drawing with interior designer

Post on 06-Mar-2016

219 Views

Category:

Documents

0 Downloads

Preview:

Click to see full reader

DESCRIPTION

วาดเส้นกับมัณฑนากร

TRANSCRIPT

การวาดเส้นกับมัณฑนากร

Drawing With Interior Designer

ณัฐรฐนนท์ ทองสุทธิพีรภาส / Nathrathanon Thongsuthipheerapas ภาควิชาออกแบบตกแต่งภายใน / Department of Interior Design

คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร / Faculty of Decorative Arts, Silpakorn University

บทคัดย่อ

การวาดเส้นนั้นเป็นเครื่องมือหลักๆ ของการประกอบวิชาชีพมัณฑนากรทีส่ร้างสรรค์งานออกแบบ

ภายใน ที่เป็นงานที่มองเห็นด้วยตา สามารถสัมผัสได้ มีที่ว่างเป็น 3 มิติ ดังนั้นการสื่อสารเพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจได้

นั้นจะต้องใช้การวาดเส้นเครื่องมือในการแสดงออกหรือสื่อสารความรู้สกึนึกคิด จนิตนาการ ของผู้สรา้งสรรค์

มัณฑนากรนั้นควรจะต้องฝึกฝนทักษะการวาดเส้นให้มีความช านาญเพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ใน ศึกษา

และบันทึกข้อมูล ถ่ายทอดจนิตนาการ พัฒนาผลงาน การเขียนแบบ การน าเสนอผลงาน การแก้ไขปัญหางาน

ก่อสร้าง และยงัน าไปประยุกต์ใช้ในงานด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวขอ้งได้อีกด้วย

เมื่อมัณฑนากรมีความช านาญในการวาดเส้น สามารถสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัวในการเขียนก็จะ

สามารถสร้างงานวาดเส้น งานน าเสนอ และงานออกแบบภายในที่มีความพิเศษ เป็นความสามารถในการแสดง

ความรู้สึกนึกคดิ อารมณ์ สุนทรียภาพ ความงาม ที่มีความแตกต่างหลากหลาย ส่งเสริมพัฒนางานออกแบบ

ภายในให้เจรญิก้าวหน้าต่อไปได ้

บทน า

การวาดเส้น เป็นวิธีการสื่อความหมายทางการมองเห็นของมนุษย์ นอกเหนือไปจากการแสดงปฏิกิริยา

ด้วยร่างกาย หรือการสื่อสารด้วยประสาทสัมผสัอื่นๆ และด้วยการที่มนุษย์มีความคดิอ่าน มีอารมณ์ความรู้สึก

นึกคิด จึงท าให้มนุษย์ต้องการสื่อสารความรู้สึกจากส่วนลึกภายในจิตใจ จึงท าให้เกิดการแสดงออกที่มี

ความหมายทางการสร้างสรรค์ โดยมนุษย์ให้วิธีการทางศิลปะเป็นเครื่องมือในการแสดงออก

การวาดเส้นเป็นพื้นฐานที่ส าคัญส าหรับการเริ่มต้นการเรียนรู้ในสาขาวิชาด้านศิลปกรรม ซึ่งงาน

ออกแบบภายในนั้นถือเป็นส่วนหนึ่งของงานทัศนศิลป์ มัณฑนากรควรต้องฝึกฝนให้เกิดความช านาญ เพราะ

เป็นเครื่องมือส าคัญในการศึกษา ในการผลักดันจินตนาการจากภายในให้ออกมาให้ผู้อื่นได้สัมผัส และเข้าใจใน

ความหมายของสิ่งที่มัณฑนากรก าลังคิดสรา้งสรรค์อยู่ เมื่อเข้าใจและมีความช านาญแล้วสามารถน าไป

ประยุกต์ใช้กับเครื่องมือต่างๆ เพื่อการท างานออกแบบภายใน การใชโ้ปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการออกแบบ

การเก็บข้อมูลเพื่อการออกแบบ การพัฒนางานออกแบบ น าเสนอแนวความคิด การแก้ไขปัญหาในงาน

ก่อสร้างต่างๆ ที่สามารถน าไปปรับใช้ได ้

ในปัจจุบันการวาดเส้นในงานออกแบบภายในถูกน าไปใช้หลากหลายรูปแบบ ทั้งรูปแบบการเรียนการ

สอนในสถาบันการศึกษา การท างานในวิชาชีพ การประยุกต์ในแง่มุมต่างๆ ด้วยความที่เป็นงานสร้างสรรค์ ซึ่ง

สามารถแบ่งลกัษณะของการฝึกฝน และการน าไปประยุกต์ใช้ในด้านการออกแบบภายในได้เป็นหัวข้อต่างๆ

ดังนี้

1. ทักษะกับการวาดเส้น

2. การศึกษาและบันทึกข้อมูลผ่านการวาดเส้น

3. เครือ่งมือในการถ่ายทอดจินตนาการ

4. การพัฒนางานโดยการวาดเส้น

5. วาดเส้นกับการเขียนแบบ

6. วาดเส้นในการน าเสนอผลงาน

7. วาดเส้นในการแก้ไขปัญหาหน้างานก่อสร้าง

8. ลักษณะเฉพาะตนในการวาดเส้น

1. ทักษะกับการวาดเส้น

การวาดเส้นเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่มีความส าคัญมากในการสร้างงานออกแบบภายใน มัณฑนากร

จ าเป็นต้องมีทักษะที่ดีในการวาดเส้นเพ่ือใช้เป็นเครื่องมือในการส่งผ่านความคิดและจินตนาการ เป็นเครื่องมือ

ในการพัฒนาที่ว่าง พัฒนาองค์ประกอบ พัฒนารายละเอียดในงานออกแบบภายใน เป็นเครื่องมือในการ

ถ่ายทอดกระบวนการ ขั้นตอน ความเป็นมาในการออกแบบ เป็นเครื่องมือในการศกึษา เรียนรู้และสร้าง

ประสบการณ์เพื่อใช้เป็นข้อมูลในออกแบบ การวาดเส้นนั้นจึงนับเครื่องมือที่ขาดไม่ได้ในการประกอบวิชาชีพ

มัณฑนากร

1.1 การฝึกทักษะในการมองเห็น

การมองนับเป็นก้าวแรกส าหรับการวาดเส้นเรามักฝึกฝนดว้ยการเขียนเลียนแบบธรรมชาติ หรือ

สิ่งที่มีอยู่แล้ว เช่น วัตถุหุ่นนิ่ง ภูมิทัศน์ ธรรมชาติ สถาปัตยกรรม ฯลฯ ผู้เขียนจะต้องมองให้ออกว่า วัตถ ุบริบท

อาคารสถานที่ บรรยากาศ ธรรมชาติทีก่ าลังมองอยู่นั้นมีลักษณะที่วา่งความเป็นสามมิติ มีความงามอย่างไร

เรามองเห็นอะไรในพื้นที่นั้นและจะน าสิ่งที่คิดถ่ายทอดออกมาได้อย่างไร เมื่อสามารถวาดในสิ่งที่ตาเห็นได้แล้ว

จึงค่อยวาดสิ่งที่คิดจินตนาการให้ออกมาเป็นรูปธรรมได ้

1.2 ทัศนียวิทยา

ความถูกต้องในการเขียนตามหลักการเขียนทัศนียภาพทั้งเส้นระดับสายตา ระยะหน้า-หลัง

มุมมองความสูงของการเขียน จุดรวมวัตถุ (Vanishing point) และจุดรวมสายตา (Center of vision) รวมทั้ง

แสงเงาที่เกิดขึ้นกับวัตถุตามหลักทัศนียวิทยา ซึ่งเรื่องนี้เป็นสิ่งส าคัญล าดับแรกๆ ของการฝึกทักษะการวาดเส้น

