ศาสตราจารย์นายแพทย์รัชตะ รัช ... ·...

5
ศาสตราจารย์นายแพทย์รัชตะ รัชตะนาวิน มีความเป็นเลิศและโดดเด่นในด้านวิชาการ อาจารย์รักวิทยาศาสตร์และการทำวิจัยเป็นชีวิตจิตใจ อาจารย์มีผลงานตีพิมพ์ในวารสาร นานาชาติถึง 173 เรื่อง และมีเครือข่ายวิจัยกว้างขวาง อาจารย์ได้สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ๆ หลายคน อาจารย์ประสบความสำเร็จในด้านวิชาการขั้นสูงสุดเมื่อได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ของไทย จากนั้นอาจารย์ได้เดินทางเข้าสู่สายบริหาร โดยได้ดำรงตำแหน่งคณบดี ซึ่งเป็น ตำแหน่งสูงสุดของคณะแพทยศาสตร์ฯ และยิ่งไปกว่านั้นในปัจจุบันอาจารย์ยังได้รับความ ไว้วางใจให้ไปดำรงตำแหน่งอธิการบดีของมหาวิทยาลัยมหิดล อาจารย์รัชตะมีบุคลิกภาพทีอ่อนน้อม อ่อนโยน มีความเมตตา และความกตัญญู ระลึกถึงคุณของผู้มีพระคุณอยู่เสมอๆ อาจารย์จะยกย่องชมเชยทั้งผู้ที่สูงกว่าและผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาอย่างเปิดเผย อาจารย์เป็น แบบอย่างของผู้ที่มีความเชื่อมั่นในการ “ให้” ในการกระทำทุกอย่างๆ และเป็นเหตุที่นำ ความสำเร็จในทุกๆ ด้านมาให้กับอาจารย์ในที่สุด อาจารย์รัชตะเป็นนักศึกษาแพทย์รามาธิบดีรุ่นที่ 5 อาจารย์มีความสนใจทางด้านวิทยาศาสตร์ พื้นฐานมาตั้งแต่เป็นนักเรียน ในปีสุดท้ายของการเป็นนักเรียนมัธยมอาจารย์สอบได้ทุน โคลัมโบเพื่อไปศึกษาต่อวิทยาศาสตร์ในต่างประเทศ แต่ในที่สุดอาจารย์ได้ตัดสินใจเรียน แพทย์ตามคำแนะนำของบิดา-มารดา ด้วยเหตุผลคืออาชีพแพทย์นั้นยังมีโอกาสได้ทำงาน วิจัยเช่นเดียวกับนักวิทยาศาสตร์ เมื่ออาจารย์ได้รับปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิตแล้ว จึงได้ มาเรียนต่อแพทยศาสตรบัณฑิต ที่คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เมื่อเรียนจบ แพทย์อาจารย์สมัครเป็นแพทย์ฝึกหัดต่อที่รามาธิบดี แล้วเข้าเป็นแพทย์ประจำบ้าน อายุรศาสตร์ในปี พ.ศ. 2519 อาจารย์เกิดความสนใจในสาขาต่อมไร้ท่อ เมื่อมีโอกาสได้ ทำงานร่วมกับศาสตราจารย์นายแพทย์เทพ หิมะทองคำ เพราะเห็นว่าศาสตร์ของสาขา ศาสตราจารย์นายแพทย์รัชตะรัชตะนาวิน หัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ปีพ.ศ.5-5 ปัจจัยสำคัญที่ทำให้อาจารย์ ประสบความสำเร็จในการทำวิจัย คือความตั้งใจจริงมีโจทย์วิจัย ที่มีความโดดเด่นมีผู้สนับสนุน อย่างจริงจังการสร้างความ เชื่อใจให้เกิดขึ้นในกลุ่มนักวิจัย ไม่เอาเปรียบกันต้องเป็นคนใจกว้าง พร้อมที่จะสนับสนุนผู้อื่นเสมอ ไม่ควรหวงข้อมูลเอาไว้เอง เพราะจะไม่เกิดความก้าวหน้า สู่ห้าทศวรรษอายุรศาสตร์รามาธิบดี 0

