การแต่งทรง การตัดแต่ง กิ่งไม้ผล plant...

34
การแต่งทรง การตัดแต่ง กิ่งไม้ผล

Upload: others

Post on 06-Aug-2020

0 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: การแต่งทรง การตัดแต่ง กิ่งไม้ผล Plant Production-7.pdf · 1.1 เพื่อลดความแน่นทึบของทรงพุ่ม

การแต่งทรง การตัดแต่ง

กิ่งไม้ผล

Page 2: การแต่งทรง การตัดแต่ง กิ่งไม้ผล Plant Production-7.pdf · 1.1 เพื่อลดความแน่นทึบของทรงพุ่ม

การตัดแต่งกิ่งไม้ผล

การตัดแต่งกิ่งเป็นวิธีปฏิบัติในสวนผลไม้ที่ขาดไม่ได้ แบ่งท า 2 ช่วง

- ในระยะแรก ๆ ของการปลูกไม้ผลเพื่อบังคับให้ต้นไม้มีรูปร่างและลักษณะ

ตามที่ต้องการ เพื่อไม่ให้เกะกะในการปฎิบัติงานสวน และเกิดผลดีในการออกดอกติด

ผลในเวลาต่อไป การตัดแต่งเพื่อให้ต้นไม้มีรูปทรงตามต้องการนี้เรียกว่า "การแต่ง

ทรงต้น" (training) ท าในระยะ ๒-๓ ปีแรกขณะที่ต้นไม้ยังมีขนาดเล็กและอายุยัง

น้อยอยู่

- ระยะที่ต้นโต จนให้ดอกผลได้แล้ว จ าเป็นจะต้องตัดกิ่งของพืชออกบ้าง

เพื่อให้ส่วนที่เหลือท าหน้าท่ีในการให้ประโยชน์เต็มที่ การปฏิบัติเช่นกรณีหลังนี้ เรียกว่า

"การตัดแต่งกิ่ง" (pruning)

Page 3: การแต่งทรง การตัดแต่ง กิ่งไม้ผล Plant Production-7.pdf · 1.1 เพื่อลดความแน่นทึบของทรงพุ่ม

1.1 เพื่อลดความแน่นทึบของทรงพุ่ม การตัดแต่งจะท าให้แสงแดดส่องได้อย่างทั่วถึงอากาศถ่ายเทได้สะดวก กิ่งที่

เป็นโรคหรือถูกแมลงท าลายตลอดจนกิ่งที่อยู่ภายในทรงพุ่มจะถูกตัดออก นอกจากนี้ยัง

เป็นการตัดแต่งเพื่อไม่ให้ทรงพุ่มชนกับต้นอื่น

วัตถุประสงค์ของการแต่งทรงต้นและการตัดแต่งกิ่ง

1.2 เพื่อท าลายกิ่งที่เสียหาย กิ่งของไม้ผลมักจะถูกท าลายอยู่เสมอ อาจมีสาเหตุจากลมท าให้กิ่งฉีกขาด โรค

หรือแมลงเข้าท าลายท าให้กิ่งแห้งหรือหัก กิ่งดังกล่าวหากปล่อยทิ้งไว้อาจเป็นแหล่ง

สะสมโรคขึ้นได้

1.3 เพื่อกระตุ้นให้เกิดดอกและผล การตัดแต่งจะช่วยกระตุ้นให้เกิดกิ่งใหม่หรือตาใหม่ ตาใหม่ที่เกิดขึ้นอาจเป็นทั้ง

ตาใบและตาดอก เช่น น้อยหน่า นอกจากนี้ยังท าให้มีจ านวนผลพอเหมาะกับต้น ท าให้ผล

มีคุณภาพดี

Page 4: การแต่งทรง การตัดแต่ง กิ่งไม้ผล Plant Production-7.pdf · 1.1 เพื่อลดความแน่นทึบของทรงพุ่ม

วัตถุประสงค์ของการแต่งทรงต้นและการตัดแต่งกิ่ง

1.5 เพื่อการขนย้าย ในการย้ายไม้ผล เช่น ย้ายปลูก รากอาจถูกท าลาย ดังนั้นจึงต้องตัดแต่ง

ส่วน ล าต้นออกบ้าง เพื่อช่วยลดการคายน้ า

1.4 เพื่อบังคับให้ได้รูปทรง การตัดแต่งสามารถจัดรูปทรงของต้นไม้ เพราะทุกครั้งที่กิ่งถูกตัด กิ่งก็จะ

หยุดการเจริญเติบโตทางทิศทางนั้น และไปเจริญเติบโตในทิศทางอื่น ซึ่งผู้ตัดแต่ง

สามารถบังคับได้

Page 5: การแต่งทรง การตัดแต่ง กิ่งไม้ผล Plant Production-7.pdf · 1.1 เพื่อลดความแน่นทึบของทรงพุ่ม

การแต่งทรงต้น (training) หรือ การจัดทรงพุ่ม

เป็นการตัดแต่งเพื่อจัดโครงสร้างต้นของไม้ผล

- ให้มีโครงสร้างที่แข็งแรง - ควบคุมทิศทางการเจริญเติบโตของกิ่งให้กระจายก่ิงก้านรับแสงได้ดี

- มีขนาดต้นที่เหมาะสม ซึ่งไม้ผลแต่ละชนิดจะมีรูปทรงไม่เหมือนกัน การจัดทรงพุ่มปกติจะท าใน