ของมัณฑนากรเพราะงานออกแบบภายใน เป็นงานที่ใช้การทัศนียภาพ การมองเห็น การใช้งาน การสัมผัส

สีสัน แสงและเงา ในการสร้างที่ว่างดังนั้นความถูกต้องตามหลักทัศนัยภาพจึงเป็นเรื่องส าคัญมากส าหรับการ

วาดเส้น

1.3 โครงสร้างสัดส่วนของวัตถุ1

ด้วยงานออกแบบภายในเป็นงานที่มีประโยชน์ใช้สอยประกอบกับความงาม ความถูกต้องแม่นย า

ในงานออกแบบจึงเป็นสิ่งจ าเป็น ทั้งระยะ สัดส่วน โครงสร้างของวัตถุ ที่ว่าง องค์ประกอบต่างๆ นับเป็นทักษะ

ส าคัญที่มัณฑนากรทุกคนควรมี เพื่อให้การถ่ายทอดจินตนาการผ่านการวาดเส้นเป็นไปด้วยความถูกต้องชัดเจน

1.4 เส้น

การใช้ลักษณะของเส้นให้ถูกต้องเป็นสิ่งจ าเป็นในการวาดเส้นเพราะเส้นต่างๆ ล้วนมีอารมณ์

ความรู้สึกที่แตกต่างกัน มัณฑนากรควรควบคุมการใช้เสน้ของตนเองได้ ทั้งน้ าหนัก ขนาดของเส้น ลักษณะของ

เส้น ประกอบกับการเลือกอุปกรณ์ที่ใช้เพื่อให้ได้งานวาดเส้นที่สะท้อนแนวคิด บุคลิกภาพเฉพาะของงานหรือ

แม้แต่ลักษณะเฉพาะตนของมัณฑนากรเองให้ปรากฏออกมาเด่นชัด

1.5 ความช านาญ

มัณฑนากรควรฝึกฝนการวาดเส้นอย่างสม่ าเสมอ เมื่อมีทักษะที่ดีและมีความช านาญในการวาด

เส้นแล้วไม่ว่าจะคิด จินตนาการ ถึงสิ่งใดก็สามารถถ่ายทอดออกมาได้อย่างใจคิด การฝึกทักษะความช านาญ

ส าหรับการวาดเส้นบางคนอาจท าโดยการลอกแบบจากรูปงานวาดเส้น ที่นักออกแบบหรือมัณฑนากรอาชีพที่มี

ความช านาญได้เคยเขียนไว้ เพื่อศึกษาถึงรูปแบบวิธีการเขียนว่าเขียนได้อย่างไร ก็พัฒนาทักษะความช านาญ

ด้วยการลอกแบบมีข้อควรระวังเรื่องการลอกอย่างไม่มีเป้าหมาย เราควรลอกเพื่อศึกษากระบวนการของผู้วาด

1 พิษณุ ศุภนิมิตร. วิชาพื้นฐานทางศิลปะมีความส าคัญอย่างไรกับคนเรียนศิลปะ. ใน สูจิบัตรนิทรรศการ “10 Steps”

Fundamental Arts Exhibition. (กรุงเทพฯ : คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร,

2554), 60.

มิใช่การเลียนแบบผลผลิตที่ออกมาแล้ว2 เมื่อลอกแบบพร้อมเข้าใจกระบวนการแล้ว ท าได้เองต่อไปและ

สามารถพัฒนาต่อยอดให้เกิดรูปแบบที่เป็นลักษณะเฉพาะตนได้

2. การศึกษาและบันทึกข้อมูลผ่านการวาดเสน้

ในการออกแบบภายในมัณฑนากรจะต้องศึกษาโจทย์ วิเคราะห์ วางแผนและพัฒนาผลงาน ก่อนการ

ท างานโดยใชค้วามคิดสร้างสรรค์ และจินตนาการ โดยอาศัยประสบการณจ์ากการศึกษาเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

