เทคโนโลยีสารสนเทศ ชั้น...

6
ชั้นประถมศึกษาปีท่ ๓ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ เทคโนโลยีสารสนเทศ ชั้น ป.๓ บริษัท มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ เทคโนโลยี จำกัด Media Intelligence Technology Co.,Ltd. ผู้เรียบเรียง รุ่งทิวา ศิรินารารัตน์ ผู้ตรวจ พัฒพงษ์ อมรวงศ์ วิวัฒน์ สุวนันทวงศ์ นฤชิต แววศรีผ่อง บรรณาธิการ วิเชียร วิสุงเร หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน

Upload: others

Post on 02-Sep-2019

2 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓

กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี

ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑

เทคโนโลยีสารสนเทศชั้น ป.๓

บริษัท มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ เทคโนโลยี จำกัดMedia Intelligence Technology Co.,Ltd.

ผู้เรียบเรียง รุ่งทิวา ศิรินารารัตน์

ผู้ตรวจ พัฒพงษ์ อมรวงศ์

วิวัฒน์ สุวนันทวงศ์

นฤชิต แววศรีผ่อง

บรรณาธิการ วิเชียร วิสุงเร

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน

เทคโนโลยีสารสนเทศ ชั้น ป. ๓พิมพ์ครั้งที่ ๑

จำนวน ๕,๐๐๐ เล่ม

ผู้เรียบเรียง

รุ่งทิวา ศิรินารารัตน์

ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓

กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี

ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑

ราคา ๔๙ บาท

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติ

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ

รุ่งทิวา ศิรินารารัตน์

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน ชั้น ป. ๓

-ปทุมธานี : มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ เทคโนโลยี, ๒๕๕๙. ๘๘ หน้า.

๑. เทคโนโลยีสารสนเทศ I. ชื่อเรื่อง

ISBN 978-974-7319-14-8

จัดพิมพ์และจัดจำหน่ายโดย

บริษัท มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ เทคโนโลยี จำกัด

Media Intelligence Technology Co.,Ltd.

๔๙/๘๓ หมู่ ๗ ต.คลองสอง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ๑๒๑๒๐

www.mitmedia.com E-mail : [email protected]

ออกแบบ : KanomDesign Studio พิมพ์ที่ : ไทเนรมิตกิจ อินเตอร์โปรเกรสซีฟ

คำนำ

กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เป็นกลุ่มสาระที่ช่วย

พัฒนาให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต

และรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง สามารถนำความรู้เกี่ยวกับการดำรงชีวิต การ

อาชีพ และเทคโนโลยี มาประยุกต์ใช้ในการทำงานอย่างมีความคิดสร้างสรรค์

และแข่งขันในสังคมไทยและสากล เห็นแนวทางในการประกอบอาชีพ รักการ

ทำงานและมีเจตคติที่ดีต่อการทำงาน สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างพอ

เพียงและมีความสุข

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ กำหนดให้

ผู้เรียนศึกษาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓

โดยมีเนื้อหาครอบคลุมเกี่ยวกับเรื่อง การค้นหาข้อมูล การนำเสนอข้อมูล และ

การใช้งานและดูแลรักษาอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน เทคโนโลยีสารสนเทศ ชั้น ป.๓ เล่มนี้

ได้จัดทำขึ้นโดยสอดคล้องกับหลักสูตรดังกล่าว ซึ่งผู้จัดทำมุ่งหวังที่จะให้เป็น

แนวทางแก่ครูผู้สอนและนักเรียนได้ใช้ประกอบการเรียนการสอน อันจะนำไปสู่

การพัฒนาคุณภาพการศึกษาและสรรค์สร้างเยาวชนของชาติให้เป็นผู้มีความ

รอบรู้ในวิทยาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างแท้จริง

รุ่งทิวา ศิรินารารัตน์

[email protected]

