แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัี่ยท ี่ยวของ...

24
บทที2 แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวของ ผูวิจัยไดอาศัย แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวของ ดังนี1. แนวคิดการปรับตัว (Adaptation) 2. การจัดการเรียนรู (Learning Management) 3. การจัดการความรู (Knowledge Management) 4. แนวคิดการกําหนดการเรียนรูดวยตนเอง (Self-Instructed Learning) 5. แนวคิดการสื่อสาร (Communication Theory) 6. แนวคิดการกลอมเกลาทางสังคม (Socialization) 7. ทฤษฎีตนไม 8. งานวิจัยที่เกี่ยวของ 9. กรอบแนวคิดการวิจัย แนวคิดการปรับตัว (Adaptation) การปรับตัวในแงจิตวิทยา หมายถึง กระบวนการที่บุคคลไดแสดงพฤติกรรมเพื่อให บรรลุเปาหมายตางๆ ในสิ่งแวดลอมนั้น มนุษยทุกคนตองมีการปรับตัวตราบเทาที่ยังมีชีวิตอยูตอง แกไขปญหาเพื่อความสําเร็จในการเรียนการงาน การประกอบอาชีพเพื่อสนองความตองการ ทั้งรางกาย จิตใจและสังคมในขบวนการปรับตัวนีแตละคนมักมีแผนการปรับตัวไมเหมือนกันบาง คนชอบสูไมถอย บางคนไมชอบวิธีการแขงขัน ชอบวิธีการหลบหลีก บางคนชอบหาทางออก ทางออม หาสิ่งทดแทน บางคนหาความสุขโดยการคิดฝน บางคนใชวิธีนิ่งเฉย เย็นชา และอื่นๆ การศึกษาเรื่องการปรับตัวนี้อาจศึกษาจากดานการปรับตัวทางกายภาพและการปรับตัว ทางสังคม ผูที่ใชคําวาการปรับตัวมักจะใชในความหมายของความสัมพันธระหวางสิ่งที่ศึกษา ซึ่งอาจเปนมนุษยหรือสัตวกับสภาพแวดลอมรอบตัวและแหลงที่อยู (Habitat) การศึกษาในลักษณะนีมักเปนการพิจารณาเชิงประวัติศาสตรวาไดมี () การเปลี่ยนแปลงเพื่อจัดระบบความสัมพันธให สอดคลองกัน () การปรับเปลี่ยนตัวมนุษยหรือสัตวเพื่อใหความสัมพันธกับสภาพแวดลอมเปน

Upload: others

Post on 27-Jan-2020

6 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัี่ยท ี่ยวของ เกarchive.lib.cmu.ac.th/full/T/2550/noned0950ss_ch2.pdf · 13 ความสัมพันธ

บทที่ 2

แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยท่ีเก่ียวของ

ผูวิจัยไดอาศัย แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวของ ดังนี้ 1. แนวคดิการปรบัตัว (Adaptation) 2. การจัดการเรยีนรู (Learning Management) 3. การจัดการความรู (Knowledge Management) 4. แนวคดิการกําหนดการเรียนรูดวยตนเอง (Self-Instructed Learning) 5. แนวคดิการสือ่สาร (Communication Theory) 6. แนวคดิการกลอมเกลาทางสังคม (Socialization) 7. ทฤษฎีตนไม 8. งานวิจยัที่เกี่ยวของ 9. กรอบแนวคิดการวิจยั

แนวคิดการปรบัตัว (Adaptation)

การปรับตัวในแงจิตวิทยา หมายถึง กระบวนการที่บุคคลไดแสดงพฤติกรรมเพื่อให

บรรลุเปาหมายตางๆ ในสิ่งแวดลอมนั้น มนุษยทุกคนตองมีการปรับตัวตราบเทาที่ยังมีชีวิตอยูตองแกไขปญหาเพื่อความสําเร็จในการเรียนการงาน การประกอบอาชีพเพื่อสนองความตองการ ทั้งรางกาย จิตใจและสังคมในขบวนการปรับตัวนี้ แตละคนมักมีแผนการปรับตัวไมเหมือนกันบางคนชอบสูไมถอย บางคนไมชอบวิธีการแขงขัน ชอบวิธีการหลบหลีก บางคนชอบหาทางออกทางออม หาสิ่งทดแทน บางคนหาความสุขโดยการคิดฝน บางคนใชวิธีนิ่งเฉย เย็นชา และอ่ืนๆ

การศึกษาเรื่องการปรับตัวนี้อาจศึกษาจากดานการปรับตัวทางกายภาพและการปรับตัวทางสังคม ผูที่ใชคําวาการปรับตัวมักจะใชในความหมายของความสัมพันธระหวางสิ่งที่ศึกษา ซ่ึงอาจเปนมนุษยหรือสัตวกับสภาพแวดลอมรอบตัวและแหลงที่อยู (Habitat) การศึกษาในลักษณะนี้มักเปนการพิจารณาเชิงประวัติศาสตรวาไดมี (ก) การเปลี่ยนแปลงเพื่อจัดระบบความสัมพันธใหสอดคลองกัน (ข) การปรับเปลี่ยนตัวมนุษยหรือสัตวเพื่อใหความสัมพันธกับสภาพแวดลอมเปน

Page 2: แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัี่ยท ี่ยวของ เกarchive.lib.cmu.ac.th/full/T/2550/noned0950ss_ch2.pdf · 13 ความสัมพันธ

13

ความสัมพันธที่เหมาะสม หรือ (ค) การปรับสภาพแวดลอมเพื่อใหสอดคลองกับสภาพของมนุษยหรือสัตว การใชคําวาการปรับตัวจึงมักใชในความหมายของการปรับเปลี่ยนสวนใดสวนหนึ่งหรือหลายสวนเพื่อใหความสัมพันธลงตัว ( อมรา พงศาพิชญ , 2540)

นอกจากนี้ ผลของความพยายามของบุคคลที่พยายามปรับสภาพปญหาที่เกิดขึ้นแกตนเอง ไมวาปญหานั้นจะเปนปญหาดานบุคลิกภาพดานความตองการหรือดานอารมณใหมเหมาะสมกับสภาพแวดลอม จนเปนสภาพการณที่บุคคลนั้นสามารถอยูไดในสภาพแวดลอมนั้นๆ อยางมีความสุข โดยแนวคิดแบงออกได ดังนี้

1. แนวคิดจิตวิเคราะห ผูนํากลุมคือ Sigmund Freud ซ่ึงเปนจิตแพทยชาวเวียนนา เขาใหความสนใจเรื่องพัฒนาการทางบุคลิกภาพและพลังแหงบุคลิกภาพของคนเรา ทฤษฎีบุคลิกภาพของ Freud อธิบายไดเปน 2 แบบ คือ อธิบายในลักษณะของทฤษฎีพัฒนาการ และทฤษฎีพลังแหงบุคลิกภาพ การอธิบายบุคลิกภาพในแงพลังบุคลิกภาพ Freud อธิบายในรูปของลักษณะของจิตและโครงสรางของจิต เกี่ยวกับลักษณะของจิต Freud อธิบายวา จิตของคนเรามี 3 ลักษณะ คือ

1.1 จิตรูสํานึก (conscious) เปนสภาพที่บุคคลรูตัววาเปนใคร ทําอะไร อยูที่ไหน และอ่ืนๆ เปนจิตสวนที่ควบคุมใหแสดงพฤติกรรมตามหลักเหตุผลและส่ิงผลักดันภายนอกตัว

1.2 จิตไรสํานึก (unconscious) เปนสภาพที่บุคคลไมรูตัว บางทีเพราะลืม เพราะ เก็บกด หรือเพราะไมตระหนักในตนวามีส่ิงนั้นอยู เชน ไมรูตัววาอิจฉาเพื่อน เปนตน

1.3 จิตใตสํานึก (subconscious) เปนสภาพจิตกึ่งรูสํานึก ถาเขามาในหวงนึกก็จะตระหนักได แตถาไมคิดถึงจิตสวนนั้นจะเหมือนกับไมมีตนเอง เชน อาจกังวลในบางเรื่อง กลัวในบางสิ่ง โกรธคนบางคน

จิตทั้ง 3 ลักษณะดังกลาว ชนิดไหนมีอํานาจเหนือกวา บุคคลนั้นๆ ก็มักจะแสดงพฤติกรรมหนักไปทางจิตสวนนั้น และจิตไรสํานึกดูจะมีอิทธิพลตอพฤติกรรมมากกวาจิตสวนอื่น สวนจะแสดงพฤติกรรมออกไปในลักษณะใด มักขึ้นกับโครงสรางของจิต ซ่ึงมี 3 สวนดวยกัน ไดแก อิด (id) อีโก (ego) และซุปเปอรอีโก (super ego) คําวา “อิด” เปนพื้นฐานดั้งเดิมของบุคคล เชน ความอยาก ตัณหา ความตองการ ความปาเถื่อน อันถือเปนธรรมชาติแทๆ ยังไมไดขัดเกลา “อีโก” เปนพลังสวนที่จะพยายามหาทางตอบสนองความตองการของอิด และ “ซุปเปอรอีโก” เปนพลังที่คอยควบคุม อีโก ใหอีโก หาหนทางที่เหมาะสมที่สุดในการสนองความตองการของ อิด โดยเหนี่ยวร้ังใหทําอะไรอยูในกรอบประเพณี ถูกเหตุถูกผลใหคํานึงถึงความผิดชอบชั่วดี คุณธรรม และสังคมที่แวดลอม

คนที่ปรับตัวไมดีมีสาเหตุมากจากอีโก มีการพัฒนาออนเกินไปจึงไมสามารถประนีประนอมใหอิดและซุปเปอรอีโกเกิดความสมดุล ตัวอยางเชน นักศึกษาคนหนึ่งที่ไมซ่ือสัตย

Page 3: แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัี่ยท ี่ยวของ เกarchive.lib.cmu.ac.th/full/T/2550/noned0950ss_ch2.pdf · 13 ความสัมพันธ

14

ในการสอบไดลอกขอความจากหนังสือเขามาในการสอบขณะสอบนักศึกษาคนนี้ไดหยิบขอความที่จดขึ้นมาลอก แสดงใหเห็นวาคนนี้มีอิดที่กําลังแรงกวาซุปเปอรอีโก และอีโกก็ขาดกําลังการยับยั้งคิด การกระทําของนักศึกษาเมื่อกระทําไปแลวอาจจะทําใหนักศึกษาคิดมาก มโนธรรมในจิตใจตามมารบกวนวาไมควรทํา ถาคิดทบทวนตลอดเวลาและกลุมใจมากก็ถือวาจิตใจไมปกติ ซ่ึงเปนการปรับตัวที่ไมดี

2. แนวคิดพฤติกรรมนิยม แนวคิดของกลุมนี้ ไดแก Skinner, Thorndike, Hull and Miller (1952) โดยไมมีความเชื่อวาบุคคลที่จะปรับตัวไดดีหรือไมขึ้นอยูกับการเรียนรูของบุคคล โดยมีสภาพแวดลอมและการเสริมแรงเปนตัวกําหนดบุคคลจะเรียนรูวาพฤติกรรมใดทําแลวไดผลดี (ไดรับรางวัล) บุคคลจะทําพฤติกรรมนั้นซํ้าอีกจนเกิดเปนบุคลิกภาพและการปรับตัวของคนนั้นๆ แนวคิดพฤติกรรมนิยมมีความเชื่อวา พฤติกรรมของบุคคลเกิดจากการมีปฏิสัมพันธกับสิ่งแวดลอม สถานการณ หรือบุคคลตางๆ โดยการเปลี่ยนแปลงทางใดก็ตาม พฤติกรรมที่เกิดขึ้นนั้นขึ้นอยูกับผลที่พฤติกรรมนั้นไดรับส่ิงที่เกิดขึ้นตามหลังการแสดงพฤติกรรมนั้นๆ เรียกวา “ผลกรรม” ผลกรรมที่ตามหลังการแสดงพฤติกรรมแลวมีผลทําใหพฤติกรรมยังคงเกิดขึ้นอยางสม่ําเสมอหรือเกิดเพิ่มมากขึ้น เรียกผลกรรมนั้น วาผลกรรมที่เปนตัวเสริมแรง สวนผลกรรมที่ตามหลังการแสดงพฤติกรรมแลวมีผลใหพฤติกรรมดังกลาวลดความถี่ลงหรือหยุดไป เรียกผลกรรมนั้นวาผลกรรมที่เปนตัวลงโทษ แสดงไดดังนี้ C+ ผลกรรมที่เปนตัวเสริมแรง AB เงื่อนไขนําพฤติกรรม C- ผลกรรมที่เปนตัวลงโทษ

