การพัฒนาการเผยแผ่ ... · 2019-03-12 ·...

13
พระครูกาญจนกิจโสภณ (ทนากร วราโณ) Phrakrukanjanakijsophon (Thanakorn Varayano) นิสิตพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (การจัดการเชิงพุทธ) คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย บทคัดย่อ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน เพื่อศึกษาและนำเสนอกรณีศึกษาที่เป็นแบบอย่างที่ดีในการเผยแผ่ธรรมผ่านสื่อวิทยุกระจายเสียง และเพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วยสื่อวิทยุกระจายเสียง ใช้วิธีการ ศึกษาเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า สภาพการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันแบ่งเป็น 5 ยุค คือ ยุคการสื่อสารโดยคำพูด ด้วยวิธี มุขปาฐะ ยุคการสื่อสารโดยการเขียนโดยเขียนตามผนังถ้ำ จารึกลงใบลาน ยุคการสื่อสาร โดยการพิมพ์โดยการพิมพ์หนังสือพระไตรปิฎก ยุคการสื่อสารโดยสื่ออิเลคทรอนิคส์ทางวิทยุ โทรทัศน์ และยุคการสื่อสารโดยโทรคมนาคมและดิจิตอลทางดาวเทียม และอินเทอร์เน็ต กรณี ศึกษาที่เป็นแบบอย่างที่ดีในการเผยแผ่ธรรมผ่านสื่อวิทยุกระจายเสียง คือ สถานีวิทยุกระจายเสียง เพื่อพระพุทธศาสนาและสังคม วัดนายโรง และสถานีวิทยุโทรทัศน์โลกพระพุทธศาสนาแห่ง ประเทศไทย วัดยานนาวา และแนวทางการพัฒนาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วยสื่อวิทยุกระจาย เสียง ประกอบด้วย การจัดทําแผนผังรายการและระบบในการเผยแผ่ธรรมให้มีประสิทธิภาพ การ ควบคุมและตรวจสอบเนื้อหาก่อนที่จะนำเสนอออกอากาศให้เป็นไปตามมาตรฐานและถูกต้อง ควร มีการวางแผนระยะยาวโดยการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถานี ควรให้ความสำคัญกับสื่อ การพัฒนาการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ด้วยสื่อวิทยุกระจายเสียง Development of Buddhist Propagation by Using Broadcasting

Upload: others

Post on 02-Feb-2020

0 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: การพัฒนาการเผยแผ่ ... · 2019-03-12 · วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ ปีที่ 2 ฉบับที่

พระครูกาญจนกิจโสภณ (ทนากร วราโณ) Phrakrukanjanakijsophon (Thanakorn Varayano)

นิสิตพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (การจัดการเชิงพุทธ) คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

บทคัดย่อ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน

เพื่อศึกษาและนำเสนอกรณีศึกษาที่เป็นแบบอย่างที่ดีในการเผยแผ่ธรรมผ่านสื่อวิทยุกระจายเสียง

และเพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วยสื่อวิทยุกระจายเสียง ใช้วิธีการ

ศึกษาเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า

สภาพการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันแบ่งเป็น 5 ยุค คือ ยุคการสื่อสารโดยคำพูด

ด้วยวิธี มุขปาฐะ ยุคการสื่อสารโดยการเขียนโดยเขียนตามผนังถ้ำ จารึกลงใบลาน ยุคการสื่อสาร

โดยการพิมพ์โดยการพิมพ์หนังสือพระไตรปิฎก ยุคการสื่อสารโดยสื่ออิเลคทรอนิคส์ทางวิทยุ

โทรทัศน์ และยุคการสื่อสารโดยโทรคมนาคมและดิจิตอลทางดาวเทียม และอินเทอร์เน็ต กรณี

ศึกษาที่เป็นแบบอย่างที่ดีในการเผยแผ่ธรรมผ่านสื่อวิทยุกระจายเสียง คือ สถานีวิทยุกระจายเสียง

เพื่อพระพุทธศาสนาและสังคม วัดนายโรง และสถานีวิทยุโทรทัศน์โลกพระพุทธศาสนาแห่ง

ประเทศไทย วัดยานนาวา และแนวทางการพัฒนาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วยสื่อวิทยุกระจาย

เสียง ประกอบด้วย การจัดทําแผนผังรายการและระบบในการเผยแผ่ธรรมให้มีประสิทธิภาพ การ

ควบคุมและตรวจสอบเนื้อหาก่อนที่จะนำเสนอออกอากาศให้เป็นไปตามมาตรฐานและถูกต้อง ควร

มีการวางแผนระยะยาวโดยการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถานี ควรให้ความสำคัญกับสื่อ

การพัฒนาการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ด้วยสื่อวิทยุกระจายเสียง

Development of Buddhist Propagation by Using Broadcasting

Page 2: การพัฒนาการเผยแผ่ ... · 2019-03-12 · วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ ปีที่ 2 ฉบับที่

60 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ ปีที่ 2 ฉบับที่ 1

ออนไลน์ เพราะเป็นสื่อที่เข้าถึงได้ง่ายและเร็วต่อประชาชน และควรศึกษาเปรียบเทียบการใช้สื่อ

กับของสถาบันสงฆ์เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนางานด้านการเผยแผ่ต่อไป

คำสำคัญ: การเผยแผ่พระพุทธศาสนา, สื่อวิทยุกระจายเสียง

Abstract

The purposes of this article were to study Buddhist propagation from the

past and the present, to study the best practice of Buddhist propagation

through broadcasting, and to propose effective ways to develop Buddhist

propagation through by using broadcasting. Documentary study was used for

data collection from related research and literature review. The results showed

that Buddhist propagation had five periods which consisted of the oral

communication, the written communication, the typing communication,

broadcasting communication, and social network communication. Two best

practices were presented in this paper which consisted of Wat Nai Rong’s

communication radio for Buddhism and society, and the World Buddhist

Television of Thailand (WBTV). Five effective ways to develop Buddhist

propagation through by using broadcasting were presented which consisted of

setting effective radio program, control and correct Dhamma content before be

on the air, building network for long term planning in order to cooperate and

help each other within local area, and to compare with other Sangha

organizations for further development.

