ca322 week06 ebook design

16
ส า ข า วิ ช า นิ เ ท ศ ศ า ส ต ร์ บู ร ณ า ก า ร ค ณ ะ ศิ ล ป ศ า ส ต ร์ ม ห า วิ ท ย า ลั ย แ ม่ โ จ้ การออกแบบและผลิตหนังสือดิจิทัล และการจัดการออนไลน์ หลักการออกแบบและจัดหน้าหนังสือเล่ม ระบบกริด นศ 322 การออกแบบและผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ [CA 322 Printed Media Design and Production] รวมรวม/เรียบเรียง โดย อาจารย์ณัฏฐพงษ์ สายพิ (ปีการศึกษาท2/2558)

Upload: ca322mju2015

Post on 25-Jul-2016

220 views

Category:

Documents


3 download

DESCRIPTION

เอกสารประกอบการสอน นศ322 การออกแบบและผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ : การออกแบบและผลิตหนังสือดิจิทัลและการจัดการออนไลน์

TRANSCRIPT

Page 1: Ca322 week06 ebook design

ส า ข า วิ ช า นิ เ ท ศ ศ า ส ต ร์ บู ร ณ า ก า ร ค ณ ะ ศิ ล ป ศ า ส ต ร์

ม ห า วิ ท ย า ลั ย แ ม่ โ จ้

การออกแบบและผลิตหนังสือดิจิทัล และการจัดการออนไลน์

• หลักการออกแบบและจัดหน้าหนังสือเล่ม

• ระบบกริด

นศ 322 การออกแบบและผลิตส่ือส่ิงพิมพ ์[CA 322 Printed Media Design and Production] รวมรวม/เรียบเรียง โดย อาจารย์ณัฏฐพงษ์ สายพณิ

(ปีการศึกษาที่ 2/2558)

Page 2: Ca322 week06 ebook design

การออกแบบและผลิตหนังสือดิจิทัลและการจัดการออนไลน์ | 1

นับตั้งแต่วิทยาการต่าง ๆ เข้ามามีบทบาทกับชีวิตของมนุษย์มากขึ้น ในทศวรรษ 1990 ยุคแห่งการสื่อสารระบบดิจิทัล

เกิดการหลอมรวมของเทคโนโลยีภาพ เสียง การพิมพ์ และคอมพิวเตอร์ ทําให้เกิดสื่อใหม่ขึ้น สิ่งพิมพ์จึงได้มีการปรับเปลี่ยน รูปแบบเพื่อให้ทันต่อเทคโนโลย ี

เมื่อเทคโนโลยีดิจิทัลและโลกออนไลน์เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตประจําวันของผู้คน ธุรกิจสิ่งพิมพท์ั่วโลก ต่างต้อง ลุกขึ้นมาปรับตัวครั้งใหญ ่ เช่นวงการหนังสือพิมพจ์ากเดิมที่เปน็ "หนังสือพิมพ์ฉบับกระดาษ" ก้าวสู่การเป็น "หนังสือพิมพ์ออนไลน์" เช่นเดียวกับนิตยสารตลอดจนสิ่งพิมพ์ประเภทอื่นๆ เช่น หนังสือ ที่มีการปรับตัวสู่รูปแบบดิจิทัล เพื่อเป็นช่องทางในการ "ทําเงิน" ให้กับธุรกิจบนเว็บไซตแ์ละขยายช่องทางการเปิดรับสื่อของผู้บริโภค เมื่อมีการใช้อินเทอร์เน็ตและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น รูปแบบจากเดิมที่เป็นกระดาษจะถูกแปลงข้อมูลในรูปแบบไฟล์ .pdf และไฟล์มัลติมีเดียอื่น ๆ ที่รองรับรูปการเปิดอ่านไฟล ์ในลักษณะของดิจิทัลไฟล ์

หลักการออกแบบและจัดหน้าหนังสือเล่ม โดยทั่วไป การออกแบบและจัดหน้าสิ่งพิมพ์มีวัตถุประสงค์ที่สําคัญ 3 ประการ คือ 1. เพื่อเพิ่มความน่าสนใจให้กับสิ่งพิมพ ์2. เพื่อช่วยให้สิ่งพิมพ์ง่ายต่อการอ่านและทําความเข้าใจ 3. เพื่อสร้างความประทับใจและความทรงจําให้กับผู้อ่านในระยะยาว ดังนั้นการออกแบบและจัดหน้าสิ่งพิมพ์จึงมีส่วนสําคัญในการเพิ่มคุณค่าให้กับสิ่งพิมพ์และช่วยให้การผลิตและการใช้สิ่ง

พิมพ์ได้ประโยชน์สูงสุด

ปัจจัยที่ตอ้งคํานึงถึงการออกแบบและจัดหน้าสิ่งพิมพ ์1. ประเภทและลักษณะเนื้อหาของสิ่งพิมพ์ ต้องสอดคล้องและสัมพันธ์กับเนื้อหาที่นําเสนอ 2. วัตถุประสงค์ในการจัดทํา เพื่อเสนอข่าวสาร ความรู้ ความบันเทิง ฯลฯ 3. กลุ่มเป้าหมาย ต้องคํานึงถึงจิตวิทยาในการรับรู้สารของกลุ่มเป้าหมายด้วย 4. ขนาดและรูปแบบมาตรฐานของสิ่งพิมพ์

