ววิทยมข. 42(1) 1-12 (2557) kku sci. j. 42(1) 1-12...

12
.วิทย. มข. 42(1) 1-12 (2557) KKU Sci. J. 42(1) 1-12 (2014) ระบบควอรัมเซนซิง การสื่อสารของแบคทีเรีย: กลไกการควบคุมการกอโรคในเชื้อ Pseudomanas aeruginosa Quorum Sensing, A Communication of Bacteria: Control Mechanism of Pathogenesis in Pseudomanas aeruginosa มณฑล เลิศวรปรีชา 1* และ ญฏารัตน สุวรรณมณี 2 บทคัดยอ การควบคุมการทํางานของเซลลตาง ๆ ในรางกายมนุษยและสัตว เกิดขึ้นจากการติดตอสื่อสารระหวาง เซลล กลไกการติดตอสื่อสารเกิดขึ้นไดในสองรูปแบบคือ การสัมผัสโดยตรงระหวางเซลล (direct cell contact) และการสื่อสารผานตัวกลาง (mediators) เชน โปรตีนหรือฮอรโมนที่ไปมีผลกระตุนหรือควบคุมการทํางานของ เซลลอื่นผานการสงสัญญาณเขาสูเซลล (cell signaling) ในกรณีของแบคทีเรียแตละชนิดก็มีการติดตอสื่อสาร ระหวางเซลลเชนกัน เรียกวา “quorum sensing system” ซึ่งเปนการสื่อสารที่เกิดจากการสรางสารที่เรียกวา autoinducer ทําหนาที่เปรียบเสมือนสื่อกลางในการสื่อสาร การสื่อสารที่เกิดขึ้นระหวางเซลลแบคทีเรียเปนกลไก สําคัญอยางหนึ่งที่แบคทีเรียใชควบคุมการตอบสนองตอสิ่งแวดลอมและควบคุมการแสดงออกของยีนหลายชนิด รวมทั้งยีนที่เกี่ยวของกับปจจัยกอโรค (virulence gene) ดวย ในบทความนี้จะไดอธิบายถึงความรูและกลไกการ ควบคุมพื้นฐานของระบบ quorum sensing พรอมทั้งตัวอยางของการตอบสนองตอระบบ quorum sensing ใน การควบคุมการแสดงออกของยีนที่กอโรครุนแรงในเชื้อ Pseudomonas aeruginosa 1 หนวยวิจัยการจัดการทรัพยากรจุลินทรีย สาขาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร มหาวิทยาลัยทักษิณ (วิทยาเขตพัทลุง) ตําบลบานพราว อําเภอปาพะยอม จังหวัดพัทลุง 93110 2 คณะสัตวแพทยศาสตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย อําเภอทุงใหญ จังหวัดนครศรีธรรมราช 80240 *Corresponding Author, E-mail: [email protected]

Upload: others

Post on 26-Jan-2020

9 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: ววิทยมข. 42(1) 1-12 (2557) KKU Sci. J. 42(1) 1-12 (2014)scijournal.kku.ac.th/files/Vol_41_No_1_P_1-12.pdf · Quorum Sensing, A Communication of Bacteria: Control

ว.วิทย. มข. 42(1) 1-12 (2557) KKU Sci. J. 42(1) 1-12 (2014)

ระบบควอรัมเซนซิง การส่ือสารของแบคทีเรีย:

กลไกการควบคุมการกอโรคในเช้ือ Pseudomanas aeruginosa

Quorum Sensing, A Communication of Bacteria: Control

Mechanism of Pathogenesis in Pseudomanas aeruginosa มณฑล เลิศวรปรีชา1* และ ญฏารัตน สุวรรณมณี2

บทคัดยอ

การควบคุมการทํางานของเซลลตาง ๆ ในรางกายมนุษยและสัตว เกิดขึ้นจากการติดตอส่ือสารระหวาง

เซลล กลไกการติดตอส่ือสารเกิดข้ึนไดในสองรูปแบบคือ การสัมผัสโดยตรงระหวางเซลล (direct cell contact)

และการส่ือสารผานตัวกลาง (mediators) เชน โปรตีนหรือฮอรโมนที่ไปมีผลกระตุนหรือควบคุมการทํางานของ

เซลลอ่ืนผานการสงสัญญาณเขาสูเซลล (cell signaling) ในกรณีของแบคทีเรียแตละชนิดก็มีการติดตอส่ือสาร

ระหวางเซลลเชนกัน เรียกวา “quorum sensing system” ซ่ึงเปนการส่ือสารที่เกิดจากการสรางสารที่เรียกวา

autoinducer ทําหนาที่เปรียบเสมือนส่ือกลางในการส่ือสาร การส่ือสารที่เกิดขึ้นระหวางเซลลแบคทีเรียเปนกลไก

สําคัญอยางหน่ึงที่แบคทีเรียใชควบคุมการตอบสนองตอส่ิงแวดลอมและควบคุมการแสดงออกของยีนหลายชนิด

รวมทั้งยีนที่เก่ียวของกับปจจัยกอโรค (virulence gene) ดวย ในบทความน้ีจะไดอธิบายถึงความรูและกลไกการ

ควบคุมพื้นฐานของระบบ quorum sensing พรอมทั้งตัวอยางของการตอบสนองตอระบบ quorum sensing ใน

การควบคุมการแสดงออกของยีนที่กอโรครุนแรงในเช้ือ Pseudomonas aeruginosa

1หนวยวิจัยการจัดการทรัพยากรจุลินทรีย สาขาชีววิทยา คณะวทิยาศาสตร มหาวิทยาลัยทักษิณ (วิทยาเขตพัทลุง) ตําบลบานพราว

อําเภอปาพะยอม จังหวัดพัทลุง 93110 2คณะสัตวแพทยศาสตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชยั อําเภอทุงใหญ จังหวัดนครศรีธรรมราช 80240

*Corresponding Author, E-mail: [email protected]

Page 2: ววิทยมข. 42(1) 1-12 (2557) KKU Sci. J. 42(1) 1-12 (2014)scijournal.kku.ac.th/files/Vol_41_No_1_P_1-12.pdf · Quorum Sensing, A Communication of Bacteria: Control

KKU Science Journal Volume 42 Number 12 Review2 KKU Science Journal Volume 42 Number 1 Review

ABSTRACT

Controlling the work of human and animal cells are associated with cell to cell

communication. The mechanism can be divided into two types, first is direct cell to cell contact

and second is mediate by mediator molecules which release and bind on to the cell surface

molecules, and activate cell functions via signaling pathway. Similarly to mammalian cells,

bacterial cells also have a communication system which named as a “quorum sensing system”.

Each different bacterial species are able to produce different molecules called autoinducer,

which act as a mediator to communication. This quorum sensing system plays an important role

for bacteria in respond to environmental condition and control expression of several virulence

genes. In this review, the basic knowledge and mechanism of the quorum sensing and the role

of quorum sensing which involved to virulence genes expression in P. aeruginosa will be

discussed.

