ความตกลงการค้าเสรี ( free trade area:...

31
ความตกลงการค้าเสรี ( Free Trade Area: FTA) กับอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไทย (1) ประเด็นที่น่าสนใจ ความตกลงเขตการค้าเสรีไทย-ชิลี (Thailand-Chile Free Trade Agreement: TCFTA) ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทยญี่ปุ่น (Japan-Thailand Economic Partnership Agreement: JTEPA) ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น (ASEAN-Japan Comprehensive Economic Partnership: AJCEP) เขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area: AFTA) แผนกนโยบายและแผน ฝ่ายยุทธศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

Upload: others

Post on 16-Feb-2021

1 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

  • ความตกลงการค้าเสรี (Free Trade Area: FTA)

    กับอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไทย (1)

    ประเด็นทีน่่าสนใจ

    ความตกลงเขตการค้าเสรีไทย-ชิลี (Thailand-Chile Free Trade Agreement: TCFTA)

    ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย–ญี่ปุ่น (Japan-Thailand Economic Partnership Agreement: JTEPA)

    ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น (ASEAN-Japan Comprehensive Economic Partnership: AJCEP)

    เขตการค้าเสรอีาเซยีน (ASEAN Free Trade Area: AFTA)

    แผนกนโยบายและแผน ฝ่ายยุทธศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

  • สารบัญ

    หนา้

    FTA คืออะไร 4

    สถานะปัจจุบันของการเจรจาการค้าเสรีของไทย (Free Trade Area: FTA)

    • ความตกลงการค้าเสรีที่มีผลบังคับใช้แล้ว 4 • ความตกลงการค้าเสรีที่อยู่ระหว่างการเจรจา 6

    ความตกลงเขตการค้าเสรีไทย-ชิลี (Thailand-Chile Free Trade Agreement: TCFTA)

    • การลด/ยกเลิกภาษีศุลกากรและการเปิดตลาดภายใต้ความตกลง TCFTA 7 • กฎว่าด้วยถิ่นก าเนิดสินค้าภายใต้ความตกลง TCFTA 8 • ภาษีสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ภายใต้ความตกลง TCFTA 9 • กฎว่าด้วยถิ่นก าเนิดสินค้า (Rules of Origin) ส าหรับรายการสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ภายใต้ความตกลง TCFTA 10 • การส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทยภายใต้ความตกลง TCFTA 10 • สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ไทยส่งออกโดยใช้สิทธิภายใต้ความตกลง TCFTA 11 • สรุปความตกลง TCFTA 12

    ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย–ญี่ปุ่น (Japan-Thailand Economic Partnership Agreement: JTEPA)

    • การลด/ยกเลิกภาษีศุลกากรและการเปิดตลาดภายใต้ความตกลง JTEPA 13 • กฎว่าด้วยถิ่นก าเนิดสินค้าภายใต้ความตกลง JTEPA 14 • ภาษีสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ภายใต้ความตกลง JTEPA 15 • กฎว่าด้วยถิ่นก าเนิดสินค้า (Rules of Origin) ส าหรับรายการสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ภายใต้ความตกลง JTEPA 15 • การส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทยภายใต้ความตกลง JTEPA 16 • สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ไทยส่งออกโดยใช้สิทธิภายใต้ความตกลง JTEPA 17

  • หน้า

    ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น

    (ASEAN-Japan Comprehensive Economic Partnership: AJCEP)

    • การลด/ยกเลิกภาษีศุลกากรและการเปิดตลาดภายใต้ความตกลง AJCEP 18 • กฎว่าด้วยถิ่นก าเนิดสินค้าภายใต้ความตกลง AJCEP 19 • ภาษีสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ภายใต้ความตกลง AJCEP 20 • กฎว่าด้วยถิ่นก าเนิดสินค้า (Rules of Origin) ส าหรับรายการสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ภายใต้ความตกลง AJCEP 21 • การส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทยภายใต้ความตกลง AJCEP 21 • สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ไทยส่งออกโดยใช้สิทธิภายใต้ความตกลง AJCEP 22 • สรุปความตกลง JTEPA และความตกลง AJCEP 23

    เขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area: AFTA)

    • การลด/ยกเลิกภาษีศุลกากรและการเปิดตลาดภายใต้ความตกลง AFTA 24 • กฎว่าด้วยถิ่นก าเนิดสินค้าภายใต้ความตกลง AFTA 25 • ภาษีสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ภายใต้ความตกลง AFTA 26 • กฎว่าด้วยถิ่นก าเนิดสินค้า (Rules of Origin) ส าหรับรายการสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ภายใต้ความตกลง AFTA 26 • การส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทยภายใต้ความตกลง AFTA 27 • สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ไทยส่งออกโดยใช้สิทธิภายใต้ความตกลง AFTA 28 • สรุปความตกลง AFTA 29

  • ความตกลงการค้าเสรี (Free Trade Area: FTA)1 เป็นการร่วมมือกับประเทศคู่ค้าเพ่ือลดอุปสรรคทางการค้า การลงทุน น าเข้าสินค้าเพ่ือเป็นวัตถุดิบในการผลิตและการบริโภค แสวงหาตลาดใหม่ในการส่งออก รวมถึงมีการลดอัตราภาษีศุลกากรระหว่างกันภายในกลุ่มลงให้เหลือน้อยที่สุดหรือไม่มีอัตราภาษี (อัตราภาษีร้อยละ 0) และใช้อัตราภาษีปกติที่สูงกว่ากับประเทศที่ไม่ได้มีการท าความตกลงการค้าเสรีด้วย นอกจากนี้ การท าความตกลงทางการค้าสามารถท าได้ทั้งแบบทวิภาคี (2 ประเทศ) และพหุภาคี (มากกว่า 2 ประเทศขึ้นไป)

    ปัจจุบัน ไทยได้มีการเจรจาท าความตกลงการค้าเสรีกับประเทศคู่ค้าหลายประเทศ ทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาค ีโดยการเจรจาท าความตกลงการค้าเสรีดังกล่าว มีการเปิดเสรีในภาคการค้า การลงทุน การบริการทางการเงิน ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการไทยสามารถใช้ประโยชน์จากการท าความตกลงการค้าเสรี เพ่ือขยายโอกาสในการด าเนินธุรกิจได้อย่างเต็มที ่

    สถานะปัจจบัุนของการเจรจาการค้าเสรขีองไทย

    (Free Trade Area: FTA)

    1) ความตกลงการค้าเสรีที่มีผลบังคับใช้แล้วจ านวน 13 ฉบับกับ 18 ประเทศ ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

    4

    FTA คืออะไร

    ความตกลงเขตการค้าเสรี ไทย – อินเดีย (TIFTA)

