สารจากบรรณาธิการ · 2013-04-01 · ในการนี้ดร....

16
สารจากบรรณาธิการ “ไฟป่า” พิบัติภัยที่เกิดจากการเผาไหม้ของเศษวัสดุ กิ่งไม้ และใบไม้แห้งที่ทับถมกันอยู่ในป่า แต่ปัจจุบันไฟป่าทั้งหมดเกิดจากการกระ ทำาของมนุษย์ทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจ ผลจากไฟป่าทำาให้สภาพป่าถูกทำาลาย ที่เลวร้ายยิ่งกว่าคือ หมอกและควันที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและก่อ ให้เกิดทัศนวิสัยที่เลวร้าย มีผลต่อการจราจรทั้งทางบกและทางอากาศ ในช่วงเดือนที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยของเราตกอยู่ท่ามกลางหมอกควัน จากไฟป่า ซึ่งส่งผลให้บุคลากรในคณะของเราเกิดความเจ็บป่วยจากการสูดดมควันพิษจากไฟป่า ทางกองบรรณาธิการ ขอให้ผู้อ่านทุกท่านดูแล รักษาสุขภาพ โดยการป้องกัน และการดูแลตนเองเพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบจากฝุ่นละอองในอากาศ (วิธีป้องกันควันไฟ อ่านเพิ่มเติมภายในเล่ม) กลับมาพบกันอีกครั้งกับจดหมายข่าว วิทย์-แพทย์ ปีท่ 4 ฉบับที่ 2/2556 ประจำาเดือนมกราคม 2556 - มีนาคม 2556 ตลอดช่วง เวลานี้มีกิจกรรมต่างๆ มากมายทั้งภายในและภายนอกคณะ ซึ่งได้ดำาเนินการไปได้ด้วยดี ทางทีมงานจึงขอรวบรวมเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อถ่ายทอดให้ผู้สนใจได้รับข้อมูลข่าวสารของคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ครบถ้วน รวมทั้งเป็นสื่อกลางในการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่าง บุคลากร เจ้าหน้าที่ และนิสิตทั้งเก่าและใหม่ของคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์อีกด้วยครับ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ท่านผู้อ่านจะได้รับข้อมูลที่เป็น ประโยชน์ครับ คณะกรรมการดำาเนินงาน 1.นายณฐกร คำาแก้ว ประธานกรรมการ 2.นางสาวหทัยชนก ชมพูพื้น กรรมการ 3.นายอานนท์ พัดเกิด กรรมการ 4.นางสาวจุฑามาศ เทพมาลี กรรมการ 5.นางสาวนิจติยา สุวรรณสม กรรมการ 6.นายกฤษณะ คู่เทียม กรรมการ 7.นางสาวกฤษณา พุกอินทร์ กรรมการ 8.นางสาวอัจฉราภรณ์ อ่อนตะวงศ์ กรรมการและเลขานุการ บรรณาธิการ นายณฐกร คำาแก้ว และ นางสาวอัจฉราภรณ์ อ่อนตะวงศ์ สารบัญ สารจากบรรณาธิการ สารจากคณบดี กิจกรรมเคลื่อนไหว วิทย์-แพทย์ - ม.พะเยา ยำ้าจุดยืน เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาวิชาการ แก้ไขปัญหา ไข้เลือดออกระดับนานาชาติสู่ชุมชน - คณาจารย์คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ คว้ารางวัลจาก งานพะเยาวิจัย ครั้งที่2 - ต้อนรับทีมงานศึกษาดูงานจากคณะแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่ - อธิการบดีและคณะผู้บริหารพบบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ - โครงการระลึกคุณอาจารย์ใหญ่ - คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ ม.พะเยา เข้าร่วมประชุม MSAAM - ออกค่ายวิทย์-แพทย์ อาสา ’56 - โครงการทบทวนแผนยุทธศาสตร์ แผนกลยุทธ์ ปี 2554-2557 ครั้งที่3 เกร็ดความรู้และงานวิจัย - คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้รับทุนสนับสนุนงานวิจัยสูงเป็น ประวัติการณ์ - เกร็ดความรู้ “กระดูก ดี ด้วยอาหาร” - วิธีป้องกันตนเองจากควันไฟป่า - งานวิจัย “ประโยชน์ต่อสุขภาพของใบมะรุม” สัมภาษณ์นักวิจัยดีเด่น - บทสัมภาษณ์นักวิจัยดีเด่น ดร.วาทิตา ผจญภัย

Upload: others

Post on 08-Jan-2020

1 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: สารจากบรรณาธิการ · 2013-04-01 · ในการนี้ดร. เนติ เงินแพทย์ ได้กล่าวต้อนรับคณะผู้เยี่ยมชม

สารจากบรรณาธิการ

“ไฟป่า”พิบัติภัยที่เกิดจากการเผาไหม้ของเศษวัสดุกิ่งไม้และใบไม้แห้งที่ทับถมกันอยู่ในป่าแต่ปัจจุบันไฟป่าทั้งหมดเกิดจากการกระ

ทำาของมนุษย์ทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจผลจากไฟป่าทำาให้สภาพป่าถูกทำาลายที่เลวร้ายยิ่งกว่าคือหมอกและควันที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและก่อ

ให้เกิดทัศนวิสัยที่เลวร้าย มีผลต่อการจราจรทั้งทางบกและทางอากาศ ในช่วงเดือนที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยของเราตกอยู่ท่ามกลางหมอกควัน

จากไฟป่าซึ่งส่งผลให้บุคลากรในคณะของเราเกิดความเจ็บป่วยจากการสูดดมควันพิษจากไฟป่าทางกองบรรณาธิการขอให้ผู้อ่านทุกท่านดูแล

รักษาสุขภาพโดยการป้องกันและการดูแลตนเองเพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบจากฝุ่นละอองในอากาศ(วิธีป้องกันควันไฟอ่านเพิ่มเติมภายในเล่ม)

กลับมาพบกันอีกครั้งกับจดหมายข่าว วิทย์-แพทย์ ปีที่ 4 ฉบับที่ 2/2556 ประจำาเดือนมกราคม 2556 - มีนาคม 2556 ตลอดช่วง

เวลานี้มีกิจกรรมต่างๆ มากมายทั้งภายในและภายนอกคณะ ซึ่งได้ดำาเนินการไปได้ด้วยดี ทางทีมงานจึงขอรวบรวมเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น

เพื่อถ่ายทอดให้ผู้สนใจได้รับข้อมูลข่าวสารของคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ครบถ้วน รวมทั้งเป็นสื่อกลางในการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่าง

บุคลากร เจ้าหน้าที่ และนิสิตทั้งเก่าและใหม่ของคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์อีกด้วยครับ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ท่านผู้อ่านจะได้รับข้อมูลที่เป็น

ประโยชน์ครับ

คณะกรรมการดำาเนินงาน1.นายณฐกร คำาแก้ว ประธานกรรมการ

2.นางสาวหทัยชนก ชมพูพื้น กรรมการ

3.นายอานนท์พัดเกิด กรรมการ

4.นางสาวจุฑามาศ เทพมาลี กรรมการ

5.นางสาวนิจติยา สุวรรณสม กรรมการ

6.นายกฤษณะ คู่เทียม กรรมการ

7.นางสาวกฤษณา พุกอินทร์ กรรมการ

8.นางสาวอัจฉราภรณ์ อ่อนตะวงศ์ กรรมการและเลขานุการ

บรรณาธิการ

นายณฐกรคำาแก้วและนางสาวอัจฉราภรณ์ อ่อนตะวงศ์

สารบัญสารจากบรรณาธิการ

สารจากคณบดี

กิจกรรมเคลื่อนไหววิทย์-แพทย์

-ม.พะเยายำ้าจุดยืนเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาวิชาการแก้ไขปัญหา

ไข้เลือดออกระดับนานาชาติสู่ชุมชน

-คณาจารย์คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์คว้ารางวัลจากงานพะเยาวิจัย

ครั้งที่2

-ต้อนรับทีมงานศึกษาดูงานจากคณะแพทยศาสตร์ม.เชียงใหม่

-อธิการบดีและคณะผู้บริหารพบบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์

-โครงการระลึกคุณอาจารย์ใหญ่

-คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ม.พะเยาเข้าร่วมประชุมMSAAM

-ออกค่ายวิทย์-แพทย์อาสา’56

-โครงการทบทวนแผนยุทธศาสตร์แผนกลยุทธ์ปี2554-2557ครั้งที่3

เกร็ดความรู้และงานวิจัย

-คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้รับทุนสนับสนุนงานวิจัยสูงเป็น

ประวัติการณ์

-เกร็ดความรู้“กระดูกดีด้วยอาหาร”

-วิธีป้องกันตนเองจากควันไฟป่า

-งานวิจัย“ประโยชน์ต่อสุขภาพของใบมะรุม”

สัมภาษณ์นักวิจัยดีเด่น

-บทสัมภาษณ์นักวิจัยดีเด่นดร.วาทิตาผจญภัย

Page 2: สารจากบรรณาธิการ · 2013-04-01 · ในการนี้ดร. เนติ เงินแพทย์ ได้กล่าวต้อนรับคณะผู้เยี่ยมชม

สารจากคณบดี

สวัสดีทุกคนครับ

ในต้นปี2556หรือในระยะ3เดือนที่ผ่านมานี้มีหลายข่าวดีๆที่น่าสนใจภายในคณะหลายข่าวท่านคงหาอ่านได้ในข่าวสารฉบับนี้ผม

