ส่วนที่ 1 - maejo university · web viewระด บประกาศน ยบ...

196
รรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรร รรรรรรรรรรรรรรรร 2550 (รรร 50 – รร 51) รรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรร รรร.053-873038 1 รรรรรรรรรรรรรรรรรรรรร รรรรรรรรรรรรรรรรร รรรรรรรรรรรรรรรร 2550 (รรรรรรรร 2550 – รรรรรรร 2551)

Upload: others

Post on 24-Oct-2020

2 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

ส่วนที่ 1

.

ตรี

4

ปี

,

8643

,

66

.

87

%

.

ตรี

2

ปี

,

3213

,

24

.

86

%

.

โท

,

871

,

6

.

74

%

.

เอก

,

72

,

0

.

56

%

.

ตรี

5

ปี

,

124

,

0

.

96

%

.

บัณฑิต

,

2

,

0

.

02

%

ส่วนที่ 1

สถานภาพปัจจุบัน

ประวัติมหาวิทยาลัยแม่โจ้

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้พัฒนามาจากโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมประจำภาคเหนือ กระทรวงธรรมการ เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ.2477 เป็นสถานศึกษาขั้นสูงสุดทางการเกษตรของประเทศในสมัยนั้น ซึ่งมีประวัติที่เล่าขานและเป็นตำนานที่บอกกล่าวมายาวนานถึงเรื่องราวการบุกเบิกพื้นที่ และการต่อสู่กับงานหนัก เพื่อให้ความรู้ สติปัญญา ฝึกทักษะ อาชีพ และหล่อหลอมความทรหดอดทนของผู้เรียน เพื่อให้บรรลุผลของงานที่ทำท่ามกลางภยันตรายที่รุมล้อมรอบตัว ไม่ว่าจะเป็นไข้ป่า ความกันดารของสภาพพื้นที่ที่เป็นป่า ขาดแคลนน้ำและดินเลว สภาพที่อยู่ และห้องเรียนที่สร้างจากใบตองตึง พื้นเป็นดิน ซึ่งหากไม่มีหัวใจของนักต่อสู้งานหนัก จิตใจที่ตั้งมั่นและอดทนแล้ว คงมิอาจฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ ดังกล่าวไปได้

วันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2477 กระทรวงธรรมการ ได้จัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมภาคเหนือที่แม่โจ้ ให้พระช่วงเกษตรศิลปการ (ช่วง โลจายะ) เป็นอาจารย์ใหญ่คนแรก มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 12,879 ไร่ เปิดการเรียนการสอนระดับประกาศนียบัตรประโยคครูประถมกสิกรรม (ป.ป.ก)

พ.ศ. 2481 จัดตั้งเป็นวิทยาลัยเกษตรศาสตร์แม่โจ้ สังกัดกระทรวงเกษตราธิการ เปิดหลักสูตร 3 ปี ระดับอนุปริญญา

พ.ศ. 2482 แม่โจ้ได้จัดตั้งเป็น โรงเรียนเตรียมเกษตรศาสตร์ รับผู้สำเร็จชั้นมัธยมปลาย หลักสูตร 2 ปี เพื่อจะเข้าศึกษาต่อที่วิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน

พ.ศ. 2486 เปลี่ยนเป็น โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หลักสูตร 2 ปี เพื่อเตรียมนักเรียน เข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ซึ่งเดิมคือ วิทยาลัยเกษตรศาสตร์บางเขน

พ.ศ. 2488 จัดตั้งเป็นสถานศึกษาการเกษตรแม่โจ้ กำหนดเวลาเรียน 2 ปี ใช้หลักสูตรเตรียมอุดมศึกษา

พ.ศ. 2492 โอนกิจการของ สถานศึกษาการเกษตรแม่โจ้ไปสังกัดกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ โดยจัดตั้งเป็น โรงเรียนเกษตรกรรมแม่โจ้ เพื่อให้การศึกษาระดับประโยคอาชีวชั้นสูงเกษตรกรรม

พ.ศ. 2499 ได้รับยกฐานะเป็น วิทยาลัยเกษตรกรรมเชียงใหม่ โดยในปี พ.ศ. 2505 เปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงเกษตรกรรม (เทคนิคเกษตร)

พ.ศ. 2518 สถาปนาเป็น สถาบันเทคโนโลยีการเกษตร ให้มีปริญญาสามชั้นคือ เทคโนโลยีการเกษตรดุษฎีบัณฑิต (ทษ.ด.) เทคโนโลยีการเกษตรมหาบัณฑิต (ทษ.ม.) และเทคโนโลยีการเกษตรบัณฑิต (ทษ.บ.) มีโครงสร้างการบริหารงานประกอบด้วย 1. สำนักงานอธิการบดี 2. คณะผลิตกรรมการเกษตร 3. คณะธุรกิจการเกษตร และ 4. สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร

พ.ศ. 2525 เปลี่ยนชื่อเป็น สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ โดยมีพันธกิจในการผลิตบัณฑิต “เพื่อมุ่งเน้น ไปในทางปฏิบัติในสาขาวิชาที่ถนัดเฉพาะอย่าง เพื่อให้มีความรู้ความชำนาญอย่างแท้จริงจนสามารถออกไป ประกอบอาชีพเองได้”

วันที่ 12 พฤศจิกายน 2539 ได้ปรับเปลี่ยนเป็น มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พ.ศ. 2539 มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษา ส่งเสริมวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง ทำการสอน ทำการวิจัย ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยแม่โจ้ แบ่งหน่วยงานออกเป็น 10 คณะ 1 วิทยาลัย 2 วิทยาเขต 2 สำนัก และ1 สถาบัน ดังนี้

1. คณะผลิตกรรมการเกษตร

2. คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัยพากรทางน้ำ

3. คณะวิทยาศาสตร์

4. คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร

5. คณะบริหารธุรกิจ

6. คณะเศรษฐศาสตร์

7. คณะพัฒนาการท่องเที่ยว

8. คณะสารสนเทศและการสื่อสาร

9. คณะศิลปศาสตร์

10. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม

11. วิทยาลัยบริหารศาสตร์

12. มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ

13. มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร

14. สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร

15. สำนักงานอธิการบดี

16. สถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์

สัญญาลักษณ์มหาวิทยาลัยแม่โจ้

ตรามหาวิทยาลัย (พระพิรุณทรงนาค)

สีประจำมหาวิทยาลัย (สีเขียว ขาว และเหลือง)

ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย (ต้นอินทนิล)

ที่ตั้งมหาวิทยาลัยแม่โจ้

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยแม่โจ้จัดการเรียนการสอนอยู่ 3 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่ 12,879 ไร่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดแพร่ มีพื้นที่ 1,737 ไร่ 2 งาน และมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร มีพื้นที่ 1,750 ไร่

