“เราตั้งในอธิษฐานว่าเราจะ ... 20...

10
กรุงเทพฯ เมืองสวรรค์ตามแนวพระราชดำริ 18 A Royally-Initiated Path Towards a Heavenly Bangkok 19 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสืบสานพระราชปณิธานนีของสมเด็จพระบรมราชชนกให้ปรากฏผลยิ่งขึ้น ด้วยการปฏิรูปประเทศแทบทุกด้าน ให้เป็นแบบสมัยใหม่อย่างที่ไม่เคยปรากฏในยุคใดมาก่อน ทั้งทางด้านกายภาพคือ การคมนาคมขนส่ง การจัดวางผังเมือง อาคารบ้านเรือน รวมทั้งระบบสาธารณูปโภค และยังครอบคลุมไปถึงการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำรงชีวิต ซึ่งเปลี่ยนจากการผลิต เพื่อยังชีพ มาสู่การผลิตเพื่อส่งสินค้าออกอย่างเป็นระบบ เหนือสิ่งอื่นใดคือ การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมการดำเนินชีวิต ทั้งการกิน การอยู่ การละเล่น การแต่งกาย ให้เป็นแบบสมัยใหม่ตามอย่างอารยธรรมของชาติตะวันตกมากยิ่งขึ้น การปรับปรุงและปฏิรูปประเทศในทุกด้านที่ได้ดำเนินมาเป็นเวลากว่า ๖ ทศวรรษตลอดรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสืบเนื่องมาจนถึง รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่เพียงแต่จะทำให้กรุงเทพฯ ก้าวสู่ความทันสมัยในฐานะเมือง “ศิวิไลซ์” ทำนองเดียวกับมหานครอื่นๆ ในประเทศ ทางตะวันตกเท่านั้น หากแต่ยังกลายเป็นศูนย์กลางการค้าในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ที่ดึงดูดให้มหาอำนาจทั่วโลกต่างมุ่งหมายเข้ามาติดต่อค้าขายอย่างมากด้วย เหนือสิ่งอื่นใดคือ การประกาศถึงความเป็นชาติที่มีเอกราชและอธิปไตยที่ดำรงอยูมาจนถึงทุกวันนีทั้งหมดนี้ล้วนสะท้อนให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถอันเกิดจากพระราช ปณิธานอันยิ่งใหญ่ของพระมหากษัตริย์ไทยทั้งสองพระองค์ที่ได้ทรงบันดาลให้ กรุงเทพมหานครในฐานะราชธานีแห่งอาณาจักรสยามได้สู่ความเป็น “เมืองสวรรค์” ที่ดำรงอยู่อย่างสง่างามในประชาคมโลก สมดังพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งมีพระราชดำรัสตอบประชาชนชาวสยาม ณ พระที่นั่งสุทไธสวรรยปราสาท เมื่อวันที่ ๕ มกราคม ร.ศ. ๑๑๖ (พ.ศ. ๒๔๔๐) ตอนหนึ่งว่า “...เราตั้งในอธิษฐานว่า เราจะกระทำการจนเต็มกำลังอย่างที่สุดที่จะให้ กรุงสยามเป็นประเทศอันหนึ่งซึ่งมีอิสรภาพและความเจริญ...” Throughout the 65 years of comprehensive national reform carried out during the reigns of Kings Rama IV and Rama V Bangkok developed into a “civilized” city on a par with any Western metropolis. The city also became a major trading center of Southeast Asia and attracted superpowers from all corners of the world to engage in trade contact and exchange. Moreover, these reforms were designed as a declaration of Thailand’s independence and autonomy to the world; a message whose impact is present to this very day. All of these reforms reflect the administrative skill and resolute determination of both Kings in transforming Bangkok’s status as the capital city of Thailand into a “heaven on earth” city that could stand tall in the international arena. King Rama V’s wish, expressed in his speech to the people of Siam at Sutthaisawan Throne Hall on 5 January of the 116 th Rattanakosin Era (1897 A.D.), had been fulfilled. An excerpt from this speech reads: “...I pledge to exert my full ability to make Siam a free and developed country...”

Upload: others

Post on 09-Aug-2020

3 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: “เราตั้งในอธิษฐานว่าเราจะ ... 20 กรุงเทพฯ เมืองสวรรค์ตามแนวพระราชดำริ

กรุงเทพฯ เมืองสวรรค์ตามแนวพระราชดำริ18 A Royally-Initiated Path Towards a Heavenly Bangkok 19

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสืบสานพระราชปณิธานนี้

ของสมเด็จพระบรมราชชนกให้ปรากฏผลยิ่งขึ้นด้วยการปฏิรูปประเทศแทบทุกด้าน

ให้เป็นแบบสมัยใหม่อย่างที่ไม่เคยปรากฏในยุคใดมาก่อน ทั้งทางด้านกายภาพคือ

การคมนาคมขนส่งการจัดวางผังเมืองอาคารบ้านเรือนรวมทั้งระบบสาธารณูปโภค

และยังครอบคลุมไปถึงการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำรงชีวิตซึ่งเปลี่ยนจากการผลิต

เพื่อยังชีพ มาสู่การผลิตเพื่อส่งสินค้าออกอย่างเป็นระบบ เหนือสิ่งอื่นใดคือ

การปรบัเปลีย่นวฒันธรรมการดำเนนิชวีติทัง้การกนิการอยู่ การละเลน่การแตง่กาย

ให้เป็นแบบสมัยใหม่ตามอย่างอารยธรรมของชาติตะวันตกมากยิ่งขึ้น

การปรับปรุงและปฏิรูปประเทศในทุกด้านที่ได้ดำเนินมาเป็นเวลากว่า

๖ทศวรรษตลอดรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสืบเนื่องมาจนถึง

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่เพียงแต่จะทำให้กรุงเทพฯ

ก้าวสู่ความทันสมัยในฐานะเมือง“ศิวิไลซ์”ทำนองเดียวกับมหานครอื่นๆในประเทศ

ทางตะวนัตกเทา่นัน้หากแตย่งักลายเปน็ศนูยก์ลางการคา้ในภมูภิาคเอเชยีตะวนัออก

เฉียงใต้ที่ดึงดูดให้มหาอำนาจทั่วโลกต่างมุ่งหมายเข้ามาติดต่อค้าขายอย่างมากด้วย

เหนือสิ่งอื่นใดคือ การประกาศถึงความเป็นชาติที่มีเอกราชและอธิปไตยที่ดำรงอยู่

มาจนถึงทุกวันนี้

ทั้งหมดนี้ล้วนสะท้อนให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถอันเกิดจากพระราช

ปณิธานอันยิ่งใหญ่ของพระมหากษัตริย์ไทยทั้งสองพระองค์ที่ได้ทรงบันดาลให้

กรุงเทพมหานครในฐานะราชธานีแห่งอาณาจักรสยามได้สู่ความเป็น “เมืองสวรรค์”

ที่ดำรงอยู่อย่างสง่างามในประชาคมโลกสมดังพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จ

พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งมีพระราชดำรัสตอบประชาชนชาวสยาม

ณพระที่นั่งสุทไธสวรรยปราสาท เมื่อวันที่ ๕มกราคม ร.ศ.๑๑๖ (พ.ศ.๒๔๔๐)

ตอนหนึ่งว่า

“...เราตั้งในอธิษฐานว่า เราจะกระทำการจนเต็มกำลังอย่างที่สุดที่จะให้กรุงสยามเป็นประเทศอันหนึ่งซึ่งมีอิสรภาพและความเจริญ...”