เงื่อนไขนํา (A) หมายถึง ส่ิงกระตุนที่ทําใหพฤติกรรมเกิดขึ้น พฤติกรรม (B) หมายถึง การแสดงออกของบุคคลที่สามารถสังเกตเห็นและวัดไดตรงกัน ผลกรรม (C) หมายถึง ผลที่เกิดจากการแสดงพฤติกรรมนั้น แบงเปน 2 ลักษณะ คือ ผลกรรมที่เปนตัวเสริมแรงและ ผลกรรมที่เปนตัวลงโทษ การเรียนรูตามแนวคิดพฤติกรรมนิยมจึงหมายถึงการที่บุคคลไดรับส่ิงเราแลวเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม สวนผลของการเรียนรูที่ทําใหพฤติกรรม มีการเกิดที่สม่ําเสมอ เพิ่มขึ้น ลดลง หรือหมดไปยอมขึ้นอยูกับผลของพฤติกรรมนั้น ตามแนวคิดกลุมพฤติกรรมนิยม การเรียนรูมี 2 ประเภทคือ การเรียนรูโดย การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก (classical conditioning learning) และการเรียนรูโดยการวางเงื่อนไขแบบลงมือกระทํา (operant conditioning learning)

3. แนวคิดกลุมมนุษยนิยม ผูนํากลุม คือ Maslow (1986) มีแนวทัศนะวา การปรับตัวเพื่อตอบสนองตอส่ิงเราในสภาพแวดลอมยังเปนส่ิงไมเพียงพอ มนุษยควร มีเปาหมายในชีวิตโดยการทําชีวิตใหพัฒนาเจริญงอกงามมากที่สุดเพื่อไปสูการปรับตัวในอุดมคติ ทฤษฎีของ Maslow ไดรับการวิจารณวา เนื่องจากการจูงใจและพฤติกรรมของมนุษยเปนเรื่องสลับซับซอน แตจากการ

Page 4: แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัี่ยท ี่ยวของ เกarchive.lib.cmu.ac.th/full/T/2550/noned0950ss_ch2.pdf · 13 ความสัมพันธ

15

จัดลําดับขั้นความตองการที่มีแบบแผนคอนขางแนนอนดังกลาว ไดมีขอแนะนําวา 1) ไมควรยดึถือตัวทฤษฎีอยางจริงจังวา คนเราจะตองมีความตองการตามลําดับขั้นดังกลาว เพราะ Maslow เองยังกลาววา ความตองการในลําดับขั้นตางๆ นั้นมีความคาบเกี่ยวกันอยู คนเราอาจเกิดความตองการหลายลําดับขั้นในเวลาเดียวกันได เพียงแตมีความมากนอยตางกันตามสภาพการณและความรูสึกนึกคิดของแตละคนเทานั้น และมิไดหมายความวามนุษยจะตองตอบสนองความตองการในลําดับหนึ่งจนเต็ม แลวจึงหาทางตอบสนองในลําดับขั้นตอไป มนุษยจะรูสึกไดถึงการไดรับการตอบสนองไดเพียงบางสวน และไมไดรับการตอบสนองเปนบางสวนในเวลาเดียวกัน โดยอัตราสวนความรูสึกเกี่ยวกับการตอบสนองความตองการนี้ จะลดหลั่นลงเปนลําดับ เชน คนธรรมดาทั่วไปอาจรูสึกถึงการไดรับการตอบสนองทางรายกายได รอยละ 85 ขั้นความปลอดภัยและมั่นคงได รอยละ 70 ขั้นสังคมหรือความรักได รอยละ50 ขั้นการยอมรับนับถือได รอยละ 40 และขั้นความสําเร็จได รอยละ 10 เปนตน ซ่ึงจะทําใหคนตองจัดลําดับใหความสําคัญกับส่ิงจูงใจตางๆ ดวยตัวของเขาเอง 2) บุคคลอาจมีความตองการเพียงไมกี่ดาน และจะมุงตอบสนองความตองการของตนเพียงในจุดนั้นๆ เทานั้น เชน คนอาจคํานึงถึงเฉพาะความตองการทางรางกายและความอบอุนมั่นคงในครอบครัวเทานั้น หรือบางคนอาจไมสนใจเรื่องนี้ แตอาจทุมเทใหการสรางผลงานเพื่อใหเปนที่ยอมรับของคนรุนหลัง เปนตน 3) บุคคลอาจมีความตองการไมเปนไปตามลําดับขั้นดังกลาว เชน คนที่ตองการไดรับการยอมรับนับถือจากสังคมและเชื่อมั่นวาอุดมการณของตนถูกตอง อาจจะยอมดํารงชีวิตอยางแรนแคนเพียงเพื่อใหไดรับการยอมรับนับถือ ก็ได เปนตน กรณีเชนนี้ถือวาความตองการขั้นแรกของเขาก็คือ การไดรับการยอมรับนับถือ ไมใชความตองการทางรางกาย สวนแนวทัศนะของนักจิตวิทยาคนอื่นๆ เชน Lazarus (1969) ไดอธิบายความเปนมาของการปรับตัววามีกําเนิดจากวิชาชีววิทยา โดยดารวิน เปนผูเร่ิมใชคําวา การปรับตัว ในทฤษฎีของเขาวาดวย การวิวัฒนาการที่เขาคิดคนทฤษฎีนี้ขึ้นในป ค.ศ. 1859 โดยสรุปความคิดวา สิ่งมีชีวิตที่สามารถปรับตัวใหเขากับสภาวะแวดลอมของโลกที่เต็มไปดวยภัยอันตรายไดเทานั้นจึงจะดํารงชีวิตอยูได ตอมานักจิตวิทยาไดนําคําวา การปรับตัวในทางชีววิทยามาใชในความหมายทางจิตวิทยา ดังนั้นการศึกษาเพื่อใหเขาใจพฤติกรรมของมนุษยและสัตว จําเปนจะตองศึกษาเรื่องการปรับตัวในแงจิตวิทยา และชีววิทยาประกอบกันในแงชีววิทยา ไดแก การปรับตัวตามความตองการของรางกายในแงวิทยา หมายถึง การปรับตัวใหเปนไปตามความตองการของจิตใจดังตัวอยางการปรับตัว เชน

ตัวอยางที ่ 1 การที่มนุษยรูจกัแตงกายดวยเสื้อผาที่เหมาะสมกับสภาพดนิฟาอากาศ เพื่อใหรางกายมีความอบอุนพอด ี

Page 5: แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัี่ยท ี่ยวของ เกarchive.lib.cmu.ac.th/full/T/2550/noned0950ss_ch2.pdf · 13 ความสัมพันธ

16

ตัวอยางที ่ 2 ลักษณะบานเรอืนที่อยูอาศัยของมนุษยมแีบบตางๆ กันไป ทั้งนี้ขึ้นอยูกับลักษณะดนิฟา อากาศ และสภาวะแวดลอม เชน ชาวเอสกิโมแถบขั้วโลกเหนือ สรางบานดวยน้ําแข็งและหิมะ

ตัวอยางที่ 3 นักศึกษามีฐานะยากจน จําเปนตองทํางานพิเศษเพื่อมีรายไดมาใชซ้ืออุปกรณในการเรียน และสามารถเรียนจนสําเร็จ

Maim and Jamison (1952) อธิบายความหมายของการปรับตัววาการปรับตัว หมายถึง วิธีการที่คนเราประพฤติเพื่อใหเปนไปตามความตองการของตนเองในสภาพแวดลอม ซ่ึงบางครั้งสงเสริมบางครั้งขัดขวาง และบางครั้งสรางความทุกขทรมานแกเรา กระบวนการปรับตัวนี้เกิดขึ้นจากความจริงที่วา มนุษยทุกคนมีความตองการและสามารถใชวิธีการแบบตางๆ ในการดําเนินการเพื่อใหบรรลุถึงความตองการนั้นๆ ในสภาวะแวดลอมที่ปกติธรรมดา หรือมีอุปสรรคขัดขวางตางๆ กันไป

การปรับตัวมีความสําคัญตอวิถีชีวิตของบุคคลทั้งทางดานรางกายและจิตใจ การปรับตัวที่ดีและมีประสิทธิภาพยอมนํามาซึ่งสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี สวนการปรับตัวที่ไมดียอม ทําใหการดําเนินชีวิตของบุคคลขาดความราบรื่นอาจมีปญหาความเจ็บปวยทางกายและทางจิตใจตามมา ซ่ึงนับวาเปนความสูญเสียทั้งคุณภาพประชากรและรายจายในการรักษาโรคตางๆ ที่อาจเกิดขึ้น เนื่องจากขาดการปรับตัวที่ดี

นอกเหนือจากการปรับตัวทางกายภาพเพื่อความอยูรอดของเผาพันธุหรือสัตว แตเปน การปรับเปลี่ยนทางวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นเมื่อเกิดปฏิสัมพันธกับสภาพแวดลอมหรือกลุมคนอื่นในอดีตมีการตั้งคําถามวา การปรับตัวนี้เปนปรากฏการณที่เกิดขึ้นทางธรรมชาติโดยส้ินเชิงหรือเปน ส่ิงที่มนุษยสามารถกําหนดไดควบคุมและบังคับทิศทางได ปจจุบันคงจะตองยอมรับวา การปรับตัวนี้เปนสิ่งที่จําเปนแตมนุษยสามารถควบคุมได Juliuan H. Steward (1963) กลาวถึงกระบวนการปรับตัววากระบวนการปรับตัวทางสังคมวัฒนธรรมมักเกี่ยวของกับนิเวศวิทยาเพราะสังคมปรับตัวเขากับสิ่งแวดลอมที่แตกตางกัน ขึ้นอยูกับวาแตละสังคมจะมีปฏิสัมพันธกับส่ิงแวดลอมอยางไรในสังคมที่ไมมีความซับซอนจะเห็นรูปแบบโครงสรางสังคมที่ตอบสนองความตองการทางสิ่งแวดลอมอยางชัดเจน กลาวคือ เปนโครงสรางความสัมพันธของกลุมคนที่รวมตัวกนั เพื่อที่ทํากิจกรรมที่มีการผลิตรวมกันการจัดระเบียบสังคม กลุมคนที่รวมกันเพื่อทํากิจกรรมที่มี การผลิตรวมกัน การจัดระเบียบสังคมหรือการจัดองคกรทางสังคมดังกลาว จึงเกิดขึ้นเพื่อความ อยูรอดในพื้นที่เฉพาะ แตการวิเคราะหโครงสรางทางสังคมสมัยใหม พบวาสังคมมีโครงสราง ที่อยูเหนือชุมชน คือ สถาบันชาติ และความสามารถทางเทคโนโลยี ซ่ึงจะขยายอํานาจเขาไปมีผลกระทบตอส่ิงแวดลอมเกินกวาที่ทองถ่ินจะสามารถใชประโยชนไดจากทรัพยากรทั้งภายใน