คําสําคัญ: ระบบควอรัมเซนซิง ปจจัยกอโรค Pseudomonas aeruginosa

Keywords: Quorum sensing system, Virulence factors, Pseudomonas aeruginosa

บทนํา

แบคทีเรียมีกลไกการแสดงออกของยีนหลาย

ชนิดที่เกิดจากการส่ือสารระหวางเซลลของแบคทีเรีย

ดวยกัน ซ่ึงนักวิทยาศาสตรไดศึกษาเรื่องน้ีมาเปน

เวลานานแลว และพบวาแบคทีเรียแตละเซลลน้ันมี

ภาษาของตัวเองสําหรับใชติดตอส่ือสารระหวางเซลล

กลไกการติดตอส่ือสารระหวางเซลลแบคทีเรียน้ีเรียกวา

“quorum sensing” (QS) ซ่ึงเปนกระบวนการส่ือสาร

ที่เกิดจากแบคทีเรียสรางสารโมเลกุลขนาดเล็กเรียกวา

autoinducer ที่แตกตางกันไปในแบคทีเรียแตละชนิด

การส่ือสารที่เกิดขึ้นระหวางแบคทีเรียเปนกลไกสําคัญ

อันห น่ึงที่ แบคที เรี ยใช ควบคุมการตอบสนองต อ

ส่ิงแวดลอม และควบคุมการแสดงออกของยีนหลาย

ชนิด รวมทั้งยีนที่เก่ียวของกับปจจัยกอโรค (virulence

gene) ในแบคทีเรียกอโรค ในบทความน้ีจะไดอธิบาย

ถึงความรู ในเบื้องตนเก่ียวกับกลไกการควบคุมของ

ระบบ QS พรอมทั้งตัวอยางของการตอบสนองตอ

ระบบ QS ในการควบคุมการแสดงออกของปจจัยกอ

โรคโดยเฉพาะในเช้ือ Pseudomonas aeruginosa

การคนพบ quorum sensing

ระบบ quorum sensing น้ันมีรายงานครั้ง

แรกในเช้ือ Vibrio fischeri (Hastings and Nealson,

1977; Nealson and Hastings, 1979) ซ่ึงเปน

แบคทีเรียแกรมลบพบไดในทะเล สามารถดํารงชีวิต

แบบ symbiosis ในสัตวทะเลหลายชนิด เชนในหมึกที่

ช่ือ Hawaiian bobtail squid (Euprymna

scolopes) (Nyholm and McFall-Ngai, 2004) หมึก

ชนิดน้ีมีคุณสมบัติพิเศษสามารถเรืองแสงในตัวเองได

นักวิทยาศาสตรพบวาการเรืองแสงน้ันเปนผลมาจาก

เช้ือ V. fischeri ที่อาศัยภายในตัวของหมึก เช้ือ V.

fischeri ใ นตั วข อง ห มึ กจ ะส ร า ง ส าร ที่ เ รี ย กว า

autoinducer ออกมาเพื่อใชในการส่ือสารกับแบคทีเรีย

เซลลอ่ืน ๆ เม่ือเช้ือเพิ่มจํานวนและหนาแนนมากขึ้น

Page 3: ววิทยมข. 42(1) 1-12 (2557) KKU Sci. J. 42(1) 1-12 (2014)scijournal.kku.ac.th/files/Vol_41_No_1_P_1-12.pdf · Quorum Sensing, A Communication of Bacteria: Control

วารสารวิทยาศาสตร์ มข. ปีที่ 42 ฉบับที่ 1 3บทความบทความ วารสารวิทยาศาสตร มข. ปที่ 42 ฉบับที่ 1 3

(ประมาณ 1011 cells/ml) ปริมาณของ autoinducer

ที่เพิ่มมากขึ้นจะกระตุนใหแบคทีเรียมีการแสดงออก

ของยีน luficerase และยีนอ่ืน ๆ อีกหลายชนิดที่

เ ก่ี ย ว ข อ ง กั บ ก า ร ส ร า ง ส า ร เ รื อ ง แ ส ง

(bioluminescence) ในหมึก โดยหมึกอาศัยประโยชน

จากการเรืองแสงที่เกิดขึ้นลอใหเหยื่อเขามาใกล และยัง

เก่ียวของกับการจับคูของหมึกดวย ในขณะที่เช้ือ V.

fischeri ที่อาศัยอยูอยางอิสระในทะเลไมสามารถสราง

สารเรืองแสงได เน่ืองจากปริมาณของ autoinducer ที่

สรางน้ันไมมากพอท่ีจะไปกระตุนเซลลให เกิดการ

แสดงออกของยีนไดและ autoinducer น้ันจะถูก

ทําลายอยางรวดเร็วเ ม่ือถูกสงออกภายนอกเซลล

(Nealson and Hastings, 1979) ระบบการส่ือสารน้ี

ตอมาจึงเรียกวา quorum sensing เน่ืองจากการ

คนพบวามันเก่ียวของกับการตรวจเช็คหรือนับจํานวน

วามีจํานวนแบคทีเรียเพิ่มจํานวนมากข้ึนจนถึงระดับที่

มากพอ (threshold) หรือยัง

Autoinducer คืออะไร?

ในขณะท่ีกําลังศึกษาถึงกลไกในการควบคุม

การสรางสารเรืองแสง นักวิทยาศาสตรก็พบสาร

บางอยางที่แบคทีเรียสรางขึ้นมา โดยพบวาสวนนํ้าใส

ของอาหารเล้ียงเช้ือ (supernatant) จาก V. fischeri

ที่เล้ียงจนเซลลเจริญอยางหนาแนน เม่ือนํามาใชเล้ียง

เช้ือ V. fischeri ที่ เจริญอยูอยางไมหนาแนนน้ัน

สามารถทําใหเช้ือน้ันเกิดการเรืองแสงขึ้นมาได แมวาจะ

มีปริมาณของเซลลท่ีเล้ียงน้ันยังมีจํานวนไมมากก็ตาม

ภายหลังจึงสามารถจําแนกไดวาสารท่ีแบคทีเรียสราง

อ อ ก ม า แ ล ะ อ ยู ใ น ส ว น นํ้ า ใ ส น้ั น คื อ 3-oxo-N-

(tetrahydro-2-oxo-3-furanyl) hexanamide หรือ

N-3-(oxohexanoyl) homoserine lactone (OHHL)

(Hastings and Nealson, 1977; Nealson and

Hastings, 1979; Engebrecht et al., 1983;

Engebrecht and Silverman, 1984; Schauder

and Bassler, 2001) ซ่ึงสารที่พบดังกลาวจัดเปน

“autoinducer”

