ภูมิปัญญาไทย - bsruhuman.bsru.ac.th/e-learning/57 thai/57 thai tussanee...

Post on 28-Feb-2020

4 Views

Category:

Documents

0 Downloads

Preview:

Click to see full reader

TRANSCRIPT

เรื่อง ภูมิปัญญาไทย

รายวิชาคติชนวิทยา รหัสวิชา 2106247 (นักศึกษาจีน)

อาจารย์ผู้สอน อ.ทัศนี ทองสมบุญ

สาขาวิชาภาษาไทย

ภาควิชามนุษยศาสตร์และศิลปกรรม

คณะมนุษยศาสตร์และสงัคมศาสตร์

รายวิชา คติชนวิทยา รหัสวิชา 2106247 หน่วยกิต 3(2-2)5

ภูมิปัญญาไทย

บทน า

ในสมัยที่เทคโนโลยียังไม่ได้มีความเจริญก้าวหน้าเหมือนในปัจจุบัน มนุษย์ได้พบเจอปัญหามากมายในการด ารงชีวิต

และพยายามหาวิธีแก้ปัญหา ด้วยการลองผิดลองถูก จนได้วิธีที่ดีที่สุด สั่งสมและถ่ายทอดความรู้นั้นจากรุ่นสู่รุน่

ความรู้นี้เรียกว่า

“ภูมิปัญญา”

ความหมาย

ภูมิปัญญา (Wisdom)

หมายถึง ความรู้ ความสามารถ ความเชื่อ ความสามารถทางพฤติกรรมและความสามารถในการแก้ไขปัญหาของมนุษย์

ประเภทของภูมิปัญญา

1. ภูมิปัญญาชาวบ้าน (ภูมิปัญญาพ้ืนบ้าน) 2. ภูมิปัญญาท้องถิ่น 3. ภูมิปัญญาไทย

1.ภูมิปัญญาชาวบ้าน (ภูมิปัญญาพื้นบ้าน)

เป็นความรู้ที่ชาวบ้านสร้างสรรค์ขึน้เอง ซึ่งได้มาจากประสบการณ ์ การลองผดิลองถูกจนได้วิธีที่ดีที่สุดในการจัดการกับปัญหา ซึง่มีประโยชน์ มีคณุค่า สามารถแก้ปัญหาได้ ผ่านการน าไปปฏิบัติมาแล้วอย่างโชกโชน ถือเป็นส่วนหนึง่ของมรดกทางวัฒนธรรม

เช่น งานหัตถกรรมต่างๆ เครื่องจักสาน การทอผ้า งานประดิษฐ์ งานก่อสร้าง เป็นต้น

2. ภูมิปัญญาท้องถิ่น

คือ ภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีความแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถ่ิน เพราะในแตล่ะท้องถิ่นมสีภาพแวดล้อม สภาพภูมิอากาศที่แตกต่างกัน ส่งผลให้มีปัญหาและวิธีจัดการกับปัญหาที่แตกต่างกัน

ความรู้ของชาวบ้านเฉพาะในท้องถ่ิน เรียกว่า

ภูมิปัญญาท้องถ่ิน ซึ่งมีการเผยแพร่และสืบทอดเฉพาะในท้องถิ่นเท่านั้น

ตัวอย่าง ภูมิปัญญาท้องถิ่นของภาคใต้

การกรีดยาง เรือกอแระ

กริช อาหารถิ่นใต ้

ภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคเหนือ ได้แก่ ขันโตก ร่มบ่อสร้าง เครื่องดนตรีพื้นบ้าน หัตถศิลป์ล้านนา ถั่วเน่า เป็นต้น

ภูมิปัญญาไทย

หมายถึง

องค์ความรู้ ความสามารถ และทักษะของ

คนไทยที่เกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ มีการเลือกสรรวิธีการที่ดีที่สุด เรียนรู้และสืบทอดต่อกันมาเพื่อใช้แก้ปัญหาและพัฒนาวิถีชีวิตของคนไทย ให้สมดุลกับสภาพแวดล้อมและเหมาะสมกับยุคสมัย

