เข้าวัดวันธรรมสวนะ · 2015-09-14 · 24...

4
สายตรงศาสนา 21 เข้าวัดวันธรรมสวนะ วัดชัยชนะสงคราม ประวัติความเป็นมา วัดชัยชนะสงคราม ในสมยรชกาลท พระยาบดนทรเดชา (สงห สงหเสน) สมหนายกซงเปน แมทพใหญ เมอกลบจากรบชนะเวยดนามและกมพูชา ไดมจตศรทธายกทดนและบานสรางวด ตอมารกราง เมอป พทธศกราช ๒๓๖๗ พระบาทสมเดจพระนงเกลาเจาอยูหว โปรดใหเจาพระยาบดนทรเดชา เมอครงดำรงพระยศ เปนพระยาราชสภาวด กอสรางพระอโบสถ พระวหาร ศาลาการเปรยญ กฏสงฆ ไดพระราชทานนามวดวา วัดชัยชนะสงคราม เพอเปนอนสรณแหงความมชย ดวยเหตทเสนาสนะและสงกอสรางอน ๆ เปนตกทงหมด ชาวบานจงเรยกกนวา วัดตึก ไดรบยกฐานะเปนพระอารามหลวง เมอปพทธศกราช ๒๕๒๑ พระประธานในพระอุโบสถ เปนพระพทธรูป ปางมารวชย ขนาดหนาตกกวาง ๓ ศอกเศษ พระนามวา พระพุทธสิงมุนินทร์ธรรมบดินทร์โลกนาถ เทวนรชาติอภิปูชนีย์ หอพระไตรปิฎก เปนอาคารครงตกครงไม ๒ ชน อยูดานขวาพระอโบสถ ชนลางกอคอนกรตเปนหอง ชนทสองเปนของเกาทรงสอบขน ประดบชอฟา ใบระกา หางหงส ปดทอง ประดบกระจก หนาบนรูปพระอนทร ทรงชาง ๓ เศยร พนลายดอกพดตาน กรอบลางรูปเทวดา ยนพนมมอภายในซมเรอนแกว ลวดลายหนาบนลงรกปดทอง หวเสาบวจงกล เสาเหลยมประดบกระจก บานประตู หนาตางเขยนลายรดนำ มระเบยงรอบ ยกเวนดานหลง เสาระเบยงเปนเสาไมกลงกลมเขยนลายทองรูปหนาสงห ภายในหอพระไตรปฎกประดษฐานรูปหลอหลวงพอฉม และโยมบดามารดาของทาน พระปรางค์และพระเจดีย์เก่า ลกษณะกออฐ ถอปูนเปนของเกา รูปทรงโปรงงาม ฐานสงหปูนปน เหนอขนไป มรูปจำลองปรางคองคเลก ทหนาบนเหนอองคครรภธาต ใตชนกลบขนนประดบรูปประตมากรรมครฑแบก ลวดลาย ละเอยดงดงาม อยูดานหลงวดหลงตกแถวรมถนนจกรวรรด เปนพระปรางคองคใหญ ดานหลงพระปรางคมพระเจดย ทรงกลม ๓ องค หอระฆัง เปนอาคารคอนกรตเสรมเหลก ขนาดกวาง ๑.๙๐ เมตร ยาว ๒ เมตร สรางเมอ ปพทธศกราช ๒๕๐๓ ปจจบน พระราชวิริยสุนทร (ยน วรกจโจ) เปน เจาอาวาส สถานะและที่ตั้ง วดชยชนะสงคราม เปนพระอารามหลวงชนตร ชนดสามญ ตงอยูเลขท ๘๓ ถนนจกรวรรด แขวงสมพนธวงศ เขตสมพนธวงศ กรงเทพมหานคร ๑๐๑๐๐ มทดนตงวด เนอท ๗ ไร ๑ งาน ๙๒ ตารางวา สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ เปนอาคารคอนกรตเสรมเหลก หลงคาลด ๓ ชน มงกระเบอง ประดบชอฟา ใบระกา หางหงส หนาบน ลายปูนปน ปดทอง ประดบกระจก ซมประตูและหนาตาง ลายปูนปน พนปูดวยหนออน สรางเมอปพทธศกราช ๒๕๐๒