Keywords: Buddhist Propagation, Broadcasting

Page 3: การพัฒนาการเผยแผ่ ... · 2019-03-12 · วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ ปีที่ 2 ฉบับที่

61วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ ปีที่ 2 ฉบับที่ 1

1. บทนำ

วัดเป็นสถาบันทางสังคมที่อยู่คู่กับคนไทยมาอย่างช้านาน จัดว่าเป็นศูนย์รวมจิตใจและเป็น

ศูนย์กลางของชุมชน โดยเฉพาะในชุมชนต่างจังหวัด วัดเป็นเสมือนสถานที่จัดกิจกรรมต่างๆสำหรับ

คนในชุมชน ดังนั้นพระสงฆ์ถือว่าเป็นแกนนำของชุมชนในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ได้เป็นอย่างดี

อีกด้วยแต่เดิมนั้นพระสงฆ์เป็นผู้ส่งสารคนสำคัญของชุมชน โดยการสื่อสารของพระสงฆ์นั้นเป็นไป

ในรูปแบบของการสื่อสารระหว่างบุคคล เช่น การเทศน์การแสดงธรรม เป็นต้น แต่ในปัจจุบัน

วัดในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลต้องทำหน้าที่เป็นเชิงรุกมากขึ้น และพระสงฆ์ก็ต้องมีการ

เปลี่ยนเช่นกัน กิจของสงฆ์ก็ต้องเพิ่มขึ้น เมื่อพระสงฆ์ได้เข้ามามีส่วนร่วมกับวิทยุชุมชนแล้ว สถานะ

ของสงฆ์จึงมีสถานะของสื่อมวลชนควบคู่ไปด้วย แต่จากการศึกษารูปแบบและแนวทางการเผยแผ่

ธรรมะที่ปรากฏสื่อวิทยุกระจายเสียงที่ผ่านมาโดยส่วนใหญ่จะมีรูปแบบที่เหมือนกัน คือ รูปแบบ

เทศนาโวหารพูดเพื่อให้ความรู้ โน้มน้าวใจ และความบันเทิง เป็นการสื่อสารเพื่อให้ผู้ฟังได้เรียนรู้

ธรรมะได้อย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง จูงใจให้เกิดศรัทธา ความแกล้วกล้าอาจหาญร่าเริง เป็นการสื่อสาร

แบบทางเดียวโดยมีพระสงฆ์เป็นสื่อบุคคล มีแนวทางการนำเสนอเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ น่าสนใจ

โดยใช้สำนวนภาษา คือ พุทธศาสนสุภาษิต สุภาษิต คำคม คำพังเพย กลอน นิทาน และอุปมา

อุปมัย เพื่อเปรียบเทียบให้เนื้อหาของธรรมะปรากฏชัดเจนยิ่งขึ้น (วลีรัตน์ แสงสุดใจ, 2557;

พระราชปัญญาภรณ์, 2548)

เมื่อพิจารณาเกี่ยวกับเนื้อหาสาระของหลักคำสอนส่วนมากตรงตามพระไตรปิฎก มีเนื้อหา

บางส่วน เท่านั้นที่ยังขาดความสมบูรณ์ ความพอดี และคลาดเคลื่อนจากพระไตรปิฎกเล็กน้อย

เนื้อหาที่กล่าวถึงเรื่องทาน มีความเหมาะสมตามสภาพเศรษฐกิจ และความประหยัด ของ

ประชาชน เรื่องศีล สมควรเพิ่มเนื้อหาเล็กน้อย เป็นการสอนให้ประชาชนมีระเบียบวินัยมากยิ่งขึ้น

ส่วนเรื่องภาวนา คือการปฏิบัติธรรมโดยตรงตามแนวแห่งสติปัฎฐาน 4 มีเพียงเล็กน้อย สมควร

เพิ่มเนื้อหาให้มากยิ่งขึ้น ส่วนบทธรรมะทั่วไปที่กล่าวถึงความสุขความเจริญ มีการนำมาแสดงมาก

ทั้งในอดีตและปัจจุบัน สมควรลดเนื้อหาลง เพราะเป็นคำสอนที่ใช้แสดงได้ทุกโอกาส ไม่ต้องคำนึง

ถึงวันสำคัญ สถานการณ์ หรือผู้รับฟังแต่ประการใด เนื้อหาธรรมะส่วนใหญ่มีลักษณะที่คล้ายคลึง

กัน คือ ไม่มีการประยุกต์เนื้อหาธรรมะ ให้เข้ากับเหตุการณ์ปัจจุบัน ทำให้ประสิทธิภาพในการนำ

ไปใช้แก้ไขปัญหาชีวิตประจำวันได้ไม่เต็มที่ ในแต่ละสำนวนยกหัวข้อธรรมะขึ้นแสดงมากเกินไป

ขาดการตรวจสอบและ เรียบเรียงเนื้อหาให้ต่อเนื่องถูกต้องและชัดเจน สำนวนภาษาสูงเกินความ

สามารถที่ผู้ฟังระดับชาวบ้านจะเข้าใจได้อย่างแจ่มแจ้ง ยกหัวข้อธรรมะและภาษาบาลีขึ้นแสดงมาก

เกินไป ใช้อุปมาที่ไกลตัว และนำเนื้อหาธรรมะไปเปรียบเทียบกับสิ่งที่ผู้ฟังไม่รู้จักและคุ้นเคย

(พระราชปัญญาภรณ์, 2548)

Page 4: การพัฒนาการเผยแผ่ ... · 2019-03-12 · วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ ปีที่ 2 ฉบับที่

62 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ ปีที่ 2 ฉบับที่ 1

ในปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีและการสื่อสารเปลี่ยนแปลงไปอย่าง

รวดเร็ว วิธีการในการเผยแผ่ธรรมะผ่านสื่อวิทยุกระจายเสียงก็จำเป็นต้องปรับกลยุทธ์หรือวิธีการใน

การนำเสนอเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้ฟัง แต่จะมีวิธีการอย่างไรในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง หรือ

พัฒนาให้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้นเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกในยุคปัจจุบัน ดังนั้น

จึงเป็นประเด็นที่ผู้เขียนสนใจศึกษาและต้องการนำเสนอไว้ในงานเขียนนี้เป็นลำดับต่อไป

2. สภาพการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน

2.1ประวัติและวิวัฒนาการของการเผยแผ่พระพุทธศาสนา

ตั้งแต่สมัยพุทธกาลเป็นต้นมา พัฒนาการแห่งคัมภีร์พระพุทธศาสนา นักวิเคราะห์มหายาน

กล่าวว่า คัมภีร์พระพุทธศาสนามีพัฒนาการ 3 ยุค คือ (1) ยุคมุขปาฐะ ระยะการสืบทอด

พระธรรมวินัย โดยระบบปากต่อปาก ผู้มีบทบาทสำคัญมี 3 รูป คือ พระพุทธเจ้า พระอานนท์

และพระอุบาลี (2) ยุคพระสูตร ระยะการสืบทอดพระธรรมวินัยโดยการรวบรวมร้อยเรียงเป็นพระ

สูตร ผู้มีบทบาทสำคัญมี 3 รูป คือ พระมหากัสสปเถระ พระอุบาลี และพระอานนท์ เมื่อ

พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน 3 เดือน พระมหากัสสปเถระเป็นประธานจัดปฐมสังคายนา

ร้อยเรียงพระธรรมเทศนาเป็นพระสูตร รวบรวมพระวินัยเป็นหมวดหมู่ (3) ยุควิชาการ ระยะการ

สืบทอดพระธรรมวินัย โดยการแต่งคัมภีร์พระพุทธศาสนา ผู้มีบทบาทสำคัญมี 3 ท่าน คือ

พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ พระมัชฌันติกะ และพระมหาเทวะ (พระมหาสมจินต์ สมฺมาปญฺโญ,

2547)

การเผยแผ่พระพุทธศาสนาดำเนินการมาตามลำดับโดยใช้อุปกรณ์ของแต่ละยุค แต่พอมา

ถึงปัจจุบัน เมื่อโลกเจริญมากขึ้นจึงมีพัฒนาการในการเผยแผ่โดยเพิ่มวิทยุโทรทัศน์และเทคโนโลยี

สารสนเทศเข้ามา จึงสามารถแบ่งออกเป็น 5 ยุค ดังนี้

1. ยุคการสื่อสารโดยคำพูดการเผยแผ่พระพุทธศาสนาใช้วิธีมุขปาฐะ

2. ยุคการสื่อสารโดยการเขียนการเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยเขียนตามผนังถ้ำ จารึกลง

ใบลาน

3. ยุคการสื่อสารโดยการพิมพ์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยการพิมพ์หนังสือ

พระไตรปิฎก คัมภีร์ ตำราทางพระพุทธศาสนา

4. ยุคการสื่อสารโดยสื่ออิเลคทรอนิคส์มีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาทางวิทยุโทรทัศน์

5. ยุคการสื่อสารโดยโทรคมนาคมและดิจิตอลมีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาทางดาวเทียม

และอินเทอร์เน็ต

Page 5: การพัฒนาการเผยแผ่ ... · 2019-03-12 · วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ ปีที่ 2 ฉบับที่

63วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ ปีที่ 2 ฉบับที่ 1

ในแต่ละยุคมีรูปแบบ กระบวนการและประสิทธิผลในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่

แตกต่างกันไป วิธีการบางอย่างอาจเหมาะสมกับคนในยุคสมัยนั้นๆ แต่พอความเจริญผ่านไป

พระพุทธศาสนาก็ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการเพื่อให้เหมาะสมกับคนในยุคสมัยนั้นๆ

ในที่นี้ผู้เขียนจะนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับยุคการสื่อสารโดยสื่ออิเล็คทรอนิคส์การเผยแผ่

พระพุทธศาสนาทางวิทยุ โทรทัศน์ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ (ณัฐนันท์ ประกายสันติสุข,

2542; สมเกียรติ เรืองอนันต์เลิศ, 2539; ปนัดดา นพพนาวัน, 2533)

เมื่อมีสถานีวิทยุโทรทัศน์เกิดขึ้นพระสงฆ์ส่วนหนึ่งก็ได้ใช้สื่อวิทยุโทรทัศน์ในการเผยแผ่

พระพุทธศาสนา จึงมีพระนักจัดรายการวิทยุโทรทัศน์จำนวนมาก ปัจจุบันการดำเนินชีวิตทั้งทาง

โลกและทางธรรมอาจจะพยายามแสวงหาทางอยู่ร่วมกันอย่างสันติโดยที่ต่างฝ่ายก็ต้องพยายาม

ปรับตัวไปตามทางของตัวเอง ศาสนาได้แสดงออกในหลากหลายรูปแบบ หลากหลายเนื้อหา เพื่อ

เอาใจมิตรรักนักธรรมและบรรดาญาติธรรมทั้งหลายให้หันหน้ามาเข้าวัดบ้าง รวมทั้งได้ผสมผสาน

การใช้สื่อแบบใหม่ๆ อย่างไม่เคอะเขิน เช่น พระพยอม กัลยาโณ ได้จัดรายการสนทนาธรรมคู่กับดี

เจรายการวิทยุเป็นประจำเป็นต้นและยังมีพระสงฆ์ไทยอีกกลุ่มหนึ่งจัดรายการทางโทรทัศน์อีก

จำนวนมาก ซึ่งทั้งวิทยุโทรทัศน์ก็เป็นเครื่องมือในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้อย่างหนึ่ง

ปัญหาและอุปสรรคในการเผยแผ่ธรรมของสถาบันสงฆ์ไทยมีผู้ศึกษาแล้ว พบว่า ปัญหา

และอุปสรรคด้านพระสงฆ์และสถาบันสงฆ์ในฐานะผู้เผยแผ่ธรรมะขาดแคลนพระสงฆ์ที่มีความ

สามารถในการเผยแผ่ธรรมะอย่างแท้จริง ด้านรูปแบบการสื่อสาร ปัจจุบันเน้นรูปแบบการเทศน์

หรือการบรรยายภาคทฤษฎีเป็นหลัก แต่ไม่มีภาคปฏิบัติหรือจัดกิจกรรมต่อเนื่องที่เป็นรูปธรรม

ทำให้การเผยแผ่ธรรมะไม่เข้าถึงจิตใจของผู้ฟังอย่างแท้จริง ด้านวิธีการ หรือกลวิธีในการเผยแผ่