ขอนำาบางข่าวเด่นเกี่ยวกับการวิจัยภายในคณะมาเสนอวิจารณ์เพิ่มเติมในคอลัมน์นี้ด้วย

คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์มีคำาขวัญว่า“วิชาการก้าวไกลวิจัยและพัฒนาเพื่อสุขภาวะของชุมชน”เพื่อกระตุ้นการวิจัยและการตีพิมพ์

ผลงานวิจัยในวารสาร การยกย่องและเป็นการให้ขวัญกำาลังใจ ดังนั้น ในตอนปลายปี คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์จึงมีนโยบายและมีการเลือกนัก

วิจัยดีเด่นของคณะประจำาปีซึ่งในปี2555นักวิจัยดีเด่น1คนคืออ.ดร.วาทิตาผจญภัยสาขาสรีรวิทยาที่ได้ส่งเรื่องตีพิมพ์มากกว่า10เรื่องจึง

ได้รับเงินรางวัลอย่างงามจากมหาวิทยาลัยและคณะฯก็ได้มีการมอบรางวัลแสดงความยินดีพร้อมกับนำาบทสัมภาษณ์ดร.วาทิตามาเผยแพร่ใน

สารฉบับนี้ด้วยนอกจากนี้ทางคณะฯยังได้มอบรางวัลสาขาวิจัยดีเด่นให้แก่สาขาชีวเคมีและสาขาจุลชีววิทยาและปรสิตวิทยาที่มีนักวิจัยในสาขา

ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยรวมกันในปี 2555-56 สูงมากจนทำาให้เงินทุนวิจัยภายในคณะต่อจำานวนอาจารย์มีค่าเฉลี่ยมากกว่า 5 หมื่นบาทต่อ

อาจารย์1คนและสามารถผ่านเกณฑ์ของการประกันคุณภาพการวิจัยโดยได้รับคะแนนเต็ม5คะแนน

ข่าวที่น่าภูมิใจเกี่ยวกับการวิจัยของคณะอีกเรื่องหนึ่งคือในวันที่17-18มกราคม2556มีงานประชุมทางวิชาการระดับชาติพะเยาวิจัย

ครั้งที่2เรื่อง“นักวิจัยกับการพัฒนาประเทศ”พบว่าจากจำานวนผู้เสนอผลงานในรูปแบบปากเปล่าในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพทั้งหมด23เรื่อง

ปรากฏว่าอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้รับคัดเลือกการเสนอผลงานวิจัยดีเด่นถึง2รางวัลสำาหรับการนำาเสนอผลงานในรูปแบบโปสเตอร์

ในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพทั้งหมด8เรื่องปรากฏว่าผลการคัดเลือกการเสนอผลงานวิจัยดีเด่นอีก2รางวัล(อ่านเพิ่มเติมภายในเล่ม)เราหวังว่า

ในงานประชุมทางวิชาการระดับชาติพะเยาวิจัยครั้งที่ 3 และครั้งต่อไป ก็จะมีนักวิจัยได้รับรางวัลทั้งการเสนอในรูปแบบปากเปล่าและในรูป

โปสเตอร์ทุกครั้งไปเช่นกัน

ข่าวดี ๆ ที่เรามีส่วนร่วมในการเรียนการสอนระดับปรีคลินิกของคณะฯ และควรร่วมภูมิใจด้วยอีกข่าวหนึ่ง เมื่อกลางเดือนที่ผ่านมานี้เอง

คือนิสิตแพทย์(แนวใหม่)ชั้นปีที่3คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยพะเยา100%สอบผ่านการสอบประเมินและรับรองความรู้ความสามารถใน

การประกอบวิชาชีพเวชกรรม ขั้นตอนที่ 1 ณ ศูนย์สอบมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผลปรากฏว่า นิสิตทั้งหมดของเราสามารถสอบผ่านได้ครบทั้งหมด

(100%)จากข่าวดีนี้ผมขอแสดงยินดีกับนิสิตแพทย์ผู้เป็นศิษย์และอาจารย์ผู้สอนและเจ้าหน้าที่ซึ่งเกี่ยวข้องในการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎีและ

ภาคปฏิบัติสาขาวิชากายวิภาคศาสตร์ชีวเคมีสรีรวิทยาจุลชีววิทยาและปรสิตวิทยาและพยาธิวิทยาอย่างไรก็ตามนิสิตแพทย์จะต้องผ่านการสอบ

ประเมินและรับรองความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมอีก 2 ขั้นตอน และขออวยพรและหวังว่านิสิตแพทย์ทั้งหมดจะประสบ

ความสำาเร็จอย่างดีเช่นกัน

ข่าวสำาคัญล่าสุดสำาหรับศิษย์เก่าในปีกลายคือข่าวการกำาหนดการรับพระราชทานปริญญาบัตรของมพ.ในวันที่10มกราคม2557แล้ว

ครับทุกคนสามารถติดตามข่าวสารนี้จากทางมหาวิทยาลัยได้ตลอดเวลาที่http://www.up.ac.thและผมหวังว่าเราคงได้พบกันอีกในวันซ้อมคืน

วันสู่เหย้าและวันรับปริญญาในต้นปีหน้านะครับ

เหลือไม่กี่วันก็จะถึงวันสงกรานต์ในปีนี้แล้วครับ ในนามของคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ ผมขอส่งความปรารถนาดีล่วงหน้ามายัง

คณาจารย์บุคลากรและบรรดาศิษย์เก่าในคณะต่างๆของมพ.หวังว่าปีใหม่ไทยซึ่งเป็นปีทุกท่านและครอบครัวคงจะมีความสุขสบายดีสุขภาพดี

และมีความเจริญและก้าวหน้าในชีวิตนะครับ

27มีนาคม2556

ศาสตราจารย์เกียรติคุณดร.ไมตรีสุทธจิตต์

คณบดีคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ม.พะเยา

Email:maî[email protected]

Page 3: สารจากบรรณาธิการ · 2013-04-01 · ในการนี้ดร. เนติ เงินแพทย์ ได้กล่าวต้อนรับคณะผู้เยี่ยมชม

กิจกรรมเคลื่อนไหว วิทย์-แพทย์

มหาวิทยาลัยพะเยา ยำ้าจุดยืน เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาวิชาการ แก้ไขปัญหาไข้เลือดออก

ระดับนานาชาติสู่ชุมชน

ภาพคณะผู้จัดงานและวิทยากรจากหลายประเทศผู้เข้ารวมสัมมนาวิชาการ

เมื่อวันที่17-18มกราคม2556มหาวิทยาลัยพะเยาได้จัดงานTheFristInternationalConferenceDengueFeverSituationand

Its Control ด้วยความร่วมมือกันของหลายภาคส่วน อาทิ คณะเภสัชศาสตร์ นำาโดย รศ.ดร.ภญ.บุษบง จำาเริญดารารัศมี คณะวิทยาศาสตร์

การแพทย์นำาโดยศาสตราจารย์เกียรติคุณดร.ไมตรีสุทธจิตต์และคณาจารย์สาธารณสุขจังหวัดพะเยาโรตารีสากลภาค3360และอีกหลายภาค

ส่วนของมหาวิทยาลัยพะเยา ได้ผนึกกำาลังร่วมการจัดงานนี้ขึ้น ภายใต้คำาขวัญ “กำาจัดก่อนกัด (Fight the Bite)” ซึ่งได้รับความสนใจจากทั้งนัก

วิชาการในประเทศและต่างประเทศโดยมีการจัดกิจกรรมประชุมวิชาการนานาชาติเกี่ยวกับเชื้อไวรัสไข้เด็งกี(Denguefevervirus)หรือที่รู้จักกัน

คือไข้เลือดออกซึ่งมียุงลายเป็นพาหะสำาคัญในการแพร่เชื้อไวรัสชนิดนี้นั่นเอง นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการรณรงค์ปกกันการแพร่

ระบาดของไข้เลือดออกอาทิเช่นการประกวดผลงานของนิสิตทั้งหนังสั้นโปสเตอร์วิชาการเรียงความภาษาอังกฤษการจัดสวนสมุนไพรไล่ยุงลาย

เป็นต้น ซึ่งมีผู้สนใจร่วมเข้าประกวดทั้งนิสิตภายนอกและภายในมหาวิทยาลัยพะเยาและบุคคลภายนอกด้วย บรรยากาศภายในการเต็มไปด้วย

ความสนุกสนานและได้รับความรู้ไปพร้อมๆ กันจากการได้แลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการจากนานาประเทศที่เข้าร่วมประชุม โดยในการเปิดงานได้

รับเกียรติ จากอธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. มณฑล สงวนเสริมศรี ร่วมทั้งกล่าวปิดงานและมอบรางวัลในการประกวด

สาขาต่างๆให้แก่ผู้ได้รางวัลด้วยและก่อนปิดงานท่านอธิการบดียังมอบของที่ระลึกให้กับผู้ร่วมงานและผู้ร่วมจัดโครงการในครั้งนี้ด้วย

TheFristInternationalConferenceDengueFeverSituationandItsControlร่วมถ่ายภาพเป็นที่ระลึก

อธิการบดีและคณะผู้บริหารพบบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์

เมื่อวันที่30มกราคม2556ศาสตราจารย์พิเศษดร.มณฑลสงวนเสริมศรีอธิการบดีดร.สำาราญทองแพงรองอธิการบดีฝ่ายวางแผน