สารบัญ

คำนำ 3

สารบัญ 5

หน่วยที่ 1 การค้นหาข้อมูล 7

การกำหนดหัวข้อที่ต้องการค้นหา 9

การเลือกแหล่งข้อมูล 10

การเตรียมอุปกรณ์ 14

การค้นหาและรวบรวมข้อมูล 16

การพิจารณาข้อมูล 19

การสรุปผล 20

กิจกรรมประจำหน่วยที่1 20

คำถามประจำหน่วยที่1 21

หน่วยที่ 2 การนำเสนอข้อมูล 22

การนำเสนอข้อมูลหน้าชั้นเรียน 24

การจัดทำเอกสารรายงาน 27

การจัดทำป้ายประกาศ 32

การจัดทำสื่อนำเสนอด้วยคอมพิวเตอร์ 35

การทำสื่อนำเสนอด้วยโปรแกรมไมโครซอฟต์ ออฟฟิศ เวิร์ด (Word) 35

การทำสื่อนำเสนอด้วยโปรแกรมไมโครซอฟต์ ออฟฟิศ เพาเวอร์พอยต์

(PowerPoint) 49

กิจกรรมประจำหน่วยที่2 62

คำถามประจำหน่วยที่2 62

หน่วยที่ 3 การใช้งานและดูแลรักษาอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ 63

ศึกษาและปฏิบัติตามขั้นตอนการใช้งานอุปกรณ์ 65

เทคโนโลยีสารสนเทศคอมพิวเตอร์

ขั้นตอนการใช้งานคอมพิวเตอร์ 65

ขั้นตอนการใช้งานเครื่องพิมพ์ (Printer) 68

โทรศัพท์และโทรศัพท์เคลื่อนที่ 71

วิทยุและโทรทัศน์ 74

กล้องถ่ายภาพดิจิทัลและกล้องดิจิทัลวีดิโอ 75

การปฏิบัติตามระเบียบการใช้งานและการดูแลรักษาอุปกรณ์ 78

เทคโนโลยีสารสนเทศ

การดูแลรักษาคอมพิวเตอร์ 78

เครื่องพิมพ์หรือพริ้นเตอร์ 80

โทรศัพท์และโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือมือถือ 82

โทรทัศน์ 83

กิจกรรมประจำหน่วยที่3 87

คำถามประจำหน่วยที่3 87

บรรณานุกรม 88

7 หน่วยที่ 1 • การค้นหาข้อมูล

หน่วยที่

การค้นหาข้อมูล1

สาระสำคัญ การค้นหาข้อมูลอย่างมีขั้นตอน

จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. บอกขั้นตอนการค้นหาข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยการกำหนดหัวข้อที่

ต้องการค้นหา การเลือกแหล่งข้อมูล การเตรียมอุปกรณ์ การค้นหาและรวบรวม

ข้อมูล การพิจารณา และการสรุปผลได้

ผังมโนทัศน์ หน่วยที่ 1

การกำหนดหัวข้อที่ต้องการค้นหา

การค้นหาและรวบรวมข้อมูล

การค้นหาข้อมูล

การสรุปผล การเลือกแหล่งข้อมูล

การเตรียมอุปกรณ์การพิจารณา

8 เทคโนโลยีสารสนเทศ ชั้น ป. 3 9 หน่วยที่ 1 • การค้นหาข้อมูล

การค้นหาข้อมูลเป็นกระบวนการสืบค้นหรือแสวงหาข้อมูลจากแหล่ง

ขอ้มลูตา่งๆ เพือ่ใหไ้ดข้อ้มลูตรงตามความตอ้งการในปรมิาณทีม่ากและมคีณุภาพ

เพียงพอ

การค้นหาข้อมูลจึงเป็นวิธีการที่จะช่วยให้ได้มาซึ่งข้อมูล ข่าวสาร หรือ

ข้อเท็จจริง ซึ่งสามารถจะนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ได้

