กลยุทธ์การบริหารงานขาย - tpa · 2018-03-13 · for...

4
For Quality October 2007 057 ทักษะที่จำเป็นต้องใช้ในการปิดการขาย ทักษะด้านสินค้า (product knowledge) การมีความรู้ในตัว สินค้าทั้งในด้านคุณสมบัติทั่วไปและคุณสมบัติเฉพาะของสินค้า แต่ยังขาด การนำไปใช้ให้ถูกต้อง เช่น พนักงานให้ข้อมูลมากเกินไปจนเป็นดาบสองคม ทำให้ลูกค้าเกิดความลังเล ควรแก้โดยการเรียนรู้วิธีการ Push-Pull คือ การผลัก ข้อมูลสินค้าที่จำเป็นเสนอให้แก่ลูกค้า และรู้จักวิธีดึงข้อมูลที่สำคัญโดยจำกัด ความรู้ที่จะถ่ายทอดให้ลูกค้า เปิดโอกาสให้ลูกค้าได้คิดทบทวนเปรียบเทียบแล้ว รอตอบข้อโต้แย้งของลูกค้า โดยนำข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ลูกค้ามากที่สุดมาใช้ ปิดการขาย ทักษะด้านการขาย (selling skills) การมีทักษะการฟัง การพูด การวางตัวที่เหมาะสม การศึกษารสนิยม ความชอบ/ไม่ชอบของลูกค้า การฝึก Q uality M anagement >>> พัชรนันท์ กลิ่นแก้ว ที่ปรึกษา Lead Assessment Consultant Co., Ltd. กลยุทธ์การบริหารงานขาย ที่เหนือคู่แข่งขัน ตอนที

Upload: others

Post on 05-Mar-2020

0 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: กลยุทธ์การบริหารงานขาย - TPA · 2018-03-13 · For Quality October 2007 057 ทักษะที่จำเป็นต้องใช้ในการปิดการขาย

For Quality October 2007 057

ทักษะที่จำเป็นต้องใช้ในการปิดการขาย ● ทักษะด้านสินค้า (product knowledge) การมีความรู้ในตัว

สินค้าทั้งในด้านคุณสมบัติทั่วไปและคุณสมบัติเฉพาะของสินค้า แต่ยังขาด

การนำไปใช้ให้ถูกต้อง เช่น พนักงานให้ข้อมูลมากเกินไปจนเป็นดาบสองคม

ทำให้ลูกค้าเกิดความลังเล ควรแก้โดยการเรียนรู้วิธีการ Push-Pull คือ การผลัก

ข้อมูลสินค้าที่จำเป็นเสนอให้แก่ลูกค้า และรู้จักวิธีดึงข้อมูลที่สำคัญโดยจำกัด

ความรู้ที่จะถ่ายทอดให้ลูกค้า เปิดโอกาสให้ลูกค้าได้คิดทบทวนเปรียบเทียบแล้ว

รอตอบข้อโต้แย้งของลูกค้า โดยนำข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ลูกค้ามากที่สุดมาใช้

ปิดการขาย

● ทักษะด้านการขาย (selling skills) การมีทักษะการฟัง การพูด

การวางตัวที่เหมาะสม การศึกษารสนิยม ความชอบ/ไม่ชอบของลูกค้า การฝึก

Quality Management

>>> พัชรนันท์ กลิ่นแก้ว ที่ปรึกษา Lead Assessment Consultant Co., Ltd.

กลยุทธ์การบริหารงานขาย ที่เหนือคู่แข่งขัน

ตอนที่

Page 2: กลยุทธ์การบริหารงานขาย - TPA · 2018-03-13 · For Quality October 2007 057 ทักษะที่จำเป็นต้องใช้ในการปิดการขาย