และพัฒนาเดินทางมาที่คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์เพื่อตรวจเยี่ยมและติดตามผลการดำาเนินงานของคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ณห้องบรรยาย

SC 4201 คณะวิทยาศาสตร์ โดยมีศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ไมตรี สุทธจิตต์ คณะผู้บริหารและบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ให้การต้อนรับ

ทั้งนี้ทั้งสองท่านได้กล่าวสรุปการทำางานของคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยในส่วนของการปรับภูมิทัศน์ทางด้านหน้าของมหาวิทยาลัยเพ่ือเตรียมงาน

พิธีพระราชทานปริญญาบัตรในวันที่ 10มกราคม2557และยังตอบข้อซักถามของคณะผู้บริหารและบุคลากรของคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์อีก

ด้วย ซึ่งการตรวจเยี่ยมในครั้งนี้ยังเป็นการสร้างขวัญและกำาลังใจแก่คณะผู้บริหารและบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์เป็นอย่างมาก ทางคณะ

บุคลากรคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ต้องขอขอบพระคุณมาณโอกาสนี้ด้วยค่ะ

Page 4: สารจากบรรณาธิการ · 2013-04-01 · ในการนี้ดร. เนติ เงินแพทย์ ได้กล่าวต้อนรับคณะผู้เยี่ยมชม

กิจกรรมเคลื่อนไหว วิทย์-แพทย์

ต้อนรับทีมงานศึกษาดูงานจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ในวันที่ 25 มกราคม 2556 ที่ผ่านมา คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยพะเยา ซึ่งนำาโดย ดร. เนติ เงินแพทย์ รองคณบดี

ฝ่ายบริหาร คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ และคณาจารย์ในสาขาจุลชีววิทยาและปรสิตวิทยา ร่วมต้อนรับ ผศ. นพ. ชุมพล สกลวสันต์ หัวหน้า

ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และทีมงาน ในการเข้าเยี่ยมชมคณะฯเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และปรึกษา

หารือเกี่ยวกับความร่วมมือด้านการเรียนการสอน การประกันคุณภาพการศึกษาและการวิจัย ตลอดไปจนถึงการเข้าเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการและ

ห้องวิจัยของคณะฯ

ในการนี้ ดร. เนติ เงินแพทย์ ได้กล่าวต้อนรับคณะผู้เยี่ยมชม ตลอดไปจนถึงกล่าวถึงประวัติ ภารกิจ และการจัดการการเรียนการสอน

ของคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยพะเยาตลอดไปจนถึงกิจกรรมที่คณะฯ ได้ดำาเนินการ เช่นบริการด้านวิชาการแก่ชุมชน จากนั้น

ผศ. นพ. ชุมพล สกลวสันต์ และคณะ ได้แลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ในหลายๆ ด้าน อาทิเช่น การวิจัย การบริการวิชาการ การประกัน

คุณภาพ การเรียนการสอนระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษา สำาหรับช่วงบ่ายทางทีมงานจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้

ประชาสัมพันธ์หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาแก่นิสิตสาขาวิชาจุลชีววิทยาชั้นปีที่4และในช่วงท้ายของการเข้าศึกษาดูงานครั้งนี้เป็นการแลกเปลี่ยน

ประสบการณ์ความรู้ความชำานาญของอาจารย์จากทั้งสองมหาวิทยาลัย ในด้านการจัดการการเรียนการสอนในรายวิชาที่สาขาวิชาจุลชีววิทยาและ

ปรสิตวิทยาเปิดบริการให้กับนิสิตในคณะฯและนิสิตคณะอื่นๆ

ออกค่ายวิทย์-แพทย์ อาสา ’56

เมื่อวันที่8มีนาคมพ.ศ.2556ที่ผ่านมาอ.จิตรกุลสุวรรณเจริญผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการนิสิตได้เดินทางนำาชาวคณะวิทย์-แพทย์ไปออก

ค่ายวิทย์-แพทย์อาสา’56ณโรงเรียนบ้านแม่พริกต.หนองหล่มอ.ดอกคำาใต้จ.พะเยาวัตถุประสงค์ของโครงการนี้เพื่อให้นิสิตมีจิตใจที่เป็นอาสา

รู้จักการแบ่งปัน การบำาเพ็ญประโยชน์ มีความสามัคคี รู้จักการประสานงานและการทำางานร่วมกันเป็นหมู่คณะ อีกทั้งยังเป็นการประยุกต์ใช้ความ

รู้จากห้องเรียนมาใช้ในการให้บริการทางสุขภาพ เช่น การตรวจหาพยาธิในเด็กเล็กของนิสิตสาขาจุลชีววิทยาและการให้ความรู้ทางด้านโภชนาการ

ของนิสิตสาขาโภชนาการและโภชนบำาบัด การออกค่ายครั้งนี้ได้นำาสิ่งของที่ได้รับบริจาคจากอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนิสิตคณะวิทยาศาสตร์การ

แพทย์ม.พะเยามาให้แก่น้องๆสร้างความดีอกดีใจให้แก่ทั้งคุณครูและนักเรียนเป็นอย่างมากนอกจากนี้ยังมีกิจกรรมต่างๆมากมายเพื่อสร้างเสียง

หัวเราะและรอยยิ้มให้แก่น้องๆ เช่นกิจกรรมสันทนาการการเล่นเกม วาดภาพระบายสี การเลี้ยงอาหารกลางวัน ทาสีโรงอาหารและการทำาฝ้า

เพดานห้องสมุดเป็นต้นซึ่งในการมาครั้งนี้ของพวกเราก็ได้รับการต้อนรับจากนายสุรศักดิ์อินสีชื่นผู้อำานวยการโรงเรียนบ้านแม่พริกและคุณครูทุก

ท่านเป็นอย่างดีทำาให้พวกเราคณะวิทย์-แพทย์รู้สึกมีความสุขใจและความปลาบปลื้มใจสุดท้ายนี้คุณครูและน้องๆยังแอบกระซิบบอกพวกเราว่า

“ปีหน้าให้มาเยี่ยมกันใหม่น๊า และขอให้มีกิจกรรมดีๆ แบบนี้ต่อๆไป จ้า……..” การออกค่ายสำาเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีก็เกิดมาจากการร่วมมือร่วมใจ

ของเราชาววิทย์-แพทย์นั่นเอง

Page 5: สารจากบรรณาธิการ · 2013-04-01 · ในการนี้ดร. เนติ เงินแพทย์ ได้กล่าวต้อนรับคณะผู้เยี่ยมชม

กิจกรรมเคลื่อนไหว วิทย์-แพทย์

คณาจารย์คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ คว้ารางวัลจาก งานพะเยาวิจัยครั้งที่ 2

มหาวิทยาลัยพะเยาจัดงานประชุมทางวิชาการระดับชาติพะเยาวิจัยครั้งที่2“นักวิจัย

กับการพัฒนาประเทศ”เมื่อวันที่17-18มกราคม2556ณอาคารเทคโนโลยีสารสนเทศและการ

สื่อสารมหาวิทยาลัยพะเยาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดให้คณาจารย์นักวิจัยจากสถาบันต่างๆ

และภาคส่วนอื่นๆได้นำาเสนอผลงานวิจัยและรวมตัวเป็นเครือข่ายเพื่อพัฒนาวิชาการ

มหาวิทยาลัยพะเยาได้เปิดรับการนำาเสนอผลงานวิจัยระดับชาติแบ่งออกเป็น3กลุ่ม

คือ1.กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ2.กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี3.กลุ่มสาขา

มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์โดยคณาจารย์จากคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ร่วมส่งผลงาน

เข้าร่วมในกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อนำาเสนอในรูปแบบปากเปล่าและโปสเตอร์ซึ่งได้คว้ารางวัลจากการนำาเสนอผลงานในครั้งนี้ได้แก่

ประเภทการนำาเสนอผลงานรูปแบบปากเปล่า (Oral presentation)

1)อาจารย์ดร.ชลธิดา เทพหินลัพสาขาชีวเคมี ได้รับรางวัล“ชนะเลิศอันดับ1”การนำาเสนอผลงานรูปแบบปากเปล่าในเรื่อง“ความ

สามารถในการลดระดับนำ้าตาลกลูโคสลดระดับไขมันและต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดข้าวแดงและข้าวดำาในหนูทดลองที่เป็นเบาหวาน”

2)อาจารย์อัจฉราภรณ์ อ่อนตะวงศ์ สาขาสรีรวิทยา ได้รับรางวัล“รองชนะเลิศอันดับ1”การนำาเสนอผลงานรูปแบบปากเปล่าในเรื่อง

“ผลของสารสกัดสาหร่ายเตา(Spirogyraneglecta)ในการป้องกันไตในหนูขาวที่มีภาวะเบาหวานชนิดที่2”

ประเภทการนำาเสนอผลงานรูปแบบโปสเตอร์ (Poster presentation)

1) อาจารย์ณฐกร คำาแก้ว สาขาสรีรวิทยา ได้รับรางวัล “ชนะเลิศอันดับ 1” การนำาเสนอผลงานรูปแบบโปสเตอร์ในเรื่อง “ฤทธิ์ทาง

เภสัชวิทยาของสมุนไพรพรมมิและสารสำาคัญต่อระบบหัวใจร่วมหลอดเลือดในหนู”

3)อาจารย์นุชจรีย์ภรณ์ทองรอดสาขากายวิภาคศาสตร์ ได้รับรางวัล“รองชนะเลิศอันดับ1”นำาเสนอผลงานรูปแบบโปสเตอร์ในเรื่อง