การค้นหาข้อมูลมีประโยชน์ต่อการเรียนรู้ เพราะความรู้ที่ได้จากการ

ค้นหาข้อมูลนั้นเป็นความรู้ที่ถูกต้องตามความเป็นจริงมากที่สุด โดยได้ผ่าน

กระบวนการสืบค้นอย่างมีหลักการหรือมีกฎเกณฑ์ที่สามารถพิสูจน์ได้

การค้นหาข้อมูลอย่างถูกวิธีประกอบด้วยขั้นตอนสำคัญ 6 ขั้นตอน

ดังต่อไปนี้

1. การกำหนดหัวข้อที่ต้องการค้นหา

การกำหนดหัวข้อที่ต้องการค้นหาเป็นการคิดและระบุถึงหัวเรื่องหรือ

ขอบเขตของข้อมูลที่ต้องการค้นหา เพื่อนำไปสู่กระบวนการค้นหาข้อมูลได้อย่าง

รวดเร็วและตรงเป้าหมาย

การกำหนดหัวข้อควรจำกัดขอบเขตของเนื้อหา เพื่อทำการค้นคว้าข้อมูล

ได้เฉพาะเจาะจง เช่น ค้นคว้าเรื่อง คอมพิวเตอร์ ขอบเขตเนื้อหา คือ ฮาร์ดแวร์

ควรระบุหัวข้อที่ต้องการค้นหาให้เจาะจงลงไป เช่น ซีพียู เป็นต้น

การกำหนดหัวข้อที่ชัดเจนช่วยให้การค้นหาข้อมูลทำได้ง่าย รวดเร็ว และ

ได้ข้อมูลตรงตามความต้องการโดยไม่ต้องเสียเวลาในการคัดแยกข้อมูลที่ไม่

จำเป็นอื่นๆ

ตัวอย่างการกำหนดหัวข้อที่เหมาะสม

คอมพิวเตอร์ ระบุหัวข้อที่ต้องการค้นหา ซอฟต์แวร์ประมวลผลคำ

นิทาน ระบุหัวข้อที่ต้องการค้นหา นิทานชาดก

ดนตรี ระบุหัวข้อที่ต้องการค้นหา ดนตรีไทย

กีฬา ระบุหัวข้อที่ต้องการค้นหา ฟุตบอล

วัฒนธรรม ระบุหัวข้อที่ต้องการค้นหา การแสดงโขน

โดยปกติการค้นหาข้อมูลจะต้องเริ่มจากเรื่องที่ผู้ค้นคว้าสนใจหรือได้รับ

มอบหมายโดยอาจเป็นเรื่องที่กำลังได้รับความสนใจของคนในสังคมในขณะนั้น

และต้องการค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อนำมาสรุปผลเผยแพร่เป็นความรู้แก่

ผู้อื่นต่อไป

เช่น เมื่อครั้งที่โรคไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ 2009 เริ่มระบาดใหม่ๆ คนทั่ว

โลกตื่นตระหนกและหวาดกลัวมาก ข้อมูลเกี่ยวกับโรคดังกล่าวก็ยังมีน้อย จึง

จำเป็นต้องค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับโรคให้ได้มากที่สุดเพื่อนำมาเผยแพร่ให้กับ

ผู้สนใจ

หัวข้อที่ต้องการค้นหาควรกำหนดว่า “โรคไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ 2009”

2. การเลือกแหล่งข้อมูล

แหล่งข้อมูล หมายถึง สิ่งที่เป็นต้นกำเนิดของข้อมูล หรือ เป็นที่มาของ

ข้อมูล การค้นหาข้อมูลสามารถเลือกแหล่งที่มาของข้อมูล ได้ 2 แหล่ง คือ แหล่ง

ข้อมูลทางตรงและแหล่งข้อมูลทางอ้อม

2.1 แหล่งข้อมูลทางตรง แหล่งข้อมูลทางตรง หมายถึง แหล่งข้อมูลที่เราสัมผัสได้โดยตรงอาจจะ