ความหมายของ autoinducer คือสาร

สัญญาณ (signaling molecule) ที่แบคทีเรียสรางและ

หล่ังออกมาภายนอกเซลล เ ม่ือจํานวนประชากร

แบคทีเรียในกลุมเพิ่มมากขึ้น สารสัญญาณที่สรางก็จะมี

ปริมาณมากขึ้น และจะแพรกลับเขาไปจับกับตัวรับที่อยู

ภายในเซลลแบคทีเรีย และจะไปมีผลกระตุนเซลล

แบคทีเรียชนิดเดียวกันที่อยูในบริเวณใกลเคียงรวมทั้ง

ตัวเอง ใหตอบสนองโดยการแสดงออกของยีนตาง ๆ

หลายชนิด ปจจุบันพบสารในกลุม น้ีหลายชนิดใน

แบคที เ รียแกรมลบ เ รียกช่ือรวม ๆ ว า Acyl

Homoserine Lactones (AHLs) โมเลกุลของสารพวก

AHL จะถูกสรางจากภายในเซลล โดยเอนไซม AHL

synthase ที่ควบคุมการสรางโดยยีนช่ือวา luxI AHL ที่

สรางจะถูกสงออกมาภายนอกเซลล เม่ือมีการสะสมใน

ปริมาณที่มากขึ้นจะแพรกลับเขาสูเซลลไปกระตุนเซลล

โดยจะจับกับโปรตีนที่เรียกวา LuxR โปรตีนคอมเพล็กซ

ระหวาง AHL และ LuxR ทําหนาที่เปรียบเสมือนเปน

transcription factor ไปกระตุนการแสดงออกของยีน

ตาง ๆ รวมทั้ง luxI ใหสราง AHL เพิ่มมากขึ้นดวย (รูป

ที่ 1)

Autoinducers ที่พบในแบคทีเรียแกรมลบ

และแกรมบวก น้ันแตกตางกัน โดยในแบคทีเรียแกรม

ลบน้ันพบวาเปนโมเลกุลพวก AHLs ในขณะที่

แบคที เ รี ยแกรมบวกจะ เปน เปปไทด สาย ส้ัน ๆ

(Schauder and Bassler, 2001) (รูปที่ 2) นอกจากน้ี

ระบบ QS ที่พบในแบคทีเรียแตละชนิดก็มีความ

แตกตางกันไปไดหลายชนิด

Page 4: ววิทยมข. 42(1) 1-12 (2557) KKU Sci. J. 42(1) 1-12 (2014)scijournal.kku.ac.th/files/Vol_41_No_1_P_1-12.pdf · Quorum Sensing, A Communication of Bacteria: Control

KKU Science Journal Volume 42 Number 14 Review4 KKU Science Journal Volume 42 Number 1 Review

รูปท่ี 1 การสราง AHL และการกระตุนการแสดงออกของยีนโดย AHL และ LuxR complex

การสังเคราะห AHL

AHL สังเคราะหโดย AHL synthase ซ่ึงถูก

ควบคุมดวยยีน luxI ท่ีแตกตางกันในแบคทีเรียแตละ

สปชีส เรียกยีนในกลุมน้ีรวม ๆ วา luxI homologs

โดย luxI ที่พบในแบคทีเรียแตละชนิดน้ันสราง AHLs ที่

แตกตางกัน (Parsek and Greenberg, 2000) (ตาราง

ที่ 1) กระบวนการสังเคราะห AHL น้ันอาศัยสารตั้งตน

สองสวน (รูปที่ 3) สวนแรกคือสวนของ acyl ในสาย

ของ homoserinelactone ซ่ึงสังเคราะหมาจากกรด

ไขมันที่จับอยูกับ acyl-carrier protein (acy-ACP)

สวนที่สองคือบริเวณของ homoserinelactone น้ัน

สังเคราะหมาจาก S-adenosylmethonine (SAM)

โดย substrate ทั้งสองสวนจะถูกจับดวย AHL

synthase (LuxI) และจะเกิดกระบวนการที่สําคัญสอง

อยางคือ lactonization โดยสวน side chain ของ

SAM จะจับกันเปนวงแหวน lactone จากน้ันจะถูกตัด

และไปเช่ือมตอกับสาย acyl จาก acyl-ACP ไดเปน

Acyl-Hormoserinelactone (acyl-HSL หรือ AHL)

(Watson et al., 2002) พบวา AHLs ที่สรางจาก

แบคทีเรียแตละชนิดจะมีความแตกตางกันที่บริเวณของ

R-group side chain ซ่ึงเปนสายคารบอนที่มีขนาดยาว

แตกตางกัน 4-18 อะตอม (Fuqua and Greenberg,

2002)

รูปท่ี 2 โครงสรางของ autoinducers ที่พบไดในแบคทีเรียชนิดตาง ๆ (Waters and Bassler, 2005)

Page 5: ววิทยมข. 42(1) 1-12 (2557) KKU Sci. J. 42(1) 1-12 (2014)scijournal.kku.ac.th/files/Vol_41_No_1_P_1-12.pdf · Quorum Sensing, A Communication of Bacteria: Control

วารสารวิทยาศาสตร์ มข. ปีที่ 42 ฉบับที่ 1 5บทความบทความ วารสารวิทยาศาสตร มข. ปที่ 42 ฉบับที่ 1 5

รูปท่ี 3 กระบวนการสังเคราะห Acyl-HSL จากสารตั้งตนสองชนิดคือ Acyl-ACP และ SAM

ตารางท่ี 1 ตัวอยางของ AHLs และโปรตีนที่เก่ียวของในการสังเคราะหและควบคุมในเช้ือแบคทีเรียแตละชนิด

ดัดแปลงขอมูลจาก de Kievit and Iglewski (2000)

Bacterial strain Type of AHL Regulatory proteins

(LuxI/LuxR homologs) Phenotype

Vibrio fischeri 3-Oxo-C6-HSL LuxI/LuxR bioluminescence

Vibrio harveyi 3-Hydroxy-C4-HSL LuxLM/LuxN bioluminescence

Pseudomonas aeruginosa 3-Oxo-C12-HSL LasI/LasR multiple extracellular enzymes,

biofilm formation

C4-HSL RhlI/RhlR multiple extracellular enzymes,

rhamnolipid, rpos,

secondary metabolites

Pseudomonas aureofaciens C6-HSL PhzI/PhzR phenazine antibiotics

Agrobacterium tumefaciens 3-Oxo-C8-HSL TraI/TraR ti plasmid conjugation

Erwinia stewartii 3-Oxo-C6-HSL EsaI/EsaR exopolysaccharide,

virulence factors

Burkholderia cepacia C8-HSL CepI/R protease, siderophores

Aeromonas hydrophila C4-HSL AhyI/AhyR exoprotease production

Escherichia coli ? ?/SdiA cell division, attachment and

effacing lesion formation

Yersinia enterocholitica C6-HSL YenI/YenR ?

Yersinia pseudotuberculosis C8-HSL YesI/YesR ?

