หน่วยที่ กฎหมายควบคุมมลพิษ...

50
7-1 มสธ มสธ มสธ มสธ มสธ มสธ มสธ มสธ มสธ มสธ หน่วยที7 กฎหมายควบคุมมลพิษทางอากาศ เสียง และของเสียอันตราย รองศาสตราจารย์จิตรา เพียรล้ำเลิศ

Upload: others

Post on 12-Sep-2019

8 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: หน่วยที่ กฎหมายควบคุมมลพิษ ทางอากาศ เสียง และของเสียอันตรายlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-7.pdf ·

7-1

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

หน่วย ที่ 7

กฎหมาย ควบคุม มลพิษ ทาง อากาศ เสียง

และ ของ เสีย อันตราย

รอง ศาสตราจารย์ จิตรา เพียร ล้ำ เลิศ

Page 2: หน่วยที่ กฎหมายควบคุมมลพิษ ทางอากาศ เสียง และของเสียอันตรายlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-7.pdf ·

7-2

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

แผนผัง แนวคิด หน่วย ที่ 7

กฎหมายควบคุม

มลพิษทางอากาศ

เสียงและของเสีย

อันตราย

7.1.1 ความทั่วไปเกี่ยวกับมลพิษทางอากาศ

7.1.2 การควบคุมมลพิษทางอากาศตาม

พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพ

สิ่งแวดล้อมแห่งชาติพ.ศ.2535

7.1.3การควบคุมมลพิษทางอากาศตาม

กฎหมายอื่น

7.1.4 ปัญหาทางกฎหมายในการควบคุมมลพิษ

ทางอากาศ

7.2.1ความทั่วไปเกี่ยวกับมลพิษทางเสียง

7.2.2 การควบคุมมลพิษทางเสียงตาม

พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพ

สิ่งแวดล้อมแห่งชาติพ.ศ.2535

7.2.3 การควบคุมมลพิษทางเสียงตาม

กฎหมายอื่น

7.2.4ปัญหาทางกฎหมายในการควบคุมมลพิษ

ทางเสียง

7.3.1 ความทั่วไปเกี่ยวกับของเสียอันตราย

7.3.2 กฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมของเสีย

อันตราย

7.3.3 ปัญหาทางกฎหมายในการควบคุม

ของเสียอันตราย

7.1 การควบคุมมลพิษ

ทางอากาศ

7.2 การควบคุมมลพิษ

ทางเสียง

7.3 การควบคุมของเสีย

อันตราย

Page 3: หน่วยที่ กฎหมายควบคุมมลพิษ ทางอากาศ เสียง และของเสียอันตรายlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-7.pdf ·

มสธ มสธ ม

สธ

7-3

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

หน่วย ที่ 7

กฎหมาย ควบคุม มลพิษ ทาง อากาศ เสียง

และ ของ เสีย อันตราย

เค้าโครง เนื้อหาตอนที่7.1 การควบคุมมลพิษทางอากาศ

7.1.1 ความทั่วไปเกี่ยวกับมลพิษทางอากาศ

7.1.2 การควบคุมมลพิษทางอากาศตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพ

สิ่งแวดล้อมแห่งชาติพ.ศ.2535

7.1.3การควบคุมมลพิษทางอากาศตามกฎหมายอื่น

7.1.4 ปัญหาทางกฎหมายในการควบคุมมลพิษทางอากาศ

ตอนที่7.2 การควบคุมมลพิษทางเสียง

7.2.1ความทั่วไปเกี่ยวกับมลพิษทางเสียง

7.2.2 การควบคุมมลพิษทางเสียงตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพ

สิ่งแวดล้อมแห่งชาติพ.ศ.2535

7.2.3การควบคุมมลพิษทางเสียงตามกฎหมายอื่น

7.2.4ปัญหาทางกฎหมายในการควบคุมมลพิษทางเสียง

ตอนที่7.3 การควบคุมของเสียอันตราย

7.3.1 ความทั่วไปเกี่ยวกับของเสียอันตราย

7.3.2 กฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมของเสียอันตราย

7.3.3 ปัญหาทางกฎหมายในการควบคุมของเสียอันตราย

แนวคิด1. มลพิษทางอากาศ หมายถึง ภาวะของอากาศที่มีสารเจือปนอยู่ในปริมาณที่สูงกว่าระดับ

ปกติ และเป็นระยะเวลานานพอที่จะทำให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์ สัตว์ พืช และทรัพย์สิน

ต่างๆ หรือรบกวนต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ กฎหมายในการควบคุมมลพิษทาง

อากาศ ได้แก่ พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535

และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

Page 4: หน่วยที่ กฎหมายควบคุมมลพิษ ทางอากาศ เสียง และของเสียอันตรายlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-7.pdf ·

7-4

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

2. มลพิษทางเสียงหมายถึงเสียงรบกวนที่ไม่พึงปรารถนาที่เกิดขึ้นจนเกินขีดจำกัดและนาน

พอที่จะทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพและอนามัยของมนุษย์ได้ กฎหมายในการควบคุม

มลพิษทางเสียง ได้แก่ พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ

พ.ศ.2535และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

3. ของเสียอันตรายหมายถึง ของเสียที่เป็นพิษหรือก่อให้เกิดอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและ

สิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรงทั้งโดยตรงและโดยอ้อม เนื่องจากคุณสมบัติทางกายภาพหรือ

ทางเคมี หรือการแพร่เชื้อโรค กฎหมายในการควบคุมมลพิษประเภทของเสียอันตราย

ได้แก่ พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 และ

กฎหมายเฉพาะอื่นๆ

วัตถุประสงค์เมื่อศึกษาหน่วยที่7จบแล้วนักศึกษาสามารถ

1. อธิบายและวิเคราะห์เกี่ยวกับการควบคุมมลพิษทางอากาศได้

2. อธิบายและวิเคราะห์เกี่ยวกับการควบคุมมลพิษทางเสียงได้

3. อธิบายและวิเคราะห์เกี่ยวกับการควบคุมของเสียอันตรายได้

กิจกรรม1.กิจกรรมการเรียน

1)ศึกษาแผนผังแนวคิดหน่วยที่7

2)อ่านแผนการสอนประจำหน่วยที่7

3)ทำแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียนหน่วยที่7

4)ศึกษาเนื้อหาสาระ

5)ปฏิบัติกิจกรรมในแต่ละเรื่อง

6)ตรวจสอบคำตอบของกิจกรรมแต่ละกิจกรรมจากแนวตอบ

7)ทำแบบประเมินผลตนเองหลังเรียนหน่วยที่7

2.งานที่กำหนดให้ทำ

1)ทำแบบฝึกหัดทุกข้อที่กำหนดให้ทำ

2)อ่านเอกสารเพิ่มเติมจากบรรณานุกรม

Page 5: หน่วยที่ กฎหมายควบคุมมลพิษ ทางอากาศ เสียง และของเสียอันตรายlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-7.pdf ·

มสธ มสธ ม

สธ

7-5

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

แหล่ง วิทยาการ1.สื่อการศึกษา

1)แนวการศึกษาหน่วยที่7

2)หนังสือประกอบการสอน

2.1) รองศาสตราจารย์ดร.อำนาจวงศ์บณัฑติ(2550)กฎหมายสิง่แวดลอ้มพมิพ์

ครั้งที่2กรุงเทพมหานครวิญญูชน

2.2) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.กอบกุลรายะนาคร(2550)กฎหมายกับสิ่งแวดล้อม

กรุงเทพมหานครวิญญูชน

2.3) ผู้ชว่ยศาสตราจารย์อดุมศกัดิ์สนิธิพงษ์(2547)กฎหมายเกีย่วกบัสิง่แวดลอ้ม

กรุงเทพมหานครวิญญูชน

2.4) รองศาสตราจารย์จติราเพยีรลำ้เลศิ(2552)เอกสารการสอนชดุวชิากฎหมาย

สิ่งแวดล้อมหน่วยที่6สาขาวิชานิติศาสตร์สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัย-

ธรรมาธิราช

2.5) อาจารย์รัชนีเก่าเจริญ(2552)เอกสารการสอนชุดวิชากฎหมายสิ่งแวดล้อม

หน่วยที่8สาขาวิชานิติศาสตร์สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

2.หนังสือตามที่อ้างในบรรณานุกรม

การ ประเมิน ผล การ เรียน1.ประเมินผลจากการสัมมนาเสริมและงานที่กำหนดให้ทำในแผนกิจกรรม

2.ประเมินผลจากการสอบไล่ประจำภาคการศึกษา

Page 6: หน่วยที่ กฎหมายควบคุมมลพิษ ทางอากาศ เสียง และของเสียอันตรายlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-7.pdf ·

7-6

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

แบบ ประเมิน ผล ตนเอง ก่อน เรียน

วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินความรู้เดิมในการเรียนรู้ของนักศึกษาเกี่ยวกับเรื่อง“กฎหมายควบคุมมลพิษ

ทางอากาศเสียงและของเสียอันตราย”

คำ แนะนำ อ่านคำถามต่อไปนี้ แล้วเขียนคำตอบลงในช่องว่างที่กำหนดให้ นักศึกษามีเวลาทำแบบ

ประเมินผลชุดนี้30นาที

1. มลพิษทางอากาศก่อให้เกิดผลกระทบเช่นไร

2. พระราชบญัญตัิสง่เสรมิและรกัษาคณุภาพสิง่แวดลอ้มแหง่ชาติพ.ศ.2535มีมาตรการเชน่ไรในการควบคมุ

มลพิษทางเสียง

3. ของเสียอันตรายมีแหล่งกำเนิดอะไรบ้าง

Page 7: หน่วยที่ กฎหมายควบคุมมลพิษ ทางอากาศ เสียง และของเสียอันตรายlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-7.pdf ·

มสธ มสธ ม

สธ

7-7

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

ตอน ที่ 7.1

การ ควบคุม มลพิษ ทาง อากาศ

โปรดอ่านแผนการสอนประจำตอนที่7.1แล้วจึงศึกษาสาระสังเขปพร้อมปฏิบัติกิจกรรมในแต่ละเรื่อง

หัว เรื่องเรื่องที่7.1.1 ความทั่วไปเกี่ยวกับมลพิษทางอากาศ

เรื่องที่7.1.2 การควบคุมมลพิษทางอากาศตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพ

สิ่งแวดล้อมแห่งชาติพ.ศ.2535

เรื่องที่7.1.3 การควบคุมมลพิษทางอากาศตามกฎหมายอื่น

เรื่องที่7.1.4 ปัญหาทางกฎหมายในการควบคุมมลพิษทางอากาศ

แนวคิด1. มลพิษทางอากาศ หมายถึง ภาวะของอากาศที่มีสารเจือปนอยู่ในปริมาณที่สูงกว่าระดับ

ปกติ และเป็นระยะเวลานานพอที่จะทำให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์ สัตว์ พืชและทรัพย์สิน

ต่างๆ โดยมลพิษทางอากาศนี้ อาจมีแหล่งกำเนิดตามธรรมชาติ หรือมีแหล่งกำเนิดมา

จากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ เช่น การคมนาคมขนส่งโดยยานพาหนะ หรือการประกอบ

กิจการโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น

2. พระราชบญัญตัิสง่เสรมิและรกัษาคณุภาพสิง่แวดลอ้มแหง่ชาติพ.ศ.2535 ได้วางมาตรการ

ในการควบคุมมลพิษทางอากาศ โดยเริ่มจากการกำหนดเรื่องมาตรฐานคุณภาพอากาศ

ในบรรยากาศทั่วไป และการกำหนดเรื่องมาตรฐานควบคุมมลพิษทางอากาศจากแหล่ง

กำเนิด ตลอดจนการกำหนดมาตรการในการตรวจสอบควบคุมมลพิษทางอากาศจาก

แหล่งกำเนิด

3. กฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมมลพิษทางอากาศ เช่น พระราชบัญญัติโรงงาน

พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 พระราชบัญญัติการสาธารณสุข

พ.ศ. 2535เป็นต้น

4. ปัญหาทางกฎหมายในการควบคุมมลพิษทางอากาศที่สำคัญคือ ปัญหาช่องว่างของ

กฎหมายปัญหาความซ้ำซ้อนของกฎหมายหน่วยงานและการขาดความเป็นเอกภาพใน

การควบคุมมลพิษทางอากาศ

Page 8: หน่วยที่ กฎหมายควบคุมมลพิษ ทางอากาศ เสียง และของเสียอันตรายlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-7.pdf ·

7-8

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

วัตถุประสงค์เมื่อศึกษาตอนที่7.1จบแล้วนักศึกษาสามารถ

1. อธิบายและวิเคราะห์เกี่ยวกับความหมาย ผลกระทบ และแหล่งกำเนิดของมลพิษทาง

อากาศได้

2. อธิบายและวิเคราะห์เกี่ยวกับการควบคุมมลพิษทางอากาศตามพระราชบัญญัติส่งเสริม

และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพ.ศ.2535ได้

3. อธิบายและวิเคราะห์เกี่ยวกับการควบคุมมลพิษทางอากาศตามกฎหมายอื่นได้

4. อธิบายและวิเคราะห์เกี่ยวกับปัญหาทางกฎหมายในการควบคุมมลพิษทางอากาศได้

Page 9: หน่วยที่ กฎหมายควบคุมมลพิษ ทางอากาศ เสียง และของเสียอันตรายlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-7.pdf ·

มสธ มสธ ม

สธ

7-9

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

เรื่อง ที่ 7.1.1 ความ ทั่วไป เกี่ยว กับ มลพิษ ทาง อากาศ

สาระ สังเขปก่อนที่จะศึกษาถึงกฎหมายต่างๆเกี่ยวกับการควบคุมมลพิษทางอากาศ ในเบื้องต้นควรได้ศึกษาถึง

ความหมายผลกระทบและแหล่งกำเนิดของมลพิษทางอากาศ ตามลำดับดังต่อไปนี้

1. ความ หมาย ของ มลพิษ ทาง อากาศคำว่า“มลพิษทางอากาศ”(airpollution)นั้นมีการอธิบายความหมายไว้คล้ายคลึงกันดังเช่น

กรมควบคุมมลพิษ ได้ให้นิยามไว้ทำนองเดียวกันว่า มลพิษทางอากาศหมายถึง ภาวะอากาศที่มี

สารเจือปนอยู่ในปริมาณที่สูงกว่าระดับปกติเป็นเวลานานพอที่จะทำให้เกิดอันตรายแก่มนุษย์ สัตว์ พืชหรือ

ทรัพย์สินต่างๆ1

ส่วนหน่วยงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมของรัฐวิคตอเรีย ประเทศออสเตรเลีย (Environmental

Protection Authority: EPA)ได้ให้ความหมายของมลพิษทางอากาศว่า เป็นภาวะที่เกิดขึ้นเมื่ออากาศเจือปน

ดว้ยกา๊ซตา่งๆ ฝุน่ ละออง หรอืกลิน่ในปรมิาณที่เปน็อนัตราย ซึง่อาจสง่ผลกระทบตอ่สขุภาพและความสะดวก

สบายของมนุษย์ หรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อพืชและสัตว์ต่างๆ2 เป็นต้น

กล่าวโดยสรุปแล้ว “มลพิษทางอากาศ”หมายถึงภาวะของอากาศที่มีสารเจือปนอยู่ในปริมาณที่สูง

กว่าระดับปกติและเป็นระยะเวลานานพอที่จะทำให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์สัตว์พืชและทรัพย์สินต่างๆ หรือ

รบกวนต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์

2. ผลก ระ ทบ ของ มลพิษ ทาง อากาศมลพิษทางอากาศอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่างๆ ดังนี้

2.1 การบดบังแสงสว่าง(VisibilityReduction)

2.2 การทำลายวัสดุสิ่งของ(MaterialDamage)

2.3 การทำลายพืชผล(AgriculturalDamage)

2.4 ผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายของมนุษย์และสัตว์เลี้ยง(PhysiologicalEffectsonManand

DomesticAnimals)

1http://www.deqp.go.th2 “Airpollutionoccurswhentheaircontainsgases,dust, fumeorodorinharmfulamount.Aharmful

amountmeansanamountthatcanaffectthehealthorcomfortofhumansorwhichcancausedamagetoplants

andanimals.http://www.epa.vic.gov.au/students/air.asp

Page 10: หน่วยที่ กฎหมายควบคุมมลพิษ ทางอากาศ เสียง และของเสียอันตรายlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-7.pdf ·

7-10

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

2.5 ผลกระทบต่อสุขภาพจิต(PsychologicalEffects)

2.6 การเกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ(ClimateChange)

กิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ เช่น การใช้พลังงาน เชื้อเพลิง การคมนาคม การผลิตทั้งภาคอุตสาหกรรม

และเกษตรกรรมทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจก (GreenhouseGases) อันได้แก่ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน

ไนตรัสออกไซด์ ฯลฯ ปล่อยออกสู่ชั้นบรรยากาศซึ่งห่อหุ้มผิวโลกเป็นปริมาณมากขึ้นติดต่อกัน มีผลให้เกิด

การกักเก็บความร้อนไว้ที่พื้นผิวโลกเพิ่มมากยิ่งขึ้น เรียกว่า ภาวะเรือนกระจก(Greenhouse Effect) ส่งผล

ให้อุณหภูมิพื้นผิวโลกสูงขึ้นซึ่งเรียกว่า ภาวะโลกร้อน(GlobalWarming) และก่อให้เกิดผลกระทบอื่นๆ อีก

มากมายเช่นเกิดภัยภิบัติน้ำแข็งขั้วโลกละลายทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นส่งผลให้พื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเล

บางแห่งถูกน้ำท่วมและกัดเซาะมากขึ้นนอกจากนั้น ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นและอุณหภูมิผิวน้ำที่เพิ่มสูงขึ้นยัง

ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเล เช่น ทำให้พืชและสัตว์ทะเลบางชนิดสูญพันธุ์ รวมถึงการเกิด