Throughout the 65 years of comprehensive nationalreform carried out during the reigns of Kings Rama IV andRamaVBangkokdevelopedintoa“civilized”cityonaparwithanyWesternmetropolis.Thecityalsobecameamajortradingcenter of Southeast Asia and attracted superpowers fromall corners of theworld to engage in trade contact andexchange. Moreover, these reforms were designed asa declaration of Thailand’s independence and autonomytotheworld;amessagewhoseimpactispresenttothisveryday.

All of these reforms reflect theadministrative skill and resolutedetermination of both Kings intransforming Bangkok’s status as thecapital city of Thailand into a “heavenonearth”citythatcouldstandtallintheinternationalarena.KingRamaV’swish,expressed in his speech to the peopleofSiamatSutthaisawanThroneHallon5Januaryofthe116thRattanakosinEra(1897 A.D.), had been fulfilled.Anexcerptfromthisspeechreads: “...I pledge to exert my full ability to make Siam a free and developed country...”

Page 2: “เราตั้งในอธิษฐานว่าเราจะ ... 20 กรุงเทพฯ เมืองสวรรค์ตามแนวพระราชดำริ

กรุงเทพฯ เมืองสวรรค์ตามแนวพระราชดำริ20 A Royally-Initiated Path Towards a Heavenly Bangkok 21

เมืองสวรรค์เทียมสากล The Account of Becoming a Heaven on Earth City

If Thailand’s “civilization” that tookshapeduring the reigns of KingsRamaIVandRamaV led toBangkokphysicaltransformation into amodern city, theprogressive ideas andworld view thatemerged during the reigns of KingsRamaVI, RamaVII andRamaVIIIwerecontributary factors in Bangkok’stransformation into a city ofmodernspiritandvision. During the reign of King Rama VI,theemergingtrendtowardsdemocracyin theWestern world spread to theEastern nations. This ideology becameespecially popular among the elite andthe new generation of Western-educated intellectuals who boldlyexpressedtheirpoliticalideasmoreand

moreopenly.

King Rama VI prepared guidelines for the systematicunderstanding of self-governance among the public.Hiseffortswereevidentintheestablishmentof“DusitThani”,amodel town that experimentedwith local administration,in1918. DuringthereignofKingRamaVII,theinclinationtowardsdemocratic government became clear with the King’sreduction of thePrivyCouncil to a reasonable size and theholdingofparliamentarymeetings.Theregulationsforthesemeetingswerealsousedas the startingpoint for apoliticalreform. KingRamaVIIpresentedthefirstconstitutiontotheThaipeopleon24June1932,grantingthemthefreedomofselfgovernanceunder a constitutionalmonarchy. From thenon,Bangkok became a heavenly city of democratic rule,whichbecame stronger in the reign of King Rama VIII.AsaconstitutionalmonarchKingRamaVIIIwasabletoforma close relationshipwith his subjectswhilst remaining their

spiritualandmoralcenter.

หากความ “ศิวิไลซ์” ของบ้านเมืองที่ปรากฏขึ้นในช่วงรัชสมัยพระบาท

สมเดจ็พระจอมเกลา้เจา้อยูห่วัสบืเนือ่งมาจนถงึรชัสมยัพระบาทสมเดจ็พระจลุจอมเกลา้

เจ้าอยู่หัวได้ส่งผลให้กรุงเทพฯ กลายเป็นเมืองสวรรค์ทางด้านกายภาพแล้วไซร้

ความศิวิไลซ์ทางความคิดและโลกทัศน์สมัยใหม่ที่เกิดขึ้นในช่วงรัชสมัยพระบาท

สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สืบเนื่อง

ไปจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลพระอัฐมรามาธิบดินทร

ย่อมถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้กรุงเทพฯ ก้าวสู่การเป็นเมืองสวรรค์ทางด้าน

ความคิดและจิตใจในโลกยุคใหม่

ทั้ งนี้ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว กระแส

ทางความคิดสมัยใหม่ของรูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยซึ่งปรากฏ

อยู่ในประเทศทางตะวันตกเริ่มแพร่หลายสู่ดินแดนของประเทศต่างๆทางตะวันออก

อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มชนชั้นสูงและปัญญาชนคนรุ่นใหม่ที่ได้รับ