ไม่มีการกำหนดหัวข้อธรรมะที่เหมาะสมกับผู้ฟัง หรือไม่มีการศึกษาหัวข้อธรรมะอย่างถ่องแท้ก่อน

นำไปเผยแผ่นอกจากนี้พระสงฆ์ไม่ได้มีการฝึกการผลิตและการใช้โสตทัศนูปกรณ์มาก่อน รวมทั้งสื่อ

ต่างๆ ส่วนใหญ่มุ่งใช้แต่สื่อบุคคลเป็นหลัก ทำให้การเผยแผ่ธรรมะกระทำได้ในขอบเขตจำกัด

การเผยแผ่ของคณะสงฆ์ไทยจึงติดอยู่รูปแบบมากเกินไปทำให้คนรุ่นใหม่ให้ความสนใจน้อย

การใช้สื่อสมัยใหม่ ในยุคข้อมูลข่าวสารนี้จะส่งผลต่อการเผยแผ่ธรรม สำหรับการ

เปลี่ยนแปลงการใช้สื่อ และบทบาทสื่อสมัยใหม่นั้นย่อมมีผลต่อการเผยแผ่แต่หากแยกแยะไม่ออกก็

อาจจะนำไปใช้ในทางที่ผิด ซึ่งประการสำคัญโดยพื้นฐาน ต้องพิจารณาให้รอบคอบก่อนเผยแพร่

ออกไป ในด้านการเผยแผ่สาระของพระพุทธศาสนาให้กว้างไกลในยุคปัจจุบันนั้นอาจจะมีวิธีการได้

หลายแนวทางเท่าที่คณะสงฆ์ใช้ในปัจจุบันเช่น การเทศนา การแสดงธรรม การบรรยายธรรมใน

แต่ละวัด การเผยแผ่ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์

Page 6: การพัฒนาการเผยแผ่ ... · 2019-03-12 · วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ ปีที่ 2 ฉบับที่

64 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ ปีที่ 2 ฉบับที่ 1

ในยุคปัจจุบันมีสถานีวิทยุชุมชนเกิดขึ้น มีวัดหลายวัดต่างก็ใช้การเผยแผ่พระพุทธศาสนา

โดยใช้สื่อคือวิทยุชุมชนเป็นช่องทางในการเผยแผ่ แต่วิทยุชุมชนมีข้อจำกัดคือไม่สามารถสื่อสารไป

ในที่ไกลได้ เพราะมีข้อจำกัดด้านคลื่น ดังนั้นจึงจำกัดอยู่ในกลุ่มที่ไม่มากนักโดยเฉพาะในกลุ่มที่

คลื่นวิทยุชุมชนส่งไปถึงเท่านั้น

การเผยแผ่พระพุทธศาสนาทางวิทยุโทรทัศน์ เป็นที่นิยมมาโดยตลอด ในทางคณะสงฆ์ก็ได้

มีการจัดตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์ทางพระพุทธศาสนาขึ้นเรียกว่า “สถานีโทรทัศน์โลกพระพุทธศาสนา

แห่งประเทศไทย” ตั้งอยู่ที่วัดยานนาวา มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า The World Buddhist

Television of Thailand (WBTV) เดิมมีชื่อว่า สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวี เพื่อการเผยแผ่

พระพุทธศาสนา เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ โดยสมเด็จ

พระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ได้เจริญพระราชศรัทธา เสด็จฯ มาเป็นประธานเปิด

สถานีโทรทัศน์เฉลิมพระเกียรติฯ เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2547 ณ วัดยานนาวา เขตสาทร

กรุงเทพมหานคร

เนื่องจากสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวี เป็นระบบอะนาล๊อก (Analog) ซึ่งเป็นระบบเก่า ไม่

สามารถที่จะส่งสัญญาณไปในระยะไกลได้ ฉะนั้นจึงไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการตั้งสถานีได้

แต่กระนั้น สถานีก็ได้ทำการออกอากาศในระบบเดิมต่อไป และดำเนินการไปเพียงประมาณ 3

เดือน ก็ต้องหยุดดำเนินการไว้ก่อนเป็นการชั่วคราว เพราะมีเหตุขัดข้องทั้งจากระบบการออก

อากาศ และการบริหารจัดการของผู้อุปถัมภ์รายเดิมของสถานี

เนื่องจากสถานีโทรทัศน์แห่งนี้ เป็นสถานีโทรทัศน์ช่องประวัติศาสตร์ เพราะเป็นสถานี

โทรทศันท์ีส่ถาบนัพระมหากษตัรยิไ์ดเ้สดจ็ฯ มาทรงเปดิเพือ่จะใหเ้ปน็สถานโีทรทศันเ์ฉลมิพระเกยีรติ

ไว้ที่วัดยานนาวา พระอารามหลวงโดยเฉพาะ ฉะนั้น เพื่อเป็นการเทิดทูนรักษา พระเกียรติคุณ

และประวัติศาสตร์ ดังกล่าวเอาไว้ให้ได้ คณะกรรมการดำเนินงานจึงมีความตั้งใจอันแน่วแน่ที่จะ

รักษาและพัฒนาสถานีโทรทัศน์แห่งนี้ให้มีความสมบูรณ์ในทุกด้านให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

ต่อมาในปี พ.ศ. 2548 ด้วยความมุ่งมั่นดังกล่าว สถานีก็ได้รับการสนับสนุนจากกองทัพ

บกโดยความอนุเคราะห์ของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม)

พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา (ผู้บัญชาการทหารบก) พล.อ.ประยุทธ์ จันโอชา (เสนาธิการทหารบก)

และ พล.ท.กิตติทัศน์ บำเหน็จพันธุ์ (ผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5) โดยสถานี

โทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 ได้จัดสรรเวลาออกอากาศเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ทางสถานี

โทรทัศน์ดาวเทียม ไทยทีวีโกลบอล เน๊ตเวิล์ค (THAI TV GLOBAL NETWORK, TGN) สัปดาห์

ละ 1 ชั่วโมง นอกจากนี้ กองทัพบกก็ยังจัดหาเงินงบประมาณเพื่อสร้างห้องบันทึกเทปโทรทัศน์

ขนาดมาตรฐาน พร้อมกับมอบถวายกล้องโทรทัศน์และอุปกรณ์ที่จำเป็นอื่นๆ ให้แก่สถานีอีกด้วย