การจัดการเรียนการสอน

ปีการศึกษา 2550 มหาวิทยาลัยได้จัดการเรียนการสอนทั้งสิ้น 61 หลักสูตร ดังนี้

1. ระดับปริญญาตรี จำนวน39 หลักสูตร

คณะผลิตกรรมการเกษตร

8หลักสูตร

วท.บ.(เกษตรศาสตร์) สาขาอารักขาพืชวท.บ.(เกษตรศาสตร์) สาขาปฐพีศาสตร์

วท.บ. สาขาสัตวศาสตร์

วท.บ. (เกษตรศาสตร์) สาขาพืชไร่

วท.บ. (พืชศาสตร์)

วท.บ.(เกษตรศาสตร์) สาขาเกษตรเคมี

วท.บ. สาขาส่งเสริมการเกษตร

วท.บ. สาขาการจัดการธุรกิจเกษตร

คณะวิทยาศาสตร์

7หลักสูตร

วท.บ.สาขาคณิตศาสตร์

วท.บ.สาขาสถิติ

วท.บ.สาขาเคมี

วท.บ.สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ

วท.บ.สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ

วท.บ.สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์

วท.บ.สาขาวัสดุศาสตร์

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม

2หลักสูตร

ทภ.บ. สาขาเทคโนโลยีภูมิทัศน์

ภท.บ. สาขาภูมิสถาปัตยกรรม

คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ

1หลักสูตร

วท.บ. สาขาการประมง

คณะเศรษฐศาสตร์

5หลักสูตร

ศศ.บ.สาขาเศรษฐศาสตร์สหกรณ์

วท.บ.สาขาเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม

วท.บ.สาขาเศรษฐศาสตร์เกษตร

ศศ.บ.สาขาเศรษฐศาสตร์

ศศ.บ. สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ

คณะศิลปศาสตร์

2หลักสูตร

ศศ.บ.สาขานิเทศศาสตร์บูรณาการ

ศศ.บ.สาขาภาษาอังกฤษ

คณะพัฒนาการท่องเที่ยว

1หลักสูตร

ศศ.บ.สาขาพัฒนาการท่องเที่ยว

คณะบริหารธุรกิจ

4หลักสูตร

บช.บ.สาขาการบัญชี

บธ.บ.สาขาการเงิน

บธ.บ.สาขาบริหารธุรกิจ

บธ.บ.สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ

คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร

5หลักสูตร

วท.บ.สาขาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยววท.บ.สาขาวัสดุศาสตร์(อุตสาหกรรมการยาง)

วศ.บ.สาขาวิศวกรรมเกษตร

วศ.บ.สาขาวิศวกรรมอาหาร

วท.บ.สาขาวิทยาศาสาตร์และเทคโนโลยีการอาหาร

วิทยาลัยบริหารศาสตร์/มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ฯ/มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร4หลักสูตร

รศ.บ.สาขารัฐศาสตร์

ศศ.บ.สาขาการจัดการชุมชน

วท.บ.สาขาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์วท.บ.สาขาเกษตรป่าไม้

2. ระดับประกาศนียบัตร จำนวน 1 หลักสูตร

คณะผลิตกรรมการเกษตร

1หลักสูตร

ป.บัณฑิต การพัฒนาภูมิสังคมอย่างยั่งยืน

3. ระดับปริญญาโท จำนวน 18 หลักสูตร

คณะผลิตกรรมการเกษตร

7หลักสูตร

วท.ม.สาขาพืชสวน

วท.ม.พืชไร่

วท.ม.สาขาปฐพีศาสตร์

วท.ม.สาขาเทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์

วท.ม.สาขาส่งเสริมการเกษตร

วท.บ.สาขาการใช้ที่ดินและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน

ป.บัณฑิต สาขาพัฒนาภูมิสังคมอย่างยั่งยืน(ระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต)

คณะวิทยาศาสตร์

2หลักสูตร

วท.ม.สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ

วท.ม.สาขาเคมีประยุกต์

คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ

1หลักสูตร

วท.ม.สาขาเทคโนโลยีการประมง

คณะเศรษฐศาสตร์

2หลักสูตร

ศศ.ม.เศรษฐศาสตร์เกษตร

ศศ.ม.เศรษฐสาสตร์สหกรณ์

คณะพัฒนาการท่องเที่ยว

1หลักสูตร

ศศ.ม.บริหารการพัฒนา

คณะสารสนเทศและการสื่อสาร

1หลักสูตร

ศศ.ม.สาขานิเทศศาสตร์

คณะบริหารธุรกิจ

1หลักสูตร

บธ.ม.สาขาบริหารธุรกิจ

คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร

3หลักสูตร

วท.ม.สาขาเทคโนโลยีทางอาหาร

วท.ม.สาขาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว

วศ.ม.สาขาวิศวกรรมการแปรรูปผลผลิตเกษตร

4. ระดับปริญญาเอก จำนวน3 หลักสูตร

คณะผลิตกรรมการเกษตร

2หลักสูตร

ศศ.ด.สาขาการวางแผนและพัฒนาชนบทวท.ด.พืชไร่

วิทยาลัยบริหารศาสตร์

1 หลักสูตร

ศศ.ด.สาขาบริหารศาสตร์

ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจและวัตถุประสงค์

ปรัชญา

มุ่งมั่นพัฒนาบัณฑิตสู่ความเป็นผู้อุดมด้วยปัญญา อดทน สู้งาน เป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรม เพื่อความเจริญรุ่งเรืองวัฒนาของสังคมไทยที่มีการเกษตรเป็นรากฐาน

วิสัยทัศน์

มุ่งพัฒนาให้มหาวิทยาลัยเป็นศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการทางการเกษตร (Center of Excellence in Agriculture) ที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันระดับนานาชาติ เป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ที่มีองค์ความรู้วิทยาศาสตร์ชีวิต (Life Sciences) เชิงบูรณาการ สร้างและถ่ายทอดนวัตกรรมสู่ชุมชนที่ยึดคนเป็นศูนย์กลาง มุ่งสร้างบัณฑิตให้เป็นผู้ประกอบการมืออาชีพที่มีคุณภาพทั้งทางทักษะ ด้านภาษาต่างประเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศ

พันธกิจ

1. ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในวิชาการและวิชาชีพโดยเฉพาะการเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurs) ที่ทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงโดยเน้นทางการเกษตร วิทยาศาสตร์ประยุกต์ และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องตามความต้องการของสังคมและตลาดแรงงาน

2. ขยายโอกาสแก่ผู้ด้อยโอกาสเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา และส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของคนทุกระดับ

3. สร้างและพัฒนานวัตกรรมและองค์ความรู้ในสาขาวิชาต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางการเกษตรและวิทยาศาสตร์ประยุกต์เพื่อการเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่สังคม

4. ขยายการบริการวิชาการและความร่วมมือในระดับประเทศและนานาชาติ

5. พัฒนามหาวิทยาลัยให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการด้านการเกษตร เพื่อเป็นที่พึ่งของตนเองและสังคม

6. ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

7. สร้างระบบบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และมีความโปร่งใสในการบริหารงาน

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้มหาวิทยาลัยแม่โจ้สามารถผลิตบัณฑิตที่อุดมด้วยปัญญา อดทน สู้งาน มีคุณธรรมและจริยธรรมที่ดีงาม สามารถเป็นผู้ประกอบการที่มีทักษะด้านภาษาต่างประเทศ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ตลอดจนสามารถปรับตัวให้ทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง

2. เพื่อให้มหาวิทยาลัยแม่โจ้มีผลงานวิจัยในด้านการพัฒนานวัตกรรมและองค์ความรู้ วิทยาศาสตร์ชีวิต เพื่อนำมาพัฒนาด้านการเรียนการสอน และถ่ายทอดสู่ชุมชนและสังคม

3. เพื่อให้มหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้เชิงบูรณาการของคนทุกระดับ เป็นแหล่งค้นคว้าและรวบรวมองค์ความรู้ทางวิชาการ วิชาชีพ ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

4. เพื่อให้มหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นศูนย์กลางของการศึกษาที่มีความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันและองค์กร ด้านการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งเป็นศูนย์กลางการเสริมสร้างขีดความสามารถของมุนษย์ ด้านการพัฒนาในประเทศเขตอนุภาคลุ่มน้ำโขง

5. เพื่อให้มหาวิทยาลัยแม่โจ้มีขีดความสามารถในการพึ่งตนเองทั้งด้านงบประมาณและการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และมีความโปร่งใส

ประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์และกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัย

(จากแผนพัฒนาการศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ระยะที่ 10 )

ประเด็นยุทธศาสตร์ 1 : ผลิตบัณฑิตที่มีมาตรฐานและคุณภาพตามความต้องการของประเทศ

เป้าประสงค์ : บัณฑิตของมหาวิทยาลัยเป็นผู้ที่มีปัญญา ความรู้ ทักษะ อดทน สู้งาน มีคุณธรรม จริยธรรมและ สามารถปรับตัวตอบสนองต่อบริบทความเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กลยุทธ์หลัก : มุ่งเน้นการสร้างและพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและสอดคล้องกับความต้องการของตลาดและสังคม

ประเด็นยุทธศาสตร์ 2 : ด้านความเป็นเลิศด้านการวิจัยและนวัตกรรม

เป้าประสงค์ : 2.1 ผลงานวิจัยและนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยโดยเฉพาะด้านการเกษตร สามารถเพิ่มขีดความ- สามารถ ในการแข่งขันของประเทศและเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ

: 2.2 มหาวิทยาลัยเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ และเสริมสร้างขีดสมรรถนะของทรัพยากรบุคคลด้านการเกษตรเชิงบูรณาการ

กลยุทธ์หลัก : สร้างให้มหาวิทยาลัยเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) โดยเฉพาะในเชิงการเกษตร

ประเด็นยุทธศาสตร์ 3 : การบูรณาการองค์ความรู้ที่เพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถของชุมชน

เป้าประสงค์ : 3.1 มหาวิทยาลัยเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตของคุนทุกระดับ

: 3.2 มหาวิทยาลัยมีการบริการทางวิชาการที่สอดคล้องกับความต้องการของภูมิภาพและประเทศ

กลยุทธ์หลัก : ส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยเป็นผู้นำและแหล่งเรียนรู้ ชี้แนะด้านการบริการวิชาการแก่สังคม โดยเฉพาะด้านการเกษตรเชิงบูรณาการ โดยเน้นระบบเกษตรมั่นคงและปลอดภัย

ประเด็นยุทธศาสตร์ 4 : การดำรงศิลปวัฒนธรรมและรักษาระบบนิเวศของทรัพยากรธรรมชาติ

เป้าประสงค์ : ผู้บริหาร อาจารย์ นักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัย มีส่วนสำคัญในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

กลยุทธ์หลัก : ส่งเสริมและสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยเป็นผู้นำและมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสืบสานศิลป-วัฒนธรรมท้องถิ่น และการฟื้นฟูอนุรักษ์ระบบนิเวศน์ธรรมชาติวิทยาอย่างต่อเนื่อง

ประเด็นยุทธศาสตร์ 5 : การบริการจัดการที่มีประสิทธิภาพ

เป้าประสงค์ : มหาวิทยาลัยมีการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพโดยยึดหลักธรรมาภิบาลการมีส่วนร่วมและพึ่งพอตนเองได้

กลยุทธ์หลัก : มุ่งเน้นการบรหารจัดการแบบมืออาชีพที่เอื้อต่อการแข่งขันได้

คุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์

1. มีความรู้ ความสามารถทางวิชาการ และมีความเชี่ยวชาญในหลักการพื้นฐานของวิชาชีพ

2. มีการพัฒนาจิตสำนึกและทักษะในการเรียนรู้ตลอดชีวิตมีสมรรถวิสัยในการแสวงหาความรู้โดยอิสระ

3. มีการพัฒนาทักษะพื้นฐานที่ใช้ในการประกอบอาชีพ เช่น ทักษะการสื่อสารด้านภาษาไทยและภาษาต่างประเทศอย่างน้อย 1 ภาษา ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น

4. มีความสามารถในเชิงสหวิทยาการในการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ และแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ

5. มีความเป็นผู้นำ รู้จักบทบาทและหน้าที่ของตนเองในสังคม

6. มีการบ่มเพาะจิตสำนึกอันดีในความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว สังคมและสิ่งแวดล้อม

7. มีคุณธรรม จริยธรรม ศีลธรรมในการครองชีพ มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ

ผลิตฯ

,

2566

วิศวะฯ

,

978

วิทย์

,

1265

บริหารศาสตร์

,

1112

บริหารธุรกิจ

,

2392

ชุมพร

,

288

แพร่

,

1662

ท่องเที่ยว

,

411

ประมง

,

609

ศิลปศาสตร์

,

299

เศรษฐศาสตร์

,

1019

สารสนเทศฯ

,

94

สถาปัตย์ฯ

,

230

0

500

1000

1500

2000

2500

3000

โครงสร้างการบริหาร : การแบ่งส่วนราชการของมหาวิทยาลัยแม่โจ้

ข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนการสอน (ปีการศึกษา 2550)

จำนวนระดับของหลักสูตรที่เปิดการเรียนการสอนทั้งมหาวิทยาลัย รวม 61 หลักสูตร

ปริญญาตรี, 39, 63%

ประกาศนียบัตรบัณฑิต

, 1, 2%

ปริญญาโท, 18, 30%

ปริญญาเอก, 3, 5%

ข้าราชการ

,

427

,

31

.

33

%

ลูกจ้างชั่วคราว

,

214

,

15

.

70

%

พนักงาน

,

599

,

43

.