หรือจากประสบการณ์ท างานที่สะสมมาระยะเวลาหน่ึง

การจินตนาการภาพให้ออกมานั้นจ าเป็นต้องมีจินตภาพเป็นวัตถุดิบเก็บไว้ในสมอง เพื่อพอถึงเวลา

มัณฑนากรก็สามารถน าออกมาใช้งานได้ทันที3 หากปราศจากวัตถุดิบการสร้างสรรค์ก็ย่อมเป็นไปไม่ได้

การศึกษาเพื่อสร้างประสบการณ์สร้างคลังแห่งจินตภาพเป็นสิ่งจ าเป็นในการท างานออกแบบภายใน วัตถุดิบที่

ดีจึงเป็นสิ่งจ าเป็น หากได้ศึกษาผ่านการวาดในสถานที่ ทีม่ีคุณค่าทางความงามแล้วก็จะช่วยท าให้งาน

สร้างสรรค์ของมัณฑนากรเป็นงานที่มีคุณค่าด้วยเช่นกัน

ภาพที่ 00 พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง

ที่มา : ณัฐรฐนนท์ ทองสุทธิพรีภาส 2 จอห์น ฮาวกินส์. นิเวศของความสร้างสรรค์ : ที่ซึ่งการคิดกลายเป็นงาน. แปลโดย คุณากร วาณิชย์วิรุฬห์. (กรุงเทพฯ :

ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ, 2553), 55. 3 Zumthor, Peter. Thinking Architecture. (Baden Switzerland : Lars Müller Publishers, 2000), 59.

ภาพที่ 00 ชุมชนท่าช้าง

ที่มา : ณัฐรฐนนท์ ทองสุทธิพรีภาส

เราจะต้องสังเกตถึงลักษณะคุณค่าทางความงามธรรมชาติของสถานที่ที่เราศึกษานั้นว่ามาความงามอย่างไร

มีความประทับใจหรือชื่นชอบในส่วนใด ซึ่งอาจแยกวัตถุประสงค์ออกเป็นดังนั้น

- รูปแบบของที่ว่าง

- สัดส่วนและโครงสร้างของอาคาร

- รายละเอียดและส่วนประกอบของอาคารสถานที่

- วัสดุและพื้นผิว

- แสงเงา

- บรรยากาศและความรู้สึก

- วิถีชีวิตของผู้คนต่อสถานที ่

ต้องระวังและแยกแยะระหวา่งการวาดเพื่อศึกษากับการวาดเพื่อลอกเลียนแบบ4 ผู้ศึกษาจะต้องส านึก

รู้ถึงจุดหมายของการวาดเส้น หากไม่มีจดุหมายในการวาดเส้นผลงานนั้นก็จะเป็นเพื่อการฝึกฝนฝีมือเท่านั้น

เมื่อมีจุดมุ่งหมายที่แน่ชัดแล้วเราก็สามารถศกึษาและสร้างคลังจินตภาพ ในสมองเพ่ือเป็นเครื่องมือในการ

ท างานสร้างสรรค์ได ้

4 ชะลูด นิ่มเสมอ. วาดเส้นสร้างสรรค์. (กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2553), 43.

3. เครื่องมือในการถ่ายทอดจนิตนาการ

วาดเส้นเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการถ่ายทอดความคิด ไม่ว่าจะเป็นการวาดรูปเล่น การเขียนเพื่อ

ทดลองด้วยวิธีการต่างๆ การผสมผสานกับเครื่องมือบางชนิด เป็นการถ่ายทอดงานสร้างสรรค์ที่ใช้เวลารวดเร็ว5

การบันทึกความคิดที่ผ่านเข้ามาในช่วงเวลาหนึ่ง เพื่อคาดคะเนแนวทางความคิดพัฒนาจากความคิดจาก

นามธรรมสู่รูปธรรมที่ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ6 และเพื่อการทดลองสร้างที่ว่างในกระดาษผ่านการวาดเส้น