การศึกษาสมัยใหม่จากประเทศตะวันตกต่างพากันแสดงความคิดเห็นทางการเมือง

อย่างเปิดกว้างมากขึ้น

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเริ่มวาง

แนวทางให้ประชาชนได้เรียนรู้และทำความเข้าใจในการปกครอง

ตนเองอย่างเป็นขั้นตอน เห็นได้จากการที่ทรงทดลองจัดการ

ปกครองส่วนท้องถิ่นที่เรียกว่า “ดุสิตธานี” เมืองจำลองขึ้นเป็น

ตัวอย่างเมื่อพ.ศ.๒๔๖๑

ล่วงถึงสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

แนวทางดังกล่าวปรากฏชัดเจนโดยทรงปรับปรุงคณะองคมนตรี

จำนวนมากให้เหลือพอสมควร มีการประชุมแบบสภาผู้แทน

ราษฎร ซึ่งข้อบังคับการประชุมของสภานี้ได้นำไปใช้ในตอนต้น

ของการเปลี่ยนแปลงการปกครองด้วย

เมื่อพระองค์พระราชทานรัฐธรรมนูญให้กับปวงชน

ชาวไทยในวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ ทำให้ประชาชน

มีสิทธิเสรีภาพในการปกครองตนเองภายใต้รัฐธรรมนูญอันมี

พระมหากษัตริย์เป็นประมุข

นับจากนั้นเป็นต้นมากรุงเทพฯจึงกลายเป็นเมืองสวรรค์

ที่ เบ่งบานไปด้วยสังคมประชาธิปไตยและได้รับการพัฒนา

ให้เข้มแข็งมากยิ่งขึ้นเมื่อล่วงเข้าสู่รัชสมัยพระบาทสมเด็จ

พระเจา้อยูห่วัอานนัทมหดิลพระอฐัมรามาธบิดนิทรดว้ยพระองค์

ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญและทรงเป็นศูนย์รวม

จิตใจที่มีความใกล้ชิดกับประชาชนอย่างแท้จริง

Page 3: “เราตั้งในอธิษฐานว่าเราจะ ... 20 กรุงเทพฯ เมืองสวรรค์ตามแนวพระราชดำริ

It is during the present reign that Bangkok has becomeamodernmetropoliswith progressive development in allaspects aswell as an internationally recognized center ofgrowthinSoutheastAsia. Aboveall,BangkokhasachievedthestatusofalivablecityaccordingtoWorldHealthOrganization(WHO)standards interms of its appropriate environment, ecological system,community strength andbasic standardof living. It is a citywith diverse economic systems, cultural heritageconnectivity,freedomofinformation,popularparticipationinthe health-related decision-making process, harmoniousurban development and adequate public health services.Bangkokresidentsliveinagoodhealthenvironment. In addition, Bangkok is expected to be a regionaltransportationhubfromwheredevelopment inallaspects isdelivered,ahubforpublichealthservicesaswellasaneco-friendlyindustrialcitybasedonresearchanddevelopment. Such developments have been realized throughHisMajestyKingBhumibolAdulyadej’s unwaveringeffort tocontinue the desire of his predecessors tomake Bangkoktrulyaheavenonearthcityineveryaspect.

กรุงเทพฯ เมืองสวรรค์ตามแนวพระราชดำริ22 A Royally-Initiated Path Towards a Heavenly Bangkok 23

อาจกล่าวได้ว่าตลอดระยะเวลากว่า๒๐๐ปีที่กรุงเทพฯ ในฐานะราชธานี

แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ภายใต้พระบรมโพธิสมภารของพระมหากษัตริย์ไทย

แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ นับเนื่องจากรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า

จุฬาโลกมหาราชจวบจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล

พระอัฐมรามาธิบดินทร เปี่ยมล้นด้วยพระราชปณิธานในการปกบ้านป้องเมือง

ให้มั่นคงปลอดภัย เจริญก้าวหน้าไปด้วยความมั่งคั่ง และนำพาความสงบร่มเย็น

มาสู่พสกนิกรทั่วหล้า ล้วนยังผลให้กรุงเทพฯ ได้รับการสรรค์สร้างขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ด้วยการเรียนรู้ ยอมรับ ปรับปรุง และเปลี่ยนแปลงตามบริบททางการเมือง

เศรษฐกิจ และสังคม ทั้งจากปัจจัยภายนอกและภายใน จนงดงามบริบูรณ์

ดั่งเมืองสวรรค์ดังที่ปรากฏอยู่ในทุกวันนี้

Itcanbesaidthat,throughoutits200yearsofexistenceasthecapitaloftheRattanakosinkingdom,Bangkokhasbeenunder the benevolent rule of the Chakrimonarchs, fromRama I to RamaVIII. Thesemonarchswere determined tosafeguard thenationagainst all harmaswell as topromotepeace,stabilityandprosperityfortheThaipeople.Overtime,Bangkok, under the influence of both internal and externalfactors, has been forced to undergo a process of constantlearning, compliance, adjustment and transformation toaccommodate the changing political, economic and socialcontextsofeachperiod.Theresult isBangkokas it istoday,aheavenlycityofspectacularbeauty.

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานโครงการอันเนื่องมาจาก

พระราชดำริแก่ชาวมหานครในหลายโอกาส เพื่อการพัฒนากรุงเทพฯ ให้กลายเป็น

มหานครที่พรั่งพร้อมด้วยความเจริญแทบทุกด้านและเป็นศูนย์กลางความเจริญ

ในภูมิภาคเอเชียที่ได้รับการยอมรับจากประชาคมโลก

ที่สำคัญที่สุดคือ มีการพัฒนาเมืองให้เป็นเมืองน่าอยู่ตามมาตรฐาน

ขององค์การอนามัยโลกทั้งด้านสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศ ชุมชนเข้มแข็งประชาชน

ได้รับปัจจัยขั้นพื้นฐานของชีวิตอย่างเพียงพอ มีระบบเศรษฐกิจที่หลากหลาย

มีการเชื่อมโยงมรดกทางวัฒนธรรม มีอิสระในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร มีส่วนร่วม

ตัดสินใจในเรื่องที่ เกี่ยวข้อง มีการพัฒนาเมืองอย่างกลมกลืน มีบริการด้าน

สาธารณสขุทีเ่หมาะสมของประชาชนรวมทัง้การทีช่าวกรงุเทพฯมสีขุภาวะทีด่ี

ในอนาคตกรุงเทพฯมุ่งสู่ความเป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงระบบคมนาคม

ขนส่งระดับภูมิภาค เพื่อกระจายความเจริญของภาคมหานครไปสู่พื้นที่โดยรอบ

เป็นศูนย์กลางการให้บริการด้านการสาธารณสุขและการแพทย์ พร้อมทั้งเป็นเมือง

อุตสาหกรรมสะอาดปราศจากการก่อให้เกิดมลภาวะทางสิ่งแวดล้อมบนพื้นฐาน

ของการวิจัยและพัฒนา

เหลา่นีล้ว้นดำเนนิไปตามแนวพระราชดำรขิองพระบาทสมเดจ็พระเจา้อยูห่วั

ที่ทรงสืบสานพระราชปณิธานของสมเด็จพระบุรพมหากษัตริยาธิราชที่ทรงปรารถนา

ให้กรุงเทพฯงดงามสมดั่งเมืองสวรรค์ในทุกด้านอย่างแท้จริง

Page 4: “เราตั้งในอธิษฐานว่าเราจะ ... 20 กรุงเทพฯ เมืองสวรรค์ตามแนวพระราชดำริ

กรุงเทพฯ เมืองสวรรค์ตามแนวพระราชดำริ24 A Royally-Initiated Path Towards a Heavenly Bangkok 25

พระบารมีบันดาลThe King who Brings Stability to His Kingdom

ส่วนพิเศษ Special Chapter

“...อันที่จริงเธอก็ชือ่'ภูมิพล'ที่แปลว่า'กำลังของแผ่นดิน'แม่ก็อยากให้เธออยู่กับดินเมือ่ฟังคำพูดนี้แล้วกลับมาคิดซึ่งแม่คงจะสอนเราและมีจุดมุ่งหมายว่าอยากให้ติดดินและอยากให้ทำงานให้แก่ประชาชน...”

พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

นับเนื่องจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครอง

สิริราชสมบัติเมื่อวันที่ ๙มิถุนายนพ.ศ.๒๔๘๙ขณะมีพระชนมพรรษา

เพียง ๑๙ พรรษา จนเจริญพระชนมายุ ๘๔ พรรษาใน พ.ศ. ๒๕๕๔

แม้ว่าทรงดำรงอยู่ในพระราชสถานะของ “พระเจ้าแผ่นดิน” อันหมายถึง

พระผูเ้ปน็เจา้ของแผน่ดนินีก้ต็ามหากแตใ่นความเปน็จรงิคอืตลอดระยะเวลา

ที่ผ่านมานั้น ทรงเป็นดัง “พลัง” ที่คอยสร้างเสริมและผลักดันให้ทุกอณู

ทั่วทั้งผืนแผ่นดินนี้ได้ “เข้มแข็ง”และ “เจริญ” เพื่อเป็นรากฐานอันมั่นคง

ให้ประชาชนชาวไทยในทุกถิ่นที่ทั่วประเทศได้อยู่ดีกินดีกันทั่วหน้าสมดัง

ความหมายแห่งพระนามที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จ

พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวอย่างแท้จริง

Sinceascendingthethroneon9 June 1946,when hewas only19 years of age, until his 84thbirthday in2011,HisMajestyhasbeennotonlyamonarchbutalsothe“might”whichstrengthensandrendersprosperitytohiskingdom.He truly lives up to the name“might of the earth” given to him

byKingRamaVII.

“...In truth your name is 'Bhumibol', which means 'the might of the earth'. I want you to be with the earth’s soil. When I think about what my mother said,

I think that my mother perhaps was teaching me with a goal in her mind. She wanted me to be down to earth and to work for the people...”

25

His Majesty the King’s royal speech. (unofficial translation)

Page 5: “เราตั้งในอธิษฐานว่าเราจะ ... 20 กรุงเทพฯ เมืองสวรรค์ตามแนวพระราชดำริ

กรุงเทพฯ เมืองสวรรค์ตามแนวพระราชดำริ26 A Royally-Initiated Path Towards a Heavenly Bangkok 27

ทรงเป็นมิ่งขวัญของแผ่นดิน The King who is Cherished by the Kingdom

HisMajestyhasbeencherishedandrespectedbytheThaikingdom. Following his birth on 5 December 1927 atCambridgeHospital (later renamedMountAuburnHospital),Cambridge,Massachusetts, United States, hewas lovinglybrought up by the PrincessMotherwho taught him to beindependent, thrifty, down to earth,mentally andphysicallydisciplined,rational,considerate,selflessandhardworkingforthegoodofthecountry. Above all, the Princess Mother adopted the PrinceFather’s parenting advice as a guideline on bringing up herthreechildren,especiallywhen itcametoone’smoralsenseand awareness of responsibility. As the Princess Sisterrecounts in her book “From Little Princes to Young Kings”:“…teaching the children to be honest, which meant telling only the truth … Every piece of advice came from father [the Prince Father] who was strictly determined to develop our country and do good things for our country. To do so, first of all one must be a good person. Mother did not use many words. She only said one must be a good person…”

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็น “มิ่งขวัญ” ของแผ่นดินไทย

นับจากเมื่อเสด็จพระราชสมภพณ โรงพยาบาลเคมบริดจ์ (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น

เมานท์ออเบอร์น) เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่

๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ ทรงได้รับการอภิบาลจากสมเด็จพระบรมราชชนนี

ดว้ยความรกัความอบอุน่ใหท้รงรูจ้กัพึง่พาและชว่ยเหลอืตนเองประหยดัไมส่รุุย่สรุา่ย

มีระเบียบวินัย ทั้งกายและใจ เข้าใจในเหตุและผล เคารพสิทธิของผู้อื่น มีน้ำใจ

เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่คิดถึงประโยชน์ส่วนรวมและทรงงานเพื่อชาติบ้านเมือง

เหนอือืน่ใดสมเดจ็พระบรมราชชนนทีรงนำคำสอนทีส่มเดจ็พระบรมราชชนก

ได้เคยรับสั่งกับท่านไว้มาทรงใช้เป็นแนวทางในการอบรมเลี้ยงดูพระธิดาและ

พระโอรสทัง้สามอยา่งดยีิง่โดยเฉพาะเรือ่งการทำความดแีละเปน็คนดีมคีวามรบัผดิชอบ

ดังพระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

เรื่อง “เจ้านายเล็กๆ ยุวกษัตริย์” ความตอนหนึ่งว่า “...สอนให้เด็ก honest คือ พูด

ความจริงเท่านั้น...ถ้าจะพูดไปทุกอย่างมาจากทูลหม่อม (สมเด็จพระบรมราชชนก)

ทูลหม่อมตั้งพระทัยที่จะทำอะไรให้ประเทศดีขึ้น มีความตั้งใจอย่างเด็ดเดี่ยว

เพื่อจะทำสิ่งที่ดีให้ประเทศ เพราะฉะนั้นคือต้องเป็นคนดี แม่ไม่ใช้คำมาก คือ ต้อง

เป็นคนดี...”

ด้วยเหตุนี้ สิ่งที่สมเด็จพระบรมราชชนนีทรงปลูกฝังไว้ได้หล่อหลอมให้

พระธิดาและพระโอรสทรงตั้งมั่นอยู่ในความดีทั้งด้านจิตใจและการปฏิบัติ และให้

ทรงมีพัฒนาการด้านความคิด ซึ่งเป็นรากฐานให้ทุกพระองค์ทรงประพฤติตน

เป็นแบบอย่างอันดีแก่พสกนิกรทั้งผองดังเช่นเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

เสด็จออกทรงพระผนวช นอกจากจะเป็นการประกาศถึงความศรัทธาอันแรงกล้า

ในฐานะพทุธมามกะแลว้ยงัแสดงใหเ้หน็ถงึความเอาพระราชหฤทยัใสแ่ละทรงมุง่หมาย

ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างดียิ่งด้วย

ทรงถวายความกตัญญูกตเวทีต่อสมเด็จพระบรมราชชนนีเป็นที่ยิ่ ง

ดว้ยทรงเชือ่ฟงัและปฏบิตัติามคำสัง่สอนเปน็อยา่งดีทรงดแูลสมเดจ็พระบรมราชชนนี

ในยามปกติและยามประชวร เมื่อเสด็จพระราชดำเนินพร้อมกันจะทรงประคอง

สมเด็จพระบรมราชชนนีด้วยพระองค์เองเสมอมีรับสั่งว่า “ไม่ต้อง…คนนี้เป็นแม่เรา

…เราประคองเอง” นอกจากนี้ ยังเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมและเสวย

พระกระยาหารด้วยเป็นประจำ เมื่อสมเด็จพระบรมราชชนนีมีพระอาการประชวร

พระองค์เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมที่โรงพยาบาลศิริราช และทรงเข็น

รถพระที่นั่งด้วยพระองค์เองและรับสั่งว่า “แม่ของเรา…ทำไมต้องให้คนอื่นเข็น…

เราเข็นเองได้…”

พระคณุลกัษณะในการยดึมัน่คณุธรรมความดขีองพระบาทสมเดจ็พระเจา้อยูห่วั

เป็นต้นแบบที่ดีของพระราชโอรสพระราชธิดาของพระองค์ในกาลต่อมาและยังมี

น้ำพระราชหฤทัยเมตตาพระราชทานพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสต่างๆ

ให้แก่ปวงชนชาวไทยทุกหมู่เหล่ามาโดยตลอด เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนิน

วถิชีวีติและการทำงานอยา่งรอบดา้นเปน็คนดีตัง้มัน่ในศลีธรรมและจรยิธรรมอนัดงีาม

คิดดีพูดดีและกระทำความดีอยู่เสมอ

Themoral seeds planted by the PrincessMother grewbeautifullywithin theminds of her daughter and sons andyielded fruits through their actions. This is the moralfoundationwhich has strengthened all the royals and set agoodexamplefortheirpeople.WhenHisMajestyenteredthemonkhood, he not only declared his Buddhist faith but alsoshowedhisgoodintentionofmaintainingandpreservingtheBuddhistreligion. His Majesty showed love and respect towards thePrincessMotherbyobeyingand followingher teachings.HetookgoodcareofthePrincessMotherinhealthandsickness.Whilewalkingsidebyside,HisMajestyalwayssupportedthePrincessMother himself.Hewould say, “You don’t need to do this… This is my mother… We will be the one to hold and support her.”Apartfromthis,HisMajestyfrequentlywenttovisitandjoinedthePrincessMotherformeals.Whenshefellill, HisMajesty alwayswent to visit thePrincessMother inSirirajHospital.Hepushedherwheelchairbyhimselfandsaid.“This is my mother… Why would we have need of others to wheel her wheelchair?... We will be the one to do it…” HisMajesty‘sadherencetomoralrighteousnesshassetagoodexample tohis ownchildren and tohis people. This isreflectedinhisspeeches.

27

Page 6: “เราตั้งในอธิษฐานว่าเราจะ ... 20 กรุงเทพฯ เมืองสวรรค์ตามแนวพระราชดำริ

ทรงเป็นขวัญกำลังใจไทยทั่วหล้า The King who Raises the Kingdom’s Spirit

HisMajesty’saccessiontothethronenotonlyraisedthespirit of the people at a timewhen theywere in need ofspiritual uplifting but also led the kingdom to stability afterWorldWar II. HisMajesty recounts in hismemoir “When IdepartedfromSiamforSwitzerland,”arecordofhis journeyon19August1946: “...While we were in the car, we could hear someone crying out, ‘Don’t forsake your people’. We wanted to tell that person, ‘If the people do not forsake me, how can I forsake them?’ but the car was going so fast that we had already passed by…”

การเสด็จขึ้นครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่เพียงเป็น

ช่วงเวลาที่พสกนิกรต้องการที่พึ่งทางใจอย่างที่สุดเท่านั้นหากแต่ยังเป็นห้วงเวลา

แห่งการนำประเทศไปสู่ความวัฒนาสถาพรภายหลังสงครามโลกครั้งที่๒ด้วยดังที่

ทรงเล่าไว้ในพระราชนิพนธ์เรื่อง “เมื่อข้าพเจ้าจากสยามมาสู่สวิตเซอร์แลนด์” วันที่

๑๙สิงหาคมพ.ศ.๒๔๘๙ความตอนหนึ่งว่า “...ตามทางที่ผ่านมาได้ยินเสียงใคร

คนหนึ่งร้องขึ้นมาดังว่า ‘อย่าละทิ้งประชาชน’ อยากจะร้องบอกเขาลงไปว่า

‘ถ้าประชาชนไม่ทิ้งข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าจะละทิ้งอย่างไรได้’ แต่รถวิ่งเร็วและเลย

ไปไกลแล้ว...”

ด้วยทรงตระหนักในพระราชหฤทัยดีว่าทรงเป็น “ความหวัง” ของประชาชน

ชาวไทยเป็นอย่างยิ่ง จึงทรงกำหนดแนวทางชีวิตของพระองค์เสียใหม่ โดยตัดสิน

พระราชหฤทัยเลือกเรียนวิชานิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ณมหาวิทยาลัยแห่งเมือง

โลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ แทนการศึกษาแผนกวิทยาศาสตร์ เพื่อให้เป็น

ประโยชน์เหมาะสมแก่การเป็นพระประมุขของประเทศ

นับจากนั้นเป็นต้นมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงได้ทรงทุ่มเท

พระราชหฤทัยและอุทิศกำลังพระวรกายประกอบพระราชกรณียกิจอันมากมาย

มหาศาลเพื่อดูแลทุกข์สุขของอาณาประชาราษฎร์ ทรงเป็น “ขวัญและกำลังใจ”

ให้แก่พสกนิกรชาวไทยได้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข ภายใต้หลักการปกครองและ

บริหารประเทศตามพระราชอำนาจหน้าที่ของพระมหากษัตริย์มาแต่โบราณกาล

ทั้ง “ทศพิธราชธรรม” ธรรมะในการปกครองประเทศ๑๐ประการ “จักรวรรดิวัตร”

ธรรมะในการคุม้ครองปอ้งกนัอาณาประชาราษฎร์๑๒ประการและ “ราชสงัคหวตัถ”ุ

ธรรมะในการทำนุประชาราษฎร์๔ประการสมดังความหมายแห่ง“ธรรมราชา”

ทรงใช้วิชาความรู้ที่ได้ทรงศึกษาทั้งทางอักษรศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์

นติศิาสตร์และรฐัศาสตร์ตลอดจนการเรยีนรูด้ว้ยพระองคเ์องนอกหอ้งเรยีนมาปรบัใช้

ในการครองแผ่นดิน ศึกษาปัญหาและมูลเหตุของปัญหาต่างๆ และค้นหาแนวทาง

แก้ไขเหตุแห่งทุกข์นั้น เพื่อคลี่คลายให้ประชาชนพ้นจากทุกข์นั้นและมีคุณภาพชีวิต

ที่ดีขึ้นโดยถ้วนกัน

HisMajestyknew inhisheart thathewas “thehope”ofThaipeople soheestablishedhis lifeanewsoas tobebestequippedtohelpthepeople.HedidthisbydecidingtoreadLawandPoliticalScience,insteadofScience,attheUniversityofLausanne,Switzerland. ThisdecisionwasmadebyHisMajestysoastobeabletohelpdevelophiskingdomtothefullest. From that time on,HisMajesty devoted himself to hispeople’swell-being.He has raised the “spirits” of the Thaipeopleandshelteredthemwithancientprinciplesofkingshipsuchas“Dasavidha-Rajadhamma”ortheTenKingshipVirtues,“Chakravadivatra” or the TwelveVirtues for the Kingdom’sandthePeople’sProtectionand“Raja-Sangahavatthu”ortheFourVirtuesfortheMaintenanceofthePeople’sWell-being.Adheringtothesevirtues,HisMajestyhasliveduptotherealmeaningof“Dhamma-Raja”,theKingofVirtues. His Majesty has used his knowledge of literature,engineering, law and political science as well as theknowledgehehasaccumulatedfromself-learningtodevelophis kingdom.He studiesproblemsand their root causes andtries to findways of alleviating the people’smisery andimprovingtheirqualityoflife.

