การบรรยายสรุปชั่วโมงท ี่ 40...

21
การบรรยายสรุปชั่วโมงที40 ความเปลี่ยนแปลงของสังคมและวัฒนธรรมไทย ความเปลี่ยนแปลงที่สําคัญที่สุดซึ่งเกิดขึ้นในสังคมไทยในชวงหนึ่งศตวรรษที่ผานมาก็ คือการขยายตัวของทุนนิยม ลักษณะสําคัญของทุนนิยม 1. ปจจัยการผลิตคือทุน 2. แรงงานกลายเปนสินคา "เสรี " ในตลาด 3. การผลิตเชิงพาณิชย 4. วัฒนธรรมบริโภคนิยม ในกรณีของประเทศไทย ภาคกลางเปลี่ยนเขาสูระบบทุนนิยมกอนภาคอื่น ถัดมาคือ ภาคใต ภาคเหนือ และภาคอีสานตามลําดับ ทุนนิยมในประเทศไทยขยายตัวอยาง ชา หลังสนธิสัญญาเบาริง ..2398 และขยายตัวรวดเร็วขึ้นนับตั้งแตใช แผนพัฒนาเศรษฐกิจแหงชาติใน .. 2504 เปนตนมา อยางไรก็ตามยังคงมีการ รักษาลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมแบบเกาเอาไวดวย มากนอยตามความ จําเปนและตามความเอื้ออํานวยของสภาพแวดลอมทางธรรมชาติและทางสังคม เชน ระบบอุปถัมภ ระบบเครือญาติ ระบบการผลิตแบบพึ่งตนเอง ฯลฯ ลักษณะเฉพาะของประเทศไทยอีกอยางหนึ่งคือ ทุนนิยมมิไดเกิดจาก พัฒนาการภายในสังคมไทยเองลวน แตเปนการบีบบังคับจากมหาอํานาจ ตะวันตก ฉะนั้นทุนนิยมไทยจึงเชื่อมโยงกับทุนนิยมโลกอยางมากทั้งเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม ดังนั้น ความเปลี่ยนแปลงตาง ในสังคมไทยจึงถูกกําหนดจาก 2 ทาง 1. ชนชั้นนําหรือชนชั้นสูง คนกลุมนี้ปรับตัวทั้งทางการเมืองการปกครองทาง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม รวมทั้งภูมิปญญา โดยเลือกรับอิทธิพลบางอยาง จากตะวันตกผสมผสานกับลักษณะเดิมบางอยางของไทยที่ถูกเลือกสรรไว การปรับตัวเชนนี้นอกจากจะชวยรักษาสถานภาพและอํานาจของกลุมชน ชั้นสูงแลวยังสงผลใหสังคมวัฒนธรรมไทยเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ชน ชั้นสูงกําหนดหรือกํากับควบคุมอยางมาก

Upload: others

Post on 21-Feb-2020

8 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: การบรรยายสรุปชั่วโมงท ี่ 40 ความเปลี่ยนแปลงของส ังคมและว ... · ภาคใต

การบรรยายสรุปช่ัวโมงที่ 40 ความเปลี่ยนแปลงของสังคมและวัฒนธรรมไทย

ความเปลีย่นแปลงที่สําคัญทีสุ่ดซึ่งเกิดขึ้นในสังคมไทยในชวงหนึง่ศตวรรษที่ผานมาก็คือการขยายตวัของทนุนิยม ลักษณะสําคัญของทุนนยิม

1. ปจจัยการผลิตคือทุน 2. แรงงานกลายเปนสินคา "เสรี" ในตลาด

3. การผลิตเชิงพาณชิย 4. วัฒนธรรมบริโภคนิยม ในกรณีของประเทศไทย ภาคกลางเปลีย่นเขาสูระบบทนุนิยมกอนภาคอื่น ๆ ถัดมาคอืภาคใต ภาคเหนือ และภาคอีสานตามลาํดับ ทนุนิยมในประเทศไทยขยายตวัอยาง ชา ๆ หลังสนธิสัญญาเบารงิ พ.ศ.2398 และขยายตัวรวดเร็วขึ้นนับต้ังแตใชแผนพัฒนาเศรษฐกิจแหงชาติใน พ.ศ. 2504 เปนตนมา อยางไรก็ตามยังคงมกีารรักษาลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมแบบเกาเอาไวดวย มากนอยตามความ จําเปนและตามความเอื้ออํานวยของสภาพแวดลอมทางธรรมชาติและทางสังคม เชน ระบบอุปถัมภ ระบบเครือญาติ ระบบการผลิตแบบพึ่งตนเอง ฯลฯ ลักษณะเฉพาะของประเทศไทยอีกอยางหนึ่งคือ ทุนนิยมมิไดเกดิจากพัฒนาการภายในสังคมไทยเองลวน ๆ แตเปนการบีบบังคับจากมหาอาํนาจตะวันตก ฉะนั้นทุนนิยมไทยจึงเชื่อมโยงกับทนุนยิมโลกอยางมากทัง้เศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม ดังนั้น ความเปลีย่นแปลงตาง ๆ ในสังคมไทยจงึถกูกําหนดจาก 2 ทาง

1. ชนชั้นนาํหรือชนชั้นสูง คนกลุมนี้ปรับตัวทั้งทางการเมอืงการปกครองทางเศรษฐกิจ และวัฒนธรรม รวมทัง้ภูมิปญญา โดยเลือกรับอิทธิพลบางอยางจากตะวันตกผสมผสานกับลักษณะเดิมบางอยางของไทยที่ถูกเลือกสรรไว การปรับตัวเชนนีน้อกจากจะชวยรักษาสถานภาพและอาํนาจของกลุมชนชั้นสูงแลวยังสงผลใหสังคมวฒันธรรมไทยเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางทีช่นชั้นสูงกําหนดหรือกํากบัควบคุมอยางมาก

Page 2: การบรรยายสรุปชั่วโมงท ี่ 40 ความเปลี่ยนแปลงของส ังคมและว ... · ภาคใต

-2-

2. ประเทศตะวันตก ที่สําคญัคืออังกฤษ (กอนสงครามโลกครั้งที ่2) และตอมาคือสหรัฐ อเมริกา (หลังสงครามโลกครั้งที่ 2) ผลประโยชนทางเศรษฐกจิการเมืองของมหาอาํนาจตะวันตกทาํใหประเทศเหลานั้นเขามากําหนดทิศทางการเปลีย่นแปลงตาง ๆ ในสังคมไทย เชน รักษาเอกราชของไทยไวในรัชกาลที่ 5 เพื่อเปนรัฐกันชนระหวางอาณานิคมองักฤษกับฝร่ังเศส และเพื่อใหไทยเปนแหลงผลิต วัตถุดิบและอาหาร (เชนไมสัก ดีบุก ขาว และตอมามยีางพาราดวย) เขามาชวยปราบปรามคอมมิวนิสตและชวยพัฒนาประเทศในสมยัจอมพลสฤษดิ ์ ธนะรัชต และสมัยจอมพลถนอม กิตติขจร เพื่อใหไทยเปนแหลงลงทนุที่ปลอดภัยสําหรับนายทนุตะวนัตกและญี่ปุน และในปจจุบันประเทศตะวันตกก็มีความสมัพนัธทางเศรษฐกิจกบัไทย โดยใหไทยเปนผูผลิตวัตถุดิบจากทรัพยากรธรรมชาติและเปนผูผลิตสินคาอุปโภค บริโภคราคาถูก เปนตน บทบาทตาง ๆ ดังกลาวมาขางตนของไทยที่ถกูกําหนดโดยประเทศตะวันตก สงผลใหสังคมและวัฒนธรรมไทย เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอยางมาก

จะเห็นไดวาความเปลี่ยนแปลงที่ถกูกําหนดหรือกํากับควบคุมโดยชนชัน้นาํหรือชนชั้นสูงกับประเทศตะวนัตกสะทอนออกมาในทางวฒันธรรมทกุดานไมวาจะเปนภูมิปญญา ศาสนา ศิลปะ การศึกษา การเมือง ฯลฯ ทัง้นี้ความเปลีย่นแปลงที่เกิดขึน้ไมไดเปนความเคลื่อนไหวทางสงัคมที่รวมเอาประชาชนจํานวนมากเขาไปดวย ประชาชนเปนเพียงฝายตอบสนองความเปลีย่นแปลงที่ชนชัน้นาํและมหาอาํนาจตะวันตกทําใหเกิดขึ้นโดยไมมีทางเลือกมากนกั ความเปลี่ยนแปลงทีส่ะทอนออกมาจากดานทนุ เมื่อเร่ิมเปดประเทศในสนธิสัญญาเบาริง 2398 ทุนอยูในมือของเจานาย-ขุนนาง-ชาวจนีเทานัน้ แตเนื่องจากไทยยงัไมไดเปลี่ยนเขาสูเศรษฐกิจเงินตรามากนกั ฉะนั้น ทุนที่มอียูในรูปตัวเงนิจึงมีนอยแตมีทุนที่เปนสทิธิของระบบศักดินา เชน การเกณฑแรงงาน, สวย, สิทธิในการเก็บภาษ,ี สิทธิในการถอืครองกรรมสิทธิ์ที่ดิน ฯลฯ สิทธิเหลานี้ถูกแปรใหเปนทนุทั้งหมด เชน การสรางตึกแถวใหเชาเมื่อการคาเจริญขึ้นในกรุงเทพฯ การเปลี่ยนภาษีและสวยมาเปนเงนิตรา ฯลฯ