เป็นบุคคล กลุ่มบุคคล สถานที่ สิ่งของ เหตุการณ์ หรือ ปรากฏการณ์ที่เราได้

พบเห็นเอง ตัวอย่างเช่น

สมพรฟังครูบรรยายวิชาคอมพิวเตอร์

พจนาไปตลาดเพื่อซื้อผักและผลไม้

นักเรียนเข้าร่วมชมและเชียร์การแข่งขันกีฬาสี

10 เทคโนโลยีสารสนเทศ ชั้น ป. 3 11 หน่วยที่ 1 • การค้นหาข้อมูล

คุณครูพานักเรียนไปทัศนศึกษาที่วัดพระแก้วเมื่อวานนี้ เป็นต้น

แหล่งข้อมูลจากตัวอย่างดังกล่าวคือ ครู ตลาด การแข่งขันกีฬาสี และ

วัดพระแก้ว ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลที่ได้พบเห็น รับรู้ หรือสัมผัสด้วยตนเอง

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม(วัดพระแก้ว)

ในแต่ละวันนักเรียนจะได้รับข้อมูลจากแหล่งข้อมูลทางตรงนี้อยู่ตลอด

เวลา ตั้งแต่ตื่นนอนไปจนถึงเข้านอน ถ้านักเรียนรู้จักเลือกแหล่งข้อมูลได้ตรงตาม

หัวข้อที่ต้องการ แล้วจดบันทึกหรือเก็บรวบรวมข้อมูลไว้ก็จะเป็นประโยชน์อย่าง

มาก

2.2 แหล่งข้อมูลทางอ้อม แหล่งข้อมูลทางอ้อม หมายถึง แหล่งข้อมูลที่เกิดจากบุคคลอื่นรวบรวม

ไว้แล้วนำมาถ่ายทอดให้เราได้ค้นคว้าอีกทอดหนึ่ง โดยผ่านสื่อต่างๆ เช่น

หนังสือ หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต ฯลฯ

แหล่งข้อมูลทางอ้อมที่สำคัญ ได้แก่

1. หนังสือ เป็นแหล่งข้อมูลที่บันทึกบนกระดาษออกแบบเป็นรูปเล่ม

หนังสือเป็นแหล่งความรู้ที่เกิดขึ้นมานานตั้งแต่ยุคโบราณที่จดบันทึกด้วยใบลาน

กระดาษสาหรือสมุดข่อย จนกระทั่งเปลี่ยนมาใช้กระดาษและพิมพ์ด้วยเทคนิคที่

ทันสมัยสวยงามอย่างปัจจุบัน

ข้อมูลที่บันทึกไว้ในหนังสือมีหลากหลายประเภท ทั้งวิชาประวัติศาสตร์

วิทยาศาสตร์ นวนิยาย ฯลฯ

แหล่งที่มีหนังสือเก็บสะสมไว้เป็นจำนวนมากคือ ห้องสมุด โดยได้

จัดเก็บและแบ่งหนังสือไว้เป็นหมวดหมู่และปัจจุบันมีการใช้คอมพิวเตอร์มาช่วย

จัดระบบข้อมูล ทำให้ค้นหาได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น

ข้อมูลจากหนังสือเป็นข้อมูลที่ค่อนข้างน่าเชื่อถือ สามารถนำมาอ้างอิง

ได้ เพราะผู้เขียนได้รวบรวมข้อมูล จัดระเบียบ ตรวจทาน มาเป็นอย่างดีแล้วจึง

เรียบเรียงเป็นหนังสือเพื่อเผยแพร่ออกไป

2. หนังสือพิมพ์ เป็นแหล่งข้อมูลที่

นำเสนอข้อมูลข่าวสารใหม่ๆ แก่ประชาชน

ทั่วไปเป็นประจำ โดยจะออกจำหน่ายทุกวัน

ตลอดทั้งปี มีข้อมูลข่าวสารทั้งข่าวการเมือง

เศษรฐกิจ สังคม การศึกษา ข่าวต่างประเทศ

ฯลฯ

หนังสือพิมพ์รายวันของไทยมีหลาย

ฉบับ เช่น ไทยรัฐ เดลินิวส์ มติชน ข่าวสด

คมชัดลึก และสยามรัฐ เป็นต้น