“ผลกระทบของแคดเมียมต่อการเปลี่ยนแปลงทางจุลกายวิภาคศาสตร์ในรกหญิงตั้งครรภ์”

Page 6: สารจากบรรณาธิการ · 2013-04-01 · ในการนี้ดร. เนติ เงินแพทย์ ได้กล่าวต้อนรับคณะผู้เยี่ยมชม

โครงการระลึกคุณอาจารย์ใหญ่

“...............หากกล่าวถึงพระคุณอาจารย์ใหญ่ ที่ยอมพลีกายให้นักศึกษา

ได้เรียนรู้เพื่อไห้เกิดปัญญา เห็นคุณค่าหากได้มีโอกาสเรียน………”

นี่เป็นเพียงบทกลอนตอนหนึ่งของนิสิตสาขาเวชกิจฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์ ที่เรียบเรียงกล่าวไว้อาลัยอาจารย์ใหญ่เป็นครั้งสุดท้ายก่อน

นำาร่างอาจารย์ใหญ่ไปพระราชทานเพลิงศพ และยังมีอีกหลายกาพย์กลอนจากนิสิตทุกสาขาวิชา จากหลายคณะที่มาเข้าร่วมพิธีระลึกคุณอาจารย์

ใหญ่ ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการของคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่จัดขึ้นหลังเสร็จสิ้นการเรียนการสอนของสาขาวิชากายวิภาคศาสตร์ เพื่อให้นิสิตได้

ระลึกถึงพระคุณของอาจารย์ใหญ่ที่ทำาให้นิสิตทุกสาขาวิชาได้รู้แจ้งเห็นจริงถึงมหกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ ซึ่งไม่มีตำาราหรือหนังสือเรียนเล่มใด

เทียบเท่าได้

โครงการนี้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 1มีนาคม2556 เริ่มตั้งแต่เวลา08.30น.ณห้องปฏิบัติการกายวิภาคศาสตร์ ในช่วงแรกเป็นพิธีทางศาสนา

คือการทำาบุญอุทิศส่วนกุศลให้แด่อาจารย์ใหญ่ทุกท่านโดยมีศ.เกียรติคุณดร.ไมตรีสุทธจิตต์คณบดีคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์เป็นประธานในพิธี

หลังสิ้นสุดพิธีทางศาสนาจะเป็นพิธีการกล่าวไว้อาลัยและกราบขอขมาร่างอาจารย์ใหญ่ โดยให้ตัวแทนนิสิตแต่ละสาขาวิชาของแต่ละคณะมากล่าว

ไว้อาลัยและให้นิสิตกราบขอขมาร่างอาจารย์ใหญ่เป็นครั้งสุดท้ายหลังเสร็จสิ้นการเรียนการสอนก่อนนำาร่างอาจารย์ใหญ่ไปเข้าพิธีพระราชเพลิงศพ

เป็นกรณีพิเศษณมหาวิทยาลัยขอนแก่นต่อไป

กิจกรรมเคลื่อนไหว วิทย์-แพทย์

Page 7: สารจากบรรณาธิการ · 2013-04-01 · ในการนี้ดร. เนติ เงินแพทย์ ได้กล่าวต้อนรับคณะผู้เยี่ยมชม

คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ ม.พะเยา เข้าร่วมประชุม MSAAM

ณ คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ ม.นเรศวร

เมื่อวันที่4-5กุมภาพันธ์พ.ศ.2556ดร.ธิดาไชยวังศรีรองคณบดีฝ่ายวิจัยและประกันคุณภาพและดร.ณภัทรศรีรักษารองคณบดี

ฝ่ายวิชาการและกิจการนิสิต คณาจารย์ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ประจำาคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ นำานิสิตชั้นปีที่ 3 และ 4 สาขาจุลชีววิทยา คณะ

วิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยพะเยา จำานวน 15 คน เข้าร่วมประชุมวิชาการและนำาเสนอผลงานวิจัยประจำาปี 2556 (Medical Science

AcedemicAnnualMeeting2013หรือMSAAMครั้งที่3)ณคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์มหาวิทยาลัยนเรศวรจังหวัดพิษณุโลก

การประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างโอกาสให้นิสิตได้นำาเสนอและเผยแพร่ผลงานวิจัยจากโครงการศึกษาอิสระหรือการฝึกงาน รวม

ถึงสร้างเครือข่ายวิชาการและการวิจัยกับนิสิต อาจารย์ทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ อีกทั้งยังเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากร

จากภายในคณะและต่างสถาบัน อันได้แก่ คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยพะเยา คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

และคณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยรังสิต

โดยการประชุมครั้งนี้ คณาจารย์จากคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยพะเยาได้ร่วมเป็นกรรมการในการตัดสินการนำาเสนอ

ผลงาน และนิสิตชั้นปีที่ 4 สาขาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยพะเยา ได้ร่วมนำาเสนอผลงานทั้งแบบปากเปล่าและแบบ

โปสเตอร์ ผลการนำาเสนอผลงานของนิสิตดังกล่าว ได้รับรางวัลชมเชยการนำาเสนอผลงานวิจัยแบบโปสเตอร์ทั้งสิ้น 4 คน ได้แก่ นางสาวฐิตาภา

สมวะเวียงนายกิตติศักดิ์มงคลนางสาวนงลักษณ์เจนวิถีและนางสาวอัยลดาสมศรี

นอกจากนี้ ยังมีกีฬาเชื่อมความสามัคคีด้วยการแข่งขันวอลเลย์บอล เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างนิสิต อาจารย์ และบุคลากรชิงถ้วยรางวัลชนะ

เลิศจากอธิการบดี มหาวิทยาลัยนเรศวร ศาสตราจารย์ ดร.สุจินต์ จินายน ซึ่งผลการแข่งขันครั้งนี้ มหาวิทยาลัยพะเยา ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ

ลำาดับที่1

ในการเข้าร่วมการประชุมวิชาการในครั้งนี้ สามารถตอบสนองต่อแผนยุทธศาสตร์ของคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ ในด้านการพัฒนาการ

จัดการเรียนการสอนและการผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพ และด้านการวิจัยที่เน้นการสร้างปัญญารวมหมู่ ทั้งนี้ ได้ประสบความสำาเร็จเป็นอย่างดี

ด้วยความร่วมมือจากนิสิต อาจารย์ และเจ้าหน้าที่คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยพะเยา และขอขอบพระคุณ รศ.ดร.เสมอ ถาน้อย

คณบดีคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ที่ให้การสนับสนุนในเรื่องงบประมาณของคณะกรรมการ และให้การต้อนรับอย่างดีมา

ณโอกาสนี้

กิจกรรมเคลื่อนไหว วิทย์-แพทย์

Page 8: สารจากบรรณาธิการ · 2013-04-01 · ในการนี้ดร. เนติ เงินแพทย์ ได้กล่าวต้อนรับคณะผู้เยี่ยมชม

โครงการทบทวนแผนยุทธศาสตร์ แผนกลยุทธ์ ปี 2554-2557 ครั้งที่ 3

เพื่อให้สอดคล้องกับการจัดทำาแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยทางคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์นำาโดยดร.เนติเงินแพทย์ได้จัด

ทำาโครงการทบทวนแผนยุทธศาสตร์แผนกลยุทธ์ปี2554-2557ครั้งที่3และแผนปฏิบัติการประจำาปี2556ณอุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อนจังหวัด

ลำาปางในวันที่18-19มีนาคมที่ผ่านมาเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัยพะเยาทั้ง5ด้านคือด้านการเรียนการสอนด้านการวิจัย

ด้านการบริการทางวิชาการด้านทำานุบำารุงศิลปะและวัฒนธรรมและด้านการบริหาร

โครงการดังกล่าวได้รับเกียรติจากศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ไมตรี สุทธจิตต์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์เป็นประธานในพิธีเปิด

โครงการวัตถุประสงค์ในการจัดโครงการครั้งนี้ก็เพื่อทบทวนติดตามประเมินผลการดำาเนินตามแผนยุทธศาสตร์ของคณะฯประจำาปีงบประมาณ

2556และเพื่อให้บุคลากรทุกคนทราบถึงหน้าที่และความรับผิดชอบของตนเองเพื่อให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยพะเยานอกจากนี้

ยังส่งเสริมความสัมพันธ์อันดี ความสามัคคีและความปรองดองระหว่างบุคลากรในคณะฯ โดยเน้นกระบวนการที่มีส่วนร่วมและความเห็นพ้องต้อง

กันตามนโยบายเป้าหมายและทิศทางของมหาวิทยาลัย

โดยได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากทั้งผู้บริหาร คณาจารย์และเจ้าหน้าที่ในการระดมความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ เพื่อทบทวนและ

พัฒนาแผนกลยุทธ์ทำาให้โครงการสามารถสำาเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ได้ด้วยดี

กิจกรรมเคลื่อนไหว วิทย์-แพทย์

Page 9: สารจากบรรณาธิการ · 2013-04-01 · ในการนี้ดร. เนติ เงินแพทย์ ได้กล่าวต้อนรับคณะผู้เยี่ยมชม

คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้รับทุนสนับสนุนงานวิจัยสูงเป็นประวัติการณ์

เพื่อให้งานวิจัยของคณะฯมีความเข้มแข็งและก้าวหน้ามากขึ้นคณะฯจึงได้แต่งตั้งให้ดร.พยุงศักดิ์ตันติไพบูลย์