Page 3: การบรรยายสรุปชั่วโมงท ี่ 40 ความเปลี่ยนแปลงของส ังคมและว ... · ภาคใต

ฉะนัน้การเขาสูทุนนิยมในระยะแรกของไทยจงึไมมีผลใหเปลี่ยนโครงสรางสังคม เพราะ ชนชั้นนาํสามารถแปรทุนรูปอ่ืนมาเปนทุนที่ใชประกอบการในเศรษฐกจิสมัยใหมได

-3- ทนุที่สะสมไดจากการแปรสิทธินีน้าํไปใชในสามดาน 1. ลงทนุกับการสรางรัฐบาลแบบใหม และสรางรัฐที่เปนอนัหนึ่งอนัเดียวกันขึ้น เชน ลงทุนในการศึกษา, การจายเงนิเดือนขาราชการ, สรางกองทพัแบบใหม ฯลฯ 2. ลงทุนกับการดํารงชีวิตแบบผูดีฝร่ัง เชน การสรางพระที่นัง่, การแตงกาย, การละเลน ดวยเครื่องไมเครื่องมือฝร่ัง ฯลฯ 3. ลงทนุกับการประกอบการแบบใหม เชน โรงส,ี ทาํนาดวยเครือ่งจักร, รถไฟ ฯลฯ แตในที่สุดแลวไมคอยประสบความสาํเร็จ ทายที่สุดโอนทนุมาสูกิจการสองอยางคือ ก. การเปนแหลงเงนิกูที่ใหญที่สุดในชวงระยะเวลาหนึง่ (พระคลังขางที)่ ข. การเปดที่นาใหมในทองที่ภาคกลางตอนลาง โดยอาศัยปจจยัทางกฎหมายที่เอื้ออํานวยใหผูลงทนุเปดทีน่าใหมถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินสองฝงคลองกวางขวาง และราคาขาวที่พุงสูงขึ้นในตลาดโลกกลายเปนเจาของที่ดิน กลุมทีป่ระสบความสําเร็จในการประกอบการแบบใหม เชน ธนาคาร, การคาปลีก, โรงส,ีการเดินเรือภายในหรือการขนสง ฯลฯ คือชาวจีน สวนใหญเปนชาวจนีที่เพิ่งเขามาและยังไมถกูดูดกลืนเขาไปเปนขุนนางไทยความเปลี่ยนแปลงอันแรกคือ เกิดการแตกตัวของชนชัน้นําเปนสามกลุม 1. กลุม "ผูดีเกา" เปนเจาของที่ดิน เจาของธุรกิจเงนิกูนอกระบบซึ่งทาํใหมีทรัพยสินในรูปที่ดินมากขึน้ไปอีก 2. กลุมคนจีนเจาของการประกอบการสมัยใหม 3. กลุมขาราชการ ซึ่งไดแกขุนนางทีไ่ดรับการศึกษาแผนใหมทัง้ในและตางประเทศ เปนเชื้อสายของขุนนางระดับลางมากขึ้นเมือ่มีการขยายระบบราชการใหญข้ึนดวย ทั้งสามกลุมระแวงกันเอง กอน 2475 อํานาจยงัอยูในมือของกลุม "ผูดีเกา" แตหลัง 2475อํานาจไปตกอยูในมือของกลุมที่ 3 กลุมคนจนีเขามารวมมอืกับกลุมที่ 3 แตกลุมผูดีเกาก็ยงัพยายามชวงชิงสวนแบงของอํานาจตลอดมา จนประสบความสาํเร็จ

Page 4: การบรรยายสรุปชั่วโมงท ี่ 40 ความเปลี่ยนแปลงของส ังคมและว ... · ภาคใต

ในการรัฐประหารของสฤษดิ์ ธนะรัชต ใน 2500 มีการรวมตัวกันของสามกลุมนี้ โดยแบงหนาที่และผลประโยชนกันอยางกลมกลืนมากขึ้น

-4-

ตลอดมาจนถึงประมาณ 2500 การสะสมทนุอยูในมือของสามกลุมนี ้ ขยายการคากับตางประเทศในดานสินคาเกษตรคือขาวและยางพารา และสงออกทรพัยากรที่สําคัญคือไมสักและแร สองกลุมหลังจะมีสวนไดประโยชนจากการขยายการคาเชนนี้ตลอดมา ในขณะที่กลุมทีห่นึ่งกย็ังกุมหลกัทรัพยในรูปที่ดิน,ตึกแถว ฯลฯ ไวเปนจาํนวนมาก อยางไรก็ตามในขั้นพื้นฐานแลวประเทศไทยก็ยงัเปนประเทศเกษตรกรรม มีสินคาสงออกอยูไมกี่อยาง สวนใหญเปนดานการเกษตรและการผลิตวัตถุดิบข้ันปฐม ฉะนั้น ชาวไทยสวนใหญก็ยงัมีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไมมากนัก การผลติเพื่อตลาดแทรกเขามาเปนเพยีงสวนหนึง่ของการผลิตเพื่อยังชพี เชน ปลูกขาวเพื่อขายดวย หรือในภาคเหนือใชเวลานอกเวลาทํานาไปในการปลูกยาสูบเปนตน โดยพืน้ฐานเปนการผลิตเพื่อยังชีพ แตอาจเติมการผลิตเพื่อตลาดเขามามากนอยตามแตโอกาส ในปลายสมยันี้เร่ิมมีพืชเศรษฐกิจบางตัวเขามา เชน ปอในภาคอีสาน นาสังเกตดวยวาทนุที่ชาวนาไทยมอียูไมสามารถแปรเปนตัวเงนิไดสะดวกนกั เชน ทีน่าสวนใหญยังไมมเีอกสารสิทธิท์ี่สมบูรณ (จนถงึปจจุบันมกีารออกโฉนดไดเพียง 25% เทานัน้) ภูมิปญญาของเขาไมสามารถผลิตอะไรสูตลาดเปนตัวเงนิไดมากนัก เชน เครื่องจักสาน หรือเครื่องปนดินเผา ถนนหนทางที่มีอยูจาํกัดไมนาํเอา "โอกาส" ที่จะสะสมทนุมาให การศึกษากเ็ชนเดียวกนั ความเปลี่ยนแปลงที่สะทอนจากดานทุนหลงั 2500 ดวยแรงบีบจากประเทศทุนนิยมศนูยกลาง ทาํใหเปลี่ยนนโยบายเศรษฐกิจใหมหลังการ รัฐประหาร จากการที่จะใหรัฐเปนนายทนุเองหรือนโยบายรัฐวิสาหกจิ มาเปนการเปดใหเอกชนลงทนุในการประกอบการอตุสาหกรรม ซึง่ในระยะแรกก็ยังเปนอุตสาหกรรมขนาดเล็กเพราะมีนโยบายเพียงแตจะสรางอุตสาหกรรมเพื่อทดแทนการนาํเขา ในขณะที่ตลาดภายในไมใหญนักและมกีําลังซื้อจํากัด แมกระนั้นก็ไมคอยมีเงินทุนในประเทศเพียงพอ ในระยะแรก ๆ ของการพฒันาอุตสาหกรรมในประเทศไทย แมวาจะมีการเปดใหตางประเทศเขามาลงทุน แตมีทุน