ระยะ ๒-๓ ปีแรกขณะที่ต้นไม้ยังมีขนาดเล็กและอายุยังน้อยอยู่

วิธีการต่าง ๆ ของการแต่งทรงตน้

Page 6: การแต่งทรง การตัดแต่ง กิ่งไม้ผล Plant Production-7.pdf · 1.1 เพื่อลดความแน่นทึบของทรงพุ่ม

1. การจัดทรงต้นแบบเลี้ยงยอดกลางหรือทรงปิรามิด

(central-leader or pyramid type)

- ท าการเลี้ยงยอดกลางไว้ให้สูงขึ้นโดยตลอด - เลือกกิ่งแขนงใหญ่ที่แตกออกมาจากล าต้นไว้ 5-20

กิ่ง แล้วแต่ขนาดและชนิดของไม้ผล

- โดยจัดให้กิ่งดังกล่าวสลับเวียนกันโดยรอบล าต้นไม่ให้กิ่งซ้อนทับกัน

ข้อดี คือ จะได้ต้นที่มีโครงสร้างสูงและแข็งแรง มีปริมาตรของพื้นที่ในการให้ผลมาก

ท าได้ง่าย

ข้อเสียคือ ไม่สะดวกต่อการปฏิบัติงาน เช่น ฉีดพ่นสารฆ่าศัตรูพืช การเก็บเกี่ยว

นอกจากนี้กิ่งที่อยู่ส่วนบนมีโอกาสบังกิ่งที่อยู่ส่วนล่างท าให้ได้รับแสงแดดไม่ทั่วถึง

พืชที่มีการจัดทรงพุ่มวิธีนี้ เช่น ทุเรียน มังคุด ขนุน และพลับ เป็นต้น

Page 7: การแต่งทรง การตัดแต่ง กิ่งไม้ผล Plant Production-7.pdf · 1.1 เพื่อลดความแน่นทึบของทรงพุ่ม

2. การจัดทรงต้นแบบตัดยอดกลาง

(open-center or vase-shaped type)

- ในปีแรก ๆ จะเลี้ยงกิ่งยอดกลางไว้เหมือนวิธีแรก จากนั้นจะตัดยอดทิ้ง - เลือกกิ่งแขนงที่อยู่ใต้รอยตัดลงมา 3-4 กิ่ง (เป็นกิ่งที่มีมุมกิ่งกว้างและกิ่งไม่

บังซ้อนกัน)

- ให้ช่วงระหว่างกิ่งอยู่ในระยะที่ค่อนข้างชิดกันและพยายามเลี้ยงให้กิ่งมีขนาด

ใกล้เคียงกัน

- คอยตัดกิ่งแขนงที่แตกตรงกลางล าต้นที่จะเจริญขึ้นมาแทนกิ่งยอดที่ถูกตัด

ข้อดี คือ ทรงพุ่มจะเตี้ย การกระจายของผลดีมาก การดูแลรักษาและการเก็บเกี่ยวท าได้สะดวก

แสงแดดสามารถส่องเข้าไปได้อย่างทั่วถึงท าให้ส่วนง่ามกิ่งและโคนต้นแห้งเร็ว โรคเข้าท าลายได้

ล าบาก

ข้อเสียคือ ปริมาตรของทรงพุ่มลดน้อยลง มีพื้นที่ในการให้ผล

ผลิตน้อย โครงสร้างของกิ่งอ่อนแอโดยเฉพาะตรงบริเวณง่ามกิ่ง

มักเปราะและเป็นแอ่งขังน้ า

พืชที่มีการจัดทรงพุ่มวิธีนี้ เช่น ท้อ บ๊วย เป็นต้น

Page 8: การแต่งทรง การตัดแต่ง กิ่งไม้ผล Plant Production-7.pdf · 1.1 เพื่อลดความแน่นทึบของทรงพุ่ม

3. การจัดทรงต้นดัดแปลงจากแบบเลี้ยงยอดกลาง

(modified leader type)

- เป็นการรวบรวมเอาข้อดีและข้อเสียของสองวิธีแรกมารวมกัน - ในปีแรก ๆ ท าการเลี้ยงยอดกลางให้ได้ทรงต้นสูงขึ้นก่อนพร้อมกับเลือก

กิ่งแขนงท่ีมีขนาดและลักษณะท่ีดีและแข็งแรงไว้ 3-4 กิ่ง

- โดยให้ช่วงระยะห่างระหว่างกิ่งแขนงไม่ชิดกันมากนัก เสร็จแล้วท าการตัดยอดกลางทิ้งแล้วเลี้ยงกิ่งแขนงดังกล่าวให้เจริญขึ้นมา

ข้อดี การจัดทรงพุ่มวิธีนี้ท าให้ได้ต้นไม้ผลที่ไม่สูงหรือเตี้ย

จนเกินไป มีทรงพุ่มที่แข็งแรง มีพื้นที่ในการให้ผลผลติมาก

สะดวกในการปฏบิัติดูแลรักษา

ไม้ผลที่นิยมจัดทรงพุ่มวิธีนี้ เช่น มะม่วง ส้ม ทุเรียน

(บางพันธุ)์

ข้อเสีย การจัดทรงพุ่มวิธีกระท าค่อนข้างยาก ต้อง

อาศัยความช านาญมาก

Page 9: การแต่งทรง การตัดแต่ง กิ่งไม้ผล Plant Production-7.pdf · 1.1 เพื่อลดความแน่นทึบของทรงพุ่ม

4. การจัดทรงต้นแบบเป็นพุ่ม (bush type)