หนังสือเล่ม

• หนังสือเล่ม คือ สิ่งพิมพ์ที่เย็บรวมกันเป็นเล่มที่มีความหนาและมีขนาดต่าง ๆ กัน ไม่มีกําหนดออกแน่นอน และไม่ต่อเนื่องกัน มีเนื้อหาที่เป็นเรื่องเดียวกัน ไม่หลายหลายและมีความสมบูรณ์ในตัวเอง หนังสือเล่มแบ่งออกเป็นหลายประเภทตามแต่ลักษณะของเนื้อหา เช่น หนังสือนิยาย หนังสือเรียน หนังสือวิชาการ สารคดี หนังสือเพลง หนังสือการ์ตูน บทกวีนิพนธ์ หนังสือเล่ม เป็นสิ่งพิมพ์ที่มีผู้สนใจเฉพาะกลุ่ม เช่นเดียวกับหนังสือวารสาร เช่น กลุ่มนักเรียน นักศึกษาหรือกลุ่มอาชีพที่มีความสนใจเฉพาะด้าน ยกเว้นแต่หนังสือที่เน้นหนักไปทางด้านบันเทิง ส่วนใหญ่หนังสือเล่มจะมีจํานวนพิมพ์ไม่มากนัก

• สิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นเพื่อใช้งานในคอมพิวเตอร ์หรือระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้แก่ Document Formats, E-book for tablet/iPad เป็นต้น

Page 3: Ca322 week06 ebook design

การออกแบบและผลิตหนังสือดิจิทัลและการจัดการออนไลน์ | 2

รูปแบบและขนาดของหนังสือเล่ม

รูปแบบของหนังสือเล่มนิยมจัดทําในลักษณะสี่เหลี่ยมผืนผ้า อาจเป็นแนวตั้งหรือแนวนอนที่มีขนาดสอดคล้อง กับกระดาษมาตรฐานที่มีจําหน่ายทั่วไป คือ ขนาดที่ได้จากการใช้กระดาษแผ่นขนาด 31×43 นิ้ว ได้แก่ขนาดสี่หน้ายก แปดหน้ายก สิบหกหน้ายก หรือเล็กกว่า แต่ขนาดที่เป็นที่นิยม ได้แก่ ขนาดแปดหน้ายก เช่น หนังสือเรียน และพจนานุกรม ส่วนขนาดสิบหกหน้ายก เช่น หนังสือขนาดกระเป๋า(pocket book)

ส่วนแผ่นกระดาษขนาด 24×35 นิ้ว ได้แก่ ขนาดมาตรฐานกระดาษชุดA ที่นิยมใช้กับหนังสือเล่ม เช่น A4 (ขนาดแปดหน้ายกใหญ่ หรือแปดหน้ายกพิเศษ) หรือ A5 ที่เป็นขนาดครึ่งหนึ่งของ A4

ส่วนประกอบของหนังสือเล่ม

ไม่ว่าจะเป็นหนังสือเล่มฉบับที่พิมพ์ขึ้นนี้หรืออยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือจะเป็นประเภทใด หนังสือเล่มจะ ประกอบด้วย ส่วนประกอบที่สําคัญ 3 ส่วน คือ ส่วนต้นเล่ม ส่วนเนื้อเรื่อง และส่วนท้ายเล่ม แต่ละส่วนยังประกอบด้วยส่วนย่อยอีกหลายส่วน ส่วนที่หนาและสําคัญที่สุด ได้แก่ ส่วนเนื้อเรื่อง โดยส่วนต้นเล่ม และส่วนท้ายเล่มจะเป็นส่วนเสริมให้หนังสือมีความสมบูรณ์มากขึ้น

1. ส่วนต้นเล่ม (front matter) เป็นส่วนที่อยู่ตอนต้นของหนังสือ ประกอบด้วย

1.1 ใบหุ้มปก มีประโยชน์ในการรักษาปกหนังสือ แล่วยดึงดูดความสนใจจากผู้พบเห็นให้เกิดความรู้สึกอยากอ่าน

Page 4: Ca322 week06 ebook design

การออกแบบและผลิตหนังสือดิจิทัลและการจัดการออนไลน์ | 4

1.2 ปกหน้า (front cover) มักใช้กระดาษชนิดเดียวกับปกหลัง มีทั้งปกแข็ง และปกอ่อน การออกแบบปกหนังสือที่มีใบหุ้มปก อยู่ด้วยมักเป็นรูปแบบเรียบง่าย โดยมีเพียงชื่อเรื่อง ปรากฏที่ปก กรณีของหนังสือ ที่ไม่มีใบหุ้มปก ความเด่นของการออกแบบ จะรวมไว้ที่ปกหน้าเป็น ส่วนใหญ่