Page 6: แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัี่ยท ี่ยวของ เกarchive.lib.cmu.ac.th/full/T/2550/noned0950ss_ch2.pdf · 13 ความสัมพันธ

17

และภายนอกพื้นที่ไดเหมือนเดิม เพราะถูกควบคุมโดยสังคมที่ใหญกวาการตอบสนองการปรับตัวของสังคมจะมีความซับซอนมากขึ้นไมเหมือนสังคมเดิม นั่นคือสังคมที่ใหญกวาจะมีการปรับตัว มีอํานาจเหนือส่ิงแวดลอมของตนเอง การจัดระเบียบสังคมหรือการจัดองคกรทางสังคมสมัยใหม จึงเปลี่ยนแปลงไปจากสังคมดั้งเดิม

ชาลล คายส กลาวถึง การปรับตัวของชาวปกาเกอะญอ ทางภาคเหนือของประเทศไทย วาเปนการปรับตัวเพื่อผลประโยชนและความอยูรอดในสังคมและยังเปนกระบวนการดํารงชาติพันธุ จากแนวคิดนี้ ผูวิจัยนํามาเปนกรอบคิดในการวิเคราะหกระบวนการปรับตัวของนักเรียนเผา ปกาเกอะญอในพื้นที่โรงเรียนศึกษาสงเคราะหเชียงใหมในทิศทางที่เหมะสมดวย

สรุปไดวา การปรับตัว หมายถึง ผลของความพยายามจะแกไขปญหาที่เกิดขึ้นแกตนเอง ไมวาปญหานั้นจะเปนปญหาดานความตองการดานอารมณและดานบุคลิกภาพอื่นๆ เพื่อใหการแกไขปญหาเหลานั้นเปนไปดวยความเหมาะสมกับสภาพแวดลอม จนบุคคลนั้นสามารถอยูในสภาพแวดลอมนั้นไดอยางปกติสุข ( อมรา พงศาพิชญ , 2540) การจัดการเรียนรู (Learning Management)

ผูวิจัยไดยึดแนวทางการจัดการเรียนรู ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติ พ.ศ. 2542 หมวด 4 แนวการจัดการศึกษา ในมาตรา 22 – 30 โดยเฉพาะมาตรา ที่ 22 ที่ใชเปนแนวทางในการจัดการเรียนรู คือ ยึดหลักวาผูเรียนทุกคนโดยเฉพาะอยางยิ่งนักเรียนชนเผาปกาเกอะญอมีความสามารถเรียนรูและพัฒนาตนเองไดและถือวาผูเรียนสําคัญที่สุด ฉะนั้นผูวิจัยจึงเห็นวาครูผูสอนควรไดเปล่ียนบทบาทจากผูช้ีนํา ผูถายทอดความรู เปนผูชวยเหลือ สงเสริมสนับสนุน และสนับสนุนผูเรียนในการแสวงหาความรูจากสื่อและแหลงการเรียนรูตางๆ นอกจากจะมุงปลูกฝงดานปญญา พัฒนากระบวนการคิด ความสามารถการคิดสรางสรรคแลว ยังมุงพัฒนาความสามารถทางอารมณ คุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะที่พึงประสงค ควบคูกับการจัดกิจกรรมการเรียนรูในโรงเรียนศึกษาสงเคราะหเชียงใหม

การจัดการเรียนรู โดยเนนใหผูเรียนไดเรียนรูตามความสามารถของผูเรียนใชวิธีการสอนหลากหลายวิธีและบูรณาการ เชน การสอนที่เนนความสามารถของผู เ รียนการสอนที่เนนประสบการณและทักษะการสอนโดยใชโครงงาน การสอนที่เนนกระบวนการ การสอนที่เนนกระบวนการกลุม การสอนที่เนนกระบวนการคิดและอื่นๆ โดยการสอนมุงใหนักเรียนรูจัก คิดคนควา เรียนดวยความสนุกสนาน ยืดหยุน และประสานงานกับผูปกครองในการแลกเปลี่ยนขอมูลการพัฒนาการของผูเรียน อยางสม่ําเสมอ

Page 7: แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัี่ยท ี่ยวของ เกarchive.lib.cmu.ac.th/full/T/2550/noned0950ss_ch2.pdf · 13 ความสัมพันธ

18

การจัดการเรียนรู โดยใชแหลงเรียนรูทองถ่ิน ไดดําเนินการตามขั้นตอนเพื่อใหนักเรียนเกิดองคความรูและไดเรียนรูจากของจริง มีความสุขกับการเรียนรูนอกหองเรียน เพื่อเปนแหลงเรียนรูที่เหมาะสมสําหรับการเรียนรู เพื่อจะเปนกระบวนการในการปรับตัวในสังคมดานตางๆ

การจัดการเรียนรูท่ีมีประสิทธิภาพนั้นสามารถใชวิธีสอนตางๆ ไดอยางเหมาะสม ปฏิบัติการสอนอยางคิดไตรตรอง มีความคิดริเร่ิมหรือมีนวัตกรรม มีความรูเกี่ยวกับทรัพยากรของโรงเรียนและชุมชน จัดกิจกรรมการสอนสรางเสริมและเพิ่มเติมความรูและทักษะแกนักเรียนที่มีความสามารถตางกัน โดยเฉพาะนักเรียนที่มีความแตกตางทั้งดานกายภาพ และชีวภาพ คือ นักเรียนชนเผา เปนตน ใชวิธีการประเมินผลที่เหมาะสม และใหขอมูลปอนกลับแกนักเรียนในเรื่องความกาวหนาในการเรียน สามารถประกันความตอเนื่อง สามารถอธิบาย สาธิต ดําเนินการอภิปราย ไดอยางแจมชัด และมีระบบสามารถใชประโยชนจากเทคนิคการถามตอบและสื่อนวัตกรรม การสอนไดเปนอยางดี การจัดการเรียนรูดังกลาวนี้ควรที่จะไดดําเนินการอยางเปนระบบกลาวคือ อาศัยแนวคิดการวิจัยเชิงปฏิบัติการ และหากจะถึงการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีสวนรวมก็ยิ่งดี และจะไดผลดียิ่งขึ้นถาไดปฏิบัติการที่เรียกกันวา ทํางานในเชิงรุก แนวคิดดังกลาวนี้ ก็จะเปนการวิจัยในชั้นเรียนที่จัดการเรียนรูที่สนองตอบการประกันคุณภาพการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติ พุทธศักราช 2542

ผลจากการจัดกิจกรรมการเรียนรูทําใหผูเรียนเปนมนุษยที่สมบูรณ เปนคนดีมีความสุข และสามารถปรับตัวเขากับสิ่งตางๆ รอบขางได

การจัดการความรู (Knowledge Management)

แนวคิดเรื่องการจัดการความรู ไดเร่ิมเขามามีบทบาทในชีวิตประจําวันของมนุษยเพราะมนุษยตางตระหนักดีวา ความรูเปนสิ่งที่จําเปนสําหรับการดํารงชีวิต และในการพัฒนาสังคมฐานความรู ก็ตองอาศัยการจัดการความรูที่ดีและเปนระบบ ดร.ประพนธ ผาสุขยืด นักวิชาการชื่อดัง ไดกลาวไวในหนังสือ "การจัดการความรู ฉบับมือใหมหัดขับ" วา กระบวนการการจัดการความรูนั้น เร่ิมตั้งแตการกําหนดทิศทางและระบุเปาหมายในการจัดการ ความรู (Knowledge Vision) การแลกเปลี่ยนความรู (Knowledge Sharing) และการเก็บบันทึกความรู (Knowledge Asset) เพื่อไวใชในอนาคตหรือเปนการจัดการคลังความรูนั่นเอง ซ่ึงในกระบวนการนี้ การปรับตัวของมนุษย ไดมีสวนสําคัญอยางมากในการสรางคลังความรูที่ เปนระบบและมีประสิทธิภาพ แทจริงแลว การจัดการความรูเปนสิ่งที่ เกิดขึ้นมานานแลว พอๆ กับการเกิดขึ้นของมนุษยเพราะสิ่งที่เปน ความรูนั้น ลวนเปนส่ิงที่มนุษยตองตอสูกับภัยธรรมชาติ สัตวราย โรคภัยไขเจ็บ และเรียนรูวิธีการ

Page 8: แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัี่ยท ี่ยวของ เกarchive.lib.cmu.ac.th/full/T/2550/noned0950ss_ch2.pdf · 13 ความสัมพันธ

19

รับมือกับสถานการณตางๆ จึงมีการถายทอดความรูตางๆ ใหรุนลูกรุนหลานไดรูวิธีจัดการกับ เหตุการณเหลานั้น

ความรู (Knowledge) ถือเปนทรัพยากรหลักที่มีคา ซ่ึง Daven Port and Prusak (1998) กลาววา ความรู หมายถึง สวนผสมของกรอบประสบการณ คุณคา สารสนเทศ ที่เปนสภาพแวดลอมและกรอบการทํางานสําหรับประเมินและรวมกันของประสบการณและสารสนเทศใหมความรู แบงออกเปน 2 ประเภท คือ (วิจารณ พานิช, 2547)

1. ความรูโดยนัยหรือความรูที่มองไมเห็นชัด (Tacit knowledge) เปนความรูอยางไมเปนทางการ ซ่ึงเปนทักษะหรือความรูเฉพาะตัวของแตละบุคคล ที่มาจากประสบการณ ความเชื่อหรือความคิดสรางสรรค ถือเปนหัวใจสําคัญที่ทําใหงานใหประสบกับความสําเร็จ

2. ความรูที่ชัดแจงหรือความรูที่เปนทางการ (Explicit Knowledge) เปนความรูที่มีการบันทึกไวเปนลายลักษณอักษร และใชรวมกันในรูปแบบตางๆ ความรูประเภทนี้เปนความรูที่แสดงออกมาโดยใชระบบสัญลักษณ จึงสามารถสื่อสารและเผยแพรไดสะดวก

ความหมายของการจัดการความรู จากที่ประชุมการจัดการความรู (KM Forum) ไดสรุปความหมายของการจัดการความรูหลากหลายทัศนะสรุปได ดังนี้

Newman, Brian (Bo, 1960) กลาววา การจัดการความรูเปนกลุมของกระบวนการตางๆ ที่ดําเนินการเกี่ยวกับการสราง การแพรกระจาย และการใชประโยชนความรู สวน Kucza (2001)(อางใน วิจารณ พานิช, 2547) กลาววา การจัดการความรูเปนกิจกรรมที่เกี่ยวของกับการจัดกระบวนการของการสรางความรู การจัดเก็บ และการแบงปนความรู กลาวโดยทั่วไปจะรวมถึง การระบุสภาพปจจุบันการกําหนดความตองการและการแกไขปรับปรุงกระบวนการที่จะสงผลกระทบตอการจัดการความรูใหดีขึ้น เพื่อบรรลุถึงความตองการ นอกจากนี้นักวิชาการของไทยทานหนึ่ง คือ ศาสตราจารย นายแพทยวิจารณ พานิช ผูอํานวยการสถาบันสงเสริมการจัดการความรูเพื่อสังคม (สคส.) ไดกลาววา การจัดการความรูเปนกิจกรรมที่ซับซอนและกวางขวาง ไมสามารถใหนิยามดวยถอยคําส้ันๆ ได ตองใหนิยามหลายขอจึงจะครอบคลุมความหมาย ดังนี้

การจัดการความรู มีความหมายรวมถึง การรวบรวม การจัดระบบ การจัดเก็บ และการเขาถึงขอมูลเพื่อสรางเปนความรูเทคโนโลยีดานขอมูลและคอมพิวเตอรเปนเครื่องมือชวยเพิ่มพลังในการจัดการความรู แตเทคโนโลยีดานขอมูลและคอมพิวเตอรโดยตัวของมันเอง ไมใชการจัดการความรู

