุคนั้นการขออนุญาตเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน

จะใช้เวลานานพอสมควรซึ่งทำให้การดำเนินการไม่คล่องตัวต่อการบริหารงานตลาดหลักทรัพย์ในยุคเริ่มต้น

1.2เมือ่มีคณะกรรมการกำกบัหลกัทรพัย์และตลาดหลกัทรพัย์ ชว่งนี้คอืชว่งตัง้แต่พ.ศ.2535คอืชว่งที่มีพ.ร.บ.

หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ในช่วงนี้กฎหมายกำหนดให้มีหน่วยงานที่มากำกับดูแลกิจการ

ตลาดหลักทรัพย์และในกิจการที่เกี่ยวข้องกับตลาดหลักทรัพย์ทั้งหมด โดยกฎหมายกำหนดให้มีคณะกรรมการกำกับ

หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์หรือที่เรียกว่าคณะกรรมการก.ล.ต.มีอำนาจหน้าที่ในการวางนโยบายการส่งเสริม

และพฒันาตลอดจนกำกบัดแูลกจิการทัง้ในเรือ่งหลกัทรพัย์ธรุกจิหลกัทรพัย์ตลาดหลกัทรพัย์ศนูย์ซือ้ขายหลกัทรพัย์

และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง การออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนและที่สำคัญคือการป้องกันการกระทำอันไม่เป็น

ธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ โดยให้มีสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่มีฐานะ

เป็นนิติบุคคลมีความเป็นอิสระทำหน้าที่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามมติของคณะกรรมการก.ล.ต. และมีเลขาธิการซึ่ง

แต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรีเป็นผู้รับผิดชอบในกิจการทั้งหลายทั้งปวงของสำนักงานดังกล่าว

สำหรับการบริหารงาน ยังคงมีคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์เป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งมีคณะกรรมการตาม

สัดส่วนเหมือนเดิมคือมาจากภาครัฐแต่งตั้งกึ่งหนึ่งไม่เกิน5คนและจากสมาชิกตลาดหลักทรัพย์อีกกึ่งหนึ่งไม่เกิน

5คนโดยมีผู้จัดการอีกหนึ่งคนเป็นกรรมการ จึงเห็นได้ว่าในช่วงที่มีคณะกรรมการก.ล.ต.นี้โครงสร้างในการบริหาร

จัดการและการกำกับดูแลแตกต่างกันไปแต่เป็นไปในทางที่มุ่งเน้นในการจัดโครงสร้างในการบริหารและการกำกับดูแล

ที่เป็นระบบเอื้อต่อการพัฒนาและเป็นสากลยิ่งขึ้นกว่าในช่วงแรก

2.เจตนารมณ์การก้าวสู่สากลด้วยการก้าวเดินของตลาดหลักทรัพย์ตลอดเวลาที่ดำเนินการจะมุ่งเน้นสู่การเป็นตลาดหลักทรัพย์ที่ทันสมัย

ทัดเทียมกับตลาดหลักทรัพย์นานาประเทศ ซึ่งมีการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตลาดหลักทรัพย์เพื่อให้สอดคล้อง

และเน้นการกระตุ้นพัฒนาตลาดหลักทรัพย์ให้เข้าสู่ระบบสากล ถึง 2 ครั้งใหญ่ๆ ด้วยกัน คือพ.ศ. 2521 ที่ได้มี

พ.ร.บ.บริษัทมหาชนจำกัดได้แก้ไขป.พ.พ.ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับบริษัทจำกัด และพ.ศ.2535ที่แก้ไขทั้งพ.ร.บ.

ตลาดหลักทรัพย์ พ.ร.บ. บริษัทมหาชนจำกัด รวมทั้ง ป.พ.พ. และที่สำคัญคือในพ.ศ. 2535นี้ได้แก้ไขทุกอย่างใน

ลักษณะที่พิจารณาแบบองค์รวมคือแก้ไขทั้งระบบหรือจะเรียกว่าบูรณาการทางความคิด โดยมุ่งเน้นให้อิสระกับ

การดำเนินงานของตลาดภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานที่เป็นอิสระคือคณะกรรมการก.ล.ต.ให้เป็นผู้มีอำนาจ

ในการกำกับดูแลเพียงหน่วยงานเดียว ทุกหน่วยงานที่เคยเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นการดูแลบริษัทหลักทรัพย์ ซึ่งเดิม

ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้กำกับดูแล การดูแลบริษัทมหาชนจำกัด ซึ่งเดิมกระทรวงพาณิชย์เป็นผู้ดูแลและการ

ดูแลตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งเดิมกระทรวงการคลังเป็นผู้ดูแล ทั้งหมดให้มาอยู่ภายใต้การกำกับดูแลที่เป็นเอกภาพ คือ

คณะกรรมการก.ล.ต.เพียงหน่วยงานเดียวเท่านั้น

3.มาตรการและเทคโนโลยีจากโครงสร้างและเจตนารมณ์ที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น จะเห็นได้ว่าตลาดหลักทรัพย์ได้พยายามหามาตรการ

มาใช้ในตลาดหลักทรัพย์และกิจการที่เกี่ยวข้องกับตลาดหลักทรัพย์ ทั้งกระตุ้น ส่งเสริมพัฒนา จัดตั้งศูนย์ต่างๆที่

Page 65: หน่วย ที่ 3 หุ้น ส่วน บริษัท องค์กร ธุรกิจ อื่น และ ... · เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า

3-65หุ้นส่วนบริษัทองค์กรธุรกิจอื่นและตลาดหลักทรัพย์

นำเอาเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในระบบของการซื้อขายการเผยแพร่ข้อมูลต่อผู้ลงทุน และอื่นๆ ซึ่งมาตรการและ

เทคโนโลยีที่สำคัญๆมีดังนี้

3.1มาตรการในการกำกับดูแลบริษัทจดทะเบียน เช่น

3.1.1การรับหลักทรัพย์จดทะเบียน ได้กำหนดคุณสมบัติของบริษัทที่จะยื่นคำขอเข้าจดทะเบียนใน

ตลาดหลักทรัพย์ โดยคำนึงถึงคุณสมบัติทั้งในเชิงตัวเลขและคุณภาพ เช่น ฐานะการเงินและผลการดำเนินการที่ดี

มีการประกอบธุรกิจอย่างต่อเนื่องมาระยะเวลาหนึ่ง ไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ มีระบบการควบคุมภายในที่ดี

ผู้บริหารมีคุณสมบัติเหมาะสมรวมถึงมีการกระจายหุ้นที่พอเพียงเพื่อให้หุ้นนั้นมีสภาพคล่องในการซื้อขายเป็นต้น

3.1.2 การเปิดเผยข้อมูลที่สำคัญ ได้กำหนดให้บริษัทจดทะเบียนต้องเปิดเผยข้อมูลสำคัญ ที่จะมี

ผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้ลงทุนโดยกำหนดให้มีข้อมูล2ประเภทคือข้อมูลที่เกิดขึ้นตามรอบระยะเวลาบัญชี

ได้แก่งบการเงินรายไตรมาสงบการเงินประจำปีแบบ56-1และรายงานประจำปี ข้อมูลที่เกิดขึ้นตามเหตุการณ์เช่น

การประกาศจ่าย/งดจ่ายปันผลการเพิ่มทุนการลงทุนการซื้อขายทรัพย์สินที่สำคัญการควบรวมกิจการเป็นต้น

โดยกำหนดให้บริษัทจดทะเบียนต้องเปิดเผยข้อมูลนั้นมายังตลาดหลักทรัพย์ทันทีที่มีเหตุการณ์เกิด

ขึ้นหรืออย่างน้อยก่อน9.00น.ของวันทำการถัดไปโดยเผยแพร่ผ่านระบบเผยแพร่ข้อมูลที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด

เป็นการล่วงหน้า ก่อนเปิดทำการซื้อขายหลักทรัพย์ในแต่ละรอบอย่างน้อยหนึ่งชั่วโมงหรือภายหลังตลาดหลักทรัพย์

ปิดทำการซื้อขายแล้วโดยต้องจัดทำข้อมูลทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

3.1.3 การดำรงสถานะเปน็บรษิทัจดทะเบยีนกำหนดให้บริษัทจดทะเบียนต้องดำรงคุณสมบัติสำคัญ

ไว้ตลอดเวลาที่เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ไม่ว่าจะเป็นคุณสมบัติด้านสภาพคล่องในการซื้อขาย

หลกัทรพัย ์การไมม่ีความขดัแยง้ทางผลประโยชน ์หรอืคณุสมบตัิของบคุคลตา่งๆที่เกีย่วขอ้งเชน่กรรมการตรวจสอบ