1.3 แผ่นผนึกปก (end paper หรือ end leaf) และแผ่นปลิวรองปก (fly leaf) มักพบในหนังสือปกแข็ง โดยทั่วไปจะมีมีการออกแบบลวดลาย แต่จะปล่อยให้แผ่นว่างหรือมีภาพประกอบเป็น ภาพพื้นทั่วแผ่น

1.4 หน้าชื่อเรื่องเสริม (half title page, bastard title

page) อยู่ถัดจากแผ่นปลิวรองปก ข้อความที่ปรากฏหน้านี้มีเฉพาะชื่อเรื่องของหนังสือ ซึ่งมักวางในตําแหน่งที่อยู่เหนือจุดกึ่งกลางเล็กน้อย จึงไม่ต้องการการออกแบบอื่นใดนอกจากการเลือกใช้ขนาดและแบบตัวพิมพ์หรือตัวอักษรที่เหมาะสมและ อ่านง่าย

1.5 หน้ารูปภาพนํา (frontispiece) มักอยู่ด้านซ้ายมือของปกใน เป็นหน้าที่มีภาพประกอบเพื่อความสวยงาม ซึ่งหน้านี้อาจมีหรือไม่มีก็ได ้

Page 5: Ca322 week06 ebook design

การออกแบบและผลิตหนังสือดิจิทัลและการจัดการออนไลน์ | 5

1.6 ปกในหรือหน้าชื่อเรื่อง (title page) เป็นหน้าสําคัญที่ต้องมีในหนังสือทุกเลม่

หน้านี้จะอยู่ด้านขวามือของหนังสือเสมอ ข้อความที่ปรากฏได้แก่ ชื่อหนังสือ ชื่อรอง(ถ้ามี) ชื่อผู้เขียน ขื่อบรรณาธิการ(กรณีที่เป็นหนังสือเรียบเรียงโดยไม่มีชื่อผู้เขียนเฉพาะ มีแต่บรรณาธิการเป็นผู้เรียบเรียง) ชื่อสํานักพิมพ์ ชื่อสถานที่พิมพ์ การออกแบบมักเรียบง่าย ใช้ตัวอักษรที่มีขนาดและแบบเดียวกับหน้าชื่อเรื่องเสริม

1.7 หน้าลิขสิทธิ์ (copyright page) อยู่ด้านหลังปกในและอยู่หน้าซ้ายมือของหนังสือ เป็นหน้าที่ต้องมีในหนังสือทุกเล่ม ข้อความที่ปรากฏจะเป็นรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดพิมพ์ ตั้งแต่ปีที่พิมพ์ เจ้าของลิขสิทธิ์ สํานักพิมพ์ สถานที่พิมพ์ ข้อความที่เกี่ยวกับการสงวนลิขสิทธิ์ นอกจากนี้เป็นข้อมูลเกี่ยวกับการจัดทําบัตรายการห้องสมุดที่เป็นข้อมูลที่สํานักพิมพ์จัดทําให้ ได้แก่ ชื่อผู้เขียน ชื่อเรื่อง จํานวนหน้า ดรรชนีคําค้นหนังสือ เลขเรียกหนังสือ หมายเลขเรียกประจําหนังสือ(ISBN) การออกแบบหน้านี้ควรคํานึงถึงการจัดกลุ่มข้อความให้เป็นระเบียบและอ่านง่าย

1.8 หน้าคําอุทิศ (dedication page) เป็นหน้าที่ผู้เขียนเขียนมอบผลงานเพื่ออุทิศให้บุคคล หรือกลุ่มสถาบัน หน้านี้อาจมีหรือไม่มีในหนังสือก็ได้ แต่ถ้ามีจะอยูด่้านขวามือถัดจากหน้าลิขสิทธิ์ การออกแบบเน้นความเรียบง่าย

1.9 หน้าคํานิยม (forward page) เป็นหน้าที่ผู้อื่นซึ่งไม่ใช่ผู้เขียนเขียนเพื่อกล่าวชมหรือเขียนความนําให้หนังสือเล่มนั้น หน้านี้อาจมีหรือไม่มีก็ได้ การออกแบบเรียบง่าย ตัวอักษรเดียวกับหน้าชื่อเรื่องเพียงแตเ่น้นชื่อหน้าด้วยตัวอักษรที่ใหญ่และใช้ตัวเน้น

Page 6: Ca322 week06 ebook design

การออกแบบและผลิตหนังสือดิจิทัลและการจัดการออนไลน์ | 6

1.10 หน้าคํานํา (preface page)

เป็นหน้าที่ผู้เขียนเขียนเกี่ยวกับความนําหรือความเป็นมาในการเขียนหนังสือเล่มนั้น เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจความเป็นมาก่อนอ่านเรื่องนั้น หน้าคํานําจะอยู่ถัดจากหน้าคํานิยม(ถ้ามี) และมักมีในหนังสอืทุกเล่ม การออกแบบเรียบง่าย ตัวอักษรเดียวกับหน้าชื่อเรื่องเพียงแต่เน้นชื่อหน้าด้วยตัวอักษรที่ใหญ่และใช้ตัวเน้น