กรุงเทพฯ เมืองสวรรค์ตามแนวพระราชดำริ28 A Royally-Initiated Path Towards a Heavenly Bangkok 2929

Page 7: “เราตั้งในอธิษฐานว่าเราจะ ... 20 กรุงเทพฯ เมืองสวรรค์ตามแนวพระราชดำริ

ทรงเป็นพระมหากษัตริย์นักพัฒนา The King who is a True Developer

HisMajestyisaplanner,aninventor,an experimenter and a researcher.Aboveall,heisadeveloperwhohastheintentionofimprovingthekingdomandthe people’s welfare. Ever since hisascension to the throne, HisMajestyhas constantly traveled to visit hispeople all over the country in order toalleviate theirmisery and bring themhappiness;indeed,thereisasayingthat“there is no place in Thailand thatHisMajestyhasnotvisited.”

Fortwodecades,betweentheyears1969-1991,HisMajesty has traveled9,400 times to all areas of Thailandcoveringatotalof326,500kilometers.Itcantrulybesaidthatheisoneofthemosttraveledmonarchsintheworld. Everywhere His Majesty goes,especially in rural areas, the people’shappiness andwell-being are greatlyimproved.Hehashelpedthepeoplebyproviding themwith life’s necessitiesand healthcare facilities. Above all,His Majesty has set a guideline forpeople’sself-sufficiencywithaplanforsustainable development in terms oftheirprofessionandtheirwayoflife.

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นทั้งนักวางแผน นักประดิษฐ์

นักทดลองนักวิจัยเหนือสิ่งอื่นใดคือทรงเป็นนักพัฒนาด้วยทรงมุ่งหมายให้สิ่งต่างๆ

ทีพ่ระองคท์รงศกึษาวจิยัประดษิฐ์และทดลองสามารถนำความเจรญิมาสูบ่า้นเมอืง

และสร้างความอยู่ดีกินดีให้แก่พสกนิกรอย่างทั่วถึงกัน เห็นได้จากพระราชภารกิจ

หลักที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงบำเพ็ญมาตลอดมิเคยว่างเว้นนับจากเสด็จ

ขึน้ครองราชยเ์ปน็ตน้มาคอืการเสดจ็พระราชดำเนนิไปทรงเยีย่มเยยีนเพือ่“บรรเทาทกุข”์

และ “บำรงุสขุ” ราษฎรทัว่ทกุภมูภิาคของประเทศไทยจนมคีำกลา่ววา่ “ไมม่ทีีแ่หง่ใด

ในประเทศไทยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่เคยย่างพระบาทไปถึง”

ตลอดระยะเวลากว่า๒ทศวรรษ ระหว่างพ.ศ.๒๕๑๒-๒๕๓๔พระบาท

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปทั่วทุกพื้นที่ของประเทศไทยเป็นจำนวน

รวม๙,๔๐๐ครั้ง คิดเป็นระยะทางประมาณ๓๒๖,๕๐๐กิโลเมตร จนกล่าวได้ว่า

ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่เดินทางยาวไกลที่สุดพระองค์หนึ่งของโลก

ทั่วทุกถิ่นที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปถึง ไม่ว่า

จะเป็นที่ลำบากแร้นแค้นเพียงใด ล้วนแต่ได้รับความชุ่มฉ่ำจากน้ำพระราชหฤทัย

ที่พลิกฟื้นให้ทวยราษฎร์ได้คลายทุกข์และก่อเกิดสุขในทุกที่ ด้วยการพระราชทาน

ความช่วยเหลือเพื่อคลี่คลายปัญหาด้านปัจจัย๔ของประชาชนเป็นหลักโดยเฉพาะ

การแพทยแ์ละสาธารณสขุ เหนอืสิง่อืน่ใดพระบาทสมเดจ็พระเจา้อยูห่วัพระราชทาน

แนวทางให้ทุกคนเรียนรู้การดำรงตนอย่างมั่นคง ด้วยทรงสนับสนุนให้สามารถ

ประกอบอาชีพเพื่อการใช้ชีวิตอย่างยั่งยืน

กรุงเทพฯ เมืองสวรรค์ตามแนวพระราชดำริ30 A Royally-Initiated Path Towards a Heavenly Bangkok 3131

Page 8: “เราตั้งในอธิษฐานว่าเราจะ ... 20 กรุงเทพฯ เมืองสวรรค์ตามแนวพระราชดำริ

HisMajesty’sdeterminationto improvetheThaipeople’swell-beinghas led to thedevelopmentofmore than4,634royal projects nationwide. The royal projects coverwaterresourcedevelopmentprojects, agricultural projects, naturalresources development projects, sustainable livelihoodprojects, communications projects, socialwelfare projectsandhealthcareprojects.Theseroyalprojectsnotonlyaimatdevelopingpeople’sfarmingandplantationmanagementskillsandtheirwaterandsoilresourcesmanagementskillsforself-sufficiency but they also aim to unite communities in thepursuitofstabilityandfutureimprovement. The royal projects have been devised on the basis ofnumerous studies, research projects and experimentsconducted byHisMajesty himself. Parts of theChitraladaRoyal Residencewere adapted into an experimental groundtocarryoutThe Royal Chitralada Projects,establishedin1960. The projects, still in operation to this day, aim atsolvingtheproblemoffamine.

Apart from agricultural projects,HisMajesty founded aRoyal Development Study Center, located near royalworkingstationsnationwide.Eachcenterfunctionsasa“livingnatural museum” of regional career resources. Mostimportantly, the center functions as amodel for centralizedmanagement. It representsacollaborationhubbetween thegovernmentsectorandtheOfficeoftheRoyalDevelopmentProjectsBoard,TheChaipattana Foundation andother royalfoundations. It aimsat improving thepeople’s livelihoodandqualityoflife. Between1979and1983,theRoyalDevelopmentStudyCenter branched out to 6 locations. The center not onlycarriesoutpilotprojectswhichaimatprovidingassistancetopeople in areas beyondgovernmental assistancebut it alsostands as anevidenceofHisMajesty’s intention to “inspire“his people to be self-sufficient and lead a stable andsustainablelife.