วงศ์ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริการวิชาการแก่สังคมมาช่วยงานด้านการวิจัยของคณะฯอีกหนึ่งด้านโดยให้ดร.พยุงศักดิ์ดูแลรับ

ผิดชอบในส่วนที่เกี่ยวกับการบูรณาการงานวิจัยกับงานด้านบริการวิชาการ และการบูรณาการงานวิจัยกับการการเรียน

การสอน

ในระยะปี 2555-56 นี้ คณะ ฯ ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากแหล่งทุนวิจัยภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย

รวมกันมากกว่า3.5ล้านบาทนับว่าสูงมากเป็นประวัติการณ์ของคณะดังนี้

อาจารย์ในคณะ ฯ มีโครงการวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนประมาณแผ่นดิน จากสำานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ประจำาปี

งบประมาณ2556จำานวน3โครงการวิจัยดังนี้

1.เรื่องความชุกของเชื้อแลคติกแอสิดแบคทีเรียและการผลิตเอนไซม์ไกลคอซิเดสของเชื้อแลคติกแอสิดแบคทีเรียที่แยกจากอุจจาระเด็ก

ทารกงบประมาณ157,500บาทโดยมีอ.ดร.ธิดาไชยวังศรีเป็นหัวหน้าโครงการ

2.เรื่องการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ปลาหมัก(ปลาส้ม)โดยใช้จุลินทรีย์คัดเลือกเป็นกล้าเชื้องบประมาณ231,660บาทโดยมีอ.ดร.ศิริลักษณ์

สันพาเป็นหัวหน้าโครงการ

3.เรื่องพัฒนาการสร้างโมเดลสำาหรับกระบวนการนำาเสนอแอนติเจนของเชื้อไวรัสเอดส์ที่แยกจากผู้ป่วยโรคเอดส์ในจังหวัดพะเยา

งบประมาณ270,000บาทโดยมีอ.ศักดิ์ชัยสุดชะดาเป็นหัวหน้าโครงการ

นอกจากนี้ระยะปี2555-56คณะฯยังได้รับงบประมาณสนับสนุนเงินวิจัยจากแหล่งทุนภายนอกอีกจำานวน4โครงการวิจัยคือ

1. โครงการวิจัยเรื่อง Effect of Curcumin on Toxicity of Haptoglobin Polymophisms in Diabetes Mellitus Related

β-Thalassemiaได้รับทุนสนับสนุนจากทุนพัฒนาศักยภาพในการทำางานของอาจารย์รุ่นใหม่สำานักงานสนับสนุนการวิจัย(สกว.)ประจำาปี2555

จำานวนเงิน480,000บาทโดยมีอ.ดร.ชลธิดาเทพหินลัพเป็นหัวหน้าโครงการ

2.โครงการวิจัยเรื่องผลของกระบวนการหุงต้มต่อปริมาณของสารประกอบฟีนอลลิกรวมอนุพันธุ์ของวิตามินอีและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ

ในข้าวแดงและผลของข้าวแดงที่สุกแล้วต่อสภาวะเครียดออกซิเดชั่นในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ได้รับทุนสนับสนุนจากสำานักงานพัฒนาการวิจัย

การเกษตร(สวก.)จำานวนเงิน2,211,968บาทโดยมีอ.ดร.พยุงศักดิ์ตันติไพบูลย์วงศ์เป็นหัวหน้าโครงการ

3. โครงการวิจัยเรื่อง การพัฒนาคุณภาพของครีมเปลือกเมล็ดมะขามของกลุ่มแม่บ้านตำาบลหนองหล่มอำาเภอดอกคำาใต้ จังหวัดพะเยา

จากเครือข่ายบริหารงานวิจัยภาคเหนือตอนบน สำานักงานการอุดมศึกษา จำานวนเงิน 100,000 บาท โดยมี อ. ดร.ภัคสิริ สินไชยกิจ เป็นหัวหน้า

โครงการ

4.โครงการวิจัยเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์นำ้าจิ้มสุกี้จากกากกระเทียมที่หมักด้วยเชื้อโพรไบโอติกในชุมชนต.บ้านถำ้าอ.ดอกคำาใต้จ.พะเยา

ได้รับทุนสนับสนุนจากเครือข่ายบริหารงานวิจัยภาคเหนือตอนบน สำานักงานการอุดมศึกษาหัวหน้าโครงการ : จำานวนเงิน 100,000 บาท โดยมี

อ.จุฑามาศเทพมาลีเป็นหัวหน้าโครงการ

จากโครงการวิจัยทั้งหมด 7 โครงการทำาให้คณะได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยรวมเท่ากับ 3,551,128 บาท ทำาให้คณะฯ ต้องได้รับงบ

ประมาณสนับสนุนการวิจัยจำานวนเกิน50,000บาท/อาจารย์1คนดังนั้นในปีการศึกษา2555-56จะทำาให้เกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษา

ในด้านวิจัย ของคณะได้รับคะแนนเต็ม 5 เราจึงขอแสดงความยินดีต่อนักวิจัยทุกคน และมีความมั่นใจว่า ในปีต่อ ๆ ไป คณะฯ ควรจะได้รับงบ

ประมาณสนับสนุนการวิจัยในจำานวนรวมเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีอาจารย์ปัจจุบันร่วมมือกันในการทำาวิจัยและมีอาจารย์ที่จบปริญญาเอกกลับมา

ทำางานมากขึ้น

เกร็ดความรู้และงานวิจัย

Page 10: สารจากบรรณาธิการ · 2013-04-01 · ในการนี้ดร. เนติ เงินแพทย์ ได้กล่าวต้อนรับคณะผู้เยี่ยมชม

ประโยชน์ต่อสุขภาพของใบมะรุมอาจารย์ศุภชัย เจริญสิน

สาขาวิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์

มะรุมเป็นพืชที่อยู่คู่กับคนไทยมานานกว่า100ปีนิยมปลูกไว้เพื่อใช้เป็นพืชอาหารและยาพื้นบ้าน(traditionalmedicine)สามารถพบ

มะรุมได้ทุกภูมิภาคโดยทางภาคเหนือเรียกว่า“มะค้อนก้อม”ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกว่า“ผักอีฮุม”ภาคตะวันตกเรียก“กาแน้งเดิง”หรือ

เรียกว่า“ผักเนื้อไก่” ในจังหวัดแถบตะเข็บชายแดนพม่ามะรุมเป็นพืชที่กำาลังได้รับความสนใจอย่างมากในกลุ่มผู้รักสุขภาพในจดหมายข่าวฉบับนี้

จึงขอเอาคุณค่าทางโภชนาการของใบมะรุมมาเล่าสู่กันฟังครับ

มีการรายงานถึงคุณค่าทางโภชนาการของมะรุมโดยเปรียบเทียบระหว่างฝักใบสดและใบแห้งของมะรุมปริมาณ100กรัมพบว่ามะรุม

อุดมไปด้วยแร่ได้แก่แคลเซียมแมกนีเซียมฟอสฟอรัสโพแทสเซียมทองแดงเหล็กและกัมมะถันและไวตามินได้แก่ไธอะมีน(ไวตามินบี1)ไร

โบฟลาวิน(ไวตามินบี2)กรดนิโคตินิก(ไวตามินบี3)และกรดแอสคอร์บิก(ไวตามินซี)ที่จำาเป็นต่อกระบวนการต่างๆภายในร่างกายและมีโทโคฟี

รอล (tocopherol) และเบตา-คาโรทีน (β-carotene)ที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระได้ นอกจากนี้ยังมีกรดอะมิโนจำาเป็นถึง 10 ชนิดที่ร่างกายต้องการ

สำาหรับการเจริญเติบโตรวมถึงพัฒนาการที่สมวัยของเด็ก(ตารางที่1)จากการเปรียบเทียบคุณค่าทางอาหารของใบมะรุมกับอาหารชนิดอื่นพบว่า

ใบมะรุมมีไวตามินเอมากกว่าแครอทมีแคลเซียมมากกว่าน้ำานมมีธาตุเหล็กมากกว่าผักโขมมีไวตามินซีมากกว่าส้มและมีโปแตสเซียมมากกว่ากล้วย

เป็นต้น(ตารางที่2)

เกร็ดความรู้และงานวิจัย

Page 11: สารจากบรรณาธิการ · 2013-04-01 · ในการนี้ดร. เนติ เงินแพทย์ ได้กล่าวต้อนรับคณะผู้เยี่ยมชม

ด้วยคุณค่าทางอาหารที่ครบถ้วนของมะรุมจึงมีการส่งเสริมให้รับประทานมะรุมเพื่อใช้ป้องกันและรักษาภาวะทุพโภชนาการ (malnutri-

tion) การศึกษาในกลุ่มตัวอย่างประชากรของประเทศเซเนกัล โดยให้หญิงตั้งครรภ์รับประทานใบมะรุมตากแห้งเพื่อเสริมการรับประทานอาหาร

ตามปกติ พบว่าบุตรที่คลอดออกมามีน้ำาหนักตัวเพิ่มขึ้น และมารดาฟื้นตัวจากภาวะโลหิตจาง (anemia) อันเนื่องมาจากขาดธาตุเหล็กได้เร็ว ใน

ประเทศฟิลิปปินส์มะรุมหรือMalunggayถูกขนานนามว่าmother’sbestfriendเพราะสามารถช่วยกระตุ้นการสร้างน้ำานมในหญิงระยะให้นม