Page 7: การพัฒนาการเผยแผ่ ... · 2019-03-12 · วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ ปีที่ 2 ฉบับที่

65วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ ปีที่ 2 ฉบับที่ 1

ด้วยการช่วยเหลือดังกล่าว ทำให้สถานีมีความพร้อมและสามารถดำเนินงานต่อเนื่องไปได้

มากขึ้นโดยลำดับ ฉะนั้น ในปี พ.ศ.2551 คณะกรรมการดำเนินงานซึ่งมี พระพรหมวชิรญาณ

กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดยานนาวา เป็นประธานได้มีโอกาสฟื้นฟูและปรับปรุงสถานี

วิทยุโทรทัศน์ไทยทีวี ซึ่งได้หยุดดำเนินการไปเป็นการชั่วคราวแล้วนั้น ให้กลับมาดำเนินการได้อีก

ทั้งนี้โดยได้ทำการเปลี่ยนแปลงจากระบบเดิม ซึ่งเป็นระบบอนาล๊อก (Analog) ให้มาเป็นระบบ

ดิจิตอล (Digital) อันเป็นระบบออกอากาศในสถานีโทรทัศน์อันเป็นสากล ซึ่งเป็นที่นิยมแพร่หลาย

และมเีครือ่งมอือปุกรณส์ง่สญัญาณไปไดอ้ยา่งกวา้งไกลมากกวา่เดมิ (ระบบเคเบลิทวี ีผา่นดาวเทยีม)

ซึ่งขณะนี้ก็ได้ดำเนินการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในเรื่องดังกล่าวเป็นที่เรียบร้อยแล้วทุกประการ

พร้อมกันนี้ เพื่อให้เป็นที่สมพระเกียรติยิ่งขึ้น คณะกรรมการดำเนินงาน ได้ขอพระบรม

ราชานุญาต เปลี่ยนชื่อจากสถานีโทรทัศน์ไทยทีวี เพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา เป็นสถานี

โทรทัศน์โลกพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย และเนื่องในงานสมโภชพระอารามหลวง

วัดยานนาวา 240 ปี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินและ

เสด็จทอดพระเนตรห้องบันทึกเทปโทรทัศน์ และเยี่ยมชมกิจกรรมของสถานีโทรทัศน์โลกพระพุทธ

ศาสนาแห่งประเทศไทย วัดยานนาวา เป็นกรณีพิเศษ ในวันที่ 25 พฤษภาคม 2551 โดยการ

กราบบังคมทูลเชิญของคณะกรรมการดำเนินงานของสถานีโทรทัศน์โลกพระพุทธศาสนาแห่ง

ประเทศไทย วัดยานนาวา

งานเผยแผ่พระพุทธศาสนาซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติ โดยสื่อวิทยุโทรทัศน์นั้นเป็นงานที่ยิ่ง

ใหญ่มีความ สำคัญต่อการดำรงอยู่ของสถาบันชาติ ศาสนาและสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นอย่าง

ยิ่ง และในขณะเดียวกัน ก็จะต้องใช้เงินงบประมาณดำเนินการเป็นจำนวนมาก งานเผยแผ่จึงจะ

ดำเนินไปได้ด้วยดี ฉะนั้นคณะกรรมการดำเนินงานสถานีจึงได้ขอจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิสถานีวิทยุ

โทรทัศน์โลกพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย วัดยานนาวา เพื่อระดมทุนจากผู้มีจิตศรัทธาจากทุก

ภาคส่วนต่างๆ ของประเทศ เพื่อนำดอกผลมาดำเนินการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและส่งเสริม

กิจกรรมต่างๆ ของคณะสงฆ์ ให้ดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ (สถานวีทิยโุทรทศัน์

โลกพระพทุธศาสนา, 2557)

2.2สภาพการเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่ได้รับจากการศึกษางานวิจัยที่

เกี่ยวข้อง

จากศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน

จากงานวิจัยเรื่อง การศึกษารูปแบบ และแนวทางการเผยแผ่ธรรมทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่ง

ประเทศไทยของ วลีรัตน์ แสงสุดใจ (2557) พบว่า เนื้อหาธรรมะที่พระสงฆ์นำมาแสดงทางสถานี

วิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ส่วนมากมีความสอดคล้องกับพระไตรปิฎกตามหลักพุทธวิธีการ

Page 8: การพัฒนาการเผยแผ่ ... · 2019-03-12 · วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ ปีที่ 2 ฉบับที่

66 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ ปีที่ 2 ฉบับที่ 1

สอน แต่มีบทพระธรรมเทศนาบางสำนวนเท่านั้นที่ไม่สอดคล้อง เพราะผู้แสดงไม่ได้เตรียมและ

ตรวจสอบเนื้อหาของธรรมะให้ถูกต้อง ทำให้เนื้อหาไม่ต่อเนื่อง มีความผิดพลาดทั้งความหมาย ตัว

อักษร และอธิบายธรรมะตามความคิดเห็นของตนเอง อย่างไรก็ตามเนื้อหามีความสอดคล้องกับ

ขบวนการการสื่อสารตามหลักนิเทศศาสตร์ คือ ผู้ส่งสาร หมายถึงพระธรรมกถึกที่มีความรู้ความ

สามารถในการเผยแผ่ธรรมะเป็นอย่างดี สาร หมายถึงสำนวนบทพระธรรมเทศนาทั้ง 289 สำนวน

ช่องทาง หมายถึงสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย และผู้รับสารหมายถึงประชาชนผู้รับฟัง

โดยทั่วไป เป็นการสื่อสารแบบทางเดียวมีพระสงฆ์เป็นผู้ส่งสาร หัวข้อธรรมะบางข้อพระสงฆ์นำมา

แสดงซ้ำ ผู้ฟังได้ฟังบ่อยๆ ก็สามารถจำได้ นับว่า เป็นการสอดคล้องที่สมบูรณ์ทั้งภาคทฤษฏีและ

ภาคปฏิบัติ

รูปแบบการเผยแผ่ธรรมะทางสถานีวิทยุแห่งประเทศไทย ประกอบด้วย การเทศนาแบบ

ปุจฉาวิสัชนา หรือการสื่อสารธรรมะแบบสองทาง เปิดโอกาสให้ผู้รับฟังได้สอบถาม ประยุกต์