95

%

ลูกจ้างประจำ

,

123

,

9

.

02

%

จำนวนนักศึกษาปีการศึกษา 2550 (แยกตามระดับปริญญา) รวม 12,925 คน

ประมง

,

30

บริหาร

,

41

ผลิตกรรม

,

206

ท่องเที่ยว

,

16

วิทยาศาสตร์

,

144

วิศวกรรม

,

78

ศิลปศาสตร์

,

65

เศรษฐศาสตร์

,

29

สถาปัตย์

,

28

สารสนเทศ

,

13

ชุมพร

,

34

แพร่

,

142

วิทยาลัยบริหาร

,

19

สำนักงานอธิการบดี

,

386

หน่วยงานอื่น

,

132

0

100

200

300

400

จำนวนนักศึกษาปีการศึกษา 2550 (แยกตามคณะ) รวม 12,925 คน

จำนวนบัณฑิต(ระดับบัณฑิตศึกษา)ที่จบการศึกษาในปีการศึกษา 2550 (แยกตามคณะ) รวม 190 คน

เทคโนโลยีประมงฯ, 3, 1.58%

บริหารธุรกิจ, 37, 19.47%

เศรษฐศาสตร์, 27, 14.21%

สารสนเทศฯ, 17, 8.95%

วิทยาศาสตร์, 2, 1.05%

ผลิตกรรมฯ, 75, 39.47%

พัฒนาการท่องเที่ยว, 29, 15.26%

จำนวนบัณฑิต(ระดับปริญญาตรี)ที่จบการศึกษาในปีการศึกษา 2550 (แยกตามคณะ) รวม 2,424 คน

EMBED MSGraph.Chart.8 \s

ผลิตกรรมฯ, 500, 21.24%

สถาปัตย์ฯ, 55, 2.34%

บริหารูรกิจ, 546, 23.19%

แพร่ฯ, 320, 13.59%

ชุมพร, 14, 0.59%

บริหารศาสตร์,

304, 12.91%

พัฒนาการท่องเที่ยว,

4, 0.17%

วิทยาศาสตร์, 185, 7.86%

วิศวกรรมฯ, 151, 6.41%

เศรษฐศาสตร์, 182, 7.73%

เทคโนโลยีประมงฯ,

93, 3.95%

ข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรและบุคลากร (ปีการศึกษา 2550) ข้อมูลวันที่ 21พฤษภาคม 2551

อาจารย์

,

293

,

63

.

01

%

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

,

113

,

24

.

30

%

ศาสตราจารย์

,

1

,

0

.

22

%

รองศาสตราจารย์

,

58

,

12

.

47

%

บุคลากรแยกตามประเภทการจ้างรวม 1,363 คน ข้อมูลวันที่ 21 พฤษภาคม 2551

ปริญญาตรี

,

3

,

0

.

65

%

ปริญญาโท

,

318

,

68

.

39

%

ปริญญาเอก

,

144

,

30

.

97

%

บุคลากรแยกตามหน่วยงานรวม 1,363 คน ข้อมูลวันที่ 21 พฤษภาคม 2551

งบบุคลากร

,

192951900

,

29

.

26

%

งบลงทุน

,

219007800

,

33

.

21

%

งบเงินอุดหนุน

,

127108400

,

19

.

28

%

งบดำเนินงาน

,

120377500

,

18

%

บุคลากรสายวิชาการแยกตามตำแหน่งวิชาการรวม 465 คน ข้อมูลวันที่ 10 มิถุนายน 2551

.

ตรี

4

ปี

,

8643

,

66

.

87

%

.

ตรี

2

ปี

,

3213

,

24

.

86

%

.

โท

,

871

,

6

.

74

%

.

เอก

,

72

,

0

.

56

%

.

ตรี

5

ปี

,

124

,

0

.

96

%

.

บัณฑิต

,

2

,

0

.

02

%

บุคลากรสายวิชาการแยกตามระดับการศึกษารวม 465 คน ข้อมูลวันที่ 10 มิถุนายน 2551

งบประมาณแผ่นดินประจำปี 2550 รวม 659,445,600.- บาท

งบประมาณเงินรายได้ประจำ 2550 รวม 305,667,600.- บาท

งบบุคลากร, 19120920, 6.26%

งบดำเนินงาน, 141429490, 46.27%

งบลงทุน, 14706490, 4.81%

งบเงินอุดหนุน, 48315300, 15.81%

งบรายจ่ายอื่น, 82095400, 26.86%

การประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยแม่โจ้

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้ดำเนินการจัดทำระบบการประกันคุณภาพการศึกษาขึ้น โดยเริ่มจากการพัฒนา คู่มือประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยขึ้น เพื่อแสดงถึงแนวทางการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย อันจะทำให้ทุกหน่วยงานในสังกัดสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางการดำเนินงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน รวมทั้งสิ้น 4 เล่ม ดังนี้

1. พ.ศ. 2543 เป็นการเริ่มต้นการตรวจสอบคุณภาพของมหาวิทยาลัยหลังจากที่มหาวิทยาลัยได้สร้างความรู้ ความเข้าใจ และให้บุคลากรทุกฝ่ายเห็นถึงความสำคัญของการประกันคุณภาพการศึกษาแล้ว โดยการจัดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติเรื่อง “ประกันคุณภาพการศึกษา : ชาวแม่โจ้จะช่วยกันย่างไร” ขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.2540 นำเป็นกิจกรรมแรกด้านการประกันคุณภาพที่มหาวิทยาลัยได้จัดทำขึ้น และมหาวิทยาลัย ได้เริ่มศึกษาหาแนวทางการดำเนินงานด้านนี้ จนกระทั่งปี พ.ศ.2543 มหาวิทยาลัยโดยงานพัฒนาหลักสูตรและพัฒนาคณาจารย์ กองบริการการศึกษา ภายใต้การนำของรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ได้จัดทำคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาเล่มแรกขึ้น เพื่อให้ทุกหน่วยงานระดับคณะ/สำนัก ได้ใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงาน ซึ่งคู่มือดังกล่าวได้กำหนดให้มหาวิทยาลัยใช้ 9 องค์ประกอบของทบวงมหาวิทยาลัยเป็นหลัก และเริ่มทำการตรวจสอบคุณภาพภายในหน่วยงานขึ้นในปี พ.ศ. 2546 (หลังสิ้นสุดปีการศึกษา 2545)

2. พ.ศ. 2545 มหาวิทยาลัยได้ก้าวเข้าสู่การประเมินคุณภาพภายในมหาวิทยาลัย โดยงานประกันคุณภาพการศึกษา สำนักงานคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา ภายใต้การนำของรองอธิการบดีฝ่ายคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา ได้จัดทำคู่มือประกันคุณภาพการศึกษาขึ้นใหม่ ภายใต้ 9 องค์ประกอบคุณภาพของทบวงมหาวิทยาลัย แต่มีการพัฒนาเกณฑ์การวัดขึ้น และทำการประเมินคุณภาพภายในหน่วยงานขึ้นในปี พ.ศ.2547 (หลังสิ้นสุด ปีการศึกษา 2546)