ภาพที่ 00 ภาพร่างงานออกแบบภายในโรงแรม Sofitel So Bangkok โดย PIA INTERIOR

ที่มา : http://www.youtube.com/watch?v=lP5Zns_z1do

ภาพที่ 00 ภาพร่างแนวความคิดในการออกแบบภายใน

ที่มา : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เอกพงษ์ ตรีตรง

5 เอกพงษ์ ตรีตรง. HOTEL DESIGN. (กรุงเทพฯ : เนชั่น พริ้นติ้งท์ เซอร์วิส, 2554), 174. 6 ชะลูด นิ่มเสมอ. วาดเส้นสร้างสรรค์. (กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2553), 33-39.

ภาพที่ 00 การพัฒนารูปแบบงานออกแบบภายในผ่านลายเส้นแบบ ISOMETRIC

ที่มา : ณัฐรฐนนท์ ทองสุทธิพรีภาส

4. การพัฒนางานโดยการวาดเสน้

การวาดเส้นนั้นถือเป็นเครื่องมือส าคัญในการพัฒนารูปแบบงานออกแบบภายใน ด้วยงานที่มีลักษณะ

ทางกายภาพเป็นที่ว่าง ที่มีรูปร่างรูปทรงเป็น 3 มิติ การวาดเส้นทั้งแบบรูปทัศนยีภาพ 3 มิติและแบบ 2 มิติ

สามารถถ่ายทอดสิ่งที่คิดให้ออกมาเพื่อดูลักษณะงานให้เห็นเป็นรูปธรรม การทดลองสร้างที่ว่างในรูปแบบต่างๆ

ด้วยการสเกตซ ์ เป็นหนึ่งในกระบวนการวิเคราะห์ สังเคราะห์งานออกแบบภายใน มัณฑนากรอาจน าเอาภาพ

ร่างไปใช้เพ่ือแสดงกระบวนการออกแบบในการน าเสนอผลงานได้

ภาพที่ 00 การพัฒนาแบบแปลนด้วยการวาดเส้น

ที่มา : ณัฐรฐนนท์ ทองสุทธิพรีภาส

ภาพที่ 00 งานออกแบบภายในคอนโดมิเนียม

ที่มา : ณัฐรฐนนท์ ทองสุทธิพรีภาส

5. วาดเสน้กับการเขียนแบบภายใน

เมื่อมัณฑนากรมีทักษะความแม่นย าในการวาดเส้นที่ดีแล้ว การน ามาประยุกต์ใช้ในการเขียนแบบ

ภายในจึงไม่ใช่เรื่องยาก เพราะการเขียนแบบภายในนั้นใช้เส้นในการสื่อสาร ใช้เส้นเป็นภาษาในการอธิบาย

รูปแบบและลกัษณะของงาน โดยอาศัยความแม่นย าในการใช้น้ าหนักอ่อน-แก่ของเส้น ขนาดของเส้น และ

ลักษณะของเส้นที่เป็นเส้นปะ เส้นตรง เสน้โค้ง ผ่านสัญลักษณ์หรือเครือ่งหมายเพ่ือบอกความหมายของแบบ

เพราะฉะนั้นมัณฑนากรที่จะเขียนแบบภายในให้ดีได้นั้นควรต้องเริ่มต้นจากการเรียนวาดเส้นเสียก่อน

แม้ว่าในปัจจุบนัการเขียนแบบภายในนั้นจะเปลี่ยนแปลงไปใช้คอมพิวเตอร์และโปรแกรม Cad ใน

รูปแบบต่างๆ เพื่อการเขียนแบบแต่เราก็ยังต้องก าหนดค่าน้ าหนักของเส้นและลักษณะของเส้น หรือในอนาคต

จะมีรูปแบบของการเขียนแบบที่เป็นไปในลักษณะสามมติิ หรือการท างานผ่านระบบ BIM (Building

Information Modeling) ซึ่งสิ่งเหล่านี้อย่างไรก็ต้องอาศัยพื้นฐานความรู้ในด้านการวาดเส้น