Upload: others

Post on 04-Jul-2020

4 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: เข้าวัดวันธรรมสวนะ · 2015-09-14 · 24 สายตรงศาสนา วัดปรินายก ประวัติความเป็นมา

สายตรงศาสนา 21

เข้าวัดวันธรรมสวนะ วัดชัยชนะสงคราม ประวัติความเป็นมา วัดชัยชนะสงคราม ในสมัยร ัชกาลที ่ ๓ พระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) สมุหนายกซึ ่งเป็น แม่ทัพใหญ่ เมื ่อกลับจากรบชนะเวียดนามและกัมพูชา ได้มีจิตศรัทธายกที่ดินและบ้านสร้างวัด ต่อมารกร้าง เมื่อปีพุทธศักราช ๒๓๖๗ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้เจ ้าพระยาบดินทรเดชา เมื ่อครั ้งดำรงพระยศ เป็นพระยาราชสุภาวดี ก่อสร้างพระอุโบสถ พระวิหาร ศาลาการเปร ียญ กุฏ ิสงฆ์ ได ้พระราชทานนามวัดว ่า วัดชัยชนะสงคราม เพ ื ่อเป ็นอนุสรณ์แห่งความมีช ัย ด้วยเหตุที่เสนาสนะและสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ เป็นตึกทั้งหมด ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า วัดตึก ได้รับยกฐานะเป็นพระอารามหลวง เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๒๑

พระประธานในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูป ปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง ๓ ศอกเศษ พระนามว่า พระพุทธสิงมุนินทร์ธรรมบดินทร์โลกนาถเทวนรชาติอภิปูชนีย์ หอพระไตรปิฎก เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ ๒ ชั้น อยู ่ด ้านขวาพระอุโบสถ ช ั ้นล ่างก ่อคอนกร ีตเป ็นห้อง ชั้นที่สองเป็นของเก่าทรงสอบขึ้น ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ปิดทอง ประดับกระจก หน้าบันรูปพระอินทร์ ทรงช้าง ๓ เศียร พื้นลายดอกพุดตาน กรอบล่างรูปเทวดายืนพนมมือภายในซุ้มเรือนแก้ว ลวดลายหน้าบันลงรักปิดทอง หัวเสาบัวจงกล เสาเหลี ่ยมประดับกระจก บานประตูหน้าต่างเขียนลายรดน้ำ มีระเบียงรอบ ยกเว้นด้านหลัง เสาระเบียงเป็นเสาไม้กลึงกลมเขียนลายทองรูปหน้าสิงห์ ภายในหอพระไตรปิฎกประดิษฐานรูปหล่อหลวงพ่อฉิม และโยมบิดามารดาของท่าน พระปรางค์และพระเจดีย์เก่า ลักษณะก่ออิฐถือปูนเป็นของเก่า รูปทรงโปร่งงาม ฐานสิงห์ปูนปั้น เหนือขึ้นไป มีรูปจำลองปรางค์องค์เล็ก ที่หน้าบันเหนือองค์ครรภธาตุ ใต้ชั้นกลีบขนุนประดับรูปประติมากรรมครุฑแบก ลวดลายละเอียดงดงาม อยู่ด้านหลังวัดหลังตึกแถวริมถนนจักรวรรดิ เป็นพระปรางค์องค์ใหญ่ ด้านหลังพระปรางค์มีพระเจดีย์ ทรงกลม ๓ องค์ หอระฆัง เป ็นอาคารคอนกร ีตเสร ิมเหล็ก ขนาดกว้าง ๑.๙๐ เมตร ยาว ๒ เมตร สร ้างเม ื ่อ ปีพุทธศักราช ๒๕๐๓ ปัจจุบัน พระราชวิริยสุนทร (ยิน วรกิจฺโจ) เป็นเจ้าอาวาส