3. พ.ศ. 2547 มหาวิทยาลัยได้ใช้ระบบ PDCA เข้ามาเป็นตัววัดคุณภาพขึ้น ดังนั้น งานประกันคุณภาพการศึกษา สำนักงานคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา ภายใต้การนำของรองอธิการบดีฝ่ายคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา จึงได้จัดทำคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง โดยมีการพัฒนาระบบ PDCA เข้ามา สู่การประเมินคุณภาพของหน่วยงานภายใน และทำการประเมินคุณภาพภายในโดยใช้แนวทางจากคู่มือฉบับนี้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2548 (หลังสิ้นสุดปีการศึกษา 2547)

4. พ.ศ. 2549-2550 หลังจากที่มหาวิทยาลัยรับการประเมินคุณภาพภายนอกรอบแรกไปแล้ว มหาวิทยาลัยพบว่าจากการดำเนินการภายใต้ 9 องค์ประกอบของ สกอ. และ 7 มาตรฐานของ สมศ. ควบคู่กันไปนั้น ถ้ามหา วิทยาลัยพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในให้เป็นระบบเดียวกันกับการประกันคุณภาพภายนอกได้ จะทำให้การดำเนินงานประกันคุณภาพภายในเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความสะดวก ง่ายต่อการทำความเข้าใจ และสามารถปฏิรูปการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพให้กลายเป็นวัฒนธรรมการทำงานปกติของบุคลากรได้เร็ว และก่อให้เกิดความร่วมมือได้ง่ายขึ้น ดังนั้นงานประกันคุณภาพการศึกษา สำนักงานคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา ภายใต้การนำของรองอธิการบดีฝ่ายยุทธศาสตร์และมาตรฐานการศึกษา จึงได้จัดทำ คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาขึ้นใหม่ โดยยึด 7 มาตรฐาน และตัวบ่งชี้ของ สมศ. เป็นหลัก แต่การดำเนินงานต่างๆ ในแต่ละมาตรฐานยังคงยึดถือวงจร PDCA เช่นเดิม และคู่มือฉบับนี้เริ่มใช้สำหรับเป็นแนวทางการดำเนินงานด้านคุณภาพตั้งแต่การประเมินคุณภาพภายนอกรอบสอง (ปีการศึกษา 2548) และการประเมินคุณภาพภายในปีการศึกษา 2549 เป็นต้นไป

5.

HYPERLINK "http://www.qa.mju.ac.th/sarmaejo/mju50/startsaru/อ้างอิง/ส่วนที่%201/คู่มือประกันคุณภาพแม่โจ้.pdf" \t "_blank"

พ.ศ.2550 มหาวิทยาลัยได้ปรับปรุงระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้เป็นไปตามระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ที่ประกาศใช้กับทุกสถาบันอุดมศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2550 เป็นต้นไป โดยมหาวิทยาลัยได้ทำคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัย แม่โจ้ 2 เล่ม เพื่อใช้สำหรับการประกันคุณภาพภายในหน่วยงานที่มีการเรียนการสอน (11 คณะ) และสำหรับการประกันคุณภาพภายในหน่วยงานสนับสนุน (2 สำนัก 1 ศูนย์)

การบูรณาการการประกันคุณภาพเข้าสู่การดำเนินงานปกติ

จากการเริ่มต้นการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพอย่างจริงจังของมหาวิทยาลัยที่ค่อนข้างช้ากว่าสถาบันอุดมศึกษาอื่น อันมีสาเหตุเนื่องมาจากมหาวิทยาลัยยังไม่มีหน่วยงานและบุคลากรที่รับผิดชอบด้านประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัยโดยตรง แต่มหาวิทยาลัยภายใต้การบริหารงานของอธิการบดีคนปัจจุบัน (รองศาสตราจารย์ ดร.เทพ พงษ์พานิช) ได้เห็นความสำคัญของการประกันคุณภาพการศึกษา จึงได้จัดตั้งงานประกันคุณภาพการศึกษาขึ้น โดยให้เป็นงานหนึ่งในสังกัดสำนักงานคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา เมื่อปี พ.ศ. 2545 เพื่อให้ทำหน้าที่และรับผิดชอบการดำเนินงานด้านคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยโดยตรง และดำเนินงานตามภารกิจที่ได้กำหนดไว้ในเอกสารประกอบการขอจัดตั้งหน่วยงาน ดังนั้น ในช่วงแรกของการจัดตั้งงานประกันคุณภาพการศึกษาได้เร่งดำเนินการสร้างความเข้าใจ และความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้ทุกหน่วยงานระดับคณะ/สำนักให้ได้รับการประเมินคุณภาพภายในและประเมินคุณภาพภายนอก ได้อย่างเต็มรูปแบบตามคู่มือการประกันคุณภาพที่มหาวิทยาลัยได้ประกาศใช้ ทั้งนี้ ทุกหน่วยงานระดับคณะ/สำนักจะต้องมีการประเมินผลการดำเนินงานอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งตามเงื่อนไขของระบบประกันคุณภาพ และหน่วยงานจะต้องมีการรายงานผลการดำเนินงานตามระบบคุณภาพให้กับผู้บริหารและสาธารณชนเป็นประจำทุกปี

หลังจากที่มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการประกันคุณภาพมานั้น พบว่าในปัจจุบันการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของมหาวิทยาลัย เข้าสู่ช่วงที่บุคลากรเห็นความสำคัญ ความเข้าใจและให้ความร่วมมือกับหน่วยงานระดับภาควิชา คณะ และมหาวิทยาลัย จนเกิดเป็นวัฒนธรรมขึ้นภายในองค์กร ส่งผลให้การดำเนินงานประกันคุณภาพเป็นไปอย่างราบรื่นและรวดเร็ว สามารถปรับตนเองต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้ โดยไม่ได้เป็นสร้างภาระเพิ่มให้กับบุคลากร/หน่วยงานแต่อย่างใด นอกจากนี้ ทั้งนี้มหาวิทยาลัยได้สร้างระบบฐานข้อมูลเพื่อการประกันคุณภาพขึ้นเพื่อช่วยการจัดเก็บข้อมูลของมหาวิทยาลัยขึ้น ที่สามารถใช้เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูล การอ้างอิงตั้งแต่ระดับบุคคลจนถึงระดับมหาวิทยาลัย และเป็นต้นแบบของหน่วยงานต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย (11 มหาวิทยาลัย)

การตั้งเป้าหมายการดำเนินงานในแต่ละตัวบ่งชี้

เป้าหมายการดำเนินงานในแต่ละตัวบ่งชี้คุณภาพของมหาวิทาลัย ตั้งขึ้นโดยผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษา ในคราวประชุมครั้งที่ 5/2550 เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2550 โดยพิจารณาจากข้อมูลพื้นฐานการดำเนินงานที่ผ่านมาของมหาวิทยาลัยเป็นเกณฑ์

