ใบความรู้ที่ 1...ใบความร ท 1.1 ความส าค...

9
1 การศึกษาประวัติศาสตร์มีความเกี่ยวข้องกับเวลา เพราะประวัติศาสตร์เป็นการศึกษา เรื่องราวในอดีตของมนุษย์ที่มีผลกระทบต่อพัฒนาการของมนุษย์ในอดีตและปัจจุบัน การดารงชีวิตของมนุษย์มีความเกี่ยวข้องกับเวลา ดังนั้นจึงมีการกาหนดระบบ การบอกเวลา เช่น เช้า สาย บ่าย เย็น วัน เดือน ปี ฤดู เป็นต้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน เวลามีความสาคัญต่อมนุษย์มาก เช่น ใช้ในการนัดหมาย การดาเนินชีวิต การเริ่ม เพาะปลูก การเก็บเกี่ยว ถ้าการนับเวลาผิดพลาด อาจทาให้เกิดความเสียหายได้ เช่น การนัดผิดเวลา อาจส่งผลให้การค้าเสียหาย การเริ่มเพาะปลูก การทานาช้าไป เร็วไป ก็ทาให้พืชผลเสียหาย หรือ ไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร ดังนั้น การนับเวลาที่ถูกต้องจึงมีความสาคัญมาก ในประวัติศาสตร์มีเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นมากมายในระยะเวลาหลายพันหลายร้อยปี นักประวัติศาสตร์จึงกาหนดช่วงเวลา เช่น ช่วง 10 ปี หรือ ทศวรรษ 100 ปี หรือ ศตวรรษ 1000 ปี หรือ สหัสวรรษ กาหนดเวลาเป็นปีศักราช เช่น พุทธศักราช (..) คริสต์ศักราช (..) ฮิจเราะห์ศักราช (..) ใบความรู้ที1.1 ความสาคัญของเวลา และช่วงเวลา

Upload: others

Post on 09-Jul-2020

3 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: ใบความรู้ที่ 1...ใบความร ท 1.1 ความส าค ญของเวลา และช วงเวลา 2 ก าหนดย คสม

1

การศึกษาประวัติศาสตร์มีความเกี่ยวข้องกับเวลา เพราะประวัติศาสตร์เป็นการศึกษาเรื่องราวในอดีตของมนุษย์ที่มีผลกระทบต่อพัฒนาการของมนุษย์ในอดีตและปัจจุบัน

การด ารงชีวิตของมนุษย์มีความเก่ียวข้องกับเวลา ดังนั้นจึงมีการก าหนดระบบ การบอกเวลา เช่น เช้า สาย บ่าย เย็น วัน เดือน ปี ฤดู เป็นต้น เพ่ือให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน

เวลามีความส าคัญต่อมนุษย์มาก เช่น ใช้ในการนัดหมาย การด าเนินชีวิต การเริ่มเพาะปลูก การเก็บเก่ียว ถ้าการนับเวลาผิดพลาด อาจท าให้เกิดความเสียหายได้ เช่น การนัดผิดเวลา อาจส่งผลให้การค้าเสียหาย การเริ่มเพาะปลูก การท านาช้าไป เร็วไป ก็ท าให้พืชผลเสียหาย หรือ ไม่ได้ผลดีเท่าท่ีควร ดังนั้น การนับเวลาที่ถูกต้องจึงมีความส าคัญมาก

ในประวัติศาสตร์มีเหตุการณ์ต่างๆ เกิดข้ึนมากมายในระยะเวลาหลายพันหลายร้อยปี นักประวัติศาสตร์จึงก าหนดช่วงเวลา เช่น ช่วง 10 ปี หรือ ทศวรรษ 100 ปี หรือ ศตวรรษ 1000 ปี หรือ สหัสวรรษ ก าหนดเวลาเป็นปีศักราช เช่น พุทธศักราช (พ.ศ.) คริสต์ศักราช (ค.ศ.) ฮิจเราะห์ศักราช (ฮ.ค.)