การจัดการความรูเกี่ยวของกับการแบงปนความรู ถาไมมีการแบงปนความรูความพยายามในการจัดการความรูก็จะไมประสบผลสําเร็จ พฤติกรรมภายในองคการเกี่ยวกับวัฒนธรรมพลวัต และวิธีปฏิบัติมีผลตอการแบงปนความรู ประเด็นดานวัฒนธรรมและสังคมมีความสําคัญยิ่งตอการจัดการความรู

Page 9: แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัี่ยท ี่ยวของ เกarchive.lib.cmu.ac.th/full/T/2550/noned0950ss_ch2.pdf · 13 ความสัมพันธ

20

การจัดการความรู ตองการผูมีความรูความสามารถในการตีความ ประยุกตใชความรูในการสรางนวัตกรรมและเปนผูนําทางในองคการ รวมทั้งตองการผูเช่ียวชาญในสาขาใดสาขาหนึ่งสําหรับชวยแนะนําวิธีประยุกตใชการจัดการความรู ดังนั้นกิจกรรมเกี่ยวกับคนอัน ไดแก การดึงดูดคนเกงและดี การพัฒนาคน การติดตามความกาวหนาของคน และการดึงคนมีความรูความสามารถไวในองคการ ถือเปนสวนหนึ่งของการจัดการความรู

การจัดการความรูเปนเรื่องของการเพิ่มประสิทธิผลขององคการ การจัดการความรูเกิดขึ้นเพราะมีความเชื่อวาจะชวยสรางความมีชีวิตชีวา และความสําเร็จใหแกองคการ การประเมิน “ตนทุนทางปญญา (Intellectual Capital)” และผลสําเร็จของการประยุกตใชการจัดการความรูเปนดัชนีบอกวาองคการมีการจัดการความรูอยางไดผลหรือไม (หองสมุดมีชีวิต ผลงานวิจัยของชุมชน (http://www2.se-ed.net/kmresearch/thesis2.html)

กลาวโดยสรุป การจัดการความรู หมายถึง กระบวนการอยางเปนระบบเกี่ยวกับการประมวลขอมูล สารสนเทศ ความคิด การกระทํา ตลอดจนประสบการณของบุคคลเพื่อสรางเปนความรูหรือนวัตกรรม และจัดเก็บในลักษณะของแหลงขอมูลท่ีบุคคลสามารถเขาถึงไดโดยอาศัยชองทางตางๆ ที่องคการจัดเตรียมไว เพื่อนําความรูที่มีอยูไปประยุกตใชในการปฏิบัติงานซึ่งกอใหเกิดการแบงปนและถายโอนความรู และในที่สุดความรูที่มีอยูจะแพรกระจายและไหลเวียนทั่วทั้งองคการอยางสมดุล เปนไปเพื่อเพิ่มความสามารถในการพัฒนาผลผลิตและองคการ

แนวคิดการกําหนดการเรียนรูดวยตนเอง (Self-Instructed Learning)

การเรียนรูดวยตนเอง มีแนวคิดพื้นฐานมาจากทฤษฎีกลุมมานุษยนิยม (Humanism) ซ่ึงมีความเชื่อเรื่องความเปนอิสระ และความเปนตัวของตัวเองของมนุษย ดังที่มีผูกลาวไววา มนุษย ทุกคนเกิดมาพรอมกับความดี มีความเปนอิสระ เปนตัวของตัวเอง สามารถหาทางเลือกของตนเอง มีศักยภาพและพัฒนาศักยภาพของตนเองอยางไมมีขีดจํากัด มีความรับผิดชอบตอตนเองและตอผูอ่ืน ซ่ึงเปนแนวคิดที่สอดคลองกับนักจิตวิทยามานุษยนิยม (Humanistic Psychology) ที่ใหความสําคัญในฐานะที่ผูเรียนเปนปจเจกบุคคล และมีแนวคิดวา มนุษยทุกคนมีศักยภาพและมีความโนมเอียงที่จะใสใจ ใฝรู ขวนขวายเรียนรูดวยตนเอง มนุษยสามารถรับผิดชอบพฤติกรรมของตนเองและถือวาตนเองเปนคนที่มีคา ส่ิงที่เปนตัวกําหนดศักยภาพของการเรียนแบบ Self-Directed Learning หรือการเรียนรูที่ผูเรียนกําหนดเอง คือ ความสามารถและความตั้งใจของบุคคล นั่นคือ ผูเรียนมีทางเลือกเกี่ยวกับทิศทางที่ตองการไป แตส่ิงที่จะตองมีควบคูกันไปดวยคือ ความรับผิดชอบและการยอมรับตอส่ิงที่จะตามมาจากความคิดและการกระทําของตนเอง การเรียนแบบผูเรียน

Page 10: แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัี่ยท ี่ยวของ เกarchive.lib.cmu.ac.th/full/T/2550/noned0950ss_ch2.pdf · 13 ความสัมพันธ

21

กําหนดเองนั้นจะประสบความสําเร็จไดมักจะมีลักษณะที่มี Self-concept หรือกําหนดความคิด รวบยอดดวยตนเองทางบวก พรอมที่จะเรียนแบบกําหนดเอง มีประสบการณ และมีแบบฉบับ การเรียนเปนของตนเอง โดยการเรียนแบบนี้จะเนนที่ลักษณะของผูเรียน (ปจจัยภายใน) ที่จะชวยสรางใหผูเรียนยอมรับความรับผิดชอบตอความคิดและกระทําของตน และจะใหความสําคัญกับปจจัยภายนอกที่ชวยใหผูเรียนสามารถรับผิดชอบตอการเรียนได ปจจัยทั้งภายในและภายนอกนี้จะสามารถเห็นไดจากความตอเนื่องในการเรียนรูและสถานการณการเรียนที่เหมาะสม ขณะที่ลักษณะ บุคลิกของบุคคล การสอนกระบวนการเรียนรู เปนจุดเริ่มตนของการทําความเขาใจนั้น การเรียนแบบผูเรียนกําหนดเอง บริบททางสังคมจะเปนตัวกําหนดกิจกรรมการเรียนหรือผลท่ีจะไดเพื่อจะเขาใจกิจกรรมการเรียนแบบผูเรียนกําหนดเองอยางแทจริง ทั้งนี้เราจะตองตระหนักถึงปฏิสัมพันธระหวางผูเรียน ผูสอน แหลงทรัพยากร และมิติทางสังคมดวย ซ่ึงการเรียนรูดวยตนเองมีกระบวนการ ดังตอไปนี ้ 1) การประเมินความตองการของตนเอง (Assessing Needs) 2) การกําหนดจุดมุงหมาย (Setting goals) 3) การกําหนดสิ่งที่ตองการเรียนรู (Specifying learning content) โดยกําหนดระดับความยากงาย ชนิดของสิ่งที่ตองการเรียน พิจารณาเกี่ยวกับคาใชจายที่ตองใชในการเรียน ความตองการความชวยเหลือ แหลงทรัพยากร ประสบการณที่จําเปนในการเรียน 4) การจัดการ ในการเรียนโดยกําหนดปริมาณเวลาที่ตองการใหอาจารยสอน ปริมาณเวลาที่ตองการใหมี ปฏิสัมพันธระหวางอาจารยกับผูเรียน ปริมาณเวลาที่ตองการใหมีปฏิสัมพันธระหวางผูเรียนกับผูเรียน ปริมาณเวลาที่ตองการใหกับกิจกรรมการเรียนดวยตนเองของแตละคน โดยกําหนดกิจกรรมการเรียนตามประสบการณที่ผานมา พรอมทั้งกําหนดวากิจกรรมควรสิ้นสุดเมื่อใด 5) การเลือกวิธีการเรียนและสื่อการเรียน การสอน อุปกรณการสอน เทคนิคการสอน ทรัพยากรการเรียนรู ที่ตองใช 6) การกําหนด วิธีการควบคุมส่ิงแวดลอมในการเรียนรู ทั้งสิ่งแวดลอมทางกายภาพ และทางดานอารมณ 7) การกําหนดวิธีการตรวจสอบตนเอง โดยกําหนดวิธีการรายงาน / บันทึกการสะทอนตนเองจะใช วิธีการตรวจสอบแบบไหน การใหโอกาสไดฝกตัดสินใจ การแกปญหา และการกําหนดนโยบาย การเปดโอกาสใหผูเรียนสามารถใชความคิดใหชัดเจนขึ้น 8) การกําหนดขอบเขตบทบาทของผูชวยเหลือ 9) การกําหนดวิธีการประเมินผลการเรียน โดยเลือกประเภทของการทดสอบ ลักษณะของการผลยอนกลับหรือการตอบสนองที่จะใช วิธีการประเมินความถูกตองของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการติดตามประเมินผล

นอกจากนี้ รูปแบบการเรียนรูดวยตนเองสามารถปฏิบัติได ดังตอไปนี้ 1) การทําสมุดบันทึกสวนตัว เพื่อใชบันทึกขอมูล ความคิดเรื่องราวตางๆ ที่เราไดเรียนรูหรือเกิดขึ้นในสมองของเราสมุดนี้จะชวยเก็บสะสมความคิดทีละนอยเขาไวดวยกัน เพื่อเปนแนวทางในการศึกษาเพิม่เตมิใหกวางไกลออกไป 2) การกําหนดโครงการเรียนรูรายบุคคลที่มีการวางแผนไวลวงหนาวาจะเรียนรู

Page 11: แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัี่ยท ี่ยวของ เกarchive.lib.cmu.ac.th/full/T/2550/noned0950ss_ch2.pdf · 13 ความสัมพันธ

22

อยางไร โดยพิจารณาวาความรูที่เราจะแสวงหานั้นชวยใหเราถึงจุดประสงคที่ตั้งไวหรือไม ทําใหเกิดความพึงพอใจ ความสนุกสนานที่จะเรียนหรือไม ประหยัดเงินและเวลามากนอยเพียงใด 3) การทําสัญญาการเรียน เปนขอตกลงระหวางผูสอนกับผูเรียน โดยอยูบนพื้นฐานความตองการของผูเรียนที่สอดคลองกับเปาหมายและหลักการของสถาบันการศึกษา โดยกําหนดกิจกรรมการเรียนที่เหมาะสม 4) การสรางหองสมุดของตนเอง หมายถึง การรวบรวมรายชื่อ ขอมูลแหลงความรูตางๆ ที่คิดวาจะเปนประโยชนตรงกับความสนใจเพื่อใชในการศึกษาคนควาตอไป 5) การหาแหลงความรูในชุมชน เชน ผูรู ผูชํานาญในอาชีพตางๆ หองสมุด สมาคม สถานที่ราชการ และอื่นๆ ซ่ึงแหลงความรูเหลานี้จะเปนแหลงสําคัญในการคนควา 6) การหาเพื่อนรวมเรียน เพื่อแลกเปลี่ยนความรูกัน 7) การเรียนรูจากการฝกและปฏิบัติ ซ่ึงจะกอใหเกิดความรูและประสบการณที่เปนประโยชน