Page 5: การบรรยายสรุปชั่วโมงท ี่ 40 ความเปลี่ยนแปลงของส ังคมและว ... · ภาคใต

-5- จากตางประเทศเขามาเพยีงประมาณ 10 % ของเงนิลงทุนทั้งหมดในชวงของแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที ่1 เทานัน้ จะเอาทนุมาจากไหน? ทั้งประเทศเงนิที่เปนกอบเปนกาํพอจะเอามาลงทนุไดอยูทีภ่าคเกษตรกรรม เพราะ 80 กวาเปอรเซนตของการผลิตอยูในภาคนี ้ วิธีที่รัฐบาลเลือกทําก็คือดูดซับเอาสวนเกนิจากภาคเกษตรกรรมมาเปนทนุในการพัฒนาอุตสาหกรรม วิธีการคือ 1) กดราคาพืชผลภายในเอาไว เชน นโยบายพรีเมียมขาว 2) ขยายโครงสรางพืน้ฐานเพื่อดึงดดูเอาทรัพยากรจากชนบทออกมาขายใหมากข้ึน ตลอดจนสงเสริมใหปลูกพืชเศรษฐกิจเชน ปอ, ขาวโพด, มันสาํปะหลัง ฯลฯ เพื่อสงออก แตราคาภายในถูกกดเอาไว ไปสรางกาํไรใหแกพอคาในเมืองหรือผูสงออก ทุนที่สะสมจากการนี ้บวกกับเงนิที่ไหลเขาจากสหรัฐ เงนิทีม่ากบัอุตสากรรมการทองเที่ยวและเงินที่ไดจากคอรรัปชั่น รวมกันคือฐานของทนุที่ใชในการสรางอุตสาหกรรมขึน้ในกรงุเทพฯ การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมนับต้ังแต 2504 จึงตองลําเอียงขาดความสมดุลย เพราะตองการจะสงเสริมดานอุตสาหกรรมหรือภาคเศรษฐกิจสมัยใหม โดยใชภาคการผลติตามประเพณี ในชนบทเปนเบี้ยรองบอนตลอดมา การเปลี่ยนนโยบายเปดใหเอกชนเขามาลงทนุ และการใชนโยบายขยายการผลิตเพื่อตลาดในภาคการเกษตร ทาํใหเกิดความเปลีย่นแปลงอยางรวดเร็วในสังคมไทย สรุปความเปลีย่นแปลงที่เกิดขัน้ทางเศรษฐกจิ-สังคม ไดดังนี ้ 1) เกิดความเหลื่อมลํ้าทางดานรายไดระหวางเมืองกับชนบท ภาคกลางกับภาคอีสาน ภาคการผลิตสมัยใหม กับภาคการผลิตตามประเพณี ฯลฯ มากขึ้น 2) เกิดการขยายตวัของเมืองใหญ เปนแหลงอุตสาหกรรมและแหลงพาณิชยกรรมซึ่งเชื่อมตอไปทั่วโลก 3) เกิดการสลายตวัของชุมชนในชนบท เพราะเปลี่ยนวถิีการผลิตไปสูการผลิต

Page 6: การบรรยายสรุปชั่วโมงท ี่ 40 ความเปลี่ยนแปลงของส ังคมและว ... · ภาคใต

เพื่อตลาดมากขึ้น ครอบครัวแตกสลายเพราะการอพยพ ฯลฯ

-6- 4) เกิดการแตกตัวทางชนชั้น มีคนรวยที่สืบตอความรวยของตัวในตระกูลไดอยางมั่นคง แตงงานกนัเอง ยึดกมุธุรกิจแขนงตาง ๆ ไวได รักษาความไดเปรียบตลอดไป ในขณะที่มีคนจนซึ่งไมไดรับความคุมครองจากประเพณีเกาอีกแลวและไมมีอนาคต ทั้งในเมืองและในชนบท มกีารสูญเสียที่ดินและรวบรวมที่ดินโดยชาวนารวยในหมูบาน 5) การขยายตัวของรฐัเขาไปในชีวติของคนมากขึ้นในทกุดาน ความเปลี่ยนแปลงทีส่ะทอนออกมาทางดานแรงงาน ระบบการผลิตของไทยมีสองดานที่เคียงคูกัน คือภาคการผลิตสมัยใหมไดแกภาครัฐบาล, และธุรกิจเอกชน สวนดานที่สองคือภาคการผลิตตามประเพณี (แมมีการปลูกพืชเศรษฐกิจใหม ๆ ข้ึน อีกมากแตกย็ังอาศัยวิธกีารผลิตตามแบบประเพณีเชน กรณีสวนยางพารา หากเปนสวนขนาดเล็กของชาวบานก็ยงัปลกูเหมือนปลูกไมผลในปา ใชแรงงานครอบครัวในการกรีดยาง ฯลฯ ฉะนั้น การพัฒนาแรงงานจงึทาํเพยีงดานเดียว ไดแกดานที่จะเอาไปปอนใหภาคการผลิตสมัยใหม จัดการการศึกษาในระยะแรกแกภาครัฐซึ่งเปนภาคการผลิตที่ใหญที่สุด ตอมาก็เร่ิมหันไปปอนธุรกิจเอกชนมากขึ้นทุกขณะ ในเวลาเดียวกนัก็ไมไดพัฒนาแรงงานของภาคการผลิตตามประเพณี ซึง่สวนใหญของแรงงานอยูในภาคนี ้ ในระยะแรกที่เร่ิมเปดใหแกทนุนยิม แรงงานภายในยงัไมเปนสินคา ตองใชแรงงานจางชาวจนี มาในภายหลงัจงึเริ่มใชแรงงานไทย โดยเฉพาะจากภาคอีสาน ฉะนั้น เมื่อเร่ิมขยายการอุตสาหกรรม ก็ถูกบงัคับไปในตัวใหเปนอุตสาหกรรมที่ใชฝมือมากไมได และตองกดราคาแรงงานใหตํ่าเอาไว รายไดของแรงงานสวนหนึ่งมาจากการจาง แตอีกสวนหนึง่มาจากการผลิตตามประเพณี การมาทาํงานตามฤดูกาลยัง

Page 7: การบรรยายสรุปชั่วโมงท ี่ 40 ความเปลี่ยนแปลงของส ังคมและว ... · ภาคใต

มีความสาํคัญอยูมาก แมจนถึงปจจุบันนี้ เพราะตองกลบัไปผลิตในภาคการผลิตตามประเพณีที่บานเกิด หรือตองแบงแรงงานของครอบครัวใหผลิตในระบบเกา ในขณะที่ตนเองหารายไดเปนเงนิสดในภาคการผลติสมัยใหม

-7-

โดยหลักการแลว แรงงานสํารองจํานวนมหมึาอยูในชนบท ซึ่งดานอุตสาหกรรมสามารถดงึมาใชไดแตเปนแรงงานไรฝมือเปนสวนใหญ แรงงานภาคการเกษตรในชนบท กอน 2500 ยงัเหมือนเดิมโดยพื้นฐานคือแรงงานของครอบครัว แตหลังการพัฒนาเศรษฐกิจใน 2500 ตองใชแรงงานรับจางเพิ่มข้ึน เนื่องจากการสูญเสียที่ดินของเกษตรกรยอย, แรงงานของครอบครัวสวนหนึง่สูญเสียไปแกการศึกษาและหาเงินสดในเมือง, การ ปลูกพืชเศรษฐกิจซึ่งตองระดมแรงงานในบางฤดูกาล พืชเศรษฐกิจขนาดใหญเชนขาวโพด, มันสําปะหลัง มักจะใชเครื่องจักรเขาชวยโดยมีนายทุนเจาของเครือ่งจักรรับจางไถหรือเปดที ่ การจางงานในภาคการเกษตรไมเปนไปโดยสม่ําเสมอ แตจะจางเปนฤดูกาล การคมนาคมสะดวกขึ้นทําใหมกีารเคลื่อนยายแรงงานไปไดไกล เชน การรับจางเกีย่วขาวในภาคกลางไดแรงงานจากอีสานหรือการตัดออยก็เชนเดียวกนั ทั้งหมดเหลานี้เปนสวนสะทอนใหเห็นความเปลีย่นแปลงในดานการผลิตจากเพื่อยังชีพ มาเปนการผลิตเพือ่การพาณิชย ความเปลี่ยนแปลงในดานนี้ไปกระทบความสัมพนัธทางสังคมของคนในชนบทอยางมาก การแลกเปลี่ยนแรงงานหายไปในหลายชุมชน (แสดงวาชมุชนมีสวนในการผลิตนอยลง) การจัดการดานแรงงานมีลักษณะเปนเชิงพาณิชยมากขึน้ ฉะนัน้สวนที่เปนสาธารณสมบัติเชนปาไม, ตนน้าํลําธาร, เหมืองฝาย ฯลฯ จงึไมมวีิธีที่จะใชแรงงานเพื่อรักษาปรับปรุงได ยิ่งเมื่อชุมชนหายไปสิ่งเหลานีก้็กลายเปนสิ่งที่ไมมีเจาของ ใครอยากไดกห็ยบิฉวยเอาไปใชโดยเสรี ทาํใหชนบท "จน" ลงเพราะขาดทุนที่เปนทรัพยากรธรรมชาติในการผลิต (การพฒันาที่ไมมุงพฒันาคุณภาพของคน เพื่อใหเขามีความสามารถจัดการสิ่งเหลานี้ในสภาพเศรษฐกิจ-สังคมใหม ทําลายความสามารถเดิมตามวฒันธรรมของเขาลง แตไมสรางความสามารถใหมในวัฒนธรรมใหมใหเขา)

Page 8: การบรรยายสรุปชั่วโมงท ี่ 40 ความเปลี่ยนแปลงของส ังคมและว ... · ภาคใต

อีกดานหนึง่ของเรื่องแรงงานที่ควรเขาใจคือ กระบวนการปลดปลอยแรงงานใหเปน "เสรี"การเลิกทาส เลิกไพรเปนการปลดปลอยที่เห็นไดชัด เพราะทาํใหพนัธนาการของแรงงานทีเ่คยมีกับรัฐหรือนายทาสหมดไป สามารถเอาแรงงานนัน้ไป "ขาย" ใครก็