ใบความรู้ที่ 1.1 ความส าคัญของเวลา และช่วงเวลา

Page 2: ใบความรู้ที่ 1...ใบความร ท 1.1 ความส าค ญของเวลา และช วงเวลา 2 ก าหนดย คสม

2

ก าหนดยุคสมัยประวัติศาสตร์ เช่น

“สมัยก่อนประวัติศาสตร์” หมายถึง เวลาที่มนุษย์ยังไม่มีตัวอักษรใช้ “สมัยประวัติศาสตร์” หมายถึง ช่วงเวลาที่มนุษย์เริ่มมีตัวอักษรใช้แล้ว

การก าหนดช่วงเวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ ท าให้รู้ว่าเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ เกิดมานาน เท่าใดแล้ว หรืออยู่ในยุคสมัยใด เช่น 1500 ปี, 500 ปี, 100 ปี หรือ 5 ปีที่ผ่านมา อยู่ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ในสมัยสุโขทัย หรือในสมัยอยุธยา เป็นต้น นอกจากนี้เวลายังท าให้ง่าย ต่อการล าดับและเปรียบเทียบเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ว่าเหตุการณ์ใดเกิดก่อน เกิดก่อนกี่ปี เหตุการณ์ใดเกิดทีหลัง เกิดหลังกี่ปี และจะช่วยให้เราสามารถวิเคราะห์ถึงสาเหตุและผลของเหตุการณ์ท่ีเกิดข้ึน ในสมัย ต่างๆ ซึ่งจะท าให้เราเข้าใจเหตุการณ์ต่างๆ ได้ชัดเจนและถูกต้องมากยิ่งขึ้น และเวลายังใช้ในการบันทึกเพ่ือบอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาแล้วอีกด้วย

หมายเหตุ

ทศวรรษ คือ รอบ 10 ปี นับจากศักราชที่ลงท้ายด้วย 0 ไปจนถึงศักราชที่ลงท้ายด้วย 9 เช่น ทศวรรษ 1950 ตามคริสต์ศักราช หมายถึง ค.ศ.1950 – ค.ศ.1959 ถ้าเขียนเป็นภาษาอังกฤษนิยม เขียนว่า 1950’s ทศวรรษ 2470 ตามพุทธศักราช หมายถึง พ.ศ.2470 – พ.ศ.2479

ศตวรรษ คือ รอบ 100 ปี ศตวรรษท่ี 1 คือ ศักราชที่ 1-100 ศตวรรษต่อ ๆ ไป นับจาก ศักราชที่ลงท้ายด้วย 01 ไปจนครบ 100 ปี ในศักราชที่ลงท้ายด้วย 00 เช่น คริสต์ศตวรรษที่ 20 คือ ค.ศ. 1901 – ค.ศ. 2000 พุทธศตวรรษที่ 26 คือ พ.ศ. 2501 - พ.ศ. 2600 คริสต์ศตวรรษก่อนตั้ง ค.ศ. จะต้องเติมค าว่า ก่อนคริสต์ศักราช หรือ ก่อน ค.ศ. ต่อท้าย ในภาษาอังกฤษใช้อักษรย่อ B.C. เช่น ศตวรรษที่ 3 ก่อน ค.ศ. (3rd century B.C.) คือ เวลา 300-201 ปีก่อนคริสต์ศักราช พุทธศตวรรษก่อนตั้ง พ.ศ. เติมค าว่า ก่อนพุทธศักราช หรือ ก่อน พ.ศ. ต่อท้าย เช่น ศตวรรษที่ 8 ก่อนพุทธศักราช หมายถึง เวลา 800-701 ปีก่อน พ.ศ.

Page 3: ใบความรู้ที่ 1...ใบความร ท 1.1 ความส าค ญของเวลา และช วงเวลา 2 ก าหนดย คสม

3

การเทียบคริสต์ศตวรรษ กับ พุทธศตวรรษ ใช้ 5 เป็นเกณฑ์บวกลบโดยประมาณ เช่น - คริสต์ศตวรรษที่ 18 ตรงกับพุทธศตวรรษที่ 18 + 5 = พุทธศตวรรษที่ 23

- พุทธศตวรรษที่ 26 ตรงกับคริสต์ศตวรรษท่ี 26 -5 = พุทธศตวรรษที่ 21 (การเทียบดังกล่าวเป็นการเทียบโดยประมาณเท่านั้นอาจคลาดเคลื่อนได้)

สหัสวรรษ คือ รอบ 1,000 ปี ศักราชที่ครบแต่ละสหัสวรรษจะลงท้ายด้วย 000 เช่น

- สหัสวรรษท่ี 3 นับตามคริสต์ศักราช คือ ค.ศ. 2001 ถึง ค.ศ. 3000 - สหัสวรรษท่ี 6 ก่อนพุทธศักราช คือ 6,000-5,001 ปีก่อน พ.ศ.