Quorum sensing ในแบคทีเรียแกรมลบ

ระบบ QS ที่พบไดมากที่สุดในแบคทีเรีย

แกรมลบคือ LuxI/LuxR ซ่ึงใช autoinducer ที่เปน

โมเลกุลกลุม AHLs นอกจากน้ียังพบระบบอ่ืน ๆ ที่มี

ความคล า ย กับ LuxI/LuxR เ รี ยกว า “LuxI/LuxR

homologs” เชน LuxLM/LuxN ในเช้ือ V. harveyi

ระบบ LasI/LasR พบในเช้ือ P. aeruginosa (de

Kievit and Iglewski, 2000; Reading and

Page 6: ววิทยมข. 42(1) 1-12 (2557) KKU Sci. J. 42(1) 1-12 (2014)scijournal.kku.ac.th/files/Vol_41_No_1_P_1-12.pdf · Quorum Sensing, A Communication of Bacteria: Control

KKU Science Journal Volume 42 Number 16 Review6 KKU Science Journal Volume 42 Number 1 Review

Sperandio, 2006; Rutherford and Bassler, 2012)

(ตารางที่ 1) ปจจุบันระบบ LuxI/LuxR homologs

พบไดในแบคทีเรียแกรมลบมากกวา 100 สปซีส (Case

et al., 2008) นอกจากน้ีพบวาการแสดงออกของ

ปจจัยกอโรค (virulence factors) หลายชนิดในเช้ือ

แบคทีเรียกอโรคแกรมลบถูกควบคุมดวยระบบของ

LuxI/LuxR homologs

Quorum sensing ในเชื้อ P. aeruginosa

เช้ือแบคทีเรียแกรมลบที่มีการศึกษาระบบ

QS มาก คือเช้ือ P. aeruginosa เช้ือแบคทีเรียน้ีมี QS

3 ระบบ โดยมี 2 ระบบที่ จัด เปน LuxI/LuxR

homolog คือระบบ Las และ Rhl และอีกหน่ึงระบบที่

ไ ม จั ด อ ยู ใ น LuxI/LuxR homolog เ รี ย ก ว า

Pseudomonas quinolone signal (PQS) system

ทั้งสามระบบมี autoinducer ที่แตกตางกัน ในระบบ

Las ใช N-(3-Oxo-dodecanoyl) homoserine

lactone (3-oxo-C12-HSL) ระบบ Rhl ใช N-

butyrul-L-Homoserine lactone (C4-HSL) และ

ระบบ PQS ใช 2-heptyl-3-hydroxi-4-quinolone

เปน autoinducer (Bjarnsholt et al., 2010;

Rutherford and Bassler, 2012) การทํางานของ

LasI/LasR มี กล ไกคื อ LasI ซ่ึ ง เป น acyl-

homoserine-lactone synthase จะทําหนาที่สราง

autoinducer คือ 3-oxo-C12-HSL และจะปลอย

ออกไปภายนอกเซลลเม่ือปริมาณของเซลลเพิ่มจํานวน

หนาแนนมากขึ้น 3-oxo-C12-HSL ที่มากขึ้นจะ

สามารถแพรสูเซลลไดมากข้ึนและจะจับกับโปรตีน

LasR ซ่ึงคอมเพล็กซระหวาง 3-oxo-C12-HSL และ

LasR จะทําหนาที่เปนเสมือน transcription factor

ไปกระตุนการแสดงออกของยีนที่เก่ียวของกับปจจัย

การกอโรคหลายชนิด (รูปที่ 4) เชนเอนไซม elastase,

protease และสารพิษ exotoxin A (Rutherford

and Bassler, 2012) คอมเพล็กซระหวาง 3-oxo-C12-

HSL และ LasR ยังทําหนาที่ควบคุมการแสดงออกของ

RhlI ซ่ึงควบคุมการสราง C4HSL ที่เปน autoinducer

อีกชนิดหน่ึงของ QS ในระบบ RhlI/RhlR (Pesci et

al., 1997; Smith and Iglewski, 2003; P. Jiménez-

Gómez et al., 2007) กลไกลการทํางานคลายกับใน

LasI/LasR โดยเม่ือจํานวนเซลลเพิ่มมากขึ้นจนมีระดับ

ของ C4HSL สูงมากขึ้น C4HSL จะจับกับ RhlR และ

ไปกระตุนการแสดงออกของยีนที่ควบคุมปจจัยการกอ

โรค เชน protease, pyocyanin, elastase และ

siderophores (Stintzi et al., 1998; Parsek and

Greenberg, 2000)

ก ร ณี ข อ ง ร ะ บ บ PQS ก า ร ส ร า ง

autoinducer คื อ 2-heptyl-3-hydroxi-4-

quinolone น้ันจะถูกควบคุมดวยยีนจํานวนหลายยีน

ไดแกยีน pqsA, pqsB, pqsC, pqsD และ pqsH

รูปแบบการทํางานของระบ PQS น้ันคลายกับระบบ

อ่ืน ๆ โดย autoinducer ที่สรางขึ้นมาจะแพรผาน

เมมเบรนของเซลลเชนเดียวกับระบบอ่ืน ๆ และเม่ือ 2-

heptyl-3-hydroxi-4-uinolone น้ันแพรกลับเขาสู

เซลลจะจับกับตัวรับคือ PqsR คอมเพล็กซที่เกิดขึ้นก็จะ

ไปกระตุนการแสดงออกของยีนตาง ๆ นอกจากน้ีพบวา

การแสดงออกของตัวรับ PqsR น้ันจะถูกควบคุมดวย

LasR-3-oxo-C12-HSL คอม เพ ล็ ก ซ ใ น ร ะบ บ

LasI/LasR (Rutherford and Bassler, 2012)

Page 7: ววิทยมข. 42(1) 1-12 (2557) KKU Sci. J. 42(1) 1-12 (2014)scijournal.kku.ac.th/files/Vol_41_No_1_P_1-12.pdf · Quorum Sensing, A Communication of Bacteria: Control

วารสารวิทยาศาสตร์ มข. ปีที่ 42 ฉบับที่ 1 7บทความบทความ วารสารวิทยาศาสตร มข. ปที่ 42 ฉบับที่ 1 7

รูปท่ี 4 การทํางานของ quorum sensing ระบบ LasI/LasR และ RhLI/RhLR ที่พบในเช้ือ P. aeruginosa

โรคและการกอโรคของเชื้อ P. aeruginosa

เช้ือ P. aeruginosa เปนปญหาสําคัญในการ

ติดเช้ือในโรงพยาบาล (nosocomial infection) ใน

จํานวนผูปวยโรคติดเช้ือในโรงพยาบาล 2,000 คนตอป

พบวารอยละ 10 มีสาเหตุมาจาก P. aeruginosa และ

เปนสาเหตุอันดับสองในการทําใหเกิดโรคปอดบวมใน

โรงพยาบาล (nosocomial pneumonia) (Fujitani

et al., 2011) นอกจากน้ียังจัดวาเปนเช้ือแบคทีเรียกอ

โรคฉวยโอกาส (opportunistic pathogen) ที่ติดเช้ือใน

ผูที่มีระบบภูมิคุมกันบกพรอง (immunocompromised)

เช้ือน้ีมีความสามารถกอโรคไดในเกือบทุกอวัยวะ ที่

สําคัญคือการติดเช้ือในระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะ

กรณีของผูปวยโรคทางพันธุกรรม cystic fibrosis (CF)