ทั้งนี้ ลักษณะของผูที่มีการเรียนรูดวยตนเอง จึงตองมีลักษณะดังนี้ดวย ไดแก 1) มีความสมัครใจที่จะเรียนรูดวยตนเอง (Volunteer to Learn) มิไดเกิดจากการบังคับ แตมีเจตนาที่จะเรียนดวยความอยากรู 2) ใชตนเองเปนแหลงขอมูลของตนเอง (Self Resourceful) นั่นคือ ผูเรียนสามารถบอกไดวาสิ่งที่ตนจะเรียนคืออะไร รูวาทักษะและขอมูลที่ตองการหรือจําเปนตองใช มีอะไรบาง สามารถกําหนดเปาหมาย วิธีการรวบรวมขอมูลที่ตองการ และวิธีการประเมินผล การเรียนรู ผูเรียนตองเปนผูจัดการการเปลี่ยนแปลงตางๆ ดวยตนเอง (Management of Change) ผูเรียนมีความตระหนักในความสามารถ สามารถตัดสินใจได มีการรับผิดชอบตอหนาที่และบทบาทในการเปนผูเรียนรูที่ดี 3) รู “วิธีการที่จะเรียน” (Know how to Learn) นั่นคือ ผูเรียนควรทราบขั้นตอนการเรียนรูของตนเอง รูวาเขาจะไปสูจุดที่ทําใหเกิดการเรียนรูไดอยางไร 4) มบีคุลิกภาพเชิงบวก มีแรงจูงใจ และการเรียนแบบรวมมือกับเพื่อนหรือบุคคลอื่น ตลอดจนการใหขอมูล (ปฐมนิเทศ) ในเชิงบวกเกี่ยวกับสิ่งแวดลอมในการเรียน (Charismatic Organizational Player) 5) มีระบบการเรียนและการประยุกตการเรียนและมีการชื่นชมและสนุกสนานกับกระบวนการเรียน (Responsible Consumption) 6) มีการเรียนจากขอผิดพลาดและความสําเร็จ การประเมินตนเองและความเขาใจถึงศักยภาพของตน (Feedback and Reflection) 7) มีความพยายามในการหาวิธีการใหมๆ ในการหาคําตอบ การประยุกตความรูที่ไดจากการเรียนไปใชกับสถานการณของแตละบุคคล การหาโอกาสในการพัฒนา และคนหาขอมูลเพื่อแกปญหา (Seeking and Applying) 8) มีการชี้แนะการอภิปรายในหองเรียน การแสดงความคิดเห็นสวนตัวและการพยายามมีความเหน็ที่แตกตางไปจากผูสอน (Assertive Learning Behavior) 9) มีการรวบรวมขอมูลจากการไดปฏิสัมพันธกับบุคคลและมีวิธีการนําขอมูลที่ไดไปใช (Information Gathering)

Page 12: แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัี่ยท ี่ยวของ เกarchive.lib.cmu.ac.th/full/T/2550/noned0950ss_ch2.pdf · 13 ความสัมพันธ

23

แนวคิดการสื่อสาร (Communication Theory)

การสื่อสาร (Communication ) คือ กระบวนการแลกเปลี่ยนขอมูล ขาวสารระหวางบุคคลตอบุคลหรือบุคคลตอกลุม โดยใชสัญลักษณ สัญญาณหรือพฤติกรรมที่เขาใจกันโดยมีองคประกอบดังนี้

ท่ีมา: บทเรียนการ พัฒนาการของเทคโนโลยี ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร วิทยาเขตบางเขน

ภาพที่ 1 แสดง Model การสื่อสาร

ผูสงสาร คือ ผูที่ทําหนาที่สงขอมูลขาวสารไปยังผูรับสาร โดยผานชองทางที่เรียกวา ส่ือ ถาหากเปนการสื่อสารทางเดียว ผูสงจะทําหนาที่สงเพียงประการเดียวแตถาเปนการสื่อสาร 2 ทาง ผูสงสารจะเปนผูรับในบางครั้งดวย ผูสงสารจะตองมีทักษะในการสื่อสาร มีเจตคติตอตนเอง ตอเร่ืองที่จะสง ตองมีความรูในเนื้อหาที่จะสงและอยูในระบบสังคมเดียวกับผูรับก็จะทําใหการสื่อสารมีประสิทธิภาพ ขาวสารในการะบวนการติดตอส่ือสารก็มีความสําคัญ ขาวสารที่ดีตองแปลเปนรหัส เพื่อสะดวกในการสงการรับและตีความ เนื้อหาสารของสารและการจัดสารก็จะตองทําใหการสื่อความหมายงายขึ้น ส่ือหรือชองทางในการรับสารคือ ประสาทสัมผัสทั้งหา คือ ตา หู จมูก ล้ิน และกายสัมผัส และตัวกลางที่มนุษยสรางขึ้นมา เชน ส่ิงพิมพกราฟฟก ส่ืออิเลกทรอนิกส

ผูรับสาร คือ ผูที่เปนเปาหมายของผูสงสาร การสื่อสารจะมีประสิทธิภาพ ผูรับสาร จะตองมีประสิทธิภาพในการรับรู มีเจตคติที่ดีตอขอมูลขาวสารตอผูสงสารและตอตนเอง

Page 13: แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัี่ยท ี่ยวของ เกarchive.lib.cmu.ac.th/full/T/2550/noned0950ss_ch2.pdf · 13 ความสัมพันธ

24

ตัวอยางแบบจาํลองทางการสื่อสาร

ท่ีมา : จากหนงัสือเทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรมของ กิตานันท มลิทอง ภาพที่ 2 แสดงรูปแบบจําลองเชิงวงกลมของ Osgood and Schramm

ป 1954 Wilbur Schramm และ C.E. Osgood (1949) ไดสราง Model รูปแบบจําลองเชิง

วงกลมการสื่อสาร เปนรูปแบบของการสื่อสารสองทาง (Two-way Communication)

ท่ีมา : จากหนงัสือเทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรมของ กิตานันท มลิทอง

ภาพที่ 3 แสดงรูปแบบจําลองเชิงวงกลมของ Schramm

Page 14: แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัี่ยท ี่ยวของ เกarchive.lib.cmu.ac.th/full/T/2550/noned0950ss_ch2.pdf · 13 ความสัมพันธ

25

ป 1954 Wilber Schramm (1949) กลาวถึง พื้นฐานประสบการณรวม (Field of Experience) ระหวางผูสงสารและผูรับสารวาจะตองมีประสบการณรวมกันเพื่อส่ือสารใหเขาใจตรงกัน

ท่ีมา : จากหนงัสือเทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรมของ กิตานันท มลิทอง ภาพที่ 4 แสดงรูปแบบจําลอง SMCR ของBerlo

ป 1960 แบบจําลอง SMCR ของ Berlo (1960) ไดใหความสําคัญกับสิ่งตางๆ คือ 1. ผูสงสาร (Source) ตองเปนผูที่มีความสามารถเขารหัส (Encode) เนื้อหาขาวสารไดมี

ความรูอยางดีในขอมูลที่จะสงสามารถปรับระดับใหเหมาะสมสอดคลองกับผูรับ 2. ขาวสาร (Message) คือ เนื้อหา สัญลักษณ และวิธีการสง 3. ชองทางการสื่อสาร (Channel) ใหผูรับไดดวยประสาทสัมผัสทั้ง 5 4. ผูรับสาร (Receiver) ผูที่มีความสามารถในการถอดรหัส ( Decode) สารที่รับมาได

อยางถูกตอง

Page 15: แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัี่ยท ี่ยวของ เกarchive.lib.cmu.ac.th/full/T/2550/noned0950ss_ch2.pdf · 13 ความสัมพันธ

26

แบบจําลอง SMCR ของ Berlo จะใหความสําคัญในปจจัยตางๆ ที่มีผลทําใหการสื่อสารประสบผลสํา เร็จ ไดแก ทักษะในการสื่อสาร ทัศนคติ ระดับความรู ระบบสังคมและ วัฒนธรรม ซ่ึงผูรับละผูสงตองมีตรงกันเสมอ

ท่ีมา : จากหนงัสือเทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรมของ กิตานันท มลิทอง ภาพที่ 5 แสดง แบบจําลอง การสื่อสารทางเดียวเชิงเสนตรงของ Shannon and Weaver

ตามแบบจําลองของ Shannon and Weaver (1949) จะมองถึงองคประกอบพื้นฐานของ

การสื่อสาร เชนเดียวกับ Berloแลว ยังใหความสําคัญกับ “ส่ิงรบกวน” (Noise) ดวยเพราะในการส่ือสารหากมีส่ิงรบกวนเกิดขึ้นก็จะหมายถึงการเปนอุปสรรคตอการสื่อสาร เชน หากอาจารยใชภาพเปนส่ือการสอนแตภาพนั้นไมชัดเจนหรือเล็กเกินไปก็จะทําให ผูเรียนเห็นไมชัดเจนทําใหเกิดการไมเขาใจ

สรุปการสื่อสาร หรืออาจเรียกวา การสื่อความหมาย คือการถายทอดแลกเปลี่ยนความรู ความคิดระหวางบุคคลเพื่อใหเกิดความรูความเขาใจเรื่องราวระหวางกัน ซ่ึงเปนพฤติกรรมที่จะตองมีอยูเสมอในสังคมมนุษย การสื่อสารจึงมีความสําคัญทั้งในชีวิตประจําวันของแตละบุคคล สังคม ธุรกิจการคา อุตสาหกรรม การเมืองการปกครองและการศึกษา การสื่อสารมีพัฒนาการมายาวนานพรอมๆ กับสังคมมนุษยนับตั้งแตยุคโบราณยุคเกษตรกรรม ยุคอุตสาหกรรม และ ยุคปจจุบัน ซ่ึงอาจจะเรียกไดวาเปนยุคของการสื่อสาร เนื่องจากมีความกาวหนาในการสื่อสารอยางสูง สามารถติดตอส่ือสารกันไดอยางมีประสิทธิภาพและรวดเร็วทั่วถึงกันทั่วโลก การสื่อสารเปน

Page 16: แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัี่ยท ี่ยวของ เกarchive.lib.cmu.ac.th/full/T/2550/noned0950ss_ch2.pdf · 13 ความสัมพันธ

27

กระบวนการที่เกิดขึ้นโดยมีองคประกอบตางๆ คือ ขาวสาร ผูรับ และผูสง การเขารหัส ชองทาง การสื่อสารการแปลรหัสขาวสาร และพฤติกรรมหรือผลที่เกิดจากการสื่อสาร การสื่อสารที่ประสบผลสําเร็จสูงตองอาศัยคุณสมบัติของผูรับและผูสงหลายดานประกอบกัน คือ ความรูความสามารถทั่วไป มีทักษะในการสื่อสาร มีเจตคติที่ดีและเขาใจพื้นฐานทางสังคม วัฒนธรรม นอกจากนี้ ยังตองอาศัยปจจัยดานสื่อและเทคนิคในการสื่อสารดวย ประเภทของการสื่อสารที่สําคัญแบงเปน 3 ประเภท คือ การสื่อสารสวนบุคคล การสื่อสารระหวางบุคคล และการสื่อสารมวลชนเกี่ยวกับทฤษฎีการสื่อสาร มีผูศึกษาและกําหนดทฤษฎีการสื่อสารไวหลายทฤษฎีจําแนกเปนกลุมที่สําคัญ คือ ทฤษฎีพฤติกรรมการถอดรหัส และการเขารหัสทฤษฎีเชิงพฤติกรรม ทฤษฎีเชิงปฏิสัมพันธ ทฤษฎีเชิงบริบททางสังคมการอธิบายทฤษฎีการสื่อสาร อาศัยแบบจําลองที่นักวิชาการตางๆ คิดขึ้น เชน แบบจําลองของ Berlo แบบจําลองของ Schramm เปนตน แนวคิดการกลอมเกลาทางสังคม (Socialization)

การกลอมเกลาทางสังคม (สุพัตรา สุภาพ, 2533) เปนกระบวนการที่มนุษยเรียนรู ยอมรับคานิยม กฎเกณฑตางๆ จากการติดตอสัมพันธกับผูอ่ืน เพื่อจะไดมีสถานภาพและปฏิบัติตามบทบาทตางๆ ที่สังคมตองการการขัดเกลาทางสังคมอาจจะออกมาในรูป