1.11 หน้ากิตติกรรมประกาศ (acknowledgemant page) เป็นหน้าที่ผู้เขียนกล่าวถึงบุคคล หรือกลุ่มบุคคลที่มีส่วนช่วยในการจัดทําหนังสือ เป็นหน้าที่มีหรือไม่มีก็ได้ การออกแบบเป็นเช่นเดียวกับคํานํา

1.12 หน้าสารบัญ (contents, table of contents) เป็นหน้าสําคัญที่ต้องมีในหนังสือทุกเล่ม เป็นหน้าที่แสดงโครงร่างต่างๆ ของข้อมูลที่ปรากฏในหน้าต่างๆ ของหนังสือ โดยระบุเลขหน้าจากน้อยไปมาก การออกแบบหน้านี้ควรเน้นความเป็นระเบียบและการอ่านง่ายในการลําดับเรื่อง

Page 7: Ca322 week06 ebook design

การออกแบบและผลิตหนังสือดิจิทัลและการจัดการออนไลน์ | 7

ส่วนประกอบบางหน้าของส่วนต้นเล่มที่เป็นหน้าสําคัญและจําเป็นต้องมีในหนังสือทุกเล่ม ได้แก่

หน้าชื่อเรื่อง และหน้าลิขสิทธิ์ และหน้าสารบัญ การจะให้ความสําคัญกับส่วนใดหรือหน้าใดเป็นพิเศษนั้น ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์การจัดหน้าหนังสือเป็นสําคัญ

2. ส่วนเนื้อเรื่อง (text matter)

เป็นส่วนที่หนาที่สุดในหนังสือ ประกอบด้วยเนื้อเรื่องสําคัญที่มีในหนังสือ โดยทั่วไปจะแบ่งเป็นบทต่างๆ

และอาจเป็นภาค ตอน หรือส่วนก็ได้ หน้าแรกของส่วนเนื้อหาคือหน้าที่เริ่มมีการนับเลขแสดงหน้าหนังสือกํากับ โดยที่หน้าแรกของแต่ละบทควรอยู่ด้านขวามือ การออกแบบหน้าในส่วนเนื้อหา ต้องสอดคล้องกับเนื้อหา ตลอดทั้งเล่ม การกําหนดตัวอักษรสําหรับชื่อบทควรใหญ่กว่าตัวอักษรที่เป็นเนื้อความ และให้เป็นแบบ เดียวกันกับที่ใช้ในส่วนต้นเล่ม

หน้าเปิดเรื่องมักจะเป็นหน้าขวาของหนังสือ แต่ก็ไม่จําเปน็เสมอไป สิ่งที่จะปรากฏอยู่ในหน้านี้ ที่สําคัญก็คือ ชื่อเรื่อง และส่วนที่เป็นตอนต้นของเนื้อเรื่อง นอกจากนี้อาจจะมีภาพประกอบด้วยก็ได้ ซึ่งหากมีภาพประกอบ ก็อาจจะมีเนื้อหาสั้น ๆ เกี่ยวกับภาพประกอบนั้นวางอยู่ติดกับภาพด้วย เนื้อหานี ้เรียกว่า คําบรรยายภาพ (caption)

Page 8: Ca322 week06 ebook design

การออกแบบและผลิตหนังสือดิจิทัลและการจัดการออนไลน์ | 8

การออกแบบส่วนที่เป็นเนื้อเรื่องควรกําหนดขอบว่าง (margin) หรือเนื้อที่ว่างโดยรอบข้อความ ขอบว่าง

โดยรอบข้อความมีประโยชน์หลายประการ คือ 1) ทําให้ข้อความในหนังสือดูเด่น 2) เป็นที่สําหรับจับหน้าหนังสือหรือพลิกหน้าหนังสือ 3) เป็นที่เขียนโน้ตย่อหรือเครื่องหมายขณะอ่าน 4) ใช้สําหรับวางเลขหน้า ชื่อบท หรือชื่อหนังสือ 5) ช่วยให้ผู้อ่านทราบจุดเริ่มต้นและจุดสุดท้ายของบรรทัด 6) ช่วยให้หน้าหนังสือเป็นระเบียบ 7) ช่วยพักสายตา นอกจากนี้ควรคํานึงถึงเนื้อที่ของขอบว่างระหว่างหน้าซ้ายและหน้าขวา รวมถึงด้าน

บน และด้านล่างของหน้าให้เหมาะสม อย่าลืมว่าสิ่งสําคัญที่สุดคือการอํานวยความสะดวกให้แก่ผู้อ่านมากที่สุด

3. ส่วนท้ายเล่ม (back matter) เป็นส่วนที่อยู่ถัดจากเนื้อหา มีเลขหน้ากํากับต่อจากส่วนเนื้อหา ประกอบด้วย 1.1 ภาคผนวก (appendix)