    มีผลบังคับใช้ 1 ก.ย. 2004

    ความตกลงเขตการค้าเสรี ไทย-ออสเตรเลีย (TAFTA)

    มีผลบังคับใช้ 1 ม.ค. 2005

    1กรมเจรจาการคา้ระหว่างประเทศ

    ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจที่ ใกล้ชิดยิ่งขึ้นไทย-นิวซีแลนด์

    (TNZCEP)

    มีผลบังคับใช้ 1 ก.ค. 2005

    ความตกลงเขตการค้าเสรี อาเซียน-จีน (ACFTA)

    มีผลบังคับใช้ 20 ก.ค. 2005 (สินค้า) 1 ก.ค. 2007 (บริการ)

    15 ก.พ. 2010 (การลงทุน)

  • 5

    มีผลบังคับใช้ 11 มิ.ย. 2019 (เฉพาะฮ่องกง ไทย สิงคโปร์

    เวียดนาม และเมียนมา)

    ความตกลงการค้าเสรี อาเซียน-ฮ่องกง (AHKFTA)

    ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA)

    มีผลบังคับใช้ 1 พ.ย. 2007 มีผลบังคับใช้ 1 มิ.ย. 2009

    ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจ

    อาเซียน-ญี่ปุ่น (AJCEP)

    มีผลบังคับใช้ 1 ม.ค. 2010

    ความตกลงการค้าเสรี อาเซียน-เกาหล ี(AKFTA)

    ความตกลงการค้าเสรี อาเซียน–อินเดีย (AIFTA)

    มีผลบังคับใช้ 1 ม.ค. 2010 (สินค้า) 1 ก.ค. 2015 (บริการ /ลงทุน)

    มีผลบังคับใช้ 12 มี.ค. 2010

    ความตกลงเพ่ือจัดต้ังเขตการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์

    (AANZFTA)

    เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA)

    มีผลบังคับใช้ 17 พ.ค. 2010

    ความตกลงเขตการค้าเสรี ไทย-ชิลี (TCFTA)

    มีผลบังคับใช้ 5 พ.ย. 2015 ความตกลงว่าด้วยความเป็น

    หุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นไทย-เปรู (TPFTA)

    มีผลบังคับใช้ 31 ธ.ค. 2011

  • 2) ความตกลงการค้าเสรีที่อยู่ระหว่างการเจรจามีดังต่อไปนี้

    ทั้งนี้ สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ได้จัดท าข้อมูลความตกลงการค้าเสรี (Free Trade Area: FTA) และน าเสนอข้อมูลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไทย เพ่ือให้ผู้ประกอบการสามารถน าข้อมูลดังกล่าวไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดส าหรับการส่งออกสินค้าเครื่อ งใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทยภายใต้ความตกลงการค้าเสรี ซึ่งจ าแนกข้อมูลตามกรอบความตกลงเบื้องต้นจ านวน 4 กรอบ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

    6

    ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP)

    เริ่มเจรจา พ.ค.2013

    ความตกลงการค้าเสรีระหว่างปากีสถาน-ไทย (PATHFTA)

    เริ่มเจรจา 29 ก.ย.-1 ต.ค. 2015

    FTA ไทย-สหภาพยุโรป

    เริ่มเจรจา พ.ค. 2013

    ความตกลงการค้าเสรีไทย-สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป

    (EFTA)

    เริ่มเจรจา 2005

    ความตกลงการค้าเสรีระหว่างไทย-ตุรกี

    เริ่มเจรจา 19 ก.ค. 2017

    ความตกลงการค้าเสรี ไทย–ศรีลังกา

    เริ่มเจรจา 13 ก.ค. 2018

  • ความตกลงเขตการค้าเสรไีทย-ชิลี

    (Thailand-Chile Free Trade Agreement: TCFTA)

    ความตกลงเขตการค้าเสรีไทย-ชิลี (TCFTA) เริ่มต้นเจรจาครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2010 ในช่วงการประชุมผู้น าเศรษฐกิจเอเปค ณ ประเทศญี่ปุ่น และมีการประชุมร่วมกันหลังจากนั้นอีก 6 รอบ ก่อนที่ทั้ง 2 ฝ่ายจะมีการลงนามความตกลงฯ อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2013 โดยมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2015 ซึ่งความตกลงฯ ฉบับนี้มีจุดประสงค์เพ่ือผลักดันการเปิดเสรีและส่งเสริมการค้าสินค้า บริการ การลงทุน และการอ านวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการระหว่างไทยและชิลี

    การลด/ยกเลิกภาษีศุลกากรและการเปิดตลาดภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสร ี

    ไทย-ชิลี (TCFTA)

    ความตกลงเขตการค้าเสรีไทย-ชิลี (TCFTA)

    มีผลบังคับใช้ 5 พฤศจิกายน 2015 การค้าสินค้า

    สินค้า รูปแบบการลดภาษี (ปี) สินค้าไทยและชลิีร้อยละ 90 ของรายการสินค้าท้ังหมด ลดภาษีน าเข้าเหลือร้อยละ 0 ทันทีที่ความตกลงมีผลบังคับใช้ (ปี 2015)

    สินค้าท่ีเหลืออีกร้อยละ 10 ของรายการสินค้าทั้งหมด (1) ลดภาษีเหลือ 0 ภายใน 3 ปี (ปี 2018) (2) ลดภาษีเหลือ 0 ภายใน 5 ปี (ปี 2020) (3) สินค้าอ่อนไหว ลดภาษีเหลือ 0 ภายใน 8 ปี (ปี 2023)

    การค้าบริการ - ไทยเปิดตลาดการค้าบริการใหต้า่งชาติถือหุ้นได้ไม่เกินร้อยละ 70 ใน 85 สาขาย่อย - ชิลีเปิดตลาดโดยอนุญาตให้ไทยเข้าไปลงทุนเกือบทุกสาขาบริการได้ถึงร้อยละ 100

    การลงทุน ความตกลง TCFTA ก าหนดให้ท้ังสองฝ่ายตกลงเกี่ยวกับการริเริ่มการเจรจาจัดท าข้อบทการลงทุนภายใน 2 ปี

    นับจากวันท่ีความตกลงมีผลบังคับใช้ ท่ีมา: กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ รวบรวมและวิเคราะห์โดยแผนกนโยบายและแผน สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

    7

  • กฎว่าด้วยถิ่นก าเนิดสินค้าภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรีไทย-ชิลี (TCFTA)

    เกณฑ์การได้ถิ่นก าเนิดสินค้า (Rules of Origin) ภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรีไทย-ชิลี (TCFTA) ได้แก่