1. การกลอมเกลาโดยตรง (Direct Socialization) เปนการอบรมโดยตรงเพื่อใหบุคคลปฏิบัติตนใหถูกตองตามระเบียบแบบแผน เปนการชี้ทางและแนะแนวทางใหปฏิบัติแกบุคคลอยางจงใจและเจตนา 2. การกลอมเกลาโดยออม (Indirect Socialization) เปนการอบรมที่ไมประสงคจะใหประโยชนแกบุคคลโดยตรง แตใหบุคคลเกิดการเรียนรูและพยายามเลียนแบบเพื่อใหบุคคลเกิด การปรับตัวใหสอดคลองกับกฎเกณฑที่กลุมวางไว

เมื่อมนุษยไดรับการอบรมขัดเกลาอยางไร ก็จะมีลักษณะพฤติกรรมเปนไปในลักษณะเดียวกันแบบนั้น เชน ขอเขียนของ J.A.L.Singh และ R.M. Zingg (1942) ที่กลาวถึงเด็กที่ช่ือ Kamala ที่ถูกหมาปานําเอาไปเลี้ยง โดยไมไดพบปะผูคนเลย ดังนั้น จึงมีลักษณะพฤติกรรมที่คลายสัตวมากกวาคน การกลอมเกลาทางสังคม จึงเปนกระบวนการปลูกฝงบรรทัดฐานของกลุมใหเกิดขึ้นในตัวบุคคล ตัวแทนของการกลอมเกลาในสังคมมีอยูดวยกัน 6 กลุม (สุพัตรา สุภาพ, 2533) ไดแก

1. ครอบครัว 2. กลุมเพื่อน

Page 17: แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัี่ยท ี่ยวของ เกarchive.lib.cmu.ac.th/full/T/2550/noned0950ss_ch2.pdf · 13 ความสัมพันธ

28

3. โรงเรียน 4. กลุมอาชีพ 5. ตัวแทนทางศาสนา 6. ส่ือมวลชน การกลอมเกลาทางสังคมเปนกระบวนการทางสังคมกับทางจิตวิทยา ซ่ึงมีผลทําใหบุคคล

มีบุคลิกภาพตามแนวทางที่สังคมตองการ เด็กที่เกิดมาจะตองไดรับการอบรมสั่งสอนใหเปนสมาชิกที่สมบูรณของสังคม สามารถอยูรวมและมีความสัมพันธกับคนอื่นไดอยางราบรื่น ทําใหมนุษยเปล่ียนแปลงสภาพตามธรรมชาติเปน มนุษยผูมีวัฒนธรรมมีสภาพตางจากสัตวโลกชนิดอื่น การกลอมเกลาทางสังคมมีความหมาย 2 นัย คือ 1) การถายทอดวัฒนธรรม และ 2) การพัฒนาบุคลิกภาพซึ่งมีวิธีการกลอมเกลาทางสังคม 2 ทาง ไดแก 1) การกลอมเกลาทางสังคมโดยทางตรง คือ การสั่งสอนและฝกอบรมโดยพอแม และครูอาจารย ทําใหเด็กปฏิบัติตนตามที่สังคมคาดหวัง และ 2) การกลอมเกลาทางสังคมโดยทางออม เชน การฟงอภิปราย ปาฐกถา การอานหนังสือตามหองสมุด การฟงวิทยุ การดูโทรทัศน การดูภาพยนตร การเขากลุมเพื่อน ทําใหเกิดการปรับตัวและพัฒนาบุคลิกภาพ พื้นฐานทางชีวภาพที่ทําใหเกิดการกลอมเกลาทางสังคมนั้น เกิดมาจากการปราศจากสัญชาตญาณของมนุษยและมนุษยตองพึ่งพาผูอ่ืนยามเยาววัยตองการมีความสามารถในการเรียนรู รวมถึงความสามารถทางภาษาดวยหลักสําคัญ ของกระบวนการสังคมประกิต กระบวนการเกิดขึ้นเนื่องมาจากการปะทะสัมพันธของมนุษยเพื่อการแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมตามมาตรฐานและเปนที่ยอมรับของสังคม ตองการมีความสามารถในการใชภาษาเพราะภาษาเปนเครื่องมือที่ใชในการติดตอ การถายทอดวัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณี และเปนสื่อ ในการเรียนรู เพื่อใหตนเองเปนที่ยอมรับจากคนรอบขางดวยความรักใคร โดยเฉพาะอยางยิ่งจากพอแมเปนสิ่งที่จําเปนมากที่จะทําใหเกิดการพัฒนาบุคลิกภาพของเด็ก

นอกจากนี้ความมุงหมายของการกลอมเกลาทางสังคม ก็เพื่อปลูกฝงระเบียบวินัยความมุงหวัง แรงบันดาลใจ และสอนใหคนรูจักบทบาทหนาที่ของตนและทัศนคติตางๆ รวมทั้งสอนใหเกิดความชํานาญหรือทักษะ

เมื่อไรก็ตามที่บุคคลยอมรับคานิยมจากกลุมก็จะมีการเปลี่ยนแปลงบางอยางเกิดขึ้น ในตัวบุคคล การยอมรับคานิยมเปนจุดเริ่มตนของการเกิดขึ้นมาแหงตัวตน ซ่ึงจะมีพรอมกับกระบวนการกลอมเกลาทางสังคม

แนวคิดของ Mead จึงอธิบายสนับสนุน ตัวตนของบุคคลที่ไปพรอมกับวิถีของการกลอมเกลาทางสังคม มี 2 ประการ คือ 1) ตัวตน I คือ ตัวตนที่มีความคิดริเร่ิมสรางสรรคและกระฉับกระเฉง ตัวตนแบบนี้มักจะเกิดจากสังคมที่ใหอิสรภาพแกบุคคลในการแสดงออกบาง ไมเขมงวดเกินไป ไมใชความตองการของสังคม 2) ตัวตน Me คือ ตัวตนที่มีแตความเฉื่อย

Page 18: แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัี่ยท ี่ยวของ เกarchive.lib.cmu.ac.th/full/T/2550/noned0950ss_ch2.pdf · 13 ความสัมพันธ

29

ไมกระฉับกระเฉงวองไว ไมมีความคิดสรางสรรค เปนตัวตนที่ชอบทําตามคําสั่ง ตัวตนแบบนี้ มักเกิดจากกลุมที่ใชระเบียบกฎเกณฑอยางเครงครัดในการฝกอบรม

ดังนั้น การขัดเกลาทางสังคมจึงชวยสรางตัวตนขึ้นมา 3 อยาง คือ 1) เปนภาพเกี่ยวกับตัวตน (Self-image) โดยอาศัยการปะทะสัมพันธกับคนอื่น และโดยอาศัยภาษา ทําใหบุคคลเกิดความคิดเกี่ยวกับตนเองวาเปน “ฉัน” ( I ) Cooley กลาววา “พฤติกรรมของคนที่มีตอบุคคลนั้น เปนเหมือนกระจกเงาที่ชวยใหมองเห็นตัวเองวาเปนใคร สวน 2) ตัวตนในอุดมคติ (Ideal-self) สรางขึ้นจากทัศนคติที่คนอื่นมีตอตน คนอาจสรางภาพของสิ่งที่ควรจะเปนเพื่อแสวงหาความรักและการรับรอง 3) ตัวตนปฏิบัติการ(Ego)เปนสิ่งที่เราไดทําไปในแตละวัน โดยไดรับการอบรม ส่ังสอนจากพอแมเพื่อมุงหวังใหเด็กควบคุมและพึ่งตนเองได ซ่ึงเปนชวงสําหรับการปฏิบัติหนาที่ควบคุมและสงเสริมการเปนปกแผนของตัวตน เชน ความอดทน การมีระเบียบ การยอมรับผิด

กลาวโดยสรุป การขัดเกลาทางสังคม ถือวามีความสําคัญมาก หากมนุษยขาดการอบรมใหเรียนรูระเบียบแบบแผนของสังคม มนุษยก็จะไมมีลักษณะของความเปนมนุษย จะกลายเปน คนที่ไมสามารถปรับตัวอยูรวมกันคนอื่นในสังคมได การขัดเกลาทางสังคมจะเปนกระบวนการเรียนรูจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง บุคคลใดชั่วอายุหนึ่งจะตองเรียนรูดวยตนเองแลวจึงนําไปสอนคนรุนตอไปใหปฏิบัติตามตอๆ กันไป เปนมรดกทางสังคม ทฤษฎีตนไม

การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และคานิยมที่พึงประสงคแกนักเรียนชนเผาปกาเกอะญอ ที่เรียนในโรงเรียนศึกษาสงเคราะห เปนประเด็นที่โรงเรียนไดใหความสําคัญและใหความสนใจมาโดยตลอด เพื่อจะไดทําใหนักเรียนชนเผาเหลานี้นํามาเปนแรงผลักดันตนเองในการที่จะอยูรวมกันกับสังคมใหมใหเกิดความสุขมากที่สุด จึงไดมีนักวิชาการไดใหแนวความคิดเกี่ยวกับทิศทางการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ไวหลายทาน ซ่ึงสามารถประมวลเพื่อเปนฐานความคิดในการกําหนดทิศทางการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมนักเรียนดังนี้

1. แนวคิดการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ดวงเดือน พันธุมนาวิน (2546) กลาววา จิตลักษณะดานคุณธรรม จริยธรรม ของนักเรียนหรือผูเรียนเปนสิ่งสําคัญตอพฤติกรรมของบุคคลและมีบทบาทตอคุณภาพชีวิตของบุคคลเหลานี้ตอไปในอนาคต โรงเรียนจึงควรมุงที่จะจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมตางๆ ที่จะชวยพัฒนาจิต ซ่ึงลักษณะสําคัญ 10 ประการ ในนักเรียน ประกอบดวย จิตลักษณะ 8 ดาน ตามทฤษฏีตนไมจริยธรรม ไดแก 1) การมีสติปญญาขั้นนามธรรม 2) สุขภาพ จิตดีและการปรับตัวไดทางจิตสังคม 3) การหยั่งลึกทางสังคมสูง 4) คานิยมทางการศึกษาและ การใฝรูสูง 5) แรงจูงใจใฝสัมฤทธิ์สูง 6) เหตุผลเชิงจริยธรรมขั้นกฎเกณฑและเหนือกฎ 7) มุง

Page 19: แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัี่ยท ี่ยวของ เกarchive.lib.cmu.ac.th/full/T/2550/noned0950ss_ch2.pdf · 13 ความสัมพันธ

30

อนาคต ควบคุมตนเองสูง 8) เชื่ออํานาจในตนเองมาก สวนจิตลักษณะที่สําคัญตอนักเรียนโดยเฉพาะมี 2 ประการ คือ 1) ทัศนคติ คุณธรรมและคานิยมของคนเกง ดี มีความสุข และ 2) จรรยาบรรณวิชาชีพ ซ่ึงหมายถึง คุณธรรม คานิยม และการเคารพกฎ ระเบียบ มีจริยธรรมตามที่วิชาการ และวิชาชีพของตนกําหนดไว เพื่อการเปนคนดี คนเกง และมีสุขในงานอาชีพของตน ในอนาคต