ไม้ผลบางชนิด เช่น ล าไย ลิ้นจี่ เงาะ มีจุดอ่อนที่ง่ามกิ่ง โดยมีง่ามกิ่ง

เป็นมุมแคบ และมีปัญหาในเรื่องกิ่งฉีกขาดมาก โดยเฉพาะถ้ากรณีที่ปลูกจากกิ่ง

ตอนมักจะไม่แสดงล าต้นที่แท้จริงออกมาให้เห็น ควรปล่อยให้ล าต้นเจริญเติบโต

ขึ้นมาเป็นก่ิงแขนง ท าให้ลักษณะทรงต้นที่ได้แตกต่างจากไม้ผลชนิดอื่น

Page 10: การแต่งทรง การตัดแต่ง กิ่งไม้ผล Plant Production-7.pdf · 1.1 เพื่อลดความแน่นทึบของทรงพุ่ม

5. การจัดทรงต้นแบบขึ้นค้าง (canopy type)

รูปทรงต้นแบบขึ้นค้างจะใช้กับไม้ผลชนิดที่เป็นไม้เถา (vine) หรือไม้เลื้อย ไม่มีล าต้นที่สามารถตั้งตรงรับแสงได้ด้วยตนเอง เช่น องุ่น, แก้วมังกร

และแพสช่ันฟรุท

Page 11: การแต่งทรง การตัดแต่ง กิ่งไม้ผล Plant Production-7.pdf · 1.1 เพื่อลดความแน่นทึบของทรงพุ่ม

"การตัดแต่งกิ่ง" (pruning)

เป็นการตัดหรือน าเอาส่วนของต้นไม้ผลที่ไม่ต้องการออกไป เพื่อกระตุ้น

ให้เกิดการเจริญเติบโตในส่วนที่ต้องการ รวมทั้งการให้ดอกผลที่ดีขึ้น

1. กิ่งแก่ที่เคยให้ผลแล้ว และไม่สามารถให้ผลอีกต่อไป

2. กิ่งที่เบียดหรือชี้เข้าไปในทรงพุ่ม

3. กิ่งไขว้ หรือกิ่งซ้อนทับกัน ให้เลือกกิ่งที่เป็นโครงสร้างหลักไว้

4. กิ่งที่โรคแมลงหรือกาฝากอาศัย

5. กิ่งฉีกหัก หรือกิ่งแห้ง

6. กิ่งน้ าค้างหรือกิ่งกระโดงท่ีเจริญเติบโตจากในทรงพุ่มทะลุออกเหนือ

ทรงพุ่ม

กิ่งที่ต้องตัดออกในการตัดแต่งกิ่ง

Page 12: การแต่งทรง การตัดแต่ง กิ่งไม้ผล Plant Production-7.pdf · 1.1 เพื่อลดความแน่นทึบของทรงพุ่ม

ขั้นตอนการตัดแต่งกิ่งในช่วงอายุต่าง ๆ ของต้นไม้ผล

1. ก่อนน าลงปลูก ตัดแต่งให้มีกิ่งหลักตามต้องการเพื่อเป็นโครงหลักของต้นในอนาคต จะมี

ผลให้ต้นไม้ผลตั้งตัวได้เร็ว เมื่อน าลงปลูก

2. ระยะแรกของการเจริญเติบโตในแปลงปลูก

ตัดแต่งให้น้อยที่สุดเท่าที่จ าเป็น มีการโน้มกิ่งเพื่อให้ออกผลเร็ว และมี

โครงสร้างของต้นตามต้องการ จะมีผลให้ต้นโตเร็ว แข็งแรงและให้ผลเร็ว

3. ระยะเริ่มให้ผลผลิตจนถึงผลผลิตสูงสุด ตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรคและไม่แข็งแรง กิ่งน้ าค้าง และควบคุมขนาดต้น เพื่อให้

มีขนาดต้นพอเหมาะ ออกผลมากที่สุด ออกผลสม่ าเสมอ และผลมีคุณภาพ

Page 13: การแต่งทรง การตัดแต่ง กิ่งไม้ผล Plant Production-7.pdf · 1.1 เพื่อลดความแน่นทึบของทรงพุ่ม

ขั้นตอนการตัดแต่งกิ่งในช่วงอายุต่าง ๆ ของต้นไม้ผล

4. ระยะที่ผลผลิตลดลง

ตัดแต่งกิ่งที่อ่อนแอเป็นโรค และเลี้ยงกิ่งใหม่ทดแทน โดยชะลอให้การลดลง

ของผลผลิต เกิดช้าที่สุด

5. ระยะปรับตัวให้มีการเจริญเติบโตใหม่

ตัดแต่งเพื่อให้ต้นกลับคืนสู่ระยะเยาว์วัยใหม่อีกครั้ง ซึ่งเป็นการตัดแต่ง

แบบหนัก

Page 14: การแต่งทรง การตัดแต่ง กิ่งไม้ผล Plant Production-7.pdf · 1.1 เพื่อลดความแน่นทึบของทรงพุ่ม