8-

ได แตการปลดปลอยที่สําคญัไมนอย คือ การปลดปลอยทางวฒันธรรมพันธนาการของแรงงานในทางวัฒนธรรมมีหลายดาน เชน ครอบครัว, การบวชเรียน, คานิยม, พันธะในระบบอุปถัมภ, ชุมชน, ฯลฯ จะเห็นไดวาการพฒันามีผลทาํลายพนัธนาการเหลานี้ไปเร่ือย (โดยตั้งใจหรอืไมก็ตาม และมีเหตุผลสมควรจะทาํลายหรือไมก็ตาม) ครอบครัวและชุมชนแตกสลายทาํใหสะดวกที่สมาชิกจะละทิง้ครอบครัวและชุมชนเพื่อไปหางานทําที่อ่ืน คานิยมเดิมวางานอะไรมีเกยีรติและงานอะไรไมมีเกียรติหมดไปเกิดคานิยมใหมเขามาแทนที ่เชน การเปนสาวโรงงานมีเกยีรติ หรือการขายตวัมีเกียรติ เปนตน หรือลูกสาวผูดีในเมืองสมยัหนึง่ไมนยิมเขาโรงแรม ฉะนั้น การทํางานโรงแรมจึงรับไมไดเลย แตในปจจุบันการทํางานโรงแรมก็กลายเปนเรือ่งปรกติและออกจะมีเกยีรติไปแลวความเปลีย่นแปลงที่สะทอนจากการผลิตเชิงพาณิชยและความสัมพันธเชิงพาณิชย ไดกลาวแลวถงึการผลิตในเชิงพาณิชยกลายเปนดานหลักของการผลิตในระบบทุนนิยม และดวยเหต ุดังนัน้ ความสัมพนัธเชงิพานิชยจึงกลายเปนความสมัพนัธดานหลักของชวีิตไปดวย ส่ิงที่ไมไดมีหรือผลิตขึ้นเพื่อซื้อขายแลกเปลี่ยนก็กลายเปนการซือ้ขายแลกเปลี่ยนไปหมด นอกจากแรงงานซึ่งครั้งหนึง่ไมใชสินคาแลว ดานอืน่ ๆ เชนศิลป, ความศรัทธา (พุทธพานิช), การศึกษา, การแพทย, ฯลฯ ก็กลายเปนสนิคาไปหมด จนไมเหลือสวนทีเ่ปนคุณคาเดมิอยูอีกเลย ความเปลี่ยนแปลงดานวัฒนธรรมบริโภคนิยม ตรรกอยางหนึง่ของระบบทุนนิยมเสรนีั้นกคื็อ เมื่อสินคาอยางหนึ่งเปนที่ตองการก็มีผูผลิตขึ้นปอนตลาด ราคาทีแ่พงเพราะความตองการทาํใหมีผูเขามาแขงขันการผลิตมากขึ้น มีการปรับปรุงเทคโนโลยีการผลิต การจัดการ ฯลฯ เพื่อลดตนทุน ทาํใหราคาของสินคานั้นถูกลงไปเรื่อย ๆ จนถึงจุดหนึ่งซึง่ "พอด"ี พอคาจะทํากาํไรเพิ่มข้ึนไดดวย

Page 9: การบรรยายสรุปชั่วโมงท ี่ 40 ความเปลี่ยนแปลงของส ังคมและว ... · ภาคใต

วิธีเดียวคือขยายตลาดหรือทําใหความตองการขยายตวัไมมีที่ส้ินสุด มิฉะนัน้ กิจการนั้นก็ตองหยุดนิง่ซึ่งถือกนัวาเปนจุดเริ่มตนไปสูความเสื่อม ทําใหเกิดผลสองอยางเปนอยางนอย

-9- 1) สินคาประเภทเครื่องอุปโภคบริโภค มีผูผลิตมาก เพราะเปนความตองการของตลาดอยูแลวใคร ๆ ก็คงอยากซักผาดวยเครื่องมากกวาปนไฟเลน เพราะฉะนั้นการผลติเครื่องซักผาจงึมีตลาดกวางกวาเครื่องกําเนิดไฟฟา 2) จําเปนตองกระตุนความตองการของตลาดใหขยายไปเรื่อย ๆ โดยผานการโฆษณา แตเราควรมองการโฆษณาใหกวางกวาการโฆษณาทางทีวหีรือหนาหนงัสือพมิพ ซึ่งเปนเพียงสวนเดียวของการกระตุนใหผูคนอยากบริโภค แตควรรวมไปถึง ก) การทําใหอุดมคติของชีวิตคือการบริโภค โดยผานนวนิยาย, ภาพยนตร, ทีว,ี ตําราเรียน ฯลฯ คนในปจจุบันจะตอบปญหาวาอะไรคือชีวิตที่ดี โดยเอาการบริโภคเปนหลัก เชน ชีวติที่มีบานเปนของตนเอง, มีรถยนต, มีแอร, มีตูเย็น, ไดทองเทีย่วในตางประเทศ ฯลฯ ข) การสรางมาตรฐานเดียวกันของผูบริโภค เพื่อสะดวกในการผลิตสินคาออกขาย เชน ฟงเพลงอยางเดียวกนั ดูหนงัประเภทเดียวกนั แตงตัวเหมอืน ๆ กัน ฯลฯ ค) การวัดคุณคาตาง ๆ ดวยวัตถ ุรวยก็ดี หรือผลิตไดมากก็ดี ทั้งหมดนี้อาจเรียกไดวาเปนวัฒนธรรมบริโภคนิยม มีอิทธพิลในเมืองไทยมากและมากขึ้นทกุท ี เทาที่กลาวมานี้จะเหน็ไดวาการขยายตัวของทนุนิยมกระทบตอชีวิตคนไทยทั้งในเมืองและหมูบานอยางมาก ทั้งการทาํมาหากิน การศึกษา ภูมิปญญา การหาความสขุ ฯลฯ ตลอดจนความสัมพนัธระหวางคนกบัคน (ครอบครัว เครือญาติ สังคม) และความสัมพันธระหวางคนกับธรรมชาติ กอใหเกิดปญหาใหม ๆ มากมายและวิธีการแกปญหากเ็ปลี่ยนไปจากเดมิ หลายปญหาอยูในขั้นวิกฤตและสงผลกระทบใหเกิดปญหาอืน่ ๆ ตามมาเปนลกูโซ เชน ปญหาการแยงชงิทรัพยากร ปญหาส่ิงแวดลอม ปญหาครอบครัว เปนตน

Page 10: การบรรยายสรุปชั่วโมงท ี่ 40 ความเปลี่ยนแปลงของส ังคมและว ... · ภาคใต

ความสมัพันธเชงิพาณิชย หมายถงึความสัมพนัธที่ต้ังอยูบนการแลกเปลี่ยนกันโดยอาศัยมูลคาของสิ่งที่แลกเปลี่ยนเปนตวัวัด อาจเปนบริการกับสินคา หรือสินคากับสินคาก็ตาม ฉะนั้น ส่ิงที่ตองคํานงึถงึคือเร่ืองของ "ขาดทุน" และ "กําไร"

-10- ในหลายกรณีดวยกนั เราไมสามารถวัดขาดทนุ-กําไรกันไดงาย เชน ดานที่เปนอารมณ ความรูสึก หรือคุณคา ดานทีว่ัดไมไดเหลานี้มักจะถูกตัดออกไปจากการคํานวณจนหมด ทั้งในการตัดสินใจของภาครัฐหรือเอกชน หรือในการดําเนนิความสัมพันธตอกัน เชน คุณคาของความเปนเพื่อนก็เปนสิ่งที่วัดไมได แตการคบหากันนั้นกลับถูกมองวาจะทําใหเรา "ได" หรือ "เสีย" อะไรเปนหลัก กามารมณถูกลดลงเหลือแตเพียงดานทีเ่ปนรูปธรรม (เด็กใหม, เด็กเกา, อายุนอยหรือมาก รูปรางดีหรือไม ฯลฯ) จนสามารถคํานวณเพื่อการตัดสินใจไดวา "คุม" ที่จะซื้อหรือขายหรือไม ความสมัพันธเชงิพาณิชยเชนนี้มีผลตอความเปลีย่นแปลงดานวัฒนธรรมในสังคมไทยอยางมาก วัฒนธรรมใหมเชนนีม้ีลักษณะคลายกับวัฒนธรรมของชนชัน้กลาง ซึง่เกิดขึน้ทั่วไปในโลกทนุนยิมโดยมวีฒันธรรมของตะวันตกเปนแบบอยางหรือเปนตัวนํา มีลักษณะทีเ่อื้อตอประชาธิปไตยในบางลักษณะ เชนบริโภคนิยมจะไมกีดกันมิใหคนที่มีกําเนิดต่ําไดใชสินคาบางอยาง (ในสมัยโบราณมีกฎหมายหามไมใหสามัญชนใชทองเปนเครื่องประดับ) สวนใหญของสินคาอปุโภคบริโภคสามารถใชไดงายโดยไมตองผานการศึกษา ฯลฯ (ใคร ๆ ก็เปดทีวีเปน แตการดูโขนเปนตองมีการศึกษาในเรื่องนาฎศิลปมาบาง) จึงนบัวาเหมาะแกสังคมที่เนนในเรื่องความเสมอภาค รองรอยของวัฒนธรรมเกาในความเปลี่ยนแปลงความสัมพนัธเชิงพาณิชยและเชิงสัญญาของระบบทนุนิยม ไมสามารถเขาไปแทนที่ความสมัพนัธแบบเกาไดทกุดาน ความสัมพันธในระบบอุปถมัภยังโดดเดนอยูในทกุวงการ นับต้ังแตการเลนพรรคเลนพวกในวงราชการ วงการธุรกิจ, หรือการแตงงานเพื่อเชือ่มพลังทางเศรษฐกิจและการเมือง ฯลฯ