ภาพที่ 00 แบบร่างรูปด้านงานออกแบบภายใน

ที่มา : ณัฐรฐนนท์ ทองสุทธิพรีภาส

ภาพที่ 00 รูปด้านห้องจัดเลี้ยง พระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร

ที่มา : ณัฐรฐนนท์ ทองสุทธิพรีภาส. นิทรรศการผลงานสร้างสรรค์ของคณาจารย์ มัณฑนศิลป์ ’54 : 55 ปี แห่ง

การสร้างสรรค์นวัตกรรม. (กรุงเทพฯ : คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2554), 9.

ภาพที่ 00 แบบขยายรูปตัดการซ่อนไฟ

ที่มา : ณัฐรฐนนท์ ทองสุทธิพรีภาส

ในตัวอย่างภาพที่ 00 แสดงการสเกตซ์แบบการซ่อนไฟในงานออกแบบภายใน ที่ต้องอาศัยการวาด

เส้นเป็นเครื่องมือในการเขียนอธิบายด้วยน้ าหนัก ระยะ สัญลักษณ์ประกอบแบบ มัณฑนากรต้องใช้

ความสามารถในการวาดเส้นน าความประยุกต์ใช้กับการเขียนแบบภายใน เพื่อพัฒนางานออกแบบระหว่างการ

ก่อสร้างได้

6. วาดเสน้ในการน าเสนอผลงาน

การน าเสนอผลงานการออกแบบภายใน ในปัจจบุันมักน าเสนอด้วยเทคนิคคอมพิวเตอร์ที่ได้ภาพ

สมจริง เจ้าของโครงการสามารถเห็นได้อย่างชัดเจนถึงรูปแบบลักษณะของผลงานที่เป็นรูปธรรม แต่ในส่วนของ

แบบร่างขั้นต้น การวาดเส้นก็เป็นเครื่องมือที่ยังได้รับความนิยมในการน าเสนอแบบร่างขั้นต้นให้กับเจ้าของ

โครงการ ในบางโครงการการน าเสนอครั้งสุดท้ายก็ยังคงเป็นการวาดเส้นเพื่อน าเสนอ ด้วยความเป็นธรรมชาติ

ของเส้นที่มีชีวิตชีวา ความมีเอกลักษณ์เฉพาะ เป็นงานศิลปะที่มีอารมณ์ความรู้สึก มสีนุทรียภาพ มีคุณค่า

มากกว่าการน าเสนอด้วยเทคนิคคอมพิวเตอร์

ภาพที ่00 วาดเส้นสโมสรพนกังาน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

ที่มา : ณัฐรฐนนท์ ทองสุทธิพรีภาส

ภาพที ่00 วาดเส้นบ้านพักอาศัยคุณเธียรสิน ภู่ธนา

ที่มา : ณัฐรฐนนท์ ทองสุทธิพรีภาส

7. วาดเสน้ในการแก้ไขปัญหาหน้างานก่อสร้าง

ในงานออกแบบภายในมักมีปัญหาเฉพาะหน้าต่างๆ ด้วยรูปแบบการก่อสรา้งที่เป็นสิ่งที่ไม่สามารถขาด

คิดล่วงหน้าได้ ด้วยเนื้อหาของงานที่มีรายละเอียดมากและประกอบการช่างก่อสร้างอาจมิได้เข้าใจความคิดใน

ตัวผู้ออกแบบทั้งหมด การตรวจหน้างานก่อสร้างจึงมักเกิดปัญหาที่ต้องแก้ไขด้วยความรวดเร็ว มัณฑนากรควร

มีทักษะในการสื่อสารผ่านการวาดเส้นทั้งในรูปแบบการเขียนทัศนียภาพที่เป็น 3 มิติ และการเขียนแบบภายใน