เน่ืองจากเช้ือสามารถสราง biofilm ที่ชวยใหเช้ือน้ันอยู

ภายในร างกายไดนานกอให เ กิดโ รคแบบเรื้อรั ง

(chronic infection) และ biofilm ยังทําใหเช้ือทนตอ

การทําลายดวยยาตานจุลชีพ รวมถึงยากตอการทําลาย

จากการตอบสนองของระบบภูมิคุกันของรางกาย เช้ือน้ี

ยังเปนสาเหตุสําคัญของการติดเช้ือที่ผิวหนังโดยเฉพาะ

กรณีแผลไฟไหม และมักจะลุกลามไปเปนการติดเช้ือใน

กระแสโลหิต (septicemia) ผูติดเช้ือมีความเส่ียงตอ

การเสียชีวิตสูงขึ้น

ระบบ Quorum sensing และการควบคุม

การแสดงออกของปจจัยกอโรครุนแรง

ขอมูลทางดานระบาดวิทยาพบวารอยละ 21

ของ ผู ป วยที่ เ ป นปอด อักเสบจากการติ ด เ ช้ือใน

โ ร ง พ ย าบ า ล มี ส า เ ห ตุ ม า จ า กก า ร ติ ด เ ช้ื อ P.

aeruginosa (Rello and Diaz, 2003) และพบวา

ผูปวยปอดอักเสบจากการติดเช้ือน้ีมีอัตราการเสียชีวิตที่

สูง (Fujitani, Sun et al., 2011) รายงานการศึกษาใน

โมเดลหนูทดลอง โดยทําใหหนูติดเช้ือที่ปอดจากเช้ือ P.

aeruginosa สายพันธุ PAO1 ที่มีการกลายพันธุของ

ยีน lasI และ rhlI ซ่ึงควบคุมการสราง autoinducer

(3-oxo-C12-HSL และ C4-HSL) ผลการศึกษาน้ัน

แสดงใหเห็นวาการตอบสนองทางภูมิคุมกันตอหนูที่ติด

เช้ือที่เกิดการกลายพันธุของยีนทั้งสองน้ัน จะดีกวาหนู

กลุมควบคุมที่ติดเช้ือสายพันธุปกติ (wild type) ไมวา

จะเปนระดับของแอนติบอดี ระดับของอินเตอรเฟย

รอน-แกมมา (interferon-) นอกจากน้ียังพบวามีเซลล

เ ม็ด เ ลื อดข าว ในกลุ ม ของ polymorphonuclear

(PMN) ที่มากกวาและพบวาหนูกลุมที่ติดเช้ือที่กลาย

พันธุแสดงอาการที่รุนแรงนอยกวาในหนูที่ติดเช้ือสาย

พันธุปกติ นอกจากน้ีพบวาหนูที่ติดเช้ือสายพันธุปกติน้ัน

การตอบสนองของระบบภูมิคุมกันจะเกิดข้ึนชากวา

Page 8: ววิทยมข. 42(1) 1-12 (2557) KKU Sci. J. 42(1) 1-12 (2014)scijournal.kku.ac.th/files/Vol_41_No_1_P_1-12.pdf · Quorum Sensing, A Communication of Bacteria: Control

KKU Science Journal Volume 42 Number 18 Review8 KKU Science Journal Volume 42 Number 1 Review

(Wu et al., 2001) ผลการศึกษาอีกรายงานท่ี

สอดคลองกันคือการศึกษาในหนูทดลองเชนกันและใช

เช้ือ P. aeruginosa ที่มีการกลายพันธุของยีน lasI

และ rhlI เชนเดียวกันแตเปนคนละสายพันธุ ผล

การศึกษาพบวาพยาธิสภาพของการติดเช้ือท่ีมีการ

กลายพันธุจะรุนแรงนอยกวาสายพันธุปกติ และพบวา

ในนํ้าที่ไดจากปอด (bronchus lavage) จากหนูท่ีติด

เ ช้ือที่ กลายพัน ธุ มี ร ะดับของเซลล เ ม็ด เ ลือดขาว

neutrophil นอยกวาเม่ือเปรียบเทียบกับสายพันธุปกติ

ดวย (Imamura et al., 2005) การศึกษาในทั้งสอง

รายงานไดสันนิษฐานวาระบบ QS ทั้ง LasI และ RhLI

น้ันมีสวนเก่ียวของกับกลไกในการกอโรคในระบบ

ทางเดินหายใจในหนูท่ี ทําการศึกษา นอกจากน้ีมี

รายงานวา 3-oxo-C12-HSL สามารถกระตุนการ

แสดงออกตอยีนของเจาบาน (host) ไดโดยตรง พบวา

3-oxo-C12-HSL สามารถกระตุนใหเกิดการแสดงออก

เพิ่มขึ้นของเอนไซม cyclooxygenase 2 (Cox-2) ที่

เก่ียวของกับการเปล่ียน arachidonic ไปเปนสารพวก

prostaglandins ซ่ึงทําใหเกิดการอักเสบ และยังพบวา

3-oxo-C12-HSL กระตุ น T-cell ให ห ล่ั ง pro-

inflammatory cytokines เชน อินเตอรเฟยรอน-

แกมมา เพิ่มมากขึ้นดวย (Smith et al., 2002) ในกรณี

การศึกษาในมนุษย มีการศึกษาในผูปวยโรค CF ซ่ึง

อ าการ ของ โ ร คปอด เ รื้ อ รั ง จ ากการติ ด เ ช้ื อ P.

aeruginosa พบวาในเสมหะของผูปวยจะตรวจพบสาร

autoinducer คือ 3-oxo-C12-HSL และ C4-HSL โดย

พบระดับของ 3-oxo-C12-HSL มากกวา ซ่ึงสอดคลอง

กับการพบการแสดงออกของยีน lasI จากตัวอยาง

เสมหะที่ไดจากปอดของผูปวยดวย ผลการศึกษาน้ีแสดง

ใหเห็นวาอยางนอยยีน lasI อาจจะมีสวนเก่ียวของกับ

พยาธิกําเนิดและการควบคุมการแสดงออกของปจจัย

กอโรคในผูปวย CF (Erickson et al., 2002) บทบาท

ของยีน lasR เองก็มีการศึกษาเชนกัน ยีน lasR น้ัน

ควบคุมการสราง transcription activator protein ที่

จับกับ 3-oxo-C12-HSL พบวาโปรตีน LasR มีบทบาท

สําคัญในการกระตุนการสรางเอนไซม elastase ที่เปน

ปจจัยกอโรคของเช้ืออีกชนิดหน่ึง elatase จะยอย

สลายเน้ือเยื่อพวก elastin laminin และ collagen

types III and IV (Gambello and Iglewski, 1991)

นอกจากน้ีมีรายงานพบวาโปรตีน LasR จําเปนสําหรับ

การสรางเอนไซม alkaline protease และ exotoxin

A ดวย (Gambello et al., 1993)

ในขณะที่ QS ในระบบ RhlI/RhlR น้ัน

เก่ียวของกับการสราง rhamnolipid เปนปจจัยกอโรค

ทําใหเ กิดการแตกของเม็ดเ ลือดแดง (hemolytic)