หลักในการตัดแต่งก่ิง

• ตัดแต่งกิ่งให้ใบได้รับแสงโดยทั่วถึง เพือ่ให้ต้นไม้ผลมีประสิทธิภาพการ

สังเคราะห์แสงเต็มที่

• ตัดแต่งให้มีการระบายอากาศภายในต้นดี จะชว่ยในการป้องกันก าจัด

โรคแมลง เพราะการระบายอากาศดีจะช่วยลดความชื้นสัมพัทธ์ภายใน

พุ่มใบ นอกจากนี้การพ่นยาป้องกันก าจดัโรคแมลงก็ท าได้อย่างทั่วถึง

• ควรตัดกิ่งที่สานกันหรือก่ิงที่มีทิศทางไม่เป็นระเบียบออก

• ตัดกิ่งมุมแคบซึ่งมีปัญหาฉีกหักออก

• กิ่งที่แห้งตายเพราะโรคหรือแมลงจะตอ้งตัดออก

• ตัดแต่งกิ่งให้มีการรับน้ าหนักสมดุลบนล าต้น

• ควรตัดให้มีแผลเรียบติดกับกิ่งใหญ่เพือ่ให้แผลหายเร็ว

Page 15: การแต่งทรง การตัดแต่ง กิ่งไม้ผล Plant Production-7.pdf · 1.1 เพื่อลดความแน่นทึบของทรงพุ่ม

รูปแบบในการตัดแต่งก่ิง

1. เด็ดยอดหรือเด็ดตา (Pinching) โดยการใช้มือเด็ดเอาส่วนยอดออกหรือตาอ่อนออก ทั้งนี้เพื่อบังคับให้แตกกิ่งก้านสาขาตามที่ต้องการ

2. การตัดกิ่งให้เบาบางลง (Thinning) การตัดแต่งวิธีนี้จะตัดทั้งก่ิงทิ้งเพื่อให้ทรงต้นโปร่ง กระตุ้นกิ่งที่เหลืออยู่ให้เจริญเติบโต นอกจากนั้นยังช่วยท าลายกิ่งที่ไม่

ต้องการเช่นก่ิงไขว้กัน กิ่งกระโดง กิ่งที่ถูกโรคหรือแมลงท าลาย

3. การตัดยอดให้สั้น (Heading back ) จะช่วยกระตุ้นการเจริญของจุด

เจริญให้มีมากขึ้น เพราะตาอ่อนที่อยู่บนยอดจะปล่อยฮอร์โมนพวก auxin เพื่อ

ยับยั้งการเจริญเติบโตของตาข้าง เมื่อเราตัดยอดออกการสร้างสารที่ยับยั้งการ

เจริญเติบโตของตาข้างจะหมดไปตาหรือกิ่งข้างก็เจริญเติบโต นอกจากนี้ยังท าให้

ทรงพุ่มมีขนาดเตี้ยลงด้วย

Page 16: การแต่งทรง การตัดแต่ง กิ่งไม้ผล Plant Production-7.pdf · 1.1 เพื่อลดความแน่นทึบของทรงพุ่ม

รูปแบบในการตัดแต่งก่ิง

4. ตัดแต่งเพือ่ให้เป็นรูปทรง (Shearing) การตัดแต่งวิธีนี้เป็นการตัดแต่งต้นไม้โดยไม่ค านึงถึงจุดอื่นๆ นอกจากตัดแต่งเพื่อมีรูปร่างที่ต้องการ ซึ่งอาจจะ

รวมถึงรูปแบบทั้ง 3 วิธีที่กล่าวมาแล้วต้องอาศัยศิลปะเข้าช่วยเป็นอย่างมาก ตัวอย่างเช่น การตัดแต่งให้เป็นรูปทรง รั้ว หรือท าเป็นรูปต่างๆ เช่น ต้นมะขามเป็น

รั้ว ตัดมะขามเป็นรูปกรวย รูปทรงกระบอก เพื่อใช้ประดับ

Page 17: การแต่งทรง การตัดแต่ง กิ่งไม้ผล Plant Production-7.pdf · 1.1 เพื่อลดความแน่นทึบของทรงพุ่ม

เครื่องมือเครื่องใช้ในการตัดแต่งกิ่ง

1. กรรไกรตดัแต่งกิ่ง (Pruning shear) โดยทั่วไปมักเป็นกรรไกรที่มีใบมีดด้านหนึ่งคมบาง อีกด้านหนึ่งคมหนา ด้านบางท าหน้าที่ตัด ด้านหนาท าหน้าที่ยึด

กิ่งที่ตัด

วิธีจับกรรไกรที่ถูกต้อง

ถ้าถนัดมือขวา ควรถือกรรไกรให้ด้ามของคมมีดที่บางอยู่ทางนิ้วชี้ถึง

นิ้วก้อย ส่วนด้ามของคมหนาอยู่ทางนิ้วหัวแม่มือ เวลาจะอ้าคมกรรไกร ใช้นิ้วทั้งสี่

จับด้ามกรรไกร ด้านคมมีดแล้วใช้นิ้วหัวแม่มือเปิดล๊อค ก็จะอ้ากรรไกรได้ เมื่อใช้

เสร็จปิดล๊อคก็ท าอย่างเดียวกัน กรรไกรบางรุ่นอาจท าที่ล๊อคไว้ที่ปลายด้าม

กรรไกร

Page 18: การแต่งทรง การตัดแต่ง กิ่งไม้ผล Plant Production-7.pdf · 1.1 เพื่อลดความแน่นทึบของทรงพุ่ม

เครื่องมือเครื่องใช้ในการตัดแต่งกิ่ง

การใช้กรรไกรตัดแต่งที่ถูกต้อง

กรรไกรตัดแต่งกิ่ง ใช้ตัดกิ่งที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกินครึ่งนิ้ว (ถ้ากิ่งที่จะ

ตัดมีขนาดใหญ่กว่าครึ่งนิ้ว มักใช้เลื่อยตัดแต่งกิ่ง) กิ่งที่ตัดออก มักตัดให้ชิดโคนกิ่ง

