วัดไชยทิศ · 2015-09-14 ·...

4
สายตรงศาสนา 21 เข้าวัดวันธรรมสวนะ วิหาร เปนอาคารกออฐถอปูน ขนาดกวาง ๕.๖๐ เมตร ยาว ๑๖ เมตร มพระพทธรูปปางมารวชย เนอโลหะ มจวร ลายดอกพกล ศลปะตอนตนรตนโกสนทร ซงเรยกกนวา “หลวงพอเพชร” เปนพระประธาน ศาลาการเปรียญ เปนอาคารกออฐถอปูน ทรงไทย ประยกต ๒ ชน ปจจบน พระครูพิศิษฏ์ชัยโชติ (สำรวย โชตวโร) เปนเจาอาวาส ประวัติความเป็นมา วัดไชยทิศ สรางขนในสมยกรงศรอยธยาตอนปลาย น. ณ ปากนำ ไดกลาวไวในหนงสอเรองศลปในบางกอก ความตอนหนงวา “วดไชยทศจากวดบางขนนนท ถาเดน ขามสะพานออกทางหลงวดจะไปทางรถไฟ แลวกเลยวขวา เดนไปตามทางรถไฟระยะทางประมาณ ๓๐๐ เมตรเศษ ๆ จะถงสะพานขามคลองเลกใหเลยวลงทางซายมอ มปาย บอกวาวดไชยทศ ฯลฯ สงวเศษทอยูในพระอโบสถนนกคอ ภาพเขยนสมยกรงศรอยธยา งามวเศษมาก” มคำเลาวา เจาสามกรมฝายพระราชวงหลง สมย กรงรตนโกสนทร ไดรวมกนสรางขนหลงจากมชยชนะ ตอขาศก สนนษฐานวานาจะเปนการซอมแซมวดขนใหม เนองจากภาพเขยนบางสวนบนผนงภายในอโบสถเปนฝมอ ชางสมยกรงรตนโกสนทร แตครงรชกาลท ๑ หรอรชกาลท ๓ ปรากฏอยู สถานะและที่ตั้ง วดไชยทศ ตงอยูเลขท ๕๔๓ ถนนจรญสนทวงศ ซอย ๓๗ แขวงบางขนศร เขตบางกอกนอย กรงเทพมหานคร มเนอท ๕ ไร สิ่งสำคัญภายในวัด อุโบสถ เปนอาคารกออฐถอปูน ขนาดกวาง ๗.๖๐ เมตร ยาว ๒๒.๔๕ เมตร หลงคาชนเดยว มงดวยดนเผา ชนดไมเคลอบ หนาบนประดบเครองถวยลายคราม ดานหนา และดานหลงทำเปนพาไล บานประตูดานหนาเปนลายเขยน รดนำเรองตนมกกะนารผล ดานหลงเขยนลายดอกไมและ ใบไม มพระพทธรูปปางมารวชย ขนาดหนาตกกวาง ๖๙ นว สูง ๙๔ นว เปนพระประธาน วัดไชยทิศ กรมการศาสนาขอเชญชวนพทธศาสนกชนเขาวดทกวนธรรมสวนะ ณ วดใกลบาน หรอรวมเขาวดกบ กรมการศาสนา ซงในเดอนเมษายน ๒๕๕๔ กรมการศาสนามกำหนดการเขาวดปฏบตธรรม ณ วดไชยทศ (วนอาทตย ท ๓ เมษายน) วดทอง (วนจนทรท ๑๑ เมษายน) วดบางนาใน (วนจนทรท ๑๘ เมษายน) วดโบสถสามเสน (วนองคาร ท ๒๖ เมษายน) จงขอนำเสนอประวตวดดงกลาวโดยยอ เพอใหพทธศาสนกชนไดทราบ

Upload: others

Post on 14-Aug-2020

0 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: วัดไชยทิศ · 2015-09-14 · วัดไชยทิศสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย

สายตรงศาสนา 21

เข้าวัดวันธรรมสวนะ

วิหาร เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนขนาดกว้าง๕.๖๐เมตร

ยาว ๑๖ เมตร มีพระพุทธรูปปางมารวิชัย เนื้อโลหะ มีจีวร

ลายดอกพิกุล ศิลปะตอนต้นรัตนโกสินทร์ ซึ ่งเรียกกันว่า

“หลวงพ่อเพชร”เป็นพระประธาน

ศาลาการเปรียญ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ทรงไทย

ประยุกต์๒ชั้น

ปัจจุบันพระครูพิศิษฏ์ชัยโชติ (สำรวย โชติวโร)