2. แนวคิด คุณธรรม จริยธรรมสําหรับบัณฑิต จากการวิเคราะหเอกสารคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงคของสถาบันอุดมศึกษาตางๆ ภายในประเทศ (อางในรายงานการวิจัย เร่ือง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, 2546 ) ไดขอคนพบวา คุณธรรม จริยธรรมสําหรับบัณฑิต ควรประกอบไปดวย คุณธรรมจริยธรรมพื้นฐาน ซ่ึงรวมไปถึงการที่ตนตองมีวินัยมีความรับผิดชอบ มีซ่ือสัตย เสียสละ มีวัฒนธรรม มีจรรยาบรรณวิชาชีพ นอกจากนี้บุคคลที่มีคุณธรรมจริยธรรมระดับกาวหนา ตองประกอบไปดวยการเปนแบบอยางที่ดี เพื่อใหบุคคลอื่นปฏิบัติตาม เขาใจผูอ่ืน และเขาใจโลกดวย

3. แนวคิด คุณธรรม จริยธรรมเชิงรุก ซ่ึงประกอบดวย ความสามารถในการชี้นําและสงเสริมสังคมใหตระหนักถึงคุณธรรม จริยธรรม เปนผูอุทิศงานเพื่อสวนรวม สละตนเองเพื่องานสังคมทองถ่ินและสละตนเพื่อสังคมโลกอีกดวยจากมาตรา 6 พระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติ การจัดการศึกษาตองเปนไปเพื่อพัฒนาคนไทยใหเปนมนุษยที่สมบูรณ ทั้งทางดานรางกาย จิตใจ สติปญญา ความรูคูคุณธรรม มีจริยธรรม และวัฒนธรรมในการดํารงชีวิตสามารถอยูรวมกับผูอ่ืนไดอยางมีความสุข จากผลงานวิจัย เรื่องรูปแบบการพัฒนาวินัยในตนเองแกนิสิตนักศึกษานั้น งานวิจัยไดสรุปไววา ปญหาของนิสิตนักศึกษาที่จําเปนตองไดรับการแกไขอยางเรงดวน คือ การขาดความมีระเบียบวินัยของนิสิตนักศึกษา การพัฒนาความมีวินัยใหเกิดขึ้นแกนิสิตนักศึกษา จึงเปนสิ่งจําเปน และถือไดวาเปนจริยธรรมประการหนึ่งที่พึงปลูกฝงใหแกนิสิตนักศึกษา

4. แนวคิดการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมที่ควรรื้อฟน ควรสรางใหเกิดขึ้นในตัวนิสิตนักศึกษา สําหรับความพรอมในโลกแหงการแขงขัน การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมในดานนี้ ควรมีความซื่อสัตย ความรับผิดชอบ คือ ความสามารถบังคับ ควบคุมตนเองใหอยูในวินัยได และความอดทน อุตสาหะ นอกจากนี้คานิยมที่พึงปลูกฝงแกนิสิตนักศึกษา ไดแก 1) การเรียนรูตลอดชีวิต 2) การเรียนรูเพื่อปวงประชา 3) ทัศนคติเชิงบวกตอวิชาชีพที่เรียน 4) ทัศนคติการสรางลักษณะนิสัยที่ถูกตอง 5) การมีมนุษยสัมพันธ 6) การมีความคิดริเร่ิมสรางสรรค 7) การมีทัศนคติเชิงประชาธิปไตย 8) การเห็นความสําคัญของสิ่งแวดลอม

สรุป ทิศทางการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมสําหรับนิสิตนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา จากแนวความคิดในการพัฒนานิสิตนักศึกษาดานคุณธรรม จริยธรรม อาจสรุปไดวาประเด็นทาง

Page 20: แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัี่ยท ี่ยวของ เกarchive.lib.cmu.ac.th/full/T/2550/noned0950ss_ch2.pdf · 13 ความสัมพันธ

31

คุณธรรมจริยธรรมที่ควรนํามาใชในการพัฒนานิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษา มีทั้งความซื่อสัตยสุจริต ความออนนอมถอมตน ความรอบคอบ การมีวินัยในตนเอง คุณธรรม จริยธรรมในการดําเนินชีวิตการอยูรวมกันกับผูอ่ืนอยางมีความสุข ความมุงมั่น พากเพียร พยายาม (ความอดทน อุตสาหะ) จิตใจของความเปนผูให ความรับผิดชอบ จิตใจที่คิดถึงประโยชนสวนรวม จรรยาบรรณวิชาชีพ และเมื่อนําประเด็นตางๆ มาสังเคราะหเปนแนวคิด (Concept) เพื่อกําหนด ทิศทางการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมและคานิยมที่พึงประสงคแกนิสิตนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา นาจะกําหนดทิศทางการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม แกนิสิตนักศึกษา ไดดังนี้ 1) จริยธรรมเพื่อการทํางานและการประกอบอาชีพ ซ่ึงมุงเนนในเรื่องคุณธรรมในการทํางานและคุณธรรมจริยธรรมตามกรอบวิชาชีพหรือที่เรียกวา “จรรยาบรรณวิชาชีพ” 2) จริยธรรมในการดํารงชีวิต มุงเนนในเรื่องการเสริมสรางทักษะชีวิต เชน การมีวินัยในตนเองความสามารถในการจัดระเบียบชีวิตการมีความมุงมั่น พากเพียร พยายาม ความรับผิดชอบตอตนเอง การมีคานิยมการเรียนรู การมีคานิยมพอเพียง ขยัน ประหยัด คานิยมการเรียนรูตลอดชีวิต การเห็นความสําคัญของสิ่งแวดลอม 3) จริยธรรมที่มีตอสังคมสวนรวม มุงเนนในเรื่องการมีจิตสาธารณะ จิตใจที่คิดถึงประโยชนสวนรวม จิตใจแหงการเสียสละ จิตใจของความเปนผูให (ดวงเดือน พันธุมนาวิน, 2546) เอกสารงานวิจัยท่ีเก่ียวของ

ทองคํา ยัติสาร (2546) ไดศึกษาเรื่องการปรับตัวของบุคคลที่ตกงานอันเปนผลมาจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ํา พบวา แรงงานคืนถ่ินมีวิธีแกปญหาการตกงานโดยการประกอบอาชีพอิสระแทนการรับจางแบบเดิม การประกอบอาชีพอิสระของผูตกงาน สวนใหญประสบความสําเร็จ เมื่อแรกดําเนินการมีที่ลมเหลวตองเปลี่ยนงานใหม และประสบความสําเร็จ สามารถยึดเปนอาชีพสืบมา ปจจัยสําคัญในความลมเหลวและความสําเร็จ คือ การศึกษาหาขอมูลในงานที่ทํา ผูใหขอมูลที่ประกอบอาชีพอิสระ มีการใชประสบการณเดิมและการหาความรูใหมเปนทุนในการประกอบอาชีพนอกเหนือจากเงินชดเชย หรือเงินที่ไดรับการชวยเหลือจากญาติและเงินกองทุนชุมชน ครอบครัวและชุมชน จึงมีบทบาทสําคัญในการชวยเหลือผูที่ตกงาน ครอบครัวใหกําลังใจและสนับสนุนการประกอบอาชีพใหม สวนชุมชนมีสวนชวยในการสนับสนุนการใหกูเงินกองทุนการประชาสัมพันธและการอุดหนุน

กันยา ณ เชียงใหม (2538) ไดศึกษาเรื่องการปรับตัวของผูนําชุมชนในเขตชุมชน ชานเมืองเชียงใหม พบวา กระบวนการปรับตัวของผูนําชุมชนในเขตชุมชนชานเมืองเชียงใหม ใชกระบวนการปรับตัวทางดานการมีปฏิสัมพันธและการมีสวนรวมทางสังคมเพื่อสรางความสัมพันธ กับชาวบานทําใหไดรับความเชื่อถือและศรัทธา ขณะเดียวกันก็เปนเครือขายความสัมพันธที่ให

Page 21: แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัี่ยท ี่ยวของ เกarchive.lib.cmu.ac.th/full/T/2550/noned0950ss_ch2.pdf · 13 ความสัมพันธ

32

ผลในเรื่องของงานประกอบกับความรู ความสามารถ และบุคลิกพื้นฐานสวนตัวของผูนําที่ทําใหประสบความสําเร็จ อิทธิพลของปจจัยที่ใหผลตอการปรับตัวของผูนํา โดยทั่วไปมีทั้งประสบการณ แนวคิดการเรียนรู การถายทอดของครอบครัว และแบบอยางที่ใกลชิดในสังคม เปนปจจัยที่มี การปรับตัวดานบุคลิกภาพ และชีวิตสวนตัวมากที่สุดเปนอันดับแรก อันดับที่ 2 คือการปรับตัวดานสังคม ประเพณี วัฒนธรรมดั้งเดิมของทองถ่ิน อันดับที่ 3 การปรับตัวดานการมีความสัมพันธจากภายนอก โดยมีโครงการพัฒนาตางๆ เปนส่ือชวยเสริมแรงในการปรับตัวทางดานการพัฒนาเศรษฐกิจ ความรู ขาวสาร การติดตอกับภายนอก รวมทั้งการยอมรับนวัตรกรรมใหมๆ แตปญหาที่พบเห็น ผูนําสวนใหญโดยเฉพาะผูนําสตรียังมองไมเห็นถึงความสําคัญของการศึกษาที่แทจริง โอกาสและความสามารถที่จะไดรับการศึกษา เพราะไมมีเวลาและการใหผลตอบแทนที่คุมคาตอการพัฒนาคุณภาพชีวิต ขณะที่การเปลี่ยนแปลงทางสังคมทําใหวิถีชีวิตเปลี่ยนไป ทําใหตองมุงมั่น ปรับตัวทางดานเศรษฐกิจใหดีขึ้นสมฐานะของผูนําหมูบาน นอกจากนั้นแลวผูนําสตรีและกลุมแมบาน ยังไมเขาใจบทบาทของตนเอง และวัตถุประสงคของโครงการหรือกลุมไดชัดเจน

ฐิติมาน แกวขาว (2539) ไดศึกษาเรื่องการปรับตัวของผูสูงอายุในจังหวัดกําแพงเพชร โดยไดนําเอาทฤษฎีการปรับตัวของรอยดมาใช เปนกรอบในการสรางเครื่องมือในการปรับตัว พบวา ผูสูงอายุในเมืองมีการปรับตัวเหมาะสมทุกดาน คือ ดานสรีระวิทยา ดานอัตมโนทัศน ดานบทบาทหนาที่และดานการพึ่งพาระหวางกัน สวนผูสูงอายุในชนบทจะมีเพียงการปรับตัวดานอัตมโนทัศนที่เหมาะสม

ยศ สันตสมบัติ (2539) ไดวิเคราะหเบื้องตน การปรับตัวของชุมชนชาวนาไทยทามกลางการแวดลอมของวัฒนธรรมดานอุตสาหกรรม พบวา ชุมชนมิไดอยูนิ่งรอรับผลกระทบจากภายนอกอยางเดียว แตพยายามตอสูดิ้นรน แสวงหาทางออกทามกลางกระแสเปลี่ยนแปลง โดยคิดคนรูปแบบแนวทางการประกอบอาชีพอ่ืนๆ เสริมอาชีพเกษตรกรรมเดิม เพื่อไมใหเกิดการยึดติดพึ่งพิงโรงงานอุตสาหกรรมเพียงอยางเดียว และพยายามปรับปรุงรูปแบบองคกร และสถาบันทางสังคมในลักษณะตางๆ ขึ้นมาทํางานรวมกันในชุมชน แสดงใหเห็นวาแมชุมชนจะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ ระบบเศรษฐกิจถูกครอบงําจากทุนนิยมมากขึ้น หากแตจิตสํานึกของความเปนชุมชนยังคงดํารงอยู และสามารถปรับเปลี่ยนและพัฒนาใหสอดคลอง กับความตองการและ การเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยไดระดับหนึ่ง