ในต าแหน่งจากจุดที่กิ่งนั้น ๆ แตกออกมา ไม่ให้เหลือเศษ เพราะถ้าเหลือเศษไว ้ถ้ามี

ตาเหลืออยู่ กิ่งจะแตกใหม่จากตาที่เหลือไว ้ท าให้เสียเวลาต้องมาตัดใหม่อีก

การปฏิบัติที่ถูกต้อง มีหลักอยู่ว่า ต้องให้คมของใบมีด้านแบนแนบกับกิ่งที่

จะเอาไว้ เช่น ถ้าตัดกิ่งที่ชี้ออกทางด้านซ้ายของต้น เวลาตัดให้คว่ ามือคมกรรไกร

ด้านแบนจะแนบล าต้นพอดีไม่มีเหลือเศษ (ตอ) และถ้าจะตัดกิ่งที่อยู่ด้านขวาล าต้น

ออก ให้พลิกกรรไกรหงายมือเอาคมมีดด้านแบนแนบกับล าต้นหรือกิ่งอีกเช่นกัน

Page 19: การแต่งทรง การตัดแต่ง กิ่งไม้ผล Plant Production-7.pdf · 1.1 เพื่อลดความแน่นทึบของทรงพุ่ม

เครื่องมือเครื่องใช้ในการตัดแต่งกิ่ง

2. เลื่อยตัดแต่งกิ่ง (Pruning saw) ใช้ส าหรับตัดแต่งกิ่งที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ครึ่งนิ้วขึ้นไป เลื่อยตัดแต่งกิ่ง มีทั้งชนิดฟันเลื่อยคมกัดเนื้อ

ไม้ เมื่อดึงเลื่อยเข้าหาตัว และชนิดคมสองทาง ชนิดคมสองทางใช้ได้ดีกว่าคมทาง

เดียว ปัจจุบัน เลื่อยเล็กตัดแตง่กิ่งนี้มีชนิดด้ามไม้ ด้ามเหล็กด้ามพลาสติก ชนิดพับ

เก็บใบเลื่อยได้ และที่พับเก็บใบเลื่อยไม่ได้ ชนิดพับเก็บใบเลื่อยได้ ที่มีขายอยู่ปัจจุบัน

เป็นแบบที่เบากะทัดรัด เมื่อไม่ใช้สามารถพับใบเลื่อยที่มีคมเก็บไว้ในกระเป๋ากางเกง

ได้ หรือเมื่อต้องการเปลี่ยนใบเลื่อยใหม่ก็มีจ าหน่าย ดีกว่า รุ่นพับคมใบเลื่อยไม่ได้

หลายอย่าง แต่ราคาก็แพงกว่า

Page 20: การแต่งทรง การตัดแต่ง กิ่งไม้ผล Plant Production-7.pdf · 1.1 เพื่อลดความแน่นทึบของทรงพุ่ม

เครื่องมือเครื่องใช้ในการตัดแต่งกิ่ง

วิธีการตัดแต่งกิ่งด้วยเลื่อย

การตัดกิ่งเอนๆ หรือกิ่งนอน เพื่อเป็นการป้องกันก่ิงที่ตัด มิให้มีรอยแผล

ใหญ่เกินไปอันเกิดจากก่ิงแตกหัก จากน้ าหนักของกิ่งที่ถ่วงลง อาจตัดแต่งกิ่งให้

ห่างจากต าแหน่งที่ต้องการตัดออกไปเล็กน้อย โดยเลื่อยด้านล่างของกิ่งเข้าไป

1/3 ของเส้นผ่าศูนย์กลางของกิ่งก่อน แล้วจึงเลื่อยด้านบนกิ่งให้กิ่งขาด แล้วจึงเลื่อยกิ่งให้ชิดบริเวณที่ต้องการ รอยแผลที่ตัดควรให้เรียบและเสมอเป็นหน้าเดียว

Page 21: การแต่งทรง การตัดแต่ง กิ่งไม้ผล Plant Production-7.pdf · 1.1 เพื่อลดความแน่นทึบของทรงพุ่ม

เครื่องมือเครื่องใช้ในการตัดแต่งกิ่ง

การตัดแต่งกิ่งใหญ่อย่างถูกวิธี

1.เลื่อยทางด้านข้างใต้กิ่งก่อน (ห่างจากโคนกิ่งประมาณ 10-20 ซม.) เลื่อยเข้าไปในเน้ือไม้ครึ่งหนึ่ง

หรือเลื่อยไปจนกว่าเลื่อยฝืด

2. ตัดหรือเปลี่ยนข้างบน (ห่างจากต าแหน่งที่เลื่อยครั้งแรกประมาณ 5-10 ซม.) เลื่อยไปจนกว่า

กิ่งจะหักลงมา

3. ตัดตอกิง่ที่เหลือชิดโคนต้นให้มากที่สุด4. ใช้มีดแต่งบาดแผลให้เรียบ (ป้องกันน้ าขัง)5. ฉีดยากันเชื้อราทั่วบาดแผล หรือใช้สีทาไม้ทา

ปิดไว้ กรณีใช้สีทา หากเป็นสีสเปรย์จะป้องกันเชื้อโรค

เข้าท าลายได้ดีกว่าใช้แปรง

Page 22: การแต่งทรง การตัดแต่ง กิ่งไม้ผล Plant Production-7.pdf · 1.1 เพื่อลดความแน่นทึบของทรงพุ่ม