ทําลายเม็ดเลือดขาวทั้งชนิด polymorphonuclear

cell (PMN) และมาโครฟาจ (macrophage) และยังมี

คุณ สมบั ติ เ ป นส าร ลดแร งตึ ง ผิ วตามธร รมชาติ

(biosurfactant) (Johnson and Boese-Marrazzo,

1980; Koch et al., 1991; Jensen et al., 2007)

พบวาระบบ RhlI/RhlR ควบคุมการแสดงออกของยีน

rhlAB ซ่ึง เปนยีนสําหรับควบคุมการสรางเอนไซม

rhamnosyltransferase เช้ือ P. aeruginosa ที่ทําให

กลายพันธุของยีน rhlI จะพบการสรางเอนไซม

rhamnosyltransferase และ rhamnolipid ลดลง

(Pearson et al., 1997)

ระบบ QS มีผลตอการแพรกระจายของเช้ือ

P. aeruginosa ในแผลที่ถูกไฟไหม (burned skin)

พบวาประมาณ 10% ของผูปวยแผลไฟไหมจะมีการติด

เช้ือ P. aeruginosa และประมาณ 80% ของผูติดเช้ือ

น้ัน มีโอกาสเสียชีวิตเน่ืองจากภาวะติดเช้ือในกระแส

โลหิต (septicemia) (Richard et al., 1994)

การศึกษาในหนูทดลอง โดยใชเช้ือ P. aeruginosa ที่มี

ยีน lasI และ rhlI ที่กลายพันธุ จะพบมีความรุนแรง

ลดลง และภาวะการติดเช้ือในกระแสโลหิตลดลงดวย

เม่ือเปรียบเทียกับเช้ือปกติ นอกจากน้ีการทดลองยืนยัน

Page 9: ววิทยมข. 42(1) 1-12 (2557) KKU Sci. J. 42(1) 1-12 (2014)scijournal.kku.ac.th/files/Vol_41_No_1_P_1-12.pdf · Quorum Sensing, A Communication of Bacteria: Control

วารสารวิทยาศาสตร์ มข. ปีที่ 42 ฉบับที่ 1 9บทความบทความ วารสารวิทยาศาสตร มข. ปที่ 42 ฉบับที่ 1 9

โดยการใสพลาสมิดที่มียีน lasI และ rhlI ปกติกลับเขา

ไปในเช้ือที่กลายพันธุก็พบวาเช้ือน้ันกลับมากอโรคที่

รุนแรงไดดังเดิม (Rumbaugh et al., 1999)

ปจจัยกอโรคที่สําคัญอีกอยางหน่ึงของเช้ือ P.

aeruginosa คือการสราง biofilm ซ่ึงเปนสารจําพวก

โพลิเมอร (polymers) ไกลโคคัลลิกซ (glycocalyx)

และเมือก (slime) ที่กลุมแบคทีเรียสรางออกมาและใช

เปนที่อยูอาศัย เพื่อใหเช้ือรวมกลุมกันเจริญเติบโต เช้ือ

P. aeruginosa อาศัย biofilm ซ่ึงจะพบไดมากบริเวณ

ตําแหนงของเข็มใหนํ้าเกลือ (catheters) ในผูปวยที่

ตองไดรับสารนํ้าเปนเวลานาน biofilm ชวยใหเช้ือ

เจริญและหลบหลีกการเขาถึงของยาตานจุลชีพและ

ระบบภูมิคุมกันของรางกายไดเปนอยางดี นอกจากน้ี

biofilm ที่พบในกรณีผูปวย CF ชวยใหเช้ือสามารถ

รวมกลุมกัน (colonization) ในรางกายโดยเฉพาะที่

ปอดของผูปวยไดเปนเวลานาน มีการศึกษาพบวา

LasI/LasR มีบทบาทสําคัญในการสราง biofilm ของ

เช้ือ โดยเช้ือที่กลายพันธุไมสามารถสราง 3-oxo-C12-

HSL ได จะมีการสราง biofilm ที่ผิดปกติไป และ

สามารถถูกทําลายไดงายดวยสาร sodium dodecyl

sulfate (SDS) ซ่ึงผลการทดลองน้ีไดรับการพิสูจนดวย

การเติมสาร 3-oxo-C12-HSL เขาไปในขณะที่เล้ียงเช้ือ

P. aeruginosa ท่ีกลายพันธุ พบวาการสราง biofilm

เกิดขึ้นอยางเปนปกติ (Davies et al., 1998)

การศึกษาในหนูทดลองโดยเล้ียงเช้ือ P. aeruginosa ที่

กลายพันธุของระบบ QS บนแผน silicone แลวนําไป

ปลูกถายลงในชองทองหนู พบวาเช้ือท่ีกลายพันธุของ

ระบบ QS น้ันจะถูกกําจัดไปอยางรวดเร็วโดยระบบ

ภูมิคุมกันของหนู ในขณะท่ีสายพันธุปกติ สราง

biofilm และทนทานตอการทําลายของระบบภูมิคุมกัน

ไดดีกวา (Christensen et al., 2007)