Page 11: การบรรยายสรุปชั่วโมงท ี่ 40 ความเปลี่ยนแปลงของส ังคมและว ... · ภาคใต

การจางงานที่มีลักษณะเปนเชงิสญัญาซื้อขายแรงงานแท ๆ มีนอย สวนใหญจะปะปนอยูกบั ความสัมพันธเชิงอุปถัมภ ระบบ "เจาพอ" ซึ่งเปนอีกลักษณะหนึง่ของความสัมพันธเชงิอุปถัมภ ยงัเปนระบบที่คุมครองกรรมสิทธิเ์หนือที่ดินและทรัพยสินของคนจํานวนไมนอยแทนรัฐ

การบรรยายสรุปช่ัวโมงที่ 41 ทางเลือกของความเปลี่ยนแปลง

ทางเลือกที่รัฐใชในการพัฒนาประเทศ นับต้ังแตสนธิสัญญาเบาริง พ.ศ.2398 เปนตนมา ระบบทุนนิยมขยายตัวขึ้นในสงัคมไทย ชนชัน้นาํของไทยเลือกที่จะเผชิญความเปลี่ยนแปลงโดยการรวมศูนยอํานาจทางการเมืองไวที่สวนกลาง แลวขยายอํานาจรัฐออกไปควบคุมและจัดการทรัพยากรพรอมกับเขาไปควบคุมชีวิตคนมากขึ้นในทุกดาน เชน ดานการศึกษา, การสาธารณสุข, การสื่อสารมวลชน ฯลฯ ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย อํานาจการตัดสินใจอยูในกลุมเจานาย การระดมทุนกระทําโดยการเกบ็เงินคาสัมปทานจากบริษทัตางชาติทีเ่ขามาผลิตและสงออกวัตถุดิบจากทรัพยากรธรรมชาติ เชนไมสัก และดีบุก การเก็บภาษีอากรจากสินคาที่ผลิตเพื่อขายและจากสินคาขาเขาขาออก และจากอากรฝนอากรบอนเบีย้

อากรหวย เปนสําคัญ สวนทนุที่ไดจากประชาชนโดยตรงไดแกเงินคาราชการหรอืเงิน รัชชูปการ นอกจากนี้ยงัมทีนุเดิมที่อยูในรูปที่เปนสิทธิของระบบศักดนิา เชน ที่ดิน ทุนที่

ระดมมาไดนี้ชนชั้นนําตัดสนิใจใชไปในการสรางและพฒันาระบบราชการแบบใหม โดยเฉพาะกองทพัแบบตะวันตก และการคมนาคมแบบตะวันตก เชน ทางรถไฟ การไปรษณียโทรเลข ทั้งนี้เพื่อความมั่นคงของรัฐไทยทีม่ีเจานายเปนผูนํา หลงัการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 ชนชั้นนาํของไทยไดแกกลุมผูนาํในระบบ

ราชการเลือกพัฒนาประเทศในแนวทางทีเ่รียกกนัวา "ทุนนยิมโดยรัฐ" กลาวคือรัฐซึง่มีระบบราชการเปนกลไกดําเนินการลงทนุในรัฐวิสาหกจิสําคัญ ตามนโยบายที่จะสงวนการประกอบการขนาดใหญไวใหเปนของรัฐ นโยบายเชนนี้สงผลใหขาราชการระดับสูงและพอคาบางกลุมสามารถผูกขาดตัดตอนดูดซับการลงทนุของรัฐเมื่อ

Page 12: การบรรยายสรุปชั่วโมงท ี่ 40 ความเปลี่ยนแปลงของส ังคมและว ... · ภาคใต

ผลประโยชนสวนตัว กลายเปนนายทุนกลุมใหมในสังคมไทย นบัต้ังแตสมัยจอมพลสฤษดิ ์ ธนะรัชต เปนตนมา ชนชัน้นาํไดเลือกพัฒนาประเทศโดยการ ระดมทนุจากการดูดซับสวนเกินจากภาคเกษตรกรรม เพื่อพัฒนาโครงสรางพื้นฐานและ

อุตสาหกรรม ทั้งนี้โดยมพีืน้ฐานความคิดวาเกษตรกรรมจะไมทาํใหคนพนจากความยากจนได รายไดที่มากอยูในภาคอุตสาหกรรมจงึพฒันาโดยลําเอยีงเขาขาง

ภาคอุตสาหกรรมและคาดหวังวาใน

-2- อนาคตความเจริญจะไปถึงคนสวนใหญโดยภาคอุตสาหกรรมจะทําใหเกิดการจางงานมากขึ้น ซึง่ "งานคือเงิน เงนิคืองาน บันดาลสุข" การพัฒนาในแนวดังกลาวนี ้ ทําใหนายทุนและชนชัน้กลางนอกระบบราชการสะสมทุนไดมากเกิดความเจริญเติบโต

ทางเศรษฐกิจมาก แตเกิดปญหาตาง ๆ ตามมามาก เชน - ปญหาการกระจายรายไดและความเหลื่อมลํ้าทางสงัคม ชาวนาจนหมด

หนทางปรับตัว การขายแรงงานและหรือขายลูกสาว

- ปญหาความมั่นคงของภาคอุตสาหกรรม เชน การที่ตองพึง่พาเทคโนโลยแีละตลาดตางประเทศสูงและประสบปญหาการกีดกันทางการคารุนแรงขึ้น

- ปญหาความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดลอมและความรอยหรอของทรัพยากรทางธรรมชาติและทางวัฒนธรรม

- ปญหาคุณภาพชีวิต และปญหาคนขาดความสขุ เชน ปจจัยสี่ขาดแคลนและคุณภาพต่ํา ครอบครัวเครือญาติและชุมชนแตกสลาย ทกุสิ่งทกุอยางในชีวิตกลายเปนสินคา ขาดความสมัพนัธกบัคนอ่ืนในฐานะเพื่อนมนุษย สงผลใหสถติิการฆาตัวตายสูงขึ้น การใชยาระงับประสาทสูงขึน้ คนปวยดวยโรคจิต หรือโรคประสาทสงูขึ้น การ

หยารางสงูขึ้น ฯลฯ ปญหาเหลานีส้วนหนึง่เกิดจากการรวมศูนยอํานาจการตัดสินใจไวในมอืคนสวนนอยก็คือขาราชการกับนายทนุหรือนักธุรกิจซึ่งเริ่มเขามามีสวนในการครอบครองอํานาจ

ทางการเมืองรวมกับขาราชการทําใหนโยบายตาง ๆ ของรัฐยังคงลาํเอยีงเขาขางคนทั้งสองกลุมนี้ ไมมีการกระจายอํานาจตัดสินใจไปยังคนทุกกลุม ทองถิ่นไมสามารถ

ตัดสินใจในเรือ่งการใชทรัพยากรของตนได และวิถีชีวิตก็ถูกกาํหนดโดย

Page 13: การบรรยายสรุปชั่วโมงท ี่ 40 ความเปลี่ยนแปลงของส ังคมและว ... · ภาคใต

รัฐและทุนนิยมเขมขนขึ้นเรือ่ย ๆ ในขณะที่ชนชัน้นําเลือกพัฒนาประเทศตามแนวที่กลาวมาขางตน ไดมีคนจากชนชั้นอืน่เสนอทางเลือกของความเปลี่ยนแปลงอีกหลายทางเลือกดวยกนั ดังนี ้ 1. ทางเลือกเกี่ยวกับผูนํา คนไทยใหความสําคัญแกผูนาํสูงกวาคนอีกหลายสงัคม โดยเชื่อวาปญหาตาง ๆ แกไดดวยผูนาํที่ดีและมีความสามารถ ความเชื่อเชนนี้สวนหนึง่เกิดจากอทิธิพลของอุดมการณทางพทุธศาสนาที่ไพรฟาอาณา