เครื่องมือเครื่องใช้ในการตัดแต่งกิ่ง

3.บันไดตัดแต่งกิ่งไม้ บันไดที่มีขาตั้งส าหรับขึ้นไปยืนตัดแต่งบริเวณปลาย

ชายพุ่ม ซึ่งเป็นกิ่งเล็กไม่สามารถทานน้ าหนักคนได ้ อาจท าเป็นนั่งร้านไม้หรือ

เหล็กก็ได้ วัสดุที่ท าควรมีน้ าหนักเบาแข็งแรงทนทาน

4. ยารักษาแผล แผลที่เกิดจากการตัดแต่งอาจใช้ยากันราผสมน้ าข้นๆ ทา

รอบแผลเพื่อป้องกันเช้ือราเข้าท าลายและช่วยให้ปิดสนิทเร็ว นอกจากยากันรา

อาจใช้สีน้ ามัน สีพลาสติก ยางมะตอย ฟลิ้นโค๊ท หรือปูนแดงกินกับหมาก

Page 23: การแต่งทรง การตัดแต่ง กิ่งไม้ผล Plant Production-7.pdf · 1.1 เพื่อลดความแน่นทึบของทรงพุ่ม

ข้อปฏิบัติในการตัดแต่งก่ิง

หลังจากตัดกิ่งเสร็จ ต้องรักษาบาดแผลมิให้เชื้อโรคเข้าท าลาย (กิ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 0.5 นิ้วขึ้นไป) โดยใช้สารเคมี ยาป้องกันเชื้อรา

(สารประกอบทองแดง) สี, น้ ามัน,ดิน หรือปูนแดง ทาปิดปากแผล เพื่อรักษาบาดแผลให้เชื่อมปิดสนิทได้เร็วขึ้น ถ้าแผลยังไม่ประสาน เกิดแผลแห้งลามเข้าไป

ให้ตัดใหม่อีกครั้ง (ตัดให้ถึงเน้ือไม้ที่ยังไม่ตาย) ในต าแหน่งชิดกับล าต้น ตัดเสร็จ

แต่งบาดแผลให้เรียบเป็นปากฉลาม พร้อมกับฉีดพ่นด้วยสีให้ทั่วเต็มบริเวณแผล

ในการตัดแต่งกิ่งเพื่อทอนกิ่งให้สั้น ไม่หวังให้เกิดก่ิงใหม่นั้น ให้เข้าหน้า

กรรไกรหรือเลือ่ยชิดข้อ (ตา) ให้มากที่สุด เพื่อมิให้ตาแตกกิ่งใหม่ และไม่ว่าจะ

ตัดเพื่ออะไรกต็าม ต้องให้รอยแผลเป็นปากฉลามหันออกจากตา (ข้อ) เสมอในต้นที่ตัดแต่งกิ่งเอากิ่งใหญ่ๆ เพื่อลดความสูง ควรใช้ปูนขาวผสมกับ

แป้งเปียกทากิ่ง เพราะก่อนตัดยอดกิ่งที่อยู่ถัดลงมาได้รับแสงแดดเพียงเล็กน้อย

แต่เมื่อตัดยอดกลางออก ท าให้แสงแดดเผาโดยตรง

Page 24: การแต่งทรง การตัดแต่ง กิ่งไม้ผล Plant Production-7.pdf · 1.1 เพื่อลดความแน่นทึบของทรงพุ่ม

ปริมาณการตัดในการตดัแต่งก่ิง

การตัดแต่งไม้ผลแต่ละชนิด ต้องค านึงถึงปริมาณการตัดแต่งของก่ิงที่

ตัดออก โดยแบ่งคร่าวๆ ได้ 3 วิธีการ

1. การตัดแตง่อย่างเบาบาง (light pruning) วิธีการนี้เป็นการ

ตัดแต่งเพียงเลก็น้อย ภายหลังที่ต้นไม้ผลได้รับการจัดทรงพุ่มที่ถูกต้องแล้ว ผู้

ตัดแต่งมักจะตัดเอากิ่งที่ไม่พึงประสงค์ เช่น กิ่งแห้ง กิ่งถูกโรคและแมลงเข้า

ท าลายออก ถ้าตัดแต่งกิ่งออกมากเกินไปต้นอาจโทรมได้

2. การตัดแตง่กิ่งปานกลาง (medium pruning) การตัดแต่ง

กิ่งวิธีนี้ปริมาณของก่ิงที่ถูกตัดออกจะมากกว่าวิธีแรก นอกจากจะเอากิ่งที่ไม่พึง

ประสงค์ออกแล้ว อาจจะตัดยอดออกเพื่อท าลาย apical dominanceหรือตัดกิ่งออก เพื่อให้ทรงต้นโปร่ง

Page 25: การแต่งทรง การตัดแต่ง กิ่งไม้ผล Plant Production-7.pdf · 1.1 เพื่อลดความแน่นทึบของทรงพุ่ม

ปริมาณการตัดในการตดัแต่งก่ิง

3. การตัดแต่งกิ่งอย่างหนัก (heavy pruning) ไม้ผลหลายๆ

ชนิดต้องการตัดแต่งที่หนักมาก เช่น น้อยหน่า จะตัดแต่งจนโกร๋นไปทั้งต้น

หลังจากที่ตัดกิ่งที่ไม่พึงประสงค์ออกแล้ว จะท าการตัดแต่งกิ่งแขนงย่อยที่มี

เส้นผ่าศูนย์กลางของกิ่งเล็กกว่า 4 มิลลิเมตรออก ตัดส่วนปลายยอดของทุกกิ่ง

ที่เหลือ แล้วรูดใบทิ้งให้หมด ทั้งนี้เพื่อเป็นการบังคับให้เกิดดอก เกิดผล

พุทรา องุ่น ตัดแต่งก่ิงในปริมาณที่มาก ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นใหเ้กิดกิ่งใหม่