สถานะและที่ตั้ง วัดชัยชนะสงคราม เป็นพระอารามหลวงชั ้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งอยู่เลขที่ ๘๓ ถนนจักรวรรดิ แขวงสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร ๑๐๑๐๐ มีที่ดินตั้งวัด เนื้อที่ ๗ ไร่ ๑ งาน ๙๒ ตารางวา สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคาลด ๓ ชั้น มุงกระเบื้อง ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ หน้าบัน ลายปูนปั้น ปิดทอง ประดับกระจก ซุ้มประตูและหน้าต่างลายปูนปั ้น พื ้นปูด้วยหินอ่อน สร้างเมื ่อปีพุทธศักราช ๒๕๐๒

Page 2: เข้าวัดวันธรรมสวนะ · 2015-09-14 · 24 สายตรงศาสนา วัดปรินายก ประวัติความเป็นมา

สายตรงศาสนา 22

สถานะและที่ตั้ง

วัดนาคกลาง เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร

ต ั ้งอยู ่ เลขที ่ ๗๖๑ ถนนอร ุณอมร ินทร ์ เขตบางกอกใหญ่

กรุงเทพมหานคร ๑๐๖๐๐ มีที่ดินตั้งวัด เนื้อที่ ๔๗ ไร่ ๑ งาน ๘๘

ตารางวา

วัดนาคกลาง ประวัติความเป็นมา

วัดนาคกลาง เป็นวัดโบราณ สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา

และได้รับสถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวงในสมัยกรุงธนบุรี

รัชกาลที่ ๑ โปรดให้รวมวัดนาค วัดกลาง และวัดน้อย

เป็นวัดเดียวกัน แล้วพระราชทานนามว่า วัดนาคกลาง และ

ได้เสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินในปีพุทธศักราช ๒๓๓๐

รัชกาลที่ ๒ โปรดให้สร้างพระอุโบสถ

รัชกาลที่ ๓ โปรดให้บูรณปฏิส ังขรณ์ว ัดนาคกลาง

และได้เสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน

รัชกาลที่ ๔ ได้เสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน

ปีพุทธศักราช ๒๓๙๘ และ ๒๓๙๙

รัชกาลที่ ๕ โปรดให้วัดนาคกลางจัดพระสงฆ์เข้ารับ

บิณฑบาตในพระบรมมหาราชวัง พอถึงเทศกาลเข้าพรรษา

โปรดให้พระบรมวงศานุวงศ์ไปจุดเทียนพรรษาที่วัดนาคกลาง

และได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์พระอารามหลายครั้ง

รัชกาลที่ ๖ เสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน

รัชกาลที่ ๗ โปรดให้บูรณปฏิสังขรณ์ โดยย้ายกุฏิจาก

แนวริมคลองมอญมาสร้างขึ้นใหม่เป็น ๒ คณะ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จ

พระราชดำเนินมาวัดนาคกลาง เพื ่อทรงประกอบพิธีเททอง

หล่อพระรูปสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช

สกลมหาสังฆปริณายก (อยู่ ญาโณทยมหาเถร) สมเด็จพระสังฆราช

องค์ที่ ๑๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นพระกรรมวาจาจารย์

ของพระเทพสิทธินายก (เหรียง อินฺทสรมหาเถร) อดีตเจ้าอาวาส

เมื่อวันที่ ๒๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๑๕

สิ่งสำคัญในพระอาราม

พระอุโบสถ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ลักษณะทรงไทย

หลังคาลด ๓ ชั้น มุงกระเบื้อง ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์

เมื่อพุทธศักราช ๒๕๐๔ ได้ปฏิสังขรณ์ใหม่

พระประธานในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น

ปางสมาธิ ลงรักปิดทอง หน้าตักกว้าง ๗๑ นิ้ว สูง ๑๐๔ นิ้ว

พระวิหาร สร้างเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๓๕ เป็นอาคาร

คอนกรีตเสริมเหล็ก

พระพุทธรูปปางถือผลสมอ หล่อด้วยโลหะ เป็น

เนื้อทองสำริด ประทับนั่งพระหัตถ์ถือผลสมอ ชาวบ้านเรียกว่า

หลวงพ่อโคนสมอมหาลาภ

ศาลาการเปรียญ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน อยู ่ทาง

ด้านหลังพระอุโบสถ ลักษณะแบบเก๋งจีน หลังคามุงกระเบื้อง

หอระฆังเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก

หอสวดมนต์ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ลักษณะ

ทรงไทย สร้างเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๑๒

ปัจจุบัน พระครูสิริคุณสาทร (คุณากรณ์ ฐิตธมฺโม)