    1.Wholly Obtained หรือ Wholly Produced หมายถึง การได้หรือผลิตจากวัตถุดิบที่ได้ถิ่นก าเนิดในประเทศไทย (ชิลี) ตามความหมายของค าจ ากัดความที่ระบุไว้ข้อบทท่ี 4 เรื่อง กฎถิ่นก าเนิดสินค้า ข้อ 4.3 2.Produced Entirely: PE หมายถึง สินค้าที่ผลิตจากวัตถุดิบที่ได้ถิ่นก าเนิดฯ ในประเทศภาคี (ไทย+ชิลี) 3.สินค้าที่มีวัตถุดิบท่ีไม่ได้ถิ่นก าเนิดฯ ท้ังหมดหรือบางส่วนที่มีกระบวนการผลิตเป็นไปตามข้อก าหนดของกฎเฉพาะรายสินค้า (PSR) ตามระบุไว้ในภาคผนวกข้อ 4.2

    กฎเฉพาะสินค้า (Product Specific Rule: PSR)

    1.กฎการเปลี่ยนพิกัดศุลกากร (Change in Tariff Classification: CTC)

    • กรณีใช้วัตถุดิบที่ไม่ได้ถิ่นก าเนิดมาผ่านกระบวนการผลิตและสินค้า ดังกล่าวมีการเปลี่ยนพิกัดศุลกากรในระดับ 2 หลัก ในประเทศภาคีส่งออก (Change of Chapter: CC) • กรณีใช้วัตถุดิบที่ไม่ได้ถิ่นก าเนิดมาผ่านกระบวนการผลิตและสินค้า ดังกล่าวมีการเปลี่ยนพิกัดศุลกากรในระดับ 4 หลัก ในประเทศภาคีส่งออก (Change of Tariff Heading: CTH) • กรณีใช้วัตถุดิบที่ไม่ได้ถิ่นก าเนิดมาผ่านกระบวนการผลิตและสินค้าดังกล่าวมีการเปลี่ยนพิกัดศุลกากรในระดับ 6 หลัก ในประเทศภาคีส่งออก (Change of Tariff Sub-Heading: CTSH)

    2.สินค้าที่ใช้วิธีการผลิตเฉพาะ (Specific Process: SP) หมายถึง ปฏิกริยาทางเคมี (Chemical Reaction) ได้แก่ สินค้าเคมีภัณฑ์อนินทรีย์ สารประกอบอินทรีย์หรือสารประกอบอนินทรีย์ โลหะมีค่า (HS 28) เคมีภัณฑ์อินทรีย์ (HS 29) และพลาสติกและของที่ท าด้วยพลาสติก (HS 39)

    3.สินค้าต้องมีสัดส่วนมูลค่าวัตถุดิบท่ีได้ถิ่นก าเนิดจากประเทศไทยหรือชิลี (Qualifying Value Content) หรือ QVC มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 40 ของราคา FOB และมีกระบวนการผลิตขั้นสุดท้ายในประเทศภาคีส่งออก

    8

  • สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรีไทย-ชิลี

    (TCFTA)

    1) ภาษีสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรีไทย-ชิลี (TCFTA)

    ภาษีสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทย ภาษีสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของชิลี

    จากจ านวนสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ทั้งสิ้น 1,016 รายการ* ไทยได้ ให้สิทธิพิ เศษฯ แก่สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ จ านวนทั้งสิ้น 914 รายการ โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี ้

    1) สินค้าลดภาษีเป็น 0 ทันที (ปี 2015) จ านวน 838 รายการ (ร้อยละ 91.68) สินค้า เช่น หลอดไฟฟ้า หม้อแปลงไฟฟ้า สายไฟฟ้า ชุดสายไฟ ส่วนประกอบเครื่องปรับอากาศ มอเตอร์ไฟฟ้า พัดลม ตู้แช่ ตู้แช่แข็ง เครื่องอุปกรณ์ท าความเย็นอื่นๆ แผงสวิตซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า เป็นต้น 2) สินค้าลดภาษีเป็น 0 ภายใน 3 ปี (ปี 2018) จ านวน 2 รายการ (ร้อยละ 0.22) สินค้า ได้แก่ จานบันทึกส าหรับใช้กับระบบอ่านด้วยเลเซอร์ และเครื่องจักรและเครื่องอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ 3) สินค้าลดภาษีเป็น 0 ภายใน 5 ปี (ปี 2020) จ านวน 74 รายการ (ร้อยละ 8.1) สินค้า เช่น ตู้ เย็น เครื่ องซักผ้า เครื่องปรับอากาศ เครื่องอุปกรณ์ส าหรับป้องกันวงจรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เทปแม่เหล็กและจานแม่เหล็ก,แผ่น CD เป็นต้น

    โดยในปัจจุบัน สินค้าเคร่ืองใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทยทั้งหมด 914 รายการ ลดภาษีเป็น 0 เรียบร้อยแล้ว

    จากจ านวนสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ทั้งสิ้น 1,016 รายการ* ชิลี ได้ ให้สิทธิพิ เศษฯ แก่สินค้า เครื่ องใ ช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ จ านวนทั้งสิ้น 452 รายการ โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังน้ี

    1) สินค้าลดภาษีเป็น 0 ทันที (ปี 2015) จ านวน 429 รายการ (ร้อยละ 94.71) สินค้า เช่น ส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ เครื่องท าส าเนาและส่วนประกอบ เครื่องอุปกรณ์ส าหรับป้องกันวงจรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เป็นต้น 2) สินค้าลดภาษีเป็น 0 ภายใน 3 ปี (ปี 2018) จ านวน 15 รายการ (ร้อยละ 3.52) สินค้า เช่น เครื่องซักผ้า สายไฟฟ้า ชุดสายไฟ เป็นต้น 3) สินค้าลดภาษีเป็น 0 ภายใน 5 ปี (ปี 2020) จ านวน 8 รายการ (ร้อยละ 1.76) สินค้า ได้แก่ เครื่องซักแห้งและส่วนประกอบ ตู้เย็น ตู้แช่ ตู้แช่แข็ง เครื่องอุปกรณ์ท าความเย็นอื่นๆ

    โดยในปัจจุบัน สินค้าเคร่ืองใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของชิลีทั้งหมด 452 รายการ ลดภาษีเป็น 0 เรียบร้อยแล้ว

    ท่ีมา: กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ รวบรวมและวิเคราะห์โดยแผนกนโยบายและแผน สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ *ศูนย์ข้อมูลเชิงลึกอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (EIU) สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

    9

  • 2) กฎว่าด้วยถิ่นก าเนิดสินค้า (Rules of Origin) ส าหรับรายการสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทยที่มีการส่งออกไปชิลีภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรีไทย-ชิลี (TCFTA)

    สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรีไทย-ชิลี (TCFTA) จะต้องได้ถิ่นก าเนิดสินค้าตามกฎเกณฑ์การเปลี่ยนแปลงพิกัดศุลกากรในระดับ 4 หลัก (Change of Tariff Heading: CTH) และการเปลี่ยนแปลงพิกัดศุลกากรในระดับ 6 หลัก (Change of Tariff Subheading: CTSH) หรือสินค้าต้องมีมูลค่าวัตถุดิบและต้นทุนในการผลิตในประเทศ (Qualifying Value Content: QVC) ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 40 ตัวอย่างเช่น สินค้าตู้เย็น (841810) และเครื่องซักผ้า (845012) จะต้องได้ถิ่นก าเนิดสินค้าตามกฎเกณฑ์ การเปลี่ยนแปลงพิกัดศุลกากรในระดับ 4 หลัก (Change of Tariff Heading: CTH) หรือสินค้าต้องมีมูลค่าวัตถุดิบ และต้นทุนในการผลิตในประเทศ (Qualifying Value Content: QVC) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 เป็นต้น

    3) การส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทยภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรีไทย-ชิลี (TCFTA)

    ตารางที่ 1 มูลค่าการส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทยไปชิลีภายใต้สิทธิประโยชน์ ความตกลงเขตการค้าเสรีไทย-ชิลี (TCFTA) ในปี 2018-2019

    หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ

    รายการ ปี 2018 ปี 2018

    (ม.ค.-มิ.ย.) ปี 2019

    (ม.ค.-มิ.ย.)

    มูลค่าการส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทยไปชิลี1 52.90 30.39 29.08

    มูลค่าการส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับสิทธปิระโยชน์ FTA2 52.90 30.39 29.08

    มูลค่าการส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ใชส้ิทธิประโยชน์ FTA3 29.36 15.28 16.09

    สัดส่วนการใช้สิทธิประโยชน ์FTA (%) 55.50 50.28 55.33 ที่มา : 1ศูนย์ข้อมูลเชิงลึกอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (EIU) สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 2ศูนย์ข้อมูลเชิงลึกอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (EIU) และกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ 3ศูนย์ข้อมูลเชิงลึกอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (EIU) และกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ รวบรวมและวิเคราะห์โดยแผนกนโยบายและแผน สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ข้อมูล เดือนมกราคม 2020

    ในช่วงเดือนมกราคม-มิถุนายน ปี 2019 ที่ผ่านมา ไทยมีมูลค่าการส่งออกของรายการสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับสิทธิประโยชน์ความตกลงเขตการค้าเสรีไทย -ชิลี (TCFTA) 29.08 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งมีมูลค่าเท่ากับมูลค่าการส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดที่ไทยส่งออกไปชิลี เนื่องจากสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ไทยส่งออกไปชิลีทั้งหมดเป็นสินค้าที่ได้รับสิทธิประโยชน์ ในขณะที่มูลค่าการส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้สิทธิประโยชน์ความตกลง เขตการค้าเสรีไทย-ชิลี (TCFTA) คือ 16.09 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกเพ่ิมขึ้นจากครึ่งปีแรก ในปี 2018 เพียงเล็กน้อย ทั้งนี้ คิดเป็นสัดส่วนการใช้สิทธิประโยชน์ร้อยละ 55.33

    10

  • 4) สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ไทยส่งออกโดยใช้สิทธิภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรี ไทย-ชิลี (TCFTA)

    ส าหรับสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ไทยส่งออกไปชิลีโดยใช้สิทธิประโยชน์ความตกลง เขตการค้าเสรีไทย-ชิลี (TCFTA) 3 อันดับแรกในช่วงเดือนมกราคม-มิถุนายน ปี 2019 ได้แก่

    1) เครื่องซักผ้า มูลค่า 5.58 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ 34.71 ของสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ไทยส่งออกไปชิลี โดยใช้สิทธิประโยชน์ความตกลงเขตการค้าเสรีไทย -ชิลี (TCFTA) ซึ่งสินค้าเครื่องซักผ้าไทยครองตลาดในชิลีมากเป็นอันดับ 1

    2) ตู้เย็น มูลค่า 4.32 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ 26.84 ของสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ไทยส่งออกไปชิลีโดยใช้สิทธิประโยชน์ความตกลงเขตการค้าเสรีไทย-ชิลี (TCFTA)

    3) เครื่องรับโทรทัศน์ มูลค่า 3.42 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ 21.28 ของสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ไทยส่งออกไปชิลีโดยใช้สิทธิประโยชน์ความตกลงเขตการค้าเสรีไทย -ชิลี (TCFTA)

    ซึ่งสินค้าที่ไทยมีการส่งออกไปชิลีโดยใช้สิทธิประโยชน์ความตกลงเขตการค้าเสรีไทย -ชิลี (TCFTA) 3 อันดับแรกตามข้อมูลข้างต้นนั้น เป็นการส่งออกโดยผู้ประกอบการสัญชาติไทยและผู้ประกอบการต่างชาติอย่างเกาหลีใต้ ญี่ปุ่นและสวีเดนที่มีฐานการผลิตสินค้าอยู่ในไทย

    ทั้งนี้ ตลาดอสังหาริมทรัพย์ของชิลีที่ขยายตัวเพ่ิมขึ้นได้ส่งผลต่อความต้องการซื้อในสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ จึงคาดว่าชิลีน่าจะมีการน าเข้าสินค้ากลุ่มดังกล่าวจากไทยเพ่ิมมากขึ้นในอนาคต

    เครื่องซักผ้า มูลค่า 5.58 Million USD

    (ร้อยละ 34.71)

    ตู้เย็น มูลค่า 4.32 Million USD

    (ร้อยละ 26.84)

    เครื่องรับโทรทัศน์ มูลค่า 3.42 Million USD

    (ร้อยละ 21.28)

    1 2 3

    11

  • สรุปความตกลงเขตการค้าเสรีไทย-ชิลี

    ปัจจุบัน ภาษีสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของชิลีภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรีไทย -ชิลี

    (TCFTA) จ านวนทั้งสิ้น 452 รายการ มีอัตราภาษีเป็น 0 แล้ว โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2020 ที่ผ่านมา ซึ่งการยกเลิกอัตราภาษีดังกล่าวจะท าให้ผู้ประกอบการไทยสามารถส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไปยังตลาดชิลีได้เพ่ิมมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายการสินค้าตู้ เย็น ตู้แช่ ตู้ แช่แข็ง เครื่องอุปกรณ์ท าความเย็นอ่ืนๆ เครื่องซักแห้ง และส่วนประกอบที่อยู่ในกลุ่มสินค้าที่ลดภาษีเป็น 0 ภายใน 5 ปี (ปี 2020)

    ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยควรพัฒนาคุณภาพสินค้า ศึกษาข้อมูลภาษาสเปนที่เป็นภาษาราชการของชิลี พร้อมกับศึกษาข้อมูลตลาดและพฤติกรรมการอุปโภคบริโภคสินค้าของผู้บริโภคชิลี เพ่ือให้สามารถเข้าถึง ความต้องการของผู้บริโภค อันจะช่วยเพ่ิมมูลค่าการค้าระหว่างกันให้มากขึ้น รวมถึงควรใช้โอกาสและประโยชน์จากความตกลงเปิดตลาดการค้าเสรีในการขยายตลาดสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไทย สู่ภูมิภาคอเมริกาใต้

    12

  • ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย–ญ่ีปุ่น

    (Japan-Thailand Economic Partnership Agreement: JTEPA) จากการประชุม Boao Forum for Asia เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2002 ณ มณฑลไหหล า สาธารณรัฐประชาชนจีน นายกรัฐมนตรีไทยและญี่ปุ่นได้หารือและเห็นควรให้มีการจัดตั้งคณะท างานร่วมเพ่ือศึกษา การเป็นหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น โดยมีจุดประสงค์เพ่ือผลักดันความร่วมมือด้านการค้าบริการ การลงทุนและการจัดท าความตกลงการค้าเสรี หลังจากนั้น ทั้งสองฝ่ายได้เจรจาทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการมากกว่า 10 ครั้ง และในวันที่ 3 เมษายน 2007 ผู้น าไทยและญี่ปุ่นได้มีการลงนามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น หรือ JTEPA โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2007

    การลด/ยกเลิกภาษีศุลกากรและการเปิดตลาดภายใต้ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจ

    ไทย–ญ่ีปุ่น (JTEPA)

    ท่ีมา: กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ รวบรวมและวิเคราะห์โดยแผนกนโยบายและแผน สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

    ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย–ญี่ปุ่น (JTEPA) มีผลบังคับใช้ 1 พฤศจิกายน 2007

    การค้าสินค้า ไทย ญี่ปุ่น

    - สินค้าร้อยละ 44.95 ลดภาษีเป็น 0 ทันที (ปี 2007) - สินค้าร้อยละ 37.12 ลดภาษีเป็น 0 ภายใน 2-5 ปี (ปี 2009-2012) - สินค้าร้อยละ 15.96 ลดภาษีเป็น 0 ภายใน 6-10 ปี (ปี 2013-2022) - สินค้าลดภาษีบางส่วนและสินค้าโควตา รวมถึงสินค้าที่ต้องน ามาเจรจาใหม่ร้อยละ 1.97

    - ปี 2007 สินค้าร้อยละ 86.77 ลดภาษีเป็น 0 ทันที - ปี 2010-2012 สินค้าร้อยละ 1.06 ลดภาษีเป็น 0 ภายใน 3–5 ปี - ปี 2014-2022 สินค้าร้อยละ 7.36 ลดภาษีเป็น 0 ภายใน 7–15 ปี - สินค้าลดภาษีบางส่วนและสินค้าโควตา รวมถึงสินค้าที่ต้องน ามาเจรจาใหม่ ร้อยละ 4.81

    การค้าบริการ ไทยสามารถไปลงทุนเปดิกิจการและท างานในญี่ปุ่นได้มากข้ึนและงา่ยขึ้นในหลายสาขา

    การลงทุน การลงทุน ให้บริษัทไทย/คนไทยเข้าไปลงทุนในทุกสาขา ยกเว้น อุตสาหกรรมผลิตยา อุตสาหกรรมอวกาศและยานอวกาศ อุตสาหกรรมผลติน้ ามนั อุตสาหกรรมพลังงาน อุตสาหกรรมการกระจายเสียง การท าเหมืองแร่ การประมง การเกษตร ป่าไม้ และอุตสาหกรรมพื้นฐานท่ีเกี่ยวข้อง

    13

  • กฎว่าด้วยถ่ินก าเนิดสินค้าภายใต้ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย–ญ่ีปุ่น (JTEPA)

    ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย–ญี่ปุ่น (JTEPA) ได้ก าหนดกฎเฉพาะรายสินค้า (Product Specific Rules: PSRs) ไว้เฉพาะในแต่ละรายสินค้า โดยสินค้าที่จะได้รับสิทธิในการลดภาษีภายใต้สิทธิประโยชน์ JTEPA จะต้องได้ถิ่นก าเนิดสินค้าตามกฎเกณฑ์ ดังต่อไปนี้

    1) กฎการผลิตหรือการได้มาจากวัตถุดิบในประเทศทั้งหมด (Wholly Obtained Goods) 2) การเปลี่ยนพิกัดศุลกากร (Chang in Tariff Classification) 3) กฎสัดส่วนมูลค่าวัตถุดิบภายในประเทศไทย /ญี่ปุ่น (Qualify Value Content: QVC) ซึ่งส่วนใหญ่ก าหนดไว้ที่ไม่ต่ ากว่าร้อยละ 40 ของราคาสินค้า Free on Board (FOB)

    14

  • สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ภายใต้ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจ

    ไทย–ญ่ีปุ่น (JTEPA)

    1) ภาษีสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ภายใต้ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย–ญี่ปุ่น (JTEPA)

    ภาษีสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทย ภาษีสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของญี่ปุ่น

    จากจ านวนสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ทั้งสิ้น 1,016 รายการ* ไทยได้ให้สิทธิพิ เศษฯ แก่สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ จ านวนทั้งสิ้น 990 รายการ และในปัจจุบันมีอัตราภาษีเป็น 0 แล้วทั้งหมด (มีอัตราภาษีเป็น 0 แล้วทั้งหมดตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2017)

    จากจ านวนสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ทั้งสิ้น 1,016 รายการ* ญี่ปุ่นได้ ให้สิทธิพิเศษฯ แก่สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและ

    อิเล็กทรอนิกส์ จ านวนทั้งสิ้น 288 รายการ และในปัจจุบันมีอัตราภาษีเป็น 0 แล้วทั้งหมด (มีอัตราภาษีเป็น 0 แล้วทั้งหมดตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2007)

    ท่ีมา: กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ รวบรวมและวิเคราะห์โดยแผนกนโยบายและแผน สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ *ศูนย์ข้อมูลเชิงลึกอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (EIU) สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

    2) กฎว่าด้วยถิ่นก าเนิดสินค้า (Rules of Origin) ส าหรับรายการสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทยที่มีการส่งออกไปญี่ปุ่นภายใต้สิทธิประโยชน์ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย–ญี่ปุ่น (JTEPA)

    สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ภายใต้ JTEPA จะต้องได้ถิ่นก าเนิดสินค้าตามกฎเกณฑ์การเปลี่ยนแปลงพิกัดศุลกากรในระดับ 4 หลัก (Change of Tariff Heading: CTH) และการเปลี่ยนแปลงพิกัดศุลกากรในระดับ 6 หลัก (Change of Tariff Subheading: CTSH) หรือสินค้าต้องอยู่ภายใต้กฎสัดส่วนมูลค่าวัตถุดิบภายในประเทศไทย/ญี่ปุ่น (Qualify Value Content: QVC) ไม่ต่ ากว่าร้อยละ 40 ของราคาสินค้า FOB