Upload: others

Post on 02-Feb-2020

2 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: ศาสตราจารย์นายแพทย์รัชตะ รัช ... · 2019-03-07 · แพทย์ตามคำแนะนำของบิดา-มารดา

ศาสตราจารย์นายแพทย์รัชตะ รัชตะนาวิน มีความเป็นเลิศและโดดเด่นในด้านวิชาการ

อาจารย์รักวิทยาศาสตร์และการทำวิจัยเป็นชีวิตจิตใจ อาจารย์มีผลงานตีพิมพ์ในวารสาร

นานาชาตถิงึ 173 เรือ่ง และมเีครอืขา่ยวจิยักวา้งขวาง อาจารยไ์ดส้รา้งนกัวจิยัรุน่ใหม่ๆ หลายคน

อาจารย์ประสบความสำเร็จในด้านวิชาการขั้นสูงสุดเมื่อได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น

ของไทย จากนั้นอาจารย์ได้เดินทางเข้าสู่สายบริหาร โดยได้ดำรงตำแหน่งคณบดี ซึ่งเป็น

ตำแหน่งสูงสุดของคณะแพทยศาสตร์ฯ และยิ่งไปกว่านั้นในปัจจุบันอาจารย์ยังได้รับความ

ไว้วางใจให้ไปดำรงตำแหน่งอธิการบดีของมหาวิทยาลัยมหิดล อาจารย์รัชตะมีบุคลิกภาพที่

อ่อนน้อม อ่อนโยน มีความเมตตา และความกตัญญู ระลึกถึงคุณของผู้มีพระคุณอยู่เสมอๆ

อาจารย์จะยกย่องชมเชยทั้งผู้ที่สูงกว่าและผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาอย่างเปิดเผย อาจารย์เป็น

แบบอย่างของผู้ที่มีความเชื่อมั่นในการ “ให้” ในการกระทำทุกอย่างๆ และเป็นเหตุที่นำ

ความสำเร็จในทุกๆ ด้านมาให้กับอาจารย์ในที่สุด

อาจารยร์ชัตะเปน็นกัศกึษาแพทยร์ามาธบิดรีุน่ที ่5 อาจารยม์คีวามสนใจทางดา้นวทิยาศาสตร์

พื้นฐานมาตั้งแต่เป็นนักเรียน ในปีสุดท้ายของการเป็นนักเรียนมัธยมอาจารย์สอบได้ทุน

โคลัมโบเพื่อไปศึกษาต่อวิทยาศาสตร์ในต่างประเทศ แต่ในที่สุดอาจารย์ได้ตัดสินใจเรียน

แพทย์ตามคำแนะนำของบิดา-มารดา ด้วยเหตุผลคืออาชีพแพทย์นั้นยังมีโอกาสได้ทำงาน

วิจัยเช่นเดียวกับนักวิทยาศาสตร์ เมื่ออาจารย์ได้รับปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิตแล้ว จึงได้

มาเรียนต่อแพทยศาสตรบัณฑิต ที่คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เมื่อเรียนจบ

แพทย์อาจารย์สมัครเป็นแพทย์ฝึกหัดต่อที่รามาธิบดี แล้วเข้าเป็นแพทย์ประจำบ้าน

อายุรศาสตร์ในปี พ.ศ. 2519 อาจารย์เกิดความสนใจในสาขาต่อมไร้ท่อ เมื่อมีโอกาสได้

ทำงานร่วมกับศาสตราจารย์นายแพทย์เทพ หิมะทองคำ เพราะเห็นว่าศาสตร์ของสาขา

ศาสตราจารย์นายแพทย์รัชตะ รัชตะนาวิน หัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ปี พ.ศ. �5�� - �5��

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้อาจารย์ ประสบความสำเร็จในการทำวิจัย คือความตั้งใจจริง มีโจทย์วิจัย ที่มีความโดดเด่น มีผู้สนับสนุน อย่างจริงจัง การสร้างความ เชื่อใจให้เกิดขึ้นในกลุ่มนักวิจัย

ไม่เอาเปรียบกัน ต้องเป็นคนใจกว้าง พร้อมที่จะสนับสนุนผู้อื่นเสมอ

ไม่ควรหวงข้อมูลเอาไว้เอง เพราะจะไม่เกิดความก้าวหน้า

สู่ห้าทศวรรษ อายุรศาสตร์รามาธิบดี 0��

Page 2: ศาสตราจารย์นายแพทย์รัชตะ รัช ... · 2019-03-07 · แพทย์ตามคำแนะนำของบิดา-มารดา

ต่อมไร้ท่อ ต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์

พื้นฐาน และทางด้านการแพทย์ไปพร้อมๆ กัน เมื่อฝึกอบรมแพทย์

ประจำบ้านอายุรศาสตร์จบ อาจารย์เทพได้ติดต่อให้อาจารย์รัชตะ

ไปฝกึอบรมตอ่ที ่University of Massachusetts ในเมอืง Worcester

ประเทศสหรัฐอเมริกา อาจารย์กลับมารับการบรรจุเป็นอาจารย์ที่

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีในปี พ.ศ. 2526 จนกระทั่ง

ในปี พ.ศ. 2530 อาจารย์ได้เดินทางกลับไปทำงานวิจัยที่ University

of Massa-chusetts อีกครั้งเป็นเวลา 1 ปี พร้อมกับอาจารย์ณัฎฐา

ภรรยา

อาจารย์ให้ความสนใจงานวิจัยเป็นพิเศษ ตอนที่เป็นแพทย์ประจำ

บา้นอาจารยไ์ดเ้ขยีนรายงานผูป้ว่ยแบบ case report และไดท้ำงาน

วิจัยร่วมกับอาจารย์เทพ ทำให้ในช่วงก่อนที่อาจารย์จะไปศึกษาต่อ

ต่างประเทศ อาจารย์มีผลงานวิจัยตีพิมพ์ถึง 5 เรื่อง เมื่ออาจารย์เทพ

ลาออกจากราชการ อาจารย์รัชตะได้ดูแลห้องปฏิบัติการต่อจาก

อาจารย์เทพ อาจารย์เริ่มจากการทำงานวิจัยเล็กๆ ซึ่งส่วนใหญ่ได้

ทุนวิจัยภายในจากคณะแพทยศาสตร์ฯ เมื่ออาจารย์ขอทุนวิจัยจาก

มหาวิทยาลัยมหิดลแต่ได้รับการปฏิเสธ อาจารย์ไม่ได้ละความ

พยายาม ได้ส่งไปขอทุนอีกครั้งจาก International atomic energy

agency (IAEA) ปรากฏว่าขอเงินทุนเพียง 1 แสนบาท แต่กลับได้มา

ถึง 3 แสนบาท พร้อมกับตั๋วเครื่องบินไป-กลับชั้นธุรกิจ เพื่อเดินทาง

ไปเสนอผลงานวิจัยที่ต่างประเทศ ทำให้อาจารย์มีกำลังใจมากขึ้น

และเห็นว่าถ้าตั้งใจจริงและไม่ละความพยายาม งานทุกอย่างจะ

สำเร็จได้ นอกจากนี้ศาสตราจารย์นายแพทย์อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ

ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ในขณะนั้น ได้

เล็งเห็นในความสามารถและความตั้งใจของอาจารย์รัชตะ จึงได้

ส่งเสริมให้อาจารย์มีโอกาสได้รับทุนพัฒนาอาจารย์จากมูลนิธิ

ประชาธิปก-รำไพพรรณี และแนะนำให้อาจารย์ทำงานวิจัยด้านการ

ขาดสารไอโอดีนในคนไทย ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขระดับประเทศ

ทำให้อาจารย์รัชตะได้มีโอกาสทำงานในฐานะนักวิชาการสนับสนุน

โครงการนี้ ซึ่งขณะนั้นนายชวน หลีกภัย เป็นรัฐมนตรีว่าการ

กระทรวงสาธารณสุข อาจารย์รัชตะอายุยังไม่ถึง 40 ปี ได้มี

โอกาสนั่งรถคันเดียวกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

และอธิบดีกรมอนามัยไปต่างจังหวัด ในโครงการรณรงค์

การขาดสารไอโอดีน อาจารย์มีโอกาสได้เห็นระบบสาธารณสุข

ของประเทศไทย และได้เก็บข้อมูลทำวิจัยในปัญหาระดับประเทศ

ในระยะต่อมาอาจารย์เริ่มมีความสนใจในเรื่องของโรคกระดูกพรุน

อาจารย์เล็งเห็นว่าการทำงานวิจัยโรคกระดูกพรุนมีความจำเป็นที่จะ

ต้องมีนักวิจัยจากสหสาขา และในคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาล

รามาธิบดี มีผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขาอย่างพร้อมเพรียง ในขณะนั้น

อาจารย์ยังไม่มีความอาวุโสเพียงพอที่จะเป็นประธานของกลุ่มวิจัย

ได้ จึงได้ไปเชื้อเชิญอาจารย์อรรถสิทธิ์ ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นคณบดี

ให้เป็นประธานกลุ่มวิจัยให้ จากจุดเริ่มต้นอันนี้ทำให้คณะแพทย-

ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีก้าวสู่ความเป็นผู้นำในการวิจัย

อาจารย์รัชตะกับบทบาทอธิการบดีในวันนี้ เพื่อผลักดันให้มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลก

0�5 >>

Page 3: ศาสตราจารย์นายแพทย์รัชตะ รัช ... · 2019-03-07 · แพทย์ตามคำแนะนำของบิดา-มารดา

โรคกระดูกพรุน มีโครงข่ายวิจัยกว้างขวาง และมีผลงานตีพิมพ์

จำนวนมาก จนกระทั่งอาจารย์ได้รับเชิญให้เป็นเมธีวิจัยอาวุโสของ

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และสุดท้ายได้รับรางวัล

นักวิทยาศาสตร์ดีเด่นของไทย ปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้อาจารย์