ปรากฏการณ์ปะการังฟอกสี เป็นต้น

3. แหล่ง กำเนิด ของ มลพิษ ทาง อากาศ“แหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศ”หมายถึงแหล่งอันเป็นที่มาของมลพิษทางอากาศซึ่งนอกจากแหล่ง

กำเนิดตามธรรมชาติแล้วมลพิษทางอากาศส่วนใหญ่ยังมักเกิดขึ้นในเขตชุมชนและเขตโรงงานอุตสาหกรรม

โดยมีแหล่งกำเนิดมาจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ซึ่งอาจจำแนกได้ดังนี้

3.1 แหลง่ กำเนดิ จาก ยาน พาหนะ มลพษิทางอากาศที่มีแหลง่กำเนดิจากจากยานพาหนะตา่งๆ ที่ใช้ใน

การคมนาคมขนส่งเกิดจากการระเหยของเชื้อเพลิงจากส่วนต่างๆของยานยนต์และการสันดาปในเครื่องยนต์

ทำให้เกิดสารมลพิษต่างๆ เช่นคาร์บอนไดออกไซด์คาร์บอนมอนอกไซด์ไนโตรเจนออกไซด์ละอองตะกั่ว

ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ควันเขม่าฝุ่นเป็นต้น

3.2 แหลง่ กำเนดิ จาก โรงงาน อตุสาหกรรม มลพษิทางอากาศที่มีแหลง่กำเนดิจากโรงงานอตุสาหกรรม

นี้เกิดจากกระบวนการผลิตและการเผาไหม้เชื้อเพลิงต่างๆ ทั้งที่เป็นของแข็งของเหลว และก๊าซ เช่นถ่านหิน

น้ำมันเตา น้ำมันดีเซล ก๊าซธรรมชาติ และก๊าซ LPG ชนิดและประเภทของสารมลพิษจากแหล่งกำเนิดนี้

จึงแตกต่างกันออกไปตามเชื้อเพลิงที่ใช้และลักษณะของกระบวนการผลิตเช่นโรงงานต่างๆ ซึ่งใช้เชื้อเพลิง

ที่มีซัลเฟอร์ผสมอยู่เช่นน้ำมันเตาน้ำมันดีเซลเมื่อมีการสันดาปก็จะทำให้เกิดสารมลพิษเช่นซัลเฟอร์ได-

ออกไซด์คาร์บอนมอนอกไซด์และคาร์บอนไดออกไซด์เป็นต้น

3.3 แหล่ง กำเนิด จาก กิจ กร รม อื่นๆ ของ มนุษย์ มลพิษทางอากาศที่มีแหล่งกำเนิดจากกิจกรรมอื่นๆ

ของมนุษย์เช่นการก่อสร้าง การระเบิดหินและการโม่หิน ทำให้เกิดฝุ่น ควัน หรือการเผาขยะ การใช้ปุ๋ยเคมีที่

มีไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบในการเกษตร ทำให้เกิดก๊าซไนตรัสออกไซด์ หรือการเผาพืชไร่ เผาป่าเพื่อทำการ

เกษตร ก่อให้เกิดฝุ่นควันและคาร์บอนไดออกไซด์หรือการใช้เครื่องทำความเย็น เช่น เครื่องปรับอากาศ

ตู้เย็นรวมทั้งการใช้โฟมสเปรย์ก่อให้เกิดก๊าซคลอโรฟลูโอโรคาร์บอน(CFCS)หรือการใช้เครื่องเชื่อมโลหะ

Page 11: หน่วยที่ กฎหมายควบคุมมลพิษ ทางอากาศ เสียง และของเสียอันตรายlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-7.pdf ·

มสธ มสธ ม

สธ

7-11

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องปรับอากาศ ก่อให้เกิดโอโซนหรือกิจกรรมปศุสัตว์และการฝังกลบขยะมูลฝอย

ก่อให้เกิดก๊าซมีเทน เป็นต้น

(โปรด อ่าน เนื้อหา สาระ โดย ละเอียด ใน เอกสาร การ สอน ชุด วิชา กฎหมาย สิ่ง แวดล้อม หน่วย ที่ 6 โดย

รอง ศาสตราจารย์ จิตรา เพียร ล้ำ เลิศ หน้า 6-5 ถึง 6-14)

กิจกรรม 7.1.1

มลพิษทางอากาศมีแหล่งกำเนิดจากแหล่งใด

บันทึก คำ ตอบ กิจกรรม 7.1.1

(โปรด ตรวจ คำ ตอบ จาก แนว ตอบ ใน แนว การ ศึกษา หน่วย ที่ 7 ตอน ที่ 7.1 กิจกรรม 7.1.1)

Page 12: หน่วยที่ กฎหมายควบคุมมลพิษ ทางอากาศ เสียง และของเสียอันตรายlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-7.pdf ·

7-12

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

เรื่อง ที่ 7.1.2 การ ควบคุม มลพิษ ทาง อากาศ ตามพ ระ ราช บัญญัติ

ส่ง เสริม และ รักษา คุณภาพ สิ่ง แวดล้อม แห่ง ชาติ

พ.ศ. 2535

สาระ สังเขปพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพ.ศ.2535ได้วางมาตรการในการ

ควบคุมปัญหามลพิษทางอากาศไว้ในภาพรวมอย่างเป็นระบบ ดังต่อไปนี้

1. การ กำหนด มาตรฐาน คุณภาพ อากาศ ใน บรรยากาศ โดย ทั่วไป“การกำหนดมาตรฐานคุณภาพส่ิงแวดล้อม”เป็นการกำหนดค่ามาตรฐานคุณภาพส่ิงแวดล้อมโดยรอบ

(ambientstandard)เพื่อเป็นการกำหนดเป้าหมายว่าคุณภาพสิ่งแวดล้อมเช่นคุณภาพน้ำอากาศเสียงหรือ

สภาวะอื่นๆของสิ่งแวดล้อมที่ประสงค์นั้น ควรมีมาตรฐานโดยทั่วไปในระดับใดเพื่อเป็นเกณฑ์ทั่วไปในการ

ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาดุลยภาพของธรรมชาติ เพื่อประโยชน์

ต่อการดำรงชีวิตและความสมบูรณ์สืบไปของมนุษย์ ต่อจากนั้นจึงดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อทำให้คุณภาพ

สิ่งแวดล้อมในเรื่องดังกล่าวได้มาตรฐานตามเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้

อำนาจ ใน การ กำหนด มาตรฐาน คุณภาพ อากาศ ใน บรรยากาศ โดย ทั่วไป พระราชบัญญัติส่งเสริมและ

รักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพ.ศ. 2535 มาตรา 32 ได้ให้อำนาจคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ

ประกาศกำหนดมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมในเรื่องต่างๆ ซึ่งรวมถึงมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศ

โดยทั่วไป ทั้งนี้ โดยมีหลักเกณฑ์ในการกำหนดคือจะต้องอาศัยหลักวิชาการกฎเกณฑ์และหลักฐานทาง

วิทยาศาสตร์เป็นพื้นฐาน และยังต้องคำนึงถึงความเป็นไปได้ในเชิงเศรษฐกิจ สังคมและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง

ด้วยทั้งนี้ เนื่องจากหากอาศัยแต่เพียงหลักวิชาการและหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ในการกำหนดมาตรฐาน

คุณภาพสิ่งแวดล้อมอาจทำให้มาตรฐานสูงเกินกว่าที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรฐานดังกล่าวได้ดังนั้น

กฎหมายจึงผ่อนคลายความเคร่งครัดในการกำหนดมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมโดยให้คำนึงถึงความเป็น

ไปได้ทางเศรษฐกิจสังคมและเทคโนโลยีประกอบด้วย3

ใน กรณี ที่ มาตรฐาน คุณภาพ สิ่ง แวดล้อม โดย ทั่วไป ที่ กำหนด ตาม มาตรา 32 ดัง กล่าว ไม่ เหมาะ สม กับ

บาง พื้นที่ มาตรา 33 ให้อำนาจคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติกำหนดมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้สูง

กว่ามาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่กำหนดตามมาตรา 32 ข้างต้นเป็นพิเศษ สำหรับในเขตอนุรักษ์หรือเขต

พื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมตามมาตรา 43 หรือเขตพื้นที่ตามมาตรา45 หรือเขตควบคุมพิเศษตามมาตรา59

3อดุมศกัดิ์สนิธพิงษ์กฎหมายเกีย่วกบัสิง่แวดลอ้มกรงุเทพมหานครวญิญชูน2547หนา้171;อำนาจวงศ์บณัฑติกฎหมาย

สิ่งแวดล้อมพิมพ์ครั้งที่2กรุงเทพมหานคร วิญญูชน2550หน้า194

Page 13: หน่วยที่ กฎหมายควบคุมมลพิษ ทางอากาศ เสียง และของเสียอันตรายlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-7.pdf ·

มสธ มสธ ม

สธ

7-13

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

หาก มาตรฐาน คุณภาพ สิ่ง แวดล้อม ที่ กำหนด ไว้ ตาม มาตรา 32 หรือ มาตรา 33 ข้าง ต้น ไม่ เหมาะ สม

หรือ ไม่ สอดคล้อง กับ ความ ก้าวหน้า ทาง วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และ ความ เปลี่ยนแปลง ใน ทาง เศรษฐกิจ

และ สังคม ของ ประเทศ มาตรา 34ให้อำนาจคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติออกประกาศปรับปรุงแก้ไข

มาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ได้กำหนดไว้แล้วได้

ที่ผ่านมาคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้อาศัยอำนาจดังกล่าวออกประกาศกำหนดมาตรฐาน

คุณภาพอากาศในบรรยากาศโดยทั่วไปเช่นประกาศฉบับที่10 (พ.ศ.2538)เรื่องกำหนดมาตรฐานคุณภาพ

อากาศในบรรยากาศโดยทั่วไปซึ่งแก้ไขปรับปรุงโดยประกาศฉบับที่24(พ.ศ.2547) และประกาศฉบับที่28

พ.ศ.2550เป็นต้น

2. การ ควบคุม มลพิษ ทาง อากาศ จาก แหล่ง กำเนิด“การกำหนดมาตรฐานควบคมุมลพษิจากแหลง่กำเนดิ” เปน็มาตรการในการควบคมุมลพษิกลา่วคอื

เป็นการกำหนดค่ามาตรฐานขั้นต่ำของมลพิษประเภทต่างๆ ที่กฎหมายยินยอมให้เจ้าของหรือผู้ครอบครอง

แหล่งกำเนิดมลพิษสามารถปล่อยออกหรือระบายออกจากแหล่งกำเนิดสู่สิ่งแวดล้อมได้ (effluentstandard)

เพื่อรักษาไว้ซึ่งคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมต่างๆ ตามที่ได้มีการกำหนด

ไว้4

อำนาจ ใน การ กำหนด มาตรฐาน ควบคุม มลพิษ ทาง อากาศ จาก แหล่ง กำเนิด นั้น มาตรา 55 ได้ให้

อำนาจรฐัมนตรีวา่การกระทรวงทรพัยากรธรรมชาติและสิง่แวดลอ้มโดยคำแนะนำของคณะกรรมการควบคมุ

มลพิษ และโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ประกาศกำหนดมาตรฐานควบคุม

มลพิษจากแหล่งกำเนิด ซึ่งรวมถึงการกำหนดมาตรฐานควบคุมมลพิษทางอากาศจากแหล่งกำเนิด เพื่อที่

จะรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมทางด้านอากาศให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศทั่วไปที่

คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้กำหนดไว้

ใน กรณี ที่ มี การ กำหนด มาตรฐาน ควบคุม มลพิษ จาก แหล่ง กำเนิด โดย อาศัย อำนาจ ตาม กฎหมาย

อื่น และ มาตรฐาน นั้น แตก ต่าง จาก มาตรฐาน ควบคุม มลพิษ จาก แหล่ง กำเนิด ที่ รัฐมนตรี ว่าการ กระทรวง

ทรัพยากรธรรมชาติ และ สิ่ง แวดล้อม กำหนดมาตรา 56 ได้วางแนวทางแก้ไขว่าหากมาตรฐานที่กำหนดไว้ตาม

กฎหมายอืน่ไม่ตำ่กวา่มาตรฐานควบคมุมลพษิจากแหลง่กำเนดิที่รฐัมนตรีวา่การกระทรวงทรพัยากรธรรมชาติ

และสิ่งแวดล้อมกำหนดให้มาตรฐานที่กำหนดไว้ตามกฎหมายอื่นนั้นมีผลใช้บังคับต่อไปได้ แต่ถ้ามาตรฐานที่

กำหนดไว้ตามกฎหมายอื่นนั้นต่ำกว่าให้ส่วนราชการที่มีอำนาจตามกฎหมายนั้นแก้ไขให้เป็นไปตามมาตรฐาน

ควบคุมมลพิษจากแหล่งกำเนิดซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกำหนด

อย่างไรก็ตาม หากส่วนราชการที่มีอำนาจตามกฎหมายอื่นนั้น มีอุปสรรคไม่อาจดำเนินการแก้ไขได้ ให้

คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเป็นผู้ชี้ขาดและให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามคำชี้ขาดนั้น

4 อุดมศักดิ์ สินธิพงษ์ กฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมกรุงเทพมหานครวิญญูชน 2547หน้า 171, 238

Page 14: หน่วยที่ กฎหมายควบคุมมลพิษ ทางอากาศ เสียง และของเสียอันตรายlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-7.pdf ·

7-14

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

ใน กรณี ที่ กฎหมาย อื่น ให้ อำนาจ ส่วน ราชการ ใด กำหนด มาตรฐาน ควบคุม มลพิษ จาก แหล่ง กำเนิด

ใน เรื่อง ใด ไว้ แต่ ส่วน ราชการ นั้น ไม่ ใช้ อำนาจ มาตรา 57 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ

และสิ่งแวดล้อมโดยคำแนะนำของคณะกรรมการควบคุมมลพิษ และโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ

สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ มีอำนาจประกาศกำหนดมาตรฐานควบคุมมลพิษจากแหล่งกำเนิดในเรื่องนั้นได้ และให้

ถือว่าเป็นมาตรฐานตามกฎหมายในเรื่องนั้น

การ กำหนด มาตรฐาน ควบคุม มลพิษ จาก แหล่ง กำเนิด ใน เขต ควบคุม มลพิษ มาตรา 58 ให้อำนาจ

แก่ผู้ว่าราชการจังหวัดในเขตควบคุมมลพิษประกาศกำหนดมาตรฐานควบคุมมลพิษจากแหล่งกำเนิดสูง

กว่ามาตรฐานควบคุมมลพิษจากแหล่งกำเนิดที่กำหนดตามมาตรา55หรือมาตรฐานซึ่งกำหนดตามกฎหมาย

อื่นได้ ซึ่งย่อมเป็นการเพิ่มหน้าที่และความรับผิดชอบให้แก่เจ้าของและผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษใน

เขตควบคุมมลพิษนั้น ในอันที่จะต้องเพิ่มการเอาใจใส่ ดูแล และดำเนินการให้มีระบบบำบัด อุปกรณ์หรือ

เครื่องมืออื่นใดสำหรับการควบคุม ลด หรือขจัดมลพิษอย่างรัดกุมยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ได้กำหนด

หลักเกณฑ์ในการควบคุมมลพิษทางอากาศจากแหล่งกำเนิด ซึ่งจำแนกตามประเภทของแหล่งกำเนิดเป็น

2ประเภทคือ2.1การควบคุมมลพิษทางอากาศซึ่งมีแหล่งกำเนิดจากยานพาหนะและ2.2การควบคุมมลพิษ

ทางอากาศซึ่งมีแหล่งกำเนิดอื่นๆ

2.1 การ ควบคุม มลพิษ ทาง อากาศ ซึ่ง มี แหล่ง กำเนิด จาก ยาน พาหนะ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้อาศัยอำนาจตามมาตรา 55 ออก

ประกาศกำหนดมาตรฐานควบคุมมลพิษทางอากาศซึ่งมีแหล่งกำเนิดจากยานพาหนะเช่นประกาศกระทรวง

เรื่องการกำหนดมาตรฐานค่าก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ และก๊าซไฮโดรคาร์บอนจากท่อไอเสียรถยนต์ที่ใช้

เครือ่งยนต์แกส๊โซลนีลงวนัที่8 กมุภาพนัธ์พ.ศ.2550และประกาศกระทรวงเรือ่งกำหนดมาตรฐานคา่ควนัดำ

ของรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์แบบจุดระเบิดด้วยการอัด(พ.ศ.2553)เป็นต้น

การ ตรวจ สอบ และ ควบคุม มลพิษ ทาง อากาศ ซึ่ง มี แหล่ง กำเนิด จาก ยาน พาหนะ

พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพ.ศ.2535 มาตรา64วางหลักเกณฑ์

ว่า ยานพาหนะที่จะนำมาใช้จะต้องไม่ก่อให้เกิดมลพิษเกินกว่ามาตรฐานควบคุมมลพิษทางอากาศจากแหล่ง

กำเนิดที่ได้กำหนดไว้ และให้พนักงาน เจ้า หน้าที่ ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้

มีอำนาจตรวจสอบและควบคุมตามมาตรา65ถึงมาตรา67 เช่นสั่งให้ยานพาหนะหยุดเพื่อตรวจสอบคุณภาพ

ของควนัที่ระบายจากทอ่ไอเสยีตรวจสอบเครือ่งยนต์และอปุกรณ์ของยานพาหนะและมีอำนาจออกคำสัง่หา้ม

ใช้ยานพาหนะนั้นโดยเด็ดขาด หรือจนกว่าจะได้มีการแก้ไขปรับปรุงให้เป็นไปตามมาตรฐานควบคุมมลพิษ

จากแหล่งกำเนิดที่กำหนดตามมาตรา 55

มาตรการ ลงโทษ ผู้ที่ฝ่าฝืนคำสั่งห้ามใช้ยานพาหนะของพนักงานเจ้าหน้าที่ ต้องระวางโทษปรับ

ไม่เกินห้าพันบาทตามมาตรา 102 ส่วนผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งสั่งให้ยานพาหนะ