    ตัวอย่างเช่น สินค้าเครื่องปรับอากาศ (HS 841510) กฎถิ่นก าเนิดเฉพาะรายสินค้าได้ระบุไว้ว่า สินค้าภายใต้ประเภทย่อย 841510 จะได้ถิ่นก าเนิดเมื่อเปลี่ยนมาจากพิกัดฯ ในระดับประเภทย่อยอ่ืนๆ หรือสินค้าต้องอยู่ภายใต้กฎสัดส่วนมูลค่าวัตถุดิบภายในประเทศไทย/ญี่ปุ่น (Qualify Value Content: QVC) ไม่ต่ ากว่าร้อยละ 40 ของราคาสินค้า FOB เป็นต้น

    15

  • 3) การค้าสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทยภายใต้ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย–ญี่ปุ่น (JTEPA)

    ตารางที่ 2 มูลค่าการส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทยไปญี่ปุ่นภายใต้สิทธิประโยชน์ ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย–ญี่ปุ่น (JTEPA) ในปี 2018-2019

    หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ

    รายการ

    ปี 2018 ปี 2018

    (ม.ค.-มิ.ย.) ปี 2019

    (ม.ค.-มิ.ย.)

    มูลค่าการส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทยไปญี่ปุ่น1 7,141.35 3,566.76 3,696.34

    มูลค่าการส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับสิทธปิระโยชน์ FTA2 7,140.12 3,510.84 3,695.83

    มูลค่าการส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ใชส้ิทธิประโยชน์ FTA3 1,651.02 835.16 667.59

    สัดส่วนการใช้สิทธิประโยชน ์FTA (%) 23.12 23.79 18.06

    ที่มา : 1ศูนย์ข้อมูลเชิงลึกอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (EIU) สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 2ศูนย์ข้อมูลเชิงลึกอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (EIU) และกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ 3ศูนย์ข้อมูลเชิงลึกอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (EIU) และกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ รวบรวมและวิเคราะห์โดยแผนกนโยบายและแผน สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ข้อมูล เดือนมกราคม 2020

    ในช่วงเดือนมกราคม-มิถุนายน ปี 2019 ที่ผ่านมา ไทยมีมูลค่าการส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไปยังญี่ปุ่น 3,696.34 ล้านเหรียญสหรัฐ และมีมูลค่าการส่งออกของรายการสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับสิทธิประโยชน์ JTEPA 3,695.83 ล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่มูลค่าการส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้สิทธิประโยชน์ JTEPA คือ 667.59 ล้านเหรียญสหรัฐหรือคิดเป็นสัดส่วนการใช้สิทธิประโยชน์ FTA เท่ากับร้อยละ 18.06 ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ JTEPA ไม่มากนัก เนื่องจากอัตราภาษีน าเข้าในอัตราทั่วไป (General Rate) ของญี่ปุ่นส าหรับสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์กว่าร้อยละ 98 มีอัตราภาษีเป็นศูนย์อยู่แล้ว รวมถึงผู้ประกอบการบางส่วนยังได้มีการส่งออกไปญี่ปุ่นผ่านการใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น (AJCEP) อีกด้วย

    16

  • 4) สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ไทยส่งออกโดยใช้สิทธิภายใต้ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย–ญี่ปุ่น (JTEPA)

    ส าหรับสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ไทยส่งออกไปญี่ปุ่นภายใต้ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย–ญี่ปุ่น (JTEPA) 3 อันดับแรกในช่วงเดือนมกราคม-มิถุนายน ปี 2019 ได้แก่

    1) เครื่องปรับอากาศมูลค่า 157.84 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ 23.64 ของสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ไทยส่งออกไปญี่ปุ่นภายใต้ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย–ญี่ปุ่น (JTEPA)

    2) แผงสวิตซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้ามูลค่า 145.66 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ 21.82ของสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ไทยส่งออกไปญี่ปุ่นภายใต้ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย–ญี่ปุ่น (JTEPA)

    3) สายไฟฟ้า ชุดสายไฟ มูลค่า 125.57 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ 18.81 ของสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ไทยส่งออกไปญี่ปุ่นภายใต้ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย–ญี่ปุ่น (JTEPA)

    เครื่องปรับอากาศ มูลค่า 157.84 Million USD

    (ร้อยละ 23.64)

    แผงสวิตซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า

    มูลค่า 145.66 Million USD (ร้อยละ 21.82)

    สายไฟฟ้า ชุดสายไฟ มูลค่า 125.57 Million USD

    (ร้อยละ 18.81)

    1 2 3

    17

  • ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจอาเซียน-ญ่ีปุ่น

    (ASEAN-Japan Comprehensive Economic Partnership: AJCEP)

    ผู้น าอาเซียน-ญี่ปุ่น ได้ลงนามในกรอบความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น (Framework for Comprehensive Economic Partnership between ASEAN and Japan) เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2003 ณ เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งหลังจากที่มีการเจรจาไปแล้ว 11 รอบ ได้มีการระบุว่าให้การเปิดเสรี การค้าสินค้า การบริการ การลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจในสาขาต่างๆ ระหว่างอาเซียนและญี่ปุ่นจะต้องเสร็จสิ้นภายในปี 2012 ส าหรับอาเซียนเดิม 6 ประเทศ (บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย) และมีการยืดหยุ่นให้กับอีก 5 ปี ส าหรับประเทศ CLMV (กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม) ทั้งนี้ ไทยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 1 มิถุนายน 2009

    การลด/ยกเลิกภาษีศุลกากรและการเปิดตลาดภายใต้ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจ

    อาเซียน-ญ่ีปุ่น (AJCEP)

    ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น (AJCEP) มีผลบังคับใช้ 1 มิถุนายน 2009

    การค้าสินค้า สินค้า รูปแบบการลดภาษี (ปี)

    1. สินค้าลดภาษีปกติ (Normal Track) ลดภาษีลงเป็น 0 ภายใน 10 ปี 2. สินค้าอ่อนไหว (Sensitive List: SL) ลดภาษีลงเหลือร้อยละ 0-5 ใน 10 ปี 3. สินค้าอ่อนไหวสูง (Highly Sensitive List: HSL) ลดภาษีลงเหลือไม่เกินร้อยละ 50 ภายใน

    - 10 ปี ส าหรับญี่ปุ่นและอาเซียน เดิม 6 ประเทศ - 15 ปี ส าหรับเวียดนาม - 18 ปี ส าหรับประเทศ CLM