จากนั้นจึงเป็นพระราชกรณียกิจด้านโครงสร้างพื้นฐานอย่างสมดุล

และรอบดา้น ด้วยทรงมุ่งหมายพระราชหฤทัยให้ราษฎรชาวไทยอยู่ดีกินดี นับเป็น

แนวทางสำคัญอันนำไปสู่การก่อเกิดโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริมากกว่า

๔,๖๓๔ โครงการทั่วประเทศ ทั้งด้านการพัฒนาแหล่งน้ำ การเกษตรกรรม

การพัฒนาสิ่งแวดล้อมการส่งเสริมอาชีพการคมนาคมสื่อสารการสวัสดิการสังคม

และการสาธารณสุขซึ่งไม่เพียงแต่จะส่งเสริมให้ราษฎรรู้จักการเพาะปลูกเลี้ยงสัตว์

จัดการสิ่งแวดล้อมแหล่งน้ำและแหล่งดินจนสามารถอุ้มชูตนเองได้เท่านั้นหากแต่

ยังต่อยอดไปสู่การร่วมมือกันสรรค์สร้างความเข้มแข็งให้กลุ่มหรือชุมชนของตน

ได้เจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคงอีกด้วย

ทีผ่า่นมาการพระราชทานแนวพระราชดำรขิองพระบาทสมเดจ็พระเจา้อยูห่วั

จนเกิดก่อเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในเวลาต่อมาล้วนเกิดจากการที่

ทรงศึกษาค้นคว้า วิจัยทดลองและปฏิบัติจริงด้วยพระองค์ทั้งสิ้นดังที่ทรงใช้พื้นที่

บางส่วนของสวนจิตรลดาอันเป็นที่ประทับ มาเป็นสถานที่ศึกษาและวิจัยภายใต้

โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา ซึ่งเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๓

เรือ่ยมาจนถงึปจัจบุนัเพือ่ชว่ยคลีค่ลายปญัหาดา้นทพุภกิขภยัใหก้บัราษฎรอยา่งดยีิง่

พร้อมกันนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังพระราชทานแนวพระราชดำริ

ให้ก่อตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ใกล้กับพระตำหนัก

ทรงงานที่ตั้งอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศให้เป็นเสมือนพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต

เป็นแหล่งรวมองค์ความรู้ในการประกอบอาชีพของราษฎรในแต่ละท้องที่ขนาดใหญ่

รอบด้าน ที่สำคัญ เป็นต้นแบบการบริหารที่รวมศูนย์ นั่นคือ การนำส่วนราชการ

ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการ

อันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) มูลนิธิชัยพัฒนา มูลนิธิต่างๆ

ในพระบรมราชูปถัมภ์ มารวมไว้ในจุดเดียวเบ็ดเสร็จและร่วมกันดำเนินงานเพื่อให้

ประชาชนนำความรู้ไปทำมาหาเลี้ยงชีพที่เหมาะสมและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ด้วยเหตุนี้ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่ได้รับ

การจัดตั้งขึ้นทั้ง ๖ แห่ง ตลอดช่วงพ.ศ.๒๕๒๒-๒๕๒๖จึงไม่เพียงเป็นโครงการ

นำรอ่งการใหค้วามชว่ยเหลอืราษฎรในสว่นทีร่ฐัยงัยืน่มอืเขา้ไปไมถ่งึหรอืเปน็สถานที่

ศึกษาค้นคว้าวิจัยอันเนื่องมาจากพระราชหฤทัยที่ทรงมุ่งหมายให้ประชาชนชาวไทย

ได้มีอาชีพสามารถพึ่งตนเองได้เท่านั้น หากแต่ยังทรงเป็น “แรงบันดาลใจ” และ

ทรง “จุดประกาย” ให้พสกนิกรทั้งหลายได้เรียนรู้และน้อมรับนำไปปฏิบัติให้เข้มแข็ง

พึ่งตนเองได้มีภูมิคุ้มกันอย่างยั่งยืน

กรุงเทพฯ เมืองสวรรค์ตามแนวพระราชดำริ32 A Royally-Initiated Path Towards a Heavenly Bangkok 3333

Page 9: “เราตั้งในอธิษฐานว่าเราจะ ... 20 กรุงเทพฯ เมืองสวรรค์ตามแนวพระราชดำริ

ทรงเป็นนักปรัชญาแห่งความพอเพียง The King and His “Self-Sufficiency” Philosophy

Eversincehewasachild,HisMajestyhaslivedaccordingto a“self-sufficiency” philosophy,whichmeans living amodestandwell-balancedlife. HisMajesty has set a perfect living example of thesufficiency economy philosophy, a philosophybasedonknowledgeandmoralsthatleadtosustainabilityandstabilityin life. In 1974, theOffice of the National Economic andSocialDevelopmentBoardadoptedthesufficiencyeconomyphilosophy and applied it togetherwith the EighthNationalEconomic andSocialDevelopmentPlan. Ever since then thesufficiency economyphilosophy has been incorporated intolong-termdevelopmentplans.IthasbeenappliedtoallareasinThaisociety.

เรื่องหนึ่งซึ่งปรากฏอยู่ในพระราชจริยวัตรอันงดงามของพระบาทสมเด็จ

พระเจ้าอยู่หัวมาอย่างต่อเนื่องยาวนานตั้งแต่เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์คือ การที่

ทรงใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย ประหยัด และดำรงชีวิตด้วย “ความพอเพียง” ยึดมั่น

ในทางสายกลางมีความพอเหมาะพอควรและตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท

ตลอดเวลาที่ผ่านมาทรงเป็นแบบอย่างในการดำรงชีวิตด้วยความพอเพียง

อย่างสมบูรณ์โดยพระราชทาน “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ความยึดมั่นใน

ทางสายกลาง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี

โดยมคีวามรูแ้ละคณุธรรมเปน็เงือ่นไขสำคญัอนันำไปสูค่วามสมดลุมัน่คงและยัง่ยนื

ในชีวิต เศรษฐกิจ และสังคมซึ่งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและ

สังคมแห่งชาติ (สศช.) มาใช้นำทางในการพัฒนาแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

แห่งชาติ ฉบับที่ ๘ เป็นครั้งแรก พร้อมทั้งเผยแพร่และขยายผลสู่ทุกภาคส่วน

ทุกระดับของสังคมไทย เพื่อสร้างความสมดุลและความยั่งยืนในการดำรงชีวิต

อย่างมั่นคงนับแต่พ.ศ.๒๕๑๗เป็นต้นมา

People, communities, educationinstitutions and thegovernment sectorhave applied the sufficiency economyphilosophy and have promoted “self-sufficiency” awareness. Communitiescan strengthen themselves by beingself-sufficient and independent andbeing ready to improve agriculturalareas for the people’s collectivelivelihood.Theprivateandgovernmentsectors have been able to raise socialawareness and overcome crises byadopting the sufficiency economyphilosophyandaimingforsustainability. It can be said that the sufficiencyeconomy philosophy, which is a giftfrom His Majesty to his people,functions as a guide or compass notonly for research and developmentorganizations at all levels but also instrengthening the nation’s economic,social, andenvironmentaldevelopment.The application of this philosophy hasalsoextended itselftothe internationalplatform leading nations out ofworldwidecrises.