การแบ่งเวลา การแบ่งเวลา มนุษย์รู้จักการแบ่งเวลาและการนับเวลามาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยเริ่มจากการสังเกตปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เช่น

- การหมุนรอบตัวเองของโลก ท าให้เกิดกลางวัน กลางคืน - การโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ท าให้เกิดฤดูกาลต่าง ๆ - การโคจรของดวงจันทร์รอบโลก ท าให้เกิด ข้างขึ้น ข้างแรม เป็นต้น

ภาพ การหมุนรอบตัวเองของโลก ท าให้เกิดกลางวัน กลางคืน ที่มา : https://th.m.wikipedia.org

Page 4: ใบความรู้ที่ 1...ใบความร ท 1.1 ความส าค ญของเวลา และช วงเวลา 2 ก าหนดย คสม

4

ภาพ การโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ท าให้เกิดฤดูกาลต่าง ๆ ที่มา : https://th.m.wikipedia.org

ภาพ การโคจรของดวงจันทร์รอบโลก ท าให้เกิด ข้างขึ้น ข้างแรม ที่มา : https://th.m.wikipedia.org

ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน

ฤดูใบไม้ร่วง ฤดูหนาว

ฤดูร้อน

ฤดูหนาว

ฤดูใบไมร่้วง

ฤดูใบไม้ผลิ

Page 5: ใบความรู้ที่ 1...ใบความร ท 1.1 ความส าค ญของเวลา และช วงเวลา 2 ก าหนดย คสม

5

ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ท าให้มนุษย์แบ่งช่วงเวลาออกเป็น วัน เดือน ปี ดังนี้

- วัน หมายถึง ระยะเวลาที่โลกหมุนรอบตัวเอง 1 รอบ ท าให้เกิดกลางวัน 12 ชั่วโมง และกลางคืน 12 ชั่วโมง (1 วัน มี 24 ชั่วโมง) - เดือน หมายถึง ระยะเวลาที่พระจันทร์หมุนรอบโลก 1 รอบ เป็นเวลาประมาณ 29 ½ วัน - ปี หมายถึง ระยะเวลาที่โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบเป็นเวลา 365 ½ วัน

การนับเวลา เป็นวัน เดือน ปี มีทั้งแบบจันทรคติและแบบสุริยคติ ดังนี้

ภาพ วงโคจรของดวงจันทร์รอบโลก ที่มา สมาคมดาราศาสตร์ไทย

Page 6: ใบความรู้ที่ 1...ใบความร ท 1.1 ความส าค ญของเวลา และช วงเวลา 2 ก าหนดย คสม

6

การแบ่งและนับช่วงเวลาของมนุษย์จากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติเกิดข้ึนจากดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ เราจึงเรียกการแบ่งเวลาที่เกิดข้ึนจากดวงอาทิตย์ว่า “เวลาทางสุริยคติ” และ การแบ่งเวลาที่เกิดขึ้นจากดวงจันทร์ว่า “เวลาทางจันทรคติ”

1) การนับเวลาทางจันทรคติ

- เป็นการนับเวลาโดยยึดการโคจรของดวงจันทร์หมุนรอบ 1 รอบ - เรียกวันทางจันทรคติว่า “ข้างขึ้นข้างแรม” - ข้างขึ้น คือ วันที่พระจันทร์ค่อย ๆ สว่างข้ึน จนถึงพระจันทร์เต็มดวง

เริ่มตั้งแต่ข้ึน 1 ค่ า ไปจนถึงข้ึน 15 ค่ า - ข้างแรม คือ วันที่พระจันทร์ค่อย ๆ มืดลง เริ่มตั้งแต่แรม 1 ค่ าไปจนถึงแรม 15 ค่ า รวมระยะเวลาข้างขึ้นและข้างแรมเป็นเวลา 1 เดือน

ภาพ วิธีดูข้างขึ้นข้างแรม ที่มา : https://www.myhora.com

Page 7: ใบความรู้ที่ 1...ใบความร ท 1.1 ความส าค ญของเวลา และช วงเวลา 2 ก าหนดย คสม

7

ภาพ การโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ที่มา : http://piyakarn34.blogspot.com/p/blog-page_78.html

https://stem.in.th

2) การนับเวลาทางสุริยคติ - เป็นการนับเวลาแบบสากลที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน

- การนับวันเวลาทางสุริยคติ จะยึดการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ การนับวัน จะนับระยะเวลาที่โลกหมุนรอบตัวเอง 1 รอบ นับเป็น 1 วัน (24 ชั่วโมง) การนับปี จะนับตามระยะเวลาที่โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ เป็นเวลา 365 วัน หรือ 1 ปี

นอกจากนี้มนุษย์ยังแบ่งช่วงเวลาย่อยๆ ออกเป็น ปักษ์ และ สัปดาห์ ปักษ์ คือ หน่วยของเวลาชนิดหนึ่ง มีระยะเท่ากับครึ่งเดือน ปักษ์ตามประเพณีไทยนับตามปฏิทินจันทรคติ ได้แก่ ข้างข้ึนเป็นปักษ์หนึ่งเรียกว่า ศุกลปักษ์ และข้างแรมเป็นปักษ์หนึ่งเรียกว่า กาฬปักษ์ ซึ่งยาวนานเท่ากับ 14 หรือ 15 วัน (ขึ้นอยู่กับเดือนนั้นว่ามี 29 หรือ 30 วัน) ปักษ์ในทางดาราศาสตร์ สามารถค านวณได้เท่ากับ 14.77 วัน ปักษ์สมัยใหม่ ใช้เรียกงวดการตีพิมพ์นิตยสาร ได้แก่ ปักษ์แรก หมายถึง ครึ่งเดือนแรกของปฏิทินสุริยคติ ปักษ์หลัง หมายถึง ครึ่งเดือนหลังของปฏิทินสุริยคติ

Page 8: ใบความรู้ที่ 1...ใบความร ท 1.1 ความส าค ญของเวลา และช วงเวลา 2 ก าหนดย คสม

8

สัปดาห์ เป็นหน่วยวัดเวลาเท่ากับเจ็ดวัน ชาวตะวันตกก าหนดขึ้นเพื่อความสะดวกในการก าหนด

ช่วงเวลา โดยให้ชื่อวันในสัปดาห์จากชื่อดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวพระเคราะห์ต่างๆ ที่มนุษย์รู้จัก ในขณะนั้น

เครื่องมือในการบอกเวลา ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ก่อให้เกิดการแบ่งเวลาดังกล่าวมาข้างต้น ประกอบกับการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ ท าให้มนุษย์ต้องก าหนดกติกาต่างๆ ที่จะน ามาใช้ร่วมกัน เงื่อนไขเกี่ยวกับเวลา จึงเป็นกติกาอันหนึ่งในสังคมมนุษย์ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการนัดหมาย การบันทึก การบอกเล่า เรื่องราว และ การคาดคะเนปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เคยเกิดข้ึนอย่างสม่ าเสมอ ดังนั้นเครื่องมือในการบอกเวลาหรือ แบ่งเวลา จึงได้ถูกคิดค้นข้ึนและพัฒนาสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน ได้แก่ นาฬิกา และปฏิทิน นาฬิกา ได้รับการคิดค้นและพัฒนาจากสิ่งประดิษฐ์ที่ต้องพ่ึงพาธรรมชาติ ได้แก่ นาฬิกาแดด และนาฬิกาน้ า ซึ่งต่อมาได้พัฒนามาเป็นนาฬิกาจักรกล และนาฬิกาอิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบัน โดยแบ่งหน่วยเวลาออกเป็นชั่วโมง นาที และวินาที

ภาพ นาฬิกาแดด ที่มา : https://www.ch3thailand.com/news/scoop/15192

https://www.google.com/search

Page 9: ใบความรู้ที่ 1...ใบความร ท 1.1 ความส าค ญของเวลา และช วงเวลา 2 ก าหนดย คสม

9

ปฏิทิน คือ ระบบการจัดแบ่งกาลเวลาที่ต่อเนื่องยาวนานก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่มนุษย์คิดค้นขึ้น

เพ่ือใช้เป็นกติกาในการจัดแบ่งช่วงเวลา โดยมีหน่วยเป็นวัน เดือน ปี และวันในสัปดาห์ บางครั้ง ก็มีการระบุข้างข้ึนข้างแรม วันส าคัญ และศักราชต่างๆ ลงในปฏิทินด้วย

ภาพ ปฏิทินแผ่นหมุนจันทรคติ 200 ปี ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=sLbGx38MXN4

ภาพ ปฏิทิน 100 ปี 150 ปี ที่มา : https://www.goosiam.com