ประสบความสำเร็จในการทำวิจัย นอกจากความตั้งใจจริงแล้ว

ยังต้องมีโจทย์วิจัยที่มีความโดดเด่นไม่เหมือนใครมีผู้ให้การ

สนับสนุนอย่างจริงจัง มีการสร้างเครือข่าย รู้จักใช้เทคโนโลยี

มีการสร้างคนรุ่นใหม่ๆ สร้างความเชื่อใจให้เกิดขึ้นในกลุ่ม

นักวิจัย ไม่เอาเปรียบกัน ต้องเป็นคนใจกว้าง รู้จักให้ และ

พร้อมที่จะสนับสนุนผู้อื่นเสมอ ไม่ควรหวงข้อมูลเอาไว้เอง

เพราะจะไม่เกิดความก้าวหน้า

ในระหว่างที่อาจารย์ดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์

อาจารย์ได้จัดสรรทุนวิจัยของเมธีวิจัยอาวุโส สกว. ให้แก่อาจารย์

หลายท่านในภาควิชาฯ และช่วยหาทางให้อาจารย์ที่มีศักยภาพ

ในการทำวิจัยสามารถยืนได้ด้วยขาของตัวเอง โดยอาจารย์จะคอย

แนะนำแหล่งทุนวิจัยที่เหมาะสมให้ ผลักดันให้อาจารย์ลูกภาค

ขอทุนวิจัย คอยเตือนเมื่อเวลาของการรับสมัครทุนวิจัยจะ

หมดเขตตรวจสอบแบบเสนอขอทุนด้วยตัวเองและสละเวลา

ไปฟังและให้กำลังใจในเวลาที่อาจารย์ลูกภาคต้องไปเสนอ

ขอทุน อาจารย์คอยเป็นห่วงความก้าวหน้าทางวิชาการของลูกภาค

โดยจะคอยเตือนเมื่อถึงเวลาที่อาจารย์ลูกภาคควรจะขอตำแหน่ง

วิชาการ และคอยติดตามผลอยู่เสมอ นอกจากงานวิจัยแล้วในด้าน

การเป็นแพทย์อาจารย์ดูแลผู้ป่วยทุกคนอย่างละเอียดลออ

ในทุกๆด้านไม่ใช่เฉพาะแต่ด้านต่อมไร้ท่อเท่านั้นอาจารย์ให้

ความเมตตาและความเป็นกันเองกับผู้ป่วยเปรียบเสมือนกับ

ญาติคนหนึ่ง ดังนั้นในโครงการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน อาจารย์

อาจารย์รัชตะในอิริยาบทสบายๆ กับอาจารย์ในภาควิชา

สู่ห้าทศวรรษ อายุรศาสตร์รามาธิบดี 0�6

Page 4: ศาสตราจารย์นายแพทย์รัชตะ รัช ... · 2019-03-07 · แพทย์ตามคำแนะนำของบิดา-มารดา

รัชตะจึงได้บริหารจัดการให้แพทย์ประจำบ้านมีโอกาสได้ดูแลผู้ป่วย

นอกอย่างต่อเนื่อง ติดตามผู้ป่วยคนเดิมตั้งแต่เป็นแพทย์ประจำบ้าน

ปี 1 ถึงปี 3 และให้มีอาจารย์ทุกสาขาวิชาออกตรวจในแผนกผู้ป่วย

นอกทกุวนั เพือ่จะไดใ้หค้ำแนะนำแกแ่พทยป์ระจำบา้นได ้นอกจากนี้

อาจารย์ยังได้ริเริ่มจัดให้มีกิจกรรม Medicine Rally ขึ้นปีละ 2 ครั้ง

เพื่อสร้างความสนิทสนมให้เกิดขึ้นระหว่างอาจารย์และแพทย์

ประจำบ้าน ยังจำได้ว่าอาจารย์รัชตะจะเดินทางมานั่งรถตู้ไปกับ

ลูกศิษย์และอาจารย์ลูกภาคในตอนเช้าวันเสาร์ ร่วมกิจกรรม

ต่างๆ ตั้งแต่การแต่งกลอน ร้องเพลง เล่นเกม ไปพักแรม

ร่วมกัน แล้วเดินทางกลับมาพร้อมกับแพทย์ประจำบ้านด้วย

รถตู้ในวันอาทิตย ์ ถ้าอาจารย์เห็นว่ามีอาจารย์ของภาคฯ มา

ร่วมงานน้อย อาจารย์จะโทรหาอาจารย์ลูกภาคทุกหน่วย ชักชวน

กึ่งบังคับให้มาร่วมงาน เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้กับแพทย์

ประจำบ้าน ส่งผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์และแพทย์

ประจำบ้านดีขึ้นมาก ในงานปีใหม่ของภาควิชาฯ อาจารย์จะร่วม

แสดงละครกับแพทย์ประจำบ้านและเจ้าหน้าที่ทุกปี ทำให้งาน

สนุกสนานครึกครื้นเป็นอย่างยิ่ง ในการทำงานอาจารย์มักจะทำ

สิ่งต่างๆ ให้ดูเป็นตัวอย่าง มากกว่าจะสั่งให้ผู้อื่นทำตาม เช่น

การมาทำงานแต่เช้า การตรงต่อเวลา ความเสียสละ ความ

มุ่งมั่น เป็นต้น อาจารย์ยังเล็งเห็นว่า ภาควิชาฯ จะเข้มแข็งได้

หน่วยหัวใจซึ่งเป็นหน่วยหลักจะต้องมีความเข้มแข็ง เมื่อมองใน

ภาพรวมแล้วอาจารย์จึงได้ตัดสินใจผลักดันให้มีการเปิดรับอาจารย์

ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจที่มีความรู้ ความสามารถหลายคน ส่งผล