ประชาชน ชุมชนสถานศึกษาภาคเอกชนและภาครัฐ น้อมนำแนวคิดดังกล่าวไปประยุกต์ใช้

และดำเนินชีวิตอย่างมีสติ มีจิตสำนึกและวิธีคิดแบบพอเพียง ชุมชนต้องเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้

มีความพร้อมที่จะพัฒนาพื้นที่ทำกินร่วมกันอย่างเป็นลำดับขั้น สถานศึกษาทุกระดับชั้นบรรจุหลักสูตร

กิจกรรมการเรียนการสอน และปลูกฝังอุปนิสัยแห่งความพอเพียงให้แก่นักเรียน นักศึกษาภาคเอกชน

มีจรรยาบรรณทางธุรกิจและมีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคมภาครัฐมีการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล

อันจะทำให้สามารถก้าวผ่านวิกฤตและสามารถยืนหยัดได้ด้วยตนเองบนเส้นทางแห่งความยั่งยืน

อาจกล่าวได้ว่า แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

พระราชทานให้เป็นของขวัญแก่ปวงชนชาวไทยนั้น ไม่เพียงเป็นเสมือนเข็มทิศในการดำเนินงานและ

การพฒันาในทกุระดบัทกุภาคสว่นอยา่งมปีระสทิธภิาพเทา่นัน้หากแตย่งัเสรมิสรา้งภมูคิุม้กนัความมัน่คง

และความสมดุลของประเทศด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ทั้งยังเชื่อมโยงไปสู่สากล โดยมี

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีส่วนร่วมช่วยแก้ไขวิกฤตโลกในปัจจุบัน

กรุงเทพฯ เมืองสวรรค์ตามแนวพระราชดำริ34 A Royally-Initiated Path Towards a Heavenly Bangkok 3535

Page 10: “เราตั้งในอธิษฐานว่าเราจะ ... 20 กรุงเทพฯ เมืองสวรรค์ตามแนวพระราชดำริ

ทรงเป็นศูนย์รวมใจไทยทั้งชาติ The King who Unites the Thai Nation

HisMajestyhasbeen thepreserverof a democratic political systemwhichplaces the monarch as the nation’sleaderandpillarwithauthority intermsof legislation, administration andjurisdiction according to the kingdomof Thailand’s constitution. He hasestablished stability for the kingdomaswellasupliftingthepeople’sspirits. HisMajesty has relentlessly beenthenation’sunitingpillar,urgingpeopleand organizations in Thailand to uniteandcollaborate inovercomingcrises, indevelopingruralareasandinprotectingthenation’ssovereignty.

HisMajesty has also united thepeople in termsof theirfaithbyprojectinghimselfasthepatronofallreligionsinthekingdom:Buddhism,Christianity,Hinduism,IslamandSikhism.Because HisMajesty believes that each religion teachespeople tobegoodand todogood for the society,Thailandhas been able tomaintain its status as a peaceful religioushubuptothisday. HisMajesty has united his people in times of crisis.To help his kingdom overcome natural disasters, he hasdevoted his radio program to the cause of setting up aninformation center, invitingpeople todonateprovisions andessentials to victims. As well as this, His Majesty hasestablished many foundations that provide relief andassistance to victims. One notable foundation is TheRajaprachanukrohFoundation. HisMajesty,withhis loveandconcernforthebenefitofthepeople,hasalwaysbeenakingwhohasunited theThaination.

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงธำรงอยู่ในระบบการปกครองระบอบ

ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและเป็นหลักชัยของชาติ

มีพระราชอำนาจทั้งทางนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการตามบทบัญญัติ

ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ทรงสร้างความเป็นปึกแผ่นมั่นคงให้แก่

ประเทศพร้อมไปกับทรงสร้างความมั่นคงทางด้านจิตใจให้แก่คนในชาติ

ที่ผ่านมา ไม่ว่าประเทศไทยจะพานพบเภทภัยปัญหาใด พระบาทสมเด็จ

พระเจา้อยูห่วัมไิดท้รงยอ่ทอ้ทรงสถติเปน็ศนูยก์ลาง เปน็ “ศนูยร์วมจติใจในการระดม

สรรพพลังและประสานความร่วมมือ” ระหว่างหน่วยราชการต่างๆ ในการพัฒนา

ทางเศรษฐกิจที่เปิดความเจริญสู่พื้นที่ชนบทอันห่างไกลและความมั่นคงของชาติ

ที่ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ และพลเรือนจำนวนมากพร้อมใจกันเสียสละอุทิศ

แรงกายแรงใจปกป้องอธิปไตยของชาติอย่างเต็มกำลัง

ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจภายใต้อุดมการณ์แห่งธรรมะที่มิได้เป็นเพียง

สรณะของพระองค์เท่านั้น หากแต่ยังทรงดำรงสถานะของ “ศูนย์รวมใจแห่ง

สามัคคีธรรม” ของปวงชนชาวไทยมาโดยตลอด ทรงเป็นองค์อัครศาสนูปถัมภก

อย่างพรั่งพร้อม ทรงเกื้อกูลทุกศาสนาภายใต้พระบรมโพธิสมภารอย่างเสมอภาค

และเท่าเทียมทั้งศาสนาพุทธศาสนาคริสต์ทุกนิกายศาสนาพราหมณ์-ฮินดูศาสนา

อิสลาม และศาสนาซิกข์ ด้วยทรงเชื่อว่าทุกศาสนาล้วนสอนให้ทุกคนเป็นคนดี

ร่วมกันสร้างสรรค์ความดีเพื่อก่อเกิดสังคมที่ดีเป็นสำคัญ จึงทำให้ประเทศไทย

ในวันนี้สามารถดำรงสถานะของการเป็นศูนย์รวมทางศาสนาที่เปี่ยมด้วยสันติสุข

เหนือสิ่งอื่นใดคือ การที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็น “ศูนย์รวมใจ

ช่วยเหลือผู้ประสบภัย” ที่ต้องทุกข์เทวษอันเนื่องมาจากเหตุเภทภัยใดๆ ทั้งจาก

ความอดอยากแร้นแค้นจากปัญหาทุพภิกขภัยหรือภัยจากธรรมชาติทั้งอุทกภัยและ

วาตภัยต่างๆ โดยเบื้องแรก โปรดเกล้าฯ ให้วิทยุ อ.ส.พระราชวังดุสิต เป็นสื่อกลาง

เผยแพร่ข่าวสารเพื่อเชิญชวนให้ประชาชนร่วมบริจาคอาหารและสิ่งของจำเป็นให้กับ

ผู้ประสบภัย และโปรดเกล้าฯ ให้ก่อตั้งมูลนิธิเพื่อสงเคราะห์ช่วยเหลือราษฎร

ผู้ประสบภัยทั่วประเทศนับจากนั้นมาไม่ว่าเมื่อใดที่ชาวไทยต้องเผชิญภัยธรรมชาติ

หรือสาธารณภัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานสิ่งของเพื่อช่วยเหลือ

ผู้ประสบภัยผ่านทางมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์เสมอมา

ดว้ย“ความรกั”และ“ความหว่งใย”ทีท่รงมใีหก้บัราษฎรชาวไทยทกุคนนีเ้อง

ที่ทำให้ทรงเป็นที่รักและเป็น“ศูนย์รวมใจ”ของชาวไทยทั้งชาติเสมอมา

กรุงเทพฯ เมืองสวรรค์ตามแนวพระราชดำริ36 A Royally-Initiated Path Towards a Heavenly Bangkok 3737