เป็นข้อความที่เป็นส่วนประกอบเพิ่มเติมจากเนื้อหาเพื่อให้หาข้อมูลเพิ่มเติมได้ เช่นรูปแบบของแบบสอบถาม หรือแบบสัมภาษณ์ การออกแบบควรใช้รูปแบบการจัดหน้า และใช้ตวัอักษรที่สอดคล้องกับเนื้อเรื่องแต่ใช้ตัวเน้นสําหรับชื่อหน้า

1.2 เชิงอรรถ (footnote) เป็นข้อความที่ใช้อธิบายศัพท์ นิยาม การอ้างอิง ที่ไม่รวมไว้ในเนื้อหาเพราะจะทําให้ยาวเกินไป บางครั้งอาจแทรกไว้ในส่วนเนื้อเรื่องหากไม่ยาวนัก การออกแบบหน้าเชิงอรรถควรสอดคล้องกับหน้าภาคผนวก

1.3 บรรณานุกรม (bibliogarphy) เป็นหน้าที่เกี่ยวกับรายชื่อหนังสือและเอกสารต่างๆ ที่ผู้เขียนใช้เป็นแหล่งข้อมูลเพื่อการอ้างอิง

1.4 อภิธานศัพท์ (glossary) เป็นหน้ารวมคําศัพท์ที่ใช้ในหนังสือเล่มนั้นๆ พร้อมคํานิยามหรือคําอธิบายโดยเรียงตามลําดับพยัญชนะ มักพบในตําราภาษาอังกฤษมากกว่าตําราไทย การออกแบบหน้านี้ควรสอดคล้องกับหน้าเชิงอรรถและบรรณานุกรม

1.5 ดรรชนี (index) มีสองประเภทคือ ดรรชนีชื่อเรื่องและดรรชนีบุคคล ที่ปรากฏในเนื้อเรื่องของหนังสือเล่มนั้น มีเพื่อให้สืบค้นเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องหรือบุคคลนั้นได้ โดยมีการระบุเลขหน้าที่มีเรื่องหรือบุคคลนั้นๆ ปรากฏอยู่เพื่อความสะดวกในการค้นหา การจัดหน้านี้ควรสอดคล้องกับหน้าอื่นๆ ในส่วนท้ายเล่ม

Page 9: Ca322 week06 ebook design

การออกแบบและผลิตหนังสือดิจิทัลและการจัดการออนไลน์ | 9

1.6 แผ่นรองปกหลัง (flt leaf) เป็นกระดาษและมีลักษณะเดียวกันกับแผ่นรองปกหน้า

การออกแบบจึงควรออกแบบให้สอดคล้องกัน 1.7 ปกหลัง (back cover) เป็นวัสดุชิ้นเดียวกับปกหน้าแต่อยู่ท้ายเล่ม

ปกหลังอาจมีข้อความหรือรูปภาพหรือไม่มีก็ได้ อย่างไรก็ตาม การออกแบบควรสอดคล้องกับปกหน้า

1.8 ใบหุ้มปกหลัง เป็นวัสดุแผ่นเดียวกบัใบหุ้มปกหน้า การออกแบบจึงควรสอดคล้องกัน

การจัดหน้าหนังสือเล่ม การจัดหน้าหนังสือเล่มต้องคํานึงถึงหลักการออกแบบจัดหน้าสิ่งพิมพ ์ การใช้ตัวอักษร การใช้ภาพประกอบ และองค์ประกอบศิลป์เป็นหลัก ในการใช้กําหนดขนาดและความกลมกลืนกันของสัดส่วนตัวอักษรและภาพ รวมถึงพื้นที่ สีขาว ที่เป็นจุดพักสายตาของผู้อ่านด้วย ทั้งนี้สามารถใช้ระบบกริดมาช่วยในการออกแบบจัดหน้าหนังสือเล่มได ้

ระบบกริด (Grid System)

มีหลักการมากมายสําหรับการออกแบบและที่สําคัญการจะสื่อสารความคิดของนักออกแบบได้ดีก็ต้องมี ระบบ ระเบียบในการจัดวางองค์ประกอบหรือเรียกอีกอย่างว่า การจัดวางเลย์เอ้าท์” ทั้งให้ดูง่าย เน้นบางจุดที่จะสื่อสาร

มีส่วนช่วยในการวางองค์ประกอบในด้านตําแหน่ง และขนาด 2 ประการ คือ 1. สร้างความกลมกลืนให้กับองค์ประกอบในพื้นที่ หน้ากระดาษ ใน 1 หน่วยใหญ่ 2. ช่วยกําหนดขนาดบนพื้นที่หน่วยใหญ่ โดยกําหนดการวางตําแหน่งลงสู่หน่วยย่อย

ความหมายของระบบกริด

• ระบบกริด เรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า “ระบบตาราง” • เป็นเครื่องมือที่เป็นแนวทางการจัดองค์ประกอบใช้ในการออกแบบกราฟิก • ใช้แบ่งหน้ากระดาษออกเป็นพื้นที่ย่อยๆให้มีขนาดเล็กลงแทนที่จะเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่เพียงอย่างเดียว