ธรรมะให้เข้ากับเหตุการณ์ปัจจุบัน ยกหัวข้อธรรมะขึ้นแสดงให้พอเหมาะ ไม่แสดงธรรมะโดย

อัตโนมัติ แต่ควรพัฒนาแนวทางการใช้ภาษา ให้มีการเรียบเรียงและตรวจสอบเนื้อหาให้เข้าใจง่าย

และถูกต้อง ตรงตามพระไตรปิฎก แก้ไขปรับปรุงในส่วนที่บกพร่อง ลดการใช้ภาษาบาลีให้น้อยลง

ทำบทพระธรรมเทศนาให้ถูกต้องตามหลักการทำบทวิทยุกระจายเสียง ระมัดระวังการใช้ภาษา

ทีต่ำ่กวา่มาตรฐาน เชน่ ภาษาทีร่นุแรง ไมส่ภุาพ แสดงธรรมะไปตามหลกัปรยิตั ิปฏบิตั ิ และปฏเิวธ

ได้ถูกต้องชัดเจน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรจัดทำแผนและระบบในการเผยแผ่ เพื่อปรับปรุงพัฒนา

รูปแบบวิธีการที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ควบคุมการนำเสนอเนื้อหาธรรมะของพระธรรมกถึก

เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ถูกต้องตามพระไตรปิฎก ย่อมเป็นความมั่นคงของพระพุทธศาสนา

และเป็นประโยชน์อย่างสูงสุดต่อประชาชน ผู้รับฟัง สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมี

ประสิทธิภาพ

การเผยแผ่พระพุทธศาสนาจากอดีตถึงปัจจุบันได้รับการพัฒนาให้ทันกับยุคสมัย จากยุค

แรกที่ใช้วิธีมุขปาฐะ ต่อมาใช้วิธีจารึกลงบนผนังถ้ำ จารึกลงใบลาน พิมพ์เป็นหนังสือ เผยแผ่ทาง

สถานีวิทยุกระจายเสียงและทางสถานีโทรทัศน์ และพอมาถึงปัจจุบันก็มีการเผยแผ่พระพุทธศาสนา

โดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ตผ่านทางเว็บไซต์โดยวัดองค์กรและสถาบัน

สงฆ์ได้เปิดเว็บไซต์ในนามของวัดหรือองค์กร นอกจากนั้นยังมีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาผ่านทาง

เครือข่ายทางสังคมอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก พระพุทธศาสนาดำรงอยู่ในโลกที่กำลังพัฒนาด้านวัตถุ

ให้เจริญก้าวไปข้างหน้า ดังนั้น ในอนาคตจึงไม่สามารถคาดคะเนได้ว่า การเผยแผ่พระพุทธศาสนา

นั้นจะเป็นไปในลักษณะใด ในช่วงนี้การเผยแผ่ธรรมทางพระพุทธศาสนาได้ปรากฏบนโลกไซเบอร์

มาหลายปีแล้ว (พระมหาบุญไทย ปุญญมโน, 2555)

Page 9: การพัฒนาการเผยแผ่ ... · 2019-03-12 · วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ ปีที่ 2 ฉบับที่

67วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ ปีที่ 2 ฉบับที่ 1

แม้การความเปลี่ยนแปลงทางสังคมจะเปลี่ยนไปมากน้อยเพียงใดก็ตาม แต่การเผยแผ่

พระพุทธศาสนาผ่านสื่อต่างๆ ก็จะยังคงอยู่ตลอดไป รวมทั้งการเผยแผ่ผ่านสื่อวิทยุกระจายเสียงซึ่ง

ยังมีปรากฏให้เห็นอยู่จำนวนมากมาย เช่น สถานีวิทยุกระจายเสียงพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

ประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช (FM 106.50 MHz.) สถานีวิทยุพระพุทธศาสนาแห่งชาติและ

สังคม ประจำจังหวัดพิษณุโลก (FM 99.90 MHz.) สถานีวิทยุกระจายเสียงพระพุทธศาสนา

(สถานีวิทยุเฉลิมพระเกียรติ)จังหวัดนครราชสีมา (FM 99.75 MHz.) โดยที่สถานีวิทยุกระจายเสียง

พระพุทธศาสนาทุกสถานีดังที่ได้กล่าวมานี้นั้นล้วนมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเผยแผ่หลักธรรมคำสอน

ทางพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น แต่อาจจะมีรูปแบบหรือวิธีการนำเสนอที่เหมือนหรือแตกต่างกันทั้งนี้ขึ้น

อยู่กับผู้จัดรายการหรือรูปแบบการนำเสนอที่แต่ละสถานีจะรังสรรค์ขึ้นให้มีความทันสมัยและ

สามารถโน้มน้าวผู้ฟังให้เกิดความสนใจอย่างต่อเนื่องได้

3. กรณีศึกษาที่เป็นแบบอย่างที่ดีในการเผยแผ่ธรรมผ่านสื่อวิทยุกระจายเสียง

3.1 รูปแบบการจัดรายการและเนื้อหาของสถานีวิทยุกระจายเสียงเพื่อ

พระพุทธศาสนาและสังคมวัดนายโรง(วลีรัตน์แสงสุดใจ,2557)

รูปแบบการจัดรายการและเนื้อหาของสถานีวิทยุกระจายเสียงเพื่อพระพุทธศาสนาและ

สังคม วัดนายโรง มีการวางแผนผังรูปแบบรายการ โดยแบ่งเป็น 3 ผัง คือ ช่วงวันจันทร์ถึงศุกร์

วันเสาร์และวันอาทิตย์ซึ่งเนื้อหาที่นำเสนอในแต่ละวันนั้นมีความใกล้เคียงกันตามสัดส่วนรายการที่

กำหนดไว้คือ เป็นรายการสาระธรรมะที่เป็นประโยชน์และสอดคล้องกับพระไตรปิฎก คิดเป็นร้อย

ละ 80 และเป็นรายการเพื่อสังคม เกี่ยวกับข่าว สุขภาพนานาสาระ การบริการให้ข่าวสารแก่