การนำข้อเสนอแนะจากการประเมินภายนอกมาปรับปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงาน

จากที่มหาวิทยาลัยรับการประเมินคุณภาพภายนอกรอบ 2 เมื่อวันที่ 25 – 27 มิถุนายน 2550 โดยใช้ข้อมูลจากปีการศึกษา 2548 (มิถุนายน 2548 – พฤษภาคม 2549) ปรากฏผลการประเมินคือ “รับรองมาตรฐาน” ในระดับ “ดี” มีค่าเฉลี่ย “4.34” ซึ่งมหาวิทยาลัยได้รับข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัยให้ดียิ่งขึ้นในมาตรฐานต่างๆ ตามการรายงานผลการประเมินคุณภาพภายนอกจากคณะกรรมการประเมินฯ เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2550 ซึ่งมหาวิทยาลัยได้นำข้อเสนอดังกล่าวเข้าสู่กระบวนการพัฒนามหาวิทยาลัยทันที ทำให้มหาวิทยาลัยมีการพัฒนาการดำเนินงานต่างๆ เพิ่มขึ้นตามมาตรฐานดังนี้

มาตรฐานที่ 1 : มาตรฐานด้านคุณภาพบัณฑิต

ข้อเสนอแนะ

การนำไปพัฒนาการดำเนินงาน

1. ควรจัดหาเครื่องมือทดลอง หนังสือ วารสารทางวิชาการที่จำเป็นต่อการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศในวิชาการเฉพาะทางของบัณฑิตและของมหาวิทยาลัย

1.1 ยกระดับวารสารวิจัยและส่งเสริมการเกษตร ให้เป็นวารสารที่มีคุณภาพมาตรฐานระดับชาติ โดยเริ่มจาการแต่งตั้งปรึกษาและผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก

1.2 จัดทำวารสารMaejo of science and Technology และผลักดันให้เป็นวารสารระดับนานาชาติ

1.3 สนับสนุนงบประมาณสำหรับผู้ตีพิมพ์ในวารสารทั้ง 2 ฉบับๆ ละ 6000.-

1.4 ผลักดันการทำวารสารบัณฑิตศึกษา(อยู่ในระหว่างดำเนินงาน)

1.5 ผลักดันสถาบันตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ให้เป็นที่ยอมรับโดยการขอรับการรับรองในระบบ ISO พร้อมทั้งจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้เพิ่มเติม

1.6 เพิ่มงบประมาณจัดสร้างห้องสมุดเพิ่มเติม และเพิ่มการสร้างเครือข่ายร่วมกันกับห้องสมุดมหาวิทยาลัยอื่น

1.7 จัดทำระบบ wireless ทั่วมหาวิทยาลัย

มาตรฐานที่ 2 : มาตรฐานด้านงานวิจัยและงานสร้างสรรค์

ข้อเสนอแนะ

การนำไปพัฒนาการดำเนินงาน

1. ควรแสวงหาความร่วมมือและเครื่องมือการวิจัย ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางทั้งในระดับประเทศและระดับโลก

2.1 ขยายความร่วมมือด้านการวิจัยกับหน่วยงายภายนอกให้มากขึ้น เช่น สกว. สวทช. สวก. สภาวิจัย สสส. กองทุนสิ่งแวดล้อม GTZ NECTEC MTEC โครงการหลวง กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรมส่งเสริมการเกษตร คลินิกเทคโนโลยีกระทรวงวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดลำพูนฯลฯ

2. ควรส่งเสริมให้อาจารย์ทำงานวิจัย ตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับนานาชาติให้มากขึ้น โดยอาจจัดทำวารสารวิชาการและผลักดันให้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับนานาชาติขึ้นเอง

2.2 จัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนการตีพิมพ์เผยแพร่งานวิจัยทั้งในวารสารวิชาการของมหาวิทยาลัย คือ วารสารวิจัยและส่งเสริมการเกษตร และ วารสารMaejo of science and Technology รวมทั้งการตีพิมพ์และนำเสนองานวิจัยในระดับนานาชาติ

2.3 จัดทำและผลักดันวารสาร Maejo International Journal of Science and Technology ให้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับนานาชาติ (www.mijst.mju.ac.th)

2.4 จัดทำและผลักดันสาขาวิชาที่มีความเข้มแข็งให้ทำวารสารวิชาการและการประชุมสัมมนาในกลุ่มสาขาวิชาของตน และผลักดันสู่ระดับชาติ เช่น วารสารวิชาการประมง

2.5 นำผลการดำเนินงานการตีพิมพ์งานวิจัยเข้าสู่การพิจารณาการให้เงินค่าตอบแทนพิเศษประจำปี(bonus)

3. ควรหาแหล่งทุนวิจัยจากภายนอกให้มากขึ้น

2.6 สนับสนุนให้อาจารย์ที่มีศักยภาพทางการวิจัยสูง ขอรับการสนับสนุนงานวิจัยจากแหล่งภายนอก

มาตรฐานที่ 3 : มาตรฐานด้านการบริการทางวิชาการ

ไม่มีข้อเสนอแนะ แต่มหาวิทยาลัยได้พัฒนาฐานการเรียนรู้ที่มหาวิทยาลัยดำเนินการอยู่ให้ก้าวสู่องค์กรการเรียนรู้ของสังคมและยกระดับให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ระดับชาติ จำนวน 5 ฐาน คือ ฐานเรียนรู้ปลาบึก ฐานเรียนรู้ปุ๋ยมูลไส้เดือนดิน ฐานเรียนรู้การผลิตปุ๋ยหมักระบบกองเติมอากาศ ฐานเรียนรู้กล้วยไม้ไทย และฐานเรียนรู้ลำไย

มาตรฐานที่ 4 : มาตรฐานด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

ไม่มีข้อเสนอแนะ

มาตรฐานที่ 5 : มาตรฐานด้านการพัฒนาสถาบันและบุคลากร

ข้อเสนอแนะ

การนำไปพัฒนาการดำเนินงาน

1. ควรมีการประเมินผลงานของผู้บริหาร โดยมีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนและตกลงกันไว้ล่วงหน้า และนำผลการประเมินมาปรับปรุง

5.1. ในปีงบประมาณ 2550 ทำการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารระดับอธิการบดี ตามหลักเกณฑ์ที่ได้รับความเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัย และกำลังขยายเข้าสู่การประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารระดับคณบดี ผู้อำนวยการกอง และเทียบเท่า

2. ควรส่งเสริมและสนับสนุนให้อาจารย์เข้าร่วมและนำเสนอผลงานทางวิชาการในที่ประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติมากขึ้น