ให้หน่วยโรคหัวใจมีความเข้มแข็งขึ้นตามลำดับ

อาจารย์ตัดสินใจเปลี่ยนจากนักวิชาการมาเป็นผู้บริหาร เพราะเห็น

ว่าการบริหารจัดการที่ดีมีความสำคัญต่อความก้าวหน้าทางวิชาการ

ทำให้นักวิชาการสามารถแสดงศักยภาพได้เต็มที่ อาจารย์เชื่อว่า

นักวิชาการคนไทยมีความสามารถไม่แพ้นักวิชาการต่างประเทศ แต่

ที่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรอาจเป็นเพราะระบบไม่เอื้ออำนวย

เมื่ออาจารย์รัชตะได้รับความไว้วางใจให้ดำรงตำแหน่งคณบดี

นอกจากอาจารย์จะให้การสนับสนุนด้านงานวิจัยอย่างเต็มที่แล้ว

ยังเป็นช่วงที่คณะฯ ได้ทำการก่อสร้างและเปิดให้บริการอาคาร

สมเด็จพระเทพรัตน์ ความคิดริเริ่มของอาคารสมเด็จพระเทพรัตน์

เกิดขึ้นในช่วงของศาสตราจารย์นายแพทย์บุญชอบ พงษ์พาณิชย์

เป็นคณบดี ศาสตราจารย์นายแพทย์ประกิต วาทีสาธกกิจ ซึ่งเป็น

คณบดีคนต่อมาได้รับผิดชอบหาที่ดินในการก่อสร้างอาคาร แต่

อาจารย์รัชตะได้ทำให้อาคารสมเด็จพระเทพรัตน์เป็นจริงขึ้นมา

ตั้งแต่การของบประมาณได้ทันเวลา การตัดสินใจแก้ไขปัญหาต่างๆ

ที่เกิดขึ้น เช่น การลำเลียงผู้ป่วยไป-มาระหว่างตึกเก่าและอาคาร

พระเทพฯ อาจารย์ได้ตัดสินใจให้มีการสร้าง skywalk ขึ้น เมื่อพบ

ปัญหาว่า skywalk ไม่สามารถเชื่อมต่อกับตัวตึกชั้น 2 ได้พอดี

เพราะกรุงเทพมหานครมีความจำกัดในเรื่องความสูง อาจารย์จึงให้

แก้ไขระดับพื้นชั้น 2 ของอาคารพระเทพฯ ให้พอดีกับระดับของ

skywalk นอกจากนี้ อาจารย์ยังได้จัดวางระบบการบริหารอาคาร

แยกจากอาคารโรงพยาบาลเดิม ทำให้นอกจากที่อาคารพระเทพฯ

จะสามารถรองรับผู้ป่วยที่ใช้สิทธิการรักษาต่างๆ แล้ว ยังมีบริเวณเมื่อคณบดีมาเป็นแพทย์ประจำบ้าน

ในการแสดงละครเรื่อง Back to Noon Report

0�� >>

Page 5: ศาสตราจารย์นายแพทย์รัชตะ รัช ... · 2019-03-07 · แพทย์ตามคำแนะนำของบิดา-มารดา

ของพรีเมียมคลินิกที่ทำให้เกิดรายได้เพิ่มเติม สามารถนำมาช่วย

เหลือผู้ป่วยที่ใช้สิทธิการรักษาประกันสุขภาพและประกันสังคมได้

อาจารย์เล็งเห็นว่าผู้ป่วยที่โรงพยาบาลรามาธิบดีส่วนใหญ่มีความ

สลับซับซ้อนในระดับทุติยภูมิและตติยภูมิ ทำให้นักศึกษาไม่มี

โอกาสได้ดูแลผู้ป่วยในระดับปฐมภูมิ เมื่อได้ที่ดินราชพัสดุในบริเวณ

อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ จึงได้เกิดโครงการรามาธิบดี-