058 For Quality Vol.14 No.120

โดยการวัดจากยอดขายและผลกำไร ความพึงพอใจของ

ลูกค้า เพื่อนำผลที่ได้มาปรับปรุงงานด้านขาย ซึ่งมีมาตร-

ฐานในการประเมินผลงานด้านการขายอยู่ 2 ประเภท คือ

● มาตรฐานการปฏบิตังิานเชงิปรมิาณ (quan-

titative performance standard) วัดจากความสำเร็จ

ในงานที่ปฏิบัติออกมาเป็นหน่วยสินค้าและจำนวนเงินที่

ขายได้นำมาเปรียบเทียบกับเป้าหมาย

ข้อมูลอื่นๆ ที่นำมาใช้ประกอบการประเมินผลการ

ปฏิบัติงาน ได้แก่ ปริมาณการขายและส่วนแบ่งทางการ

ตลาด กำไรสุทธิ จำนวนและปริมาณของใบสั่งซื้อ การ

ออกเยี่ยมลูกค้าเฉลี่ยต่อวัน ค่าใช้จ่ายในการขายโดยตรง

การวัดเส้นทางในการขาย วันทำงานต่อเดือน

● มาตรฐานการปฏบิตังิานเชงิคณุภาพ (quali-

tative performance criteria) เป็นการวัดประสิทธิภาพ

ในการติดต่อลูกค้า การแก้ปัญหาการขายและการให้บริการ

การมีศิลปะและรู้จักใช้เทคนิคในการขาย การรู้จักสร้าง

ความคุ้นเคยของผู้บริหารงานขายต่อพนักงานขาย ซึ่งสิ่ง

เหล่านี้ต้องอาศัยการพิจารณาความพยายามของพนัก-

งานขาย การใช้ความรู้ความสามารถ การสร้างสัมพันธ์

ที่ดีต่อลูกค้า รวมไปถึงการมีบุคลิก ท่าทางและทัศนคติ

ของพนักงานขาย นำมาใช้ประกอบการพิจารณาประเมิน

ผลการปฏิบัติงานของพนักงานขายในเชิงคุณภาพ

ปัจจัยในการพยากรณ์การขาย (sales forcasting)

การพยากรณ์การขาย หมายถึง การประมาณ

การยอดขายสินค้าหรือบริการออกมาเป็นจำนวนหน่วย/

จำนวนเงินในช่วงระยะเวลาหนึ่งๆ ในอนาคต โดยอาศัย

ข้อมูลการขายในอดีต การวางแผนการตลาด รวมทั้งสิ่ง-

แวดล้อมทางการตลาดเป็นเครื่องมือในการตัดสินใจ

ผู้บริหารการขายต้องเข้าใจความต้องการของผู้

บริโภค และควรคำนึงถึงข้อมูลที่เป็นปัจจัยสำคัญในการ

พยากรณ์การขาย ได้แก่

● ข้อมูลผลิตภัณฑ์ ใช้พยากรณ์แนวโน้มความ

ต้องการของตลาดในแต่ละกลุ่มลูกค้าว่า ต้องผลิตสินค้า

สังเกตรายละเอียด ศึกษาข้อมูลลูกค้า/คู่แข่ง การรู้จักสร้างความสัมพันธ์

ระยะยาวแก่ลูกค้า สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยประสบการณ์แทบ

ทั้งสิ้น พนักงานขายจำเป็นต้องเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ยิ่งมีชั่วโมงบิน

จากการเข้าพบลูกค้าจำนวนมาก จะยิ่งเพิ่มทักษะในการพัฒนาปรับปรุง

ตนเองได้เร็วขึ้น นอกจากนี้การเข้าถึงจิตใจลูกค้าตั้งแต่รุ่นพ่อแม่ไปจนถึง

รุ่นลูกหลานก็เป็นสิ่งที่พึงกระทำ อาจใช้การจัดกิจกรรมให้ลูกค้าได้เข้าร่วม

ในลักษณะครอบครัว เช่น การจัดงานเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ การจัดกิจกรรม

อยู่ค่ายการศึกษา กิจกรรมสร้างสรรค์ในเทศกาลต่างๆ เป็นต้น

● ทักษะการตอกย้ำ มีการทบทวนสิ่งที่เป็นจุดเด่นของสินค้า

ให้ลูกค้าฟัง และตรงกับสิ่งที่ลูกค้าต้องการ เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการ

ตัดสินใจซื้อของลูกค้า เป็นทักษะที่ควรนำมาใช้ช่วยในการปิดการขาย

● ทักษะการเปรียบเทียบ ควรหลีกเลี่ยงการโจมตีคู่แข่งขัน

อย่างรุนแรง และควรยึดหลักการที่ว่า ต้องค้นหาสิ่งที่ลูกค้าต้องการอย่าง

แท้จริงให้เจอ แล้วนำเสนอจุดเด่นที่ตรงใจลูกค้าเพื่อลบจุดอ่อนที่ลูกค้า

เอ่ยถึงโดยการเปรียบเทียบสิ่งที่มีเหนือกว่าให้เห็นเด่นชัด

● ทักษะการสังเกต เป็นเทคนิคที่ใช้ค้นหาสัญญาณการซื้อจาก

ลูกค้า เช่น การใช้คำถามนำเพื่อจำกัดคำตอบ เช่น “วันนี้คุณพร้อมตัดสิน

ใจทำในสิ่งที่ดีที่สุดให้ครอบครัวแล้วใช่ไหมครับ ที่เลือกรถรุ่นที่เหมาะกับ

ครอบครัวคุณ” “ราคานี้รวมถึงการให้บริการตลอดการใช้งาน 3 ปี คุณคิดว่า

คุ้มค่าไหมค่ะ” นอกจากนี้การใช้ความเงียบเพื่อให้ลูกค้าตัดสินใจก็จะเป็น

ประโยชน์ หลังจากยิงคำถามแล้วไม่ควรถามเพิ่ม หรือเปลี่ยนประเด็น

ควรรอให้ลูกค้าได้แสดงความเห็นหรือตัดสินใจตอบตกลงจะช่วยในการ

ปิดการขายได้อย่างดี

● ทักษะการจัดการข้อโต้แย้ง ในเบื้องต้นที่ลูกค้ามีข้อโต้แย้ง

พนักงานขายควรทำตัวอยู่ฝ่ายเดียวกับลูกค้า โดยการเห็นคล้อยแล้วจึง

ค่อยให้เหตุผลเสริมด้วยการใช้คำว่า “แต่” ที่เป็นเหตุผลในเชิงบวกมาก

กว่าการโต้แย้ง เช่น “การที่คุณเห็นว่าสินค้าของเรามีราคาแพงกว่ายี่ห้อ

อื่นก็ไม่ผิดนะครับ เพราะลูกค้าหลายรายก็พูดเช่นนี้ แต่เมื่อเทียบกับ

ประสิทธิภาพของวัสดุที่ใช้ ซึ่งปลอดจากสารพิษที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย

และยังช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ผมคิดว่าไม่แพงเลยสำหรับสินค้า

ของเราตัวนี้”

การประเมินผลการปฏิบัติงานด้านการขาย การประเมินผลงานด้านการขายมีความหมายรวมถึง การสรุปผล

การปฏิบัติงานของฝ่ายขาย เพื่อทราบความสำเร็จ หรือความล้มเหลว

Quality Management

Page 3: กลยุทธ์การบริหารงานขาย - TPA · 2018-03-13 · For Quality October 2007 057 ทักษะที่จำเป็นต้องใช้ในการปิดการขาย

For Quality October 2007 059

ประเภทใดเพิ่มบ้าง เพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์ของกลุ่ม

ลูกค้าแต่ละกลุ่ม

● ปริมาณ เป็นการวัดขนาดของตลาดออกมา

เป็นจำนวนหน่วยและจำนวนเงิน หรือวัดส่วนแบ่งทาง

การตลาด เช่น ตลาดรถยนต์ในปีปัจจุบันมีการขยายตัว

มากกว่าปีก่อนในปริมาณกี่คัน

● กลุ่มผู้บริโภค คือ กลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายที่ม

ีศักยภาพการซื้อสูง เป็นกลุ่มที่ต้องการเจาะตลาด เพื่อให้

มีข้อมูลของกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวอย่างละเอียดในทุกแง่

ทุกมุม

● สถานที ่ มีการกำหนดอาณาเขตการซื้อของ

กลุ่มผู้บริโภคเป้าหมาย จะช่วยให้การกำหนดการพยากรณ์

ขนาดของตลาดได้ชัดเจนยิ่งขึ้นในแต่ละพื้นที่

● ระยะเวลา มีการกำหนดระยะเวลาของการพยากรณ์การขาย

ไว้ชัดเจน เช่น ตัวเลขในปีหน้า ระยะอีก 3 ปี, 5 ปี ไว้ เพื่อตั้งเป้าหมาย

รวมให้สอดคล้องตามแผนกลยุทธ์ขององค์การ

● สิ่งแวดล้อมทางการตลาด หมายถึง สิ่งที่อยู่นอกเหนือการ

ควบคุม เช่น ความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี

เป็นต้น ผู้ที่ทำการพยากรณ์ต้องระบุสภาพสิ่งแวดล้อมให้ชัดเจนโดย

สามารถปรับแผนการตลาดและตัวเลขการพยากรณ์ ให้สอดคล้องกับ

สภาพที่ผันแปรในอนาคตได้

การพยากรณ์การขายใช้เป็นเครื่องมือทางการบริหาร ได้มีการนำการพยากรณ์การขายมาใช้เป็นเครื่องมือทางการ

บริหาร ใช้วางแผน ตัดสินใจ และควบคุมการดำเนินงานของกิจการทุกฝ่าย

เช่น การวางแผนการผลิต การควบคุมสินค้าคงเหลือ การจัดซื้อ กำหนด

Quality Management

Page 4: กลยุทธ์การบริหารงานขาย - TPA · 2018-03-13 · For Quality October 2007 057 ทักษะที่จำเป็นต้องใช้ในการปิดการขาย