ขึ้น ท าให้เพิ่มคุณภาพและปริมาณของผล

ข้อควรระวังในการตัดแต่ง

ผู้ตัดแต่งต้นไมต้้องค านึงอยู่เสมอว่า ในการตัดแต่งแต่ละครั้งหรือแต่ละ

กิ่ง ท่านมีโอกาสเพียงครั้งเดียว คิดให้ดีก่อนที่จะตัด ตัดแล้วไม่สามารถท าให้

กลับคืนได้ นอกจากนั้น ควรตัดแต่น้อย การตัดแต่งกิ่งน้อยเกินไปจะให้ผลที่

ดีกว่าตัดออกมากเกินไป

Page 26: การแต่งทรง การตัดแต่ง กิ่งไม้ผล Plant Production-7.pdf · 1.1 เพื่อลดความแน่นทึบของทรงพุ่ม

ต้นน้อยหนา่หลงัจากตัดแต่งทรงตน้แล้ว

Page 27: การแต่งทรง การตัดแต่ง กิ่งไม้ผล Plant Production-7.pdf · 1.1 เพื่อลดความแน่นทึบของทรงพุ่ม

ตัวอย่างการตัดแต่งกิ่งไม้ผล

สวนเจริญพีระวัฒน์ (ไต๋) อ.แกลง จ.ระยอง

ซ้าย..ทุเรียนทรงพุ่มสูงใหญ่ ดูแลควบคุมคุณภาพยาก

ขวา..การตัดแตง่ให้ทรงพุ่มเตี้ยลงท าให้การจัดการการออกดอก

และผลผลิตให้มีคุณภาพได้มากขึ้น

แบบเก่า

แบบใหม่

Page 28: การแต่งทรง การตัดแต่ง กิ่งไม้ผล Plant Production-7.pdf · 1.1 เพื่อลดความแน่นทึบของทรงพุ่ม

ทรงต้นไม้ผล

การเก็บเกี่ยว

การใชแ้รงงานและ

เครื่องจักรกล

การผลิตนอกฤดู เทคโนโลยีการผลิต

ระบบการปลูกต้นทุน

วิธีการปฏิบัติ

ดูแลรักษา

ความสัมพันธ์ของรูปทรงต้นไม้ผลกับองค์ประกอบอื่น ๆ ของสวนไม้ผล

Page 29: การแต่งทรง การตัดแต่ง กิ่งไม้ผล Plant Production-7.pdf · 1.1 เพื่อลดความแน่นทึบของทรงพุ่ม

การตัดแต่งกิ่งทุเรียนต้นเตี้ย 2 รูปแบบ

1. ทรงพีระมิด ที่เริ่มตัดยอดตั้งแต่ต้นอายุได้ปีเศษ ๆ

คงความสูงไว้ที่ระดับ 3-4 เมตร เมื่อเกิดกิ่งกระโดงภายในพุ่มก็ตัดออกเพื่อไม่ให้บังแสง ส่วนการเลือกกิ่งชั้นในก็เลือกไว้เพียง

ชั้นเดียวเพื่อไม่ให้กิ่งทับซ้อนกันท าให้แต่ละกิ่งได้รับแสงอย่าง

ทั่วถึง

2. ทรงญี่ปุ่นหรือทรงไม้ผลเมืองหนาว (ผู้เชี่ยวชาญ

ชาวญี่ปุ่นเป็นผู้ตัดแต่ง) ที่เริ่มตัดยอดตั้งแต่ต้นอายุได้ปีเศษ ๆ

และบังคับให้ล าต้นหลักเอียงเพื่อขัดขวางการล าเลียงอาหาร

เป็นการท าให้ต้นมีสภาพผิดจากธรรมชาติส่งผลให้สามารถ

บังคับให้ออกดอกได้ง่าย การไว้กิ่งในชั้นเดียวกันจะไม่ให้ซ้อน

กันเพื่อไม่ให้เกิดการบังแสง

สวนเจริญพีระวัฒน์ (ไต๋) อ.แกลง จ.ระยอง

ทรงญี่ปุ่นหรือ

ทรงไม้ผลเมืองหนาว

ทรงพีระมิด

Page 30: การแต่งทรง การตัดแต่ง กิ่งไม้ผล Plant Production-7.pdf · 1.1 เพื่อลดความแน่นทึบของทรงพุ่ม

การตัดแต่งกิ่งชมพู่

สวนเจริญพีระวัฒน์ (ไต๋) อ.แกลง จ.ระยอง

ชมพู่ทรงนากาวาหรือเปิดพุ่ม (open center)

ก าหนดความสูงไม่เกิน 3 เมตร สะดวกในการจัดการผลผลิต

เป็นการตัดแต่งแบบญี่ปุ่นหรือ

นากาวา เป็นทรงที่ตัดยอดน าออกจน

เตี้ยแบบลานบินพร้อมทั้งซอยกิ่งเล็กกิ่ง

น้อยออกแล้วเร่งให้ชมพู่แตกใบใหม่

เป็นการตัดแต่งกิ่งเดิมออก 80% ท า

ให้พุ่มโปร่งมาก การตัดแต่งกิ่งแบบนี้

เหมาะส าหรับชมพู่เมืองไทยที่มีสภาพ

อากาศร้อน

Page 31: การแต่งทรง การตัดแต่ง กิ่งไม้ผล Plant Production-7.pdf · 1.1 เพื่อลดความแน่นทึบของทรงพุ่ม