บางพลีขึ้น ซึ่งจะเป็นโรงพยาบาลขนาด 400 เตียง สำหรับผู้ป่วยใน

ระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ และเป็นสถานศึกษาระดับปริญญาของ

นักศึกษาทุกหลักสูตร ทันตแพทย์หญิงนฤมล ทวีเศรษฐ์ อดีตผู้ช่วย

คณบดีฝ่ายทรัพยากรบุคคลในสมัยที่อาจารย์รัชตะเป็นคณบดี

กล่าวว่า “อาจารย์รัชตะเป็นนักบริหารที่มีการบริหารบุคคลที่ดี

ท่านกล่าวอยู่เสมอว่า “บุคลากร” คือทรัพย์สินที่มีค่าที่สุดของ

องค์กร และการกระทำของท่านก็แสดงให้เห็นว่า ท่านเห็น

ความสำคัญของบุคลากรทุกระดับจริงๆ”

ศาสตราจารย์นายแพทย์บุญส่ง องค์พิพัฒนกุล หัวหน้าหน่วย

ต่อมไร้ท่อ ภาควิชาอายุรศาสตร์ “อาจารย์รัชตะเป็นคนละเอียดแบบ

perfectionist ทั้งในการทำงานในด้านต่างๆ และการดูแลคนไข้

เวลาที่อาจารย์ทำอะไรอาจารย์จะไม่เคยย่อท้อต่ออุปสรรค

จะหาทางแก้ไขปัญหาจนสำเร็จไม่ว่าจะยากลำบากแค่ไหน

อาจารย์มีความเมตตาให้ลูกศิษย์เสมอ ในตอนที่ฝากผม

ไปศึกษาต่อที่ต่างประเทศ อาจารย์ตื่นขึ้นมาตอนตี 2 เพื่อ

โทรศัพท์ติดต่อต่างประเทศให้ เพราะเป็นเวลากลางวันของ

ประเทศเขา”

รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงวัลยา จงเจริญประเสริฐ อาจารย์หน่วย

โรคต่อมไร้ท่อ “อาจารย์รัชตะเก่งทุกเรื่อง คนมองภายนอก

อาจนึกว่าอาจารย์เก่งแต่ด้านวิจัย แต่ถ้าได้อยู่กับอาจารย์จะ

เห็นว่าอาจารย์ดูคนไข้เก่งมาก ละเอียดมาก ใช้เวลาในการดู

คนไข้นาน มีความเห็นอกเห็นใจคนไข้ รู้สึกประทับใจมาก

ในด้านงานวิจัย อาจารย์จะจุดประกายให้เอาไปคิด แล้วกลับมาเล่า

ให้ฟัง อาจารย์จะคอยตะล่อมซ้าย-ขวาจนกระทั่งเราเดินไปในทาง

ที่ถูก ทำให้เรารู้สึกว่าเป็นความคิดของเราเอง อาจารย์ละเอียดมาก

อ่านทุกอย่าง ทุกคำ ทุกบรรทัด เวลาที่ทำงานกับอาจารย์ไม่มี

อะไรที่เป็นไปไม่ได้ ต้องขวนขวาย ต้องขยัน ต้องเหนื่อย

อาจารย์จะสู้ไปกับเรา คอยหาทางช่วยเหลือเราจนถึงที่สุด ถ้า

อาจารย์เห็นว่าเรามีหน้าตาหม่นหมองอาจารย์ก็จะเรียกมาคุย

ให้คำปรึกษา อาจารย์มีความ perfect ทั้งในด้านความเป็นครู

นักวิจัย และหมอ อาจารย์ทำดีที่สุดในทุกๆ ด้านไม่ขาดตก

บกพร่องเลยอาจารย์มีความเป็นธรรมสูงมาก”

เยี่ยมชมอาคารสมเด็จพระเทพรัตน์

สู่ห้าทศวรรษ อายุรศาสตร์รามาธิบดี 0��