เป็นเจ้าอาวาส

ประวัติความเป็นมา

วัดไชยทิศ สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย

น. ณ ปากน้ำ ได้กล่าวไว้ในหนังสือเรื่องศิลปในบางกอก

ความตอนหนึ่งว่า “วัดไชยทิศจากวัดบางขุนนนท์ ถ้าเดิน

ข้ามสะพานออกทางหลังวัดจะไปทางรถไฟ แล้วก็เลี้ยวขวา

เดินไปตามทางรถไฟระยะทางประมาณ ๓๐๐ เมตรเศษ ๆ

จะถึงสะพานข้ามคลองเล็กให้เลี้ยวลงทางซ้ายมือ มีป้าย

บอกว่าวัดไชยทิศ ฯลฯ สิ่งวิเศษที่อยู่ในพระอุโบสถนั้นก็คือ

ภาพเขียนสมัยกรุงศรีอยุธยา งามวิเศษมาก”

มีคำเล่าว่า เจ้าสามกรมฝ่ายพระราชวังหลัง สมัย

กรุงรัตนโกสินทร์ ได้ร ่วมกันสร้างขึ ้นหลังจากมีชัยชนะ

ต่อข้าศึก สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นการซ่อมแซมวัดขึ้นใหม่

เนื่องจากภาพเขียนบางส่วนบนผนังภายในอุโบสถเป็นฝีมือ

ช่างสมัยกรุงรัตนโกสินทร์แต่ครั้งรัชกาลที่๑หรือรัชกาลที่๓

ปรากฏอยู่

สถานะและที่ตั้ง

วัดไชยทิศ ตั้งอยู่เลขที่ ๕๔๓ ถนนจรัญสนิทวงศ์

ซอย๓๗แขวงบางขุนศรี เขตบางกอกน้อยกรุงเทพมหานคร

มีเนื้อที่๕ไร่

สิ่งสำคัญภายในวัด

อุโบสถ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนขนาดกว้าง๗.๖๐เมตร

ยาว ๒๒.๔๕ เมตร หลังคาช ั ้นเด ียว ม ุงด ้วยดินเผา

ชนิดไม่เคลือบ หน้าบันประดับเครื่องถ้วยลายคราม ด้านหน้า

และด้านหลังทำเป็นพาไล บานประตูด้านหน้าเป็นลายเขียน

รดน้ำเรื่องต้นมักกะนารีผล ด้านหลังเขียนลายดอกไม้และ

ใบไม้ มีพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง ๖๙ นิ้ว

สูง๙๔นิ้วเป็นพระประธาน

วัดไชยทิศ

กรมการศาสนาขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชนเข้าวัดทุกวันธรรมสวนะ ณ วัดใกล้บ้าน หรือร่วมเข้าวัดกับ

กรมการศาสนาซึ่งในเดือนเมษายน๒๕๕๔กรมการศาสนามีกำหนดการเข้าวัดปฏิบัติธรรมณวัดไชยทิศ(วันอาทิตย์

ที่๓เมษายน)วัดทอง(วันจันทร์ที่๑๑เมษายน)วัดบางนาใน(วันจันทร์ที่๑๘เมษายน)วัดโบสถ์สามเสน(วันอังคาร

ที่๒๖เมษายน)จึงขอนำเสนอประวัติวัดดังกล่าวโดยย่อเพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้ทราบ

Page 2: วัดไชยทิศ · 2015-09-14 · วัดไชยทิศสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย

22 สายตรงศาสนา

วัดทอง

เจดีย์ มี ๒ องค์ ตั้งอยู่ระหว่างอุโบสถกับวิหาร

เป็นแบบย่อมุมไม้สิบสองตั ้งอยู ่บนฐานสูง และเจดีย์

ทรงระฆัง

ศาลาการเปรียญ เป็นอาคารไม้โบราณทรงไทย

ชั้นเดียวขนาดกว้าง๑๓เมตรยาว๑๔เมตร

ปัจจุบันพระมหาอรรถเมธ (อตฺถวรเมธี ป.ธ. ๙)

เป็นเจ้าอาวาส

ประวัติความเป็นมา

วัดทอง สร้างขึ ้นในสมัยปลายกรุงศรีอยุธยา

ไม่ปรากฏหลักฐานเกี ่ยวกับผู ้สร้าง บูรณปฏิสังขรณ์

ครั้งล่าสุด เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๗ โบราณสถานภายในวัด