โดยการใช้เส้นตรงในแนวตั้งและเส้นตรงในแนวนอนหลายๆเส้น ลากตัดกันเป็นมุมฉากบนพื้นที่หน้ากระดาษ • สามารถพลิกแพลงแบบได้ตลอดเวลา ไม่มีกฎบังคับให้องค์ประกอบต่าง ๆ อยู่แต่เพียงภายในกรอบที่จัดไว้

แต่ให้ดูผลงานสุดท้ายเป็นหลัก • การใช้กริดไม่ใช่สิ่งใหม่ นักออกแบบและศิลปินได้ใชโ้ครงสร้างกริดกันมานานนับศตวรรษแล้ว

ส่วนประกอบต่าง ๆ ของกริดในหน้าออกแบบ

1. มาร์จิ้น (margins) 2. โมดูล (Module/Grid Units) 3. อาล์ลีย์ (Alleys) 4. กัตเตอร์ (Gutters) 5. คอลัมน์ (Columns)

6. โรว์ (Rows) 7. สเปเชียลโซน (Spatial Zones) 8. โฟลว์ไลน์/แฮงไลน์/ (Flowlines/Hanglines) 9. มาร์คเกอร์ (Markers)

Page 10: Ca322 week06 ebook design

การออกแบบและผลิตหนังสือดิจิทัลและการจัดการออนไลน์ | 10

มาร์จิ้น/ช่องว่างรอบขอบกระดาษ (margins) • มาร์จิ้นคือช่องว่างที่อยู่ระหว่างขอบของพื้นที่ทํางานซึ่งมีตัวอักษรหรือภาพปรากฏอยู่กับขอบของกระดาษทั้งสี่ด้าน • ความกว้างจากขอบกระดาษของช่องว่างนี้ไม่จําเป็นต้องเท่ากันทั้งสี่ด้านแต่ควรเป็นแบบแผนเดียวกันทุก ๆ

หน้าในเล่มเพื่อความต่อเนื่อง • มาร์จิ้นเป็นจุดพักสายตา แต่สามารถใช้เป็นที่ใส่เลขหน้า หัวเรื่อง คําอธิบายต่าง ๆ หรือบทความขยายสั้น ๆ

และอาจใช้เป็นที่ดึงดูดความสนใจ

โมดูล/หน่วยกริด (Module/Grid Units) • โมดูลคือช่องที่เกิดจากการแบ่งหน้าออกแบบด้วยเส้นกริดตามแนวตั้งและแนวนอนออกเป็นส่วน ๆ • ใช้เป็นพื้นที่ใส่ตัวอักษรหรือภาพ • การแบ่งส่วนระหว่างโมดูลจะมีการเว้นช่องว่างไว้ไม่ให้โมดูลติดชิดกัน • การใช้พื้นที่ในการวางตัวอักษรหรือภาพไม่จําเป็นต้องถูกจํากัดอยู่ภายในแต่ละโมดูล แต่สามารถกินพื้นที่หลาย ๆ โมดูล

อาลล์ีย์/ช่องว่างระหว่างโมดูล (Alleys)

• อาล์ลีย์คือช่องว่างระหว่างโมดูลที่ติดกัน ช่องว่างดังกล่าวอาจทอดยาวเป็นแนวตั้ง หรือแนวนอน หรืออาจเป็นทั้งแนวตั้งและแนวนอนก็ได้

• อาล์ลีย์แต่ละแนวอาจมีความกว้างที่ต่างกันในหน้าหนึ่ง ๆ ก็ได้แล้วแต่ผู้ออกแบบ กัตเตอร์/ช่องว่างระหว่างหน้าตามแนวพับ (Gutters)

• กัตเตอร์ คือช่องว่างระหว่างโมดูลของหน้าสองหน้าที่ต่อกันโดยมีแนวพับอยู่ตรงกลาง • ในการออกแบบหน้าหนังสือ

ให้ระวังอย่าให้ความกว้างของกัตเตอร์แคบเกินไปจนทําให้ข้อความตามแนวสันหนังสือขาดหายหรืออ่านลําบาก

Page 11: Ca322 week06 ebook design

การออกแบบและผลิตหนังสือดิจิทัลและการจัดการออนไลน์ | 11

คอลัมน์/แถวในแนวตั้ง (Columns)

• คอลัมน์คือโมดูลที่ต่อ ๆ กันในแนวตั้ง ซึ่งช่องว่างระหว่างคอลัมน์ก็คืออาล์ลีย์/กัตเตอร์นั่นเอง • ในหน้าออกแบบหนึ่งหน้าสามารถแบ่งคอลัมน์ได้กี่แถวก็ได้

และความกว้างของแต่ละคอลัมน์ก็ไม่จําเป็นต้องเท่ากันแล้วแต่ผู้ออกแบบ โรว์/แถวในแนวนอน (Rows)

• โรว์คือโมดูลทีต่่อ ๆ กันในแนวนอนซึ่งต่างจากคอลัมน์ที่ต่อกันในแนวตั้ง และถูกแบ่งแยกจากกันด้วยอาล์ลีย์/กัตเตอร์เช่นกัน