    4. สินค้ายกเว้น (Exclusion List) ไม่น ามาลด/ยกเลิกภาษี

    18

  • การค้าบริการ ไทย ญี่ปุ่น

    ไทยตกลงที่จะเปิดเสรี ให้ฝ่ายญี่ปุ่นสามารถถือหุ้นได้ถึงสัดส่วน ร้อยละ 70 ในธุรกิจบริการ 23 สาขาส่วนธุรกิจบริการ 92 สาขายังคงสัดส่วนให้นักลงทุนต่างชาติถือหุ้นได้ ร้อยละ 49 เช่นเดียวกับ ความตกลงอาเซียน

    เปิดให้สามารถเข้าไปลงทุนในสาขาบริการต่าง ๆ ในญี่ปุ่นได้ ร้อยละ 100 ถึง 132 สาขา เพิ่มจากเดิมเปิด 120 สาขา และเปิดเสรีโดยมีเง่ือนไข 29 สาขา

    การลงทุน - ความตกลงการลงทุนได้ให้ความคุ้มครองแก่นักลงทุนและสร้างความเช่ือมั่นกับผูล้งทุนว่าจะได้รับการปฏิบัติที่เป็นธรรมและเท่าเทียมกนั และไม่ ถูกเวนคืนการลงทุนโดยไมม่ีเหตสุมควร รวมถึงสามารถโอนเงินเข้าออกจากประเทศได้อย่างเสรี - ทางฝ่ายญี่ปุ่นได้ขอให้สมาชิก 10 ประเทศจัดท ารายการความโปรง่ใส (Transparency List)1 แนบท้ายความตกลงภายในปี 2022

    1รายการความโปร่งใส (Transparency List) คือ ข้อผูกพันท่ีประเทศสมาชิกจะต้องน ากฎหมายหรือระเบียบต่าง ๆ ภายในประเทศท่ีมี การเลือกปฏิบัติระหว่างนักลงทุนภายในประเทศกับนักลงทุนอาเซียนและนักลงทุนญี่ปุ่นมาบรรจุเอาไว้ในความตกลงและแลกเปลี่ยน ข้อมูลกันระหว่างสมาชิกเพื่อเผยแพร่ต่อสมาชิกภายในเวลา 4 ปี ส าหรับ CLMV และ 6 ปี ส าหรับอาเซียนเดิม

    ท่ีมา: กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์รวบรวมและวิเคราะห์โดยแผนกนโยบายและแผน สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

    กฎว่าด้วยถิ่นก าเนิดสินค้าภายใต้ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจอาเซียน-ญ่ีปุ่น

    (ASEAN-Japan Comprehensive Economic Partnership: AJCEP)

    ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น (AJCEP) ได้ก าหนดไว้ ดังนี้ 1. กฎทั่วไป (General Rule) ซึ่งประกอบด้วย การเปลี่ยนพิกัดระดับ 4 หลัก (Change of Tariff Heading: CTH) หรือ สัดส่วนการผลิตในภูมิภาคมากกว่าร้อยละ 40 (Regional Value Content: RVC) 2. กฎเฉพาะรายสินค้า (Product Specific Rules: PSRs) ไว้เฉพาะในแต่ละรายสินค้า

    19

  • สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิ เล็กทรอนิกส์ภายใต้ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจ

    อาเซียน-ญ่ีปุ่น (AJCEP)

    1) ภาษีสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ภายใต้ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น (AJCEP)

    ภาษีสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทย ภาษีสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของญี่ปุ่น จากจ านวนสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ท้ังสิ้น 1,016 รายการ* ไทยได้ให้สิทธิพิเศษฯ แก่สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ จ านวน 267 รายการ โดยแบ่งเป็น 7 กลุ่ม คือ

    1) สินค้าท่ีอยู่ในกลุ่ม A โดยลดภาษีเป็น 0 ทันทีในวันท่ีความตกลงฯ มีผลบังคับใช้ (ปี 2009) จ านวน 69 รายการ ตัวอย่างสินค้า เช่น ส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ ไดโอด ทรานซิสเตอร์ กลอุปกรณ์กึ่งตัวน าและส่วนประกอบ เป็นต้น

    2) สินค้าท่ีอยู่ในกลุ่ม B2 ทยอยลดภาษีจนเหลือร้อยละ 0 ภายใน 3 ปี (ปี 2011) จ านวน 4 รายการ รายการสินค้า ได้แก่ ส่วนประกอบของเครื่องซักผ้า ลวดไฟฟ้าส าหรับพัน (ไวน์ดิ้งวายร์) และสายไฟฟ้า ชุดสายไฟ

    3) สินค้าท่ีอยู่ในกลุ่ม B3 ทยอยลดภาษีจนเหลือร้อยละ 0 ภายใน 4 ปี (ปี 2012) จ านวน 82 รายการ ตัวอย่างสินค้า เช่น มอเตอร์ไฟฟ้า หม้อแปลงไฟฟ้า เป็นต้น

    4) สินค้าท่ีอยู่ในกลุ่ม B5 ทยอยลดภาษีจนเหลือร้อยละ 0 ภายใน 6 ปี (ปี 2014) จ านวน 94 รายการ ตัวอย่างสินค้า เช่น หลอดไฟฟ้า เครื่องก าเ นิดไฟฟ้าเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น

    5) สินค้าท่ีอยู่ในกลุ่ม B8 ทยอยลดภาษีจนเหลือร้อยละ 0 ภายใน 9 ปี (ปี 2017) จ านวน 12 รายการ ตัวอย่างสินค้า เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าท่ีมีมอเตอร์ไฟฟ้าในตัว เครื่องซักผ้า เป็นต้น

    6) สินค้าท่ีอยู่ในกลุ่ม B10 ทยอยลดภาษีจนเหลือร้อยละ 0 ภายใน 11 ปี (ปี 2019) จ านวน 3 รายการ รายการสินค้า ได้แก่ แผงสวิตซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้าส่วนประกอบของเครื่องส่ง/เครื่องรับวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์

    7) สินค้าท่ีอยู่ในกลุ่ม C จะคงภาษีไว้ท่ีอัตราเดิม จ านวน 3 รายการ รายการสินค้า ได้แก่ ส่วนประกอบของเครื่องส่ง/เครื่องรับวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์แผงสวิตซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า

    โดยในปัจจุบัน สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทยจ านวน 264 รายการ ลดภาษีเป็น 0 เรียบร้อยแล้ว มีเพียงสินค้าในกลุ่ม C จ านวน 3 รายการที่คงภาษีไว้ที่อัตราเดิม

    จากจ านวนสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ทั้งสิ้น 1,016 รายการ* ญี่ปุ่นได้ให้สิทธิพิเศษฯ แก่สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ จ านวน 288 รายการ และในปัจจุบันมีอัตราภาษีเป็น 0 แล้วท้ังหมด