หยุดเพื่อทำการตรวจสอบต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำ

ทั้งปรับตามมาตรา 103

Page 15: หน่วยที่ กฎหมายควบคุมมลพิษ ทางอากาศ เสียง และของเสียอันตรายlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-7.pdf ·

มสธ มสธ ม

สธ

7-15

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

2.2 การ ควบคุม มลพิษ ทาง อากาศ ซึ่ง มี แหล่ง กำเนิด อื่นๆ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้อาศัยอำนาจตามมาตรา 55 ออก

ประกาศกำหนดมาตรฐานควบคุมมลพิษทางอากาศซึ่งมีแหล่งกำเนิดอื่นๆหลายฉบับเช่นประกาศกระทรวง

เรื่องกำหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม (พ.ศ. 2549) และประกาศ

กระทรวง เรื่องกำหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติ (พ.ศ. 2553)

เป็นต้น

การ ตรวจ สอบ และ ควบคุม มลพิษ ทาง อากาศ ซึ่ง มี แหล่ง กำเนิด อื่นๆ

มาตรฐานควบคุมมลพิษทางอากาศจากแหล่งกำเนิดอื่นๆ นี้จะมีผลใช้บังคับ เมื่อรัฐมนตรีโดย

คำแนะนำของคณะกรรมการควบคุมมลพิษ ออกประกาศกำหนดประเภทของแหล่งกำเนิดมลพิษทาง

อากาศที่จะต้องปฏิบัติตามมาตรฐานนั้นเสียก่อนตามมาตรา68วรรคหนึ่งซึ่งจะมีผลบังคับให้เจ้าของหรือ

ผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศที่มีประกาศกำหนดประเภทไว้นั้น มีหน้าที่ติดตั้ง หรือจัดให้มี

ระบบบำบัดอากาศเสีย อุปกรณ์ หรือเครื่องมือสำหรับการควบคุมกำจัดลดหรือขจัดมลพิษทางอากาศตามที่

เจ้าพนักงานควบคุมมลพิษกำหนดหรือในกรณีที่มีระบบ อุปกรณ์ หรือเครื่องมือดังกล่าวอยู่แล้ว ซึ่ง

เจ้าพนักงานควบคุมมลพิษตรวจสภาพและทดลองแล้วเห็นว่ายังใช้การได้ เจ้าของหรือผู้ครอบครอง

แหล่งกำเนิดมลพิษนั้น ก็ต้องจัดให้มีผู้ควบคุมการดำเนินงานของระบบอุปกรณ์ หรือเครื่องมือนั้น ตามที่

เจ้าพนักงานควบคุมมลพิษกำหนดตามมาตรา68วรรคสองโดยเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและดำเนิน

การเองตามหลักผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย(PolluterPaysPrinciple:PPP)5 อีกทั้งมีหน้าที่เก็บสถิติและข้อมูล

ซึ่งแสดงผลการทำงานของระบบอุปกรณ์ หรือเครื่องมือสำหรับควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียจัดทำรายงาน

ผลเสนอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นเพื่อทำความเห็นประกอบการพิจารณาของเจ้าพนักงานควบคุมมลพิษตาม

มาตรา80 อันมีที่มาจากแนวคิดในการประเมินผลสิ่งแวดล้อม(environmentalauditing)6

มาตรการ ลงโทษ หากเจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศ ละเว้นไม่ใช้ระบบ

อปุกรณ์และเครือ่งมอืที่มีอยู่ตอ้งเสยีคา่ปรบัทางปกครองกลา่วคอืเสยีคา่ปรบัรายวนัในอตัราสี่เทา่ของจำนวน

เงินค่าใช้จ่ายประจำวันสำหรับการเปิดเดินเครื่องทำงานของอุปกรณ์ เครื่องมือ หรือระบบบำบัดอากาศเสีย

ของตนตลอดเวลาที่ดำเนินการเช่นว่านั้นตามมาตรา92 หรือหากฝ่าฝืนไม่จัดเก็บสถิติ ข้อมูล หรือไม่จัดทำ

บันทึกหรือรายงานต้องระวางโทษทางอาญาจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำ

ทั้งปรับตามมาตรา106แต่มีข้อสังเกตคือไม่มีบทลงโทษกรณีเจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษ

ทางอากาศไม่ติดตั้งระบบบำบัดอากาศเสีย ซึ่งอาจทำให้มาตรา68ไม่มีสภาพบังคับอย่างแท้จริง

สำหรับ อำนาจ ของ เจ้า พนักงาน ควบคุม มลพิษ ใน การ ตรวจ สอบ และ ควบคุม มลพิษ ทาง อากาศ นั้น

มีหลายประการเช่นเข้าไปในสถานที่เพื่อตรวจสภาพการทำงานของระบบบำบัดอากาศเสียหรืออุปกรณ์ และ

เครื่องมือต่างๆ เพื่อควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสีย ตรวจบันทึกรายละเอียด สถิติ หรือข้อมูลเกี่ยวกับการ

5 อุดมศักดิ์สินธิพงษ์กฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมหน้า267 6 อำนาจวงศ์บัณฑิตกฎหมายสิ่งแวดล้อมหน้า232

Page 16: หน่วยที่ กฎหมายควบคุมมลพิษ ทางอากาศ เสียง และของเสียอันตรายlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-7.pdf ·

7-16

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

ทำงานของระบบ หรอือปุกรณ ์และเครือ่งมอืดงักลา่ว ตามมาตรา 82(1) สัง่ให้จดัการแกไ้ข เปลีย่นแปลง ปรบัปรงุ

ระบบบำบัดอากาศเสีย หรืออุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ เพื่อควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสีย หรือมลพิษอื่น

ตามมาตรา 82(2) หรือสั่งปรับเจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษซึ่งมิใช่โรงงานอุตสาหกรรมตาม

มาตรา 92แต่ในกรณีแหล่งกำเนิดมลพิษนั้นเป็นโรงงานอุตสาหกรรม เจ้าพนักงานควบคุมมลพิษจะต้องแจ้ง

ไปยังเจ้าพนักงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานเพื่อให้สั่งปรับ โดยให้ถือว่าเจ้าพนักงานตามกฎหมายดังกล่าว

เป็นเจ้าพนักงานควบคุมมลพิษตามพระราชบัญญัตินี้ หากเจ้าพนักงานไม่สั่งปรับในระยะเวลาอันควร จึงให้

เจ้าพนักงานควบคุมมลพิษมีอำนาจสั่งปรับได้ ตามมาตรา 82(3)เป็นต้น

(โปรด อา่น เนือ้หา สาระ โดย ละเอยีด ใน กฎหมาย สิง่ แวดลอ้ม บท ที ่5 โดย รอง ศาสตราจารย ์ ดร.อำนาจ

วงศ์ บัณฑิต หน้า 286-317; กฎหมาย เกี่ยว กับ สิ่ง แวดล้อม บท ที่ 8 โดย ผู้ ช่วย ศาสตราจารย์ อุดม ศักดิ์ สิน ธิ พงษ์

หนา้ 293-300; เอกสาร การ สอน ชดุ วชิา กฎหมาย สิง่ แวดลอ้ม หนว่ย ที ่6 โดย รอง ศาสตราจารย ์จติรา เพยีร ลำ้ เลศิ

หน้า 6-15 ถึง 6-38)

กิจกรรม 7.1.2

วัตถุประสงค์ในการกำหนดมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศโดยทั่วไปคืออะไร

บันทึก คำ ตอบ กิจกรรม 7.1.2

(โปรด ตรวจ คำ ตอบ จาก แนว ตอบ ใน แนว การ ศึกษา หน่วย ที่ 7 ตอน ที่ 7.1 กิจกรรม 7.1.2)

Page 17: หน่วยที่ กฎหมายควบคุมมลพิษ ทางอากาศ เสียง และของเสียอันตรายlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-7.pdf ·

มสธ มสธ ม

สธ

7-17

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

เรื่อง ที่ 7.1.3 การ ควบคุม มลพิษ ทาง อากาศ ตาม กฎหมาย อื่น

สาระ สังเขปกฎหมายอื่นๆ ที่มีบทบัญญัติบางส่วนเกี่ยวข้องกับการควบคุมมลพิษทางอากาศ โดยมีหน่วยงาน

หรือผู้บังคับใช้กฎหมายโดยเฉพาะตามกฎหมายนั้นๆ ดังตัวอย่างซึ่งจะแยกพิจารณา ต่อไปนี้

1. การ ควบคุม มลพิษ ทาง อากาศ ซึ่ง มี แหล่ง กำเนิด จาก ยาน พาหนะ 1.1 พระ ราช บัญญัติ รถยนต์ พ.ศ. 2522 มีความมุ่งหมายหลักในการควบคุมการใช้รถประเภทต่างๆ

และมีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมมลพิษทางอากาศไว้โดยกำหนดให้รถที่จะจดทะเบียนได้ต้องเป็น

รถที่มีส่วนควบหรืออุปกรณ์ตามที่กำหนดในกฎกระทรวงและผ่านการตรวจสภาพรถ ทั้งนี้ ได้มีการออก

กฎกระทรวงฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2531) กำหนดรายละเอียดการตรวจสภาพรถยนต์ที่จะจดทะเบียนซึ่งรวมถึง

การตรวจระบบไอเสียด้วย

1.2 พระ ราช บัญญัติ จราจร ทาง บก พ.ศ. 2522 มีความมุ่งหมายหลักเพื่อจัดการจราจรทางบก

ควบคุมดูแลสภาพรถ ตลอดจนวางหลักเกณฑ์การใช้รถและมีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมมลพิษ

ทางอากาศโดยให้รัฐมนตรีมีอำนาจออกกฎกระทรวง กำหนดสภาพของรถที่อาจทำให้เสื่อมเสียสุขภาพของ

ประชาชน และห้ามมิให้นำรถที่มีสภาพดังกล่าวมาใช้ในทางเดินรถ หากฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับ รวมทั้ง

ให้อำนาจผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติออกประกาศกำหนดเกณฑ์ของก๊าซ ฝุ่น ควันหรือละอองเคมี

ที่เกิดจากเครื่องยนต์ของรถ และห้ามนำรถที่เครื่องยนต์ก่อให้เกิดก๊าซ ฝุ่น ควันหรือละอองเคมี เกิน

เกณฑ์ดังกล่าวมาใช้ในทางเดินรถ ผู้ที่ฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับนอกจากนั้น ยังกำหนดให้ผู้ขับรถบรรทุก

จัดให้มีสิ่งป้องกันมิให้สิ่งของที่บรรทุกมา เช่น หิน ดิน ทราย เชื้อเพลิงหรือสารเคมีอื่นๆ ตกหล่น รั่วไหล

ส่งกลิ่นหรือปลิวไปจากรถ อันอาจก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศอีกด้วย

1.3 พระ ราช บัญญัติ การ ขนส่ง ทาง บก พ.ศ. 2522 มีความมุ่งหมายหลักเพื่อควบคุมรถที่ใช้ในการ

ขนส่งทางบก และมีบทบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมมลพิษทางอากาศซึ่งเกิดจากการใช้รถเพื่อ

การขนส่ง โดยให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมออกกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานหรือสภาพของ

รถที่จะอนุญาตให้ใช้ในการขนส่งซึ่งรวมถึงกำหนดมาตรฐานหรือลักษณะรถเพื่อป้องกันปัญหามลพิษด้วย

เช่น กำหนดว่าเครื่องกำเนิดพลังงานต้องไม่ทำให้เกิดก๊าซฝุ่น ควัน ละอองเคมีเกินเกณฑ์ที่กรมการขนส่ง

ประกาศกำหนดหากนำรถมาใช้โดยฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับเป็นต้น

1.4 ประกาศ คณะ ปฏิวัติ ฉบับ ที่ 16 (พ.ศ. 2514) มีกำหนดห้ามใช้รถยนต์ รถจักรยานยนต์ และ

เรือกลที่ก่อให้เกิดควันอันเป็นอันตรายหรือเสื่อมเสียอนามัยแก่ประชาชน ตามที่กำหนดไว้ในประกาศของ

เจ้าพนักงานจราจรหรืออธิบดีกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี หากฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับและให้

เจ้าพนักงานจราจรหรืออธิบดีสั่งยึดหรือห้ามใช้รถหรือเรือนั้นจนกว่าจะได้แก้ไขตามประกาศ

Page 18: หน่วยที่ กฎหมายควบคุมมลพิษ ทางอากาศ เสียง และของเสียอันตรายlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-7.pdf ·

7-18

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

2. การ ควบคุม มลพิษ ทาง อากาศ ซึ่ง มี แหล่ง กำเนิด จาก โรงงาน อุตสาหกรรม 2.1 พระ ราช บัญญัติ โรงงาน พ.ศ. 2535 มีความมุ่งหมายหลักเพื่อควบคุมที่ตั้งและการประกอบ

กิจการโรงงาน เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจ และการรักษาสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสุขภาพอนามัยของ

ประชาชนโดยในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมมลพิษทางอากาศนั้นได้ให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวง

อุตสาหกรรมออกกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานและวิธีการควบคุมการปล่อยอากาศเสียซึ่งเกิดขึ้นจากการ

ประกอบกิจการโรงงานเช่นกฎกระทรวงฉบับที่2(พ.ศ.2535)ซึ่งห้ามมิให้ระบายอากาศเสียออกจากโรงงาน

เว้นแต่จะทำให้อากาศที่ระบายออกมีปริมาณสารเจือปนไม่เกินค่าที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดและที่ผ่านมาได้

มีประกาศกำหนดค่าปริมาณสารเจือปนในอากาศที่ระบายจากโรงงานหลายฉบับนอกจากนั้นพระราชบัญญัติ

นี้ยังให้รัฐมนตรีมีอำนาจรวมถึงประกาศกำหนดชนิดคุณภาพวัตถุดิบหรือชนิดของพลังงานที่จะนำมาใช้หรือ

ผลิตในโรงงานเช่นห้ามใช้สารCFCsในกระบวนการผลิตเป็นต้น

2.2 พระ ราช บัญญัติ การ นิคม อุตสาหกรรม แห่ง ประเทศไทย พ.ศ. 2522มีความมุ่งหมายหลักเพื่อ

ส่งเสริมและควบคุมนิคมอุตสาหกรรมโดยมีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมมลพิษทางอากาศคือ ให้

อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขในการ

จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมเช่นที่ผ่านมามีการกำหนดให้นิคมอุตสาหกรรมต้องจัดให้มีระบบติดตามตรวจสอบ

มลพิษและคุณภาพสิ่งแวดล้อมเป็นต้น

3. การ ควบคุม มลพิษ ทาง อากาศ ซึ่ง มี แหล่ง กำเนิด จาก ชุมชน 3.1 พระ ราช บัญญัติ การ สาธารณสุข พ.ศ. 2535 มีความมุ่งหมายหลักเพื่อควบคุมดูแลกิจการ

สาธารณสุขและการอนามัยสิ่งแวดล้อมและในหมวดว่าด้วยเหตุรำคาญมีบทบัญญัติบางมาตราที่เกี่ยวข้อง

กับการควบคุมมลพิษทางอากาศโดยกำหนดว่าการกระทำการใด อันเป็นเหตุให้เกิดกลิ่นรังสีฝุ่น ละออง

เขม่า เถ้าจนเป็นเหตุให้เสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพถือว่าเป็นเหตุรำคาญและให้อำนาจเจ้าพนักงาน

ท้องถิ่นระงับกำจัดและควบคุมเหตุรำคาญดังกล่าวและกรณีเหตุรำคาญเกิดขึ้นในที่หรือทางสาธารณะให้

เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งระงับหรือป้องกันเหตุดังกล่าวหากขัดขืนต้องระวางโทษทางอาญาตลอดจน

หากเหตุรำคาญที่เกิดขึ้นนั้นอาจเป็นอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพ เจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจจัดการตามจำเป็น

เพื่อป้องกัน โดยให้ผู้ก่อเหตุรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเพื่อการจัดการนั้น ส่วนกรณีเหตุรำคาญเกิดขึ้นในสถานที่

เอกชน เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ระงับเหตุรำคาญหากฝ่าฝืนต้องระวางโทษทางอาญา และหากเหตุ

รำคาญนั้นอาจเป็นอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพ หรือกระทบต่อความเป็นอยู่ที่เหมาะสมในการดำรงชีพของ

ประชาชน เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งห้ามมิให้ใช้สถานที่นั้น จนกว่าจะได้มีการระงับเหตุรำคาญนั้นแล้ว

เป็นต้น

3.2 พระ ราช บัญญัติ คุ้มครอง สุขภาพ ผู้ ไม่ สูบ บุหรี่ พ.ศ. 2535 มีความมุ่งหมายหลักเพื่อคุ้มครอง

สุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่และมีบทบัญญัติที่คุ้มครองผู้ไม่สูบบุหรี่จากปัญหามลพิษจากควันบุหรี่โดยให้อำนาจ

รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขออกประกาศกำหนดประเภทของสถานที่สาธารณะที่เป็นเขตสูบบุหรี่หรือเขต

Page 19: หน่วยที่ กฎหมายควบคุมมลพิษ ทางอากาศ เสียง และของเสียอันตรายlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-7.pdf ·

มสธ มสธ ม

สธ

7-19

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

ปลอดบุหรี่และกำหนดสภาพลักษณะและมาตรฐานของเขตปลอดบุหรี่และเขตสูบบุหรี่เกี่ยวกับการระบาย

ควันหรืออากาศหากฝ่าฝืนสูบบุหรี่ในเขตปลอดบุหรี่ดังกล่าวต้องระวางโทษทางอาญา

(โปรด อา่น เนือ้หา สาระ โดย ละเอยีด ใน กฎหมาย สิง่ แวดลอ้ม บท ที ่5 โดย รอง ศาสตราจารย ์ดร.อำนาจ