5.2 ตั้งเงินสนับสนุนการเผยแพร่การตีพิมพ์เผยแพร่งานวิจัย

5.3 นำผลการดำเนินงานการนำเสนอผลงานวิชาการเข้าสู่การพิจารณาการให้เงินค่าตอบแทนพิเศษประจำปี(bonus)

มาตรฐานที่ 6 : มาตรฐานด้านหลักสูตรและการเรียนการสอน

ข้อเสนอแนะ

การนำไปพัฒนาการดำเนินงาน

1. ควรเร่งรัดบรรจุอาจารย์ที่มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกให้มากขึ้น พร้อมทั้งสนับสนุนให้อาจารย์ทำผลงานวิชาการมากขึ้น

1. มีการเน้นการคัดเลือกอาจารย์ใหม่ที่มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอก พร้อมทั้งส่งเสริมให้อาจารย์ไปศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกมากขึ้น

2. มีการส่งเสริมให้อาจารย์ทำผลงานวิชาการมากขึ้น โดยสภามหาวิทยาลัยตั้งคณะอนุกรรมการสภามหาวิทยาลัยด้านการศึกษา การวิจัยและการบริการวิชาการ เพื่อให้คำปรึกษารวมทั้งศึกษาข้อมูลและให้ข้อเสนอแนะในเรื่องที่เกี่ยวข้อง ต่อสภามหาวิทยาลัย และให้งบประมาณสนับสนุนการทำผลงานวิชาการ

มาตรฐานที่ 7 : มาตรฐานด้านระบบประกันคุณภาพ

ไม่มีข้อเสนอแนะ แต่มหาวิทยาลัยได้มีการพัฒนาให้การประกันคุณภาพเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินงานปกติของทุกหน่วยงาน ภายใต้ระบบการประกันคุณภาพภายในของมหาวิทยาลัย ที่ควบคุมโดยคู่มือการประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัยสำหรับหน่วยงานที่มีการเรียนการสอน และคู่มือการประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัยสำหรับหน่วยงานสนับสนุนการเรียนการสอน และได้พัฒนาระบบฐานข้อมูล (FIS) ให้เป็นที่ยอมรับของสถาบันอุดมศึกษาอื่นๆ

ส่วนที่ 2

ผลการประเมินการดำเนินงาน

องค์ประกอบที่ 1 : ปรัชญา ปณิธาน วัตถุประสงค์ และแผนดำเนินการ

ตัวบ่งชี้ 1.1 มีการกำหนดปรัชญาหรือปณิธาน ตลอดจนมีกระบวนการพัฒนากลยุทธ์ แผนดำเนินงาน และมีการกำหนดตัวบ่งชี้เพื่อความสำเร็จของการดำเนินงานตามแผนให้ครบทุกภารกิจ

(ทุกภารกิจ หมายถึง ด้านคุณภาพบัณฑิต ด้านงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ ด้านการบริการวิชาการ ด้านงานอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม)

เกณฑ์มาตรฐาน : ระดับ

ระดับ 1 มีการกำหนดปรัชญาหรือปณิธาน

ตั้งแต่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้เริ่มก่อตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2477 ได้ยึดคติประจำใจว่า “งานหนักไม่เคยฆ่าคน” มาโดยตลอด และต่อมาได้มีการกำหนดปรัชญาของมหาวิทยาลัยขึ้นเป็นครั้งแรกในแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาระยะที่ 6 (พ.ศ.2530-2534) คือ “มุ่งแสวงหาและพัฒนาองค์ความรู้ เพื่อเน้นการผลิตบุคลากรในสาขาวิชาต่างๆ โดยเฉพาะทางการเกษตรให้เป็นนักปฏิบัติ สู้งาน คิดเป็น ใฝ่รู้ มีคุณธรรมและจริยธรรม ตลอดจนรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงาม เพื่อพัฒนาท้องถิ่นและสังคมของประเทศ” และหลังจากนั้นมหาวิทยาลัยได้มีการจัดสัมมนาและเสวนาเพื่อให้ประชาคมในมหาวิทยาลัยรวมทั้งผู้เกี่ยวข้อง ได้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นในการพัฒนา ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ โดยนำเสนอต่อคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ในคราวประชุมครั้งที่ 3/2547 เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2547 และได้รับความเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัย ในคราวประชุมสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 2/2547 เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2547 และได้ใช้มาจนถึงปัจจุบัน คือ

ปรัชญา : มุ่งมั่นพัฒนาบัณฑิตสู่ความเป็นผู้อุดมด้วยปัญญา อดทน สู้งาน เป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรม เพื่อความเจริญรุ่งเรืองวัฒนาของสังคมไทยที่มีการเกษตรเป็นรากฐาน

วิสัยทัศน์ : มุ่งพัฒนาให้มหาวิทยาลัยเป็นศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการทางการเกษตร ( Center of Excellence in Agriculture) ที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันระดับนานาชาติ เป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ที่มีองค์ความรู้ วิทยาศาสตร์ชีวิต (Life Sciences) เชิงบูรณาการ สร้างและถ่ายทอดนวัตกรรมสู่ชุมชนที่ยึดคนเป็นศูนย์กลาง มุ่งสร้างบัณฑิตให้เป็นผู้ประกอบการมืออาชีพที่มีคุณภาพทั้งทางทักษะ ด้านภาษาต่างประเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศ

ระดับ 2 มีกระบวนการพัฒนากลยุทธ์ แผนดำเนินงาน และแผนปฏิบัติการประจำปี ให้สอดคล้องกันและกัน และกับภารกิจหลักของมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยมีการพัฒนากระบวนการจัดทำกลยุทธ์ แผนดำเนินงาน และแผนปฏิบัติการประจำปี เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจหลักของมหาวิทยาลัย ดังนี้ ก่อนที่มหาวิทยาลัยจะมีการปรับแผนยุทธศาสตร์ประจำปี มหาวิทยาลัยโดยกองแผนงานจะทำการติดตามปัจจัยภายนอกที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานตามภารกิจ คือ นโยบายรัฐบาล แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา มติคณะรัฐมนตรีด้านการพัฒนาการศึกษา รวมทั้งกฎ ระเบียบต่างๆ การจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการของสำนักงาน ก.พ.ร. การประกันคุณภาพภายนอกของ สมศ. และการประกันคุณภาพภายในของ สกอ. เพื่อนำมาสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับการกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดในแผนของมหาวิทยาลัย เช่น ในการกำหนดตัวชี้วัดและเป้าหมายของมหาวิทยาลัย ได้มีการนำเป้าหมาย ผลผลิต ตัวชี้วัด ของ สมศ. ก.พ.ร. สกอ. และงบประมาณแผ่นดิน มากำหนดเป็นแนวทางของการกำหนดกลยุทธ์ แผนดำเนินงาน และแผนปฏิบัติการประจำปีของมหาวิทยาลัย ทั้งนี้ในการกำหนดกลยุทธ์ดังกล่าว จะต้องได้รับการเห็นชอบจากประชาคมด้วย และในปีงบประมาณ 2550 มหาวิทยาลัยมีการจัดทำสัมมนาเชิงปฏิบัติการรับทราบและทบทวนแผนยุทธศาสตร์ ประจำปี 2550 เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 และ สภามหาวิทยาลัยให้ความเห็นชอบเมื่อคราวประชุมครั้งที่ 1/2550 เมื่อวันที่ 28 มกรคม 2550 ซึ่งส่งผลให้ในแผนพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ระยะที่ 10 (พ.ศ.2550-2554) มี 5 ประเด็นยุทธศาสตร์ คือ