ที่เป็น 2 มิติ เพื่อให้การท างานก่อสร้างด าเนินต่อไปได้อย่างสะดวก

ดังนัน้ความเร็ว ความถูกต้อง ความแม่นย าและไหวพริบในการแกไ้ขปัญหา เป็นสิ่งจ าเป็นที่มัณฑนากร

จะใช้เป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาหน้างานก่อสร้าง การมีทักษะที่ดีจะช่วยในส่วนนี้ได้มาก

ภาพที่ 00 การวาดเส้นส่วนต่อเติมห้องอาบน้ าภายในบ้านพักอาศัย

ที่มา : ณัฐรฐนนท์ ทองสุทธิพรีภาส

ภาพที่ 00 การวาดเส้นและลงสีในการออกแบบภายในส านักงานขายดีคอนโด รามค าแหง

ที่มา : ณัฐรฐนนท์ ทองสุทธิพรีภาส

8. ลักษณะเฉพาะตนในการวาดเส้น

โดยปกตแิล้วมนุษย์มักจะมีลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างกันออกไป ทั้งลักษณะนิสัย รูปรา่งหน้าตา

ประสบการณ์ในการใช้ชีวิต สิ่งแวดล้อมความเป็นอยู่ที่แตกต่างกันออกไปท าให้มนุษยม์ีมุมมอง มลีักษณะที่

แตกต่างกันโดยธรรมชาติอยู่แล้ว ลักษณะความแตกต่างเหล่านี้มักปรากฏลงในความคิด จินตนาการ และ

ถ่ายทอดลงมาที่การวาดเส้นโดยไม่รู้ตัวอยู่แล้ว เสมือนลายมือในการเขียนแต่ความแตกต่างเหล่านี้จะแสดง

ความชัดเจนมากขึ้นเมื่อได้รับการฝึกฝนอยา่งถูกต้อง

การสร้างลักษณะเฉพาะตัวในการเขียนอาจเริ่มต้นด้วยการสังเกตลักษณะของเส้นหนา-บาง น้ าหนัก

เข้ม-อ่อน ของผู้เขียนและพฒันาจากลักษณะการเขียนที่ตนเองชื่นชอบ โดยผู้เขียนจะต้องสังเกตตนเองว่าการ

เขียนในลักษณะของตนเหมาะสมกับเทคนิคที่ตนเองเลือกใช้ เช่น คนที่ชอบเขียนเส้นเล็กและบางอาจพัฒนา

โดยการเขียนเก็บรายละเอียดมากเพื่อให้ลักษณะเด่นของการเขียนด้วยเส้นเล็กปรากฏออกมาเด่นชัดขึ้น

การให้จังหวะของเส้นบ้างคนชอบเขียนเส้นยาวๆ บางคนชอบเขียนเส้นขาดๆ บางคนชอบผสมน้ าหนัก

เข้ม-อ่อน หรือการหยุดปากกาที่หัวและท้ายเส้นเพื่อให้เส้นมีน้ าหนัก

อีกส่วนหน่ึงคือลักษณะของเสน้ เช่น เส้นตรง เส้นขยัก เสน้สั่น ฯลฯ หากฝึกฝนลักษณะเฉพาะเหล่านี้

ให้เด่นชัดแล้วเมื่อประกอบกับการมองเห็น มุมมอง ความคิด ประสบการณ์และจินตนาการของผู้เขียนแล้วก็จะ

สร้างลักษณะพิเศษที่มีความแตกต่างกันออกไป ซึ่งยากที่จะมีลักษณะที่เหมือนกัน

ภาพที่ 00 ภาพวาดเส้นของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เอกพงษ์ ตรีตรง

ที่มา : เอกพงษ์ ตรีตรง

ภาพที่ 00 ภาพวาดเส้นของ อาจารย์สมบัติ วงศ์อัศวนฤมล

ที่มา : สมบัติ วงศ์อัศวนฤมล

ภาพที่ 00 ภาพวาดเส้นของ อาจารย์ ณัฐรฐนนท์ ทองสุทธิพีรภาส

ที่มา : ณัฐรฐนนท์ ทองสุทธิพรีภาส

บทสรปุ

การวาดเส้นเป็นพื้นฐานส าคัญของการสร้างสรรค์งานออกแบบภายใน เป็นงานที่ต้องพัฒนาความ