วงศ์ บัณฑิต หน้า 320-344; กฎหมาย เกี่ยว กับ สิ่ง แวดล้อม บท ที่ 8 โดย ผู้ ช่วย ศาสตราจารย์ อุดม ศักดิ์ สิน ธิ พงษ์

หนา้ 300-316; กฎหมาย กบั สิง่ แวดลอ้ม บท ที ่6 โดย ผู ้ชว่ย ศาสตราจารย ์ดร.กอบ กลุ รา ยะ นาคร หนา้ 138 - 158

เอกสาร การ สอน ชุด วิชา กฎหมาย สิ่ง แวดล้อม หน่วย ที่ 6 โดย รอง ศาสตราจารย์ จิตรา เพียร ล้ำ เลิศ หน้า 6-39

ถึง 6-53)

กิจกรรม 7.1.3

นอกจากพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 แล้ว

กฎหมายอื่นที่มีบทบัญญัติเกี่ยวข้องกับการควบคุมมลพิษทางอากาศซึ่งมีแหล่งกำเนิดจากยานพาหนะ

ได้แก่กฎหมายฉบับใด

บันทึก คำ ตอบ กิจกรรม 7.1.3

(โปรด ตรวจ คำ ตอบ จาก แนว ตอบ ใน แนว การ ศึกษา หน่วย ที่ 7 ตอน ที่ 7.1 กิจกรรม 7.1.3)

Page 20: หน่วยที่ กฎหมายควบคุมมลพิษ ทางอากาศ เสียง และของเสียอันตรายlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-7.pdf ·

7-20

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

เรื่อง ที่ 7.1.4 ปัญหา ทาง กฎหมาย ใน การ ควบคุม มลพิษ ทาง อากาศ

สาระ สังเขปในการควบคุมมลพิษทางอากาศนั้น พบว่ามีปัญหาในทางกฎหมายหลายประการ ดังนี้

1. ปัญหา ช่อง ว่าง ของ กฎหมาย มาตรการตรวจสอบและควบคุมตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและ

รักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ซึ่งบัญญัติให้เจ้าของและผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษ

ทางอากาศทำรายงานสรุปผลการทำงานของระบบอุปกรณ์ เครื่องมือควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียเสนอ

เจ้าพนักงานท้องถิ่นที่แหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศตั้งอยู่เพื่อทำความเห็นส่งต่อให้เจ้าพนักงานควบคุม

มลพิษตามมาตรา80นั้นอาจยังไม่มีผลบังคับในทางปฏิบัติอย่างแท้จริงเพราะยังไม่มีกฎกระทรวงกำหนด

หลักเกณฑ์วิธีการและแบบในการบันทึกสถิติข้อมูลดังกล่าว7

2. ปัญหา ความ ซ้ำ ซ้อน ของ กฎหมาย หน่วย งาน และ การ ขาด ความ เป็น เอกภาพ ใน การ ควบคุม

กฎหมายสิ่งแวดล้อมของไทยมีหลายฉบับซึ่งได้ให้อำนาจแก่หน่วยงานต่างๆซ้ำซ้อนกันทำให้เกิดปัญหาการ

ทำงานโดยขาดการประสานงานแม้พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพ.ศ.2535

จะพยายามสร้างความเป็นเอกภาพในการควบคุมมลพิษทางอากาศ แต่การปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติ

ดังกล่าวนั้นกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมซึ่งมีกรมควบคุมมลพิษเป็นหน่วยงานหลักในการ

ควบคุมมลพิษก็มีข้อจำกัดเรื่องบุคลากรจำเป็นต้องอาศัยบุคลากรจากหน่วยงานอื่นๆ ซึ่งมิได้อยู่ภายใต้การ

กำกับดูแลของกรมควบคุมมลพิษอีกทั้งยังมีข้อจำกัดเรื่องอำนาจเช่นในการตรวจสอบควบคุมแหล่งกำเนิด

มลพิษประเภทโรงงานอุตสาหกรรมมาตรา82ให้เจ้าพนักงานควบคุมมลพิษแจ้งเจ้าพนักงานตามกฎหมาย

ว่าด้วยโรงงานดำเนินการก่อนจึงสั่งตามมาตรานี้ได้ในทางปฏิบัติเจ้าพนักงานควบคุมมลพิษจึงมักใช้อำนาจ

ตรวจสอบควบคุมแหล่งกำเนิดมลพิษประเภทโรงงานอุตสาหกรรมเมื่อมีการร้องเรียนเท่านั้น8

3. ปัญหา เกี่ยว กับ บท ลงโทษ พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพ.ศ.

2535มไิด้มีบทลงโทษกรณีเจา้ของและผู้ครอบครองแหลง่กำเนดิมลพษิทางอากาศไม่ยอมตดิตัง้ระบบควบคมุ

กำจัดหรือลดมลพิษจึงอาจมีผลให้มาตรา68วรรคสองและวรรคสามอาจไม่มีผลบังคับแท้จริง9นอกจากนั้น

การลงโทษผู้ฝ่าฝืนมีเพียงโทษปรับและมีอัตราโทษเบา อีกทั้งมิได้มีบทลงโทษผู้ใช้ยานพาหนะที่ก่อมลพิษ

เกินกว่ามาตรฐานทันที แต่บัญญัติให้ใช้มาตรการสั่งห้ามใช้ยานพาหนะก่อน เมื่อฝ่าฝืนคำสั่งจึงมีโทษปรับ

ซึ่งหากผู้บังคับใช้กฎหมายมิได้ใช้มาตรการสั่งห้ามใช้ยานพาหนะอย่างจริงจังก็อาจยังคงมีการใช้ยานพาหนะ

ซึ่งก่อมลพิษอยู่ต่อไป

7กอบกุลรายะนาครกฎหมายกับสิ่งแวดล้อมกรุงเทพมหานครวิญญูชน2550หน้า2218เรื่องเดียวกันหน้า1269อำนาจวงศ์บัณฑิตกฎหมายสิ่งแวดล้อม หน้า296

Page 21: หน่วยที่ กฎหมายควบคุมมลพิษ ทางอากาศ เสียง และของเสียอันตรายlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-7.pdf ·

มสธ มสธ ม

สธ

7-21

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4. ปัญหา การ บังคับ ใช้ กฎหมาย ส่วนหนึ่งเกิดจากผู้บังคับใช้กฎหมายละเลยไม่ทำการตรวจสอบ

ควบคุมอย่างจริงจัง

(โปรด อา่น เนือ้หา สาระ โดย ละเอยีด ใน กฎหมาย สิง่ แวดลอ้ม บท ที ่6 โดย ผู ้ชว่ย ศาสตราจารย ์ดร. กอบ กลุ

รา ยะ นาคร หน้า 220-222; กฎหมาย เกี่ยว กับ สิ่ง แวดล้อม บท ที่ 12 โดย ผู้ ช่วย ศาสตราจารย์ อุดม ศักดิ์ สิน ธิ พงษ์

หน้า 316-318)

กิจกรรม 7.1.4

ในการควบคุมมลพิษทางอากาศมีปัญหาทางกฎหมายเช่นไร

บันทึก คำ ตอบ กิจกรรม 7.1.4

(โปรด ตรวจ คำ ตอบ จาก แนว ตอบ ใน แนว การ ศึกษา หน่วย ที่ 7 ตอน ที่ 7.1 กิจกรรม 7.1.4)

Page 22: หน่วยที่ กฎหมายควบคุมมลพิษ ทางอากาศ เสียง และของเสียอันตรายlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-7.pdf ·

7-22

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

ตอน ที่ 7.2

การ ควบคุม มลพิษ ทาง เสียง

โปรดอ่านแผนการสอนประจำตอนที่7.2แล้วจึงศึกษาสาระสังเขปพร้อมปฏิบัติกิจกรรมในแต่ละเรื่อง

หัว เรื่องเรื่องที่7.2.1 ความทั่วไปเกี่ยวกับมลพิษทางเสียง

เรื่องที่7.2.2 การควบคุมมลพิษทางเสียงตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพ

สิ่งแวดล้อมแห่งชาติพ.ศ.2535

เรื่องที่7.2.3 การควบคุมมลพิษทางเสียงตามกฎหมายอื่น

เรื่องที่7.2.4 ปัญหาทางกฎหมายในการควบคุมมลพิษทางเสียง

แนวคิด1. มลพิษทางเสียงหมายถึงสภาวะที่สิ่งแวดล้อมมีเสียงรบกวนซึ่งไม่พึงปรารถนาที่เกิดขึ้น

จนเกินขีดจำกัด และนานพอที่จะทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพและอนามัยของมนุษย์ได้

มลพิษทางเสียงนี้อาจมีแหล่งกำเนิดจากยานพาหนะโรงงานอุตสาหกรรมอาคารบ้านพัก

อาศัยหรือกิจกรรมอื่นๆ ของมนุษย์

2. พระราชบญัญตัิสง่เสรมิและรกัษาคณุภาพสิง่แวดลอ้มแหง่ชาติพ.ศ.2535ได้วางมาตรการ

ในการควบคมุมลพษิทางเสยีงโดยเริม่จากการกำหนดเรือ่งมาตรฐานระดบัเสยีงทัว่ไปและ

การกำหนดเรื่องมาตรฐานควบคุมมลพิษทางเสียงจากแหล่งกำเนิดตลอดจนการกำหนด

มาตรการในการตรวจสอบควบคุมมลพิษทางเสียงจากแหล่งกำเนิด

3. กฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมมลพิษทางเสียง เช่นพระราชบัญญัติโรงงาน

พ.ศ. 2535พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2541พระราชบัญญัติควบคุมการ

โฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงเป็นต้น

4. ปัญหาทางกฎหมายในการควบคุมมลพิษทางเสียงที่สำคัญคือปัญหาความซ้ำซ้อนของ

กฎหมายหน่วยงานและการขาดความเป็นเอกภาพในการควบคุมมลพิษทางเสียง

Page 23: หน่วยที่ กฎหมายควบคุมมลพิษ ทางอากาศ เสียง และของเสียอันตรายlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-7.pdf ·

มสธ มสธ ม

สธ

7-23

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

วัตถุประสงค์เมื่อศึกษาตอนที่7.2จบแล้วนักศึกษาสามารถ

1. อธิบายและวิเคราะห์เกี่ยวกับความหมาย ผลกระทบ และแหล่งกำเนิดของมลพิษทาง

เสียงได้

2. อธิบายและวิเคราะห์เกี่ยวกับการควบคุมมลพิษทางเสียงตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและ

รักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพ.ศ.2535ได้

3. อธิบายและวิเคราะห์เกี่ยวกับการควบคุมมลพิษทางเสียงตามกฎหมายอื่นได้

4. อธิบายและวิเคราะห์เกี่ยวกับปัญหาทางกฎหมายในการควบคุมมลพิษทางเสียงได้

Page 24: หน่วยที่ กฎหมายควบคุมมลพิษ ทางอากาศ เสียง และของเสียอันตรายlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-7.pdf ·

7-24

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

เรื่อง ที่ 7.2.1 ความ ทั่วไป เกี่ยว กับ มลพิษ ทาง เสียง

สาระ สังเขปก่อนที่จะศึกษาถึงกฎหมายต่างๆ เกี่ยวกับการควบคุมมลพิษทางเสียง ในเบื้องต้นควรได้ศึกษาถึง

ความหมายผลกระทบและแหล่งกำเนิดของมลพิษทางเสียง ตามลำดับดังต่อไปนี้

1. ความ หมาย ของ มลพิษ ทาง เสียง คำว่า “มลพิษทางเสียง” (noise pollution) นั้น มีนักวิชาการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอธิบาย

ความหมายไว้คล้ายคลึงกัน ซึ่งอาจสรุปได้ว่า หมายถึง ภาวะที่สิ่งแวดล้อมมีเสียงรบกวนซึ่งไม่เป็นที่พึง

ปรารถนาที่เกิดขึ้นจนเกินขีดจำกัดและนานพอที่จะทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพและอนามัยของมนุษย์ได้

โดยมลพษิทางเสยีงจะมีความรนุแรงเพยีงใดนัน้ขึน้อยู่กบัลกัษณะและระดบัความดงัของเสยีงที่บคุคลสมัผสั

ประกอบกับระยะเวลาในการสัมผัสเสียงนั้น

2. ผลก ระ ทบ ของ มลพิษ ทาง เสียงมลพิษทางเสียงอาจก่อให้เกิดผลกระทบ ซึ่งอาจแบ่งออกได้เป็น 2 ประการคือ

2.1 ผลก ระ ทบ ต่อ การ ได้ยิน หากระดับเสียงดังเกินไปก็จะเป็นผลเสียต่อระบบการได้ยินกล่าวคือ

1) เกิดผลเสียชั่วคราว คือการได้ยินลดน้อยลงชั่วคราวหรือ2)เกิดผลเสียถาวรคือสูญเสียการได้ยินทั้งหมด

เป็นการถาวรทั้งนี้ผลกระทบของเสียงดังรบกวนต่อระบบการได้ยินจะมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับระดับ

ของเสียงดังรบกวนความถี่ของเสียงและระยะเวลาที่สัมผัสเสียงนั้น

2.2 ผลก ระ ทบ ต่อ สุขภาพ กาย และ สุขภาพ จิต เสียงดังมีผลรบกวนต่อระยะเวลาและคุณภาพของ

การนอนหลับ และหากนอนหลับไม่เพียงพอก็ย่อมส่งผลให้สุขภาพทรุดโทรม ทั้งยังส่งผลต่อสุขภาพจิต

กล่าวคือ ก่อให้เกิดความรำคาญ หงุดหงิด รบกวนประสิทธิภาพในการทำงาน ตลอดจนส่งผลต่อสุขภาพกาย

กล่าวคือ ทำให้รู้สึกเหนื่อย อ่อนเพลียง่ายกว่าปกติ เครียด และร่างกายหลั่งสารอะดรินาลีน (adrenalin)

เพิ่มขึ้นทำให้ความดันโลหิตสูง อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น10

3. แหล่ง กำเนิด มลพิษ ทาง เสียง มลพิษทางเสียงส่วนใหญ่เกิดขึ้นในชุมชนเมืองและเขตโรงงานอุตสาหกรรมมากกว่าชานเมืองและ

ชนบท โดยมีแหล่งกำเนิดมาจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ ซึ่งจำแนกได้ดังนี้

10 พัฒนามูลพฤกษ์การป้องกันและควบคุมมลพิษกรุเทพมหานครบริษัทซิกม่าดีไซน์กราฟฟิกจำกัด2542หน้า2-9ถึง

2-11และhttp://www.epa.vic.gov.au/students/noise/default.asp#noise%20pollution

Page 25: หน่วยที่ กฎหมายควบคุมมลพิษ ทางอากาศ เสียง และของเสียอันตรายlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-7.pdf ·

มสธ มสธ ม

สธ

7-25

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

3.1 แหล่ง กำเนิด จาก ยาน พาหนะ มลพิษทางเสียงที่มีแหล่งกำเนิดจากยานพาหนะต่างๆ เช่น เกิด

ขึ้นจากเสียงของเครื่องยนต์ เสียงท่อไอเสียของรถยนต์ เสียงจากการปะทะของลม รวมทั้งเสียงล้อรถยนต์

กระทบกับถนนหรือเสียงจากการสั่นสะเทือนเนื่องจากสภาพถนน รวมถึงเสียงดังจากเครื่องบินขณะขึ้นลง

เสียงจากการเคลื่อนตัวของรถไฟตลอดจนเสียงจากเรือยนต์

3.2 แหลง่ กำเนดิ จาก โรงงาน อตุสาหกรรม มลพษิทางเสยีงที่มีแหลง่กำเนดิจากโรงงานอตุสาหกรรม

เกิดขึ้นจากเสียงของเครื่องจักรอุตสาหกรรมในขณะเดินเครื่องทำงานโดยระดับความดังของเสียงจะต่างกัน

ขึ้นอยู่กับเครื่องจักรอุตสาหกรรมที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมแต่ละประเภท เสียงเครื่องจักรภายในอาคาร

โรงงานอุตสาหกรรมนี้นอกจากจะมีผลกระทบต่อคนงานซึ่งอาจจะส่งผลรุนแรงถึงขั้นสูญเสียการได้ยินแล้ว

เสียงดังกล่าวยังส่งผลกระทบต่อชุมชนอีกด้วย

3.3 แหล่ง กำเนิด จาก กิจ กร รม อื่นๆ ของ มนุษย์ มลพิษทางเสียงยังอาจเกิดจากกิจกรรมอื่นๆ ของ

มนุษย์ เช่น เสียงจากสถานบันเทิง สถานประกอบกิจการต่างๆ เสียงจากการใช้เครื่องจักรกลอุปกรณ์ต่างๆ

ในการก่อสร้างหรือการใช้เครื่องใช้ต่างๆในอาคารที่พัก

(โปรด อ่าน เนื้อหา สาระ โดย ละเอียด ใน เอกสาร การ สอน ชุด วิชา กฎหมาย สิ่ง แวดล้อม หน่วย ที่ 6 โดย

รอง ศาสตราจารย์ จิตรา เพียร ล้ำ เลิศ หน้า 6-62 ถึง 6-64)

กิจกรรม 7.2.1

มลพิษทางเสียงก่อให้เกิดผลกระทบสำคัญในเรื่องใด

บันทึก คำ ตอบ กิจกรรม 7.2.1

(โปรด ตรวจ คำ ตอบ จาก แนว ตอบ ใน แนว การ ศึกษา หน่วย ที่ 7 ตอน ที่ 7.2 กิจกรรม 7.2.1)

Page 26: หน่วยที่ กฎหมายควบคุมมลพิษ ทางอากาศ เสียง และของเสียอันตรายlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-7.pdf ·

7-26

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

เรื่อง ที่ 7.2.2 การ ควบคุม มลพิษ ทาง เสียง ตามพ ระ ราช บัญญัติ

ส่ง เสริม และ รักษา คุณภาพ สิ่ง แวดล้อมแห่ง ชาติ

พ.ศ. 2535

สาระ สังเขปพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 ได้วางมาตรการในการ