ผู้บริหารและผู้สอบบัญชี

3.1.4 การเพกิถอนหลกัทรพัย์เปน็จดทะเบยีน ได้กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับการเพิกถอน

หลักทรัพย์เพื่อรักษาสิทธิประโยชน์ของผู้ลงทุนเนื่องจากการเพิกถอนหลักทรัพย์ส่งผลกระทบต่อสิทธิประโยชน์ของ

ผู้ลงทุนและสภาพคล่องของหลักทรัพย์ของผู้ลงทุนทั้งนี้การเพิกถอนหลักทรัพย์มี2ลักษณะคือ

1) ตลาดหลักทรัพย์สั่งเพิกถอน เมื่อบริษัทมีคุณสมบัติไม่เหมาะสมเป็นบริษัทจดทะเบียน

ตลาดหลักทรัพย์อาจสั่งเพิกถอนบริษัทจดทะเบียน เมื่อฐานะการเงินและผลการดำเนินงานไม่เป็นไปตามที่ตลาด

หลักทรัพย์กำหนด หรือเมื่อบริษัทจดทะเบียนขาดคุณสมบัติหรือฝ่าฝืนหรือละเลยต่อการปฏิบัติตามข้อกำหนดอย่าง

ร้ายแรง หรือเมื่อบริษัทจดทะเบียนที่หน่วยงานทางการสั่งให้ปิดกิจการชำระบัญชีเพื่อเลิกกิจการ หรือกรณีศาลสั่ง

พิทักษ์ทรัพย์ หรือการดำเนินการฟื้นฟูกิจการไม่สำเร็จ เป็นผลให้ศาลพิทักษ์ทรัพย์หรือล้มละลายตลาดหลักทรัพย์

อาจพิจารณาเพิกถอนหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนได้เช่นกัน

2) บรษิทัจดทะเบยีนขอเพกิถอนโดยสมคัรใจ กรณีนี้ตลาดหลกัทรพัย์จะถอืวา่เปน็ความสมคัรใจ

ระหว่างบริษัทจดทะเบียนและผู้ลงทุน ดังนั้นหากที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนมีมติให้เพิกถอนด้วยคะแนน

เสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของทุนชำระแล้ว และไม่มีผู้คัดค้านเกินกว่าร้อยละ 10 บริษัทจดทะเบียนก็สามารถที่จะ

เพิกถอนหลักทรัพย์จากตลาดหลักทรัพย์ได้ ทั้งนี้ บริษัทต้องจัดให้มีการทำคำเสนอซื้อเพื่อซื้อหุ้นคืนจากผู้ถือหุ้น

รายย่อยด้วย

3.1.5การเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมกับตลาดหลักทรัพย์ในการรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องไม่

ว่าจะเป็นกรณีที่มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์ หรือการออกหลักเกณฑ์ใหม่ๆ เพื่อมิให้เกิดข้อติดขัดในทางปฏิบัติ รวม

ทั้งการให้บริษัทจดทะเบียนมีความรู้ความเข้าใจในหลักการของข้อกำหนดต่างๆ ร่วมกัน ตลอดจนการจัดอบรมและ

เผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตามข้อกำหนดและพัฒนาการที่สำคัญให้แก่กรรมการผู้บริหาร และ

เจ้าหน้าที่ของบริษัทจดทะเบียนเป็นประจำ

Page 66: หน่วย ที่ 3 หุ้น ส่วน บริษัท องค์กร ธุรกิจ อื่น และ ... · เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า

3-66 กฎหมายธุรกิจ

3.2เทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการปกปอ้งผู้ลงทนุและการกำกบัดแูลการซือ้ขายในตลาดให้เกดิความเทา่เทยีมกนั

โดยตลาดหลักทรัพย์ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการตรวจสอบการซื้อขายซึ่งเป็นการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและเป็นการ

อำนวยความสะดวกในการทำงานให้แก่เจ้าหน้าที่

ระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในงานตรวจสอบทั้งหมดเรียกว่า“AutomatedToolsofMarketSurveillance”

หรือATOMSซึ่งเป็นโปรแกรมที่ช่วยในการติดตามการซื้อขายและใช้วิเคราะห์ตรวจสอบการกระทำผิดรวมทั้งเป็น