ศิริวรรณ มวงศิริ (2541) ไดศึกษาวิจัยเรื่องความพึงพอใจในการเกษียณอายุ: ศึกษากรณีขาราชการบํานาญกระทรวงศึกษาธิการ ผลการวิจัยพบวา ผูเกษียณอายุที่มีระดับตําแหนงหนาที่การงานสูงจะมีการปรับตัวไดดีกวาผูที่มีตําแหนงหนาที่การงานต่ํากวา และผูสูงอายุที่มี สวนรวมในสังคมมาก จะปรับตัวไดดีกวาผูสูงอายุที่มีสวนรวมในสังคมนอย

สินีนาฏ อจลสุต และคณะ (2539) ไดศึกษาวิจัยเร่ืองปจจัยที่มีอิทธิพลตอการตัดสินใจลาออกตามโครงการลาออกกอนครบเกษียณอายุ ศึกษาเฉพาะกรณีการสื่อสารแหงประเทศไทย

Page 22: แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัี่ยท ี่ยวของ เกarchive.lib.cmu.ac.th/full/T/2550/noned0950ss_ch2.pdf · 13 ความสัมพันธ

33

ผลการศึกษาพบวา ปจจัยที่มีความสัมพันธ กับการตัดสินใจลาออกตามโครงการฯ ประกอบดวยปจจัยทางเศรษฐกิจ ไดแก รายไดของพนักงาน และปจจัยทางดานทัศนคติ ไดแก ทัศนคติของครอบครัว ทัศนคติของเพื่อนรวมงานที่มีตอพนักงาน และทัศนคติของพนักงานเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางดานเทคโนโลยีในการทํางาน และเมื่อพิจาณาถึงลําดับความสําคัญของปจจัยตางๆ ที่มีผลตอการตัดสินใจลาออก และปจจัยที่มีความสําคัญรองลงมา คือ ปจจัยทางดานทัศนคติเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน และความรับผิดชอบในงานที่ทําอยูในปจจุบัน โอกาส ความกาวหนาและความสําเร็จในอนาคต

นฤมล ลภะวงศ (2548) ไดศึกษางานวิจัยเร่ือง การปรับตัวทางสังคมของพระภิกษุตางชาติ ในอําเภอแมแตง จังหวัดเชียงใหม พบวา การปรับตัวประกอบดวยการปรับตัวทางกฎระเบียบของวัด การปรับตัวทางดานภาษาพูดและอานเพื่อใชในการสื่อสาร การปรับตัวกบัสภาพ แวดลอม โดยการสรางความสัมพันธกับพระภิกษุ สามเณรในวัดชวยเหลืองานเจาอาวาส งานของพระภิกษุ สามเณรในวัด การปรับตัวในกิจวัตรประจําวันของพระสงฆ และวินัยของสงฆไทย การปรับตัวในการปฏิบัติตนใหสอดคลองกับความคาดหวังของชุมชน เพื่อใหอาศัยอยูในชุมชนเสมือนเปนสมาชิกของชุมชนไดอยางปกติสุข วิธีการในการปรับตัว ประกอบดวย การสั่งสอนของเจาอาวาส การสังเกตการณปฏิบัติตนของพระภิกษุรูปอ่ืน และเลียนแบบการศึกษาเอกสาร โดยการเรียนภาษาไทย การอานหนังสือพิมพ และการอานหนังสือสวดมนตทําวัตร

อิทธิพล เหมหงษ (2545) ไดศึกษาการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของเยาวชนชาวเขาที่เขามาอาศัยอยูในเมือง พบวาสภาพครอบครัวและสังคมของเยาวชนสวนใหญยากจน มีอาชีพดาน การเกษตรกรรม พึ่งพาอาหารจากปาและแหลงน้ําตามธรรมชาติ มีการพึ่งพาอาศัยกัน ชวยเหลือ ซ่ึงกันและกันภายในชุมชน และในหมูญาติมิตร มีการเคารพนับถือผูอาวุโส เชื่อถือผีและมีพิธีกรรมเปนกลไกในการควบคุมพฤติกรรม อยางไรก็ตาม ในชวง 10-15 ปที่ผานมา ไดมีกระแสวัฒนธรรมความเชื่อจากนอกชุมชนแพรเขาไปในชุมชน ในรูปแบบตางๆ กัน เชน การเขาไปขององคกรของรัฐ ศาสนา และมีการคมนาคมสะดวกขึ้น ทําใหเยาวชน จํานวนมากออกไปทํางานนอกชุมชน และไดนําเอาวิทยุ โทรทัศน เขาไปสูหมูบาน ทําใหกระตุนใหคนในชุมชนมองเห็นความเจริญจากภายนอกอยางกวางขวาง การศึกษาวิถีชีวิตของเยาวชนชาวเขา จํานวน 10 คนที่เขามาอยูในโรงเรียนพระหฤทัย เชียงใหม ทําใหพบขอมูลเชิงประจักษวาเยาวชนเหลานี้ ไดมีระยะเวลาในการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตใหม กลาวคือ ภายใตบริบทที่เปล่ียนไป มีเพื่อนใหม กติกาใหม ความเชื่อแบบใหมภายใตการควบคุมดูแลของครูบาทหลวง และซิสเตอรแทนผูปกครอง ญาติพี่นองและผูอาวุโส ประกอบกับไดมีโอกาสศึกษาตอในชั้นที่สูงขึ้น มีงานทํา มีรายไดเปนของตนเอง และมีความเปนตัวของ ตัวเองมากขึ้น ทําใหเยาวชนเหลานี้ตองปรับตัวใหเขากับสังคม วัฒนธรรมและระบบเศรษฐกิจใหม โดยเฉพาะอยางยิ่งเยาวชนจะพยายามพูดภาษาไทยใหคลอง เรียนรูมารยาท และการกระทํา

Page 23: แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัี่ยท ี่ยวของ เกarchive.lib.cmu.ac.th/full/T/2550/noned0950ss_ch2.pdf · 13 ความสัมพันธ

34

ความเคารพเพื่อที่จะไดหางานทํางายขึ้น อยางไรก็ตาม ภายใตกติกาของการรักษาวัฒนธรรมของการแตงกายที่โรงเรียนพระหฤทัยเชียงใหม กําหนดไว เยาวชนชาวเขาจึงตองแตงกายตามเผาพันธุในวันสําคัญๆ

วรรณี ดวงดีทวีวัฒน (2540) ไดศึกษาการปรับตัวของครอบครัวในชุมชนชนบทใน สภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคม พบวา การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม มีผลกระทบตอชุมชนและครอบครัว มีความหลากหลายในการประกอบอาชีพ อาชีพภาคเกษตรกรรมถูกลดความสําคัญลง มีการประกอบอาชีพอ่ืน เชน การรับจาง ทั้งในและตางประเทศ ความสัมพันธแบบเครือญาติมีลดลง ความสัมพันธระหวางสมาชิกในครอบครัวไดรับผลกระทบเนื่องจากอิทธิพลของส่ือและสิ่งยั่วยุจากสังคมภายนอก ประเพณี คานิยม และความเชื่อบางอยางของชุมชนและครอบครัวไดรับผลกระทบเนื่องจากชุมชนใหความสนใจกับการทํามาหาเลี้ยงชีพ ทําใหไมมีเวลาที่จะใสใจกับวิธีปฏิบัติ วัยรุนมีการคบหาเพื่อนตางเพศ และตัดสินใจเลือกคูครองเองมากขึ้น ผูหญิงออกมาทํางานหารายไดเอง เกิดความหางเหินของสมาชิกในครอบครัว มีคาใชจาย ในการบริโภค และการซื้อหาส่ิงของจากรานคามาใชมากขึ้น ไมมีเวลาหางานและอาหารจากแหลงธรรมชาติหาไดยากลําบากกวาเดิม คานิยมและความเชื่อในการรับประทานอาหารตองหามของผูหญิงหลังคลอด ยาสมุนไพร และวิธีการพยาบาลแบบพื้นบานถูกลดบทบาทและความสําคัญ ไปบาง และนิยมไปรับการรักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลของรัฐมากกวา

นอกจากนี้ ประภาศรี มานิตย (2542) ไดศึกษาเรื่อง การปรับตัวหลังเกษียณอายุของบุคลากรสายอาจารยสถาบันอุดมศึกษา จังหวัดเชียงใหม พบวา การปรับตัวโดยรวมของกลุมตัวอยางสวนใหญ มีคะแนนระดับสูง รอยละ 71.67 การปรับตัวหลังเกษียณของกลุมตัวอยาง ดานสรีระวิทยา ดานบทบาทหนาที่และดานการพึ่งพาระหวางกัน อยูในระดับเหมาะสม รอยละ 100 ยกเวนการปรับตัวดานอัตมโนทัศนอยูในระดับเหมาะสม รอยละ 96.70 และมีคะแนนเฉลี่ยการปรับตัวหลังเกษียณอยูในชวงเวลาของกลุมตัวอยาง ทั้งโดยรวมและรายดานไมมีความแตกตาง

มีผูไดทําศึกษาวิจัยเกี่ยวกับประเด็นการปรับตัวไวหลายกรณี ดังที่ไดกลาวมาแลว มีผลการวิจัยแตกตางกัน ขึ้นอยูกับกลุมของบุคคล หรือกลุมประชากร ทองที่ และบริบทที่ไดทําการศึกษา เชน โครงสรางทางสังคม ความสัมพันธทางสังคม ประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ศาสนา คานิยม ระดับการศึกษา การเรียนรูและการรับรู ดังนั้น ผลการวิจัยในบางเรื่อง พบวา บางประเด็นปญหาคนในสังคมก็สามารถปรับตัวได ในบางประเด็นก็ไมสามารถปรับตัวได ทั้งนี้ ก็ขึ้นอยูกับปจจัยดังกลาวขางตน

ฉะนั้น ผูวิจัยจึงอาศัยแนวคิดการถายทอด การเรียนรู การปรับตัว การกลอมเกลาทางสังคม ในมิติของการศึกษาตลอดชีวิต การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย มาเปนกรอบแนวคิดการวิจัยภายใตบริบทของโรงเรียนศึกษาสงเคราะหเชียงใหม

Page 24: แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัี่ยท ี่ยวของ เกarchive.lib.cmu.ac.th/full/T/2550/noned0950ss_ch2.pdf · 13 ความสัมพันธ

35

กรอบแนวคิดการวิจัย

จากแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวของดังกลาวมา ผูวิจัยไดกําหนดเปนกรอบแนวคิด ในการวิจัย ดังนี้

บริบท • ชุมชนเดิม • โรงเรียนศึกษาสงเคราะห

ปจจัยภายใน ปจจัยดานนักเรียน - ชวงช้ันที่กําลังศึกษา - วัฒนธรรมพื้นฐาน - ระยะเวลาที่อยูในโรงเรียน

ผล • การยอมรับบทบาทและพฤติกรรมการปรับตัว

กระบวนการปรับตัว

• การเรียนรู • การถายทอด • กระบวนการกลุม • การกลอมเกลา • การตัดสินใจ • การปรับตัว

เง่ือนไข - บริบท - เวลา - เนื้อหาการ เรียนรู

- โอกาส - การยอมรับตนเองและกลุมเพื่อน

- ทักษะสวนตัว

ปจจัยภายนอก ปจจัยดานโรงเรียน - หลักสูตร - เนื้อหาการเรียนรู - สื่อการเรียนรู - กฎระเบียบ / ขอบังคับ - ครู (คุณลักษณะ/ภูมิหลัง /วิธีการ) - ผูบริหาร - อาคาร สถานที่ - บรรยากาศ - สัมพันธภาพระหวางเพื่อน รุนพี่ รุนนอง

ปจจัยดานชุมชน - ครอบครัว - ระบบเครือญาติชนเผา - จารีตประเพณีและวัฒนธรรมความเช่ือ

- การปฏิบัติตนในสังคม

ภาพที่ 6 กรอบแนวคดิการวิจัย