ควบคุมปัญหามลพิษทางเสียงไว้ในภาพรวมอย่างเป็นระบบเช่นเดียวกับการควบคุมมลพิษทางอากาศ โดย

เริ่มจากการกำหนดมาตรฐานระดับเสียงโดยทั่วไป และการกำหนดมาตรฐานควบคุมมลพิษทางเสียงจาก

แหล่งกำเนิดต่างๆ ตลอดจนการกำหนดมาตรการในการตรวจสอบและควบคุมมลพิษทางเสียงจากแหล่ง

กำเนิดดังกล่าว ดังนี้

1. การ กำหนด มาตรฐาน ระดับ เสียง โดย ทั่วไปคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้อาศัยอำนาจตามมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติข้างต้นออก

ประกาศกำหนดมาตรฐานระดับเสียงโดยทั่วไปเช่นประกาศฉบับที่ 15 (พ.ศ.2540) เรื่องการกำหนดมาตรฐาน

ระดบัเสยีงทัว่ไป ซึง่หมายถงึระดบัเสยีงที่เกดิขึน้ในสิง่แวดลอ้มในบรเิวณที่มีคนอยู่หรอือาศยัอยู ่ให้มีคา่ระดบั

เสียงสูงสุด11 ไม่เกิน 115 เดซิเบลเอ หรือ dB(A) และค่าระดับเสียงเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ไม่เกิน 70 เดซิเบลเอ

และประกาศฉบับที่ 29 (พ.ศ. 2550) เรื่องค่าระดับเสียงรบกวน โดยกำหนดให้ระดับเสียงจากแหล่งกำเนิด

ขณะมีการรบกวน ซึ่งมีระดับเสียงสูงกว่าระดับเสียงพื้นฐาน12 ถือว่าเป็นเสียงรบกวนและประกาศฉบับที่ 37

(พ.ศ.2553)เรื่องกำหนดค่ามาตรฐานความสั่นสะเทือนเพื่อป้องกันผลกระทบต่ออาคาร

2. การ ควบคุม มลพิษ ทาง เสียง จาก แหล่ง กำเนิดพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ใน

การควบคุมมลพิษทางเสียงจากแหล่งกำเนิด ซึ่งอาจจำแนกตามประเภทของแหล่งกำเนิดได้เป็น 2 ประเภท

คือ2.1 การควบคุมมลพิษทางเสียงซึ่งมีแหล่งกำเนิดจากยานพาหนะและ2.2 การควบคุมมลพิษทางเสียง

ซึ่งมีแหล่งกำเนิดอื่นๆ

11 หมายถึง ค่าระดับเสียงสูงสุดที่เกิดขึ้นในขณะใดขณะหนึ่งระหว่างการตรวจวัดระดับเสียง 12 หมายถึง ระดับเสียงที่ตรวจวัดในสิ่งแวดล้อมเดิมขณะยังไม่มีเสียงรบกวนจากแหล่งกำเนิดเป็นระดับเสียงเปอร์เซ็นไทล์

ที่ 90(L90)

Page 27: หน่วยที่ กฎหมายควบคุมมลพิษ ทางอากาศ เสียง และของเสียอันตรายlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-7.pdf ·

มสธ มสธ ม

สธ

7-27

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

2.1 การ ควบคุม มลพิษ ทาง เสียง ซึ่ง มี แหล่ง กำเนิด จาก ยาน พาหนะ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้อาศัยอำนาจตามมาตรา 55 แห่ง

พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ออกประกาศกระทรวงกำหนด

มาตรฐานควบคุมระดับเสียงของยานพาหนะ เช่น ประกาศกระทรวง เรื่องกำหนดระดับเสียงของรถยนต์

(พ.ศ. 2546) ประกาศกระทรวง เรื่องกำหนดระดับเสียงของรถจักรยานยนต์ (พ.ศ. 2546) และประกาศ

กระทรวงเรื่องกำหนดระดับเสียงของเรือกล (พ.ศ.2553)เป็นต้น

การ ตรวจ สอบ และ ควบคุม มลพิษ ทาง เสียง ซึ่ง มี แหล่ง กำเนิด จาก ยาน พาหนะ

พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพ.ศ.2535 มาตรา64วางหลักเกณฑ์

ว่า ยานพาหนะที่จะนำมาใช้จะต้องไม่ก่อให้เกิดมลพิษทางเสียงเกินกว่ามาตรฐานควบคุมมลพิษทางเสียงจาก

แหล่งกำเนิดยานพาหนะต่างๆที่ได้กำหนดไว้และให้พนักงาน เจ้า หน้าที่ ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตาม

พระราชบัญญัตินี้ มีอำนาจตรวจสอบและควบคุมตามมาตรา65ถึงมาตรา67 โดยกำหนดมาตรการ ลงโทษ

ผู้ที่ฝ่าฝืนไว้ตามมาตรา102และมาตรา 103

2.2 การ ควบคุม มลพิษ ทาง เสียง ซึ่ง มี แหล่ง กำเนิด อื่นๆ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้อาศัยอำนาจตามมาตรา 55 ออก

ประกาศกำหนดมาตรฐานควบคุมมลพิษทางเสียงซึ่งมีแหล่งกำเนิดอื่นๆหลายฉบับ เช่นประกาศกระทรวง

เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมระดับเสียงและความสั่นสะเทือนจากการทำเหมืองหิน(พ.ศ.2548) รัฐมนตรี

ว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยคำแนะนำของคณะกรรมการควบคุมมลพิษได้อาศัย

อำนาจตามมาตรา 68 วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.

2535 ออกประกาศกระทรวง เรื่องกำหนดให้เหมืองหินเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องถูกควบคุมระดับ

เสียงและความสั่นสะเทือน (พ.ศ. 2548) กำหนดให้เหมืองหิน ซึ่งหมายถึง กิจการระเบิดและย่อยหินตาม

กฎหมายว่าด้วยแร่ หรือกิจการโรงงานเกี่ยวกับการโม่ บด หรือย่อยหินตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน เป็นแหล่ง

กำเนิดมลพิษที่จะต้องถูกควบคุมระดับเสียงและความสั่นสะเทือน และห้ามมิให้เจ้าของหรือผู้ครอบครอง

เหมืองหินดังกล่าวก่อให้เกิดระดับเสียงและความสั่นสะเทือนออกสู่สิ่งแวดล้อมเกินกว่ามาตรฐานควบคุม

มลพิษทางเสียงและความสั่นสะเทือนที่ได้กำหนดไว้

การ ตรวจ สอบ และ ควบคุม มลพิษ ทาง เสียง ซึ่ง มี แหล่ง กำเนิด อื่นๆ

เมื่อรัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการควบคุมมลพิษ ออกประกาศกำหนดประเภทของ

แหล่งกำเนิดมลพิษทางเสียงที่จะต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการควบคุมมลพิษจากแหล่งกำเนิดตามมาตรา68

วรรคหนึ่ง แล้ว จะมีผลบังคับให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษทางเสียงนั้น มีหน้าที่ตาม

มาตรา68วรรคสองประกอบมาตรา68วรรคสามและมาตรา80ซึ่งหากฝ่าฝืนจะมีมาตรการ ลงโทษตาม

Page 28: หน่วยที่ กฎหมายควบคุมมลพิษ ทางอากาศ เสียง และของเสียอันตรายlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-7.pdf ·

7-28

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

มาตรา92และมาตรา106ทั้งนี้โดยให้เจ้า พนักงาน ควบคุม มลพิษมีอำนาจดำเนินการตามมาตรา82และ

มาตรา83ในการตรวจสอบและควบคุมมลพิษทางเสียง

(โปรด อา่น เนือ้หา สาระ โดย ละเอยีด ใน กฎหมาย สิง่ แวดลอ้ม บท ที ่5 โดย รอง ศาสตราจารย ์ดร.อำนาจ

วงศ์ บัณฑิต หน้า 286-317; กฎหมาย เกี่ยว กับ สิ่ง แวดล้อม บท ที่ 9 โดย ผู้ ช่วย ศาสตราจารย์ อุดม ศักดิ์ สิน ธิ พงษ์

หนา้ 324-326; เอกสาร การ สอน ชดุ วชิา กฎหมาย สิง่ แวดลอ้ม หนว่ย ที ่6 โดย รอง ศาสตราจารย ์จติรา เพยีร ลำ้ เลศิ

หน้า 6-65 ถึง 6-72)

กิจกรรม 7.2.2

พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ได้กำหนด

หลักเกณฑ์การควบคุมมลพิษทางเสียงจากแหล่งกำเนิดประเภทใด

บันทึก คำ ตอบ กิจกรรม 7.2.2

(โปรด ตรวจ คำ ตอบ จาก แนว ตอบ ใน แนว การ ศึกษา หน่วย ที่ 7 ตอน ที่ 7.2 กิจกรรม 7.2.2)

Page 29: หน่วยที่ กฎหมายควบคุมมลพิษ ทางอากาศ เสียง และของเสียอันตรายlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-7.pdf ·

มสธ มสธ ม

สธ

7-29

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

เรื่อง ที่ 7.2.3 การ ควบคุม มลพิษ ทาง เสียง ตาม กฎหมาย อื่น

สาระ สังเขปกฎหมายอื่นๆ ที่มีบทบัญญัติบางส่วนเกี่ยวข้องกับการควบคุมมลพิษทางเสียง โดยอยู่ในความ

รับผิดชอบของหน่วยงานหรือผู้มีหน้าที่บังคับใช้กฎหมายเหล่านั้นโดยเฉพาะ มีตัวอย่างซึ่งจะแยกพิจารณา

ต่อไปนี้

1. การ ควบคุม มลพิษ ทาง เสียง ซึ่ง มี แหล่ง กำเนิด จาก ยาน พาหนะ1.1 พระ ราช บัญญัติ การ เดิน เรือ ใน น่าน น้ำไทย พ.ศ. 2456 มีความมุ่งหมายหลักเพื่อควบคุม

เส้นทางคมนาคมทางน้ำ รวมทั้งป้องกันและรักษาสภาพแวดล้อมในน่านน้ำไทย และมีบทบัญญัติเกี่ยวข้อง

กับการควบคุมมลพิษทางเสียงไว้ โดยบัญญัติห้ามมิให้เรือก่อให้เกิดเสียงดังเช่นเสียงแตรอันอาจเป็นเหตุ

ให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ หรือความตื่นตระหนกแก่ประชาชนหากผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกิน

สองร้อยบาท นอกจากนั้น ยังมีประกาศกรมเจ้าท่า ฉบับที่ 38 (พ.ศ.2515) เรื่อง การใช้เครื่องวัดเสียงดังของ

เรือกล ซึ่งกำหนดระดับเสียงของเรือกลซึ่งก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญไว้

1.2 ประกาศ คณะ ปฏิวัติ ฉบับ ที่ 16 (พ.ศ. 2514) มีกำหนดห้ามใช้รถยนต์ รถจักรยานยนต์ และ

เรือกลที่มีระดับเสียงอันเป็นการเดือดร้อนรำคาญแก่ประชาชนตามที่กำหนดไว้ในประกาศของเจ้าพนักงาน

จราจรหรืออธิบดีกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี หากฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับและให้เจ้าพนักงาน

จราจรหรืออธิบดีสั่งยึดหรือห้ามใช้รถหรือเรือนั้นจนกว่าจะได้แก้ไขตามประกาศ

1.3 พระ ราช บัญญัติ รถยนต์ พ.ศ. 2522 มุ่งควบคุมการใช้รถยนต์และมีบทบัญญัติเกี่ยวข้องกับ

การควบคุมมลพิษทางเสียงจากรถยนต์ไว้โดยให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมออกกฎกระทรวง

กำหนดมาตรฐานหรือเงื่อนไขสำหรับรถที่จะจดทะเบียนได้ เช่น กฎกระทรวงฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2531) เรื่อง

กำหนดรายละเอียดการตรวจสภาพรถยนต์ที่จะจดทะเบียนได้ ซึ่งรวมถึงการตรวจระบบการกรองเสียง

ด้วย

1.4 พระ ราช บัญญัติ จราจร ทาง บก พ.ศ. 2522 มุ่งจัดการจราจรทางบก ควบคุมดูแลสภาพรถ

ตลอดจนวางหลักเกณฑ์การใช้ และมีบทบัญญัติเกี่ยวข้องกับการควบคุมมลพิษทางเสียง โดยให้รัฐมนตรี

ว่าการกระทรวงคมนาคมมีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดสภาพของรถที่อาจทำให้เสื่อมเสียสุขภาพของ

ประชาชน และห้ามมิให้นำรถที่มีสภาพดังกล่าวมาใช้ในทางเดินรถ หากฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกิน

ห้าร้อยบาท และมีบทบัญญัติไม่ให้นำรถที่มีเสียงดังซึ่งอาจทำให้ประชาชนทั่วไปเดือดร้อนรำคาญมาใช้ใน

ทางเดินรถหากฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับเช่นเดียวกันนอกจากนั้นยังให้อำนาจผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจ

แห่งชาติออกประกาศกำหนดเกณฑ์เสียงที่เกิดจากเครื่องยนต์ของรถ และห้ามนำรถที่เครื่องยนต์ก่อให้เกิด

Page 30: หน่วยที่ กฎหมายควบคุมมลพิษ ทางอากาศ เสียง และของเสียอันตรายlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-7.pdf ·

7-30

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

เสียงเกินเกณฑ์ดังกล่าวมาใช้ในทางเดินรถ ผู้ที่ฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท อีกทั้งได้กำหนด

หลักเกณฑ์ในการใช้เสียงสัญญาณต่างๆ ของรถไว้อีกด้วย

1.5 พระ ราช บัญญัติ การ ขนส่ง ทาง บก พ.ศ. 2522 มุ่งควบคุมการขนส่งทางบกโดยมีมาตรการต่างๆ

เช่น การตรวจสภาพรถ มาตรการในการอนุญาตหรือเพิกถอนการอนุญาตประกอบกิจการขนส่งทางบก และ

มีบทบัญญัติเกี่ยวข้องกับการควบคุมมลพิษทางเสียงจากการใช้รถเพื่อการขนส่งโดยให้อำนาจรัฐมนตรีออก

กฎกระทรวง กำหนดสภาพ เครื่องอุปกรณ์ และส่วนควบของรถเช่นรถที่ใช้ในการขนส่งต้องมีเครื่องระงับ

เสียงมีเครื่องกำเนิดพลังงานซึ่งไม่ทำให้เกิดเสียงเกินเกณฑ์ที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนด เสียงแตร

จะต้องอยู่ในเกณฑ์ที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนด และห้ามนำแตรที่มีเสียงทำให้เกิดความรำคาญ

หรือรบกวนสาธารณชนมาใช้ผู้ที่นำรถมาใช้โดยไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงข้างต้น ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน

ห้าหมื่นบาท และยังไม่อาจนำรถดังกล่าวไปจดทะเบียนหรือต่อทะเบียนได้สำหรับรถที่นำไปจดทะเบียนแล้ว

ต่อมาผู้ตรวจการพบว่ามีสภาพไม่ถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ผู้ตรวจการและนายทะเบียนมีอำนาจ

สั่งระงับใช้รถชั่วคราวหากฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท

2. การ ควบคุม มลพิษ ทาง เสียง ซึ่ง มี แหล่ง กำเนิด จาก โรงงาน อุตสาหกรรม2.1 พระ ราช บัญญัติ โรงงาน พ.ศ. 2535 มุ่งควบคุมที่ตั้งและการประกอบกิจการโรงงานโดยให้

อำนาจรัฐมนตรีออกกฎกระทรวง เพื่อควบคุมการประกอบกิจการโรงงาน ซึ่งรวมถึงการควบคุมมลพิษ

ทางเสียง เช่น กำหนดว่าเสียงดังที่เกิดจากการประกอบกิจการต้องไม่เกินค่ามาตรฐานที่รัฐมนตรีประกาศ

กำหนด โดยมีประกาศกำหนดค่าระดับเสียงรบกวนและระดับเสียงที่เกิดจากการประกอบกิจการโรงงาน

รวมทั้งกำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานมีหน้าที่ต้องกำจัดสียง ความสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นจาก

โรงงานมิให้เป็นที่เดือดร้อนหรือเป็นเหตุเสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้อยู่อาศัยใกล้เคียงและ

ดูแลรักษาระบบเก็บเสียงให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยตลอดเวลาหากฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศกระทรวง

ดังกล่าวต้องระวางโทษปรับไม่เกิน200,000 บาท

2.2 พระ ราช บัญญัติ คุ้มครอง แรงงาน พ.ศ. 2541 มุ่งคุ้มครองผู้ใช้แรงงานในเรื่องต่างๆ รวมถึง

เรื่องความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ซึ่งมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม

มลพิษทางเสียงด้วย โดยให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานออกกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานความ

ปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานซึ่งนายจ้างจะต้องจัดให้แก่ลูกจ้าง ซึ่งกฎกระทรวง

ในสว่นที่เกีย่วขอ้งกบัการควบคมุมลพษิทางเสยีงนัน้ ได้กำหนดให้นายจา้งมหีนา้ที่ควบคมุระดบัเสยีงที่ลกูจา้ง

ได้รับเฉลี่ยตลอดเวลาการทำงานในแต่ละวันมิให้เกินมาตรฐานที่กำหนดไว้ หากภายในสถานประกอบการมี

ระดบัเสยีงที่ลกูจา้งได้รบัเกนิมาตรฐานที่กำหนดไว ้ให้นายจา้งดำเนนิการปรบัปรงุแกไ้ขสิง่ที่เปน็ตน้กำเนดิของ

เสียงหรือทางผ่านของเสียง หรือบริหารจัดการเพื่อให้ระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับอยู่ไม่เกินมาตรฐานที่กำหนด

จัดให้มีการตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทำงานเกี่ยวกับระดับเสียงภายในสถานประกอบกิจการเก็บไว้

ณ สถานประกอบกิจการเพื่อให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบพร้อมทั้งส่งรายงานคู่ฉบับต่ออธิบดีหรือ

ผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย หากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน

200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

Page 31: หน่วยที่ กฎหมายควบคุมมลพิษ ทางอากาศ เสียง และของเสียอันตรายlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-7.pdf ·

มสธ มสธ ม

สธ

7-31

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

3. การ ควบคุม มลพิษ ทาง เสียง ซึ่ง มี แหล่ง กำเนิด จาก ชุมชน3.1 พระ ราช บัญญัติ ควบคุม การ โฆษณา โดย ใช้ เครื่อง ขยาย เสียง พ.ศ. 2493มุ่งควบคุมการโฆษณา

โดยใช้เครื่องขยายเสียงมิให้ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญหรือรบกวนความสงบสุขของประชาชนซึ่งมี

บทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมมลพิษทางเสียง โดยบังคับให้ผู้โฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงต้อง

ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดในใบอนุญาตและถ้าเสียงที่โฆษณาก่อให้เกิดความเดือดร้อน

รำคาญแก่ประชาชนเจ้าพนักงานมีอำนาจสั่งให้ลดเสียงลงถ้าไม่ปฏิบัติตามคำสั่งหรือโฆษณาโดยผิดเงื่อนไข

ในใบอนุญาต เจ้าพนักงานมีอำนาจสั่งให้หยุดโฆษณาได้ หากฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองร้อยบาท

นอกจากนั้นยังให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตได้ด้วย

3.2 พระ ราช บัญญัติ การ สาธารณสุข พ.ศ. 2535มุ่งควบคุมดูแลกิจการสาธารณสุขและการอนามัย

สิ่งแวดล้อมโดยในหมวดว่าด้วยเหตุรำคาญมีบทบัญญัติเกี่ยวข้องกับการควบคุมมลพิษทางเสียงและความ

สั่นสะเทือนโดยกำหนดว่าการกระทำอันเป็นเหตุให้เกิดเสียงและความสั่นสะเทือนจนเป็นเหตุให้เสื่อมหรือ

อาจเปน็อนัตรายตอ่สขุภาพถอืวา่เปน็เหตุรำคาญและให้อำนาจเจา้พนกังานทอ้งถิน่สัง่ระงบักำจดัและควบคมุ

เหตุรำคาญหากขัดขืนโดยไม่มีเหตุแก้ตัวอันสมควรต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกิน

สองพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

(โปรด อา่น เนือ้หา สาระ โดย ละเอยีด ใน กฎหมาย สิง่ แวดลอ้ม บท ที ่5 โดย รอง ศาสตราจารย ์ดร. อำนาจ

วงศ์ บัณฑิต หน้า 317-344; กฎหมาย เกี่ยว กับ สิ่ง แวดล้อม บท ที่ 9 โดย ผู้ ช่วย ศาสตราจารย์ อุดม ศักดิ์ สิน ธิ พงษ์

หนา้ 327-339; กฎหมาย กบั สิง่ แวดลอ้ม บท ที ่6 โดย ผู ้ชว่ย ศาสตราจารย ์ดร.กอบ กลุ รา ยะ นาคร หนา้ 138 - 160;

เอกสาร การ สอน ชุด วิชา กฎหมาย สิ่ง แวดล้อม หน่วย ที่ 6 โดย รอง ศาสตราจารย์ จิตรา เพียร ล้ำ เลิศ หน้า 6-72

ถึง 6-79)

กิจกรรม 7.2.3

กฎหมายอื่นที่มีบทบัญญัติเกี่ยวข้องกับการควบคุมมลพิษทางเสียงซึ่งมีแหล่งกำเนิดจาก

โรงงานอุตสาหกรรมได้แก่กฎหมายฉบับใด

บันทึก คำ ตอบ กิจกรรม 7.2.3

Page 32: หน่วยที่ กฎหมายควบคุมมลพิษ ทางอากาศ เสียง และของเสียอันตรายlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-7.pdf ·

7-32

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

(โปรด ตรวจ คำ ตอบ จาก แนว ตอบ ใน แนว การ ศึกษา หน่วย ที่ 7 ตอน ที่ 7.2 กิจกรรม 7.2.3)

Page 33: หน่วยที่ กฎหมายควบคุมมลพิษ ทางอากาศ เสียง และของเสียอันตรายlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-7.pdf ·

มสธ มสธ ม

สธ

7-33

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

เรื่อง ที่ 7.2.4 ปัญหา ทาง กฎหมาย ใน การ ควบคุม มลพิษ ทาง เสียง

สาระ สังเขปในการควบคุมมลพิษทางเสียงพบว่ามีปัญหาในทางกฎหมายหลายประการดังนี้

1. ปัญหา ช่อง ว่าง ของ กฎหมาย ยังไม่มีการออกกฎกระทรวงรองรับมาตรา80แห่งพระราชบัญญัติ

ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพ.ศ.2535เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการและแบบสำหรับ

เจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษทางเสียงในการบันทึกสถิติข้อมูลการทำงานของระบบควบคุม

มลพิษทางเสียงและรายงานเจ้าพนักงานท้องถิ่นเพื่อเสนอต่อเจ้าพนักงานควบคุมมลพิษ

2. ความ ซ้ำ ซ้อน ของ กฎหมาย หน่วย งาน และ การ ขาด ความ เป็น เอกภาพ ใน การ ควบคุม กฎหมาย

ที่เกี่ยวกับการควบคุมมลพิษทางเสียงมีหลายฉบับมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นจำนวนมากทำให้มีการทำงาน

ของแต่ละหน่วยงานแยกส่วนกันขาดการประสานงานและเกิดความสับสนในการบังคับใช้กฎหมายจึงควรมี

หน่วยงานกลางที่มีอำนาจกำกับดูแลให้การบังคับใช้กฎหมายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

3. ปัญหา เกี่ยว กับ บท ลงโทษ มาตรการที่ใช้บังคับแก่ผู้ฝ่าฝืนเป็นมาตรการเพื่อตักเตือนและเป็น

โทษที่เบาพนักงานเจ้าหน้าที่จึงมักละเลยไม่ดำเนินการกับผู้ฝ่าฝืนอย่างจริงจัง

(โปรด อา่น เนือ้หา สาระ โดย ละเอยีด ใน กฎหมาย สิง่ แวดลอ้ม บท ที ่ 9 โดย ผู ้ชว่ย ศาสตราจารย ์ดร.กอบ กลุ

รา ยะ นาคร หน้า 220-222; กฎหมาย เกี่ยว กับ สิ่ง แวดล้อม บท ที่ 9 โดย ผู้ ช่วย ศาสตราจารย์ อุดม ศักดิ์ สิน ธิ พงษ์

หน้า 339-340)

กิจกรรม 7.2.4

ปัญหาทางกฎหมายประการสำคัญในการควบคุมมลพิษทางเสียงคืออะไร

บันทึก คำ ตอบ กิจกรรม 7.2.4

(โปรด ตรวจ คำ ตอบ จาก แนว ตอบ ใน แนว การ ศึกษา หน่วย ที่ 7 ตอน ที่ 7.2 กิจกรรม 7.2.4)

Page 34: หน่วยที่ กฎหมายควบคุมมลพิษ ทางอากาศ เสียง และของเสียอันตรายlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-7.pdf ·

7-34

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

ตอน ที่ 7.3

การ ควบคุม ของ เสีย อันตราย

โปรดอ่านแผนการสอนประจำตอนที่7.3แล้วจึงศึกษาสาระสังเขปพร้อมปฏิบัติกิจกรรมในแต่ละเรื่อง

หัว เรื่องเรื่องที่7.3.1 ความทั่วไปเกี่ยวกับของเสียอันตราย

เรื่องที่7.3.2 กฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมของเสียอันตราย

เรื่องที่7.3.3 ปัญหาทางกฎหมายในการควบคุมของเสียอันตราย

แนวคิด1. ของเสียอันตราย หมายถึง ของเสียที่เป็นพิษหรือก่อให้เกิดอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและ

สิง่แวดลอ้มอยา่งรนุแรงทัง้โดยตรงและโดยออ้ม เนือ่งจากคณุสมบตัิทางกายภาพหรอืทาง

เคมีหรือการแพร่เชื้อโรคซึ่งอาจมีแหล่งกำเนิดมาจากโรงงานอุตสาหกรรม แหล่งชุมชน

เกษตรกรรมและสถานพยาบาล

2. กฎหมายในการควบคุมของเสียอันตรายของไทยมีหลายฉบับ ได้แก่ พระราชบัญญัติ

ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพ.ศ.2535และกฎหมายเฉพาะอื่นๆ ซึ่ง

มีความมุ่งหมายหลักและขอบเขตในการควบคุมและจัดการของเสียอันตรายที่แตกต่าง

กัน

3. ปัญหาในการควบคุมของเสียอันตรายที่สำคัญคือปัญหาความซ้ำซ้อนของกฎหมายและ

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องซึ่งมีขอบเขตในการควบคุมและจัดการที่แตกต่างกัน

วัตถุประสงค์เมื่อศึกษาตอนที่7.3จบแล้วนักศึกษาสามารถ

1. อธิบายและวิเคราะห์เก่ียวกับความหมายผลกระทบและแหล่งกำเนิดของของเสียอันตรายได้

2. อธิบายและวิเคราะห์เกี่ยวกับกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมของเสียอันตรายได้

3. อธิบายและวิเคราะห์เกี่ยวกับปัญหาทางกฎหมายในการควบคุมของเสียอันตรายได้

Page 35: หน่วยที่ กฎหมายควบคุมมลพิษ ทางอากาศ เสียง และของเสียอันตรายlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-7.pdf ·

มสธ มสธ ม

สธ

7-35

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

เรื่อง ที่ 7.3.1 ความ ทั่วไป เกี่ยว กับ ของ เสีย อันตราย

สาระ สังเขปก่อนที่จะศึกษาถึงกฎหมายต่างๆเกี่ยวกับการควบคุมของเสียอันตรายในเบื้องต้นควรได้ศึกษาถึง

ความหมายผลกระทบและแหล่งกำเนิดของของเสียอันตราย ตามลำดับดังต่อไปนี้

1. ความ หมาย ของ ของ เสีย อันตรายคำว่า “ของเสียอันตราย” (hazardouswastes)นั้น ไม่มีคำจำกัดความไว้ในกฎหมายพระราช-

บัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพ.ศ.2535ซึ่งแม้จะกล่าวถึงของเสียอันตรายแต่ก็

มิได้ให้คำจำกัดความของเสียอันตรายไว้มีเพียงคำจำกัดความคำว่า“วัตถุอันตราย”ในนัยเดียวกับพระราช-

บัญญัติวัตถุอันตรายพ.ศ.2535ว่าหมายถึงวัตถุระเบิดวัตถุไวไฟวัตถุออกซิไดซ์วัตถุมีพิษวัตถุที่ทำให้

เกิดโรควัตถุกัมมันตรังสีวัตถุที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมวัตถุกัดกร่อนวัตถุที่ทำให้เกิดการ

ระคายเคืองวัตถุอย่างอื่นไม่ว่าจะเป็นเคมีภัณฑ์หรือสิ่งอื่นใดที่อาจทำให้เกิดอันตรายแก่บุคคลพืชสัตว์หรือ

สิ่งแวดล้อมส่วนพระราชบัญญัติวัตถุอันตรายพ.ศ.2535ก็เพียงแต่กำหนดให้ของเสียเคมีวัตถุ(chemical

wastes) บางประเภทจัดเป็นวัตถุอันตรายประเภทที่ 3 ซึ่งถูกควบคุมตามพระราชบัญญัติดังกล่าว สำหรับ

ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมที่ออกตามพระราชบัญญัติโรงงานพ.ศ. 2535 ก็เพียงกำหนดว่าสิ่งปฏิกูล

หรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วชนิดใดเป็นของเสียอันตรายหรือเป็นของเสียที่ไม่เป็นอันตรายแต่มิได้มีคำจำกัดความ

คำว่า“ของเสียอันตราย”ที่ชัดเจนเช่นกัน

ส่วนกรมควบคุมมลพิษ ได้ให้คำจำกัดความ “ของเสียอันตราย” ว่าหมายถึง ของเสียใดๆ ที่มี

องค์ประกอบหรือปนเปื้อนด้วยวัตถุอันตราย

จึงมีข้อสังเกตว่าของเสียอันตรายชนิดเดียวกันอาจเรียกแตกต่างกันไปทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเจตนารมณ์

และขอบเขตการควบคุมของกฎหมายแต่ละฉบับ13

อย่างไรก็ตามนักวิชาการบางท่านได้อธิบายความหมายของ“ของเสียอันตราย”ไว้อย่างกว้างๆว่า

หมายถึง ของเสียที่เป็นพิษหรือก่อให้เกิดอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรงทั้งโดยตรงและ

โดยอ้อม เนื่องจากคุณสมบัติทางกายภาพหรือทางเคมีหรือการแพร่เชื้อโรค14

13 รชันีเกา่เจรญิเอกสารการสอนชดุวชิากฎหมายสิง่แวดลอ้มหนว่ยที่8นนทบรุีสำนกัพมิพ์มหาวทิยาลยัสโุขทยัธรรมาธิราช

2552หน้า8-6 14 อุดมศักดิ์สินธิพงษ์กฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมหน้า409

Page 36: หน่วยที่ กฎหมายควบคุมมลพิษ ทางอากาศ เสียง และของเสียอันตรายlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-7.pdf ·

7-36

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

2. ผลก ระ ทบ ของ ของ เสีย อันตรายของเสียอันตรายที่มิได้มีการจัดการอย่างเหมาะสมอาจก่อให้เกิดผลกระทบดังนี้

2.1 ผลก ระ ทบ ต่อ สิ่ง แวดล้อม ของเสียอันตรายอาจตกค้างในดิน แหล่งน้ำผิวดินหรือใต้ดินหรือ

ปนเปื้อนในอากาศทำให้เกิดมลพิษทางดินมลพิษทางน้ำหรือมลพิษทางอากาศ

2.2 ผลก ระ ทบ ต่อ สุขภาพ อนามัย ของ มนุษย์ ของเสียอันตรายก่อให้เกิดอันตรายทั้งโดยตรงจาก

การสัมผัสสูดดมของเสียอันตรายบางชนิด ทำให้ระคายเคือง ทำลายระบบประสาทสะสมในร่างกาย และ

อาจเกิดมะเร็งหรือพิการแต่กำเนิดได้ หรือก่อให้เกิดอันตรายโดยอ้อมจากการรับสารเคมีปนเปื้อนในอาหาร

น้ำดื่มหรืออากาศในระยะเวลานานทำให้เกิดมะเร็งหรือการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม

2.3 ผลก ระ ทบ ต่อ เศรษฐกิจ การบำบัดและกำจัดของเสียอันตรายที่ได้มาตรฐานต้องใช้ค่าใช้จ่าย

สูงจึงมักมีการหลีกเลี่ยงทำให้รัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายในการติดตามนำของเสียอันตรายไปบำบัดนอกจากนั้น

ยังส่งผลกระทบและเป็นอุปสรรคต่อการส่งออกสินค้าเนื่องจากประเทศคู่ค้ามักนำมาตรการสิ่งแวดล้อมมา

เป็นเงื่อนไขในการเจรจาต่อรองทางการค้า

3. แหล่ง กำเนิด ของ เสีย อันตรายแหล่งกำเนิดของเสียอันตรายอาจจำแนกได้ดังนี้

3.1 แหล่ง กำเนิด จาก โรงงาน อุตสาหกรรม โรงงานอุตสาหกรรมเป็นแหล่งกำเนิดของเสียอันตราย

มากที่สุด แหล่งกำเนิดก่อให้เกิดของเสียอันตรายสูง เช่น โรงงานแบตเตอรี่ โรงงานผลิตชุบโลหะ โรงงาน

ฟอกหนังฯลฯซึ่งก่อให้เกิดโลหะหนัก ตัวทำละลายกรดและด่าง

3.2 แหล่ง กำเนิด จาก ชุมชน การใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวันทำให้เกิดของเสียอันตรายจาก

ชุมชนเพิ่มมากขึ้นเช่นน้ำยาทำความสะอาดยาฆ่าแมลงเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ยาและ

เครือ่งสำอางเสือ่มคณุภาพแบตเตอรี่ที่ใช้แลว้ซึง่มกัมีโลหะหนกัประเภทปรอทตะกัว่แคดเมยีมฯลฯปะปนอยู่

3.3 แหล่ง กำเนิด จาก เกษตรกรรม การใช้สารเคมีในการเกษตรทำให้เกิดของเสียอันตราย เช่น

ปุ๋ยเคมียาปราบศัตรูพืชและภาชนะบรรจุสารเคมีดังกล่าว

3.4 แหล่ง กำเนิด จาก สถาน พยาบาล ของเสียอันตรายจากสถานพยาบาล อาจแบ่งเป็น ของเสีย

ติดเชื้อเช่นเนื้อเยื่อสิ่งขับถ่ายเศษวัสดุทางการแพทย์หรือของเสียประเภทสารเคมีจากการรักษาพยาบาล

หรือของเสียประเภทสารกัมมันตรังสีเป็นต้น

(โปรด อา่น เนือ้หา สาระ โดย ละเอยีด ใน กฎหมาย สิง่ แวดลอ้ม บท ที ่6 โดย รอง ศาสตราจารย ์ดร.อำนาจ

วงศ์ บัณฑิต หน้า 393-395; กฎหมาย เกี่ยว กับ สิ่ง แวดล้อม บท ที่ 12 โดย ผู้ ช่วย ศาสตราจารย์ อุดม ศักดิ์ สิน ธิ

พงษ์ หน้า 407-410; เอกสาร การ สอน ชุด วิชา กฎหมาย สิ่ง แวดล้อม หน่วย ที่ 8 โดย รัชนี เก่า เจริญ หน้า 8-5 ถึง

8-10)

Page 37: หน่วยที่ กฎหมายควบคุมมลพิษ ทางอากาศ เสียง และของเสียอันตรายlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-7.pdf ·