Quorum sensing เปาหมายใหมสาํหรับการ

พัฒนายาตานจุลชีพ

ความสามารถของแบคทีเรียที่กอใหเกิดโรค

น้ันสัมพันธกับความสามารถในการแสดงออกของปจจัย

กอโรคที่ถูกควบคุมดวยยีน อยางไรก็ตามพบวาปจจัย

กอโรคน้ันมักไมมีผลตอการดํารงชีวิตของเช้ือแบคทีเรีย

โดยเช้ือแบคทีเรียที่กลายพันธุและไมสามารถแสดงออก

ของปจจัยกอโรค ยังคงสามารถแบงตัวเพิ่มจํานวนและ

รวมกลุมกันภายในเจาบานไดอยางเปนปกติ เพียงแตไม

กอใหเกิดโรค การศึกษาที่ผานมาทําใหนักวิทยาศาสตร

ทราบวาปจจัยกอโรคหลายชนิดน้ันถูกควบคุมดวย

ระบบ QS รวมทั้งในกรณีของเช้ือ P. aeruginosa ดวย

ดังน้ันนักวิทยาศาสตรจํานวนมากจึงมีแนวความคิดใหม

ในการพัฒนายาตานจุลชีพ ดวยแนวคิดการยับยั้งไมให

เช้ือแบคทีเรียน้ันกอโรคไดในรางกายของเจาบาน โดย

ยับยั้งการทํางานของระบบ QS เปาหมายใหม น้ี

แตกตางไปจากยาตานจุลชีพแบบเดิมที่มุงฆาหรือยับยั้ง

การแบงตัวของแบคทีเรีย ซ่ึงจะสงผลใหเช้ือแบคทีเรีย

พยายามปรับตัวและเกิดการดื้อตอยาตานจุลชีพน้ัน

ในขณะที่แนวทางใหมโดยการยับยั้งระบบ QS จะไมทํา

ใหเช้ือแบคทีเรียเกิดการพัฒนาและดื้อตอยา เพราะ

ไม ไดมี เปาหมายในการฆาเ ช้ือแบคที เรียโดยตรง

ปจจุบันเริ่มมีการวิจัยเพื่อหาสารเคมีทั้งที่ เปนสาร

สังเคราะหและสารจากธรรมชาติหลายชนิดนํามา

ทดสอบคุณสมบัติในการยับยั้งระบบ QS สารดังกลาว

เรียกรวม ๆ วา quorum quenching หรือ quorum

sensing inhibitor (QSI) เปาหมายหลักสําหรับการ

ยับ ยั้ ง ร ะบบ QS คื อการ ยั ง ยั้ ง ห รื อทํ า ล าย

autoinducer และโปรตีนตัวรับของ autoinducer ซ่ึง

หากสัญญาณดั งกล าวถู กทํ าลายหรือยับยั้ งแล ว

แบคทีเรียก็จะไมสามารถส่ือสารและสงสัญญาณเพื่อไป

กระตุนการทํางานของยีนที่ควบคุมปจจัยกอโรคได

Page 10: ววิทยมข. 42(1) 1-12 (2557) KKU Sci. J. 42(1) 1-12 (2014)scijournal.kku.ac.th/files/Vol_41_No_1_P_1-12.pdf · Quorum Sensing, A Communication of Bacteria: Control

KKU Science Journal Volume 42 Number 110 Review10 KKU Science Journal Volume 42 Number 1 Review

กรณีของเช้ือ P. aeruginosa ก็มีการศึกษาเพื่อหา

สารเคมีที่ เปน QSI จํานวนมาก เชนสารประกอบ

จําพวก halogenated furanone ซ่ึงเปน secondary

metabolites จากสาหรายทะเล Delisea pulchra

พบวาสามารถรบกวนการทํางานของ AHL ของเช้ือ P.

aeruginasa ได พบวาเก่ียวของกับระบบ LasI/LasR

นอกจากน้ีพบวาสารกลุม halogenated furanone

ทําใหการสราง biofilm ผิดปกติไป แบคทีเรียจะหลุด

ออกมาจากส่ิงแวดลอมใน biofilm ไดงาย (Hentzer

et al., 2002) มีการศึกษาโดยสังเคราะหสารที่ มี

โครงสรางคลายกับ AHL เพื่อใชเปนยาในกลุม AHL

analogs เชนสาร N-Octanoyl cyclopentylamide

(C8-CPA) ซ่ึงก็พบวาแนวทางน้ีสามารถนํามาใชเปนยา

ที่ยับยั้งระบบ QS ทั้ง Las และ Rhl ไดเชนกัน

บทสรุป

ปจจุบันการศึกษาในเรื่อง QS ของเช้ือ

แบคทีเรียชนิดตาง ๆ เพิ่มมากขึ้น เพื่อใหเกิดความ

เขาใจในกลไกของเช้ือแบคทีเรียในการดํารงชีวิตใน

สภาพแวดลอมตาง ๆ รวมทั้งในตัวเจาบาน ความเขาใจ

เรื่องการควบคุมกลไกการกอโรค เปนสวนสําคัญท่ีชวย

ใหนักวิทยาศาสตรมีความเขาใจในพยาธิกําเนิดของโรค

ไดดียิ่งขึ้น นอกจากน้ีเปาหมายสําคัญอีกประการ คือ

การพัฒนายาตานจุลชีพแนวทางใหม ดวยการยับยั้ง

การแสดงออกของปจจัยกอโรค ที่คาดวาจะชวยลด

ปญหาการดื้อตอยาตานจุลชีพท่ีใชกันอยูในปจจุบัน ซ่ึง

ง า น วิ จั ย ใ น ด า น น้ี ยั ง ค ง เ ป ด ก ว า ง เ พื่ อ ร อ ใ ห

นักวิทยาศาสตรไดศึกษาคนควาตอไป

เอกสารอางอิง Bjarnsholt, T., Jensen, P.O., Jakobsen, T.H., Phipps, R.,

Nielsen, A.K., Rybtke, M.T., Tolker-Nielsen, T.,

Givskov, M., Hoiby, N. and Ciofu, O. (2010).

Quorum sensing and virulence of

Pseudomonas aeruginosa during lung

infection of cystic fibrosis patients. PLoS One

5(4): e10115.

Case, R. J., Labbate, M. and Kjelleberg, S. (2008). AHL-

driven quorum-sensing circuits: their

frequency and function among the

Proteobacteria. ISME J. 2(4): 345-349.

Christensen, L.D., Moser, C., Jensen, P.O., Rasmussen,

T.B., Christophersen, L., Kjelleberg, S.,

Kumar, N., Hoiby, N., Givskov, M. and

Bjarnsholt, T. (2007). Impact of

Pseudomonas aeruginosa quorum sensing

on biofilm persistence in an in vivo

intraperitoneal foreign-body infection

model. Microbiology 153(Pt 7): 2312-2320.

Davies, D.G., Parsek, M.R., Pearson, J.P., Iglewski, B.H.,

Costerton, J.W. and Greenberg, E.P. (1998).

The involvement of cell-to-cell signals in

the development of a bacterial biofilm.

Science 280(5361): 295-298.

de Kievit, T.R. and Iglewski, B.H. (2000). Bacterial

quorum sensing in pathogenic relationships.

Infect Immun. 68(9): 4839-4849.

Engebrecht, J., Nealson, K. and Silverman, M. (1983).

Bacterial bioluminescence: isolation and

genetic analysis of functions from Vibrio

fischeri. Cell 32(3): 773-781.

Engebrecht, J. and Silverman, M. (1984). Identification

of genes and gene products necessary for

bacterial bioluminescence. Proc Natl Acad

Sci U S A. 81(13): 4154-4158.

Erickson, D.L., Endersby, R., Kirkham, A., Stuber, K.,

Vollman, D. D., Rabin, H. R., Mitchell, I. and

Storey, D.G. (2002). Pseudomonas

aeruginosa quorum-sensing systems may

control virulence factor expression in the

Page 11: ววิทยมข. 42(1) 1-12 (2557) KKU Sci. J. 42(1) 1-12 (2014)scijournal.kku.ac.th/files/Vol_41_No_1_P_1-12.pdf · Quorum Sensing, A Communication of Bacteria: Control

วารสารวิทยาศาสตร์ มข. ปีที่ 42 ฉบับที่ 1 11บทความบทความ วารสารวิทยาศาสตร มข. ปที่ 42 ฉบับที่ 1 11

lungs of patients with cystic fibrosis. Infect

Immun. 70(4): 1783-1790.

Fujitani, S., Sun, H.Y., Yu, V.L. and Weingarten, J.A.

(2011). Pneumonia due to Pseudomonas

aeruginosa: part I: epidemiology, clinical

diagnosis, and source. Chest. 139(4): 909-

919.

Fuqua, C. and Greenberg, E.P. (2002). Listening in on

bacteria: acyl-homoserine lactone signalling.

Nat Rev Mol Cell Biol. 3(9): 685-695.