-3- ประชาราชฎรตองพึ่งพระบรมโพธิสมภารของกษัตริยซึง่ทรงมีบุญบารมีสูงสุด ขณะเดียวกนัคนชัน้กลางของไทยก็พึ่งอาํนาจ อิทธิพล และบารมีของผูนําในระบบราชการอยางมากในการสะสมทนุของตนทําใหขาดจิตสํานึกแบบเสรีนิยมและไมเชื่อมั่นในศักยภาพที่เทาเทยีมกันของคนทีจ่ะรวมกนัแกปญหาหรือรวมกันผลกัดันใหเกิดความเปลีย่นแปลงใด ๆ ในสังคม การใหความสําคัญแกผูนําสงูเชนนี้เกิดจากวธิีคิดที่ไมเปนประวัติศาสตร มองความเปลี่ยนแปลงจากปจจยัเดียวคือการตัดสินใจของผูนํา ไมไดนําเอาปจจัยอืน่ ๆ เขามาอธบิาย ปญหาคือจะหาผูนําที่ดีมีความสามารถไดอยางไร มีผูเสนอทางเลือกตางๆ ไว ไดแก เทียนวรรณ เชื่อวาการมีสภาบริหารบานเมืองหรอื "ปาลีเมนต" ที่ประกอบดวยคนมีความสามารถจากชัน้วรรณะตาง ๆ มารวมมือกัน จะทําใหไดการนําที่ดี โดยสถาบันทางการเมืองนี้จะเปนสถาบนัที่ราษฎรใหความยินยอมแกผูปกครองในการบริหาร เทียนวรรณใหความสําคัญแกระบบราชการในฐานะผูนําในการสรางความเจริญแกประเทศอยางมาก เขาเหน็วาควรสรางระบบราชการทีม่ีประสิทธิภาพขึ้นมา โดยไมใหความสําคัญแกชาติกําเนิดของขาราชการ ขณะเดียวกนัราษฎรก็มีความสาํคัญจะตองทาํใหราษฎรมีความกาวหนาในวิชาความรูดวย นักประชาธิปไตย เชนคณะราษฎรเชื่อวาการนําที่ดีเกิดขึ้นจากการเมืองในระบอบ รัฐธรรมนูญ มกีฎหมายรัฐธรรมนญูซึ่งตราขึ้นโดยสภาผูแทนราษฎรคอยกําหนดขอบเขตและควบคุมการนาํกองทพั เชื่อวาผูนําทีพ่ิสูจนความสามารถการนาํทางดานการทหาร เปนผูนําที่มีประสิทธิภาพในการนําดานอืน่ ๆ ดวย พทุธทาสภิกขุ

Page 14: การบรรยายสรุปชั่วโมงท ี่ 40 ความเปลี่ยนแปลงของส ังคมและว ... · ภาคใต

เชื่อในระบอบเผด็จการโดยธรรมคือใหอํานาจสูงสุดเด็ดขาดแกคนดี (ธรรมิกสังคมนยิมแบบเผด็จการ) เห็นวาคนดีจะใชอํานาจอยางถูกตอง ความคิดในทํานองนี้เกิดขึ้นใน สํานักสนัติอโศกดวย 2. ทางเลือกเกี่ยวกับการเปลี่ยนโครงสรางสงัคม ความเปลี่ยนแปลงที่จะเปนผลดแีกคนสวนใหญอยางแทจริงตองเปลี่ยนใน

-4- ระดับโครงสราง ไมใชเปลี่ยนเฉพาะตัวบุคคลที่เปนผูนําสูงสุดหรือเปลีย่นเฉพาะนโยบายเทานัน้ ปรีดี พนมยงค ไดเสนอเคาโครงเศรษฐกิจใน พ.ศ.2476 ใหเปลี่ยนโครงสรางเศรษฐกิจ โดยรัฐจะเปนเจาของปจจัยการผลิตที่สําคัญ คือที่ดิน แรงงาน และทุน ซึ่งรัฐจะออกพนัธบตัรเงินกูชดใชใหแกผูทีโ่อนกรรมสิทธิ์ในที่ดินและทนุใหเปนของรัฐ ชาวนาจะเปนลกูจางของรัฐหรือเปนขาราชการทีม่ีเงนิเดือนประจํา รัฐเปนผูวางแผนและกํากับการใชปจจัยการผลิตอยางเตม็ประสทิธิภาพ แตเนือ่งจากในทางปฏิบัติรัฐอาจควบคุมดูแลไดไมทั่วถงึจึงใชวิธีการแบงหนวยการผลิตเปนหนวยยอย ๆ เรียกวา "สหกรณ" ซึ่งจะเปนหนวยทีดํ่าเนนิการผลติในระดับทองถิ่น พรรคคอมมิวนิสตแหงประเทศไทย มีแนวความคิดวาสงัคมไทยมีโครงสรางเศรษฐกิจแบบ "กึ่งศักดนิากึง่เมืองขึน้" ตองยึดปจจัยการผลิตที่สําคัญจากเอกชนใหเปนของรัฐหรือสวนรวม ขณะเดียวกนักต็อตานจักรวรรดินิยมที่ขูดรีดหรือเอาเปรียบประเทศไทย เพื่อใหผูใชแรงงานคือกรรมกรและชาวนาไดรับสวนแบงจากผลผลิตอยางเปนธรรม เกิดสงัคมที่เสมอภาคอยางแทจริงในที่สุด ขบวนการฝายซายระหวาง พ.ศ. 2516-2519 ประกอบดวยปญญาชนและนักศึกษา มีแนวความคิดทีไ่ดรับอิทธิพลจากพรรคคอมมิวนิสตจีนและพรรคคอมมิวนิสตแหงประเทศไทยอยางมาก แมวาจะไมสามารถรวมมือกับพรรรคอมมิวนิสตถึงขั้นเขาเปนสมาชิกพรรคเนื่องจากทนลักษณะเผด็จการของพรรค ไมไดก็ตาม

Page 15: การบรรยายสรุปชั่วโมงท ี่ 40 ความเปลี่ยนแปลงของส ังคมและว ... · ภาคใต

ขบวนการฝายซายผลิตตํารา บทความทางวิชาการและวรรณกรรม ทั้งในรูปการแปลการเขียนขึ้นใหม เสนอความคิดเกี่ยวกับวิวฒันาการของสังคมอันเกิดจากการตอสูระหวางชนชัน้ที่เปน เจาของปจจยัการผลิตกับชนชั้นผุใชแรงงาน ซึง่จะทําใหโครงสรางเศรษฐกิจ การเมอืง และรูปการณจิตสํานึกของไทยกาวหนาขึ้นตามลําดับจากยุคศักดนิาเปนทนุนิยม สังคมนยิม และคอมมิวนิสต อันเปนยุคที่ปจจัยการผลิตเปนของรัฐและความสมัพนัธทางการผลิตมีลักษณะเสมอภาคและภราดรภาพอยางแทจริง

-5- ในชวงหลังจาก พ.ศ.2519 อิทธิพลของขบวนการฝายซายยงัคงอยูโดยเฉพาะอิทธิพล ทางความคิดตอปญญาชนไทยสืบมาจนถึงปจจุบัน แตความคิดที่มอิีทธิพลมิใชความคิดเรื่องวิวัฒนาการของ สังคม หากแตเปนความคิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนสัมพันธภาพทางอํานาจเพื่อใหเกิดการจัดการทรัพยากรและการกระจายรายไดที่เปนธรรมข้ึนในสังคมไทย จะเหน็ไดวาทั้งปรีดี พนมยงค, พรรคคอมมิวนิสตแหงประเทศไทย, และขบวนการฝายซายเสนอทางเลือกที่เนนการเปลี่ยนโครงสรางของระบบกรรมสิทธิ์จากระบบที่เอกชนเปนเจาของปจจัยการผลิตมาเปนระบบที่รัฐเปนเจาของปจจัยการผลิต เปนการเปลี่ยนโครงสรางสังคมไมใชเปลี่ยนหรือพฒันาทีตั่วคน 3. ทางเลือกเกี่ยวกับการพัฒนาใหสมดุลย ผูเสนอทางเลือกนี้สวนใหญเปนกลุมนักวิชาการ เหน็วาการพฒันาประเทศที่ดําเนนิอยูในปจจุบันเปนการพัฒนาที่ลําเอยีงเขาขางภาคการผลิตสมัยใหม จึงควรเปลี่ยนมาสูการพัฒนาทัง้ภาคการผลิตสมัยใหมและภาคการผลิตตามประเพณีอยางสมดุลย คืนอํานาจการดูแลและจัดการทรัพยากรใหแกชุมชน เพื่อใหชุมชนไดมีสิทธิตัดสินใจในการใชทรัพยากรของตนเองมากขึ้น ทัง้นี้รวมถึงการกระจายอํานาจและโอกาสในดานอื่น ๆ ใหมากขึน้ เชน ดวยการสรางเครือขายของขาวสารขอมูลและเครือขายการเรียนรูซึ่งมิไดหมายถงึเพียงการนําเทคโนโลยีทางการสื่อสารที่กาวหนามาใชเทานั้น แตตองพัฒนาคนและจิตสํานึกหรือทัศนคติของคนใหพรอมที่จะเรยีนรูและสามารถจัดการกับขาวสารขอมูลอยางมีประสิทธิภาพตลอดไปดวย อาจารยฉัตรทิพย นาถสุภา เห็นวาการพัฒนาประเทศตั้งแต พ.ศ.2504 ทาํให