มสธ มสธ ม

สธ

7-37

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

กิจกรรม 7.3.1

ของเสียอันตรายที่มิได้มีการจัดการอย่างเหมาะสมอาจก่อให้เกิดผลกระทบอะไรบ้าง

บันทึก คำ ตอบ กิจกรรม 7.3.1

(โปรด ตรวจ คำ ตอบ จาก แนว ตอบ ใน แนว การ ศึกษา หน่วย ที่ 7 ตอน ที่ 7.3 กิจกรรม 7.3.1)

Page 38: หน่วยที่ กฎหมายควบคุมมลพิษ ทางอากาศ เสียง และของเสียอันตรายlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-7.pdf ·

7-38

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

เรื่อง ที่ 7.3.2 กฎหมาย เกี่ยว กับ การ ควบคุม ของ เสีย อันตราย

สาระ สังเขปกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมของเสียอันตรายนั้นได้แก่พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพ

สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 และกฎหมายเฉพาะที่เกี่ยวกับการควบคุมและจัดการของเสียอันตราย

ดังต่อไปนี้

1. พระ ราช บัญญัติ ส่ง เสริม และ รักษา คุณภาพ สิ่ง แวดล้อม แห่ง ชาติ พ.ศ. 2535ในการควบคุมมลพิษประเภทของเสียอันตราย ตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ มาตรา 79 บัญญัติ

ว่า ในกรณีที่ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติเป็นการเฉพาะ ให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการควบคุม

มลพิษมีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดชนิดและประเภทของเสียอันตรายที่เกิดจากการผลิตการใช้

สารเคมีหรือวัตถุอันตราย ในกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรม เกษตรกรรมการสาธารณสุข และกิจการ

อยา่งอืน่ให้อยู่ในความควบคมุในการนี้ให้กำหนดหลกัเกณฑ์มาตรการและวธิีการเพือ่ควบคมุการเกบ็รวบรวม

การรกัษาความปลอดภยัการขนสง่เคลือ่นยา้ยการนำเขา้มาในราชอาณาจกัรการสง่ออกไปนอกราชอาณาจกัร

และการจัดการบำบัดและการกำจัดของเสียอันตรายดังกล่าวด้วยวิธีการที่เหมาะสมและถูกต้องตามหลัก

วิชาการที่เกี่ยวข้อง

พระราชบัญญัตินี้จึงมีวัตถุประสงค์เพียงเพื่ออุดช่องว่างของกฎหมายในกรณีที่ไม่มีกฎหมายเฉพาะ

ในการควบคุมมลพิษประเภทของเสียอันตราย ซึ่งในปัจจุบัน(พ.ศ.2553)ยังไม่มีการออกกฎกระทรวงตาม

พระราชบัญญัตินี้ และมีข้อสังเกตว่า แม้มีการออกกฎกระทรวงก็อาจมีปัญหาในการบังคับใช้ให้เกิดผลใน

ทางปฏิบัติเนื่องจากพระราชบัญญัตินี้มิได้มีบทลงโทษผู้ฝ่าฝืนกฎกระทรวงดังกล่าว

2. กฎหมาย เฉพาะ ที่ เกี่ยว กับ การ ควบคุม และ จัดการ ของ เสีย อันตราย2.1 พระ ราช บัญญัติ วัตถุ อันตราย พ.ศ. 2535 มีความมุ่งหมายหลักเพื่อควบคุม “วัตถุอันตราย”

ซึ่งระบุนิยามไว้ในมาตรา 4 โดยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมโดยความเห็นของคณะกรรมการ

วัตถุอันตรายประกาศกำหนดชื่อคุณสมบัติของวัตถุอันตรายและหน่วยงานที่รับผิดชอบ เช่นกรมโรงงาน

อุตสาหกรรมกรมวิชาการเกษตร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และให้รัฐมนตรีผู้รับผิดชอบใน

การควบคุมวัตถุอันตรายแต่ละชนิดออกประกาศเช่นกำหนดเกี่ยวกับการผลิตการนำเข้าส่งออกการขาย

การขนสง่การเกบ็รกัษาการกำจดัวตัถุอนัตรายและพระราชบญัญตัินี้ยงักำหนดให้ผู้ผลติผูน้ำเขา้ผู้ขนสง่ผู้มี

ไว้ในครอบครองมีหน้าที่ต้องระมัดระวังในการดำเนินการของตนทั้งนี้ได้มีการออกประกาศต่างๆที่เกี่ยวข้อง

เชน่ประกาศกระทรวงอตุสาหกรรมเรือ่งระบบเอกสารกำกบัการขนสง่ของเสยีอนัตรายพ.ศ.2547ซึง่กำหนด

Page 39: หน่วยที่ กฎหมายควบคุมมลพิษ ทางอากาศ เสียง และของเสียอันตรายlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-7.pdf ·

มสธ มสธ ม

สธ

7-39

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

ให้ผู้กอ่กำเนดิผู้ขนสง่และผูร้บักกัเกบ็บำบดัและกำจดัของเสยีอนัตรายตอ้งมีใบกำกบัการขนสง่ และประกาศ

กรมโรงงานอุตสาหกรรมเรื่องเงื่อนไขในการอนุญาตให้นำเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้แล้ว

ที่เป็นวัตถุอันตรายเข้ามาในราชอาณาจักรพ.ศ.2546ซึ่งกำหนดเงื่อนไขในการอนุญาตเช่นกรณีนำเข้าเพื่อ

ดัดแปลงคัดแยกหรือแปรสภาพต้องมีโรงงานที่ได้รับใบอนุญาตที่มีขีดความสามารถเหมาะสมและต้องได้

รับความยินยอมจากประเทศต้นทางในการรับของเสียที่เกิดจากกระบวนการผลิตกลับคืนหรือมีโรงงานที่ได้

รับใบอนุญาตในการกำจัดของเสียที่เกิดขึ้น

2.2 พระ ราช บัญญัติ โรงงาน พ.ศ. 2535 มีบทบัญญัติในการควบคุมของเสียอันตรายจากการ

ประกอบกิจการโรงงาน โดยให้อำนาจรัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรมออกกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐาน

และวิธีการควบคุมการปล่อยของเสียมลพิษหรือสิ่งใดที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งรวมถึงสิ่งปฏิกูล

และวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่เป็นของเสียอันตราย เช่นกฎ กระทรวง (ฉบับ ที่ 2) พ.ศ. 2535กำหนดให้ผู้ประกอบ

กิจการโรงงานต้องแยกสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วซึ่งมีวัตถุมีพิษปนอยู่ไว้ในที่รองรับต่างหากที่เหมาะสม

และกำจัดสิ่งดังกล่าวด้วยวิธีการที่ปลอดภัยและไม่ก่อความเดือดร้อนรำคาญและผู้ประกอบกิจการโรงงาน

ที่มีสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วซึ่งมีลักษณะและคุณสมบัติตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดต้องห้ามมิให้สิ่ง

ดังกล่าวออกนอกบริเวณโรงงานเว้นแต่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรมและต้องแจ้งชนิด

ปริมาณลักษณะคุณสมบัติและสถานที่เก็บสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วนั้นพร้อมวิธีเก็บทำลายฤทธิ์กำจัด

ทิ้ง ฝัง เคลื่อนย้ายและการขนส่งตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด และกฎ กระทรวง

(ฉบับ ที่ 3) พ.ศ. 2535 กำหนดให้โรงงานที่มีผลกระทบรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อมต้องจัดทำรายงานข้อมูลการ

ตรวจสอบประสทิธภิาพของระบบปอ้งกนัสิง่แวดลอ้มเปน็พษิการวเิคราะห์ปรมิาณสารมลพษิในระบบดงักลา่ว

เป็นต้น ซึ่งผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 100,000บาทนอกจากนั้นยังมีประกาศกระทรวงที่ออกตาม

พระราชบัญญัตินี้เช่นประกาศ กระทรวง เรื่อง การ กำจัด สิ่ง ปฏิกูล หรือ วัสดุ ที่ ไม่ ใช้ แล้ว พ.ศ. 2548ครอบคลุม

การกำจดัสิง่ปฏกิลูหรอืวสัดุที่ไม่ใช้แลว้ทัง้ที่เปน็ของเสยีอนัตราย15และของเสยีที่ไม่เปน็อนัตรายและ ประกาศ

กระทรวง เรื่อง หลัก เกณฑ์ และ วิธี การ แจ้ง ราย ละเอียด เกี่ยว กับ สิ่ง ปฏิกูล หรือ วัสดุ ที่ ไม่ ใช้ แล้ว จาก โรงงาน โดย

ทาง สื่อ อิเล็กทรอนิกส์ (Internet) พ.ศ. 2547เป็นต้น

2.3 พระ ราช บัญญัติ พลังงาน ปรมาณู เพื่อ สันติ พ.ศ. 2504 มีความมุ่งหมายหลักเพื่อควบคุมการ

ใช้ประโยชน์จากพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ และมีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมและจัดการของเสีย

อันตรายจากกากนิวเคลียร์โดยห้ามการผลิตหรือมีไว้ในครอบครองซึ่งวัสดุนิวเคลียร์ วัสดุพลอยได้ หรือ

วัสดุต้นกำลังและห้ามกระทำให้วัสดุต้นกำลังพ้นสภาพตามธรรมชาติซึ่งอาจก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทาง

เคมีเกิดการแพร่กระจายและการตกค้างของสารนิวเคลียร์รวมทั้งกำหนดให้การนำเข้าส่งออกวัสดุดังกล่าว

ต้องได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติตลอดจนกำหนดมาตรการระงับหรือป้องกัน

อันตรายซึ่งอาจเกิดจากสารนิวเคลียร์

15สิง่ปฏกิลูหรอืวสัดทุีไ่มใ่ชแ้ลว้ทีเ่ปน็“ของเสยีอนัตราย”ตอ้งมอีงคป์ระกอบของหรอืปนเปือ้นสารอนัตรายหรอืมคีณุสมบตัิ

ที่เป็นอันตรายตามที่กำหนดในภาคผนวกที่2ท้ายประกาศเช่นเป็นสารไวไฟสารกัดกร่อนสารเกิดปฏิกิริยาง่ายสารพิษเป็นต้น

Page 40: หน่วยที่ กฎหมายควบคุมมลพิษ ทางอากาศ เสียง และของเสียอันตรายlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-7.pdf ·

7-40

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

2.4 พระ ราช บัญญัติ แร่ พ.ศ. 2510 มีความมุ่งหมายหลักเพื่อควบคุมการผลิต จำหน่าย รักษา

แหล่งแร่ และการส่งแร่ออกนอกราชอาณาจักร และมีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมและจัดการ

ของเสียอันตรายจากการทำเหมืองแร่โดยกำหนดให้ผู้ถือประทานบัตรกระทำหรือละเว้นกระทำการใดอันน่า

จะเป็นเหตุให้แร่ที่มีพิษหรือสิ่งอื่นใดที่มีพิษซึ่งเกิดจากการทำเหมืองแร่ของตนก่อให้เกิดอันตรายแก่คนสัตว์

พืชหรือทรัพย์สินผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกิน2,000บาทและอาจถูกเพิกถอนประทานบัตร

2.5 พระ ราช บัญญัติ ปุ๋ย พ.ศ. 2518 มีความมุ่งหมายหลักเพื่อควบคุมการใช้ปุ๋ยให้เป็นไปอย่าง

ถูกต้อง และมีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมและจัดการของเสียอันตรายจากปุ๋ย โดยห้ามผลิต

ขายมีไว้เพื่อขายนำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งปุ๋ยเคมีที่มีสารเป็นพิษผสมอยู่เกินกว่ามาตรฐาน ซึ่ง

อาจเป็นอันตรายต่อคนสัตว์ พืช หรือทรัพย์สินตลอดจนควบคุมผู้ผลิตและผู้นำเข้าปุ๋ยเคมีให้ปฏิบัติตาม

มาตรฐานที่รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการปุ๋ยประกาศกำหนดปริมาณธาตุอาหารรับรองหรือสาร

พิษที่เป็นส่วนผสมของปุ๋ยเคมีแต่ละชนิด

2.6 พระ ราช บัญญัติ การ สาธารณสุข พ.ศ. 2535 มีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมมลพิษ

ประเภทของเสียอันตรายเช่นกำหนดให้สถานประกอบการรับบำบัดหรือกำจัดของเสียอันตรายเป็นกิจการ

ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และให้ส่วนราชการท้องถิ่นมีอำนาจออกข้อกำหนดท้องถิ่นกำหนดประเภทของ

กจิการดงักลา่วให้เปน็กจิการที่ตอ้งถกูควบคมุภายในทอ้งถิน่นัน้รวมทัง้กำหนดหลกัเกณฑ์และเงือ่นไขสำหรบั

ผู้ประกอบกิจการดังกล่าว

2.7 พระ ราช บัญญัติ การ เดิน เรือ ใน น่าน น้ำไทย พุทธศักราช 2456 แก้ไข โดย พระ ราช บัญญัติ การ

เดิน เรือ ใน น่าน น้ำไทย พ.ศ. 2535 มีบทบัญญัติบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมมลพิษประเภทของเสีย

อันตรายเช่นกำหนดห้ามมิให้เททิ้งหรือทำด้วยประการใดๆให้น้ำมันและเคมีภัณฑ์ลงสู่แหล่งน้ำที่ประชาชน

ใช้ประโยชน์ร่วมกันหากฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน3ปีหรือปรับไม่เกิน60,000บาท

(โปรด อา่น เนือ้หา สาระ โดย ละเอยีด ใน กฎหมาย สิง่ แวดลอ้ม บท ที ่6 โดย รอง ศาสตราจารย ์ดร.อำนาจ

วงศ ์บณัฑติ หนา้ 398-411; กฎหมาย เกีย่ว กบั สิง่ แวดลอ้ม บท ที ่12 โดย ผู ้ชว่ย ศาสตราจารย ์อดุม ศกัดิ ์สนิ ธ ิพงษ ์

หน้า 412-431; เอกสาร การ สอน ชุด วิชา กฎหมาย สิ่ง แวดล้อม หน่วย ที่ 8 โดย รัชนี เก่า เจริญ หน้า 8-25 ถึง

8-30)

กิจกรรม 7.3.2

ในการควบคุมมลพิษประเภทของเสียอันตรายนั้นพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพ

สิ่งแวดล้อมแห่งชาติพ.ศ.2535มีวัตถุประสงค์เช่นไร

Page 41: หน่วยที่ กฎหมายควบคุมมลพิษ ทางอากาศ เสียง และของเสียอันตรายlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-7.pdf ·

มสธ มสธ ม

สธ

7-41

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

บันทึก คำ ตอบ กิจกรรม 7.3.2

(โปรด ตรวจ คำ ตอบ จาก แนว ตอบ ใน แนว การ ศึกษา หน่วย ที่ 7 ตอน ที่ 7.3 กิจกรรม 7.3.2)

Page 42: หน่วยที่ กฎหมายควบคุมมลพิษ ทางอากาศ เสียง และของเสียอันตรายlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-7.pdf ·

7-42

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

เรื่อง ที่ 7.3.3 ปัญหา ทาง กฎหมาย ใน การ ควบคุม ของ เสีย อันตราย

สาระ สังเขปในการควบคุมของเสียอันตรายพบว่ามีปัญหาในทางกฎหมายหลายประการดังนี้

1. ปัญหา การ ขาด กฎหมาย ควบคุม ของ เสีย อันตราย อย่าง เป็น ระบบ ครอบคลุม ครบ วงจร การ

ควบคุม และ จัดการ ของ เสีย อันตราย ของ ไทย มี ลักษณะ ที่ แยก ส่วน มี กฎหมาย และ หน่วย งาน ที่ เกี่ยวข้อง

มากมาย แต่ละฉบับมีขอบข่ายการควบคุมที่แตกต่างกัน ก่อให้เกิดปัญหาช่องว่างในการควบคุมและจัดการ

และพยายามหาช่องทางเพื่อควบคุมของเสียอันตรายโดยใช้กฎหมายอื่นที่มิได้มีจุดประสงค์หลักเพื่อการนั้น

เช่น การกำหนดให้เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใช้แล้วเป็นวัตถุอันตราย ควบคุมการนำเข้ามา

ใช้ประโยชน์ในลักษณะรีไซเคิล จึงควรมีกฎหมายโดยเฉพาะที่สามารถควบคุมของเสียอันตรายได้อย่างเป็น

ระบบและครบวงจร ซึ่งสามารถควบคุมของเสียอันตรายที่เกิดขึ้นจากทุกแหล่งกำเนิดและทุกขั้นตอนตั้งแต่

การเกิดขึ้นของของเสียอันตราย การจัดเก็บ การขนส่ง การบำบัดและกำจัด ตลอดจนการฟื้นฟูและทำความ

สะอาดหากเกิดการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการเยียวยาผู้ที่ได้รับอันตรายจากของเสียอันตราย

2. ปัญหา การ ขาด มาตรการ ทาง กฎหมาย ใน การ ส่ง เสริม ให้ มี การนำ ของ เสีย อันตราย จาก ชุมชน

บาง ส่วน เช่น เศษ โลหะ อะลู มิ เนียม ทองแดง สาร เคมี มา ใช้ ให้ เกิด ประโยชน์ ใหม่ จึงควรออกกฎหมาย

เกี่ยวกับการจัดการของเสียอันตรายจากซากผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้วโดยอาศัยมาตรการทางเศรษฐศาสตร์ได้แก ่

ภาษีสิ่งแวดล้อมในรูปแบบการเก็บค่าธรรมเนียมผลิตภัณฑ์(productcharge)การรับซื้อคืนซากผลิตภัณฑ์

การให้เงินอุดหนุนแก่ผู้ประกอบกิจการรีไซเคิลที่เป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ควรส่งเสริมบทบาท

ของหน่วยงานส่วนท้องถิ่นให้สามารถบริหารจัดการของเสียอันตรายจากชุมชนในขอบข่ายการดูแลของตน