ความคิดและผลงานผ่านการสเกตซ์เพื่อศึกษา เพื่อการออกแบบอย่างมกีระบวนการ มีการวิเคราะห์

สังเคราะห์ และน าเสนอผลงาน โดยมีงานวาดเส้นตัวช่วยสื่อสารความคิด จินตนาการ ให้ออกมาอย่างมีระบบ

เป็นรูปธรรม

ในสายวิชาชีพการออกแบบภายในบริษัทต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศหลายบริษทัมักจะขอดูภาพ

สเกตซ์แบบร่างงานวาดเส้นของมัณฑนากรเพื่อยืนยันความเป็นเจ้าของความคิด เจ้าของผลงานสร้างสรรค์ เป็น

เครื่องมือในการด ู“ฝีมือ” ของมัณฑนากรว่ามีความสามารถมากเพียงใด

งานวาดเส้นที่ดีต้องอาศัยทักษะของผู้เขียนที่มีความช านาญ รวดเร็ว และแม่นย า ยิ่งมีลักษณะเฉพาะ

ของตนเองดว้ยแล้วงานวาดเส้นนั้นจะยิ่งมีความพิเศษมากขึ้นเท่าน้ัน ยิ่งในงานที่มีความใส่ใจในรายละเอียด

ตั้งใจท าด้วยความรู้สึกนึกคิด งานวาดเส้นอาจเป็นมากกว่างานน าเสนอผลงานแต่เป็นงานศิลปะที่มีความงาม

แสดงสุนทรียภาพของผู้เขียนให้ปรากฏออกมาเด่นชัด มีความแตกต่างหลากหลายในผลงานสร้างสรรค ์ ด้วย

การวาดเส้นด้วยมือเป็นหัวใจของการถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกทีม่ีความแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล เส้นทุก

เส้นล้วนแทนความหมายมากมายที่เรียงร้อยจินตนาการ ความคิด ความรู้สึก และความสุนทรียในงานออกแบบ

ภายในที่ไม่มีวนัสิ้นสุด

เอกสารอ้างอิง

ภาษาไทย

จอห์น ฮาวกินส์. นิเวศของความสร้างสรรค์ : ที่ซึ่งการคิดกลายเป็นงาน. แปลโดย คณุากร วาณิชย์วิรุฬห์.

กรุงเทพฯ : ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ, 2553.

ชะลูด นิ่มเสมอ. วาดเส้นสรา้งสรรค์. กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2553.

ณัฐรฐนนท์ ทองสุทธิพีรภาส. “มัณฑนากรกับการท างานในช่วงการก่อสร้าง.” ใน มัณฑนศิลป์ ’54:55 ปี แห่ง

การสร้างสรรค์นวัตกรรม, 68. งานแสดงนิทรรศการผลงานสร้างสรรค์ของคณาจารย์คณะ

มัณฑนศิลป ์มหาวิทยาลัยศิลปากร ครั้งที่ 14 ณ หอศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์

มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ, 15-30 กันยายน 2554. ม.ป.ท., 2554.

พิษณุ ศุภนิมิตร. วิชาพื้นฐานทางศิลปะมคีวามส าคัญอย่างไรกับคนเรยีนศิลปะ. ใน สูจิบัตรนิทรรศการ “10

Steps” Fundamental Arts Exhibition. กรุงเทพฯ : คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์

มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2554.

เอกพงษ์ ตรีตรง. HOTEL DESIGN. กรุงเทพฯ : เนช่ัน พริ้นต้ิงท์ เซอร์วิส, 2554.

ภาษาต่างประเทศ

Zumthor, Peter. Thinking Architecture. Baden Switzerland : Lars Müller Publishers, 2000.

top related