สวนคุณมนัส เกียรติวัฒน์

การตัดแต่งกิ่งล าไยเพื่อให้ได้ทรงเตี้ย

เป็นการตัดแต่งก่ิงทรงเปิดกลางทรงพุ่ม (ทรงฝาชีหงาย)

โดยท าการตัดกิ่งในฤดูฝน

- ส าหรับล าไยอายุน้อย ตัดกิ่งที่อยู่กลางพุ่มออกให้เหลือกิ่งแนวนอน

รอบทรงพุ่ม 1-2 ชั้น- แต่ถ้าต้นล าไยอายุมากควรเหลือกิ่งในแนวนอน 3-4 ชั้น เพื่อให้มีพื้นที่

ออกดอกติดผลด้านข้างมาก

จุดประสงค์เพื่อให้ง่ายต่อการดูแลรักษาและเก็บเกี่ยวผลผลิต ลดต้นทุน

การผลิตและให้คงความสูงของทรงพุ่มในระดับเดิมทุกปี

Page 32: การแต่งทรง การตัดแต่ง กิ่งไม้ผล Plant Production-7.pdf · 1.1 เพื่อลดความแน่นทึบของทรงพุ่ม

สวนคุณมนัส เกียรติวัฒน์

การตัดแต่งกิ่งล าไยเพื่อให้ได้ทรงเตี้ย

ปัจจัยที่มีผลต่อความส าเร็จของการตัดแต่งกิ่งทรงฝาชีหงาย

1. ฤดูกาลตัดแต่งกิ่ง ฤดูที่เหมาะสมที่สุด คือ ฤดูฝน เนื่องจากฤดูฝนมีความชื้นในดินและในอากาศสูง

2. ความสมบูรณ์ของต้น ต้นที่สมบูรณ์จะแตกใบเร็วและเกิดกิ่งกระโดงมากกว่าต้น

ที่ไม่สมบูรณ์

3. อายุของต้น โดยต้นที่อายุน้อยจะแตกกิ่งกระโดงได้มากกว่าและมีการแตกของเปลือกน้อยกว่าต้นที่มีอายุมาก

4. วิธีตัดแต่งกิ่งกระโดงเดิม ต้องตัดให้เหลือตอกระโดงเดิมไว้ยาว 2-3 นิ้ว เพราะพบว่าจะแตกกิ่งกระโดงใหม่ได้ดีกว่าการตัดแบบชิดโคน

Page 33: การแต่งทรง การตัดแต่ง กิ่งไม้ผล Plant Production-7.pdf · 1.1 เพื่อลดความแน่นทึบของทรงพุ่ม

1. การตัดแต่งกิ่งปานกลาง การตัดแต่งทรงพุ่มระหว่างต้นที่ชิดกันออก ให้

เหลือกิ่งหลักที่แยกออกจากล าต้นจ านวน 3-4 กิ่ง เหลือกิ่งแขนงที่แยกออกจากกิ่ง

หลักที่ท ามุม 45-60 องศา ไว้จ านวน 2-3 กิ่ง และตัดกิ่งที่เป็นโรคและแมลงท าลาย

ออก

การตัดแต่งกิ่งมะม่วง

เพื่อให้ทรงพุ่มโปร่ง ลดปัญหาการสะสมโรคและแมลง ช่วงระยะที่ท าการตัด

แต่งกิ่งในเดือน มิถุนายน-กรกฎาคม การตัดแตง่กิ่งม ี 2 ลักษณะ

2. การตัดแต่งกิ่งแบบหนัก การตัดแต่งทรงพุ่มออกทั้งหมด เหลือเพียงกิ่ง

หลักที่สูงจากพื้นดินประมาณ 80-100 เซนติเมตร ประมาณ 3-5 กิ่งต่อต้น รอการ

แตกกิ่งแขนงใหม่

Page 34: การแต่งทรง การตัดแต่ง กิ่งไม้ผล Plant Production-7.pdf · 1.1 เพื่อลดความแน่นทึบของทรงพุ่ม

1. หลังจากการตัดแต่งในแต่ละต้นทุกครั้งจะใช้สีน้ ามันทาบริเวณรอยแผลทุก

จุดโดยทา 2-3 ครั้ง ให้สีเคลือบบริเวณแผลเพื่อป้องกันการเข้าท าลายของเช้ือราต่างๆ

การตัดแต่งกิ่งมะม่วง

การปฏิบัติหลังการตัดแต่งกิ่งมีดังนี้

2. ใช้ผ้าแสลนพลางแสงสีด า 50-70 % มาห่อรอบบริเวณต้นและกิ่งของต้น

มะม่วง การห่อจะพันผ้าตั้งแต่ใต้รอยตัดที่ปลายกิ่งทุกกิ่งลงมาจนถึงโคนต้น ซึ่งจะช่วย

ลดความเข้มของแสง ที่มีผลจะท าลายเปลือกของต้นมะม่วงท าให้เปลือกแห้งตายจาก

แดดเผา

3. การน ากิ่งและใบมะม่วงที่ตัดแต่งมาสุม

โคน เพื่อช่วยเก็บรักษาความชื้นบริเวณโคนต้นและรอการ

ย่อยสลายเป็นปุ๋ยอินทรีย์ มีประโยชน์ทางอ้อมช่วยในการ

ควบคุมการเจริญเติบโตของวัชพืชได้ประมาณ 9 เดือน