ภูมิปัญญาไทยมีพื้นฐานมาจากภูมิปัญญาชาวบ้าน

และภูมิปัญญาท้องถิ่น

ภูมิปัญญาชาวบ้าน

ภูมิปัญญาท้องถ่ิน

ภูมิปัญญาไทย

รูปแบบของภูมิปัญญาไทย 1. ภูมิปัญญาด้านการแพทย์แผนไทย เช่น ยาสมุนไพร นวดแผนไทย หมอชาวบ้าน หมอ

ต าแย ตลอดจนความรู้และความเชื่อต่างๆ เกี่ยวกับการบ าบัดรักษาโรคตามแบบแพทย์แผนไทย

ตัวอย่าง ภูมิปัญญาด้านการแพทย์แผนไทย

การนวดแผนไทย สมุนไพรไทย

การรักษากระดูกแผนโบราณ

การนวดครรภ์เพื่อให้ทารกกลับหัว

การอยู่ไฟหลังคลอด

การรักษาโรคโดยหมอชาวบ้าน

2. ภมิูปัญญาด้านการสร้างสรรค์วัตถุ

เช่น ก่อสร้าง การประดษิฐ์ งานศิลปะ ของเล่น งานหตักรรมต่างๆ สร้างสรรค์และพัฒนาขึน้เพื่ออ านวยความสะดวกในการด ารงชีวติ และการประกอบอาชีพของมนุษย์

ตัวอย่าง ภูมิปัญญาด้านการสร้างสรรค์วัตถุ

เรือนไทย อุปกรณ์จับสัตว์น้ า

เรือพาย เคียวเกี่ยวข้าว

เครื่องจักสาร : ตะกร้า,กระจาด ^ ^ ของเด็กเล่น

< โอ่งใส่น้ า

ผ้าขาวม้า >

3. ภูมิปัญญาด้านศิลปวัฒนธรรม

เช่น เพลงพื้นบ้าน ดนตรพีื้นบ้าน การละเล่นพื้นบ้าน การแสดงพื้นบา้น เพลงกล่อมเด็ก ตลอดจนนิทาน ต านาน เรื่องเล่าต่างๆ

ภูมิปัญญาด้านนีส้ร้างสรรค์ขึ้นเพื่อความรืน่รมย์ใจ ผ่อนคลายความเครียด สร้างความบันเทิงสนุกสนาน ตลอดจนสรา้งความสามัคคี และเป็นเครื่องช่วยขัดเกลาจิตใจของผู้คนในทอ้งถิ่น อีกทั้งยังแสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองทางวัฒนธรรม และแสดงความเป็นอารยชนในท้องถิ่นด้วย

ตัวอย่าง ภูมิปัญญาด้านศิลปวัฒนธรรม

< การร้องเพลงฉ่อย

การแสดงพื้นบ้าน >

ดนตรีพื้นบ้าน >

< การละเล่น : ลาวกระทบไม้

เดินโถกเถก >

< เดินกะลามะพร้าว

สรุป ลักษณะของภูมิปัญญา

เป็นเรื่องของการใช้ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่าง คนกับคน คนกับ

ธรรมชาติ และคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ เป็นความรู้ในการท ากิจกรรมทุกอย่างในวิถีชีวิต เช่น ท า

การเกษตร ท ามาหากินเลี้ยงชีพ ท าอาหาร

เป็นเรื่องของการแก้ไขปัญหา การจัดการ การปรับตัว การเรียนรู้เพื่อความอยู่รอดของคน ชุมชนและสังคม

เป็นหลักในการด าเนินชีวิตเป็นพื้นความรู้ในเรื่องต่าง ๆ มีลักษณะเฉพาะหรือมีเอกลักษณ์ในตัวเอง มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อปรับตัวให้เข้ากับพัฒนาการทางสังคม

ตลอดเวลา มีพื้นฐานมาจากวัฒนธรรม ศาสนา และความเชื่อ ไม่ใช่วิทยาศาสตร์ มีการน าความรู้ด้านต่างๆ มาผสมผสานกัน เน้นความส าคัญของจริยธรรมมากกว่าวัตถุ

top related