สเปเชียลโซน/พื้นที่ครอบคลุม (Spatial Zones)

• คือกลุ่มของโมดูลที่ต่อติดกันทั้งแนวตั้งและแนวนอนทําให้เกิดพื้นที่ที่ใหญ่ขึ้น • ถูกนําไปใช้ในการแสดงข้อมูลโดยใสเ่ป็นข้อความตัวอักษร หรือภาพก็ได ้

โฟลว์ไลน์/แฮงไลน์/เส้นขวาง (Flowlines/Hanglines)

• คือเส้นแบ่งในแนวนอน ใช้เหนี่ยวนําสายตาจากส่วนหนึ่งไปอีกส่วนหนึ่ง หรือเป็นตัวคั่นเมื่อจบเรื่องราว/ภาพหนึ่งและกําลังขึ้นต้นเรื่องราว/ภาพอีกชุดหนึ่ง

มาร์คเกอร์/ตัวชี้ตําแหน่ง (Markers)

• มาร์คเกอร์คือเครื่องหมายที่กําหนดตําแหนง่บริเวณไว้สําหรับใส่ข้อความสั้นๆ ที่ระบุหมวดหมู่ หัวเรื่องที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆ • มักมีตําแหน่งเดียวในแต่ละหน้า •

ส่วนประกอบหลักๆ ในระบบกริด

รูปแบบต่าง ๆ ของกริด (Grid types) รูปแบบพื้นฐานของกริดมีอยู่ 4 ประเภท

– เมนูสคริปต์กริด (Manuscript Grid) – คอลัมน์กริด (Column Grid) – โมดูลาร์กริด (Modular Grid) – ไฮราซิคัลกริด (Hierarchical Grid)

รูปแบบพื้นฐานทั้งสี่แบบนี้สามารถนําไปพัฒนาสร้างแบบทั้งที่เรียบง่ายจนถึงแบบที่พลิกแพลงซับซ้อนขึ้น

Page 12: Ca322 week06 ebook design

การออกแบบและผลิตหนังสือดิจิทัลและการจัดการออนไลน์ | 12

เมนูสคริปต์กริด (Manuscript Grid)

• เป็นกริดที่มีโครงสร้างเรียบง่ายเป็นบล็อกใหญ่บล็อกเดียวหรือคอลัมน์เดียว • มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า บล็อกกริด (Block Grid) • ใช้กับสิ่งพิมพ์ที่มีแต่เนื้อหาเป็นหลัก เช่น หนังสือ นวนิยาย ตํารา จดหมายข่าว ฯลฯ แต่ก็สามารถ

นําภาพมาวางประกอบ • เรียบง่ายแต่ก็สามารถปรับแต่งเลย์เอ้าท์ให้ดูน่าสนใจได้ และไม่จําเจเมื่อเปิดหน้าต่อหน้า

คอลัมน์กริด (Column Grid)

• เป็นรูปแบบกริดที่มีคอลัมน์มากกว่าหนึ่งคอลัมน์ในหนึ่งหน้าของแบบ • มักมีความสูงเกือบสุดขอบของชิ้นงาน • ความกว้างของแต่ละคอลัมน์ไม่จําเป็นต้องเท่ากัน • กริดในรูปแบบนี้มักถูกนําไปใช้ใน นิตยสาร แคตตาล็อก โบรชัวร์ • การวางภาพในรูปแบบกริดประเภทนี้อาจจะจัดวางให้มีความกว้างเท่ากับหนึ่งคอลัมน์หรือมากกว่าก็ได้

Page 13: Ca322 week06 ebook design

การออกแบบและผลิตหนังสือดิจิทัลและการจัดการออนไลน์ | 13

โมดูลาร์กริด (Modular Grid)

• เป็นรูปแบบกริดที่ประกอบด้วยโมดูลหลาย ๆ โมดูล • เกิดจากการตีเส้นตามแนวตั้งและแนวนอน

คือรูปแบบที่เกดิจากการแบ่งคอลัมน์ในคอลัมน์กริดตามแนวนอนทําให้เกิดเป็นโมดูลย่อย • โมดูลาร์กริดเป็นรูปแบบที่สามารถนําไปจัดเลย์เอ้าท์ได้หลากหลาย สามารถประสมประสานภาพกับข้อความเป็นชุด ๆ

จัดแบ่งเรื่องราวหลาย เรื่องมาอยู่ในหน้าเดียวกัน จัดภาพประกอบพร้อมคําบรรยายหลาย ๆ ชุดในหนี่งหน้า • จึเป็นรูปแบบที่ประกอบด้วยโมดูลย่อย ๆ มีความอิสระในการปรับแต่งเลย์เอ้าท์ได้สูง มีการนํามาใช้ในการออกแบบหน้า

โบรชัวร์ แคตตาล็อก นิตยสารและหนังสือประเภทต่าง ๆ ด้วยเช่นกัน ไฮราซิคัลกริด (Hierarchical Grid)