เป็นเจ้าอาวาส

Page 3: เข้าวัดวันธรรมสวนะ · 2015-09-14 · 24 สายตรงศาสนา วัดปรินายก ประวัติความเป็นมา

สายตรงศาสนา 23

วัดบุปผาราม ประวัติความเป็นมา

วัดบุปผาราม เป็นวัดโบราณ สร้างสมัยกรุงศรีอยุธยา

เดิมชื่อวัดดอกไม ้ ได้ปฏิสังขรณ์ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า

เจ้าอยู่หัว โดยท่านผู้หญิงจันทร์ ภรรยาเอกของสมเด็จเจ้าพระยา

บรมมหาประยูรวงศ์ (ด ิศ บุนนาค) เน ื ่องจากเป็นว ัดใกล้บ ้าน

สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์และเจ้าพระยาทิพากรวงศ์

(ขำ บุนนาค) ได้ปฏิสังขรณ์มาอย่างต่อเนื่อง

ต่อมาเจ้าพระยาภานุวงศ์ (ท้วม บุนนาค) ได้ปฏิสังขรณ์

และกราบทูลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งยังทรงผนวช

ขอคณะสงฆ์ธรรมยุตไปครองวัด แล้วถวายเป็นพระอารามหลวง

พระราชทานนามว่า วัดบุปผาราม

สถานะและที่ตั้ง

วัดบุปผาราม เป็นพระอารามหลวงชั ้นตรี ชนิดวรวิหาร

ตั้งอยู่เลขที่ ๒๙๓ แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ๑๐๖๐๐

มีที่ดินตั้งวัด เนื้อที่ ๙ ไร่

สิ่งสำคัญในพระอาราม

พระอุโบสถ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ลักษณะสถาปัตยกรรม

ทรงไทย หลังคาลด ๒ ชั ้น มุงกระเบื ้อง ประดับช่อฟ้า ใบระกา

หางหงส์ มีเสาพาไลล้อมรอบ หน้าบันปูนปั้นเป็นรูปตราสุริยมณฑล

คือ ตราราชสีห์เทียมรถ อ ันเป็นตราประจำตัวสมเด็จพระยา

บรมมหาศรีส ุร ิยวงศ์ ถัดลงมาเป็นรูปพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์

ซุ้มประตูหน้าต่างเป็นซุ้มทรงมหามงกุฎ บานประตูหน้าต่างด้านนอก

เขียนลวดลายเป็นรูปเทวดา ด้านในทาสีแดง

ในสงครามโลกครั ้งที ่ ๒ วัดบุปผารามถูกระเบิดทำลาย

ทำให้พระอุโบสถชำรุด ยากแก่การซ่อมแซม ทางวัดจึงดำเนินการ

ก่อสร้างพระอุโบสถใหม่ ยังคงรักษารูปแบบของพระอุโบสถหลังเดิมไว้

พระประธานในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย

ขนาดหน้าตักกว้าง ๑.๑๕ เมตร สูง ๑.๗๕ เมตร

พระวิหาร เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ลักษณะสถาปัตยกรรม

ประยุกต์ไทยจีน หลังคาลด ๒ ชั้น มุงกระเบื้อง มีรูปทรงแบบจีน

ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ หัวนาค มีเสาพาไลล้อมรอบ หน้าบัน