ฐานข้อมูลสำหรับการทำรายงานการตรวจสอบทำให้สามารถติดตามการซื้อขายที่ผิดปกติได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ในการตรวจสอบการซื้อขายด้วยเทคโนโลยีระบบATOMS สามารถตรวจสอบการกระทำที่เข้าข่ายเป็นการ

กระทำผิดตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ.2535 ได้ดังนี้

-การซื้อขายหลักทรัพย์โดยอาศัยข้อมูลภายใน(InsiderTrading)

-การสร้างราคาหลักทรัพย์เพื่อให้ผู้อื่นหลงผิด (MarketManipulation)

-การปล่อยข่าวลือหรือกล่าวข้อความอันเป็นเท็จ(Misstatement)

เทคโนโลยีนี้จะสามารถตรวจสอบความเคลื่อนไหวต่างๆ ตามโปรแกรมที่มีอยู่ ในลักษณะที่เป็นการ

ส่งสัญญาณให้ทราบ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ทราบความเคลื่อนไหวและเข้าไปดำเนินการตามมาตรการและการดำเนินการ

หากบริษัทจดทะเบียนกระทำผิดต่อไป

นอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้ว ตลาดหลักทรัพย์ยังได้พยายามที่จะสร้างหลักการตลอดจนแนวคิดต่างๆที่

พัฒนาไปตามสถานการณ์แวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาหลายกรณีที่ได้เกิดผลขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมและเป็น

ประโยชน์อย่างยิ่งต่อการดำเนินกิจการของตลาดหลักทรัพย์อันได้แก่

1) ในพ.ศ.2542ได้ออกข้อ บังคับ ให้ บริษัท จด ทะเบียน ต้อง จัด ตั้ง คณะ กรรมการ ตรวจ สอบ ภายใน

2) ในพ.ศ.2542 ได้จัดทำข้อ พึง ปฏิบัติ ที่ ดี สำหรับ กรรมการ บริษัท จด ทะเบียน (Code of Best Practice for

Directors of Listed Companies)เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการปฏิบัติงานของกรรมการ

3) ในพ.ศ.2544คณะ อนกุรรมการ เพือ่ พฒันา ระบบ การ กำกบั ดแูล กจิการ ที ่ด ี(Good Corporate Governance

Committee)ประกอบด้วยผู้แทนจากองค์กรวิชาชีพต่างๆได้เผยแพร่รายงานการกำกับดูแลกิจการฉบับล่าสุดเพื่อให้

องค์กรในตลาดทุนที่จะพัฒนาระบบการกำกับดูแลกิจการของตนได้นำไปใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาปฏิบัติตามที่

เห็นว่าเหมาะสม

4) ในพ.ศ.2545ได้เสนอหลัก การ กำกับ ดูแล กิจการ ที่ ดี 15 ข้อ (ตามแนวนโยบายของรัฐบาลที่ได้กำหนดให้

เป็นปีเริ่มต้นรณรงค์เรื่องการกำกับดูแลกิจการที่ดีโดยจัดตั้งคณะกรรมการบรรษัทภิบาลแห่งชาติขึ้นมา)ให้แก่บริษัท

จดทะเบียน เพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติและกำหนดให้บริษัทจดทะเบียนทุกบริษัทต้องเปิดเผยการปฏิบัติตาม

หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี15 ข้อตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุดวันที่31ธันวาคมพ.ศ.2545เป็นต้นไปเพื่อให้

บริษัทจดทะเบียนสามารถนำหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีไปปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม

5)ตลาดหลักทรัพย์ได้จัดตั้งศูนย์ พัฒนาการ กำกับ ดูแล กิจการ บริษัท จด ทะเบียน (Corporate Governance

Center)ขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคมพ.ศ.2545เพื่อทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการให้คำปรึกษา และแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น

เกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการให้แก่กรรมการและผู้บริหารของบริษัทจดทะเบียนปัจจุบัน รวมทั้งบริษัทที่อยู่ระหว่าง

การเตรียมการเพื่อเข้าจดทะเบียนจนถึงปัจจุบัน

สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งที่ใช้ในการควบคุมกำกับดูแลกิจการตลาดหลักทรัพย์ก็คือ มาตรการการลงโทษ