• เป็นรูปแบบกริดที่มีโครงสร้างซับซ้อน • ประกอบด้วยโมดูลได้ทั้งที่มีขนาดเท่ากันหรือแตกต่างกันมาจัดวางในหน้าเดียวกัน

และอาจมีการเกยกันของโมดูลบางชิ้น • เป็นรูปแบบที่ยากต่อการใช้งานในการที่จะทําให้เลย์เอ้าท์ที่ออกมาดูดีและลงตัว

Page 14: Ca322 week06 ebook design

การออกแบบและผลิตหนังสือดิจิทัลและการจัดการออนไลน์ | 14

• มักใช้ต่อเมื่อไม่สามารถใช้กริดรูปแบบอื่น ส่วนหนึ่งที่เลือกใช้เนื่องจากขององค์ประกอบต่าง ๆ ของเลย์เอ้าท์มีความแตกต่างค่อนข้างมาก เช่น อัตราส่วนของด้านกว้างกับด้านยาวของภาพประกอบแต่ละภาพมีความแตกต่างกันมาก

• ข้อแนะนําในการจัดทํารูปแบบ ไฮราซิคัลกริด วิธีหนึ่งคือ นําองค์ประกอบต่าง ๆ ของแบบทั้งหมด เช่น ภาพประกอบ เนื้อหา หัวเรื่อง ฯลฯ มากองไว้ พิจารณาภาพรวม ค่อย ๆ ทดลองจัดวางโดยขยับปรับขนาดแต่ละองค์ประกอบจนดูแล้วลงตัว พอมีแนวเป็นหลักในการสร้างกริดใช้ร่วมกันทั้งชุด/เล่มของงานพิมพ์ แล้วจึงลงมือทํางาน

• รูปแบบกริดประเภทนี้มีใช้ในการออกแบบหน้าหนังสือ โปสเตอร์ และฉลากผลิตภัณฑ์ เป็นต้น

ตัวอย่างระบบกรดิอื่นๆ

ตัวอย่างระบบกริดอื่นๆ

Page 15: Ca322 week06 ebook design

การออกแบบและผลิตหนังสือดิจิทัลและการจัดการออนไลน์ | 15

ตัวอย่างระบบกริดอื่นๆ

ตัวอย่างระบบกริดอื่นๆ

การทําภาพประกอบ ภาพประกอบหนังสือไม่ว่าจะเป็นภาพถ่ายหรือภาพที่วาดขึ้นมาใหม่ควรมีลักษณะสอดคล้องกับเนื้อหาของหนังสือในเล่ม

เป็นสําคัญ ทั้งนี้รูปแบบลวดลายหรือสไตล์นั้นจะขึ้นอยู่กับกลุ่มเป้าหมายเป็นสําคัญ นักออกแบบจึงจําเป็นต้องเข้าใจ ถึงวัตถุประสงค์ของหนังสือเล่มนั้น โดยใช้หลักจิตวิทยามาช่วยจัดวางองค์ประกอบและสื่อความหมายของเนื้อหาหรือข้อความ ในหน้านั้นๆ ให้ดึงดูดและน่าสนใจได้

___________________________________________________________

Page 16: Ca322 week06 ebook design

การออกแบบและผลิตหนังสือดิจิทัลและการจัดการออนไลน์ | 16

บรรณานุกรม

• จันทนา ทองประยูร. 2537. การออกแบบและจัดหน้าสิ่งพิมพ์. นนทบุรี : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

• ปาพจน์ หนุนภักดี. 2553. หลักการและกระบวนการออกแบบงานกราฟิกดีไซน.์ กรุงเทพมหานคร:บริษัท ไอดีซี พรีเมียร์ จํากัด.

• ปราโมทย์ แสงผลสทิธิ์. 2540. การออกแบบนิเทศศิลป.์ กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ วี.เจ. พริ้นติ้ง.

• ปริญญา โรจน์อารยานนท์. 2544. ฟอนต์ไทยที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร. แบบตัวพิมพ์ไทย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ.

• ผู้จัดการออนไลน.์ 2553. "วารสารศาสตร์แห่งอนาคต" จุดเปลี่ยน - ความท้าทายในสื่อยุคใหม่ ที่ นศ.ไทยควรรู้. Life on Campus มัย ตะติยะ. 2547. สุนทรียภาพทางทัศนศิลป์. กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์มิตรสัมพันธ์กราฟฟิค จํากัด.

• โสรชัย นันทวัชรวิบูลย์. 2545. Be Graphic สู่เส้นทางกราฟิกดีไซเนอร์. กรุงเทพมหานคร:บริษัท เอ.อาร์.อินฟอร์เมชัน แอนด์ พับลิเคชัน จํากัด.

• มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 2552. การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์. สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช หน่วยที่ 1-7.

• อารยะ ศรีกัลยาณบุตร. 2550. การออกแบบสิ่งพิมพ์. กรุงเทพมหานคร : วิสคอมเซ็นเตอร์.

ภาพประกอบบางส่วนจาก • http://www.google.co.th

• http://www.lungthong.com

• https://sites.google.com