บุตร(lactation)และรักษาอาการโลหิตจางใบแห้งขนาด8กรัมเพียงพอสำาหรับความต้องการในแต่ละวันของเด็กช่วงอายุ1-3ปีเพราะมีโปรตีน

แคลเซียมและธาตุเหล็กร้อยละ14,40และ23และไวตามินเอใบ100กรัมสามารถให้ปริมาณแคลเซียมถึงหนึ่งในสามที่ผู้หญิงต้องการในแต่วัน

อีกทั้งให้ธาตุเหล็กโปรตีนทองแดงกำามะถันและไวตามินบี

นอกเหนือจากคุณค่าทางโภชนาการแล้ว ใบมะรุมยังถือว่าเป็นแหล่งของสารต้านอนุมูลอิสระจากธรรมชาติที่หารับประทานได้ง่าย พบว่า

ในใบจะมีทั้งไวตามินซี ไวตามินอีและสารในกลุ่มฟลาโวนอยด์โดยเฉพาะเควอเซติน (quercetin)และแคมเฟอรอล (kaempferol)อยู่ในปริมาณ

สูงสารเหล่านี้จะช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์จากการถูกทำาลายโดยอนุมูลอิสระนอกจากนี้ยังพบว่าสารฟลาโวนอยด์ในใบมะรุมยังช่วยเพิ่มการ

ทำางานของเอนไซม์กำาจัดสารก่อมะเร็ง ด้วยเหตุนี้การบริโภคแกงส้มฝักและใบมะรุมรวมถึงผลิตภัณฑ์ชาชงอาจช่วยลดอนุมูลอิสระในร่างกายและ

ป้องกันความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งได้อีกทางหนึ่ง

ท้ายนี้เมื่อท่านผู้อื่นได้ทราบถึงคุณค่าทางโภชนาการและประโยชน์ต่อสุขภาพของใบมะรุมที่ไม่แพ้ผักหรือผลไม้ต่างประเทศ ประกอบกับ

การหาบริโภคได้ง่ายในบ้านเราจึงอยากเชิญชวนให้ท่านผู้อ่านหันมารับประทานมะรุมเพื่อการส่งเสริมสุขภาพกันครับ

เอกสารอ้างอิง

1.CharoensinS,WoongpoomchaiR.EffectofaqueousextractofMoringaoleifera leavesonquinone reductase

activity.NaresuanPhayaoJ2012;5(3):343-51.

2.CharoensinS,WongpoomchaiR.MutagenicandantimutagenicactivitiesofaqueousextractofMoringaoleifera

leaves.ThaiJToxicol2010;25(2):96-103.

3.PandeyA,PradheepK,GuptaR,NayarE,BhandariD.‘Drumsticktree’(MoringaoleiferaLam.):amultipurpose

potentialspeciesinIndia.GeneticResourcesandCropEvolution.2011;58(3):453-60.

4.AnwarF,LatifS,AshrafM,GilaniAH.Moringaoleifera:afoodplantwithmultiplemedicinaluses.PhytotherRes.

2007Jan;21(1):17-25.

5.FaheyJW.Moringaoleifera:Areviewofthemedicalevidencefor itsnutritional, therapeuticandprophylactic

properties.Part1.2005.

เกร็ดความรู้และงานวิจัย

Page 12: สารจากบรรณาธิการ · 2013-04-01 · ในการนี้ดร. เนติ เงินแพทย์ ได้กล่าวต้อนรับคณะผู้เยี่ยมชม

เกร็ดความรู้ “กระดูก” ดี ด้วยอาหาร

โรคที่เกี่ยวข้องกับกระดูกไม่ว่าจะเป็นกระดูกพรุนเกาต์รูมาตอยด์ข้อกระดูกเสื่อมหรือข้อกระดูกอักเสบจะเกิดขึ้นตอนอายุมากจึงถูก

มองว่าเป็นโรคที่มีความสัมพันธ์กับผู้สูงอายุแต่รู้หรือไม่ว่าเราสามารถชะลอความเสื่อมของกระดูกซึ่งเป็น“โครงสร้าง”ของร่างกายได้ด้วยอาหารที่

มีประโยชน์ไม่ว่าจะอายุเท่าใดก็ตาม

ระบบกระดูกมีความสำาคัญต่อร่างกายโดยทำาหน้าที่ดังต่อไปนี้

-ป้องกันอันตรายให้แก่อวัยวะภายใน

-เป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อและเอ็น

-เป็นคานในการเคลื่อนไหว

-สร้างเม็ดเลือดโดยไขกระดูกในกระดูก

-เป็นที่สะสมของแร่ธาตุได้แก่แคลเซียมและฟอสฟอรัส

โดยกระดูกจะมีการสร้างเนื้อกระดูกใหม่ตลอดเวลาและดึงแคลเซียมมา

เก็บสะสมไว้แต่พออายุ35ปีขึ้นไปกระดูกจะหยุดเจริญเติบโตและเริ่มมีการสูญเสียมวลกระดูกซึ่งอาจนำาไปสู่โรคกระดูกพรุนได้โดยไม่มีอาการ

ใดๆทั้งสิ้นแต่อาจจะโผล่มาตอนกระดูกหักไปแล้วกระดูกที่หักได้ง่ายจากโรคกระดูกพรุนคือกระดูกสะโพกกระดูกสันหลังและกระดูกข้อมือ

กลุ่มเสี่ยงและปัจจัยเร่ง

กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อโรคกระดูกพรุนคือสตรีวัยหมดประจำาเดือนหรือมีอายุมากกว่า50ปีขึ้นไปเนื่องจากการลดลงของฮอร์โมนเอส

โตรเจนซึ่งทำาหน้าที่ช่วยรักษามวลกระดูกส่วนกระดูกพรุนในผู้ชายสูงอายุจะเกิดขึ้นตอนอายุประมาณ 75 ปีขึ้นไป สำาหรับปัจจัยที่เป็นตัวเร่งให้เกิด

การสูญเสียมวลกระดูกคือ

-เคยกระดูกหักในวัยผู้ใหญ่

-สูบบุหรี่

-มีนำ้าหนักตัวน้อย

-รับประทานยาบางตัวที่เร่งให้เกิดการสูญเสียมวลกระดูก

-เป็นโรคลำาไส้

-ดื่มสุราหนัก

-บริโภคอาหารที่มีแคลเซียมและวิตามินดีไม่เพียงพอ

อาหารที่เป็นมิตรกับกระดูก

สำาหรับอาหารที่จะช่วยชะลอการสูญเสียมวลกระดูกได้แก่

-อาหารที่มีแคลเซียมสูงอาทินมพร่องไขมันนมถั่วเหลืองชนิดเสริมแคลเซียมเนยแข็งหรือชีส

ปลาเล็กปลาน้อยปลาซาร์ดีน

งาดำาผักใบเขียว

-อาหารที่มีวิตามินดีสูงอาทิปลาไข่แดงเห็ด

-อาหารที่มีแมกนีเซียมสูงอย่างผักใบเขียวถั่วธัญพืชต่างๆ

-เต้าหู้ถั่วเหลืองที่มีทั้งโปรตีนและกรดไขมันโอเมก้า3ซึ่งจะทำางานร่วมกันและลดการสลาย

ของกระดูก

อาหารที่ไม่เป็นมิตรกับกระดูก

สำาหรับอาหารและเครื่องดื่มที่เป็นตัวเร่งการสูญเสียแคลเซียมได้แก่

-นำ้าอัดลมสีดำา

-อาหารเค็มจัด

-การกินเนื้อสัตว์ในปริมาณมากโดยเฉพาะผู้ที่ใช้วิธีลดนำ้าหนักโดยเน้นกินโปรตีนสูงและคาร์โบไฮเดรตตำ่า

-เครื่องดื่มที่มีกาเฟอีนโดยเฉพาะกาแฟ

เกร็ดความรู้และงานวิจัย

Page 13: สารจากบรรณาธิการ · 2013-04-01 · ในการนี้ดร. เนติ เงินแพทย์ ได้กล่าวต้อนรับคณะผู้เยี่ยมชม

การดูแลข้อต่อ

ข้อต่อ คือ ส่วนต่างๆ ของร่างกายที่สามารถพับได้ทั้งหัวเข่า

ข้อศอก นิ้ว หัวไหล่ สะโพกโดยบริเวณข้อต่อจะมีกระดูกชิ้นเล็กๆเส้น

เอ็นและนำ้าหล่อเลี้ยงในบริเวณที่เชื่อมต่อระหว่างกระดูกใหญ่ซ่ึงเม่ืออายุ

มากขึ้น นำ้าหล่อเลี้ยงจะลดน้อยลง ทำาให้การเคลื่อนไหวของข้อต่อเกิด

การติดขัดไม่ราบรื่นเหมือนเช่นเคยบางรายอาจจะรู ้สึกเจ็บเหมือน

กระดูก2ชิ้นมาชนกันซึ่งหากทิ้งเอาไว้จะทำาให้เกิดการอักเสบได้โดยข้อ

ต่อที่ถูกใช้งานและเป็นที่ที่เกิดการบาดเจ็บมากที่สุดคือหัวเข่าเพราะต้อง

แบกรับนำ้าหนักร่างกายทั้งตัว ยิ่งถ้ามีนำ้าหนักตัวเพิ่มขึ้น ตอนสูงอายุหัว

เข่าที่ถูกใช้งานมานานก็จะต้องทำางานหนักมากขึ้นตามไปด้วยฉะน้ันจึง

ควรควบคุมนำ้าหนักให้อยู่ในระดับที่พอดีหากมีนำ้าหนักเกินก็ควรลดนำ้า

หนักลงมาเพื่อลดการเสื่อมของข้อเข่านอกจากนี้เรายังช่วยชะลอความ

เสื่อมของหัวเข่าและข้อต่ออื่นๆ

ด้วยอาหารเหล่านี้

- อาหารที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 อย่างเช่น ปลาทะเล ถั่ววอลนัท