Quality Management

060 For Quality Vol.14 No.120

โควต้าการขาย กำหนดเงินสดหมุนเวียนและประมาณการค่าใช้จ่าย

เป็นต้น ซึ่งพบว่า การพยากรณ์การขายมีผลต่อฝ่ายต่างๆ ดังนี้

● ฝ่ายผลิต นำมาใช้วางแผนและควบคุมการผลิต การว่าจ้าง

แรงงาน และการใช้ประโยชน์จากเครื่องจักร/อุปกรณ์อย่างคุ้มค่า โดย

เฉพาะธุรกิจภาคการเกษตรที่จำหน่ายตามฤดูกาล การพยากรณ์การขาย

จะถูกนำมาใช้ประโยชน์มากที่สุด เช่น ใช้ในการควบคุมวัตถุดิบและ

สินค้าคงคลัง เพื่อช่วยป้องกันการเพิ่มต้นทุนและการเสียโอกาสในการ

ขาย หากมีสินค้ามากเกินความต้องการของตลาด

● ฝ่ายขาย นำมาใช้ในการวางเป้าหมายยอดขาย วางแผน

จำนวนพนักงานฝ่ายขาย กำหนดค่าตอบแทนพนักงานขาย กำหนดเขต

ความรับผิดชอบของพนักงานขายให้เหมาะสมกับขนาดของลูกค้า และใช้

วางแผนการส่งเสริมการขาย

● ฝ่ายโฆษณา นำมาใช้ตั้งงบค่าโฆษณาตามสัดส่วนของยอด-

ขายในแต่ละเขต และตามประเภทของผลิตภัณฑ์ที่มียอดขายต่ำ แต่

ความต้องการของตลาดสูง ก็จะมีการเพิ่มการส่งเสริมการโฆษณา

● ฝ่ายการเงิน นำมาใช้ในการพิจารณาความต้องการเงินสด

สำรองหมุนเวียน และใช้วางแผนการเงินทั้งระยะสั้นและระยะยาว

● ฝ่ายกำหนดราคา นำมาใช้ในการกำหนดราคาขายของผลิต-

ภัณฑ์ โดยพิจารณาจากยอดขายในปัจจุบันควบคู่กับการ

พยากรณ์การขาย เพื่อให้เกิดการคาดคะเนผลกำไรใน

ธุรกิจได้อย่างแม่นยำ

● ฝ่ายจัดซื้อ นำมาใช้ในการพิจารณาการจัดซื้อ

วัตถุดิบในปริมาณที่ถูกต้อง เพียงพอต่อการผลิต ช่วยลด

จำนวนสินค้าคงคลังให้น้อยลง และป้องกันสินค้าหมด

อายุ

● ฝ่ายบริหาร นำมาใช้ในการวางแผน/การควบ-

คุมการวางแผนขยายงานด้านอาคารสถานที่ การจ้างงาน

การวิเคราะห์แนวโน้มของธุรกิจในอนาคต และพิจารณา

การลงทุนทำวิจัยผลิตภัณฑ์ที่ทำผลกำไรให้แก่องค์การ

กล่าวโดยสรุป การบริหารงานขายที่มีประสิทธิผล

สิ่งสำคัญที่จะทำให้สามารถดำรงอยู่ในอาชีพของการเป็น

นักขายได้อย่างยั่งยืนนั้น ควรยึดหลักของการมีความ

จริงใจต่อลูกค้า รักษาความลับของลูกค้า มีความซื่อสัตย์

ต่ออาชีพและรักษาชื่อเสียงขององค์การ รวมทั้งมีจรรยา-

บรรณต่อคู่แข่งขัน โดยไม่ใช้วิธีโจมตีหรือให้ข้อมูลที่

บิดเบือนจากความเป็นจริง ปฏิบัติตนให้เกิดความเชื่อถือ

ไว้วางใจแก่ลูกค้า และที่ถือว่าเป็นหัวใจของการเป็นสุดยอด

นักบริหารงานขายที่แท้จริง นั่นก็คือ การสามารถนั่งอยู่

ในใจของลูกค้าได้ตลอดไป โดยมีความเข้าใจความต้องการ

ของลูกค้าได้อย่างถูกต้อง เป็นได้ทั้งผู้นำเสนอและผู้ให้

คำปรึกษาที่ลูกค้าเชื่อถือ ศรัทธา และไว้วางใจ ย่อมจะนำ

มาซึ่งความสำเร็จในยอดขายที่ทะลุเป้าหมายและสามารถ

รักษาลูกค้าเก่าให้คงอยู่ รวมทั้งสร้างลูกค้าใหม่ให้มีเพิ่มขึ้น

ต่อเนื่องได้อย่างแน่นอน