ชุมชน และเป็นการประชาสัมพันธ์แจ้งข่าวทั่วๆ ไป คิดเป็นร้อยละ 20 แต่มีการปรับให้เหมาะสม

กับกลุ่มผู้ฟัง และตามความสะดวกของนักจัดรายการ ซึ่งการดำเนินรายการในช่วงเวลาต่างๆ ของ

แต่ละวัน จะเชื่อมโยงให้เข้ากับการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น ถ้าช่วงเช้าจะเป็นธรรมะเบาๆ ฟัง

สบาย ถ้าช่วงบ่ายเนื้อหาจะมีความหนักแน่นขึ้น ส่วนกลางคืนก็จะเป็นการผ่อนคลายเพื่อเป็นการ

ขับกล่อม ให้ผู้ฟังก่อนนอน ทั้งนี้ในการคัดเลือกบทความ บทสวด หรือธรรมคำสอนต่างๆ จะเลือก

ให้สอดคล้องตามหลักพระไตรปิฎก โดยได้นำแนวคิดการสื่อสารกับพระพุทธศาสนา บทบาทหน้าที่

ความรับผิดชอบของสื่อมวลชนมาเป็นหลักในการปฏิบัติ เนื่องจากศาสนากับการสื่อสารเป็นสิ่งที่

แยกจากกันไม่ได้ ทั้งนี้ สถานีวิทยุกระจายเสียงเพื่อพระพุทธศาสนาและสังคม วัดนายโรงจึงใช้

แนวคิดนี้ในการวางรูปแบบการจัดรายการและเนื้อหา ตลอดจนวางแผนผังตารางออกอากาศให้

Page 10: การพัฒนาการเผยแผ่ ... · 2019-03-12 · วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ ปีที่ 2 ฉบับที่

68 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ ปีที่ 2 ฉบับที่ 1

เหมาะสมตามหลักพระพุทธศาสนา อีกทั้งได้ใช้แนวคิดเรื่องรูปแบบและเนื้อหารายการวิทยุชุมชน

เพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติซึ่งแนวคิดนี้ลักษณะเหมือนกันกับการจัดรายการวิทยุกระจายเสียงทั่วไป

โดยได้ยึดหลักคือ จะต้องให้ข่าวสาร ความรู้ ความบันเทิง และบริการสาธารณะแก่ประชาชน และ

ต้องคำนึงถึงสิทธิความเสมอภาค และอิสรภาพของประชาชน แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้มีเกณฑ์หรือ

กฎระเบียบตายตัวที่ชัดเจนว่ารูปแบบรายการที่ออกมานั้นต้องเป็นในลักษณะ หากแต่เป็นการวาง

รูปแบบรายการเพื่อให้แต่ละสถานีมีความสร้างความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เพื่อสร้างความ

โดดเด่นให้แก่สถานีโดยเน้นด้านของพระพุทธศาสนาและสังคม จึงทำให้ตลอด 5 ปีที่ผ่านมานั้น

มีจำนวนผู้ฟังที่เพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากอาจจะเล็งเห็นถึงความสำคัญของพระพุทธ-

ศาสนามากยิ่งขึ้น จนทำให้สถานีได้รับความนิยมและได้อยู่เป็นอันดับที่ 2 ของวิทยุในกำกับของ

มหาเถรสมาคม ซึ่งก็เกิดจากศักยภาพของบุคลากรที่ทำงานอย่างเต็มความสามารถ ทำให้แต่ละ

รายการมีการแบบฉบับเป็นของตัวเอง

3.2รูปแบบการจัดรายการและวัตถุประสงค์ของสถานีวิทยุโทรทัศน์โลก

พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทยวัดยานนาวา

สถานีโทรทัศน์โลกพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย ตั้งอยู่ที่วัดยานนาวา มีชื่อเป็น

ภาษาอังกฤษว่า The World Buddhist Television of Thailand (WBTV) เดิมมีชื่อว่า สถานี

วิทยุโทรทัศน์ไทยทีวี เพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา สมเด็จ-

พระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ โดยที่ทางสถานีได้กำหนดวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานไว้ดังนี้

1. เป็นสถานีโทรทัศน์เพื่อเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรม

ราชินีนาถ

2. เพื่อการเผยแพร่พระพุทธศาสนาทั้งในประเทศและต่างประเทศ

3. เพื่อเผยแพร่ศาสนกิจ ผลงาน และกิจกรรมต่างๆ ของมหาเถรสมาคม คณะสงฆ์ วัด

สถานศึกษา และองค์กรทางพระพุทธศาสนาต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

4. เพื่อให้การศึกษาในเรื่องศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรมของชาติ และเรื่องอื่นๆ แก่

ประชาชน และเยาวชนของชาติ

5. เพื่อเป็นสื่อสร้างความเข้าใจและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ระหว่างคนในชาติซึ่งมีเชื้อ

ชาติและศาสนาที่แตกต่างกัน

6. เพื่อสร้างสรรค์ และปลูกจิตสำนึก ให้คนในชาติมีความรักและเกิดความหวงแหนใน

สถาบันชาติ ศาสนา และ สถาบันพระมหากษัตริย์ อย่างแท้จริง

Page 11: การพัฒนาการเผยแผ่ ... · 2019-03-12 · วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ ปีที่ 2 ฉบับที่

69วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ ปีที่ 2 ฉบับที่ 1

การออกอากาศ สถานีโทรทัศน์โทรทัศน์โลกพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย วัด

ยานนาวา เผยแพร่โดยดาวเทียม NSS 6 KU ความถี่ 11635 MHz SYMBOL RATE 27500

KSPS แนวการรับ H สามารถรับชมได้ทั่วประเทศไทย และประเทศในแถบเอเชียอาคเนย์ เช่น

ลาว กัมพูชา พม่า เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ บรูไน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ฮ่องกง ไต้หวันและ

ตอนใต้ของประเทศจีน (สถานวีทิยโุทรทศันโ์ลกพระพทุธศาสนา, 2557)

4. แนวทางการพัฒนาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วยสื่อวิทยุกระจายเสียง

ความสำเร็จของการเผยแผ่ธรรมผ่านสื่อวิทยุกระจายเสียงเกิดจากความต่อเนื่องของการนำ

เสนอรายการและมีผู้ฟังให้ความสนใจอย่างต่อเนื่องและเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แนวทางที่สามารถนำมาใช้