กรณีที่มีผู้กระทำหรือฝ่าฝืนหลักเกณฑ์หรือกติกาต่างๆที่กำหนดเอาไว้ ซึ่งได้กำหนดรายละเอียดไว้เป็นกระบวนการ

พิจารณาดังนี้

Page 67: หน่วย ที่ 3 หุ้น ส่วน บริษัท องค์กร ธุรกิจ อื่น และ ... · เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า

3-67หุ้นส่วนบริษัทองค์กรธุรกิจอื่นและตลาดหลักทรัพย์

เมื่อเกิดการกระทำที่ตลาดหลักทรัพย์เห็นว่าอาจเป็นการฝ่าฝืนข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ หน่วยงาน

ภายในตลาดหลักทรัพย์ที่มีหน้าที่โดยตรงในการกำกับดูแลการซื้อขายหลักทรัพย์การดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียน

หรือบริษัทสมาชิกแล้วแต่กรณี จะทำหน้าที่ในการตรวจสอบหรือสอบถามข้อเท็จจริงจากผู้ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำ

ดังกล่าว และรวบรวมข้อมูล เอกสารหลักฐานส่งให้แก่ฝ่ายวินัยและคดี เพื่อให้ดำเนินการพิจารณาตามกระบวนการ

พิจารณาความผิดทางวินัยโดยแจ้งข้อกล่าวหาแก่ผู้กระทำผิด ผู้ถูกกล่าวหาทำคำแก้ข้อกล่าวหาภายใน15วันจาก

นั้นคณะอนุกรรมการวินัยเป็นผู้วินิจฉัยเพื่อดำเนินการลงโทษต่อไป

ในกรณีที่มีการพิจารณาและออกคำสั่งลงโทษแล้วหากผู้ถูกลงโทษไม่เห็นด้วยกับผลการพิจารณาและคำสั่ง

ลงโทษดังกล่าว หรือต้องการแสดงเอกสารหลักฐานใหม่เพิ่มเติมเพื่อแสดงว่าไม่ได้กระทำผิดตามที่ถูกลงโทษผู้ถูก

ลงโทษสามารถโต้แย้งคำสั่งลงโทษนั้นได้ โดยการอุทธรณ์คำสั่งลงโทษตามกระบวนการพิจารณาและวินิจฉัยอุทธรณ์

คอืยืน่อทุธรณ์ภายใน15วนัซึง่มีคณะกรรมการอทุธรณ์เปน็ผู้พจิารณากอ่นนำเสนอใหค้ณะกรรมการตลาดหลกัทรพัย์

พิจารณาสั่งการต่อไป

กิจกรรม3.4.3

ชื่อเต็มของคณะกรรมการก.ล.ต. คืออะไร และมีขึ้นตามกฎหมายใด จงบอกหน้าที่ที่สำคัญมาสัก

2ประการ

แนวตอบกิจกรรม3.4.3

ชื่อเต็มของคณะกรรมการก.ล.ต.คือคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์มีขึ้นตาม

พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ.2535และมีหน้าที่ที่สำคัญดังนี้

1. ออกกฎระเบียบต่างๆ เพื่อให้การดำเนินการในกิจการตลาดหลักทรัพย์สามารถดำเนินการได้อย่าง

โปร่งใสและเป็นธรรมต่อนักลงทุน

2. พิจารณาสั่งการในการลงโทษผู้กระทำผิดวินัยในการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ ในกรณีที่มีการ

อทุธรณ์คำสัง่วนิจิฉยัของคณะอนกุรรมการวนิยัที่คณะกรรมการอทุธรณ์ได้ทำความเหน็มาสู่คณะกรรมการก.ล.ต.

Page 68: หน่วย ที่ 3 หุ้น ส่วน บริษัท องค์กร ธุรกิจ อื่น และ ... · เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า

3-68 กฎหมายธุรกิจ

บรรณานุกรม

มารวย ผดุงสิทธิ์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อดีต ปัจจุบัน และอนาคตกรุงเทพมหานคร ไทยวิจัยและฝึกอบรม

2548

ศิริศักดิ์ ศุภมนตรี ในเอกสารการสอนชุดวิชากฎหมายธุรกิจและการภาษีอากรหน่วยที่1-8พิมพ์ครั้งที่4นนทบุรีสาขาวิชา

วิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช2545

ศุภชัย ศรีสุชาติ ตลาดหุ้นในประเทศไทย กรุงเทพมหานครตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย2547