Page 16: การบรรยายสรุปชั่วโมงท ี่ 40 ความเปลี่ยนแปลงของส ังคมและว ... · ภาคใต

หมูบานถกูขูดรีดจากรัฐและนายทนุ ชุมชนและวัฒนธรรมชุมชนถูกทาํลายอยางรวดเร็ว จึงควรเปลี่ยนมาสูการ พัฒนาที่รักษาชมุชนไว ใหชุมชนพึง่ตนเองได การพัฒนานี้ตองทาํทัง้ในระดับชมุชนและระดบัรัฐ เชนใน ระดับชุมชนตองร้ือฟนจิตสาํนึกในการชวยเหลือกัน รวมพลังกันหลายหมูบานเพื่อสรางอํานาจตอรองกับรัฐและนายทนุ และรวมมือกับชนชัน้อื่น เชนรับวฒันธรรมของชนชั้นกลางในสวนที่เปนผลดีเปนตนวา

-6-

เทคโนโลยีและขอมูลขาวสาร รักษาสภาพแวดลอมใหมีความสมดุลย ฯลฯ สวนในระดับรัฐตองลดความเปนระบบราชการลง ทาํการปฏิรูปที่ดินเพื่อสลายอิทธพิลของนายทนุเงนิกู และเจาที่ดินทองถิ่น และเปนตัวของตัวเองในความสัมพันธกับตางประเทศ สวนคนชั้นกลางก็ตองเรียนรูจากชาวบาน โดยเฉพาะในเรื่องของจิตสํานึก ในการแบงปน ชวยเหลือ สมถะ อหงิสา และชวยเหลือในดานตาง ๆ ใหชาวบานสามารถพัฒนาไปสูการมีคุณภาพชีวิตทีดี่ดวย 4. ทางเลือกในการพึง่ตนเอง เปนทางเลือกของชาวบานจาํนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะพบวาการผลิตเชงิพาณิชยมีรายไดไมคุมทุน คนถูกลอใหมีความโลภจงึตองทาํงานหนกัเพื่อเงนิ แตกลบัเปนหนี้เปนสนิ วัฒนธรรมชมุชนความเปนมนษุยและธรรมชาติถูกทาํลาย การหนักลับมาพึ่งตนเองเปนทางเลอืกซึ่งตองเริ่มที่การเปลีย่นวธิีคิดและจิตสํานึกของตน ผูใหญวิบูลย เข็มเฉลิม เปลี่ยนมาทําเกษตรกรรมแบบพึ่งตนเอง ซึ่งเรียกวา วนเกษตร ปลูกพชืเพื่อรับใชชีวติไมใชเพื่อรวย การทําวนเกษตรเปนการฟนฟูธรรมชาติข้ึนมาใหม ทําใหมีกนิมีใชเหลือเฟอ ขณะเดียวกนักท็ําใหจิตใจเปลี่ยนมาสูความออนโยน มเีมตตา ปราศจากความขัดแยงในชุมชนเพราะคนกับคนและคนกับธรรมชาติจะสมัพันธกนัโดยเอื้ออาทรกนั สามารถฟนฟูวฒันธรรมชุมชนข้ึนมาได 5. ทางเลือกขององคกรพัฒนาเอกชน (เอนจีโอ) เอนจโีอหมายถงึองคกรของประชาชนในหลายรปูแบบที่เขาไปดําเนนิการ

Page 17: การบรรยายสรุปชั่วโมงท ี่ 40 ความเปลี่ยนแปลงของส ังคมและว ... · ภาคใต

ตาง ๆ ซึ่งจะชวยใหชวีิตของผูคนเปนไปอยางสงบสุขหรือไดรับความเปนธรรมมากขึ้น การพัฒนาประเทศที่เนนความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจกอใหเกิดปญหา ตาง ๆ ข้ึนในสังคมไทยเปนอันมาก เชน ปญหาคุณภาพชีวิตของคนอนัเกิดจากความยากจน ส่ิงแวดลอมเสื่อมโทรมหรือเปนพษิ การตกเปนเหยื่อของการโฆษณา และการจราจรติดขัด เปนตน เอนจีโอจงึเกิดขึน้ในหลายลักษณะเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวติของคนในขณะที่รัฐไมมีสมรรถภาพเพยีงพอที่จะแกปญหาในสังคมสมยัใหมไดทกุเรื่อง ในสลัมและในหมูบานตามชนบท จะมีเอนจีโอเขาไปชวยผูดอยโอกาสใหสามารถพึ่งตนเองได เชน เอนจีโอจะรวมกับชาวบานในการฟนฟูพลงัทางวัฒนธรรม

-7- และจัดตั้งองคกรชาวบานเพือ่สรางอํานาจตอรอง และเรียกรองสทิธิตาง ๆ ใหชุมชนมีสวนเปนเจาของและตัดสินใจเกี่ยวกับการใชทรัพยากรมากขึ้น เปนตน ในเมอืงใหญ ๆ จะมีเอนจีโอในรูปของกลุมผูคุมครองผูบริโภคหลายตอหลายกลุมซึ่งมี กิจกรรมหลากหลาย เชน กลุมที่รณรงคใหคนหนัมาบริโภคผักผลไมและอาหารอืน่ ๆ ทีป่ราศจากสารพิษตกคาง กลุมที่มีกจิกรรมตาง ๆ เพื่อเตือนใหคนไมตกเปนเหยื่อของการโฆษณาสนิคาทีส่รางความจําเปนเเทียม เปนตน เอนจีโอที่รณรงคเกี่ยวกับส่ิงแวดลอมก็มีหลากหลายกลุม เชน กลุมที่รณรงคใหใชน้าํมันไรสารตะกั่ว กลุมที่รณรงคเกี่ยวกับขยะ กลุมที่ตอตานการสรางเขื่อน และกลุมที่ตอตานการสรางโรงไฟฟาจากลิกไนทและขยะในเขตชุมชน เปนตน นอกจากทางเลือกตาง ๆ ที่กลาวมาขางตนแลว ยงัมีการเสนอทางเลือกอืน่ ๆ อีกมาก เชน ทางเลือกของกลุมอนุรักษนิยม ซึ่งเปนกลุมที่เกี่ยวพันกับรัฐคอนขางสูง หลักการใหญ ๆ ของกลุมนี้คือ รักษาอํานาจการตัดสินใจไวในสถาบันตามประเพณีใหมาก หรือใหสถาบันตามประเพณีเปนผูนําในการพัฒนา เชน สถาบนัพระมหากษัตริย สถาบนัศาสนา กองทพั เปนตน โดยสถาบันตามประเพณีเหลานี้จะกระจายการพฒันาใหทัว่ถงึในขณะเดียวกนัก็สามารถทาํใหเกิดความเปนระเบียบเรียบรอยขึ้นใน สังคมดวย กลุมนี้คอนขางเชื่อในการทุมเทเทคโนโลยีเพื่อแกปญหา ภายใตการควบคุมดูแลของหวัหนารัฐบาล หรือผูนําในกองทพัที่ซื่อสัตยมีเมตตาและรูจักเลือกใช

Page 18: การบรรยายสรุปชั่วโมงท ี่ 40 ความเปลี่ยนแปลงของส ังคมและว ... · ภาคใต

คน (ผูเชี่ยวชาญ) ใหเหมาะกับงาน ทางเลอืกของอาจารยปวย อ๊ึงภากรณ อาจารยปวยในฐานะนักเศรษฐศาสตรการคลังเปนผูมีบทบาทอยางสูงในการพฒันาประเทศตามแผนพฒันาเศรษฐกิจแหงชาติ อาจารยปวยไดดํารงตําแหนงสาํคัญที่ทําใหมีบทบาทเปนผูนาํในการพัฒนา เชน ผูวาการธนาคารแหงประเทศไทย ผูอํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง กรรมการบริหารสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหงชาต ิ และกรรมการสภาการศึกษาแหงชาติ เปนตน อยางไรกต็ามใน พ.ศ.2521 อาจารยปวยกลาววาทานควรตําหนิตัวเองในฐานะที่เปนคนหนึง่ทีท่ําใหเกิดการพัฒนาชนิดที่สนใจแตเฉพาะอัตราความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและมองขามปญหาทางสังคมที่เปนผลตามมา

-8- ในขณะที่อาจารยปวยมีบทบาทอยางสงูในการพฒันาประเทศตามแนวทางของรัฐ แตอาจารยปวยก็ไดพยายามเสนอทางเลือกอีกทางหนึ่งซึง่แมวายงัคงเปนทางเลอืกที่อยูในกรอบของการพฒันาประเทศแบบทุนนิยมที่เปนกระแสหลักในเวลานั้น แตอาจารยปวยเสนอใหพัฒนาโดยคํานงึถงึจริยธรรมทางเศรษฐกิจและความเปนธรรมทางสังคมอยางจริงจงั วิธีการที่เปนรูปธรรมที่จะบรรลุเปาหมายขางตนคือการเก็บภาษีในอัตรากาวหนาและการเก็บภาษีมรดก แตขอเสนอของอาจารยปวยไมไดรับความสนใจจากรัฐบาล แตอยางใด ในเวลาตอมา อาจารยปวยจงึเปลี่ยนมาดาํเนนิการตาง ๆ ในฐานะนกัวิชาการโดยหนัมาพัฒนาการศึกษาและพัฒนาชนบท อาจารยปวยมีสวนกอต้ังและสนับสนนุโครงการพฒันาชนบทของมลูนิธิบูรณะชนบทที่ชยันาทและอุทัยธานี ซึ่งเปนโครงการขององคกรพฒันาเอกชน (เอนจีโอ) โครงการแรก ๆ ตอมาใน พ.ศ.2512 อาจารยปวยก็ไดจัดตั้งโครงการบัณฑิตอาสาสมัคร ซึง่รับผูจบปริญญาตรีมาฝกอบรมแลวสงไปทาํงานในชนบทเปนเวลา 1 ป เพือ่ใหไดเรียนรูจากการทาํงานในชนบทนอกเหนือจากการเรยีนในหองเรียน โครงการนี้ยงัคงดําเนนิการสืบมาจนถึงปจจบัุน นอกจากนี้อาจารยปวยยังเปนผูอํานวยการโครงการพัฒนาชนบทบริเวณลุมน้าํแมกลอง ซึ่งพยายามประสานความรูความชํานาญจากสามดานคือดาน สังคมศาสตร เกษตรศาสตร และวิทยาศาสตรการแพทยและการสาธารณสุขเพื่อการ