ม ีล ักษณะศิลปกรรมทั ้งสมัยอยุธยา ค ือ อ ุโบสถ

พระประธานและใบเสมาล้อมรอบ และสมัยรัตนโกสินทร์

คือ เจดีย์ทรงระฆังกลม ซึ่งเป็นแบบนิยมในสมัยรัชกาล

ที่๔

สถานะและที่ตั้ง

วัดทองตั้งอยู่เลขที่๘๒๑ถนนจรัญสนิทวงศ์๔๖

แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร มีเนื้อที่

๕ไร่

สิ่งสำคัญภายในวัด

อุโบสถ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ขนาดกว้าง

๘ เมตร ยาว ๑๒.๕๐ เมตร มีประตูทางเข้าด้านหน้า

ไม่มีประตูหลัง หลังคาลด ๒ ชั้น มุงกระเบื้องเคลือบ

ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ หน้าบันทั้งด้านหน้า

และด้านหลังประดับด้วยถ้วยชามสังคโลก มีพระพุทธรูป

ปางมารวิชัยเป็นพระประธาน มีกำแพงแก้วล้อมรอบ

ทั้ง๔ด้าน

วิหาร เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน กว้าง ๖ เมตร

ยาว๑๐เมตรลักษณะศิลปกรรมคล้ายอุโบสถ

Page 3: วัดไชยทิศ · 2015-09-14 · วัดไชยทิศสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย

สายตรงศาสนา 23

วัดบางนาใน

พระประธานในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธชินราช

จำลองขนาดหน้าตักกว้าง๘๐นิ้ว

พระวิหาร เป็นอาคารคอนกรีต เสริมเหล็ก ลักษณะ

ทรงจัตุรมุข หลังคาทรงไทย มุงกระเบื ้องดินเผาเคลือบ

ประดับช่อฟ้า ใบระกา พื้นปูหินอ่อน ภายในประดิษฐาน

พระพุทธรูปโสธรจำลอง

พระเจดีย์ เป็นอาคารคอนกรีต เสริมเหล็ก พื้นปูด้วย

หินแกรนิตทั ้งองค์ ผนังภายนอกประดับด้วยโมเสดสีทอง

ผนังภายในมีจิตรกรรมภายในประดิษฐานพระพุทธรูปขนาด

หน้าตักกว้าง๘๐นิ้ว

พระมณฑป เป ็นอาคารคอนกร ีต เสร ิมเหล็ก

ลักษณะทรงจัตุรมุขหลังคามุงกระเบื้องเคลือบแบบเกล็ดปลา

หอระฆัง เป็นอาคารคอนกรีต เสริมเหล็ก ๒ ชั ้น

ลักษณะทรงจัตุรมุขหลังคาทรงไทย๔มุขมุงกระเบื้องเคลือบ

ศาลาการเปรียญ เป็นอาคารคอนกรีต เสริมเหล็ก

๒ ชั้น หลังคาทรงไทย มุงกระเบื้องเคลือบ ประดับช่อฟ้า

ใบระกา ชั้นล่างหินขัด ใช้เป็นศาลาบำเพ็ญกุศล พื้นชั้นบน

ปูไม้เนื้อแข็งใช้ประกอบพิธีทางศาสนา

ปัจจุบันพระราชปริยัตยาลงกรณ์ (ช้วนชวนปญฺโญฺ

ป.ธ.๔)เป็นเจ้าอาวาส

ประวัติความเป็นมา

วัดบางนาใน เดิมเรียกว่า วัดสว่างอารมณ์ อยู่ตำบล

บางนา อำเภอพระโขนง จังหวัดนครเขื่อนขันธ์ หรือจังหวัด

สมุทรปราการในปัจจุบันนี้

หลังจากทางราชการได้มีการเปลี่ยนแปลงการบริหาร

ส่วนท้องถิ่น วัดสว่างอารมณ์ได้มาขึ้นกับอำเภอพระโขนง

จังหวัดพระนคร และได้เปลี ่ยนชื ่อวัดเป็นวัดบางนาใน

ในตำบลบางนามีวัดอยู่๒วัดคือวัดปากคลองบางนาหรือ

วัดบางนานอกในปัจจุบัน และวัดสว่างอารมณ์ ซึ่งอยู่กลาง

คลองบางนา หรือวัดบางนาในในปัจจุบัน ได้รับการยกฐานะ

เป็นพระอารามหลวงเมื่อพุทธศักราช๒๕๓๙

สถานะและที่ตั้ง

วัดบางนาใน เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ

ตั้งอยู่เลขที่๓๓๒๒ถนนสรรพาวุธแขวงบางนาเขตพระโขนง

กรุงเทพมหานครมีเนื้อที่๘ไร่๔๐ตารางวา

สิ่งสำคัญภายในพระอาราม

พระอุโบสถ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคา

ทรงไทยมุงกระเบื้องเคลือบประดับช่อฟ้า ใบระกาหางหงส์

หน้าบันปูนปั ้นปิดทอง ร ่องกระจกสี มีเสาหารโดยรอบ

ภายในมีจิตรกรรมฝาผนัง

พ ื ้นปูห ินอ ่อน ซ ุ ้มประตู

หน้าต ่างปูนปั ้น ลงร ัก

ป ิ ด ท อ ง ร ่ อ ง ก ร ะ จ ก

บานประตูหน้าต่างจำหลัก

ลวดลายพุ ่มข ้าวบิณฑ์

และเปลวไฟลงรักปิดทอง

เพดานมีดาว ป ิดทอง

ร่องกระจก

Page 4: วัดไชยทิศ · 2015-09-14 · วัดไชยทิศสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย

2� สายตรงศาสนา

วัดโบสถ์สามเสน

สถานะและที่ตั้ง

วัดโบสถ์สามเสน ตั้งอยู่เลขที่ ๖๕๘ ถนนสามเสน

แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร มีเนื้อที่ ๘ ไร่ ๒ งาน

๙ตารางวา

สิ่งสำคัญภายในวัด

อุโบสถ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน หลังคาลด ๓ ชั้น

ม ุงกระเบ ื ้องเคลือบ ประดับช ่อฟ้า ใบระกา หางหงส์

มีพระพุทธรูปปางสมาธิลงรักปิดทองขนาดหน้าตักกว้าง๖๐นิ้ว

สูง๗๐นิ้วเป็นพระประธาน

วิหาร เป็นอุโบสถเดิมก่ออิฐถือปูน ลักษณะฐานโค้ง

แบบเรือสำเภา เป็นศิลปกรรมสมัยอยุธยา ภายในมีจิตรกรรม

ฝาผน ั งสม ัยอย ุธยาตอนปลายผน ั งด ้ านเหน ือประตู

เหนือทางเข้าเขียนภาพมารผจญ ผนังด้านข้างส่วนบนทั้งสองด้าน

เขียนภาพเทพชุมนุม ส่วนผนังระหว่าง ช่องหน้าต่างเขียน

ภาพทศชาติชาดก ปัจจุบันอยู่ในสภาพชำรุดเลือนรางไปมาก

เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า หลวงพ่อ

สุขเกษม

เจดีย์ เป็นแบบย่อมุมไม้สิบสอง ตั้งอยู่บนฐานสูง

และอยู่เหนือเรือนธาตุที่มีซุ้มจตุรทิศ

ศาลาการเปรียญเป็นอาคารไม้โบราณปัจจุบันได้มี

การปรับปรุงใหม่ทั้งหลัง

ปัจจุบันพระอธิการเกล้า

(กิตฺติญฺาโณ)เป็นเจ้าอาวาส

ประวัติความเป็นมา

วัดโบสถ์สามเสน เป็นวัดเก่าแก่ที ่สร้างมาตั้งแต่

สมัยกรุงศรีอยุธยา พระพุทธรูปในอุโบสถหลังเดิม (ปัจจุบัน

เป็นวิหาร) สร้างขึ ้นตั ้งแต่สมัยอยุธยา ชาวบ้านเรียกว่า

หลวงพ่อสุขเกษม มีคำกล่าวขานเล่ากันว่า ในสมัยนั ้น

พระเจ้าแผ่นดินได้ทรงสร้างพระพุทธรูปแล้วบรรทุกใส่แพซุง

โดยใช้ไม้ซุงเป็นร้อยมัดเข้าด้วยกันทำเป็นแพ นำพระพุทธรูป

ประดิษฐานบนแพนั้นแล้วล่องลงมา หากผ่านวัดริมน้ำวัดใด

ยังไม่มีพระพุทธรูป ไม่มีพระประธาน ก็ให้ถวายแก่วัดนั้น

เมื่อถวายพระพุทธรูปไว้ที่ตำบลสามเสนแล้ว แพซุงที่เหลือ

จึงให้ถวายวัดทำเป็นเสาเข็มสำหรับสร้างอุโบสถด้วย เรียกว่า

เข็มแพ เนื่องจากได้มาจากแพซุง ในการก่อสร้างจึงนำไม้ซุง

มาปูเรียงกันก่อนแล้วจึงก่อสร้างอุโบสถทับบนแพซุงอีกทีหนึ่ง

เพื่อกันทรุด

มีหลักฐานเมื ่อปี พ.ศ. ๒๓๕๐ สุนทรภู ่ ได้แต่ง

นิราศพระพุทธบาทเมื่อคราวตามเสด็จพระองค์เจ้าปฐมวงศ์

ไปนมัสการพระพุทธบาท สระบุรี ได้กล่าวถึงพระพุทธรูป

วัดโบสถ์สามเสนไว้ว่า

“ถึงสามเสนแจ้งความตามสำเหนียก

เมื่อแรกเรียกสามแสนทั้งกรุงศรี

ประชุมฉุดพุทธรูปในวารี

ไม่เคลื่อนที่ชลธารบาดาลดิน

จึงสาบนามสามแสนเป็นชื่อคุ้ง

เออชาวกรุงกลับเรียกสามเสนสิ้น

นี่หรือรักจะมิน่าเป็นราคิน

แต่ชื่อดินเจียวยังกลายเป็นหลายคำ”