ในการพัฒนาการเผยแผ่ที่เป็นไปได้มีดังนี้

4.1 ควรจัดทำแผนผังรายการและระบบในการเผยแผ่ธรรมให้มีประสิทธิภาพ

4.2 ควรมีการควบคุมและตรวจสอบเนื้อหาก่อนที่จะนำเสนอออกอากาศ เพื่อทำให้เนื้อหา

ธรรมะเป็นไปตามมาตรฐานและถูกต้องตามแนวทางของพระไตรปิฎก ทั้งนี้เพื่อเป็นการสืบสาน

พระพุทธศาสนาให้คงอยู่ต่อไป

4.3 ควรมีการวางแผนระยะยาวโดยการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการดำเนินงาน

ระหว่าสถานีต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายในภูมิภาคของตน ทั้งนี้ หากทำได้ก็จะเป็นการสร้าง

ความมั่นคงและสร้างความ เข้มแข็งในการดำเนินงานเพื่อการเผยแผ่ธรรมะ

4.4 ควรให้ความสำคัญกับสื่อออนไลน์ เพราะเป็นสื่อที่เข้าถึงได้ง่ายและเร็วต่อประชาชน

ดังนั้น จึงควรปรับปรุงหน้า เว็บไซต์ของสถานีโดยเพิ่มตัวเลือกการฟังวิทยุออนไลน์เข้าไป

4.5 ควรมีการศึกษาเปรียบเทียบการใช้สื่อของสถาบันสงฆ์ หรือการร่วมมือระหว่าง

สถาบันสงฆ์กับภาคประชนชนเพื่อศึกษาและพัฒนางานด้านการเผยแผ่และเพื่อเปรียบเทียบว่ามี

ความเหมือนหรือแตกต่างในการบริหารงาน ตลอดจนวิธีการนำเสนอรูปแบบรายการและลักษณะ

เนื้อหา เพื่อให้รักษาความเป็นวิทยุเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาสืบต่อไป

Page 12: การพัฒนาการเผยแผ่ ... · 2019-03-12 · วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ ปีที่ 2 ฉบับที่

70 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ ปีที่ 2 ฉบับที่ 1

5. บทสรุป

การเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วยสื่อวิทยุกระจายเสียงได้มีมาเป็นเวลานานก่อนความเจริญ

ทางด้านการสื่อสารและเทคโนโลยีจะแทรกซึมเข้ามา แม้กระแสของความเปลี่ยนแปลงทางสังคม

จะเกิดขึ้นแบบก้าวกระโดด อุปกรณ์สื่อสารเป็นสิ่งที่พบได้ง่ายสำหรับคนในทุกเพศทุกวัย ข่าวสาร

และการสื่อสารต่างๆ เกิดขึ้นอย่างฉับไวภายในระยะเวลาสั้นๆ และในทุกวันนี้ปริมาณคนที่จะฟัง

วิทยุจะเริ่มลดลงมากแล้ว แต่กิจกรรมและรายการที่ต้องสื่อสารผ่านคลื่นวิทยุก็ยังคงดำรงอยู่ไม่จบ

สิ้น แต่อาจจะมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการนำเสนอให้มีความทันสมัยทั้งทางด้านเนื้อหาสาระที่นำ

มาเสนอจะต้องมีความถูกต้องตามหลักธรรมในพระไตรปิฎก และเน้นรูปแบบการนำเสนอให้น่า

สนใจและทันสมัยเพื่อสร้างแรงดึงดูดให้กับกลุ่มเป้าหมายในทุกเพศทุกวัย

Page 13: การพัฒนาการเผยแผ่ ... · 2019-03-12 · วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ ปีที่ 2 ฉบับที่

71วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ ปีที่ 2 ฉบับที่ 1

ณัฐนันท์ ประกายสันติสุข. (2542). ประสิทธิผลของการสื่อสารในการเผยแผ่ธรรมะ: หลักสูตร

การพัฒนาจิตให้เกิดปัญญาและสันติสุข. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.

ปนัดดา นพพนาวัน. (2533). การศึกษากระบวนการสื่อสารเพื่อเผยแพร่ธรรมะของสถาบันสงฆ์.

วิทยานิพนธปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระมหาบุญไทย ปุญญมโน. (2555). พัฒนาการการเผยแผ่พระพุทธศาสนาจากมุขปาฐะถึงโลก

ไซเบอร์. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://cybervanaram.net/index.php/2009-12-17-

14-43-37-13/860-2012-11-09-04-06-10 [8 ธันวาคม 2557].

พระมหาสมจินต์ สมฺมาปญฺโญ. (2547). วิพากษแนวคิดพระพุทธศาสนาสำหรับโลกหลังยุคใหม.่

กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระราชปัญญาภรณ์. (2548). ศึกษารูปแบบ และแนวทาง การเผยแผ่ธรรมทางสถานีวิทยุกระจาย

เสียงแห่งประเทศไทย : ศึกษาเฉพาะกรณี การแสดงพระธรรมเทศนาในวันธัมมัสสวนะ

ระหว่าง พ.ศ. 2539-2542. วิทยานิพนธพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (ธรรมนิเทศ). บัณฑิต

วิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วลีรัตน์ แสงสุดใจ. (2557). การศึกษาการบริหารงานรายการวิทยุชุมชนเพื่อเผยแผ่ศาสนากรณี

ศึกษา สถานีวิทยุกระจายเสียงเพื่อพระพุทธศาสนาและสังคม วัดนายโรง. [ออนไลน์].

แหล่งที่มา: http://203.131.210.100/ejournal/wp-content/uploads/2013/03/

JCIS-55001.pdf [8 กันยายน 2557].

สถานวีทิยโุทรทศันโ์ลกพระพทุธศาสนา. (2557). ประวตัสิถานวีทิยโุทรทศันโ์ลกพระพทุธศาสนา เฉลมิ

พระเกยีรตฯิ (WBTV). [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.wbtvonline.com/About-

Us.html [28 ธันวาคม 2557].

สมเกียรติ เรืองอนันต์เลิศ. (2539). การเปิดรับธรรมะในยุคโลกาภิวัตน์. วิทยานิพนธปริญญามหา

บัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.