นำ้ามันถั่วเหลือง สาหร่ายทะเล อะโวคาโดและนำ้ามันที่ให้กรดไขมันที่ดี

ต่อสุขภาพ อย่างนำ้ามันมะกอกซึ่งอาหารที่มีไขมันสูงเหล่านี้จะทำาหน้าที่

เหมือนนำ้ามันหล่อลื่นของข้อต่อโดยกรดไขมันโอเมก้า 3 ยังทำาหน้าที่ลด

การอักเสบภายในร่างกายได้ด้วยจึงแนะนำาให้บริโภคปลาที่ไม่ทอด

สัปดาห์ละ 2-3 ครั้งแต่ถ้าไม่ชอบรับประทานปลาควรเสริมด้วยนำ้ามัน

ปลาประมาณ2,000มิลลิกรัมต่อวัน

- อาหารที่มีวิตามินซีสูงซึ่งอยู่ในผักและผลไม้สดหลายชนิดอย่างเช่น

ฝรั่ง เพราะวิตามินซีมีส่วนช่วย ในกระบวนการซ่อมแซม เป็นสารต้าน

อนุมูลอิสระ รวมถึงยังมีงานวิจัยใหม่ๆ ที่แสดงให้เห็นว่าวิตามินซีมีส่วน

ช่วยป้องกันการสูญเสียมวลกระดูกและการเสื่อมของกระดูกข้อต่อต่างๆ

ที่มีสาเหตุจากอายุที่มากขึ้นได้ด้วย

ขอบคุณข้อมูลจาก

http://www.healthtoday.net

เกร็ดความรู้และงานวิจัย

Page 14: สารจากบรรณาธิการ · 2013-04-01 · ในการนี้ดร. เนติ เงินแพทย์ ได้กล่าวต้อนรับคณะผู้เยี่ยมชม

“วิธีป้องกันควันไฟป่า”

“ไฟป่า”พิบัติภัยที่เกิดจากการเผาไหม้ของเศษวัสดุกิ่งไม้และใบไม้แห้งที่ทับถมกันอยู่ในป่าแต่ปัจจุบันไฟป่าทั้งหมดเกิดจากการกระทำา

ของมนุษย์ทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจ ผลจากไฟป่าทำาให้สภาพป่าถูกทำาลาย ที่เลวร้ายยิ่งกว่าคือ หมอกและควันที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและก่อให้เกิด

ทัศนวิสัยที่เลวร้ายมีผลต่อการจราจรทั้งทางบกและทางอากาศในช่วงเดือนที่ผ่านมามหาวิทยาลัยของเราตกอยู่ท่ามกลางหมอกควันจากไฟป่าซึ่ง

ส่งผลให้บุคลากรในคณะของเราเกิดความเจ็บป่วยจากการสูดดมควันพิษจากไฟป่าทางกองบรรณาธิการขอให้ผู้อ่านทุกท่านดูแลรักษาสุขภาพโดย

การป้องกันและการดูแลตนเองเพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบจากฝุ่นละอองในอากาศดังต่อไปนี้

1.หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีหมอกควันหรือฝุ่นละออง

2.ถ้าจำาเป็นต้องอยู่ในสถานที่ที่มีหมอกควันหรือฝุ่นละอองควรใช้หน้ากากอนามัยชนิดกรอง3ชั้นปิดปากและจมูก

3.ควรเปลี่ยนหน้ากากอนามัยทุกวันและถ้าเป็นไปได้ควรใช้แบบครั้งเดียวทิ้งเพื่อสุขลักษณะที่ดี

4.เพื่อล้างฝุ่นละอองที่ติดอยู่ในโพรงจมูกควรล้างรูจมูกทั้งสองข้างด้วยนำ้าสะอาดเสมอโดยก้มหน้าในนำ้าและสูดลมการหายใจให้นำ้าทาง

จมูกให้เข้าไปลึกที่สุดแล้วพ่นปล่อยนำ้าออกมาทำาซำ้าอีก3-5ครั้งอย่างต่อเนื่องเช้าเย็นประจำา

5.หากจำาเป็นต้องอยู่ในสถานที่ที่มีฝุ่นละอองติดต่อกันยาวนานเช่นเกินกว่าสัปดาห์หรือเดือนควรเตรียมความพร้อมด้านการกรอง

อากาศในที่อยู่อาศัยเช่นติดระบบกรองอากาศในบ้านซึ่งจะช่วยลดผลกระทบของฝุ่นต่อร่างกายได้โดยเลือกใช้ระบบกรองอากาศที่เหมาะสมและ

สามารถถอดล้างได้

6. ในระยะยาว สำาหรับบริเวณพื้นที่ว่างเปล่า ควรปลูกพืชคลุมหน้าดินไว้ หรือรดนำ้าไปบนพื้นดิน และต้นไม้ประจำาเพื่อลดโอกาสที่ฝุ่น

ละอองจะลอยฟุ้งขึ้นมาในอากาศได้

7. สำาหรับ ผู้ที่มีโรคประจำาตัวเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด โรคความดัน โรคระบบทางเดินหายใจ โรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด

ควรเตรียมยาประจำาตัวให้พร้อมและพกติดตัวเพื่อป้องกันและใช้รักษาเมื่ออาการกำาเริบ

8.หากมีอาการผิดปกติเช่นหายใจลำาบากแน่นหน้าอกควรรีบพบแพทย์ที่โรงพยาบาลหรือสถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้า

(อ้างอิงจากwww.bangkokbiznews.com/.)

เกร็ดความรู้และงานวิจัย

Page 15: สารจากบรรณาธิการ · 2013-04-01 · ในการนี้ดร. เนติ เงินแพทย์ ได้กล่าวต้อนรับคณะผู้เยี่ยมชม

สัมภาษณ์นักวิจัยดีเด่น คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์

ประจำาปี 2555 ดร. วาทิตา ผจญภัย

ในปี2558ประเทศไทยและประเทศในกลุ่มอาเซียนจะร่วมกันจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(ASEAN

EconomicCommunityหรือAEC)ซึ่งส่งผลให้กลุ่มประเทศอาเซียนจะต้องมีความกระตือรือร้นในการพัฒนาทั้ง

ทางด้านสังคมเศรฐกิจและการศึกษาให้ทัดเทียมกับนานาประเทศการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรทางการศึกษา

เป็นสิ่งที่สำาคัญเป็นอย่างยิ่งนอกเหนือไปจากงานสอนแล้วอาจารย์ยังต้องทำางานวิจัยเพื่อเป็นการพัฒนาตนเองและ

นำาองค์ความรู้นั้นมาใช้ในการเรียนการสอน และยังสามารถนำาไปพัฒนาชุมชน และประเทศชาติเพื่อเตรียมตัวก้าว

เข้าสู่AECอีกด้วยในครั้งนี้ทีมงานได้รับเกียรติจากอ.ดร.วาทิตาผจญภัยสาขาวิชาสรีรวิทยาคณะวิทยาศาสตร์

การแพทย์มหาวิทยาลัยพะเยาซึ่งในปีที่ผ่านมาได้มีการตีพิมพ์ผลงานวิจัยกว่า10ฉบับจากวารสารทั้งในและต่าง

ประเทศเลยทีเดียวมาให้สัมภาษณ์ค่ะ

ผู้สัมภาษณ์:ทราบว่าในปีที่ผ่านมาอ.ดร.วาทิตาได้มีการตีพิมพ์งานวิจัยกว่า

10ฉบับส่วนใหญ่เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับอะไรคะ

ดร.วาทิตา:งานวิจัยที่พี่ทำานั้นจะเกี่ยวข้องกับการศึกษาดูฤทธิ์พืชสมุนไพรพื้น

บ้านของไทย ว่ามีผลต่อระบบการทำางานของร่างกาย เราอย่างไร นอกจาก

นั้นยังศึกษาวิจัยและพัฒนาการแพทย์ทางเลือก แบบบูรณาการ โดยใช้วิธี

แบบผสมผสานเพื่อป้องกันบำาบัดรักษาโรคและอาการทางระบบสมองและ

ประสาท

ผู้สัมภาษณ:์ในระหว่างการทำางานวิจัยอาจารย์พบอุปสรรคอะไรบ้างคะ

ดร.วาทิตา: อุปสรรคที่พบก็จะเป็นเรื่องของอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ รวมถึง

สารเคมีที่ใช้ในการทำาวิจัยต้องยอมรับว่าทางสาขาสรีรวิทยาม.พะเยาของเรา

ยังมีไม่พร้อมโชคดีมากค่ะที่พี่ได้รับโอกาสจากรศดรจินตนาภรณ์วัฒนธร

หัวหน้าศูนย์วิจัยเฉพาะทางการแพทย์ทางเลือกแบบบูรณาการ (Integrative

Complementary Alternative Medicine Research Center; ICAM)

และดำารงตำาแหน่งหัวหน้าภาคสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย

ขอนแก่นที่ได้ให้ความกรุณาชวนพี่เข้าเป็นสมาชิกการทำาวิจัยของกลุ่มICAM

ปัญหาอุปสรรคในเรื่องเหล่านี้พี่จึงแก้ไขก้าวข้ามผ่านพ้นไปได้ค่ะ

ผู้สัมภาษณ:์ อาจารย์มีเคล็ดลับยังไงคะถึงทำาให้มีผลงานตีพิมพ์งานวิจัยออก

มาอย่างต่อเนื่อง

อ.ดร.วาทิตา:อดทนอดกลั้นและอดนอนค่ะ

ผู้สัมภาษณ:์ ทราบว่าอาจารย์มีลูกเล็กๆถึง 2 คน อาจารย์แบ่งเวลาในการ

ทำางานและให้กับครอบครัวยังไงคะ

ดร.วาทิตา: หลักการแบ่งเวลาง่ายๆ คือ พยายามสะสางงานให้เสร็จภายใน

ชั่วโมงการทำางานท่ีมหาวิทยาลัยเมื่อกลับบ้านน่ันคือเวลาของแม่กับลูกเท่านั้น

พี่จะเข้านอนเร็วค่ะประมาณสองทุ่ม จะหลับพร้อมลูกๆ แล้วจะตื่นขึ้นมาหลัง

เที่ยงคืนเพื่อสะสางงานที่ค้างอยู่ แล้วจะไปหลับอีกครั้งประมาณตีสี่ ตื่นนอน

ประมาณ หกโมงครึ่ง เตรียมอาหารเช้า อาบน้ำา แต่งตัวให้เด็กๆ ขับรถไปส่ง

ที่โรงเรียน บ่ายสามก็ขับรถกลับไปรับลูกทั้งสองคน เตรียมอาหารเย็น อาบ

น้ำาแต่งตัวให้ลูก เล่น สอนการบ้านเหมือนแม่คนอื่นๆ ไม่ได้แตกต่างจากใคร

เพียงแต่ปรับวงจรการนอนหลับให้เข้ากับลูกและสามารถทำางานได้ด้วยก็แค่

นั้นเองค่ะ

ผู้สัมภาษณ:์ในปีหน้า(พ.ศ.2556)อาจารย์มีเป้าหมายในการทำาวิจัยอย่างไร

บ้างคะ

ดร.วาทิตา:เป้าหมายในการทำาวิจัยที่สำาคัญของพี่ในอันดับแรกก็คือพยายาม

เบิกวัสดุอุปกรณ์ เครื่องแก้วรวมถึง สารเคมี ที่สำาคัญๆที่ต้องใช้ในการทำาการ

ทดลองวิจัย ภายใต้งบประมาณที่เรามีอย่างจำากัด ซึ่งตอนนี้สาขาสรีรวิทยา

ก็ได้มีอุปกรณ์เหล่านี้เพียงพอที่จะทำาการทดลองได้อย่างไรก็ตามเราก็คงต้อง

ขอความอนุเคราะห์ ความร่วมมือการขอยืมใช้วัสดุ ครุภัณฑ์ อุปกรณ์ อื่นๆที่

สำาคัญซึ่งทางสรีรวิทยายังขาดแคลนจากสาขาต่างๆภายในคณะวิทยาศาสตร์

การแพทย์ไม่ว่าจะเป็นชีวเคมี จุลชีววิทยาหรือกายวิภาคศาสตร์ถ้าเราได้

รับความร่วมมือ การช่วยเหลือจากสาขาต่างๆ การทำาวิจัยก็น่าจะเป็นรูปเป็น

ร่างมากขึ้นค่ะ

ส่วนเป้าหมายที่สองที่ต้องทำาควบคู่กันไป คือการหาแหล่งเงินทุน

ในการทำาวิจัย ข้อนี้ก็สำาคัญมากๆๆ เช่นเดียวกัน ซึ่งเป้าหมายในข้อนี้จะทำา

สำาเร็จได้หรือไม่นั้น คงไม่ได้อาศัยความสามารถของพี่เพียงคนเดียว แต่ต้อง

อาศัยความรู้ ความสามารถของ อาจารย์ทุกท่านภายในสาขาช่วยกันระดม

ความคิด ความสามารถ ในการหาแหล่งเงินทุนในการทำาวิจัยในรูปแบบต่างๆ

รวมถึงการได้รับความสนับสนุน การทำาวิจัยจาก ท่านคณบดี อาจารย์ไมตรี

ด้วยค่ะเป้าหมายนี้จึงจะสำาเร็จ

เป้าหมายสุดท้าย (ในปีนี้) คือการสร้างสรรค์งานวิจัย ตีพิมพ์ผล

งานวิจัย ในวารสารต่างประเทศออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยผลงานที่ออกมายัง

คงออกมาในรูปของความร่วมมือกับกลุ่มICAMของม.ขอนแก่นอยู่ค่ะ

ผู้สัมภาษณ์ :อาจารย์มีความคิดเห็นต่องานวิจัยของนักวิจัยไทยในปัจจุบัน

อย่างไรบ้างคะ

ดร.วาทิตา: งานวิจัยของไทยในปัจจุบันนี้ถือได้ว่าก้าวหน้าขึ้นมากกว่าเดิม

ลักษณะงานวิจัยจะเป็นงานทางด้านการประยุกต์และปรับใช้ได้จริงในสังคม

ไทยมากขึ้นแต่ความอิสระในการหาแหล่งทุนทำาวิจัยยังต้องขึ้นอยู่กับนโยบาย

เศรษฐกิจของประเทศเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นตัวชี้นำาของกรอบวิจัยที่ควรจะทำา

ในสถานการณ์ช่วงนั้นๆ

ผู้สัมภาษณ์ : ท้ายนี้ผู้สัมภาษณ์อยากขอให้อาจารย์ ช่วยให้คำาแนะนำาแก่นัก

วิจัยรุ่นใหม่เพื่อเป็นแนวทางแก่นักวิจัยรุ่นต่อๆไปค่ะ

ดร.วาทิตา: จริงๆ แล้ว พี่ไม่กล้าพูดว่า พี่สามารถให้คำาแนะนำาแก่นักวิจัยท่า

นอื่นๆได้เพราะตัวพี่ก็ยังเหมือนนักวิจัยอายุน้อยๆ(แม้ว่าอายุจะไม่น้อยแล้ว

ก็ตาม) ที่เพิ่งจะเริ่มหัดตั้งไข่ ยังไม่เริ่มก้าวเดินด้วยซ้ำา แต่มีสิ่งที่พี่อยากฝาก

น้องๆ ไว้ว่า คนเรา ไม่ว่าจะเก่งกาจสามารถ แค่ไหนก็ตาม ก็ไม่สามารถที่จะ

อยู่ เติบโต หรือก้าวเดินในวงการวิจัยได้เพียงลำาพัง พี่เชื่อว่าการที่เราจะก้าว

เดินต่อไปในเส้นทางการทำาวิจัยนั้นต้องอาศัย ความช่วยเหลือ การสนับสนุน

จากผู้คนหลายฝ่าย หลายระดับ หลายองค์กร ถ้าเราได้รับสิ่งต่างๆเหล่านี้

หนทางหรือเส้นทางการทำาวิจัยของเราแม้ก้าวแรกอาจยังไม่สวยงามไม่มั่นคง

มากนัก แต่เราก็ยังสามารถทรงตัว ประคับประคองให้เรามีก้าวที่สอง ที่สาม

และก้าวต่อๆไปเรื่อยๆจนถึงจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ค่ะและที่สำาคัญเมื่อเราถึงจุด

มุ่งหมายที่ตั้งใจไว้จงอย่าลืมตัวอย่าลืมว่าความสำาเร็จต่างๆที่ได้มามิได้เกิด

จากเราเพียงคนเดียว แต่เกิดจากความร่วมมือ ร่วมใจของคนหลายๆฝ่ายช่วย

กันเราต้องตอบแทนการช่วยเหลือนั้นๆตามสมควรและโอกาสค่ะ

สัมภาษณ์นักวิจัยดีเด่น

Page 16: สารจากบรรณาธิการ · 2013-04-01 · ในการนี้ดร. เนติ เงินแพทย์ ได้กล่าวต้อนรับคณะผู้เยี่ยมชม

ดร.นิคมนาคสุพรรณ

ปร.ด.(เภสัชศาสตร์)

อาจารย์สาขาจุลชีววิทยาและปรสิตวิทยา

[email protected](กลับจากการลาศึกษาต่อ)

อาจารย์สรวิชญ์อุปคุตฆ์

วท.ม.(ปรสิตวิทยา)

อาจารย์สาขาจุลชีววิทยาและปรสิตวิทยา

[email protected](กลับจากการลาศึกษาต่อ)

ดร.ธีรภัทรศรีรัตนโชติ

ปร.ด.(วิทยาศาสตร์ชีวภาพ)

อาจารย์สาขาชีวเคมี

[email protected](กลับจากการลาศึกษาต่อ)

นายสุวัฒน์ศักดิ์ด่านศักดิ์ดา

วท.ม.(เทคโนโลยีชีวภาพ)

นักวิทยาศาสตร์สาขาโภชนาการและโภชบำาบัด

[email protected]

นางสาวรัตนาใจบุญ

วท.บ.(เทคโนโลยีชีวภาพ)

นักวิทยาศาสตร์สาขาโภชนาการและโภชบำาบัด

[email protected]

แนะนำาบุคลากรใหม่