3. ปัญหา การ ลักลอบ ทิ้ง ของ เสีย อันตราย เพิ่ม สูง ขึ้น ซึ่งต้องพิสูจน์ว่าเป็นของเสียอันตรายที่มาจาก

โรงงานจึงจะสามารถลงโทษผู้กระทำผิดตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานได้แต่ถ้าได้ตัวผู้กระทำผิดแต่ไม่สามารถ

เชื่อมโยงถึงโรงงานผู้ก่อกำเนิดของเสียอันตรายนั้นหรือหากเป็นของเสียอันตรายที่มาจากแหล่งอื่นที่ไม่ใช่

โรงงานก็ไม่สามารถลงโทษตามกฎหมายดังกล่าวต้องอาศัยกฎหมายอื่นที่มีบทลงโทษต่ำกว่าเช่นกฎหมาย

ว่าด้วยการสาธารณสุขเป็นเหตุให้ไม่สามารถยับยั้งการกระทำความผิดได้

4. ปัญหา การ ลักลอบ นำ ของ เสีย อันตราย จาก ต่าง ประเทศ ใน รูป สินค้า เข้า มา ใน ประเทศ แม้ว่าไทย

จะเป็นภาคีอนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของของเสียอันตรายและการกำจัด

มีมาตรการกำหนดให้ประเทศผู้ส่งออกต้องรับของเสียอันตรายกลับออกไปและชดใช้ค่าเสียหาย แต่ใน

ทางปฏิบัติการตรวจสอบสินค้าที่นำเข้า ส่งออกสินค้าณท่าเรือต่างๆ โดยเฉพาะท่าเรือเอกชนยังไม่มีความ

เข้มงวดเพียงพอประกอบกับการตรวจสอบของเสียอันตรายตามที่สำแดงมีความยุ่งยากซับซ้อน ของเสีย

อันตรายอาจจะหลุดรอดเข้ามาได้ง่าย จึงควรมีความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่เข้มแข็ง และมี

ระบบข้อมูลที่สามารถใช้ร่วมกันเพื่อติดตามร่องรอยของของเสียอันตรายตั้งแต่เมื่อเข้ามาจนถึงปลายทาง

Page 43: หน่วยที่ กฎหมายควบคุมมลพิษ ทางอากาศ เสียง และของเสียอันตรายlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-7.pdf ·

มสธ มสธ ม

สธ

7-43

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

5. ปัญหา การ ขาด กลไก ที่ มี ประสิทธิภาพ ใน กรณี ที่ มี การ ลักลอบ ทิ้ง ของ เสีย อันตราย หรือ เกิด เหตุ

ฉุกเฉิน จาก ของ เสีย อันตราย ขึ้น และ จำเป็น ต้อง ดำเนิน การ แก้ไข ฟื้นฟู สิ่ง แวดล้อม แม้จะมีพระราชบัญญัติ

วัตถุอันตรายพ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพ.ศ. 2535

แต่ในทางปฏิบัติยังขาดกลไกรองรับที่มีประสิทธิภาพควรจัดให้มีการกองทุนที่สามารถนำเงินมาใช้แก้ไขฟื้นฟู

สิ่งแวดล้อมได้อย่างทันต่อสถานการณ์

6. ปัญหา การ บริหาร จัดการ ของ เสีย อันตราย ของ โรงงาน อุตสาหกรรม โดยเฉพาะผู้ประกอบ

กิจการรับบำบัดและกำจัดของเสียอันตรายในปัจจุบันยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร จึงควรเข้มงวดกวดขัน

การประกอบกิจการของโรงงานให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดและดำเนินการทางกฎหมายกับผู้ฝ่าฝืนอย่าง

เคร่งครัด

(โปรด อา่น เนือ้หา สาระ โดย ละเอยีด ใน กฎหมาย เกีย่ว กบั สิง่ แวดลอ้ม บท ที ่12 โดย ผู ้ชว่ย ศาสตราจารย ์

อุดม ศักดิ์ สิน ธิ พงษ์ หน้า 432; เอกสาร การ สอน ชุด วิชา กฎหมาย สิ่ง แวดล้อม หน่วย ที่ 8 โดย รัชนี เก่า เจริญ

หน้า 8-35 ถึง 8-36)

กิจกรรม 7.3.3

การควบคุมและจัดการของเสียอันตรายมีปัญหาทางกฎหมายที่สำคัญประการใดบ้าง

บันทึก คำ ตอบ กิจกรรม 7.3.3

(โปรด ตรวจ คำ ตอบ จาก แนว ตอบ ใน แนว การ ศึกษา หน่วย ที่ 7 ตอน ที่ 7.3 กิจกรรม 7.3.3)

Page 44: หน่วยที่ กฎหมายควบคุมมลพิษ ทางอากาศ เสียง และของเสียอันตรายlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-7.pdf ·

7-44

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

แนว ตอบ กิจกรรม หน่วย ที่ 7

กฎหมาย ควบคุม มลพิษ ทาง อากาศ เสียง และ ของ เสีย อันตราย

ตอน ที่ 7.1 การ ควบคุม มลพิษ ทาง อากาศ

แนว ตอบ กิจกรรม 7.1.1

มลพิษทางอากาศนอกจากมีแหล่งกำเนิดตามธรรมชาติแล้ว มลพิษทางอากาศส่วนใหญ่ยังมักเกิด

ขึ้นในเขตชุมชนและเขตโรงงานอุตสาหกรรม โดยมีแหล่งกำเนิดมาจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ ซึ่งอาจ

จำแนกได้ดังนี้

1. แหล่งกำเนิดจากยานพาหนะ เกิดจากการระเหยของเชื้อเพลิงจากส่วนต่างๆ ของยานยนต์และ

การสันดาปในเครื่องยนต์ทำให้เกิดสารมลพิษต่างๆ

2. แหล่งกำเนิดจากโรงงานอุตสาหกรรมเกิดจากกระบวนการผลิตและการเผาไหม้เชื้อเพลิงต่างๆ

ทั้งที่เป็นของแข็งของเหลวและก๊าซชนิดและประเภทของสารมลพิษจากแหล่งกำเนิดนี้จึงแตกต่างกันออก

ไปตามเชื้อเพลิงที่ใช้และลักษณะของกระบวนการผลิต

3. แหลง่กำเนดิจากกจิกรรมอืน่ๆของมนษุย์เชน่การกอ่สรา้งการระเบดิหนิการโม่หนิการใช้ปุย๋เคมี

ที่มีไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบในการเกษตรหรือการใช้เครื่องทำความเย็นเครื่องถ่ายเอกสารเป็นต้น

แนว ตอบ กิจกรรม 7.1.2

การกำหนดมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศโดยทั่วไป เป็นการกำหนดเป้าหมายว่าคุณภาพ

อากาศที่ประสงค์นั้นควรมีมาตรฐานโดยทั่วไปในระดับใด เพื่อเป็นเกณฑ์ทั่วไปในการส่งเสริมและรักษา

คุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาดุลยภาพของธรรมชาติ เพื่อประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต

และความสมบูรณ์สืบไปของมนุษย์ ต่อจากนั้นจึงดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อทำให้คุณภาพอากาศได้มาตรฐาน

ตามเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้

แนว ตอบ กิจกรรม 7.1.3

กฎหมายอื่นๆ ที่มีบทบัญญัติบางส่วนเกี่ยวข้องกับการควบคุมมลพิษทางอากาศซึ่งมีแหล่งกำเนิด

จากยานพาหนะ ได้แก่

1. พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522

2. พระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ.2522

Page 45: หน่วยที่ กฎหมายควบคุมมลพิษ ทางอากาศ เสียง และของเสียอันตรายlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-7.pdf ·

มสธ มสธ ม

สธ

7-45

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

3. พระราชบัญญัติการขนส่งทางบกพ.ศ.2522

4. ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่16(พ.ศ.2514)

แนว ตอบ กิจกรรม 7.1.4

ปัญหาทางกฎหมายที่สำคัญในการควบคุมมลพิษทางอากาศมีดังเช่น

1. ปัญหาช่องว่างของกฎหมาย

2. ปัญหาความซ้ำซ้อนของกฎหมายหน่วยงานและการขาดความเป็นเอกภาพในการควบคุม

3. ปัญหาเกี่ยวกับบทลงโทษ

ตอน ที่ 7.2 การ ควบคุม มลพิษ ทาง เสียง

แนว ตอบ กิจกรรม 7.2.1

มลพิษทางเสียงอาจก่อให้เกิดผลกระทบ ซึ่งอาจแบ่งออกได้เป็น 2 ประการคือ

1. ผลกระทบต่อการได้ยิน

2. ผลกระทบต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต

แนว ตอบ กิจกรรม 7.2.2

พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ใน

การควบคุมมลพิษทางเสียงจากแหล่งกำเนิด ซึ่งอาจจำแนกตามประเภทของแหล่งกำเนิดได้เป็น 2 ประเภท

คือ2.1 การควบคุมมลพิษทางเสียงซึ่งมีแหล่งกำเนิดจากยานพาหนะและ2.2 การควบคุมมลพิษทางเสียง

ซึ่งมีแหล่งกำเนิดอื่นๆ เช่นการทำเหมืองหิน

แนว ตอบ กิจกรรม 7.2.3

กฎหมายอื่นที่มีบทบัญญัติเกี่ยวข้องกับการควบคุมมลพิษทางเสียงซึ่งมีแหล่งกำเนิดจากโรงงาน

อุตสาหกรรมได้แก่

1. พระราชบัญญัติโรงงานพ.ศ. 2535

2. พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541

แนว ตอบ กิจกรรม 7.2.4

ในการควบคุมมลพิษทางเสียงพบว่ามีปัญหาทางกฎหมายดังนี้

1. ปัญหาช่องว่างของกฎหมาย

2. ความซ้ำซ้อนของกฎหมายหน่วยงานและการขาดความเป็นเอกภาพในการควบคุม

3. ปัญหาเกี่ยวกับบทลงโทษ

Page 46: หน่วยที่ กฎหมายควบคุมมลพิษ ทางอากาศ เสียง และของเสียอันตรายlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-7.pdf ·

7-46

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

ตอน ที่ 7.3 การ ควบคุม ของ เสีย อันตราย

แนว ตอบ กิจกรรม 7.3.1

ของเสียอันตรายที่มิได้มีการจัดการอย่างเหมาะสมอาจก่อให้เกิดผลกระทบดังนี้

1. ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

2. ผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์

3. ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ

แนว ตอบ กิจกรรม 7.3.2

ในการควบคุมมลพิษประเภทของเสียอันตรายนั้น พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพ

สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535มีวัตถุประสงค์เพียงเพื่ออุดช่องว่างของกฎหมายในกรณีที่ไม่มีกฎหมาย

เฉพาะในการควบคุมมลพิษประเภทของเสียอันตรายซึ่งในปัจจุบัน(พ.ศ.2553)ยังไม่มีการออกกฎกระทรวง

ตามพระราชบัญญัตินี้ และมีข้อสังเกตว่า แม้มีการออกกฎกระทรวงก็อาจมีปัญหาในการบังคับใช้ให้เกิด

ผลในทางปฏิบัติเนื่องจากพระราชบัญญัตินี้มิได้มีบทลงโทษผู้ฝ่าฝืนกฎกระทรวงดังกล่าว

แนว ตอบ กิจกรรม 7.3.3

การจัดการและควบคุมของเสียอันตรายพบว่ามีปัญหาในทางกฎหมายประการสำคัญดังเช่น

1. ปัญหาการขาดกฎหมายควบคุมของเสียอันตรายอย่างเป็นระบบ ครอบคลุม ครบวงจร

การควบคุมและจัดการของเสียอันตรายของไทยมีลักษณะที่แยกส่วนมีกฎหมายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

มากมาย

2. ปัญหาการขาดกลไกที่มีประสิทธิภาพในกรณีที่มีการลักลอบทิ้งของเสียอันตรายหรือเกิดเหตุ

ฉุกเฉินจากของเสียอันตรายขึ้นและจำเป็นต้องดำเนินการแก้ไขฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมเป็นต้น

Page 47: หน่วยที่ กฎหมายควบคุมมลพิษ ทางอากาศ เสียง และของเสียอันตรายlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-7.pdf ·

มสธ มสธ ม

สธ

7-47

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

แบบ ประเมิน ผล ตนเอง หลัง เรียน

วัตถุประสงค์ เพือ่ประเมนิความกา้วหนา้ในการเรยีนรู้ของนกัศกึษาเกีย่วกบัเรือ่ง“กฎหมายควบคุมมลพษิ

ทางอากาศ เสียงและของเสียอันตราย”

คำ แนะนำ อ่านคำถามต่อไปนี้ แล้วเขียนคำตอบลงในช่องว่างที่กำหนดให้ นักศึกษามีเวลาทำแบบ

ประเมินผลชุดนี้30นาที

1. พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพ.ศ. 2535 ได้วางมาตรการเช่นไรในการ

ควบคุมมลพิษทางอากาศ

2. ในการควบคุมมลพิษทางเสียงมีปัญหาทางกฎหมายอย่างไรบ้าง

3. พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพ.ศ. 2535มีวัตถุประสงค์เช่นไรในการ

ควบคุมมลพิษประเภทของเสียอันตราย

Page 48: หน่วยที่ กฎหมายควบคุมมลพิษ ทางอากาศ เสียง และของเสียอันตรายlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-7.pdf ·

7-48

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

เฉลย แบบ ประเมิน ผล ตนเอง หน่วย ที่ 7

ก่อน เรียน1. มลพิษทางอากาศอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่างๆ ดังนี้

1) การบดบังแสงสว่าง(VisibilityReduction)

2) การทำลายวัสดุสิ่งของ(MaterialDamage)

3) การทำลายพืชผล(AgriculturalDamage)

4) ผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายของมนุษย์และสัตว์เลี้ยง(PhysiologicalEffectsonMan

andDomesticAnimals)

5) ผลกระทบต่อสุขภาพจิต(PsychologicalEffects)

6) การเกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ(ClimateChange)

2. พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพ.ศ.2535ได้วางมาตรการใน

การควบคุมมลพิษทางเสียง โดยเริ่มจากการกำหนดเรื่องมาตรฐานระดับเสียงทั่วไป และการกำหนดเรื่อง

มาตรฐานควบคุมมลพิษทางเสียงจากแหล่งกำเนิดตลอดจนการกำหนดมาตรการในการตรวจสอบควบคุม

มลพิษทางเสียงจากแหล่งกำเนิด

3. แหล่งกำเนิดของเสียอันตรายอาจจำแนกได้ดังนี้

1)แหล่งกำเนิดจากโรงงานอุตสาหกรรมเช่นโรงงานแบตเตอรี่โรงงานผลิตชุบโลหะโรงงาน

ฟอกหนังฯลฯซึ่งก่อให้เกิดโลหะหนัก ตัวทำละลายกรดและด่าง

2)แหล่งกำเนิดจากชุมชนการใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวันทำให้เกิดของเสียอันตรายจาก

ชุมชนเพิ่มมากขึ้น เช่นน้ำยาทำความสะอาด เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบตเตอรี่ที่ใช้แล้ว

ซึ่งมักมีโลหะหนักประเภทปรอทตะกั่วแคดเมียมฯลฯปะปนอยู่

3)แหล่งกำเนิดจากเกษตรกรรมการใช้สารเคมีในการเกษตรทำให้เกิดของเสียอันตรายเช่น

ปุ๋ยเคมียาปราบศัตรูพืชและภาชนะบรรจุสารเคมีดังกล่าว

4)แหล่งกำเนิดจากสถานพยาบาลของเสียอันตรายจากสถานพยาบาลอาจแบ่งเป็นของเสีย

ติดเชื้อหรือของเสียประเภทสารเคมีจากการรักษาพยาบาลหรือของเสียประเภทสารกัมมันตรังสีเป็นต้น

หลัง เรียน1. พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพ.ศ.2535ได้วางมาตรการใน

การควบคุมมลพิษทางอากาศโดยเริ่มจากการกำหนดเรื่องมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศโดยทั่วไป

และการกำหนดเรื่องมาตรฐานควบคุมมลพิษทางอากาศจากแหล่งกำเนิดตลอดจนการกำหนดมาตรการใน

การตรวจสอบควบคุมมลพิษทางอากาศจากแหล่งกำเนิด

Page 49: หน่วยที่ กฎหมายควบคุมมลพิษ ทางอากาศ เสียง และของเสียอันตรายlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-7.pdf ·

มสธ มสธ ม

สธ

7-49

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

2. ปัญหาทางกฎหมายในการควบคุมมลพิษทางเสียงที่สำคัญคือปัญหาความซ้ำซ้อนของกฎหมาย

หน่วยงานและการขาดความเป็นเอกภาพในการควบคุมมลพิษทางเสียง

3. พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพ.ศ.2535มีวัตถุประสงค์เพียง

เพื่ออุดช่องว่างของกฎหมายในกรณีที่ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติเป็นการเฉพาะเกี่ยวกับการควบคุมและจัดการ

มลพิษประเภทของเสียอันตราย โดยให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการควบคุมมลพิษมีอำนาจออก

กฎกระทรวงกำหนดชนิดและประเภทของเสียอันตรายที่เกิดจากการผลิตการใช้สารเคมีหรือวัตถุอันตรายใน

กระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรมเกษตรกรรมการสาธารณสุขและกิจการอย่างอื่นให้อยู่ในความควบคุม

ในการนี้ให้กำหนดหลักเกณฑ์มาตรการ และวิธีการเพื่อควบคุมการเก็บรวบรวมการรักษาความปลอดภัย

การขนส่งเคลื่อนย้ายการนำเข้ามาในราชอาณาจักรการส่งออกไปนอกราชอาณาจักรและการจัดการบำบัด

และการกำจัดของเสียอันตรายดังกล่าวด้วยวิธีการที่เหมาะสมและถูกต้องตามหลักวิชาการที่เกี่ยวข้อง

Page 50: หน่วยที่ กฎหมายควบคุมมลพิษ ทางอากาศ เสียง และของเสียอันตรายlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41706-7.pdf ·

7-50

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