Page 19: การบรรยายสรุปชั่วโมงท ี่ 40 ความเปลี่ยนแปลงของส ังคมและว ... · ภาคใต

พัฒนาชนบท ในขณะเดียวกันก็ตองการใหมหาวทิยาลยัเรียนรูจากชมุชนพรอม ๆ กับรับใชชุมชนมากขึ้นดวย มีมหาวิทยาลัย 3 แหงเขามารวมโครงการคือ ธรรมศาสตร เกษตรศาสตร และมหิดล อาจารยปวยตระหนกัวาการพฒันาเฉพาะดานเศรษฐกิจและการศึกษาไมอาจแกปญหาตาง ๆ ในสงัคมไทยได เพราะเศรษฐกิจและการเมืองเชื่อมโยงกันอยางแนบแนน จึงรณรงคใหพัฒนาการเมืองดวยใน พ.ศ.2516 อาจารยปวยเขียนหนังสือ� สันติประชาธรรมเรยีกรองใหพัฒนาการเมืองใหบรรลุความเปนประชาธิปไตยอยางแทจริง ซึ่งอาจารยปวยเรียกวา "ประชาธรรม" คือประชาชนมีสิทธิและเสรีภาพทางการเมือง ซึง่จะชวยใหเกิดสันติแทนความขัดแยงและความรุนแรงดงัที่เปนอยูในเวลานั้น

-9-

อาจารยปวยมไิดเรียกรองใหรัฐดําเนนิการฝายเดียว แตเห็นวาคนไทยทุกคน "ตองรวมกันมาก ๆ... ชวนกนัยาย สังกัดเปนไทยสน ไทยรวม ไทยเรยีกรอง แลวไทยจะเจริญ" เปาหมายสูงสุดในการพัฒนาประเทศตามทรรศนะอาจารยปวยมิใชความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเทานั้น แตคือการที่บานเมืองบรรลุลักษณะอันพงึปรารถนา 4 ประการ คือ "สมรรถภาพ เสรีภาพ ความยุติธรรม และแผเมตตากรุณา" จะเห็นไดวาเปนการพัฒนาที่มลัีกษณะมนุษยธรรมนิยม เห็นคุณคาความเปนมนุษยและเนนการพฒันาทางจิตใจหรือจิตวิญญาณดวย ทางเลอืกในการพัฒนาของอาจารยปวย เหน็ไดชัดในขอเขียนสั้น ๆ ของอาจารย เร่ือง "ปฏิทินแหงความหวงั จากครรภมารดาถึงเชงิตะกอน" อาจารยปวยเห็นวาการพฒันาควรเกิดขึ้นเพื่อ ประโยชนของทุกคนไมวาจะรวยหรือจนไมวาจะอยูในเมืองหรือชนบท ต้ังแตคน ๆ นัน้เกิดจนกระทั่งตายไปใหทุกคนมีคุณภาพแหงชีวติที่ดี กลาวคือไดรับอาหารที่มปีระโยชน มนี้าํบริสุทธิ์ด่ืม มีอากาศบริสุทธิ์หายใจ มีครอบครัวสงบสุข มีความรูเพียงพอที่จะใชทํามาหากนิและรูคุณธรรมแหงชวีิต และสามารถเรยีนชั้นสูง ๆ ข้ึนไปตามสติปญญาของแตละคน เมื่อเรียนจบไดประกอบอาชีพที่ทาํใหไดรับความพอใจวาตนไดทํางานเปนประโยชนแกสังคม ไดอยูในรัฐที่มีข่ือมีแป ไมมีการขมขู กดขี่ หรือประทุษรายกัน ไดหาความสุขจากการอานหนงัสือราคาไม

Page 20: การบรรยายสรุปชั่วโมงท ี่ 40 ความเปลี่ยนแปลงของส ังคมและว ... · ภาคใต

แพง ไดฟงวิทยุ ดูโทรทัศน โดยไมตองทนการรบกวนจากโฆษณามากนัก ไดมีเวลาวางสาํหรับเพลิดเพลินกบัครอบครัว มีสวนสาธารณะที่เขียวชอุม สามารถมีบทบาทและชมศิลปะ วรรณคดีนาฎศิลป ดนตรี เที่ยวงานวัด งานลอยกระทง งานนักขัตฤกษ งานกุศลอะไรไดพอสมควร และเมื่อจะตายก็ขออยาใหตายอยางโง ๆ บา ๆ เชน ตายเพราะสงคราม อุบัติเหตุรถยนต น้ําหรืออากาศเปนพษิ หรือการเมอืงเปนพิษ ฯลฯ เพื่อใหทุกคนบรรลุถงึคุณภาพแหงชีวิตขางตนอาจารยปวย เสนอใหพัฒนาและแกปญหาตาง ๆ ดวยสนัติวธิี โดยดําเนินการพัฒนาเพือ่ใหชาวนาชาวไรมีที่ดินพอสมควรสําหรับทาํมาหากิน มีชองทางไดกูยืมเงนิมาขยายงาน มีโอกาสรูวิธทีํากนิแบบใหม ๆ มตีลาดดีและขายสินคาไดราคายุติธรรม ใหกรรมกรมหีุนสวนและมีสวนในการบริหารโรงงาน บริษัท หางรานที่ตนทาํงานอยู ใหประเทศไดมีความสัมพนัธอันชอบ

-10- ธรรมและเปนประโยชนกับโลกภายนอกเพื่อใหคนไทยไดเรียนรูความคิดและวิชาของมนุษยทัง้โลก มีโอกาสรับเงนิทนุจากตางประเทศมาใชเปนประโยชนแกสวนรวม และสามารถขายผลิตผลแกตางประเทศดวยราคาอันเปนธรรม ใหรัฐบาลดูแลสุขภาพอนามยั เชน ใหบริการปองกนัโรคฟรี ใหบริการการแพทยรักษาพยาบาลอยางถูกอยางดีและอยางสะดวก เมื่อแกแลวก็ไดรับประโยชนจากการประกันสงัคม นอกจากนี ้ควรเปดโอกาสใหมีการรวมมือกันชวยเหลอืกันในรูปสหกรณ สโมสร หรือสหภาพ ทั้งนี้โดยที่ประชาชนทกุคนยนิดีเสียภาษีอากรแกสวนรวมตามอัตภาพ มีสวนรวมในการวินิจฉัยโชคชะตาทางการเมอืงเศรษฐกิจและสังคมของชาติ ขณะเดียวกันก็รูจักวางแผนครอบครัว และหลงัจากตายไปแลวก็แบงทรัพยสมบัติสวนหนึง่ไวสําหรับเลีย้งภรรยาและลูกที่ยังเล็ก ลูกทีโ่ตแลวไมควรไดมรดก รัฐบาลควรเก็บทรัพยสมบัติที่เหลอื ทั้งหมดไปใชเปนประโยชนในการบาํรุงชวีติคนอื่น ๆ ตอไป อาจารยปวยเนนวาความสุขสวัสดีทั้งหลายนี้จะไดมาก็โดยอาศัยปญญา ความเพียร และความเสียสละของทุกคน เราอยูในยุคสมัยที่มกีารเสนอทางเลอืกมากกวาทีค่นไทยเคยมีประสบการณมา

Page 21: การบรรยายสรุปชั่วโมงท ี่ 40 ความเปลี่ยนแปลงของส ังคมและว ... · ภาคใต

กอน ฉะนัน้จงึเปนยุคสมยัทีน่าตื่นเตน แตก็เปนยุคสมัยที่มีความขัดแยงทางความคิดไดมาก คนที่จะอยูในยุคสมัยเชนนี้ไดอยางมีความสุขคือคนที่มีความเขาใจเงื่อนไขตาง ๆ ที่เกิดอยูในสังคม มีสมองที่รูจักวิพากษวิจารณปรากฎการณซึ่งเกิดขึ้นอยูทุกขณะ กลาวอีกนัยหนึ่งคือรูเทาทันส่ิงที่กําลังเกิดขึ้นแลวสามารถเลือกอยางฉลาดและมีเมตตา