Gambello, M.J. and Iglewski, B.H. (1991). Cloning and

characterization of the Pseudomonas

aeruginosa lasR gene, a transcriptional

activator of elastase expression. J Bacteriol.

173(9): 3000-3009.

Gambello, M.J., Kaye, S. and Iglewski, B.H. (1993). LasR

of Pseudomonas aeruginosa is a

transcriptional activator of the alkaline

protease gene (apr) and an enhancer of

exotoxin A expression. Infect Immun. 61(4):

1180-1184.

Hastings, J.W. and Nealson, K.H. (1977). Bacterial

bioluminescence. Annu Rev Microbiol. 31:

549-595.

Hentzer, M., Riedel, K., Rasmussen, T.B., Heydorn, A.,

Andersen, J.B., Parsek, M.R., Rice, S.A., Eberl,

L., Molin, S., Hoiby, N., Kjelleberg, S. and

Givskov, M. (2002). Inhibition of quorum

sensing in Pseudomonas aeruginosa biofilm

bacteria by a halogenated furanone

compound. Microbiology 148(Pt 1): 87-102.

Imamura, Y., Yanagihara, K., Tomono, K., Ohno, H.,

Higashiyama, Y., Miyazaki, Y., Hirakata, Y.,

Mizuta, Y., Kadota, J., Tsukamoto, K. and

Kohno, S. (2005). Role of Pseudomonas

aeruginosa quorum-sensing systems in a

mouse model of chronic respiratory

infection. J Med Microbiol. 54(Pt 6): 515-518.

Jensen, P.O., Bjarnsholt, T., Phipps, R., Rasmussen, T.

B., Calum, H., Christoffersen, L., Moser, C.,

Williams, P., Pressler, T., Givskov, M. and

Hoiby, N. (2007). Rapid necrotic killing of

polymorphonuclear leukocytes is caused by

quorum-sensing-controlled production of

rhamnolipid by Pseudomonas aeruginosa.

Microbiology 153(Pt 5): 1329-1338.

Johnson, M.K. and Boese-Marrazzo, D. (1980).

Production and properties of heat-stable

extracellular hemolysin from Pseudomonas

aeruginosa. Infect Immun. 29(3): 1028-1033.

Koch, A.K., Kappeli, O., Fiechter, A. and Reiser, J.

(1991). Hydrocarbon assimilation and

biosurfactant production in Pseudomonas

aeruginosa mutants. J Bacteriol. 173(13):

4212-4219.

Nealson, K.H. and Hastings, J.W. (1979). Bacterial

bioluminescence: its control and ecological

significance. Microbiol Rev. 43(4): 496-518.

Nyholm, S.V. and McFall-Ngai, M.J. (2004). The

winnowing: establishing the squid-vibrio

symbiosis. Nat Rev Microbiol. 2(8): 632-642.

P. Jiménez-Gómez, M.J. Pozuelo de Felipe, F. Llinares

Pinell and Ríos, J. E. G. d. l. (2007). Quorum-

sensing in Pseudomonas aeruginosa and

Salmonella: Active natural compounds as

antagonists. Communicating Current

Research and Educational Topics and Trends

in Applied Microbiology: 41-51.

Parsek, M.R. and Greenberg, E.P. (2000). Acyl-

homoserine lactone quorum sensing in

gram-negative bacteria: a signaling

mechanism involved in associations with

higher organisms. Proc Natl Acad Sci USA.

97(16): 8789-8793.

Pearson, J.P., Pesci, E.C. and Iglewski, B.H. (1997). Roles

of Pseudomonas aeruginosa las and rhl

Page 12: ววิทยมข. 42(1) 1-12 (2557) KKU Sci. J. 42(1) 1-12 (2014)scijournal.kku.ac.th/files/Vol_41_No_1_P_1-12.pdf · Quorum Sensing, A Communication of Bacteria: Control

KKU Science Journal Volume 42 Number 112 Review12 KKU Science Journal Volume 42 Number 1 Review

quorum-sensing systems in control of

elastase and rhamnolipid biosynthesis

genes. J Bacteriol. 179(18): 5756-5767.

Pesci, E.C., Pearson, J.P., Seed, P.C. and Iglewski, B.H.

(1997). Regulation of las and rhl quorum

sensing in Pseudomonas aeruginosa. J

Bacteriol. 179(10): 3127-3132.

Reading, N.C. and Sperandio, V. (2006). Quorum

sensing: the many languages of bacteria.

FEMS Microbiol Lett. 254(1): 1-11.

Rello, J. and Diaz, E. (2003). Pneumonia in the

intensive care unit. Crit Care Med. 31(10):

2544-2551.

Richard, P., Le Floch, R., Chamoux, C., Pannier, M.,

Espaze, E. and Richet, H. (1994).

Pseudomonas aeruginosa outbreak in a

burn unit: role of antimicrobials in the

emergence of multiply resistant strains. J

Infect Dis. 170(2): 377-383.

Rumbaugh, K.P., Griswold, J.A., Iglewski, B.H. and

Hamood, A.N. (1999). Contribution of

quorum sensing to the virulence of

Pseudomonas aeruginosa in burn wound

infections. Infect Immun. 67(11): 5854-5862.

Rutherford, S.T. and Bassler, B.L. (2012). Bacterial

quorum sensing: its role in virulence and

possibilities for its control. Cold Spring Harb

Perspect Med. 2(11).

Schauder, S. and Bassler, B.L. (2001). The languages of

bacteria. Genes Dev. 15(12): 1468-1480.

Smith, R.S., Harris, S.G., Phipps, R. and Iglewski, B.

(2002). The Pseudomonas aeruginosa

quorum-sensing molecule N-(3-

oxododecanoyl)homoserine lactone

contributes to virulence and induces

inflammation in vivo. J Bacteriol. 184(4):

1132-1139.

Smith, R.S. and Iglewski, B.H. (2003). Pseudomonas

aeruginosa quorum sensing as a potential

antimicrobial target. J Clin Invest. 112(10):

1460-1465.

Stintzi, A., Evans, K., Meyer, J.M. and Poole, K. (1998).

Quorum-sensing and siderophore

biosynthesis in Pseudomonas aeruginosa:

lasR/lasI mutants exhibit reduced

pyoverdine biosynthesis. FEMS Microbiol

Lett. 166(2): 341-345.

Waters, C.M. and Bassler, B.L. (2005). Quorum sensing:

cell-to-cell communication in bacteria. Annu

Rev Cell Dev Biol. 21: 319-346.

Watson, W.T., Minogue, T.D., Val, D.L., von Bodman,

S.B. and Churchill, M.E. (2002). Structural

basis and specificity of acyl-homoserine

lactone signal production in bacterial

quorum sensing. Mol Cell. 9(3): 685-694.

Wu, H., Song, Z., Givskov, M., Doring, G., Worlitzsch, D.,

Mathee, K., Rygaard, J. and Hoiby, N. (2001).

Pseudomonas aeruginosa mutations in lasI

and rhlI quorum sensing systems result in

milder chronic lung infection. Microbiol.

147(Pt 5): 1105-1113.