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 : ผลิตบัณฑิตที่มีมาตรฐานและคุณภาพตามความต้องการของประเทศ

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 : ด้านความเป็นเลิศด้านการวิจัยและนวัตกรรม

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 : การบูรณาการองค์ความรู้ที่เพิ่มศักยภาพและขีดสมรรถนะของชุมชน

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 : การดำรงศิลปวัฒนธรรมและรักษาระบบนิเวศของทรัพยากรธรรมชาติ

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 : การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ

ระดับ 3 มีการกำหนดตัวบ่งชี้ของการดำเนินงาน และกำหนดเป้าหมายของแต่ละตัวบ่งชี้ เพื่อวัดความสำเร็จของงาน

มหาวิทยาลัยมีการกำหนดตัวบ่งชี้ และเป้าหมายของแต่ละตัวบ่งชี้ในการดำเนินงานไว้ สำหรับปีงบประมาณ 2550 – 2554 มีการกำหนดไว้ทั้งสิ้นจำนวน 59 ตัวบ่งชี้ เพื่อความสะดวกในการวัดความสำเร็จของงาน โดยในปีงบประมาณ 2550 มีการกำหนดตัวบ่งชี้และเป้าหมายการดำเนินงานไว้จำนวน 39 ตัวบ่งชี้ ซึ่งในแต่ละตัวบ่งชี้จะมีโครงการรองรับ และโครงการที่จะได้รับการบรรจุไว้ในแผนจะผ่านระบบฐานข้อมูล PIS (Planning Information System) ที่งานยุทธศาสตร์และติดตามประเมินผล ทำหน้าที่วิเคราะห์ความสอดคล้องของโครงการก่อนนำเสนอให้รองอธิการบดีฝ่ายยุทธศาสตร์และมาตรฐานการศึกษาให้ความเห็นชอบโครงการ และอธิการบดีอนุมัติโครงการ

ระดับ 4 มีการดำเนินการตามแผนครบทุกภารกิจ

ในภารกิจ 4 ด้านของมหาวิทยาลัย มีการกำหนดโครงการไว้ทั้งสิ้น 864 โครงการ และมีการดำเนินงานทั้งสิ้น 563 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 65.16 ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยได้มีการดำเนินโครงการได้ครบทั้ง 4 ภารกิจ 5 ประเด็นยุทธศาสตร์ โดยมีรายละเอียดการดำเนินงานตลอดปีงบประมาณ 2550 ดังนี้

ประเด็นยุทธศาสตร์

จำนวนโครงการ

บรรจุในแผน

ดำเนินการแล้ว

ไม่ได้ดำเนินการ

1 : ผลิตบัณฑิตที่มีมาตรฐานและคุณภาพตามความต้องการของประเทศ 2 : ด้านความเป็นเลิศด้านการวิจัยและนวัตกรรม

3 : การบูรณาการองค์ความรู้ที่เพิ่มศักยภาพและขีดสมรรถนะของชุมชน

4 : การดำรงศิลปวัฒนธรรมและรักษาระบบนิเวศของทรัพยากรธรรมชาติ

5 : การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพผลิตบัณฑิต

271

118

179

86

210

170

76

128

59

130

101

42

51

27

80

รวมจำนวนโครงการตามประเด็นยุทธศาสตร์

864

563

301

ระดับ 5 มีการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง และรายงานผลต่อผู้บริหารและสภาสถาบัน

มหาวิทยาลัยมีการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ แล้วรายงานผลการดำเนินงานต่อที่ประชุมผู้บริหาร และสภามหาวิทยาลัย ตามรอบ 6 เดือน รอบ 9 เดือน และรอบ 12 เดือน เพื่อรับทราบและพิจารณาให้แนวทางกระตุ้นให้มีการพัฒนาการดำเนินงานให้ดียิ่งขึ้นก่อนที่มหาวิทยาลัยจะรับการประเมินผลการปฏิบัติราชการประจำปี

นอกจากนั้นทุกสิ้นปีงบประมาณ มหาวิทยาลัยมีการประเมินผลการดำเนินงานตามกิจกรรม/โครงการ ที่ได้บรรจุไว้ในแผนตามประเด็นยุทธศาสตร์ว่ามีการดำเนินการจริงหรือไม่

ระดับ 6 มีการวิเคราะห์ความสอดคล้องระหว่าง กลยุทธ์ แผนดำเนินการ เป้าประสงค์ เป้าหมาย กับ ยุทธศาสตร์ ตลอดจน สภาพการณ์ปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคตอย่างสม่ำเสมอ

ก่อนที่จะมีการจัดทำแผนปฏิบัติงานประจำปีทุกครั้ง มหาวิทยาลัยโดยกองแผนงานจัดโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อทบทวนยุทธศาสตร์และการจัดทำแผนปฏิบัติการ เพื่อเปิดโอกาส สร้างความเข้าใจและการมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ความสอดคล้องระหว่าง กลยุทธ์ แผนดำเนินการ เป้าประสงค์ เป้าหมาย กับ ยุทธศาสตร์ ตลอดจน สภาพการณ์ปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต ก่อนที่ให้ทำแผนจริงทุกครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน รวมทั้ง ผู้บริหารทุกระดับที่รับผิดชอบ นอกจากนั้นก่อนที่จะดำเนินโครงการ งานยุทธศาสตร์และติดตามประเมินผลจะทำการวิเคราะห์ความสอดคล้องของโครงการว่ามีความสอดคล้องในส่วนของประเด็นยุทธศาสตร์ กลยุทธ์การดำเนินการ เป้าหมาย ผลผลิต และตัวชี้วัดของมหาวิทยาลัยว่าจะสามารถผลักดันเป้าหมายในแผนให้บรรลุผลที่ต้องการได้หรือไม่

ระดับ 7 มีการนำผลการประเมินและผลการวิเคราะห์มาปรับปรุงกลยุทธ์และแผนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

หลังจากที่มีการวิเคราะห์ในระดับ 6 แล้ว ก่อนที่จะเริ่มปีงบประมาณใหม่กองแผนงานจะทำการทบทวนเป้าหมาย ผลผลิต ตัวชี้วัดที่จะต้องดำเนินการต่อไป โดยได้มีการเชื่อมโยงตัวชี้วัดขอ