เป็นปูนปั ้นลายเครือดอกพุดตาน มีตรามหาสุริยมณฑลแบบไทย

(ราชสีห์เทียมรถ) อยู ่ตรงกลาง ซุ ้มประตูหน้าต่างเป็นลายปูนปั ้น

ปิดทอง ประดับกระจก รูปตราสุริยมณฑลแบบไทยเทิดมหามงกุฎ

บานประตูหน้าต่างด้านนอกเป็นไม้สลักลาย ตรงกลางเป็นตรา

สุริยมณฑลแบบฝรั่ง (ตรารูปพระอาทิตย์) บานประตูหน้าต่างด้านใน

เป็นภาพเขียนเครื่องโต๊ะบูชาหลายแบบ ช่องประตูหน้าต่างเขียนลาย

รดน้ำ มีโครงสุภาษิตโลกนิติ ผนังด้านบนเขียนภาพจิตรกรรมเล่าเรื่อง

ทศชาติ ด ้านนอกมีระเบ ียงล ้อมรอบ ภายในประดิษฐาน

พระพุทธชินราชจำลอง และพระพุทธรูปขนาดต่าง ๆ อีกหลายองค์

พระเจดีย์ มี ๔ องค์ ลักษณะก่ออิฐถือปูน แบบทรงลังกา

รูประฆังคว่ำ ๒ องค์ และแบบทรงสี่เหลี่ยมย่อมุม ๒ องค์ ภายใน

ประดิษฐานพระสารีริกธาตุและพระพุทธรูป

ศาลาการเปรียญ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ลักษณะ

สถาปัตยกรรมทรงไทย หลังคามุงกระเบื้อง ประดับช่อฟ้า ใบระกา

หางหงส์

ศาลาสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เป็นอาคาร

คอนกรีตเสริมเหล็ก ๓ ชั้น ภายในประดิษฐานพระพุทธชินราชจำลอง

ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๑ เมตร สูง ๑.๓๒ เมตร

ปัจจุบัน พระอุดมศีลคุณ(บรรจบ ตาที) เป็นเจ้าอาวาส

Page 4: เข้าวัดวันธรรมสวนะ · 2015-09-14 · 24 สายตรงศาสนา วัดปรินายก ประวัติความเป็นมา

สายตรงศาสนา 24

วัดปรินายก ประวัติความเป็นมา

วัดปรินายก สร ้างสมัยร ัชกาลที ่ ๒ โดย

เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เมื ่อครั ้งยังเป็น

พระพรหมสุรินทร์ ตั้งชื่อว่า วัดพรหมสุรินทร์ และได้สร้าง

เสนาสนะเพิ่มขึ้นถึงสมัยรัชกาลที่ ๓ แต่ยังไม่แล้วเสร็จ

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรง

รับไว้เป็นพระอารามหลวง โปรดให้หล่อพระพุทธรูปประธาน

ในพระอุโบสถ และโปรดให้สร้างจนเสร็จบริบูรณ์ พระราชทาน

นามว่า วัดปรินายก เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่เจ้าพระยาบดินทรเดชา

(สิงห์ สิงหเสนี) พระประธานในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปสำริด

ปางมารวิชัย ศิลปะสมัยสุโขทัย ซึ่งเจ้าพระยาบดินทรเดชา

อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ เดิมเรียกว่า พระสารภีพระบาท

สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู ่หัว เสด็จพระราชดำเนิน

วัดปรินายก ได้ทอดพระเนตรพระพุทธรูป มีลักษณะงดงาม

พระราชทานนามว่า พระสุรภีพุทธพิมพ์

สถานะและที่ตั้ง

วัดปรินายก เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร

ตั้งอยู่เลขที่ ๑ ถนนปรินายก แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร

กรุงเทพมหานคร ๑๐๒๐๐ มีที่ดินตั้งวัด เนื้อที่ ๗ ไร่ ๒ งาน

๕๕ ตารางวา

สิ่งสำคัญในพระอาราม

พระอุโบสถ เป็นอาคาร

ก่ออิฐถือปูน หลังคามุงกระเบื้อง

ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์

หน้าบันมีรูปครุฑ ปิดทอง ประดับ

กระจก ซ ุ ้มประตูและหน้าต ่าง

ลายปูนปั้น

หอระฆัง เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ทรงสี่เหลี่ยม

สร้างเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๖๔ อยู่ในกำแพงวิปัสสนา

ศาลาการเปรียญ เป็นอาคารไม้ ลักษณะทรงไทย

เดิมเป็นตำหนักราชวงศ์ สมัยรัชกาลที่ ๕ อยู่ใกล้พระอุโบสถ

ปัจจุบัน พระอมรเมธาจารย์ (สุคนธ์ ปภากโร)

เป็นเจ้าอาวาส