    ที่มา: กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ รวบรวมและวิเคราะห์โดยแผนกนโยบายและแผน สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ *ศูนย์ข้อมูลเชิงลึกอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (EIU) สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

    20

  • 2) กฎว่าด้วยถิ่นก าเนิดสินค้า (Rules of Origin) ส าหรับรายการสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ของไทยที่มีการส่งออกไปญี่ปุ่นภายใต้ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น (AJCEP)

    สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ภายใต้ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น (AJCEP) จะต้องได้ถิ่นก าเนิดสินค้าตามกฎเกณฑ์การเปลี่ยนแปลงพิกัดศุลกากรในระดับ 4 หลัก (Change of Tariff Heading: CTH) หรือผลิตในประเทศภาคีโดยท าให้เกิดมูลค่าเพ่ิมของสินค้าไม่ต่ ากว่าร้อยละ 40 (Regional Value Content: RVC)

    ตัวอย่างเช่น สินค้าลวดไฟฟ้าส าหรับพัน (ไวน์ดิ้งวายร์) (HS 854411) และสินค้าเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน (HS 841950) จะต้องได้ถิ่นก าเนิดสินค้าตามกฎเกณฑ์การเปลี่ยนแปลงพิกัดศุลกากรในระดับ 4 หลัก (Change of Tariff Heading: CTH) หรือผลิตในประเทศภาคีโดยท าให้เกิดมูลค่าเพ่ิมของสินค้าไม่ต่ ากว่าร้อยละ 40 (Regional Value Content: RVC) เป็นต้น

    3) การค้าสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทยภายใต้ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจอาเซียน -ญี่ปุ่น (AJCEP)

    ตารางที ่3 มูลค่าการส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทยไปญี่ปุ่น ภายใต้ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น (AJCEP) ในปี 2018-2019

    หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ

    รายการ ปี 2018 ปี 2018

    (ม.ค.-มิ.ย.) ปี 2019

    (ม.ค.-มิ.ย.)

    มูลค่าการส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทยไปญี่ปุ่น1 7,141.35 3,566.76 3,696.34

    มูลค่าการส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับสิทธปิระโยชน์ FTA2 7,140.12 3,510.84 3,695.83

    มูลค่าการส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ทีใ่ชส้ิทธิประโยชน์ FTA3 40.06 16.73 28.21

    สัดส่วนการใช้สิทธิประโยชน ์FTA (%) 0.56 0.48 0.76

    ที่มา : 1ศูนย์ข้อมูลเชิงลึกอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (EIU) สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 2ศูนย์ข้อมูลเชิงลึกอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (EIU) และกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ 3กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ รวบรวมและวิเคราะห์โดยแผนกนโยบายและแผน สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ข้อมูล เดือนมกราคม 2020

    ในช่วงเดือนมกราคม-มิถุนายน ปี 2019 ที่ผ่านมาไทยมีการส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไปยังญี่ปุ่นมูลค่า 3,696.34 ล้านเหรียญสหรัฐและมีมูลค่าการส่งออกของรายการสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้สิทธิประโยชน์ AJCEP มูลค่า 28.21 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็น

    21

  • สัดส่วนการใช้สิทธิประโยชน์ AJCEP เพียงร้อยละ 0.76 ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีการใช้สิทธิประโยชน์ดังกล่าวค่อนข้างน้อย เนื่องจากอัตราภาษีน าเข้าในอัตราทั่วไป (General Rate) ของญี่ปุ่นส าหรับรายการสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เกือบทั้งหมดมีอัตราภาษีเป็นศูนย์อยู่แล้ว

    4) สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ไทยส่งออกโดยใช้สิทธิภายใต้ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น (AJCEP)

    ในช่วงเดือนมกราคม-มิถุนายน ปี 2019 ไทยมีการส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์โดยใช้

    สิทธิภายใต้ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น (AJCEP) ทั้งหมด 2 รายการ ได้แก ่

    1) ลวดไฟฟ้าส าหรับพัน (ไวน์ดิ้งวายร์) มูลค่า 22.99 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ 81.50 ของสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ไทยส่งออกโดยใช้สิทธิภายใต้ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น (AJCEP)

    2) เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน มูลค่า 5.22 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ 18.50 ของสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ไทยส่งออกโดยใช้สิทธิภายใต้ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น (AJCEP)

    ลวดไฟฟ้าส าหรับพัน (ไวน์ดิ้งวายร์)

    มูลค่า 22.99 Million USD (ร้อยละ 81.50)

    เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน มูลค่า 5.22 Million USD

    (ร้อยละ 18.50)

    2 1

    21

    22

  • สรุปความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย–ญี่ปุ่น (JTEPA) และความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจ

    อาเซียน-ญี่ปุ่น (AJCEP)

    ในปี 2018 ที่ผ่านมา ไทยมีมูลค่าการส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ไปญี่ปุ่น 7,141.35 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเป็นการส่งออกท่ีใช้สิทธิประโยชน์ FTA มูลค่า 1,691.08 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นร้อยละ 23.68 ซึ่งแบ่งเป็นการส่งออกที่ใช้สิทธิประโยชน์ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย–ญี่ปุ่น (JTEPA) มูลค่า 1,651.02 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือร้อยละ 23.12 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดไปญี่ปุ่นและมีการส่งออกที่ใช้สิทธิประโยชน์ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น (AJCEP) มูลค่า 40.06 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือร้อยละ 0.56 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดไปญี่ปุ่น (กราฟท่ี 1)

    กราฟที่ 1 มูลค่าการส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้สิทธิประโยชน์ JTEPA และ AJCEP ปี 2016-2018

    ท่ีมา: ศูนย์ข้อมูลเชิงลึกอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (EIU) และกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ รวบรวมและวิเคราะห์โดยแผนกนโยบายและแผน สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ข้อมูล เดือนมกราคม 2020

    เมื่อเปรียบเทียบระหว่างการส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้สิทธิประโยชน์ JTEPA และสิทธิประโยชน์ AJCEP จะพบว่า ผู้ประกอบการมีการเลือกใช้สิทธิประโยชน์ JTEPA มากกว่า เนื่องจาก ความตกลง JTEPA นั้น มีผลบังคับใช้ก่อนความตกลง AJCEP รวมถึงสิทธิประโยชน์ส าหรับสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ภายใต้ AJCEP และ JTEPA ไม่แตกต่างกัน ผู้ประกอบการจึงเลือกใช้สิทธิประโยชน์ JTEPA ที่มีความคุ้นเคยมากกว่า

    แต่อย่างไรก็ตาม จะเห็นได้ว่า มีการส่งออกภายใต้สิทธิประโยชน์ทั้งสองประเภทค